Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Desert

Desert

Published by Sakdanai Sawatpon, 2021-09-29 14:52:19

Description: ทะเลทราย

Search

Read the Text Version

สรุปเนื้อหา . แบบฝึกหัด วทิ ยาศาสตรโ์ ลก 13 ทะเลทราย DESERT สันติ ภัยหลบลี้

สนั ติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย วตั ถุประสงคก์ ารเรยี นรู้ 1. เพื่อจาแนกสาเหตุการเกดิ ทะเลทราย 2. เพ่อื เขา้ ใจกระบวนการและลักษณะเฉพาะของการกดั กร่อนในทะเลทราย 3. เพอื่ เขา้ ใจกระบวนการและภูมลิ กั ษณ์ของการสะสมตัวในทะเลทราย สารบัญ หนา้ 1 สารบญั 2 1. พนื้ ท่ีแหง้ แล้ง (Arid Area) 4 2. ชนดิ ของทะเลทราย (Type of Desert) 9 3. การกดั กร่อนโดยลม (Erosion by Wind) 15 4. การกัดกรอ่ นโดยน้า (Erosion by Water) 18 5. การสะสมตัวโดยลม (Deposition by Wind) 23 6. การสะสมตวั โดยนา้ (Deposition by Water) 25 41 แบบฝึกหดั เฉลยแบบฝึกหดั 1

สนั ติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย 1 พน้ื ทแ่ี หง้ แล้ง Arid Area โลกมี พื้นที่แห้งแล้ง (arid area) กระจายอยู่ทั่วทุกทวีป (รูป 1ก) โดย นักวิทยาศาสตร์ได้จาแนกสภาพแวดล้อมแห้งแลง้ ออกเปน็ 2 ระดับ คอื 1) ทะเลทราย (desert) หมายถงึ พ้ืนท่ีแห้งแล้งอย่างรุนแรง (รูป 1ข) มี ฝนตกโดยเฉลี่ย < 25 เซนติเมตร มีอัตราการระเหยสูง และไม่มีธารน้าถาวร ซ่ึง กระบวนการเกดิ ทะเลทราย (desertification) มีสาเหตมุ าจากทั้งธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน (global warming) การลดระดับของน้าใต้ดิน และจาก กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทาลายป่า การทาปศุสัตว์มากเกินไป ตลอดจน การขยายพ้ืนทีอ่ ยู่อาศยั ของมนุษย์ 2

สันติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย 2) ทุ่งหญ้าสเตปป์ (steppe) หมายถึง พื้นที่กึ่งแห้งแล้ง (semiarid area) (รูป 1ค) ฝนตกโดยเฉล่ีย 25-50 เซนติเมตร โดยส่วนใหญ่อยู่ตามรอยต่อ ระหว่างทะเลทรายและพ้ืนท่ีปกติ (รูป 1ก) และมีโอกาสพัฒนาเป็นทะเลทรายได้ หากมีปัจจัยสนบั สนนุ การแห้งแล้งเพมิ่ สูงขึน้ พื้นทแ่ี หง้ แล้งไม่จำเป็นตอ้ งร้อนระอเุ สมอไป รปู 1. แผนทโ่ี ลกแสดงการกระจายตวั ของสภาพแวดลอ้ มแหง้ แล้ง 3

สนั ติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย 2 ชนดิ ของทะเลทรำย Type of Desert นักวิทยาศาสตร์จาแนกทะเลทรายตามรูปแบบการเกิดออกเป็น 6 ชนิด คือ (ดรู ปู 1 ประกอบ) 1) ทะเลทรายละติจูดต่า (low-latitude desert) คือ ทะเลทรายท่ีอยู่ ในช่วงละติจูด < 30 องศา ซ่ึงเนอื่ งจากในบรเิ วณละติจูด 0-10 องศา มีอุณหภมู ิสูง ทาให้มวลอากาศอุ่นและช้ืนลอยตัวขึ้น (รูป 2) เกิดการระเหยของน้า ในขณะที่ บริเวณ ละติจูด 10-30 องศา อากาศเย็นและแห้งจมตัวลง และไหลไปแทนที่ อากาศอ่นุ และชื้นทลี่ อยตวั ข้ึนไป กลายเป็นกระแสการหมุนวนของมวลอากาศ พัด พาเอาความชื้นออกไป และพัฒนาเป็นทะเลทราย เช่น ทะเลทรายอาหรับ (Arabian) ในซาอุดีอาระเบีย และ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara) (รูป 3ก) ในทวีป แอฟรกิ า เปน็ ต้น 4

สันติ ภยั หลบล้ี ทะเลทราย รูป 2. ภาคตัดขวางแสดงแบบจาลองการเคลื่อนท่ีของลมของโลกตามแนวต้ัง [www.wikiwand.com] และพน้ื ที่เหมาะสมทีเ่ กดิ ทะเลทรายละตจิ ูดต่า รูป 3. ตัวอย่างสภาพแวดล้อมทะเลทรายตา่ งๆ ของโลก 5

สันติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย 2) ทะเลทรายในทวีป (deep inside desert) คือ ทะเลทรายที่อยู่ ภายในทวีปซ่ึงห่างไกลจากฝ่ัง จึงไม่ได้รับอากาศชื้นจากมหาสมทุ ร เช่น ทะเลทราย โกบี (Gobi) ในประเทศจีน (รูป 3ข) ทะเลทรายในทวีปออสเตรเลีย (รปู 4) รูป 4. ภาพถ่ายดาวเทียมทวีปออสเตเลียแสดงพ้ืนที่โดยส่วนใหญ่ภายในทวีปเป็น พนื้ ทีแ่ ห้งแลง้ (สนี ้าตาล) 3) ทะเลทรายเขตเงาฝน (rain shadow desert) คือ ทะเลทรายทเี่ กิด จากมวลอากาศช้ืนไม่สามารถพัดผ่านเทือกเขาสูง เกิดการควบแน่นด้านหน้าเขา ทาให้ด้านหลังนั้นมีเพียงอากาศแห้งและไม่มีฝนตก (รูป 5) จนพัฒนาเป็น ทะเลทราย เชน่ ทะเลทรายโมฮาวี (Mojave) ในประเทศสหรฐั อเมรกิ า (รูป 3ค) 6

สันติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย รูป 5. แบบจาลองแสดงการเกดิ ทะเลทรายเขตเงาฝน 4) ทะเลทรายชายฝัง่ (coastal desert) คือ ทะเลทรายที่เกิดตามแนว ชายฝั่งที่มีกระแสน้าเย็นในมหาสมุทรไหลผ่าน (รูป 6) โดยน้าเย็นจะดูดซับความ ร้อนและชื้นบนแผ่นดิน ทาให้ฝนตกน้อย แห้งแล้ง และพัฒนาเป็นทะเลทราย เช่น ทะเลทรายอาตากามา (Atacama) ในเขตชายฝั่งของแปรูและประเทศชิลี ซ่ึงถือ เป็นพืน้ ทีซ่ ่ึงแหง้ แล้งท่ีสุดในโลก (รปู 3ง) 5) ทะเลทรายข้ัวโลก (polar desert) คือ ทะเลทรายที่เกิดบริเวณ ละติจูด > 60 องศา ซ่ึงหนาวเย็นเกินกว่าท่ีอากาศจะกักเก็บความช้ืนไว้ได้ เช่น ทะเลทรายในแอนตารก์ ตกิ และกรีนแลนด์ เป็นต้น การมีอยขู่ องทะเลทรายในบรเิ วณขัว้ โลก บ่งชวี้ ่า การเกิดทะเลทรายไม่ได้ ขนึ้ อยกู่ บั ระดับอณุ หภมู ิ แต่ขึน้ อยูก่ บั ระดับความแห้งแลง้ เปน็ หลัก 7

สนั ติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย รปู 6. แบบจาลองการหมนุ เวยี นของกระแสนา้ พนื้ ผวิ ในมหาสมทุ ร 8

สันติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย 3 กำรกัดกรอ่ นโดยลม Erosion by Wind นักวิทยาศาสตร์จาแนกรูปแบบการกัดกร่อนและพัดพาตะกอนโดยลม ออกเป็น 3 รปู แบบ คอื (รูป 7) 1) การคืบคลาน (creep) ลมพัดพาตะกอนขนาดทรายหยาบหรือกรวด ขนาดเล็กให้เคลอื่ นที่ได้โดย การคืบคลาน (creep) หรือ การกล้ิง (rolling) 2) การกระโดดเป็นช่วง (saltation) ลมพดั พาทรายละเอียดให้เคลือ่ นท่ี แบบกระโดดเป็นช่วง โดยลอยตัวสูง ≥ 50 เซนติเมตร หากมีจานวนมากเรียกว่า พายทุ ราย (sand storm) (รูป 8ก) 3) การแขวนลอย (suspension) เป็นการเคล่ือนท่ีโดยลมพัดตะกอน ขนาดทรายแป้งหรือดินให้ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศและพัดพาไปได้ไกลหลาย กโิ ลเมตร ซึ่ง และเมือ่ ตะกอนตกทับถมกนั เรยี กว่า ดินลมหอบ (loess) (รปู 8ข) 9

สนั ติ ภยั หลบล้ี ทะเลทราย รูป 7. รูปแบบการพัดพาตะกอนโดยลม รปู 8. การพัดพาตะกอนโดยลม 10

สันติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย ผลจากการพัดพาของตะกอนทั้ง 3 รูปแบบ ทาให้เกิดกระบวนการ เฉพาะตวั ที่น่าสนใจ ในสภาพแวดลอ้ มแบบทะเลทราย คือ 3.1. การพดั กราด (Deflation) เน่ืองจากตะกอนในทะเลทรายมีขนาดแตกต่างกัน เม่ือลมพัดมาตะกอน ขนาดดินจึงแขวนลอยฟุ้งกระจายไปกับลม ส่วนตะกอนขนาดทรายละเอียด เคล่ือนท่ีโดยการกระโดดเป็นช่วง และกรวดขนาดใหญ่คืบคลานช้าๆ หรืออาจจะ อยู่กับที่ (รูป 9ก) ดังนั้นเม่อื ลมพัดเปน็ เวลานาน กรวดจะเพิ่มมากขึน้ กลายเปน็ ลาน กรวด เรียกว่า ทางเทา้ ทะเลทราย (dessert pavement) (รูป 9ข-ค) รปู 9. กระบวนการเกดิ และลักษณะทางเทา้ ทะเลทราย 11

สันติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย บางพ้ืนท่ีถูกปกคลุมด้วยพืชเป็นกระย่อมหรือเป็นพุ่ม รากของพืชจะช่วย ยึดเกาะทรายบริเวณน้ันไว้ และลมจะมีการหัก เปลี่ยนทิศทางการพัดพาของลม และคว้านมวลทรายโดยรอบต้นพืชออกจนมีลักษณะคล้ายกับ เสาทราย (san pillar) (รูป 10) ผลจากการมีพืชคลุมดิน เกิดพ้นื ดินไมร่ าบเรียบ เกิดเสาทราย ทา ให้ลมท่ีพัดผ่านมาน้ันป่ันป่วนมากขึ้น และคว้านเสาทรายพังจนหมด เหลือเพียง แอ่ง เรียกว่า แอ่งลมหอบ (blowout) (รูป 10) ซ่ึงสามารถมีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางตงั้ แต่ 2-3 เมตร ถงึ 1 กโิ ลเมตร รปู 10. การเกิดเสาทรายและแอง่ ลมหอบจากการกัดกรอ่ นโดยลม 12

สันติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย 3.2. การขัดสี (Abrasion) ในทะเลทรายบางพ้นื ท่ีซึ่งมีชั้นหินทมี่ ีความทนทางการกัดกร่อนไม่เท่ากัน โดยช้ันหินท่ีทนทานสูงปิดทับช้ันหินที่ถูกกัดกร่อนได้ง่าย ลมจะพัดผ่านและขัดสี ส่วนทกี่ ัดกรอ่ นไดง้ ่ายออก เกดิ เป็น เสาหินทะเลทราย (yardang) (รปู 11ก) รูป 11. ลกั ษณะเฉพาะในทะเลทรายทเ่ี กิดจากการขดั สีโดยกรวดและลม 13

สันติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย นอกจากน้ียังสามารถพบลักษณะที่เรียกว่า กรวดต้องลม (ventifact) (รูป 11ข) ซงึ่ หมายถึงผิวกรวดหน้าเรยี บ เกิดจากสภาวะท่ีหินวางตวั เสถยี รกอ่ นการ กัดกร่อน เมื่อลมพัดมาในทิศทางเดิม (รูป 12) ตะกอนขนาดเล็กขัดสีหินเพียงด้าน เดียวอย่างต่อเนือ่ ง ทาให้ส่วนทถี่ กู ขัดสนี ั้นมผี ิวราบเรยี บและมันวาว (รูป 11ข) รปู 12. แบบจาลองการเกิดกรวดตอ้ งลม (ventifact) อย่างไรก็ตาม ความมันวาวของหินในทะเลทราย ไม่ได้สือ่ ถึงกรวดต้องลม เสมอไป ในบางกรณีหินอาจมีสีดามันเงาได้จากการระเหยของน้าออกจากผิวหน้า ของหินและเกิดการสะสมตัวของแร่แมงกานีสและเหล็กออกไซด์ การเคลือบหิน ด้วยแรแ่ มงกานีสและเหล็กออกไซด์ ซึง่ อยู่ในรปู ของสารละลาย (รปู 11ค-ง) เรียก กระบวนการนี้ว่า การขดั มนั ทะเลทราย (desert vanish) 14

สันติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย 4 กำรกัดกรอ่ นโดยน้ำ Erosion by Water ถึงแม้ว่าในทะเลทรายนั้นจะมีฝนตกน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับ สภาพแวดลอ้ มอื่นๆ แตเ่ น่อื งจากทะเลทรายนั้นไม่มีพืชคลุมดิน ทาให้ฝนที่ตกลงมา น้ันไหลหลากอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันสั้น (รูป 13) เกิดการกัดกร่อนอย่าง รุนแรงกับตะกอนทุกขนาด ซ่ึงหลังจากน้าซึมลงไปใต้ดิน จะยังคงสภาพการไหล ของตะกอนคลา้ ยกับธารน้าแต่อยู่ในสภาพที่แห้งแลง้ (dry wash) (รปู 13) ซึ่งมชี ่ือ เรียกแตกต่างกันในแต่ละพ้ืนที่ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียก อาโรยอส (arroyo) แอฟริกาตอนเหนือเรียก วาดิ (Wadi) อเมริกาใต้เรียก ดองก้า (Donga) ส่วนอนิ เดยี เรยี ก นุลลาห์ (Nullah) 15

สนั ติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย นอกจากน้ีในกรณีของพื้นท่ีเดิมเปน็ ที่ราบสูง และชั้นหินด้านบนเป็นหินที่ ทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าชั้นหินด้านล่าง เม่ือเกิดการกัดเซาะจากน้า ทาให้เกิด เป็นภูเขายอดราบหลากหลายขนาด เช่น เนินเมซา (mesa) เนินยอดป้าน (butte) และแท่งหินสูงเรียว (pinnacle) เป็นต้น (รูป 14) ลักษณะภูมิประเทศ แบบนพี้ บไดบ้ รเิ วณรฐั ยทู าห์ ในประเทศสหรฐั อเมรกิ า รูป 13. รูปแบบการกดั กร่อนโดยนา้ ในทะเลทราย 16

สันติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย รูป 14. ภมู ิลักษณ์ทเ่ี กดิ จากการกัดกร่อนโดยนา้ ในทะเลทรายในรัฐยูท่าห์ ประเทศ สหรฐั อเมรกิ า [atm2003] 17

สนั ติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย 5 กำรสะสมตวั โดยลม Deposition by Wind การสะสมตัวโดยลม เร่ิมจากลมถูกกีดขวางจากวัตถุ ทาให้ลมเปล่ียน ทิศทาง มีการม้วนตัว และความเร็วลดลงเกิดเป็น โซนอับลม (wind shallow zone) (รูป 15) ทาให้ตะกอนทรายที่ถูกหอบมาตกทับถมในโซนอับลม กลายเป็น เนินทรายขนาดเล็ก และพัฒนาต่อไปจนกลายเป็น เนินทราย (sand dune) ซ่ึง ผลจากความเร็วและทิศทางของลมที่แตกต่างกัน ทาให้เกิดเนินทรายรูปร่าง แตกต่างกัน 6 ชนิด ได้แก่ 1) เนินทรายพระจันทร์เสี้ยว (barchan dune) (รูป 16ก) โดยด้าน หน้าท่ีปะทะกับลมจะมีความชันน้อย ส่วนด้านหลังมีความชันสูง ปลายแหลมช้ี 18

สันติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย ทิศทางของลม โดยส่วนใหญ่เกิดในทะเลทรายท่ีมพี ้ืนแขง็ ราบเรียบ มีปริมาณทราย จากดั มีทิศทางและความเรว็ ลมคงทแี่ ละพดั อยา่ งสมา่ เสมอ รูป 15. การเกดิ เนินทราย 19

สันติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย รปู 16. เนินทรายชนดิ ตา่ งๆ 2) เนินทรายตามขวาง (transverse dune) (รูป 16ข) พัฒนามาจาก เนนิ ทรายรูปพระจันทร์เส้ียว เมื่อลมพดั อยา่ งต่อเน่อื งคงท่ี ส่วนปลายของเนนิ ทราย จะขยายไปด้านข้างและเช่ือมต่อกับเนินทรายข้างเคียง มีลักษณะเป็นเนินทรายท่ี ต่อเนื่องกันไปในทศิ ทางตั้งฉากกบั แนวลมหลกั ท่พี ดั ผา่ น คลา้ ยกบั ร้วิ คลื่นในทะเล 20

สนั ติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย 3) เนินทรายสันพระจันทร์ (barchaniod dune) (รูป 16ค) เกิดจาก เนินทรายพระจนั ทรเ์ สย้ี วขนาดเลก็ ทีต่ อ่ กันเป็นแนว เรยี งตวั ขวางทศิ ทางลมหลัก 4) เนินทรายเส้น (longitudinal dune) (รูป 16ง) มีลักษณะยาวตรง เป็นเส้น เดนิ ทางขนานไปกับทิศทางของลม โดยส่วนใหญ่มีความสูงประมาณ 100 เมตร และความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร เกิดในทะเลทรายท่ีมีทรายสะสมตัว น้อยและลมแรง 5) เนินทรายพาราโบลา (parabolic dune) (รูป 16จ) บางครั้ง เรียกว่า เนินทรายเกือกม้า (parabolic horseshoe dune) เป็นเนินทรายท่ีมี รูปร่างคล้ายกับตัว U ในภาษาอังกฤษ โดยปลายของเนินทรายอยู่ต้นลม เกิดจาก ทรายจานวนมากและมีลมเพียงทศิ ทางเดยี วเหมือนกับเนินทรายรูปพระจันทร์เสย้ี ว 6) เนินทรายดาว (star dune) (รูป 16ฉ) บางคร้ังเรียกว่า เนินทราย พีระมิด (pyramidal Dune) มีลักษณะคล้ายกับดาวเป็นสันแยกหลายแฉกออก จากศนู ยก์ ลาง ยอดสูงประมาณ 100-150 เมตร เกิดจากลมหลากหลายทศิ ทาง นอกจากการสะสมตัวท่ีเพิ่มมากข้ึน ลมยังสามารถทาให้เนินทราย เคล่อื นท่ีได้ เรียกวา่ กระบวนการเคลือ่ นท่ีของเนนิ ทราย (dune migration) ซ่ึง เม่ือลมพัดผ่านเนินทราย ทรายจะถูกพัดจาก หน้าปะทะลม (windward slope) ให้กระดอนไปตกยัง ด้านหลังของเนินทราย (drift face) ทาให้มีการเคลื่อนที่ ของเม็ดทรายอยู่ตลอดเวลา ปกติด้านหน้าท่ีปะทะลมจะมีความชันน้อยกว่า ดา้ นหลังซงึ่ เป็นท่ีสะสมตัวของตะกอน และชน้ั ตะกอนจะเอียงเทสูงไปทางด้านหลัง ของเนินทราย (รูป 17) ซึ่งการเคล่ือนท่ีของเนินทรายอาจส่งผลต่อการดารงชีวิต ของมนษุ ย์ได้ เช่นบางคร้ังเนินทรายเคลื่อนท่ีปิดเส้นทางคมนาคม รกุ ล้าที่อยู่อาศัย ของมนษุ ย์ (รูป 18) 21

สนั ติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย รปู 15. กระบวนการเคล่อื นที่ของเนนิ ทราย รปู 18. ผลกระทบจากการเคล่ือนทีข่ องเนนิ ทรายรุกลา้ ชุมชน 22

สันติ ภยั หลบล้ี ทะเลทราย 6 กำรสะสมตัวโดยนำ้ Deposition by Water ผลจากการสะสมตัวของตะกอนโดยน้าในสภาพแวดล้อมแบบทะเลทราย ทาให้เกดิ ภมู ิลกั ษณ์เฉพาะตวั ท่โี ดดเดน่ 2 รปู แบบ คอื (รปู 19ก) 1) เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) เกิดจากการไหลหลากของลาธาร ชั่วคราวอย่างรวดเร็วลงมาตามร่องเขา ทาให้เศษตะกอน ถูกพัดพาออกมาทับถม บริเวณหน้าเขา เกิดเป็น เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) บางคร้ังเนินตะกอน รปู พัดเกิดเป็นแพอยา่ งตอ่ เน่ืองกัน เรยี กวา่ บาจาดา (bajada) (รูป 19ข) 2) ทะเลสาบน้าเค็มบนพ้ืนทวีป (playa lake) เกิดจากน้าพ้ืนผิวที่ไหล อย่างรวดเร็วมาขังตัวในแอ่งหรือพ้ืนท่ีลุ่มต่าภายในทะเลทราย (รูป 19ค) ซึ่งด้วย 23

สันติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย ความร้อนและอัตราการระเหยของน้าท่ีสูง ทาให้ตะกอนแขวนลอยต่างๆ มีโอกาส ตกทับถมในทะเลสาบ เชน่ เฮไลด์ ยปิ ซม่ั เป็นตน้ (รูป 19ง) รูป 19. สภาพแวดลอ้ มการสะสมตวั ของตะกอนในสภาพแวดลอ้ มแบบทะเลทราย 24

สันติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย แบบฝกึ หัด วัตถปุ ระสงคข์ องแบบฝกึ หดั แบบฝึกหัดน้ี มีวัตถุประสงค์หลักเพ่ือให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเน้ือหา และ 2) คน้ ควา้ ความรเู้ พิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผเู้ ขยี น- ผูอ้ ่าน เท่านน้ั โดยไม่มีเจตนาวเิ คราะหข์ อ้ สอบเกา่ หรอื แนวขอ้ สอบแต่อย่างใด 1) แบบฝกึ หดั จบั คู่ คาอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคาบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้าย ของแตล่ ะข้อท่ีมคี วามสมั พันธก์ ัน 1. ____ Sahara ก. ร่องนา้ ซงึ่ โดยปกตไิ ม่มนี ้า แตเ่ ม่อื ฝนตก จะเกิดน้าท่วมฉบั พลนั 2. ____ aridity index ข. ทะเลสาบน้าเค็มบนพื้นทวีป มีอัตรา 3. ____ playa การระเหยของนา้ สงู 4. ____ arroyo ค. เขตเงาฝนหลังหบุ เขา 5. ____ yardang ง. อัตราส่วนของการระเหยต่อปริมาณ 6. ____ deflation นา้ ฝนในแต่ละปี จ. การพัดกราดและกาจัดตะกอนทราย และทรายแป้ง ฉ. การผุพงั ทางกายภาพจากอุณหภูมิ 25

สนั ติ ภยั หลบล้ี ทะเลทราย 7. ____ sandstorm ช. พน้ื ท่ีแหง้ แลง้ ท่ีสุดในโลก 8. ____ rain shadow ซ. พายุหมุนสดี าเกิดจากทราย 9. ____ thermal ฌ. เสาหินทะเลทรายเกิดจากการครูดถู expansion 10. ____ sand dune ของทรายซ่ึงพดั พามากบั ลม ญ. เนนิ ทราย 2) แบบฝกึ หัดถกู -ผิด คาอธิบาย : เติมเคร่ืองหมาย T หน้าข้อความท่ีกล่าวถูก หรือเติมเคร่ืองหมาย F หน้าข้อความทีก่ ลา่ วผิด 1. ____ ทะเลทรายคือพน้ื ที่ซง่ึ พืชไมส่ ามารถเจริญเติบโตได้ 2. ____ ทะเลทรายโดยสว่ นใหญเ่ กิดใน เขตอับฝน (rain shadow) 3. ____ ภูมลิ กั ษณ์ทพ่ี บไดโ้ ดยทั่วไปในทะเลทรายคอื อาโรยอส (arroyo) 4. ____ ทะเลสาบน้าเค็มบนพื้นทวีป (playa lake) คือชายหาดที่ถูก สร้างข้ึนในทะเลทรายในชว่ งระหวา่ งยคุ นา้ แขง็ ครงั้ ล่าสุด 5. ____ การกรัดกร่อนโดยลมสามารถเกดิ ในพ้ืนทที่ ะเลทรายเทา่ นัน้ 6. ____ ทะเลทรายทงั้ หมดอยู่ในพ้ืนที่ซง่ึ มีภูมิอากาศร้อน 7. ____ ทะเลทรายภายในทวีปเกิดจากพ้ืนที่ห่างจากทะเล ทาให้ไม่ได้รับ มวลอากาศชื้นจากมหาสมทุ ร 8. ____ ปจั จัยที่มผี ลต่อการผพุ ังทางกายภาพในทะเลทราย คือ ความรอ้ น ผลึกเกลือและลม 9. ____ สีแดงส้มที่สวยงามตามหุบเขาในทะเลทรายเป็นผลจากการผุพัง 26

สนั ติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย ทางเคมีของหนิ 10. ____ แอ่งลมหอบ (blowout) สามารถพัฒ นาไปเป็น โอเอซิส (oasis) ได้ 11. ____ ทะเลทรายโดยสว่ นใหญ่เกดิ น้าท่วมฉับพลัน (flash flood) อยู่ บอ่ ยคร้งั 12. ____ การพัดพาของตะกอนในทะเลทรายโดยลมมี 3 รูปแบบหลัก คือ คืบคลาน กระโดดและแขวนลอย 13. ____ ทะเลทรายโดยส่วนใหญ่ของโลกอยู่ระหว่างละติจูด 10 องศา เหนือและใต้ 14. ____ ทะเลทรายบางพื้นท่อี ยูต่ ดิ กับชายฝง่ั หรือมหาสมุทร 15. ____ ทะเลทรายตา่ งๆ ในทวปี ออสเตรเลีย เกดิ จากเขตเงาฝน 16. ____ เนินทราย (sand dune) ถูกพัฒ นาข้ึนได้ในเฉพาะพ้ืนท่ี ทะเลทรายเท่านัน้ 17. ____ ทางเท้าทะเลทราย (dessert pavement) คือภูมิลักษณ์ท่ีเกิด จากกระบวนการผพุ ังในทะเลทราย 18. ____ ทะเลทราย สามารถประกอบด้วย เนินทราย (sand dune) ได้ หลากหลายชนดิ ได้ 19. ____ ทะเลทราย คือพืน้ ท่ีซึ่งมีฝนตกโดยเฉลี่ย 25-50 เซนตเิ มตร และมี อัตราการระเหยสงู 20. ____ ทุ่งหญ้าสเตปป์ (steppe) คือพ้ืนที่หญ้าแห้งที่เกิดข้ึนโดยท่ัวไป ภายในทะเลทราย 3) แบบฝึกหัดปรนัย 27

สันติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย คาอธิบาย : ทาเครื่องหมาย X หน้าคาตอบท่ีถูกต้องท่ีสุดเพียงข้อเดียว จาก ตวั เลอื กทก่ี าหนดให้ 1. ดินลมหอบ (loess) คือ ดินทเี่ กดิ ในรปู แบบใด ก. กรวดจากการพัดพาโดยลม ข. ทรายจากการพัดพาโดยลม ค. ดนิ จากการพัดพาโดยลม ง. ทรายแปง้ จากการพัดพาโดยลม 2. กระบวนการทางธรณวี ทิ ยาทีม่ แี หลง่ พลังงานมาจากลมเรยี กว่าอะไร ก. barchan dune ข. coriolis ค. eolian ง. yardang 3. ข้อใดคือพ้นื ทรี่ าบ กวา้ งและเอยี งเลก็ นอ้ ยหน้าเชิงเขา ก. ลาดเชงิ เขาสกึ กรอ่ น ข. เนนิ ตะกอนรูปพดั (pediment) (alluvial fan) ค. เนนิ เมซา (mesa) ง. ทร่ี าบสูง (plateau) 4. พายุฝุ่น (dust storm) ในปริมาตรของอากาศ 1 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีฝุ่นอยู่ ประมาณเท่าใด ก. 1 ตนั ข. 10 ตนั ค. 100 ตัน ง. 1,000 ตัน 5. ขอ้ ใดคือการกัดกร่อนโดยลมท่ีปรบั ระดบั พ้ืนท่ีให้ต่าลง ก. deflation ข. inflation ค. ablation ง. ไมม่ ขี อ้ ใดถูก 6. เสาหนิ ทะเลทราย (yardang) คืออะไร 28

สันติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย ก. หินที่หลงเหลือจากการถูกกัด ข. หินฐานซ่ึงถูกกัดกร่อนเป็นรอย กร่อนโดยฝุ่น ครดู ถตู ามยาว ค. เนินทรายท่ีวางตัวทอดยาว ง. ไม่มขี อ้ ใดถูก ขนานเปน็ แถว 7. บริเวณ เนนิ ทราย (sand dune) ท่ีมีความชันสงู และอยใู่ ต้ลมเรยี กวา่ อะไร ก. sand drift ข. ventifact ค. slip face ง. streamline 8. ช้นั ตะกอนขวาง (cross bed) ทพ่ี บในหนิ ทรายท่เี กดิ ในทะเลทรายบง่ ชอี้ ะไร ก. ผิวหนา้ ของเนินทรายในอดีต ข. ระดบั พ้นื ของเนนิ ทรายในอดีต ค. ระนาบการะสมตัวด้านเหนือลม ง. ระนาบการะสมตัวด้านใต้ลม ของเนนิ ทรายในอดตี ของเนินทรายในอดีต 9. โดยปกติเนนิ ทรายหลงั ชายหาดจะเปน็ เนินทรายชนดิ ใด ก. เนนิ ทรายพระจนั ทร์เสย้ี ว ข. เนินทรายตามขวาง (barchan dune) (transverse dune) ค. เนนิ ทรายพาราโบลา ง. เนนิ ทรายเสน้ ตรง (parabolic dune) (linear dune) 10. ในช่วงกระบวนการกดั กร่อน ดนิ ลมหอบ (loess) มีแนวโนม้ ท่จี ะผพุ ังและแตก ออกจากกันในรปู แบบใด ก. ผพุ ังตามช้นั การวางตัว ข. ผพุ งั เป็นแผน่ ในแนวต้ัง ค. ผพุ งั ตามแนวรอยแตก ง. ผพุ งั อย่างชา้ ๆ เปน็ เมด็ ๆ 11. ข้อใดคือสันทรายยาวขนานไปกับลม 29

สนั ติ ภยั หลบล้ี ทะเลทราย ก. เนนิ ทรายพระจันทรเ์ ส้ยี ว ข. เนนิ ทรายเสน้ ตรง (barchan dune) (linear dune) ค. เนินทรายตามขวาง ง. เนินทรายพาราโบลา (transverse dune) (parabolic dune) 12. กระบวนการทเ่ี ปล่ียนพน้ื ที่กง่ึ แห้งแล้งไปเป็นทะเลทรายเรียกว่าอะไร ก. deflation ข. deforestation ค. detoxification ง. desertification 13. แร่ชนิดใดท่ีทาให้เกิดสีส้มแดงหรือสีน้าตาลบนพื้นผิวที่มีการผุพังใน สภาพแวดล้อมแบบทะเลทราย ก. ควอตซ์ ข. เฟลด์สปาร์ ค. เหล็กออกไซด์ ง. ถูกทกุ ขอ้ 14. พื้นที่ซึ่งถูกจาแนกว่าเป็นทะเลทรายทั้งหมดบนโลกมีทรายปกคลุมอยู่กี่ เปอรเ์ ซ็นต์โดยประมาณ ก. 5% ข. 20% ค. 50% ง. 100% 15. วาดิ (wadi) คอื อะไร ก. เนินเมซา (mesa) ขนาดใหญ่ ข. ทะเลสาบนา้ เคม็ บนพื้นทวีป ค. ธารนา้ แหง้ แล้ง (dry wash) ง. ไมม่ ีขอ้ ใดถูก 16. ขอ้ ใด ไม่ใช่ ชอ่ื ทะเลทราย ก. Gobi ข. Sahara ค. Kalahari ง. Cotopaxi 17. ข้อใดกล่าวผิดเกีย่ วกับ การพดั กราด (deflation) 30

สันติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย ก. ทางเท้าทะเลทราย (dessert ข. การพัดกราดทาให้เกิดหลุมหรือ pavement) เป็นผลมาจากการ ท่ีลมุ่ ต่าในทะเลทรายได้ พดั กราด ค. การพั ด กราด ท าให้ ตะก อน ง. ถูกทุกข้อ หายไป 2-3 เมตร/ปี 18. ขอ้ ใด ไมใ่ ช่ รปู แบบการเคลื่อนที่ของเม็ดตะกอนโดยลม ก. traction ข. suspension ค. saltation ง. creep 19. เนินทรายเกิดจากสภาพแวดล้อมแบบใด ก. มี ห ลุ ม ที่ ท าให้ ค ว าม เร็ว ล ม ข. มีเศษหินหรือพุ่มไม้ก้ันลมและ เปลี่ยนแปลง ดักทรายไว้ ค. มีพื้นท่ีราบเพียงพอให้ทราย ง. เกิดขน้ึ ได้ทกุ รูปแบบดงั กล่าว สะสมตวั 20. ทางเท้าทะเลทราย (dessert pavement) เกิดข้นึ ได้อย่างไร ก. น้าท่วมฉับพลันพัดพาเศษหิน ข. เศษหินจากภูเขาไฟปะทุปกคลุม กองรวมกัน ทะเลทราย ค. การพดั กราดโดยลม ง. การผพุ งั ทางเคมี 21. ขอ้ ใด ไมใ่ ช่ ลกั ษณะเฉพาะของทะเลทราย (desert) ก. เนินทรายมีการเคลื่อนตัวอยู่ ข. อัตราการควบแน่นสูงกว่าการ ตลอดเวลา ระเหยของน้า ค. อุณหภูมิสงู ง. ไมม่ ขี ้อใดถูก 22. น้าท่วมฉบั พลนั (flash flood) ในทะเลทรายเกิดจากสาเหตุใด 31

สนั ติ ภยั หลบล้ี ทะเลทราย ก. ปริมาณ น้าฝนท่ีตกลงมาใน ข. การจ่ายน้าจากน้าใต้ดินมาสู่ ชว่ งเวลาสั้นๆ ทะเลสาบน้าเค็ม ค. ขอ้ ก. และ ข. ถกู ง. ไมม่ ีขอ้ ใดถกู 23. นา้ ทว่ มฉบั พลัน (flash flood) ในทะเลทรายมีความถข่ี องการเกดิ เป็นอยา่ งไร ก. โอกาสเกดิ นอ้ ย ข. เกิดขึน้ บอ่ ยกวา่ พน้ื ทีช่ ุ่มชนื้ ค. เกิดข้นึ นอ้ ยกวา่ พื้นท่ชี มุ่ ชนื้ ง. เกิดขึ้นบ่อยเท่ากบั พน้ื ทีช่ ุ่มชน้ื 24. อาโรยอส (arroyo) คืออะไร ก. พ้ืนที่ขนาดใหญ่ที่ระบายความ ข. เชิงเขาในทะเลทรายเป็นแหล่ง ร้อนของทะเลทราย สะสมตวั ของตะกอน ค. ทะเลสาบชวั่ คราวในทะเลทราย ง. ธารนา้ แหง้ ในทะเลทราย 25. ขอ้ ใดคอื เนนิ ทรายท่นี ูนออกไปทางใต้ของทิศทางลม ก. เนนิ ทรายตามขวาง ข. เนนิ ทรายพระจนั ทร์เสีย้ ว (transverse dune) (barchan dune) ค. เนนิ ทรายพาราโบลา ง. เนนิ ทรายเส้น (parabolic dune) (longitudinal dune) 26. นอกจากโลก เนินทราย (sand dune) สามารถพบได้บนดาวเคราะห์ดวงใด ก. ดาวอังคาร (Mars) ข. ดวงจนั ทร์ (Moon) ค. ดาวยเู รนสั (Uranus) ง. ดาวศุกร์ (Venus) 27. การสะสมตวั ของทรายแป้งและดินเนื่องจากการพัดพาโดยลมเรยี กว่าอะไร ก. เนินทราย (dune) ข. ดนิ ทะเลทราย (desert clay) ค. ดินลมหอบ (loess) ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก 28. เนินทรายโดยสว่ นใหญเ่ คล่ือนท่ีดว้ ยความเรว็ เทา่ ใด 32

สนั ติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย ก. 10-15 เมตร/ปี ข. 1-2 กโิ ลเมตร/ปี ค. 30-100 เมตร/ปี ง. ไมม่ ีขอ้ ใดถูก 29. ข้อใดคอื ลกั ษณะเฉพาะของทะเลทราย ก. น้าท่วมฉับพลนั ข. มพี ืชและสัตว์อาศยั อยู่ ค. อตั ราการผพุ งั ทางเคมีช้า ง. ถกู ทุกขอ้ 30. ข้อใด ไมใ่ ช่ ภูเขาทเ่ี กิดจากกระบวนการกรดั กร่อนในทะเลทราย ก. plateau ข. inselberg ค. mesa ง. ถูกทกุ ขอ้ 31. ขอ้ ใดกล่าวผดิ เกี่ยวกับ การเคลื่อนทข่ี องเนินทราย (dune migration) ก. ทรายด้านหน้าลมพัดไปสะสม ข. เนินทรายขนาดใหญ่เคลอื่ นที่ใน ตวั ด้านหลังลม อตั รา 2-3 เมตร/ปี ค. เนิ น ท ราย ช าย ฝั่ งส าม าร ถ ง. เนินทรายขนาดเล็กเคล่ือนที่ เคล่ือนทไี่ ปทางทะเลได้เชน่ กัน ดว้ ยอัตราเท่ากับขนาดใหญ่ 32. ขอ้ ใดคอื เนินทรายตามขวาง (transverse dune) ก. สันของเนินทรายมีทิศทางต้ัง ข. สันของเนินท รายมีทิศทาง ฉากกับทิศทางลม ขนานไปกับทศิ ทางลม ค. มีรูปร่างพระจันทร์เสี้ยวโดย ง. เป็นเนินทรายซับซอ้ นท่ีเกดิ จาก ปลายท้งั สองด้านช้ีสวนทางลม ทิศทางลม ≥ 3 ทิศทาง 33. ข้อใดคือความแตกต่างของ เนินเมซา (mesa) และ เนินยอดป้าน (butte) ก. ความแบนราบ ข. ขนาด ค. ตาแหน่งทางภูมศิ าสตร์ ง. ชนิดหิน 34. ขอ้ ใดคอื พ้นื ทร่ี าบเรยี บ มที ะเลสาบที่มนี า้ นอ้ ยและมรี ะแหงโคลนของแรด่ นิ 33

สันติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย ก. plateau ข. bajada ค. mesa ง. playa lake 35. การยา้ ยมวลขนาดทราย ทรายแปง้ ดนิ ออกจากพนื้ ผิวโดยลมเรียกว่าอะไร ก. การทาให้ลดลง (depletion) ข. การสะสมตัว (deposition) ค. การพดั กราด (deflation) ง. การพดั พา (erosion) 36. ขอ้ ใด ไมใ่ ช่ ชนิดของเนนิ ทราย ก. เนินทรายตามขวาง ข. เนินทรายพาราโบลา (transverse dune) (parabolic dune) ค. เนินทรายพระจนั ทรเ์ สยี้ ว ง. ถูกทกุ ข้อ (barchan dune) 37. ข้อใดคือเนินท่ีเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนเชงิ เขา คลา้ ยกับเนนิ ตะกอนรูป พดั ทอ่ี ย่ตู ดิ อยา่ งตอ่ เนื่องกัน ก. wahdi ข. playa lake ค. arroyo ง. bajada 38. ขอ้ ใด ไมใ่ ช่ ปัจจยั สาคญั ของกระบวนการกรดั กร่อน ในพื้นที่ทะเลทราย ก. ขาดแคลนพืชปกคลุม ข. ฝนที่เว้นชว่ ง ค. การผพุ ังทางเคมที ีร่ นุ แรง ง. ถกู ทุกขอ้ 39. ขอ้ ใดช่วยสง่ เสรมิ การพฒั นาเนนิ ทราย ก. ลมรุนแรง ข. ปรมิ าณของทราย ค. ภูมอิ ากาศแห้ง ง. ถกู ทุกข้อ 40. ข้อใดคือเนนิ ทรายทม่ี ขี นาดใหญ่และสงู ทส่ี ุดกว่าเนินทรายชนิดอืน่ ๆ 34

สนั ติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย ก. เนนิ ทรายดาว ข. เนนิ ทรายเสน้ (star dune) (longitudinal dune) ค. เนินทรายพระจันทรเ์ สี้ยว ง. เนินทรายตามขวาง (barchan dune) (transverse dune) 41. ขอ้ ใด ไมส่ มั พันธ์ กับการกดั กรอ่ นโดยลม ก. ดินลมหอบ (loess) ข. กรวดตอ้ งลม (ventifact) ค. การพดั กราด (deflation) ง. แอง่ ลมหอบ (blowout) 42. พายฝุ ่นุ (dust storm) โดยสว่ นใหญ่มีแหลง่ กาเนดิ มาจากพน้ื ท่ีใด ก. playa lake ข. flood plain ค. dessert pavement ง. loess blanket 43. โดยปกตเิ นนิ ทรายจะวางตวั อยา่ งไร ก. ขนานไปกับทศิ ทางลม ข. ตงั้ ฉากกบั ทศิ ทางลม ค. เอียง 45 องศา จากด้านซ้าย ง. ข้อ ก. และ ข. ถกู หรือขวาของทิศทางลม 44. ขอ้ ใดคอื องคป์ ระกอบสาคญั ของ ดนิ ลมหอบ (loess) ก. ทราย (sand) ข. ทรายแป้ง (silt) ค. กรวด (gravel) ง. เถา้ ภูเขาไฟ (volcanic ash) 45. ข้อใดกลา่ วผิดเก่ยี วกบั ดนิ ลมหอบ (loess) ก. ดินร่วนไม่เหมาะกับการยึดของ ข. ตะกอนมีขนาดเล็กและน้าซึม รากพืช ผา่ นไดง้ ่าย ค. มีสารอาหารสาหรบั พชื นอ้ ย ง. ดินทีเ่ หมาะแกก่ ารเกษตรกรรม 46. ข้อใดคือกรวดทีม่ หี นา้ ตัดแบนราบเนือ่ งจากการกดั กรอ่ นโดยลม 35

สันติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย ก. ventifact ข. aeoliclast ค. erratic ง. yardang 47. ทางเทา้ ทะเลทราย (dessert pavement) เกดิ ขึ้นไดอ้ ย่างไร ก. การผพุ ังทางกายภาพ ข. การกดั กร่อนโดยน้า (physical weathering) (stream erosion) ค. การผพุ งั ทางเคมี ง. การกัดกรอ่ นโดยลม (chemical weathering) (wind erosion) 48. เหตใุ ดทราย กระโดดเป็นชว่ ง (saltation) ในอากาศไดส้ ูงกวา่ ในน้า ก. น้ามีความหนาแน่นน้อยกว่า ข. ทรายแขวนลอยในอากาศได้ อากาศ นานกวา่ ในนา้ ค. ความเร็วลมเร็วกว่าความเรว็ นา้ ง. อากาศมีความหนืดต่ากว่านา้ 49. ขอ้ ใดคือแหลง่ กาเนดิ ฝุน่ ทส่ี าคญั ก. เถ้าจากการปะทุของภูเขาไฟ ข. แร่ดนิ ค. อนิ ทรียวัตถุ และแบคทเี รีย ง. ถูกทุกข้อ 50. การสะสมตัวของตะกอนทรายในเนินทรายเอียงเทไปทางทิศตะวันตก ประเมิน ได้วา่ กระแสลมหลักมาจากทศิ ใด ก. ตะวนั ออก ข. ตะวนั ตก ค. เหนอื ง. ใต้ 51. ข้อใดคอื ท่งุ เนินทรายขนาดใหญ่ ก. draa ข. barchan ค. reg ง. erg 52. ขอ้ ใดคอื ทะเลทรายซง่ึ มพี น้ื ผวิ เป็น กรวด (pebble) 36

สนั ติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย ก. draa ข. barchan ค. reg ง. erg 53. ขอ้ ใด ไม่สัมพนั ธ์ กบั การกัดกรอ่ นโดยลม ก. ดินลมหอบ (loess) ข. กรวดต้องลม (ventifact) ค. การพดั กราด (deflation) ง. แอง่ ลมหอบ (blowout) 54. เหตใุ ดเถ้าภูเขาไฟจึงถูกพัดพาไปไดไ้ กลกวา่ ฝุ่นทพ่ี ัดพาโดยลมในทวีป ก. เถ้าภูเขาไฟประกอบด้วยแร่ ข. เถ้าภูเขาไฟมีความหนาแน่น ควอตซ์ ในขณะที่ฝุ่นจากทวีป น้อยกวา่ ฝุ่นจากทวปี โดยสว่ นใหญ่เป็นแร่เฟลดส์ ปาร์ ค. เถ้าภูเขาไฟปะทุข้ึนไปสูงเหนือ ง. ถกู ทกุ ข้อ บรรยากาศ 55. พืน้ ที่ใดท่มี โี อกาสพบทะเลทรายยากทีส่ ุด ก. ทะเลสาบน้าเค็มบนพ้ืนทวปี ข. ภเู ขาซงึ่ มีดนิ ปกคลุม ค. ร่องน้าลึกกลางหบุ เขา ง. ท่งุ เนินทราย 56. ข้อใด ไมใ่ ช่ ผลจากการสะสมตวั โดยลม ก. ลาดเชิงเขาสึกกร่อน (pediment) ข. เนินทราย (dune) ค. ดนิ ลมหอบ (loess) ง. ไม่มขี อ้ ใดถกู 57. ร้ิวคล่ืนท่ีเกิดจากการสะสมตัวของทราย ทามุมประมาณเท่าใดกับทิศทางของ กระแสลม ก. ขนาน ข. 30 องศา ค. 45 องศา ง. ตัง้ ฉาก 58. ข้อใดกลา่ วผิด 37

สนั ติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย ก. ลมกัดกร่อนในภูมิอากาศแบบ ข. ลมกัดกร่อนในภูมิอากาศแบบ เปียกไดด้ ี แห้งไดด้ ี ค. ลมกัดกร่อนในภูมิอากาศทั้ง ง. ไมม่ ีข้อใดถกู แบบเปียกและแห้งไดด้ ี 59. แรงโคริออริส (coriolis force) มีผลทาให้กระแสอากาศหรือน้าบนโลก เคลอื่ นท่ีเบย่ี งเบนอย่างไร ก. ตะวันออกในซีกโลกเหนือ - ข. ตะวันออกในซีกโลกเหนือ - ตะวนั ออกในซีกโลกใต้ ตะวนั ตกในซีกโลกใต้ ค. ต ะ วัน ต ก ใน ซี ก โล ก เห นื อ - ง. ต ะ วั น ต ก ใน ซี ก โล ก เห นื อ - ตะวนั ออกในซกี โลกใต้ ตะวันตกในซกี โลกใต้ 60. เหตุใดพ้ืนผิวทะเลทรายโดยส่วนใหญ่จึงประกอบด้วย ทราย กรวด แต่พบดิน ในปริมาณตา่ ก. ดิ น เกิ ด ขึ้ น ได้ อ ย่ างช้ าๆ ใน ข. ลมพัดดินและอนภุ าคขนาดเล็ก ทะเลทราย ไปสะสมในพน้ื ที่อน่ื ค. พื ช พั น ธ์ ก ร ะ จ า ย ตั ว จ น ไม่ ง. ถูกทกุ ขอ้ สามารถป้องกนั การกัดกรอ่ น 61. ขอ้ ใดคือ เนนิ เมซา (mesa) ก. ตะกอนทเ่ี กดิ ในชว่ งนา้ ท่วมของ ข. ที่ราบสูงขนาดเล็กล้อมรอบไป แม่น้าที่แห้งแล้ง ดว้ ยหนา้ ผาสูงชนั ค. ภูเขาซ่ึงมีช้ันตะกอนในแนว ง. ประกอบด้วย ลาดเชิงเขาสึก ระนาบ กรอ่ นและเนินตะกอนรปู พัด 62. หนิ ในทะเลทรายท่ีมีพืน้ ผิวของหนิ แบนราบเรยี กวา่ อะไร 38

สันติ ภัยหลบลี้ ทะเลทราย ก. ventifact ข. desert varnish ค. bajada ง. dessert pavement 63. สฟิงซ์ (sphinx) คือรปู ปั้นทีถ่ ูกแกะสลักมาจากสว่ นใดของทะเลทราย ก. barchan dune ข. Inselberg ค. pediment ง. yardang 64. ขอ้ ใดกล่าวผิดเก่ียวกบั ทะเลสาบนา้ เคม็ บนพนื้ ทวีป (playa lake) ก. โดยส่วนใหญ่ถ่ายเทน้าออกไป ข. อาจจะมีน้าอยู่ในช่วงเวลา 1 ทางอาโรยอส (arroyo) สัปดาห์ ค. มสี ่วนประกอบของเกลอื ง. เกดิ จากฝนตกไมใ่ ช่นา้ ใต้ดนิ 65. ลมสามารถกดั กร่อนหินแข็งได้อยา่ งไร ก. ลมละลายตัวเช่ือมประสานบาง ข. ลมพัดเม็ดทรายกระแทกกับหิน ชนิดของหนิ เป็นเวลานาน ค. ลมแทรกเข้าไปตามรอยแตก ง. แรงดันจากลมท่กี ระชากรนุ แรง ของหิน 66. พนื้ ทะเลทรายที่มกี รวดหนาแน่นทับถมกนั เปน็ ชั้นเรยี กวา่ อะไร ก. ventifact ข. desert varnish ค. bajada ง. dessert pavement 67. พชื บางชนดิ สามารถเจรญิ เตบิ โตในทะเลทรายได้อย่างไร ก. รอดชีวติ ได้ เนือ่ งจากฝนที่ตกลง ข. มีใบน้อยและมีความมันวาว มา เคลือบใบไว้ ค. ปรบั ตวั กับสภาวะความชน้ื ต่า ง. ถกู ทุกขอ้ 68. ข้อใดคอื เนนิ ทรายพระจันทร์เสย้ี ว (barchan dune) 39

สนั ติ ภยั หลบลี้ ทะเลทราย ก. โค้งมนปลายสองด้านช้ีสวนทาง ข. โค้งมนปลายสองด้านช้ีตาม ทิศทางลม ทิศทางลม ค. แ น วสั น ท ราย ข น าน ไป กั บ ง. แนวสันทรายขวางทิศทางลม ทิศทางลม 69. เหตุใดพื้นที่ตอนกลางของทวีปออสเตรเลียจึงเปลี่ยนจากสภาพแวดล้อมแบบ ช้ืนสงู ไปเปน็ ทะเลทราย ก. ธรณีแปรสัณฐานทาให้หลาย ข. ทวีปออสเตรเลียเคล่ือนท่ีขึ้น พน้ื ท่มี ภี ูเขากนั้ ลมมหาสมุทร เหนือไปพ้นื ที่กง่ึ โซนร้อน ค. ทวีปออสเตรเลียเคล่ือนท่ีลงไป ง. การปะทุของภูเขาไฟทาให้ทวีป ทางใต้ซ่ึงได้รับลมที่มีความช้ืน ออสเตรเลียใหญ่ข้ึน ส่วนกลาง นอ้ ยลง ทวปี ไกลจากมหาสมทุ ร 70. ขอ้ ใดคอื ปจั จัยของลมทส่ี ง่ ผลตอ่ ความปัน่ ปว่ นของอากาศ ก. ปริมาตร ข. ความเร็ว ค. ความเรง่ ง. ระยะทาง 40

สันติ ภยั หลบล้ี ทะเลทราย เฉลยแบบฝกึ หดั 1) แบบฝกึ หดั จบั คู่ 3. ข 4. ก 5. ฌ 1. ช 2. ง 8. ค 9. ฉ 10. ญ 6. จ 7. ซ 3. T 4. F 5. F 2) แบบฝกึ หดั ถกู -ผดิ 8. T 9. T 10. T 13. F 14. T 15. F 1. F 2. T 18. T 19. F 20. F 6. F 7. T 3. ก 4. ง 5. ก 8. ง 9. ข 10. ข 11. T 12. T 13. ค 14. ข 15. ค 18. ก 19. ข 20. ค 16. F 17. T 23. ข 24. ง 25. ค 28. ก 29. ง 30. ก 3) แบบฝึกหดั ปรนัย 33. ข 34. ง 35. ค 38. ค 39. ง 40. ก 1. ง 2. ค 41 6. ก 7. ค 11. ข 12. ง 16. ข 17. ค 21. ข 22. ก 26. ก 27. ค 31. ง 32. ก 36. ง 37. ง

สันติ ภัยหลบล้ี ทะเลทราย 41. ก 42. ง 43. ง 44. ข 45. ง 46. ก 47. ง 48. ง 49. ง 50. ก 51. ง 52. ค 53. ก 54. ค 55. ข 56. ก 57. ง 58. ข 59. ก 60. ง 61. ข 62. ก 63. ง 64. ก 65. ข 66. ง 67. ง 68. ข 69. ข 70. ข 42


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook