รายงานการดำเนนิ งานของจังหวดั ในการรบั มอื การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID–19) ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564
ก บทสรปุ ผู้บริหาร 1. ที่มา จากสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนกั งาน ก.พ.ร. ในฐานะ หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการพิจารณาเห็นความสำคัญของจังหวัดซึ่งเปรียบเสมือน ฟันเฟืองที่จะช่วยให้เครื่องจกั รการพัฒนาระบบราชการขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ การดำเนินมาตรการตา่ ง ๆ เพ่ือ รับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวในระดับพื้นที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จในการป้องกันการแพร่กระจาย ของโรคในระดับประเทศ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดทำรายงานการดำเนินงานของจังหวัดในการรับมือ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563–2564 โดยมี วตั ถุประสงคเ์ พื่อรวบรวมแนวทาง วิธีการทำงานของจงั หวัด การพฒั นานวตั กรรมเพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดหากจะ เกิดข้นึ อกี ตอ่ ไป 2. วธิ กี ารรวบรวมและประมวลข้อมลู รายงานการถอดบทเรียนฉบับนเี้ ป็นการรวบรวมข้อมลู จากแหลง่ ตา่ ง ๆ ดังนี้ (1) การถอดบทเรยี นของจังหวัดในระบบการประเมนิ ตนเองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Self Assessment Report : e-SAR) ของสำนักงาน ก.พ.ร. ปงี บประมาณ พ.ศ. 2563–2564 (2) การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สำนักงานจังหวัดเกี่ยวกับการดำเนินงานของจังหวัด การให้บริการ และความคดิ เหน็ ตอ่ มาตรการทำงานที่บ้าน (Work from Home : WFH) ของข้าราชการ (3) เวบ็ ไซต์ และขอ้ มูลขา่ วสารจากสอื่ ส่งิ พิมพ์ และส่ือโซเชยี ลมีเดีย 3. ข้อค้นพบ 3.1 ผลกระทบต่อการดำเนินงานของจังหวัด (1) ผลกระทบต่อการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของจังหวัด เนื่องจากบางแผนงาน โครงการไม่สามารถดำเนินการได้ อาทิ โครงการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดงานเทศกาล งาน ประเพณีต่าง ๆ งานแสดงสินค้า รวมท้งั การงดจัดกิจกรรมท่ีมีการรวมตวั ของคนจำนวนมาก กิจกรรมในการพัฒนา ศักยภาพของผลติ ภัณฑ์ชุมชน และผปู้ ระกอบการวสิ าหกิจชมุ ชน การเตรียมความพร้อมของเกษตรกรเพื่อยกระดับ มาตรฐานการผลติ และการให้ความรูแ้ ก่กล่มุ เส่ยี งด้านยาเสพติด เป็นต้น (2) ผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน ไม่สามารถให้บริการในลักษณะปกติได้ มีการจำกัด จำนวนผใู้ ชบ้ รกิ ารต่อวัน เลอื่ นการใหบ้ ริการที่ไม่เรง่ ดว่ นออกไปก่อน รวมทัง้ มกี ารปดิ การให้บริการศูนย์บริการร่วม อำเภอยิม้ และการงดการเย่ียมญาตขิ องทกุ เรือนจำ เป็นต้น (3) ผลกระทบต่อการทำงานของเจ้าหน้าทท่ี ี่ไม่สามารถปฏบิ ัติงานในสถานท่ีตามปกติได้ มีการทำงาน เหลื่อมเวลา สลับวันกันทำงาน รวมทั้งการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) เพื่อลดความเสี่ยงในการเดินทาง และลดความแออัดของสถานทท่ี ำงาน รวมทั้งกระบวนการปฏบิ ตั ิงานปกตติ ้องมีการปรบั เปล่ยี นรูปแบบโดยอาศัย เทคโนโลยีมาช่วยเพ่มิ มากขนึ้
ข (4) ผลกระทบต่อการประเมินตามมาตรการปรบั ปรงุ ประสทิ ธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2563–2564 ทำให้ผลการประเมินไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ จากข้อมูลผลการ ดำเนินงานของตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น รายได้จากการท่องเที่ยว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ลดลงจากปีก่อนเกือบ ร้อยละ 50 หรือรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน จากเดิมที่เคยเพิ่มขึ้นในแต่ละปีกว่าร้อยละ 20 แต่ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพ่มิ ขนึ้ เพยี งร้อยละ 9 และร้อยละ 8 ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 เปน็ ตน้ 3.2 การดำเนนิ การของจงั หวัดเพอ่ื บรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ การดำเนินงานของจังหวัดเพื่อป้องกัน การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จึงเป็นการจำลองกลไกการดำเนินงาน และมาตรการมาจากศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (ศบค.) เช่น จดั ต้ังศนู ยบ์ รหิ ารสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรค COVID-19 ของจังหวัด และตง้ั คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ระดับจังหวัด มีมาตรการปิดสถานบริการ งดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายคนข้ามจังหวัดของ หน่วยงานทมี่ ีคนจำนวนมาก งดการเรียนการสอนของมหาวทิ ยาลัย วทิ ยาลัย และโรงเรยี น เป็นตน้ นอกจากนี้ จังหวัดได้นำแนวทางที่ส่วนกลางกำหนดมาใช้ เช่น กรมควบคุมโรคกำหนดมาตรการ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน โดยใช้หลัก 6 C (C1 : Capture C2 : Case Management and Infection Control C3 : Contact tracing and Containment C4 : Communication C5 : Communication Intervention and Law Enforcement และ C6 : Coordinating and Joint Information Center) เป็นต้น ที่สำคัญจังหวัดมีการพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาช่วยลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานและนวัตกรรม ในการใหบ้ รกิ าร เช่น ใช้หุ่นยนตช์ ว่ ยส่งอาหารและเวชภณั ฑ์ในโรงพยาบาล ใช้อากาศยานไร้คนขับสำรวจพ้ืนที่เสี่ยง จัดตั้งอาสาสมัครต่างด้าว พัฒนาระบบคดั กรอง/เฝา้ ระวัง และตดิ ตามกลุม่ เสี่ยงโดยผ่านระบบออนไลน์ นำระบบ การให้บริการ e-Service มาใช้ พัฒนาระบบการให้บริการด้วยระบบออนไลน์ เช่น การจองคิว การนัดหมาย เข้ารบั บรกิ าร การให้บรกิ ารทางการแพทย์ออนไลน์ และการรับเรื่องรอ้ งเรยี นออนไลน์ เป็นต้น หลังจากสิ้นสุดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกแรก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า มี 9 จังหวัดท่ีไมพ่ บผู้ติดเช้ือ ได้แก่ จังหวดั น่าน พิจิตร กำแพงเพชร บึงกาฬ สิงหบ์ ุรี ชยั นาท อ่างทอง ตราด และ ระนอง มีการดำเนินมาตรการที่ไม่แตกต่างกันนกั จังหวัดสว่ นใหญ่ให้ความสำคัญกบั ประชาชนเป็นหลัก โดยเน้น การสรา้ งวนิ ัยในการปฏิบตั ิตนเพ่ือใหห้ ่างไกลโรค เช่น รักษาระยะหา่ ง ไมอ่ อกจากบ้านหากไม่จำเป็น สวมหน้ากาก อนามัย และล้างมือบ่อยครั้ง เป็นต้น รองลงมาคือการเข้มงวดกวดขันในการคัดกรองเพื่อสร้างเกราะป้องกัน ประชาชนภายในจังหวัด หากพิจารณาจาก 9 จังหวัดดังกล่าว พบว่า สภาพทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเป็นเกราะ ช่วยปกป้องให้รอดพ้นจากการติดเชื้อในครั้งนี้ได้ โดยเป็นจังหวัดขนาดเล็กและไม่ใช่เป็นเมืองศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจ ประชาชนใช้ชีวิตเรียบง่าย ขณะที่สถานการณ์การติดเชื้อในงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีความแตกต่าง จากปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 หลายประเด็น โดยพบผู้ตดิ เช้ือจำนวนมากและกระจายในทกุ จงั หวดั กล่าวในภาพรวม ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการประสบความสำเร็จในการป้องกันการแพร่ระบาดของ โรค COVID-19 ของจังหวัดทั้งสองปีไม่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ อาศัยข้อกําหนดตามความในมาตรา 9 แห่ง พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 1 ข้อ 7 “ให้ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นผู้กํากับบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติ ในเขตท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ” ควบคู่ไปกับพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 20 ที่กำหนดให้มี คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเปน็ กรรมการ และมีนายแพทย์สาธารณสขุ จังหวัด เปน็ กรรมการและเลขานุการ
ค การบรหิ ารจัดการสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 ของผูว้ ่าราชการจงั หวัดโดยอาศัย กฎหมายดังกล่าวทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถบริหารจัดการในพื้นที่ได้อย่างเบ็ดเสร็จ มีความเป็นเอกภาพ การสั่งการจึงมีลักษณะเป็นคำสั่งเดียว (Single Command) ส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนและความสับสนของผู้ปฏิบัติ นอกจากนี้การบูรณาการการทำงาน หลายภาคส่วนก็เป็นพลังขับเคลื่อนนโยบายได้บรรลุผล ปัจจัยด้านความพร้อมทั้งด้านการแพทย์และการ สาธารณสุข งบประมาณ และเคร่ืองมอื อปุ กรณ์ เวชภณั ฑ์ ความรว่ มมือของประชาชน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง และทันการณ์ ก็เป็นปัจจัย ทีส่ ำคัญเชน่ กัน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติจังหวัดยังคงพบกับปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดหลายประการที่ควร ได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นความไม่ชัดเจนของกฎ ระเบียบ กฎหมาย ประกาศ คำสั่ง ข้อสั่งการ ทำให้ผู้ปฏิบัติ ต้องใช้ดุลพินิจในการตีความ ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ บุคลากรในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ เนื่องจาก ต้องเฝ้าระวงั และป้องกันการแพร่ระบาดให้ครอบคลมุ พื้นที่จังหวัดอย่างต่อเนื่องเป็นชว่ งเวลานาน ไม่สามารถหา อตั รากำลงั สำรองมาทดแทนได้ ทำให้ผูป้ ฏบิ ัติงานเหนื่อยลา้ เกดิ ภาวะเครยี ด และสง่ ผลต่อปัญหาสขุ ภาพตามมา ข้อจำกัดของงบประมาณที่มีไม่เพียงพอประกอบกับความไม่ยืดหยุ่นของระเบียบการเบิกจ่าย สร้าง ความยุ่งยากและไม่คล่องตัวในการปฏิบัติ การสื่อสารสร้างการรบั รู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนยงั ไมก่ ระจายเข้าถงึ ทุกกลุม่ ทำให้ประชาชนบางส่วนมคี วามเข้าใจคลาดเคลอ่ื น และบางครงั้ นำมาสกู่ ารปฏเิ สธและตอ่ ตา้ นการทำงาน ของภาครัฐ เช่น การตั้งโรงพยาบาลสนาม หรือการตั้งสถานที่กักกันในพื้นที่ เป็นต้น และประการสุดท้า ย คือ ขาดขอ้ มูลทค่ี รบถว้ น ถูกต้อง รวดเรว็ ทำใหก้ ารบรหิ ารจดั การล่าช้ากว่าทคี่ วรจะเปน็ 4. ข้อเสนอแนะ บทเรียนที่ได้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ผ่านมา เป็นการส่งสัญญาณว่า การทำงานหลงั COVID-19 ต้องปรับเปลยี่ นไป จงั หวดั ต้องมคี วามพร้อมในการรองรบั สถานการณ์อย่างทันการณ์ การปฏิบตั งิ านต้องยดื หยุ่นและคล่องตัวมากยง่ิ ขน้ึ จงึ มีข้อเสนอแนะ ดงั น้ี 4.1 ขบั เคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลเพ่ือเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานและการให้บริการ ในภาวะวกิ ฤตไดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพ ไดแ้ ก่ (1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทลั ของหน่วยงานภายในจงั หวดั ให้มีความพรอ้ มในการ บรหิ ารงานและการให้บริการ สามารถตอบสนองภาวะวิกฤตและภยั คุกคามรูปแบบใหม่ท่ีอาจเกิดขน้ึ ในอนาคตให้ สามารถดำเนนิ การไดอ้ ย่างตอ่ เนอ่ื งและมีประสิทธภิ าพ (2) พฒั นาระบบฐานข้อมูลในระดับจังหวัดใหเ้ ป็นดิจิทลั มีมาตรฐานและนำสู่การเปิดเผย ต่อสาธารณะเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลกับหน่วยงานในพื้นที่และส่วนกลาง โดยส่วนกลางควรพัฒนา แพลตฟอร์มกลางในการเก็บรวบรวมและการรายงานข้อมูล กำหนดฐานข้อมูลร่วมที่ทุกจังหวัดจำเป็นต้องมี รวมทั้งกำหนดรายละเอียดของการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นมาตรฐาน และสามารถนำมาใชป้ ระโยชน์ในเชิงนโยบาย การดำเนินงาน การกำกบั ตดิ ตาม การบรหิ ารจัดการ ไดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพมากขน้ึ (3) พัฒนาทักษะของบุคลากรให้พร้อมสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล สถานการณ์การแพร่ะบาด ของโรค COVID-19 ที่ผ่านมา พบว่าบุคลากรยังไม่สามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ได้อย่างจริงจัง เนื่องจากขาด ความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ ขาดทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้น จังหวัดจึงควรเร่ง พฒั นาบคุ ลากรด้านดิจิทลั เพ่ือยกระดบั และเตรยี มความพร้อมสู่การเปน็ องค์กรดิจิทัล
ง (4) สนับสนุนให้หน่วยงานในจังหวัดนำระบบการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) มาเพิ่มช่องทางการให้บริการ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะการ ใหบ้ รกิ ารทีอ่ ำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ขณะเดยี วกันสว่ นราชการเจ้าของงานบริการควรพัฒนาระบบ ใหส้ ามารถให้บริการไดอ้ ยา่ งเบ็ดเสรจ็ ณ หนว่ ยให้บริการ 4.2 บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ จังหวัดควรกำหนดแนวทาง รูปแบบ การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย วางแนวทางการสื่อสาร เพื่อสร้างความรับรู้ เข้าใจ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ของภาคส่วนตา่ ง ๆ ในพ้ืนท่ี เพอื่ ลดปัญหาความขัดแย้ง และสรา้ งการมีสว่ นร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนการ ปฏิบตั งิ านของจังหวัด 4.3 ยกระดับแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan: BCP) : จังหวัดควรทบทวน ซักซ้อม และปรับปรุงแผน BCP อย่างต่อเนื่อง และนำแผนไปใช้อย่างจริงจัง เมื่อเกิดเหตุวิกฤต เพื่อลดผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนไม่ให้สะดุดหยุดลง โดยสำนักงาน ก.พ.ร. และกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นควรนำประเด็นการจัดทำและทบทวนแผน BCP ไปกำหนดเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การประเมินสถานะ ของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) และการประเมินประสิทธิภาพขององคกรปกครอง สว่ นทอ้ งถิน่ (Local Performance Assessment : LPA) 4.4 วางระบบการบริหารงบประมาณในระดับพื้นที่ : เน่ืองจากหน่วยงานระดับจังหวัดเป็นด่านหน้า และเปน็ ผปู้ ฏิบัตงิ านหลักในการแกไ้ ขสถานการณใ์ นภาวะวกิ ฤต ควรดำเนนิ การ ดงั นี้ (1) เสนอคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) พิจารณาปรับแนวทางการ โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณตามแผนปฏิบัตริ าชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อแก้ไขในภาวะวกิ ฤต ในกรณที ีม่ ีมติคณะรฐั มนตรีรองรับ ให้เปน็ อำนาจของคณะกรรมการบรหิ ารจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และ/ หรือคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) แล้วจึงรายงานให้ส่วนกลางรับทราบ เพื่อให้ สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ อาจกำหนดให้มีการหารือกับผู้อำนวยการกองจัดทำ งบประมาณเขตพื้นท่ี สำนักงบประมาณ เพอื่ ดำเนินการตามระเบยี บการบริหารงบประมาณท่เี กี่ยวข้อง (2) คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติควรวางแนวทาง หลักเกณฑ์ในการบูรณาการงบประมาณ ที่ได้รับจัดสรรเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากทุกแหล่งที่จัดสรรให้จังหวัด เพื่อให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสามารถบริหารจัดการให้มีเอกภาพ ลดความซ้ำซ้อน และเกิดประสิทธิภาพ สงู สุด (3) หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญด้านการตรวจสอบ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ควรสรุป บทเรียนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณในภา วะวิกฤตและ สถานการณฉ์ กุ เฉนิ ตา่ ง ๆ เพ่ือใหห้ นว่ ยงานทเี่ กยี่ วข้องใชเ้ ปน็ แนวทางปฏิบตั เิ มอื่ มเี หตุการณท์ ่ีอาจเกดิ ขนึ้ ในอนาคต 4.5 พัฒนากลไกหรือเคร่ืองมือในการบริหารจัดการในพื้นที่ในสถานการณ์วิกฤตอื่นท่มี ิใช่โรคระบาด หรือภยั คกุ คามรปู แบบใหม่ท่ีอาจเกดิ ขึน้ ในอนาคต โดยการปรบั ปรุงกฎหมายท่ีมอี ยู่หรือพัฒนากฎหมายฉบับใหม่ ให้ครอบคลุมเพื่อสามารถรองรับภัยพิบัติฉุกเฉินรูปแบบใหม่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เมื่อเผชิญ สถานการณผ์ วู้ ่าราชการจังหวัดสามารถประกาศใช้ได้ทันที โดยไม่ตอ้ งรอการส่ังการจากส่วนกลาง หรอื การประกาศ ใชพ้ ระราชการกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉกุ เฉิน ......................................
คำนำ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศไทยในวงกว้าง จังหวัดเป็นส่วนราชการที่ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนทั่วประเทศและเป็นภาคส่วน สำคัญที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว จึงต้องมีมาตรการเพื่อบริหารจัดการผลกระทบ ทีเ่ กดิ ขนึ้ ใหง้ านบริการสาธารณะดำเนนิ การต่อไปได้ และประชาชนไมไ่ ดร้ บั ความเดือดร้อน เพื่อให้จังหวัดสามารถแก้ไขสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 ได้อย่างเต็มกำลัง และ มิให้เป็นภาระในการดำเนินงานตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2563 และปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จงึ เสนอ คณะรัฐมนตรีให้จังหวัดรายงานผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดเดิมเพื่อใช้ในการติดตามแต่จะไม่นำผลมา ประเมนิ ผล และให้จงั หวดั ถอดบทเรยี นการบรหิ ารจัดการในการแก้ไขปัญหาของจังหวัด แลว้ ใหส้ ำนกั งาน ก.พ.ร. สรุปบทเรียนในภาพรวมของจังหวัดเพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารงานกรณีเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 และวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบตามที่ สำนกั งาน ก.พ.ร. เสนอ กองพัฒนาระบบบริหารงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น สำนักงาน ก.พ.ร.ได้จัดทำรายงาน การดำเนินงานของจังหวัดในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563–2564 เพ่ือพฒั นาข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อมในการ รับมือกบั สถานการณท์ มี่ ีโอกาสเกิดการระบาดไดใ้ นอนาคต รายงานฉบบั น้ปี ระกอบดว้ ย เนื้อหาใน 3 ส่วน ได้แก่ บทที่ 1 ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 ตอ่ การดำเนนิ การของ จังหวัด นำเสนอวิธีการรวบรวมข้อมูล ผลกระทบต่อการดำเนินงานของจังหวัด และผลกระทบต่อการประเมิน ตามมาตรการปรับปรงุ ประสทิ ธภิ าพฯ บทที่ 2 การดำเนินการของจังหวัดเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ ไวรัสโคโรนา 2019 นำเสนอการดำเนินการของจังหวัด มาตรการทั่วไป รูปแบบ แนวทางการบริหารจัดการ ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานและการให้บริการ ของจังหวัด กรณีตัวอย่างของจังหวัดที่มีแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) และปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) ซ่งึ สามารถนำไปขยายผลสำหรับการดำเนนิ การของจงั หวัดในภาวะวกิ ฤต บทที่ 3 บทสรุปและข้อเสนอแนะ นำเสนอข้อค้นพบจากการถอดบทเรียน สรุปผลการศึกษา และ ขอ้ เสนอแนะ สำนักงาน ก.พ.ร. หวงั เปน็ อย่างยิ่งวา่ รายงานการดำเนนิ งานของจังหวดั ในการรับมือการแพรร่ ะบาด ของโรค COVID-19 นี้จะเป็นแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานของจังหวัดให้สามารถรับมือกับ สถานการณท์ ยี่ ังไมส่ นิ้ สดุ นไี้ ด้อย่างมปี ระสิทธภิ าพย่งิ ขึ้น สำนกั งาน ก.พ.ร.
สารบญั ก บทสรุปผู้บริหาร 1 คำนำ 1 1 บทที่ 1 ผลกระทบของการแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 2 ต่อการดำเนินการของจงั หวัด 20 1.1 ท่มี า 23 1.2 วธิ กี ารรวบรวมขอ้ มลู 1.3 ผลกระทบที่เกิดขนึ้ 26 1.4 สรุปสาระสำคญั 52 68 บทท่ี 2 การดำเนินการของจงั หวัดเพ่ือบรรเทาผลกระทบจากการแพรร่ ะบาด 69 ของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 72 2.1 การดำเนินการของจังหวัด 2.2 กรณตี ัวอยา่ งของจังหวัดทม่ี ีแนวทางการปฏิบัตทิ ี่ดี (Good Practice) 75 2.3 ปจั จยั แห่งความสำเรจ็ (Key Success Factors) 75 2.4 ปัญหาอุปสรรค 82 2.5 สรปุ สาระสำคญั 84 85 บทที่ 3 บทสรุปและขอ้ เสนอแนะ 88 3.1 ข้อคน้ พบ 3.2 บทสรุป 3.3 ขอ้ จำกดั ในการปฏิบัติงาน 3.4 ข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง
บทที่ 1 ผลกระทบของการแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการดำเนินการของจงั หวดั 1.1 ท่ีมา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย สง่ ผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ตลอดจนการดำรงชีวิต ของประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรค COVID–19 เป็นการระบาดใหญ่และกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยได้ประกาศให้โรค COVID–19 เป็นโรคติดต่อ อันตรายตามพระราชบัญญัติโรคตดิ ต่อ พ.ศ. 2558 ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อคนแรกเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 จากน้นั มกี ารแพรก่ ระจายไปยงั จงั หวัดตา่ ง ๆ อย่างรวดเร็ว สำนกั งาน ก.พ.ร. ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการเหน็ ว่าการดำเนิน มาตรการต่าง ๆ เพอื่ รับมือกบั การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดบั พน้ื ที่มสี ว่ นสำคัญอย่างมากต่อ ความสำเร็จในการป้องกันโรคในระดับประเทศ จึงได้จัดทำรายงานการดำเนินงานของจังหวัดในการรับมือการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563–2564 โดยมี วัตถปุ ระสงค์เพ่ือรวบรวมแนวทางการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ของจงั หวดั การพัฒนานวัตกรรมเพ่ือช่วยสนับสนุน การดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมการรับมือกับการแพร่ระบาด ระลอกใหม่ นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาจังหวัดที่ไม่พบการติดเชื้อในระลอกแรกว่ามีจุดเด่นหรือให้ความสำคัญกับ ปจั จัยใดเพื่อเปน็ บทเรียนรบั มือกับการเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID–19 ระลอกใหม่ได้ 1.2 วิธีการรวบรวมข้อมูล สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รวบรวมข้อมูลจากข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อถ่ายทอดแนวคิด วิธกี ารดำเนนิ งานของ 76 จังหวดั แหล่งขอ้ มูลดังกล่าวประกอบด้วย (1) รายงานการถอดบทเรียนของจังหวัดในระบบการประเมินตนเองทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-SAR) ของสำนักงาน ก.พ.ร. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยท่ีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 และ 20 กรกฎาคม 2564 กำหนดให้ไม่ต้องนำผลการดำเนินงานตามมาตรการปรับปรุง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาประเมินผล แต่ให้จังหวัดรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดมาใช้ในการติดตามผล โดยให้ระบุถึงปัจจัย ความสำเร็จในการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค ผลกระทบที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ รวมทั้งให้จังหวัด ถอดบทเรียนการบริหารจัดการเฝ้าระวังและป้องกันโรค COVID-19 ในประเด็นท่ีเกี่ยวกับกระบวนการ มาตรการการบรหิ ารจัดการเพื่อป้องกันการแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 การบูรณาการการทำงานร่วมกันของ หน่วยงานในพื้นที่ ปจั จัยความสำเรจ็ ในการดำเนินงาน ปญั หา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยจังหวดั รายงานผล ในระบบอเิ ลก็ ทรอนกิ สเ์ มื่อเดือนตุลาคม 2563 และ 2564
2 (2) การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สำนักงานจังหวัดเก่ียวกับการดำเนินมาตรการต่างๆ บริเวณศูนย์ราชการ การใหบ้ รกิ าร รวมทงั้ มาตรการในการปฏบิ ัติราชการของเจ้าหน้าที่ ขอ้ จำกดั โดยเฉพาะกบั มาตรการ Work from Home (WFH) ของข้าราชการ และข้อเสนอแนะ ซึ่งดำเนินการโดยกองพัฒนาระบบบริหารงานส่วนภูมภิ าคและ สว่ นทอ้ งถนิ่ ในช่วงปลายเดือนมนี าคม 2563 (3) เว็บไซต์ของจังหวัด ส่วนราชการ และข้อมูลข่าวสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโซเชียลมีเดีย เก่ยี วกับสถานการณ์การแพร่ระบาด การดำเนนิ มาตรการตา่ ง ๆ การสรา้ งความรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน รวมท้ังคำสั่ง กฎ ระเบยี บ ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง (4) ข่าวสารในส่วนที่เกยี่ วกับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการสอบสวน เฝ้าระวงั ปอ้ งกัน และ ควบคมุ โรค 1.3 ผลกระทบทเี่ กดิ ขนึ้ 1.3.1 ผลกระทบตอ่ การดำเนินงานของจงั หวัด จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จังหวดั ตอ้ งกำหนดมาตรการตา่ ง ๆ เพื่อรับมือ สถานการณ์ดังกล่าว ซ่ึงส่งผลกระทบตอ่ การปฏิบัตงิ านและการใหบ้ รกิ าร ดงั น้ี (1) ผลกระทบต่อการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของจังหวัด มาตรการป้องกันและ แพร่ระบาดของโรค COVID-19 อาทิ การห้ามจัดกิจกรรมในลักษณะที่มีการรวมกลุ่ม การห้ามจัดงานประเพณี เป็นต้น ทำให้บางแผนงาน โครงการ ไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้ โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับ การส่งเสริมการท่องเท่ียว การจัดงานเทศกาล งานประเพณีต่าง ๆ งานแสดงสินค้า รวมทั้งการงดจัดกิจกรรมท่มี ี การรวมตัวของคนจำนวนมาก การพัฒนาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน การ เตรียมความพร้อมของเกษตรกรเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิต การให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงด้านยาเสพติด และ การประชาคมในพ้ืนท่ี เป็นตน้ ส่งผลใหก้ ารดำเนนิ งานไม่บรรลเุ ปา้ หมาย (2) ผลกระทบต่อการใหบ้ รกิ ารประชาชน มาตรการในการกำหนดระยะห่าง (Social Distancing) การห้ามรวมตัวของคนจำนวนมาก การลดการเดินทางในพื้นที่เสี่ยง การลดความเสี่ยงที่เกิดจากการแพร่เชื้อ มาตรการเหล่านี้ล้วนส่งผลให้หลายหน่วยงานไม่สามารถให้บริการประชาชนในรูปแบบและวิธีการปกติ ทั้งนี้ ส่วนราชการต้นสังกัดได้มีหนังสือสั่งการให้หน่วยปฏิบัติในพื้นที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการให้บรกิ ารให้เหมาะสม กับสภาพปัญหา และความรนุ แรงของปญั หาในพืน้ ท่ี ตวั อยา่ งมีให้เห็นในหลายงานบรกิ าร อาทิ (2.1) งานบริการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย • ขยายกำหนดเวลาการจดั ทำบัตรประจำตัวประชาชน : กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 แจ้งขยายกำหนดเวลา การจดั ทำบัตรประจำตวั ประชาชน กรณีต้องมบี ัตร ทำบัตรใหม่ หรือเปลีย่ นบตั ร จากเดมิ ภายในกำหนดหกสิบวัน เป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2564 และต่อมาได้มีการขยายเวลาเพิ่มเติมเป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2564 (หนังสือ กระทรวงมหาดไทย ด่วนทสี่ ุด ที่ มท 0309.2/4762 ลงวนั ท่ี 19 สิงหาคม 2564) • ปิดศูนย์พัฒนาเดก็ เล็กในสงั กัดองคก์ รปกครองส่วนทอ้ งก่ิน กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือ ดว่ นทสี่ ุด ที่ มท 0816.4/ว 1628 ลงวนั ท่ี 18 มีนาคม 2563 ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ สามารถใช้ดุลพินิจประกาศ ปิดศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเลก็ ได้ไม่เกิน 15 วนั ทำการ
3 • จำกัดจำนวนผู้รบั บรกิ ารงานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน กรมการปกครองได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0309/ว 8039 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และหนังสือกรมการปกครองด่วนที่สุด ที่ มท 0309.1/ว 33796 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2563 แจ้งให้ สำนักงานทะเบียนอำเภอ และสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น จำกัดจำนวนผู้ขอรับบริการงานทะเบียนและ บัตรประจำตัวประชาชนแต่ละวัน ด้วยการจดั ควิ เป็นรายตำบล หมบู่ ้านหรอื ชมุ ชน แล้วแตก่ รณี หรือชะลอเร่ืองท่ี ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น การแจ้งย้ายที่อยู่ การขอเปลี่ยนบัตรกรณีเปลี่ยนที่อยู่ การขอมีบัตรก่อนบัตรเดิม หมดอายุ การแจ้งรื้อถอนบ้าน การขอจดทะเบียนตั้งชื่อรองหรือชื่อสกุล เป็นต้น หรือการกำหนดให้ยื่นคำร้อง พร้อมพยานหลักฐานผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อขอดำเนินการในเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล เชน่ การแจ้งเสียชีวิต กรณีเสียชีวิตที่บ้านหรือสถานพยาบาล การขอเลขประจำบ้าน การขอจดทะเบียนบันทึกฐานะ ครอบครัว เป็นต้น โดยเห็นว่าสำนักงานทะเบียนอำเภอ และสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเป็นหน่วยบริการที่มี ประชาชนติดต่อเป็นจำนวนมาก ท้งั คนสัญชาติไทย และคนตา่ งดา้ ว จงึ มคี วามเสีย่ งท่ีจะเปน็ แหลง่ แพร่ระบาดของ COVID–19 กรณีพื้นที่สำนักงานทะเบียนอำเภอ และสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นที่มีสถานการณ์ การติดเชื้อหรือการแพร่ระบาดรุนแรง หรือมีเหตุจำเป็น เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและเจ้าหน้าที่ ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้สำนักงานทะเบียนอำเภอ และสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นหยุดการปฏิบัติงาน เปน็ การช่วั คราวตามระยะเวลาที่เหมาะสม • ปิดการใหบ้ ริการศนู ย์บรกิ ารรว่ มอำเภอย้มิ เปน็ การช่ัวคราว กรมการปกครองมีสำเนาวิทยุกรมการปกครอง ด่วนที่สุด ที่ มท 0309.4/ว7694 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2563 สั่งปิดการให้บริการศูนย์บริการร่วมอำเภอยิ้มเป็นการชั่วคราว ปัจจุบันเปิดให้บริการ จำนวน 64 แห่ง ใน 53 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเปิดให้บริการในห้างสรรพสินค้า โดยแต่ละวันจะมีผู้มารับ บริการเปน็ จำนวนมาก • งดเวน้ การเดนิ ทางมาตดิ ตอ่ ขอรับบรกิ าร ณ สำนักงานที่ดิน เป็นการช่วั คราว ประกาศกรมท่ดี นิ เมอ่ื วนั ที่ 25 มนี าคม 2563 เรอื่ ง ขอความร่วมมือประชาชนตดิ ต่อ รบั บรกิ ารงานทดี่ ินในช่วงสถานการณแ์ พร่ระบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยขอใหง้ ดเว้น การเดินทางมาติดต่อขอรับบริการ ณ สำนักงานที่ดิน เป็นการชวั่ คราวจนกว่าสถานการณจ์ ะเขา้ สู่ภาวะปกติ เพ่ือ ลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรค โดยกรมทด่ี นิ ไดแ้ จ้งเวยี นให้ทุกจังหวัด เพือ่ แจง้ ใหพ้ นกั งานเจ้าหน้าท่ีทราบและ ถอื ปฏิบตั ิตามหนังสอื กรมท่ีดิน ด่วนทส่ี ุด ที่ มท 0515.1/ว 6647 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรมที่ดินขอความร่วมมือให้ประชาชนงดเว้นการ เดินทางมาติดต่อขอรับบริการ ณ สำนักงานที่ดิน เพื่อลดความแออัดของประชาชนผู้มาขอรับบริการในบริเวณ สำนักงานที่ดิน หรือกรณีการขอทำนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรืองานราชการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน สามารถจองคิวผ่านระบบนัดหมายในระบบ e-QLands แบบออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งขอความร่วมมือ ประชาชนชะลอหรือเลี่อนการขอรับบริการด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การรังวัด และด้านอื่น ๆ ณ สำนกั งานที่ดินไว้ก่อน จนกวา่ สถานการณจ์ ะเข้าสู่ภาวะปกติ (ประกาศกรมทด่ี ิน เรือ่ งขอความรว่ มมือประชาชน ในการติดต่อขอรับบริการ ณ สำนกั งานท่ดี ิน ในชว่ งสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 2) วนั ที่ 5 พฤษภาคม 2564)
4 นอกจากนี้ กรมที่ดินได้พัฒนาระบบเผยแพร่ประกาศสำนักงานที่ดินเพื่อรักษาสิทธิ ในที่ดินของประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต (e-LandsAnnouncement) เพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง เพื่ออำนวย ความสะดวกให้กับประชาชนในการตรวจสอบประกาศของสำนักงานที่ดินได้ทุกแห่งทั่วประเทศ โดยไม่ต้อง เดินทางไปที่สำนักงานที่ดินด้วยตนเอง และปัจจุบันกรมที่ดินได้เชื่อมโยงระบบ “e-LandsAnnouncement” ไว้บนแอปพลเิ คชนั “SMARTLANDS” ของกรมท่ีดินแล้ว ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมบางประเภทตามกฎกระทรวง ฉบับท่ี 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 อาทิ จดทะเบียนอาคารชุด จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แจ้งผู้มีส่วนได้เสีย (ม.61) มรดก ใบแทน หรือรังวัดข้างเคียง ต้องมีการประกาศ การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก่อนการดำเนินการ มีกำหนด 30 วัน โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่ที่ เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องท่ี ซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านภายในกำหนดเวลา แล้ว ใหด้ ำเนินการจดทะเบยี นต่อไป ในกรณดี ังกลา่ วประชาชนสามารถตรวจสอบประกาศดังกล่าวเพือ่ รักษาสิทธิ ในทดี่ ินตามกฎหมายไดจ้ ากแอปพลิเคชนั “SMARTLANDS” ของกรมทีด่ นิ (2.2) งานบริการของกรมการขนส่งทางบก • งดให้บริการด้านใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และใบอนุญาตเป็น ผู้ประจำรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ณ สำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศทุกกรณี จนกว่าจะมี ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินหรือมีประกาศเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาการงดการดำเนินการ กรมการขนส่งทางบกได้ประสานสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ผ่อนผันการใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง กับ ผไู้ ด้รบั ใบอนุญาตขบั รถและใบอนุญาตเปน็ ผปู้ ระจำรถทีส่ ิน้ อายุแล้ว สามารถใชแ้ สดงตอ่ เจ้าหน้าที่ได้จนถึงวนั ที่ 30 กันยายน 2564 ในส่วนของเอกสารประกอบคำขอรับหรือขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ เช่น ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการผ่านการอบรมและทดสอบ คำขอที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ผลผ่านการอบรมผ่านระบบ e-Learning ที่สิ้นอายุตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2564 อนุโลมให้ใช้เป็นเอกสารประกอบ การดำเนินการได้จนถึงวนั ที่ 31 ธันวาคม 2564 • งดให้บริการด้านทะเบียนรถสำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ณ สำนักงาน ขนส่งมีที่ตั้งในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่า จะมปี ระกาศเปลย่ี นแปลงเปน็ อยา่ งอ่นื สำหรับการดำเนินการทางทะเบียนที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้ตรงกับช่วงเวลา งดใหบ้ รกิ าร เชน่ โอนรถ แจง้ ย้ายรถ การเปลี่ยนแปลงสาระสำคญั หรือแจง้ เลิกใช้รถ เป็นต้น กรมการขนสง่ ทางบก ไดข้ ยายระยะเวลาไปอีก 15 วนั ทำการ นบั แต่วันสิ้นสดุ ระยะเวลาตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรอื มีประกาศ เป็นอย่างอื่น โดยไม่ถือวา่ เป็นการดำเนินการล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนด ในเขตจังหวัดอื่นสามารถให้บริการได้ ตามปกติ โดยให้ถือปฏบิ ตั ติ ามตามประกาศจังหวดั หรือประกาศคณะกรรมการโรคตดิ ตอ่ จงั หวัด • งดการออกหน่วยเคลื่อนที่ด้านทะเบียนและภาษีรถ และด้านใบอนุญาตขับรถ ณ หน่วยบรกิ ารเคล่อื นทรี่ บั ชำระภาษีรถประจำปที ีห่ า้ งสรรพสินค้า หรือแหล่งชุมชน (Shop Thru for Tax) หรือ ศูนย์บริการร่วม ในเขตจังหวัดอื่นสามารถให้บริการได้ทุกช่องทางตามปกติ โดยให้ถือปฏิบัติตามประกาศจังหวดั หรอื ประกาศคณะกรรมการโรคตดิ ต่อจงั หวดั
5 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องติดต่อที่สำนักงานขนส่งให้ปฏิบัติตามมาตรการด้าน สาธารณสขุ D-M-H-T-T-A เพอ่ื ควบคุมและปอ้ งกนั การแพรก่ ระจายของเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 อยา่ งเคร่งครดั • จ่ายภาษีรถผา่ นเล่อื นลอ้ -ออนไลนเ์ ท่านั้น • บริการชำระภาษีรถประจำปี สำหรับสำนักงานขนส่งที่มีที่ต้ัง ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด สามารถเปิด ให้บริการเฉพาะการชำระภาษีรถประจำปีผ่านเลือ่ นล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ซงึ่ ตัง้ อย่ภู ายในบรเิ วณสำนกั งานขนส่ง จังหวัด หรือชำระภาษีรถประจำปีผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/ และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax สำหรับการชำระภาษีรถประจำปี สามารถจ่ายได้ ณ ที่ทำการ ไปรษณียอ์ กี หนึง่ ช่องทาง ท้งั น้ี ในเขตจังหวดั อืน่ สามารถให้บริการ ไดท้ ุกช่องทางตามปกติ โดยใหถ้ อื ปฏิบัตติ ามประกาศจังหวัดหรือ ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจงั หวัด (2.3) งานบรกิ ารของกระทรวงสาธารณสุข • บรกิ ารดา้ นสาธารณสุข : เล่อื น ลด รอ ในช่วงที่มีการระบาดของโรค COVID–19 ทำให้สถานพยาบาลต้องใช้ทรัพยากร และบุคลากรทางการแพทย์ดูแลรกั ษาผูป้ ่วยโรค COVID–19 กรมการแพทย์ได้จัดทำคู่มอื แนวทางลดความแออดั ในโรงพยาบาลเพื่อลดการแพร่กระจาย COVID-19 สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคทางระบบ ประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคปอด โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เพื่อใช้เป็น แนวทางการดำเนินงานแก่บุคลากรสาธารณสุขทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยกลุ่มที่สามารถควบคุมโรค ได้ดี ก็ให้พิจารณาเลื่อนการนัดออกไปเป็น 3-6 เดือน มีระบบ Refill ใบสั่งยาให้ผู้ป่วยโดยไม่ต้องพบแพทย์ท่ี โรงพยาบาล มีการจัดส่งยาทางไปรษณีย์เพื่อให้ผู้ป่วยหรือญาติไม่ต้องมารับยาเองที่โรงพยาบาล มีระบบ การติดตามอาการผปู้ ่วย ผ่าน Telemedicine และมีการตดิ ตามข้อมูลผลตรวจตา่ ง ๆ ผา่ นระบบ Refer แต่ผปู้ ว่ ย ท่จี ำเป็นตอ้ งเขา้ รบั การรักษาใหม้ ารับการรกั ษาในโรงพยาบาลตามแนวทางมาตรฐานการรักษาปกติ โดยใหแ้ พทย์ ผูร้ กั ษาพิจารณาปรบั การรกั ษาตามความเหมาะสมเพ่ือลดความเสย่ี งในการเกดิ ภาวะแทรกซ้อน เป็นตน้ นอกจากแนวทางข้างต้นแล้ว กรมการแพทย์ได้ออกประกาศอื่น ๆ เช่น ประกาศเรื่อง แนวทางปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดย (1) ให้การรักษา ทางทันตกรรมเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น และหลีกเลี่ยงการรักษากรณีเร่งด่วน ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องให้ การรักษาไม่ว่ากรณีใดก็ตาม จะต้องคำนึงถึงศักยภาพของหน่วยงานรวมถึงความปลอดภัยของบุคลากรต่าง ๆ ในแง่ของการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคอย่างสูงสุด (2) ให้เลื่อนการรักษางานทันตกรรม ทไ่ี ม่เร่งดว่ นออกไปก่อน (3) ในกรณีมีความจำเป็นต้องให้การรักษา ให้พจิ ารณาตามแนวทางปฏิบัติการรักษาทาง ทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (4) หากจำเป็นต้องใช้ห้องผ่าตัด ให้ปฏิบัติตาม แนวทางปฏิบัตกิ ารทำหตั ถการผ่าตัด สถานการณ์ COVID-19 ตามประกาศกรมการแพทย์ (30 มนี าคม 2563)
6 (2.4) งานบริการของกรมราชทัณฑ์ • งดการเยีย่ มญาติทุกเรือนจำ กรมราชทัณฑ์สั่งการให้ทุกเรือนจำงดการเยี่ยมญาติตั้งแต่วันที่ 18–31 มีนาคม 2563 ในระยะแรก และตอ่ มามกี ารขยายเวลาจนถงึ 30 เมษายน และ 31 พฤษภาคม 2563 ตามลำดับ เนื่องจาก เรือนจำเป็นพื้นที่ที่มีความละเอียดอ่อน และสุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค เพราะมีผู้ต้องขังอยู่กันอย่าง หนาแน่นและแออัด หากเกิดโรคระบาดเขา้ ไปในเรอื นจำแลว้ จะควบคุมไดย้ าก อย่างไรก็ตาม เรือนจำได้มีมาตรการรองรบั เช่น ให้เยี่ยมทาง LINE (Line Visit) ให้ สง่ จดหมายอเิ ล็กทรอนิกส์ ซงึ่ แตล่ ะเรือนจำอาจกำหนดมาตรการอื่น ๆ ขน้ึ มารองรบั ได้ เช่น การรับฝากข้อความ ถงึ ผตู้ อ้ งขัง การรับฝากเงินใหผ้ ู้ตอ้ งขงั การให้บริการสง่ั อาหารผ่านช่องทางเพจ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้ออกมาตรการเพื่อลด ความเสี่ยงในการพบปะระหว่างผู้ต้องขังและญาติ และเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขัง ด้วยการใช้ Application Line (Visit Cida) ซึ่งลงทะเบียนยืนยัน ตวั ตนดว้ ยการใช้ภาพถ่ายบตั รประชาชน และภาพถ่าย ใบเสร็จการชำระค่าบริการของหมายเลขโทรศัพท์ โดยญาตติ ้องแจง้ ความประสงค์การเยยี่ มผา่ นไลน์ และ เจ้าหนา้ ทจี่ ะจัดคิวในการเย่ียม แจง้ เวลานัดหมาย การ เยี่ยมญาติด้วยวิธีออนไลน์นี้ได้ครั้งละไม่เกิน 10 นาที เดือนละ 1 คร้ัง สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรมราชทัณฑ์ได้นำมาตรการข้างต้นมาปรับใช้เพื่อให้บริการ ในสถานการณ์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยประกาศงดเยี่ยมญาติแบบปกติทุกเรือนจำทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2563 นอกจากมาตรการงดเยี่ยมผู้ต้องขังแล้ว กรมราชทัณฑ์ยังมีมาตรการอื่น ๆ ด้วย เช่น การงด นำผู้ต้องขังออกทำงานนอกเรือนจำ งดย้ายผู้ต้องขังระหว่างเรือนจำ พิจารณาแนวทางอื่นแทนการนำผู้ต้องขัง ออกศาล งดนำบุคคลภายนอกเข้าเรือนจำ และแยกกักโรคผู้ต้องขังเข้าใหม่โดยห้ามย้ายหรือออกจากห้องเป็น เวลา 14-21 วนั เปน็ ตน้ อย่างไรก็ตาม การประกาศงดให้บริการ การลด การชะลอ หรือเลื่อนระยะเวลา รวมทั้งการเพิ่ม ช่องทางการให้บริการข้างต้นนั้น ส่วนราชการต้นสังกัดเป็นผู้กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ใช้ในทุกจังหวัด แต่มี บางงานบริการที่มีการปิดให้บริการเฉพาะกิจ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับงานบริการดา้ นสาธารณสุข ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่มีโอกาสและมีความเส่ียงสูงใน การติดเชื้อ จากสถานการณ์ที่ผ่านมาพบว่าบุคลากรทางการแพทย์หลายแห่งต้องถูกกักตัว และมีการติดเช้ือ รวมทั้งเสียชีวิตจากโรคดงั กล่าว อันเนื่องมาจากสาเหตุหลัก ๆ ได้แก่ ผู้ที่เข้ามารักษาไม่รู้ตวั ว่าติดเชื้อ อาจเพราะ อยู่ในช่วงฟกั ตัว หรือติดเชือ้ แลว้ แตไ่ ม่แสดงอาการ นอกจากนี้ ยังเกิดจากผู้ป่วยท่ีเข้ารับการรักษาปกปิดไทม์ไลน์ จากเหตุการณ์เหล่านี้ นอกจากบุคลากรทางการแพทย์ต้องกักตัวแล้ว ยังพบว่าโรงพยาบาลหลายแห่งต้องงด ให้บรกิ ารบางรายการ บางแผนก รวมทั้งปิดโรงพยาบาลดว้ ยก็มีเช่นกัน ซงึ่ สง่ ผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน โดยทว่ั ไป อาทิ
7 เชยี งราย : โรงพยาบาลเชยี งรายประชานุเคราะห์ (1) กำหนดให้พื้นทีห่ อผปู้ ว่ ยอายุรกรรมเป็นพื้นที่ ควบคุม งดรับผู้ป่วย (2) กำหนดให้ญาติเฝ้าไข้ได้ 1 คน เน้นย้ำให้เป็นคนเดิม และงดเยี่ยมทุกกรณี (3) บุคลากร ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด (4) มีการเฝ้าระวังในบุคลากรที่มีอาการไข้ ไอ เจบ็ คอ ให้หยุดงานทันที (5) ปรับลดการให้บรกิ ารลง 50% ตรงั : โรงพยาบาลรัษฎาปิดทุกแผนกและสง่ ต่อผ้ปู ่วยไปยังโรงพยาบาลหว้ ยยอด สมุทรสาคร : โรงพยาบาลกระทุ่มแบนเลื่อนนัดผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน โดยจะมีการติดตามอาการ และ ระบบรับยาเดิมทางหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้ เลื่อนการผ่าตัดไม่ฉุกเฉิน หรือไม่ใช่กรณีเร่งด่วน แต่ยังให้บริการ ผปู้ ่วยอุบัตเิ หตุฉกุ เฉินตามปกติ ตงั้ แตว่ นั ที่ 7-31 กรกฎาคม 2564 มหาสารคาม : (1) โรงพยาบาลนาเชือกประกาศปิดชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2564 และ จะเปิดเฉพาะแผนกฉุกเฉินเท่านั้น (2) โรงพยาบาลวาปีปทุมปิดแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉิน งดรับผู้ป่วย ที่ต้องมารักษาในแผนกผู้ป่วยในระหว่างวันที่ 7-10 สิงหาคม 2564 (3) โรงพยาบาลกันทรวิชัยปิดถึงวันที่ 10 สงิ หาคม 2564 (4) โรงพยาบาลพยคั ฆภูมิพสิ ยั ปิดแผนกฉุกเฉินระหว่างวันที่ 7-9 สงิ หาคม 2564 (5) โรงพยาบาล เชยี งยนื ปิดห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินระหว่างวันท่ี 9-12 สิงหาคม 2564 ลพบรุ ี : ปิดโรงพยาบาลหนองม่วงถงึ วนั ที่ 14 พฤษภาคม 2564 นครปฐม : โรงพยาบาลสามพรานประกาศปดิ หอ้ งผา่ ตดั 14 วัน อย่างไรก็ตาม แม้หลายหน่วยงานที่ให้บริการจะมีการปิดการให้บริการบ้าง หรือจัดช่วงเวลา การใหบ้ รกิ าร หรือจำกดั จำนวนในการใหบ้ ริการก็ตาม แตศ่ ูนย์ดำรงธรรมจังหวัดท่ีมีบทบาทสำคญั ในการรับเร่ือง ร้องเรียนและแก้ไขปญั หาความเดือดร้อนของประชาชนยังคงเปดิ ให้บริการ และได้เพ่ิมช่องทางการให้บริการมาก ขน้ึ เพื่อรองรับกบั สถานการณ์ เช่น การใชโ้ ทรศพั ท์ หรือหากมีเหตุเร่งด่วน ใช้การประสานงานกันผา่ น VDO Call (3) ผลกระทบตอ่ การปฏิบัติงานของเจา้ หนา้ ท่ี เพื่อลดความเส่ียงในการปฏิบตั ิงานของเจ้าหน้าที่ จงั หวัดได้กำหนดมาตรการท่วั ไปสำหรับการปฏิบัตงิ านของขา้ ราชการในจงั หวัด ไดแ้ ก่ • ห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐ รัฐวสิ าหกจิ และพนักงานสว่ นท้องถน่ิ เดินทางไปตา่ งประเทศ • ใหห้ น่วยงานราชการทุกหน่วยทำแผนการทำงานจากบ้าน • ลดความแออดั ในสถานทที่ ำงาน โดยเหลือ่ มเวลาการทำงาน • งดหรอื เลื่อนการจัดกจิ กรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก เช่น การแข่งขันกีฬา การประชมุ สัมมนา รวมท้ังงานประเพณี • สง่ เสริมใหใ้ ช้ระบบอนิ เทอรเ์ น็ต ให้มีการประชมุ ทางไกลทดแทนการมาประชุมรวมตัวกนั สำหรับการปฏิบัติงานของสำนักงานจังหวัดเอง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยได้กำหนด มาตรการใหส้ ำนักงานจังหวัดทำงานเหลื่อมเวลา โดยแตล่ ะกลุ่มงานจดั เจ้าหน้าท่ปี ระจำกลุ่มให้ครบตามช่วงเวลา ทำงาน ขึ้นกับการสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับมาตรการทำงานที่บ้าน (Work from Home : WFH) ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรีอน (สำนักงาน ก.พ. มีหนังสือ ที่ นร 1007.4/326 ลงวันท่ี 5 มนี าคม 2563) จังหวดั ไดแ้ จง้ เวียนให้หนว่ ยงานในสว่ นภมู ิภาค และราชการส่วนกลางที่ตง้ั อยูใ่ นภมู ภิ าค สามารถปฏิบัติราชการเหลื่อมวันทำงาน หรือการทำงานจากที่บ้านได้ ขึ้นกับหน่วยงานนั้น ๆ กำหนดตาม ความเหมาะสม
8 จากการสมั ภาษณ์เจ้าหนา้ ท่ีของสำนักงานจังหวัดพบว่า ในทางปฏบิ ตั ิบางหน่วยงานยังคงมาทำงาน ตามปกติ เนื่องจากงานบางประเภทไม่สามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้ เช่น งานให้บริการประชาชน งานรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล งานในห้องปฏบิ ัติการ งานป้องกันภยั พิบัตแิ ละสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งงาน สนับสนุนต่าง ๆ เช่น งานด้านการเงิน และการพัสดุ เป็นต้น มีบางหน่วยงานให้เจ้าหน้าท่ีปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา รวมทงั้ การนำเทคโนโลยเี ขา้ มาช่วยสนับสนุนการปฏิบตั งิ านมากขนึ้ นอกจากลักษณะงานที่ไม่สามารถปฏิบัติงานที่บ้านได้แล้ว ยังพบข้อจำกัดท่ีทำให้การปฏิบัติงาน ที่บ้านไม่สามารถทำได้จริงจังเท่าที่ควร เช่น ข้อจำกัดในเรื่องของทักษะและขีดสมรรถนะด้านเทคโนโลยีของ เจ้าหน้าที่ ความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ ความครอบคลุมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ขณะที่การปฏิบัติงาน ทส่ี ำนกั งานมคี วามคนุ้ ชนิ และมคี วามพรอ้ มของเครอ่ื งมือ อปุ กรณ์ และขอ้ มลู ป็นต้น สำหรับมาตรการทำงานที่บา้ น (Work from Home) ในส่วนของเจ้าหน้าที่สำนักงานจังหวัด ยังคง มีข้อจำกัดและเหตุผลหลายประการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จากการสัมภาษณ์หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เจ้าหน้าท่ีของกลุม่ งานพัฒนาบุคคล และกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด พบความจำเป็นทีท่ ำให้บุคลากรของ สำนักงานจังหวัดไมส่ ามารถปฏิบตั ิงานท่บี า้ นได้ ดงั น้ี • สำนักงานจังหวัดมีหนา้ ท่ีปฏิบตั ิราชการในฐานะเลขานุการผู้ว่าราชการจังหวดั ซึ่งเป็นประธาน คณะกรรมการโรคติดต่อ และเป็นประธานคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันการแพร่ ระบาดของเชื้อ COVID–19 ซ่งึ เป็นงานเร่งดว่ นต้องสามารถปฏิบตั งิ านไดท้ นั ทที นั ใด และต้องพร้อมตลอดเวลา • สำนักงานจังหวัดมีบทบาทหลายประการเกี่ยวกับ COVID–19 เช่น การประชุมร่วมกับทีมงาน หลายคณะ การออกพ้ืนท่ีเพ่ือติดตามสถานการณ์ ตรวจตราการดำเนนิ งานตามมาตรการท่ีกำหนด ภารกิจเหล่านี้ ไม่สามารถทำงานท่ีบา้ นตามนโยบายท่ีกำหนดได้ • สำนกั งานจังหวัดต้องประสานงานกบั ส่วนราชการทั้งจากสว่ นกลางและงานปฏิบัติในพื้นท่ี เพ่ือ ดำเนินการเกี่ยวกับโรค COVID-19 เช่น การจัดทำประกาศของจังหวัดเกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการแพร่ ระบาดของโรค COVID-19 การจดั ทำรายงานสถานการณโ์ รคระบาดต่อผ้วู ่าราชการจงั หวดั และสว่ นกลาง • สำนักงานจังหวัดเปรียบเสมือน “แม่บ้าน” ท่ีมีบทบาทสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้บริหาร จงั หวัดทั้งด้านวชิ าการ กฎหมาย ทรัพยากรบุคคล รวมทงั้ ต้องทำหนา้ ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อซักถามของ ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID–19 ตลอดจนรับเรื่องร้องเรียน รับแจ้งเบาะแส ผูฝ้ ่าฝืนไม่ปฏิบัตติ ามประกาศและขอ้ กำหนดที่เก่ยี วขอ้ ง • ปฏิบัตหิ น้าท่ีอื่นๆ ตามทผี่ ู้อำนวยการศูนยบ์ ริหารราชการในสถานการณ์ฉกุ เฉนิ มอบหมาย ดังนั้น ในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า เร่งด่วน ต้องประสานงาน ระดม สรรพกำลังจากหนว่ ยงานทง้ั ภาครัฐและภาคเอกชน สำนกั งานจงั หวดั จงึ เป็นหน่วยงานหลกั ท่ตี ้องใหก้ ารสนับสนุน การปฏิบัติงานของผวู้ า่ ราชการจงั หวัด การมาปฏบิ ตั ิงานท่ีสำนักงานจงึ มีความจำเป็น
9 1.3.2 ผลกระทบต่อการประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2563 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 ทุกจังหวัดได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในเรื่องของการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของจังหวัด การให้บริการ ตลอดจนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผลกระทบดังกล่าวส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากผลการประเมินผลตาม มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของจังหวัด เนื่องจากมีการระดมทรัพยากร กำลังคนจาก หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมปฏิบัติการเพื่อแก้ไขและ ป้องกนั การแพร่ระบาดของโรค COVID–19 นอกจากน้ี มาตรการในการป้องกนั การแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของตัวชี้วัดทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่นกัน และเพื่อให้ การปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์เร่งด่วนสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 และ 20 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติปรับแนวทางการประเมินผล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 โดยให้จังหวัดรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดเดิมเพื่อใช้ในการติดตาม แต่จะไม่นำมา ประเมินผล รวมทั้งให้จังหวัดถอดบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบและการแก้ไขปัญหาของหน่วยงาน ดังกลา่ วแล้วข้างตน้ ผลกระทบของสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของ COVID-19 กบั ตัวช้ีวดั ตามมาตรการปรับปรงุ ประสทิ ธภิ าพ การปฏบิ ัติราชการของจังหวัด ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 หากมองในภาพรวมข้อมูลจากการรายงานผลการดำเนินงานของจังหวัด ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 พบวา่ มีตัวชี้วดั ที่ได้รบั ผลกระทบจากสถานการณ์โรค COVID-19 จำนวน 12 ตัวชี้วดั จาก 26 ตวั ชี้วัด คดิ เป็นรอ้ ยละ 46 โดยเฉพาะตัวชี้วดั ดา้ นเศรษฐกจิ ท่ีไดร้ ับผลกระทบโดยตรง เช่น รายได้จากการทอ่ งเที่ยว มลู ค่า การค้าชายแดน มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP เนื่องจากการดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันและเฝ้าระวัง การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อาทิ การจำกัดการเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติและอากาศยาน ขนส่งคนโดยสาร การปิดสถานที่ท่องเที่ยว สถานบริการ ร้านอาหาร โรงแรม การปิดด่านพรมแดน การห้าม เดินทางข้ามจังหวัด รวมทั้งการห้ามทำกิจกรรมที่มีการชุมนุมของคนจำนวนมาก เป็นต้น มาตรการเหล่าน้ี ล้วนกระทบตอ่ สภาวะเศรษฐกจิ ของจงั หวดั โดยตรง ทำให้ไมส่ ามารถดำเนนิ การไดบ้ รรลุเปา้ หมายท่ีกำหนด สำหรับผลกระทบต่อตวั ช้ีวดั ดา้ นสงั คม ส่วนใหญจ่ ะส่งผลกระทบทางอ้อม เช่น อัตราผู้เสียชีวิตจาก อุบัติเหตุทางถนน ผลจากมาตรการต่าง ๆ อาทิ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร การห้าม ออกนอกเคหสถาน การหยุดการเรียนการสอน การลดการเดินทางข้ามจังหวัด การห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานและ คนจำนวนมาก การส่งเสริมให้มีการทำงานที่บ้าน หรือการทำงานเหลื่อมเวลาของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้ปริมาณการจราจรลดลงมาก ดังนั้น การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจึงลดลง ส่วนตัวชี้วัดการควบคุม พนื้ ท่เี ส่ียงในจังหวัดเพอ่ื ป้องกนั ผมู้ ีโอกาสเข้าไปเกีย่ วข้องกบั ยาเสพตดิ อตั ราคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน ทั้งกลุ่มคดีทำร้ายร่างกาย และกลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เนื่องจากมีการระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่จาก ฝ่ายมั่นคง ฝ่ายปกครอง รวมทั้งผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการคัดกรอง เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ติดตามการ ดำเนินการตามมาตรการของจังหวดั เพอื่ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ประกอบกับสถานประกอบการ หลายแห่งปิดกิจการ ลด/เลิกการจ้างงาน ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เดินทางกลับภูมิลำเนา และมีโอกาสที่จะพึ่งพา ยาเสพตดิ และมีการก่อคดีอาชญากรรมเพ่มิ มากข้นึ เปน็ ตน้
10 สรปุ ภาพรวมของผลกระทบต่อตัวชี้วัดดังนี้ (จำนวนจงั หวัดทีม่ ตี วั ชี้วัด) 1. รายไดด้ า้ นการท่องเทยี่ ว - กิจกรรมส่งเสรมิ การทอ่ งเทีย่ วของจังหวดั ต้องงดหรอื เลอื่ นออกไป (53 จงั หวดั ) - มาตรการสกัดกน้ั การแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 หลายมาตรการสง่ ผลกระทบ โดยตรงกบั อุตสาหกรรมท่องเท่ียว อาทิ การจำกัดการเขา้ ประเทศของนักท่องเที่ยว ตา่ งชาตแิ ละอากาศยานขนสง่ คนโดยสาร การปดิ สถานทท่ี อ่ งเทยี่ ว สถานบรกิ าร รา้ นอาหาร และโรงแรม เป็นตน้ 2. ผลการดำเนนิ งานตาม - เจ้าหน้าทไ่ี มส่ ามารถลงพนื้ ทเี่ พอ่ื ส่งเสรมิ ความรู้แกเ่ กษตรกร รวมทั้งการตรวจ แนวทางสง่ เสริมเกษตร รับรองคุณภาพสินคา้ ตามแผนทก่ี ำหนดได้ แปลงใหญ่ (44 จังหวดั ) 3. รอ้ ยละของปรมิ าณขยะ - การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้การรณรงค์และสนับสนุนให้ประชาชน มลู ฝอยชมุ ชนได้รับการ มสี ่วนร่วมในการลด คัดแยกขยะที่ตน้ ทางทำไดย้ าก จดั การอยา่ งถกู ตอ้ ง (30 จังหวดั ) - วถิ ชี ีวิตแบบใหม่ อยบู่ า้ น หยุดเช้อื เพ่อื ชาติ ทำใหพ้ ฤติกรรมในการใชช้ ีวติ ทบ่ี า้ น มากข้ึน การงดรับประทานอาหารนอกบ้าน ประชาชนต้องซื้ออาหารมาบรโิ ภค ทีบ่ า้ น ทำให้ปรมิ าณขยะเพิ่มขึ้นกวา่ ปที ี่ผา่ นมา 4. รายได้จากการจำหนา่ ย - ช่องทางจำหนา่ ยสนิ คา้ OTOP เชน่ การจัดงานแสดงสนิ คา้ งานจำหนา่ ยสนิ คา้ ผลิตภณั ฑช์ ุมชน (OTOP) ในเทศกาล/งานประจำปี ไมส่ ามารถจัดได้ (28 จงั หวัด) - การปิดสถานท่ีท่องเทย่ี ว จำนวนนักทอ่ งเทย่ี วทล่ี ดลงอยา่ งมาก การจำกดั การ เดนิ ทางขา้ มจังหวัด ส่งผลผลกระทบทำให้ยอดจำหนา่ ยสินคา้ OTOP ลดลง - โครงการอบรมเพอื่ เพ่ิมศักยภาพของผู้ประกอบการไมส่ ามารถดำเนนิ การได้ เนอ่ื งจากมคี ำสั่งหา้ มชมุ นมุ หรอื รวมกลมุ่ 5. อตั ราผเู้ สยี ชีวิตจาก - การประกาศสถานการณฉ์ ุกเฉินท่ัวราชอาณาจักร หา้ มออกจากเคหสถาน อุบตั ิเหตุทางถนนต่อ การปดิ สถานทีต่ า่ ง ๆ การงดการเรยี นการสอน มาตรการปฏบิ ตั งิ านทบ่ี า้ น ประชากรแสนคน ทำให้ปรมิ าณการจราจรลดลง โอกาสการเสยี ชวี ิตจากอุบัติเหตทุ างถนนจึงลดลง (22 จังหวัด) 6. รอ้ ยละของจำนวน - สถานประกอบการหลายแห่งปดิ กจิ การ ผ้ใู ชแ้ รงงานเดินทางกลับภูมลิ ำเนา ครวั เรอื นยากจนเป้าหมาย จำนวนคนวา่ งงานเพิม่ มากขนึ้ สง่ ผลกระทบกบั ครัวเรือนซง่ึ มีรายไดน้ ้อยไดร้ ับ ที่มรี ายไดเ้ ฉล่ียตำ่ กวา่ ผลกระทบในการประกอบอาชพี ยิ่งข้นึ เกณฑ์ จปฐ. คงเหลอื (18 จังหวัด) - หน่วยงานไมส่ ามารถจัดกิจกรรมเพอื่ ส่งเสริมอาชีพในช่วงดังกลา่ วได้ 7. ความสำเร็จของการ - การจดั กจิ กรรมเพ่อื ป้องกันและแกไ้ ขปญั หายาเสพตดิ ไมส่ ามารถทำได้ เชน่ ควบคมุ พ้ืนทเี่ สี่ยงใน การฝึกอบรมกลุม่ เสยี่ งตา่ ง ๆ การประชาคมในพนื้ ที่หม่บู า้ น/ชมุ ชน จงั หวัดเพอ่ื ป้องกัน ผ้มู โี อกาสเข้าไปเก่ียวขอ้ ง - ภาวะการถูกเลกิ จา้ ง ตกงาน ทำให้กลมุ่ เสย่ี งพ่ึงพายาเสพติดมากขน้ึ กับยาเสพตดิ - ไม่สามารถนำผูเ้ สพรายใหม่เขา้ รับการบำบดั ในระบบสมัครใจไดต้ ามเปา้ หมาย (17 จงั หวัด) จงึ ส่งผลให้มีผูเ้ สพตกคา้ งอยู่ในหมูบ่ ้าน/ชุมชนจำนวนมาก - เจ้าหน้าทท่ี ี่เก่ียวขอ้ งตอ้ งเขา้ รว่ มปฏิบตั ิหนา้ ท่ใี นการป้องกนั การแพร่ระบาด ของโรค COVID-19
11 8. จำนวนพื้นท่ีปา่ ไม้ - เจา้ หนา้ ทไ่ี มส่ ามารถปฏบิ ตั งิ านในพน้ื ทไ่ี ด้ เนอ่ื งจากมภี าวะเส่ยี ง (15 จังหวัด) - งบประมาณสว่ นใหญ่ทใี่ ช้ขบั เคลื่อนโครงการเพิม่ พ้นื ทปี่ ่าไมถ้ ูกปรับเปล่ยี นเพอื่ 9. อัตราคดีอาชญากรรม ระดมสรรพกำลังในการแกไ้ ขปญั หาการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ต่อประชากรแสนคน (14 จงั หวดั ) - สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 ทำใหส้ ถานประกอบการหลายแห่ง ปดิ กิจการ เลกิ จา้ งงาน ทำใหม้ ีจำนวนผวู้ า่ งงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก เกดิ ความเครียด 10. การพัฒนาพื้นท่ี ใชค้ วามรนุ แรงในการแกป้ ญั หา ทำให้มโี อกาสการก่ออาชญากรรมเพ่ิมมากขึ้น อุตสาหกรรมเข้าสู่เมอื ง อตุ สาหกรรมเชงิ นเิ วศ - ผ้ปู ระกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในพ้ืนท่ีไมส่ ามารถดำเนนิ การตามโครงการ (13 จงั หวดั ) ตา่ ง ๆ ได้ ส่งผลให้การพฒั นาพนื้ ท่อี ุตสาหกรรมเข้าสู่เมืองอตุ สาหกรรมเชงิ นิเวศ ไมป่ ระสบความสำเรจ็ เท่าทคี่ วร 11. มลู ค่าการคา้ ชายแดน (10 จังหวดั ) - การระงับการเดินทางเข้า-ออกของบุคคล ยานพาหนะ และสงิ่ ของ ณ จุดผา่ นแดน ถาวร จดุ ผอ่ นปรนการคา้ และชอ่ งทางอ่นื ๆ ตลอดแนวชายแดน ทั้งประเทศไทย 12. มลู คา่ ทางการตลาดของ และประเทศเพ่ือนบา้ น ทำให้การคา้ บริเวณชายแดนลดลง สนิ คา้ GI ท่ไี ด้รบั การ ขึ้นทะเบยี น (1 จงั หวัด) - ผู้ประกอบการสนิ ค้า GI ไมส่ ามารถออกงานแสดงสนิ ค้า และไมส่ ามารถจำหนา่ ย สินค้าไดต้ ามปกติ ตัวชว้ี ดั จำนวน 14 ตวั ช้ีวัดทไี่ ม่ได้รบั ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เช่น ร้อยละ ของคุณภาพอากาศฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักอยูเ่ กณฑ์ดเี พิม่ ขึ้น ระดับคะแนนเฉล่ีย ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan การพัฒนาศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต และสง่ เสรมิ อาชพี ผ้สู งู อายุ (ศพอส.) ให้มศี ักยภาพในการส่งเสรมิ คุณภาพชวี ติ ผู้สูงอายุ เปน็ ตน้ ผลกระทบของสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของ COVID-19 กับตัวช้ีวดั ตามมาตรการปรับปรงุ ประสทิ ธภิ าพ การปฏบิ ัตริ าชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีจำนวนตัวชี้วัดรวม 31 ตัวชี้วัด มีตัวชี้วัดที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์โรค COVID-19 จำนวน 20 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 65 ลักษณะผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่แตกต่าง จากปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 เท่าใดนัก เน่อื งจากมาตรการการป้องกนั และเฝา้ ระวังไมแ่ ตกต่างกัน แต่จะมีความ เขม้ งวดทแี่ ตกต่างกนั ในแต่ละพ้นื ที่ ขน้ึ กับสภาพความรุนแรงของสถานการณ์ในแตล่ ะจังหวัดเปน็ สำคญั สรปุ ภาพรวมของผลกระทบตอ่ ตวั ชว้ี ัดดงั น้ี (จำนวนจังหวัดที่มตี วั ชี้วัด) 1. รายไดจ้ ากการ - ไม่สามารถดำเนนิ กิจกรรม/โครงการต่าง ๆ เช่น การเพมิ่ ศักยภาพของผปู้ ระกอบการ จำหนา่ ยผลติ ภัณฑ์ การฝกึ อบรม ในชว่ งเวลานไ้ี ด้เนอื่ งจากมคี ำสั่งการห้ามชมุ นมุ หรอื รวมกลุ่ม ชุมชน (OTOP) (58 จังหวดั )
12 2. รายได้ดา้ นการ - ชอ่ งทางการตลาดแบบออฟไลนท์ ล่ี ดลง เชน่ ศูนยก์ ารค้าไมส่ ามารถเปิดใหบ้ ริการได้ ทอ่ งเท่ียวของ การจดั งานแสดงสนิ ค้า การจดั กจิ กรรมสง่ เสรมิ การขายไมส่ ามารถดำเนนิ การได้ ทำให้ ผู้เยย่ี มเยือน ยอดขายลดลง ชาวไทย (50 จังหวัด) - แหลง่ วตั ถุดบิ ในการนำมาผลติ สนิ คา้ ไดร้ บั ผลกระทบ ไม่สามารถสง่ วัตถดุ ิบได้ ราคา ต้นทุนของวัตถุดบิ สงู ข้ึน ส่งผลให้รายไดจ้ ากการจำหนา่ ยผลิตภณั ฑช์ มุ ชน OTOP 3. ผลการดำเนนิ งาน ไม่เปน็ ไปตามเปา้ หมายท่กี ำหนดไว้ ตามแนวทาง สง่ เสริมเกษตร - ผู้ประกอบการหลายรายยังไม่สามารถเปลีย่ นรปู แบบมาใชช้ ่องทางออนไลนใ์ นการ แปลงใหญ่ จำหนา่ ยผลิตภณั ฑ์ได้ (43 จงั หวดั ) - การแพรร่ ะบาดอย่างรวดเรว็ และกว้างขวาง บางคนตดิ เช้ือโดยปราศจากอาการ 4. ร้อยละของปรมิ าณ จึงไมก่ ลา้ เดนิ ทาง ขยะมูลฝอยชมุ ชน ได้รบั การจัดการ - หลายจังหวดั ปดิ สถานทท่ี ่องเทีย่ ว อย่างถกู ตอ้ ง - จังหวัดที่เปน็ แหลง่ ทอ่ งเทย่ี วยอดนยิ ม สว่ นใหญเ่ ปน็ จงั หวดั ทม่ี จี ำนวนผตู้ ดิ เชื้อสงู เช่น (31 จังหวดั ) จงั หวดั เชียงใหม่ ชลบรุ ี ระยอง สุราษฎรธ์ านี ประจวบครี ขี ันธ์ สงขลา และภูเกต็ 5. ร้อยละของ - 62 จงั หวดั ใช้มาตรการเขม้ มคี ำสงั่ /ประกาศใหม้ ีการกักตัวผู้ทเี่ ดินทางมาจากนอกพืน้ ท่ี หมู่บา้ น/ชุมชน ท่ีไมพ่ บปัญหา เปน็ เวลา 14 วัน ทำใหป้ ระชาชนเดนิ ทางลดลง ยาเสพตดิ - จังหวดั ไมส่ ามารถจดั กจิ กรรมส่งเสรมิ การท่องเท่ยี วได้ (31 จงั หวัด) - สายการบนิ งดการบิน บริษทั ขนสง่ จำกัด และการรถไฟแหง่ ประเทศไทยงดใหบ้ ริการ - การปดิ ร้านอาหารและสถานบนั เทงิ แหล่งทอ่ งเทีย่ ว โรงแรม/ทพ่ี กั เปน็ ต้น ทำให้จำนวน นกั ทอ่ งเท่ียวและรายได้จากการทอ่ งเทยี่ วลดลง - เจา้ หนา้ ท่ีไมส่ ามารถลงพนื้ ท่ีเพอื่ ส่งเสรมิ ในช่วงการระบาดน้ไี ด้ - โครงการฝึกอบรม สง่ เสรมิ ความรู้แกเ่ กษตรกร รวมท้งั การตรวจรบั รองคุณภาพสินคา้ ทำไดไ้ มเ่ ต็มท่ี - เนอ่ื งจากสถานการณ์ COVID-19 เจา้ หน้าที่ไมส่ ามารถลงพ้นื ที่ตรวจติดตามสถานการณ์ การบรหิ ารจัดการขยะอย่างถกู ต้อง ประกอบกับการเปล่ยี นแปลงพฤตกิ รรมวถิ ีการใช้ ชวี ติ ประจำวนั ของประชาชนในสถานการณ์ COVID-19 ที่งดการรับประทานอาหารทีร่ ้าน ปรับมาใชบ้ รกิ ารอาหารเดลเิ วอร่ที ่มี ีบรรจภุ ัณฑส์ ่วนใหญเ่ ปน็ พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดยี วท้งิ มากขึน้ ทำให้ปริมาณขยะเพ่ิมข้ึน - การเก็บรวบรวมขยะรีไซเคิลไปกำจัดนอ้ ยลงเนอ่ื งจากกลัวความเสี่ยงทท่ี ำใหเ้ กิดโรค COVID-19 - ไม่สามารถดำเนนิ งานตามแผนที่กำหนดได้ - มาตรการการควบคุมการแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 ทำให้การจัดกิจกรรมในการ ป้องกันและแก้ไขปญั หายาเสพติดไมส่ ามารถทำได้ เชน่ จัดการฝึกอบรมกลมุ่ เสย่ี ง การประชาคมในพน้ื ที่หมบู่ ้าน/ชุมชน การพบปะมวลชน การรณรงค์สร้างจติ สำนกึ บางกิจกรรม/โครงการถกู ยกเลิกการดำเนินการ
13 - ไมส่ ามารถนำผเู้ สพรายใหม่เข้ารบั การบำบัดในระบบสมัครใจ (ค่ายปรับเปล่ียนพฤตกิ รรม) ไดต้ ามเปา้ หมาย สง่ ผลใหม้ ีผู้เสพตกค้างอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนจำนวนมาก - มีหมบู่ ้านท่ีพบปญั หายาเสพติดในหลายจงั หวัดเพ่ิมขน้ึ 6. อตั ราผเู้ สยี ชวี ิตจาก - สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทีแ่ ตกตา่ งจากปี 2563 มกี ารแพร่กระจาย อบุ ตั ิเหตุทางถนน เปน็ วงกว้าง จำนวนผู้ติดเชือ้ เพ่มิ ข้ึนอยา่ งรวดเรว็ ทำให้จำนวนเตยี งในสถานพยาบาลใน ต่อประชากรแสน กรงุ เทพฯ และจงั หวดั ใกลเ้ คยี งไม่เพยี งพอรบั กับจำนวนผตู้ ดิ เชื้อ ประกอบกบั การประกาศ คน (19 จงั หวัด) ปิดไซต์ แคมคนงานก่อสร้างท้งั ในกรุงเทพฯ และปรมิ ณฑล ทำใหแ้ รงงานเหล่านที้ ยอย กลับภมู ลิ ำเนาอยา่ งต่อเน่ือง ขณะเดียวกันต่างจังหวัดมนี โยบายรับผปู้ ว่ ยกลบั ไปรกั ษา ทภ่ี มู ลิ ำเนา มีการเดนิ ทางกลับตา่ งจงั หวัดอย่างต่อเนอ่ื ง ทำใหโ้ อกาสการเกดิ อุบัตเิ หตุ เพิม่ สงู ข้นึ - พฤติกรรมผู้บรโิ ภคทเี่ ปล่ียนไป เนน้ การรบั บริการสง่ อาหารและส่งิ ของถงึ บ้าน ธรุ กจิ รับสง่ สินค้าขยายตัวอยา่ งรวดเรว็ การทำงานทตี่ ้องแขง่ กบั เวลาของผสู้ ่งของ ทำให้โอกาสการเกดิ อบุ ตั ิเหตุเพ่ิมสงู ข้นึ 7. อตั ราการคลอด - สถานการณ์ COVID-19 ทำให้ไมส่ ามารถเข้าถงึ วัยร่นุ ได้ จังหวัดตอ้ งปรับวิธีการโดยใช้ มชี พี ในหญงิ อายุ สื่อออนไลน์แทน เชน่ อบรมแกนนำวยั รนุ่ ทาง Zoom ประชาสมั พนั ธผ์ า่ น Facebook 15-19 ปพี ันคน Line วทิ ยุ เสียงตามสาย คลปิ วดิ ีโอ (18 จังหวดั ) 8. มลู ค่าการคา้ - ปดิ ด่านในหลายพืน้ ที่ ทั้งทม่ี สี าเหตุมาจากปัญหาการแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 ชายแดน ของประเทศเพ่ือนบ้านและของประเทศไทย ได้แก่ แนวพรมแดนของจงั หวดั เชียงราย (14 จังหวัด) แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และสงขลา เปน็ ตน้ - เกดิ ความตึงเครยี ดกรณีทหารประเทศเมียนมาควบคุมตัวผนู้ ำระดบั สงู ในรฐั บาล จงึ มกี าร ปิดด่านการคา้ โดยปรยิ าย - จังหวดั กาญจนบรุ ีประกาศระงับใช้ชอ่ งทางเข้ามาในราชอาณาจกั รของบุคคล ยานพาหนะ และสงิ่ ของ ณ จุดผา่ นแดนถาวรบา้ นพนุ ้ำรอ้ น ตำบลบา้ นเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี และ จดุ ผอ่ นปรนทางการค้าด่านพระเจดียส์ ามองค์ ตำบลหนองลู อำเภอสงั ขละบุรี จังหวดั กาญจนบรุ ี และชอ่ งทางผ่านแดนทเี่ ปน็ ชอ่ งทางธรรมชาติ (เพิ่มเตมิ ) ตงั้ แตว่ ันท่ี 20 มกราคม-3 กมุ ภาพนั ธ์ 2564 9. อตั ราคดี - เจา้ หนา้ ทจี่ ำนวนมากตอ้ งปฏบิ ตั หิ นา้ ทเี่ พอื่ ป้องกัน และเฝา้ ระวังโรค COVID-19 รว่ มกับ อาชญากรรมต่อ หนว่ ยงานอน่ื จึงเปดิ โอกาสให้คนรา้ ยก่อเหตุมากขน้ึ ประชากรแสนคน (13 จังหวดั ) - สถานประกอบการหลายแห่งปดิ กิจการ เลิกจา้ งงาน มีจำนวนผวู้ า่ งงานเพม่ิ ข้ึนอยา่ งมาก ทำให้เกดิ ความเครยี ด มีโอกาสก่ออาชญากรรมเพม่ิ มากขน้ึ โดยเฉพาะคดีลักทรพั ย์ ฉอ้ โกง ยักยอกทรัพย์ และปลน้ ทรัพย์ เป็นต้น 10. ค่าคะแนนเฉลยี่ ของ - โรงงานอุตสาหกรรมเปน็ พน้ื ที่ทพี่ บปญั หาการแพรร่ ะบาดสูง สถานประกอบการ - จังหวัดชลบุรี สมทุ รปราการ สมทุ รสาคร กระบ่ี ฉะเชงิ เทรา ชลบุรี และปราจีนบรุ เี ป็นพืน้ ที่ สู่ระบบ ควบคุมสงู สดุ มจี ำนวนผตู้ ิดเชอื้ ในลำดบั ต้น ๆ ของประเทศ ทำใหก้ ารปฏิบัตติ ามตวั ชี้วดั อตุ สาหกรรม ไมส่ ามารถดำเนนิ การได้เตม็ ท่ี สีเขยี ว (7 จังหวัด)
14 - สถานประกอบการต้องใหค้ วามสำคัญในการป้องกันและเฝา้ ระวงั โรคภายในเปน็ หลกั เพื่อมใิ หส้ ่งผลกระทบที่นำสกู่ ารปดิ สถานประกอบการ 11. การพฒั นาพนื้ ท่ี - การดำเนนิ งานตา่ ง ๆ ไม่เปน็ ไปตามแผน ทำให้ไมส่ ามารถยกระดบั การเป็นเมอื ง อตุ สาหกรรมเขา้ สู่ อตุ สาหกรรมเชงิ นิเวศท่ีดีขึ้นได้ เมอื งอตุ สาหกรรม เชิงนิเวศ - โรงงานอุตสาหกรรมต้องให้ความสำคญั กบั การป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (5 จังหวดั ) ภายในด้วย - โรงงานทม่ี ีแรงงานรวมตัวกันอยเู่ ป็นจำนวนมาก เป็นกลุ่มทม่ี ีความเส่ยี งสงู และ ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 โรงงานหลายแหง่ พบคลสั เตอร์การติดเช้ือที่รนุ แรง 12. รอ้ ยละของแรงงาน - สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 ทำใหส้ ถานประกอบการชะลอ ทกุ กลุม่ เป้าหมายท่ี การจ้างงาน และบางแห่งปิดกิจการ ขณะที่มีการว่างงานจำนวนมาก แตก่ ารบรรจงุ าน ได้รบั บริการจดั หา มีขอ้ จำกดั งาน มีงานทำ (2 จงั หวัด) 13. มูลค่ารวมของ - ราคาผลผลติ ไมส่ ามารถควบคุมได้ ผลผลติ การเกษตร - การทำงานของเจ้าหนา้ ทล่ี ำบากขน้ึ ทส่ี ำคญั (2 จังหวดั ) 14. จำนวนพน้ื ท่ปี ลูก - การจดั กจิ กรรมปลกู ป่าชายเลน ซึง่ มีการรวมตวั ของผู้จดั กจิ กรรมไม่สามารถดำเนนิ การ ปา่ ชายเลนเพ่มิ ขนึ้ ตามภาวะปกตไิ ด้ ภาคเอกชนไมส่ ามารถดำเนนิ กิจกรรมเพื่อสงั คม (CSR) ทำให้เปา้ หมาย (1 จังหวดั ) ไม่เป็นไปตามแผนงาน บางส่วนของภาคเอกชนได้เปลย่ี นรูปแบบการปลูกปา่ ชายเลนโดย จ้างชาวบา้ นในพืน้ ทแี่ ทน 15. ความสำเร็จของ - จังหวัดสมทุ รสาครเปน็ พ้ืนที่ควบคมุ สงู สดุ และมกี ารพบการตดิ เช้อื ในคลัสเตอรต์ ลาด การพฒั นาคุณภาพ กลางกงุ้ ซึง่ เชื่อมโยงกับฟาร์มเลย้ี งกงุ้ ท่ีมีแรงงานตา่ งดา้ วจำนวนมาก เปน็ สถานทเ่ี ส่ยี งสูง สินค้าประมงสู่ ตอ้ งปฏิบัตติ ามมาตรการการควบคมุ โรคของจงั หวดั สมุทรสาคร มาตรฐาน - ผลการดำเนนิ งานทำไดเ้ พียงบรรลุเป้าหมายข้นั ตน้ (1 จังหวดั ) 16. มูลค่าการจำหนา่ ย - กระแสการใช้สุมนไพรไทยตา้ นโควดิ ทำใหก้ ารจำหนา่ ยผลติ ภณั ฑ์สมุนไพรมียอดขายเพ่มิ ผลิตภัณฑส์ มนุ ไพร สงู ขน้ึ มาก (1 จงั หวดั ) 17. มูลคา่ ทาง - สนิ ค้า GI สว่ นใหญ่จำหน่ายได้จากกิจกรรมสง่ เสรมิ การขาย เช่น การจัดงานแสดงสนิ ค้า การตลาดของ OTOP เม่ือไมส่ ามารถจัดงานสง่ เสริมกจิ กรรมการขายสินคา้ OTOP ได้ สง่ ผลใหย้ อด สินคา้ GI ท่ไี ด้รบั รายได้จากการจำหนา่ ยไมไ่ ด้ตามเปา้ หมายทต่ี งั้ ไว้ การข้นึ ทะเบียน (1 จังหวดั )
15 18. ความสำเรจ็ ของ - การลงพืน้ ทเ่ี พือ่ สำรวจ ตรวจสอบ และจัดทำข้อมลู การใช้ทด่ี นิ และแผนทขี่ อบเขตท่ีดิน การดำเนิน ในพื้นท่ี ไมส่ ามารถดำเนนิ การไดเ้ ตม็ ที่ โครงการจัดทด่ี ิน ทำกินใหช้ ุมชน - การประชมุ ร่วมกันของคณะทำงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถน่ิ และผทู้ เ่ี กี่ยวขอ้ ง ตามนโยบาย ภายหลงั จากทกี่ รมปา่ ไมไ้ ดก้ ำหนดพน้ื ทีเ่ ป้าหมายท่ีมาของโครงการให้สำนักงาน รัฐบาล (คทช.) ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อมจงั หวัดไม่สามารถท่จี ะดำเนนิ การไดเ้ ตม็ ที่ เนอื่ งจาก (1 จงั หวดั ) เจ้าหนา้ ทปี่ ระสบความเสี่ยงในการดำเนินงาน และ อปท. ตอ้ งไปใหก้ ารสนับสนนุ การ ดำเนนิ งานเก่ยี วกับมาตรการตา่ ง ๆ ในการป้องกนั และเฝ้าระวงั การแพร่ระบาดของโรค 19. อตั ราทารกตาย COVID-19 ดว้ ย ต่อการเกดิ มชี ีพ พนั คน (1 จังหวดั ) - จังหวัดนราธวิ าสมีจำนวนผตู้ ิดเชอ้ื COVID-19 สงู สดุ ตดิ 1 ใน 5 ของประเทศ และ ประชาชนมีความเสยี่ งในการตดิ เช้ือ 20. จำนวนเหตุการณ์ ความรนุ แรงใน - สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้กำลังพลตดิ เชอ้ื หลายราย จงั หวัดชายแดน ภาคใต้ (1 จงั หวดั ) สำหรับตัวชี้วัดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากโรค COVID-19 เช่น ร้อยละของจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ร้อยละของผู้สูงอายุท่ีมีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan ความสำเร็จของการควบคุมฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และคุณภาพนำ้ ของแม่นำ้ สายหลักท่ีอยู่ในเกณฑ์ดีเพิ่มขึ้น เปน็ ตน้ ตัวอย่างผลกระทบท่ีเกิดขึน้ กับตวั ช้วี ดั สำคัญและมีจำนวนจังหวดั หลายจงั หวัดท่ปี ระเมนิ ด้วยตวั ชว้ี ดั นี้ (1) รายไดจ้ ากการทอ่ งเทยี่ ว จากรายงานการประเมินตนเองของจังหวัดในรอบปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 (1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563) พบว่า ตัวชี้วัดที่มีผลกระทบมากที่สุดและทุกจังหวัดไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุ เป้าหมาย คือ รายไดจ้ ากการท่องเที่ยว เน่อื งจากการดำเนินมาตรการป้องกนั การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของจังหวัด และของประเทศล้วนส่งผลกระทบโดยตรงกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อาทิ การปิดสถานที่ท่องเที่ยว วัด ศาสนสถาน สถานบริการ ร้านอาหาร โรงแรม และ สถานประกอบการต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยง การห้ามอากาศยานขนส่งคนโดยสารทำการบินเข้ามายังทา่ อากาศยาน ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว การปิดด่านพรมแดน การห้ามเดินทางข้ามจังหวัดยกเว้นกรณีจำเป็น รวมทั้ง การหา้ มทำกิจกรรมทีม่ กี ารชมุ นุมของคนจำนวนมาก เป็นตน้ จากขอ้ มูลช่วงเดือนมกราคม - กนั ยายน 2563 ของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบวา่ รายได้จากการท่องเท่ียวของนักท่องเทีย่ วชาวไทยลดลง 3,670.45 ล้านบาท (55.56%) และรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 7,014.41 ล้านบาท (73.95%) แสดงให้เห็นถึงการลดลง ของรายได้จากการทอ่ งเท่ียวอย่างชดั เจน โดยเฉพาะจงั หวัดทมี่ ตี ัวขบั เคล่ือนเศรษฐกิจภายในจงั หวัดคือรายได้จาก การทอ่ งเทย่ี ว อทิ ธิพลของโรค COVID-19 ทำใหจ้ ังหวัดท่ีพ่ึงพารายได้จากการท่องเทีย่ วของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นหลกั ดังเช่นจังหวัดภเู กต็ และจงั หวดั พังงาไดร้ บั ผลกระทบท่ชี ัดเจน
16 นอกจากนี้ โครงการที่จังหวัดได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไม่สามารถ ดำเนินการได้ ประกอบกับมีการโอนงบประมาณตามพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 เพื่อ นำมาแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรค COVID–19 จึงทำให้กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลายกิจกรรม ไม่สามารถดำเนินการได้ อาทิ การจัดงานเทศกาลต่างๆ การจัดงานอีเวนต์ และงานสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิน่ เป็นต้น สง่ ผลใหร้ ายได้จากการท่องเท่ยี วลดลงอยา่ งมาก รายได้จากการทอ่ งเท่ียว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560–2563 หน่วย : ลา้ นบาท ปีงบประมาณ พ.ศ. รายไดจ้ ากการทอ่ งเท่ยี ว % การเปลีย่ นแปลง หากพิจารณาในภาพรวมพบว่า 2560 1,458,712.29 รายไดจ้ ากการท่องเที่ยวของ 76 จังหวัด 2561 1,620,266.19 11.08 (ไม่รวมกรุงเทพฯ) ในปีงบประมาณ 2562 1,658,640.53 2.37 พ.ศ. 2563 จำนวน 902,913.56 ลา้ นบาท 2563P 902,913.56 - 45.56 (ตัวเลขเบื้องต้น) ลดลงจากปีก่อนหน้า เกอื บร้อยละ 50 ท่มี า : กระทรวงการท่องเท่ียวและกฬี า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID–19 ทำให้รายได้จากการ ท่องเทยี่ ว (รายไดจ้ ากการท่องเท่ียวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ + รายได้จากการท่องเทย่ี วของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย) ลดลงอย่างมาก (เกือบรอ้ ยละ 50) ดังนน้ั ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงการท่องเทยี่ วและกีฬาจึงได้ปรับ ตวั ชีว้ ดั มาเปน็ การวดั รายไดจ้ ากการทอ่ งเท่ยี วของผ้เู ยยี่ มเยอื นชาวไทยแทน (ไม่นับรวมนกั ทอ่ งเทย่ี วต่างชาติ) รายได้จากการท่องเทยี่ วของผเู้ ยีย่ มเยอื นชาวไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. 2560–2564 หน่วย : ล้านบาท จากตัวเลขรายได้ของผู้เยี่ยมเยือน ชาวไทย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ปีงบประมาณ พ.ศ. รายได้ผเู้ ยีย่ มเยอื น % การเปล่ยี นแปลง ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 2560 614,767.16 ร้อยละ 38 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 677,911.06 10.27 2564 ก็ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 698,989.86 3.11 2563 เกอื บร้อยละ 50 2563 430,623.08 -38.39 2564 220,000.95 -48.91 ท่ีมา : กระทรวงการท่องเที่ยวและกฬี า
17 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีความรุนแรง และ ต่อเนอื่ งเป็นระยะเวลายาวนาน หลายจงั หวัดจึงกำหนดมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังท่เี ขม้ งวด เชน่ การเดินทาง จากต่างจงั หวัดเข้ามาในพ้ืนทบ่ี างจังหวดั ต้องกักตัว 14 วนั การหา้ มเดนิ ทางขา้ มจังหวัด การปิดสถานที่ท่องเท่ียว การปิดให้บริการร้านอาหาร การห้ามจัดงานประเพณี และงานเทศกาลประจำปี ประกอบกบั การประกาศยกเลิก เที่ยวบินภายในประเทศ ปรับแผนการให้บริการบางเส้นทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้งการหยุดเดินรถ ทกุ เส้นทางชั่วคราวของบริษทั ขนส่ง จำกัด จึงทำให้ประชาชนเดินทางทอ่ งเที่ยวลดลงอย่างมาก (2) มูลค่าการคา้ ชายแดน มูลค่าการค้าชายแดน เป็นอีกตัวชี้วัดหนึ่งทีไ่ ด้รับผลกระทบจาก COVID–19 เนื่องจากจังหวดั ที่มีพื้นที่ติดชายแดนมีมาตรการระงับการเดินทางเข้า-ออกของบุคคล ยานพาหนะ และสิ่งของ ณ จุดผ่านแดน ถาวร จุดผ่อนปรนการค้า และช่องทางอื่น ๆ ตลอดแนวชายแดนเป็นการชั่วคราว ยกเว้นบางจุดที่มีความสำคัญ เท่านั้น ขณะเดียวกันมาตรการการป้องกัน COVID–19 ของประเทศเพื่อนบ้านที่มีการปิดด่านพรมแดนระหว่าง ไทยด้วยเช่นกัน ทำให้การค้าชายแดนได้รับผลกระทบด้วย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป. ลาว) ปิดดา่ นประเพณีและด่านท้องถ่ินทั่วประเทศ ทำให้มกี ารสง่ ออกได้เฉพาะจุดผ่านแดน ถาวร ดา่ นสะพานมติ รภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ประเทศกมั พูชาไม่อนุญาตให้จัดงานแสดงสินค้าในช่วงสถานการณ์ การแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019 ทำให้มลู ค่าการคา้ ชายแดนได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะจังหวัด สงขลา ตราด และสระแก้ว ประกอบกับภาวะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจนี ปัญหาของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ค่าเงินบาทแข็งค่า ค่าเงินริงกิตมาเลเซียที่อ่อนค่า สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้มูลค่าการค้าชายแดนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ลดลงจากปีก่อนหน้าถึงรอ้ ยละ 10 โดยจังหวัดส่วนใหญ่ มมี ูลค่าลดลง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน มคี วามรุนแรงมากกวา่ ปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 ทำให้ประเทศท่มี ีพรมแดนติดกับประเทศไทยมีมาตรการทีเ่ ข้มงวด เช่น ประเทศกัมพชู าประกาศปิด 8 จงั หวดั ชายแดนท่ตี ดิ กบั ประเทศไทยระหวา่ งวนั ท่ี 29 กรกฎาคม–12 สงิ หาคม 2564 และประเทศมาเลเซียล็อกดาวน์ประเทศระหว่างวันที่ 1-28 มิถุนายน 2564 สปป. ลาวปิดด่านมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 จังหวัดหนองคายระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์-31 มีนาคม 2564 ขณะเดียวกันประเทศไทยก็มี การปิดด่านด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากมูลค่าการค้าชายแดนพบว่ามีผลกระทบน้อยกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยขยายตัวร้อยละ 13.64 มูลค่าการค้าชายแดนบางจังหวัดมียอดการค้าที่สูงกว่าปีที่ผ่านมามาก เช่น จังหวัดระนองและจังหวัดตาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่นประกอบ เช่น การปิดด่านชายแดนจีน- เมียนมา ทำให้มีการค้าทางด่านแม่สอดมากขึ้น ประกอบกับค่าเงินจ๊าตเมียนมาตกตํ่าสุด จากเดิม 100 จ๊าต แลกเงินบาทไทยไดม้ ากกว่า 2 บาท ปจั จุบันเหลอื เพยี ง 1.90 บาท และสถานการณค์ วามไมส่ งบในเมยี นมา ทำให้ ผู้คา้ กกั ตนุ สนิ ค้ามากข้ึน แตไ่ ดร้ บั ผลกระทบในการขนส่งที่ทำได้ช้าลง เพราะต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข และมาตรการการขนส่งของประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับการค้าชายแดนที่จังหวัดระนองมูลค่าการค้ากลับเพ่ิม สูงขึ้น โดยสินค้าหลกั ทเ่ี มยี นมาตอ้ งการมาก คอื ปนู ซเิ มนต์ และอปุ กรณ์การก่อสร้างที่ทางการนำเข้าไปสนับสนุน โครงการก่อสรา้ งต่าง ๆ ท่ีกำลงั เร่งดำเนินการอยูใ่ นปัจจุบนั น้ำมันเชอ้ื เพลงิ รวมถึงสนิ คา้ อปุ โภค-บริโภคท่ีจำเป็น เนื่องด้วยการหวาดหวั่นว่าผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศเมียนมา รวมถึงการ แพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 ของทั้งประเทศไทยและเมียนมาอาจนำสู่การปิดด่าน ดังนั้น จึงมีการเร่ง กกั ตนุ สนิ คา้ เพิ่มขึน้
18 อย่างไรก็ตาม จงั หวดั กาญจนบุรีที่พรมแดนติดกบั ประเทศเมียนมากลับมีมูลคา่ การค้าชายแดนลดลง เนอ่ื งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทรี่ ุนแรงของโรค COVID-19 ในประเทศเมียนมาประกอบกับการเข้ามาของ แรงงานผิดกฎหมายผ่านจังหวัดกาญจนบุรีอย่างต่อเนื่อง จังหวัดกาญจนบุรีจึงมคี ำสั่งระงับการใช้ช่องทางเข้ามา ในราชอาณาจักรของบุคคล ยานพาหนะ และสิ่งของ ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านพุน้ำร้อน ตำบลบ้านเก่า อำเภอ เมืองกาญจนบุรี และจุดผ่อนปรนทางการค้าด่านพระเจดีย์สามองค์ (จุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว) ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบรุ ี จังหวัดกาญจนบรุ ีและซอ่ งทางผ่านแดนทเี่ ปน็ ชอ่ งทางธรรมชาติ มลู คา่ การคา้ ชายแดน สงู สดุ 10 อนั ดับแรก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 หนว่ ย : พันล้านบาท ที่ จงั หวดั 2561 ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 % การเปลีย่ นแปลง 296.15 2562 2563 307.25 ปี 62-63 ปี 63-64 1 สงขลา 85.14 285.37 231.85 96.91 -18.76 32.52 2 สระแกว้ 78.97 99.73 92.52 94.67 -7.23 4.74 3 ตาก 61.58 78.73 76.29 70.05 -3.10 24.10 4 หนองคาย 73.13 60.67 60.47 52.08 -0.32 15.84 5 กาญจนบุรี 62.53 80.40 65.01 40.26 -19.13 -19.89 6 มกุ ดาหาร 35.65 59.75 43.86 31.23 -26.60 -8.20 7 ตราด 28.87 35.34 31.90 29.05 -9.74 -2.11 8 นา่ น 21.58 28.77 25.02 23.56 -13.04 16.13 9 ระนอง 17.75 20.98 18.14 23.36 -13.51 29.86 10 อบุ ลราชธานี 79.90 16.58 20.63 99.59 24.41 13.22 11 อนื่ ๆ 841.24 82.00 98.16 868.01 19.71 1.46 848.31 763.85 -9.96 13.64 รวม ทมี่ า : กรมการคา้ ตา่ งประเทศ กระทรวงพาณชิ ย์ (3) มูลค่าการจำหน่ายผลิตภณั ฑ์ OTOP ตวั ชว้ี ัดมูลคา่ การจำหน่ายผลิตภณั ฑ์ OTOP พบวา่ อัตราการขยายตัวเฉล่ียในชว่ งปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2562 มากกว่าร้อยละ 20 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 มูลค่าการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ OTOP ในภาพรวมยังคงเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.87 และ 7.84 ตามลำดบั ) ขณะทีป่ ที ่ผี ่าน ๆ มา มลู ค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP เพมิ่ ขน้ึ กวา่ รอ้ ยละ 20 มาโดยตลอด)
19 มูลคา่ การจำหน่ายผลติ ภัณฑ์ชมุ ชน (OTOP) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มี 28 จังหวัดที่ประเมนิ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560–2564 ด้วยตัวชี้วัดนี้ และมีเพียง 2 จังหวัดที่อัตราการเติบโต ของมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ลดลง ได้แก่ หน่วย : ลา้ นบาท จังหวดั พษิ ณโุ ลกและจงั หวัดภเู กต็ เนื่องจากการจำหน่าย ผลิตภัณฑช์ มุ ชน (OTOP) ผา่ นช่องทางเดิม เชน่ การจัดงาน ปงี บประมาณ มูลคา่ OTOP %การเปลี่ยนแปลง แสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP Midyear งาน OTOP 2560 153,510.73 CITY และการจัดจำหน่ายสินค้าในงานประจำปี และงาน 2561 190,320.61 23.98 เทศกาลต่าง ๆ ของจังหวัด หรือช่องทางออฟไลน์อื่นๆ 2562 237,255.03 24.66 ก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก ประกอบกับนักท่องเที่ยวท้ัง 2563 258,307.17 8.87 ชาวไทยและต่างประเทศลดลงอย่างมาก ทำให้การซ้ือ 2564 278,565.42 7.84 สินค้า OTOP เพื่อการบริโภคและซื้อเป็นของฝากลดลง มากเช่นกัน ที่มา : กรมการพัฒนาชมุ ชน ในปีงบประมาณ พ.ศ 2564 มี 58 จังหวัดที่ประเมินด้วยตัวชี้วัดนี้ และมีเพียง 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชยี งใหม่ นครศรธี รรมราชการ ภเู ก็ต ยโสธร และระยอง ท่ีมมี ูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑช์ ุมชนลดลงจาก ปที ่ผี ่านมา ซึง่ สว่ นใหญแ่ ล้วพบว่าเปน็ จงั หวดั ทีพ่ บปัญหาการแพรร่ ะบาดของโรค COVID–19 ท่รี นุ แรง สำหรับการขับเคลื่อนแผนงาน โครงการเพื่อยกระดับการผลิตและการเพิ่มช่องทางการค้า เช่น การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP การจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่าย/เพิ่มช่องทาง การตลาดต้องยกเลกิ ไป สว่ นหนง่ึ เน่อื งจากไมส่ ามารถจดั อบรมสมั มนา เพราะขัดกบั มาตรการการป้องกันการแพร่ ระบาดของ COVID–19 ในการรวมกลุ่ม ซึ่งไม่แตกต่างกับปัญหาอุปสรรคที่พบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เริ่มมีการปรับตัว โดยนำผลิตภัณฑ์ OTOP เข้าสู่การจำหน่ายสินค้า ทางออนไลน์แทน แต่ยังมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการบางรายที่ไม่มีความพร้อม และไม่มีความรู้ในการนำผลิตภัณฑ์ เขา้ สูช่ ่องทางออนไลน์ จึงตอ้ งใช้เวลาในการศึกษาหรือไดร้ ับคำแนะนำจากบคุ คลอน่ื หรือผู้เชยี่ วชาญตอ่ ไป (4) อัตราผู้เสยี ชีวติ จากอบุ ัตเิ หตุทางถนน อตั ราผูเ้ สียชวี ติ จากอบุ ัตเิ หตุทางถนน ปี 2561–2564 อาจกลา่ วไดว้ า่ ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 ตัวชวี้ ัดที่ ได้รับผลกระทบเชิงบวกจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ปี อัตราผเู้ สียชวี ิต % การเปลยี่ นแปลง COVID–19 ได้แก่ อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 2561 33.75 (1 กรกฎาคม ปีก่อนหน้า–30 มิถุนายน ปีปัจจุบัน) ใน 2562 32.33 -4.20 ภาพรวมพบว่า อตั ราผเู้ สียชีวติ จากอบุ ัติเหตุทางถนนลดลง 2563 28.14 -12.97 โดยในปี 2563 ลดลงถงึ รอ้ ยละ 13 จากปี 2562 โดยคร่งึ ปี 2564 31.39 11.55 หลงั อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จงึ ทำให้ อัตราผเู้ สยี ชวี ิตจากอุบัตเิ หตทุ างถนนลดลงอย่างมาก ทีม่ า : กระทรวงสาธารณสขุ
20 จากข้อมูลการประเมนิ ผลของจงั หวัด พบวา่ ในปี 2563 อตั ราผ้เู สียชีวิตจากอุบัตเิ หตุทางถนนลดลง เกือบทุกจังหวัด เนื่องจากโรค COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ ประชาชนยังหวาดกลัว ประกอบกับในช่วงของการ ระบาด รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ห้ามออกนอกเคหสถาน รวมทั้งการปิดสถานที่ เสี่ยง ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนส่งเสริมการทำงานที่บ้าน หรือทำงานเหลื่อม เวลา จึงทำให้ปริมาณการจราจรลดลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดที่รุนแรงในช่วงสงกรานต์ รัฐบาล ขอให้งดเว้นการเดินทางกลับภูมิลำเนา ห้ามเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง (แถลงการณ์สถานการณ์โควิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563) ปัจจยั เหล่านีส้ ง่ ผลใหป้ ริมาณการจราจรลดน้อยลง การเสียชีวติ จากอบุ ตั ิเหตจุ ึงลดลง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในปี 2564 กลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการแพร่ระบาดที่รุนแรงในกรุงเทพฯ และจังหวัดโดยรอบ จนทำให้สถานพยาบาลหลายแห่ง ประสบ ปญั หาเตยี งไม่เพยี งพอทจ่ี ะรองรับกบั จำนวนผปู้ ่วยทเ่ี พ่ิมขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบการพบการติดเชื้อในคลัสเตอร์ ใหญค่ ือแคมป์คนงานก่อสรา้ งในกรุงเทพฯ และจังหวดั ใกล้เคียง ทำให้ ศบภ. ออกประกาศเม่ือวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ล็อกดาวน์ 5 กิจกรรมในกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑล โดยเฉพาะการปิดไซต์และแคมป์คนงาน ก่อสร้างยิ่งเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดกระแสการเดินทางกลับภูมิลำเนาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับหลายจังหวัดมี นโยบายรบั ผู้ปว่ ยกลบั ไปรักษาท่ภี ูมลิ ำเนา จึงทำให้มีการเดนิ ทางกลบั ต่างจงั หวดั อย่างตอ่ เนื่อง จากข้อมลู 12 เขต ตรวจสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขพบตัวเลขเฉพาะผู้ติดเช้ือที่เดินทางกลับต่างจังหวัดและเข้ารับการดูแลรักษา ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม-4 สิงหาคม 2564 สูงถึง 94,664 ราย นอกจากนี้ พฤติกรรมของประชาชนเปลี่ยนไป จากเดิม มีการใช้บริการส่งสินค้าถึงบ้าน ทำให้อาชีพนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ผู้รับจ้างกลุ่มนี้มีโอกาสทำรายได้สูง แต่ตอ้ งทำงานแข่งกบั เวลา ดังน้ัน โอกาสการเกิดอุบตั ิเหตุจงึ มสี ูงเช่นกัน 1.4 สรุปสาระสำคญั ในบทนี้ได้กล่าวถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตอ่ การดำเนนิ งาน ของจังหวัดในหลาย ๆ ด้าน ทำให้จังหวัดต้องมีการปรับตัว รวมทั้งปรับวิธีการทำงาน เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อ การดำเนินงานและการให้บริการ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการประเมินตามมาตรการปรับปรงุ ประสทิ ธิภาพ ในการปฏบิ ัตริ าชการ ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 ผลกระทบต่อการดำเนินงานที่สำคัญประการหนึ่งคือ การขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ ของจังหวัด เช่น ประเด็นการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น เนื่องจากแผนงาน โครงการต้องหยุดชะงัก หรือบางโครงการต้องยกเลิก ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากขัดกับมาตรการการ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวคนจำนวนมาก การจัดงาน ประเพณี และการจัดกจิ กรรมสง่ เสรมิ การท่องเที่ยว เปน็ ตน้ นอกจากน้ี สถานการณด์ งั กลา่ วยังส่งผลกระทบต่อการใหบ้ ริการ หนว่ ยงานไม่สามารถให้บริการใน รูปแบบหรือวิธีการปกติได้ ทำให้ตอ้ งปรับรูปแบบมาใช้การให้บรกิ ารออนไลน์ หรือการมารับบรกิ ารท่จี ำกดั จำนวน ผู้รบั บริการตอ่ วนั การชะลอการให้บรกิ ารท่ีไม่จำเปน็ ออกไปกอ่ น เช่น งานบริการทางการแพทยท์ ี่ไม่เร่งดว่ น หรอื ฉกุ เฉนิ นอกจากน้ี ยังงดการให้บริการในบางงาน เชน่ การปิดศนู ยบ์ ริการร่วมอำเภอยิ้มที่ต้งั อยู่ในห้างสรรพสินค้า เนอื่ งจากเปน็ พื้นทท่ี ่ีคนมารวมตัวกนั จำนวนมาก โอกาสเส่ียงในการตดิ เช้ือสงู หรือการงดเย่ียมผู้ตอ้ งขังทุกเรือนจำ แต่กรมราชทัณฑ์ได้ออกมาตรการในการลดความเสย่ี งดว้ ยการใหบ้ รกิ ารพบปะระหว่างญาติและผ้ตู ้องขงั ดว้ ยการ ใช้ Application Line ซึ่งก็เป็นทางหนึ่งท่ชี ่วยลดความเครยี ดของผ้ตู ้องขังได้
21 นอกจากผลกระทบต่อการให้บริการแล้ว ผู้ให้บริการหรือเจา้ หน้าทีร่ ัฐก็ไดร้ บั ผลกระทบด้วยเช่นกนั มาตรการปฏิบัติงานที่บ้านส่งผลให้การทำงานหยุดชะงักบ้างในระยะแรกเนื่องจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความ ไม่พรอ้ มของเคร่ืองมืออุปกรณ์ในการปฏบิ ัติงาน เอกสาร ขอ้ มลู ประกอบกับวัฒนธรรมการทำงานในระบบราชการ ยังคงเป็นแบบดั้งเดิมที่ยึดหลักฐานเอกสารมากกว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ ข้อจำกัด ด้านทักษะหรือขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานที่บ้าน หรือการทำงานเหลือ่ มเวลาสามารถนำไปปฏิบตั ิได้กับบางหน่วยงาน แตอ่ าจจะไมเ่ หมาะสมกับบางหนว่ ยงาน เช่น สำนกั งานสาธารณสขุ จงั หวดั ทที่ ำการปกครองจงั หวัด และโดยเฉพาะสำนักงานจังหวดั ท่มี บี ทบาทสำคัญในฐานะ เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นประธานของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด นอกจากนี้ สำนักงานจังหวัด ยังมีบทบาทในการประสานงานระหว่างหนว่ ยงานในพ้ืนท่ี การประชมุ เพ่ือแก้ไขปัญหาในคณะกรรมการหลายคณะ การจดั ทำประกาศของจังหวดั การลงพน้ื ทเี่ พอื่ ตดิ ตามสถานการณ์ การรายงานสถานการณ์ต่อผู้วา่ ราชการจังหวัด และหน่วยงานในส่วนกลาง ดังนั้น ด้วยสถานการณ์เร่งด่วนเช่นนี้ สำนักงานจังหวัดจึงจำเป็นต้องปฏิบัติงาน ณ สำนักงานเป็นหลกั สำหรับผลกระทบท่ีมีต่อการประเมินตามมาตรการปรบั ปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ จาก การติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของจังหวัด พบว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มี 12 ตัวชี้วัด และ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มี 20 ตัวชี้วัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยส่วนใหญ่จะเป็นตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจได้รับผลกระทบท่ีอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้จาก การท่องเท่ยี ว พบว่าตัวเลขรายไดจ้ ากการท่องเทย่ี วของประเทศลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เกอื บร้อยละ 50 ส่วนรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ถึงแม้จะเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง หากเปรียบ กับปีก่อน ๆ ที่เพิ่มสูงกว่าร้อยละ 20 แต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 8.87 และ 7.84 ตามลำดบั สำหรับการค้าชายแดนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยมูลค่าการค้า ชายแดนลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 10 แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มูลค่าการค้าชายแดนกลับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.64 เนื่องจากมีปัจจัยอื่นสนับสนุน เช่น ค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้าน และสถานการณ์ความไม่สงบ ของประเทศเพ่ือนบ้าน เป็นตน้ อยา่ งไรกต็ าม ตัวช้วี ดั มลู คา่ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรของจังหวัดปราจีนบุรี เป็นตัวช้ีวัดที่ไดร้ บั อานิสงส์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในเชิงบวก โดยสามารถเพิ่มยอด จำหน่ายได้กว่าร้อยละ 40 (86.14 ล้านบาทในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563) เนื่องจากกระแสการใช้สมุนไพรไทย เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชาย และขงิ ในการปอ้ งกนั โรค COVID-19 จึงทำให้มลู คา่ การจำหนา่ ยเพิ่มสงู ข้ึนมาก นอกจากนี้ ตัวชี้วัดด้านสังคมบางตัวได้รับผลกระทบในด้านบวกเช่นกัน โดยเฉพาะอัตราผู้เสียชีวิต จากอุบตั เิ หตทุ างถนน ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 ดว้ ยมาตรการตา่ ง ๆ ทที่ ำให้ปรมิ าณการจราจรลดลงจากปกติ เป็นอย่างมาก อาทิ การปิดสถานที่เสี่ยงไม่ว่าจะเป็นสถานบริการ สถานที่ท่องเที่ยว สถานศึกษา สถานบันเทิง การห้ามรบั ประทานอาหารนอกบ้าน การปรบั เวลาการปิด-เปิดหา้ งสรรพสินค้า การจำกัดการเดนิ ทางข้ามจังหวัด รวมทั้งการประกาศช่วงเวลาห้ามออกจากบ้าน เป็นต้น มาตรการเหล่านี้ส่งผลให้ปริมาณการจราจรลดลง ทำให้ การสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุลดลงจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 13 แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 อัตราผู้เสียชีวติ จากอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกจังหวัด เนื่องจากผลกระทบจากการปิดไซต์ ปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง ศักยภาพดา้ นการรักษาพยาบาลในกรุงเทพฯ และปรมิ ณฑลเกินขดี จำกัด ประกอบกบั หลายจงั หวัดมีมาตรการรับ
22 ผปู้ ่วยกลับไปรกั ษาที่ภูมิลำเนา ปจั จัยเหลา่ นีจ้ งึ เป็นแรงสง่ ให้มีการเดนิ ทางเพ่มิ มากข้ึน และโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ ก็สูงขึ้นด้วย นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนเปลี่ยนไป มีการใช้บริการส่งสินค้าถึงบ้าน มากขึ้น ธุรกิจนี้จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว การทำงานที่ต้องแข่งกับเวลาเพื่อสร้างรายได้ ยิ่งทำให้โอกาสของการเกิด อุบตั ิเหตยุ ง่ิ สูงขน้ึ ควบคไู่ ปด้วย ในบทตอ่ ไปจะได้แสดงให้เห็นถงึ รปู แบบ วิธีการทำงานท่ีจังหวัดนำมาประยุกต์ใช้ การนำเทคโนโลยี มาช่วยในการปฏิบัติงาน การให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งแสดงให้เห็นว่าแม้ในช่วงวิกฤต จังหวัดได้พัฒนา นวัตกรรมขึ้นมาช่วยในการปฏิบัติงานได้เช่นกัน นอกจากนี้ บทเรียนดังกล่าวจะได้สรุปให้เห็นถึงตัวแปรท่ีสำคัญ ท่ีมีบทบาทอย่างมากในการผลักดันหรือขับเคลื่อนการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ให้ลุล่วงไปได้ ตลอดจน ปัญหาอุปสรรคทท่ี ำให้การดำเนนิ งานไมค่ ลอ่ งตัว และเป็นบททดสอบทผ่ี วู้ า่ ราชการจังหวดั ต้องก้าวข้ามให้ได้
23 บทที่ 2 การดำเนินการของจังหวดั เพื่อบรรเทาผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้ือไวรสั โคโรนา 2019 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 หลังจากนั้นสถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่าง ต่อเนื่อง และเมื่อสิ้นสุดระลอกท่ีหนึง่ พบว่า มี 9 จังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเช้ือ ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร พิจิตร บึงกาฬ สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง ตราด และระนอง ซึ่งในบทนี้จะได้กล่าวถึงจุดเน้นที่จังหวัดให้ความสำคัญเป็น พิเศษ รวมถึงกรณีตัวอย่างของจงั หวัดที่มแี นวทางการปฏบิ ัติที่ดี ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จตามมาตรการในการ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ COVID–19 และปัญหาอุปสรรคที่สำคัญเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของจังหวัดโดยรวม จนกระทง่ั เดือนธันวาคม 2563 ประเทศไทยกลับมาพบผตู้ ิดเช้อื ในจำนวนทสี่ ูงมากอยา่ งที่ไม่เคยพบ มาก่อน นับเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดระลอกที่สอง โดยเป็นการติดเชื้อในลักษณะกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ (Cluster) ที่ตลาดกลางกุ้ง ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร หลังจากนั้นพบว่ามีการแพร่ระบาด อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลา 1 สปั ดาห์ พบจำนวนผูต้ ดิ เชื้อสูงถงึ 1,400 ราย โดยมกี ารแพร่ระบาดต่อเนื่องไป ยงั จังหวัดใกลเ้ คียง รวมถงึ พ้ืนท่อี ื่นทม่ี ีความเชื่อมโยงกบั การคา้ กุง้ มากถงึ 27 จังหวดั ซงึ่ การแพรร่ ะบาดในครั้งน้ัน นับเป็นจดุ ท่เี ริ่มตน้ รุนแรงข้ึนมาอีกคร้ังหน่งึ นอกจากน้ี ช่วงเวลาใกลเ้ คียงกนั ยังพบการแพรร่ ะบาดในลักษณะเป็น กลุ่มก้อนจากบ่อนการพนันทจ่ี ังหวดั ระยองดว้ ย ข้อมูลของศูนยบ์ ริหารสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้ือ ไวรสั โคโรนา 2019 (โควดิ -19) หรอื ศบค. พบผู้ตดิ เช้ือสะสม ระหว่างวนั ที่ 12–31 ธนั วาคม 2563 สงู ถึง 2,446 ราย ในพื้นที่ 51 จังหวัด พื้นที่ที่พบมากสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สมุทรสาคร (1,634 ราย) ระยอง (202 ราย) ชลบุรี (144 ราย) กรงุ เทพฯ (125 ราย) นนทบรุ ี และนครปฐม (58 ราย) คดิ เปน็ รอ้ ยละ 91 ของยอดผ้ตู ดิ เช้ือสะสมรวม จำนวนผูต้ ดิ เชอ้ื ดงั กล่าวเพิ่มขึ้นสูงอยา่ งต่อเนื่องและเพ่มิ สูงข้ึนอย่างมากในช่วงเดือนเมษายน 2564 ในพื้นที่กรุงเทพฯ เกิดการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนที่สถานบันเทิงย่านทองหล่อ ในครั้งนี้เป็นการระบาดอย่าง รนุ แรงและรวดเร็ว นับเป็นสถานการณท์ ี่เร่งให้การแพรร่ ะบาดกระจายตัวทัว่ ทุกจังหวัด นอกจากการแพร่ระบาด ในลกั ษณะกล่มุ ก้อนแล้ว การกลายพันธข์ุ องเชอื้ โรค COVID-19 เปน็ หลายสายพนั ธุ์ เช่น อลั ฟา และเดลตา้ เป็นต้น ยิ่งทำให้การระบาดรนุ แรงและกระจายตัวอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การแพรร่ ะบาดในลักษณะกลุ่มกอ้ น ยังเกิดขึ้นตามมาอีกหลายกลุ่ม และเป็นกลุ่มใหญ่ ที่ต้องกล่าวถึงคือ แคมป์คนงานก่อสร้างที่มีการเคลื่อนย้าย แรงงานไปทำงานตามไซตง์ านต่าง ๆ ในแต่ละพ้ืนท่ี จึงทำให้เกิดการแพรร่ ะบาดลุกลามมากยิ่งขึ้น และอีกกลุ่มก้อน ทพ่ี บการติดเช้ือเพิม่ ขึ้นอย่างมาก คอื กล่มุ ผตู้ อ้ งขัง หากเปรียบเทียบความรนุ แรงของสถานการณด์ งั กล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 พบวา่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 มีความรนุ แรงทั้งจำนวนของผู้ตดิ เชื้อ จำนวนผู้เสยี ชีวติ จำนวนพ้ืนที่ทพ่ี บผู้ติดเชื้อ รวมทั้งมีระยะเวลาการแพร่กระจายของเชื้อที่ยาวนาน เนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อเป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยผตู้ ดิ เช้ือส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ สามารถติดต่อไดง้ ่าย อกี ทงั้ มีการพบเช้ือสายพันธ์ุใหม่ การพบคลัสเตอร์ต่าง ๆ ทีเ่ ปรียบเหมอื น Super Spreader โดยไมร่ ู้ตัว
24 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 มคี วามแตกตา่ งกนั หลายประเด็น สรุปไดด้ งั น้ี ประเดน็ ปงี บประมาณ พ.ศ 2563 ปงี บประมาณ พ.ศ 2564 1. ตน้ เหตุการแพรร่ ะบาด คนไทยทเี่ ดนิ ทางกลับจากต่างประเทศ และคนตา่ งชาติที่เดนิ ทางเขา้ มาใน • การลักลอบนำเขา้ แรงงานเถื่อน 2. ระยะเวลา ประเทศไทย • เกดิ การแพรร่ ะบาดในประเทศ 3. การพบผูต้ ิดเช้ือ และ ชว่ งเวลาการตดิ เชื้อไม่ยาวนาน มีการ โดยเฉพาะเปน็ กลมุ่ ก้อน เช่น จำนวนผู้ติดเชอ้ื สะสม แพรร่ ะบาดอยา่ งมากในชว่ งเดือน สถานประกอบการ ท่ีพักและที่ทำงาน มนี าคม-เมษายน 2563 ปัจจัยหนึง่ อาจ ทม่ี ีแรงงานตา่ งดา้ วจำนวนมาก เน่ืองมาจากเป็นโรคอุบัติใหมท่ ่ปี ระชาชน แหล่งพักอาศยั ที่อยู่รวมกนั จำนวนมาก ตา่ งหวาดกลวั ถึงความรุนแรงของเชือ้ ตลาด รวมทงั้ กลมุ่ ก้อนทีม่ ีกิจกรรม ดงั กล่าว ผนวกกบั รัฐบาลกำหนด ท่ฝี ่าฝนื มาตรการ เช่น บ่อนการพนัน มาตรการเขม้ งวด ทำให้สถานการณ์ สถานบนั เทิง คลคี่ ลายลงไดเ้ รว็ • เริ่มการระบาดระลอกที่ 2 กลางเดอื น • เมื่อสน้ิ สดุ ระลอกแรกพบ 9 จังหวดั ธันวาคม 2563 ตอ่ เนื่องจนถึงปจั จุบนั ท่ไี ม่มีผตู้ ดิ เชอ้ื โดยมีหลายองค์ประกอบท่ที ำใหก้ าร แพร่ระบาดรนุ แรง กว้างขวาง และ • จำนวนผ้ตู ิดเชอื้ ไม่มากเมอื่ เทยี บกบั ปี ยาวนาน 2564 เชน่ ณ วนั ที่ 30 กันยายน 2563 มจี ำนวนผ้ตู ิดเชือ้ 5 ราย • ประชาชนเร่ิมค้นุ ชนิ กบั สถานการณ์ และเริม่ ให้ความสำคญั ในการปอ้ งกนั • วันท่ีพบผตู้ ิดเช้ือสูงสดุ คือ 22 มนี าคม ตวั ลดลง 2563 จำนวน 188 ราย จำนวนเพิ่มสูงข้ึนอยา่ งต่อเน่ือง เช่น • ยอดผู้ตดิ เชื้อสะสม ณ วันท่ี 30 ตัวเลขผูต้ ิดเช้อื รายวนั กนั ยายน 2563 จำนวน 3,546 ราย 31 ธนั วาคม 2563 194 ราย 31 พฤษภาคม 2564 5,485 ราย 31 กรกฎาคม 2564 18,912 ราย 13 สงิ หาคม 2564 ตดิ เชือ้ สูงสดุ 23,418 ราย 9 กันยายน 2564 16,031 ราย 30 กันยายน 2564 11,646 ราย ยอดผูต้ ิดเชอื้ สะสม ณ วนั ท่ี 30 กันยายน 2564 จำนวน 1,603,475 ราย
25 ประเดน็ ปงี บประมาณ พ.ศ 2563 ปงี บประมาณ พ.ศ 2564 4. สายพนั ธ์ของเชื้อ มเี พยี งสายพนั ธเุ์ ดียว มีการกลายพันธทุ์ หี่ ลากหลาย ทำให้มีสาย COVID-19 พันธตุ์ ่าง ๆ มากมาย ความรนุ แรงของเช้ือ เพม่ิ ขน้ึ แพร่กระจายได้รวดเรว็ ขึน้ 5. ลักษณะการแพรก่ ระจาย • ประปราย โดยเริม่ เกิดจากคนจนี จาก กระจายครอบคลุมทกุ จังหวัดอย่างรวดเรว็ เมอื งอูฮ่ นั่ เดนิ ทางเข้ามาประเทศไทย (แต่ละจังหวดั พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ต้นเดอื นมกราคม และมกี ระแสรับคน หลายกลมุ่ กอ้ น) เน่ืองจากผ้ตู ิดเชือ้ ไม่แสดง ไทยจากตา่ งประเทศกลบั มาชว่ งเดอื น อาการให้เห็นชดั เจน ทำใหผ้ ตู้ ิดเชอ้ื กุมภาพนั ธ์ ไม่รูต้ ัว และยงั คงใชช้ ีวติ ตามปกติ ทำให้ • แพร่ระบาดเปน็ กลมุ่ ก้อนคร้ังแรก การแพรก่ ระจายตวั ไดร้ วดเรว็ โดยเฉพาะ เดือนมนี าคมทส่ี นามมวย และตอ่ มา การตดิ เช้ือจากคนในครอบครวั พบคลัสเตอร์สถานบนั เทงิ ในกรุงเทพฯ ทำให้ตัวเลขผูต้ ิดเชอ้ื เพ่ิมสูงขึน้ 6. มาตรการจากส่วนกลาง ใชม้ าตรการเข้มงวด ล็อกดาวนป์ ระเทศ • ไม่ใชค้ ำวา่ ล็อกดาวน์ แต่ใช้คำวา่ ประกาศเคอรฟ์ วิ ส์ 'Smart Control and Living with Covid-19' • แบง่ โซนการควบคุมตามความรนุ แรง ของสถานการณใ์ นพน้ื ที่ มคี วาม หลากหลายมากข้ึน 7. มาตรการท่ีนำมาใช้ใน มาตรการทั่วไป เชน่ เดยี วกบั ส่วนกลาง • มาตรการปรับเปล่ยี นใหเ้ หมาะสมกบั การรบั มอื ของจงั หวดั เช่น ปิดสถานท่เี สยี่ ง เร่งตรวจคน้ หา บริบทของการตดิ เชื้อ เชน่ การติดเชอื้ เชงิ รกุ เป็นกลุ่มกอ้ น ใช้ Bubble and Seal ควบค่กู บั การต้ังโรงพยาบาลสนาม การตรวจเชิงรุกเฉพาะเจาะจง กลุม่ เส่ยี ง • มีการจดั ตัง้ สถานที่กักกนั หลาย รูปแบบ เนอื่ งจากประสบปญั หา ผ้ปู ่วยมีจำนวนมากจนศักยภาพด้าน สาธารณสขุ ท่ีมีอยู่ไม่สามารถรองรับ ได้ จงึ ต้องมกี ารจัดตงั้ สถานทีก่ กั กัน โดยอาศยั ความรว่ มมือจาก ภาคเอกชนและประชาชน เชน่ Community Isolation, Home Quaranntine
26 2.1 การดำเนินการของจังหวดั จากสถานการณ์การแพร่ระบาดและผลกระทบดังกล่าวในบทที่ 1 จังหวัดได้มีการปรับรูปแบบ วธิ กี ารทำงาน การใหบ้ ริการ เพือ่ ให้การปฏิบตั ิงานและการใหบ้ ริการประชาชนสามารถดำเนนิ ไปได้โดยไม่หยุดชะงัก ขณะเดยี วกนั ก็เพ่ือเพิ่มประสิทธภิ าพในการป้องกันการแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 ควบคไู่ ปด้วย ซงึ่ ส่วนใหญ่ แล้ว ส่วนราชการส่วนกลางได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติ และมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรค COVID-19 พร้อมทั้งแจ้งให้หน่วยงานภายในสังกัดที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคดำเนินการ ดังนั้น รูปแบบ กลไก และแนวทางปฏบิ ตั ิทแี่ ตล่ ะจังหวดั นำมาประยกุ ตใ์ ช้จึงไม่แตกต่างกนั มากนัก ขึน้ อยูก่ ับการปรบั ใชใ้ ห้สอดคล้องกับ ปัจจัยแวดล้อมของพืน้ ทเ่ี ปน็ สำคัญ ซง่ึ จะกล่าวโดยสรปุ ต่อไป สาระสำคัญในบทนี้จะกล่าวถึงการดำเนินงานของจังหวัดในด้านโครงสร้างและกลไกในการบริหาร จัดการ รูปแบบของมาตรการต่าง ๆ ที่จังหวัดนำมาใช้รับมือกับการแพร่ระบาดดังกล่าว ซึ่งอาจมีลักษณะเฉพาะ จังหวัด และเป็นมาตรการที่หลายจังหวัดนำมาปรับใช้กับพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม จังหวัดมิได้นำมาตรการใด มาตรการหนึ่งมาใช้แตเ่ พียงอย่างเดียว มกี ารนำมาตรการทีห่ ลากหลายมาใชร้ ว่ มกันดว้ ย นอกจากน้ี ในบทนี้จะได้ แสดงให้เห็นถึงศกั ยภาพของจังหวัดในการปรับเปล่ียนวิธีการทำงาน หรือการให้บริการทีม่ ีการนำเทคโนโลยเี ข้ามา ปรับใชใ้ นการปฏิบัติงานเพื่อลดความเส่ียงในการติดเช้ือ หรอื เพื่อลดความเสยี่ งของประชาชนในการมารับบริการ จำนวนมาก ดังรายละเอยี ดตอ่ ไปนี้ 2.1.1 โครงสร้างและการบริหารงาน (1) ระดับจังหวัด การรับมือกับการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นการบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดงั น้นั การบรหิ ารจดั การแก้ไขปัญหาการแพรร่ ะบาดของโรค COVID-19 ของผวู้ ่าราชการจงั หวัดอาศัยข้อกําหนด ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉนิ พ.ศ. 2548 ฉบบั ท่ี 11 ข้อ 7 “ใหผ้ ู้วา่ ราชการกรุงเทพมหานครและผู้วา่ ราชการจังหวัดทกุ จังหวัดเป็นผู้กาํ กับบริหารราชการในสถานการณ์ ฉกุ เฉินทุกมติ ใิ นเขตท้องทท่ี ต่ี นรบั ผดิ ชอบ หากมปี ญั หาใหร้ ายงานกระทรวงมหาดไทย” การให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถกำหนดมาตรการใด ๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ รวมทั้งสามารถจัดสรรกำลังคน หรือมอบหมายบุคลากรจากหน่วยงานใดให้เข้าร่วม ปฏบิ ตั งิ าน จึงทำใหบ้ ริหารงานและบรหิ ารทรัพยากรบุคคลได้อย่างคล่องตวั และมีประสทิ ธิภาพ นอกจากนี้ ในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25582 มาตรา 20 กำหนดให้มีคณะกรรมการ โรคตดิ ตอ่ จังหวดั โดยมีผวู้ า่ ราชการจงั หวดั เปน็ ประธาน มีหวั หน้าสว่ นราชการทเ่ี ก่ียวขอ้ งเข้ารว่ มเป็นกรรมการ และมนี ายแพทย์สาธารณสขุ จงั หวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมหี น้าทีแ่ ละอำนาจทีส่ ำคัญ อาทิ ดําเนินการ ตามนโยบาย ระบบ และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่คณะกรรมการกําหนด จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาด ในเขตพื้นที่จังหวัด รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นใน เขตพื้นที่จังหวัด รวมทั้งสนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายในจงั หวดั 1 ราชกจิ จานเุ บกษา ประกาศเม่อื วนั ที่ 25 มนี าคม 2563 หน้า 12. 2 พระราชบัญญัติโรคตดิ ต่อ พ.ศ. 2558 หนา้ 8.
27 ในการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยอาศยั กฎหมายทีเ่ กี่ยวข้องดังกลา่ ว ทำให้ผวู้ า่ ราชการจังหวัดสามารถบริหารจัดการในพน้ื ทไี่ ด้อยา่ งเบ็ดเสร็จ การบริหารงานของจงั หวัดมีความเป็นเอกภาพ ผู้ว่าราชการจังหวัดเปรียบเสมือนผูบ้ ญั ชาการรบ การสั่งการ จึงมีลักษณะเปน็ คำสั่งเดียว (Single Command) ส่งผลใหก้ ารดำเนนิ งานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมุ่งสู่ เปา้ หมายเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนและความสบั สนของผปู้ ฏิบตั ิงาน อย่างไรก็ตาม แม้วา่ ผูว้ ่าราชการจงั หวดั มีอำนาจบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จในพ้นื ที่กต็ าม แต่ในทาง ปฏิบัติ ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้นำนโยบายและแนวทางจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้งข้อสั่งการจากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุขมาปรับใช้เป็น แนวทางในการบรหิ ารงานในพื้นท่ีให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกบั สถานการณ์ที่เกิดขนึ้ แตใ่ นบางมาตรการ หลายจงั หวัดนำมาใช้ในระดับท่ีเขม้ งวดมากกว่าทส่ี ่วนกลางกำหนด ทั้งน้ี ขนึ้ กบั ความรนุ แรงและสภาพปัญหาที่พบ ในพ้ืนที่เปน็ สำคญั จากอำนาจท่ีกฎหมายบัญญัตขิ ้างต้น ในการบรหิ ารจัดการในพ้นื ทีผ่ ู้ว่าราชการจังหวัดได้มีการจัดต้ัง ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัด (มีชื่อเรียกต่างกันในแต่ละจงั หวดั เช่น ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดระนอง ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดชลบุรีกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ศูนย์ระงับยับย้ัง ภยั พิบตั ฉิ กุ เฉิน ป้องกัน และควบคุมโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) จงั หวดั บุรรี ัมย์ และศูนย์บัญชาการ สถานการณ์โรคโควิด -19 จังหวัดพะเยา เป็นต้น) เพื่อเป็นเสมือนหน่วยบัญชาการรบ หรือเป็นวอร์รูมโดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและมาตรการเร่งด่วนในการ บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ในเขตพื้นท่ีจังหวัด ประเมนิ สถานการณ์การแพร่ระบาด กำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติ กำกับ ดูแล ควบคุม การปฏบิ ตั ิงานของเจา้ หนา้ ทท่ี เ่ี ก่ียวข้องเพ่อื ให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดเปน็ ไปอย่างรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ ประเมินสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้ม รวมทั้งติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ หลายจังหวัดยังมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะด้านขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานแต่ละด้านให้มี ความเชื่อมโยงกัน เช่น ศูนย์ประสานงานสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเป็น ศูนยร์ วมข้อมลู และสอ่ื สารช่วยเหลือแนะนำประชาชน มีทมี บูรณาการระดับอำเภอ ตำบล หมู่บา้ นในการเฝ้าระวัง ตรวจคัดกรอง และกักกันผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและพื้นที่เสี่ยง ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา จากโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และศนู ยข์ ้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวดั บึงกาฬ เป็นต้น อนึ่ง หลายจังหวัดมีการแต่งตัง้ คณะกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานดา้ นต่าง ๆ อาทิ ด้าน สาธารณสุข ดา้ นการบรหิ ารจัดการวัคซนี ด้านการจดั ตง้ั และขับเคล่ือนโรงพยาบาลสนาม ด้านการจัดหาและประเมิน สถานทก่ี กั กนั ตวั (Local Quarantine) ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพนั ธ์ ด้านขอ้ มลู สถานการณ์ ดา้ นการเข้า-ออก ประเทศ และการดูแลคนไทยในต่างประเทศ ด้านการชว่ ยเหลอื เยยี วยาประชาชน และดา้ นกฎหมายและระเบียบ ที่เกีย่ วขอ้ ง เปน็ ตน้
28 จะเห็นได้ว่าในการตั้งคณะทำงานส่วนใหญ่มีองค์ประกอบมาจากส่วนราชการในจังหวัดทั้งราชการ ส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และภาคเอกชน โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันจากหลายหน่วยงานใน จังหวัด นอกจากนี้ บางจังหวดั ยงั มกี ารประสานการทำงานรว่ มกันกับจังหวดั ใกลเ้ คยี งที่มีพื้นที่ตดิ ต่อกันด้วย เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กระบ่ี ระนอง และสุราษฎร์ธานีร่วมประชุมปรึกษาหารอื เกยี่ วกบั การจัดระเบยี บการเดนิ ทางขา้ มเขตจังหวัด เปน็ ต้น (2) ระดบั อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน นอกจากการแต่งตั้งคณะทำงานในระดับจังหวัดแล้ว กลไกที่สำคัญอย่างหน่ึงท่ีปฏิบัตใิ นระดบั พ้นื ทีแ่ ละเป็นกลไกท่มี ีความสำคัญ เนอื่ งจากใกลช้ ิดประชาชน และมคี วามคุ้นเคยในพื้นทเี่ ป็นอย่างดี จังหวัดได้มี การตั้งคณะทำงานใน 3 ระดบั ดงั นี้ ระดบั อำเภอ มีนายอำเภอเปน็ ผู้กำกบั การบริหารราชการในสถานการณ์ฉกุ เฉิน อำเภอมีหน้าที่ และอำนาจในการสั่งการ/กำหนดมาตรการ/แนวทาง ไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ได้แก่ ตำบล/หมู่บ้าน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบในการคัดกรองผู้เดินทางเข้าจังหวัดจากพื้นที่เสี่ยง โดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างฝา่ ยปกครอง เจ้าหน้าท่ีตำรวจ เจ้าหน้าทีท่ หาร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตัวอย่าง ได้แก่ - ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอ (ศปก.อ.) เช่น จังหวัดนนทบุรี ชัยนาท ยโสธร ตาก และเชียงใหม่ - ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับอำเภอ เช่น จงั หวดั เลย สงขลา นครพนม และสระแกว้ - ทีมปฏิบัติการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ ได้แก่ ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค (Communicable Disease Control Unit : CDCU) ในการปอ้ งกนั ควบคมุ โรค COVID-19 ในทกุ อำเภอ เชน่ จงั หวดั นนทบรุ ี ชยั นาท และประจวบคีรขี ันธ์ - จังหวัดยโสธรใช้กลไกการดำเนินงานในการบูรณาการร่วมกันระหว่างส่วนราชการ ระดับ อำเภอ คณะกรรมการบริหารงานอำเภอแบบบูรณาการ (ก.บ.อ.) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวติ ระดับอำเภอ (พชอ.) โรงพยาบาลชุมชน ตำรวจ ปกครอง ศนู ยด์ ำรงธรรมอำเภอ ระดับตำบล มีผู้บัญชาการเหตุการณ์ระดับตำบลที่ได้รับมอบหมาย เช่น ปลัดอำเภอประจำตำบล มีหน้าที่และอำนาจในการประสานงาน นำแนวทางที่จังหวัดกำหนดไปสูก่ ารปฏิบัติในระดบั พื้นที่ ได้แก่ หมู่บ้าน/ ชุมชน มีทีมบูรณาการระดบั อำเภอ ตำบล หมูบ่ ้าน ในการเฝา้ ระวัง ตรวจคัดกรอง และกักกันผ้ทู ี่เดนิ ทางกลับจาก ต่างประเทศและพื้นที่เสี่ยง เช่น ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับตำบล (ศปก.ต.) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพชรบรุ ี ชัยนาท สำหรับจงั หวัดราชบุรมี ีนายกเทศมนตรี นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน เป็นประธาน จังหวัด ยโสธรใช้กลไกการดำเนินงานของกำนัน แพทย์ประจำตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริม สขุ ภาพตำบล (รพ.สต.) คณะกรรมการชว่ ยเหลือประชาชน กลุ่ม/ชมรม ในระดับตำบล เป็นต้น ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน มีกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้นำชุมชน ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กำกับการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น จังหวัดยโสธรใช้กลไกของผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่ม/ชมรม ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน หลัก \"บวร\" (บ้าน/วัด (ศาสนสถาน)/โรงเรียน/ส่วนราชการ) / \"บรม\" (บ้าน/โรงเรียน/มัสยิด/ สว่ นราชการ) เปน็ ตน้ โดยมกี ารตง้ั ดา่ นแบบบูรณาการทุกหมูบ่ า้ น
29 ในระดับตำบลและหมู่บ้าน บทบาทที่สำคัญ คือ การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนผ่านกลไกผู้นำ หมบู่ ้าน (กำนนั /ผู้ใหญบ่ า้ น) เจา้ หนา้ ท่ีท้องถ่ิน อสม. เจา้ หน้าท่ตี ำรวจ และเจา้ หนา้ ท่ฝี า่ ยปกครองบรู ณาการความ รว่ มมือเปน็ เครอื ขา่ ยเฝ้าระวงั และตรวจติดตามผู้ท่ีเดนิ ทางจากพ้นื ที่เสยี่ งเข้าในพืน้ ที่ และการดูแลกกั กันกลุ่มเส่ียง ที่บ้าน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เฝา้ ระวัง สอดส่องและติดตามกลุ่มเสี่ยงที่พักอาศยั ในพื้นที่ ติดตามการปฏบิ ัติตาม มาตรการท่จี ังหวัดกำหนด รวมท้ังการประชาสมั พันธ์ การให้ความร้แู ก่ประชาชนดว้ ย 2.1.2 มาตรการในการปอ้ งกนั และเฝ้าระวงั การแพร่ระบาดของโรคติดเชอื้ ไวรัสโคโรนา 2019 ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น มาตรการที่จังหวัดนำมาใช้เพื่อระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนใหญ่เป็นการนำแนวทางปฏิบัติที่ส่วนกลางกำหนดมาปรับใช้กับพื้นที่ให้เหมาะสมกับ สภาพปัญหา ความรนุ แรงของสถานการณ์ของจังหวัดเป็นสำคัญ อาทิ การปดิ สถานท่ีเส่ยี ง การงดจัดกิจกรรมที่มี การรวมตัวของคนจำนวนมาก งดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายคนข้ามจังหวัดของหน่วยงานที่ มีคนจำนวนมาก งดการจัดงานประเพณี งดการเรียนการสอนของสถานศึกษา และระงับการใช้ช่องทาง ณ จุดผ่านแดนถาวร จุดผ่อนปรนเพื่อการค้า ส่วนมาตรการที่นำมาใช้กับการปฏบิ ัติงานของบุคลากรภาครัฐในพื้นที่ อาทิ ห้ามข้าราชการ พนกั งานของรัฐ รฐั วิสาหกจิ และพนักงานสว่ นท้องถ่ินเดินทางไปต่างประเทศ ใหห้ น่วยงานราชการทุกหน่วยทำแผน การทำงานจากบา้ น ลดความแออดั ในสถานที่ทำงาน โดยเหลอื่ มเวลาการทำงาน งดหรือเลอื่ นการจดั กิจกรรมที่มี การรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก เช่น การแข่งขันกีฬา การประชุมสัมมนา ส่งเสริมให้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต รวมทง้ั กำหนดใหม้ ีการประชุมทางไกลทดแทนการประชมุ ท่ีมารวมตวั กนั เปน็ ต้น (1) มาตรการทวั่ ไป (1.1) มาตรการในการตอบโต้ภาวะฉกุ เฉนิ โดยใช้หลัก 6 C กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางปฏบิ ัตกิ ารตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน โรค COVID-19 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ประกอบด้วย 6 มาตรการสำคัญ (6C) ดงั น้ี มาตรการที่ 1 การคัดกรองและเฝ้าระวังผปู้ ่วยที่ด่าน สถานพยาบาล และชุมชน (Capture) ไดแ้ ก่ (1) คดั กรองเข้า-ออกระหว่างประเทศ (2) คัดกรองทโ่ี รงพยาบาล แบบ ARI Clinic (3) เฝา้ ระวงั เชงิ รุกในชุมชน คนไทยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อ ได้แก่ ผู้ประกอบการทัวร์ โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ทำงานที่มี ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดจำนวนมาก เรือนจำ (4) เฝ้าระวังและสอบสวนเหตกุ ารณ์ระบาดของอาการคล้าย ไข้หวดั ใหญ่ในชุมชน (5) เฝา้ ระวังอาการป่วยในบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ที่เก่ียวข้อง (6) เฝา้ ระวังกลุ่มเส่ียง ท่เี ดินทางมาจากต่างประเทศทเี่ ปน็ พื้นท่ีเส่ยี งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขอย่างน้อย 14 วันหลังเดินทางกลับ ถึงประเทศไทย และ (7) การเฝ้าระวังข้อมูลในกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางผ่านหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งรายงาน ข้อมลู มายงั ศูนยป์ ระสานงานขอ้ มูลการแก้ไขปัญหาโรคตดิ เชื้อไวรสั โคโรนา 2019
30 มาตรการที่ 2 การดูแลรักษาผู้ป่วยและป้องกันการติดเชื้อ (Case Management and Infection Control) ประกอบด้วย (1) การดูแลรักษาผู้ป่วย เชน่ การเตรยี มพ้ืนที่รองรับผู้ป่วย การฝึกซ้อม flow การคัดกรองและดูแลผูป้ ว่ ย ARI Clinic (One Stop Service) การสง่ ตอ่ ผู้ป่วย การเตรยี มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เพ่อื รองรับผู้ป่วยจำนวนมาก การกำหนดพ้ืนท่ี และจดั ทำแผนการจัดการพ้ืนทดี่ ูแลรักษาผู้ป่วย เพ่ือรองรับผู้ป่วย จำนวนที่มากเกินกว่าศักยภาพของโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลสนาม การเตรียมห้องปฏิบัติการวินิจฉัยยืนยนั และการประมาณการและจัดหาเวชภัณฑ์ให้เพียงพอ (2) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ได้แก่ การจัดระบบ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในสถานพยาบาล และการประมาณการและจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้ เพยี งพอในจังหวัด มาตรการที่ 3 การติดตามผู้สัมผัสโรคและควบคุมการระบาดในชุมชน (Contact Tracing and Containment) หยุด-เลีย่ ง-เลอ่ื น-ปดิ ไดแ้ ก่ (1) ตดิ ตามผสู้ ัมผัสเสีย่ งสงู ของผปู้ ่วยยืนยนั ทุกรายเพ่ือ คัดกรองอาการและตรวจหาการติดเชื้อ (2) ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในพื้นที่ที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนและ พิจารณาจัดโซนนิ่งเพื่อแยกโรคในพื้นที่ที่จัดไว้ หรือ Home Quarantine (3) ส่งเสริมมาตรการในกรณีป่วย อาการไม่รุนแรงให้มีการจัดสถานที่แยกกักท่ีบ้าน (Home Isolation) เพ่ือลดความแออัดของโรงพยาบาล (4) ให้ ผู้ที่มีอาการป่วยทางเดินหายใจที่มีประวัติเข้าเกณฑ์ตามนิยามการสอบสวนโรค (PUI) ให้สามารถหยุดงาน/ หยุดเรียน โดยมีมาตรการชดเชยที่เหมาะสมตามมาตรการของหน่วยงาน (5) กำหนดมาตรการให้ทำงานที่บ้าน หลีกเลย่ี งการไปในที่คนแออดั โดยเฉพาะเมอื่ มีอาการป่วย (6) สง่ เสรมิ การปอ้ งกันโรคในระดบั สาธารณะ (Social Distancing) โดยให้เลื่อนหรืองดการจัดชุมนุมขนาดใหญ่ที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค (7) ปิดสถานที่ที่เกิดการระบาด และควบคุมการระบาดในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก เช่น โรงเรียน เรือนจำ คา่ ยทหาร องคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่น หนว่ ยงานทไ่ี ดร้ บั ผลกระทบ และ (8) พจิ ารณาประกาศพน้ื ท่ปี ระสบภยั พบิ ัติเพื่อควบคุมการระบาดในชุมชน มาตรการท่ี 4 การสอ่ื สารความเส่ียง (Communication) ได้แก่ (1) จดั ทำและเผยแพร่ สถานการณ์การระบาดในต่างประเทศและในประเทศ ตามช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนรับทราบ ความเสี่ยงและลดความตระหนก (2) สื่อสารสถานการณ์และมาตรการในพืน้ ทีท่ ี่เกิดการระบาด และ (3) รณรงค์ เพอ่ื ลดการแพรก่ ระจายเชือ้ เป็นประจำอยา่ งตอ่ เนื่อง มาตรการที่ 5 การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย (Community Intervention and Law Enforcement) ได้แก่ (1) ชี้แจงมาตรการทางกฎหมายที่จำเป็นต้องใช้เพื่อควบคุมการระบาด (2) รณรงค์ หรือบังคับใช้หนา้ กากอนามัย 100% ในพื้นที่ระบาดและในกจิ กรรมชุมนุม และ (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บังคบั ใช้เทศบัญญัตหิ รือขอ้ บญั ญัติท้องถนิ่ ตามความจำเป็น มาตรการที่ 6 การประสานงานและจัดการข้อมูล (Coordinating and Joint Information Center) ได้แก่ (1) จัดตั้งศูนย์ประสานงานและติดตามข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ (2) ประสานข้อมูลกับ หน่วยงานภายในจังหวัดและหน่วยงานอื่น เพื่อติดตามสถานการณ์ ข้อสั่งการ และวิเคราะห์ความเสี่ยง และ (3) รายงานการประเมินสถานการณ์ ผลการดำเนินงานของทีมปฏิบัติการ และทีมสนับสนุน วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และใหข้ อ้ เสนอแนะแก่คณะกรรมการโรคติดต่อระดบั จงั หวดั เพ่ือการตัดสินใจทุกเดือน
31 • Capture • Case Management and Infection Control • Contact Tracing and Containment • Communication • Communication Intervention and Law Enforcement และ • Coordinating and Joint Information Center จากรายละเอียดของมาตรการดงั กลา่ ว พบวา่ ครอบคลมุ มาตรการที่จงั หวดั ออกมาบังคับใช้ไม่ว่าจะ เป็นการคัดกรองและเฝ้าระวังผู้ป่วย จะเห็นได้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 จงั หวดั มกี ารบูรณาการการทำงานทงั้ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ และสาธารณสขุ ตั้งจุดคดั กรองจุดเชื่อมต่อ จังหวัดที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีการตรวจคัดกรองในเชิงรุกระดับตำบล หมู่บ้านด้วยเช่นกัน หรือมาตรการการดูแล ผู้ป่วยทั้งที่โรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามที่ตั้งขึ้นเพ่ือรองรับผู้ป่วยภายหลัง การติดตามผู้สัมผัสโรค การกำหนด มาตรการปิดสถานที่เสี่ยง เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ทุกจังหวัดดำเนินการอยู่แล้ว จังหวัดที่ระบุว่ามีการนำ มาตรการ 6 C มาใช้ เช่น จงั หวัดเชยี งใหม่ นา่ น เพชรบรู ณ์ อทุ ัยธานี เลย มหาสารคาม รอ้ ยเอด็ กาฬสนิ ธ์ุ กระบี่ สตูล ปราจีนบรุ ี และระยอง เปน็ ตน้ (1.2) มาตรการ D-M-H-T-T-A D-M-H-T-T-A เป็นมาตรการพ้ืนฐานระดับบุคคลที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะนำใหป้ ระชาชนใช้ป้องกันตนเอง โดยยดึ หลัก D-M-H-T-T-A ไดแ้ ก่ D : Social Distancing เวน้ ระยะห่าง 1-2 เมตร เลย่ี งการอยู่ ในทีแ่ ออดั M : Mask Wearing สวมหน้ากากผ้าหรอื หน้ากากอนามยั ตลอดเวลา H : Hand Washing ลา้ งมอื ดว้ ยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ T : Temperature การตรวจวัดอุณหภมู ิ T : Testing ตรวจหาเชอื้ COVID-19 ในกรณีทีม่ อี าการเข้าขา่ ย A : Application Thai Cha Na สแกนแอปพลเิ คชนั ไทยชนะ ทุกคร้งั ทเี่ ดินทางไปในสถานทต่ี า่ ง ๆ เพือ่ ให้มีข้อมูลในการ ประสานงานได้งา่ ยขึ้น (เพิ่มเตมิ ภายหลัง)
32 มาตรการดังกล่าวนับเป็นมาตรการพื้นฐานที่ประชาชนนำมาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว ยกเว้น A : Application Thai Cha Na เท่านั้น เพราะประชาชนในพื้นที่ต่างจังหวัดส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดในการใช้ จังหวัดที่มีการระบุว่านำมาตรการหรือเน้นย้ำประชาชนให้นำมาตรการนี้มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ได้แก่ จังหวัด ตราด แพร่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครพนม บุรีรัมย์ บึงกาฬ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ชุมพร ภูเก็ต พังงา ปัตตานี นราธิวาส นอกจากนี้ กรมการปกครองได้มีหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (โทรสารในราชการของ กรมการปกครอง ด่วนที่สุด ที่ มท 0321/ว 8274 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2564 และหนังสือกรมการปกครอง ด่วนที่สุด ที่ มท 0309.1/9978 ลงวันที่ 16 เมษายน 2564) เน้นย้ำให้บุคลากรของสำนักทะเบียนอำเภอและ สำนักทะเบียนทอ้ งถิ่น ยึดหลัก D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด และกรมการขนส่งทางบกมขี ้อเนน้ ย้ำให้การติดตอ่ ที่สำนักงานขนส่งต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข D-M-H-T-T-A เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ กระจายของเชอื้ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อยา่ งเคร่งครัดด้วยเช่นกัน (1.3) กลยทุ ธ์การสอบสวนโรค กรมควบคุมโรค กลยุทธ์การสอบสวนโรคของกรมควบคุมโรคนำมาใช้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย 4 กลยุทธห์ ลกั ในการรับมอื กบั โรคติดตอ่ ทีใ่ ช้ในการปฏิบัติงานสู้กับโรคระบาด ประกอบดว้ ย เตรยี มให้พร้อม สร้างเครอื ข่าย ประสานการทาํ งานดว้ ยกัน เตรียมทมี SRRT สอบสวน โรค เตรียมบคุ ลากรทางการแพทย์ เตรยี มเตียงให้พร้อมสําหรับรับผู้ป่วย ตรวจให้พบ พบบ้านพบตัวแล้ว X ray เคาะประตู ตะโกนถาม ทุกหลังคาเรือนแล้ว พร้อมปฏิบัติการคัดกรองตามมาตรฐาน เฝ้าระวังตามคําแนะนําสุขอนามัย สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมกวดขันในการ ปฏบิ ัติ เฝ้าระวังคนมีอาการไข้หวดั ไอ มนี ้ำมกู เจบ็ คอ เฝา้ สังเกตอาการคนใกลต้ วั ตีให้เร็ว ตีฆ้องร้องป่าว หากพบคนมีอาการ ให้ปฏิบัติตามคําแนะนํา แยกตัว หยุดพัก สุขอนามัย ประสานทีมหมอให้รับทราบ เพื่อรักษาดูแลอาการให้หายดี ควบคุมความสะอาดทุกหนแห่งเพื่อไม่ให้ เกดิ การแพร่เช้ือ ตามให้หมด ตามให้จนครบกําหนด รวมผู้สัมผัสใกล้ชิดในครัวเรือน เน้นระวังผู้สูงอายุ กลุ่มเสย่ี ง ผู้มีโรคประจาํ ตัว โดยใช้เทคโนโลยีช่วยทํางาน ทั้งนี้ มีบางจังหวัดนำไปปรับใช้ และได้ปรับเป็น 6 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) เตรียมให้พร้อม (2) ตรวจให้พบ (3) เตือนให้สำเร็จ (4) ตีให้เร็ว : สอบสวน จำกัดวง และควบคุม (5) ตามให้หมด : ติดตามโดย ชุมชน อสม. Home Quarantine สถานที่ในชมุ ชน และ (6) ตกผลึกการเรยี นรู้ : ทบทวนรายสัปดาห์และนำเขา้ คณะกรรมการควบคุมโรคในจงั หวดั ตวั อย่างจังหวดั ที่นำมาตรการน้ีมาใช้ เชน่ จงั หวดั สตลู และจงั หวดั นา่ น เปน็ ต้น (1.4) มาตรการสวมหน้ากากอนามยั เม่อื ออกนอกเคหสถานหรือสถานทีส่ าธารณะ มาตรการนี้ มีใหเ้ หน็ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แมภ้ าครัฐจะมีการรณรงคใ์ หป้ ระชาชน สวมใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดก็ตาม แต่เนื่องจากประชาชนเริ่ม การด์ ตก ละเลย และบางส่วนไมใ่ ห้ความร่วมมือ ทำให้คณะกรรมการโรคตดิ ตอ่ จังหวดั ที่มีผวู้ ่าราชการจังหวัดเป็น ประธาน ต้องออก \"คำสง่ั \" ใหป้ ระชาชนสวมใสห่ นา้ กากอนามยั /หนา้ กากผ้า เมื่ออยูน่ อกเคหสถานหรือไปสถานที่ สาธารณะ โดยกำหนดบทลงโทษไว้ชัดเจน หากใครฝ่าฝืน ถือเป็นการขัดคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มคี วามผิดตามพระราชบญั ญตั โิ รคตดิ ต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 51 ต้องระวางโทษปรบั ไมเ่ กนิ 20,000 บาท
33 จากข้อมูลการสำรวจของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคตดิ เช้ือไวรสั โคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) เมื่อวนั ที่ 29 เมษายน 2564 พบว่า ทุกจงั หวดั กำหนดเปน็ มาตรการพร้อม บทลงโทษกรณีประชาชนไมส่ วมหนา้ กากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเม่ืออกนอกเคหสถานหรือไปในท่ีสาธารณะ ซง่ึ มผี ล บงั คบั ใชต้ ัง้ แต่ชว่ งเดือนเมษายนซ่งึ เปน็ ช่วงเริ่มตน้ ของการแพร่เช้ือระลอกที่ 3 ดงั ภาพ (1.5) มาตรการกกั ตัวผู้ทีเ่ ดินทางมาจากพน้ื ทีเ่ ส่ียง ในช่วงทม่ี กี ารแพรร่ ะบาดของโรคCOVID-19 อย่างรุนแรง โดยเฉพาะชว่ งเวลาที่มีการพบ จำนวนผ้ตู ิดเช้ือจำนวนมาก หรือเป็นกลุ่มก้อน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 หลายจังหวัดออกมาตรการให้ผู้ท่ีเดินทาง มาจากจังหวัดที่พบผูต้ ิดเชื้อจำนวนมากต้องปฏิบัติตามแนวทางหลายประการ โดยเฉพาะให้กักตัวผู้ทีเ่ ดินทางมา จากนอกพืน้ ที่เป็นเวลา 14 วนั จากขอ้ มลู การสำรวจของ ศบค.มท. (ขอ้ มูลวนั ที่ 1 สิงหาคม 2564) พบว่า จังหวัด ทตี่ ้องกกั ตวั จำนวน 62 จงั หวัด
34 ทั้งนี้ แต่ละจังหวัดจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ที่จะเข้าพื้นท่ีจังหวัดนครพนมต้องรายงานตัว ต่อเจ้าหน้าที่ที่กำหนด ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน มีหนังสือจากจังหวัดต้นทาง จังหวัดตราดกำหนดให้ต้องมี ผลตรวจ COVID-19 ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง หากไม่มีต้องเข้ารับการตรวจในโรงพยาบาลที่กำหนด และใหผ้ เู้ ดนิ ทางเขา้ จังหวัดตราดตอ้ งดำเนินมาตรการ D-M-H-T-T อยา่ งเครง่ ครดั (1.6) มาตรการงดออกนอกเคหสถาน มาตรการนี้นำมาใช้ตั้งแต่การแพร่ระบาดในระลอกแรก จากข้อมูลการสำรวจของ ศบค.มท. เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 พบว่ามี 12 จังหวัดที่ออกมาตรการเชิงบังคับ คือ ห้ามออกจากบ้านใน ช่วงเวลาที่กำหนด หากฝ่าฝืนจะมีความผิด ส่วนอีก 28 จังหวัด เป็นการขอความร่วมมืองดออกจากบ้าน ในช่วงเวลาที่กำหนด แต่ไม่มีบทลงโทษหากฝ่าฝืน สำหรับชว่ งเวลาทีแ่ ตล่ ะจังหวัดกำหนดน้ัน ขึ้นกับความรนุ แรง ของสถานการณ์ของแต่ละจังหวัด โดยจังหวัดที่ประกาศห้ามออกจากบ้านเนื่องจากประเมินสถานการณ์แล้ว เห็นว่ามีความจำเปน็ ทง้ั นี้ เพ่ือชะลอและยับยัง้ การแพรร่ ะบาด
35 (1.7) มาตรการ Bubble and Seal มาตรการ Bubble and Seal หมายถึง การบริหารจัดการควบคุมโรคในพื้นที่ควบคุม แบบมีส่วนร่วม สามารถทำกิจกรรม ทำงานในพื้นที่จำกัดของกลุ่ม สามารถเดินทางเคลื่อนย้ายได้ระหว่างที่พัก อาศัยและสถานที่ทำงานภายใต้การควบคุมกำกับ รวมถึงมีการบริหารจัดการในการแยกบุคคล การตรวจ ห้องปฏิบัติการ บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จัดสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค และ แผนการจำหน่ายออก (ผ้ทู ี่หายปว่ ย) ตามแนวทางท่ีกรมควบคมุ โรคกำหนด กรมควบคุมโรคได้จัดทำแนวทางมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เพื่อป้องกันโรค ภายใต้หลักการคอื “จัดกลุ่ม คุมไว ลดการแพร่กระจาย รายได้ไม่สูญเสีย” โดยการคัดแยกพนักงานออกเป็นกลุ่ม ให้ทำงานและทำกิจกรรมร่วมกันภายใต้เงื่อนไขตาม ระยะเวลาที่กำหนด และเพื่อการควบคุมโรค ใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ลดการเสียชีวิต พร้อมทั้งเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดและลดการแพร่กระจายของโรค COVID-19 ในสถานประกอบกิจการไม่ให้ แพร่กระจายไปในวงกวา้ ง โดยเฉพาะการแพร่ระบาดไปยงั ชมุ ชน ทั้งนี้ มาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) ยังต้องดำเนินการควบคู่กับ มาตรการส่วนบุคคล D-M-H-T-T-A ประกอบดว้ ย การเวน้ ระยะห่างทางบุคคล การสวมหน้ากากอนามยั การล้างมือ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย การตรวจสอบการติดเชื้อด้วยชุดทดสอบรู้ผลเร็ว การใช้แอปพลิเคชันเกี่ยวกับ COVID-19 เช่น หมอพร้อม และมาตรการทางสงั คมระหว่างโรงงานและชุมชน ทั้งหมดน้ี จะทำใหส้ ถานประกอบการ ดำเนนิ กจิ การตอ่ ได้ โรงงานปลอดภยั ไม่แพรเ่ ช้ือไปสชู่ ุมชน ลดการเสยี ชวี ติ ไมก่ ระทบเศรษฐกิจของประเทศ การใช้มาตรการ Bubble and Seal ได้ผลตอ่ เม่ือผ้เู ก่ยี วข้องในพืน้ ที่ต้องปฏิบัติ ดงั น้ี • ห้ามลูกจา้ งของสถานประกอบการออกนอกเคหสถาน และเขตพ้นื ท่คี วบคุม เวน้ แตก่ ารเดินทาง ไปสถานที่ทำงานหรือกลับจากสถานที่ทำงาน หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน และ/หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ควบคุมโรคติดต่อ • ห้ามลูกจ้างของสถานประกอบการเข้าไปในร้านค้า ตลาดสด ตลาดนัด หรือสถานที่ชุมชนที่มี ประชาชนหนาแน่น • ลูกจ้างของสถานประกอบการติดต้ังแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” และ “DDC care” เพื่อติดตาม และสอบสวนโรคในหว้ งระหวา่ งการควบคุม • ผู้ประกอบการกำกับดูแลให้แรงงานดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างเครง่ ครดั • เจ้าของร้านคา้ ตลาดสด ตลาดนดั หรอื ผูด้ แู ลสถานท่ีชมุ ชน ดำเนนิ มาตรการทางสาธารณสุข เช่น การรกั ษาระยะหา่ งทางสังคมอย่างเครง่ ครัด • เจ้าของหอพัก ห้องเช่า อพาร์ตเมนต์ และสถานที่อื่นที่ใหเ้ ช่าพักอาศยั ดำเนนิ การตามมาตรการ สาธารณสขุ ควบคุม ตรวจตรา กำชับผู้พกั อาศัยใหด้ ำเนินการตามมาตรการห้ามออกนอกเคหสถาน และเขตพื้นที่ ควบคมุ อยา่ งเคร่งครดั รวมทงั้ สอดสอ่ งบุคคลภายนอกมใิ ห้เขา้ มาภายในบริเวณท่ีพักอาศยั
36 จุดเริ่มต้นของการนำมาตรการ Bubble and Seal มาใช้นั้น เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 ที่มีการระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร โดย Seal ใช้กับ โรงงานที่พนักงานสามารถพักในโรงงานได้ ส่วน Bubble ใช้กับโรงงานที่พนักงานพักอยู่นอกโรงงาน แต่จะ ควบคมุ ใหพ้ นักงานไป-กลบั โรงงาน-หอพักเทา่ น้นั จากน้นั มาตรการ Bubble and Seal ไดร้ บั การยอมรับว่า ได้ผล และกลายเป็นต้นแบบที่นำมาปรับใช้กับหลายจังหวัด โดยเฉพาะการพบผู้ติดเชื้อที่มีลักษณะอยู่ร่วมกัน เป็นกลุ่มจำนวนมาก เช่น สถานประกอบการ หอพัก อพาร์ตเมนต์ แคมป์คนงาน หรือเรือนจำ จังหวัดเชียงใหม่ นำมาใช้กับการติดเชื้อในเรือนจำกลางเชียงใหม่ จังหวัดนนทบุรีมาใช้กับการติดเชื้อในผู้พักอาศัยที่อพาร์ตเมนต์ หรอื กรงุ เทพฯ ที่นำมาใช้กับกรณปี ิดแคมป์คนงานกอ่ สร้าง เป็นต้น จงั หวดั สมทุ รปราการได้นำมาตรการดังกล่าวมาใช้กบั คลสั เตอรโ์ รงงาน โดยจำแนกโรงงานออกเป็น ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก และดำเนินการสุ่มตรวจผู้ใช้แรงงานตามบริบทของโรงงาน โดยเบื้องต้น ให้จำแนกผู้ติดเชื้อเข้าระบบการรักษาพยาบาล สำหรับกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่เป็นกลุ่มแข็งแรงให้ป้องกันอย่าให้มี การติดเชื้อจากภายนอก โดยไม่ต้องปิดโรงงานและให้มีการประกอบกิจการตามปกติ และห้ามมีการเข้า-ออก ของผ้ใู ช้แรงงาน โดยเจ้าของสถานประกอบการมีสว่ นรว่ มในการสนบั สนนุ งบประมาณและการดำเนินงาน รวมท้งั ฉดี วัคซีนให้ประชาชนทอ่ี ยู่รอบโรงงาน คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ได้ออกประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อ (ฉบับที่ 22 ลงวนั ที่ 3 สงิ หาคม 2564) เรือ่ งมาตรการปอ้ งกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 สำหรบั กล่มุ แรงงานก่อสร้าง และกลุ่มแรงงานในสถานประกอบการหรือกิจการโรงงานทุกแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ นำมาตรการป้องกันและ ควบคุมพ้ืนทีเ่ ฉพาะ (Bubble and Seal) มาบงั คับใชอ้ ยา่ งเขม้ งวด (1.8) มาตรการรับผูป้ ่วยจากต่างจงั หวดั กลบั มารักษาท่ีภูมิลำเนา จากวกิ ฤตการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในระลอกที่ 3 ตง้ั แตเ่ ดอื นเมษายน 2564 ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน ในขณะที่ศักยภาพทรัพยากรด้านสาธารณสุขมีจำกัด สง่ ผลใหโ้ รงพยาบาลหลายแหง่ ในพนื้ ท่ีกรุงเทพฯ และปรมิ ณฑล เต็มเกอื บทกุ แห่ง มผี ปู้ ว่ ยท่ตี อ้ งรอเข้ารับการรักษา ต่อวนั เปน็ จำนวนมาก ในช่วงเวลานั้น ศบค. จึงมีมาตรการล็อกดาวน์ 5 กิจกรรมในกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัด ปรมิ ณฑล ไดแ้ ก่ จงั หวัดนนทบรุ ี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี อย่างน้อย 30 วนั โดยเริ่มต้ังแต่ วนั ท่ี 28 มถิ ุนายน 2564 เป็นต้นไป สาระสำคญั 5 กิจกรรม ไดแ้ ก่ (1) ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนั่งรับประทานในร้าน ขายได้เฉพาะนำกลับเท่านั้น มผี ลในพน้ื ทีก่ รุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทมุ ธานี สมทุ รปราการ สมุทรสาคร นราธวิ าส ปัตตานี ยะลา และสงขลา (2) ห้าง ศูนย์การค้า เปิดได้ถึง 21.00 น. แต่ยังคงปิดโรงภาพยนต์ โรงมหรสพ สวนน้ำ พนื้ ท่นี ั่งรบั ประทานอาหารในศนู ย์อาหาร และต้องเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคลในพนื้ ที่พักคอย เพิ่มประสิทธิภาพ ระบบหมนุ เวียนอากาศ (3) โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมหรือสถานที่จัดนิทรรศการ เปิดได้ตามปกติ โดยใหง้ ดกจิ กรรมจัดการประชมุ การสมั มนา และการจดั เล้ยี ง (4) ห้ามจดั กจิ กรรมทรี่ วมคนมากกวา่ 20 คน ยกเว้นไดร้ ับอนญุ าต (5) ปิดไซต์-แคมป์ก่อสร้าง ห้ามเดินทางเคลื่อนย้ายแรงงาน 30 วัน เพื่อควบคุม การระบาดของโรค
37 โดยพนื้ ทใ่ี นกรงุ เทพฯ และปรมิ ณฑล จะประกาศล็อกดาวน์ “ร้านอาหาร” ทุกประเภท โดยห้ามนั่ง รับประทานในร้านแบบ 100% ให้ซื้อกลับบ้านได้เท่านั้น เป็นระยะเวลา 30 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป รวมถึงล็อกดาวน์ “แคมป์คนงานก่อสร้าง” ห้ามเข้า-ออกและเคลื่อนย้ายคนแบบ 100% หาก ฝ่าฝืนจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมโรค พ.ศ. 2558 เบื้องต้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน เริ่มตั้งแตว่ นั ที่ 28 มิถนุ ายน 2564 เชน่ กัน การประกาศล็อกดาวน์กรุงเทพฯ และปริมณฑล การปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง ประกอบกับ สถานพยาบาลหลายแห่งประสบปัญหาเตียงไมเ่ พียงพอที่จะรองรบั กับจำนวนผปู้ ่วยทเ่ี พ่ิมข้นึ อย่างรวดเร็ว ยิ่งเป็น ปัจจัยเร่งเร้าให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงที่มีสถานการณ์การติดเชื้อค่อนข้าง รุนแรงกลับภูมิลำเนา ทำให้หลายจังหวัดกำหนดมาตรการรับผู้ป่วยให้กลับมารักษาที่ภูมิลำเนาอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ จังหวัดที่มีการประกาศรับผู้ป่วยให้กลับมารักษาที่ภูมิลำเนา เช่น จังหวัด เชยี งราย แมฮ่ อ่ งสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบรู ณ์ สุโขทยั กำแพงเพชร อุทยั ธานี หนองคาย เลย บึงกาฬ นครพนม นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ มหาสารคาม ยโสธร มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยนาท สิงห์บุรี ราชบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด นครศรีธรรมราช พทั ลงุ ตรัง และภเู ก็ต เป็นตน้ จากการรายงานข้อมูลผตู้ ิดเช้ือของ ศบค. พบวา่ ในช่วง 1 เมษายน 2564 เป็นตน้ มา จำนวนผู้ติดเชื้อ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลสูงกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่พบในต่างจังหวัด และข้อมูล ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 อัตราส่วนของผู้ตดิ เชือ้ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และต่างจังหวัดมีอัตราส่วนทีเ่ ท่ากัน คือ ร้อยละ 50 หลังจาก นั้นเป็นต้นมา ต่างจังหวัดมีอัตราส่วนที่สูงกว่ามาโดยตลอด และวันที่ 14 กันยายน 2564 พบอัตราส่วนผู้ติดเชื้อ ต่างจังหวัดเพ่ิมข้ึนเป็นรอ้ ยละ 59 ขณะที่อัตราส่วนของผูต้ ิดเชื้อของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ลดลงเหลือร้อยละ 41 ดังภาพ (1.9) มาตรการอื่น ๆ นอกจากมาตรการข้างต้นที่เป็นมาตรการในภาพรวมของจังหวัดแล้ว ยังมีมาตรการที่หลาย จังหวัดนำมาใช้เมื่อเผชิญกับปัญหาความรุนแรงที่พบในบางพื้นที่ด้วยเช่นกัน มาตรการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดใน ฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนำมาใช้ที่ปรากฏภาพที่ชัดเจนในหลายจังหวัด มาตรการการ ปิดสถานทเ่ี ส่ยี งและสถานที่ท่พี บผูต้ ิดเชือ้ จำนวนมากเป็นการชั่วคราว เช่น
38 จังหวัดอ่างทอง : ปิดหมู่บ้านท้ายย่าน ชุมชนวัดโบสถ์ หมู่ที่ 3 ตำบลศาลาแดง อำเภอเมือง อา่ งทอง จงั หวดั อา่ งทอง เปน็ การช่วั คราว ต้งั แตว่ นั ท่ี 2- 5 กรกฎาคม 2564 จังหวัดนนทบุรี : สั่งปิดตลาดสดเทศบาลนครนนทบุรี ตลาดสดสมบัติ (ท่าน้ำนนทบุรี) อาคาร พาณิชย์ อาคารประกอบการร้านค้า รถเข็น หาบเร่ แผงลอยทุกประเภทเป็นเวลา 7-14 วันโดยพื้นที่สีแดง ปิดตง้ั แต่ 11-24 พฤษภาคม 2564 และสีเขยี วปิดตั้งแต่ 11-17 พฤษภาคม 2564 จังหวัดขอนแก่น : สั่งปิดโรงเรียนรวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่งและทุกสังกัดตั้งแต่วันที่ 1-16 กรกฎาคม 2564 จังหวัดเชียงราย : ล็อกดาวน์ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง เป็นพื้นที่ควบคุม ห้ามเดินทางเข้าและ ออกหากไมจ่ ำเป็น และส่ังห้ามออกนอกทพ่ี ักอาศัยระหวา่ ง 21.00-05.00 น. ของวนั รุ่งข้ึน จังหวัดตาก : ห้ามแรงงานข้ามชาติ (อำเภอแม่สอด) ออกนอกเคหสถาน เวลา 20.00-04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ขอความร่วมมือประชาชนทั่วไปงดหรือชะลอออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลา 23.00-04.00 น. ของ วนั รงุ่ ขึ้น จังหวัดยะลา : งดการเดินทางเข้า-ออกพน้ื ท่ีจังหวัดยะลาต้ังแต่วันท่ี 15 มิถุนายน–7 กรกฎาคม 2564 ตอ่ มามกี ารขยายเวลาไปถึงวนั ที่ 30 กันยายน 2564 จังหวัดปัตตานี : ปิดหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่เสี่ยง 26 หมู่บ้านใน 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอแมล่ าน อำเภอกะพ้อ อำเภอไมแ้ ก่น อำเภอปะนาเระ อำเภอโคกโพธ์ิ อำเภอมายอ อำเภอท่งุ ยางแดง และ อำเภอยะหริ่ง ปิดมัสยิด 22 แห่ง และห้ามการออกดาวะฮ์อย่างเดด็ ขาด รวมถึงการจัดกิจกรรมใด ๆ ทางศาสนา ในแต่ละพ้ืนท่ี และสั่งเลอ่ื นเปดิ เรยี น (2) มาตรการเฉพาะ นอกจากมาตรการทั่วไปที่มีหลายจังหวัดนำมาปรับใช้แล้ว บางจังหวัดยังพัฒนารูปแบบ การบริหารจัดการเฉพาะจังหวัด เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของจังหวัด ในที่นี้ ขอยกตัวอย่าง จงั หวดั ทมี่ ีรปู แบบ และมาตรการเฉพาะ ดงั ต่อไปนี้ (2.1) มาตรการ TRATFC จงั หวดั ตราด จังหวัดตราดได้นำมาตรการ TRATFC มาใช้ เพื่อที่จะทำให้ประชาชนในจังหวัดตราด ได้กลับมามีชวี ิตผาสุกทัง้ ด้านชวี ติ ความเปน็ อยู่ เศรษฐกิจ สังคม และปลอดภยั จากโรค COVID-19 ดงั น้ี T : Tracking and Tracing ต้งั จุดคดั กรอง (ด่านแสนตุง้ นาแกลง คลองลกึ ) R : Rapid Response Team ควบคุมโรคให้อยู่ในวงที่จำกัดโดยเร็ว ค้นหาเชิงรุกและ รบั ใหไ้ ด้มากท่สี ุด รกั ษาหาย ไมม่ เี สยี ชีวติ เจา้ หนา้ ทีป่ ลอดภัยจากโรคโควิด-19 A : Activated EOC and ACF/AS EOC คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด วิเคราะห์ สถานการณ์ กำหนดมาตรการ T : Treatment Team (Testing) ทีมรกั ษาเชงิ รกุ เชิงรับ F : Full PPE (2P and DMHTS) (2P safety patient personal) / (people -DMHTS) C : Communication (ภาคี ชุมชน) อสม. เคาะประตู สปอตประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย รถประชาสัมพนั ธ์
39 (2.2) มาตรการทางการแพทย์สาธารณสุข 3T จังหวัดจันทบุรีนำมาตรการทางการแพทย์สาธารณสุข 3T มาใช้ในการป้องกันควบคุม โรค COVID-19 โดยท่ี T 1= Test จัดบริการคลินิกคัดกรองโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (Acute Respiratory Infection : ARI) ในสถานบริการของรัฐและเอกชน และกำหนดให้มีการเฝ้าระวังในประชากรกลุ่มเสี่ยงและ สถานที่เสี่ยง Surveillance โดยกำหนดนิยามกลุ่มประชากรเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มคนที่อยู่รวมตัวกันจำนวนมากหรอื ทำงานทที่ ่ีมีความเสย่ี งต้องพบปะผู้คนจำนวนมาก ไดแ้ ก่ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ท่มี ีความเส่ยี งต่อการติดเช้ือ ผู้ต้องขังแรกรับ ผ้ตู ้องกักในศูนย์กกั กันคนเข้าเมอื ง พนักงานขับรถ T 2= Trace ทุกพื้นที่ดำเนินการสอบสวนโรคในกลุ่มผู้ป่วยเพื่อประเมินและค้นหา ปัจจัยเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ เพื่อทราบลักษณะการติดเชื้อ COVID-19 ระลอกใหม่ของกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ สำหรับเตรียมการความพร้อมและวางแผนการป้องกันควบคุมโรคเพื่อควบคุมโรคในจังหวัดให้มีประสิทธิภาพใน ระยะยาว T 3= Treat การดูแลรักษาพยาบาล การดูแลแยกกักทุกราย Admit for Isolation ตามแนวทางกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข และยึดหลัก 2P Safety มีการบริหารจัดการ คน เงิน เวชภัณฑ์ยา เตียงอย่างมีประสิทธิภาพ มีทีมประเมินสุขภาพจิต MCAT ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน สาธารณสุขจงั หวัดจันทบรุ ี ประเมนิ ผลกระทบทางสขุ ภาพจติ ในกล่มุ ผูท้ ถ่ี กู กกั กนั (2.3) 4T Model เพื่อเตรยี มความพรอ้ มรับนักท่องเทยี่ ว จังหวัดภูเก็ตซึ่งเศรษฐกิจของจังหวัดพึ่งพิงกับภาคการท่องเที่ยวและบริการเป็นหลัก รัฐบาลมีนโยบายให้จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่องในการเปิดรับนักท่องเที่ยวโดยไม่มีการกักตัวแบบมีเงื่อนไข หรือท่ีเรยี กวา่ \"ภูเกต็ แซนดบ์ อ็ กซ์\" โดยอนุญาตใหน้ ักท่องเทีย่ วท่ไี ด้รบั วัคซีนครบโดสแล้วสามารถเข้าประเทศไทย ได้โดยไม่ต้องกักตัว โครงการนี้เริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมการเปิดรับ นักท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ตโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้นำมาตรการ ‘4 T Model’ มาใช้ เพื่อเตรียม ความพร้อมรบั นกั ท่องเท่ยี ว โดย 4 T ดังกลา่ ว ประกอบด้วย T : Target กำหนดกลมุ่ เป้าหมายทชี่ ดั เจน T : Testing คดั กรองตรวจหาเช้ือท่ีต้นทางที่สนามบนิ หากไม่พบเช้อื จงึ จะออกจาก สนามบินได้ T : Tracing แอปพลเิ คชนั ติดตามตัวแบบเรียลไทม์ T : Treatment ความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์ เครอื่ งมือแพทย์ ยา และ เวชภัณฑ์ทเี่ พียงพอ รูปแบบดังกล่าวจำเป็นต้องไดร้ บั ความร่วมมือจากสองภาคี ไมว่ า่ จะเป็นภาครฐั ที่จะต้อง สร้างมาตรการให้กับ T : Testing การคัดกรองตรวจหาเชื้อที่ต้นทางที่สนามบิน หากไม่พบเชื้อจึงจะออกจาก สนามบินได้ และ T : Tracing การมีแอปพลิเคชันติดตามตวั และ T : Treatment ความพร้อมของบุคลากรทาง การแพทย์เคร่ืองมือแพทย์ ยา และเวชภัณฑ์ทเี่ พียงพอ รวมถึงภาคเอกชนที่จะต้องโฟกสั T : Target การกำหนด กลุ่มเปา้ หมายท่ชี ดั เจน
40 (2.4) ยทุ ธศาสตร์ “ขนมครก” จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก รวมทั้งประเภท กิจการและลักษณะการทำงานที่หลากหลาย ทำให้มีผู้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ประกอบกับสมุทรปราการเป็น จังหวัดปริมณฑลที่มีความเป็นเมืองสูง มีโครงข่ายคมนาคมที่ครบครัน นอกจากเป็นแหล่งโรงงานอุตสาหกรรม แล้ว ยังเป็นแหล่งพักอาศัยของผู้ที่ทำงานกรุงเทพฯ ด้วย จึงทำให้อัตราการเดินทางเคลื่อนย้ายของคนสูง อีกทั้ง ผู้ใช้แรงงานในจังหวัดสมุทรปราการบางส่วนมีภูมิลำเนาหรือที่พักอยู่ภายนอกพื้นที่จังหวัด จึงมีการเดินทางข้าม จังหวัด ส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานมีความเสี่ยงในการสมั ผสั เชื้อ ยากต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในพื้นที่ จังหวัดจึงกำหนดมาตรการควบคุมและจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางและการรวมกลุ่มของบุคคล อย่างรัดกุม และบังคับใช้มาตรการ ข้อห้าม ข้อปฏิบัติต่าง ๆ อย่างเข้มงวด รวมถึงยกระดับบางมาตรการเพื่อให้ การควบคุมการระบาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันมิให้การระบาดเพิ่มความรุนแรงขึ้น ในการนี้ จงั หวดั สมุทรปราการไดน้ ำยทุ ธศาสตร์ “ขนมครก” มาใช้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ผ่านมา จังหวัดสมุทรปราการมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง จากวนั ละ 100 กวา่ ราย เพิ่มเปน็ 300-500 ราย ภาพรวมมีการติดเช้ือทุกอำเภอ มีคลัสเตอร์เกิดข้ึนกว่า 40 คลสั เตอร์ ทงั้ การติดเชือ้ ในโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม ตลาด ชมุ ชน คอนโดมิเนยี ม และแคมปค์ นงานก่อสร้าง เนื่องจากการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์เล็ก ๆ กระทรวงสาธารณสุขจึงเสนอให้ใช้ยุทธศาสตร์ “ขนมครก” ในการ ควบคุมการระบาดของโรค ด้วยสุ่มตรวจพื้นที่ในชุมชนทีม่ ีการติดเชื้อ เมื่อพบผู้ติดเชื้อจะนำเข้าสู่การรักษา และ ฉดี วคั ซนี ให้ประชาชนในพนื้ ที่น้ัน โดยกำหนดจำนวนให้เหมาะสมเพื่อควบคุมโรคในพื้นที่ ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ ประสบความสำเรจ็ มาแล้วในพ้นื ท่ีเขตบางแค และคลองเตย กรงุ เทพฯ หลกั เกณฑส์ ำคัญในการดำเนินการตาม ยุทธศาสตร์ “ขนมครก” คือ • การเฝ้าระวังและค้นหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชากรกลุ่มเสี่ยงหรือสถานท่ี เสย่ี ง (Sentinel Surveillance) ในชมุ ชนและสถานประกอบการ/โรงงาน ในจำนวนประชากรประมาณรอ้ ยละ 5 ของคลสั เตอร์ • การกำหนดพ้นื ที่ให้ชัดเจนและจำกัดพ้นื ทใ่ี หเ้ ป็นวงน้อยท่ีสดุ แตส่ ามารถควบคมุ โรคได้ และ แบ่งกลุ่มบุคคลในพ้ืนทเี่ ป็นไขแ่ ดง คือ กลุม่ ผูป้ ่วย และไข่ขาว คือ กลุ่มผูท้ ่ยี ังไม่ติดโรค • การใช้วัคซีนในการป้องกันควบคุมโรคในกลุ่มประชากรกลุ่มที่เป็นไข่ขาว ได้แก่ กลุ่มเสี่ยง กล่มุ ผูส้ งู อายุ และกลมุ่ ผ้ทู ย่ี ังไมต่ ดิ โรค โดยหลักการดำเนินงาน คือ เมื่อมีการควบคุมโรคแบบขนมครกเป็นจุดเล็กๆ ในทุกพื้นท่ี และกระจายมากขนึ้ เรื่อยๆ จะควบคุมโรคเป็นพนื้ ท่ีใหญไ่ ด้ โดยจะนำร่องในพน้ื ทีจ่ ังหวัดสมทุ รปราการ ซ่ึงได้ขอ ความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้นำในการควบคุมโรค เนื่องจากการควบคุมโรคจะสำเร็จได้ต้องอาศัย มาตรการทางสังคม ความมั่นคง และทางปกครองเขา้ มารว่ มดว้ ย ไมใ่ ชด่ า้ นสาธารณสุขเพยี งอยา่ งเดยี ว (2.5) มาตรการปอ้ งกนั และควบคมุ ตามแนวชายแดน ทิศตะวันตกของจังหวัดระนองมีชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มพี ้นื ท่ีตลอดแนวชายแดนเป็นระยะทาง 169 กิโลเมตร ครอบคลุม 74 หมบู่ า้ น มชี อ่ งทางทงั้ จดุ ผ่านแดน ชอ่ งทาง ธรรมชาติทางบก ทางน้ำ และทางทะเล จำนวน 31 ช่องทาง สำหรับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในพื้นท่ี ชายแดน จังหวดั จำแนกพ้ืนท่อี อกเปน็ 4 สว่ น คอื
41 1) พ้นื ทชี่ น้ั นอก ให้การเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดตลอดแนวชายแดน ในการลกั ลอบเข้าเมือง โดยผิดกฎหมาย 2) พื้นที่ชั้นใน ให้มีการตรวจตราอย่างเข้มงวดและเฝ้าระวังการลักลอบเข้าเมือง โดยผดิ กฎหมาย เขา้ มาในพน้ื ท่ีถัดจากแนวชายแดน รวมถงึ เรง่ คน้ หาและจับกุมบคุ คลทีม่ วั่ สุมกระทำผดิ กฎหมาย 3) พื้นที่สถานการณ์ เร่งรัดการตรวจค้นหาเชิงรุกปฏิบัติการตรวจค้นหาและคัดกรอง ผตู้ ดิ เชอ้ื และสอบสวนโรคในพ้ืนที่ 4) พน้ื ท่เี ฝา้ ระวังแรงงานต่างด้าว กำหนดมาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าวมิให้มีการ เคลอื่ นย้ายเข้า-ออกจากพ้นื ที่ หลกี เลยี่ งการจดั กจิ กรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก และใหท้ ุกสถานประกอบการ โรงงานปฏิบัตติ ามมาตรการ D-M-H-T-T-A นอกจากนี้ จังหวัดระนองใช้ Health Map : แผนที่ชุมชนต่างด้าว โดยใช้ Google Map ตรวจจับและทำนายขอบเขตพื้นที่การแพร่ระบาด รวมทั้งบันทึกข้อมูลสำคัญของชุมชน อาทิ จำนวนประชากร ผูต้ ดิ ต่อในชุมชน อาสาสมคั รสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมคั รสาธารณสุขต่างด้าว จุดบริการ Covid Center เป็นตน้ (2.6) กำแพงอัจฉริยะ (Smart City Wall) : แพร่ จังหวัดแพร่ใช้แนวทางการบริหารงานที่เป็นระบบในการป้องกันการแพร่ของเชื้อ ไวรสั โคโรนา 2019 ตงั้ แตร่ ะลอกแรก คือ PHRAE ประกอบด้วย P = Participation วางแผนอนาคต H = Healthcare เข้าถงึ การสาธารณสขุ A = Accountability กำหนดขอบข่ายการดำเนินการโดยใช้เวลาเป็นเกณฑ์ R = Responsibility รับผดิ ชอบดำเนนิ การอยา่ งเคร่งครดั E = Evaluation ประเมนิ ผลเพื่อนำไปวางแผนพัฒนาอยา่ งครอบคลมุ โดยเกี่ยวข้องกับกำแพงอัจฉริยะ (Smart City Wall) หรือกำแพงมนุษย์ ภายใต้พหุภาคี ทงั้ ภาครฐั กำกับและเอกชนช่วยเหลือ โดยประชาชนมีส่วนรว่ มสอดส่องดูแล รว่ มเปน็ หูเปน็ ตาในพ้นื ที่ผ่านส่ือโซเชียล ซึ่งประสบความสำเร็จในการดำเนินการในขัน้ ตน้ คือ ไร้ผู้ติดเชื้อCOVID-19 และสามารถสกัดกั้นการแพรร่ ะบาด โดยการวางแผนรับเชิงรุก เน้นประชาสัมพันธ์ประชาชนเพื่อปลุกใจ วิเคราะห์และคาดการณ์ผ่านการมีส่วนร่วม จากชมุ ชนและกลไกท่ีอยูใ่ นชมุ ชน เชน่ ตำรวจ กำนนั /ผ้ใู หญบ่ า้ น อสม. กม. ชรบ. ท้องถ่ิน อปพร. จงั หวัดแพรค่ วบคุมการเคล่อื นยา้ ยคนตามบรบิ ทพ้ืนท่ี ดงั น้ี การเดินทางผา่ นทางถนน ได้กำหนดขอบเขตควบคุมการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้เขต การปกครองของพื้นที่เป็นเกณฑ์ แบ่งเป็น 3 ชั้น เพื่อเตือนภัยจากการเคลื่อนย้ายของประชาชน ที่จะนำพาเชื้อ ไวรัสCOVID-19 มาระบาดในพน้ื ที่ ประกอบดว้ ย กำแพงชั้นท่ี 1 เป็นเขตของอำเภอเมืองแพร่โดยรอบทั้งหมด โดยตั้งด่านตรวจสกัด ได้แก่ ด่านหลัก โดยให้ความสำคัญกับจุดเสี่ยงโดยตั้งจุดคัดกรองที่สถานีขนส่งจังหวัดแพร่ เป็นกลยุทธ์ การควบคุมการเข้า-ออกอำเภอเมืองแพร่จากภายนอกทางถนนเพราะเชื่อมโยงการขนส่งไปทั่วประเทศ ด่านตำบล เพื่อตรวจสกัดคัดกรองประชาชนที่เดินทางเข้า-ออกในพื้นที่ เน้นการเฝ้าระวังช่วงระหว่างวันที่ 10–17 เมษายน 2563 และดา่ นเคลอื่ นที่ชุมชนท้ัง 17 ชุมชน โดยให้เจา้ หน้าที่ตรวจพ้นื ท่ีด้วยการใช้รถจักรยานยนต์ตรวจในพื้นท่ี เพอ่ื ค้นหาผูท้ ี่เดินทางมาจากนอกพ้ืนท่ี และใหค้ ำแนะนำในการปฏิบตั ติ วั แก่ประชาชนในการควบคมุ โดยสาธารณสุข อำเภอ รพ.สต. และ อสม.
42 กำแพงชั้นที่ 2 เป็นเขตของจังหวัดแพร่โดยรอบที่มีอำเภอต่างๆ ทั้ง 6 อำเภอ คือ อำเภอวังชิ้น อำเภอลอง อำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอหนองม่วงไข่ และอำเภอสอง กำหนดให้เป็นกำแพง ล้อมรอบอำเภอเมืองแพร่ อาศัยโอกาสแต่ละอำเภอดำเนินมาตรการป้องกันที่จังหวัดสั่งการ จึงถือว่าเป็น การกำหนดกลยุทธ์ที่ใช้โอกาสจากสถานการณ์รอบข้างเป็นเครื่องมือเตือนภัย และได้กำหนดให้ความเสี่ยง คือ ความสามารถในการป้องกนั ขึ้นอยู่กับศักยภาพและระยะหา่ งจากแต่ละอำเภอรอบข้าง โดยให้ความสำคัญติดตาม ความเคลื่อนไหวกับจดุ เสี่ยง โดยด่านหลัก ได้แก่ สถานีรถไฟ อำเภอเด่นชัย บริเวณประตูสู่ล้านนา ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย แยกแม่แขม ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง แยกร้องเข็ม ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง และ จดุ ตรวจนางฟา้ ตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง กำแพงชั้นที่ 3 เป็นเขตของจังหวัดที่ลอ้ มรอบจังหวัดแพร่ รวมทั้งสิ้น 5 จังหวัด คือ จังหวัดน่าน พะเยา ลำปาง สุโขทัย และอุตรดิตถ์ กำหนดให้เป็นกำแพงล้อมรอบจังหวัดแพร่ อาศัยโอกาสแต่ละ จงั หวัดกำหนดมาตรการป้องกันด้วยตนเองภายใต้นโยบายกำกับภาพรวมจากรัฐบาล จงึ ถือวา่ เป็นการกำหนดกลยุทธ์ ที่ใช้โอกาสจากสถานการณ์รอบข้างเป็นเครื่องมือเตือนภัยแบบต่อเนื่อง และได้กำหนดให้ความเสี่ยงที่สำคัญกับ การตดิ ตามความเคลื่อนไหวในความสามารถในการป้องกนั ตามศกั ยภาพของแตล่ ะจังหวัดรอบขา้ ง กรณีการเดินทางผ่านทางอากาศ ผู้ว่าราชการจงั หวดั แพร่ไดก้ ำหนดขอบเขตการป้องกนั ความเสี่ยง (เพิ่มเติมในชั้นที่ 1) โดยกำหนดจุดคัดกรองที่ด่านหลัก ณ สนามบินแพร่ เป็นกลยุทธ์การควบคุม การเขา้ -ออกอำเภอเมอื งแพรเ่ ชื่อมโยงกับกรงุ เทพฯ (2.7) วาระ 5 ส สตลู ...นา่ อยู่ นา่ เยอื น อย่างยง่ั ยืน การป้องกันควบคุมโรค COVID-19 ในระลอกที่ 2 เป็นต้นมา จังหวัดสตูลใช้นโยบาย “วาระ 5 ส สตลู ...นา่ อยู่ น่าเยือน อยา่ งยงั่ ยนื ” คอื ส1 สะอาด ส2 สะดวก ส3 สบาย ส4 สร้างสขุ ส5 สามัคคี มพี ลัง เปน็ กลไกหลกั ในการรับมอื กบั สถานการณโ์ ควิดในจังหวดั สตูล ประกอบด้วย ส 1 สะอาด เน้นเรื่องสุขอนามัย เป็นการป้องกันระดับปฐมภูมิ (Primary Prevention) คือ หลักสุขอนามัย ปฏิบตั ติ ามคำแนะนำ เพื่อลดปจั จยั เสย่ี งตา่ งๆ รวมถงึ การไดร้ บั วคั ซีนของประชาชน ส 2 สะดวก จงั หวัดสตลู ไมม่ ีการล็อกดาวนจ์ งั หวัด แตใ่ หม้ ีการใช้ชวี ิตอย่างสะดวกเป็น การป้องกันระดับทุติยภูมิ (Secondary Prevention) คือ ช่วยกันเฝ้าระวังในพื้นที่ เน้นการเฝ้าระวังจากประวัติ พฤติกรรมของคนที่มาจากต่างจังหวัด และต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการมาช่วยเสริม ยนื ยัน มีทมี หมอครอบครัวคอยให้คำปรึกษาผู้ที่ถูกกักตัว มกี ารใช้ลงิ กบ์ ันทึกฐานข้อมูลบุคคลท่ีไปในสถานที่เสี่ยง สัมผัสใกล้ชิดกบั กลุ่มบุคคลคาดว่าจะมีเชื้อหรือเดินทางมาจากต่างจังหวัด ตา่ งประเทศเป็นลิงก์แรกของการเฝ้าระวัง ในพื้นทจี่ งั หวัดสตูล เพ่ือความสะดวกในการติดตามเฝ้าระวังโรคในบุคคลเดินทางกลบั มาจากพน้ื ท่ีเสยี่ ง ส 3 สบาย อยู่แบบสะดวกสบาย ถือว่าใช้ชีวิตแบบสบายสไตล์วิถีใหม่ ไม่ได้จับกลุ่ม ปาร์ต้ี เปน็ การป้องกันในระดับตติยภมู ิ (Tertiary Prevention) เน้นสร้างแผนเผชญิ เหตุในทุก setting เพ่ือป้องกัน ไม่ให้เกิดการระบาดใหญ่ภายใต้ข้อสมมติฐานทุกคนมีเชื้อ เช่น setting โรงเรียน ชื่อแผนปฏิบัติการ “เข้าค่าย สบายใจ หว่ งใย ใสใ่ จสขุ ภาพ” ให้คดิ ว่าทกุ คนมเี ชอื้ แต่จะอย่รู ว่ มกนั อยา่ งไร ให้มีการซ้อมแผนเผชญิ เหตุ โรงเรียน ตอ้ งพร้อมให้เด็กและครูเขา้ ค่ายอยู่ในโรงเรยี นไม่ใหก้ ลับบ้าน แตก่ ารเรยี นการสอนยังเดนิ หน้าได้ setting โรงงาน ช่ือแผนปฏิบตั กิ าร “เขา้ กะโรงงาน กินอย่ทู ำงานท้งั วนั กิจการเดินหนา้ เร็วพลันพวกเรานั้นปลอดภัยเอย”
Search