ผู้ปฏิบตั ิ บทบาทหนา้ ทใ่ี นการประเมินพัฒนาการ พ่อ แม่ ผูป้ กครอง ๑. ให้ความร่วมมือกับผู้สอนในการประเมินพฤติกรรมของเด็กที่สังเกตได้ จากทบี่ า้ นเพือ่ เปน็ ขอ้ มลู ประกอบการแปลผลทีเ่ ทย่ี งตรงของผสู้ อน ๒. รับทราบผลการประเมินของเด็กและสะท้อนให้ข้อมูลย้อนกลับที่เป็น ประโยชนใ์ นการสง่ เสรมิ และ พัฒนาเดก็ ในปกครองของตนเอง ๓. รว่ มกบั ผู้สอนในการจดั ประสบการณห์ รือเปน็ วทิ ยากรท้องถ่ิน คณะกรรมการ ๑. ให้ความเห็นชอบและประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยและแนว สถานศกึ ษาข้นั ปฏบิ ัติในการประเมิน พฒั นาการตามหลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั พ้นื ฐาน ๒. รับทราบผลการประเมินพัฒนาการของเด็กเพื่อการประกันคุณภาพ ภายใน สำนักงานเขตพื้นที่ ๑. ส่งเสริมการจัดทำเอกสารหลักฐานว่าด้วยการประเมินพัฒนาการของ การศกึ ษา เดก็ ปฐมวัยของสถานศกึ ษา ๒. ส่งเสริมให้ผู้สอนในสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในแนวปฏิบัติการ ประเมินพัฒนาการตาม มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร สถานศึกษาปฐมวัย ตลอดจนความเข้าใจในเทคนิค วิธีการประเมิน พัฒนาการในรปู แบบตา่ งๆโดยเนน้ การประเมนิ ตามสภาพจริง ๓. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาเครื่องมือพัฒนาการตาม มาตรฐานคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและการ จัดเกบ็ เอกสารหลักฐานการศกึ ษาอย่างเปน็ ระบบ ๔. ให้คำปรึกษา แนะนำเก่ียวกับการประเมินพัฒนาการและการจัดทำ เอกสารหลักฐาน ๕. จัดให้มีการประเมินพัฒนาการเด็กที่ดำเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดและให้ความร่วมมือในการประเมินพัฒนาการ ระดับประเทศ แนวปฏบิ ัติการประเมนิ พัฒนาการ การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ในการจัดประสบการณ์ ทุกขั้นตอนโดยเริ่มตั้งแต่การประเมินพฤติกรรมของเด็กก่อนการจัดประสบการณ์ การประเมิน พฤติกรรมเด็กขณะปฏิบัติกิจรรมและการประเมิน พฤติกรรมเด็กเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติกิจกรรม ทั้งนี้ พฤติกรรมการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กที่ได้รับการประเมินนั้น ต้องเป็นไปตาม มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ของหลักสูตร สถานศึกษาระดับ ปฐมวัยที่ผู้สอนวางแผนและออกแบบไว้ การประเมินพัฒนาการจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ การเรียนรขู้ องเด็กบรรลุตามเป้าหมาย เพอ่ื นำผลการประเมินไปปรบั ปรุง พัฒนาการจดั ประสบการณ์ การเรียนรู้และใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาเด็กต่อไป สถานศึกษาควรมีกระบวนการประเมิน พัฒนาการและการจัดการอย่างเป็น ระบบสรุปผลการประเมินพัฒนาการที่ตรงตามความรู้
ความสามารถ ทักษะและพฤติกรรมที่แท้จริงของเด็กสอดคล้อง ตามหลักการประเมินพัฒนาการ รวมทง้ั สะท้อนการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างเปน็ ระบบและต่อเนื่อง แนวปฏบิ ัตกิ ารประเมนิ พฒั นาการเดก็ ปฐมวยั ของสถานศกึ ษา มีดังนี้ ๑.หลักการสำคัญของการดำเนินการประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ สถานศกึ ษาท่จี ัดการศึกษาปฐมวัยควรคำนึงถงึ หลกั สำคัญของการดำเนินงานการ ประเมินพฒั นาการตามหลกั สตู ร การศึกษาปฐมวัย สำหรบั เดก็ ปฐมวยั อายุ ๓-๖ ปี ดังน้ี ๑.๑ ผู้สอนเป็นผู้รับผิดชอบการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่ เกี่ยวขอ้ งมีสว่ นรว่ ม ๑.๒ การประเมินพัฒนาการ มีจุดมุ่งหมายของการประเมินเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของ เดก็ และสรปุ ผลการประเมนิ พัฒนาการของเด็ก ๑.๓ การประเมินพัฒนาการต้องมีความสอดคล้องและครอบคลมุ มาตรฐานคุณลักษณะท่ี พงึ ประสงค์ ตวั บ่งช้ี สภาพทพี่ ึงประสงค์แตล่ ะวยั ซงึ่ กำหนดไวใ้ นหลักสูตรสถานศึกษา ปฐมวยั ๑.๔ การประเมนิ พฒั นาการเป็นส่วนหนงึ่ ของกระบวนการจัดประสบการณ์การเรยี นรู้ต้อง ดำเนนิ การด้วยเทคนิควธิ ีการที่หลากหลาย เพือ่ ใหส้ ามารถประเมนิ พัฒนาการเด็กได้ อย่างรอบด้านสมดุลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมท้ัง ระดบั อายขุ องเดก็ โดยตั้งอยู่บนพืน้ ฐานของความเทยี่ งตรง ยตุ ิธรรมและเชื่อถอื ได้ ๑.๕ การประเมินพฒั นาการพิจารณาจากพฒั นาการตามวยั ของเด็ก การสังเกตพฤติกรรม การเรยี นร้แู ละการรว่ มกิจกรรม ควบคไู่ ปในกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับอายุ และรูปแบบ การจัดการศึกษา และต้อง ดำเนนิ การประเมนิ อยา่ งตอ่ เนื่อง ๑.๖ การประเมินพัฒนาการต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝุายได้สะท้อนและ ตรวจสอบผลการประเมินพฒั นาการ ๑.๗ สถานศึกษาควรจัดทำเอกสารบันทึกผลการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยใน ระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา เช่น แบบบันทึกการประเมินพัฒนาการตาม หน่วยการจัดประสบการณ์ สมุดบันทึกผลการประเมน พัฒนาการประจำชั้น เพื่อ เป็นหลักฐานการประเมินและรายงานผลพัฒนาการและสมุดรายงานประจ ำตัว นกั เรยี น เพอื่ เป็นการส่ือสารข้อมลู การพฒั นาการเดก็ ระหวา่ งสถานศึกษากับบ้าน ๒. ขอบเขตของการประเมินพฒั นาการ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ได้กำหนดเป้าหมายคุณภาพของเด็ก ปฐมวัยเป็นมาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งถือเป็นคุณภาพลักษณะที่พึงประสงคท์ ี่ต้องการให้ เกิดขึ้นตัวเด็กเมื่อจบหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย คุณลักษณะที่ระบุไว้ในมาตรฐานคุณลักษณะท่ี พึงประสงค์ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กทุกคน ดังนั้น สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าท่ี และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพ มาตรฐานที่พึงประสงค์กำหนด ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย แนวคิดดังกล่าวอยู่บน
ฐานความเชือ่ ที่ว่าเด็กทกุ คนสามารถพัฒนาอย่างมีคุณภาพและเท่าเทยี มได้ ขอบเขตของการประเมนิ พัฒนาการประกอบด้วย ๒.๑ ส่ิงทจ่ี ะประเมิน ๒.๒ วิธแี ละเครือ่ งมอื ท่ใี ชใ้ นการประเมิน ๒.๓ เกณฑ์การประเมินพัฒนาการ การประเมินพัฒนาการส าหรับเด็กอายุ ๓-๖ ปี มี เป้าหมายสำคญั คือ มาตรฐานคณุ ลกั ษณะท่ีพงึ ประสงคจ์ ำนวน ๑๒ ขอ้ ดังน้ี ๑. พัฒนาการดา้ นรา่ งกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๑ รา่ งกายเจรญิ เตบิ โตตามวยั และมสี ขุ นิสัยทีด่ ี มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเน้ือใหญ่และกล้ามเน้ือเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคลอ่ งแคล่ว และประสาน สมั พันธก์ นั ๒. พฒั นาการดา้ นอารมณ์ จิตใจ ประกอบดว้ ย ๓ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๓ มสี ุขภาพจติ ดแี ละมคี วามสุข มาตรฐานที่ ๔ ชน่ื ชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลือ่ นไหว มาตรฐานท่ี ๕ มคี ณุ ธรรม จริยธรรม และมจี ติ ใจท่ีดงี าม ๓. พฒั นาการด้านสังคม ประกอบดว้ ย ๓ มาตรฐาน คอื มาตรฐานท่ี ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติ ส่งิ แวดลอ้ ม วัฒนธรรม และความเป็นไทย มาตรฐานที่ ๘ อยูร่ ว่ มกับผอู้ นื่ ไดอ้ ยา่ งมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกท่ีดี ของสังคมในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง เปน็ ประมขุ ๔. พัฒนาการด้านสตปิ ญั ญา ประกอบดว้ ย ๔ มาตรฐาน คอื มาตรฐานท่ี ๙ ใชภ้ าษาสอื่ สารได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดทเ่ี ปน็ พืน้ ฐานในการเรียนรู้ มาตรฐานท่ี ๑๑ มจี นิ ตนาการและความคดิ สร้างสรรค์ มาตรฐานท่ี ๑๒ มเี จตคตทิ ด่ี ีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหา ความรูไ้ ดเ้ หมาะสมกบั วัย สิ่งที่จะประเมนิ พัฒนาการของเด็กปฐมวยั แต่ละด้าน มดี งั นี้ ด้านร่างกาย ประกอบด้วย การประเมินการมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ สุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี การรู้จักรักษาความปลอดภัย การเคลื่อนไหวและการทรงตัว การเล่นและการออกกำลัง กาย และการใช้มอื อยา่ ง คล่องแคลว่ ประสานสัมพนั ธก์ นั ด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย การประเมินความสามารถในการแสดงออกทางอารมณ์ อยา่ งเหมาะสมกับ วยั และสถานการณ์ ความรู้สกึ ท่ีดีต่อตนเองและผู้อนื่ มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความสนใจ/ความสามารถ/และมี ความสุขในการทำงานศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว ความ รบั ผดิ ชอบในการทำงาน ความซอื่ สัตย์สุจริตและรู้สึก ถกู ผดิ ความเมตตากรุณา มีน้ำใจและช่วยเหลือ แบ่งปนั ตลอดจนการประหยัดอดออม และพอเพียง
ด้านสังคม ประกอบด้วย การประเมินความมีวินัยในตนเอง การช่วยเหลือตนเองในการ ปฏิบัติกิจวัตร ประจำวัน การระวังภัยจากคนแปลกหน้า และสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย การดูแล รักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีสัมมาคารวะและมารยาทตามวัฒนธรรมไทย รักษาความเป็น ไทย การยอมรับความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างบุคคล การมีสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น การปฏิบัติ ตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ด้านสติปัญญา ประกอบด้วย การประเมินความสามารถในการสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่อง ให้ผู้อื่นเข้าใจ ความสามารถในการอ่าน เขียนภาพและสัญลักษณ์ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา คิดเชิงเหตุผล คิดรวบยอด การเล่น/การทำงานศิลปะ/การแสดงท่าทาง/เคลื่อนไหวตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง การมีเจตคติท่ี ดีต่อการเรียนรู้และความสามารถในการแสวงหา ความรู้ ๓. วธิ กี ารและเคร่ืองมือท่ีใชใ้ นการประเมินพฒั นาการ การประเมินพัฒนาการเด็กแต่ละครั้งควรใช้วิธีการประเมินอย่างหลากหลายเพื่อให้ได้ ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด วิธีการที่เหมาะสมและนิยมใช้ในการประเมินเด็กปฐมวัยมีด้วยกันหลายวิธี ดงั ต่อไปน้ี ๓.๑ การสังเกตและการบันทึก การสงั เกตมอี ยู่ ๒ แบบคอื การสังเกตอย่างมีระบบ ได้แก่ การสังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนตามแผนที่วางไว้ และอีกแบบหนึ่งคือ การสังเกตแบบไม่เป็น ทางการ เป็นการสงั เกตในขณะที่ เดก็ ทำกจิ กรรมประจำวันและเกิดพฤตกิ รรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และผู้สอนจดบันทึกไว้การสังเกตเป็นวิธีการที่ ผู้สอนใช้ในการศึกษาพัฒนาการของเด็ก เมื่อมีการ สังเกตก็ตอ้ งมกี ารบนั ทกึ ผู้สอนควรทราบว่าจะบันทึกอะไรการ บนั ทกึ พฤตกิ รรมมคี วามสำคญั อย่างย่ิง ทีต่ ้องทำอยา่ งสม่ำเสมอ เนื่องจากเด็กเจรญิ เติบโตและเปลี่ยนแปลงอยา่ ง รวดเรว็ จงึ ต้องนำมาบันทึก เป็นหลกั ฐานไวอ้ ย่างชดั เจน การสังเกตและการบนั ทกึ พัฒนาการเดก็ สามารถใช้แบบงา่ ยๆ คือ ๓.๑.๑ แบบบันทึกพฤติกรรม ใช้บันทึกเหตุการณ์เฉพาะอย่างโดยบรรยายพฤติกรรม เดก็ ผู้บนั ทึกต้อง บนั ทึกวนั เดอื น ปเี กดิ ของเดก็ และวนั เดอื น ปี ท่ที ำการบนั ทกึ แตล่ ะคร้ัง ๓.๑.๒ การบันทึกรายวัน เป็นการบันทึกเหตุการณ์หรือประสบการณ์หรือ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ทุกวัน ถ้าหากบันทึกในรูปแบบของการบรรยายก็มักจะเน้นเฉพาะ เดก็ รายทต่ี ้องการศกึ ษา ขอ้ ดขี องการบันทกึ รายวนั คอื การช้ใี หเ้ หน็ ความสามารถเฉพาะอย่างของเด็ก จะช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนได้พิจารณาปัญหาของเด็กเป็นรายบุคคล ช่วยให้ผู้เชียวชาญมีข้อมูลมากขึ้น สำหรับวินจิ ฉัยเด็กว่าสมควรจะได้รบั คำปรึกษาเพื่อลดปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการ ของเด็กได้อย่าง ถูกตอ้ ง นอกจากนนั้ ยังช่วยชี้ให้เหน็ ขอ้ เสยี ของการจดั กจิ กรรมและประสบการณ์ไก้เป็นอย่างดี ๓.๑.๓ แบบสำรวจรายการ ชว่ ยให้สามารถวเิ คราะห์เดก็ แต่ละคนได้คอ่ นข้างละเอียด ๓.๒ การสนทนา สามารถใช้การสนทนาได้ทั้งเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล เพื่อประเมิน ความสามารถในการแสดง ความคิดเห็น และพัฒนาการด้านภาษาของเด็กและบันทึกผลการสนทนา ลงในแบบบันทึกพฤติกรรมหรือบนั ทกึ รายวนั ๓.๓ การสัมภาษณ์ด้วยวิธีพูดคุยกับเด็กเป็นรายบุคคลและควรจัดในสภาวะแวดล้อม เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิด ความเครียดและวิตกกังวล ผู้สอนควรใช้คำถามที่เหมาะสมเปิดโอกาสให้เด็ก
ได้คิดและตอบอย่างอิสระจะทำให้ผู้สอน สามารถประเมินความสามารถทางสติปัญญาของเด็กแต่ละ คนและคน้ พบศกั ยภาพในตัวเด็กไดโ้ ดยบันทึกข้อมูลลงในแบบสมั ภาษณ์ การเตรยี มการก่อนการสมั ภาษณ์ ผูส้ อนควรปฏิบตั ิ ดงั นี้ - กำหนดวตั ถปุ ระสงคข์ องการสมั ภาษณ์ - กำหนดคำพูด/คำถามที่จะพูดกับเด็ก ควรเป็นคำถามที่เด็กสามารถตอบโต้หลากหลาย ไม่ผดิ /ถูกการ ปฏิบัตขิ ณะสมั ภาษณ์ - ผสู้ อนควรสร้างความคุ้นเคยเปน็ กนั เอง - ผู้สอนควรสร้างสภาพแวดล้อมทอี่ บอนุ่ ไม่เครง่ เครยี ด - ผู้สอนควรเปดิ โอกาสเวลาใหเ้ ดก็ มโี อกาสคดิ และตอบคำถามอยา่ งอิสระ - ระยะเวลาสัมภาษณไ์ มค่ วรเกนิ ๑๐-๒๐ นาที ๔. การรวบรวมผลงานท่ีแสดงออกถึงความกา้ วหน้าแต่ละดา้ นของเด็กเปน็ รายบคุ คล โดย จดั เก็บรวบรวม ไวใ้ นแฟมู ผลงาน (portfolio)ซ่ึงเปน็ วิธรี วบรวมและจัดระบบขอ้ มูลตา่ งๆที่เก่ียวกับตัว เด็กโดยใช้เครื่องมือต่างๆ รวบรวมเอาไว้อย่างมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน แสดงการเปลี่ยนแปลงของ พัฒนาการแต่ละด้าน นอกจากนี้ยังรวมเครื่องมือ อื่นๆ เช่น แบบสอบถามผู้ปกครอง แบบสังเกต พฤติกรรม แบบบันทึกสุขภาพอนามยั ฯลฯ เอาไว้ในแฟมู ผลงาน เพอื่ ผู้สอนจะได้ข้อมลู เกี่ยวกับตัวเด็ก อย่างชัดเจนและถูกต้อง การเก็บผลงานของเด็กจะไม่ถือว่าเป็นการประเมินผลถ้างาน แต่ละชิ้นถูก รวบรวมไว้โดยไม่ได้รับการประเมินจากผู้สอนและไม่มีการนำผลมาปรับปรุงพัฒนาเด็กหรือปรับปรุง การสอนของผู้สอน ดังนั้นจึงเป็นแต่การสะสมผลงานเท่านั้น เช่นแฟ้มผลงานขีดเขียน งานศิลปะ จะเป็นเพยี งแค่แฟ้ม ผลงานทไ่ี ม่มีการประเมิน แฟ้มผลงานน้จี ะเป็นเคร่ืองมือการประเมนิ ต่อเนื่องเม่ือ งานทีส่ ะสมแต่ละชิ้นถูกใช้ในการบง่ บอกความก้าวหน้า ความต้องการของเด็ก และเป็นการเก็บสะสม อย่างตอ่ เน่ืองท่สี ร้างสรรคโ์ ดยผสู้ อนและเดก็ ผู้สอนสามารถใช้แฟูมผลงานอย่างมีคุณค่าสื่อสารกับผู้ปกครองเพราะการเก็บผลงานเดก็ อยา่ งตอ่ เน่ืองและ สม่ำเสมอในแฟ้มผลงานเปน็ ข้อมูลให้ผู้ปกครองสามารถเปรยี บเทยี บความก้าวหน้า ที่ลูกของตนมีเพิ่มขึ้น จากผลงาน ชิ้นแรกกับชิ้นต่อๆมาข้อมูลในแฟ้มผลงานประกอบด้วย ตัวอย่าง ผลงานการเขียดเขียน การอ่าน และข้อมูลบางประการของเด็กที่ผู้สอนเป็น ผู้บันทึก เช่น จำนวนเล่มของหนังสือที่เด็กอ่าน ความถี่ของการเลือกอ่านที่มุมหนังสือใน ช่วงเวลาเลือกเสรี การ เปลี่ยนแปลงอารมณ์ ทัศนคติ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะสะท้อนภาพของความงอกงามในเด็กแต่ละคน ได้ชัดเจนกวา่ การประเมนิ โดยการใหเ้ กรด ผู้สอนจะตอ้ งชี้แจงใหผ้ ู้ปกครองทราบถึงท่ีมาของการเลือก ชิ้นงานแต่ ละชิ้นงานที่สะสมในแฟูมผลงาน เช่น เป็นชิ้นงานที่ดีที่สุดในช่วงระยะเวลาที่เลือกชิ้นงาน นั้น เป็นช้ินงานทีแ่ สดงความ ต่อเน่อื งของงานโครงการ ฯลฯ ผูส้ อนควรเชญิ ผูป้ กครองมามีส่วนร่วมใน การคดั สรรชน้ิ งานทบี่ รรจุลงในแฟมู ผลงาน ของเด็ก ๕. การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก ตัวชี้ของการเจริญเติบโตในเด็กที่ใช้ทั่วๆไป ได้แก่ น้ำหนกั ส่วนสงู เส้นรอบศีรษะ ฟัน และการเจรญิ เติบโตของกระดูก แนวทางประเมนิ การเจรญิ เติบโต มีดงั นี้
๕.๑ การประเมินการเจริญเติบโต โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กแล้วนำไป เปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติ ในกราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์อายุกระทรวงสาธารณสุขซึ่งใช้สำหรับ ตดิ ตามการเจรญิ เตบิ โตโดยรวม วธิ ีการใช้กราฟมขี ้ันตอน ดังน้ี เมื่อชั่งน้ำหนักเด็กแล้ว นำน้ำหนักมาจุดเครื่องหมายกากบาทลงบนกราฟ และอ่าน การเจริญเติบโตของเด็ก โดยดูเครื่องหมายกากบาทว่าอยู่ในแถบสีใด อ่านข้อความบนแถบสีนั้น ซ่ึง แบ่งภาวะโภชนาการเป็น ๓ กลุ่มคือ น้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักมากเกนเกณฑ์ น้ำหนักน้อย กว่าเกณฑ์ ขอ้ ควรระวงั สำหรับผปู้ กครองและผสู้ อนคือ ควรดูแลน้ำหนักเด็กอย่างใหแ้ บ่งเป็นออกจาก เส้นประเมินมิเชน่ นั้นเด็กมีโอกาสน้ำหนักมากเกนิ เกณฑห์ รอื น้ำหนักนอ้ ยกวา่ เกณฑ์ได้ ข้อควรคำนงึ ในการประเมินการเจริญเตบิ โตของเดก็ - เด็กแตล่ ะคนมีความแตกต่างกนั ในด้านการเจรญิ เติบโต บางคนรูปรา่ งอว้ น บางคน ช่วงครึ่งหลังของ ขวบปีแรก น้ำหนักเด็กจะขึ้นช้า เนื่องจากห่วงเล่นมากขึ้นและ ความอยากอาหารลดลงร่างใหญ่ บางคนรา่ งเล็ก - ภาวะโภชนาการเป็นตัวสำคญั ท่เี กยี่ วขอ้ งกบั ขนาดของรูปรา่ ง แต่ไม่ใช่สาเหตุเดยี ว - กรรมพันธุ์ เด็กอาจมีรูปร่างเหมือนพ่อแม่คนใดคนหนึ่ง ถ้าพ่อหรือแม่เตี้ย ลูกอาจ เตี้ยและพวกนี้อาจ มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยได้และมักจะเป็นเด็กที่ทานอาหาร ได้นอ้ ย ๕.๒ การตรวจสุขภาพอนามัย เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของเด็ก โดยพิจารณาความสะอาดสิ่ง ปกติขอร่างกายที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่งจะ ประเมนิ สขุ ภาพอนามยั ๙ รายการคือ ผมและศรี ษะ หแู ละ ใบหู มือและเลบ็ มอื เท้า และเลบ็ เท้า ปาก ลนิ้ และฟนั จมูก ตา ผวิ หนังและใบหนา้ และเสื้อผา้ ๖. เกณฑก์ ารประเมนิ พฒั นาการ การสร้างเกณฑห์ รอื พฒั นาเกณฑ์หรือกำหนดเกณฑ์การประเมนิ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ผสู้ อนควรใหค้ วาม สนใจในสว่ นทเี่ กี่ยวขอ้ ดงั น้ี ๖.๑ การวางแผนการสังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างเป็นระบบ เช่น จะสังเกตเด็กคน ใดบ้างในแต่ละวัน กำหนด พฤติกรรมที่สังเกตให้ชัดเจน จัดทำตารางกำหนดการ สังเกตเด็กเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม ผู้สอนต้องเลือกสรรพฤติกรรม ที่ตรงกับระดับ พฒั นาการของเดก็ คนนน้ั จรงิ ๆ ๖.๒ ในกรณีที่ห้องเรียนมีนักเรียนจำนวนมาก ผู้สอนอาจเลือกสังเกตเฉพาะเด็กที่ทำได้ดี แล้วและเด็กท่ยี งั ทำไม่ได้ ส่วนเด็กปานกลางใหถ้ ือวา่ ทำได้ไปตามกจิ กรรม ๖.๓ ผู้สอนต้องสังเกตจากพฤติกรรม คำพูด การปฏิบัติตามขั้นตอนในระหว่างทำงาน/ กิจกรรม และคุณภาพของผลงาน/ชิ้นงาน ร่องรอยที่นำมาใช้พิจารณาตัดสินผลของ การทำงานหรอื การปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น ๑) เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม/ทำงาน ถ้าเด็กไม่ชอบ ไม่ชำนาญจะใช้เวลามาก มี ทา่ ทางอดิ ออด ไมก่ ลา้ ไม่เตม็ ใจทำงาน ๒) ความต่อเนื่อง ถ้าเด็กยังมีการหยดุ ชะงัก ลังเล ทำงานไม่ต่อเนื่อง แสดงว่าเด็กยัง ไมช่ ำนาญหรอื ยัง ไม่พร้อม
๓) ความสัมพันธ์ ถ้าการทำงาน/ปฏิบัตินั้นๆมีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ไม่ราบร่ืน ท่าทางมือและเท้าไม่ สัมพันธ์กันแสดงว่าเด็กยังไม่ชำนาญหรือยังไม่พร้อม ท่าท่ี แสดงออกจึงไมส่ งา่ งาม ๔) ความภูมิใจ ถ้าเด็กยังไม่ชื่นชม ก็จะทำงานเพียงให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ไม่มี ความภมู ิใจในการทำงาน ผลงานจึงไม่ประณตี ระดบั คณุ ภาพผลการประเมินพัฒนาการเดก็ การให้ระดับคุณภาพผลการประเมินพัฒนาการของเด็กทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับ สถานศึกษาควรกำหนด ในทิศทางหรือรูปแบบเดียวกัน สถานศึกษาสามารถให้ระดับคุณภาพผลการ ประเมินพัฒนาการของเดก็ ที่สะท้อน มาตรฐานคณุ ลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งช้ี สภาพที่พึงประสงค์ หรือพฤติกรรมที่จะประเมิน เป็นระบบตัวเลข เช่น ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือเป็นระบบที่ใช้คำสำคัญ เช่น ดี พอใช้หรอื ควรส่งเสรมิ ตามท่สี ถานศึกษากำหนด ตวั อย่างเช่น ระบบตวั เลข ระบบท่ใี ช้คำสำคัญ ๓ ดี ๒ พอใช้ ๑ ควรสง่ เสริม สถานศึกษาอาจกำหนดระดับคณุ ภาพของการแสดงออกในพฤติกรรม เป็น ๓ ระดับ ดงั นี้ ระดับคุณภาพ ระบบท่ใี ชค้ ำสำคญั ๑ หรอื ควรสง่ เสรมิ เดก็ มีความลงั เล ไมแ่ น่ใจ ไมย่ อมปฏบิ ตั ิกิจกรรม ทง้ั น้ี เนื่องจากเด็กยงั ไม่ พร้อมยังมั่นใจ และกลวั ไมป่ ลอดภัยผสู้ อนต้องยั่วยหุ รอื แสดงใหเ้ หน็ เปน็ ตัวอย่างหรือต้องคอยอยูใ่ กล้ๆ ค่อยๆใหเ้ ด็กทำทลี ะขั้นตอน พร้อมต้องให้ กำลังใจ ๒ หรือ พอใช้ เด็กแสดงได้เอง แต่ยังไม่คล่อง เดก็ กลา้ ทำมากข้นึ ผ้สู อนกระต้นุ นอ้ ยลง ผู้สอนตอ้ งคอย แก้ไขในบางครง้ั หรือคอยใหก้ ำลังใจใหเ้ ดก็ ฝกึ ปฏิบตั มิ าก ข้นึ ๓ หรือ ดี เดก็ แสดงได้อย่างชำนาญ คล่องแคลว่ และภูมิใจ เดก็ จะแสดงได้เองโดย ไมต่ ้องกระต้นุ มีความสัมพันธ์ท่ดี ี
ตัวอยา่ งคำอธบิ ายคณุ ภาพ พัฒนาการด้านรา่ งกาย : กระโดดเท้าเดียว พฒั นาการด้านรา่ งกาย : สขุ ภาพอนามยั ระดับคุณภาพ ค าอธิบายคุณภาพ ระดบั คุณภาพ ค าอธิบายคุณภาพ ๑ หรอื ควรส่งเสรมิ ส่งเสรมิ ความสะอาด ๑ หรือ ควรส่งเสรมิ ทำไดแ้ ต่ไม่ถกู ต้อง ๒ หรอื พอใช้ สะอาดพอใช้ ๒ หรอื พอใช้ ทำได้ถูกต้อง แต่ไม่คล่องแคล่ว ๓ หรอื ดี สะอาด ๓ หรอื ดี ทำได้ถูกต้อง และคลอ่ งแคล่ว พัฒนาการดา้ นอารมณ์ : ประหยัด ระดับคุณภาพ ระบบทใ่ี ช้คำสำคัญ ๑ หรือ ควรสง่ เสริม ใชส้ ่ิงของเครื่องใชเ้ กินความจำเป็น ๒ หรือ พอใช้ ใช้สิ่งของเครื่องใช้อยา่ งประหยัดเป็นบางครัง้ ๓ หรือ ดี ใชส้ ิ่งของเคร่อื งใชอ้ ย่างประหยดั ตามความจำเป็นทุกครั้ง พฒั นาการดา้ นสงั คม : ปฏบิ ตั ิตามขอ้ ตกลง ระดับคุณภาพ ระบบที่ใช้คำสำคญั ๑ หรอื ควรสง่ เสรมิ ไมป่ ฏบิ ตั ิตามขอ้ ตกลง ๒ หรือ พอใช้ ปฏบิ ตั ติ ามข้อตกลง โดยมีผู้ชี้น าหรอื กระตนุ้ ๓ หรือ ดี ปฏิบัติตามข้อตกลงได้ดว้ ยตนเอง พัฒนาการด้านสติปญั ญา : เขียนช่ือตนเองตามแบบ ระดบั คุณภาพ ระบบทใ่ี ช้คำสำคัญ ๑ หรือ ควรส่งเสรมิ เขียนชื่อตนเองไม่ได้ หรือเขียนเป็นสญั ลกั ษณ์ทไ่ี ม่เปน็ ตัวอักษร ๒ หรือ พอใช้ เขยี นชอ่ื ตนเองได้ มีอักษรบางตวั กลบั หัว กลับด้านหรือสลับท่ี ๓ หรือ ดี เขยี นชื่อเองได้ ตวั อักษรไม่กลับหัว ไม่กลับดา้ นไมส่ ลับท่ี การสรปุ ผลการประเมินพฒั นาการเดก็ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช๒๕๖๐ กำหนดเวลาเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยต่อปี การศกึ ษาไมน่ ้อย กว่า ๑๘๐ วัน สถานศึกษาจงึ ควรบริหารจัดการเวลาที่ได้รับน้ใี ห้เกดิ ประโยชน์สูงสุด ต่อการพัฒนาเด็กอย่างรอบด้านและสมดุล ผู้สอนควรมีเวลาในการพัฒนาเด็กและเติมเต็มศักยภาพ ของแด็ก เพื่อใหก้ ารจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ ผู้สอนตอ้ งตรวจสอบพฤตกิ รรมที่แสดง พัฒนาการของเด็กต่อเนื่องมีการประเมนิ ซ้ำพฤติกรรมนน้ั ๆอย่าง น้อย ๑ ครง้ั ตอ่ ภาคเรยี น เพ่ือยืนยัน ความเชื่อมน่ั ของผลการประเมินพฤติกรรมน้นั ๆ และนำผลไปเปน็ ขอ้ มลู ในการ สรุปการประเมนิ สภาพ ที่พึงประสงค์ของเด็กในแต่ละสภาพที่พึงประสงค์ นำไปสรุปการประเมินตัวบ่งชี้และมาตรฐาน คุณลกั ษณะที่พึงประสงคต์ ามลำดบั อนึ่ง การสรุประดับคุณภาพของการประเมินพัฒนาการเด็ก วิธีการทางสถิติที่เหมาะสมและ สะดวกไม่ยุ่งยาก สำหรับผู้สอน คือการใช้ฐานนิยม (Mode)ในบางครั้งพฤติกรรม หรือสภาพที่
พึงประสงค์หรือตัวบ่งชี้นิยมมากว่า ๑ ฐานนิยม ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษากล่าวคือ เมื่อมี ระดับคุณภาพซ้ ามากกว่า ๑ ระดับ สถานศึกษาอาจตัดสินสรุปผลการประเมินพัฒนาการบนพื้นฐาน หลักพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม หากเป็นภาคเรียนที่ ๑ สถานศึกษาควรเลือกตัดสินใจใช้ ฐานนิยมที่มีระดับคุณภาพต่ ากว่าเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาเด็กให้พร้อมมากขึ้นหากเป็นภาค เรียนที่ ๒ สถานศึกษาควรเลือกตัดสินใจใชฐ้ านนิยมที่มีระดับคุณภาพสูงกว่าเพื่อตัดสนิ และการส่งต่อ เด็กในระดับช้นั ท่ีสูงขึน้ การเล่อื นชนั้ อนบุ าลและเกณฑ์การจบการศกึ ษาระดับปฐมวัย เมื่อสิ้นปีการศึกษา เด็กจะได้รับการเลื่อนชั้นโดยเด็กต้องได้รับการประเมินมาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้ง ๑๒ ข้อ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็นข้อมูลในการส่งต่อยอด การพัฒนาให้กับเด็กในระดับสูงขึ้นต่อไป และเนื่องจากการศึกษาระดับอนุบาลเป็นการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่ไม่นับเป็นการศึกษาภาคบังคับ จึงไม่มีการกำหนดเกณฑ์การจบชั้นอนุบาล การเทียบโน การเรียน และเกณฑ์การเรียนซ้ำชั้น และหากเด็กมีแนวโน้มว่าจะมีปัญหา ต่อการเรียนรู้ในระดับที่ สูงขนึ้ สถานศกึ ษาอาจตง้ั คณะกรรมการเพื่อพิจารณาปญั หา และประสานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องใน การให้ความช่วยเหลอื เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่งเสริมตำบล นักจิตวิทยา ฯลฯ เข้าร่วมดำเนนิ งาน แกป้ ญั หาได้ อย่างไรก็ตาม ทักษะที่นำไปสู่ความพร้อมในการเรียนรู้ท่ีสามารถใช้เป็นรอยเช่ือมต่อระหว่าง ชั้นอนุบาลกบั ช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ ๑ ทคี่ วรพิจารณามีทักษะดังนี้ ๑. ทักษะการชว่ ยเหลือตนเอง ได้แก่ ใช้หอ้ งน้ำห้องส้วมได้ด้วยตนเอง แตง่ กายได้เองเก็บของ เขา้ ท่ีเม่อื เลน่ เสรจ็ และช่วยทำความสะอาด รจู้ ักร้องขอให้ช่วยเมื่อจำเป็น ๒. ทกั ษะการใช้กล้ามเน้ือใหญ่ ได้แก่ ว่ิงได้อย่างราบร่ืน วงิ่ ก้าวกระโดดได้ กระด้วยสองขาพ้น จากพนื้ ถอื จบั ขว้าง กระดอนลูกบอลได้ ๓. ทักษะการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ได้แก่ ใช้มือหยิบจับอุปกรณ์วาดภาพและเขียน วาดภาพคนมี แขน ขา และสว่ น ต่างๆของรา่ งกาย ตดั ตามรอยเส้นและรปู ตา่ งๆ เขียนตามแบบอยา่ งได้ ๔. ทักษะภาษาการรู้หนังสือได้แก่ พูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฟังและปฏิบัติตามคำชี้แจงงง่ายๆ ฟัง เรื่องราวและคำคล้องจองต่างๆอย่างสนใจ เข้าร่วมฟังสนทนาอภิปรายในเรื่องต่างๆ รู้จักผลัดกันพูด โต้ตอบ เล่าเรื่องและทบทวน เรื่องราวหรือประสบการณ์ต่างๆ ตามลำดับเหตุการณ์เล่าเรื่องจาก หนงั สือภาพอย่างเป็นเหตุเป็นผล อา่ นหรือจดจำคำบางคำท่ีมีความหมายต่อตนเอง เขียนช่ือตนเองได้ เขยี นคำท่มี คี วามหมายตอ่ ตนเอง ๕. ทักษะการคิด ได้แก่ แลกเปลี่ยนความคิดและให้เหตุผลได้ จดจำภาพและวัสดุที่เหมือน และต่างกันได้ใช้คำใหม่ๆในการแสดงความคิด ความรู้สึก ถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง เปรียบเทยี บจำนวนของวัตถุ ๒ กลมุ่ โดยใช้คำ “มากกว่า” “นอ้ ยกวา่ ” “เทา่ กัน” อธิบายเหตุการณ์/ เวลา ตามลำดับอยา่ งถกู ตอ้ ง รู้จักเชอื่ มโยงเวลากบั กจิ วัตรประจำวัน ๖. ทักษะทางสังคมและอารมณ์ ได้แก่ ปรับตัวตามสภาพการณ์ ใช้คำพูดเพื่อแก้ไขข้อขดั แยง้ นั่งได้นาน ๕-๑๐ นาที เพื่อฟังเรื่องราวหรือทำกิจกรรม ทำงานจนสำเร็จ ร่วมมือกับคนอื่นและรู้จัก
ผลัดกันเล่น ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ เมื่อกังวลหรือตื่นเต้น หยุดเล่นและทำในสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้ ทำได้ ภูมใิ จในความสำเร็จของตนเอง การรายงานผลการประเมนิ พัฒนาการ การรายงานผลการประเมินพัฒนาการเป็นการสื่อสารให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้รับทราบ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของเด็กซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินพัฒนาการ และจัดทำ เอกสารรายงานใหผ้ ู้ปกครองทราบเปน็ ระยะๆ หรืออย่างนอ้ ยภาคเรียนละ ๑ ครัง้ การรายงานผลการประเมินพัฒนาการสามารถรายงานเป็นระดับคุณภาพที่แตกต่างไปตาม พฤติกรรมที่แสดงออกถึงพัฒนาการแต่ละด้าน ที่สะท้อนมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง ๑๒ ข้อ ตามหลักสูตรการศกึ ษา ปฐมวัย ๑. จดุ มุ่งหมายการรายงานผลการประเมินพฒั นาการ ๑) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง พ่อ แม่ และผู้ปกครองใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริม และพัฒนาการเรียนรขู้ องเด็ก ๒) เพอ่ื ใหผ้ ู้สอนใชเ้ ปน็ ข้อมูลในการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรยี นรู้ ๓) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดใช้ ประกอบในการกำหนดนโยบายวางแผนในการพฒั นาคุณภาพการศึกษา ๒. ข้อมูลในการรายงานผลการประเมินพัฒนาการ ๑) ข้อมลู ระดบั ชน้ั เรยี น ประกอบดว้ ย เวลาเรียนแบบบนั ทกึ การประเมินพฒั นาการตาม หน่วยการจัดประสบการณ์ สมุดบันทึกผลการประเมินพัฒนาการประจำชั้น และสมุด รายงานประจำตัวนักเรียน และสารนทิ ัศนท์ ี่สะทอ้ นการเรียนรขู้ องเด็ก เป็นขอ้ มูลสำหรับ รายงานให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน และผู้ปกครอง ได้รับ ทราบความก้าวหน้า ความสำเร็จในการเรียนรู้ของเด็กเพื่อนำไปในการวางแผนกำหนด เป้าหมาย และวิธกี ารในการพัฒนาเดก็ ๒) ข้อมูลระดับสถานศึกษา ประกอบด้วย ผลการประเมินมาตรฐานคุณลักษณะท่ี พึงประสงค์ทั้ง ๑๒ ข้อตามหลักสูตร เพื่อใช้เป็นข้อมูลและสารสนเทศในการพัฒนาการ จัดประสบการณ์การเรียนการสอนและคุณภาพของเด็ก ให้เป็นไปตามมาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์และแจง้ ให้ผูป้ กครอง และผู้เก่ียวข้องได้รับทราบข้อมูล โดยผู้มี หน้าที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายนำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาเด็กให้เกิดพัฒนาการอย่าง ถูกต้องเหมาะสม รวมท้ังนำไปจัดทำเอกสารหลักฐานแสดงพฒั นาการของผู้เรียน ๓) ข้อมูลระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ ผลการประเมินมาตรฐานคุณลักษณะท่ี พงึ ประสงค์ท้ัง ๑๒ ขอ้ ตามหลักสูตรเปน็ รายสถานศึกษา เพื่อเปน็ ข้อมูลท่ีศึกษานิเทศก์/ ผูเ้ ก่ยี วข้องใชว้ างแผนและดำเนินการพฒั นา คุณภาพการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาใน เขตพื้นทกี่ ารศกึ ษา เพอ่ื ให้เกดิ การยกระดับคุณภาพเด็กและมาตรฐานการศึกษา ๓. ลักษณะข้อมูลสำหรับการรายงานผลการประเมินพัฒนาการ การรายงานผลการ ประเมินพัฒนาการ สถานศึกษาสามารถเลือกลักษณะข้อมูลสำหรับการรายงานได้หลาย
รูปแบบให้เหมาะสมกับวิธีการรายงานและสอดคล้องกับการให้ระดับผลการประเมิน พฒั นาการโดยคำนึงถงึ ประสทิ ธภิ าพของการรายงานและการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ของ ผู้รายงานแต่ละฝุายลกั ษณะขอ้ มลู มีรูปแบบ ดงั น้ี ๑) รายงานเป็นตัวเลข หรือคำที่เป็นตัวแทนระดับคุณภาพพัฒนาการของเด็กที่เกิดจาก การประมวลผล สรุปตัดสินขอ้ มูลผลการประเมินพัฒนาการของเดก็ ได้แก่ - ระดับผลการประเมนิ พฒั นาการมี ๓ ระดับ คือ ๓ ๒ ๑ - ผลการประเมินคุณภาพ “ด”ี “พอใช้” และ “ควรสง่ เสรมิ ” ๒) รายงานโดยใช้สถิติ เป็นรายงานจากข้อมูลที่เป็นตัวเลข หรือข้อความให้เป็นภาพ แผนภูมหิ รือเส้นพัฒนาการ ซง่ึ จะแสดงให้เห็นพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็กว่าดีข้ึน หรือควรไดร้ บั การพฒั นาอยา่ งไรเม่ือเวลา เปล่ียนแปลงไป ๓) รายงานเป็นข้อความ เป็นการบรรยายพฤติกรรมหรือคุณภาพที่ผู้สอนสังเกตพบ เพ่ือ รายงาน ให้ทราบว่าผู้เกี่ยวข้อง พ่อ แม่ และผู้ปกครองทราบว่าเด็กมีความสามารถ มีพฤติกรรมตามคณุ ลักษณะท่ีพงึ ประสงค์ตามหลักสตู รอยา่ งไร เช่น - เดก็ รับลูกบอลท่ีกระดอนจากพื้นดว้ ยมือทั้ง ๒ ข้างไดโ้ ดยไม่ใช้ลำตัวช่วยและลูกบอล ไมต่ กพื้น - เดก็ แสดงสีหน้า ท่าทางสนใจ และมีความสขุ ขณะทำงานทกุ ชว่ งกจิ กรรม - เด็กเล่นและทำงานคนเดยี วเปน็ สว่ นใหญ่ - เด็กจับหนงั สอื ไม่กลับหวั เปดิ และท าท่าทางอ่านหนงั สือและเลา่ เรอ่ื งได้ ๔. เป้าหมายของการรายงาน การดำเนินการจัดการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย บุคลากร หลายฝุายร่วมมือประสานงานกันพฒั นา เดก็ ทางตรงและทางอ้อมให้มีพัฒนาการ ทักษะ ความสามารถ คณุ ธรรม จรยิ ธรรม คา่ นิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยผู้มีส่วนร่วม เกี่ยวข้องควรได้รับการายงานผลการประเมินพัฒนาการของเด็กเพื่อใชเ้ ป็นข้อมูลในการ ดำเนินงาน ดงั น้ี กลมุ่ เป้าหมาย การใช้ข้อมูล ผสู้ อน - วางแผนและดำเนินการปรับปรุงแกไ้ ขและพัฒนาเด็ก - ปรับปรงุ แกไ้ ขและพัฒนาการจดั การเรียนรู้ ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษา - ส่งเสริมพัฒนากระบวนการจดั การเรียนรู้ระดบั ปฐมวยั ของสถานศึกษา พอ่ แม่ และผปู้ กครอง - รับทราบผลการประเมินพฒั นาการของเด็ก - ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการเรียนรขู้ องเด็ก รวมท้ังการดูแลสขุ ภาพ อนามยั ร่างกาย อารมณ์ จติ ใจ สงั คม และพฤติกรรมตา่ งๆของเดก็ คณะกรรมการ - พฒั นาแนวทางการจดั การศึกษาปฐมวยั สถานศกึ ษา สถานศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน สำนักงานเขตพน้ื ที่ - ยกระดบั และพัฒนาคุณภาพการศกึ ษาปฐมวัยของสถานศึกษาในเขต การศกึ ษา/หน่วยงาน พน้ื ท่ีการศึกษา นเิ ทศ กำกับ ตดิ ตาม ประเมินผลและให้ความช่วยเหลือ ต้นสังกัด การพัฒนาคณุ ภาพการศึกษา ปฐมวัยของสถานศกึ ษาในสงั กัด
๕. วธิ กี ารรายงานผลการประเมนิ พฒั นาการ การรายงานผลการประเมินพัฒนาการใหผ้ เู้ ก่ียวขอ้ งรับทราบ สามารถดำเนินการ ไดด้ ังนี้ ๑. การรายงานผลการประเมินพัฒนาการในดอกสารหลักฐานการศึกษา ข้อมูลจาก แบบรายงาน สามารถใช้อา้ งอิง ตรวจสอบ และรับรองผลพัฒนาการของเดก็ เช่น - แบบบนั ทกึ ผลการประเมนิ พัฒนาการประจำชนั้ - แฟ้มสะสมงานของเดก็ รายบุคคล - สมดุ รายงานประจำตัวนักเรยี น - สมดุ บันทึกสุขภาพเด็ก ฯลฯ ๒. การรายงานคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ สามารถรายงานได้ หลายวธิ ี เชน่ - รายงานคุณภาพการศึกษาปฐมวัยประจำปี - วารสาร/จลุ สารของสถานศกึ ษา - จดหมายส่วนตัว - การใหค้ ำปรกึ ษา - การใหพ้ บครูทปี่ รกึ ษาหรือการประชมุ เครือข่ายผปู้ กครอง - การใหข้ ้อมลู ทางอนิ เตอร์เน็ตผา่ นเว็บไซต์ของสถานศึกษา ภารกิจของผสู้ อนในการประเมินพัฒนาการ การประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพน้ัน เกิดข้ึนในหอ้ งเรยี น และระหวา่ งการจดั กิจกรรมประจำวันและกิจวตั รประจำวัน ผสู้ อนตอ้ งไม่แยกการ ประเมินพัฒนาการออกจากการจัดประสบการณ์ตามตารางประจำวัน ควรมีลักษณะการประเมิน พัฒนาการในชั้นเรียน (Classroom Assessment) ซึ่งหมายถึง กระบวนการและการสังเกต การบันทึกและรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน/กิจกรรม ประจำวันตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ผู้สอนควรจัดทำข้อมูลหลักฐานหรือเอกสารอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็น หลักฐานแสดงใหเ้ หน็ รอ่ งรอยของการเจรญิ เติบโตพฒั นาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวยั แล้วนำมา วิเคราะห์ ตีความ บันทึกข้อมูลที่ได้จากการประเมินพัฒนาการว่าเด็กรู้อะไร สามารถทำอะไรได้ และ จะทำตอ่ ไปอย่างไร ด้วยวิธกี ารและเครื่องมือทีห่ ลากหลายท้ังท่ีเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งน้ัน การดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน/กิจกรรมประจำวัน และการจดั ประสบการณเ์ รยี นรู้ ดังนั้น ข้อมลู ทเ่ี กิดจากการประเมินท่ีมีคุณภาพเท่าน้นั จงึ สามารถนำไปใชป้ ระโยชน์ ตรงตาม เป้าหมาย ผสู้ อนจำเปน็ ตอ้ งมีความรูค้ วามเข้าใจอย่างถ่องแท้ในหลกั การ แนวคดิ วิธดี ำเนินงานในส่วน ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการจัดประสบการเรียนรู้ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการวางแผนและ ออกแบบการประเมนิ พฒั นาการได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ บนพ้ืนฐานการประเมินพฒั นาการในชั้นเรียน ที่มีความถูกต้อง ยุติธรรม เชื่อถือได้ มีความสมบูรณ์ ครอบคลุมตาม จุดหมายของหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย สะท้อนผลและสภาพความสำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการ ดำเนินการจัดการ ศึกษาปฐมวัย ทง้ั ในระดับนโยบาย ระดบั ปฏิบัตกิ าร และผมู้ ีส่วนเกยี่ วข้องต่อไป
๑. ขั้นตอนการประเมินพัฒนาการเดก็ ปฐมวัย การประเมินพัฒนาการเด็กของผู้สอนระดับปฐมวัยจะมีขั้นตอนสำคัญๆคล้ายคลึงกับการ ประเมินการศึกษาทั่วไป ขั้นตอนต่างๆอาจปรับลด หรือเพิ่มได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของ สถานศึกษาและสอดคล้องกับการจัดประสบการณ์ หรืออาจสลับลำดับก่อนหลังได้บ้าง ขั้นการ ประเมินพฒั นาการเด็กปฐมวยั โดยสรุปควรมี ๖ ข้ันตอน ดงั น้ี ขั้นตอนที่ ๑ การวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่ พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ที่สัมพันธ์กับหนว่ ยการจัดประสบการณ์ตา่ งๆ อันจะเป็น ประโยชน์ในการดำเนินงานการประเมนิ พัฒนาการอยา่ งเปน็ ระบบและครอบคลมุ ทั่วถึง ขั้นตอนที่ ๒ การกำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมิน ในขั้นตอนนี้สิ่งที่ผู้สอนต้อง ทำคือ การกำหนดการประเด็นการประเมิน ได้แก่ สภาพที่พึงประสงค์ในแต่ละวัยของเด็กที่เกิดจาก การจัดประสบการณ์ มากำหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์ย่อยของ กิจกรรมตามตารางประจำวัน ๖ กิจกรรมหลกั หรือตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่กำหนด ผู้สอน ต้องวางแผนและออกแบบวิธีการ ประเมินให้เหมาะสมกับกิจกรรม บางครั้งอาจใช้การสังเกต พฤติกรรม การประเมินผลงาน/ชิ้นงาน การพูดคุยหรือ สัมภาษณ์เด็ก เป็นต้น ทั้งนี้วิธีการที่ผู้สอน เลือกใชต้ ้องมคี วามหมายหลากหลาย หรอื มากว่า ๒ วธิ ีการ ขั้นตอนที่ ๓ การสร้างเครือ่ งมือและเกณฑ์การประเมิน ในขั้นตอนนี้ผู้สอนจะตอ้ งกำหนด เกณฑ์การประเมิน พัฒนาการให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่จะประเมินในขั้นตอนที่ ๒ อาจใช้แนว ทางการกำหนดเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้นในส่วนที่ ๒ เป็นเกณฑ์การประเมินแยกส่วนของแต่ละ พฤติกรรมและเกณฑ์สรุปผลการประเมิน พร้อมกับจัดท แบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมตาม สภาพทพ่ี งึ ประสงค์ของแตล่ ะหนว่ ยการจดั ประสบการณ์นั้นๆ ขั้นตอนที่ ๔ การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนออกแบบ/วางแผน และทำการสังเกต พฤติกรรมของเด็กเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม การพูดคุยหรือการสัมภาษณ์เด็ก หรือ การประเมินผลงาน/ชิ้นงานของเด็กอย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อมูลพัฒนาการของเด็กให้ทั่วถึง ครบทุกคน สอดคลอ้ งและตรงประเด็นการประเมินทวี่ างแผนไวใ้ นขัน้ ตอนที่ ๔ บันทึกลงในเครือ่ งมือท่ี ผสู้ อนพัฒนาหรอื จัดเตรียมไว้ การบันทึกผลการประเมินพัฒนาการตามสภาพที่พึงประสงค์ของแต่ละหน่วย การจดั ประสบการณ์น้ัน ผ้สู อนเป็นผปู้ ระเมินเด็กเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม อาจให้ระดับคุณภาพ ๓ หรือ ๒ หรือ ๑ หรือให้คำสำคัญ ที่เป็นคุณภาพ เช่น ดี พอใช้ ควรส่งเสริม ก็ได้ ทั้งนี้ควรเป็นระบบ เดยี วกนั เพื่อสะดวกในการวเิ คราะห์ข้อมูลและแปลผลการประเมินพัฒนาการเด็ก ในระยะต้นควรเป็น การประเมินเพื่อความก้าวหน้าไม่ควรเป็นการประเมินเพื่อตัดสิ้นพัฒนาการเด็ก หากผลการประเมิน พบว่า เด็กอยู่ในระดับ ๑ พฤติกรรมหนึ่งพฤติกรรมใดผู้สอนต้องทำความเข้าใจว่า เด็กคนนั้นมี พัฒนาการเร็วหรือช้า ผู้สอนจะต้องจัดประสบการณ์ส่งเสริมในหน่วยการจัดประสบการณ์ต่อไป อย่างไร ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการในแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์ ของผู้สอน จึงเป็นการสะสมหรือรวบรวมข้อมลู ผลการประเมินพัฒนาการของเด็กรายบุคคล หรือราย กลุ่มนั่นเอง เมื่อผู้สอนจัดประสบการณ์ ครบทุกหน่วยการจัดประสบการณ์ตามที่วิเคราะห์สาระการ เรียนรู้รายปีของแตล่ ะภาคเรียน
ขั้นตอนที่ ๕ การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผล ในขั้นตอนนี้ผู้สอนที่เป็นผู้ประเมิน ควร ดำเนนิ การ ดงั นี้ ๑) การวิเคราะห์และแปลผลการประเมินพัฒนาการเมื่ อสิ้นสุดหน่วย การจดั ประสบการณ์ ผู้สอนจะบันทึกผลการประเมินพัฒนาการของเด็กลงในแบบบนั ทึกผลการสังเกต พฤติกรรมตามสภาพที่พึงประสงค์ของหน่วยการจัดประสบการณ์หน่วยที่ ๑ จนถึงหน่วยสุดท้ายของ ภาคเรียน ๒) การวิเคราะหแ์ ละแปลผลการประเมนิ ประจำภาคเรียนหรือภาคเรียนที่ ๒ เม่ือสิ้น ปีการศึกษา ผู้สอนจะนำผลการประเมินพัฒนาการสะสมที่รวบรวมไว้จากทุกหน่วยการเรียนรู้สรุป ลงในสมุดบนั ทึกผลประเมนิ พฒั นาการประจำชั้น และสรุปผลพัฒนาการรายด้านทั้งช้นั เรยี น ขั้นตอนที่ ๖ การสรุปรายงานผลและการนำข้อมูลไปใช้ เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนซึ่งเป็นครู ประจำชน้ั จะสรุปผล เพ่อื ตดั สินพัฒนาการของเดก็ ปฐมวยั เปน็ รายตัวบง่ ชรี้ ายมาตรฐานและพฒั นาการ ทั้ง ๔ ด้าน เพื่อนำเสนอผู้บริหาร สถานศึกษาอนุมัติการตัดสิน และแจ้งคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานพร้อมกับครูประจำชั้นจะจัดทำรายงานผล การประเมินประจำตัวนักเรียน นำข้อมูลไปใช้ สรุปผลการประเมนิ คุณภาพเด็กของระบบประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาเมื่อสิ้นภาคเรียนท่ี ๒ หรือเม่ือสน้ิ ปกี ารศึกษา ขน้ั ตอนการประเมนิ พัฒนาการเด็กปฐมวัย รายละเอียดการดำเนินงานแต่ละข้ันตอน มดี ังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ การวิเคราะห์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร สถานศึกษา โดยนำข้อมูลจากการ วิเคราะห์การเรียนรู้รายปีในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมา ตรวจสอบความถี่ของตัวบง่ ช้ี และสภาพท่พี งึ ประสงค์ว่าเกิดข้ึนกบั เด็กตามหน่วยการจัดประสบการณ์ เรียนรู้ใดบา้ ง ขั้นตอนท่ี ๑.๑ การวิเคราะหส์ าระการเรียนรรู้ ายปีของโรงเรียน ข้ันตอนท่ี ๑.๒ ตรวจสอบความถเี่ พ่ือตรวจสอบจำนวนคร้ังของตวั บ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์ ว่าวางแผนให้เกิด พัฒนาการในหน่วยการจัดประสบการณ์การเรียนรูใ้ ดบา้ งจากหลักสูตร สถานศกึ ษา ขั้นตอนที่ ๒ กำหนดสิ่งที่ประเมินและวิธีการประเมิน โดยกำหนดสภาพที่พึงประสงค์ที่ วเิ คราะห์ไวใ้ นข้นั ตอนที่ ๑.๒ มากำหนดจดุ ประสงคก์ ารเรียนร้ใู น ๖ กิจกรรมหลัก ๒.๑ การเขียนหรอื กำหนดจุดประสงคก์ ารเรียนของหนว่ ยการจัดประสบการณ์ ๒.๒ การวางแผนการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ ๓ การสร้างเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินผู้ สอนจะต้องกำหนดเกณฑ์ การประเมินพัฒนาการเด็ก ใหส้ อดคล้องกับพฤติกรรมที่จะประเมินตามแผนการจัดกิจกรรม พรอ้ มทำ เกณฑ์การประเมินและสรุปผลการประเมิน พร้อมจัดทำแบบบันทึกผลหลังสอนประจำหน่วยการจัด ประสบการณ์ ขั้นตอนที่ ๔ การดำเนินการเป็นการรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนนีผ้ ู้สอนที่ทำหน้าทีเ่ ป็นผูป้ ระเมิน โดยการสังเกต พฤติกรรมของเด็กรายบุคคล รายกลุ่ม การพูดคุยหรือสัมภาษณ์เด็ก หรือการ
ประเมินผลงานชิ้นงานของเด็กอย่างเป็น ระบบ ไปพร้อมๆกับกิจกรรมให้เด็ก เพื่อรวบรวมข้อมูล พัฒนาการของเด็กทุกคน และบันทึกลงแบบบันทึกผลหลังสอน ประจำหน่วยการจัดประสบการณ์ ท่ีจดั เตรียมไว้ ขั้นตอนที่ ๕ การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลเมื่อสิ้นสุดหน่วยการจัดประสบการณ์ ผู้สอนจะ ตรวจสอบความครบถว้ นสมบรู ณ์ของผลการประเมนิ ในแบบบันทึก ผลการประเมินพฒั นาการของเด็ก หลังการจัดประสบการณ์ลงในแบบบันทึกผลหลังการจัดประสบการณ์ประจำ หน่วยการจัด ประสบการณ์ และเก็บสะสมเพื่อนำได้สรุปผลในการตัดสินพัฒนาการเด็กในภาพรวมเมื่อสิ้นปี การศึกษา โดยผู้สอนจะนำผลการประเมนิ พัฒนาสะสมที่รวบรวมไว้ทุกหน่วย การเรียนรู้มาสรุปลงใน สมุดบันทึกผลการประเมินพัฒนาการประจำชั้นและสรุปผลพัฒนาการรายด้านทั้งชั้นเรียน ทั้งนี้การ สรุปผลการประเมินพัฒนาการ ผู้สอนควรใช้ ฐานนิยม (Mode) จึงเหมาะสมและสอดคล้องกับการ ประเมนิ มากทส่ี ดุ ตามที่กลา่ วมาแล้วข้างตน้ ขั้นตอนที่ ๖ การสรุปรายงานผลและการนำข้อมูลไปใช้ ครูประจำชั้นจะสรุปผลเพื่อ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นรายตัวบ่งชี้ รายมาตรฐานและพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน และรายงานต่อ ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติผลการ ตัดสินและแจ้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมกับครู ประจำชั้นจะจัดทำรายงานผลการประเมิน พัฒนาการของเด็กรายบุคคล รายภาค และรายปีต่อ ผปู้ กครองในสมดุ รายงานประจำตวั เด็กนกั เรียน การบรหิ ารจดั การหลกั สูตรสถานศกึ ษาปฐมวัย การนำหลักสตู รการศึกษาปฐมวยั สู่การปฏิบัตใิ ห้เกิดประสิทธิภาพตามจุดหมายของหลักสตู ร ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ หลักสูตรในระบบสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้สอน พ่อแม่ หรือ ผู้ปกครอง และชมุ ชน มบี ทบาทสำคญั ยิ่งตอ่ การพัฒนาคณุ ภาพของเดก็ ๑. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาปฐมวัย การจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยในระบบสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ผู้บริหาร สถานศกึ ษาควรมบี ทบาท ดงั น้ี ๑.๑ ศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและมีวสิ ยั ทศั น์ด้านการจัดการศกึ ษา ปฐมวัย ๑.๒ คัดเลือกบุคลากรที่ทำงานกับเด็ก เช่น ผู้สอน พี่เลี้ยง อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึง คณุ สมบัตหิ ลกั ของบคุ ลากร ดังน้ี ๑.๒.๑ มีวุฒิทางการศึกษาด้านการอนุบาลศึกษา การศึกษาปฐมวัย หรือผ่านการ อบรมเก่ียวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ๑.๒.๒ มีความรักเด็ก จิตใจดี มีอารมณ์ขันและใจเย็น ให้ความเป็นกันเองกับเด็ก อย่างเสมอภาค ๑.๒.๓ มีบคุ ลกิ ของความเป็นผ้สู อน เข้าใจและยอมรบั ธรรมชาตขิ องเดก็ ตามวยั ๑.๒.๔ พูดจาสภุ าพเรยี บรอ้ ย ชดั เจนเปน็ แบบอย่างได้ ๑.๒.๕ มคี วามเป็นระเบียบ สะอาด และรจู้ กั ประหยัด
๑.๒.๖ มีความอดทน ขยนั ซ่อื สตั ย์ในการปฏบิ ตั งิ านในหน้าทีแ่ ละการปฏบิ ตั ิต่อเด็ก ๑.๒.๗ มีอารมณร์ ่วมกับเด็ก รู้จกั รบั ฟงั พิจารณาเร่ืองราวปญั หาตา่ งๆ ของเด็กและ ตัดสนิ ปญั หาต่างๆอยา่ งมเี หตผุ ลด้วยความเปน็ ธรรม ๑.๒.๘ มสี ุขภาพกายและสุขภาพจิตสมบูรณ์ ๑.๓ ส่งเสริมการจัดบริการทางการศึกษาให้เด็กได้เข้าเรียนอย่างทั่วถึง และเสมอภาค และปฏิบตั กิ ารรบั เด็กตามเกณฑท์ ี่กำหนด ๑.๔ ส่งเสริมให้ผู้สอนและผู้ทีป่ ฏบิ ตั งิ านกบั เดก็ พัฒนาตนเองมีความรกู้ ้าวหนา้ อยเู่ สมอ ๑.๕ เป็นผู้นำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยร่วมให้ความเห็นชอบ กำหนด วิสัยทศั น์ และคณุ ลักษณะท่ีพงึ ประสงค์ของเดก็ ทุกชว่ งอายุ ๑.๖ สร้างความรว่ มมอื และประสานกับบคุ ลากรทุกฝาุ ยในการจัดทำหลกั สูตร สถานศึกษา ๑.๗ จัดให้มีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับตัวเด็ก งานวิชาการหลักสูตร อย่างเป็นระบบและ มีการประชาสัมพันธห์ ลักสูตรสถานศึกษา ๑.๘ สนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมตลอดจนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่เอ้ืออำนวยต่อ การเรยี นรู้ ๑.๙ นเิ ทศ กำกบั ติดตามการใช้หลกั สตู ร โดยจัดใหม้ ีระบบนิเทศภายในอย่างมีระบบ ๑.๑๐ กำกับติดตามให้มีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาและนำผลจากการ ประเมินไปใช้ในการพฒั นาคุณภาพเดก็ ๑.๑๑ กำกับ ติดตาม ให้มีการประเมินการนำหลักสูตรไปใช้ เพื่อนำผลจากการ ประเมิน มาปรับปรุงและพัฒนาสาระของหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความ ต้องการของเด็ก บริบทสังคมและใหม้ ีความทนั สมัย ๒. บทบาทผ้สู อนปฐมวัย การพัฒนาคุณภาพเด็กโดยถือว่าเด็กมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้อง ส่งเสริมให้เด็กสามารถพัฒนาตนตามธรรมชาติ สอดคล้องกับพัฒนาการและเต็มตามศักยภาพ ดังนั้น ผู้สอนจงึ มีบทบาทสำคัญยง่ิ ทีจ่ ะทำให้กระบวนการจดั การเรียนรู้ดงั กล่าวบรรลผุ ลอย่างมีประสิทธิภาพ ผสู้ อนจงึ ควรมบี ทบาท / หนา้ ท่ี ดังนี้ ๒.๑ บทบาทในฐานะผู้เสรมิ สร้างการเรยี นรู้ ๒.๑.๑ จัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กที่เด็กกำหนดขึ้นด้วยตัวเด็กเองและ ผู้สอนกับเด็กร่วมกันกำหนด โดยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กให้ครอบคลุมทุก ดา้ น ๒.๑.๒ ส่งเสริมให้เด็กใช้ข้อมูลแวดลอ้ ม ศักยภาพของตัวเด็ก และหลักทางวิชาการ ในการผลิตกระทำหรือหาคำตอบในสิง่ ท่เี ด็กเรยี นรู้อย่างมีเหตผุ ล ๒.๑.๓ กระตุ้นให้เด็กร่วมคิด แก้ปัญหา ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองด้วยวิธี การศึกษาท่นี ำไปสกู่ ารใฝ่รู้ และพัฒนาตนเอง ๒.๑.๔ จัดสภาพแวดล้อมและสร้างบรรยากาศการเรียนที่สร้างเสริมให้เด็กทำ กจิ กรรมได้เตม็ ศักยภาพและความแตกต่างของเด็กแตล่ ะบคุ คล
๒.๑.๕ สอดแทรกการอบรมด้านจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ในการจัดการ เรยี นรู้ และกิจกรรมตา่ งๆอยา่ งสม่ำเสมอ ๒.๑.๖ ใช้กิจกรรมการเล่นเป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กให้เป็นไปอย่างมี ประสทิ ธิภาพ ๒.๑.๗ ใช้ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนและเด็กในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการ สอนอยา่ งสม่ำเสมอ ๒.๑.๘ จัดการประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพจริงและนำผลการ ประเมนิ มาปรับปรุงพัฒนาคุณภาพเดก็ เตม็ ศักยภาพ ๒.๒ บทบาทในฐานะผดู้ ูแลเดก็ ๒.๒.๑ สังเกตและสง่ เสริมพัฒนาการเด็กทุกดา้ นท้ังทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สงั คม และสติปัญญา ๒.๒.๒ ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ๒.๒.๓ ฝึกให้เด็กมีความเชือ่ ม่ัน มีความภมู ิใจในตนเองและกล้าแสดงออก ๒.๒.๔ ฝกึ การเรยี นรหู้ นา้ ที่ ความมวี นิ ยั และการมีนิสัยทีด่ ี ๒.๒.๕ จำแนกพฤติกรรมเด็กและสร้างเสริมลักษณะนิสัยและแก้ปัญหาเฉพาะ บุคคล ๒.๒.๖ ประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา บ้าน และชุมชน เพื่อให้เด็กได้ พัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีมาตรฐานคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ ๒.๓ บทบาทในฐานะนักพฒั นาเทคโนโลยีการสอน ๒.๓.๑ นำนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการสอนมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพ บริบทสงั คม ชุมชน และทอ้ งถ่ิน ๒.๓.๒ ใชเ้ ทคโนโลยีและแหลง่ เรียนรูใ้ นชมุ ชนในการเสรมิ สร้างการเรียนร้ใู หแ้ ก่ เด็ก ๒.๓.๓ จดั ทำวิจัยในชัน้ เรียน เพื่อนำไปปรบั ปรงุ พัฒนาหลกั สตู ร/กระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาส่อื การเรยี นรู้ ๒.๓.๔ พฒั นาตนเองให้เป็นบุคคลแหง่ การเรียนรู้ มคี ณุ ลักษณะของผ้ใู ฝรุ มู้ ี วสิ ัยทศั น์ และทนั สมยั ทนั เหตกุ ารณ์ในยคุ ของข้อมูลขา่ วสาร ๒.๔ บทบาทในฐานะผู้บริหารหลกั สตู ร ๒.๔.๑ ทำหน้าที่วางแผนกำหนดหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ การประเมินผลการเรยี นรู้ ๒.๔.๒ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ให้เด็กมีอิสระในการ เรียนรู้ท้ังกายและใจ เปิดโอกาสให้เด็กเล่น/ทำงาน และเรียนรู้ทั้งรายบุคคล และเปน็ กลมุ่ ๒.๔.๓ ประเมินผลการใช้หลักสูตร เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา หลักสูตรให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้เรียน ชุมชน และ ท้องถ่ิน
๓. บทบาทของพ่อแมห่ รือผู้ปกครองเด็กปฐมวยั การศึกษาระดับปฐมวัยเป็นการศกึ ษาท่จี ัดใหแ้ กเ่ ด็กท่ีผู้สอนและพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้อง สื่อสารกันตลอดเวลา เพื่อความเข้าใจตรงกันและพร้อมร่วมมือกันในการจัดการศึกษาให้กับเด็ก ดงั นน้ั พ่อแมห่ รือผปู้ กครองควรมบี ทบาทหนา้ ที่ ดังน้ี ๓.๑ มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษาและให้ความเห็นชอบ กำหนด แผนการเรยี นรูข้ องเด็กร่วมกบั ผูส้ อนและเด็ก ๓.๒ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา และกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็ก ตามศักยภาพ ๓.๓ เป็นเครอื ข่ายการเรยี นรู้ จัดบรรยากาศภายในบ้านใหเ้ อ้ือต่อการเรียนรู้ ๓.๔ สนับสนนุ ทรัพยากรเพอื่ การศกึ ษาตามความเหมาะสมและจำเป็น ๓.๕ อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ให้ความรัก ความอบอุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการ ดา้ นต่าง ๆ ของเด็ก ๓.๖ ป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ตลอดจนส่งเสริมคุณลักษณะท่ี พงึ ประสงค์ โดยประสานความรว่ มมือกบั ผูส้ อน ผ้เู กีย่ วขอ้ ง ๓.๗ เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในด้านการปฏิบัติตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และมี คุณธรรมนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นสถาบันแหง่ การเรยี นรู้ ๓.๘ มีส่วนร่วมในการประเมนิ ผลการเรียนรู้ของเด็กและในการประเมินการจดั การศึกษา ของสถานศกึ ษา ๔. บทบาทของชุมชน การปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดให้ ชุมชนมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกัน พฒั นา ผู้เรยี นตามศกั ยภาพ ดงั นน้ั ชมุ ชนจงึ มีบทบาทในการจัดการศึกษาปฐมวัย ดังนี้ ๔.๑ มีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ในบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา สมาคม/ชมรมผ้ปู กครอง ๔.๒ มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ ของสถานศึกษา ๔.๓ เป็นศูนย์การเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ ให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์จาก สถานการณ์จรงิ ๔.๔ ใหก้ ารสนบั สนนุ การจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ของสถานศกึ ษา ๔.๕ ส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนวิทยากรภายนอก และภูมิ ปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กทุกด้าน รวมทั้งสืบสานจารีต ประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรม ของทอ้ งถิน่ และของชาติ ๔.๖ ประสานงานกับองค์กรทั้งภาครฐั และเอกชน เพ่อื ให้สถานศกึ ษาเปน็ แหล่ง วทิ ยาการ ของชมุ ชน และมสี ่วนในการพัฒนาชมุ ชนและท้องถนิ่ ๔.๗ มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ทำ หนา้ ท่ีเสนอแนะในการพฒั นาการจดั การศกึ ษาของสถานศึกษา
การจัดการศกึ ษาระดับปฐมวยั ( เด็กอายุ ๓ - ๖ ปี ) สำหรับกลมุ่ เป้าหมายเฉพาะ การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะสามารถนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยไปปรับ ใช้ได้ ทั้งในส่วนของโครงสร้างหลักสูตร สาระการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ และการประเมิน พัฒนาการให้เหมาะสมกับสภาพ บรบิ ท ความตอ้ งการ และศกั ยภาพของเด็กแตล่ ะประเภทเพ่ือพัฒนา ให้เด็กมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยก ำหนดโดย ดำเนินการดงั นี้ ๑.เป้าหมายคุณภาพเด็ก หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ในการ พัฒนาเด็ก สถานศึกษาหรือผู้จัดการ ศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ สามารถเลือกหรือปรับใช้ ตวั บง่ ชี้และสภาพทพ่ี ึงประสงคใ์ นการพฒั นาเด็ก เพื่อนำไปทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลแต่ยัง คงไว้ซึ่งคณุ ภาพพฒั นาการของเดก็ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสตปิ ัญญา ๒. การประเมินพัฒนาการ จะตอ้ งคำนึงถึงปัจจัยความแตกต่างของเดก็ อาทิ เด็กที่พิการอาจ ต้องมีการปรับ การประเมินพัฒนาการที่เอื้อต่อสภาพเด็ก ทั้งวิธีการเครื่องมือที่ใช้ หรือกลุ่มเด็กที่มี จุดเนน้ เฉพาะด้าน การเช่ือมต่อของการศกึ ษาระดับปฐมวยั กับระดบั ประถมศกึ ษาปที ่ี ๑ การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ มีความสำคัญอย่างย่ิง บุคลากรทุกฝ่ายจะต้องให้ความสนใจตอ่ การช่วยลดช่องวา่ งของความไม่เข้าใจในการจัดการศึกษาท้งั สองระดับ ซึง่ จะสง่ ผลตอ่ การจัดการเรยี นการสอน ตวั เดก็ ครู พ่อแม่ ผูป้ กครอง และบคุ ลากรทางการ ศกึ ษาอ่ืนๆท้งั ระบบ การเช่อื มต่อของ การศกึ ษาระดบั ปฐมวยั กับระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ จะประสบ ผลสำเร็จได้ตอ้ งดำเนนิ การดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. ผู้บรหิ ารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทเป็นผู้นำในการเชื่อมต่อโดยเฉพาะ ระหว่างหลกั สตู รการศึกษาปฐมวยั ในชว่ งอายุ ๓ – ๖ ปี กบั หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้นื ฐานใน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยต้อง ศึกษาหลักสูตรทั้งสองระดับ เพื่อทำความเข้าใจ จัดระบบการ บรหิ ารงานดา้ นวิชาการทจ่ี ะเอื้อต่อการเช่ือมโยง การศึกษาโดยการจัดกจิ กรรมเพื่อเช่ือมต่อการศึกษา ดงั ตัวอยา่ งกจิ กรรมตอ่ ไปน้ี ๑.๑ จัดประชมครูระดับปฐมวัยและครูระดับประถมศึกษาร่วมกันสร้างรอยเชื่อมต่อของ หลักสูตรทั้งสองระดับให้เป็นแนวปฏิบัติของสถานศึกษาเพื่อครูทั้งสองระดับจะได้ เตรียมการสอนใหส้ อดคลอ้ งกับเด็กวัยนี้ ๑.๒ จัดหารเอกสารดา้ นหลักสตู รและเอกสารทางวชิ าการของท้งั สองระดบั มาไว้ให้ครูและ บคุ ลากรอืน่ ๆได้ ศกึ ษาทำความเขา้ ใจ อย่างสะดวกและเพียงพอ ๑.๓ จัดกิจกรรมให้ครูทั้งสองระดับมีโอกาสแลกเปลี่ยนเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้รับจาก การอบรม ดูงาน ซ่ึงไมค่ วรจัดให้เฉพาะครใู นระดบั เดียวกนั เท่าน้นั
๑.๔ จัดเอกสารเผยแพร่ตลอดจนกิจกรรมสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ระหว่างสถานศึกษา พ่อแมผ่ ปู้ กครอง และบคุ ลากรทางการศึกษาอยา่ งสม่ำเสมอ ๑.๕ จัดให้มีการพบปะ หรือการทำกิจกรรมร่วมกับพ่อแม่ ผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ในระหว่างท่ีเด็กอยู่ในระดับปฐมวัย เพื่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง จะได้สร้างความ เขา้ ใจและสนบั สนุนการเรียน การสอนของบตุ รหลาน ตนไดอ้ ยา่ งถกู ต้อง ๑.๖ จัดกิจกรรมให้ครูทั้งสองระดับได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับพ่อแม่ ผู้ปกครองและเด็กใน บางโอกาส ๑.๗ จัดกจิ กรรมปฐมนเิ ทศพอ่ แม่ ผู้ปกครองอยา่ งนอ้ ย ๒ คร้งั คือ ก่อนเดก็ เขา้ เรียนระดับ ปฐมวัยศึกษา และก่อนเด็กจะเลื่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าใจ การศึกษาทั้งสองระดับและให้ความ ร่วมมือในการช่วยเด็กให้ สามารถปรบั ตัวเขา้ กับสภาพแวดลอ้ มใหม่ไดด้ ี ๒. ครูระดบั ปฐมวยั ครูระดับปฐมวัย นอกจากจะต้องศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และจัด กิจกรรมพัฒนาเด็กของตนแล้ว ควรศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการเรียนการสอนใน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และสร้างความเข้าใจให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองและบุคลากรอื่นๆ รวมทั้ง ช่วยเหลือเด็กในการปรับตัวก่อนเลื่อนขึ้นชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๑ โดยครูอาจจัดกิจกรรมดังตัวอย่าง ต่อไปน้ี ๒.๑ เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กเปน็ รายบุคคลเพื่อส่งต่อครูช้ันประถมศึกษาปีที่ ๑ ซงึ่ จะทำใหค้ รรู ะดบั ประถมศึกษาสามารถใช้ข้อมลู นั้นช่วยเหลอื เดก็ ในการปรับตัวเข้า กบั การเรียนรใู้ หมต่ อ่ ไป ๒.๒ พูดคุยกับเด็กถึงประสบการณ์ที่ดีๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในระดับชั้น ประถมศกึ ษาปีท่ี ๑ เพอ่ื ให้ เดก็ เกดิ เจตคติทดี่ ีตอ่ การเรียนรู้ ๒.๓ จัดให้เด็กได้มีโอกาสทำความรู้จักกับครูตลอดจนสภาพแวดล้อม บรรยากาศของ หอ้ งเรยี นชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๑ ทง้ั ทอ่ี ยใู่ นสถานศกึ ษาเดยี วกนั หรอื สถานศึกษาอืน่ ๓. ครูระดับประถมศึกษา ครูระดับประถมศึกษาต้องมีความรู้ ความเข้าใจในพัฒนาการเด็กปฐมวัยและมีเจตคติที่ดี ต่อการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาจัดการ เรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑ ของตนให้ต่อเนื่องกับการพัฒนาเด็กในระดับปฐมวัย ดงั ตัวอย่าง ตอ่ ไปนี้ ๓.๑ จัดกิจกรรมให้เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง มีโอกาสได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับครูและ ห้องเรยี นชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ ๑ กอ่ นเปดิ ภาคเรยี น ๓.๒ จัดสภาพห้องเรียนให้ใกล้เคียงกับห้องเรียนระดับปฐมวัย โดยจัดให้มีมุม ประสบการณ์ภายในห้อง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมได้อย่างอิสระ เช่น มุมหนังสือ มุมของเล่น มุมเกมการศึกษา เพื่อช่วยให้เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ได้ ปรบั ตัวและเรยี นร้จู ากการปฏิบัตจิ ริง ๓.๓ จดั กิจกรรมร่วมกนั กับเด็กในการสร้างขอ้ ตกลงเกี่ยวกบั การปฏบิ ตั ิตน
๓.๔ เผยแพร่ข่าวสารด้านการเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน ๔. พ่อแม่ ผปู้ กครองและบคุ ลากรทางการศึกษา พอ่ แม่ผู้ปกครอง และบคุ ลากรทางการศึกษา ต้องทำความเข้าใจหลักสูตรของการศึกษาทั้งสองระดับ และเข้าใจว่าถึงแม้เด็กจะอยู่ในระดับ ประถมศึกษาแล้วแต่เด็กยังต้องการความรักความเอาใจใส่ การดูแลและการปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ได้ แตกต่างไปจากระดับปฐมวัย และควรให้ความร่วมมือกับครูและสถานศึกษาในการช่วยเตรียมตวั เดก็ เพอื่ ให้เด็กสามารถปรับตวั ไดเ้ ร็วยิง่ ขนึ้ การกำกบั ตดิ ตาม ประเมนิ และรายงาน การจัดสถานศึกษาปฐมวัยมีหลักการสำคัญในการให้สังคม ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัด การศึกษาและกระจายอำนาจการศึกษาลงไปยังท้องถิ่นโดยตรง โดยเฉพาะสถานศึกษาหรือสถาน พัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นผู้จัดการศึกษาใน ระดับนี้ ดังนั้น เพื่อให้ผลผลิตทางการศึกษาปฐมวัยมี คุณภาพตามมาตรฐานคุณลกั ษณะที่พึงประสงค์และสอดคล้องกับ ความต้องการของชมุ ชนและสังคม จำเป็นต้องมรี ะบบการกำกบั ติดตาม ประเมินและรายงานที่มีประสทิ ธิภาพ เพื่อให้ ทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่ มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษา เห็นความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนการให้ความ ร่วมมือช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน การวางแผน และดำเนินงานการจัดการศึกษาปฐมวัยให้มี คุณภาพอย่างแทจ้ รงิ การกำกับ ติดตาม ประเมินและรายงานผลการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการบริหาร การศึกษาและระบบการประกันคุณภาพที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพ่ือ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาปฐมวัย สร้างความมั่นใจให้ผู้เกี่ยวข้อง โดยต้องมี การดำเนินการที่เป็นระบบเครือข่ายครอบคลุมทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกตั้งแต่ระดับชาติ เขตพน้ื ท่ีทุกระดับละทุกอาชีพ การกำกบั ดูแลประเมินผลต้องมีการรายงานผลจากทุกระดับให้ทุกฝ่าย รวมทงั้ ประชาชนทั่วไปทราบ เพอ่ื นำขอ้ มลู จากรายงานผลมาจัดทำแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษาของ สถานศกึ ษาหรือสถานพฒั นาเด็กปฐมวัยตอ่ ไป
ภาคผนวก
กำหนดหน่วยการจัดประสบการณ์ ชน้ั อนุบาลปีที่ ๒ (4-5 ขวบ) ปีการศึกษา 256๓ ภาคเรยี นที่ 1 โรงเรยี นบ้านทับกมุ ารทอง สำนกั งานเขตพืน้ ที่การศกึ ษาประถมศึกษา เชยี งราย เขต ๓ สปั ดาห์ วัน เดอื น ปี หนว่ ย สาระการเรยี นรู้ ที่ ๑ ๑๘-๒๒ พ.ค.๒๕๖๓ ปฐมนิเทศ ตวั เดก็ ๒ ๒๕-๒๙ พ.ค.๒๕๖๓ ๓ ๑-๕ ม.ิ ย.๒๕๖๓ ตัวเรา ตัวเด็ก ๔ ๘-๑๒ ม.ิ ย.๒๕๖๓ ๕ ๑๕-๑๙ มิ.ย.๒๕๖๓ รา่ งกายของหนู ตวั เด็ก ๖ ๒๒-๒๖ มิ.ย.๒๕๖๓ ๗ ๒๙ มิ.ย.-๓ ก.ค.๒๕๖๓ ประสาทสัมผัสทง้ั หา้ ตัวเด็ก ๘ ๖-๑๐ ก.ค.๒๕๖๓ ๙ ๑๓-๑๗ ก.ค.๒๕๖๓ บ้านแสนสขุ บคุ คล/สถานทแี่ วดล้อมตวั เดก็ ๑๐ ๒๐-๒๔ ก.ค.๒๕๖๓ ครอบครัวแสนสุข บุคคล/สถานทแ่ี วดล้อมตัวเด็ก ๑๑ ๒๗-๓๑ ก.ค.๒๕๖๓ โรงเรียนของเรา บุคคล/สถานท่ีแวดลอ้ มตัวเดก็ ๑๒ ๓-๗ ส.ค.๒๕๖๓ ๑๓ ๑๐-๑๔ ส.ค.๒๕๖๓ ของเลน่ ของใช้ ตัวเด็ก (บรู ณาการ เศรษฐกิจพอเพยี ง) ๑๔ ๑๗-๒๑ ส.ค.๒๕๖๓ ๑๕ ๒๔-๒๘ ส.ค.๒๕๖๓ อาหารดีมปี ระโยชน์ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเดก็ (บูรณาการ เศรษฐกิจ ๑๖ ๓๑ ส.ค.-๔ ก.ย.๒๕๖๓ ๑๗ ๗ -๑๑ ก.ย.๒๕๖๓ พอเพียง) ๑๘ ๑๔ -๑๘ ก.ย.๒๕๖๓ ๑๙ ๒๑ -๒๕ ก.ย.๒๕๖๓ ผลไมด้ มี ีประโยชน์ สง่ิ ตา่ ง ๆ รอบตวั เด็ก ๒๐ ๒๘ ก.ย.-๒ ต.ค.๒๕๖๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สิง่ ต่าง ๆ รอบตวั เดก็ รัชกาลที่ 10 ขา้ วแสนวเิ ศษ ธรรมชาติรอบตัว (บรู ณาการ เศรษฐกิจพอเพยี ง) พระคุณแม่ บุคคล/สถานท่แี วดล้อมตวั เดก็ ผักสดสะอาด ธรรมชาตริ อบตวั ฤดูฝนจ๋า ธรรมชาตริ อบตัว สัตว์โลกน่ารัก บคุ คล/สถานทีแ่ วดล้อมตัวเด็ก การเดินทางแสนสนกุ สง่ิ ตา่ ง ๆ รอบตัวเดก็ ผเี สอ้ื แสนสวย ธรรมชาติรอบตวั อาเซียนนา่ รู้ สิ่งต่าง ๆ รอบตวั เดก็ ปรากฏการณธ์ รรมชาติ ธรรมชาติรอบตัว
กำหนดหนว่ ยการจดั ประสบการณ์ ชนั้ อนุบาลปที ี่ ๒ (4-5 ขวบ) ปกี ารศกึ ษา 256๓ ภาคเรยี นที่ 1 โรงเรยี นบ้านทับกมุ ารทอง สำนกั งานเขตพน้ื ท่ีการศึกษาประถมศกึ ษา เชียงราย เขต ๓ สปั ดาห์ วนั เดือน ปี หน่วย สาระการเรียนรู้ ที่ ๒๑ ๒-๖ พ.ย. ๒๕๖๓ ปลอดภัยไว้กอ่ น ตัวเด็ก ๒๒ ๙-๑๓ พ.ย. ๒๕๖๓ อากาศน่ารู้ ธรรมชาติรอบตวั ๒๓ ๑๖-๒๐ พ.ย. ๒๕๖๓ เดก็ ดมี ีคุณธรรม ตัวเด็ก (บรู ณาการ หลักสูตร โตไปไม่โกง)) ๒๔ ๒๓-๒๗ พ.ย. ๒๕๖๓ สายน้ำใหช้ วี ติ ธรรมชาตริ อบตัว ๒๕ ๓๐พ.ย.-๔ ธ.ค. ๒๕๖๓ วนั ชาติ บุคคล/สถานที่แวดลอ้ มตวั เด็ก (บรู ณาการ เศรษฐกิจพอเพยี ง) ๒๖ ๗-๑๑ ธ.ค. ๒๕๖๓ ต้นไมท้ ่ีรัก ธรรมชาตริ อบตวั ๒๗ ๑๔-๑๘ ธ.ค. ๒๕๖๓ คณติ ศาสตรแ์ สนสนุก สง่ิ ตา่ ง ๆ รอบตวั เดก็ ๒๘ ๒๑-๒๕ ธ.ค. ๒๕๖๓ สวสั ดปี ใี หม บคุ คล/สถานที่แวดล้อมตวั เดก็ ๒๙ ๔ - ๘ ม.ค. ๒๕๖๔ กลางวัน – กลางคืน สิ่งต่าง ๆ รอบตวั เด็ก ๓๐ ๑๑ - ๑๕ ม.ค. ๒๕๖๔ ฤดูหนาว ธรรมชาตริ อบตัวเดก็ ๓๑ ๑๘ - ๒๒ ม.ค. ๒๕๖๔ วันเดก็ – วันครู บคุ คล/สถานท่ีแวดล้อมตวั เด็ก ๓๒ ๒๕ - ๒๙ ม.ค. ๒๕๖๔ ชมุ ชนของเรา บุคคล/สถานท่ีแวดล้อมตวั เด็ก (บรู ณาการกรุงเทพฯศกึ ษา) ๓๓ ๑ - ๕ ก.พ. ๒๕๖๔ อารมณข์ องฉัน ตัวเด็ก ๓๔ ๘ - ๑๒ ก.พ. ๒๕๖๔ หนูน้อยมารยาทดี ตวั เด็ก ๓๕ ๑๕ - ๑๙ ก.พ. ๒๕๖๔ วทิ ยาศาสตรน์ ่ารู้ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเดก็ (บูรณาการ บา้ นนักวิทยาศาสตร์น้อย) ๓๖ ๒๒ - ๒๖ ก.พ. ๒๕๖๔ หนทู ำได้ ตัวเด็ก ๓๗ ๑ - ๕ มี.ค. ๒๕๖๔ สสี ันมหศั จรรย์ สิ่งตา่ ง ๆ รอบตัวเดก็ (บูรณาการหลักสูตรทอ้ งถน่ิ ) ๓๘ ๘ - ๑๒ มี.ค. ๒๕๖๔ เศรษฐกิจพอเพียง บคุ คล/สถานที่แวดล้อมตวั เด็ก (บูรณาการ เศรษฐกจิ พอเพียง) ๓๙ ๑๕ - ๑๙ มี.ค. ๒๕๖๔ เทคโนโลยกี ้าวไกล สิง่ ต่าง ๆ รอบตัวเดก็ ๔๐ ๒๒ - ๒๖ มี.ค. ๒๕๖๔ ธรรมชาติและส่งิ มชี ีวิต ธรรมชาติรอบตัว
กำหนดหน่วยการจัดประสบการณ์ ชน้ั อนบุ าลปีที่ ๓ (๕-๖ ขวบ) ปีการศกึ ษา 256๓ ภาคเรยี นที่ 1 โรงเรยี นบา้ นทบั กมุ ารทอง สำนักงานเขตพืน้ ทกี่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษา เชียงราย เขต ๓ สัปดาห์ วัน เดอื น ปี หนว่ ย สาระการเรียนรู้ ที่ ๑ ๑๘-๒๒ พ.ค.๒๕๖๓ ปฐมนเิ ทศ ตวั เด็ก ๒ ๒๕-๒๙ พ.ค.๒๕๖๓ วยั ท่ีเปล่ียนแปลง ตวั เดก็ ๓ ๑-๕ มิ.ย.๒๕๖๓ หนทู ำได้ ตวั เดก็ ๔ ๘-๑๒ ม.ิ ย.๒๕๖๓ ประสาทสัมผสั ตวั เด็ก ๕ ๑๕-๑๙ ม.ิ ย.๒๕๖๓ บา้ นแสนสุข บคุ คล/สถานทแ่ี วดลอ้ มตวั เดก็ ๖ ๒๒-๒๖ มิ.ย.๒๕๖๓ สายใยครอบครัว บุคคล/สถานท่แี วดลอ้ มตัวเด็ก ๗ ๒๙ ม.ิ ย.-๓ ก.ค.๒๕๖๓ โรงเรียนแสนสขุ บคุ คล/สถานทแี่ วดลอ้ มตัวเด็ก ๘ ๖-๑๐ ก.ค.๒๕๖๓ ของเลน่ ของใช้ ตัวเดก็ ๙ ๑๓-๑๗ ก.ค.๒๕๖๓ อาหารดมี ีประโยชน์ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเดก็ ๑๐ ๒๐-๒๔ ก.ค.๒๕๖๓ คณิตศาสตร์นา่ รู้ สิง่ ตา่ ง ๆ รอบตวั เด็ก ๑๑ ๒๗-๓๑ ก.ค.๒๕๖๓ ข้าว ธรรมชาติรอบตวั ๑๒ ๓-๗ ส.ค.๒๕๖๓ รุ้งกินน้ำ ธรรมชาติรอบตวั ๑๓ ๑๐-๑๔ ส.ค.๒๕๖๓ วนั แม่ บุคคล/สถานที่แวดล้อมตวั เดก็ ๑๔ ๑๗-๒๑ ส.ค.๒๕๖๓ ผีเสื้อ ธรรมชาติรอบตวั ๑๕ ๒๔-๒๘ ส.ค.๒๕๖๓ สัตว์ ธรรมชาตริ อบตัว ๑๖ ๓๑ ส.ค.-๔ ก.ย.๒๕๖๓ ระยะทาง สง่ิ ต่าง ๆ รอบตัวเด็ก ๑๗ ๗ -๑๑ ก.ย.๒๕๖๓ คมนาคม สิ่งตา่ ง ๆ รอบตัวเด็ก ๑๘ ๑๔ -๑๘ ก.ย.๒๕๖๓ คมนาคม บคุ คล/สถานทแี่ วดล้อมตวั เดก็ ๑๙ ๒๑ -๒๕ ก.ย.๒๕๖๓ การสื่อสารทนั เหตกุ ารณ์ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก ๒๐ ๒๘ ก.ย.-๒ ต.ค.๒๕๖๓ การอนุรกั ษส์ ิ่งแวดล้อม ธรรมชาตริ อบตัว
กำหนดหน่วยการจัดประสบการณ์ ชัน้ อนบุ าลปีที่ ๓ (๕-๖ ขวบ) ปีการศึกษา 256๓ ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนบา้ นทับกุมารทอง สำนกั งานเขตพ้นื ท่ีการศกึ ษาประถมศึกษา เชยี งราย เขต ๓ สปั ดาห์ วนั เดอื น ปี หน่วย สาระการเรยี นรู้ ที่ ๒๑ ๒-๖ พ.ย. ๒๕๖๓ เรียนรู้รา่ งกาย ตัวเดก็ ๒๒ ๙-๑๓ พ.ย. ๒๕๖๓ ๒๓ ๑๖-๒๐ พ.ย. ๒๕๖๓ ปลอดภัยไว้ก่อน ตวั เด็ก ๒๔ ๒๓-๒๗ พ.ย. ๒๕๖๓ ๒๕ ๓๐พ.ย.-๔ ธ.ค. ๒๕๖๓ เดก็ ดมี ีคุณธรรม ตัวเด็ก ๒๖ ๗-๑๑ ธ.ค. ๒๕๖๓ ๒๗ ๑๔-๑๘ ธ.ค. ๒๕๖๓ นำ้ ธรรมชาติรอบตวั ๒๘ ๒๑-๒๕ ธ.ค. ๒๕๖๓ ๒๙ ๔ - ๘ ม.ค. ๒๕๖๔ เทคโนโลยีน่ารู้ สิง่ ต่าง ๆ รอบตวั เดก็ ๓๐ ๑๑ - ๑๕ ม.ค. ๒๕๖๔ ๓๑ ๑๘ - ๒๒ ม.ค. ๒๕๖๔ วนั พ่อ บคุ คล/สถานที่แวดลอ้ มตวั เด็ก ๓๒ ๒๕ - ๒๙ ม.ค. ๒๕๖๔ ๓๓ ๑ - ๕ ก.พ. ๒๕๖๔ กลางวัน – กลางคืน ธรรมชาตริ อบตวั ฉันรกั ฤดหู นาว ธรรมชาติรอบตวั วนั ขึน้ ปใี หม บคุ คล/สถานที่แวดลอ้ มตัวเด็ก เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งต่าง ๆ รอบตวั เด็ก วันเด็ก – วันครู บคุ คล/สถานที่แวดลอ้ มตัวเดก็ ชุมชนของเรา บคุ คล/สถานท่ีแวดล้อมตัวเด็ก ต่างความคิดต่างความ ตัวเดก็ ต้องการ ๓๔ ๘ - ๑๒ ก.พ. ๒๕๖๔ มารยาทไทย ตัวเดก็ ๓๕ ๑๕ - ๑๙ ก.พ. ๒๕๖๔ ๓๖ ๒๒ - ๒๖ ก.พ. ๒๕๖๔ เครอ่ื งมอื เครอื่ งใช้ สง่ิ ต่าง ๆ รอบตัวเด็ก ๓๗ ๑ - ๕ มี.ค. ๒๕๖๔ ๓๘ ๘ - ๑๒ ม.ี ค. ๒๕๖๔ อาเซียนสามัคคี ส่ิงต่าง ๆ รอบตัวเด็ก ๓๙ ๑๕ - ๑๙ ม.ี ค. ๒๕๖๔ ๔๐ ๒๒ - ๒๖ มี.ค. ๒๕๖๔ ตน้ ไม้ที่รกั ธรรมชาติรอบตวั ดอกไม้หลากสี ธรรมชาตริ อบตวั ฉันรักเมอื งไทย บุคคล/สถานทแี่ วดลอ้ มตัวเด็ก วทิ ยาศาสตร์น่ารู้ สง่ิ ตา่ ง ๆ รอบตวั เดก็ หมายเหตุ กำหนดการจัดการเรียนอาจปรับเปลี่ยนไดต้ ามเหตุการณ์ และ ความสนใจของนกั เรยี นโดย อาจใช้ นวัตกรรมทางการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมของแต่ละห้องเรยี น
คำสัง่ โรงเรยี นบ้านทบั กุมารทอง ที่ ๐๓๓/๒๕๖๓ เรือ่ ง แต่งต้ังคณะกรรมการจัดทำหลกั สตู รสถานศึกษาปฐมวัยโรงเรียนบา้ นทับกุมารทอง ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๓ ตามหลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวยั พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ………………………………………… ด้วยกระทรวงศกึ ษาธิการมีคำสั่ง ที่ สพฐ.๑๒๒๓ /๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เรื่อง ให้ใช้ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เพื่อให้การจัดการศึกษาปฐมวัยที่ต้องพัฒนาเด็กตั้งแต่ แรกเกิด –๖ ปี ใหม้ ีพัฒนาการด้านรา่ งกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสตปิ ญั ญาทีเ่ หมาะสมกับวยั ความสามารถ และความแตกต่าง ระหว่างบุคคลเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิต ให้พัฒนาเด็ก ปฐมวัยไปสูค่ วามเป็นมนษุ ยท์ ี่ สมบรู ณ์ เป็นคนดมี ีวินัย ภูมใิ จในชาตแิ ละมีความรบั ผิดชอบตอ่ ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๔ และโดยอาศัยอำนาจความใน มาตรา ๕ แห่งพระราชบญั ญตั ิการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และท่ี แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ กระทรวงศึกษาธิการจึงให้ใช้หลักสูตร พุทธศักราช ๒๕๖๐ แทนหลกั สตู รการศึกษาปฐมวยั ๒๕๔๖ เพ่อื ใหส้ ถานศึกษา หรอื สถาบันพฒั นาเด็กปฐมวัยทุกสงั กัด นำหลักสูตร ไปใชโ้ ดยให้ปรบั ปรุงให้เหมาะสมกับเด็กและสภาพท้องถน่ิ ดังนัน้ เพอ่ื ใหก้ ารจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โรงเรียนบ้านทับกุมารทอง ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ดำเนินไป ดว้ ยความเรียบร้อยและมีประสิทธภิ าพสูงสุด จึง แตง่ ตัง้ คณะกรรมการ ดังนี้ ๑. คณะกรรมการทีป่ รึกษา ประกอบด้วย ๑.๑ นายอดศิ ักด์ิ เดชวงศษ์ า ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพนื้ ฐาน ๑.๒ นายเอราวรรรณ์ ขตั ตวิ งั ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นบา้ นทบั กมุ ารทอง ๑.๓ นางโสภาพร ไสยแพทย์ ศึกษานิเทศก์ มีหน้าที่ ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะแนวทาง หรือวินิจฉัยสั่งการเพื่อให้การจัดทำหลักสูตร สถานศกึ ษาปฐมวัย เป็นไปด้วยความเรยี บ บรรลุผลสำเรจ็ ตามวัตถุประสงค์ อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ ๒.คณะกรรมการบริหารหลกั สตู รและวชิ าการ ประกอบด้วย ๒.๑ นายเอราวรรรณ์ ขตั ตวิ ัง ผู้อำนวยการโรงเรียนบา้ นทบั กมุ ารทอง ประธานกรรมการ ๒.๒ นายณฐั พงษ์ แก้วอุด ครชู ำนาญการ รองประธานกรรมการ 2.3 นางจารุวรรณ จับอนั ชอบ ครูชำนาญการ กรรมการ 2.4 นายเสกสรรค์ ปัญญาฟู ครู กรรมการ 2.5 นางสาววารีรตั น์ ศกั ด์ิสูง ครู กรรมการ ๒.6 นางสาวจริญญา ศริ คิ ำฟู ครูผูช้ ว่ ย กรรมการ ๒.7 นางสาวสทุ ธิดา สุทธคำ พนกั งานราชาการ กรรมการ
๒.8 นางกฤษณา เดชวงศษ์ า พนักงานราชการ เลขานกุ าร ๒.9 นางสาววัญญดู า กมั ปะหะ พนกั งานราชการ รองเลขานกุ าร มหี น้าท่ี ๑. ศึกษาทำความเข้าใจเอกสารที่เกี่ยวข้องไดแ้ ก่ หลักสูตรสถานศกึ ษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ คู่มอื หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ และเอกสารอ่นื ทเ่ี ก่ียวขอ้ ง ๒. รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น นโยบาย จุดเน้น วสิ ยั ทศั น์ อตั ลักษณ์และเอกลกั ษณข์ องโรงเรยี น ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ๓. ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โรงเรียนบ้านทับกุมารทอง ปีการศึกษา ๒๕๖2 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ให้เสร็จสมบูรณ์ครบองค์ประกอบ โดยปรับปรุงให้ เหมาะสมกับเดก็ และสภาพทอ้ งถ่ิน ๔. ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพหลกั สูตร ปรับปรุงคุณภาพหลักสูตร เสนอขอความเห็นชอบให้ใช้ หลักสูตร ต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ให้คณะกรรมการที่ได้แต่งตั้งดำเนินงานตามท่ี ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความรู้ความสามารถ ให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เกดิ ประโยชน์สงู สุดต่อการบรหิ ารจัดการศึกษา ทง้ั นี้ ต้งั แตบ่ ัดนีเ้ ปน็ ต้นไป สัง่ ณ วนั ที่ ๕ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ (นายเอราวรรณ์ ขตั ติวัง) ผ้อู ำนวยการโรงเรียนบ้านทับกุมารทอง
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128