Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

Published by นงเยาว์ ทับเที่ยง, 2021-02-15 06:23:09

Description: มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

Search

Read the Text Version

มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เขียน พิมพ์คร้ังแรก: ธันวาคม 2563 บรรณาธิการ อินทุพิมพ์ เลิศวิริยะไพบูลย์ บรรณาธิการเล่ม นันท์ชนก คามชิตานนท์ ออกแบบปกและภาพประกอบ เพชรลัดดา แก้วจีน รูปเล่ม ยุทธภูมิ ปันฟอง ด�าเนินการผลิต ส�านักพิมพ์ bookscape ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�านักหอสมุดแห่งชาติ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง.-- กรุงเทพฯ : ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2563. 112 หน้า. 1. การอ่านออกเสียง. 2. ภาษาไทย - การออกเสียง. I. เพชรลัดดา แก้วจีน, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ช่ือเรื่อง. 372.452 ISBN 978-616-393-326-3

โครงการขับเคล่ือนความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและครอบครัว และการพัฒนาศักยภาพเยาวชน จัดท�าโดย ส�านักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์: 02 343 1500 โทรสาร: 02 343 1551 อีเมล: [email protected] เว็บไซต์: www.thaihealth.or.th

สารบัญ 1 อ่านทุกวัน อ่านให้สนุก 12 2 คลังค�า และความจ�าใช้งาน 26 3 หนังสือส�าหรับปฐมวัย ประถม และมัธยม 40 4 อ่านอิสระเพ่ือความบันเทิง 54

5 ความส�าคัญของพ่อ 68 6 หนังสือและส่ือส่ิงพิมพ์ 74 7 ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ และการอ่าน 82 8 ภาพและเสียง 90 9 นัยส�าคัญของประสบการณ์ อ่านออกเสียง 98 10 ส่ิงท่ีควรท�าและไม่ควรท�า 106



มหัศจรรย์แห่ง การอ่านออกเสียง นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

ค�าน�า เร่ืองอ่านนิทานก่อนนอนให้ลูกฟังนี้ เป็นคุณพ่อของผมเอง ท่ีท�ากับพวกเราพี่น้องคร้ังยังเป็นเด็กเล็ก (มาก) ความทรงจ�าท่ีมี คือท่านซ้ือนิทานประกอบภาพภาษาจีนเรื่องไซอ๋ิวกลับมาบ้าน ท่านท�างานต่างจังหวัดจึงมิได้กลับมาทุกวัน แต่วันที่กลับจะอ่าน นิทานและเล่นกบั ลูกเสมอๆ คุณพ่ออ่านออกเสียง พวกเราฟัง ตาดูรูปเห้งเจียน่ารัก ถือพลองกระโดดขน้ึ ก้อนเมฆบินไปปราบปีศาจ ผมจา� หน้าหนังสอื เหล่านน้ั ไดล้ างๆ แตไ่ มม่ เี หลือเก็บไวเ้ ลย เมื่อลูกของผมยังเล็ก ผมอ่านนิทานก่อนนอนทุกคืน ไมม่ เี วน้ จะเวน้ บา้ งปลี ะไมก่ คี่ นื ถา้ ตอ้ งเดนิ ทางไปประชมุ ตา่ งจงั หวดั มิได้กลับ แต่นอกเหนือจากน้ันอ่านเสมอ แม้ว่าตนเองจะอยู่ ต่างจังหวัด ไม่มีปัญหาจราจรติดขัด และเป็นแพทย์ท่ีเปิดคลินิก ส่วนตัว แต่ก็เลือกท่ีจะปิดคลินิกเมื่อหน่ึงทุ่มตรงทุกวัน และปิด คลินิกสัปดาห์ละสองวัน เพ่ือเหลือเวลาก่อนนอนให้แก่ลูกๆ มากทส่ี ดุ จึงพดู เสมอว่างาน เงนิ และเวลา เปน็ เรื่องของแตล่ ะบ้าน จะจดั สรร บริหาร และรักษาสมดลุ เพ่ือให้เราเหลือเวลาแกล่ ูกมาก ที่สุด เวลาทีเ่ หลอื นน้ั ดีท่สี ดุ ทรงคุณคา่ มากที่สดุ ได้ประโยชน์ ตอบแทนท้ังระยะสั้นระยะยาวมากที่สุดคือใช้อ่านนิทานก่อนนอน 8 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

พยายามท�าให้ตรงเวลา อยา่ งสมา�่ เสมอ และตอ่ เนื่องยาวนาน เม่ือลูกโต ผมอ่านต�าราจิตเวชศาสตร์เด็กมากกว่าเดิม นอกเหนือจากที่เคยอ่านผ่านมาบ้างแล้ว ก็ม่ันใจมากขึ้นว่า การอ่านเป็นเร่ืองจ�าเป็นยิ่งยวด มิใช่อ่านเพ่ือให้ลูกรักการอ่าน แต่อ่านเพื่อสร้างจุดเช่ือมต่อเซลล์ประสาทท่ีเรียกว่า synapses มากทส่ี ดุ เปน็ เรอ่ื งจรงิ เชน่ เดยี วกนั วา่ เมอ่ื จา� นวน synapses มากขน้ึ สมองของลกู ๆ จะทา� งานพลกิ แพลงไดม้ ากขนึ้ เราตอ้ งการสงิ่ ทจี่ ะ เกดิ ในกะโหลกศรี ษะของเขาซงึ่ เราไมเ่ หน็ ดว้ ยตาเปลา่ และไมเ่ หน็ ในวนั นี้ เมอื่ ลกู โตขนึ้ เขายอ่ มอา่ นหนงั สอื ไดเ้ องสกั วนั แตห่ นงั สอื เล่มนี้บอกเราว่า ไม่จ�าเป็นต้องหยุดอ่านและไม่ควรหยุดอ่าน เราควรอ่านออกเสียงให้ลูกฟังต่อไป แม้ว่าลูกจะโตเข้าใกล้วัยรุ่น เต็มที บา้ นผมเองอ่านจนกระทง่ั ลกู ๆ อายุ 10 ขวบโดยประมาณ เป็นช่วงเวลาทีเ่ ขาอา่ นหนังสอื ได้เองมากขึน้ เรอ่ื ยๆ และมีนิสัยถอื หนังสอื ตดิ ตวั แลว้ หนังสือเล่มนี้บอกอีกว่า ครูควรจัดช่ัวโมงอ่านออกเสียง ในโรงเรยี น และควรจดั ไปเรอ่ื ยๆ จนกระทง่ั ชน้ั มธั ยม ถา้ มใิ ชค่ รอู า่ น ก็เป็นนักเรียนผลัดกันออกมาอ่าน ประโยชน์ท่ีได้น้ันเหลือคณนา ดียิ่งกว่าน้ันเมื่อจัดให้มีชั่วโมงวิพากษ์หนังสือท่ีตนเองอ่าน คล้ายคลึงกับที่เรียกว่าสโมสรหนังสือหรือบุ๊กคลับ สมองของ เดก็ จะยงิ่ ก้าวไกล นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 9

ประสบการณ์ส่วนตัวของผมก็ดี เร่ืองอ่านออกเสียงจน เด็กโตมากแล้วก็ดี เร่ืองช่ัวโมงอา่ นออกเสยี งในโรงเรียนกด็ ี ทจี่ ริง หากเช่อื แล้วทา� เรือ่ งก็ควรจบงา่ ยๆ แตเ่ ราพบวา่ ไมง่ ่าย หลายคน แม้กระท่ังวงการศึกษาเองไม่เห็นประโยชน์ท่ีได้รับจากเร่ืองนี้ว่า มากมายเพยี งใด ไม่เพยี งทา� ใหผ้ ลการเรยี นดีขึ้น แต่ท�าให้เดก็ นิสยั ดีขน้ึ พฤตกิ รรมดีขนึ้ และปัญหาสงั คมลดลงอีกดว้ ย ดังน้ัน เม่ือไม่เช่ือกันจึงต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ และถ้า ข้ีสงสัยมากก็ไล่หาเอกสารอ้างอิงท้ายบททุกบทตามไปให้ถึง เอกสารช้ันต้นว่าผู้เขียนอ้างอิงงานวิจัยอะไรเอาไว้บ้าง แต่การท�า เช่นนัน้ นา่ จะเสยี เวลาไปมาก เชื่อเสียดีๆ แล้วเริ่มต้นอ่านออกเสียงตั้งแต่คืนน้ีน่าจะ ง่ายกวา่ มาก นายแพทยป์ ระเสริฐ ผลติ ผลการพิมพ์ พฤศจิกายน 2563 10 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง



1 อ่านทุกวัน อ่านให้สนุก



พลงั แหง่ การอา่ นออกเสยี ง เปน็ หนงั สอื อกี เลม่ หนง่ึ ทอี่ า่ นแลว้ เสียดายว่าท�าไมผมไม่ชิงเขียนเสียก่อนต้ังแต่แรก โดยเฉพาะ เม่ืออ่านค�าน�าแล้วพบว่าผู้เขียนคือจิม เทรลีส (Jim Trelease) มิใช่นักวิชาการจากท่ีไหน เขาเป็นเพียงคุณพ่อที่มีความสุขกับ การอา่ นนิทานให้ลูกฟงั เทา่ นั้นเอง – เหมอื นผม ค�าตอบคือผมมีงานประจ�าวันมากเกินกว่าจะไปตามหา เอกสารอา้ งองิ มายนื ยนั เรอ่ื งทต่ี นเองพดู บรรยาย และเขยี นเสมอมา นั่นคือพ่อแม่ควรอ่านนิทานก่อนนอนให้ลูกฟังทุกคืนไปเร่ือยๆ จนกวา่ เขาจะไม่เอาเรา แตท่ จี่ มิ เขยี นไวใ้ นหนงั สอื เลม่ นม้ี มี ากกวา่ นนั้ แมพ้ วกเขา จะไม่เอาเรา เราก็จะอา่ น และทจ่ี รงิ แลว้ ครูทกุ โรงเรยี นไม่วา่ เดก็ จะ อายุเท่าไรแล้วก็ตาม ควรจดั ให้มีชว่ั โมงอา่ นออกเสียง “ฉนั อา่ นหนงั สอื ใหล้ กู ฟงั เพราะฉนั ชอบ” นค่ี อื ประโยคหนง่ึ ในบทที่ 1 เปน็ ดงั ทผ่ี มตอบคา� ถามคณุ พอ่ คณุ แมท่ ม่ี กั เขยี นมาถามวา่ “อ่านหนังสือเล่มไหนดีคะ” แล้วผมก็จะตอบเสมอว่า เล่มไหนก็ได้ ทคี่ นอา่ นสนุก 14 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

การอา่ นนทิ านใหล้ กู ฟงั มขี อ้ สา� คญั ขอ้ หนง่ึ คอื เราตอ้ งสนกุ จะเปน็ นทิ านเรอ่ื งอะไร เหมาะกบั เดก็ อายเุ ทา่ ไร อาจจะเปน็ เรอ่ื งควร พจิ ารณาอยบู่ า้ ง แตส่ า� หรบั บา้ นเราทว่ี ฒั นธรรมการอา่ นไมเ่ ขม้ แขง็ ผมเลือกทจ่ี ะส่ือสารสาธารณะซ้�าๆ ว่า อา่ นไปเถอะ จะนิทานจากหนังสือพิมพ์รายวัน ถุงกล้วยแขก หรือ หนังสือนิทานประกอบภาพส่ีสีสวยสดปกแข็งราคาเป็นร้อย ขอให้ คนอา่ นสนกุ เปน็ ใชไ้ ด้ ความสนกุ นนั้ เองทเี่ ปน็ แรงผลกั ดนั ใหค้ นอา่ น อ่านได้ทุกวันนับสิบปี อาจจะมีเว้นบ้างบางคืนเพราะเราไม่สบาย หรือไม่อยู่บ้าน แต่ถ้าเราสนุกเสียแล้ว เราเองที่จะไม่ยอมพลาด กจิ กรรมแสนวเิ ศษกอ่ นนอนนี้ และจะอา่ นไดป้ ลี ะไมต่ า�่ กวา่ 300 คนื อย่างสบายๆ หากต้องเลือกระหว่างงานส่วนตัวกับอ่านนิทานให้ลูกฟัง เราจะเลือกอย่างหลังก่อนเสมอ ด้วยข้อเท็จจริงท่ีว่างานรอได้ แตอ่ ายุของลกู ไม่รอ ในเอกสารอา้ งองิ หมายเลข 7 ของบทที่ 11 ซง่ึ ทา่ นทสี่ งสยั สามารถคน้ ควา้ เพม่ิ เตมิ ไดเ้ อง สรปุ ไวว้ า่ เดก็ ทท่ี า� คะแนนการทดสอบ PISA ได้ดีเม่ืออายุ 15 ปี มีประวัติพ่อแม่อ่านออกเสียงให้ฟัง ต้ังแต่เล็ก ย่ิงตอนเด็กๆ พ่อแม่อ่านออกเสียงให้ฟังมากเท่าไร 1 Organisation for Economic Cooperation and Development, PISA 2009 Results: Overcoming Social Background: Equity in Learning Opportunities and Outcomes, Vol. II, PISA (Paris: OECD Publishing, 2010), p. 95, http://doi. org/10.1787/9789264091504-en นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 15

คะแนนทที่ า� ไดเ้ มอ่ื อายุ 15 ปี กจ็ ะสงู ขน้ึ เทา่ นน้ั ทงั้ นโี้ ดยไมเ่ กยี่ วกบั รายไดข้ องครอบครวั ความข้อน้ีสนับสนุนเรื่องท่ีผมพยายามเขียนถึงอีกเรื่อง หนง่ึ นน่ั คอื ชนชน้ั ลา่ งในสงั คมไทยไมจ่ า� เปน็ ตอ้ งสง่ ตอ่ ความยากจน โดยทา� ได้เมอ่ื พ่อแมอ่ า่ นนทิ านให้ลูกฟงั ก่อนนอนทุกคืน อยา่ งไรกต็ าม ผมยอมรบั วา่ ชนชนั้ ลา่ งของสงั คมไทยจะเอา เวลาท่ีไหนมาอ่านนิทาน และจะเอาเงินท่ีไหนไปซื้อหนังสือนิทาน นา� ไปส่เู รอื่ งทบี่ ้านเราตอ้ งท�าอกี สองเรือ่ งคือ จดั ระบบหนงั สอื แหง่ ชาตใิ หมใ่ หร้ าคาหนงั สอื ถกู ลง เพราะ หนงั สอื เปน็ ทรัพยส์ นิ ทางปัญญาที่ไม่ควรปลอ่ ยไว้กบั ราคาตลาด จัดระบบห้องสมุดชุมชน โดยเฉพาะอย่างย่ิงในชนบท ให้เด็กไทยทุกคนในทุกพ้ืนที่สามารถเข้าถึงหนังสือนิทานโดยเสรี และไม่เสียคา่ ใชจ้ า่ ย รตู้ วั ครบั วา่ เขยี นงา่ ยแตท่ า� ยาก อยา่ งไรกต็ าม นกั การเมอื ง ที่มีวสิ ัยทศั นแ์ ละชาญฉลาดควรพยายาม เร่ืองชนช้ันน้ีมิใช่เรื่องพูดจาเพ้อเจ้อ ในเอกสารอ้างอิง หมายเลข 9-10 ของบทที่ 12 นี้ พดู ถงึ งานวจิ ยั ทท่ี า� ใน 42 ครอบครวั 2 รายการอา้ งองิ หมายเลข 9 Betty Hart and Todd R. Risley, Meaningful Differences in the Everyday Experience of Young American Children (Baltimore: Brookers Publishing, 1996) ดาวนโ์ หลดบทสรุปหนงั สอื ความยาวหกหน้าไดท้ ี่ Betty Hart and Todd R. Risley, 16 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

พบวา่ เดก็ สข่ี วบจากชนชน้ั วชิ าชพี ไดย้ นิ คา� 45 ลา้ นคา� ในสป่ี ี ชนชนั้ แรงงานได้ยิน 26 ล้านค�า ชนชั้นพ่ึงสวัสดิการได้ยิน 13 ล้านค�า จะเหน็ ว่าความแตกตา่ งนี้สงู มาก คือมากกว่า 3 ต่อ 2 ตอ่ 1 ท่านที่ สงสัยสามารถค้นคว้าต่อเองได้ ทา� ไมการไดย้ นิ เปน็ เรอื่ งสา� คญั คา� อธบิ ายงา่ ยๆ คอื ทารก ได้ยินเสียงก่อนการอ่าน เราไม่จ�าเป็นต้องรอให้เด็กเล็กอ่านได้ เราควรพูดกับเขาและอ่านออกเสียงให้เขาฟังได้เลย น่ันเท่ากับ การสรา้ งคลงั คา� ศพั ทจ์ า� นวนมหาศาลตง้ั แตว่ นั แรก และในงานวจิ ยั อกี หลายชน้ิ ทเ่ี ราเคยได้ยินมาบอกแล้ววา่ ทา่ นอา่ นนิทานให้ลกู ฟัง ได้ต้ังแต่ตั้งครรภ์ แม้ว่าประการหลังน้ีอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับ การสร้างคลังค�าศัพท์ แต่เสียงที่คุ้นเคยของแม่ตั้งแต่ในครรภ์ จะชว่ ยใหเ้ ขาเปน็ เดก็ ทมี่ พี น้ื ฐานทางอารมณ์ (temperament) ทด่ี ไี ด้ “The Early Catastrophe: The 30 Million Word Gap by Age 3,” American Educator (American Federation of Teachers), Spring 2003, http://www.aft. org/pdfs/americaneducator/spring2003/TheEarlyCatastrophe.pdf จากข้อมูล ในเวบ็ ไซต์ของสหพันธ์ครูอเมรกิ ัน เอกสารนนี้ า� ไปเผยแพร่ใหแ้ กพ่ ่อแมไ่ ด้โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย ดูเพิม่ เตมิ ท่ี Ginia Bellafante, “Before a Test, a Poverty of Words,” New York Times, October 7, 2012, p. MB; และ Paul Chance, “Speaking of Differences,” Phi Delta Kappan 78, no. 7 (March 1997): 506-7 รายการอ้างอิงหมายเลข 10 ดาวน์โหลดฟรีได้ท่ี www.aft.org/pdfs/americaneducator/spring2003/TheEarly Catastrophe.pdf นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 17

คลังค�าศัพท์ที่ต่างกันมากมายน้ีไม่สามารถชดเชยได้ ในเวลาต่อมา เป็นอีกประโยคหนงึ่ ท่สี �าคญั โดยอา้ งองิ จากงานวิจยั หมายเลข 113 และเปน็ หลกั ฐานสนบั สนนุ ประโยคทผ่ี มพดู ไว้ นน่ั คอื การอ่านคอื กจิ กรรมที่ไมม่ วี ันไลก่ นั ทัน ตอนทผี่ มพดู ประโยคนค้ี รง้ั แรก ผมเพยี งคดิ วา่ ใครทเี่ รม่ิ ตน้ ชีวิตนักอ่านได้ก่อน จะสปีดความเร็วของการอ่านและการท�างาน ของสมองเร็วข้ึนทุกขณะ ในขณะท่ีผู้เริ่มอ่านช้ากว่า แม้จะดีกว่า ไมอ่ า่ น แตเ่ รง่ สปดี อยา่ งไรกไ็ มท่ นั คนทอี่ อกวงิ่ ไปลว่ งหนา้ ปรากฏวา่ ความขอ้ นเ้ี ปน็ จริงกบั เรอ่ื งการอ่านออกเสียงใหเ้ ด็กฟงั ดว้ ย “เลา่ นทิ านไดม้ ย้ั ครบั ” เปน็ อีกหน่งึ ค�าถามทผ่ี มได้รบั เปน็ ประจ�า ค�าถามน้ีมาจากพ่อมากกว่าแม่ หรือไม่ก็เป็นพ่อฝากแม่ มาถาม เราคงไม่ตีความว่าผู้ชายขี้เกียจอ่านมากกว่าผู้หญิง หรือ อัตราส่วนของการอ่านหนังสือคล่องในผู้ชายไทยมีน้อยกว่า แต่ก็ไมแ่ น่ การพดู จากนั ในชวี ติ ประจา� วนั ของคนเราใชค้ า� ศพั ทเ์ พยี ง 5,000 คา� อยา่ งมากไมเ่ กนิ 10,000 คา� และคา� ทใี่ ชบ้ อ่ ยจรงิ ๆ มเี พยี ง 3 George Farkas and Kurt Beron, “Family Linguistic Culture and Social Repro- duction: Verbal Skill from Parent to Child in the Preschool and School Years,” รายงานที่ส่งให้ที่ประชุมประจ�าปีของสมาคมนักประชากรแห่งอเมริกา (PAA) ณ กรุงวอชงิ ตนั ด.ี ซ.ี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2001 https://eric.ed.gov/?id=ED453910 ดูเพ่มิ เตมิ ท่ี Karen S. Peterson, “Moms’ Poor Vocabulary Hurts Kids’ Future,” USA Today, April 12, 2001 18 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง



1,000 ค�า ตัวเลขเหล่าน้ีแตกต่างกันบ้างในต�าราเล่มต่างๆ แต่ก็ ใกลเ้ คียงกัน ในหนังสือนิทานส�าหรบั เด็ก หรือหนงั สือนทิ าน หรือ หนงั สอื วรรณกรรมเยาวชน มคี ลงั คา� ศพั ทม์ ากมายกวา่ ตวั เลขนม้ี าก ดงั นั้นการอา่ นนทิ านดว้ ยการอ่านออกเสยี งจึงเปน็ เรอ่ื งส�าคญั จะเล่านทิ านก็ไมห่ า้ ม แตข่ อใหร้ ้วู า่ ผลลัพธ์ต่างกนั ไกล เอกสารอ้างอิงของบทท่ี 1 หมายเลข 114 เล่าถึงงานวิจัยใน ปี 2010 ทีท่ �ากบั เด็ก 6,800 คน อายุ 3-12 ปี “พวกเขาพบว่าเด็กจากฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่�ากว่า จะมีจ�านวนคลังค�าศัพท์น้อยกว่าเม่ือเร่ิมเข้าเรียน (ล้าหลังกว่าคน อ่ืน 12-14 เดอื น)” ท่ีส�าคัญยิ่งกว่าคือประโยคถัดมา “แล้วเมื่อโตขึ้นก็ยัง ชดเชยความสญู เสียนั้นมไิ ด”้ หากใชค้ า� พดู ของเพจหนง่ึ บนโลกออนไลนว์ นั นกี้ จ็ ะอทุ าน วา่ “เรือ่ งส�าคญั แบบนี้ท�าไมไม่บอกก!ู ” บ้านทเ่ี ริ่มอ่านนิทานช้ากว่า โตขน้ึ ก็ชดเชยความเสยี หายไมไ่ ด้! หากเรายึดหลักเร่ือง epigenesis พัฒนาการมีล�าดับชั้น ของมนั และเรื่อง critical period พฒั นาการมเี วลาวิกฤตของมัน หากเราไมท่ า� สงิ่ ทค่ี วรทา� ในเวลาทค่ี วรทา� เราจะทา� งานนน้ั มไิ ดอ้ กี เลย และไมอ่ าจชดเชยเวลาที่สูญหายไดด้ ว้ ย อย่างมากก็แค่เริ่มต้นใหม่ 4 เร่ืองเดยี วกนั 20 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

ซง่ึ ชา้ กวา่ เด็กทีอ่ อกวิง่ ไปก่อนแล้ว เพราะอยใู่ นฐานะทางเศรษฐกจิ สงั คมทส่ี งู กวา่ จงึ ไดเ้ ปรยี บ กวา่ ทจ่ี รงิ ประโยคนก้ี อ็ าจจะมปี ญั หาในบา้ นเราอยดู่ ี ดงั ทพ่ี อทา� นาย ไดว้ ่าชนช้นั กลางก็ไมอ่ ่านหนงั สือให้ลกู ฟังเชน่ กนั นีค่ อื โอกาสของ ชนชัน้ ล่างที่จะว่ิงแซง เพ่อื ให้เขา้ ใจความข้อนี้มากขน้ึ จะเลา่ เรื่องธรรมชาตขิ อง การรกั ษาทางจติ เวชศาสตรใ์ หฟ้ ัง สมมติว่าเราวินิจฉัยเด็กคนหน่ึงเป็นออทิสติกเทียม คือ ไม่สบตาแม่ ไมส่ บตาใคร ไมย่ มิ้ ตอบแม่ ไม่ย้มิ ตอบใคร และไม่พูด อาการเหลา่ นเี้ หมอื นเดก็ ออทสิ ตกิ ทเ่ี ปน็ แตก่ า� เนดิ แตเ่ ราใชค้ า� ศพั ท์ ออทิสติกเทียม เพราะส่วนใหญ่เกิดจากการปล่อยให้เด็กดูหน้าจอ มือถอื มากจนเกนิ ไปต้ังแต่แรก แมเ้ ราจะรกั ษาไดบ้ า้ งดว้ ยการหยดุ หนา้ จอทนั ที แตบ่ คุ คล ท่ีเป็นต้นเหตุของการให้เด็กดูหน้าจอมักไม่ให้ความร่วมมือ และ พ่อแม่บ้านเราก็ได้แต่เกรงใจผู้อื่นจนลูกตนเองป่วย ดังน้ันเร่ือง รกั ษาจงึ ไมง่ า่ ย และถงึ แมว้ า่ รกั ษาไดห้ ายดี เดก็ กลบั มามองหนา้ แม่ มองหนา้ คน ย้ิมใหแ้ ม่ ย้ิมให้คน และพดู ได้ แตร่ ะยะเวลาของความ เจบ็ ปว่ ย 12-36 เดอื นนัน้ คือเวลาท่สี ญู หาย ความหมายคอื พฒั นาการหลายอยา่ งจะสญู หายไป มนั ไม่ กลับมาโดยอัตโนมัติ เด็กจะต้องใช้เวลา 12-36 เดือนเพื่อพัฒนา ตนเอง ซ่งึ จะไม่มีวันไลท่ ันเดก็ ที่พัฒนาไปก่อนหนา้ แล้ว นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 21

แม้ว่าปรากฏการณ์นี้จะเป็นกึ่งอุปมาอุปไมย กล่าวคือ เดก็ ปว่ ยทถ่ี ดถอยมไิ ดต้ อ้ งใชเ้ วลาตที นุ คนื เทา่ เวลาทเี่ จบ็ ปว่ ยเสมอไป แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ใช้เวลานาน และข้ึนอยู่กับว่าพัฒนาการอะไร ทีส่ ญู หาย พัฒนาการอะไรที่เร่งสปดี ได้ และพฒั นาการอะไรที่ไม่มี ทางเรง่ สปดี ได้ ภาพประกอบท่ี 1.1 คือภาพที่ง่ายและช่วยให้เราเข้าใจ เร่อื งทง้ั หมดโดยง่าย ภาพ 1.1 เราอา่ นนทิ านใหเ้ ดก็ ฟงั เพอ่ื สรา้ งคลงั คา� คลงั ค�าจะคอ่ ยๆ เพ่มิ ขึน้ ตามลา� ดบั ช้นั กลมุ่ แรกคือ ค�าศัพทเ์ พ่อื การฟัง (listening vocabulary) อา่ งนา�้ ทใี่ ชเ้ กบ็ คลงั คา� เพอื่ การฟงั ไดจ้ ากการฟงั ฟงั จนลน้ แลว้ จงึ ไหล ลงสู่อ่างที่สอง อันเป็นท่ีอยู่ของคลังค�ากลุ่มต่อมาคือ ค�าศัพท์เพื่อ การพดู (speaking vocabulary) 22 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

พฒั นาการดา้ นภาษาเปน็ เชน่ นเ้ี อง การสรา้ งคลงั คา� ทเ่ี กดิ จากการได้ยินจึงเป็นเรื่องส�าคัญ และสร้างได้ทันทีต้ังแต่แรกเกิด เด็กที่มีคลังค�าเพื่อการฟังมากกว่าจะฟังเก่งขึ้นทุกวัน น�าไปสู่ พัฒนาการของคลงั ค�าด้านอื่นๆ มากขน้ึ ทุกเดอื น แล้วเร่ืองก็จะไป จบที่โรงเรยี น เด็กท่ีมีคลังค�าไปจากบ้านมากกว่าจะฟังครูพูดรู้เรื่อง มากกวา่ ง่ายๆ เทา่ นเ้ี อง เด็กๆ ไปโรงเรียนเพื่อเรียนหนังสอื ก็จริง แต่จะเอาอะไรไปใส่เน้ือหา หากไม่มีคลังค�าไว้ใส่เนื้อหาตั้งแต่แรก ง่ายๆ เทา่ น้ีเอง ถ้าการอ่านที่โรงเรียนเป็นเรื่องไม่สนุก ถ้าการอ่านเป็น ยาขม ไมม่ ที างเลยทจี่ ะใหเ้ ขาอา่ นนอกหอ้ งเรยี น คา� ถามคอื โรงเรยี น ของเรา โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ โรงเรยี นอนบุ าล ทา� ใหก้ ารอา่ นเปน็ ยาขม ตง้ั แต่ปฐมวัยมากน้อยเพยี งใด ดเู อกสารอา้ งองิ หมายเลข 295 ของบทที่ 1 นี้ งานวจิ ยั ทท่ี า� ในนกั เรียน 150,000 คนจาก 35 ประเทศเม่ือปี 2010 พบว่า บ้านที่ อ่านหนังสือให้ลกู ฟงั บอ่ ยๆ ทา� คะแนนเม่อื ชั้นประถมสไ่ี ด้มากกวา่ บ้านที่อ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นบางครั้ง 30 คะแนน เช่นเดิม 5 Ina V.S. Mullis, Michael O. Martin, Eugenio J. Gonzalez, and Ann M.Kennedy, PIRLS 2001 International Report: IEA’s Study of Reading Literacy Achievement in Primary School in 35 Countries (Chestnut Hill, MA: International Association for the Evaluation of Educational Achievement/International Study Center, Boston College, 2003), 95 นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 23

หากแคลงใจการคน้ พบนี้ กรณุ าไปหาเอกสารหมายเลข 296 เพื่อ อา่ นเอง บา้ นเรานยิ มสง่ ลกู ไปเรยี นกอ่ นสามขวบ โรงเรยี นของเรา นิยมสอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้ก่อนสี่ขวบ ค่านิยมเหล่าน้ีผิดทั้ง ธรรมชาตแิ ละวชิ าการ วชิ าการทวี่ า่ นค้ี อื วชิ าการเรอ่ื งพฒั นาการเดก็ ซงึ่ มเี ขยี นในตา� ราแพทยม์ ากกวา่ ครงึ่ ศตวรรษวา่ เราไมค่ วรพรากลกู ไปจากแมก่ อ่ นสามขวบ เพราะมคี วามเสย่ี งตอ่ การเกดิ พยาธสิ ภาพ ทางจติ ในอนาคต และเราไมค่ วรเรง่ เรยี นในชว่ ง 4-7 ขวบ เพราะเปน็ เวลาวกิ ฤตของการพฒั นากลา้ มเนอื้ มดั ใหญใ่ นสนาม และการพฒั นา กลา้ มเนอื้ มดั เลก็ ของนิ้วมือด้วยการละเล่น ศลิ ปะ กีฬา และดนตรี การอา่ นนทิ านใหล้ กู ๆ กบั เดก็ นกั เรยี นฟงั เปน็ พน้ื ฐานของ การเลน่ ศลิ ปะกฬี าและดนตรีเปน็ รากฐานทเ่ี ราสรา้ งไดต้ ง้ั แตแ่ รกเกดิ ถา้ บา้ นใดเชอื่ แลว้ ลงมอื ทา� วนั นี้ ผลลพั ธใ์ น 10 ปขี า้ งหนา้ จะตา่ งจาก บ้านที่ไมท่ �าอย่างเห็นไดช้ ดั และถ้าการศกึ ษาไทยยอมเปล่ยี นแปลงวนั น้ี 10 ปสี ังคม ไทยก็เปล่ยี นไปแล้ว 6 เรอ่ื งเดยี วกนั 24 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง



2 คลังค�า และความจ�าใช้งาน



ในตอนตน้ ของบทท่ี 2 น้ี ผู้เขยี นอ้างถึงหนงั ดงั ในอดีตปี 1987 เรอ่ื ง Three Men and a Baby ซง่ึ สรา้ งใหมจ่ ากหนงั ฝรง่ั เศสชอ่ื Trois hommes et un couffin (Three Men and a Cradle) ฉบับฮอลลีว้ดู เขา้ มาฉายในเมอื งไทยโดยใชช้ อื่ วา่ อะไรอยใู่ นตะกร้า นา� แสดงโดย ทอม เซลเลก, สตีฟ กตุ เทนเบิร์ก และเท็ด แดนสัน ภาพ 2.1 โปสเตอร์ Three Men and a Baby 28 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

หนังเล่าเรื่องชายหนุ่มสามคนตกที่น่ังเป็นพ่อของ เด็กทารกหญิงคนหนึ่ง ซึ่งถูกน�าใส่ตะกร้ามาท้ิงไว้หน้าบ้านของ คนทง้ั สาม เปน็ หนงั ครอบครวั ทด่ี สู นกุ และทา� รายไดม้ หาศาลในปนี น้ั มีตอนหนึ่งในหนังท่ีตัวละครของทอม เซลเลก พูดว่าที่เขาอ่าน หนังสือให้ทารกฟัง มิได้คิดว่าทารกตัวเท่าน้ีจะฟังอะไรรู้เรื่อง เขาเพยี งแค่ต้องการให้ทารกไดย้ นิ (โทน) เสยี งของเขาเท่านนั้ เอง ทั้งน้ีเพอ่ื สร้างสายสัมพันธ์ เป็นไปดังที่ผมเขียนเสมอว่า เราอยากให้พ่อแม่ได้อ่าน หนังสือให้ลูกฟังก่อนนอนทุกคืน โดยมิได้คาดหวังว่าเด็กจะฉลาด หรือเด็กจะรักการอ่าน แต่เพียงเพื่อประกันว่าพ่อแม่จะปรากฏตัว ในห้องนอนอย่างสม่�าเสมอต่อเน่ืองยาวนาน อันจะเป็นการสร้าง พอ่ แมท่ ม่ี อี ยจู่ รงิ ตามดว้ ยสายสมั พนั ธร์ ะหวา่ งพอ่ แมแ่ ละลกู ในทสี่ ดุ แต่หนังสือเล่มน้ีได้เขียนต่อไปว่า เด็กท่ีพ่อแม่เร่ิมอ่าน ออกเสียงให้ฟังก่อน เป็นไปได้ว่าเด็กจะรักการอ่านมากกว่าจริงๆ อธิบายว่าเด็กที่ฟังพ่อแม่อ่านออกเสียงมามากกว่าจะมีคลังค�า มากกวา่ เดก็ ทม่ี คี ลงั คา� มากกวา่ จะอา่ นหนงั สอื ทมี่ คี า� ศพั ทม์ ากกวา่ รู้เร่ือง ท�าให้ได้คลังค�าเพ่ิมเติม และสร้างความสามารถที่จะอ่าน หนงั สอื ทม่ี คี า� ศพั ทม์ ากขนึ้ ไดเ้ รอ่ื ยๆ เมอื่ เปรยี บเทยี บกบั เดก็ ทพ่ี อ่ แม่ อ่านออกเสียงน้อยกว่า ท�าให้มีคลังค�าน้อยกว่า ทั้งยังไม่สามารถ เลือกหนังสืออ่านได้มากนักเพราะคลังค�าที่จ�ากัด เด็กสองคนน้ีจึง ทิ้งหา่ งจากกนั มากขนึ้ ทุกที นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 29

น่ีคือค�าอธิบายส�าหรับค�าถามท่ีว่า เพราะอะไรเด็กท่ีมี คลงั คา� นอ้ ยกว่าจะไม่สามารถลดช่องว่างทห่ี ่างกนั นี้ได้ในภายหลัง พ่อแม่อ่านออกเสียงให้ลูกฟังท�าให้เด็กมีค�าศัพท์เพื่อ การฟงั มากกวา่ นา� ไปสคู่ า� ศพั ทเ์ พอื่ การพดู การอา่ น และการเขยี น มากกว่าตามลา� ดับ ปรากฏการณน์ ีอ้ ธบิ ายไดด้ ว้ ยระบบสัญลกั ษณ์ คือภาษามิได้มีอยู่ในตอนแรก แต่เกิดจากเส้นสมมติของชนชาติ ต่างๆ เพ่ือแทนค�าพดู ดังน้นั การฟังซ�้า พูดซา�้ และอา่ นซ้�าจะช่วย เสริมสร้างความม่ันคงของระบบสัญลักษณ์น้ี แล้วน�าไปสู่ความ สามารถด้านการเขียนในที่สุด ท�าให้ช่องว่างด้านความสามารถ ทางภาษาของเด็กท่ีมีคลังค�ามากและคลังค�าน้อยท้ิงห่างจากกัน มากขึน้ ไปอกี หนังสือเล่มน้ีเขียนมานานแล้ว ปัจจุบันเรารู้แล้วว่า พ่อแม่อ่านออกเสียงต้ังแต่แรกเกิดช่วยให้ทารกพัฒนาความจ�า ใช้งาน (working memory) ความจ�าใชง้ านมีสองชนดิ คือ ความจา� ใชง้ านดา้ นเสยี ง เรยี กวา่ phonological loop และความจา� ใชง้ านดา้ น ภาพ เรยี กว่า visuospatial sketchpad ทงั้ สองสว่ นประสานเข้าหา กันด้วยสว่ นทสี่ ามคือสว่ นบริหารกลาง เรียกวา่ central executive กล่าวเฉพาะความจ�าใช้งานด้านเสียง เสียงพ่อแม่ท่ีอ่าน นิทานให้ฟังจะช่วยพัฒนาโมเดลความจ�าใช้งานโดยตรง ทารก บางคนนอนฟงั นิทานดีๆ แตบ่ างคนเลน่ หยกุ หยกิ และเมอ่ื ถึงวันที่ เขาคลานหรือเดินเตาะแตะได้ เขาจะเดินไปรอบห้องนอน ท�าให้ พอ่ แมบ่ างท่านหมดกา� ลังใจที่จะอ่านนทิ านออกเสียงตอ่ 30 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

แตพ่ อ่ แมค่ วรอา่ นนทิ านออกเสยี งตอ่ ไป เพราะทกุ ยา่ งเทา้ ท่ีทารกเดินเกาะไปรอบห้องนอน หูเขายังคงได้ยิน เขาอาจจะ มีลักษณะเหมือนเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาในตอนแรกๆ แต่ที่แท้แล้ว สมองกา� ลงั พัฒนาโมเดลความจา� ใชง้ าน เขาก�าลงั ถือครองความจา� ของประโยคทหี่ นง่ึ แมว้ า่ จะคลานหรอื เดนิ อยู่ เพอื่ รอใหป้ ระโยคทสี่ อง มาตอ่ ตดิ จากนนั้ ถอื ครองความจา� ของประโยคทหี่ นง่ึ และสองเพอ่ื รอ ให้ความจ�าใช้งานของประโยคท่ีสามมาต่อติด เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เขาถือครองได้ก่ีประโยคเป็นเวลานานเท่าไรคือขนาดของถัง ความจา� ใชง้ านทใ่ี หญข่ นึ้ วนั นเ้ี ขาเปน็ เพยี งทารกทย่ี งั ไมเ่ ขา้ ใจเรอื่ งที่ พ่อแมอ่ ่าน ดงั ทต่ี วั ละครของสตฟี กตุ เทนเบิร์ก หยอกตัวละครของ ทอม เซลเลก ในหนัง อะไรอยู่ในตะกรา้ ตอนต้นบทความว่าเด็ก จะไปร้อู ะไร แต่การอ่านออกเสียงนั้นมิได้สูญเปล่า นอกเหนือจาก สร้างสายสัมพันธ์แล้ว ยังเปิดปากถังความจ�าใช้งานให้กว้างขึ้น เพอื่ รอเวลาทเี่ ดก็ จะประมวลผล (process) ประโยคหลายประโยคที่ พอ่ แมอ่ ่านออกเสียงใหฟ้ ังเป็นการอ่านเอาเรื่องในตอนท้าย เรอ่ื งโมเดลปากถงั ความจา� ใชง้ านนเ้ี ปน็ เรอื่ งสา� คญั ปากถงั ท่ีกว้างกว่าช่วยให้เด็กประมวลผลหลายข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน เด็กกลุ่มน้ีจะสามารถวางแผนท�าการบ้านล่วงหน้าได้หลายวัน ตื่นเช้าแล้วแต่งตัวไปโรงเรียนทันเวลา เพราะรู้ข้ันตอนกระจ่าง เร่ิมต้ังแต่ไปล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้�า แต่งตัว กินอาหารเช้า ใส่รองเท้า ถอื กระเปา๋ แลว้ ออกจากบ้าน ในขณะทีเ่ ดก็ ซง่ึ มปี ากถัง ความจา� ใชง้ านแคบกวา่ จะปลอ่ ยขอ้ มลู เขา้ ไดเ้ พยี งครง้ั ละ 1-2 ขอ้ มลู นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 31

แล้วประมวลผลเพียงเท่านั้น เด็กเหล่าน้ีจึงไม่รู้ว่าตนเองต้องท�า การบา้ นตอนนเี้ พอ่ื จะสง่ วนั พรงุ่ น้ี หรอื ไมร่ วู้ า่ การแตง่ ตวั ไปโรงเรยี น ตอนเชา้ นนั้ ใชก้ ระบวนการทงั้ หมดกข่ี น้ั ตอน ตงั้ แตใ่ ชแ้ ขนขา้ งหนง่ึ สอดเข้าแขนเสือ้ ข้างหนงึ่ ไปจนถึงผูกเชอื กรองเท้าเสรจ็ ยังไมน่ บั เรอ่ื งลา้ งหนา้ แปรงฟนั และอาบนา�้ มขี นั้ ตอนยอ่ ยทง้ั หมดกขี่ นั้ ตอน พฒั นาการของโมเดลความจา� ใชง้ านนี้ ชว่ ยอธบิ ายเรอ่ื งที่ หนังสือเล่มน้ีเขียนอีกเรื่องหนึ่งคือ ความจ�าใช้งานเพื่อการฟัง มากอ่ นความจา� ใช้งานเพอ่ื การพดู เดก็ ไดย้ นิ จา� ไวส้ กั ครู่ แลว้ กจ็ ะลมื ในเวลาไมก่ วี่ นิ าที เดก็ จะ ถือครองความจ�าใช้งานได้นานขึ้นเมื่อพูดกับตัวเอง เวลาเราเห็น เดก็ พดู คนเดยี ว หรอื พากยก์ ารกระทา� ของตวั เองระหวา่ งเลน่ ทา� ครวั มิใช่เร่ืองผิดปกติ เขากา� ลงั พัฒนาความยาวของความจ�าใชง้ าน พ่อแม่อ่านออกเสยี งหลายค�า เขาจ�าไดไ้ มก่ ่ีคา� จา� นวนคา� ท่ีได้ฟังมีมากกว่าจ�านวนค�าท่ีได้พูด แต่ถ้าเราอ่านออกเสียงมาก เทา่ ไร จ�านวนค�าทไ่ี ดฟ้ ังจะมากข้นึ เทา่ นน้ั แลว้ จา� นวนค�าทไี่ ด้พดู ก็ จะมากข้ึนตามไปด้วย น่ันคือค�าศัพท์เพ่ือการฟังมากกว่าค�าศัพท์ เพื่อการพดู การพดู คนเดยี วหรอื การพูดกบั คนอ่นื เปน็ การตอกลิม่ คา� ศพั ท์เพื่อการพดู บอ่ ยๆ ให้ฝงั แน่นและคงทน เด็กสามารถทา� ให้ คา� ศพั ทค์ งทนมากยงิ่ ขนึ้ ไดด้ ว้ ยการอา่ นและการเขยี น อา่ นหนงั สอื ทต่ี วั เองอา่ นออกดว้ ยคลงั คา� ตง้ั ตน้ แตห่ นงั สอื ทด่ี จี ะนา� เขา้ (import) คลงั ค�าใหม่ๆ อกี จา� นวนมากที่เรามไิ ดใ้ ช้ในการพดู ประจ�าวัน หรือ แม้กระทง่ั ในการเล่านทิ าน 32 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

ภาพ 2.2 หนงั สือ แมงมมุ เพ่อื นรกั ยกตัวอย่างเร่ือง แมงมุมเพื่อนรัก (Charlotte’s Web) วรรณกรรมเยาวชนคลาสสกิ ปี 1952 ของอ.ี บ.ี ไวต์ เลา่ เรอ่ื งมติ รภาพ ระหว่างชาร์ล็อตต์ แมงมุมในโรงนา กับวิลเบอร์ หมูเลี้ยงน่ารัก น่าเอ็นดู จะว่าไปนี่คือหนังสือที่เด็กไทยทุกคนควรอ่าน ไม่เพียง เพราะเนื้อเรื่อง เนือ้ หา และกลวิธกี ารเขยี นที่ดีเลศิ แตเ่ พราะเป็น หนังสือที่มคี ลงั คา� ใหม่ๆ จ�านวนมากดว้ ย คลังค�าที่ได้จากการอ่านออกเสียงให้ลูกฟังมีมากกว่าคลังค�า ที่ได้จากการพูดคุยหรือเล่านิทาน ดังน้ันเราจึงควรอ่านออกเสียง ใหล้ กู ฟังนานที่สุดเทา่ ท่จี ะนานได้ ไม่เปน็ ความจริงที่วา่ เราควรเลิก อ่านออกเสยี งเม่ือพบวา่ ลูกอ่านหนงั สือเองเป็นแลว้ ใจความส�าคัญของครึ่งหลังของบทท่ี 2 น้ีมีอยู่สองเรื่อง ใหญ่ๆ ทน่ี ่าจะเป็นประโยชนต์ ่อคนจ�านวนมาก นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 33



เร่อื งท่ีหนง่ึ คือ การอ่านออกเสียงใหเ้ ดก็ พเิ ศษ หนังสือได้ยกตัวอย่างเจนนิเฟอร์ ซึ่งเธอคลอดก่อน ก�าหนดและเป็นดาวน์ซินโดรม เธอรับการผ่าตัดแก้ไขหัวใจพิการ แต่ก�าเนิดและต้องอยู่ในห้องไอซียู แล้วอยู่โรงพยาบาลต่ออีก เจ็ดสัปดาห์ คุณหมอบอกกล่าวว่าเธออาจจะตาบอด หูหนวก และปญั ญาออ่ น นี่คือเรื่องที่คุณแม่ของเจนนิเฟอร์ท�า คุณแม่อ่านนิทาน คนื ละ 10 เลม่ ทกุ วนั ตง้ั แตแ่ รก ชว่ งทเ่ี จนนเิ ฟอรอ์ ยใู่ นไอซยี ู คณุ แม่ จะเปดิ เสยี งนทิ านทง้ิ เอาไว้ และทา� เชน่ นเ้ี สมอมาจนกระทงั่ เจนนเิ ฟอร์ เรียนชนั้ ประถมหน่งึ เจนนเิ ฟอรอ์ า่ นเกง่ ทส่ี ดุ ในหอ้ งและมคี ลงั คา� ศพั ทม์ ากมาย สอบอา่ นไดค้ ะแนนเตม็ ทกุ ครง้ั เธอเปน็ นกั เรยี นดเี ดน่ เปน็ นกั ไวโอลนิ เรียนจบประกาศนียบัตรหลังประถมปลายส�าหรับผู้มีปัญหา การเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยเวสลีย์ ทุกวันน้ีเธอมีคอนโดมิเนียม ของตนเอง และมพี จนานกุ รมสองเล่มวางอยูบ่ นโต๊ะตลอดเวลา ผมได้รับค�าถามจากคุณพ่อคุณแม่ของเด็กพิเศษเสมอๆ ว่าจะท�าอย่างไรกับชีวิตดี การไปพบนักพัฒนาการหรือนักแก้ไข การพดู ทกุ 1-2 เดอื นเปน็ เรอื่ งทกี่ ระทา� อยแู่ ลว้ แตเ่ หน็ ความกา้ วหนา้ ไม่มากนกั ค�าตอบท่ีผมให้เสมอคือ ควรไปพบนักพัฒนาการหรือ นกั ฝกึ พูดตามนัดเสมอ อย่าหมดหวังหรือหมดก�าลังใจ ใหต้ ง้ั ใจฝึก หรอื กระตนุ้ ลกู ตามคา� แนะนา� ของนกั พฒั นาการหรอื นกั ฝกึ พดู ตลอด นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 35

ชว่ งเวลาทอ่ี ยบู่ า้ นเพอ่ื รอนดั ครง้ั ตอ่ ไป เราตอ้ งทา� เอง มใิ ชย่ กหนา้ ท่ี ใหน้ กั พฒั นาการหรอื นกั ฝกึ พดู ทา� เพยี งเดอื นละหนงึ่ ชว่ั โมง หากเรา ลงมอื ท�าเองทกุ วนั เดก็ จะกา้ วหน้าไปเรือ่ ยๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ผมเสริมเสมอว่าให้อ่านนิทานก่อนนอน ทกุ คนื อยา่ หยดุ อา่ น ที่ผมไมไ่ ด้พูดคืออา่ นอย่างนอ้ ย 10 เลม่ แบบ คุณแม่ของเจนนิเฟอร์ ที่ผมพูดเสมออีกเร่ืองคืออ่านเล่มไหนก็ได้ ท่ีลกู ฟัง และคนอา่ นสนกุ กับการอ่าน หนงั สอื เลม่ น้ไี ด้ใหค้ า� แนะนา� เร่ืองการเลือกหนงั สอื นิทาน ส�าหรับเด็กพิเศษในตอนเรม่ิ ตน้ ไวด้ ังนี้ 1. ใส่ใจหน้าปก ขนาดหนังสือ ขนาดรูปภาพ และตวั อักษร 2. เลอื กท่ีมคี า� ซ�้าหรือค�าคลอ้ งจอง 3. เลือกเรอ่ื งสน้ั ๆ ข้อความไมเ่ ยอะ 4. เลอื กเรอื่ งทม่ี รี ูปภาพง่ายๆ ไม่รกตา 5. เลือกเรอื่ งท่มี กี ารต้ังค�าถาม ทง้ั นโี้ ดยยกตวั อยา่ งหนงั สอื หลายเลม่ เลม่ ทแ่ี ปลไทยแลว้ คอื หนอนจอมหวิ (The Very Hungry Caterpillar) ของเอริก คาร์ล อย่าลืมว่าเด็กพิเศษหรือเด็กสมาธิส้ันไม่อยู่นิ่งในวันแรกๆ ขอให้ อดทนที่จะอ่านต่อไป เด็กจะนิ่งหรือมีสมาธิเพิ่มขึ้นได้เม่ือมีระบบ ความจ�าใชง้ านที่แขง็ แรงขน้ึ ทง้ั หมดนใ้ี ช้เวลาหลายเดอื น เมื่อหมดกา� ลงั ใจให้ดเู จนนเิ ฟอรเ์ ปน็ ตัวอยา่ ง 36 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

ภาพ 2.3 หนงั สือ The Very Hungry Caterpillar เรื่องที่สองคือ เรื่องการอ่านออกเสียงให้วัยทีนหรือ วยั รุ่น ค�าแนะน�าคอื เราอา่ นออกเสียงให้ลกู ฟงั ได้จนกระทัง่ เขา อายุประมาณ 11-12 ปี โดยยืนยันแล้วว่าท่ีจริงเด็กช่วยวัยน้ียัง อยากฟัง หนงั สอื ยกตวั อยา่ งกรณขี องครสิ เตนโบรซนิ าทพ่ี อ่ ของเธอ จิม โบรซินา อ่านหนังสอื ให้เธอฟังรวม 3,218 คนื โดยไม่มีใบงาน หรือการทดสอบค�าศัพท์ ย�้าอีกครั้งหน่ึง อ่านนิทานให้ลูกฟังด้วย ความสนกุ สนาน ไมต่ ้องมใี บงานหรือทดสอบค�า “เธอมอี ะไรตอบแทนความพยายามของพอ่ บา้ ง นอกเหนอื จากความรัก ความผกู พัน และประสบการณ์รว่ มกนั ” นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 37

ค�าตอบคือเกรดเอเกือบทุกวิชาตลอดสี่ปีในวิทยาลัย ชนะเลิศงานเขียนระดับประเทศสองครั้ง และเขียนหนังสือเล่า ประสบการณ์ที่เธอมีร่วมกับพ่อหนึ่งเล่มโดยใช้นามปากกาว่า อลซิ ออซมา ชอ่ื หนงั สอื วา่ สญั ญาทจ่ี ะอา่ น: พอ่ ของฉนั และหนงั สอื ทเ่ี ราอา่ นดว้ ยกัน (The Reading Promise: My Father and the Books We Shared) ภาพ 2.4 หนังสอื The Reading Promise: My Father and the Books We Shared การชักชวนวัยรุ่นให้มาอ่านหนังสือด้วยกันมิใช่เร่ืองง่าย หากมิได้มีการเตรียมตัวมาก่อนจนกระท่ังคุ้นเคย ค�าแนะน�าท่ี หนังสอื นี้มีให้ คือ 3B 38 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

ในประดาวัฒนธรรมค�าย่อที่แสนน่าเบื่อ ผมพบว่าค�าย่อ 3B นี้เข้าท่ามาก · Books ให้หนังสือแก่เด็ก ให้เด็กได้เขียนช่ือตัวเองและ เป็นเจ้าของหนังสือ มใิ ชท่ ุกเลม่ ตอ้ งขอยมื จากหอ้ งสมุด · Baskets ท�าตะกร้าหนังสือไว้ในที่ท่ีเด็กจะได้หยิบและ หยิบง่าย วางหนังสือไว้ทั่วบ้านดีกว่าเก็บหนังสือไว้ กระจุกเดียว · Bed Lamp ซ้ือโคมไฟหวั เตยี งอ่านหนังสือให้แกล่ กู ขอ้ น้ี อ่านแล้วออกจะโหดเล็กน้อย ถ้าเด็กอ่านหนังสือเราจะ เปิดไฟใหอ้ า่ น แล้วขยายเวลาเข้านอนไปได้อีก 15 นาที ถ้าเด็กไม่อ่านหนังสือ เราจะปิดไฟนอนตามเวลาเดิม หากเป็นไปได้ควรท�าจนเป็นนิสัยต้ังแต่เล็ก เพื่อปลูกฝัง นสิ ัยรักการอา่ นกอ่ นเข้านอน มีอีกค�าแนะน�าหน่ึงข้อท่ีเข้าท่า อ่านออกเสียงในรถให้ ลูกฟังเมื่อขับรถส่วนตัวเดินทางไกล ถ้าพ่อหรือแม่ขับรถเอง และอีกคนมิไดไ้ ปดว้ ย ใหเ้ ปิดเทปนทิ าน นวนยิ าย หรือวรรณกรรม ไประหวา่ งทาง ท้ังหมดนี้ภายใต้ข้อเท็จจริงที่พูดถึงแล้ว นั่นคือค�าศัพท์ เพ่อื การฟงั มากอ่ นคา� ศัพท์เพือ่ การอา่ น นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 39

3 หนังสือส�าหรับปฐมวัย ประถม และมัธยม



“เรายังไม่ได้ข้อสรุปว่าช่วงเวลาสามขวบปีแรกของชีวิตน้ัน แท้จริงแล้วมีความส�าคัญแค่ไหน ประตูแห่งโอกาสน้ันปิดตายลง หลังจากสามขวบจริงๆ หรอื วา่ ยังจะมโี อกาสครัง้ ทสี่ อง สาม และสี่ ต่อไปอกี ” บทที่ 3 เริ่มต้นย่อหน้าแรกด้วยข้อความนี้ ตามด้วย เอกสารอ้างอิงทั้งที่เป็นเอกสารหรือคลิปเสียงให้ท่านผู้สนใจ ได้ศึกษารายละเอียดของวิวาทะนี้ ทบี่ า้ นเรามวี วิ าทะเรอ่ื งนไ้ี มม่ าก ปญั หาไปอยทู่ เ่ี ราตคี วาม ข้อน้ีอย่างไรมากกว่า ค�าพูดท่ีว่า สมองเด็กเรียนรู้ได้มากท่ีสุดใน 1,000 วันแรก ถูกนา� ไปใชค้ นละวตั ถุประสงค์ กลมุ่ หนึ่งใช้เพื่อเร่ง การเรียนรู้บางประการ ในขณะที่อีกกลุ่มหน่ึงใช้เพื่อเตรียม ความพรอ้ ม “การศึกษาปฐมวัยไม่ควรเป็นแค่การศึกษา แต่ควรเป็น การเลน่ สนกุ การสา� รวจค้นควา้ และการหล่อเลี้ยงพัฒนาการทาง อารมณ์ พูดส้ันๆ คือทุกส่ิงทุกอย่างในตัวเด็ก” เป็นข้อสรุปของ ดร.แจ็ก ชองกอฟฟ์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้าน พฒั นาการสมองของเด็ก 42 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

“งานวิจัยยืนยันว่าการเก็บสะสมรูปแบบของเสียงและ ค�าศัพท์ระยะยาวท่ีสามารถวัดได้นั้นเร่ิมต้นตั้งแต่อายุแปดเดือน เด็กที่ได้ยินภาษามากที่สุดจะมีโอกาสมากท่ีสุดท่ีจะมีทักษะ ทางภาษาทดี่ ”ี และ “เปน็ หนทางสกู่ ารเรยี นรแู้ ละประสบความสา� เรจ็ ในโรงเรยี น” แล้วย�้าว่า “ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความตั้งใจที่จะสร้างทารก อัจฉริยะ” แต่เป็น “การสร้างสายสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างพ่อแม่ กับลูก และการสร้างสะพานเช่ือมแสนสุขระหว่างเด็กกับหนังสือ ให้พวกเขาพร้อมข้ามไปเม่ือไรก็ได้ที่มีพัฒนาการพร้อมจะอ่าน หนงั สอื เอง” หนังสืออะไรเหมาะกับทารกท่ีสุด ค�าถามนี้เป็นค�าถาม ท่ีผมได้รับเป็นส่วนตัวเสมอว่า หนังสืออะไรเหมาะกับอายุเท่าไร เปน็ ทส่ี งั เกตไดว้ า่ ผมไมต่ อบคา� ถามนลี้ งในรายละเอยี ด ดว้ ยเหตผุ ล ท่ีจ�าเพาะต่อสถานการณ์การอ่านและสังคมวัฒนธรรมของบ้านเรา ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นคนช้ันกลางระดับล่างหรือหาเช้ากินค�่า ดังจะ อธิบายต่อไป แต่ส�าหรับหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายไว้อย่างยืดยาวและ ลงรายละเอียดตามสมควร เหมาะแก่บุคคลที่สนใจรายละเอียด ได้อ่านด้วยตนเอง กล่าวอย่างสั้นคือหนังสือส�าหรับทารกควรเป็น หนงั สือทม่ี ีรปู ภาพขนาดใหญ่ เหน็ ชัด สสี ันสดใส และมีตวั หนงั สือ ไม่มากนัก ดีกว่านี้คือมีตัวหนังสือคล้องจองหรือมีค�าอ่านซ�้าๆ หลายๆ ครงั้ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 43

ส่วนรูปลักษณ์ของหนังสือที่อาจจะต้องใช้คือบอร์ดบุ๊ก หนังสือกันน้�า และหนังสือผ้า เหล่านี้เพื่อป้องกันการฉีกกัดและ ดูดอมของเด็กเล็ก หนังสือของจิมเล่มนี้ได้ยกตัวอย่างหนังสือส�าหรับทารก และเด็กเล็กขวบหรือสองขวบปีแรกไว้มากมาย แต่ไม่เป็นที่รู้จัก ในบ้านเรา หากจะยกตัวอย่างเป็นหนังสือไทยและยังร่วมสมัย ผมขออนุญาตยกตวั อย่างงานของเกรกิ ยุ้นพนั ธ์ หนังสือของท่าน เป็นภาพวาดสองมิติ ตัดเส้นคมชัดหรือมีขอบเขตของรูปชัดเจน ใช้ค�าส้ันน้อย และบางเล่มใช้ค�าซ้�าหรือค�าคล้องจอง มีหนังสือ ลักษณะน้ีอีกในตลาดหนังสือนิทานประกอบภาพส�าหรับเด็กฝีมือ นักเขยี นไทยท่านอืน่ ๆ ลกู สองคนของผมเติบโตมากบั หนงั สอื ของ อาจารย์เกรกิ มากกว่าท่านอนื่ ๆ น่นั คือเหตกุ ารณ์เมอ่ื 30 ปกี ่อน ภาพ 3.1 ตัวอย่างผลงานโดยเกรกิ ยุน้ พันธ์ 44 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

กลบั มาทเ่ี พราะอะไรผมมกั ไมต่ อบคา� ถามว่าหนังสืออะไร เหมาะกับเด็กอายุเท่าไร ที่ผมตอบมักจะมีเพียงว่า อ่านอะไรก็ได้ ที่ควา้ ได้ หรืออ่านอะไรก็ไดท้ ่คี นอา่ นสนกุ เหตุผลคือล�าพังการเร่ิมต้นอ่านนิทานให้ลูกฟังก็เป็น เรื่องยากแล้วส�าหรับพ่อแม่บ้านเราที่ส่วนใหญ่ท�างานนอกบ้าน ชนช้ันกลางกว่าจะเลิกงานฝ่าจราจรถึงบ้านก็มืดค่�า ชนช้ันล่าง ปากกัดตีนถีบหาเงินเล้ียงตัวแทบไม่รอด ไม่ต้องพูดถึงการซื้อ หนงั สอื นิทานเขา้ บา้ น ส่วนบอร์ดบกุ๊ หนังสือกันน้�า และหนงั สอื ผ้า ย่ิงไม่ตอ้ งฝนั เลย ดังนั้นที่ผมพยายามท�าเสมอมาคือ สตาร์ทให้ได้ก่อน เร่ืองอ่ืนวา่ กนั ทีหลงั แลว้ เราจะพบปรากฏการณท์ น่ี า่ มหศั จรรย์ เพราะเรามไิ ด้ ต้องการสร้างทารกอัจฉริยะ เราแค่จะสร้างสายสัมพันธ์พ่อแม่ลูก และสะพานเชอื่ มเดก็ กบั หนงั สอื แนน่ อนวา่ หนงั สอื บางเลม่ ไมเ่ หมาะ กับเด็กบางวัย แต่กฎเหล่าน้ีก็ไม่แน่นัก หนังสือบางเล่มหากเรา ไมอ่ า่ นวันน้ี จะพบภายหลงั ว่าน่าเสยี ดายเวลาท่เี สยี ไปมาก เพราะ ลกู ของเราชอบมนั มากแมว้ า่ หนงั สอื จะเกนิ อายุ หนังสือบางเล่มอาจจะไม่เหมาะกับเด็กบางคนไม่ว่าอายุ เท่าไรก็ตาม ดังน้ันถ้าเราพบเหตุการณ์ท่ีว่าหนังสือบางเล่มไม่ เหมาะกบั ลกู ของเรา เราเพยี งเกบ็ ขน้ึ ชนั้ ปหี นา้ วา่ กนั ใหมเ่ ทา่ นนั้ เอง บ้านเรามีความอ่อนไหวกับประเด็นทางศีลธรรมและ จริยธรรมมากเป็นพิเศษ ท�าให้หนังสือบางเล่มไม่เหมาะกับพ่อแม่ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 45

บางท่าน ดังที่มีค�าถามเสมอว่าแจ็กผู้ฆ่ายักษ์เป็นตัวอย่างไม่ดี ดว้ ยประการท้งั ปวงต้งั แตต่ ้นจนจบ เปน็ ตน้ เมอ่ื เด็กพ้นวัยทารก เขายอ่ มไมน่ อนน่ิงๆ ฟงั พอ่ แมอ่ า่ น นิทานอีกแล้ว เพราะเขาพัฒนากล้ามเนื้อมือและน้ิวมือได้แข็งแรง มากพอจะแยง่ หนงั สอื ในมอื แมม่ าขยา� และฉกี เขาสามารถพลกิ หนา้ ต่อไปได้โดยที่พ่อแม่ยังอ่านไม่จบหน้า และกล้ามเนื้อขาของเขา ทรงพลังมากพอท่ีจะเดินไปจากเราในขณะที่เราอ่าน นอกจากน้ี เขายงั มสี มอง สตปิ ญั ญา และปากทจ่ี ะถามขดั จงั หวะการอา่ นเสมอ เรอื่ งเหลา่ นสี้ รา้ งความเหนอื่ ยหนา่ ย ทอ้ แท้ หรอื หงดุ หงดิ แกพ่ อ่ แม่ ต่างๆ กนั ค�าตอบที่ผมตอบเสมอคือ “อ่านต่อไป” และตามด้วย “แลว้ อะไรๆ จะดเี อง” ซงึ่ รับรองวา่ จริง แต่ถ้าท่านต้องการอ่านวิธีแก้ไขละเอียดมากกว่าท่ีผม เขียนสักเลก็ น้อย กล็ องหาอา่ นจากหนงั สอื ของจิมเลม่ น้ีได้ แตเ่ ชื่อ เถอะวา่ “อา่ นตอ่ ไป แลว้ อะไรๆ จะดีเอง” ง่ายกว่าเยอะ ทผี่ มแนะนา� ทา� ไดง้ า่ ยๆ คอื เตรยี มหนงั สอื สา� รองไวข้ า้ งตวั แย่งได้แย่งไป ฉีกได้ฉีกไป เราก็อ่านเล่มใหม่ไปเร่ือยๆ ส่วนเร่ือง เดนิ ไปรอบหอ้ งนอนนน้ั ใหท้ า� หอ้ งนอนใหไ้ มก่ วา้ งนกั และเอาสง่ิ เรา้ คือตุ๊กตา หนังสืออ่ืนๆ แจกันดอกไม้ และทุกสิ่งทุกอย่างออกไป เสียบา้ ง เขาเดินจนเบอ่ื กจ็ ะวนกลบั มาหาเราเอง อยา่ งไรกต็ าม จมิ ไดย้ กตวั อยา่ งบทสนทนาทแ่ี มท่ า่ นหนง่ึ คุยกับลูกสลับกับอ่านให้ฟังได้อย่างล่ืนไหลและน่าฟัง จะเลือกใช้ 46 มหัศจรรย์แห่งการอ่านออกเสียง

วิธีน้ีก็ได้ แต่ก็เป็นทักษะที่พ่อแม่ต้องฝึกฝน อ่านบ้าง คุยบ้าง ถามบา้ ง หยดุ เพื่อตอบค�าถามบ้าง แลว้ ชวนอา่ นตอ่ อยา่ งนางเอก แต่มใิ ช่แม่ทกุ คนจะเปน็ นางเอกได้ เม่อื อายุ 2-3 ขวบ เด็กเร่มิ เตาะแตะไปจากเราดว้ ยจงั หวะก้าว ที่มั่นคงข้ึนและไปไกลมากข้ึน คือวันเวลาท่ีเด็กจะสนใจทุกสิ่ง ทุกอยา่ งทพี่ บเหน็ แมก้ ระทัง่ รู โดยเฉพาะอย่างยิง่ รู เพราะอะไรเดก็ ๆ จงึ มกั สนใจรู คา� ตอบงา่ ยมาก เขาอยากรู้ วา่ ในรมู อี ะไรอกี นนั่ คอื เหตผุ ลทอี่ ลซิ ผา่ นรกู ระตา่ ยไปสอู่ กี โลกหนงึ่ [จากหนังสือ อลิซในแดนมหัศจรรย์ (Alice’s Adventures in Wonderland)] ภาพ 3.2 หน้าปก Alice’s Adventures in Wonderland นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 47



จิมเรียกช่วงเวลานี้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการแปะป้าย เด็กจะสนใจและสนุกกับการแปะป้ายชื่อส่ิงของต่างๆ การอ่าน หนังสือประเภทรวบรวมวัตถุส่ิงของเป็นหมวดหมู่แล้วบอกช่ือ จงึ มใิ ชข่ อ้ หา้ ม ในทางตรงขา้ ม เดก็ ๆ มกั ใหค้ วามสนใจมาก มหี นงั สอื ประเภทน้มี ากมายในท้องตลาดบ้านเรา หนังสือท่ีมีแต่รูปโดยไม่มีตัวหนังสือเลยก็น่าสนใจและ มิใช่ข้อห้ามเช่นกัน หนังสือประเภทนี้คุณพ่อคุณแม่จะอ่านแบบ ชใี้ หด้ สู ว่ นประกอบตา่ งๆ กท็ า� ไดไ้ มย่ าก ในกรณที ที่ า่ นขยนั เลา่ เรอ่ื ง ก็สะดวกท่ีท่านจะเล่าเอาเอง ตัวอย่างหนังสือลักษณะนี้ในตลาด บา้ นเรามีไมม่ ากนัก อีกค�าถามหนึ่งท่ีผมได้รับเสมอคือ “ลูกชอบอ่านเล่มเดิม ซา้� ๆ ท�าอย่างไรดีคะ” คา� ตอบท่ีใหเ้ สมอคอื อา่ นตอ่ ไป จมิ ให้ข้อมูลงานวิจยั ตงั้ แต่ปี 2011 ว่า เด็กชอบฟังค�าซ�า้ และหนงั สือซ�้า พวกเขาจะเรียนรคู้ �าศพั ทซ์ า้� ๆ จากหนังสือเลม่ เดิม ได้ดกี วา่ ฟังคา� ศพั ทค์ า� เดมิ จากหนังสอื ต่างเลม่ เราเรียกกระบวนการเรียนรู้ค�าศัพท์ของเด็กวัยน้ีว่า immersion คือที่ผมมักอธิบายเสมอว่า สมองของเด็กสร้างจุด เช่ือมต่อประสาทจ�านวนมากมายทุกคืน เส้นประสาทท่ียืดยาว ออกนบั รอ้ ยเสน้ ตอ่ เซลลส์ มองหนงึ่ เซลล์ ไขวแ้ ละประสานกนั เปน็ จดุ เช่ือมตอ่ ประสาทเหล่าน้ีด้วยความเร็วสงู หนังสือบางเลม่ ใหต้ วั เลข ประมาณ 40,000 จุดต่อวินาที คา� ศพั ท์ค�าเดิมได้ immerse ทกุ คนื และคมชัดมากขน้ึ เรอื่ ยๆ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 49


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook