Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ตัวอย่างAesthetic EBook

ตัวอย่างAesthetic EBook

Published by Nuengruethai C., 2021-08-26 08:21:03

Description: สุนทรียศาสตร์ หรือ AESTHETICS เป็น “ศาสตร์” ที่ดำรงอยู่ทั้งใน โลกศิลปกรรมศาสตร์ และ โลกปรัชญา ในบริบทของ ‘ปรัชญา’ สุนทรียศาสตร์ จัดอยู่ใน ปรัชญาสาขาคุณค่า หรือ คุณวิทยา หรือ Axiology นักปรัชญาเรียกวิชาสุนทรียศาสตร์ว่า “ปรัชญาสุนทรียศาสตร์” หรือ Aesthetics Philosophy
หนังสือ สุนทรียศาสตร์ AESTHETICS ของ ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ เล่มนี้ ได้นำเสนอความรู้ตั้งแต่ระดับฐานราก “ประวัติศาสตร์ของสุนทรียศาสตร์” และเสนอ ‘ทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์’ ที่สัมพันธ์กับผลงานศิลปะพัฒนาการทางศิลปะในสังคมมนุษย์อย่างครอบคลุม

Search

Read the Text Version

สAนุ EทSTรียHศEาTสICตSร พมิ พคิ์ รั้งที่ 3 ศาสตราจารย ดร.ศุภชยั สงิ หยะบศุ ย

สนุ ทรียศาสตร์ AESTHETICS พิมพ์คร้ังท่ี 3 [ปรับปรุงเนื้อหาใหม่] ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชยั สิงห์ยะบุศย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวฒั นธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหาสารคาม

ข สนุ ทรยี ศาสตร์ AESTHETICS ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชยั สงิ หย์ ะบศุ ย์ ขอ้ มูลบรรณานุกรม ศุภชยั สิงห์ยะบุศย.์ สนุ ทรยี ศาสตร์ AESTHETICS. มหาสารคาม : ตกั สลิ าการพิมพ์, 2559. จำนวน 447 หน้า พิมพ์คร้ังท่ี 2 : 15 ธนั วาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 200 เล่ม พิมพค์ รง้ั ที่ 3 : 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เผยแพร่ระบบ E-Book สถานท่ีพมิ พ์ ตกั สลิ าการพิมพ์ 205/4 ถนนศรีสวสั ดิด์ ำเนนิ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000 ปก และ ออกแบบกราฟิก : อนุรกั ษ์ โคตรชมภู และ อภเิ ชษฐ์ ตีคลี

ค “สนุ ทรียศาสตร์มใิ ชศ่ าสตรท์ ่ีทำหน้าท่เี พียงคน้ หาธรรมชาติ และความหมายของความงามเทา่ นน้ั แต่ยงั เปน็ ศาสตร์ทมี่ ีบทบาทสำคญั ในการประเมนิ และอธิบายคณุ ค่า ของผลงานศลิ ปะท่แี ตกต่าง หลากหลาย และสลับซับซ้อน ไปตามลักษณะของสังคมวัฒนธรรมของมนษุ ย์ท้งั ในอดตี และปจั จบุ นั ” ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชัย สงิ ห์ยะบุศย์

ง คณุ ค่าของตำราวชิ าสนุ ทรยี ศาสตร์ AESTHETICS เรือ่ งน้ี ผู้เขยี นขออุทิศบูชา คุณพ่อประจัญ และคุณแมส่ ุกใส สงิ หย์ ะบศุ ย์ คณุ ตาถาวร และคุณยายทองคณู บญุ ภูงา ผู้ให้ชีวิตและเล้ยี งดูผู้เขยี น

จ คำนำ (การพมิ พ์ครง้ั ท่ี 11 พ.ศ.2543) “สุนทรยี ศาสตร์” เป็นหนึ่งในแกนหลกั สศ่ี าสตร์ของ “ศลิ ปกรรมศาสตร์” ซงึ่ ประกอบด้วย ศลิ ปะปฏบิ ตั ิ ประวัติศาสตรศ์ ิลป์ ศิลปวจิ ารณ์ และสนุ ทรยี ศาสตร์ ศาสตร์ท้ังสีส่ าขาขา้ งตน้ เปน็ โครงสร้างสำคัญ ทำหน้าทีเ่ ป็นเสมอื นเสาหลกั หนุนส่งให้ การศึกษาทัศนศลิ ป์และวงการศิลปกรรมศาสตร์ทกุ ระดบั ดำรงอยู่และพัฒนาอย่างมดี ุลยภาพ ดังจะ เห็นไดจ้ ากอารยประเทศทง้ั หลาย ตา่ งใหค้ วามสำคัญกบั ดลุ ยภาพศิลปกรรมท้งั สี่แกนหลักข้างต้น โดยส่งเสรมิ ให้บุคคลทีเ่ กี่ยวข้อง ในทนี่ ้ีคือ ศลิ ปิน นักประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ นักวจิ ารณ์ศิลปะ และ นักสุนทรียศาสตร์ทำงานประสานกนั อย่างเข้มแข็ง ในทส่ี ดุ วงการศิลปะของอารยประเทศดังกลา่ วก็ เจรญิ ไพบูลย์ สง่ ผลตอ่ ผู้คนและสังคมมีความรู้ ความเข้าใจ ความซาบซึ้ง และตระหนกั ในคณุ ค่าของ ศิลปกรรมท่ีมตี อ่ ชวี ิตและสงั คมวัฒนธรรม กลา่ วสำหรับพัฒนาการทางศิลปะของประเทศไทย โดยเฉพาะศิลปะร่วมสมัยนับวา่ มีความ เจริญกา้ วหนา้ ไม่แพ้นานาอารยะประเทศ แตย่ งั มชี อ่ งวา่ งระหวา่ งสาธารณชนกบั การชื่นชม ศลิ ปกรรมรว่ มสมัย ดังจะเห็นได้จากสังคมในระดบั สถาบันการศึกษาตา่ ง ๆ ท่ีมหี น่วยงานด้าน ศิลปกรรมศาสตร์อยดู่ ว้ ย มักจะมีเสียงสะทอ้ นด้านวิกฤติความไมเ่ ข้าใจและเหน็ ถงึ คุณค่าศิลปะ จาก ฝา่ ยผูบ้ รหิ ารสถาบันและบุคลากรตา่ งสาขา และมักจะนำมาซึง่ ความน้อยเนื้อตำ่ ใจของบุคลากร สาขาศลิ ปะ รวมทั้งนิสติ นกั ศึกษาทำนองว่า “คนอ่ืน” ไม่เข้าใจศลิ ปะและผคู้ นในวงการศิลปะ จึงขาด การส่งเสริมเหมือนกบั ศาสตร์อ่นื ๆ ขณะเดยี วกนั ฝ่ายบริหารและบุคลากรสาขาอน่ื สว่ นหนง่ึ ก็ มกั จะมองวา่ ผลงานศิลปะ โดยเฉพาะศลิ ปะรว่ มสมัยเปน็ สงิ่ ที่ถกู สรา้ งขนึ้ เพื่อสนองตอบต่ออัตตาของ ศลิ ปนิ หรอื มีไว้ชืน่ ชมเฉพาะผ้คู นในวงการศิลปะดว้ ยกนั เองเทา่ นัน้ เอง มไิ ด้มีส่วนเก่ียวข้องกับวิถี ชีวิต วถิ ีสังคม และวถิ ีวัฒนธรรมท้ังในระดับท้องถ่ินหรือระดับประเทศชาตแิ ต่อยา่ งไร ในทัศนะของผู้เขยี น ซงึ่ เปน็ อาจารย์ผสู้ อนกลมุ่ วิชาทฤษฎที ัศนศิลป์มาโดยตลอด เหน็ ว่า ตน้ เหตขุ องปญั หาสว่ นหนึ่งอยู่ท่กี ารจัดการเรียนการสอนศลิ ปะในระดับอุดมศึกษา ท่ีอาจให้ 1 การพมิ พค์ รง้ั ที่ 1 ปี พ.ศ. 2543 ใชช้ ื่อ “สุนทรียศาสตร์ในทศั นศิลป์” (Aesthetics in Visual Art) เนือ่ งจาก ในชว่ งปกี ารศกึ ษาดังกล่าว ผู้เขียนสอนวชิ าสุนทรยี ศาสตร์ใหก้ บั นสิ ติ ทงั้ สาขาทศั นศิลป์ ดรุ ิยางคศิลป์ และ ศลิ ปะการแสดง จึงใชช้ ื่อตำราเพ่อื จำแนกกลุ่มผู้เรยี นว่า “สุนทรียศาสตร์ในทศั นศลิ ป์”

ฉ การศึกษาศิลปกรรมศาสตร์ทั้งสก่ี ลุ่มอย่างขาดดลุ ยภาพ น้ำหนักการจดั การเรียนการสอนมักจะ มุง่ เนน้ ด้านศิลปะปฏบิ ัติ และมไิ ด้เสริมสร้างองค์ความรู้กลุ่มวิชาทฤษฎีศลิ ปะอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะกรณีวชิ าสุนทรียศาสตร์ ซง่ึ เป็นศาสตรท์ ท่ี ำความเข้าใจ และวิเคราะห์คุณค่าของผลงาน ศิลปะทแ่ี ตกตา่ งและหลากหลาย ซ่งึ ในทสี่ ุดย่อมสง่ ผลดตี ่อการทำหนา้ ที่สรา้ งสรรคศ์ ิลปะของนิสติ ไปพร้อมกัน อกี ทง้ั ยังเป็นศาสตร์ท่ีจะช่วยใหน้ สิ ติ และบัณฑิตศลิ ปะ ทำหน้าทีส่ รา้ งความรู้ ความเขา้ ใจ ใหเ้ กดิ ขน้ึ กบั สาธารณชน เพื่อเป็นการลดช่องวา่ งดา้ นความเข้าใจ ซง่ึ เป็นสาเหตสุ ำคญั ของการ ตระหนักถึงคุณค่าศลิ ปกรรม กลา่ วสำหรบั ตำรา สนุ ทรยี ศาสตร์ในทัศนศิลป์ เลม่ นี้ ผเู้ ขยี นค่อนข้างเน้นนำเสนอประเด็น หลกั มากกว่ารายละเอยี ด โดยกระบวนการเรยี นการสอนวิชาน้ี จะเริม่ จากการตงั้ ประเดน็ หลักแล้ว สอบสวนสาวลึกเขา้ ไปสู่การแตกประเดน็ ย่อย และปรากฏการณท์ างศิลปะท่ีหลากหลายภายใต้ ประเด็นดงั กลา่ ว ดว้ ยการอภิปรายและถกเถียงกันผา่ นกรณีตวั อย่างอยา่ งล่มุ ลึก จึงหวังว่า สนุ ทรยี ศาสตร์ในทัศนศลิ ป์ เลม่ น้ี จะมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจสุนทรยี ศาสตร์ หน่ึงในส่ีแกน หลกั ศลิ ปกรรม สำหรบั นสิ ติ นักศึกษาและสาธารณชนภายนอกวงการศลิ ปกรรม รวมทง้ั ศลิ ปนิ ผสู้ รา้ งสรรค์ผลงานศลิ ปะไปพรอ้ มกัน ผู้เขยี นขอขอบพระคุณศลิ ปนิ นักวิชาการศลิ ปะ นิสิตนักศึกษา และสาธารณชนทุกคนที่ใช้ ตำราเลม่ นี้ศกึ ษา และขอขอบพระคุณยง่ิ หากท่านจะกรุณาแสดงความคิดเห็นเพ่ิมเตมิ และ เสนอแนะแก่ผู้เขียนเพื่อพัฒนาสนุ ทรียศาสตร์ในทัศนศิลปใ์ หม้ ีความสมบูรณ์ย่ิงขน้ึ ในวาระถัดไป ศภุ ชยั สงิ ห์ยะบุศย์ 20 กันยายน พ.ศ. 2543

ช คำนำ (การพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2559 และครั้งท่ี 3 พ.ศ.2561) ตำราวชิ า สนุ ทรยี ศาสตร์ ชอื่ ภาษาอังกฤษ Aesthetics เลม่ น้ี ปรับปรุงและขยาย โครงสรา้ งเนือ้ หาจากตำราเรอื่ ง สุนทรยี ศาสตรใ์ นทศั นศิลป์ ท่ผี เู้ ขียนได้เขยี นเพือ่ ให้นสิ ติ สาขา ทศั นศิลป์ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม ใชป้ ระกอบการเรยี น วชิ า สนุ ทรียศาสตร์ ตง้ั แต่ปี พ.ศ. 2543 เปน็ ตน้ มา ซึ่งกรณี สุนทรยี ศาสตรใ์ นทัศนศลิ ป์ เป็นผล สบื เนื่องจากการท่ผี ู้เขียนรบั ผิดชอบการสอนรายวชิ า สุนทรีศาสตร์ มาต้ังแตป่ ี พ.ศ. 2539 จงึ ได้ รวบรวมเอกสารจากการศึกษาค้นคว้า ประกอบการจดั การเรยี นการสอนทีเ่ ปน็ ระบบ และไดเ้ รียบ เรียงเป็นรปู เลม่ พมิ พ์เผยแพร่ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2543 ในช่ือ สนุ ทรยี ศาสตร์ในทศั นศิลป์ ไดใ้ ช้ ประกอบการเรียนการสอน และเปน็ ฐานคดิ เชิงวิชาการสำคัญในการพัฒนาศิลปะนพิ นธ์ และการ เรียนการสอนวชิ า ศิลปวจิ ารณ์ หรอื Art Criticism ท้ังระดับปรญิ ญาตรีและปรญิ ญาโทสาขา ทศั นศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มาอยา่ งต่อเน่ือง และเปน็ ตำราท่ไี ดร้ ับความนิยมกระจายใน กล่มุ อาจารย์ผสู้ อนและนิสิต นักศกึ ษาที่เรยี นวิชาสนุ ทรียศาสตร์ และศลิ ปะวิจารณ์ ในมหาวทิ ยาลยั ตา่ ง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนอื อยา่ งกวา้ งขวาง ซึ่งผเู้ ขียนรบั ทราบได้จากการบอกกล่าวของ อาจารย์ตา่ งมหาวทิ ยาลยั ท่ีได้นำตำรา สุนทรียศาสตร์ในทัศนศิลป์ ไปใชส้ อนและขออนุญาตให้ นกั ศึกษาของตนถ่ายสำเนาเอกสารตำราเลม่ น้ีไว้ศึกษาสว่ นตน ทำให้ผเู้ ขียนต้งั ปณิธานที่จะขยาย เนือ้ หาและพมิ พเ์ ผยแพร่ตำราเร่อื งนเี้ ป็นวิทยานุสรณ์โดยไม่หวังประโยชนท์ างธรุ กิจตอบแทน สำหรบั ตำราวิชา สนุ ทรยี ศาสตร์ AESTHETICS เล่มนี้ ผเู้ ขยี นไดป้ รบั โครงสร้างเนื้อหาจาก “สุนทรียศาสตร์ในทัศนศิลป์” เปน็ 4 หนว่ ยความรู้ จำแนกเปน็ 9 บท โดยปรับปรงุ เพมิ่ เติมจากเล่ม แรก คอื หนว่ ยความรูเ้ ก่ียวกับ มนุษย์กบั ศิลปะและความงามของศิลปะ และ หนว่ ยความรู้ สนุ ทรียศาสตรใ์ นฐานะไฟสอ่ งทางการพจิ ารณาคณุ ค่าและนำเสนอทศั นศิลป์ เพื่อให้สอดคล้องกบั เนอื้ หารายวิชา สุนทรียศาสตร์ รหัสวชิ า 0605302 หลักสูตรศิลปศาสตรบณั ฑติ สาขาทัศนศิลป์ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหาสารคาม ฉบับปรับปรุงใหม่ ซง่ึ มีเน้ือหาวชิ ากวา้ งขวางขึน้ ประการสำคัญ หน่วยความรแู้ ละขอ้ มลู ท่ีเพ่มิ เติมเข้ามาใหม่ ในสว่ นของหนว่ ยความรู้ที่ 1 มนษุ ยก์ บั ศลิ ปะและความงามของศิลปะ เพื่อทำความเขา้ ใจเก่ียวกับศิลปะ เนน้ ทศั นศลิ ป์ ซึ่งเปน็ ตวั บท ศลิ ปกรรมในตำราเร่ืองน้ี และหนว่ ยความรู้ท่ี 4 สุนทรยี ศาสตรใ์ นฐานะไฟส่องทางการพิจารณา คณุ คา่ และนำเสนอทัศนศลิ ป์ เปน็ หนว่ ยความร้ทู ่ที ำหนา้ ที่นำเสนอหลักการและกรณีตัวอยา่ ง การใช้ ความรูจ้ ากหนว่ ยความรูท้ ่ี 1-2-3 เปน็ แนวทางการนำเสนอศลิ ปกรรม ซง่ึ เปน็ หน้าที่ของวิชา สนุ ทรยี ศาสตร์

ซ สำหรับการพิมพ์คร้ังที่ 2 และครั้งที่ 3 น้ี ผ้เู ขยี นมวี ตั ถุประสงค์ 2 ประการสำคัญ คือ 1) เพ่ือเป็นส่วนหน่งึ ในการนำร่อง โครงการเสริมสร้างศักยภาพทางวชิ าการศลิ ปกรรมศาสตร์ ของ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เพ่ือยกระดับความงอกงามทางวชิ าการดา้ น ศิลปกรรมศาสตร์ สาขาทศั นศลิ ป์ กรณีของรายวชิ าดา้ นคุณคา่ เชงิ สุนทรียะ ซ่ึงเม่ือผูเ้ ขยี นมี พัฒนาการทางวชิ าการท่ีกว้างขวางขึน้ พบวา่ วิชาสุนทรียศาสตร์ มปี ริมณฑลทางวชิ าการทีผ่ สาน กับความเป็นมนุษย์และสงั คมวัฒนธรรมของผู้คนในระดับตา่ ง ๆ ควบคู่กนั ไป หาใช่เป็นศาสตร์ที่ ตดั แยกจากสงั คมวฒั นธรรมของมนษุ ย์ จึงได้ปรบั โครงสรา้ งท่ีสมั พนั ธก์ ับมนุษย์และสังคมมนุษย์ใน สว่ นแรก และเพิ่มเตมิ โครงสร้างด้านการนำเอาศาสตรด์ า้ นสุนทรยี ะไปใชเ้ ป็นแนวทางในการ พเิ คราะหค์ ณุ คา่ ศิลปะในส่วนหลงั ดังกลา่ วข้างต้น โดยไดเ้ พมิ่ รายละเอียดของเน้ือหา การใชภ้ าษา วชิ าการที่ไมซ่ ับซอ้ น ไม่ใช้ศัพทป์ รัชญาจนเกนิ ไป ตรงกนั ข้าม ผู้เขยี นได้พยายาม ‘ยอ่ ย’ ความยาก ของภาษาทางปรัชญาให้ง่ายต่อความเข้าใจ การยกตวั อย่างภาพประกอบและอธบิ ายภาพเช่อื มโยง กบั เน้อื หาค่อนขา้ งละเอียดเป็นพเิ ศษ เพ่อื ให้ผู้เรียนเขา้ ใจประเดน็ และสาระสำคัญของเน้ือหา และ สามารถนำไปใชใ้ นการพฒั นาความคดิ เชิงปรัชญาสุนทรยี ศาสตร์ได้จริง ๆ โดยพยายามยกกรณี ตัวอยา่ งปรากฏการณ์ศิลปะในประเทศไทย ควบค่กู ับศลิ ปะสากลในสว่ นทีเ่ ปน็ กลุม่ ตน้ แบบ เพ่ือให้ ผูเ้ รียนซ่ึงเป็นนิสติ สาขาทัศนศิลป์ได้เรยี นรู้ศิลปะสำคัญของโลก และรูจ้ ักศิลปะและศิลปินรว่ มสมยั ใน ประเทศของตน โดยเฉพาะผลงานของศิลปนิ แห่งชาติและศลิ ปินคนสำคัญของไทยไปพร้อมกนั ประการสำคัญ เม่ือผ้เู ขียนได้ศกึ ษาค้นควา้ ท้ังด้านสุนทรยี ศาสตร์ และประวตั ิศาสตร์ศลิ ปะ อยา่ งถี่ถว้ น พบว่า สนุ ทรียศาสตรม์ ใิ ชศ่ าสตรท์ ี่ทำหนา้ ท่ีเพียงคน้ หาธรรมชาตแิ ละความหมายของ ความงาม หรอื ความรสู้ ึกเพลิดเพลนิ ยินดี เทา่ นั้น แตย่ งั มีศิลปะบางกลมุ่ ทมี่ ิได้มเี ปา้ หมายเพื่อ สร้างความรูส้ กึ เพลดิ เพลินยินดี แตม่ ่งุ เป้าหมายไปที่การ สำแดงอารมณ์ความรู้สึก ที่มีทง้ั หดหู่ เศรา้ หมอง เสยี ดสี ช้ีปัญหา วพิ ากษว์ จิ ารณส์ งั คม และต่อต้านอำนาจรัฐ รวมทั้งศิลปกรรมกลุ่มท่ี ‘เล่นกบั ความคิด’ ทกี่ ่อตวั และพฒั นาสืบเน่ืองจากการนำเสนองานของศลิ ปินคนสำคญั ของกลมุ่ Dadaism และกลุ่ม New Realism ในสังคมวัฒนธรรมยโุ รป ต้งั แตก่ ลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เปน็ ตน้ มา ในงานศลิ ปะท่ีถูกเรียกว่า Conceptual Art อยา่ งเป็นรูปธรรม ซ่ึงในกรณีศิลปะกลุม่ สดุ ท้าย ผเู้ ขียนไดน้ ำเสนอหลกั ความคิด “ศิลปะคือการแสดงออกซ่ึงความคิดอันบรรเจิดและชวนพศิ วง” ท่ี พฒั นาข้ึนมาจากการทำหนา้ ที่ผู้สอนหลกั ในวิชาสนุ ทรียศาสตร์ ประวตั ศิ าสตร์ศิลปะตะวันตก และ วชิ าศลิ ปวิจารณ์ อย่างตอ่ เนื่องรว่ มสองทศวรรษ กล่าวสำหรบั สนุ ทรียศาสตร์ เล่มน้ี มโี ครงสร้าง 4 หนว่ ยความรู้ สว่ นเน้ือหา จำแนกเป็น 9 บท ดังน้ี

ฌ หน่วยความรู้ที่ 1 มนุษย์กับศิลปะและความงามของศลิ ปะ ประกอบดว้ ย 2 บท คือ บทท่ี 1 มนุษย์ในฐานะผู้สรา้ งสรรคแ์ ละชืน่ ชมคุณค่าของงานศลิ ปะ และบทที่ 2 สนุ ทรยี ศาสตร์ใน ผลงานทศั นศลิ ป์ หน่วยความรู้ท่ี 2 จดุ ยนื มมุ มอง และตำแหน่งคณุ คา่ ทางสนุ ทรียศาสตร์ ประกอบด้วย 2 บท คอื บทท่ี 3 ทัศนศิลปใ์ นฐานะวัตถสุ นุ ทรยี ะ บทที่ 4 จุดยืน มุมมองและการพจิ ารณาคณุ คา่ ทาง สนุ ทรียะ หน่วยความรู้ท่ี 3 ทฤษฎีทางศิลปะ ความเช่อื ความหมาย และคุณค่าศิลปะ ประกอบ ดว้ ย 4 บท คอื บทท่ี 5 ศิลปะคือการเลียนแบบ บทที่ 6 ศิลปะคือรูปทรง บทท่ี 7 ศลิ ปะคือการ แสดงออกซ่งึ อารมณแ์ ละความรูส้ กึ และบทที่ 8 ศิลปะคือการแสดงความคิดอนั บรรเจดิ และชวน พิศวง หนว่ ยความรทู้ ี่ 4 สุนทรยี ศาสตรใ์ นฐานะไฟสอ่ งทางการพจิ ารณาคณุ คา่ ทศั นศลิ ป์ หน่วยความรูน้ ้ี มีเพยี งบทเดียว คือ บทท่ี 9 การวเิ คราะห์ ประเมินคุณค่า และกรณศี กึ ษาการ นำเสนอทัศนศิลป์ จากการทตี่ ำราวิชา สนุ ทรยี ศาสตร์ AESTHETICS ฉบับพมิ พ์ครั้งท่ี 2 เกิดจากการ ประมวลองค์ความรู้จากสอน การแต่งหนังสือและตำราวิชาการ อาทิ ประวตั ิศาสตรศ์ ลิ ปะตะวนั ตก (พิมพค์ ร้ังท่ี 6 พ.ศ. 2558) ทัศนศิลปป์ ริทศั น์ สุนทรยี ศาสตรใ์ นทศั นศลิ ป์ การวิจัย การบรรยายพิเศษ การปาฐกถา และทำหน้าทว่ี ชิ าการตามวาระตา่ ง ๆ รวมท้ังการสัมภาษณ์ แลกเปลีย่ นความคดิ เห็น กบั ศิลปนิ นักวชิ าการศิลปะ และนกั วิชาการดา้ นมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประสบการณ์ ข้างตน้ เปน็ ฐานการบรู ณการระบบความรแู้ ละความคิดในการพัฒนา ตำราวิชาสุนทรียศาสตร์ AESTHETICS เลม่ นี้ ผเู้ ขียนจงึ ขอขอบพระคุณอยา่ งสูงต่อทุกท่านที่มสี ่วนเกย่ี วข้อง ประกอบดว้ ยศลิ ปินและ หนว่ ยงานเจ้าของผลงาน ทผ่ี ู้เขยี นนำผลงานมาประกอบเอกสารเรอ่ื งน้ี เพื่อความเข้าใจแนวคดิ และ เนือ้ หาอย่างเป็นรูปธรรม ซ่ึงผู้เขยี นได้อา้ งองิ ไว้ใตภ้ าพ ขอขอบพระคุณอยา่ งสงู ต่อนักปรัชญา นักสุนทรยี ศาสตร์ นกั ประวัติศาสตร์ศลิ ปะ และนกั วชิ าการซึ่งมผี ลงานและนามปรากฏในการอ้างอิง และบรรณานุกรมทุกทา่ น ผเู้ ขียนขอขอบพระคณุ อย่างสูงย่ิงมา ณ ที่นี้ ศภุ ชัย สงิ หย์ ะบศุ ย์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 22 ตลุ าคม พ.ศ. 2561

ญ สารบญั บทท่ี หนา้ ท่ี 1 หน่วยความรู้ที่ 1 มนุษยก์ ับศิลปะและความงามของศิลปะ 5 บทที่ 1 มนษุ ย์ในฐานะผสู้ ร้างสรรคแ์ ละชน่ื ชมคณุ คา่ ของงานศลิ ปะ 33 บทท่ี 2 สุนทรียศาสตร์ในงานทัศนศิลป์ 97 หน่วยความรู้ท่ี 2 จดุ ยืน มมุ มอง และตำแหน่งคุณคา่ ทางสนุ ทรียศาสตร์ 101 บทท่ี 3 ทศั นศิลปใ์ นฐานะวตั ถุสนุ ทรยี ะ 151 บทที่ 4 จดุ ยืน มมุ มอง และการพิจารณาคุณค่าทางสุนทรยี ะ 187 หน่วยความรทู้ ี่ 3 ทฤษฎที างศิลปะ 197 บทที่ 5 ศลิ ปะคือการเลยี นแบบ 247 บทท่ี 6 ศลิ ปะคือรปู ทรง 289 บทท่ี 7 ศิลปะคือการแสดงออกซงึ่ ความรู้สึก 343 บทที่ 8 ศลิ ปะคือการแสดงความคิดอนั บรรเจิดและชวนพิศวง 379 หนว่ ยความรู้ท่ี 4 สุนทรียศาสตร์ในฐานะไฟสอ่ งทางการพจิ ารณาคุณค่า 383 และนำเสนอทศั นศิลป์ 427 บทท่ี 9 การวิเคราะห์ ประเมินค่า และกรณีศึกษาการนำเสนอทศั นศิลป์ 433 บรรณานุกรม ประวัตผิ เู้ ขยี น

ฎ สารบัญภาพประกอบ ภาพประกอบท่ี หนา้ ที่ ภาพประกอบท่ี 1 รัชกาลที่ ๙ เสด็จเลยี บพระนครทางสถลมารค 2 ภาพประกอบที่ 2 พระพุทธเจ้าประทานความสขุ 5 ภาพประกอบที่ 3 วัวไบซัน 10 ภาพประกอบท่ี 4 ภาพเขยี นของมนุษยย์ คุ ก่อนประวัตศิ าสตร์ ทผี่ าแต้ม 12 อำเภอโขงเจียม อุบลราชธานี 14 ภาพประกอบท่ี 5 วนี สั แห่งวิเลนดรอฟ และ วนี สั เดมิโร 17 ภาพประกอบที่ 6 ธรรมชาติได้สรา้ งให้สมองซีกขวาของมนุษย์ 18 ภาพประกอบท่ี 7 ระหัดวดิ น้ำ 19 ภาพประกอบที่ 8 ภาพออกแบบเครื่องบนิ 22 ภาพประกอบท่ี 9 ชนเผา่ Surma 24 ภาพประกอบท่ี 10 รามเกยี รต์ิ 25 ภาพประกอบท่ี 11 Rama Rama 1 26 ภาพประกอบท่ี 12 ฟ้อนเล็บผไู้ ทย 27 ภาพประกอบท่ี 13 นกเขาชวาเสยี ง 28 ภาพประกอบที่ 14 Ugly or not? 30 ภาพประกอบที่ 15 ทะเลหมอก 33 ภาพประกอบท่ี 16 เสียงขล่ยุ ทิพย์ 37 ภาพประกอบท่ี 17 The School of Athens 43 ภาพประกอบท่ี 18 ผงั อธิบายโครงสร้างของปรชั ญากรกี 47 ภาพประกอบที่ 19 แผนที่กรีกโบราณ 50 ภาพประกอบท่ี 20 นกั สูแ้ ละนักกายกรรมบนหลังวัวกระทิง 53 ภาพประกอบที่ 21 ไนกี (Nike) เทพีแหง่ ชัยชนะของกรกี โบราณ 56 ภาพประกอบท่ี 22 โรงมหรสพกลางแจ้ง 60 ภาพประกอบท่ี 23 สุนทรียศาสตรใ์ นฐานะหน่ึงในส่ขี องศลิ ปกรรมศาสตร์ 61 ภาพประกอบท่ี 24 Pee-Kamol C/2011 63 ภาพประกอบที่ 25 จิตรกรรมสีนำ้ มันของ สิริรฐั ฎา น้อยวชิ ัย

ฏ ภาพประกอบที่ หนา้ ท่ี ภาพประกอบที่ 26 Ninh Binh (Yellow Rain) 72 ภาพประกอบท่ี 27 Karen Girl 76 ภาพประกอบที่ 28 Coliwosspa 81 ภาพประกอบท่ี 29 “หม้ออุ” เคร่อื งปัน้ ดนิ เผาประเภทเน้ือ 84 ชมุ ชนบา้ นหมอ้ มหาสารคาม 86 ภาพประกอบที่ 30 ศาลเจ้าปู่คำหัวช้าง 88 ภาพประกอบท่ี 31 จติ รกรรมฝาผนงั อุโบสถวดั ยางช้า 90 ภาพประกอบท่ี 32 “ชวี ิต/life” 92 ภาพประกอบที่ 33 [Un] Real [นยั ]ความจรงิ 93 ภาพประกอบท่ี 34 รากษสเทวี 98 ภาพประกอบที่ 35 Origin, 1985 101 ภาพประกอบที่ 36 รศั มธี รรม 105 ภาพประกอบท่ี 37 สวุ รรณี สุคนธา 107 ภาพประกอบท่ี 38 ภาวะของจิตใต้สำนกึ 110 ภาพประกอบท่ี 39 ลีลาความเคลื่อนไหวของรปู ทรง 113 ภาพประกอบท่ี 40 บญุ บ้งั ไฟ 117 ภาพประกอบที่ 41 กลวธิ ีการสร้างสรรค์ทัศนศลิ ป์ ภาพประกอบที่ 42 วาดเสน้ ภาพเหมือนตนเอง ฝีมอื ลีโอ นาโด ดาวนิ ซี 119 120 และภาพวาดเสน้ ฝีมือไมเคิล แองเจโล 125 ภาพประกอบที่ 43 ช่างมนั 127 ภาพประกอบที่ 44 ความปรารถนา 128 ภาพประกอบที่ 45 ประติมากรรมนูนตำ่ ภาพเหมอื นจริง 130 ภาพประกอบที่ 46 Society of Human Tech No 2 132 ภาพประกอบท่ี 47 หว่ันไหวเมื่อกังวล 134 ภาพประกอบท่ี 48 สกั การะ นภเมธนดี ล 138 ภาพประกอบที่ 49 Mechanical Form and Symbol in Environment, 1992 140 ภาพประกอบที่ 50 ไก่ตีกัน ภาพประกอบท่ี 51 แผ่นดนิ แหง่ ความสุขหลงั การเกบ็ เก่ียว 145 ภาพประกอบท่ี 52 จิตรกรรมวาดเส้น โดย ถวลั ย์ ดชั นี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)

ฐ ภาพประกอบท่ี หนา้ ที่ ภาพประกอบท่ี 53 เรงิ ระบำ 148 ภาพประกอบท่ี 54 ดอกกุหลาบ 149 ภาพประกอบที่ 55 ภาพเปลือย 151 ภาพประกอบท่ี 56 พระกันทรวิชัย พิมพ์ใหญ่ 155 ภาพประกอบท่ี 57 คุณค่าทางสุนทรยี ะ ขึน้ อยู่กับความสนใจและทัศนะของแต่ละปจั เจกบุคคล 161 ภาพประกอบท่ี 58 คุณบญุ ชยั เบญจรงคกลุ เจ้าของพิพิธภณั ฑ์ศลิ ปะไทยร่วมสมัย หรอื MOCA 168 ภาพประกอบที่ 59 นทิ รรศการศิลปกรรมแหง่ ชาติสญั จร 172 ภาพประกอบท่ี 60 ผังโครงสร้าง ความงามคอื ความสมั พนั ธ์ 173 ภาพประกอบที่ 61 เสร็จสรง 177 ภาพประกอบที่ 62 ภาพบรรยากาศการคดั เลือกและตัดสินผลงานศิลปะ ทส่ี ง่ เข้ารว่ มประกวดการประกวดภาพศิลปะ “ออมศิลปถ์ ิ่นไทย” 178 ภาพประกอบท่ี 63 บั้งไฟพญานาค 188 ภาพประกอบท่ี 64 Chidus Aphrodite 197 ภาพประกอบท่ี 65 ศลิ ป์ พรี ะศรี 199 ภาพประกอบที่ 66 ประติมากรรมสลักหินแกรนิตอารธรรมอียปิ ตโ์ บราณ 201 ภาพประกอบท่ี 67 ประติมากรรมสลกั หินอ่อน ภาพเทพเฮอร์เมสกับไดโอนซี ุส 202 ภาพประกอบที่ 68 สำนักแห่งเอเธนส์ (The School of Athens) 206 ภาพประกอบท่ี 69 ภาพขยายนกั ปราชญแ์ หง่ เอเธนส์ 209 ภาพประกอบที่ 70 แม่หญิงลาวในไรก่ าแฟ 210 ภาพประกอบที่ 71 โอมาร์ ออร์ติซ 219 ภาพประกอบท่ี 72 อะโครโพลสิ (Acropolis) 225 ภาพประกอบท่ี 73 นกั กีฬาขวา้ งจกั ร หรอื Disco bolos 227 ภาพประกอบที่ 74 จักรพรรดิออกุสตัส (Augustus Caesar) 231 ภาพประกอบท่ี 75 โมนา ลซิ า (Mona Lisa) 234 ภาพประกอบที่ 76 เดวดิ (David) 237 ภาพประกอบท่ี 77 สมเดจ็ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานวุ ดั ติวงศ์ 239 ภาพประกอบที่ 78 Home Life, 1955 241 ภาพประกอบที่ 79 แสงสวุ รรณภูมิ 242

ฑ ภาพประกอบท่ี หน้าท่ี ภาพประกอบที่ 80 วถิ ชี าวใต้ 243 ภาพประกอบที่ 81 แรกพบ 244 ภาพประกอบที่ 82 Untitled 247 ภาพประกอบที่ 83 ความปรารถนา 250 ภาพประกอบที่ 84 ผ้าแพรวา 252 ภาพประกอบที่ 85 จติ รกรรมของพอล เซซานต์ (Paul Cezanne, 1839-1906) 255 ภาพประกอบที่ 86 Composition No2,1981 261 ภาพประกอบท่ี 87 War and Life (1973) 262 ภาพประกอบท่ี 88 Impression, Sunrise 264 ภาพประกอบที่ 89 A Sunday Afternoon on the Island 266 of La Grande Jatte 268 ภาพประกอบท่ี 90 Self Portrait 271 ภาพประกอบท่ี 91 Blue Nude (1907) 272 ภาพประกอบท่ี 92 Girl Before a Mirror 273 ภาพประกอบท่ี 93 นำ้ เงนิ เขียว 274 ภาพประกอบที่ 94 Jacqueline with a Cat 276 ภาพประกอบที่ 95 แคนดินสกี กบั ผลงานภาพเขียนท่จี ัดเป็น “ศิลปะบรสิ ทุ ธ”์ิ 278 ภาพประกอบที่ 96 Reminiscence 279 ภาพประกอบที่ 97 จิตรกรรมนามธรรมของของ มงเดรยี อาน 280 ภาพประกอบที่ 98 Composition 282 ภาพประกอบท่ี 99 Group 283 ภาพประกอบท่ี 100 Untitled (พ.ศ. 2539) 284 ภาพประกอบท่ี 101 Print 1/1969 No1 285 ภาพประกอบที่ 102 Wall E, 1973 286 ภาพประกอบท่ี 103 Paper in the Cabinet, 1983 289 ภาพประกอบท่ี 104 ศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ 292 ภาพประกอบท่ี 105 แม่ลกู 294 ภาพประกอบท่ี 106 ผกั บงุ้ แดง ปนื เน่า 297 ภาพประกอบท่ี 107 จันทรเ์ จ้าขอขา้ วขอแกง 299 ภาพประกอบที่ 108 ชาวนาไทย 1

ฒ ภาพประกอบที่ หน้าที่ ภาพประกอบท่ี 109 ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy, 1828-1910) 300 ภาพประกอบท่ี 110 ภิกษุสันดานกา 305 ภาพประกอบท่ี 111 กลุ่มภกิ ษุและชาวพุทธจำนวนมาก 306 รวมตวั กันเดนิ ขบวนไปยังมหาวิทยาลยั ศิลปากร 312 ภาพประกอบที่ 112 พระอิศวร 315 ภาพประกอบที่ 113 Self- Portrait as Soldier 317 ภาพประกอบท่ี 114 The Sick Child (ค.ศ. 1898) 321 ภาพประกอบที่ 115 L.H.O.O.Q. 325 ภาพประกอบที่ 116 Premonition of Civil War 330 ภาพประกอบท่ี 117 ปศี าจสงคราม (พ.ศ. 2510) 333 ภาพประกอบที่ 118 ทำไม? ภาพประกอบที่ 119 ลมหายใจในเมอื งหลวง 337 339 หรอื Breath in the Capital City 343 ภาพประกอบท่ี 120 ภกิ ษสุ ันดานกา 346 ภาพประกอบท่ี 121 Wrapped Reichstag 352 ภาพประกอบที่ 122 ภาพแสดงใหเ้ หน็ ศลิ ปะ 4 กลุ่ม 353 ภาพประกอบท่ี 123 Fountain หรอื นำ้ พุ 356 ภาพประกอบที่ 124 Fountain จำลองใหม่ทำขึน้ ใน ค.ศ. 1964 357 ภาพประกอบที่ 125 Erased de Kooning Drawing 359 ภาพประกอบท่ี 126 วิลเลียม เด คนู นิง 360 ภาพประกอบท่ี 127 Monotone Symphony 362 ภาพประกอบท่ี 128 อีฟ แคลง ในห้องนทิ รรศการ ความวา่ งเปล่า 363 ภาพประกอบท่ี 129 อฟี แคลง ขณะทำการละเลงสีบนเรือนรา่ งของผู้แสดง 365 ภาพประกอบท่ี 130 Blue Anthropometrics 367 ภาพประกอบท่ี 131 Spiral Jetty 370 ภาพประกอบท่ี 132 Wrapped Reichstag 372 ภาพประกอบท่ี 133 Wall Drawing 376 ภาพประกอบที่ 134 คริสโต กำลงั กำกบั การห่อหนา้ ผาทห่ี น้าอ่าว Little Bay 386 ภาพประกอบท่ี 135 ศิลปะ Conceptual Art โดย กมล ทัศนาญชลี ภาพประกอบที่ 136 Bitter Memory

ณ ภาพประกอบท่ี หนา้ ท่ี ภาพประกอบที่ 137 ช่างปนั้ ด่านเกวียน 390 ภาพประกอบท่ี 138 ดวงตา นนั ทขวา้ ง (พ.ศ. 2514) 392 ภาพประกอบที่ 139 สงกรานต์ 393 ภาพประกอบท่ี 140 พระพฆิ เณศ 394 ภาพประกอบที่ 141 รฐั นาวา 395 ภาพประกอบที่ 142 Woman (ค.ศ. 1950) 396 ภาพประกอบท่ี 143 ภาระ หน้าที่ พันธนาการ 397 ภาพประกอบท่ี 144 ขอเสรภี าพ 404 ภาพประกอบท่ี 145 พลังประชาชน 407 ภาพประกอบที่ 146 บรรยากาศการเสวนาเร่อื ง “มองย้อนร่องรอยศิลปะ กับการเมอื งเดือนตุลาคมในทศั นะของคนต่างรนุ่ ” 411 ภาพประกอบที่ 147 ภาพคทั เอาทร์ ำลกึ เหตุการณ์ 14 ตลุ าคม 2516 414 ภาพประกอบท่ี 148 ศิลปะภาพคทั เอาท์การเมอื งเดอื นตลุ าคม พ.ศ. 2518 417 ภาพประกอบที่ 149 ภาพศิลปะคัทเอาทก์ ารเมืองเดือนตลุ า 420 ภาพประกอบที่ 150 ศลิ ปินผู้เขียนภาพซำ้ งานตนเองภาพคัทเอาท์การเมืองเดือนตุลา 421

สุนทรยี ศาสตร์ AESTHETICS 1 หน่วยความรู้ท่ี 1 มนษุ ยก์ บั ศิลปะและความงามของศลิ ปะ

2 ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชัย สิงหย์ ะบศุ ย์ สาระสำคญั : มนุษยเ์ ปน็ สง่ิ มชี ีวิตทส่ี ามารถสรา้ งสรรคแ์ ละชืน่ ชมความงามจากปรากฏการณศ์ ลิ ปะ ภาพประกอบที่ 1 “รัชกาลที่ ๙ เสดจ็ เลยี บพระนครทางสถลมารค (2506)” จติ รกรรมสีน้ำมัน โดย สาธติ ทมิ วฒั นบนั เทงิ ทีม่ า : สจู ิบตั ร MOCA BANGKOK (2555).

สุนทรียศาสตร์ AESTHETICS 3 ส่วนนำหน่วยความรู้ที่ 1 “สุนทรยี ศาสตร์” เปน็ หนงึ่ ในแกนหลักของศิลปกรรมศาสตร์ สุนทรยี ศาสตรเ์ ป็นศาสตร์ที่ สัมพนั ธก์ บั มนุษย์โดยตรง ดว้ ยมนษุ ย์เปน็ สิง่ มชี วี ิตท่ีสามารถสร้างสรรค์ศิลปะ และชน่ื ชมความงามท้งั ใน ปรากฏการณ์ทางธรรมชาตแิ ละศลิ ปะได้ สำหรับตำรา วิชาสุนทรยี ศาสตร์ เรอื่ งน้ี เนน้ การศกึ ษาผลงาน ศิลปะกลุม่ “ทัศนศลิ ป์” หรอื Visual Art เป็นสำคัญ ในส่วนของ “สุนทรยี ภาพ” ได้ถูกจดั ระบบใหเ้ ปน็ ศาสตร์ ๆ หนง่ึ เรียกว่า สนุ ทรยี ศาสตร์ หรอื Aesthetics สุนทรยี ศาสตร์เป็นศาสตร์แขนงหน่ึงของปรัชญา สาขาคุณวิทยา (Axiology) ด้ังน้ัน วิชา สนุ ทรยี ศาสตร์จึงถูกเรียกอีกนามวา่ Aesthetics Philosophy ควบค่กู ันไป ท้งั น้ี หากพิจารณาเชงิ ประวัตศิ าสตร์ปรัชญา จดั ไดว้ ่าอารยธรรมกรีกโบราณเปน็ ผู้ใหก้ ำเนดิ และถกู ขยายผลผ่านการตคี วาม และแจกแจงอธบิ ายค่อนข้างหลากหลายในระยะต่อมา ตามจดุ เนน้ ของการนำเอาสุนทรียศาสตร์ไปใช้ ของแต่ละคนแต่ละสังคม ซ่ึงวิชาสุนทรยี ศาสตร์จะมีการศึกษาและนำไปใช้สองกลุ่มใหญ่ คอื กลุ่มนัก ปรัชญา เรยี ก “วชิ าปรชั ญาสุนทรียศาสตร์” และกล่มุ ศลิ ปะสาขาตา่ ง ๆ เรียก “วิชาสนุ ทรยี ศาสตร์” ซ่ึง อาจจะมีการระบุลงไปวา่ เปน็ วิชาสุนทรียศาสตร์สำหรบั ศลิ ปะสาขาใด อาทิ สุนทรยี ศาสตร์ในนาฏศิลป์ หรอื สุนทรยี ศาสตรใ์ นดุริยางคศลิ ป์ หรอื สนุ ทรยี ศาสตร์ในทศั นศิลป์ เปน็ ต้น อยา่ งไรก็ตาม วิชา สนุ ทรียศาสตร์ ใน โลกของศิลปะ ก็ได้ถูกยกระดบั เปน็ 1 ใน 4 ของแกนหลกั ศิลปกรรมศาสตร์ ซ่งึ ประกอบดว้ ย ศลิ ปะปฏิบัติ ประวัตศิ าสตรศ์ ลิ ปะ สนุ ทรียศาสตร์ และศิลปวจิ ารณ์ แกนทงั้ สดี่ ้านต่างล้วน มคี วามสำคัญและมีความสัมพันธร์ ะหว่างกัน ดงั น้นั วชิ าสนุ ทรียศาสตร์ จึงเปน็ ศาสตร์ท่ีเปน็ ท้ังศาสตร์ หลัก และศาสตร์ที่เป็นสว่ นผสมทง้ั สาขาปรชั ญาและศลิ ปกรรมศาสตร์ ‘สนุ ทรยี ะ’ และ ‘สุนทรยี ศาสตร์’ คืออะไร? การทำความเข้าใจคำและความหมายตา่ ง ๆ มักจะเริ่มตน้ ท่ีพจนานกุ รมหลัก เมื่อทำความเขา้ ใจ คำวา่ สุนทรยี ภาพ (Aesthetic) กับคำว่า สนุ ทรียศาสตร์ (Aesthetics) ผ่านพจนานุกรมไทยและสากล เพอื่ เปิดประตเู ขา้ ไปสูด่ นิ แดนของสนุ ทรยี ศาสตร์ พบวา่ คำว่า “สุนทรยี ศาสตร์” ประกอบดว้ ยสุนทรี สุนทรีย- สนุ ทรียะ สุนทรยี ภาพและสุนทรยี ศาสตร์ สัมพนั ธ์กับคำวา่ “สนุ ทร” ซ่ึงถูกอธิบายวา่ “สนุ ทรยี -,สุนทรยี ะ ว.เกยี่ วกบั ความนิยมความงาม. สนุ ทรียภาพ (ศิลปะ) น.ความรู้สึกถึงคณุ ค่าของส่งิ ท่ี

4 ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชยั สงิ ห์ยะบศุ ย์ งาม และความเปน็ ระเบียบของเสียงและถ้อยคำที่ไพเราะ. สนุ ทรยี ศาสตร์ น.วชิ าท่วี ่าด้วยความงาม” (ราชบัณฑติ ยสถาน. 2525 : 827) ในส่วนของภาษาองั กฤษ ผ้เู ขียนไดต้ รวจสอบคำและความหมายจาก “Longman Dictionary Contemporary English” พจนากรมภาษาอังกฤษทีไ่ ดร้ ับการยอมรบั ในระดับสากล อธิบายคำวา่ “Aesthetic” และ Aesthetics หัวใจสำคัญมิได้แตกต่างกันกับคำว่า สุนทรยี ะ และ สุนทรยี ศาสตรใ์ น พจนานุกรมไทย กลา่ วคือ “Longman Dictionary Contemporary English” ได้อธิบาย Aesthetic อยา่ งเชอ่ื มโยงกบั Aesthetics ไว้วา่ “adj 1 of or showing a highly developed sense of beauty, esp. in art : the building is aesthetic but not very practical. 2 of or concerning aesthetics : from an aesthetic point of view is a nice design.” (Longman. 1987 : 16) กลา่ วโดยสรุป คำและความหมายจากพจนานกุ รมหลักทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต่างให้ ความหมาย สุนทรยี ะ กับสุนทรยี ภาพ และ Aesthetic กบั Aesthetics อยา่ งมคี วามผูกพนั กบั “ความ งาม” หรือ “Beauty” และเป็น ศาสตร์ท่วี า่ ดว้ ยความงาม หรอื Science of beauty โดยเนน้ การ อธิบายเช่อื มโยงกรณีตวั อย่างศิลปะสาขาต่าง ๆ ไปพรอ้ มกัน ดังนั้น สุนทรียศาสตร์ จงึ เป็นวิชาที่ เกยี่ วขอ้ งกบั ความงามท่ปี รากฏและสัมพนั ธ์กบั วัตถุศิลปะ ซ่ึงเปน็ ปรากฏการณท์ ีเ่ กิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกบั มนุษย์ ดว้ ยมนุษยเ์ ปน็ ส่งิ มีชีวิตทส่ี ามารถสร้างสรรค์ และรับรู้ ช่นื ชมความงามของศิลปะได้ ดงั นั้น ในหน่วยความรทู้ ี่ 1 ของตำรา สนุ ทรียศาสตร์ หรือ Aesthetics เล่มน้ี จึงมุ่งเน้น วางรากฐานความรูค้ วามเข้าใจเกย่ี วกับ “มนุษย์” ในฐานะผู้สร้างสรรคแ์ ละชื่นชมความงามของศลิ ปะ และ “สนุ ทรยี ภาพ” ในงานศิลปะที่มนุษยเ์ ทา่ นัน้ เปน็ ผู้สรา้ งสรรค์ เน้นศลิ ปะสาขาทัศนศิลป์เป็นสำคญั ปรากฏในบทท่ี 1 และ บทท่ี 2 ตามลำดบั

สุนทรียศาสตร์ AESTHETICS 5 บทท่ี 1 มนษุ ย์ในฐานะผู้สร้างสรรคแ์ ละชน่ื ชมคณุ ค่าของงานศลิ ปะ ภาพประกอบท่ี 2 “พระพุทธเจ้าประทานความสุข” มนุษย์เป็นสตั ว์โลกชนิดพิเศษท่มี สี มองทำงานดา้ นการใชเ้ หตผุ ล ดา้ นความคดิ สร้างสรรค์ และด้านการรบั รทู้ างความงามได้ ดงั น้ัน ปรากฏการณต์ า่ ง ๆ ท่เี กิดขึน้ ภายใตก้ ารกระทำอยา่ ง มีเป้าหมาย มใิ ชป่ รากฏการณท์ เ่ี กดิ จากสญั ชาตญาณ ลว้ นเป็นสว่ นผสมของการใชส้ มองทงั้ ด้านเหตผุ ล ความคดิ สร้างสรรค์ และการพเิ คราะห์เชงิ ความงามผสานอยู่ด้วยกนั เสมอ รวมท้งั การประดษิ ฐ์ ตกแต่งรา่ งกายของมนุษย์ ตัง้ แต่มนุษยใ์ นยคุ กอ่ นประวัติศาสตร์ กระทง้ั ยุคหลงั ความทันสมัยในสงั คมปัจจุบัน ซ่ึงมนษุ ย์จะแสดงออกในรูปแบบท่ี แตกตา่ งกนั ไป ในภาพ คอื ภาพ “พระพทุ ธเจา้ ประทานความสุข” จติ รกรรมสีอะครลิ ิก โดย เฉลมิ ชยั โฆษติ พพิ ัฒน์ ทม่ี า : สจู บิ ัตร MOCA BANGKOK (2555).

6 ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชยั สงิ หย์ ะบศุ ย์ สาระสำคัญ : มนุษยเ์ ป็นสง่ิ มชี ีวิตทีม่ ีระบบสมองเชงิ สร้างสรรค์ การคดิ เชงิ เหตผุ ล และการรบั รู้ทาง ความงาม มนุษยจ์ งึ เปน็ ผสู้ ร้างสรรคแ์ ละชืน่ ชมคุณคา่ ทางสุนทรียะในงานศลิ ปะได้ วตั ถปุ ระสงค์ บทนีม้ ีวัตถปุ ระสงค์อธบิ ายภาพรวมทีค่ รอบคลุมโครงสรา้ งหลักของตำรา ทจี่ ะถกู ขยายความใน หนว่ ยความร้ทู ่ี 2-3 และ4 สำหรบั เน้ือหาในบทท่ี 1 ประกอบด้วย 2 สว่ น คือ 1. มนุษย์ในฐานะผู้สร้างงานศิลปะและศลิ ปะท่ีถูกสร้างข้นึ โดยมนุษยแ์ ละสงั คมวฒั นธรรมของ มนษุ ย์ 2. มนษุ ยใ์ นฐานะผู้ช่นื ชมความงามของงานศิลปะ หรือปรากฏการณท์ างศลิ ปะทถี่ ูกสร้างขนึ้ โดย มนษุ ย์และสังคมวัฒนธรรมของมนษุ ย์ ท้งั น้ี ในตำราสุนทรียศาสตรเ์ ล่มนี้ ผเู้ ขียนมฐี านความคิดการมองศลิ ปะ ในฐานะเปน็ ปรากฏการณ์ท่เี กิดขน้ึ จากเงื่อนไขในชวี ติ และสังคมของมนุษย์ โดยนยั นี้ ศิลปะจงึ เป็นวฒั นธรรมประเภท หนง่ึ ของมนุษย์ ท่ีมนษุ ย์แตล่ ะสงั คม แต่ละอารยธรรมต่างมีความสมั พันธ์ ท้งั การสร้างสรรค์ การให้ ความหมายเชิงคุณคา่ ต่องานศิลปะ ในเง่ือนไขของประโยชนใ์ ช้สอย ศาสนา ประเพณี พิธกี รรม รวมท้ัง การชืน่ ชมคุณค่าทางความงาม ซง่ึ ผลงานศลิ ปะในกลมุ่ หลงั ถกู เรียกวา่ วิจติ รศิลป์ หรือ Fine Art มนษุ ยผ์ ู้สรา้ งงานศลิ ปะและผชู้ ่ืนชมคณุ ค่าของงานศลิ ปะ มนุษยค์ อื ใคร?...คำถามและการคน้ ควา้ เก่ยี วกับมนุษย์ มีผทู้ ี่ทำการศกึ ษาและอธิบาย ‘มนุษย์’ ไว้อย่างหลายหลายตามเป้าหมายของการศึกษาและ ต้องการทำความเขา้ ใจในแตล่ ะกลุ่ม แตล่ ะศาสตร์ เชน่ กลุ่มนักศาสนา นักการเมือง นกั การทหาร นักชวี ภาพ อย่างไรกต็ าม ในจำนวนกลมุ่ คนที่ศึกษามนษุ ย์ข้างต้นจำแนกเป็นสองสว่ นสำคญั คอื การศึกษาในมิตสิ งั คมวัฒนธรรม และการศกึ ษาในมติ ิกายภาพและชวี ภาพ เพื่อความเขา้ ใจเบ้อื งต้น จึงนำเสนอความรูเ้ กีย่ วกับมนุษย์ และการคน้ คว้าเกย่ี วกับมนษุ ยเ์ ปน็ การเบ้ืองต้นโดยสังเขป ดังน้ี

สุนทรยี ศาสตร์ AESTHETICS 7 มนุษย์และการศึกษามนุษย์ ด้วยมนุษยเ์ ปน็ ท้งั ผ้ผู ลติ สรา้ งและชนื่ ชมคุณคา่ ของงานศลิ ปะ ซงึ่ ในคุณค่าดังกลา่ วรวมถงึ คุณค่า เชิงความงาม ดงั นัน้ ศิลปะและความงามของศลิ ปะ จึงเป็นตวั บทสำคัญท่เี กี่ยวขอ้ งกบั มนุษยแ์ ละสังคม วัฒนธรรมของมนษุ ย์ ผเู้ ขยี นจึงของปูพื้นฐานความร้เู ก่ียวกับมนุษย์ เพ่ือรองรบั การทำความเข้าใจการ สรา้ งสรรคง์ านศิลปะ และ การชืน่ ชมความงามของศิลปะ ดังน้ี ธนู แก้วโอภาส (2539 : 11-48) ไดเ้ รียบเรียงประวัติความเปน็ มาของมนุษย์ ได้ข้อสรปุ วา่ มนุษยเ์ ปน็ สตั วโ์ ลกที่เสยี เปรียบสตั วอ์ น่ื ดา้ นกายภาพของร่างกาย เม่ือพิจารณาเปรยี บเทียบลักษณะทาง กายภาพกับสตั ว์โลกชนดิ ตา่ ง ๆ แลว้ ลักษณะทางกายภาพร่างกายของมนุษยไ์ มส่ ามารถดำรงอยไู่ ดโ้ ดย ตวั เอง ไม่ว่าจะเป็นเรอื่ งของขนทไี่ มส่ ามารถปกปอ้ งเรือนกายของตนเองให้อบอุ่นได้ยามเหนบ็ หนาว เลบ็ มือเล็บเท้า ลักษณะของฟันไม่สามารถรองรบั การต่อส้ปู ้องกันตวั และล่าสัตว์เป็นอาหารด้วยตัวเอง แต่ มนษุ ยก์ เ็ ปน็ ส่ิงมชี วี ิตทมี หศั จรรย์ ที่สามารถครอบครองและควบคมุ สตั ว์อนั ตรายในโลกมาตั้งแต่สมยั บรรพกาล ท้ังนดี้ ว้ ยมนุษยม์ สี ่ิงท่เี หนือสตั วช์ นดิ อืน่ สำคัญ คือ ระบบสมองท่ีมโี ครงสรา้ งท้ังการคิด สรา้ งสรรค์ และการคิดเชิงเหตผุ ลควบคูก่ ันไป ศักยภาพท้ังสองสว่ นของสมองทำใหม้ นุษยส์ ามารถสรา้ ง สิ่งตา่ ง ๆ ขึ้นมาชดเชยความขาดพร่องทางกายภาพของเรอื นกาย มนษุ ย์จึงสามารถประดิษฐ์เครอื่ งมอื และวัตถุตา่ ง ๆ รวมทั้งส่งิ ก่อสร้างเพ่ือสนองตอบการดำรงชีวิตและดำเนินวถิ ีสังคมวัฒนธรรม พรอ้ มกนั นัน้ มนษุ ย์ยังมรี ะบบสมองด้านการรับรทู้ างทัศนคติเชงิ คุณค่าด้านความงาม ความเช่ือ และทศั นคติ ซงึ่ คุณสมบตั ิพเิ ศษของสมองท้ังสองส่วนข้างตน้ ได้สง่ ผลตอ่ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ท่เี กิดข้นึ จากมนษุ ย์ โดยเฉพาะการสรา้ งสรรค์ศิลปะและชน่ื ชมความงามทางศิลปะ ซ่งึ เป็นสิ่งบง่ ชสี้ ำคัญของความเปน็ มนุษย์ ความสนใจในการศึกษาค้นควา้ เก่ยี วกบั มนุษย์ในปจั จบุ ันมหี ลายกลุ่ม ทสี่ ำคัญประกอบด้วย นัก มานษุ ยวทิ ยากายภาพ นักมานษุ ยวิทยาวฒั นธรรม นกั ชวี ะดึกดำบรรพ์ นักโบราณคดี ฯลฯ จาก การศกึ ษาค้นคว้าของนักวชิ าการหลายสาขาท่ีใชม้ นุษยเ์ ป็นกรณีศึกษาขา้ งต้น มีความเห็นตรงกนั วา่ มนุษยก์ ล่มุ แรก ๆ ไดถ้ ือกำเนิด และมชี วี ติ อยูใ่ นโลกเม่ือประมาณ 20,000,000 ปมี าแลว้ ซ่ึงระยะ ดังกล่าวเมือ่ เปรียบเทียบกับชว่ งเวลาของชีวติ มนุษยใ์ นปัจจุบนั รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในชว่ ง

8 ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชยั สิงห์ยะบศุ ย์ ชวี ติ คน ๆ หนง่ึ แลว้ ช่วงเวลา 20 ล้านปีน้นั นับเปน็ ช่วงเวลาทย่ี าวนานมาก ดงั นั้น การศึกษาทำความ เขา้ ใจมนุษยใ์ นสมยั บรรพกาลทผ่ี ่านมายาวนาน จึงต้องอาศยั หลักฐานทีห่ ลงเหลือ และใช้วิธกี ารตีความ ผา่ นหลกั ฐานที่เรยี กวา่ “การสันนษิ ฐาน” ซ่ึงหมายถึงการคาดคะเนวา่ มนษุ ยม์ ีลักษณะรปู รา่ งกายภาพ และมวี ถิ ีลลี าชีวิตในแตล่ ะช่วงอดตี สมยั อยา่ งไร ประการสำคัญ ดว้ ยระยะเวลาผ่านมาท่ียาวนาน บางคร้งั หลักฐานก็ขาดชว่ งตอนในการนำมาประติดประต่อ นักการศึกษามนุษย์โบราณจึงมีคำถามหลายข้อท่ียงั ตอบไม่ได้ อาทิ ในชว่ งเวลา 20 ล้านปีที่ผ่านมา มนษุ ย์ได้มีการเปลีย่ นแปลงส่วนใดบา้ ง การเปล่ยี นแปลง เป็นไปในลักษณะอยา่ งไร กระน้นั นักการศกึ ษาเกีย่ วกับมนษุ ย์ในอดีตกย็ อมรับตรงกันว่า บรรพบรุ ุษของ มนุษยก์ ับวานรสบื เชอ้ื สายมาจากบรรพบุรษุ เดียวกัน แต่รายละเอียดทแี่ น่ชัดยังเปน็ เร่ืองมดื มน ซึ่ง ผูเ้ ช่ยี วชาญท่ศี ึกษาเก่ยี วกับเรื่องราวของมนษุ ย์ ยงั พยายามเสาะแสวงหาหลกั ฐานอยา่ งขะมกั เขม้น เพื่อ หาคำตอบทสี่ มบูรณ์ให้แก่การคล่คี ลายวิวัฒนาการอันยาวนานของมนุษย์ กลา่ วสำหรับนกั มานุษยวทิ ยา ซึ่งเปน็ ผศู้ กึ ษาคน้ ควา้ เกยี่ วกับมนษุ ยโ์ ดยตรง ได้พยายามค้นควา้ หาหลักฐานเพ่ืออธิบายแหล่งกำเนิด ความเปน็ มา ววิ ฒั นาการทางดา้ นกายภาพและดา้ นวัฒนธรรมของ มนษุ ย์ โดยมีผเู้ ช่ียวชาญทร่ี ่วมศกึ ษาคน้ คว้าประกอบดว้ ย นกั กายวภิ าคศาสตร์ศกึ ษาส่วนประกอบ ทางด้านร่างกายของมนุษย์ จากหลักฐานกายภาพที่ยงั หลงเหลอื เป็นหลักฐานตามสถานท่ีตา่ ง ๆ นอกจากนั้น นักชีววทิ ยา นักชีวะดึกดำบรรพว์ ทิ ยา (Paleontologists) กับธรณีวทิ ยากม็ ีบทบาทสำคัญ ต่อการให้ความกระจ่าง ด้วยการศกึ ษามนษุ ย์ทตี่ คี วามผา่ นสถานที่ขุดพบซากกระดูก ซงึ่ ผู้ศกึ ษามนษุ ย์ใน สมยั บรรพกาล เพ่ือหาจดุ กำเนิดและสภาพของมนุษยใ์ นอดีตกาล ได้ข้อสรปุ ความเห็นตรงกนั ว่า ถ่ิน กำเนดิ แรกเร่ิมของมนุษย์และบรรพบรุ ษุ ของมนุษย์อยู่ในทวีปแอฟริกา และบรรพบุรุษของมนุษย์ได้แยก ทางจากวานรเมื่อประมาณ 20,000,000 ปมี าแลว้ อย่างไรกต็ าม มนุษยร์ ่นุ แรก ๆ ได้ถูกอธิบายวา่ คือ มนษุ ย์วานร มนษุ ยพ์ วกนี้อาศัยอยใู่ นทวปี แอฟริการะหว่าง 2,000,000-500,000 ปีมาแล้ว มนุษย์วานรมีสว่ นสูง 3 ฟุตเศษ สามารถยนื ตัวตรง มี ฟันคล้ายมนุษย์ปจั จบุ นั แต่สมองยงั มีขนาดเล็ก มนษุ ยว์ านรรจู้ กั ใชม้ ือในการทำประโยชน์ต่าง ๆ มนุษย์ พวกน้ีมชี อ่ื เรียกวา่ ออสตราโลพเิ ธคสุ หลกั ฐานที่สำคัญ คือ ซากมนุษยว์ านรซ่งึ พบท่ีถำ้ โอลดูเวย์ (Olduvai) ในแทนซาเนยี เมื่อปี ค.ศ. 1959 นับเปน็ มนุษย์วานรทกี่ ้าวหน้าทสี่ ุด พวกเขามีชว่ งชวี ติ อยู่

สนุ ทรียศาสตร์ AESTHETICS 9 เมื่อ 1,750,000 ปีมาแลว้ หลกั ฐานท่พี บพร้อมมนุษย์วานรกลมุ่ น้ี แสดงให้เห็นว่า พวกเขารจู้ ักทำ เครอ่ื งมอื หินด้วยกรรมวิธีงา่ ย ๆ เพอื่ ใช้รอยคมของหนิ ตัด ฟัน หรอื ขดู ดังนน้ั มนุษย์วานรกลุม่ ทีถ่ ้ำ โอลดเู วยน์ ี้ จึงได้รับการระบุนามตามความสามารถวา่ โฮโม ฮาบิลสิ (Homo Habilis) มีความหมายวา่ มนุษยผ์ ูถ้ นัดใช้มือ มนุษย์กลมุ่ น้ีมพี ฒั นาการทก่ี ้าวหนา้ มากกว่าบรรพบรุ ุษของตนซ่ึงมีลักษณะคล้ายวานร ตรงทรี่ ู้จกั ทำเครื่องมือขนึ้ ใช้แทนมือและกินเนื้อสัตว์เปน็ อาหาร มนุษยโ์ ฮโม ฮาบิลิส มีวิธจี ับสตั ว์ด้วยการ ไลต่ อ้ นฝงู สัตว์ลงไปในหนองน้ำ แล้วจบั ตัวอ่อนของสัตว์กิน (ธติ มิ า พทิ ักษ์ไพวัน. 2533 : 12-20) กรณขี ้างตน้ ได้แสดงให้เหน็ ว่า มนษุ ย์โฮโม ฮาบลิ ิส มีระบบสมองที่ มีความคดิ สร้างสรรค์ สามารถคดิ วิเคราะหถ์ ึงความแข็งแกรง่ ของหนิ ลกั ษณะเหล่ียมคม ที่จะใชเ้ ปน็ เครื่องมือในการใช้สอย รวมทัง้ เปน็ อาวุธ ด้วยความสามารถของสมอง ทำให้มนุษย์โฮโม ฮาบิลิส สามารถดัดแปลงและใชห้ ิน ดังกล่าวทำหนา้ ท่ีทดแทนสิ่งที่รา่ งกายของตนขาดพรอ่ งไปในฐานะ “เครื่องมอื ” ซึ่งได้กลายเปน็ วัตถุ ศิลปะ หรอื Artifact ในช่วงระยะแรก ๆ ของบรรพบุรุษมนษุ ย์ ในชว่ งเวลาท่มี นษุ ย์กลุม่ ออสตราโลพเิ ธคสุ กระจายอย่ตู ามส่วนตา่ ง ๆ ของทวปี แอฟริกาน้นั จากหลักฐานทางฟอสซลิ (Fossil) พบว่ามีมนษุ ยก์ ลมุ่ ทไ่ี ดช้ ่ือว่า โฮโม อิเรคตสุ (Homo Erectus) มีชวี ิต เม่ือ 1,500,000 ปีมาแลว้ มนษุ ยก์ ลมุ่ นี้ไดแ้ พร่กระจายไปยงั ส่วนตา่ ง ๆ ของโลกเปน็ มนษุ ยท์ ยี่ นื ตัวตรง กะโหลกศีรษะคล้ายคลงึ กับมนุษย์ปักกิ่งมาก แต่มีอายเุ ก่าแกก่ ว่าถงึ 1,000,000 ปี มนุษย์พวกนก้ี ้าวหนา้ มาก พวกเขามีความสามารถในการล่าสตั วเ์ ป็นอาหาร รูจ้ กั ทำเครือ่ งมือหินใช้อย่างกวา้ งขวาง สำหรับ มนุษยต์ วั ตรงทเี่ ป็นทรี่ จู้ กั กันดี คือ มนษุ ย์ปักก่ิง (Peking man) มีชีวติ อยู่ประมาณ 5,000,000-400,000 ปมี าแลว้ มนุษย์กล่มุ นี้คน้ พบทีถ่ ำ้ แหง่ หนง่ึ ใกลก้ รุงปักกง่ิ จึงเรียกว่ามนษุ ยป์ ักกง่ิ จากหลักฐาน มนษุ ย์ ปกั ก่ิงมคี วามสงู ประมาร 5 ฟุต กระดูกสว่ นคิ้วโปน จมกู แบนกวา้ ง กระดูกขากรรไกรใหญ่ คางเลก็ จนดู เหมอื นกับคนไมม่ ีคาง ลกั ษณะใบหนา้ ยังดูคล้ายวานร แตม่ ีสมองใหญ่กวา่ สองเท่าของวานร รู้จักทำ เคร่ืองมือด้วยหนิ เหล็กไฟและหินควอตซซ์ ง่ึ กะเทาะไดง้ ่าย จึงกะเทาะขอบหินใหบ้ างและคมเพ่ือทำเปน็ เครื่องมือขวานหินไม่มดี า้ มใช้สำหรับตัด นอกจากน้ี มนษุ ย์ตวั ตรงไดก้ ้าวไปไกลกวา่ มนุษยว์ านรในเรื่องการใชไ้ ฟ กลา่ วคือ ในขณะที่ มนุษยว์ านรยังไมร่ ู้จักใชไ้ ฟ แต่มนุษยต์ วั ตรงร้จู กั การใชไ้ ฟแล้ว จากหลักฐานพบว่า มนษุ ย์ปักกิง่ รจู้ ักก่อไฟ

10 ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชัย สงิ ห์ยะบศุ ย์ เพ่ือใชผ้ ิงในถำ้ และใชไ้ ฟทำอาหารให้สุก และอาจใช้เปน็ คบเพลงิ ในการล่าสัตว์ โดยทำให้สตั วต์ กใจจาก แสงไฟทีค่ บเพลงิ วิง่ หนีการไลต่ อ้ นให้ตกลงไปในหลุมพราง หรือตดิ กับดัก จากซากกระดูกสตั วท์ พ่ี บแสดง ใหเ้ ห็นว่ามนุษยป์ ักกิ่งรู้จักล่าสัตวท์ ง้ั ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เช่น หมปู า่ กวาง กระทงิ ช้าง และแรด ภาพประกอบที่ 3 “วัวไบซนั ” ภาพเขยี นของมนษุ ย์โครมายอง ทถ่ี ้ำอัลตามริ า ฝรั่งเศส เขยี นขึ้นประมาณ 25,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นงานสมัยก่อนประวตั ศิ าสตร์ยคุ โบราณ ผลงานดงั กลา่ วนอกจากสะท้อนใหเ้ ห็นวา่ มนุษยร์ ูจ้ ักการ สรา้ งสรรคศ์ ลิ ปะทเี่ กดิ ขน้ึ จากการใชส้ มองเชงิ เหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ และการรับรูท้ างความงามของทัศนธาตุ (Visual Elements) มาตง้ั แต่บรรพกาลแล้ว งานศลิ ปะเหลา่ น้ี ยังสะท้อนความสมั พันธร์ ะหว่างมนุษยย์ ุคโบราณกับวัว ปา่ ไบซันอยา่ งไร ในภาพ มนุษย์โครมายองกลมุ่ น้ี ไดเ้ ขยี นภาพการทำร้ายวัวป่าด้วยอาวธุ ท่มิ ทีล่ ำตวั จงึ ตีความได้วา่ ความสัมพันธร์ ะหวา่ งมนุษยโ์ ครมายองกลุม่ นก้ี ับววั ปา่ เป็นไปในลักษณะท่ีไมเ่ ปน็ มติ รต่อกนั ดังน้นั จงึ ทำพิธขี ่มขวญั หรอื ตัดไมข้ ม่ นาม ด้วยการเขียนภาพววั ไบซนั ถกู อาวธุ ท่มิ แทง ทมี่ า : Adams, Laurie Schneider. (1994). A HISTORY OF WESTERN ART.

สนุ ทรียศาสตร์ AESTHETICS 11 สำหรบั มนษุ ยก์ ่อนประวตั ิศาสตรท์ ่เี รารจู้ ักเรือ่ งราวและรายละเอียดตา่ ง ๆ มากที่สุดในตอนนี้ คอื มนุษยน์ แี อนเดอรธ์ าล (Neanderthal Man) หลักฐานเก่ยี วกบั มนษุ ย์กลมุ่ นี้ พบทถ่ี ้ำนแี อนเดอร์ธาล ใกลก้ บั เมืองดลุ เซลคอร์ฟ ประเทศเยอรมนี พวกนี้อยู่อาศยั กระจดั กระจายตามส่วนต่าง ๆ ของทวปี ยโุ รป และบรเิ วณโดยรอบทะเลเมดเิ ตอรเ์ รเนยี น เม่ือประมาณ 250,000 -50,000 ปี ก่อน ค.ศ.มาแล้ว มขี นาด สงู กว่า 5 ฟุตเลก็ น้อย มันสมองใกลเ้ คยี งกับมันสมองของมนษุ ย์ในปัจจบุ นั พวกเขามีความคิดสรา้ งสรรค์ รูจ้ กั คดิ คน้ นำหนังสตั วม์ าทำเครื่องนงุ่ ห่ม สามารถใช้คำพูด รวมกลุ่มลา่ สตั ว์อยา่ งเป็นลำ่ เป็นสนั รู้จกั ใช้ไฟ เช่นเดยี วกนั กับมนษุ ย์ปักกิ่ง จากซากโครงกระดกู ทจี่ ดั ไว้อย่างเปน็ ระเบียบรายรอบดว้ ยเครอ่ื งมือเคร่ืองใช้ ทท่ี ำดว้ ยหนิ และกระดูกสตั ว์ ทำให้สันนษิ ฐานไดว้ า่ คนเหลา่ นี้มพี ธิ ที ำศพ และอาจมแี นวคิดเกีย่ วกับเรอ่ื ง วญิ ญาณเปน็ อมตะ เป็นท่ีมาของความเช่ือหลงั ความตาย และเป็นทม่ี าของกิจกรรมหลายอย่างในสงั คม มนุษย์ (ธนู แก้วโอภาส. 2539 : 33-36) ในส่วนของต้นกำเนดิ หรอื บรรพบรุ ษุ ของมนษุ ย์ในปจั จุบัน ซึ่งเรียกวา่ มนุษย์สมัยใหม่ หรือ มนุษยฉ์ ลาด หรือ โฮโม ซาเปยี นส์ (Homo Sapiens) พวกเขาคือบรรพบุรุษมนษุ ย์ในปัจจุบนั ไมว่ ่าจะมี เชอ้ื ชาตใิ ดภาษาใดก็ตาม นักวชิ าการทศี่ ึกษาววิ ัฒนาการของมนุษย์ มีความเชื่อรว่ มกนั วา่ มนุษยท์ กุ ชาติ ภาษาในโลกปัจจุบนั ตา่ งลว้ นสืบเผา่ พันธ์ุมาจากตระกลู โฮโม ซาเปยี นส์ ด้วยกันทั้งสน้ิ และมนุษย์ สมยั ใหม่หรอื โฮโม ซาเปียนส์ มีหลายกลุ่ม แต่ท่ีมีหลักฐานเปน็ ทีร่ ้จู ักกันดโี ดยเฉพาะหลกั ฐานทางศิลปะ คือ มนุษย์โครมายอง (Cro-Magnon Man) มนุษย์พวกน้ีมชี วี ติ อยหู่ ลังจากท่ีมนุษย์นีแอนเดอร์ธาล สญู พนั ธไ์ุ ปแลว้ ซากโครงกระดูกของมนุษยโ์ ครมายองพบเปน็ ครง้ั แรกที่แควน้ เวลส์ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1823 และเม่ือปี ค.ศ. 1868 ได้พบซากโครงกระดูกของมนุษย์พวกเดียวกนั น้อี ีกในประเทศฝรัง่ เศส มนษุ ย์โครมายองจะอาศัยอยู่ตามถ้ำลกึ บรเิ วณเทือกเขาพีรานสี ทางตอนใตข้ องฝร่งั เศสและตอนเหนือ ของสเปน มชี ีวติ อยเู่ มอื่ ประมาณ 35,000 ปีมาแล้ว ความสูงต่ำกวา่ 6 ฟุต เล็กนอ้ ย ทีส่ ำคญั คือ มขี นาด มนั สมองใกลเ้ คยี งกบั ชาวยุโรปในปจั จุบนั มนษุ ย์กลุ่มน้ีเปน็ มนษุ ย์ที่รู้จักสร้างงานศลิ ปะให้ปรากฏ โดยเฉพาะภาพเขียนผนงั ถ้ำ และผลงานพวกเขายังหลงเหลอื เป็นหลักฐานการมอี ยู่ของโครมายองมา ตราบจนปจั จบุ นั ทง้ั น้ีการเขียนภาพไว้ในผนังถ้ำอัดมดิ ชดิ ของพวกเขา กเ็ ป็นสว่ นสำคญั ท่ีทำให้ภาพเขยี น

12 ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชยั สงิ หย์ ะบศุ ย์ ดังกล่าวถูกปกป้องจากแดดฝนทำลาย และคงสภาพใหม้ นุษย์ในปจั จบุ ันได้ศกึ ษาแม้ว่ากาลเวลาจะ ล่วงเลยมาหลายหมนื่ ปีกต็ าม (ธิติมา พิทักษ์ไพรวนั . 2533 : 20) ภาพประกอบท่ี 4 ภาพเขยี นของมนษุ ย์ยคุ กอ่ นประวตั ศิ าสตร์ในประเทศไทยมีหลายแห่ง ท่ีมีชือ่ เสยี งและเป็นทรี่ จู้ กั ใน ฐานะแหลง่ ทอ่ งเทย่ี ว คือ จิตรกรรมฝาผนังที่ผาแตม้ อำเภอโขงเจยี ม อบุ ลราชธานี เป็นผลงานทบี่ ง่ บอกให้ทราบว่า พนื้ ทบี่ รเิ วณปากแม่นำ้ มลู บรรจบแม่นำ้ โขง เป็นที่อยอู่ าศัยของมนษุ ยม์ ายาวนานทส่ี ดุ แห่งหน่ึงของโลก และทำให้ทราบ ว่า มนษุ ยใ์ นช่วงเวลาดงั กล่าว มวี ถิ ลี ลี าชีวิตท่ีสมั พนั ธก์ บั แมน่ ำ้ ภเู ขา และมีการใหค้ วามหมายเชงิ ความเชื่อเกย่ี วกบั ระบบนิเวศท่ีตนเองอยอู่ าศัยอย่างไร ประการสำคญั ภาพเขยี นท่ปี รากฏก็ไดส้ ะท้อนใหเ้ ห็นว่า มนษุ ย์ยคุ โบราณใน ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ สรา้ งจติ รกรรมดังกล่าวด้วยมิตกิ ารพเิ คราะหด์ า้ น ‘ความงาม’ ไปพรอ้ มกนั ท่ีมา : หนังสืออบุ ลราชธานี 200 ปี (2535). ท้ังน้ี จากววิ ัฒนาการโดยสังเขปของมนุษย์ จะทำใหเ้ รามองเห็นถงึ คุณสมบัติทางพเิ ศษใน ความเปน็ มนษุ ย์ ทีเ่ กี่ยวข้องกับ ‘สมอง’ ทัง้ สมองซีกซา้ ยและซกี ขวา ทต่ี า่ งทำหน้าทป่ี ระกอบสร้าง ปรากฏการณ์เชิงวัตถุและพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ กลายเปน็ สิง่ ท่ีเรยี กวา่ Artifact หรอื

สนุ ทรียศาสตร์ AESTHETICS 13 ปรากฏการณท์ างศิลปะ ทป่ี ระจุไวด้ ้วยความคิดสร้างสรรค์ และ ลกั ษณะรูปแบบท่มี ีคุณค่าดา้ น ต่าง ๆ เช่น ความงาม ความเชื่อ ดังปรากฏในภาพเขียน และ ประติมากรรมสลักหินของมนุษยด์ ั้งเดิม ขา้ งต้น ประการสำคญั เราจะต้องพินจิ พิเคราะห์ ‘วัตถศุ ิลปะ’ หรือปรากฏการณ์ศลิ ปะดงั กลา่ ว อยา่ งมี ความสมั พนั ธก์ ับวิถี ลลี าชีวิต หรือ ในฐานะเง่ือนไขของชีวติ และสังคมของพวกเขา วา่ มนุษย์สมยั บรรพ กาลสรา้ งสรรค์วตั ถศุ ลิ ปะเหลา่ น้ขี นึ้ มาด้วยเงื่อนไข หรอื เหตุผลใด วัตถุศลิ ปะจากอดตี จึงเปน็ ตัวบทที่ สะท้อนหรือฉายภาพใหเ้ ห็นสังคมวฒั นธรรมของมนษุ ยบ์ รรพกาลได้เป็นอย่างดี และเม่อื พิจารณาวตั ถุ ศลิ ปะในระยะสมัยต่อ ๆ มาก กจ็ กั ได้ข้อสรปุ เชิงหลักการวา่ ศิลปะมคี วามหมายกับมนุษย์ อย่างมี ปฏสิ มั พันธ์ระหว่างกนั กับบริบทของชวี ติ และสงั คมมนุษย์ ดังนัน้ เมอ่ื บรบิ ทของสงั คมมนษุ ยไ์ ด้ ปรบั เปลย่ี นไป ศลิ ปะของมนุษย์ รวมทัง้ การนยิ ามความหมายและคุณค่าศลิ ปะ ในแตล่ ะช่วงสมัยก็ ปรับเปล่ียนไปพร้อมกนั ดงั ที่ผ้เู ขียนจะนำเสนอตอ่ ไป ทำไมมนุษยจ์ ึงสร้างสรรค์งานศิลปะ อะไรคอื ศลิ ปะและศลิ ปะเกดิ ขึน้ ได้อยา่ งไร? ปรากฏการณ์ศิลปะและปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์ในโลกมนษุ ย์ตั้งแต่อดตี กระทัง่ ปัจจุบนั มสี องส่วนสำคญั คือ ปรากฏการณ์ศิลปะ กบั ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ‘ศิลปะ’ เป็นปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึ้นจากการกระทำอย่างสรา้ งสรรค์และ เจตนาของมนุษย์ สว่ น ‘ธรรมชาติ’ ปรากฏการณ์ทีเ่ กิดขึ้นจากระบบธรรมชาติ หรือตามวธิ ีธรรมชาติ อยา่ งไรก็ตาม การกระทำหรือพฤติกรรมของมนุษย์ ก็มิใชจ่ ะเหมารวมได้วา่ เป็น ‘ศิลปะ’ ไปเสยี ทง้ั หมด ท้ังน้ี จากวิวัฒนาการของมนุษยซ์ งึ่ ผเู้ ขยี นไดน้ ำเสนอเบ้อื งต้น ถา้ เราพิจารณาปรากฏการณ์ที่เกิดขึน้ จาก มนษุ ยแ์ ละสังคมของมนุษยใ์ นทกุ ยุคสมัย จักประกอบด้วย ปรากฏการณท์ างวัตถุ และ ปรากฏการณ์ ทางพฤติกรรม ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกพิจารณาจำแนกเป็น 2 ลกั ษณะ คอื ปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขน้ึ โดยสญั ชาตญาณ เหมือนกบั พฤติกรรมท่วั ไปของสัตว์อืน่ ๆ กับปรากฏการณ์ท่ีเกิดข้นึ จากการทำงาน

14 ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชยั สิงหย์ ะบศุ ย์ ผสานกนั ระหว่างความคดิ สรา้ งสรรคจ์ ากสมองซกี ขวา และความคดิ เชิงเหตผุ ลจากสมองซกี ซ้ายของ มนุษย์ ซ่ึงเป็นการกระทำท่ีตง้ั ใจมีเปา้ หมายหมายรองรับความตอ้ งการและจำเปน็ ในชวี ติ และสังคมมนษุ ย์ ภาพประกอบท่ี 5 (ซ้าย) “วนี สั แหง่ วเิ ลนดรอฟ”ประตมิ ากรรมสลักหนิ แกรนิตสมยั ก่อนประวตั ิศาสตร์ อายุระหวา่ ง 25,000-20,000 ปีกอ่ นคริสต์ศักราช พบท่ีเมอื ง Willendrof ประเทศออสเตรยี นักโบราณคดสี นั นิษฐานวา่ ถกู สร้างขึ้น ด้วยเง่ือนไขดา้ นความเชอ่ื เกย่ี วกบั เพศหญิง ผสู้ ามารถใหก้ ำเนิดชีวติ ใหมไ่ ด้ ประตมิ ากรจงึ เนน้ อวัยวะเพศและเตา้ นมทีใ่ ช้ เล้ียงดูทารกขนาดใหญเ่ ปน็ พเิ ศษ ได้ถูกนกั ประวัติศาสตร์ศลิ ปเ์ รยี กวา่ “วีนสั แหง่ วิเลนดรอฟ” โดยเรียกนามอยา่ ง เชอ่ื มโยงกบั เทพวี นี ัสเด มิโร (ภาพขวา) ประตมิ ากรรมหนิ อ่อนยุคทองของกรีก ท่มี คี วามหมายเปน็ เทพแหง่ ความรกั และงาม ประติมากรรมท้ังสองตา่ งลว้ นเป็นจินตนาการดา้ นความเช่ือ แต่ วนี ัสเดมโิ ร ถกู สร้างดว้ ยหลักทางความงาม ศลิ ปะคือการเลยี นแบบโลกสากล (Universal World) ซึ่งศลิ ปินทำหนา้ ที่นำเอาความงามอนั สมบูรณแ์ บบในอุดมคติมา นำเสนอไว้ในโลกมนุษย์ อยา่ งไรกต็ าม ประติมากรรมทั้งสองช้ินต่างล้วนสะท้อนวา่ มนุษยม์ คี วามคดิ เชิงสงสัย มกี าร คน้ หาและอธิบายตนเองอย่ตู ลอดเวลา ส่งผลต่อการเกิดขนึ้ ของศลิ ปะทมี่ ีสว่ นตอ่ การสร้างความเปน็ สังคมวฒั นธรรม ของกลมุ่ คนทเ่ี ก่ยี วขอ้ งไปพร้อมกนั ดงั นัน้ ผลงานศิลปะทัง้ สองจึงเป็น “วัตถศุ ิลปะ” ทสี่ ามารถสะทอ้ น หรอื บอกกลา่ ว ลักษณาการทางสงั คมวฒั นธรรมมนุษย์ ท้ังตอ่ มนุษย์ในยุคสมยั นนั้ ๆ และคนร่นุ หลังไดเ้ ปน็ อยา่ งดี ท่มี า : Adams, Laurie Schneider. (1994). A HISTORY OF WESTERN ART. (ภาพซา้ ย) และ Durant, Will. (1939). THE LIFE OF GREEK.

สุนทรียศาสตร์ AESTHETICS 15 พฤติกรรมหรือปรากฏการณท์ ่ีเกดิ ขนึ้ โดยสัญชาตญาณ อันเปน็ ธรรมชาตขิ องมนุษย์ ไมจ่ ัดเป็น ศิลปะ หรอื ไมใ่ ชว่ ัตถุศลิ ปะ ดว้ ยส่ิงหรอื ปรากฏการณด์ ังกล่าวมไิ ดผ้ า่ นกระบวนการสร้างสรรค์ แตเ่ ป็น สิง่ หรอื ปรากฏการณท์ เ่ี กดิ ข้นึ โดยธรรมชาตใิ นระบบชวี ิตมนษุ ย์ เช่น การร้องไห้จากความเศรา้ เสียใจ การ ว่งิ หนภี ัยดว้ ยความหวาดกลัว การร้องโวยวายเมื่อเกิดความโกรธ ไม่พอใจ การเดนิ ไปทำงานประจำวัน การรอ้ งไหเ้ ม่ือเสยี ใจหรอื ผิดหวัง การหวั เราะเมื่อได้ยินหรือสัมผสั กบั เรอื่ งขบขนั การขบั ถ่ายของเสียออก จากร่างกาย อันเป็นไปตามสภาวะของธรรมชาติของมนษุ ย์ ส่งิ หรือปรากฏการณ์ดังกล่าวของมนษุ ย์ จึง มไิ ด้แตกตา่ งจากการเดนิ การเปลง่ เสียงรอ้ ง หรือการขับถา่ ยของเสยี ของสตั ว์ ซึ่งเป็นไปตามสภาวะทาง ธรรมชาติเชน่ เดยี วกนั จึงมไิ ด้ถูกจดั ให้เป็นศิลปะ แตส่ ำหรับพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ ทเ่ี กดิ ข้ึนจากการกระทำทีต่ ้องใชค้ วามคดิ สรา้ งสรรค์ และความคดิ เชงิ เหตุผล ซ่งึ เป็นการทำงานร่วมกนั ระหวา่ งสมองซีกขวากับซีกซ้ายของมนษุ ย์ ซ่งึ เปน็ การ กระทำและแสดงออกท่มี ิใชก่ ระบวนการทางสัญชาตญาณอย่างสามัญเราถือว่าสงิ่ หรือปรากฏการณ์นัน้ ๆ เป็นศลิ ปะ อาทิ การนำเอาก้อนหินมาจดั เรยี งกันเป็นระเบียบ และการฟอ้ นรำเพ่ือบวงสรวงเทพเจ้า การสานกระตบิ ข้าวบรรจุขา้ วเหนยี วเพอ่ื เก็บรกั ษาและระบายความรอ้ นอยา่ งพอเหมาะ ฯลฯ ศลิ ปะกับสมองทง้ั สองซกี ของมนษุ ย์ ดังท่ีได้กลา่ วแล้วว่าปรากฏการณ์ ศิลปะ ตา่ งจากปรากฏการณ์ ธรรมชาติ ดว้ ยระบบความคดิ สร้างสรรค์และความคดิ เชิงเหตผุ ล รวมทัง้ การรบั รู้เชงิ ความงาม ไม่งาม อนั เนื่องมาจากความพเิ ศษของ สมองทัง้ สองซีกของมนุษย์ นอกจากนี้ สมองของมนุษย์ยังสามารถคิดเชิงทัศนคติ และ คุณคา่ ทางความ งามทน่ี ่าอัศจรรย์ของมนษุ ย์ ปญั จนาฏ วรวฒั นชยั (2559 : 1-2) ไดน้ ำเสนอความมหัศจรรย์ของสมอง สองซีกของมนุษย์ ท่ีส่งผลต่อปรากฏการณ์ทเ่ี กิดจากมนุษย์ไวใ้ นบทความวิชาการเรื่อง “กลไกสมองสอง ซกี กบั ความคดิ สรา้ งสรรค์ของมนุษย์” มีสาระสำคัญ คือ การศึกษาสมองสองซีกของมนุษย์เรม่ิ ในปี ค.ศ. 1960 โดย โรเจอร์ สเพอรร์ ี (Roger Sperry) ผเู้ ชย่ี วชาญ ด้านประสาทวทิ ยา (Neurobiologist) จากสถาบนั เทคโนโลยีแห่งคลิฟอรเ์ นยี (California Institute of Technology) ได้ศกึ ษาระบบและ โครงสรา้ งการทำงานของสมองของมนษุ ย์ โดยทำการทดลองกบั คนไขท้ ่ี แกนเชื่อมสมอง สองซีก หรือ คอรป์ ัส แคลโลซมั (Corpus Callosum) ได้รับบาดเจบ็ ภายหลงั การผ่าตดั ปรากฏวา่ สมองทั้งสองซีก เรยี นรูแ้ ละแยกจากกนั ทำให้เขาค้นพบความแตกต่างในการทำงานระหว่างสมองซีกซา้ ย

16 ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชยั สงิ หย์ ะบศุ ย์ (Left Hemisphere) และสมองซกี ขวา (Right Hemisphere) ซึง่ สมองทั้งสองซีกจะทำงานกลบั ขา้ งกนั กล่าวคือ สมองซีกซา้ ยจะสั่งงานการเคล่ือนไหวของรา่ งกายทางด้านขวาและสมองซีกขวาจะส่ังงานการ เคลือ่ นไหว ของร่างกายทางด้านซา้ ยและเขาได้รบั รางวัลโนเบลในปี ค. ศ. 1981 เขาพบว่า หน้าท่สี มอง ซกี ซา้ ยและซกี ขวา ในชวี ิตประจำวันขณะทีม่ นุษยก์ ำลงั คิด จะพบวา่ สมองทั้งสองซีกจะทำงานร่วมกัน แตแ่ สดงลกั ษณะเด่นออกมาแตกต่างกนั ไปตามความถนัดของแตล่ ะคน ซ่ึงเราควรจะทำความเขา้ ใจ เกยี่ วกับหนา้ ท่ีของสมองทัง้ สองซกี ดว้ ยมีความเกยี่ วเนอื่ งกับศิลปะ และการช่ืนชมคณุ ค่าศลิ ปะของ มนษุ ย์ มรี ายละเอียด ดงั น้ี สมองซกี ซา้ ย (Left Hemisphere) สมองซีกซา้ ยเปน็ สมองทีน่ ักวิทยาศาสตรท์ างสมองเรยี กวา่ “สมองแห่งเหตุผล” (Rational Brain) ทำหนา้ ที่ควบคุมการคิดเชิงเหตผุ ล การแสดงออกเชิงนามธรรมท่เี น้นรายละเอียด เช่น การนบั จำนวนเลข การบอกเวลา และความสามารถในการเรยี บเรียงถ้อยคำท่ีเหมาะสม เปน็ ต้น เพอื่ วิเคราะห์ แปลความหมายขอ้ มูล จดั ระบบแตล่ ะข้นั ตอนอยา่ งมเี หตุผล และสรา้ งข้อสรุปจากข้อมลู ทีเ่ ปน็ สัญลักษณ์ ทางภาษา คณติ ศาสตร์ รวมถึงการเก็บความจำในรปู ของภาษา ดว้ ยเหตนุ ้ผี ู้ท่ีถนดั สมองซีกซ้ายจะเปน็ ผู้ ชอบใช้เหตุผล ชอบเรียนรู้จากสว่ นย่อยไปหาสว่ นใหญ่ เปน็ นกั วางแผนงาน เป็นคนชอบวิเคราะห์ และมัก ทำอะไร ทลี ะอยา่ งเป็นขัน้ ตอนอยา่ งละเอียด สามารถทจี่ ะแสดงความร้สู ึกของตนเองได้อยา่ งชดั เจน แต่ เกี่ยวกับความคิดและอารมณ์ความรูส้ กึ จะค่อนขา้ งมีความคดิ ดา้ นลบ เพราะมีความระมัดระวงั มากไป จึง สามารถเรยี นรจู้ ากความผิดพลาด ประกอบการงานจนประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้วา่ สมอง ซีกซา้ ยมีหน้าทใี่ นการใช้ภาษา (Language) การคิดเชิงตรรกะ (Logic) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) ตวั เลข (Numbers) และความมเี หตุผล (Reasoning) สมองซีกขวา (Right Hemisphere) สมองซีกขวาเปน็ สมองท่นี ักวทิ ยาศาสตรท์ างสมองเรยี กว่า “สมองแห่งสหัชญาณ” (Intuitive Brain) ทำหนา้ ท่ีเกย่ี วกบั ความคดิ สรา้ งสรรค์ การจนิ ตนาการ การสังเคราะห์ ความ ซาบซงึ้ ในดนตรแี ละศลิ ปะ ความสามารถในการหยงั่ หามิติตา่ ง ๆ และการใชป้ ระโยชน์จากรปู แบบและ รปู ทรงเรขาคณติ ดังนั้นการท่ีคนเราสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้นน้ั เกิดจากการทำงานของสมอง

สุนทรยี ศาสตร์ AESTHETICS 17 ซกี ขวานีเ้ อง โดยการจัดทำข้อมูลจากประสาทสมั ผสั หลายอยา่ งที่รบั เข้ามาเพ่ือจัดภาพรวมสงิ่ ของการ ควบคุมการมองเหน็ การบันทึก ความจำ จากการฟัง การเห็นและมองสิง่ ต่าง ๆ ภาพประกอบที่ 6 ธรรมชาตไิ ดส้ รา้ งใหส้ มองซกี ขวาของมนุษย์ มีพัฒนาการเรว็ กวา่ สมองซีกซ้าย ดงั น้นั จึงปรากฏวา่ เด็กทกุ คนมีธรรมชาตทิ ่ชี อบสร้างสรรค์ จินตนาการ และมองทุกสิ่งอยา่ งอยใู่ นโลกของความคดิ คำนึงฝัน การสรา้ งงาน ศลิ ปะของพวกเขามเี ป้าหมายเพ่อื การแสดงออกตามความคดิ คำนึงและความรูส้ ึกต่อสง่ิ ใกลต้ ัว หาใช่การสรา้ งงานเพอ่ื ถ่ายทอดความเป็นจริงตามตาเหน็ อยา่ งศลิ ปินในวยั ผใู้ หญ่ ในภาพคอื “น้องปลาโลมา” เด็กหญิงกฤตญิ าณรี ศั สมปั ปโิ ต วัย 5 ขวบ (ซา้ ย) และ “นอ้ งจิณน”์ เด็กหญงิ จณิ นณ์ ณชั ธำรงเกยี รตศิ ริ ิ วัย 5 ขวบ (ขวา) ในศูนย์พัฒนาการ สรา้ งสรรคศ์ ลิ ปะยุวชนของศลิ ปนิ ธีรวัฒน์ คะนะมะ มหาสารคาม ทีม่ า : ศุภชยั สมปั ปโิ ต และ ธีระวฒั น์ คะนะมะ ถา่ ยภาพ เมอ่ื พ.ศ. 2559 ด้วยเหตุนผี้ ้ทู ีถ่ นัดสมองซกี ขวา จะเป็นคนท่ีใช้สหชั ญาณ เพื่อการหย่งั รู้ การเข้าใจ และการ มองเหน็ ความสัมพันธ์อนั เป็นความรู้ใหม่ และสามารถใชค้ วามรู้เดิมมาให้เหตผุ ล สง่ิ ที่เปน็ ความรู้ใหม่ ดว้ ยเหตุน้ีการประมวลผลของสมองซีกขวาจึงอยู่เหนือขอบเขตของความคิดและเหตผุ ล โดยจะแสดงผล

18 ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชัย สิงห์ยะบศุ ย์ ภาพประกอบท่ี 7 ระหดั วดิ น้ำ ชมุ ชนไทยเลยบา้ นนาหมมู ่น อำเภอดา่ นซ้าย จงั หวัดเลย ชาวบ้านเรยี กว่า “พดั วดิ น้ำ” เปน็ กรณตี ัวอยา่ งภมู ิปญั ญาของมนุษยใ์ นชมุ ชนเกษตรกรรมหลายแหง่ ในเอเชยี ท่ีเกดิ จากการใชค้ วามคดิ สร้างสรรค์และ ความคดิ เชงิ เหตผุ ลของสมองซกี ขวาและซกี ซา้ ย จากการเชื่อมโยงเปา้ หมายการวดิ น้ำเข้าส่ผู นื นา โดยใชพ้ ลงั งานการ ไหลของสายน้ำ ก่อเกดิ ศลิ ปกรรมเพอ่ื ประโยชน์ใช้สอย (Useful Art) ท่สี ัมพันธก์ ับสภาพแวดล้อมและวิถีชวี ติ ศลิ ปกรรมลักษณะนจี้ ึงทำหนา้ ทีบ่ ง่ บอกอัตลักษณ์หรือลกั ษณะทางวฒั นธรรมของกลมุ่ คนทเ่ี กย่ี วข้องได้พร้อมกัน ทมี่ า : พยงุ พร ศรจี นั ทวงษ์ ถ่ายภาพ เมือ่ พ.ศ. 2556 ออกมาในรปู ของสญั ชาตญาณ การหย่ังร้หู รือความรสู้ กึ สงั หรณซ์ ึง่ ไม่มีเหตุผล แตถ่ า้ ตดั สนิ ใจไปตามน้ัน แลว้ มักจะถูกตอ้ งเพราะมองเหน็ ทกุ อยา่ งเป็นภาพรวม จงึ สามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกนั ได้ เพราะผทู้ ีถ่ นัดการใชส้ มองซีกขวา จะมองแบบองคร์ วมก่อนและจึงพิจารณาแยกย่อยทำใหง้ านประสบ ความสำเร็จ เนอ่ื งจากเหน็ ความสมั พนั ธท์ ี่คนอ่ืนมองไมเ่ หน็ ดงั น้นั จึงกลา่ วได้วา่ สมองซกี ขวามีหนา้ ท่ี เก่ยี วขอ้ งกบั จติ ใจ และความรู้สกึ ของมนษุ ย์ เช่น ความตระหนักรใู้ นตนเอง (Self–Awareness)

สุนทรยี ศาสตร์ AESTHETICS 19 ภาพประกอบที่ 8 ภาพร่างการออกแบบเครอ่ื งบนิ เม่ือคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดย ดาวินซี (Leonado Davici,1452-1519) ศลิ ปินเอกสมยั ฟน้ื ฟูศลิ ปะวิทยาหรือ Renaissance ของอิตาลี ซึ่งเปน็ ผทู้ ่มี กี ารใชส้ มองทัง้ ซกี ซา้ ยและซีกขวาอย่างมี ประสทิ ธภิ าพ งานแตล่ ะชิน้ ของดาวนิ ซี โดยเฉพาะการคดิ ค้นและจนิ ตนาการถงึ เคร่ืองบนิ ล้วนใช้ศักยภาพของสมอง ท้ังสองซีกอยา่ งเป็นเลศิ (ภาพบน) การออกแบบดงั กล่าว ได้นำมาสกู่ ารคิดคน้ เกี่ยวกบั อากาศยานของมนุษยชาติ ซึ่ง ปัจจุบนั มนษุ ยส์ ามารถสรา้ งเครือ่ งบนิ ทีม่ สี มรรถสูง ทง้ั การขนสง่ การพาณิชย์ และการรบ ในภาพ (ภาพล่าง) คือ เคร่อื งบนิ รบ F-35 ของกองทพั สหรฐั อเมรกิ า ซึ่งเปน็ หน่งึ ในเครื่องบนิ รบที่ทนั สมัยทส่ี ุดในโลก ทมี่ า : Gardner, Helen (1970). Art through the Ages.(ภาพบน) และ www.wikipedia.org/f35. สบื คน้ เมื่อวนั ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559 (ภาพล่าง)

20 ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชยั สงิ ห์ยะบศุ ย์ ความเห็นใจผอู้ ืน่ (Empathy) ความ นา่ เช่อื ถือ (Trust) อารมณ์ (Emotion) การส่ือสารไมใ่ ช้จิตสำนึก (Non conscious communication) ความน่าดึงดูด (Attachment) และการแสดงอารมณ์ออกทาง สหี น้า (Recognition of Emotional Faces) เป็นต้น จากทีน่ ำเสนอมาข้างตน้ จึงเห็นไดว้ ่า สมอง ของมนุษยน์ ีเ่ อง เป็นกลไกสำคญั ในการจำแนกให้ มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์เดียรัจฉานมาก โดยเฉพาะ ในส่วนทเี่ กย่ี วข้องกบั การสร้างงานศิลปะ และ การช่ืนชมความงามและคณุ คา่ ของศลิ ปะ อันเกดิ จากความพิเศษของสมองซกี ขวาของมนุษย์ ทีม่ ี อยู่เหนอื กว่าสัตว์เดยี รจั ฉานท่ัวไป สง่ ผลใหป้ รากฏการณท์ ี่เกดิ ขึ้นจากมนุษย์ ถูกเรียกวา่ การสรา้ งสรรค์ ด้วยเป็นปฏิบตั ิการท่ีไมห่ ยุดนิ่งอยกู่ บั ที่ ในขณะท่ีสตั วเ์ ดียรัจฉานมไิ ด้เปลี่ยนพฤติกรรมหรอื ปรากฏการณ์ ทางวัตถทุ ี่มนั เคยทำ อาทิ รงั นก รวงผึง้ รังปลวก ซง่ึ เคยทำอยู่เช่นไร ก็ยงั คงดำรงอยู่เช่นเดมิ ดว้ ยเปน็ การปฏิบตั ิการออกมาจากสัญชาตญาณ หาใชค่ วามคิดสรา้ งสรรค์และทัศนะทางความงาม ดงั นั้น ปรากฏที่เกดิ ขึ้นจากการกระทำของสัตวจ์ งึ ไมถ่ ือเปน็ ศลิ ปะ ไมว่ า่ จะเปน็ รงั นกกระจอกฟา้ อันวิจิตร รังต่อ หัวเสอื อนั พิสดาร หรือเสยี งร้องอันไพเราะของสาลิกาดง จึงเปน็ ได้แค่เพยี งปรากฏการณ์หน่ึงของ ธรรมชาติ หรอื จัดอยู่ในกลุ่มของวัตถุธรรมชาติ ไม่ถือว่าเปน็ ศิลปะ กลิ ฟอร์ด (Guilford,J.P. 1956 : 128) นักจิตวิทยาดา้ นสมองคนสำคญั ท่คี น้ คว้าเกี่ยวกับ ความคดิ สร้างสรรค์ และงานของทา่ นได้รบั การอา้ งอิงมากทีส่ ดุ ทา่ นหนึง่ ได้เสนอผลงานศึกษาเก่ียวกับ ความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิดสรา้ งสรรคป์ ระกอบด้วยลกั ษณะสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความคล่องแคลว่ ในการคดิ คอื ความสามารถของบุคคลในการหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมคี ำตอบในปริมาณท่ีมากในเวลาจำกดั 2. ความคิดยืดหยนุ่ ในการคดิ คอื ความสามารถของบุคคลในการคดิ หาคำตอบไดห้ ลายประเภท และหลายทิศทาง 3. ความคิดรเิ ริ่ม คือ ความสามารถของบุคคลในการคิดหาส่ิงแปลกใหม่และเปน็ คำตอบที่ไม่ซำ้ กบั ผอู้ น่ื 4. ความคดิ ละเอยี ดลออ คือ ความสามารถในการกำหนดรายละเอยี ดของความคิดเพ่ือบ่งบอก ถงึ วิธสี ร้างและการนำไปใช้

สุนทรียศาสตร์ AESTHETICS 21 หลักความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด ม่งุ ไปที่ความสามารถของบุคคลทจ่ี ะคดิ ได้ รวดเร็ว กว้างขวาง และมคี วามคดิ ริเริ่ม ถา้ มสี ง่ เร้ามากระตนุ้ ให้เกิดความคิดนนั้ ๆ สิ่งเร้าทจ่ี ะมากระตนุ้ ใหเ้ กิด ความคดิ มีอยู่ 4 ชนิด คอื รูปภาพ สญั ลกั ษณ์ ภาษา และพฤติกรรม กิลฟอร์ด กลา่ วโดยสรปุ วา่ ความคิดสรา้ งสรรค์ เปน็ ความสามารถด้านสมองท่จี ะ คดิ ไดห้ ลายแนวทางหรือคดิ ไดห้ ลายคำตอบ ซง่ึ อารี พนั ธม์ ณี (2537 : 25) ได้กลา่ วถงึ ความคดิ สรา้ งสรรค์ว่าเป็นกระบวนการทางสมอง ที่คดิ ในลกั ษณะ ทหี่ ลากหลายนว้ี า่ การคดิ แบบอเนกนยั ทา่ นกลา่ ววา่ ความคิดแบบอเนกนัยเปน็ รากเหง้าสำคัญ ของการ สร้างสิ่งใหมๆ่ ให้ปรากฏในสงั คมมนษุ ย์ เป็นความคิดที่นำไปสู่การคิดคน้ คน้ พบสิง่ แปลกใหม่ จากการคิด ดดั แปลง ปรุงแตง่ จากความคิดเดิมผสมผสานกันให้เกิดสงิ่ ใหม่ รวมท้งั การประดษิ ฐค์ ิดค้นพบสง่ิ ตา่ ง ๆ ตลอดจนวธิ กี ารคดิ ทฤษฎหี ลกั การได้สำเรจ็ นั่นก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ ดังน้ัน ความคิดสรา้ งสรรค์ จะ เกดิ ขนึ้ ไดม้ ิใชเ่ พียงแต่คดิ ในสง่ิ ที่เปน็ ไปได้ หรือส่ิงที่เป็นเหตุผลเพียงอย่างเดยี วเทา่ น้ัน หากแต่ความคดิ เชงิ จินตนาการก็เปน็ ส่ิงสำคญั ยิง่ ที่จะก่อให้เกดิ ความแปลกใหม่ แต่ตอ้ งบูรณาการควบคกู่ นั ไปกบั ความ พยายามท่จี ะสรา้ งความคิดฝันหรอื จินตนาการน้นั ๆ ใหเ้ ป็นไปได้ หรือเรยี กวา่ เปน็ จนิ ตนาการประยุกต์ นั้นเอง จงึ จะทำใหเ้ กิดผลงานต่าง ๆ รวมทงั้ ผลงานศิลปกรรม เราจะสังเกตเหน็ วา่ การคิดค้นสงิ่ ทีแ่ ปลกใหม่ของมนษุ ย์ไม่วา่ ในด้านศิลปะ วรรณกรรม ดนตรี หรอื แม้แต่การคิดคน้ เชิงสร้างสรรค์ด้านวทิ ยาศาสตร์ เชน่ เครอ่ื งบิน ยานอวกาศ เรือดำน้ำ หรอื โครงการ Star War ของมหาอำนาจอเมรกิ า ล้วนมจี ดุ เร่มิ ตน้ ในการคดิ คำนึงฝัน อันเปน็ หน้าท่ขี องสมองซีกขวา สว่ นสมองซกี ซา้ ย มีหน้าทีแ่ สวงหาวธิ กี ารทำใหค้ วามคิดฝันของสมองซีกขวากลายเป็นความจรงิ ข้นึ มาให้ ได้ ดว้ ยสมองท้ังสองซีกมีเส้นใยประสาทท่ีเรียกว่า Corpus Callosum เปน็ ตัวเช่ือมโยงการทำงานของ สมองทงั้ 2 ซีกให้ทำงานผสานสัมพนั ธก์ ัน และทำใหม้ นุษยชาติสามารถสร้างปรากฏการณใ์ หม่ ๆ ได้อยา่ ง หลากหลายไมห่ ยดุ น่งิ กบั ทด่ี ังท่ปี รากฏในปัจจุบันได้อย่างน่าอัศจรรย์

22 ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สงิ หย์ ะบศุ ย์ มนุษย์กับการรับรู้ทางความงามหรอื สุนทรยี ภาพ มนุษยก์ ับความงามและความงามกับมนุษย์ ภาพประกอบท่ี 9 ผูห้ ญงิ ชนเผา่ Surma บ่งบอกวา่ มนุษยท์ ุกเผ่าพันธ์ุลว้ นมี ‘คา่ นยิ ม’ ทางความงามเปน็ ของตนเอง และ มีปฏบิ ตั ิการเพอื่ สรา้ งความงามใหเ้ กดิ ขน้ึ ดว้ ยการตกแต่งและดัดแปลงรา่ งกาย ใหเ้ ป็นไปตามคา่ นยิ มทางความงามของ ตน ในภาพ คอื ชนเผ่า Surma ในประเทศเอธโิ อเปยี ให้คา่ นยิ มความงามของผหู้ ญงิ ท่ลี กั ษณะกายภาพปากใหญแ่ ละ ห้อย ดังนัน้ ผหู้ ญิงในเผา่ น้ี จึงยอมเจบ็ ปวดทรมานเพอ่ื สรา้ ง ‘ความงาม’ ให้ปรากฏในเรอื นกายของตน ท่ีมา : www.surma and mursi woman สืบคน้ เม่ือวนั ท่ี 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สนุ ทรยี ศาสตร์ AESTHETICS 23 ดงั ทไี่ ดน้ ำเสนอข้างต้นวา่ สมองซกี ขวาของมนุษย์ นอกจากทำหน้าท่ีดา้ นความคดิ สรา้ งสรรค์ แล้ว ยังทำหน้าที่ สังเคราะห์ความซาบซึง้ ในดนตรีและศลิ ปะ ซ่ึงหมายถึง การรบั รทู้ างความงาม หรือ ในทางสุนทรียศาสตร์เรยี กว่า Aesthetic Perception อยา่ งไรกต็ าม การรับร้ปู รากฏการณ์ ตา่ ง ๆ ของมนษุ ย์ ได้อาศยั ประสาทสัมผัส ซ่ึงเรยี กวา่ Senses การรับร้ดู งั กล่าวเรยี กวา่ “ผัสสาการ” หรือ เพทนาการ หรอื Sensation ซ่งึ ต่อไปน้ีผ้เู ขียนจะอธิบายอยา่ งง่ายวา่ “การสัมผัสรับรู้” เปน็ สำคัญ การจำแนกการสัมผสั รับร้สู ่ิงหรอื ปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ เขา้ สู่สมองของมนุษย์ มหี ลายช่องทาง ตามเงือ่ นไขและวิถีการเข้ามาสู่รา่ งกาย ซง่ึ แยกตามประสาทสมั ผัสได้ 5 ดา้ น คือ ตา หู จมกู ล้นิ และ กายสัมผัส ประการสำคัญ การผ่านเขา้ มาสกู่ ารรับรขู้ องสมองในช่องทางประสาทสัมผสั ข้างต้น กลายเปน็ วิธีการจำแนกประเภทของศลิ ปะอีกระบบหน่งึ ซงึ่ ในกรณีของศลิ ปะและสุนทรียศาสตรน์ ัน้ ไม่ได้นับรวมการรับรทู้ างกลน่ิ ทีผ่ ่านจมูก ซึง่ เรยี กวา่ ฆานประสาท กบั การรับรทู้ างรสชาติผ่านล้นิ เรยี กวา่ ชิวหาประสาท ซ่ึงเป็นรสชาตทิ ่ไี ด้จากการด่มื รวมทั้งกายสัมผสั หรอื การสมั ผัสทางกายเข้ามานบั ร่วมเป็นศาสตรด์ ้านสนุ ทรียศาสตร์ ดงั นั้น ช่องทางของเพทนาการทโี่ ลกศลิ ปกรรมศาสตร์ จำแนก ประเภทของศลิ ปะตามประสาทรบั รู้ มี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คอื ทศั นศิลป์ (Visual Art) รบั รู้ผา่ นจักษุประสาท โสตศลิ ป์ (Auditory Art) รบั รผู้ ่านโสตประสาท สญั ลักษณ์ศิลป์ (Symbolic Art) รบั รูผ้ ่านการตีความเชงิ สัญลักษณ์ และ ศิลปะผสม (Mixed Art) กรณี สัญลกั ษณ์ศิลปน์ น้ั จัดเป็นการรบั รู้สำคญั อีกส่วนหนงึ่ ของมนุษย์ คือ การรับรู้อรรถรสแห่ง ความงาม ที่อย่นู อกเหนือจากประสาทสัมผัสทางกาย ตา และหู คอื การรับรจู้ ากการประมวลผลเชิง ความหมาย และส่งผลกระทบต่อความรสู้ กึ ทางความงาม ไม่งาม เปน็ การแสดงออกผา่ นระบบสญั ลกั ษณ์ คือ วรรณกรรม ทต่ี อ้ งอาศัยภาษาซึง่ ดำรงอยู่ในลักษณะสญั ลักษณเ์ ปน็ เคร่ืองมอื สง่ สาร ศิลปะกลมุ่ หลังจึง ถูกเรียกวา่ สญั ลักษณศ์ ิลป์ หรอื Symbolic Art กระน้ัน นอกจากนี้ ยงั มศี ลิ ปะท่ีถูกสรา้ งสรรค์โดยผนวก รวมศิลปะประเภทตา่ ง ๆ ขา้ งต้นเข้าไวด้ ้วยกัน หรือรับร้ผู า่ นประสาทสัมผัสทห่ี ลากหลาย และพิเคราะห์ คณุ ค่าพรอ้ ม ๆ กันไปอย่างบูรณการและผสมผสานระหว่างกนั ศลิ ปะกลุ่มน้ี อาทิ ภาพยนตร์ ละคร และ ศลิ ปะการแสดงต่าง ๆ จึงถูกจัดเป็นศิลปะอีกกลุม่ หนง่ึ คือ ศิลปะผสม หรอื Mixed Art ซง่ึ หมายถงึ ศิลปะ

24 ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สงิ ห์ยะบศุ ย์ ทเี่ กดิ จากการผสมผสานการใช้สอื่ นำเสนอที่หลากหลาย และการรับรู้ท่ีแตกตา่ งมาบูรณการไว้รว่ มกัน น่ันเอง (ศุภชยั สิงหย์ ะบุศย์. 2546 : 36-39) ภาพประกอบที่ 10 “รามเกยี รต์”ิ ศิลปะการแสดง หรอื นาฏยประดษิ ฐ์ เปน็ ศลิ ปะที่เกดิ จากการผสานกันท้งั ทัศนศลิ ป์ (ฉาก เครื่องแต่งกาย ท่าทางที่มองเห็น) ดรุ ิยางศลิ ป์ (บทเพลงหรือเสยี งดนตรีประกอบการแสดง) สญั ลกั ษณศ์ ิลป์ (เน้ือหาวรรณกรรมท่ีนำมาใชแ้ สดง) จึงเรยี กว่า ศิลปะผสม นอกจากน้ี ในทางการรับรทู้ างความงาม ผชู้ มงานศลิ ปะ ประเภทนี้ จะต้องรับรู้ผา่ นประสาทสัมผสั ตา หู และการประมวลผลทางสญั ลักษณด์ ้านภาษา และชน่ื ชมความงามอย่าง บูรณาการควบคกู่ ันไปทุกดา้ น ในภาพเปน็ การแสดงโขนเรือ่ งรามเกยี รตศ์ิ ลิ ปะระดบั ชาตขิ องไทย ซึง่ ถกู นำเสนอในฐานะ ภาพตวั แทนในสมดุ บันทึกประจำวนั กระทรวงการตา่ งประเทศ ราชอาณาจกั รไทย เพอื่ เผยแพรล่ กั ษณะของความเป็น ชาติไทยผ่านนาฏยศลิ ปกรรมโขน ซ่งึ เป็นศิลปะการแสดงขั้นสงู ในระดับราชสำนักของไทยไปพรอ้ มกนั ทีม่ า : Thailand Executive Diary 2016 (2016).

สนุ ทรยี ศาสตร์ AESTHETICS 25 ภาพประกอบท่ี 11 “Rama Rama 1” จติ รกรรมสีนำ้ มนั ของ Mr. Mc Mc Yin Minn ศิลปินอาวโุ สชาวเมยี นมาร์ และศลิ ปนิ Venerable Artist ศลิ ปกรรมรว่ มสมัยลุ่มน้ำโขงประจำปี 2016 มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม ทา่ นได้นำเอา ศลิ ปะการแสดงรามเกยี รตใ์ิ นประเทศสหภาพเมียนมาร์มาเปน็ เนอื้ หาการสรา้ งสรรค์ ซงึ่ รามเกียรติ์ของเมยี นมาร์ปจั จบุ นั เป็นศลิ ปะการแสดงเพื่อความบันเทงิ ในระดับประชาชน มคี ณะการแสดงกระจายท่ัวไปในชมุ ชนต่าง ๆ ของเมียนมาร์ ทม่ี า : สูจิบัตร CLMTV Contemporary Art 2016 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม (2559).

26 ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชัย สิงห์ยะบศุ ย์ ภาพประกอบท่ี 12 “ฟอ้ นเล็บผไู้ ทย” ผไู้ ทยเปน็ กลุม่ ชาตพิ นั ธ์ดุ งั้ เดมิ ในภาคตะวันออกเฉยี งเหนือท่มี เี อกลักษณ์ดา้ น ศิลปกรรมในมติ ิวัฒนธรรม ท้งั ด้านการทอผ้าแพรวาและศลิ ปะการฟ้อนรำ ในภาพเป็นการฟอ้ นเล็บของสตรีผไู้ ทยชุมชน บา้ นโพน อำเภอคำม่วง จงั หวดั กาฬสนิ ธ์ุ เป็นการฟอ้ นประกอบกับเสียงดนตรีและเสยี งลำผูไ้ ทยท่มี จี ังหวะเร้าใจ จดั เป็น ศิลปะผสมหรอื Mixed Art ท่เี กดิ ขนึ้ ภายใต้เงือ่ นไขทางวัฒนธรรมระดับกลมุ่ ชาติพันธ์ุ ปัจจบุ ันศลิ ปะการแสดงฟ้อนเลบ็ ผูไ้ ทย ไดถ้ กู นำเสนอเทศกาลต่าง ๆ ของชุมชนผไู้ ทยและเป็นหน่งึ ในภาพตวั แทนศลิ ปะการแสดงของจังหวัดกาฬสินธ์ุ ทม่ี า : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวดั กาฬสนิ ธ.์ุ (2559). มหศั จรรย์ถนิ่ ผ้ไู ทยราชนิ ีแห่งไหมแพรวา Amazing Phuthai. ประสบการณ์ชวี ติ และประสบการณ์สุนทรยี ะ จากกรณีมนษุ ย์กับการรบั รทู้ างศิลปะผ่านเพทนาการ หรอื ประสาทสัมผัสด้านตา่ ง ๆ ดังกล่าว มาขา้ งต้น ในข้ันตอนของการสัมผัส รบั รู้ นัน้ เรียกว่าเป็นประสบการณ์ของมนุษย์ แต่ในทาง สุนทรียศาสตร์ ได้พิเคราะหจ์ ำแนก ประสบการณท์ างสนุ ทรียะ ออกจาก ประสบการณ์ของชวี ิต แม้วา่ จะเป็นการสัมผสั รบั ร้ใู นปรากฏการณศ์ ลิ ปะหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติชดุ เดยี วกันกต็ าม

สนุ ทรยี ศาสตร์ AESTHETICS 27 ภาพประกอบท่ี 13 นกเขาชวาเสยี ง สะทอ้ นให้เห็นว่ามนุษยแ์ ต่ละกลมุ่ ชาตพิ นั ธุ์ได้ให้ความหมายทางสนุ ทรยี ภาพแตล่ ะ ดา้ นแตกต่างกนั ไป ในชมุ ชนมสุ ลมิ ภาคใต้ของไทยและประเทศเพือ่ นบ้านมาเลเซยี อนิ โดนเี ซียและบรู ไน นยิ มรบั สนุ ทรี ยรสจากเสยี งร้องของนกเขาชวากลายเปน็ ลกั ษณะรว่ มของชาวมสุ ลมิ และไดจ้ ดั เป็นงานประกวดแขง่ ขนั นกเขาชวาเสยี ง ท้ังในระดับประเทศและเอเชยี และมธี รุ กิจเกย่ี วกบั นกเขาชวาเสยี งอย่างหลากหลาย เสยี งของนกเขาชวาจงึ นอกจากจะ มคี วามหมายทางสุนทรียะทางเสยี งแลว้ ยงั สง่ ผลต่อเศรษฐกจิ และสังคมไปพรอ้ มกนั ทีม่ า : https://yala-patani-naratiwat.blogspot.com สบื คน้ เมอ่ื วันท่ี 23 กันยายน พ.ศ. 2559 ทงั้ น้ี โดยภาพรวมของการรับรู้เก่ียวกับคำว่า “สนุ ทรียะ” มีความหมายวา่ “ความงาม” ดงั น้ัน จึงสามารถอนโุ ลมสรุปไดอ้ ยา่ งง่ายวา่ ประสบการณส์ นุ ทรียะกค็ ือประสบการณ์เก่ยี วกับความงาม เมื่อ พเิ คราะห์บนฐานคิดน้ี ประสบการณ์ทางสนุ ทรยี ะจึงมมี าพร้อม ๆ กับมีมนุษย์และสังคมมนษุ ย์ และ ในทางประวตั ศิ าสตรก์ ็ไม่ปรากฏว่ามมี นษุ ยย์ ุคใดท่ีมไิ ด้มคี วามสัมพันธ์กับความงาม อย่างน้อยท่สี ุด หลกั ฐานศิลปวัตถตุ า่ ง ๆ ก็ได้สะทอ้ นใหเ้ ห็นว่า มีมิติลกั ษณ์หรอื คตนิ ิยมทางความงามในยุคสมยั นน้ั ๆ

28 ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชัย สิงห์ยะบศุ ย์ ประจอุ ยดู่ ้วยเสมอ แตป่ ระเด็นสำคัญทางสนุ ทรียศาสตร์ คือ มนษุ ย์ได้สมั ผสั รับรู้ ศิลปวัตถุ นนั้ ๆ ด้วย ประสบการณ์ทางสุนทรียะ หรือ ประสบการณ์ของชีวิต ซึ่งมีความแตกตา่ งกันโดยนัยยะ ภาพประกอบที่ 14 “Ugly or not?” จิตรกรรมสนี ้ำมนั ของ Mr. Saw Kyan Zan ศิลปินรนุ่ เยาวช์ าวเมียนมารผ์ ไู้ ด้รบั รางวัล Young Artist Award จากการแสดง CLMTV Contemporary Art 2016 ที่มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม ผลงาน ของเขานำเสนออย่างประชดประชันคา่ นิยมทางความงามของหญิงสาวชาวเมยี นมาร์ท่ีกำลงั เปล่ียนแปลงไป ภายหลัง จากรัฐบาลเปดิ ประเทศรับความทนั สมัย ทำใหห้ ญงิ สาวชาวเมยี นมารจ์ ำนวนมากเริ่มละท้งิ ทานาคา ศลิ ปะภมู ปิ ัญญาการ ประทนิ ใบหนา้ และค่านิยมทางความงามของคนเมยี นมารห์ นั มาใช้เครื่องสำอางจากตา่ งประเทศและแต่งหน้าอยา่ งสาว วัฒนธรรมสากล ศลิ ปนิ รสู้ กึ ถึงการสูญเสียเอกลักษณท์ างวัฒนธรรมและค่านิยมทางความงาม จึงเขียนภาพวยั รุน่ หญงิ เมียนมาร์แบบดง้ั เดิมพรอ้ มต้ังชอื่ ภาพเชงิ คำถามทศั นะทางความงามกับสังคมเมยี นมาร์ว่า “นา่ เกลยี ดใชไ่ หม?” ท่ีมา : สจู บิ ัตร CLMTV Contemporary Art 2016 คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (2559).

สนุ ทรียศาสตร์ AESTHETICS 29 ประสบการณส์ ุนทรยี ะ : ความหมายและความเข้าใจท่ถี กู ต้อง ประสบการณ์ของมนษุ ย์ มมี ากมายหลายอย่างหลากกรณี แต่ ประสบการณ์สุนทรียะ น้ัน มี ลักษณะแตกตา่ งออกไปจากประสบการณ์ท่วั ไปของชีวิต ตามหลักจิตวิทยาแล้ว ประสบการณท์ าง สุนทรียะ จะมีลักษณะสมั พันธ์กับเป้าหมายทางอารมณ์สุนทรียะ กล่าวคือ บางครง้ั เรารับฟังเสียง บางอยา่ ง เพ่ือสนองความอยากฟังเสยี งเท่าน้นั และบางทีก็อยากเหน็ สีสันบางสี เพ่ือสนองความอยาก เหน็ เท่านนั้ เม่อื ได้ฟังและไดเ้ หน็ สง่ิ ขา้ งตน้ แล้ว ก็บงั เกิดความพงึ พอใจทีเ่ กดิ จากการไดร้ ับรูโ้ ดย ไมส่ นใจ เร่อื งประโยชน์ จากสิ่งท่ีเปน็ ต้นกำเนดิ เสียงหรือสสี ันน้นั ๆ นั่นเอง ลกั ษณะดังกล่าวนี้ จกั ทำให้เกิด ประสบการณท์ างสนุ ทรียะ ซึ่งแตกต่างจากประสบการณอ์ ื่น ๆ ของชีวิต ซึ่งแฝงไวด้ ว้ ยความคดิ และ ความรูส้ กึ นึกคดิ เรื่องประโยชน์ หรอื ความคาดหวังอนื่ ๆ จากสงิ่ ๆ นนั้ ผนกึ ตดิ เข้ามาด้วย ประสบการณ์ ชวี ิตท่มี ุ่งประโยชน์เชน่ นน้ั จะทำให้เราสมั ผสั รบั ร้สู ิ่งตา่ ง ๆ ผา่ นการคิดวา่ มนั มีประโยชนห์ รอื ไม่ โดยให้ ความสนใจท่ีจะ ร่อนหาประโยชน์อน้ พงึ จะได้รบั มากกวา่ เรอ่ื งเสีย สสี ัน ที่พ่ึงจะบงั เกดิ ความรูส้ ึกเปย่ี ม สขุ เบิกบานใจ ไม่ว่า จากการสมั ผัสรับร้ธู รรมชาติหรือศิลปะก็ตาม ศภุ ชยั สงิ ห์ยะบศุ ย์ (2536 : 11) ได้ยกตวั อย่างกรณีประสบการณ์ทางสุนทรยี ะไวใ้ นหนังสือ ทศั นศลิ ป์ปรทิ ัศน์ ตอนท่ีวา่ ด้วย การรับร้ทู างสุนทรยี ะคือการรบั รูท้ างความงาม โดยยกตัวอยา่ งบคุ คล สองคน ไปเทย่ี วชมทศั นียภาพริมฝัง่ นำ้ สายหนึง่ ดว้ ยกนั คนแรกมองเห็นทัศนยี ภาพของธรรมชาตอิ นั หมด จดงดงามแห่งน้ัน ดว้ ยความชื่นชมในธรรมชาตทิ ่ยี งั บรสิ ทุ ธิพ์ สิ ทุ ธิย์ ิ่ง เขาไดฟ้ ังเสียงนกไพรหลากชนดิ เปล่ง เสยี งรอ้ งประชนั เสยี งเจื้อยแจ้วระงมคุ้งน้ำและราวป่าด้วยความปีตยิ ินดี ซง่ึ เปน็ ปรากฏการณท์ ีเ่ ขาไมเ่ คย พบเห็นในเมืองใหญท่ ่ีอาศัยอยู่ ส่วนเพอ่ื นท่ีมาด้วยกัน ก็สัมผัสทศั นียภาพเดียวกัน แต่บุคคลทีส่ องกลับ ครนุ่ คิดและประเมนิ ไปว่า อนั บริเวณปา่ และคุ้งนำ้ แหง่ น้ี หากจัดให้เป็นท่ีพักผ่อนในรปู แบบของรีสอรท์ กลางปา่ แล้วจะเป็นทำเลธรุ กิจที่วิเศษมาก พร้อมกนั น้ัน สมองของเขายงั ขบคดิ ไกลไปถงึ ความเป็นไปได้ ในการทจ่ี ะตดั ถนนเขา้ ส่สู ถานทแ่ี หง่ น้ี คำนวณงบประมาณการคา่ ใช้จา่ ยในโครงการท้งั หมดทน่ี ่าจะ เกิดข้นึ เช่น ราคาที่ดินทจี่ ะกว้านซอื้ งบประมาณโครงการกอ่ นสรา้ งอาคารที่พัก การบริหารจดั การที่พัก การประชาสัมพนั ธ์ผู้บริโภคให้สนใจและมาเข้าพัก ฯลฯ

30 ศาสตราจารย์ ดร.ศภุ ชัย สงิ ห์ยะบศุ ย์ ภาพประกอบที่ 15 “ทะเลหมอก” ปรากฏการณธ์ รรมชาตทิ อี่ ำเภอเขาค้อ จังหวดั เพชรบูรณ์ เปน็ สถานท่ี ท่องเท่ียวท่ีมชี ือ่ เสียง มนี ักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้ามาเยือนเพื่อช่นื ชมทะเลหมอก และมธี รุ กิจโรงแรม ท่ีพักอาศยั จำนวนมากสรา้ งข้นึ รองรบั นักทอ่ งเทีย่ ว ซึง่ นักท่องเทย่ี วกบั เจา้ ของกจิ การหรอื ผปู้ ระกอบการโรงแรมย่อมมีการรับรู้ และจับจ้องทะเลหมอกต่างกนั กลมุ่ แรก เนน้ การมาชน่ื ชมทางความงามหรือสนุ ทรยี ะ เปน็ การรับรู้ทางสนุ ทรียะ ขณะท่ี กลุม่ หลงั เป็นนักธรุ กจิ มงุ่ หาผลประโยชนจ์ ากพนื้ ที่ ประสบการณส์ นุ ทรียะ หรอื อารมณ์ทางสุนทรยี ะยอ่ มมนี อ้ ยกว่า กลุ่มแรกด้วยมุ่งมองดา้ นการคา้ กำไร ขาดทนุ และการบรหิ ารจัดการชว่ งชิงลูกคา้ เปน็ สำคญั ทม่ี า : www.sanook.com/travel สืบคน้ เมอ่ื วันท่ี 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559 จะเห็นได้วา่ แมป้ รากฏการณ์ท่มี นษุ ย์รับร้มู าจากส่ิงเดยี วกัน แตค่ วามคดิ จากการได้สมั ผัสรับรู้ กลบั แตกตา่ งกนั ซ่ึงคนแรกเป็นกรณตี วั อยา่ งของคนท่ีรับรูแ้ ละบังเกิด ประสบการณส์ ุนทรียะ ส่วนคนที่ สองรบั รู้อย่างมเี ง่ือนไข ประสบการณ์ของชวี ิต กำกับ ผลที่เกดิ ขึน้ กับคนแรกและคนทส่ี องจึงแตกตา่ งกนั กลา่ วคอื คนแรกที่รับรผู้ ่านประสบการณ์สุนทรียะ จะมีความสขุ มอี ารมณ์อนั ปตี ยิ นิ ดจี ากการรบั รสใน ภาพและเสยี ง จนมภี าวะอารมณ์ที่หลดุ พ้นไปจากอารมณท์ ั่วไปของชีวิตจรงิ ทีเ่ ผชญิ อยู่ จงึ เกิดความร้สู ึก ผ่อนคลาย สบายใจจากประสบการณส์ ุนทรยี ะที่เกดิ ข้นึ ขณะท่บี ุคคลทสี่ อง กลบั พนิ ิจปรากฏการณ์

สุนทรียศาสตร์ AESTHETICS 31 ธรรมชาติเบื้องหน้าดว้ ยการครุ่นคิดถงึ ประโยชน์ทางธุรกิจ ภาวะของอารมณ์สนุ ทรียะทจี่ ักดมื่ ดำ่ ต่อ ธรรมชาตทิ ่งี ดงามเบ้ืองหน้า จึงไม่เกดิ ขึ้นหรือเกดิ ขึน้ ในระดับท่ีนอ้ ยกวา่ บุคคลแรก อยา่ งไรก็ตาม ในความเป็นจริงสำหรับบางสถานการณ์ บางครงั้ บางโอกาสเราก็มิอาจจำแนก แยกแยะให้ขาดจากกนั ไดเ้ ด็ดขาด ระหวา่ งประสบการณส์ ุนทรยี ะกับประสบการณ์ของชวี ิต อาทิ กรณี ช่างออกแบบเสื้อผา้ แฟช่นั ในกับนกั เดนิ แบบเพื่อชิงรางวลั สำคัญ พวกเขาจะต้องคำนึงไปพรอ้ ม ๆ กนั ระหวา่ งความงามของรปู แบบ และทัศนธาตุต่าง ๆ ท่ีปรากฏอยกู่ บั ชดุ แฟชั่น อย่างมีความเหมาะเจาะกับ ลักษณะเดน่ ของนางแบบ อีกทง้ั ตอ้ งคำนงึ ถงึ คู่แข่งท่ีจะส่งนางแบบและชุดแฟชัน่ มาแขง่ ขันกับตน รวมทง้ั การคาดเดาความพอใจของกรรมการแตล่ ะคนท่เี ป็นผ้ใู ห้คะแนนว่า จะพอใจที่จดุ เน้นสว่ นใดเปน็ สำคัญ การณเ์ ช่นน้ี นกั ออกแบบจึงตอ้ งมคี วามคิดท่ีทบั ซ้อน ถกั สานกันไปมาระหวา่ ง การรบั รทู้ าง สุนทรียะ และ การพิเคราะห์เชงิ ประโยชน์ ดา้ นอ่ืน ๆ ที่ผสมผสานอยู่ด้วยกนั อยา่ งยากจะแยกออกจาก กันได้เบด็ เสร็จเดด็ ขาด สรุปบทท่ี 1 มนษุ ยเ์ ปน็ ส่ิงมีชีวิตพเิ ศษกวา่ สตั ว์ชนิดใด คอื มีระบบของสมองท่ีทำงานทง้ั ด้านความคดิ เชงิ สรา้ งสรรค์ คำนึงฝนั รบั รู้ทางความงาม และการคิดเชิงเหตุผล มนุษยจ์ งึ สามารถปรบั ตวั กับสิ่งแวดล้อม และสามารถสร้างสรรคส์ งิ่ ต่าง ๆ ข้ึนท้ังเพ่ือการดำรงชวี ิตในฐานะปัจจยั สี่ และเพ่ือตอบสนองอารมณ์และ การรับร้ทู างความงาม ดังนน้ั ในทางสนุ ทรียศาสตร์ ปรากฏการณ์ในโลกจึงถูกแบง่ เปน็ สองสว่ น คือ สว่ น ทมี่ นุษยส์ รา้ งข้นึ ทม่ี ิใชส่ ญั ชาตญาณ เรียกวา่ “วัตถุศิลปะ” หรอื “ปรากฏการณศ์ ิลปะ” หรือ Artifacts ซึง่ เป็นวัตถหุ รือปรากฏการณ์ท่ีเกิดจากการทำงานผสานกันระสมองท้ังสองซีกของมนุษย์ ทัง้ ดา้ นความคดิ เชิงเหตุผล ความคดิ สรา้ งสรรค์ การรบั รู้ทางความงามเป็นโครงสร้างหลัก กบั ปรากฏการณท์ ม่ี ใิ ช่ Artifact คอื ปรากฏการณท์ างธรรมชาติ เชน่ ภูเขา แมน่ ำ้ ทอ้ งฟา้ และปรากฏการณ์ทเี่ กดิ จากการกระทำของ สตั วท์ ั่วไป เรียกวา่ ปรากฏการณท์ างธรรมชาติ เรียกว่า Natural Phenomenal ท้งั น้ี รวมท้งั พฤติกรรม ต่าง ๆ ของมนษุ ย์ท่เี กิดจากสัญชาตญาณ อยา่ งไรก็ตาม ปรากฏการณทางศลิ ปะและธรรมชาติข้างตน้ ก็ สามารถเปน็ สง่ิ ท่ีกอ่ เกิดการรบั ร้ทู างความงาม ซึง่ การรบั ร้ทู างความงามจะต่างจากการรบั รู้ท่วั ไป ดว้ ย

32 ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชยั สิงหย์ ะบศุ ย์ เป็นการรบั รู้และบังเกดิ ความรู้สกึ ชืน่ ชมยนิ ดเี ปน็ สำคญั หาใช่การคิดเพ่ือการนำไปในการสร้างประโยชน์ อนื่ ใด กระนน้ั ในความเปน็ จริง กอ็ าจจะไมส่ ามารถจำแนกการรบั ร้ทู างความงาม กบั การคดิ เชงิ ประโยชน์ใช้สอยใหข้ าดจากกันโดยสิ้นเชิงได้อย่างเบด็ เสร็จเด็ดขาด

สนุ ทรียศาสตร AESTHETICS สนุ ทรยี ศาสตร หรอื AESTHETICS เปน “ศาสตร” ทดี่ าํ รง อยทู ้งั ใน โลกศลิ ปกรรมศาสตร และ โลกปรัชญา ในบรบิ ท ของ ‘ศลิ ปกรรมศาสตร’ สนุ ทรยี ศาสตรเปน หนงึ่ ในสข่ี อง แกน หลกั ศลิ ปกรรมศาสตร ประกอบดวยปฏบิ ัติการศลิ ปะ ประวตั ศิ าสตรศิลปะ สุนทรยี ศาสตร และศิลปวิจารณ ในบรบิ ทของ ‘ปรชั ญา’ สุนทรียศาสตร จดั อยูใน ปรัชญา สาขาคุณคา เรียกวา คุณวทิ ยา หรือ Axiology ดังนัน้ นักปรชั ญาทั่วไปจึงเรยี ก วิชาสุนทรยี ศาสตรวา “ปรชั ญาสุนทรยี ศาสตร” หรือ Aesthetics Philosophy หนังสอื สุนทรียศาสตร AESTHETICS เลมน้ี ผูเขียน ศาสตราจารย ดร.ศภุ ชัย สิงหยะบุศย ไดนําเสนอความรูตงั้ แต ระดับ ‘ฐานรากทางประวัติศาสตร’ ของ “สุนทรยี ศาสตร” ที่สมั พนั ธก ับสงั คมกรีกโบราณ และนาํ เสนอทฤษฎีหลักทาง สุนทรียศาสตรท ่ีสัมพนั ธกบั ผลงานศิลปะ พฒั นาการทาง ศลิ ปะ และพฒั นาการทางสงั คมโลกอยางครอบคลมุ พรอ มยกตัวผลงานศิลปะท่มี ี ‘นัยสําคญั ทางสนุ ทรยี ศาสตร’ พรอมพรรณนาวเิ คราะหใหเ ขา ใจถงึ ‘คุณคา ทางสุนทรียะ’ ในผลงานดังกลา ว ดว ยองคค วามรสู นุ ทรียศาสตรและทฤษฎี ทางสนุ ทรียศาสตรทเี่ กีย่ วขอ ง อันเปน ‘บทบาทหนา ที่ของ สนุ ทรยี ศาสตร’ อยางแจมกระจาง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook