Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 4B031541-5904-4DBE-8112-64E53465EACB

4B031541-5904-4DBE-8112-64E53465EACB

Published by suling2549, 2021-12-03 05:48:41

Description: 4B031541-5904-4DBE-8112-64E53465EACB

Search

Read the Text Version

รายงาน เรื่อง ขนมไทย เสนอ อาจารย์ ชุติมา ลิ่มศิลา จัดทำโดย นายธนกฤติ สังข์ชุม เลขที่ ๑ นายจิรโชติ เพชรฉิม เลขที่ ๒ นายนราธิป เทพรักษา เลขที่ ๓ นายสุปภา ชูชัยทยากุล เลขที่ ๔ นายชยพล สุกใส เลขที่ ๕ น.ส.กาญจนา จุลเสนีย์ชร เลขที่ ๖ ด.ญ.ชมพูนุท ตันเสถียร เลขที่ ๗ น.ส.ณดา ขำนุรักษ์ เลขที่ ๘ น.ส.พิมพ์ชนก ปานุวงค์ เลขที่ ๙ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๑๐ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย ๖ (ท ๒๓๑๐๒) ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร



รายงาน เรื่อง ขนมไทย เสนอ อาจารย์ ชุติมา ลิ่มศิลา จัดทำโดย นายธนกฤติ สังข์ชุม เลขที่ ๑ นายจิรโชติ เพชรฉิม เลขที่ ๒ นายนราธิป เทพรักษา เลขที่ ๓ นายสุปภา ชูชัยทยากุล เลขที่ ๔ นายชยพล สุกใส เลขที่ ๕ น.ส.กาญจนา จุลเสนีย์ชร เลขที่ ๖ ด.ญ.ชมพูนุท ตันเสถียร เลขที่ ๗ น.ส.ณดา ขำนุรักษ์ เลขที่ ๘ น.ส.พิมพ์ชนก ปานุวงค์ เลขที่ ๙ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๓/๑๐ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย ๖(ท ๒๓๑๐๒) ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร

ก คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๓ เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องขนมไทย และได้ศึกษาอย่างเข้าใจ เพื่อเป็น ประโยชน์กับการเรียนต่อไปซึ่งประกอบไปด้วยประวัติความเป็นมาของขนมไทย ความสำคัญของขนมไทย ขนมไทยในแต่ละภาค และประเภทของขนมไทย รายงานเล่มนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาและความอนุเคราะห์จาก อาจารย์ชุติมา ลิ่มศิลา อาจารย์ประจำวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่ กรุณาสละเวลาอันมีค่าให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่างๆตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จ เรียบร้อย ผู้จัดทำขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอกราบขอบพระคุณบิดาและมารดาผู้ให้กำเนิดและเป็นครูคนแรกที่คอย อบรมสั่งสอน ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิต และเป็นกำลังใจยิ่งใหญ่แก่ผู้จัดทำ มาโดยตลอด ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ ผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือนักเรียนนักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขอ น้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ วันที่ ๒๔ พ.ย. ๖๔

สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ประวัติความเป็นมาของขนมไทย ๑ ความสำคัญของขนมไทย ๓ ขนมไทยในแต่ละภาค ๔ •ภาคเหนือ ๕ •ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๖ •ภาคกลาง ๗ •ภาคใต้ ๘ การแบ่งประเภทของขนมไทย ๙ •ประเภทกวน ๑๐ •ประเภทนึ่ง ๑๑ •ประเภทเชื่อม ๑๒ •ประเภททอด ๑๓ •ประเภทอบ ๑๔ •ประเภทต้ม บรรณานุกรม

๑ ประวัติความเป็ นมา ของขนมไทย ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เช่น งาน ทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิด จำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาสวยงาม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูป ทรงขนมสวยงาม ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้นำสูตรมาจากโปรตุเกส

๒ ประวัติความเป็ นมา ของขนมไทย ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ ก็คือ ขนมจากไข่ และเชื่อกันว่าชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ เช่น รับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน รับประทาน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงิน เดือน รับประทาน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ รับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็น เอก เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำรา ขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้ง แรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ ต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย และนับว่าเป็น ยุคที่ขนมไทยเป็นที่นิยม

๓ ความสำคัญของ ขนมไทย ขนมไทยจัดเป็นอาหารสำหรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำ ว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไปอาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบ ด้วยของไว้อย่างน้อย ๕ สิ่งซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด ตลอดจนลักษณะ แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ ๑๐ ที่และขนมเป็นน้ำ ๑ ที่เสมอขนมไทยเป็น ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีเพราะเป็น สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนปราณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำที่ กลมกลืนพิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาน กลิ่นหอม รูปลักษณะชวน รับประทานตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานขนมแต่ละชนิดซื้อยังแตกต่างกันไป ตามลักษณะของขนมนั้นๆ The Important of desserts

๔ ขนมไทยในแต่ละภาค (ภาคเหนือ) ขนมฟักทอง หรือเข้าหนมบ่าฟักแก้ว เป็น ขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมี ฟักทองนึ่ง แป้งข้าวเจ้า และน้ำตาลทราย วิธีการคล้าย กับขนมกล้วย เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้า เป็น ฟักทองนึ่งแทน ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมี ลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอม หวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผล ตาล ที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และ น้ำตาล ผสมกันตาม กรรมวิธี ใส่ กระทง ใบตอง โรย มะพร้าว ขูด และนำ ไป นึ่ง จนสุก ขนมศิลาอ่อน ขนมไทย ลักษณะคล้ายขนม เปียกปูน วิธีทำขนมศิลาอ่อน ง่ายๆ สามารถทำกินเอง ได้ เคล็ดลับความอร่อยของขนมศิลาอ่อน คือ แป้ง และ เทคนิคการทำขนม เมนูขนมจากแป้งแสนอร่อย

๕ ขนมไทยในแต่ละภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มะพร้าวแก้ว เป็นขนมหวานของไทยชนิด หนึ่งที่นำมะพร้าวทึนทึกมาขูดเป็นเส้นแล้วนำไปกวนกับ น้ำตาล จนแห้งแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนรอจนแห้งแล้ว เก็บไว้รับประทาน ขนมนางเล็ด คือ ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วย ข้าวเหนียวนึ่งแผ่เป็นแผ่นกลม ตากแห้ง ทอดน้ำมันให้ พองแล้วโรยน้ำตาลเคี่ยว ขนมกาละแม เป็นขนมไทยโบราณ จัดเป็น ขนมประเภทกวน มีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้ วัตถุดิบ ที่หาได้ในท้องถิ่น กาละแมเมื่อกวนเสร็จแล้ว จะมีลักษณะเป็นแป้งเหนียวสีน้ำตาลอมดำ มีรสชาติ หอมหวานและอร่อยสามารถเก็บไว้ได้นาน รสชาติของ กาละแมที่นิยมมากมีหลายรสด้วยกัน อาทิ กาแฟ ขนม และใบเตย

๖ ขนมไทยในแต่ละภาค (ภาคกลาง) ขนมเสน่ห์จันทน์ ลักษณะที่ดีของขนม ควร มีสีเหลืองทอง สวยงาม ขนาดของเม็ดขนมมีขนาดขึ้น เท่าๆ กัน ขนมจะแห้งแต่ไม่แข็งและเหนียว รสหวาน หอม และมัน ขนมผกากรอง เป็นขนมไทยสมัยใหม่ ส่วน ผสมคล้ายอาลัวสด คือ แป้งสาลีชนิดเบา น้ำตาล และ กะทิอบควันเทียน ลักษณะของขนมมีสีสันสดใส กลีบ บางซ้อนและเอียดคล้ายกับดอกผกากรอง ขนมลูกชุบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งทำด้วย ถั่วเขียว บดกวนปั้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ระบายสี แล้วนำ ไปชุบ วุ้น ให้สวยงาม สีที่ใช้ทำลูกชุบนั้นนอกจาก ระบายลงบนถั่วเขียวกวนที่ปั้นแล้ว ยังใส่สีลงในถั่วกวน โดยตรงได้อีก

๗ ขนมไทยในแต่ละภาค (ภาคใต้) ขนมหน้าไข่ เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งของ ชาวสทิงพระ มีลักษณะเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมทำด้วยแป้งข้าว เจ้าผสมน้ำตาลแล้วนำมานึ่ง หน้าขนมทำด้วยไข่ไก่ผสม หัวกะทิ น้ำตาลทราย เกลือ จึงเรียกว่าขนมหน้าไข่ ใช้ รับประทานทั่วไป ขนมไข่ปลา เป็นขนมไทยพื้นบ้านในแถบ จังหวัดที่มีการปลูกต้นตาล จุดเด่นของขนมคือ รูปทรง ขนมที่มีเอกลักษณ์ มีกลิ่นหอมเนื้อตาลประกอบกับ ความเหนียวนุ่ม หวาน มัน เค็ม กำลังดี ขนมเต้าส้อ มีลักษณะเป็นแป้งอบทรง กลมมีไส้ถั่วนกวนอยู่ข้างใน คล้ายกับขนมเปี๊ยะแต่ไม่ เหมือนกันสักทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นรสชาติของแป้งของ เต้าส้อที่เปลือกนอกจะกรอบหรือไส้ข้างในที่มีรสชาติ แตกต่างกัน

๘ ประเภทของขนมไทย (ประเภทกวน) การกวนขนม คือ การนำของเหลวกับของแข็งมาผสมให้รวมเข้าเป็น เนื้อเดียวกันจนข้นและเหนียว โดยใช้ไม้พายกวน หรือใบกวนในการกวนขนมไปจน ทั่วในทิศทางเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ จนขนมมีความเหนียวเป็นเนื้อเดียวกัน เทคนิคสำคัญของขนมประเภทนี้อยู่ที่การกวน คือ จะต้องกวนอยู่ตลอด เวลาจนกว่าขนมจะได้ที่ และควรใช้กระทะทองเหลืองเพราะจะทำให้ง่ายต่อการก วนและที่สำคัญยังคงสีของขนมไว้ไม่ให้เปลี่ยน เทคนิคที่สำคัญอีกอย่างนึงคือผู้กวน ควรกวนขนมไปในทิศทางเดียว ควรใช้ไฟปานกลางและพอขนมเริ่มข้นให้ลดไฟลง มาเพื่อไม่ให้ขนมเกาะต้วแข็งเป็นก้อนดูไม่น่ารับประทาน ตัวอย่างของขนมไทยที่ใช้การกวน ได้แก่ ลูกชุบ ขนมสัมปันนี ขนมถั่ว กวน ข้าวตูมะพร้าว ลอดช่อง ขนมเปียกปูน ขนมเปียกอ่อน ตะโก้ ซ่าหริ่ม เผือก กวน เป็นต้น

๙ ประเภทของขนมไทย (ประเภทนึ่ง) ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไล แล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อ ม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนม เทียน ขนมน้ำดอกไม้ ข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมน้ำดอกไม้ ขนมช่อม่วง ขนมเทียน

๑๐ ประเภทของขนมไทย (ประเภทเชื่อม) ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลัง เดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาล เชื่อม ขนมไทย ประเภทเชื่อม

๑๑ ประเภทของขนมไทย (ประเภททอด) ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมัน ร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด กล้วยทอด ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด

๑๒ ประเภทของขนมไทย (ประเภทอบ) ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนม เบื้องขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย ขนมครก ขนมหน้านวล ขนมหม้อแกง ขนมกลีบลำดวน

๑๓ ประเภทของขนมไทย (ประเภทต้ม) ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้ เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่ว แปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำ มาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก

๑๔ บรรณานุกรม การแบ่งประเภทของขนมไทย. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/cookinginroom/watthudib สืบค้นวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ขนมไทยในแต่ละภาค. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/khnmthay/taw-danein-kar-thang- khnitsastr-ni-phasa-si สืบค้นวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ขนมไทยประเภทกวน. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก : https://kittakarn.com สืบค้นวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ความสำคัญของขนมไทย/ประวัติความเป็นมาของขนมไทย. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/taifooonkem/home/profile สืบค้นวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ประเภทขนมกวนที่นิยมความสำคัญของขนมไทย. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก: https://viewsudza.wordpress.com สืบค้นวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔




Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook