Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เทคนิคการสอน

เทคนิคการสอน

Published by tt, 2021-10-28 08:03:24

Description: นางสาว สญามล กุลรินทร์
รหัสนักศึกษา 63031820101
สาขานาฏศิลป์

Search

Read the Text Version

เทคนิคการสอนด้วยเกม วิธีสอนโดยใช้เกม คือ กระบวนการที่ ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดย การให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกาและนำ เนื้ อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรม การเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่น เกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปราย เพื่อสรุปการเรียนรู้ วัตถุประสงค์วิธีสอนโดยใช้เกม เป็ นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างสนุกสนานและท้าทาย ความสามารถ โดยผู้เรียนเป็ นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็ นวิธีการที่เปิ ดโอกาส ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของวิธีสอน มีผู้สอนและผู้เรียน มีเกมและกติกาการเล่น มีการเล่นเกมตามกติกา มีการอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่น วิธีการเล่น และ พฤติกรรมการเล่นของผู้เล่นหลังการเล่น มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning การเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการเรียนรู้ที่พัฒนา ทักษะความคิดระดับสูงอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้เรียน วิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินข้อมูลในสถานการณ์ใหม่ได้ดี ในที่สุดจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจนสามารถชี้นำตลอดชีวิต ในฐานะผู้ฝักใฝ่การเรียนรู้ธรรมชาติของการเรียนรู้แบบ Active Learning ประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือ 1.เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งลดการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน ให้น้อยลงและพัฒนาทักษะให้เกิดกับผู้เรียน 2.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยลงมือกระทำมากกว่านั่งฟัง เพียงอย่างเดียว 3.ผู้เรียนมีส่วนในกิจกรรมเช่นอ่านอภิปรายและเขียน 4.เน้นการสำรวจเจตคติและคุณค่าที่มีอยู่ในผู้เรียน 5.ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดระดับสูงในการวิเคราะห์สังเคราะห์ และประเมินผลการนำไปใช้และ 6.ทั้งผู้เรียนและผู้สอนรับข้อมูลป้อนกลับจากการสะท้อนความ คิดได้อย่างรวดเร็ว

เทคนิคการจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะ เป็นรูปแบบของการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เน้นให้นักเรียนมี ประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้โดยการแสวงหาและศึกษา ค้นคว้าเพื่อสร้างองค์ความรู้ของตนเองโดยใช้กระบวนการ ทางวิทยศาสตร์ซึ่งมีครูผู้สอนคอยอำนวยการและสนับสนุน ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้หรือแนวทางแก้ปัญหาได้ ตัวเองและสามารถนํามาใช้ในชีวิตประจําวันซึ่งถือว่าเป็น กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นําความรู้หลักการ แนวคิด หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาที่ ผู้เรียนสนใจศึกษา ค้นคว้า และลงมือปฏิบัติ ด้วยตนเอง ตามความสามารถและความถนัดของตนเองอย่างเป็นอิสระ ทำให้ การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนนี้ นับได้ ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน เป็นรูปแบบการเรียน รู้ที่พัฒนามาจากทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เชื่อว่าการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียนโดยที่ผู้เรียนเป็นผู้ สร้างความรู้ด้วยตัวเองโดยการนำเองประสบการณ์หรือสิ่งที่ พบเห็นมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิมเพื่อสร้างเป็น ความเข้าใจของตนเอง และด้วยความเชื่อนี้ทำให้ทฤษฎีนี้ถูกนำมา เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความรู้ของผู้เรียน

เทคนิคการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือ กิจกรรมการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆส่งเสริมให้นักเรียน ทำงานร่วมกันโดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกันมี การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกันและมีความรับ ผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีข้อดี หลายประการ เช่น ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นของนักเรียน ช่วยพัฒนาความคิดของนักเรียน ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียน ส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีวิสัยทัศน์หรือมุมมองกว้างขึ้น ช่วยการปรับตัวในสังคมดีขึ้น

เแทบคนบิคระวิดธีกมาสรมสอองน วิธีสอนที่ใช้ในการอภิปรายโดยทันทีไม่มีใครกระตุ้นกลุ่มผู้เรียนเพื่อหาคำตอบ หรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นโดยในขณะ นั้นจะไม่มีการตัดสินว่าคำตอบหรือทางเลือกใดดีหรือไม่อย่างไรลักษณะสำคัญผู้ เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่ กำหนดให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือก ที่ดีที่สุดซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทาง ขั้นตอนในการระดมสมอง 1. กำหนดปัญหา 2.แบ่งกลุ่มผู้เรียน และอาจเลือกประธานหรือเลขา เพื่อช่วยในการอภิปราย และ บันทึกผล 3. สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่ กำหนด 4. ให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดโดยปัญหาของแต่ละกลุ่มอาจเป็นปัญหา เดียวกันหรือต่างกันก็ได้ 5.คัดเลือกเฉพาะทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ หรือเหมาะสมที่สุด 6.แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน ( ข้อ 4 และ 5 อาจสลับกันได้ ) 7. อภิปรายและสรุ ปผล

เทคนิควิธีการสอน แบบโครงการ หมายถึง การสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่ หรือรายบุคคลได้วางโครงการและดำเนินงาน ให้สำเร็จตามโครงการนั้นนับว่าเป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงเด็กจะทำงานนี้ ด้วยการตั้งปัญหาดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือทำจริง ขั้นตอนการสอน ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย เป็ นขั้นกำหนดความหมายและลักษณะโครงการโดยตัวนักเรียนครูจะเป็ นผู้ ชี้แนะให้นักเรียนตั้งความมุ่งหมายของการเรียนว่าเราจะเรียนเพื่ออะไร ขั้นวางแผนหรือวางโครงการ ขั้นวางแผนหรือวางโครงการเป็นขั้นที่มีคุณค่าต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก คือ นักเรียนจะช่วยกันวางแผนว่าทำอย่างไรจึงจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมาย จะใช้วิธีการใดใน การทำกิจกรรมแล้วจึงทำกิจกรรมที่เหมาะสม ขั้นดำเนินการ เป็นขั้นลงมือกระทำกิจกรรมหรือลงมือแก้ปัญหา นักเรียนเริ่มทำงานตามแผนโดยทา กิจกรรมตามที่ตกลงใจแล้วครูคอยส่งเสริมให้นักเรียนได้กระทำตามความมุ่งหมาย ที่กำหนดไว้ให้นักเรียนคิดและตัดสินใจด้วยตนเองให้มากที่สุดและควรชี้แนะให้ นักเรียนรู้จักวัดผลการทำงานเป็ นระยะๆเพื่ อการทำกิจกรรมจะได้ลุล่วงไปด้วยดี ขั้นประเมินผล ขั้นประเมินผลหรืออาจเรียกว่า ขั้นสอบสวนพิจารณานักเรียนทำการ ประเมินผลว่ากิจกรรมหรือโครงการที่ทำนั้นบรรลุตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ หรือไม่มีข้อบกพร่องอย่างไรและควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร

เทคนิควิธีการสอนแบบ ปฏิบัติการหรือทดลอง เป็ นวิธีการสอนที่ครูเปิ ดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฎิบัติหรือทำการทดลองค้นหาความ รู้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง ขั้นตอนวิํธีการสอน 1.ขั้นตอนกล่าวนำ 2.ขั้นตอนเตรียมดำเนินการ 3.ขั้นตอนเสนอผลการทดลอง 4.ขั้นตอนอภิปรายและสรุปผล

เทคนิควิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มงาน กระบวนการสอน 1ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดจุดมุ่งหมายของการทำงานในแต่ละ กลุ่ม ขั้นตอนนี้เป็นวิธีการทำงานอย่างละเอียด 2.ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แก่ บอก รายละเอียดของหนังสือใช้ในการค้นคว้า 3.นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฎิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อดี 1.ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกหน้ าที่ฝึกเป็นผู้นำผู้ตามในกลุ่ม 2.ผู้เรียนได้สร้างความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่ 3.ผู้เรียนได้ทำงานสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีเพราะช่วยกันคิด ข่วยกันทำ

เทคนิควิธีการสอนโดยใช้ กรณีตัวอย่าง เป็ นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึ กฝนการเผชิญและแก้ปั ญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปั ญห จริงเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และเรียนรู้ ความคิดของผู้อื่นช่วยให้ ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น ขั้นตอนการสอน 1. ผู้สอน / ผู้เรียนนำเสนอกรณีตัวอย่าง 2. ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง 3. ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ 4. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ 5. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหา วิธีแก้ปัญหาของผู้เรียน

เทคนิควิธีการสอนแบบ สาธิต วิธีสอนที่ครูมีหน้ าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่โดยมีการแสดงหรือการ กระทำให้ดูเป็ นตัวอยา่งนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตการฟั งการกระทำหรือการ แสดงและอาจเปิ ดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง ขั้นตอนการจักกิจกรรม 1.กำหนดจุดมุ่งหมายของการสาธิตให้ชัดเจน 2.เตรียมอุปกรณ์ในการสาธิตให้พร้อม 3.เตรียมกระบวนการสาธิตเช่นกำหนดเวลาและขั้นตอนจะเริ่มต้นดำเนิน การและจบลงอย่างไร 4.ทดลองสาธิตก่อนสอนเพื่อตรวจสอบความพร้อมตลอดจนผลที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้ องกันข้อผิดพลาด 5.ต้องจัดทำคู่มือคำแนะนำหรือข้อสังเกตในการสาธิตเพื่อที่นักเรียนจะใข้ ประกอบในขณะที่มีการสาธิต 6.เมื่อสาธิตเสร็จสิ้นแล้วนักเรียนควรได้สาธิตซ้ำ เพื่อเน้ นให้เกิดความเข้าใจ 7.ประเมินผลการสาธิต โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของนักเรียนและผลของ การเรียนรู้

นางสาวสญามล กุลรินทร์ รหัสนักศึกษา 63031820101 สาขานาฏศิลป์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook