Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิจัยการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะ สพป.พล.3

วิจัยการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะ สพป.พล.3

Published by วินัย ปานโท้, 2021-09-14 06:14:06

Description: วิจัยการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะ สพป.พล.3

Search

Read the Text Version

รายงานการวจิ ยั การพัฒนาแนวทางการบรหิ ารจดั การขยะท่ีเนน้ กระบวนการสรา้ งจติ สานึก ดา้ นการจัดการขยะมลู ฝอยของนักเรียนในโรงเรยี นประถมศึกษา สานกั งานเขตพืน้ ที่การศึกษาประถมศกึ ษาพษิ ณุโลก เขต 3 สำนักงำนเขตพนื้ ท่ีกำรศึกษำประถมศึกษำพิษณโุ ลก เขต 3 สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศกึ ษำขนั้ พนื้ ฐำน กระทรวงศึกษำธิกำร

รายงานการวจิ ยั การพัฒนาแนวทางการบรหิ ารจดั การขยะที่เน้นกระบวนการสร้างจติ สำนกึ ดา้ นการจดั การขยะมลู ฝอยของนกั เรยี นในโรงเรียนประถมศึกษา สำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 สำนกั งานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษาประถมศกึ ษาพิษณุโลก เขต 3 สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ชอื่ เร่ือง การพัฒนาแนวทางการบรหิ ารจดั การขยะท่เี น้นกระบวนการสร้างจิตสำนกึ ดา้ นการจดั การขยะมูลฝอยของนกั เรยี นในโรงเรยี นประถมศกึ ษา ผู้วจิ ัย สำนกั งานเขตพนื้ ท่ีการศกึ ษาประถมศึกษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 ปีงบประมาณ คำสำคญั นายทวีพัฒน์ ไมตรจี ติ ร์ และคณะ 2564 การบริหารจดั การขยะ สรา้ งจติ สำนึก ขยะมูลฝอย สำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษา บทคดั ย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปญั หาการจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรยี น ในสงั กัดสำนกั งานเขตพืน้ ท่ีการศึกษาประถมศกึ ษาพิษณุโลก เขต 3 2) เพอ่ื พัฒนาแนวทางการบริหาร จดั การขยะทเี่ นน้ กระบวนการสรา้ งจิตสำนกึ ด้านการจดั การขยะมูลฝอยของนกั เรียนในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพืน้ ทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษาพษิ ณุโลก เขต 3 การวจิ ัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะท่ี 1 ศกึ ษา สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการด้านการจัดการขยะมูลฝอย และครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวนกลุ่มละ 118 คน ระยะท่ี 2 พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการ ขยะที่เน้นกระบวนการสร้างจิตสำนึกด้านการจัดการขยะมูลฝอยของนักเรียนในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการ สถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการด้านการจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต พ้นื ที่การศึกษาประถมศกึ ษาพิษณโุ ลก เขต 3 ภาคเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564 จากโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจยั พบวา่ 1. สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัญหา สงู สุด ไดแ้ ก่ ดา้ นการแปลงรูปของขยะมลู ฝอย 2. สภาพปัญหาที่พบในโรงเรียนท้ังสามขนาด ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจดั การ ปัญหาที่พบ คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ งบประมาณสำหรับการ ดำเนินโครงการ การแยกประเภทงาน จัดกลุ่มงานเกี่ยวกับการจัดการขยะโรงเรียน การปฏิบัติตาม คำสั่ง หรือการสั่งการด้านการจัดการขยะมูลฝอย การสนับสนุน ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงาน การกำหนดตัวชี้วัดในการกำกับตดิ ตาม และประเมินผลการปฏิบตั ิงาน การกำกับติดตาม และประเมินผลการปฏบิ ัติงานตามตวั ชี้วดั ทกี่ ำหนด 2) ดา้ นสภาพปัญหาการจัดการขยะ ปัญหาที่พบ

คือ การควบคุมการทิ้งขยะมูลฝอย ปัญหาที่พบได้แก่ นักเรียนขาดจิตสำนึกที่ดีในการควบคุมการทง้ิ ขยะมูลฝอย การรณรงค์ในเรื่องการทิ้งขยะมูลฝอย การประชาสัมพันธ์เรื่องการทิ้งขยะมูลฝอย การกำหนดข้อตกลงของโรงเรียนเกี่ยวกับการทิ้งขยะมูลฝอย ปริมาณขยะมูลฝอยในโรงเรียน การ รวบรวมขยะมลู ฝอย ปัญหาทพ่ี บได้แก่ การแยกถงั ขยะแบบชนิดของขยะ ความเพยี งพอของถังรองรับ ขยะมลู ฝอย ความเพยี งพอของเครื่องมือและอุปกรณใ์ นการจดั เกบ็ ขยะมลู ฝอย นักเรยี นมคี วามเพิกเฉย ตอ่ การเก็บขยะทพี่ บเห็นในโรงเรียน การแปลงรูปขยะมลู ฝอย ปญั หาท่พี บได้แก่ การเลง็ เห็นประโยชน์ ของขยะมูลฝอย การประชาสัมพันธ์เรื่องการนำขยะมาทำให้เกิดประโยชน์ การให้ความรู้และ ประสบการณ์เกี่ยวกับการนำขยะมารไี ซเคิล กลับมาใช้ประโยชน์ การกำจัดขยะมูลฝอย ปัญหาที่พบ ได้แก่ การประชาสมั พันธใ์ นการกำจัดขยะมูลฝอย การมสี ว่ นรว่ มของนักเรยี นในการกำจัดขยะมูลฝอย บริเวณในการกำจัดขยะมูลฝอย สำหรับการเผาและการฝังกลบ การเผาขยะมูลฝอยในโรงเรียน ระยะทางจากโรงเรียนถงึ ท่ที งิ้ ขยะมลู ฝอย 3. ผลการศึกษาพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะที่เน้นกระบวนการสร้างจิตสำนึก ด้านการจัดการขยะมูลฝอยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศกึ ษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 3.1 แนวทางการบริหารจัดการ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน องค์กร โดยสามารถดำเนนิ การได้ ดังนี้ 1) การวางแผน (Planning) มีเป้าหมายทีช่ ัดเจนรว่ มกันทีจ่ ะ แก้ปัญหาที่พบในโรงเรียน นำมาเป็นสว่ นหนง่ึ ในวสิ ัยทัศน์ เพ่ือกำหนดพนั ธกิจ และเป้าหมายที่ชัดเจน จากน้ันจดั ทำโครงการ/กิจกรรมรองรบั จัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนนิ โครงการ 2) การจัดการ องค์กร (Organizing) มกี ารจดั ต้ังครปู ระจำชั้นรับผิดชอบ แบง่ เขตพื้นทร่ี บั ผิดชอบ จัดให้มีถังรองรับ ขยะมูลฝอยแยกตามชนิดต่าง ๆ เตรียมบริเวณในการกำจัดขยะมูลฝอย สำหรับการเผาและการฝัง กลบ จัดตั้งธนาคารขยะ 3) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) แต่งตั้งครูที่มีความรับผิดชอบ กลุ่มนักเรียน ได้แก่ สภานักเรียน นักเรียนแกนนำ นักเรียนจิตอาสา ลูกเสือจิตอาสา การพัฒนา บุคคลให้มีความรู้ด้านการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียน โดยประสานกับหน่วยงานภายนอก เช่น สำนกั งานสิง่ แวดลอ้ มจังหวัด การศึกษาดงู านโรงเรียนท่ปี ระสบความสำเร็จ 4) การนำหรอื การสั่งการ (Leading/Directing) ผ้บู ริหารเป็นผนู้ ำ คอยช่วยเหลือสนับสนุน ครูผรู้ ับผิดขอบโครงการ ใช้ภาวะผ้นู ำ สรา้ งการยอมรบั ให้ไดใ้ จครู การเปน็ แบบอย่างที่ดี โรงเรยี นรณรงคใ์ นเร่ืองการทิ้งขยะมูลฝอย ให้การ เสริมแรงเชน่ รางวลั สำหรับกจิ กรรมแขง่ ขนั ลดปริมาณขยะในหอ้ งเรียน การพจิ ารณาเลอื่ นขั้นเงินเดอื น การประสานกับหน่วยงานภายนอก ชุมชน ผู้ปกครอง 5) การควบคุม (Controlling) ดำเนินการได้ ดังน้ี การกำหนดข้อตกลงในโรงเรียน ในห้องเรียน ประสานร้านค้าภายในและภายนอกโรงเรียน กำหนดตัวชีว้ ดั ความสำเรจ็ ไวใ้ นโครงการกำกับ ตดิ ตามและประเมินผล 3.2 แนวทางกระบวนการสรา้ งจติ สำนึกดา้ นการจัดการขยะมูลฝอยของนกั เรยี นในโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ดำเนินการพัฒนา ผู้เรียนตามลำดับขั้นตอน 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านความรู้ (Knowledge ) 2) ด้านความตระหนัก (awareness) 3) ด้านการเห็นคุณคา่ (value) และ 4) ด้านพฤติกรรม (behavior) โดยผ่านโครงการ หรอื กจิ กรรมรว่ มกนั ระหวา่ งโรงเรียน ผู้ปกครอง และชมุ ชนอย่างตอ่ เนื่อง

กิตติกรรมประกาศ รายงานการวิจัยเร่ือง การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะท่ีเน้นกระบวนการ สร้างจิตสำนึกด้านการจัดการขยะมูลฝอยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพ้ืนท่ี การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 สำเร็จสมบูรณ์ได้ ต้องขอขอบคุณสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โครงการสร้างจิตสำนึกและความรู้ในการผลิตและบริโภคท่ีเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม กิจกรรมย่อย โรงเรยี นปลอดขยะ (OBEC Zero Waste School) ตามกรอบการวิจยั จำนวน 20,000 บาท ขอขอบคณุ นายสุรนิ ทร์ มั่นประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษา พษิ ณุโลก เขต 3 ที่ใหค้ ำปรกึ ษา แนะนำที่เปน็ ประโยชนย์ ิ่ง กราบขอบพระคุณผู้เช่ียวชาญ ทุกท่านที่กรุณาในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือท่ีใช้ในการ วิจัย ใหข้ ้อเสนอแนะอันเปน็ ประโยชน์ จนทำให้การวิจยั บรรลุผลตามวตั ถปุ ระสงค์ ขอขอบคุณผู้บริหารสถานศึกษา และครูกลุ่มตัวอย่างท่ีให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลวิจัย ในครั้งนี้อย่างดียิ่ง ตลอดจนให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะ ท่เี นน้ กระบวนการสรา้ งจติ สำนึกด้านการจัดการขยะมลู ฝอยของนกั เรียนในโรงเรยี นประถมศึกษา คุณค่าและคุณประโยชน์อันพึงจะมีจากงานวิจัยฉบับน้ี คณะผู้วิจัยขอมอบและอุทิศแด่ ผู้มีพระคณุ และผู้เขยี นตำราที่ใช้ในการอ้างองิ ทุกท่าน หวังเปน็ อย่างยิ่งว่า งานวจิ ัยน้ีจะเป็นประโยชน์ ต่อการพฒั นาคุณภาพการศึกษาไทยตอ่ ไป คณะผวู้ จิ ัย

สารบัญ บทท่ี หนา้ 1 บทนำ................................................................................................................................ 1 ความเป็นมาและความสำคญั ของปัญหา…………………………............................................. 1 วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั ................................................................................................. 4 ขอบเขตของการวิจัย....…………………………………………...................................................... 4 นิยามศพั ท์เฉพาะ………………………………………………………............................................... 5 ประโยชนท์ ่คี าดว่าจะได้รับ.............................................................................................. 6 กรอบแนวคิดในการวิจัย.................................................................................................. 7 2 เอกสารและงานวจิ ยั ทเี่ ก่ยี วขอ้ ง...................................................................................... 8 แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมลู ฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564).................. 8 เอกสารแนวคิดเก่ียวกับขยะมูลฝอย................……………………………………………………….. 32 การจัดการขยะในสถานศกึ ษา...............................................……………………………………. 48 แนวคิดและทฤษฎเี ก่ียวกบั การจัดการ............................................................................. 57 แนวคิดและทฤษฎีทเ่ี กย่ี วขอ้ งกับจิตสำนึก..................................................................... 61 งานวจิ ัยที่เกีย่ วขอ้ ง......................................................................................................... 75 3 วธิ ีดำเนินการพัฒนา………………………………………………………………………......................... 80 ประชากรและกลุ่มตวั อย่าง.............................................................................................. 80 เคร่อื งมอื ที่ใชใ้ นการวจิ ยั .................................................................................................. 81 การสร้างและหาคณุ ภาพเครือ่ งมือที่ใช้ในการวิจัย...... ................................................... 81 การเก็บรวบรวมข้อมูล..................................................................................................... 81 การวเิ คราะห์ขอ้ มลู ......................................................................................................... 81 สถิตทิ ่ีใช้ในการวเิ คราะห์ข้อมลู ........................................................................................ 83 4 ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล...................................................................................................... 86 ผลการศกึ ษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสงั กดั สำนกั งานเขตพื้นท่ี การศกึ ษาประถมศึกษาพิษณโุ ลก เขต 3........................................................................... 86 ผลการศึกษาพฒั นาแนวทางการบริหารจัดการขยะท่เี น้นกระบวนการสรา้ งจิตสำนกึ ดา้ นการจดั การขยะมูลฝอยของนกั เรยี นในโรงเรียน สงั กัดสำนักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษา ประถมศกึ ษาพษิ ณโุ ลก เขต 3............................................................................................ 110 5 สรุป อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ.................................................................................... 137 สรุปผลการวจิ ยั ................................................................................................................... 138 อภิปรายผล......................................................................................................................... 141 ขอ้ เสนอแนะ....................................................................................................................... 147

สารบัญ (ต่อ) บทท่ี หน้า บรรณานุกรม…................................................................................................................... 148 ภาคผนวก ........................................................................................................................... 152 ภาคผนวก ก คำสงั่ แต่งตงั้ คณะวจิ ัย......................................................................... 153 ภาคผนวก ข หนังสอื แจ้งโรงเรยี นในการตอบแบบสอบถามออนไลน์...................... 157 หนงั สือเชิญร่วมสนทนากล่มุ ออนไลน์................................................. 158 ภาคผนวก ค ตัวอย่างแบบสอบถามออนไลน์.......................................................... 150 ผลการวิเคราะห์ความเท่ียงของแบบสอบถาม (Cronbach).............. 161 ภาคผนวก ง ประมวลภาพกจิ กรรม........................................................................ 166 ประวตั ิผวู้ จิ ยั ....................................................................................................................... 170

สารบัญตาราง ตารางท่ี หน้า 1 วธิ ีการคัดแยกขยะมูลฝอยตามประเภท และการนำไปใชป้ ระโยชน/์ การจัดการ... 44 2 ระดับจิตสำนึกตามทัศนะของนักวจิ ยั .................................................................... 70 3 แนวคิดการจดั จำแนกระดับความรสู้ กึ ตามแนว Krathwohl ............................... 71 4 แสดงจำนวนและรอ้ ยละขอ้ มลู ทั่วไปของผตู้ อบแบบสอบถาม………………….......... 86 5 สภาพปัญหาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสังกดั สำนกั งานเขตพืน้ ท่ี การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ปญั หาด้านการบรหิ ารจดั การ ในภาพรวม........................................................................................................... 87 6 สภาพปญั หาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสงั กดั สำนกั งานเขตพ้นื ที่ การศกึ ษาประถมศกึ ษาพษิ ณุโลก เขต 3 ปญั หาดา้ นการบริหารจัดการ ในภาพรวม............................................................................................................ 88 7 สภาพปัญหาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสังกดั สำนกั งานเขตพน้ื ท่ี การศึกษาประถมศึกษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 ด้านการควบคุมการทงิ้ ขยะมลู ฝอย ในภาพรวม............................................................................................................ 89 8 สภาพปญั หาการจดั การขยะมูลฝอยของโรงเรยี นในสงั กัดสำนกั งานเขตพน้ื ท่ี การศึกษาประถมศึกษาพษิ ณุโลก เขต 3 ด้านการรวบรวมขยะมลู ฝอย ในภาพรวม............................................................................................................. 90 9 สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรยี นในสังกดั สำนกั งานเขตพน้ื ท่ี การศึกษาประถมศึกษาพิษณโุ ลก เขต 3 ด้านการการแปลงรูปของขยะมลู ฝอย ในภาพรวม............................................................................................................ 91 10 สภาพปญั หาการจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรยี นในสงั กดั สำนกั งานเขตพื้นที่ การศกึ ษาประถมศึกษาพษิ ณุโลก เขต 3 ด้านการกำจดั ขยะมูลฝอย ในภาพรวม...…...................................................................................................... 92 11 สภาพปัญหาการจดั การขยะมูลฝอยของโรงเรียนในสงั กดั สำนักงานเขตพื้นท่ี การศึกษาประถมศกึ ษาพษิ ณุโลก เขต 3 ดา้ นปัญหาดา้ นการบริหารจดั การ ในโรงเรียนขนาดเล็ก.............................................................................................. 93 12 สภาพปัญหาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสงั กัดสำนกั งานเขตพืน้ ที่ การศกึ ษาประถมศกึ ษาพษิ ณุโลก เขต 3 ด้านการควบคมุ การทงิ้ ขยะมูลฝอย ในโรงเรียนขนาดเลก็ ............................................................................................. 94 13 สภาพปัญหาการจดั การขยะมลู ฝอยของโรงเรียนในสังกดั สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 ดา้ นการรวบรวมขยะมูลฝอย ใน โรงเรียนขนาดเล็ก..........................................................………………………………… 95

สารบัญตาราง (ตอ่ ) ตารางท่ี หน้า 14 สภาพปญั หาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสงั กดั สำนักงานเขตพ้นื ที่ การศึกษาประถมศกึ ษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 ด้านการการแปลงรปู ของขยะมลู ฝอย ในโรงเรียนขนาดเล็ก............................................................................................. 96 15 สภาพปญั หาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นท่ี การศึกษาประถมศึกษาพษิ ณุโลก เขต 3 ด้านการกำจดั ขยะมลู ฝอย ในโรงเรยี น ขนาดเล็ก.............................................................................................................. 97 16 สภาพปญั หาการจดั การขยะมูลฝอยของโรงเรยี นในสงั กดั สำนกั งานเขตพนื้ ที่ การศึกษาประถมศกึ ษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 ปญั หาด้านการบรหิ ารจัดการ ในโรงเรียนขนาดกลาง........................................................................................... 98 17 สภาพปญั หาการจดั การขยะมูลฝอยของโรงเรียนในสังกดั สำนักงานเขตพ้ืนที่ การศกึ ษาประถมศกึ ษาพิษณโุ ลก เขต 3 ด้านการควบคมุ การท้งิ ขยะมลู ฝอย ในโรงเรียนขนาดกลาง........................................................................................... 99 18 สภาพปญั หาการจดั การขยะมูลฝอยของโรงเรียนในสังกัดสำนกั งานเขตพื้นที่ การศกึ ษาประถมศึกษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 ด้านการรวบรวมขยะมูลฝอย ในโรงเรยี นขนาดกลาง........................................................................................... 100 19 สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรยี นในสงั กัดสำนกั งานเขตพน้ื ท่ี การศึกษาประถมศกึ ษาพษิ ณุโลก เขต 3 ด้านการแปลงรูปของขยะมลู ฝอย ในโรงเรยี นขนาดกลาง........................................................................................... 101 20 สภาพปญั หาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรียนในสังกัดสำนกั งานเขตพืน้ ที่ การศกึ ษาประถมศกึ ษาพษิ ณุโลก เขต 3 ด้านการกำจัดขยะมลู ฝอย ในโรงเรียนขนาดกลาง........................................................................................... 102 21 สภาพปญั หาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสงั กัดสำนกั งานเขตพน้ื ที่ การศึกษาประถมศกึ ษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 ปัญหาด้านการบริหารจดั การ ในโรงเรยี นขนาดใหญ่........................................................................................... 103 22 สภาพปัญหาการจดั การขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสังกัดสำนกั งานเขตพน้ื ที่ การศกึ ษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ด้านการควบคมุ การทิง้ ขยะมูลฝอย ในโรงเรยี นขนาดใหญ่........................................................................................... 104 23 สภาพปัญหาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสงั กดั สำนกั งานเขตพ้ืนท่ี การศึกษาประถมศึกษาพษิ ณุโลก เขต 3 ด้านการรวบรวมขยะมูลฝอย ในโรงเรยี นขนาดใหญ่........................................................................................... 105 24 สภาพปัญหาการจดั การขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสังกดั สำนกั งานเขตพื้นท่ี การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ด้านการแปลงรูปของขยะมูลฝอย ในโรงเรียนขนาดใหญ่........................................................................................... 106

สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางท่ี หนา้ 25 สภาพปญั หาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี นในสังกัดสำนักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษาประถมศกึ ษาพิษณุโลก เขต 3 ด้านการกำจัดขยะมูลฝอย ในโรงเรยี นขนาดใหญ่........................................................................................... 107 26 สรปุ สภาพปญั หาการจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรยี น ในสังกดั สำนกั งานเขตพ้ืนที่ การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3............................................................... 108

สารบญั ภาพ แผนภาพที่ หนา้ 1 กรอบแนวคิดในการวจิ ยั ...................................………………................................ 7 2 แนวคิดการจดั การขยะในอดตี และปจั จุบนั ...……................................................ 48 3 การบรหิ ารจดั การขยะที่เน้นกระบวนการสรา้ งจิตสำนกึ ....................................... 136

บทที่ 1 บทนำ ความเปน็ มาและความสำคัญของปัญหา ที่ผ่านมาประเทศไทยมีปริมาณขยะมลู ฝอยเกิดขึ้นทั่วประเทศ ใน พ.ศ. 2562 มีปริมาณขยะ มูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 28.71 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จาก พ.ศ. 2561 ซ่ึงมีปริมาณ 27.93 ล้านตัน สาเหตุท่ีปริมาณขยะมูลฝอยเพ่ิมขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมือง การเพิ่มข้ึนของ จำนวนประชากรแฝงจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนท่ีนิยม ความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งสินค้าจากบริการส่ังซื้อสินค้าและบริการส่ังอาหาร ออนไลน์ ทำใหเ้ กิดขยะพลาสติกถึงมือผู้บรโิ ภคเปน็ จำนวนมาก และการเพม่ิ ขนึ้ ของนักท่องเท่ียวทเ่ี กิด จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมอี ัตราการเกิดขยะมูลฝอย 1.18 กิโลกรัมต่อคนตอ่ วัน เพ่ิมข้ึนจาก พ.ศ. 2561 ท่ีมอี ัตราการเกิดขยะมูลฝอย 1.15 กิโลกรมั ต่อคนต่อวัน เมื่อพจิ ารณาปริมาณขยะมลู ฝอย ทีเ่ กิดขึ้นรายภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร พบว่า ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ เกิดขยะมลู ฝอยมากที่สุด 21,418 ตันต่อวนั (ร้อยละ 27.23) รองลงมาคือ กรงุ เทพมหานคร 13,583 ตันต่อวนั (รอ้ ยละ 17.27) ภาคใต้ 10,730 ตันต่อวัน (ร้อยละ 13.64) ภาคเหนือ 10,229 ตันต่อวัน (ร้อยละ 13.00) ภาคตะวันออก 9,321 ตันต่อวัน (ร้อยละ 11.85) ภาคกลาง 7,416 ตันต่อวัน (ร้อยละ 9.43) และ ภาคตะวันตก 5,923 ตันตอ่ วัน (ร้อยละ 7.53) ตามลำดบั (กรมควบคุมมลพิษ, 2563ข) สำหรับการจัดการขยะมูลฝอย ใน พ.ศ. 2562 พบว่า มีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัด อยา่ งถูกต้อง 9.81 ล้านตัน คิดเปน็ ร้อยละ 34.17 ของปริมาณขยะมลู ฝอยท้ังหมด ลดลงร้อยละ 9.59 จาก พ.ศ. 2561 ที่มีปริมาณ 10.85 ล้านตัน ส่วนท่ีเหลือเป็นขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง ประมาณ 6.38 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 22.22 ของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ลดลงร้อยละ 12.84 จาก พ.ศ. 2561 ที่มีปริมาณ 7.32 ล้านตัน สว่ นขยะมลู ฝอยทีถ่ ูกนำกลับมาใช้ประโยชนใ์ หม่มปี ระมาณ 12.52 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 43.61 ของปริมาณขยะมูลฝอยท้ังหมด เพิ่มข้ึนร้อยละ 28.28 จาก พ.ศ. 2561 ท่มี ีปรมิ าณ 9.76 ล้านตัน เม่อื พิจารณาในช่วง 10 ปที ี่ผ่านมา พบว่า ปรมิ าณขยะมูล ฝอยที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มเพ่ิมข้ึน ทั้งนี้ เม่ือพิจารณาตามประเภทของการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องและขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ มีแนวโน้มเพ่ิมข้ึน และปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้องมีแนวโน้มลดลง (กรมควบคุม มลพษิ , 2563ข อ้างถึงใน สำนักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม , 2564) หากศึกษารายละเอียดของยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ.2560-2579 พบว่า เอกสารสำคัญท้ังสามฉบับของประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาและสิ่งแวดล้อม ไว้ดงั น้ีคือ ต้องจัดการศกึ ษาเพ่ือเสรมิ สร้างคุณภาพชีวิตทเ่ี ป็นมติ รกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายใหค้ น ทุกช่วงวัยมีจิตสานึกรักสิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนทุกระดับการศึกษามีพฤติกรรมท่ี

2 แสดงออกถงึ ความตระหนกั ในความสำคัญของการดำรงชวี ติ ท่เี ปน็ มิตรกบั สง่ิ แวดลอ้ ม นักการศึกษาทุก ประเภทจงึ ตง้ั เปา้ หมายให้การรกั ษาสิง่ แวดล้อมเปน็ หวั ใจหลักของการพฒั นาทรัพยากรมนษุ ย์ จากปัญหาข้างต้นรัฐบาลได้ตระหนักและเห็นความสำคัญจงึ สัง่ การให้ทุกภาคส่วนทเี่ กยี่ วข้อง เร่ ง ด ำ เนิ น ก า ร แ ก้ ไ ข ปั ญ ห าข ย ะ มู ล ฝ อ ย แ ล ะ ไ ด้ ให้ ค ว า ม ส ำ คั ญ ม า ก ต่ อ ก า ร จั ด ก า ร ปั ญ ห า ข ย ะ โดยประกาศเป็น “วาระแห่งชาติ” เร่ืองการจัดการปัญหาขยะ มาตั้งแต่ปี 2557 พร้อมกำหนด “ROAD MAP” การจดั การขยะและของเสียอันตราย โดยมีการดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเน่ือง นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังให้ความเห็นชอบ “แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ของประเทศ” (พ.ศ.2559-2564) มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม จัดทำ “แผนปฏิบัติการประเทศไทยไร้ขยะตามแนวทางประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559-2560) เพ่ือเป็น แนวทางปฏบิ ัติการจัดการขยะระยะส้ันภายใต้แผนแมบ่ ทดงั กล่าว เพ่ือเป็นแนวทางขบั เคล่ือนประเทศ ไทยสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) ภายใต้แนวคิด 3Rs-ประชารฐั คือการส่งเสริม การจัดการขยะที่ต้นทาง ซึ่งเปน็ การจัดการขยะท่ีย่ังยืน โดยการลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพ่อื วางรากฐานการดำเนนิ การจดั การขยะให้เปน็ ไปอย่างมปี ระสทิ ธภิ าพและย่ังยืน (กรมส่งเสริมคณุ ภาพส่ิงแวดล้อม, 2562) ในส่วนของภาคการศึกษาสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายด้านการสร้าง วินัยในสถานศึกษาการจัดการขยะและอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม เน้นโรงเรียนปลอดขยะ โดยกำหนดให้ เขตพื้นท่ีการศึกษา 225 เขตทัว่ ประเทศ ทำบันทึกข้อตกลงกับโรงเรียนให้ดำเนินการเรอ่ื งการจัดการ ขยะในสถานศึกษา ท้ังในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยร่วมบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ท่ีเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในปี 2559 คัดเลือกโรงเรียนตัวอย่างของแต่ละสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา จาก 15,000 โรงเรยี น ไดโ้ รงเรียนนำรอ่ งจำนวน 20 โรงเรยี น สว่ นในปี 2560 ไดใ้ ห้สำนักงานเขตพ้ืนท่ี การศึกษาท่ัวประเทศขยายผลให้ครบทุกโรงเรียน และให้คัดเลือกโรงเรียนลำดับ 1-3 เป็นโรงเรียน ต้นแบบระดับเขตพืน้ ที่การศึกษา เพื่อเข้าร่วมแลกเปลยี่ นและถอดบทเรยี น รวมทงั้ นำความรู้ แนวทาง ทไ่ี ด้จากการเสวนา และการศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้วางแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561 และยังคงดำเนินการตอ่ เนอ่ื งเรื่อยมาจนถึงปจั จุบนั ปัญหาท่ีเกิดจากขยะมูลฝอย เป็นปัญหาที่สำคัญและต้องเร่งแก้ไข ปรับปรุง เน่ืองจากเป็น ปญั หาท่ีนับวันจะทวีความรุนแรงมากข้ึน ทั้งในชุมชน โรงเรยี น และสถานท่ีตา่ ง ๆ ปัญหาขยะมูลฝอย นอกจากจะสง่ ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ยงั สง่ ผลต่อสุขภาพอีกดว้ ย โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งปัญหาขยะ มูลฝอยในโรงเรียนยังมีผลกระทบต่อสุขภาพของครูและนักเรียน เป็นอุปสรรคต่อการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนอีกด้วย แต่การหาทางการจัดขยะให้หมดสิ้นไปเพียงด้านเดียวเป็นการแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุ เพราะหากคนเราไม่ตระหนักว่าตนเองควรมีบทบาทสำคัญอย่างไรบ้างในการจัดการกับ ปัญหาสาธารณะ ปัญหานี้นับวันแต่จะทวีความรุนแรง ขยะจะเพิ่มปริมาณมากข้ึนไปอย่างต่อเนื่อง ส่ิงเดียวท่ีจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างย่ังยืนคือ การให้ผู้คนรักและมีความพร้อมท่ีจะดำรงรักษา สิง่ แวดลอ้ มทเี่ ป็นทรัพยากรธรรมชาตขิ องตน ดงั น้นั การสรา้ งจติ สานกึ ใหผ้ ู้คนตระหนักถงึ ความสำคัญ และความจำเป็นในการดำรงไว้ซ่ึงทรัพยากรธรรมชาติ จะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่ดี และควรเร่ิม

3 ตัง้ แต่เดก็ โดยเฉพาะในโรงเรียน เพราะจะเปน็ การปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนตลอดระยะเวลาที่อยใู่ น โรงเรียนเชื่อมโยงการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เป็นการสร้างจิตสานึกและพัฒนาพฤติกรรม การจัดการขยะของนักเรียนท่ีสำคัญยิ่ง เพราะถือว่านักเรียนเป็นหน่ึงในสมาชิกของชุมชน การให้ นักเรยี นไดท้ ำกิจกรรมทีส่ ามารถส่งเสริมพฤตกิ รรมการจัดการขยะอย่างถกู วธิ ี จะเปน็ กญุ แจสำคญั ที่จะ แก้ปัญหาขยะท่ีเกิดข้ึนได้ แต่การสร้างจิตสานึกเป็นส่ิงที่ไม่สามารถทำได้โดยผ่านกระบวนการบอก หรือบรรยาย นักเรียนจะต้องมโี อกาสเรยี นรู้ผ่านประสบการณ์จริงจึงจะกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึง ปัญหาและแลกเปลย่ี นเรยี นรผู้ า่ นกิจกรรมการเรียนรทู้ ี่ไดร้ ับการออกแบบและวางแผนเปน็ อย่างดี เมื่อมองในภาพรวมสำหรับจังหวดั พิษณุโลกซ่งึ เปน็ จงั หวดั ขนาดใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนลา่ ง ทำให้มีปริมาณขยะมูลฝอยมาก และประสบปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยเช่นเดียวกับพ้ืนที่อื่น โดยปริมาณขยะมูลฝอยท่ีเกิดข้ึนในปี 2561 ของจังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณขยะมูลฝอย รวม 336,871.78 ตัน ซ่ึงจังหวัดพิษณุโลกได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาดตามแนวทางประชารฐั ประจำปี พ.ศ. 2562 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก, 2562) เพ่ือขับเคล่ือนและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนให้เกิดความต่อเน่ืองและเป็นไปตามแผน แม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ โดยกำหนดกรอบการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนในการ วางแผนและกำหนดมาตรการ 3 ส่วน คือ 1. ต้นทางลดปริมาณและคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด 2. กลางทาง เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บขนขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน และ 3. ปลายทาง ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมท้ังการนำหลัก 3Rs หรือ 3 ช มาใช้ คือ 3 Rs : Reduce Reuseและ Recycle หรือ 3 ช: ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ ใหม่โดยหลักประชารัฐ ประกอบด้วย ภาคราชการ ภาคเอกชนภาคการศกึ ษา ภาคศาสนา ภาคประชา สงั คมและประชาชน ร่วมในการแก้ไขปัญหาตามแนวทางประชารัฐ ประจำปี พ.ศ. 2562 (สำนักงาน สาธารณสุขจังหวดั พิษณโุ ลก, 2562) สำนักงานเขตพ้ืนทกี่ ารศึกษาประถมศกึ ษาพิษณุโลก เขต 3 มีโรงเรยี นในเขตความรับผิดชอบ อยู่ใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอพรหมพิราม อำเภอชาติตระการ และอำเภอนครไทย จำนวน 163 โรง จากการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลความพร้อมวันเปิดภาคเรียน ในส่วนของ ด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรยี น ปัญหาหนึ่งทีพ่ บในโรงเรยี นคอื การบรหิ ารจัดการขยะมลู ฝอยภายใน โรงเรียน คือยังไม่มีระบบการจัดการเก็บขยะหรือการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดี และเหมาะสม ยงั ไม่มกี าร จัดการขยะมูลฝอยแต่ละชนิดอย่างถูกวิธี ทำให้สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเกิดปัญหาเร่ืองกลิ่น เหม็นของขยะ การมีพาหนะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ หนูฯลฯ ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของ โรงเรียน จากปัญหาขยะมูลฝอยข้างต้น และเพ่ือเป็นการสนองตอบต่อนโยบายท้ังในระดับประเทศ และระดับจังหวัด ทางสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จึงได้จัดทำ โครงการวิจัย การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะท่ีเน้นกระบวนการสร้างจิตสำนึกด้านการ จัดการขยะมูลฝอยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษา พษิ ณุโลก เขต 3 ขึน้ เพ่ือหาแนวทางแก้ไขปัญหา และสร้างแนวทางการบรหิ ารจัดการขยะ พร้อมทั้ง สร้างจิตสำนักด้านการจัดการชยะให้กับนักเรียนควบคู่ไปด้วย เพ่ือโรงเรียนในสังกัดได้นำใช้เป็น แนวทางบรหิ ารจัดการขยะของโรงเรียนได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ และเกิดความยั่งยืนในชุมชนตอ่ ไป

4 วตั ถุประสงคข์ องการวจิ ยั 1. เพ่ือศกึ ษาสภาพปญั หาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรียนในสงั กัดสำนกั งานเขตพ้ืนที่ การศกึ ษาประถมศกึ ษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 2. เพอ่ื พฒั นาแนวทางการบรหิ ารจดั การขยะทเ่ี น้นกระบวนการสร้างจติ สำนกึ ด้านการจัดการ ขยะมลู ฝอยของนกั เรยี นในโรงเรยี น สงั กดั สำนกั งานเขตพ้ืนทีก่ ารศึกษาประถมศกึ ษาพิษณุโลก เขต 3 ขอบเขตของการวิจัย ระยะท่ี 1 ศึกษาสภาพปญั หาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรยี น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผ้ใู ห้ข้อมูล ประกอบด้วย 1. ผูอ้ ำนวยการสถานศกึ ษา หรอื รักษาการในตำแหน่งผ้อู ำนวยการสถานศกึ ษา ในสงั กัด สำนักงานเขตพนื้ ท่ีการศกึ ษาประถมศึกษาพษิ ณุโลก เขต 3 จำนวน 163 โรงเรียน 2) ครูผู้รับผดิ ชอบด้านอาคารสถานท่ี หรือผ้รู บั ผิดชอบโครงการดา้ นการจดั การขยะ มูลฝอยของโรงเรยี นในสงั กดั สำนกั งานเขตพนื้ ที่การศึกษาประถมศึกษาพษิ ณุโลก เขต 3 จำนวน 163 คน 3) ครูหรอื บุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบตั ิงานอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพน้ื ท่ี การศกึ ษาประถมศึกษาพิษณโุ ลก เขต 3 จำนวน 163 คน เน้ือหา 1. ด้านการบริหารจดั การ 2. ด้านปญั หาการจดั การขยะ 2.1 การควบคมุ การทิ้งขยะมลู ฝอย 2.2 การรวบรวมขยะมลู ฝอย 2.3 การแปลงรปู ของขยะมลู ฝอย 2.4 การกำจัดขยะมูลฝอย ตวั แปรทีศ่ กึ ษา ได้แก่ สภาพปัญหาการจัดการขยะมลู ฝอยของโรงเรียนในสังกดั สำนักงานเขตพืน้ ที่การศึกษาประถมศกึ ษาพษิ ณุโลก เขต 3 ระยะท่ี 2 พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะท่ีเน้นกระบวนการสร้างจิตสำนึก ดา้ นการจดั การขยะมูลฝอยของนักเรียนในโรงเรยี น สังกดั สำนักงานเขตพื้นทก่ี ารศึกษาประถมศึกษา พษิ ณุโลก เขต 3 ประชากรและกลุม่ ตัวอย่าง ได้แก่ 1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา ในสงั กัดสำนกั งานเขตพนื้ ท่ีการศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จากโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียน ขนาดใหญ่ โดยการเลอื กแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์คุณสมบัติท่ีกำหนด กลุ่มละ 5 คน จำนวน 15 คน 2. ครูผู้รับผิดชอบด้านอาคารสถานท่ีหรือผู้รับผิดชอบโครงการด้านการจัดการขยะ มลู ฝอยของโรงเรียน ของโรงเรยี นในสังกดั สำนักงานเขตพ้นื ท่ีการศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2564 จากโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่

5 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์คุณสมบัติท่ีกำหนด กลุ่มละ 5 คน จำนวน 15 คน ดา้ นเนื้อหา แนวทางการบริหารจัดการขยะที่เน้นกระบวนการสรา้ งจิตสำนึกด้านการจัดการขยะมูลฝอย ของนกั เรียนในโรงเรียน 2.2.1 การสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการบริหารจัดการ ขยะของโรงเรยี น 2.2.2 กระบวนการสรา้ งจิตสำนึกดา้ นการจดั การขยะมูลฝอยของนักเรยี นในโรงเรยี น ตวั แปร แนวทางการบริหารจัดการขยะทเี่ นน้ กระบวนการสรา้ งจิตสำนกึ ด้านการจัดการขยะมลู ฝอย ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาพิษณุโลก เขต 3 นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การบริหารจัดการขยะ หมายถึง การปฏิบัติการในการดำเนินงานท่ีเกี่ยวข้องกับการ จดั การขยะภายในโรงเรยี นโดยมี 5 องคป์ ระกอบ ได้แก่ 1) การวางแผน (Planning) คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ(Missions) เป้าหมาย (Goals) กลยุทธ์ (Strategies) กระบวนการ (Procedures) การกำหนดโครงการ กิจกรรม เวลาและ งบประมาณ (Budgets) เพอื่ ใหบ้ รรลตุ ามเปา้ หมายในการจดั การขยะ 2) การจัดการองค์กร (Organizing) คือ การพิจารณาแยกประเภทงาน จัดกลุ่มงาน และ ออกแบบงานสำหรับผูท้ ำงานแต่ละคน การระบุขอบเขตของงาน แสดงออกมาเป็นแผนภูมิโครงสร้าง (Organization chart) 3) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) คือ การแต่งต้ังมอบหมายผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติ หนา้ ท่ี การฝกึ อบรมและการพัฒนาบคุ คลใหม้ ีความรู้ด้านการจดั การขยะมูลฝอยในโรงเรียน 4) การนำหรอื การส่ังการ (Leading/Directing) คือ วิธกี ารการชักนำ (Leading) การจูงใจ (Motivation) การสั่งการ (Directing) ตลอดจนการจัดการกับความขัดแย้ง (Managing conflict) การตดิ ตอ่ ส่ือสาร เพ่อื ให้บรรลวุ ตั ถปุ ระสงค์ในการจดั การขยะมลู ฝอยในโรงเรยี น 5) การควบคุม (Controlling) คือการกำหนดมาตรการ วิธีการ ตัวช้ีวัดความสำเร็จ การ กำกับติดตาม และวัดผลประเมินในการปฏิบัติงานของผู้ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงานในการ กำจดั ขยะมูลฝอยในโรงเรียน 2. ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย หมายถึง อุปสรรค ความยุ่งยาก ในการดำเนินการของ สถานศึกษาเกยี่ วกับการจดั การขยะมูลฝอย ประกอบดว้ ย 2.1 การควบคุมการท้ิงขยะมูลฝอย หมายถึง การทำให้ขยะมูลฝอยที่จะทิ้งลดลง โดยการ นำสง่ิ ทจ่ี ะเป็นขยะน้ันกลับมาใช้ประโยชน์อีก หรอื ลดปริมาณการใช้ ให้เหลอื สง่ิ ท่ีจะเป็นขยะจรงิ เพยี ง เท่าท่ีไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก 2.2 การรวบรวมขยะมลู ฝอย หมายถึง การกักเกบ็ ขยะมูลฝอย รวมถึงการรวบรวมขยะมูล ฝอยจากแหลง่ ต่าง ๆ แลว้ นำไปใสย่ านพาหนะเพื่อลำเลยี งไปกำจัด หรอื นำไปทำประโยชนอ์ ่ืน ๆ ตอ่ ไป

6 2.3 การแปลงรูปของขยะมลู ฝอย หมายถึง การเปล่ยี นแปลงคณุ ลกั ษณะหรอื องค์ประกอบ ทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของขยะมูลฝอย เพ่ือให้เกิดความสะดวก และความปลอดภัยในการ ลำเลยี ง การนำกลับมาใช้ประโยชน์ การเก็บรวมรวม การกำจดั หรือการลดปรมิ าตร 2.4 การกำจัดขยะมลู ฝอย หมายถงึ วธิ ีการกำจัดขยะมูลฝอยขั้นสุดท้าย เพื่อใหข้ ยะมูลฝอย ไมก่ อ่ ให้เกิดปญั หามลพิษต่อสภาพแวดล้อม อนั อาจส่งผลกระทบต่อคณุ ภาพชวี ิตนักเรยี น 3. จิตสำนึกในการจัดการขยะ หมายถึง ปัจจัยทางจิตวิทยาท่ีส่งผลต่อพฤติกรรม ของนักเรยี นด้านการจัดการขยะ ประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge ) ความตระหนกั (awareness) การเหน็ คณุ คา่ (value) และพฤตกิ รรม (behavior) 4. กระบวนการสร้างจิตสำนึกด้านการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียน หมายถึง วิธีการ ข้ันตอน การดำเนินกิจกรรม/โครงการ ท่ีทางโรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนานักเรียนท้ังในด้านความรู้ (Knowledge ) ความตระหนัก (awareness) การเหน็ คุณคา่ (value) จนทำให้นกั เรียนเกิดพฤติกรรม (behavior) ท่ีถูกต้องในการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียน ตามแนวทาง 3Rs (Reduce Reuse Recycle) 5. ขยะมูลฝอย หมายถึง ส่ิงของที่เหลือทิ้งจากการอุปโภคและบริโภค ตามแหล่งต่าง ๆ ภายในโรงเรียน ได้แก่ เศษกระดาษ เศษวัสดุที่ห่อหุ้มสินค้า พลาสติก เศษแก้ว กระป๋อง เศษอาหาร และเศษวสั ดอุ ื่นๆ ซึง่ แบ่งประเภทได้เปน็ ขยะมลู ฝอยเปยี ก ขยะมลู ฝอยแห้ง และขยะมูลฝอยอันตราย ประโยชน์ทค่ี าดวา่ จะได้รับ 1. ผลการวิจัยทำให้ทราบสภาพปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรียนในสังกั ด สำนักงานเขตพนื้ ทกี่ ารศึกษาประถมศึกษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 2. ได้แนวทางการบริหารจัดการขยะที่เน้นกระบวนการสรา้ งจิตสำนึกด้านการจัดการขยะมูล ฝอยของนักเรียนในโรงเรยี นประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศกึ ษาประถมศึกษาพษิ ณุโลก เขต 3 ซึ่งจะทำให้โรงเรยี นสะอาด ถูกสุขลักษณะ มีสภาพแวดล้อมท่ดี ี

7 กรอบแนวคิดในการวิจยั แนวทางการบรหิ ารจัดการขยะ ทเ่ี น้นกระบวนการสรา้ งจติ สำนึก สภาพปจั จุบนั ปญั หาด้านการจัดการขยะมลู ด้านการจดั การขยะมลู ฝอยของ ฝอยของโรงเรยี น นกั เรียนในโรงเรยี นประถมศึกษา สำนกั งานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษา 1.ดา้ นการบริหารจัดการ ประถมศกึ ษาพษิ ณโุ ลก เขต 3 2. ด้านการกำจัดขยะมูลฝอย 2.1 การควบคมุ การทิ้งขยะ 2.2 การเก็บรวบรวมขยะมลู ฝอย 2.3 การแปลงรูปของขยะมูลฝอย 2.4 การกำจัดขยะมูลฝอย แนวคิดทฤษฎดี ้านการบริหารจดั การ 1.การวางแผน (Planning) 2.การจดั การองคก์ ร (Organizing) 3.การจดั คนเข้าทำงาน (Staffing) 4. การนำหรอื การส่งั การ (Leading/Directing) 5. การควบคมุ (Controlling) กระบวนการสร้างจิตสำนึก 1. ดา้ นความรู้ (knowledge ) 2. ด้านความตระหนกั (awareness) 3. ดา้ นการเหน็ คุณค่า (value) 4. ด้านพฤตกิ รรม (behavior) แผนภาพ 1 กรอบแนวคดิ ในการวิจัย

บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจยั ทเ่ี กยี่ วขอ้ ง รายงานการวิจยั การพฒั นาแนวทางการบริหารจดั การขยะท่ีเนน้ กระบวนการสร้างจิตสำนึก ด้านการจัดการขยะมูลฝอยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 คณะผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. แผนแม่บทการบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) 2. เอกสารแนวคดิ เกีย่ วกบั ขยะมลู ฝอย 3. การจดั การขยะในสถานศกึ ษา 4. แนวคดิ และทฤษฎเี กยี่ วกบั การจัดการ 5. แนวคดิ และทฤษฎที ่เี ก่ยี วข้องกบั จิตสำนกึ 6. งานวจิ ัยท่เี กยี่ วข้อง 1. แผนแมบ่ ทการบริหารจดั การขยะมลู ฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายมีกรอบแนวคิดมาจากการลดขยะมูลฝอยที่ต้น ทางประกอบด้วยการใช้น้อย การใช้ซ้ำ และการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ ตามหลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) การกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายแบบศูนย์รวม และการ นำมาใช้ประโยชน์โดยแปรรปู ผลิตพลังงาน หรือปุ๋ยอินทรยี ์โดยการจัดการขยะมลู ฝอยต้องดำเนินการ ให้ครบวงจรตามหลักความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย กำหนดมาตรการในการจัดการ 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการลดการเกิดขยะ มูลฝอย และของเสียอันตรายที่แหล่งกำเนิด มาตรการเพิ่มศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอย และ ของเสียอันตรายและมาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย โดยสอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) (กรมควบคมุ มลพษิ กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม, 2559) 1.1 วิสยั ทศั น์ “จัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายอย่างเป็นระบบ และบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วน” 1.2 วตั ถุประสงค์ 1.2.1. เปน็ กรอบ และทิศทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมลู ฝอย และของเสีย อนั ตรายของประเทศ

9 1.2.2. เพื่อให้มีแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายในภาพรวมของ ประเทศ และบูรณาการการดำเนินงานรว่ มกันของหนว่ ยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 1.2.3. จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะ มูลฝอยของจังหวัด ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และสามารถดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยได้อย่าง มีประสทิ ธภิ าพ 1.3 เปา้ หมาย เป้าหมายการดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายตามแผนแม่บท การบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) ประกอบด้วย 1. ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของปรมิ าณขยะมลู ฝอยทเ่ี กิดขึ้น ภายในปี 2564 2. ขยะมลู ฝอยตกคา้ งได้รบั การจัดการอยา่ งถูกตอ้ งตามหลกั วิชาการ รอ้ ยละ 100 ของปรมิ าณ ขยะมูลฝอยตกค้าง ของปี 2558 ภายในปี 2562 3. ของเสียอนั ตรายชุมชนได้รับการรวบรวม และสง่ ไปกำจัดถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่น้อย กวา่ รอ้ ยละ 30 ของปรมิ าณของเสียอันตรายชุมชนท่เี กดิ ขนึ้ ภายในปี 2564 4. มูลฝอยติดเชื้อได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ร้อยละ 100 ของปริมาณ มูลฝอยติดเชอื้ ทเ่ี กดิ ข้ึน ภายในปี 2563 5. กากอุตสาหกรรมท่ีเป็นอันตรายเข้าสู่ระบบการจัดการที่ถูกต้อง ร้อยละ 100 ของปริมาณ กากอุตสาหกรรม ท่เี ป็นอันตรายที่เกิดขน้ึ ภายในปี 2563 6. องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถน่ิ มีการคัดแยกขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตรายชุมชนท่ีต้นทาง ไม่นอ้ ยกวา่ ร้อยละ 50 ของจำนวนองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถ่ินทัว่ ประเทศ ภายในปี 2564 1.4 กรอบแนวคดิ 1.4.1 หลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) เพื่อให้เกิดการใช้น้อย การใช้ซ้ำ และ การนำกลบั มาใชใ้ หม่ของขยะมลู ฝอยท่ีเกิดขึน้ ณ แหล่งกำเนิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย การบริโภคที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกให้เยาวชน และประชาชนให้เกิดวนิ ัยลดการบริโภคทีฟ่ ุ่มเฟือย เพื่อลด การเกิดขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย ณ แหล่งกำเนิด สนับสนุนการผลิต และการใช้ผลิตภัณฑ์ ท่ีเป็นมติ รต่อสงิ่ แวดลอ้ ม ส่งเสริมใหม้ ีการใช้ซ้ำ การคดั แยก และนำขยะมลู ฝอย และของเสยี อันตราย ไปใช้ประโยชนใ์ หม่ให้มากที่สุดก่อนการกำจัดในขัน้ สุดท้าย ส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล รวมถงึ การสร้างแรงจูงใจให้ครัวเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ และภาคบริการทั้งในชุมชน และ สถานที่ท่องเท่ยี วคัดแยก และลดปริมาณ ในส่วนของภาคเอกชนตอ้ งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่ีเป็นมิตร กบั ส่ิงแวดลอ้ ม และส่งเสรมิ การใช้วัสดุท่ีสามารถใชซ้ ้ำ หรอื นำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ตามหลักการ 3Rs ภาครัฐเปน็ ผนู้ ำในการจดั การขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตรายในหน่วยงาน และส่งเสรมิ การใช้สินค้า และบรกิ ารทีเ่ ปน็ มติ รกับสงิ่ แวดลอ้ มให้ครบวงจร 1.4.2 การกำจัดขยะมูลฝอย และของเสยี อนั ตรายแบบศูนยร์ วม และการแปรรูปผลติ พลงั งาน

10 จัดการขยะมูลฝอย ของเสียอันตรายชุมชน และมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวม โดยองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีการจัดระบบรองรับการเก็บรวบรวม ขนส่งแบบแยกประเภท ดำเนินการกำจัดขยะมูล ฝอยแบบศูนย์รวม (Cluster) โดยใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานอย่างเหมาะสม เน้นการจัดการ และ การกำจัดขยะมูลฝอยให้ครบวงจรเพื่อลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบคัดแยก ระบบหมักปุ๋ย เตาเผา การฝังกลบ ส่วนการนำขยะมูลฝอยมาแปรรูปเป็นพลังงาน เช่น นำมาเป็น เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า การผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) เป็นต้น ถือเป็นผลพลอยได้ และเป็นแรงจูงใจ ให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน รวมทงั้ การผลกั ดันใหม้ ีศนู ย์รวบรวมของเสยี อนั ตรายชุมชนของจงั หวัด และ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีม่ ีศักยภาพ หรือเอกชนเข้ามาบริหารจัดการมูลฝอยตดิ เชื้อ แบบศนู ยร์ วม ใหค้ รอบคลุมทกุ ภูมภิ าคของประเทศ และจัดให้มสี ถานขี นถา่ ยขยะมลู ฝอย หรอื การแปร รูปเพื่อผลิตพลังงาน รวมถึงกำหนดแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย เป็นการเฉพาะสำหรับพื้นท่ี ทอ่ งเที่ยว และพืน้ ทีเ่ ขตเศรษฐกจิ พิเศษท่ีมีการขยายตวั อยา่ งรวดเร็ว การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ มูลฝอย และของเสียอันตราย ออกกฎระเบียบกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หลักเกณฑ์ และมาตรฐานการลด คัดแยกเก็บรวบรวม ขนส่ง และกำจัดขยะมลู ฝอย ของเสียอันตรายชุมชน และ มูลฝอยติดเชื้อ รวมถึงหลักเกณฑ์ แนวทางการจัดการคู่มือปฏิบัติเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครอง ส่วนทอ้ งถ่นิ ในพ้นื ทน่ี ำไปใช้ดำเนินการจัดการขยะมลู ฝอย 1.4.3 ความรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะมูลฝอย และ ของเสยี อนั ตราย ส่งเสริมบทบาทของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนให้มีความรู้ ความเขา้ ใจ และมีจติ สำนกึ รวมท้ังการสร้างวินัยในการจดั การขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย ท้งั ใน ระบบโรงเรียน และนอกโรงเรียน ตั้งแต่การคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง จนถึงการกำจัดขั้นสุดท้าย ให้ข้อมูลข่าวสาร และสามารถเข้าร่วมรับรู้ ให้ข้อเสนอแนะร่วมตัดสินใจ และร่วมมือในการดำเนิน โครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายบนฐานข้อมูลทางวิชาการที่เกิดการยอมรับ ทุกส่วนตั้งแตต่ ้น เพ่ือลดความขัดแย้ง และการตอ่ ตา้ นจากประชาชน ในการกอ่ สรา้ งสถานท่ีกำจัดขยะ มูลฝอย และของเสียอันตราย และส่งเสริมและสนับสนนุ ภาคเอกชนลงทุน หรือร่วมลงทุนดำเนินงาน ระบบจัดการขยะมูลฝอย เนื่องจากจะมีความพร้อม และมีศักยภาพ รวมทั้งสามารถบำรุงรักษา และดูแลระบบในระยะยาวได้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการลงทุนจากภาครัฐ และราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งมี ข้อจำกดั ดา้ นงบประมาณ เครอื่ งจักร อปุ กรณ์ และบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญในการดูแลระบบ จัดการขยะมูลฝอย ส่งเสริมให้ผู้ผลิตรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ของตนเองเมื่อหมดอายุการใช้งาน ตั้งแต่การเก็บ รวบรวมการเกบ็ ขนการรไี ซเคลิ และการบำบัดกำจัดอย่างปลอดภยั ต่อสิง่ แวดล้อม ตามหลักการขยาย ความรับผิดชอบของผู้ผลิต (ExtendedProducer Responsibility : EPR) เพื่อส่งเสริมการปรับปรุง ดา้ นส่งิ แวดลอ้ มของกระบวนการผลิตอย่างครบวงจร ซึง่ จะชว่ ยผลักดนั ให้ผผู้ ลิตปรับปรุงการออกแบบ ผลติ ภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อมมากข้ึน โดยลดการใช้สารอันตราย และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ง่าย ต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการรวบรวม และขนส่งไปกำจัด

11 อย่างเหมาะสม อันเป็นการสนับสนุนการผลิต และการบริโภคอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมการสร้าง ระบบรวบรวมของเสีย อันตรายชุมชน และระบบฝากคืนบรรจุภัณฑ์ (Deposit Refund) ในพื้นท่ี เอกชน เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือพืน้ ที่สาธารณะ 1.5 มาตรการการจัดการขยะมลู ฝอย และของเสียอันตราย เพื่อให้การดำเนินการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายมีประสิทธิภาพ และเกิด ผลสัมฤทธิ์ การดำเนินการจึงครอบคลุมการจัดการตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ประกอบด้วย 1) มาตรการลดการเกิดขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายที่แหล่งกำเนิด 2) มาตรการเพิ่มศักยภาพ การจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย 3) มาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสยี อนั ตราย โดยมแี นวทางในแต่ละมาตรการ ดังนี้ 1.5.1 มาตรการลดการเกิดขยะมลู ฝอย และของเสียอนั ตรายที่แหลง่ กำเนดิ สนับสนุน และขยายผลให้มีการจัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่บ้านเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ รวมทั้งสถานบริการต่าง ๆ ทั้งในชุมชน และสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อลดปริมาณ การเกิดขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย สนับสนุนการเลือกใช้สินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้เกดิ กลไกการคัดแยก และนำขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายกลับมาใช้ ประโยชน์ใหม่ให้มากที่สุด ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ท่ี เลอื กใช้วัสดุท่ี ไมส่ ง่ ผลกระทบตอ่ สิ่งแวดลอ้ ม สามารถนำกลบั มากลับไปใช้ประโยชนใ์ หม่ ลดของเสีย ในขั้นตอนการผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานนานขึ้น สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง เพือ่ ใหเ้ กิดการผลติ และการบริโภคท่ยี ่งั ยืน (Sustainable consumption and production) 1.5.2 มาตรการเพิม่ ศกั ยภาพการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย อปท. และจงั หวดั ดำเนินการเก็บรวบรวม ขนส่ง และกำจัดขยะมลู ฝอย และของเสียอันตราย ทเ่ี กดิ ข้ึนในพน้ื ที่รบั ผิดชอบของตนเอง จัดให้มศี นู ยก์ ำจัดขยะมูลฝอยรวม (Cluster) โดยใช้เทคโนโลยี แบบผสมผสานอย่าง เหมาะสม จัดให้มีสถานที่รวบรวม และจัดการของเสียอันตรายชุมชน สถานท่ี กำจัดกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย และศูนย์กำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เพียงพอ โดยสนับสนุนภาค เอกชนลงทุนหรือร่วมลงทุนดำเนินงานระบบจัดการ ขยะมูลฝอย พัฒนา และปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย รวมท้ัง เข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ 1.5.3 มาตรการส่งเสรมิ การบริหารจดั การขยะมูลฝอย และของเสยี อนั ตราย โดยสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ตั้งแต่ระดับเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะ มูลฝอย และของเสียอันตราย ตั้งแต่การลดการเกิดขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ รวมท้ังสถานบริการต่าง ๆ การคัดแยกขยะมลู ฝอย และของเสียอนั ตรายจนถึงการ กำจดั ขัน้ สดุ ท้าย พฒั นาองค์ความรู้ รูปแบบเทคโนโลยี การบำบัด/กำจดั ขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย รวมถึงวัสดุทดแทนวัสดุที่ใช้เปน็ บรรจภุ ัณฑ์ และกำจดั ยาก พฒั นาหลกั สตู รการเรียนการสอนเก่ียวกับ การจดั การขยะมูลฝอย ทง้ั ใน และนอกระบบโรงเรียน พัฒนา และเชอ่ื มโยงระบบฐานขอ้ มูล เพ่ือการ จัดการอยา่ งมีประสิทธิภาพ และสร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตรายโดยใช้ กลไกทาง เศรษฐศาสตร์ และกลไกทางสังคม รวมทั้งสร้างตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) เพื่อให้หน่วยงาน ที่เกย่ี วข้องได้ปฏิบัตหิ นา้ ที่ ใหเ้ กดิ ผลสมั ฤทธ์ริ ่วมกัน

12 1.6 การปฏบิ ตั ิ เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย สามารถดำเนินการได้ตามมาตรการ จัดการอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการจัดการขยะ มลู ฝอย และของเสยี อนั ตราย ชุมชน และหน่วยงานท่ีเกี่ยวขอ้ งดำเนนิ การ ดังน้ี 1.6.1 มาตรการลดการเกดิ ขยะมลู ฝอย และของเสยี อนั ตรายทีแ่ หล่งกำเนิด 1.6.1.1 การลดปรมิ าณขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นใหม่หรือขยะมูลฝอยใหม่เป็นขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ซึ่งจะมีปริมาณมากน้อยตามอัตราการเกิดขยะมูลฝอยที่แตกต่างกันในแต่ละพื้ นที่ เช่น กรงุ เทพมหานครซ่งึ เป็นเมอื งใหญ่ จะมีอัตราการเกดิ ขยะมลู ฝอยคอ่ นขา้ งสงู 1.89 กิโลกรมั ตอ่ คนต่อวนั ขยะมูลฝอยทเ่ี มอื งขนาดเลก็ เช่น เทศบาลตำบลปะทิว จังหวัดชุมพร มอี ตั ราการเกดิ ขยะมลู ฝอย 0.73 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน เทศบาลตำบลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด มีอัตรา การเกิดขยะมูลฝอย 0.65 กิโลกรัมต่อคนตอ่ วนั เป็นตน้ ดงั น้ัน เพือ่ ใหเ้ กดิ การลดปรมิ าณขยะมูลฝอยทเ่ี กดิ ขึ้นจงึ ตอ้ ง ดำเนนิ การ 1) สนับสนุนใหป้ ระชาชน สถานศกึ ษา สถานประกอบการ และสถานบริการดำเนินการลด และคดั แยกขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตรายนำกลับมาใช้ประโยชน์ เชน่ การจัดต้ังธนาคารขยะชมุ ชน 2) สนบั สนุนให้ประชาชนเลือกใช้ผลติ ภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ทีเ่ ปน็ มิตรกบั สิง่ แวดล้อมสามารถ ใชซ้ ้ำ หรอื นำกลบั มาใช้ใหมไ่ ด้ 3) กำหนดให้สถานที่ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา เป็นต้นแบบ ในการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายในหน่วยงาน รวมถึงการให้ภาคเอกชน สถานประกอบการที่จำหน่าย สินค้า ลด ละ และเลิกการใช้ถุงพลาสติก กล่องโฟม หรือบรรจุภัณฑ์ กำจดั ยาก 4) สนบั สนุนการลดการใชพ้ ลาสตกิ และโฟมในสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว การนำขยะคืนถ่นิ รวมถึง การกำหนดให้มีการมดั จำ-คนื เงินขวดและบรรจุภัณฑท์ ่ีเป็นขยะมูลฝอยในสถานที่ทอ่ งเท่ียว 5) กำหนดให้สถานศกึ ษาจัดกิจกรรมการลดคัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ เชน่ การจดั ตง้ั ธนาคารขยะรีไซเคิลให้แก่เดก็ และเยาวชน เปน็ ต้น 6) สนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคบริการ (Green Procurement) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิต และการบริโภค อยา่ งยง่ั ยืน 7) สง่ เสริมภาคการผลิตในการออกแบบ/ผลติ สินค้า และบรรจภุ ัณฑท์ ีเ่ ปน็ มติ รกับส่ิงแวดล้อม ให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง รวมทั้งส่งเสริมการใช้วัสดุ ท่ีสามารถนำกลบั มาใช้ใหม่ 8) ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการปรับปรุงกระบวนการผลติ เพื่อลดหรอื ป้องกันการเกิดของเสยี จากกระบวนการผลิต และส่งเสริมการนำของเสยี หรือวัสดุผลพลอยได้ไปใช้ประโยชนอ์ ยา่ งครบวงจร 9) การพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนของเสีย (Waste Exchange System) โดยการคัดแยก และ นำของเสยี จากกระบวนการผลิตระหว่างโรงงานอตุ สาหกรรมไปใช้เป็นวตั ถุดิบในกระบวนการผลิตของ โรงงานอน่ื นำไปใช้ซำ้ หรือแปรรูปใช้ใหม่

13 1.6.2 มาตรการเพ่ิมศักยภาพการจดั การขยะมลู ฝอย และของเสยี อันตราย 1.6.2.1 เพิ่มศกั ยภาพการจดั เก็บ และขนสง่ ขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย มแี นวทางปฏิบตั ิ ดงั นี้ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินประเมินประสิทธิภาพการเก็บรวบรวมและขนส่งขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย และปรับปรุง/จัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่เก็บรวบรวม และ ยานพาหนะขนส่งขยะมลู ฝอย และของเสียอนั ตรายอยา่ งเพียงพอและเหมาะสม 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการคัดแยกขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายชุมชน ทีต่ ้นทาง เกบ็ รวบรวมขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตรายชมุ ชนแบบแยกประเภท หรอื อาจกำหนดเวลา การเก็บรวบรวม ขยะมูลฝอยแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับสภาพพื้นท่ี 3) พัฒนาระบบการคัดแยก และเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยแบบแยกประเภทสำหรับองค์กร ปกครองสว่ นทอ้ งถ่นิ ในพน้ื ที่แหลง่ ท่องเทีย่ วใหเ้ หมาะสม และเพยี งพอตอ่ ปรมิ าณขยะมูลฝอยท่ีเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดกู าลท่องเท่ียว 4) สำหรับองคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถ่ินท่อี ย่หู า่ งไกลจากศนู ย์กำจดั ขยะมูลฝอยรวมเกนิ กว่า 30 กิโลเมตร หากจำเป็นต้องส่งขยะมลู ฝอยมากำจัดร่วมยังศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม และไม่มีรถขนส่ง ขยะมูลฝอย เพียงพอที่จะขนส่งไปศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม ควรจัดให้มีสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย เพื่อรวบรวมขยะมูลฝอยรอการขนส่งไปยังศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม และลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยจะต้องพิจารณาตามความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไดแ้ ก่ 4.1) ระยะทางการขนส่งขยะมูลฝอยไปยังศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม 30 – 50 กโิ ลเมตร ท้งั น้ี ตอ้ งพจิ ารณาความคมุ้ ค่าในการขนสง่ ไปยังศนู ย์กำจดั ขยะมลู ฝอยรวมด้วย 4.2) การออกแบบ และการก่อสร้างสถานีขนถ่ายขยะมลู ฝอยให้เปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์ และ มาตรฐาน หรอื ข้อกำหนดของหน่วยงานของรฐั ทเ่ี กย่ี วข้อง หรือมาตรฐานอ่นื ท่ียอมรับได้ 4.3) ความสามารถ และการบริหารจัดการระดับท้องถิ่น และความพร้อมของบุคลากร ในการดำเนนิ การ 4.4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในการขนส่งขยะมูลฝอยมารวบรวมยังสถ านีขนถ่ายก่อนส่งไปย ัง ศูน ย์ กำจดั ขยะมูลฝอยรวม และตอ้ งมกี ารการทำความเข้าใจเพอ่ื ให้เกิดการยอมรับของประชาชนในพ้นื ท่ี 5) กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องต้องเข้มงวดการตรวจสอบ และควบคุม ระบบเอกสารกำกับการขนสง่ (Manifest System) กากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายทัว่ ประเทศ และ กำกบั ดูแล การขนส่งกากอตุ สาหกรรมที่เปน็ อนั ตรายทว่ั ประเทศดว้ ยระบบการติดตามตำแหนง่ (GPS) รวมท้งั กำหนดข้อบังคับทางกฎหมายใหร้ ถของเสยี อันตรายตดิ ป้าย หรอื สญั ลักษณบ์ ่งช้วี ่าเป็นรถขนส่ง ของเสียอันตราย 6) กระทรวงสาธารณสขุ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้มงวด การตรวจสอบระบบเอกสาร กำกับการขนส่ง (Manifest System) มูลฝอยติดเชื้อจากสถานบริการสาธารณสุข และกำหนดให้มี ระบบเอกสารกำกับ การขนส่ง (Manifest System) สำหรับมูลฝอยติดเชื้อจากสถานบริการ

14 สาธารณสุขขนาดเล็ก (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล คลินิกคน/สัตว์ ห้องปฏิบัติการ เชอ้ื อันตราย) ตลอดจนมีแบบติดตาม และควบคุมที่เขม้ งวด 7) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ มูลฝอย การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท และการกำหนดอัตรคา่ ธรรมเนียมการเกบ็ ขน ขยะมลู ฝอย เพ่ือบังคบั ใช้ในพ้ืนท่ีของตนเองให้เหมาะสม 8) สนับสนุนให้มีการจัดระบบผู้คัดแยกขยะมูลฝอยรายย่อย (ซาเล้ง) ร้านค้าของเก่าและ เครือข่ายกิจกรรมรีไซเคิลชุมชน และตลาดนัดรีไซเคลิ เพื่อเพิ่มทางเลือก และช่องทางในการคัดแยก ขยะมูลฝอย 9) สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดให้มี ระบบการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์เมื่อหมดอายุการใช้งานตั้งแต่การเก็บรวบรวม การเก็บขน การรีไซเคิล และการบำบัด กำจัดอย่างปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ตามหลักการขยายความรับผิดชอบ ของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility : EPR) รวมทั้งแบบรวบรวมในพื้นที่สาธารณะ หรอื ชมุ ชนเพอ่ื อำนวยความสะดวกใหป้ ระชาชน 10) พัฒนาระบบรวบรวมของเสียอันตรายหรือขยะรีไซเคิลในพื้นที่ของรัฐหรือเอกชน ท่ีใช้ ประโยชนร์ ่วมกัน เชน่ หา้ งสรรพสินค้า และส่งเสรมิ ระบบเรยี กคนื บรรจุภัณฑ์ (Deposit Refund) 1.6.2.2 เพ่มิ ศักยภาพการกำจัด และใชป้ ระโยชนข์ ยะมลู ฝอย และของเสยี อนั ตราย 1) กำจัดขยะมลู ฝอยตกค้าง (ขยะมูลฝอยเก่า) ขยะมูลฝอยตกค้าง จำนวน 30.49 ล้านตัน จะต้องได้รบั การกำจดั ใหห้ มดไป โดย องค์กรปกครองส่วน ทอ้ งถนิ่ สามารถดำเนนิ การได้ ดังนี้ 1.1) สำรวจ ประเมิน สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเพื่อปิดหรือจัดทำแผนงานฟื้นฟูสถานที่ กำจัดขยะมูลฝอย 1.2) ปิด/หรือฟื้นฟูสถานทีก่ ำจัดขยะมูลฝอยทีไ่ ม่ถูกต้องตามหลักวชิ าการ เพื่อจัดการขยะ มูลฝอยเก่า โดยรื้อร่อน และแปรรูปขยะมูลฝอย ผลิตเป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel: RDF) และส่งเป็นวัตถุดบิ ใหแ้ กโ่ รงงานเอกชน หรอื สง่ ไปยงั เตาเผาขยะมูลฝอย เพื่อผลิตเป็นพลงั งานไฟฟ้า 1.3) ปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย โดยปรับปรุงพื้นที่ที่มีการเทกองขยะมูลฝอย (Open Dump) และสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการให้เป็นแบบควบคุ ม (Controlled Dump) หรอื ฝงั กลบถูกหลักสขุ าภบิ าล (Sanitary Landfills) 1.4) ติดตามตรวจสอบการปนเปือ้ นน้ำชะขยะมลู ฝอยบรเิ วณรอบสถานที่กำจดั ขยะมลู ฝอย 1.5) การจัดตง้ั งบประมาณสนบั สนนุ ใหส้ ามารถจัดการขยะตกค้างไดอ้ ย่างเหมาะสม 2) สร้างรปู แบบการจดั การขยะมลู ฝอย ขยะมูลฝอยใหมท่ ี่เกิดขึ้นรายวัน ควรได้รับการจัดการ และกำจัดให้หมดเป็นประจำทุกวัน เพอื่ ไม่ให้เกดิ ปญั หาขยะมูลฝอยตกค้างขึน้ อีก และใหเ้ กดิ ประสิทธิภาพสงู สุดในการจัดการขยะมูลฝอย ด้วยการจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน โดยจัดให้มีสถานที่หรือศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมเพ่ือ กำจัดขยะมูลฝอย หรือแปรรูป ขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงาน จะต้องมีระบบการคัดแยกขยะมูลฝอย และนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์มากที่สุด ส่วนที่เหลือจึงนำไปกำจัดยังศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม

15 ซึ่งจะทำให้ขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการกำจัดขยะมูลฝอยลดลง และยังลดต้นทุนการกำจัดอีกด้วย ทั้งนี้ องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิ่นสามารถดำเนนิ การไดต้ ามความเหมาะสมของ แต่ละกลมุ่ พนื้ ที่ ดงั นี้ 2.1) จดั ใหม้ ีศูนย์กำจัดขยะมลู ฝอยรวม (Cluster) การรวมกลุ่มพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อรองรับการจัดตั้ง ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม (Cluster) เป็นการรวมกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงกนั เพ่อื สรา้ งระบบ จดั การขยะมลู ฝอยแบบผสมผสาน เน้นการนำขยะมูลฝอยมาใชป้ ระโยชน์ เช่น ผลติ ปุ๋ย อินทรีย์ ก๊าซชีวภาพ แปรรูปผลิตพลังงาน เป็นต้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งศูนย์กำจดั ขยะมูลฝอยรวม จะต้องมีความพร้อม และศักยภาพในการบริหารจัดการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม และควรต้องมีข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่จะนำขยะมูลฝอยมากำจัด ร่วมในระยะยาว ท้งั การกำจดั โดยตรง หรือส่งไปรวบรวมยังสถานีขนถ่าย ขยะมูลฝอย ซ่งึ จะส่งผลให้มี การบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเพ่ิมขึ้น สามารถขยายพื้นที่รับบริการได้ กวา้ งขวาง ลดความซำ้ ซ้อนในการจัดสรรงบประมาณสำหรบั การจัดการขยะมลู ฝอย ให้องค์กรปกครอง ส่วนทอ้ งถิ่น เนื่องจากการรวมกลมุ่ พืน้ ท่ีเป็นการดำเนนิ การรว่ มกนั โดยใช้สถานที่ และอปุ กรณ์ร่วมกัน ลดปัญหา ข้อจำกัดเรื่องการจัดการหาพื้นที่ บุคลากร ทำให้ประหยัดวงเงินงบประมาณ การรวมกลมุ่ พื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม (Cluster) จะต้อง พจิ ารณาจากปัจจัยตา่ งๆ ดงั น้ี (1) ปรมิ าณ และองค์ประกอบขยะมูลฝอย จะเปน็ ปัจจยั หลกั ในการกำหนดรูปแบบเทคโนโลยี ทใ่ี ช้ในการกำจดั และแหล่งทม่ี าของเงนิ ทนุ (2) ขนาดของกลมุ่ พ้ืนท่ี จะเป็นปัจจยั หลักในการกำหนดการรวมกลุ่ม เน่ืองจากการรวมกลุ่ม จะต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพ้ืนที่อยู่ใกล้เคียงกันเพราะบางคร้ัง อยู่ใกล้กันแต่ไม่สามารถรวมกลุ่มกนั ได้ นอกจากนี้จะต้องพจิ ารณาขนาด และความสามารถของพื้นท่ี สำหรับจัดตั้งศนู ย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน และค่ากำจัดขยะมลู ฝอย ที่คิดจากค่าเดินระบบ/ ดแู ลรักษาระบบ รายได้จากการใชป้ ระโยชน์ขยะมูลฝอยในรูปต่างๆ และเทคโนโลยที เี่ ลือกใช้ (3) ระยะทางขนส่ง เปน็ ระยะความสามารถของทอ้ งถน่ิ ทีจ่ ะรวบรวม และขนสง่ ขยะมูลฝอยไป กำจัดให้เสร็จอย่างน้อย 1 เที่ยว ในระยะเวลา 8 – 10 ชั่วโมง ซึ่งหากระยะทางขนส่งไกล และ ไมส่ ามารถมรี ถขนสง่ ขยะเพียงพอควรจะต้องมกี ารสร้างสถานีขนถา่ ยขยะมลู ฝอย จากการเก็บรวบรวม ข้อมลู ระยะทางขนส่งแบ่งออกเป็น 2 กล่มุ กลุ่มท่ี 1 รัศมีไม่ควรเกิน 50 กิโลเมตร ประมาณการจากการเก็บรวบรวม และขนส่งขยะ มูลฝอยไปกำจัดให้เสร็จอย่างน้อย 1 เที่ยว ของท้องถิ่นที่ใช้รถแบบอัดท้ายขนาด 10 ลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 4 - 5 ตนั ) กลุ่มที่ 2 รัศมีไม่ควรเกิน 30 กิโลเมตร ประมาณการจากการเก็บรวบรวม และขนส่งขยะ มลู ฝอยไปกำจัดให้เสรจ็ อย่างน้อย 1 เทยี่ ว ของทอ้ งถิ่นท่ีใช้รถแบบเปดิ ข้างเทท้ายขนาด 6 - 8 ลกู บาศก์ เมตร (ประมาณ 1.5 - 2 ตนั ) สำหรับพื้นที่ที่อยู่ห่างจากศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมเกิน 30 กิโลเมตร หากจำเป็นต้องส่ง ขยะมูลฝอยมากำจดั รว่ ม ควรจัดตัง้ สถานีขนถ่าย หรือโรงแปรรูปขยะมูลฝอย เพื่อลดค่าใช้จา่ ยในการ

16 ขนส่งตามความเหมาะสมของพื้นที่ ทั้งนี้ สามารถประยุกต์ใช้กับพื้นที่ในกลุ่มที่มีระยะทางในช่วง 30 – 50 กิโลเมตร ได้เช่นกัน โดยจะต้องพิจารณาตามความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ จำนวนรถเก็บขน จำนวนเทย่ี วท่ีตอ้ งเก็บขนตอ่ วัน พืน้ ทกี่ ารให้บรกิ าร (4) ความสามารถ และการบริหารจัดการระดับท้องถิ่นสามารถแบ่งตามขนาดของเทศบาล และองค์การบรหิ ารส่วนตำบล เน่ืองจากทอ้ งถิน่ แต่ละขนาดมีบุคลากร และความพร้อมต่างกนั (5) ความร่วมมือระดับท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีข้อตกลงร่วมกันภายใต้ แผนบรหิ ารจัดการขยะมลู ฝอยของจังหวดั และจะต้องไดร้ บั การยอมรับจากประชาชนในพน้ื ท่ี การรวมกลุ่มพ้นื ทีอ่ งคก์ รปกครองสว่ นท้องถน่ิ เพือ่ ดำเนนิ การจัดต้งั ศนู ย์กำจัดขยะมลู ฝอยรวม (Cluster) โดยประเมินจากการศึกษา “For wide-area planning of waste treatment”ข้อมูล โครงการประเมินประสิทธิภาพเทคโนโลยีในการจัดการขยะมูลฝอย2 และข้อมูลการลงทุนของ ภาคเอกชนของกรุงเทพมหานคร เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งสามารถ แบง่ กลมุ่ พ้นื ทอี่ อกไดเ้ ป็น 3 ขนาด ดังต่อไปนี้ (1) กลุ่มพื้นที่ขนาดใหญ่ (Model L) เป็นพื้นที่ชุมชนขนาดใหญ่ โดยส่วนใหญ่มีเทศบาลนคร เทศบาลเมืองหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน สถานที่กำจัด มีลักษณะเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่เดินระบบ 24 ชั่วโมง ในส่วนของเตาเผา และส่วนของการผลิต พลังงาน มีการทำงานต่อเนื่อง และหยุดตามวงรอบการดูแลรักษาระบบ รองรับปริมาณขยะมูลฝอย รวมกันมากกว่า 300 ตัน/วัน/กลุ่มพื้นที่ และรัศมีการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยไม่เกิน 50 กิโลเมตร โดยดำเนนิ การจัดทำระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน นำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ใหม้ าก ที่สุด และ/หรือแปรรูปขยะมูลฝอยไปเป็นพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และขยะมูลฝอยที่เหลือ ส่วนน้อย (ใช้ประโยชน์ไม่ได้) นำไปกำจัดโดยการฝังกลบให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ(รูปที่ 6) และ สง่ เสริมภาคเอกชน หรือรัฐวิสาหกจิ ลงทุน หรอื ร่วมลงทุน (2) กลุ่มพื้นที่ขนาดกลาง (Model M) ชุมชนขนาดกลาง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีเทศบาลเมือง เป็นหนว่ ยงานหลกั ในการขบั เคลอ่ื น สถานท่กี ำจัดมีลกั ษณะเปน็ โรงงานขนาดกลางอาจมกี ารเดินระบบ 24 ชั่วโมง หรือ เดินระบบ 1 กะเวลาการทำงาน (8 - 10 ชั่วโมง) หรือระบบแยกขยะมูลฝอยผลิต เชื้อเพลิง (RDF) หากมีในส่วนของเตาเผา และส่วนของการผลิตพลังงาน ปกติจะทำงานไม่ต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง และหยุดตามวงรอบการดูแลรักษาระบบ รองรับปริมาณขยะมูลฝอยรวมกันอยู่ ระหว่าง 50 – 300 ตัน/วัน/กลุ่มพื้นที่ และรัศมีการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย ไม่เกิน 50 กิโลเมตร โดยดำเนินการจัดทำระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน อาทิ ทำ ปุ๋ย อินทรีย์ หรือแปรรูป เช่น ก๊าซชีวภาพ การผลติ เชื้อเพลิง (RDF) และขยะมูลฝอยท่ีเหลือสว่ นน้อย (ใชป้ ระโยชน์ไมไ่ ด้) นำไป กำจัดโดยการฝงั กลบให้ถกู ต้องตามหลักวิชาการ (รปู ที่ 6) และส่งเสริมภาคเอกชหรอื รัฐวิสาหกิจลงทุน หรอื ร่วมลงทุนตามความเหมาะสม (3) กลุ่มพืน้ ท่ีขนาดเล็ก (Model S) เปน็ พ้ืนท่ีชุมชนขนาดเลก็ ซึง่ ส่วนใหญ่จะมีเทศบาลตำบล หรอื องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเปน็ หนว่ ยงานหลกั ในการขับเคลื่อน รองรบั ปริมาณขยะมูลฝอยรวมกัน น้อยกว่า 50 ตัน/วัน/กลุ่มพื้นท่ี และรัศมีการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยไม่เกิน 30 กิโลเมตร โดยสนับสนุนให้มีการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง นำขยะอินทรีย์ไปหมักปุ๋ยอย่างง่าย ในระดับ

17 ครัวเรือน/ชุมชน/เทศบาล หรือระบบแยกขยะมูลฝอยผลิตเชื้อเพลิง (RDF) ตามความเหมาะสม ส่วนขยะรไี ซเคลิ ประชาชนเก็บรวบรวม และขายใหก้ ับศูนย์วัสดุรไี ซเคิลในชุมชน หรือผู้ประกอบการรี ไซเคิล และขยะมลู ฝอยส่วนที่เหลือประชาชนแยกทิ้ง เพื่อให้องคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่นเก็บรวบรวม และขนส่ง ไปกำจัด ณ บ่อฝังกลบขนาดเล็กของท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่จัดการขยะมูลฝอย ของตนเอง (Stand Alone) เปน็ พนื้ ที่หา่ งไกลอาทิ พ้ืนทเ่ี กาะ พื้นท่สี ูง พ้ืนทห่ี ุบเขา ไม่สามารถส่งขยะ มูลฝอยไปกำจัดยังศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม จำเป็นต้องจัดการ และกำจัดขยะมูลฝอยแยกเฉพาะ ในพื้นท่ีตนเอง สำหรับกรณีองค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่นทีอ่ ยู่ห่างไกล สามารถขนส่งขยะมูลฝอยมายงั สถานีขนถ่ายขยะมลู ฝอยรอการขนส่งไปยงั ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมต่อไป ทง้ั นี้ กระทรวงมหาดไทย จังหวดั และองค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถ่ิน พจิ ารณากำหนดกลมุ่ พ้ืนที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Cluster) เพื่อรองรับการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมได้ตาม ความเหมาะสม และความพร้อม และการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ โดยสร้างการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ต้ังแต่เริ่มต้นโครงการ ให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงกับประชาชน รับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน ตามระเบียบสำนกั นายกรฐั มนตรี ว่าดว้ ย การรับฟงั ความคดิ เหน็ ของประชาชน พ.ศ. 2548 หรือระเบียบ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อลดความขัดแย้ง จากประชาชนในพื้นที่ รวมถึง พจิ ารณารปู แบบการตอบแทนและ/หรือชดเชยให้กบั องคก์ รปกครองสว่ นท้องถิน่ ท่ีเปน็ ที่ตั้งศูนย์กำจัด ขยะมูลฝอยรวม และประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยอาจจะพิจารณากฎระเบียบ เพอ่ื ใหอ้ งคก์ รปกครองส่วนท้องถ่นิ สามารถขนส่งขยะมูลฝอยไปกำจัดข้ามเขต หรอื ข้ามจงั หวดั ได้ 2.2) การจัดการขยะมูลฝอยแปรรปู ผลิตเป็นพลงั งาน การจัดการขยะมูลฝอยแปรรปู ผลิตเป็นพลังงาน ได้มุ่งเน้นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นศูนย์ กำจัดขยะมูลฝอยเพื่อแปรรูปเป็นพลังงาน โดยพิจารณาจากมีพื้นที่พร้อมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า จากการแปรรูปขยะมูลฝอย ต้องไม่อยู่ในพื้นที่ที่ห้ามก่อสร้างตามกฎหมายที่เกีย่ วขอ้ ง เช่น กฎหมาย ผังเมือง พื้นที่อนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 หรือ 2 เป็นต้น เป็นกลุ่มพื้นที่ที่มี ปริมาณขยะมูลฝอยเข้าสู่ระบบเพียงพอไม่ควร น้อยกว่า 300 ตัน/วัน มีสายส่งไฟฟ้ารองรับ และ การยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ โดยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ให้ข้อมูล ที่เป็นข้อเท็จจริงกับประชาชน รับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 หรือระเบยี บ กฎหมาย อนื่ ท่ีเกี่ยวข้อง (ถา้ มี) เพอื่ ลดความขัดแยง้ จากประชาชนในพืน้ ท่ี รวมถึงพจิ ารณารูปแบบการตอบแทน และ/หรือชดเชยให้กับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม และ ประชาชนในพื้นที่ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีกำลังการผลิต กระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป ต้องดำเนินการตามประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice : CoP) สำหรับโครงการที่เข้าข่ายได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้า พลังความร้อนที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงที่มีกำลังการผลิต กระแสไฟฟา้ ต้งั แต่ 10 เมกะวตั ตข์ ึน้ ไป ซ่งึ ผา่ นความเหน็ ชอบจาก คณะกรรมการสง่ิ แวดล้อมแห่งชาติ เมอื่ วันท่ี 10 มิถนุ ายน 2558 รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ง สว่ นโรงไฟฟา้ พลังความร้อนท่ีใช้ขยะ เป็นเชื้อเพลิงที่มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการ

18 จัดทำประมวลหลกั การปฏิบัติ (Code of Practice : CoP) พน้ื ทีท่ ่มี ศี ักยภาพในการเป็นศูนย์กำจดั ขยะ มลู ฝอยเพื่อแปลงเปน็ พลงั งาน เปน็ พนื้ ท่ีท่มี ีความเหมาะสมจากการประเมินเบอื้ งต้น โดยมีพ้ืนที่พร้อม ในการก่อสร้างหรือเปน็ สถานทกี่ ำจัดขยะมูลฝอยเดิม เปน็ กลมุ่ พืน้ ที่ทีม่ ปี รมิ าณขยะมูลฝอยเข้าสู่ระบบ ไม่น้อยกว่า 300 ตัน/วัน อยู่ในพื้นที่สายส่งไฟฟ้าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ จำนวน 44 จังหวัด ทั้งน้ี จังหวัด/องคก์ รปกครองสว่ นท้องถิน่ สามารถ ดำเนินการในพน้ื ท่ีอ่ืนนอกเหนอื จากพื้นท่ีศักยภาพที่ได้มี การประเมินเบือ้ งตน้ หากเห็นวา่ มคี วามเหมาะสม เอกชน/ รฐั วิสาหกิจมีความพร้อมเข้ามาลงทุนหรือ ร่วมลงทุน มคี วามพรอ้ มด้านพนื้ ท่ี มีสายสง่ ไฟฟ้ารองรับ และไดร้ ับ การยอมรับจากประชาชนในพน้ื ท่ี ปี 2559 มีเตาเผาขยะมูลฝอย และแปรรูปขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานเปิด ดำเนินการ จำนวน 3 แห่ง คือ เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ กรุงเทพมหานคร สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 20 เมกกะวัตต์ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 3 แห่ง คือ เทศบาล นครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เทศบาลตำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง และองค์การ บริหารส่วนจังหวัดหนองคาย คาดว่า จะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 10 เมกกะวตั ต์ พื้นที่อื่นๆ อยู่ระหว่าง การเจรจากับภาคเอกชน ท้ังน้ี พื้นท่ศี กั ยภาพบางแห่ง หากยังไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยได้ โดยตรง ก็สามารถคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (RDF) และส่งไปขายเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ เตาเผาขยะมูลฝอย จะต้องมีระบบำบัดและควบคุมมลพิษ โดยเฉพาะการควบคุม การปล่อยทงิ้ อากาศเสยี ให้เป็นไปตามค่ามาตรฐาน 2.3) การจดั การขยะมูลฝอยโดยการคดั แยกเพือ่ ผลติ เชอ้ื เพลิง (RDF) องค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่นจะต้องมีการรื้อร่อน และคัดแยกขยะมูลฝอยชมุ ชน ที่ไม่สามารถ เผาไหมไ้ ด้ออกก่อนจะมีการนำขยะมลู ฝอยไปบดหรอื หั่น และผสมดว้ ยตวั ผสานกอ่ นจะทำให้แหง้ และ ผลติ ขยะเชอื้ เพลิง (RDF) สง่ ไปจำหน่ายทีโ่ รงไฟฟา้ ได้ ซ่งึ จะทำให้ลดพน้ื ทก่ี ารฝงั กลบให้น้อยลง แต่เพิ่ม อัตรา การนำกลบั มาใชป้ ระโยชน์ใหม่ให้มากขึน้ นอกเหนือจากการนำวตั ถุต่าง ๆ กลบั มารไี ซเคลิ และ ตลอดจนสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการ แปรรูปขยะมูลฝอยเพอ่ื ผลิตเชือ้ เพลงิ ในเบอื้ งต้น จำนวน 102 แหง่ ทง้ั นีข้ ึน้ อย่กู ับความเหมาะสมและ ปัจจัยประกอบต่าง ๆ 2.4) สนับสนุนการจัดการขยะมูลฝอยสำหรับพื้นที่เฉพาะ ได้แก่ พื้นที่ท่องเที่ยว พื้นท่ี เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวกำหนดแนวทาง การกำจัดขยะมูลฝอย ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ อาทิ การจัดตั้งโรงคัดแยกขยะรีไซเคิลออกเป็น ประเภทต่างๆ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ ก่อนที่จะนำไปจัดเก็บเพื่อรอการจำหน่าย หรือ การสนับสนนุ ใหเ้ อกชนเขา้ มาดำเนนิ การจัดการขยะมูลฝอย ในพืน้ ที่ 3) การจัดการของเสียอนั ตรายชมุ ชน โดยจงั หวดั จัดหาพน้ื ที่ที่เหมาะสมเปน็ สถานทรี่ วบรวมของเสียอนั ตรายชุมชนของจงั หวัด และ ส่งเสริมการคัดแยกของเ สียอ ันตราย ชุม ชนเก็ บรวบรวม ในภา ชนะรองรั บขององ ค์กรปก คร อ ง ส่วนท้องถิ่น และส่งไปกำจัดในสถานที่กำจัดอย่างถูกต้องต่อไป อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง หรือ มากกว่า 1 แห่ง โดยตั้งอยู่ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความ พร้อม ขึ้นอยู่กับความพร้อมของจังหวัด เช่น จังหวัดนนทบุรี มี 3 แห่ง จังหวัดพังงา จังหวัดตรัง

19 จังหวัดสตูล และจังหวดั ลำปาง มี 2 แหง่ ตลอดจนส่งเสริม/รณรงค์ ให้มีการเรียกคนื ซากผลิตภัณฑ์ใน จังหวัด คณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด ซ่ึงมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน อาจกำหนดแนวทางการบริหารจดั การของเสียอันตรายชุมชนของจังหวัด และอาจร่วมกนั ให้องค์การ บรหิ ารส่วนจังหวัด หรือเทศบาลเป็นหนว่ ยงานหลักในการรวบรวม และจดั สง่ ไปกำจัด รวมท้ังกำหนด แนวทางการเก็บรวบรวมของเสีย อันตราย และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในการสร้าง ความเขา้ ใจและรับทราบถึงสำคญั ของการจัดการ ของเสยี อนั ตราย และใหค้ วามรว่ มมือในการคัดแยก และรวบรวมของเสียอนั ตรายสง่ สถานท่รี วบรวมของเสยี อันตราย ชมุ ชนของจงั หวัด รายละเอียดแบบ ก่อสร้างสถานที่รวบรวมของเสียอันตรายชุมชน กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรสนบั สนนุ การจดั ต้ังสถานท่ีกำจดั กากอตุ สาหกรรม ให้ครอบคลมุ ทุกภมู ิภาค และสนบั สนุนการเพ่ิม โรงงานคัดแยก และรีไซเคิล ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้องค์การ บรหิ ารสว่ นจงั หวดั หรอื เทศบาลที่เปน็ เจ้าภาพ ในการเกบ็ รวบรวมของเสยี อันตรายชมุ ชนไดม้ ีทางเลอื ก ในการส่งของเสียอันตรายชุมชนไปกำจัดอย่างถูกหลักวิชาการ สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการขนส่ง และกำจัดได้อกี ทางหนึ่ง 4) การจดั การมูลฝอยติดเช้อื โดยจัดหาพื้นที่เหมาะสม เป็นศูนย์กำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และส่งเสริมการคัดแยก มูลฝอย ติดเชอ้ื จากโรงพยาบาล สถานบรกิ ารสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการตดิ เชื้อ เกบ็ รวบรวมในภาชนะรองรับ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่งไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป จากเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ที่มี ความเหมาะสม เพื่อจัดตั้งศูนย์รวมในการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของกลุ่มพื้นที่ตามผลจาก การศึกษาตามโครงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี ประสิทธิภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ตลอดจนรูปแบบ การรวมกลุ่มพื้นที่ ปริมาณ รูปแบบการจัดการ เส้นทางการขนส่ง และความสามารถของเตาเผามูลฝอยติดเชื้อขนาดใหญ่ สามารถกำหนดพื้นที่ ศักยภาพเป็นศูนย์กำจัดมูลฝอยติดเชื้อใน 7 ภูมิภาคทั่วประเทศ และควรส่งเสริมภาคเอกชนลงทุน จัดตั้งศูนย์กำจัดมูลฝอยติดเชื้อ เนื่องจากมีความพร้อม และสามารถ จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยัง่ ยืน 1.6.2.3 พัฒนากฎหมาย แผน มาตรฐาน มาตรการ เกณฑก์ ารปฏบิ ตั ิ เพื่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ของเสียอันตรายชุมชน กากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย และมูลฝอยติดเชอื้ สามารถดำเนนิ การได้ ดงั น้ี 1) พฒั นากฎหมายใหม่ เชน่ ร่างพระราชบญั ญตั ิการจดั การซากผลติ ภณั ฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนกิ ส์ เป็นต้น 2) ปรับปรุง/ออกกฎระเบียบตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการ จัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย การคัดแยก เก็บขน และกำจัด อัตราค่าธรรมเนียมการเกบ็ ขน และกำจัดขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตราย การติดตามตรวจสอบการเก็บขน และกำจัดมูลฝอย ติดเชื้อ และการตรวจสอบระบบเอกสารกำกับการขนส่ง (Manifest System) มูลฝอยติดเชื้อจาก สถานบรกิ ารสาธารณสขุ เป็นต้น

20 3) เพม่ิ บทลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถอุ นั ตราย พ.ศ. 2535 และปรบั ปรุง/ออกกฎระเบียบ เกี่ยวกับการไม่ออกใบอนุญาตฯ โรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกากอุตสาหกรรม ระบบติดตามการ ขนส่งกากอตุ สาหกรรมทเ่ี ปน็ อันตราย (GPS) กำหนดการวางหลักประกันทางการเงนิ ตามประเภท และ ขนาดของโรงงานโดยครอบคลุมกรณีที่พบว่ามีการปนเปื้อนของสารอันตรายในพื้นที่เมื่อเลิกประกอบ กจิ การแลว้ เป็นต้น 4) พัฒนากฎหมายเพื่อให้มกี ารรวมกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน สำหรับการจัดการขยะ มูลฝอยแบบศูนย์รวม รวมถึงระเบียบเรื่องระบบการตรวจสอบ ควบคุมการจัดตั้ง และดำเนินงาน สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และสง่ เสริมเอกชนลงทนุ หรอื ร่วมลงทุน 5) ประกาศกำหนดพื้นทห่ี ้ามเทกองขยะมูลฝอย และกรอบระยะเวลาหรือระเบยี บห้ามเทกอง ขยะมลู ฝอย โดยจังหวดั หรือองค์กรปกครองสว่ นท้องถ่ินสามารถกำหนดเปน็ แผน กรอบเวลา และพืน้ ท่ี ห้ามเทกอง โดยอาจจะประกาศพื้นที่ห้ามเทกองในบางพื้นที่ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามความ เหมาะสม เช่น 5 – 10 ปี เป็นต้น 6) ออกกฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย อาทิ การทบทวนกฎหมายผังเมือง (พื้นที่สีเขียว) หลักเกณฑ์การให้เอกชนลงทุนหรือร่วมลงทุน เพ่ือสนับสนนุ การจดั ต้ังโรงกำจัดขยะมูลฝอย 7) จัดทำหลกั เกณฑว์ ชิ าการ ในการจดั การขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย อาทิ หลักเกณฑ์ ในการคัดเลือกพื้นท่ี การออกแบบก่อสร้าง และจัดการสถานที่กำจัดมูลฝอย โดยการฝังกลบอย่าง ถูกหลักสุขาภิบาล การหมักปุย๋ เตาเผา หลักเกณฑ์การจัดการของเสียอนั ตรายจากชุมชน หลักเกณฑ์ การดำเนินงานเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ หลักเกณฑ์การดำเนินงานของเอกชน ผู้รับจ้างเก็บขน บำบัด/ กำจัดขยะมลู ฝอย และของเสยี อันตราย 8) กำหนดให้มกี ารชดเชยให้กับผไู้ ด้รับผลกระทบ หรือผูท้ อี่ าศัยอย่ใู นพื้นที่ใกล้เคยี งกบั สถานท่ี กำจัดขยะมลู ฝอย 9) ออกข้อกำหนด กฎเกณฑ์ กฎระเบียบการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ท่องเที่ยว อาทิ กำหนดเขตพ้นื ท่ีปลอดขยะ หา้ มนำเขา้ กล่องโฟม ถงุ พลาสตกิ หรือบรรจุภัณฑ์ท่กี ำจัดยากเข้าในแหล่ง ทอ่ งเท่ยี วทเ่ี ปน็ ระบบปิด 10) ปรับปรุงกฎ หรอื ระเบยี บท่เี อื้ออำนวยตอ่ การลงทุนของภาคเอกชนในการจัดการขยะมูล ฝอย และของเสียอนั ตราย 11) กำกับดแู ลใหโ้ รงงานอุตสาหกรรมท่ีกอ่ ใหเ้ กดิ กากอตุสาหกรรมทเี่ ปน็ อันตรายเข้าสู่ระบบ การจัดการฯ และติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของโรงงานกำจัด/บำบัดของเสียอันตราย โรงงาน รีไซเคิลขยะมลู ฝอย และของเสียอันตรายใหด้ ำเนนิ การได้ตามมาตรฐาน 12) บังคับใช้กฎหมายกับเอกชนผู้รับจ้างเก็บขน บำบัด/กำจัดขยะมูลฝอย และของเสีย อนั ตราย 13) ตรวจสอบ และดำเนินการทางกฎหมาย แก่ผู้ลักลอบทิ้ง ลักลอบกำจัดขยะมูลฝอย และ ของเสยี อันตราย 14) ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบสถานที่บำบัด/กำจัดขยะมูลฝอย สถานที่กำจัดมลู ฝอยตดิ เชอ้ื และสถานทก่ี ำจดั กากอุตสาหกรรม ใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรฐานทก่ี ำหนด

21 1.6.3 มาตรการสง่ เสริมการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย 1.6.3.1 สนับสนนุ การบริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสยี อนั ตราย โดยดำเนนิ การ ดงั นี้ 1) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเชิงกว้าง และเชิงลึก สร้างจิตสำนึก สร้างความ ตระหนัก ให้เยาวชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่การลดขยะ มลู ฝอย คัดแยก และนำกลบั มาใช้ประโยชน์กอ่ นทง้ิ แยกขยะรีไซเคลิ จนถึงการกำจดั ข้ันสุดท้ายอย่าง ต่อเนือ่ ง 2) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การลด และคัดแยกขยะมูลฝอย ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ นักท่องเท่ยี ว ผู้ประกอบการ เชน่ รา้ นค้า รา้ นอาหาร สถานประกอบการที่พกั ในพื้นท่ีแหล่งท่องเที่ยว ได้ตระหนักถึง ปัญหา และร่วมกันลด และคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แหล่ง ท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวดำเนินการตามมาตรฐาน ด้านสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อรักษา และเพิ่มมูลค่าให้กับ แหล่งท่องเที่ยว และคำนึงถึง ศักยภาพการรองรับนกั ท่องเท่ยี วในพนื้ ที่แหล่งท่องเทยี่ วทางธรรมชาติที่เหมาะสม และให้มีการบริหาร จัดการขยะมูลฝอยทเ่ี กดิ ขน้ึ ในพ้นื ทม่ี ีประสทิ ธิภาพ และท่ัวถงึ 3) ส่งเสริมให้สถานศึกษาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย โดยพัฒนาหลักสูตร การจัดการขยะมูลฝอยในการเรียนการสอนทุกระดับ ทั้งในระบบโณงเรียน และนอกระบบโรงเรียน เพอื่ สร้างความรู้ ความเขา้ ใจเกยี่ วกบั การจดั การขยะมูลฝอยและของเสยี อนั ตราย 4) ศึกษาวิจัย/พัฒนาระบบการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life cycle Assessment) การใช้วัสดุทดแทนผลิตภัณฑ์กำจัดยาก เช่น โฟม พลาสติก เป็นต้น รวมถึงเทคโนโลยี การผลติ ผลิตภัณฑ์ ท่ีสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น การผลติ พลาสติกชวี ภาพ เป็นต้น 5) ศึกษาวจิ ัย/พัฒนา และประยกุ ต์ใช้เทคโนโลยกี ารจัดการขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย เช่น เทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อผลิตพลังงานที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ปริมาณ และ องคป์ ระกอบขยะมูลฝอย แนวทางการบริหารจัดการศนู ยก์ ำจัดขยะมลู ฝอยให้มคี วามยง่ั ยืน การพัฒนา ระบบ หรือรูปแบบการบริหารจดั การ ขยะมูลฝอย เปน็ ตน้ 6) ศึกษา วิจัยเพื่อกำหนดรูปแบบการตอบแทน และ/หรือชดเชยให้กับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม และประชาชนในพื้นที่เพื่อลดการต่อต้าน เช่น การยกเวน้ การจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมการกำจดั ขยะมูลฝอย เป็นตน้ และวางระบบปอ้ งกนั สขุ ภาพให้กับ ผู้ปฏบิ ัตงิ าน หรอื ผ้ไู ด้รบั ผลกระทบ จากกระบวนการจัดการขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย 7) พัฒนาระบบฐานข้อมูล การติดตาม และรายงานผลการจัดการขยะมูลฝอย และของเสีย อันตราย และเผยแพรข่ อ้ มูลการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตรายผา่ นช่องทางต่างๆ ใหม้ ีความ ทนั สมยั และเข้าถึงง่าย 8) จดั ทำระบบฐานข้อมูลเอกลกั ษณข์ องกากอตุ สาหกรรม (Waste fingerprint) เพอ่ื รวบรวม ข้อมูลเอกลักษณ์ และคุณลักษณะของกากอุตสาหกรรม จากกลุ่มอุตสาหกรรมที่พบการลักลอบท้ิง บ่อยคร้ัง 9) พัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีขีดความสามารถในการจัดการขยะ มูลฝอย และของเสยี อันตราย

22 10) สร้างเครือข่าย/ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย ในระดับท้องถิ่น เพื่อให้มีการเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความสำเร็จ (Success Story) แนวทางปฏิบตั ทิ ี่ดี (Best Practice) และการใช้ภูมปิ ญั ญาทอ้ งถิน่ ในการจัดการขยะมูลฝอยและ ของเสียอันตราย 11) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยให้ข้อมูลข่าวสาร และสามารถ เขา้ รว่ มรับรู้ ให้ขอ้ เสนอแนะร่วมตดั สินใจ และร่วมมอื ในการดำเนินโครงการบรหิ ารจัดการขยะมูลฝอย และของเสีย อันตรายตงั้ แตต่ ้น และรับฟังความคิดเหน็ ของประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี วา่ ด้วยการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน พ.ศ. 2548 หรือระเบยี บ กฎหมายอ่ืนท่ีเกีย่ วขอ้ ง (ถ้ามี) เพื่อลดความขดั แย้ง และการต่อต้านจากประชาชนในการก่อสร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และของ เสยี อันตราย 12) สร้างกลไก และเครือข่ายในการติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังการจัดการขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย โดยการมีสว่ นร่วมของประชาชน 13) สนับสนุนการลงทุนก่อสร้างโรงกำจัดขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายของภาคเอกชน เช่น ลดภาษีเครื่องจักร เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การเพิ่มอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Feed-in tariff) จากการใช้ ขยะมูลฝอยเปน็ เช้อื เพลงิ เป็นต้น 14) การยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบการ หรือชุมชน หรือผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถน่ิ ท่มี กี ารบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอย และของเสียอนั ตรายท่ดี ี บทบาทหนา้ ที่ และหนว่ ยงานดำเนนิ การ 1. หนว่ ยงานระดับพนื้ ที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในระดับพื้นท่ี ประกอบดว้ ย จงั หวัด และ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่นิ โดยดำเนินการดังนี้ 1.1 จังหวัด 1) จัดทำแผนปฏบิ ัตกิ าร เพ่ือดำเนินงานในการจัดการขยะมลู ฝอยของจังหวดั 2) เร่งรัดการดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างภายในจังหวัดให้หมดไป โดยกำกับดูแล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการปิด และ/หรือปรับปรุงฟื้นฟู สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเดิม ใหถ้ ูกต้อง 3) สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมกลุ่มพื้นท่ี และจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย รวม (ขนาดใหญ่ (L) ขนาดกลาง (M) ขนาดเล็ก (S)) โดยใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสาน และส่งเสริม เอกชนลงทุนการจัดการขยะมูลฝอย 4) สนบั สนุนให้มีศูนยร์ วบรวมของเสียอันตรายชุมชนของจงั หวัด หรือองค์กรปกครองส่วน ทอ้ งถน่ิ 5) สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลด คัดแยกขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย ที่ต้นทางให้กบั ประชาชน และสนบั สนนุ ใหอ้ งคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิ่น ดำเนินการลด และคัดแยกขยะ มูลฝอย และนำกลับมาใช้ประโยชนใ์ หม่

23 6) ตดิ ตาม และกำกับดแู ลองค์กรปกครองส่วนทอ้ งถิน่ ดำเนนิ การบรหิ ารจัดการขยะมูลฝอย และของเสยี อนั ตรายภายในจงั หวัดใหม้ ีประสิทธภิ าพ และถกู ต้องตามหลกั วิชาการ และรายงานผลการ ดำเนนิ งาน 7) สนับสนุนการจัดหาพื้นทีใ่ นการจัดการขยะมลู ฝอยขององคก์ รปกครองสว่ นท้องถิน่ 8) สนับสนุนการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยให้ข้อมูล ข่าวสาร และสามารถเข้าร่วมรับรู้ ให้ข้อเสนอแนะร่วมตัดสินใจ และร่วมมือในการดำเนินโครงการ บริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายตั้งแต่ต้น และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 หรือระเบียบ กฎหมายอืน่ ทเี่ กีย่ วข้อง (ถ้ามี) 1.2 องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิน่ 1) รว่ มกับจังหวัดจัดทำแผนปฏิบตั ิการเพื่อดำเนินงานในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กร ปกครอง สว่ นท้องถนิ่ และของจงั หวดั 2) ดำเนินการกำจดั ขยะมูลฝอยตกค้างภายในพน้ื ที่ให้หมดไป โดยดำเนินการปิด และ/หรือ ปรับปรงุ ฟ้ืนฟสู ถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเดมิ ให้ถกู ต้อง 3) ดำเนินการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในพื้นที่ และจัดระบบการเก็บรวบรวมขนส่งขยะ มลู ฝอย และของเสยี อันตรายชมุ ชนแบบแยกประเภท เพอื่ ส่งกำจดั อยา่ งถกู ตอ้ งตามหลักวชิ าการ 4) รวมกลุ่มพื้นที่ และจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม (ขนาดใหญ่ (L) ขนาดกลาง (M) ขนาดเล็ก (S)) โดยใชเ้ ทคโนโลยแี บบผสมผสาน สง่ เสริมเอกชนลงทุนการจดั การขยะมูลฝอย และไดร้ ับ การยอมรับจากประชาชนในพนื้ ที่ 5) เตรยี มการในการหาพ้ืนท่ีท่ีเหมาะสม เพอื่ รองรบั การจัดการขยะมลู ฝอย 6) ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยภายใต้พระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เช่น การคัดแยก การเก็บรวบรวม การเก็บขน และกำจัดขยะมูลฝอย การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขน และกำจัดขยะมูลฝอยให้เหมาะสม เป็นต้น รวมทั้งกฎหมายอื่น ทเี่ กยี่ วข้องกับการจดั การขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย 7) จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายในระดับ ทอ้ งถิน่ 8) ติดตามและบงั คับใชก้ ฎหมายกับเอกชนผู้รบั จา้ งจัดการขยะมูลฝอย ให้เอกชนดำเนินการ จดั การ ขยะมูลฝอยในพน้ื ทบ่ี ริการอย่างถูกต้องตามหลกั วิชาการ 9) ดำเนินการให้ข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมรับรู้ ให้ข้อเสนอแนะร่วม ตัดสินใจ และร่วมมือในการดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายตั้งแต่ตน้ และรบั ฟังความคิดเหน็ ของประชาชน ตามระเบยี บสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าดว้ ยการรับฟงั ความคิดเห็น ของประชาชน พ.ศ. 2548 หรอื ระเบียบ กฎหมายอนื่ ที่เก่ียวข้อง (ถา้ ม)ี 2. หน่วยงานสว่ นกลาง โดยมหี นว่ ยงานหลกั ร่วมขับเคล่อื นการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ ประกอบด้วย 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงาน สนับสนุน 8 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง

24 พลังงาน กระทรวงการคลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการทอ่ งเทย่ี วและกฬี า สำนกั นายกรฐั มนตรี กระทรวงกลาโหม 2.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม เป็นหนว่ ยงานเจา้ ภาพหลกั ในการเสนอ นโยบาย แผนงาน มาตรการ มาตรฐาน หลักวิชาการในการจัดการสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากปัญหา การจดั การขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย โดยดำเนินการ 1) พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอย เช่น พระราชบัญญัติการจัดการ ซากผลิตภัณฑ์เคร่ืองใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... พระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมท้ัง ดำเนนิ การที่เกีย่ วขอ้ ง ตามที่กฎหมายกำหนด เพอ่ื ใหเ้ กิดเอกภาพในการบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอย 2) ออกประกาศ กฎเกณฑ์ หรอื หลักเกณฑ์วชิ าการ หรือเกณฑก์ ารปฏบิ ัติ (Code of Practice : CoP) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย เช่น เทคโนโลยีที่เหมาะสม การคัดเลอื กพนื้ ที่ ออกแบบ ก่อสรา้ ง และการจดั การสถานทกี่ ำจัดขยะมูลฝอยโดยวธิ ี ตา่ ง ๆ เป็นต้น 3) สนบั สนนุ คำปรึกษา และเอกสารทางวิชาการ หรือคมู่ อื การดำเนินการให้แก่จังหวัดในการ จัดการขยะมลู ฝอย และของเสยี อนั ตราย ต้งั แต่ต้นทาง จนถึงการกำจดั ขน้ั สดุ ทา้ ย 4) จัดการรณรงคป์ ระชาสมั พันธ์ สร้างจิตสำนกึ แก่เยาวชน และประชาชนในการลด คัดแยก ขยะมูลฝอย ในโรงเรียน สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน ชุมชน ผ่านทางเครือข่ายที่มีอยู่ ได้แก่ เครอื ขา่ ยอาสาสมคั รพทิ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อมหมบู่ ้าน (ทสม.) 5) สรา้ งเครอื ขา่ ยในการแลกเปลีย่ นเรียนรดู้ า้ นการจัดการขยะมลู ฝอย และของเสยี อนั ตราย 6) สนับสนุนการเลือกใช้สินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลด/เลิกการใช้ ถุงพลาสติก และกล่องโฟม รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ ภาครฐั ภาคเอกชน และภาคบรกิ าร (Green Procurement) 7) จัดให้มีระบบการเรียกคืนซากผลิตภัณฑเ์ ครื่องใชไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักการ ขยายความรบั ผดิ ชอบของผผู้ ลติ 8) ขบั เคลอื่ นการดำเนินการดา้ นกฎหมายทเี่ กย่ี วกบั การจัดการขยะมูลฝอย 9) ติดตามและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยและ ของเสยี อนั ตรายตามมาตรฐานทกี่ ำหนด 10) ประเมนิ ผลการดำเนินงานจัดการขยะมลู ฝอยในภาพรวมของประเทศ 2.2 กระทรวงมหาดไทย เปน็ หนว่ ยงานเจ้าภาพหลักในการดำเนนิ การจัดการขยะมูลฝอยและ ของเสยี อันตรายชุมชนในพนื้ ท่ที ่ัวประเทศ โดยดำเนินการ 1) เรง่ รัดการดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างท่ัวประเทศใหห้ มดไป โดยกำกับดูแลจังหวัด และ องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถ่นิ ดำเนนิ การปิด และ/หรอื ปรับปรงุ ฟน้ื ฟูสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเดิม ให้ถกู ตอ้ ง 2) เป็นหน่วยงานจัดตั้งงบประมาณ การจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด/องค์กรปกครองสว่ น ท้องถน่ิ 3) กำกับ ตดิ ตาม เร่งรัดองค์กรปกครองส่วนทอ้ งถ่นิ ใหด้ ำเนนิ การตามแผนปฏิบัติการจัดการ ขยะมูลฝอยของจังหวัด และแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศในการจัดการขยะ มลู ฝอย และของเสยี อนั ตราย

25 4) สนบั สนนุ การรวมกลมุ่ พืน้ ที่ และจัดตัง้ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมในทุกจังหวัด (ขนาดใหญ่ (L) ขนาดกลาง (M) ขนาดเล็ก (S) โดยใชเ้ ทคโนโลยีแบบผสมผสาน และสง่ เสรมิ เอกชนลงทนุ การจัดการขยะมูลฝอย 5) สนบั สนนุ การจัดตัง้ โรงกำจัดขยะมลู ฝอยตามกฎหมายว่าดว้ ยการผงั เมอื ง 6) ดำเนนิ การลดและคดั แยกขยะมูลฝอยในสว่ นราชการของจังหวัด 7) สร้างความรู้ ความเข้าใจกับภาคประชาชน เพื่อลดการต่อต้านในการดำเนินมาตรการ เกี่ยวกบั มาตรการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตราย 2.3 กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการดำเนินการจัดการมูลฝอย ติดเชื้อ รวมถึง กำหนดกฎระเบียบการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปออก ข้อบญั ญัติทอ้ งถิ่นตอ่ ไป ได้แก่ 1) กฎกระทรวงว่าดว้ ยการคดั แยก เกบ็ ขน และกำจัดมูลฝอย 2) กฎกระทรวงว่าดว้ ยสุขลกั ษณะการจัดการมลู ฝอยท่ัวไป โดยครอบคลุมการออกมาตรการ กำจดั ขยะมลู ฝอย 3) กฎกระทรวงอตั ราคา่ ธรรมเนยี มการเก็บขน และกำจัดมูลฝอย และอตั ราคา่ ธรรมเนียมหรือ ค่าบรกิ ารอ่ืน ๆ ท่เี กีย่ วข้อง 4) กฎระเบียบและดำเนินการในการติดตามตรวจสอบ และกำกับการเก็บขน และกำจัด มูลฝอยติดเชื้อ และการตรวจสอบระบบเอกสารกำกับการขนส่ง (Manifest System) มูลฝอยติดเชื้อ จากสถานบริการสาธารณสุข 5) วางระบบการป้องกันสุขภาพให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และใน กระบวนการจัดการ ขยะมูลฝอย เช่น ระหว่างการเกบ็ ขน รา้ นรับซือ้ ของเก่า เป็นต้น 6) จัดทำแผนแม่บท และแผนปฏิบัติการ การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และผลักดัน การดำเนินการ แบบศนู ยร์ วมในการบริหารจัดการมูลฝอยติดเช้อื 7) ติดตามตรวจสอบเรื่องสุขภาพอนามัยในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกบั การจัดการ ขยะมลู ฝอย ของเสยี อันตราย และมลู ฝอยตดิ เชือ้ 2.4 กระทรวงอุตสาหกรรม เปน็ หน่วยงานเจา้ ภาพหลัก ในการจัดการกากอุตสาหกรรมท่ีเป็น อันตรายจากโรงงานอตุ สาหกรรม โดยดำเนินการ 1) กำกับ และตดิ ตามการจดั การกากอุตสาหกรรมที่เป็นอนั ตรายให้เปน็ ไปตามมาตรฐาน และ กฎหมาย ท่ีกำหนด และดำเนินการทางกฎหมายกบั ผ้ลู ักลอบทิ้งกากอตุ สาหกรรมอย่างเขม้ งวด 2) ปรับปรุง และออกกฎระเบียบตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการ ไม่ออกใบอนุญาตโรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกากอุตสาหกรรม ระบบติดตามการขนส่งกาก อตุ สาหกรรมทีเ่ ป็นอันตราย (GPS) เปน็ ต้น 3) สนบั สนนุ การจัดต้ังสถานทีก่ ำจดั กากอุตสาหกรรมท่ีเป็นอนั ตราย และโรงงานคัดแยก และ รีไซเคลิ ซากผลิตภณั ฑเ์ คร่ืองใช้ไฟฟา้ และอิเล็กทรอนิกสใ์ ห้ครอบคลุมทุกภูมิภาค และรบั กำจดั ของเสีย อันตรายชุมชน

26 4) กำกบั ดแู ลโรงงานกำจัด/บำบัดของเสยี อนั ตราย โรงงานคดั แยก และรีไซเคลิ ซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ให้ดำเนินการได้ตามมาตรฐาน และเข้มงวดมิให้โรงงานรีไซเคิล รบั กากของเสียอุตสาหกรรม เพอื่ ป้องกันการนำไปลักลอบทงิ้ 5) กำหนดอัตราค่ากำจดั ของเสียอนั ตรายชมุ ชนท่ีองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ สามารถรับภาระ คา่ กำจดั ได้ 6) สนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถ แขง่ ขนั ในตลาดได้ 7) พัฒนาระบบแลกเปลี่ยนของเสีย (Waste Exchange System) ระหว่างผู้ประกอบการ อุตสาหกรรม 8) ดำเนนิ การอืน่ ๆ ทเี่ กี่ยวขอ้ งกับการจดั การกากอุตสาหกรรมทเี่ ป็นอันตรายให้เปน็ รปู ธรรม 2.5 กระทรวงศกึ ษาธกิ าร เป็นหน่วยงานสนับสนนุ การดำเนนิ การใหค้ วามรู้ และการสรา้ งวินัย ในการจดั การ ขยะมูลฝอย และของเสยี อันตรายใหก้ บั นกั เรยี น นักศกึ ษา โดยดำเนนิ การ 1) ออกนโยบายให้ผู้บริหารโรงเรียน และสถาบันการศึกษาทุกแห่งดำเนินการลดปริมาณ การเกิดการคัดแยกขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย และสร้างจติ สำนึกและวินัยให้กับเยาวชน และ พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรูใ้ นการลด และคัดแยก และนำขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายกลับมาใช้ ประโยชน์ ไดแ้ ก่ ธนาคารขยะในโรงเรียน ใหค้ รบทุกแหง่ เปน็ ตน้ 2) กำหนดให้มีหลกั สูตรการเรียน โดยสอดแทรกความรู้เร่ืองการลด คัดแยก และการจัดการ ขยะมูลฝอย และของเสยี อันตรายในบทเรยี น หรอื การเรียนการสอนทัง้ ใน และนอกระบบโรงเรยี น 3) ใหแ้ รงจูงใจกบั โรงเรยี น และสถาบนั การศกึ ษาที่ดำเนินการเป็นตน้ แบบ/แหล่งเรียนรใู้ นการ ลดและคัดแยกขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย 4) ศกึ ษาวจิ ยั และพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตราย การบริหาร จดั การขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย 2.6 กระทรวงการคลัง เปน็ หน่วยงานสนับสนนุ บทบาทการร่วมทุน เพ่อื ดำเนนิ การจัดการขยะ มูลฝอย และของเสยี อนั ตราย โดยดำเนินการ 1) ออกมาตรการสนับสนุนการลงทุนก่อสร้างโรงกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อแปรรูปเป็นพลังงาน (ไฟฟ้า นำ้ มนั กา๊ ซชีวภาพ) โรงงานกำจัด/บำบดั ของเสียอนั ตราย และโรงงานรไี ซเคลิ ขยะมลู ฝอย และ ของเสียอันตรายของ ภาคเอกชน โดยมาตรการด้านภาษี (เช่น ออกระเบียบยกเว้นภาษีเครื่องจักร อุปกรณ์) มาตรการด้านการเงิน (เช่น ออกเป็นนโยบายให้สถาบันการเงินลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ส่งเสริมเงินกู้ให้ภาคเอกชน รวมถึงการให้บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันเงินกู้ กรณเี อกชนตั้งโรงงานกำจัดขยะมลู ฝอยในที่ดนิ ของรฐั ) 2) ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจให้กับผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดำเนนิ การตามพระราชบญั ญัติ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เช่น การคำนวณ มูลค่าของโครงการ และการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการที่มีวงเงินมูลค่าต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท หรือมากกวา่ 5,000 ล้านบาท เป็นต้น 3) ออกกฎ หรอื ระเบยี บท่ีเอื้ออำนวยใหเ้ อกชนลงทนุ ด้านการจัดการขยะมลู ฝอย และของเสีย อนั ตราย

27 2.7 กระทรวงพลังงาน เป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการแปรรูปขยะมูลฝอย เพื่อผลิต พลงั งาน โดยดำเนินการ 1) กำหนดพน้ื ท่ีทมี่ ีศกั ยภาพ และพืน้ ที่สายสง่ ไฟฟ้าเพ่อื การแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลงั งาน 2) สนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากเตาเผาขยะมูลฝอย โดยการจัด zoning และแก้ไขปัญหา พ้นื ทีท่ ่ีไมข่ าดแคลนกระแสไฟฟ้าหรอื มปี ญั หาเรอ่ื งขนาดสายส่งกระแสไฟฟา้ โดยให้ความสำคัญกับการ ผลติ พลังงานทดแทนจากขยะมูลฝอยเป็นลำดับความสำคัญแรก 3) กำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติของน้ำมันที่ได้จากการแปรรูปขยะมูลฝอย รวมทั้งกฎเกณฑ์ อื่นๆ ทีเ่ ออื้ อำนวยในการนำนำ้ มันจากขยะมลู ฝอยมาใช้ประโยชน์ 4) ดำเนินการเรื่องระบบอนุญาตการประกอบกิจการแปรรูปขยะมูลฝอย เพื่อผลิตพลังงาน ใหม้ ีความรวดเร็ว 5) สนับสนุนการดำเนินโครงการนำร่อง และขยายผลในการจัดทำโครงการขยะมูลฝอยเป็น เชื้อเพลงิ และโรงไฟฟา้ จากขยะมลู ฝอยในพ้นื ท่ีท่ีมีศกั ยภาพรว่ มกับกระทรวงทรพั ยากรธรรมชาติ และ สิง่ แวดล้อม กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ 6) สนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ และออกแบบรายละเอียดในการการแปรรูปขยะ มูลฝอยเปน็ พลังงาน 7) สนับสนุนการศึกษาวิจัยการแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงานในรูปแบบต่างๆ พัฒนา โครงการนำร่อง และขยายผล 2.8 กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอย และของเสยี อนั ตราย โดยดำเนนิ การ 1) ให้คำแนะนำ และความรู้เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอย และตรวจวิเคราะห์ค่าต่าง ๆ ทเ่ี กีย่ วกับ ขยะมลู ฝอย เพือ่ สร้างความม่ันใจให้กับจังหวัด และองค์กรปกครองสว่ นท้องถิน่ 2) ศึกษา วจิ ยั เพอ่ื พฒั นาเทคโนโลยีขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตรายท่เี หมาะสม เช่น จัดทำ เทคโนโลยี ต้นแบบเพอ่ื การวิจัยและพฒั นาท่ีพรอ้ มตอ่ การสาธิตการผลิตไฟฟา้ (Plasma gasif ication ขนาด 300 KW) และการผลิตน้ำมันจากขยะ (Plasma pyrolysis ขนาด 100 kg/batch) ซึ่งเป็น เทคโนโลยีที่สามารถรองรับขยะมูลฝอย ทั้งที่มี และไม่มีมลพิษปนเปื้อน ทั้งนี้ ยังครอบคลุมระบบ คัดแยกขยะมูลฝอย และระบบผลติ ผลติ ภณั ฑม์ ูลคา่ เพ่ิม เช่น ระบบผลติ อลมู ิเนยี มแท่ง ปยุ๋ เปน็ ต้น 3) ศึกษา และพัฒนาระบบการรับรองเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอย และการนำขยะ มูลฝอยมาผลติ น้ำมัน หรอื ไฟฟ้า 2.9 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานสนับสนุนการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ โดยดำเนนิ การ 1) บูรณาการรว่ มกันในการกำหนดมาตรฐาน เพื่อรับรองคณุ ภาพปุ๋ยท่ีได้จากการกำจัดขยะ มูลฝอย 2) ตรวจสอบ สนับสนุน และควบคมุ คุณภาพของปยุ๋ อินทรียจ์ ากขยะมูลฝอยเพือ่ เป็นแรงจูงใจ ในการลงทนุ ของเอกชน 3) ประชาสมั พันธ์ และส่งเสรมิ การใช้ประโยชนข์ องปุ๋ยอินทรีย์จากขยะมลู ฝอย

28 2.10 สำนกั นายกรัฐมนตรี (โดยกรมประชาสมั พนั ธ์) เปน็ หน่วยงานสนบั สนนุ ในการสรา้ ง ความรู้ ความเข้าใจ เก่ยี วกับการจดั การขยะมูลฝอย และของเสยี อันตราย โดยดำเนินการ 1) สนบั สนุนการดำเนนิ งานเก่ียวกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจติ สำนึกให้กับเยาวชน และประชาชนท่ัวไป ในการลด คดั แยก และนำขยะมลู ฝอยกลบั มาใช้ประโยชน์ใหม่ และร่วมมอื จดั การ ปัญหาขยะมลู ฝอย และของเสยี อันตรายตั้งแต่ต้นทางจนถึงการกำจัดขนั้ สุดท้าย 2) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เชิงรุกในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย ผา่ นสือ่ ต่างๆ 2.11 กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา เป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดการขยะมลู ฝอยและ ของเสยี อันตราย โดยดำเนินการ 1) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนา และ ประชาสัมพันธ์ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา อาทิ พื้นที่ ท่องเที่ยว 12 เมืองต้องห้าม...พลาด แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอุทยานแห่งชาติ และพื้นที่เกาะ ตลอดจน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ สามารถจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วย ตนเอง 2) สง่ เสรมิ ใหผ้ ปู้ ระกอบการธรุ กิจด้านการทอ่ งเท่ียวดำเนินการตามมาตรฐานด้านส่ิงแวดล้อม ในแหล่งทอ่ งเท่ยี ว 3) ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการ กำกับดูแล แหล่งท่องเที่ยวกำหนดมาตรการ ขอ้ กำหนด กฎระเบยี บท่ีชดั เจนในการจัดการขยะมูลฝอย ในพ้ืนที่แหลง่ ท่องเทีย่ ว 4) รณรงค์ ประชาสมั พนั ธใ์ ห้นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการทราบกฎระเบียบ กติกาในการ ท้ิง และการจัดการขยะมูลฝอยทเ่ี กิดข้ึนจากแหลง่ ท่องเที่ยวในสอ่ื ตา่ งๆ ควบคไู่ ปกับการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยว 2.12 กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานสนบั สนนุ การจัดการขยะมลู ฝอย และของเสยี อันตราย โดยดำเนนิ การ 1) สนับสนนุ พน้ื ท่ี สำหรบั ดำเนนิ การในการจดั การขยะมลู ฝอย 2) พัฒนาพ้ืนท่ีต้นแบบการลด คัดแยก และนำขยะมลู ฝอยกลบั มาใช้ประโยชน์ในพืน้ ทีท่ หาร รวมทั้งดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อแปรรูปเป็นพลังงานในพื้นที่กระทรวงกลาโหม โดยลงทุน รว่ มกบั เอกชน 3. ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ 1) ลดการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ฟุ่มเฟือย หรือย่อยสลายได้ยาก และเพิ่มศักยภาพในการผลิต บรรจภุ ณั ฑ์ทีม่ ีความคงทนสามารถนำกลบั มาใชซ้ ้ำได้ และกำจดั ไดง้ ่าย 2) ร่วมสนับสนุน และส่งเสริมให้ประชาชนลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ฟุ่มเฟือย เช่น พลาสติก และโฟม 3) ดำเนินการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตรายทีเ่ กิดขึ้นจากการประกอบกจิ การของ ตนเองอยา่ งถูกต้องตามหลักวชิ าการ และกฎหมายท่ีเก่ียวข้อง

29 4) ลงทนุ /ร่วมลงทนการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอนั ตราย และแปรรูปขยะมลู ฝอย เพ่ือผลิตพลังงาน 5) สนบั สนนุ ภาคครัฐในการเกบ็ รวบรวมซากผลิตภัณฑ์ หรอื ผลิตภณั ฑเ์ สอ่ื มคุณภาพเพ่ือนำไป รีไซเคิล หรือกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมทั้งสนับสนุนการเป็นศูนย์รวบรวมขยะมูลฝอย ทีน่ ำกลับมาใชป้ ระโยชน์ได้ 4. ภาคประชาชน องค์กรเอกชน หรือประชาสงั คม 1) มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียตั้งแต่ต้นทาง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การบริโภคสินค้า โดยหันมาใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสินค้ารีไซเคิล มีการคัดแยกขยะ มลู ฝอยจากบา้ นเรอื นเพ่อื นำไปจัดการได้อย่างถูกวธิ ี 2) เขา้ รว่ มรับรู้ ให้ข้อเสนอแนะรว่ มตัดสินใจ และร่วมมอื ในการดำเนินการบริหารจัดการขยะ มูลฝอย และของเสียอันตรายตั้งแต่ต้น เพื่อลดความขัดแย้ง และการต่อต้านจากประชาชนในการ ก่อสร้างสถานท่กี ำจดั ขยะมลู ฝอย 3) สร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการลดขยะมูลฝอยท่ตี ้นทาง การคัดแยกขยะมูลฝอย และ ของเสียอันตราย และการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ 4) ร่วมกันตั้งเป้าหมายในการลดขยะมูลฝอย เช่น จาก 1.11 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี 2557 เปน็ 1.00 กโิ ลกรัม/ คน/วัน ในปี 2562 เป็นต้น การขบั เคลอ่ื นแผนไปสกู่ ารปฏบิ ัติ แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศเป็นแผนหลักระดับชาติ กำหนด ระยะเวลาในการ ดำเนินการ 6 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 – 2564 การขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ ให้เป็นรปู ธรรม จงึ จำเปน็ ต้องมีกลไก การขับเคลือ่ นทัง้ ในเรือ่ งของหน่วยงานรบั ผิดชอบ รวมถงึ กำหนด เป้าหมาย แนวทางการขับเคลื่อน การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และภาคส่วนต่างๆ และการกำหนดแนวทางในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล รวมทั้งหน่วยงาน และภาคส่วน ทเ่ี กยี่ วขอ้ งรว่ มกนั ผลักดนั และบูรณาการการดำเนินงานตามแผนให้เปน็ ไปอย่าง มีประสิทธภิ าพ และ บรรลตุ ามวตั ถปุ ระสงค์ท่ีตง้ั ไว้ ดังน้ี 1. กลไกในการขับเคลอ่ื น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดลอ้ ม และสำนักงานนโยบาย และแผนทรพั ยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอ้ มเป็นหน่วยงานในการ ขบั เคลอ่ื นมาตรการตา่ ง ๆ ภายใต้ แผนแม่บทฯ ดงั น้ี 1.1 สร้างความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกบั สาระสำคัญของแผนแมบ่ ท การบริหารจัดการขยะ มูลฝอยของ ประเทศ โดยจัดทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสม สร้างความรู้ความเข้าใจ แก่ผู้บริหาร และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ในทุกระดับ ให้ยอมรับ ตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมมือ ในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ บูรณาการ และส่งเสริมความร่วมมือการทำงานของหน่วยงาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบฐานข้อมูลขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย ที่สามารถเข้าถึง และใชป้ ระโยชน์ได้ รวมถึงใชช้ อ่ งทางเครือขา่ ยออนไลน์ สำหรบั แลกเปลี่ยนเรยี นรู้ ร่วมดำเนนิ กจิ กรรม ต่างๆ

30 1.2 ใช้เครื่องมือ และกลไกที่เปน็ รปู ธรรม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานการจัดขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย ดังน้ี (1) การปรับเปลยี่ นพฤตกิ รรม โดยการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจกบั ประชาชนในเรื่อง การจัดการ ขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายตั้งแต่ต้นทาง ผ่านช่องทางต่างๆ สร้างกระบวนการ การ มีส่วนร่วม สร้างแรงจูงใจให้ ผู้ผลิต และประชาชนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค สินค้า โดยหันมาใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสินค้ารีไซเคิล เกิดการลด การใช้ซ้ำ และนำ ขยะมูลฝอยกลบั มาใชป้ ระโยชน์อีกครั้ง (2) การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการเสริมสร้างสมรรถนะ และถ่ายทอด องค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะ มลู ฝอย ซ่งึ ประกอบดว้ ย แผนงาน โครงการ กิจกรรม งบประมาณ ระยะเวลา หนว่ ยงานท่ีรับผิดชอบ หลัก และหน่วยงานสนับสนุนให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ เพื่อใช้ประกอบการขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี และสามารถดำเนินการการจัดการขยะ มูลฝอย และของเสียอันตรายในพื้นที่ของตนเองให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตั้งแต่ จัดระบบคัดแยก ขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายชุมชนที่ต้นทาง ไปจนถึงการกำจัดขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย ชุมชน และมูลฝอยติดเชอ้ื รวมถึงการนำขยะมูลฝอยตกค้างไปกำจัดอย่างถูกตอ้ งตามหลักวชิ าการ (3) กฎหมาย โดยหนว่ ยงานส่วนกลางท่เี ก่ยี วขอ้ งควรเรง่ ออกกฎระเบยี บ เกี่ยวกับการจัดการ ขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น ดำเนินการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ และให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นนำไปออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายในพื้นที่ ของตนเองดว้ ย (4) เศรษฐศาสตร์ ตามหลักการผกู้ ่อมลพษิ เปน็ ผู้จ่าย (Polluters Pay Principle : PPP) เช่น การลดหย่อนทางภาษี การใหเ้ งนิ กู้ดอกเบี้ยตำ่ การให้สทิ ธพิ เิ ศษด้านการลงทุนซงึ่ ใชเ้ ครื่องจกั ร/โรงงาน ที่ไม่ก่อไห้เกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อขับเคลื่อน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของภาคธุรกิจการผลิตและประชาชนจัดการขยะมูลฝอย และ ของเสียอันตรายอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ เลือกใช้ เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม ไม่ก่อให้ผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามยั ของประชาชน (5) การกำกับดูแล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการกำกับ ดูแล ติดตามตรวจสอบ ควบคมุ การดำเนนิ งานจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายของภาครัฐ และภาคเอกชนให้เป็นไป ตามกฎกระทรวงฯ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงประสานกับจังหวัด และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในการเฝ้าระวัง การดำเนินงานของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้ส่งผล กระทบตอ่ คุณภาพสิง่ แวดล้อม (6) การกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติ (Code of Practice) ในการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย เพื่อเป็นแนวทางให้การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ หน่วยงานในพื้นที่ หน่วยงานปฏิบัติทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจังหวัดมีแนวทางที่ชัดเจน

31 ในการดำเนินงาน สร้างความมั่นใจ ในการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายอย่าง ถูกตอ้ งตามหลักวชิ าการ มปี ระสทิ ธภิ าพ และไมส่ ่งผลกระทบตอ่ สิ่งแวดลอ้ ม (7) ระบบงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย การจดั การ ขยะมูลฝอยและของเสยี อนั ตราย โดยมแี หลง่ งบประมาณหลกั ประกอบด้วย • งบประมาณแผน่ ดนิ • เงนิ กองทุน อาทิ กองทุนสงิ่ แวดลอ้ ม กองทุนเพ่ือสง่ เสริมการอนรุ ักษ์พลงั งาน • เงินกู้จากต่างประเทศที่มีระยะการคืนเงินต้นในระยะยาว อาทิ ธนาคารเพื่อความร่วมมือ ระหวา่ ง ประเทศญีป่ นุ่ (JBIC) ธนาคารเพ่อื พัฒนาแหง่ เอเชยี (ADB) • เงนิ ลงทุนจากภาคเอกชน ในรปู แบบของเงินอุดหนนุ เงนิ กู้ การร่วมทุน หรอื ให้เอกชนลงทุน โดยรูปแบบการให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ อาทิ รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน หรือรัฐเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง และใหเ้ อกชน ดำเนินการ หรอื เอกชนเป็นผู้ลงทนุ และดำเนินการเอง 2. การติดตามประเมนิ ผล การตดิ ตามประเมนิ ผลสัมฤทธิ์การดำเนนิ งานจัดการขยะมูลฝอยของจงั หวัด องค์กรปกครอง ส่วนทอ้ งถ่นิ และหนว่ ยงานทเ่ี ก่ียวข้อง โดย 2.1 คณะกรรมการ หรืออนุกรรมการกำกับ และขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยของประเทศ โดยมีคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับกระทรวง เพื่อกำหนดแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมู ลฝอย ของประเทศ รวมทั้งอำนวยการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และปรับปรุงแผนแม่บท การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และนโยบายของ รัฐบาล และรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปรับปรุง การดำเนนิ งานเพื่อใหบ้ รรลุ เป้าหมายของแผนฯ ต่อคณะรฐั มนตรี 2.2 คณะอนุกรรมการกำกับ และขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด โดยมี คณะอนุกรรมการ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัด เพื่อกำหนดแนวทางขับเคลื่อน การดำเนินงานในระดับจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการรายปีเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บทการ บริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ รวมทั้งอำนวยการ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของ จังหวัด และรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการหรืออนุกรรมการกำกับ และขับเคลื่อนแผน แมบ่ ท3 การบรหิ ารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ

32 2. เอกสารแนวคิดเกย่ี วกับขยะมูลฝอย 1. ความหมายของขยะมูลฝอย ราชบัณฑิตยสถาน (2554) พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ คำวา่ ขยะ หมายถงึ หยากเยอ่ื มลู ฝอย ใช้วา่ กระหยะ ก็ได้ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ได้ให้นิยามหมายของคำว่า มูลฝอย หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยง สัตว์ หรือที่อื่น และหมายความ รวมถึงมลู ฝอยติดเชอื้ มลู ฝอยที่เป็นพิษหรอื อันตรายจากชุมชน (กรมอนามยั , 2560) สมาคมพัฒนาคณุ ภาพส่ิงแวดล้อม (2559) ให้ความหมาย ขยะมลู ฝอย หมายถงึ ส่งิ ของเหลอื ท้ิง จากกระบวนการผลิต และอุปโภค ซึ่งเสื่อมสภาพ จนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็น ของแขง็ หรือกากของเสยี (Solid waste) มผี ลเสีย ต่อสุขภาพ ทัง้ รา่ งกาย และจิตใจเนอ่ื งจากความสกปรก เป็นแหลง่ เพาะเชื้อโรคทำให้เกิดมลพิษ กรมอนามัย (2560) อ้างถึงพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรยี บร้อย ของบ้านเมอื ง พ.ศ. 2535 ไดใ้ ห้ความหมายของคาว่า มูลฝอย หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินคา้ ถงุ พลาสตกิ ภาชนะท่ีใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตวร์ วมตลอดถงึ สิ่งอื่นใดทีเ่ กบ็ กวาดจาก ถนน ตลาด ทเ่ี ล้ียงสตั วห์ รอื ที่อื่น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (2561) ให้คำจำกัดความคำว่า ขยะมูลฝอย หมายถึง ของ เหลอื ท้งิ จาการใชส้ อยของมนุษย์ซงึ่ เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หากมีการคดั แยกก่อนทิ้ง เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชนส์ งิ่ เหลา่ นัน้ จะถูกเรยี กว่า วสั ดเุ หลอื ใช้ เน่อื งจากเราไมไ่ ดท้ งิ้ จึงไม่เป็นขยะ ธงชัย ทองทวี (2553) ได้ให้ ความหมายว่า ขยะมูลฝอย หมายถึง สิ่งเหลือใช้ และสิ่งปฏิกูล ที่อยู่ในรูปของแข็งซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสัตว์ ทั้งจากบริโภค การผลิต การขับถ่าย การดำรงชวี ติ และอ่ืนๆ บุญลักษณ์ ทัพขวา และมาลิณี นาไชย (2555) สรุปความหมายของ ขยะมูลฝอย หมายถึง สิ่งของที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต และอุปโภคบริโภค ซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้ หรือ ไม่ต้องการใช้แล้ว เช่น เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ รวมตลอดถึงสง่ิ อื่นใด ท่เี กบ็ กวาดจากถนน ตลาด และโรงงานอตุ สาหกรรม อุสุมา เวชกามา (2562) สรุปความหมาย ขยะมูลฝอย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่คนไม่ต้องการ และทิ้งไป ไม่ว่าจะเปน็ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถงึ สิง่ อนื่ ใดซึง่ เก็บกวาดจากถนน ตลาด ท่เี ลีย้ งสัตว์หรอื ทอี่ ืน่ ๆ ศราวุฒิ ทบั ผดุง (2563) ขยะมูลฝอยครัวเรอื น หมายถงึ เศษสิ่งของท่เี หลือใช้ เช่น เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินคา้ เศษวตั ถุ ถุงพลาสติก ภาชนะทใ่ี สอ่ าหาร เถ้ามูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมถึง ส่งิ อ่ืนใดทเี่ กิดจากครัวเรอื น

33 จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า ขยะมูลฝอย หมายถึง เศษสิ่งเหลือใช้ที่เกิดจาก กิจกรรม ของมนุษย์ และสัตว์ เช่น เศษกระดาษ เศษผ้าเศษอาหาร ถุงพลาสติก ภาชนะกล่องใส่ อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอย ทเ่ี ปน็ พษิ หรืออันตราย 2. ประเภทของขยะมลู ฝอย ได้มีหน่วยงาน และนักวชิ าการ ไดแ้ บ่งประเภทตามลักษณะของขยะมูลฝอย ดังนี้ กรมสง่ เสริมการปกครองทอ้ งถนิ่ (2561) แบง่ ขยะมลู ฝอย ออกได้ 4 ประเภท ได้แก่ 2.1 ขยะมูลฝอยทั่วไป (General wastes) คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น ซึ่งมูลฝอยเหล่านี้อาจนำกลับมาใช้ใหม่ได้แต่ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่า ในการแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ 2.2 ขยะมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle wastes) คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุ เหลือใช้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเคร่ืองดื่มแบบยูเอชที กระป๋องเครื่องดื่ม เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นต้น ขยะมูลฝอยประเภทนี้เมื่อคัดแยกออกมาจะไม่เกิดปัญหาปนเปื้อน กับขยะอินทรีย์ ไม่เกิดกลิ่นเหม็น ทำให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิล โดยขายให้ร้านรับซื้อของเก่า และ เขา้ สูอ่ ตุ สาหกรรมรีไซเคิล เพือ่ แปรรปู เป็นวัตถุดิบหรอื ผลิตภัณฑ์ใช้ใหม่ 2.3 ขยะมูลฝอยอนิ ทรยี ์ หรือขยะมูลฝอยย่อยสลาย (Organic wastes) คือ ขยะมูลฝอยย่อย สลายที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และ/หรอื สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษอาหาร มูลสัตว์ ซากหรือเศษวัชพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ ขยะมูลฝอยประเภทนี้สามารถรวบรวมนำไปทำ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ถ้าหากนำไปท้ิงรวมกับขยะประเภทอื่น จะทำให้เกิดการเน่า เหม็น เกิดสภาพ อนั เปน็ ทีน่ ่ารังเกยี จ 2.4 ขยะมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน (Hazardous wastes) คือ ขยะ มูลฝอย ที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ซึ่งเป็นวัตถุที่ปนเปื้อนสารที่มีคุณสมบัติเป็น สารพษิ สารไวไฟ สารออกซไิ ดซ์ สารเปอรอ์ อกไซด์ สารระคายเคือง สารกดั กรอ่ น สารที่เกิดปฏิกิริยา ได้ง่าย สารท่ีเกิดระเบิดได้ สารที่ทำให้เกิดการเปล่ยี นแปลงทางพันธกุ รรม สารหรือส่ิงอื่นใดท่ีอาจเกิด หรือมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย ประเภทนี้ต้องแยก และทิ้งตามวันที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้เอามาทิ้งหรอื ทิ้งในภาชนะ รองรับขยะอันตราย ณ จุดหรอื สถานทอี่ งค์กรปกครองสว่ นท้องถน่ิ กำหนด เพอ่ื รวบรวมเกบ็ ขนไปเข้าสู่ กระบวนการรีไซเคลิ หรอื นำไปกำจดั อย่างถกู วธิ ี กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาติ และส่งิ แวดล้อม (2555) สามารถแบง่ ตามลักษณะทางกายภาพ ของขยะมลู ฝอย ได้เป็น 4 ประเภท ดงั น้ี 1. ขยะอินทรีย์ (Compostable waste) หรือมูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสีย และย่อย สลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่จะไมร่ วมถึงซาก หรือเศษของพชื ผัก ผลไม้ หรือสตั วท์ ่ีเกิดจากการทดลองในหอ้ งปฏบิ ตั ิการ โดยท่ขี ยะยอ่ ยสลายน้ีเป็นขยะทีพ่ บมากทสี่ ุด คือพบมากถงึ 64% ของปรมิ าณขยะทั้งหมดในกองขยะ

34 2. ขยะรีไซเคิล (Recyclable waste) หรือมูลฝอยทีย่ งั ใช้ได้ คอื ของเสยี บรรจภุ ัณฑ์ หรอื วัสดุ เหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องด่ืม แบบ UHT กระป๋องเครื่องดื่ม เศษ โลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นต้น สำหรับขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่พบมากเป็นอันดับที่สองในกองขยะ กล่าวคือ พบประมาณ 30% ของปริมาณขยะทั้งหมด ในกองขยะ 3. ขยะอันตราย (Hazardous waste) หรือมูลฝอยอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบ หรือ ปนเปอ้ื นวัตถอุ ันตรายชนิดต่าง ๆ ซงึ่ ได้แก่ วัตถุระเบดิ วตั ถไุ วไฟ วัตถอุ อกซไิ ดซ์ วตั ถมุ พี ษิ วัตถุท่ีทำให้ เกดิ โรค วตั ถุกัมมนั ตรงั สี วตั ถุทีท่ ำใหเ้ กิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถกุ ัดกร่อน วตั ถทุ กี่ ่อให้เกิด การระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สตั ว์ พชื ทรพั ย์สนิ หรอื สิง่ แวดลอ้ ม เชน่ ถา่ นไฟฉาย หลอดฟลอู อเรสเซนต์ แบตเตอรีโ่ ทรศพั ท์เคล่ือนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น ขยะอันตรายนี้เป็นขยะ ท่มี กั จะพบได้น้อยท่ีสดุ กล่าวคอื พบประมาณเพยี ง 3 % ของปริมาณขยะท้งั หมดในกองขยะ 4. ขยะท่ัวไป (General waste) หรอื มูลฝอยท่ัวไป คอื ขยะประเภทอืน่ นอกเหนือจากขยะยอ่ ย สลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะย่อยสลายยาก และไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติก ห่อลูกอม ซองบะหมี่ กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอยล์เปื้อนอาหาร เป็นต้น สำหรับขยะ ทั่วไปนี้เปน็ ขยะที่มีปริมาณใกลเ้ คียงกับขยะอันตราย กล่าวคือ จะพบประมาณ 3% ของปริมาณขยะ ท้งั หมดในกองขยะ บำรงุ รน่ื บันเทงิ (2555) ไดจ้ ำแนกประเภทของมลู ฝอย ดังน้ี 1. มูลฝอยทั่วไป มูลฝอยทว่ั ไปสามารถแยกตามแหล่งกำหนดได้เปน็ 2 ประเภท ดงั น้ี 1.1 มูลฝอยจากครัวเรือน (Domestic Waste) ได้แก่ มูลฝอยที่เกิดขึ้นจากการดำรง ชีวติ ประจำวนั ของประชาชน แยกย่อยออกไดเ้ ป็น 2 ชนิด คอื 1.1.1 ขยะมูลฝอยธรรมดา (General Waste) คือ มูลฝอยทั่วไป ได้แก่ เศษอาหาร เศษแกว้ เศษโลหะ ใบไม้ กระดาษ และซากสตั ว์ เป็นต้น 1.1.2 มูลฝอยอันตราย (Hazardous Waste) คือ มูลฝอยท่ีมีส่วนประกอบของ สารพิษอันตรายปะปนอยู่ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำยาทำความสะอาด อุปกรณ์บำรุงรักษารถยนต์ ภาชนะบรรจสุ ารเคมตี ่าง ๆ และเวชภณั ฑ์ เปน็ ต้น 1.2 มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrail Waste) ได้แก่ มูลฝอยที่เกิดขึ้นจาก กระบวนการผลิตของโรงงานตา่ งๆ ซง่ึ แยกออกเป็น 2 ชนดิ คอื 1.2.1 มูลฝอยธรรมดาที่ไม่มีสารพิษปะปน (General Waste) ได้แก่ กระดาษ พลาสติก เศษผา้ เศษแก้ว หนงั เศษไม้ และเศษเหลก็ เปน็ ต้น 1.2.2 มูลฝอยที่เป็นอันตราย (Hazardous Waste) ได้แก่ กรด สารโลหะหนัก แร่ หมึก สียอ้ ม แคดเมียม และโครเมยี ม เปน็ ต้น 2. มูลฝอยอันตราย มูลฝอยอันตรายไม่ได้ถูกผลิตจากอุตสาหกรรมแต่อย่างเดียวเท่าน้ัน ผู้อาศัยตามบ้านเรือนก็มีส่วนทิ้งมูลฝอยที่มีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆที่ใช้ในการดำรงชีวิต ประจำวัน แม้แต่โรงพยาบาลก็มีส่วนเพิ่มปริมาณมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน ปัญหาสำคัญของมูลฝอย

35 อันตราย คือ การที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้ และระมัดระวังถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากมูลฝอยประเภทน้ี เนื่องจากเป็นเรือ่ งใหม่ ซึ่งหากยังไม่มีการแยกมูลฝอยชนิดนี้ออกจากมูลฝอยตามบ้านเรือนแล้ว ก็จะ เกิดการแพร่กระจาย และสะสมของมูลฝอยอนั ตราย อันจะกอ่ ใหเ้ กดิ ปัญหาต่อสิ่งแวดลอ้ ม อดุ มศักดิ์ สินธพิ งษ์ (2547) กล่าวว่า ขยะมูลฝอย สามารถแบง่ ออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือขยะทยี่ ่อยสลายได้ง่าย ขยะทยี่ ่อยสลายไดย้ าก และขยะท่ีเป็นพิษ 1. ขยะทย่ี ่อยสลายได้งา่ ย ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย หมายถึง ขยะที่มีความช้ืนสูงติดไฟยาก สามารถเน่าเปื่อย หรือย่อย สลายได้ ส่วนมากมกั ได้แก่ สิ่งของประเภทอนิ ทรีย์วตั ถุ เช่น พวกเศษอาหาร เศษพืชผัก เปลือกผลไม้ รวมทั้งซากของพืช และสัตว์ ขยะประเภทนี้เนื่องจากมีความชื้นสูง เมื่อย่อยสลายมักจะมีกลิ่นเหม็น ถือเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญได้ ขยะที่ย่อยสลายได้ง่ายนี้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “ขยะเปียก” ขยะประเภทนี้มีแหล่งกำเนิดมาจากแหล่งชุมชน ที่พักอาศัย ตลาดสดจากสถานประกอบการ เช่น ภตั ตาคาร รวมทั้งจากแหลง่ เกษตรกรรม 2. ขยะทยี่ ่อยสลายได้ยาก ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก หมายถึง ขยะที่มีความชื้นตํ่า หรือปราศจากความชื้นจึงติดไฟได้ง่าย เช่น กระดาษ เศษหญ้า ยาง ยกเว้นพวกโลหะ และเศษแกว้ ขยะประเภทนี้จะเน่าเปอ่ื ยหรือย่อยสลาย ไดย้ ากและใช้เวลานาน บางประเภทอาจไม่เน่าเปอ่ื ย และท้งั ยังสามารถนำ กลับมาใช้ได้ไหม เชน่ โฟม พลาสติก ขวดแกว้ ยางรถยนต์ เปน็ ตน้ ขยะทยี่ อ่ ยสลายได้ยากนี้เปน็ ที่รจู้ ักกนั โดยทั่วไปว่า “ขยะแห้ง” มีแหลง่ กำเนดิ จากทพ่ี กั อาศัยยา่ นชุมชน และแหลง่ อุตสาหกรรม 3. ขยะทีเ่ ป็นพิษ ขยะที่เป็นพิษ หมายถึง ขยะที่มีส่วนประกอบทางเคมี หรือของเสียที่เป็นพิษมีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น กากสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม ซากถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ยา และสารเคมีที่เสื่อมสภาพ ยาปราบศัตรูพืช รวมทั้งขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล และสถานพยาบาล เช่น สารเคมีของเสีย ที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี เศษสำลี เข็มฉีดยา และเศษอวัยวะของผู้ป่วย เป็นต้น ขยะที่เป็นพิษนี้ จะต้องมีวิธีการควบคุม และกำจัดเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสารพิษ สู่สิ่งแวดล้อม แหล่งกำเนิดของขยะที่เป็นพิษหรือของเสียอันตรายที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งอุตสาหกรรม โรงพยาบาล และสถานทศ่ี กึ ษาวิจัยกรมควบคุมมลพิษ พชิ ิต สกลุ พราหม์ (2541) จำแนกประเภทของขยะมลู ฝอยไว้ ดงั น้ี 1. ขยะสด หมายถึง ขยะพวกเศษอาหาร เศษพืชผัก เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น ขยะสดจะเกิดข้นึ จากกิจกรรมการเตรียมการประกอบการปรุง และการรับประทานอาหารซึ่งขยะสดส่วนใหญ่แล้ว จะประกอบไปดว้ ยอนิ ทรีย์สารที่ย่อยสลายได้ และมคี วามชื้นปะปนอยู่ 40 - 70 % ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ นานเกินไปโดยไม่กำจัด ก็จะเกิดการสลายตัวเน่าเปื่อยจากปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ จึงมักจะเกิดเหตุ รำคาญเน่อื งจากกลิน่ เหมน็ จากขยะสด และขยะสดบางชนดิ มลี กั ษณะกงึ่ ของเหลว เช่น นำ้ ข้าว น้ำแกง หรือเศษชิ้นส่วนของซากสัตว์ ถ้าปล่อยทิ้งลงแหล่งน้ำปริมาณมาก ๆ อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด มลภาวะตอ่ นำ้ ได้ เพราะน้ำเหลืองขยะจะมคี า่ บ.ี โอ.ดี. ค่อนข้างสูงมาก

36 2. ขยะแหง้ หมายถงึ ขยะซึง่ สว่ นมากจะเป็นพวกเศษวัตถทุ ี่ย่อยสลายยาก หรอื บางชนิดย่อย สลายตัวไม่ได้เลย โดยอาจจะเป็นได้ทั้งอินทรีย์ และอนินทรีย์ ถ้าจะแบ่งตามคุณลักษณะการเผาไหม้ จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ขยะแห้งที่เป็นพวกเผาไหม้ได้ ได้แก่ กระดาษ กล่อง และ ถุงกระดาษ ลังไม้ เศษไม้ กล่องไม้ เฟอร์นิเจอร์ชำรุด เสื้อผ้าเก่าชำรุด ที่นอนเก่า หรือหมดสภาพ การใช้งาน เศษหนงั และผลติ ภัณฑ์จากหนงั พลาสติก ยางพารา เศษหญา้ ใบไม้ เป็นตน้ ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็น ขยะแห้งที่เผาไหม้ไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็อาจเป็นพวกอินทรียส์ ารชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เศษโลหะ กระป๋อง บรรจุอาหาร เศษกระดาษตะกัว เศษฝุ่นละออง เศษหนิ เศษอิฐ เศษแกว้ ขวดเปล่า เป็นต้น ดังนน้ั ขยะ แห้งอาจจะมีความหนาแน่นมาก หรือน้อยแปลเปลี่ยนไปตามชนิดของขยะที่ทิ้งมาจากแหล่งกำเนิด เช่น ขยะแห้งจากครัวเรือน ส่วนใหญ่จะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มหรือใส่สินค้าต่าง ๆ อาจจะเป็น กระดาษพลาสตกิ โฟม แกว้ กระป๋องบรรจุอาหารเป็นต้น 3. เถ้า หมายถึง เศษหรือกากที่เหลืออยู่หลังจากการเผาไหม้แล้ว เช่นการเผาไหม้ของ เชื้อเพลิงไม้ แกลบ ชานอ้อย ถ่านหิน ใบไม้ และซากพืช เปน็ ต้น จะทำให้เกดิ เป็นเถ้าหรอื เศษ เหลอื อยู่ ซึง่ จะตอ้ งนำไปกำจดั ต่อไป เชน่ นำไปถมทีล่ ่มุ แต่ถ้าเปน็ การกำจดั ขยะมูลฝอยดว้ ยวธิ ีการเผา นอกจาก จะมีเถ้าเป็นกากเหลืออยู่อาจจะมีวัตถบุ างชนิดที่ไม่ไหมเ้ หลืออยู่ เช่น เศษแก้ว และขวด เศษอิฐ และ หนิ กระปอ๋ ง และเศษโลหะ เปน็ ตน้ ซงึ่ จะต้องนำไปกำจดั ตอ่ ไป 4.ขยะจากอุตสาหกรรม หมายถึง เศษวัสดุที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงาน อุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ในการผลิตและจะมีเศษวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ ในการผลิต และ จะมีเศษของวัตถุดิบที่เป็นของแข็งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกถูกทิ้งหรือปล่อยออกมากลายเป็นขยะ อตุ สาหกรรม ดังน้นั ลกั ษณะของขยะดังกลา่ ว จงึ ขน้ึ อยู่กับชนดิ ของวัตถุดบิ ที่นำมาใช้ในการผลติ 5. ซากสัตว์ หมายถึง ซากสัตว์เลี้ยงชนิดต่าง ๆ เมื่อตายลงจำเป็นจะต้องได้รับการเกบ็ และ กำจัดโดยถูกต้อง เพราะนอกจากจะเกิดเป็นเหตุรำคาญแล้วยังอาจเกิดเป็นแหล่งเชื้อโรคได้ด้วย โดยเฉพาะซากสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น แมว สุนัข ม้า วัว ควาย จะมีปัญหาด้านการกำจัด ถ้าเป็น ซากสัตว์ที่เป็นโรคจะต้องกำจัดด้วยวิธีการที่สามารถทำลายเชื้อโรคได้อย่างปลอดภัย เช่น การใช้ ความรอ้ นฆา่ เชื้อ การเผาทำลาย และการฝังกลบ เป็นตน้ 6. ขยะจากถนน หมายถงึ ขยะทีเ่ ก็บรวบรวมได้จากการกวาดหรอื ทำความสะอาดถนน ซ่งึ จะ เป็นเศษวัตถุชนิดต่าง ๆ เช่น เศษกระดาษ เปลือกไม้ เศษพลาสติก เศษไม้ เศษแก้ว เศษกระเบื้อง ใบไม้และกิ่งไม้ เศษดิน และฝุ่นละออง เศษอาหาร เป็นต้น ในขณะที่ฝนตกลงมาน้ำฝนจะไหลชะล้าง ขยะมลู ฝอยต่าง ๆ ในถนนลงสทู่ อ่ น้ำโสโครก ทำให้เกดิ การอุดตัน และตกตะกอน 7. ขยะจากเกษตรกรรม หมายถึง พวกสิ่งปฏิกูลที่อยู่ในรูปของแข็งก่ึงของเหลว ซึ่ง เกิดจาก กิจกรรมด้านเกษตรกรรม เช่น เศษหญ้า ฟาง แกลบ เศษพืช เศษอาหาร มูลสัตว์ บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ สารเคมี ยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกอินทรีย์วัตถุ ที่สามารถ สลายตัวได้ ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้โดยขาดการรวบรวม และกำจัดให้ถูกต้องอาจทำให้เกิดกลิ่นเหม็น เป็นเหตุรำคาญ เปน็ แหล่งกำเนิดภาวะ และอาจเป็นแหล่งเพาะพันธแ์ุ มลง และเชือ้ โรค 8. ของที่ใช้ชำรุด หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ หรือส่วนประกอบที่มีขนาดใหญ่ แต่มีสภาพ ที่ชำรดุ เส่อื มสภาพ และหมดอายกุ ารใชง้ าน เช่น เคร่อื งยนต์ และชิ้นสว่ นของเคร่ืองยนต์ ยางรถยนต์ เตาหุงตม้ เฟอร์นเิ จอร์ เป็นต้น

37 9. ซากรถยนต์ หมายถึง รถยนต์น่ัง รถบรรทุก และยานพาหนะ เก่าหรือชำรุดซึง่ ไม่ต้องการ จะซ่อมแซมใหส้ ามารถใช้งานได้อกี รกรงุ รัง อาจเป็นท่อี ย่อู าศยั ของหนู และแมลง และทำให้ชมุ ชนขาด ความสวยงาม 10. เศษสิ่งก่อสร้าง หมายถึง เศษสิ่งของที่เกิดจากการก่อสร้าง และการรื้อถอนอาคาร สถานทีท่ กี่ ่อสร้าง เช่น ข้ีเลือ่ ย เศษไม้ เศษกระเบ้ือง เศษอิฐ ชนิ้ ส่วน และเศษโลหะ เป็นตน้ 11. ขยะเป็นพษิ หมายถึง ขยะท่ีเป็นเศษสง่ิ ต่างๆ ที่มีอนั ตราย เชน่ มีการปนเป้อื นของเช้อื โรค เศษสิ่งของที่ปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตภาพรังสี ทั้งนี้รวมถึงพวกเอกสารลับ และเอกสารสำคัญ ที่ต้องการทำลายทิ้ง ขยะพิเศษจะเกิดได้จากบ้านพักอาศัย สถานพยาบาล โรงพยาบาล โรงงาน อตุ สาหกรรม เปน็ ต้น 12. กากตะกอนของน้ำโสโครก หมายถึง เศษดิน กรวด ทราย และวัตถุอื่น ๆ ที่มีขนาด อนภุ าคเลก็ ๆ ซ่ึงส่วนใหญ่เป็นพวกกากตะกอนและโคลนตม จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ขยะมูลฝอย สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ตามลักษณะทาง กายภาพ ไม่วา่ จะเปน็ ขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล ขยะท่วั ไป ขยะอนั ตรายทต่ี อ้ งระมดั ระวังถงึ อนั ตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นพิเศษ หากยังไม่มีการแยกมูลฝอยชนิดน้ีออกจากมลู ฝอยตามบ้านเรือนก็อาจจะ เกดิ การแพร่กระจาย และสะสมก่อใหเ้ กิดปัญหาสง่ิ แวดลอ้ มได้ 3. การจัดการขยะมลู ฝอยอยา่ งครบวงจร รูปแบบของการวางแผนจดั การขยะมลู ฝอยอย่างมีประสิทธภิ าพสงู สดุ สามารถลดปรมิ าณขยะ มูลฝอยที่จะต้องเข้าไปทำลายด้วยระบบต่างๆ ให้น้อยที่สุด สามารถนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ ทั้งในส่วนของการใชซ้ ้าํ และแปรรูปเพอ่ื ใช้ใหม่ (Reus and recycle) รวมถงึ การกำจดั ทไี่ ด้ผลพลอยได้ เช่น ปยุ๋ หมัก หรือพลังงาน โดยสรปุ วธิ กี ารดำเนนิ การตามแนวทางของกรมสง่ เสรมิ คุณภาพส่ิงแวดล้อม ดงั นค้ี ือ (สำนกั งานกองทุนสนบั สนนุ การสร้างเสรมิ สุขภาพ, 2552) 3.1 การลดปริมาณขยะมลู ฝอย (Reduce) สามารถทำได้โดย 3.1.1 พยายามลดปริมาณขยะมูลฝอยท่ีอาจเกิดข้นึ เช่น ใช้สนิ ค้าท่มี ีความคงทนถาวร และ มีอายุการใช้งานนาน หรอื เลอื กใชส้ ินคา้ ชนดิ เตมิ 3.1.2 ลดปรมิ าณวัสดุ เปน็ การพยายามเลอื กใช้สินค้าทบ่ี รรจภุ ัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่แทนบรรจุ ภัณฑท์ ม่ี ีขนาดเลก็ เพอื่ ลดปริมาณของบรรจุภณั ฑ์ทจี่ ะกลายเป็นขยะมูลฝอย 3.2 การนำมาใชซ้ ํ้า (Reuse) โดยการนำขยะมูลฝอย เศษวสั ดมุ าใช้ใหม่อกี หรอื เป็นการใช้ซ้ํา ใชแ้ ล้วใชอ้ กี ๆ เชน่ ขวดนา้ํ หวานนำมาบรรจุนาํ้ ดืม่ ขวดกาแฟทหี่ มดแล้วนำมาใสน่ ้าํ ตาล 3.3 การนำมาแกไ้ ข (Repair) โดยการนำวัสดุอุปกรณ์ท่ีชำรุดเสียหาย ซึ่งจะทิ้งเป็นมูลฝอยมา ซอ่ มแซมใชใ้ หม่ เชน่ เกา้ อ้ี 3.4 การแปรสภาพ และหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยการนำวัสดุมาผ่าน กระบวนการ เพื่อผลิตเป็นสินค้าใหม่ คือ การนำขยะมูลฝอยมาแปรรูปตามกระบวนการของแต่ละ ประเภท เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสภาพจากเดิมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น พลาสติก กระดาษ ขวด โลหะต่าง ๆ นำกลับมาหลอมใหม่

38 3.5 การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดมลพิษ (Reject) โดยการหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุ ที่ทำลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น โฟม ปฏิเสธการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก หลีกเลี่ยงการใชท้ ่ีผดิ วัตถปุ ระสงค์ พรรนภา สุรพันธ์พิทักษ์ (2540) ได้เสนอวิธีการควบคุมแก้ไขมลพิษจากขยะมูลฝอย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีในทุกขัน้ ตอนของการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งหลักสำคัญอยู่ทีก่ ารลดปรมิ าณ ขยะมูลฝอย จากแหล่งกำเนิดด้วยการประหยัด การนำกลับมาใช้ใหม่ การเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ หีบห่อ และการนำขยะจากแหล่งหนึ่งไปใช้เปน็ วัตถดุ ิบในอกี แหล่งหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามหลักการ 5 ข้อ (หรือ 5R) ท่ีพงึ ระลึกอยเู่ สมอกอ่ นท้งิ ขยะมลู ฝอย คอื R1-REUSE (การใช้ใหม่ใชซ้ ํ้า) เปน็ การนำขยะมลู ฝอยมาใช้ใหม่หรือใชซ้ ้ํา แลว้ ซาํ้ อีกหลาย ๆ ครงั้ เช่น นำขวดใส่กาแฟท่ีหมดแล้วมาใสน่ ํ้าตาล ใส่ทอ๊ ฟฟ่ี ฯลฯ R2-REPAIR (การซ่อมแซมใช้ใหม่) เป็นการนำวัสดุอุปกรณ์ทีช่ ำรุดเสียหาย ซึ่งจะทิ้งเป็นขยะ มูลฝอยมาซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานไดอ้ ีก เชน่ ซ่อมแซมวทิ ยุ ปะยางรถยนต์ท่ชี ำรุด เป็นต้น R3-RECYCLE (การแปรรปู กลับมาใช้ใหม่)เปน็ การนำขยะมูลฝอยมาแปรรปู หรอื เปล่ยี นแปลง สภาพจากเดิมแล้วนำกลบั มาใชใ้ หม่ เช่น นำแกว้ แตกมาหลอมผลติ เปน็ แกว้ หรอื กระจกใหม่ R4-REJECT (การหลกี เลีย่ ง) เป็นการหลกี เล่ียงการเพิ่มขยะมูลฝอย เช่น การหลีกเล่ียงการใช้ ถุงพลาสติกมาใช้ถุงผ้าแทน หรือหลีกเลี่ยงการใช้สารบางประเภทท่ีมีคุณสมบัติอันตรายต่าง ๆ ได้แก่ สารฆ่าแมลง สารปราบศัตรูพชื เปน็ ต้น R5-REDUCE (การลดปรมิ าณการใช้) เปน็ การลดปรมิ าณการใช้ท่ีฟุม่ เฟือยโดยมิไดย้ ้ังคิด เช่น การบรรจุหีบห่อโดยใช้บรรจุภัณฑ์หลายๆชิ้น หรือการใช้กระดาษหน้าเดียวแทนที่จะใช้กระดาษ 2 หนา้ เปน็ ต้น กรมควบคุมมลพิษ (2547) ไดก้ ำหนดแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร โดยเน้น รูปแบบของการวางแผนการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธภิ าพสงู สุด สามารถลดปริมาณขยะมูล ฝอยท่จี ะตอ้ งส่งเข้าไปทำลายด้วยระบบต่าง ๆ ให้นอ้ ยท่สี ุด สามารถนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ท้ัง ในสว่ นของการใช้ซาํ้ และการแปรรปู เพอื่ ใชใ้ หม่ (Reuse and recycle) รวมถงึ การกำจัดท่ไี ดผ้ ลพลอย ได้ เชน่ พลังงานหรือปุ๋ยหมัก โดยสรุปวิธกี ารดำเนนิ การตามแนวทาง ดงั นีค้ ือ 1. การลดปริมาณการผลิตขยะมูลฝอย (Reduce) รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลด การผลิตขยะมลู ฝอยในแตล่ ะวนั ได้แก่ 1.1 ลดการทิ้งบรรจุภัณฑ์โดยการใช้สินค้าชนิดเติมใหม่ เช่น ผงซักฟอก นํ้ายาทำความ สะอาด น้าํ ยาลา้ งจาน และถ่านไฟฉายชนดิ ชารต์ ใหม่ เป็นต้น 1.2 เลือกใช้สินค้าท่ีมีคณุ ภาพ มีห่อบรรจุภัณฑ์นอ้ ย อายุการใช้งานยาวนาน และตัวสินคา้ ไม่เปน็ มลพษิ 1.3 ลดการใช้วสั ดกุ ำจัดยาก เชน่ โฟมบรรจอุ าหาร และถุงพลาสติก

39 2. จดั ระบบการรไี ซเคิล หรอื การรวบรวมเพอื่ นำไปสูก่ ารแปรรูปเพ่อื ใชใ้ หม่ (Recycle) 2.1 รณรงค์ให้ประชาชนแยกของเสียกลับนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น กระดาษ และโลหะ นำไปใช้ซ้ำ หรือนำไปขาย/ รีไซเคิล ขยะเศษอาหารนำมาหมักทำปุ๋ย ในรูปปุ๋ยน้ํา หรือปุ๋ยหมักเพือ่ ใช้ ในชมุ ชน 2.2 จดั ระบบที่เอื้อต่อการทำขยะรีไซเคิล 2.2.1 จดั ภาชนะ (ถุง/ ถัง) แยกประเภทขยะมูลฝอยทชี่ ัดเจน และเป็นมาตรฐาน 2.2.2 จัดระบบบริการเก็บโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเอง โดยการ จดั เก็บ แบง่ เวลาการเกบ็ เช่น หากแยกเปน็ ถงุ 4 ถุง ขยะย่อยสลายได้ ขยะรีไซเคลิ ขยะอนั ตราย และ ขยะท่ัวไป ใหจ้ ดั เกบ็ ขยะย่อยสลาย และขยะทั่วไปทกุ วัน ส่วนขยะรไี ซเคิล และขยะอันตราย อาจเก็บ สัปดาห์ละครั้ง หรือตามความเหมาะสม จัดกลุ่มประชาชนที่มีอาชีพรับซื้อของเก่าให้ช่วยเก็บขยะ รีไซเคิลในรูปของการรับซ้อื โดยการแบง่ พื้นทีใ่ นการจดั เกบ็ และกำหนดเวลาใหเ้ หมาะสม ประสานงาน กับร้านค้าที่รับซื้อของเก่าที่มีอยู่ในพื้นท่ี หรือพื้นที่ใกล้เคียง ในการรับซื้อขยะรีไซเคิล จัดระบบตาม แหล่งการเกดิ ขยะขนาดใหญ่ เชน่ ตลาด โรงเรยี น สถานที่ราชการ ห้างสรรพสินคา้ เป็นต้น 2.2.3 จัดกลุ่มอาสาสมัคร หรือชมรม หรือนักเรียนให้มีกิจกรรม/ โครงการนำขยะ มลู ฝอยกลบั มาใช้ใหม่ เช่น 2.2.3.1 โครงการขยะรไี ซเคลิ แลกสิง่ ของ เชน่ ตน้ ไม้ ไข่ 2.2.3.2 โครงการทำป๋ยุ นา้ํ ปุ๋ยอีเอม็ ขยะหอม ปยุ๋ หมกั 2.2.3.3 โครงการตลาดนัดขยะรีไซเคลิ 2.2.3.4 โครงการธนาคารวัสดุเหลอื ใช้ 2.2.3.5 โครงการรา้ นคา้ สนิ คา้ รีไซเคิล 2.2.4 จัดตั้งศูนย์รีไซเคิล หากพื้นที่ที่มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในแต่ละวันเป็น ปริมาณมาก ๆ อาจจะมีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะมูลฝอย ซึ่งสามารถจะรองรับจากชุมชนใกล้เคียง หรอื รบั ซื้อจากประชาชนโดยตรงซง่ึ อาจจะให้เอกชนลงทนุ หรืออาจใหส้ ัมปทานเอกชนกไ็ ด้ 3. การขนสง่ 3.1 ระยะทางไม่ไกลให้รถขนสง่ ขยะมลู ฝอยไปยังสถานท่กี ำจัดโดยตรง 3.2 ระยะทางไกล และมีปริมาณขยะมลู ฝอยมากอาจจะต้องสร้างสถานีขนถ่ายเพื่อถ่ายเท จากรถเก็บขนขยะมูลฝอยลงสูร่ ถบรรทกุ ขนาดใหญ่ 4. ระบบกำจัด เนื่องจากขยะมูลฝอยใช้ประโยชน์ใหม่ได้ จึงควรจัดการเพื่อกำจัดทำลาย ให้น้อยที่สุด ควรเลือกระบบกำจัดแบบผสมผสาน เนื่องจากปัญหาขาดแคลนพื้นที่ จึงควรพิจารณา ปรับปรุงพืน้ ท่ีกำจัดมลู ฝอยทมี่ ีอยูเ่ ดมิ และพัฒนาใหเ้ ป็นศูนยก์ ำจดั ขยะมูลฝอย โดยมขี ้ันตอนดงั น้ี 4.1 จดั ระบบคัดแยกขยะมูลฝอย 4.2 ระบบกำจัดผสมผสานหลาย ๆ ระบบในพื้นท่ีเดยี วกัน ได้แก่ หมักทำปุ๋ย ฝังกลบ และ วธิ ีอืน่ ๆ เป็นตน้ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (2559) ได้เสนอแนวทางการจัดการขยะตามประเภทของ ขยะดงั น้ี