เส้นทเาชงิงทว่ัฒอนงธเทรี่รยมว สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ ๓๓๒๐ ๓๕๑๑, ๐ ๗๓๒๑ ๓๙๑๖ http://www.m-culture.go.th/yala ,Email : [email protected]
คำนำ จังหวัดยะลา ประกอบด้วยผู้คนหลายเชื้อชาติ ศาสนา อยู่อาศัยร่วม กันมายาวนาน ต่างมีรากเหง้า มีหลักยึดทางศรัทธา อยู่อาศัยในลักษณะ สังคม“ พหุวัฒนธรรม” เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน และประการ สำคัญ มีกิจกรรมสะท้อนอัตลักษณ์และประเพณีอันดีงามแตกต่างกันไป เป็นเอกลักษณ์ทางเชื้อชาติ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ขอเชิญชวนท่านเดินทางเข้าสู่ จังหวัดยะลา ใต้สุดสยามเมืองงาม ชายแดน ชมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชุมชน เเละความ หลากหลากทางด้านวัฒนธรรม ที่มีการสืบทอดจากอดีตถึงยุคปัจจุบัน
สารบัญ ๑-๒ ๓-๔ ๑.น้ำตกตะวันรัศมี ๕-๖ ๒.บึงน้ำใส ๗-๘ ๓.ศาลโต๊ะนิ ๙-๑๐ ๔.สวนขวัญเมือง ๑๑-๑๒ ๕.สวนสาธารณะสนามช้างเผือก ๑๓-๑๔ ๖.มัสยิดกลางจังหวัดยะลา ๑๕-๑๖ ๗.ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ๑๗-๑๘ ๘ถ้ำคนโท ๑๙-๒๐ ๙.ถ้ำศิลป์ ๒๑-๒๒ ๑๐.ถ้ำมืด ๒๓-๒๔ ๑๑.พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาถ้ำภิมุข (วัดหน้าถ้ำ) ๒๕-๒๖ ๑๒.หอดูดวงจันทร์ ๒๗-๒๘ ๑๓.เหมืองแร่ ลาบู ๒๙-๓๐ ๑๔พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ ๓๑-๓๒ ๑๕.ถ้ำกระแชง ๑๖.น้ำตกกือลอง (สุขาลัย)
สารบัญ ๓๓-๓๔ ๓๕-๓๖ ๑๗.ถ้ำทะลุ ๓๗-๓๘ ๑๘.เขื่อนบางล่าง ๓๙-๔๐ ๑๙.ป่าฮาลา-บาลา ๔๑-๔๒ ๒๐.วนอุทยานน้ำตกธารโต ๔๓-๔๔ ๒๑.หมู่บ้านซาไก ๔๕-๔๖ ๒๒.น้ำตกละอองรุ้ง ๔๗-๔๘ ๒๓.หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๙ ๔๙-๕๐ 24.สวนสาธารณะเทศบาลตำบลเบตง ๕๑-๕๒ 25.บ่อน้ำร้อน ๕๓-๕๔ ๒๖.สวนไม้ดอกเมืองหนาวเบตง ๕๕-๕๖ ๒๗.พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ ๕๗-๕๘ ๒๘.หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ ๕๙-๖๐ ๒๙.อุโมงค์เบตง ๖๑-๖๒ ๓๐.ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ๓๑.มัสยิดกลางอำเภอเบตง
น้ำตกตะวันรัศมี น้ำตกตะวันรัศมี อยู่ระหว่างตำบลบุดี กับตำบลบันนังสาเรง อำเภอเมืองยะลา ที่สันเขาลูกนี้มีน้ำตก ซึ่งตามประวัติเป็นที่พักผ่อน หน่อยใจของเจ้าผู้ครองนครเมืองรามัน ในสมัยนั้นที่เมืองชายแดน ภาคใต้ยังแยกตัวเป็น ๗ หัวเมือง อยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดิน สายยะลา – รามัน ๑ กม.
บึงน้ำใส แหล่งกำเนิดปลามังกร อยู่ที่อำเภอรามัน ห่างจากตัวเมืองยะลาราว ๒๖ กม. ผ่านอ.รามันไปทาง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ประมาณ ๘ กม. เลี้ยวซ้ายจากถนนใหญ่เข้าสู่บ้านบึงน้ำใสหมู่ที่ ๕ ต.ตะโละหะลอ อ.รามัน ปลาชนิดนี้จะมีมากในแถบอินโดจีน มาเลเซีย และประเทศไทยตอนล่าง เชื่อกันว่าใครเลี้ยงปลามังกร จะมีโชคลาภ ราคาซื้อขายจึงค่อนข้างสูง
สุสานเจ้าเมืองเก่าโต๊ะนิ สุสานเจ้าเมืองเก่ารามัน หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สุานโต๊ะนิ ปั จจุบัน ตั้งอยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรโกตาบารู ในเขตเทศบาล ตำบลโกตาบารู ในเขตเทศบาลตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะล า มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่ เป็นสุสาน(กุโบร์) สาธารณะ เป็นที่ฝั งศพของชาวไทยมุสลิมในเขต เทศบาลตำบลโกตาบารูและใกล้เคียง นอกเหนือจากสุสานของโต๊ะนิ จาแว ซึ่งเป็นเจ้าเมืองรามันเดิมแล้ว ในบริเวณใกล้เคียง ยังเป็นที่ฝั งศพของพระ ญาติและบุคคลที่สืบเชื้อสายของเจ้าเมืองโต๊ะนิ จาแว อยู่อีกเป็นจำนวนมาก สำหรับสุสานแห่ง นี้ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของวังเก่า และบ้านเจ้าเมือง เก่ารามัน ประมาณ ๓๐๐ เมตร ปั จจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และได้รับการดูแลรักษาจากรมศิลปากร
สวนขวัญเมือง สสววนนสสาาธธาารรณณะะใใจจกกลลาางงเเมมืือองงยยะะลลาา ใครที่ชอบปั่ นจักรยาน อย่าลืมแวะมาปั่ น ชมทิวทัศน์ของสวนนี้ โดยเฉพาะยามเย็นนั้นมี บรรยากาศดี ลมเย็น อย่าบอกใครเลยทีเดียว ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล 1 ในเขตเทศบาล เมืองยะลาห่างจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองยะลา เพียงประมาณ 300 เมตร เปิดทุกวัน เวลา 08.30-17.00 น.
สวนสาธารณะ สนามช้างเผือก สนามโรงพิธีช้างเผือก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองยะลา มีพื้นที่ ๘๐ ไร่ เคยใช้ เป็นสถานที่ประกอบพิธี น้อมเกล้าฯ ถวายช้างเผือก “พระเศวตสุรคชาธาร” แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๑๑ ปัจจุบันได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ใบ และไม้ประดับไว้อย่างสวยงาม มีสระน้ำ มีศาลากลางน้ำ รูปปั้นจำลองของสัตว์ต่างๆ หลายชนิด ประชาชน นิยมไปพักผ่อนในยามว่างเป็นจำนวนมาก และในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน เทศบาลจัดให้มีการแสดงดนตรีเพื่อให้ประชาชน ไปพักผ่อนหย่อนใจในสวน สาธารณะได้รับความเพลิดเพลินอีกด้วย
มัสยิดกลางจังหวัดยะลา เป็นมัสยิดใหญ่ประจำจังหวัดยะลา ตั้งอยู่ด้านซ้ายของถนนสาย ยะลา- ปั ตตานี ในเขตเทศบาลเมืองยะลา โดยผ่านบริเวณที่ทางรถไฟฟ้า ตัดข้ามถนนไปเพียง ๒๐๐ เมตร มัสยิดแห่งนี้สร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ รูปทรงงดงาม เป็นสถาปั ตยกรรมแบบตะวันตกที่สอดแทรกเส้นกรอบทรง สุเหร่าไว้ได้อย่างกลมกลืน ด้านหน้าเป็นบันไดกว้าง สูงประมาณ ๓๐ ขั้น ทอดสู่ลานชั้นบน หลังคาทรงสี่เหลี่ยม มีโดมใหญ่ อยู่กลาง สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าชมได้ด้วยความสำราญ
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นที่ตั้งของหลักเมืองจังหวัดยะลา ซึ่งเป็นที่เคารพ นับถือ ของประชาชนชาวจังหวัดยะลา ซึ่งตั้งอยู่ ใจกลางวงเวียนหน้าศาลากลาง จังหวัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ยอดเสาหลักเมืองให้เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๐๕ ภายในศาลประดิษฐานเสา หลักเมือง ซึ่งสร้างด้วยแก่นไม้ชัยพฤกษ์สูง ๕๐ เซนติเมตร วัดโดยรอบที่ฐาน ๔๓ นิ้ว ที่ปลาย ๓๖ นิ้ว พระเศียรยอดเป็นรูปพรหมจตุรพักตร์ และ เปลวไฟ บริเวณโดยรอบเป็นสวนสาธารณะ ร่มรื่น สวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของ ประชาชนทั่วไป จะมีการจัดงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง ระหว่างวันที่ ๒๕-๓๑ พฤษภาคมของทุก ๆ ปี
ถ้ำคนโท
ถ้ำศิลป์ ตั้งอยู่หมู่ ๒ ตำบลหน้าถ้ำในเขตอำเภอเมืองไม่ไกลจากถ้ำคูหาภิมุข การเดินทาง ทางใช้เส้นทางเดียวกับวัดถ้ำคูหาภิมุข แต่ต้องเดินทางต่อไปอีก ๒ กิโลเมตรสภาพถนน ลาดยางจนถึงเชิงเขา มีบันไดให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปยังปากถ้ำโดยสะดวก(ปากถ้ำสูง จากเชิงเขา ๒๘เมตร)จุดเด่นของถ้ำศิลป์อยู่ที่ภายในถ้ำมีจิตรกรรมฝาผนัง ทั้งสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นภาพคนล่าสัตว์ที่เขียนด้วยสีดำและมีจิตรกรรม สมัประวัติศาสตร์ เป็นภาพพระพุทธประวัติ \"ตอนธิดาพระยามารยั่วยวนพระพุทธเจ้า\" ภาพนี้มีขนาดยาว ๘ เมตรสูง ๕ เมตรแต่สภาพของจิตรกรรมค่อนข้างลบเลือนจิตรกรรมนี้ได้รับการยกย่อง ว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทยและเป็นงานศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยชิ้นเดียวที่เป็น ภาพจิตรกรรม การเข้าชมแจ้งความจำนง ต่อครูใหญ่โรงเรียนบันนังลูวาที่อยู่ใกล้ถ้ำซึ่ง เป็นผู้เก็บรักษากุญแจประตูถ้ำ
ถ้ำมืด ถ้ำมืดภายในวัดคูหาภิมุขยะลา(วัดถ้ำ) สามารถเข้าเยี่ยมชมความสวยงาม ของหินงอก หินย้อย รูปต่าง ๆ ภายในถ้ำยังคงความสวยงมของหินงอกหินย้อย ทั้ง หินระฆัง หินหัว ช้าง หินรูปเม็ดมะม่วงหิมมะพานต์ หลุมแม่ม่าย สระแก้ว(บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์) และต่างๆอีก มากมาย เชื่อว่าใครที่เคยเค้ามาแล้วคงจะคิดถึงและอยากไปเยี่ยมชมอีกครั้งเป็นแน่แท้ วิธีการเข้าชมก็ติดต่อเจ้าหน้าที่บริเวณหน้าถ้ำมืดเลย ยิ่งวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีเหล่า มัคคุเทศก์น้อย จากโรงเรียนวัดหน้าถ้ำ มาพาท่านเข้าชม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใดหาก ท่านมีน้ำใจจะมอบเงินให้น้องๆเป็นค่าขนมอันนี้ก็แล้วแต่น้ำใจท่านเลย และอีกอย่างที่ อยากจะฝากทุกๆท่านที่จะมาเยี่ยมชมคือ กรุณาอย่าขีดเขียนบนผนังถ้ำนะครับ ช่วยกัน ดูแลรักษาความสะอาดให้รุ่นลูกรุ่นหลานเรา ได้มีสิ่งสวยงามไว้ชมกันสืบต่อไป และหวัง ว่าการรีวิวในครั้งนี้ จะทำให้ท่านได้ย้อนคืนความทรงจำในวันวาน บรรยากาศการตะลุย ถ้ำมืดในครั้งก่อน และทำให้ท่านได้อยากย้อนคืนกลับมาท่องเที่ยวที่นี้อีกครั้งนะครับ
พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาถ้ำภิมุข (วัดหน้าถ้ำ) ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง ไปตามเส้นทางยะลา-หาดใหญ่ ห่างจากตัว เมือง ๖ กิโลเมตร ตามเส้นทางไปสู่อำเภอยะหา ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดหน้าถ้ำ เพราะภายในวัดนี้ มีถ้ำใหญ่แห่งหนึ่ง มีพระพุทธไสยาสน์ของโบราณขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ภายใน สันนิษฐานว่า สร้างมาแต่ ปี พ.ศ.๑๓๐๐ เป็นพระพุทธ ไสยาสน์สมัยศรีวิชัย มีขนาดความยาว ๘๑ ฟุต ๑ นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมเป็นปาง นารายณ์ บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้มีการ ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์ แบบหินยาน พระพุทธไสยาสน์ วัดหน้าถ้ำแห่งนี้ ชาวภาคใต้ ถือว่า เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ ๑ ใน ๓ ของดินแดนภาคใต้ คือ พระบรมธาตุเมืองนครฯ พระธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี และพระพุทธไสยาสน์ วัด หน้าถ้ำ นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ในบริเวณใกล้ๆ กัน มี ถ้ำอีกแห่งหนึ่งเรียกว่าถ้ำมืด ซึ่งภายในมีหินงอกหินย้อยเป็นรูปลักษณะต่างๆ เช่น ม่าน เศียรช้างเอราวัณ ฯลฯ มีน้ำเย็นสะอาดไหลจากโขดหินธรรมชาติ มี ไฟฟ้า ติดตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวที่จะชม ถ้ำมืดแห่งนี้
ศาลาดูดวงจันทร์ ศาลาดูดวงจันทร์ อำเภอยะหา หรือหอดูดวงจันทร์โรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราช หรือหอดูดวงจันทร์เขาปาเร๊ะ แล้วแต่ผู้คนจะเรียก ตั้งอยู่บนเขา ปาเร๊ะ หลังโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อ.ยะหา จ.ยะลา ที่นี่เป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมในการท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดยะลาอีกหนึ่งแห่ง โดยมี นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย มาเยือนอยู่บ่อยครั้ง หากมาเยือนปลายฝนต้นหนาว จะสัมผัสกับอากาศที่ หนาวเย็น สดชื่น และทัศนียภาพสวยงามตระการตาของทะเหลมอกที่ราย รอบขุนเขา
เหมืองแร่ ลาบู เหมืองลาบู หมู่ที่ 8 ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการรักษา ความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นประธานเปิดกิจกรรม \"เบิกฟ้า ลาบู สู่อาเซี่ยน\" โดยมีนายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการ จังหวัดยะลา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของบ้านเหมืองลาบูตำบลปะแต อำเภอยะหา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของพื้นที่อำเภอยะหา
อนุเสารีย์วีรชนผู้กล้าพิพิธภัณฑ์ พคม. อยู่ที่หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๑ ต.บาละ ทั้ง ๒ แห่ง แสดงให้เห็นถึงความ กล้าหาญในการต่อสู้ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ซึ่งได้เข้าร่วมเป็น ผู้พัฒนาชาติไทยไปแล้วตั้งแต่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ ในพิพิธภัณฑ์แสดงให้เห็นถึง เครื่องมือเครื่องใช้ของสมาชิกในอดีต ก่อตั้งและดูแลโดยนาบอับดุลรอแม เจ๊ะมามะ อดีตนายทหารระดับจ่าของกองทัพ
ถ้ำกระแชง เป็นถ้ำที่สวยงามตามธรรมชาติ เพดาน ของถ้ำมีหินย้อยมากมาย ถ้ำที่อยู่ใกล้เคียงกับถ้ำ กระแชง อีก ๓ ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำลูกอม ถ้ำน้ำลอด และถ้ำพระถ้ำเหล่านี้อยู่ในเขตอำเภอบันนังสตา อยู่ห่างจากจังหวัดยะลา ๕๐ กม.ห่างจากที่ว่าการ อำเภอบันนังสตา ๘ กม.ใช้เส้นทางเดียวกับการ ไปเขื่อนบางลาง ลักษณะเด่น ของถ้ำกระแชง คือ มีลำธารไหลผ่านลอดถ้ำ ปากถ้ำ เป็นโพรง ขนาดใหญ่ มองออกไปภายนอกเห็นป่าไม้ร่มรื่น และทิวทัศน์งดงาม เหมาะสำหรับท่องเที่ยวพัก ผ่อน
น้ำตกกือลอง (สุขทาลัย) อยู่ในนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอบันนังสตา ขนเขาปก โย๊ะ เขานี้เป็นที่ตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณห่างจาก ตัวเมืองประมาณ ๔๐ กม. ตามเส้นทางสายยะลา– เบตงแยก ซ้ายเข้าทางลูกรังอีกประมาณ ๘ กม. น้ำตกนี้ถูกค้นพบเมื่อปี ๒๕๐๗ โดยน้ำตกกือลองแห่งนี้ จะประกอบด้วยน้ำตก ๕ ชั้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงประทานนามน้ำตก แห่งนี้ว่า“น้ำตกสุขทาลัย”มีทิวทัศน์ที่สวยงามมากเหมาะสำหรับ เล่นน้ำในแอ่งน้ำและพักรับประทานอาหาร ณ ศาลาที่สร้างไว้
ถ้ำทะลุ อยู่ในเขตตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา ซึ่งนักท่องเที่ยว สามารถเดินทางตามเส้นทางหลวง สายยะลา-บันนังสตา-เบตง และมีทาง แยกสู่แหล่งท่องเที่ยวถ้ำทะลุอยู่ขวามือ จุดเด่น คือ ถ้ำหินปูนซึ่งทะลุลอด ไปอีกด้านหนึ่งของภูเขาที่มีศาลประดิษฐานรูปปั้ นเจ้าแม่กวนอิม อันเป็นที่ เคารพสักการะของชาวไทย เชื้อสายจีนในจังหวัดยะลาและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะในช่วงเดือนยี่ทางจันทรคติของจีน ซึ่งจัดให้มีเทศกาลกินเจขึ้นที่ บริเวณศาลแห่งนี้จะมีนักท่องเที่ยวและผู้นับถือศรัทธาเจ้าแม่กวนอิมเดิน ทางมาร่วมสักการะ และกินเจมากกว่าในช่วงอื่นๆ ของปี
เขื่อนบางลาง เขื่อนบางลาง กั้นแม่น้ำปั ตตานี ที่บริเวณบ้านบางลาง ตำบลเขื่อน บางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ห่างจากตัวอำเภอเมืองยะลา ๕๘ กิโลเมตร ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว ความสูง ๘๕ เมตร สันเขื่อนยาว ๔๓๐ เมตร กว้าง ๑๐ เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ ๒๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อน ๒,๐๘๐ ตารางกิโลเมตร
ป่าฮาลา- บาลา ป่าฮาลา-บาลา หรือสวนป่าพระนามาภิไธย (ส่วนที่ ๒)เป็นป่าดิบชื้น ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ พืชพันธุ์สัตว์นานาชนิด มีพื้นที่ขนาดใหญ่อยู่ในแนว รอยต่อระหว่างจังหวัดยะลาปั ตตานี และนราธิวาส นอกจากนั้น ยังเป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ ในเขื่อน บางลาง และนักท่องเที่ยวที่สนใจ จะศึกษาการเดิน ป่าธรรมชาติ การนั่งเรือ ล่องแพ ตกปลา สามารถ ติดต่อได้ที่ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๔๕ ถนน สุขยางค์ อำเภอเบตง จังหวะยะลา
วนอุทยานน้ำตกธารโต วนอุทยานน้ำตกธารโต อยู่ที่ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต เป็นวนอุทยานและป่าสงวน มีเนื้อที่ ๑,๐๐๐ ไร่ เป็นน้ำตกที่ สวยงามลดหลั่นกันลงมาถึง ๙ ชั้น ห่างจากตัวเมืองออกไป ตามถนน ยะล-เบตง ประมาณ กม.ที่ ๕๗-๕๘ มีทางลูกรัง แยกเข้าไป ๒ กิโลเมตร ประกาศเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
หมู่บ้านซาไก หมู่บ้านซาไกอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ห่างจากตัวจังหวัดยะลา ไปทางเบตงประมาณ ๘๐ กม. และห่างจากถนนใหญ่ลึก เข้าไปกลางขุนเขาประมาณ ๔ กม. เป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมือง ที่เรานิยมเรียก ว่า “เงาะ” หรือ “เงาะซาไก” บ้านเรือนของซาไกสร้างด้วยไม้ไผ่มุงหลังคาจาก มีประมาณ ๒๐ – ๓๐ หลังคาเรือน มีอาชีพในการทำไร่และหาของป่า ปั จจุบันได้ มีการพัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้ โดยมีกรมประชาสงเคราะห์รวบรวมให้อาศัยอยู่ในบริเวณ เดียวกันได้ จำนวน ๒๑ ครอบครัว ๕๒ คน ได้จัดสร้างบ้านเรือนให้อยู่อาศัยที่ดีขึ้น ปลูกยางพาราพันธุ์ดี พื้นผัก ผลไม้ ให้จำนวน ๓๐๐ ไร่ และได้กราบบังคมทูลสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอใช้ คำว่า “ ศรีธารโต ” ให้ทุกคน ใช้เป็นนามสกุล เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ และมีการศึกษาที่ก้าวหน้ามากขึ้น มีครูจากจังหวัดและเจ้า หน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปให้ความรู้ ทำให้ชาวซาไกมีความเจริญขึ้นมาก
น้ำตกละอองรุ้ง น้ำตกละอองรุ้ง เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่ระหว่าง เขตติดต่อ อำเภอธารโตและอำเภอเบตงห่างจาก จังหวัดยะลาประมาณ ๙๐กิโลเมตร ใช้เส้นทางยะลา-เบตง ถนนลาดยางตลอด ก่อน ถึงอำเภอเบตงประมาณ ๔๐ กิโลเมตร จะมีถนนดินแยกเข้า น้ำตก ประมาณ ๑๐๐เมตร น้ำตกแห่งนี้มีความงดงามอันเกิด จากละอองน้ำตกกระทบแสงแดด มองเห็นเป็นสีรุ้งอยู่ เบื้องล่างริมภูผา บริเวณร่มรื่นตลอดทั้งวัน
Search