Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ตำบลคลองฉนวน เสร็จ

ตำบลคลองฉนวน เสร็จ

Published by duen09082540, 2021-11-26 15:00:23

Description: ตำบลคลองฉนวน เสร็จ

Search

Read the Text Version

หนังสือประวัติศาสตร์ ตำบลคลองฉนวน ตำ บ ล ค ล อ ง ฉ น ว น อำ เ ภ อ เ วี ย ง ส ร ะ จั ง ห วั ด สุ ร า ษ ฎ ร์ ธ า นี

คณะผู้จัดทำ วิศวกรสังคมตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อวิศวกรสังคมตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หมู่ที่ 1 บ้านยูงงาม ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดและที่ตั้ง ประมาณ 3,500ไร่ บ้านยูงงาม อยู่เป็นหมู่ที่ 1 ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ3,500ไร่ มีจำนวนครัวเรือน 172 หลังคาเรือน ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงสระ ระยะ ทาง 10 กิโลเมตร ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลเขานิพันธ์ ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งหลวง ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่ที่ 2 ตำบลคลองฉนวน ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลคลองฉนวน ลักษณะภูมิประเทศ สภาพโดยรวมส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำที่สำคัญ แม่น้ำสำคัญ -​มีหนองน้ำสาธารณะ จำนวน 2 แห่ง -​มีบ่อบาดาลจำนวน 3 แห่ง - ม​ีบ่อน้ำตื้นจำนวน 6 แห่ง - ร​ ะบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 3 แห่ง

ภูมิอากาศ สภาพอากาศโดยทั่วไปของตำบล เป็นแบบมรสุมมี 2 ฤดู คือ - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28–40 องศาเซลเซียส - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25–28 องศาเซลเซียส และมี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 400 มิลลิเมตร/ปี ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าชุมชน ทุ่งเสม็ด จำนวน 185 ไร่ การคมนาคม - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 (ถนนสายเอเชีย) - ทางหลวงชนบท สายบ้านยูงงาม - ควนสูง (กรมทางหลวงชนบท) - ทางหลวงชนบท สายบ้านยูงงาม - บ้านเขาปูน (กรมทางหลวงชนบท) - ถนนคอนกรีต 3 สาย ระยะทาง 2.070 กิโลเมตร (องค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ) - ถนนคอนกรีต 1 สาย ระยะทาง 600 เมตร (องค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน) - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซอยราษฎรบำรุง หมู่ที่ 1 ระยะทาง 460 เมตร (องค์การบริหารส่วนจัง หวัดฯ)

ประวัติชุมชน เมื่อครั้งก่อนหมู่บ้าน “บ้านยูงงาม” มีต้นยูงใหญ่ประมาณ 4 คนโอบ ขึ้นอยู่ใจกลางหมู่บ้านมี ความสวยงามและเป็นที่รู้จักของคนที่ผ่านไปมา แต่ด้วยภัยพิบัติทำให้ต้นยูง โค่นหักลงมาชาว บ้านในพื้นที่จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่าหมู่บ้าน บ้านยูงงาม โดยแต่เดิมแล้วหมู่บ้าน บ้านยูงงาม เป็น หมู่บ้านบ้านคลองฉนวน เมื่อมีการเปลี่ยนประกาศแยกอำเภอและแยกหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2505 ทำให้หมู่บ้านบ้านยูงงาม แยกตัวออกจากหมู่บ้านบ้านคลองฉนวนโดยมี ผู้ ใหญ่เนิ้น บุญนวล เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน โครงสร้างของชุมชน ด้านการปกครอง 1.นายเนิ้น บุญนวล ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 - 2518 2.นายจำนงค์ เกิดเกลื้อนดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 - 2544 3.นายวิศิษฐ์ คษสง่าดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - 2549 4. นายศักดิ์ชัย กุมพันธ์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน ด้านประชากร ชุมชนบ้านยูงงามมี ครัวเรือนทั้งหมด มีจำนวนครัวเรือน 172 หลังคาเรือน

ด้านการศึกษา โรงเรียนยูงงาม โรงเรียนบ้านยูงงามก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2517 โดยกำนันตำบลคลอง ฉนวน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 และราษฎรบ้านยูงงาม โดยมีนายเกษมสันตธรรม เป็นครูใหญ่คนแรก มี ที่ดินบริจาค จำนวน 6 ไร่ ต่อมาราษฎรร่วมกันจัดซื้อเพิ่มอีก 3 ไร่ รวมเป็นเนื้อที่ 9 ไร่ ทำการเปิดเรียนโดยขยายชั้นเรียนปีละหนึ่งชั้นเรียน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อมาขยายระดับก่อนประถมศึกษา เป็นชั้นอนุบาลปีที่ 1 และ 2 วิสัยทัศน์ พัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา พัฒนาครูคู่ชุมชน เปี่ยมล้นวัฒนธรรมไทย ใส่ใจ สุขภาพ พร้อมนำเทคโนโลยี สู่วิถีชีวิตแบบพอเพียง ผู้อำนวยการโรงเรียน : นางวิภารัตน์ ทรงแก้ว ระดับที่เปิดสอน :อนุบาล-ประถมศึกษา วัน-เดือน-ปี ก่อตั้ง : 20/05/2517 ครู/บุคลากรปัจจุบัน : จำนวน ชาย 2 คน หญิง 5คน รวมทั้งหมด 7 คน ข้อมูลสิ่งก่อสร้างภายในโรงเรียน -อาคารเรียนป.1ข ปีที่สร้าง 2521 -ส้วมสามัญปีที่สร้าง 2524 -ถังเก็บน้ำฝ.30 ปีที่สร้าง 2526 -อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงานสปช.202/26 ปีที่สร้าง 2528 -รั้วคอนกรีตปีที่สร้าง 2535 -สนามกีฬาปีที่สร้าง 2542 -ถนนคอนกรีต ปีที่สร้าง 2552 -ส้วม สปช.604/45 ปีที่สร้าง 2558

ด้านศาสนา ประชากรในชุมชนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 100% โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ ในชุมชนบ้านยูงงามมีการประกอบอาชีพ 3 อาชีพ ดังนี้ เกษตรกร ,ค้าขาย ,รับราชการ แยกเป็น % ได้ดังนี้ ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ความเชื่อ 1.หมอบ้าน 2.ดูฤกษ์ยาม ,ดวง 3.พระเคราะห์ 4. ครูหมอโนราห์ ประเพณี 1. ทอดผ้าป่าโรงเรียน/งานประจำปีโรงเรียน 2. ประเพณีทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่า 3. ต้อนรับปีใหม่ 4. ลงแขกเกี่ยวข้าว 5. ประเพณีสารทเดือน10 6. ประเพณีลอยกระทง 7. ประเพณีวันสงกรานต์ (รดน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่) 8. ประเพณีชักพระ 9. ประเพณีวันเข้า-ออกพรรษา/แห่เทียนพรรษา 10. ประเพณีทางศาสนาต่างๆ

พิธีกรรม 1.แห่ผ้าขึ้นธาตุ 2.พิธีไหว้เจ้าที่ 3.พิธีทำขวัญเด็ก 4.การโกนผมไฟ ปราชญ์ชาวบ้าน 1.ปราชญ์ชาวบ้าน หมอพื้นบ้าน ชื่อ นายบุญยืน วัตถุ อายุ 62 ปี วัน เดือน ปี 1 มีนาคม 2502 ที่อยู่ปัจจุบัน 33\\1 ม.1 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี เบอร์ติดต่อ 084-9579503 ประวัติของปราชญ์ชาวบ้าน บิดาชื่อ นายโชคชัย ศิริรัตน์ มารดาชื่อ นางพะยอม ช่วยบุญชู สถานะ หม้าย มีบุตร จำนวน 3 คน อาชีพ เกษตรกร การศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมอพื้นบ้าน หมอโบราณ วิธีการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบทอด บรรพบุรุษ กิจกรรมช่วยเหลือสังคมเป็นจิตอาสา ช่วยเหลือสังคมงานชุมชน หมู่บ้านในตำบล

2.ปราชญ์ชาวบ้าน หมอดู ชื่อ นางวิศิษฐ์ มีพริ้ง อายุ 77 ปี วัน เดือน ปี 1 มกราคม 2487 ที่อยู่ปัจจุบัน 55 ม.1 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี เบอร์ติดต่อ 082-8039218 ประวัติของปราชญ์ชาวบ้าน บิดาชื่อ นายสร้วง ประเสริฐ มารดาชื่อ นางปราย ประเสริฐ สถานะ หม้าย มีบุตร จำนวน 4 คน อาชีพ หมอดู การศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมอดูยาม ดูดวงชะตา วิธีการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบทอด บรรพบุรุษ กิจกรรมช่วยเหลือสังคมเป็นจิตอาสา ช่วยเหลือสังคมงานชุมชน หมู่บ้านในตำบล ชื่อ นางปราณี ทิพย์ทอง อายุ 54 ปี วัน เดือน ปี 3 มีนาคม 2510 ที่อยู่ปัจจุบัน 21\\2 ม.1 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี เบอร์ติดต่อ 084-9579503 ประวัติของปราชญ์ชาวบ้าน บิดาชื่อ นายโชคชัย ศิริรัตน์ มารดาชื่อ นางพะยอม ช่วยบุญชู สถานะ สมรส มีบุตร จำนวน 3 คน อาชีพ เกษตรกร การศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ภูมิปัญญาท้องถิ่น งานศิลปะประดิษฐ์

สถานที่สำคัญ 1. ป่าสงวนเลี้ยงสัตว์ (มีโครงการสร้างคุมขังนักโทษแต่ยังไม่ดำเนินการ) 2. โรงเรียนบ้านยูงงาม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนบ้านยูงงามมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อย่างมาก นั่นก็คือ มีความความต้องการทางด้านวัตถุ การยอมรับประเพณีและวัฒนธรรมใหม่ๆ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการพัฒนาของภาครัฐ เศรษฐกิจ และความเจริญด้านเทคโนโลยีจาก ภายนอกเข้ามามากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ศักยภาพ ของชุมชนที่ดีขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงบางกรณีนำไปสู่ปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด เป็นต้น

หมู่ที่ 2 บ้านคลองฉนวน ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดและที่ตั้ง ประมาณ 985 ไร่ บ้านคลองฉนวน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านคลองฉนวน เดิมจัดตั้งติดอยู่ในเขตปกครองตำบลทุ่งหลวงอำเภอนาสาร ทิศเหนือจดจากบ้านยูงงาม ติดเขตหมู่ที่ 1 ทิศใต้จดจากบ้านควนสูง หมู่ที่3 ทิศตะวันตกจากบ้านขุนไสรงค์ ติดเขตหมู่ที่ 11 ทิศตะวันออกจดจากบ้านต้นแค เขตพื้นที่ติดส่วนของหมู่ที่ 9 ตำบลคลองฉนวนอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเวียงสระห่างจากตัวที่ว่าการอำเภอ 18กิโลเมตร มี 12 หมู่บ้าน สภาพทั่วไปเป็นที่ราบ มีเนื้อที่ 90 ตารางกิโลเมตร และได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน อพฟ. เมื่อวันที่15 ตุลาคม 2526 ลักษณะภูมิประเทศ มีอาณาเขตกว้างไกล พื้นที่เป็นที่ราบสูงมีภูเขาหลายแห่ง มีเนื้อที่ 90 ตารางกิโลเมตร แม่น้ำสำคัญ - ลำน้ำคลอง 1 แห่ง - บ่อน้ำสาธารณะ จำนวน 1 แห่ง - บ่อบาดาลสาธารณะ จำนวน 2 แห่ง - ระบบน้ำประปาหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง

ภูมิอากาศ สภาพอากาศโดยทั่วไปของตำบล เป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดู คือ - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28–40 องศาเซลเซียส - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25–28 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 400 มิลลิเมตร/ปี ทรัพยากรธรรมชาติ บ้านคลองฉนวน มีแหล่งน้ำสำคัญ คือ ลำคลองฉนวน และบ่อบาดารสาธารณะ แหล่งน้ำนี้ถือ เป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการเพาะปลูก และทำเกษตรของชาวบ้าน การคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล ราษฎรส่วนใหญ่จะใช้รถยนต์ส่วนตัว รถจักรยานยนต์ และรถ ประจำทาง มีทางหลวงแผ่นดินสายเอเชีย (สาย41) ผ่านตัวตำบล มีถนนเชื่อมโยงไปทุกหมู่บ้าน ประวัติความเป็นมาของชุมชนชุมชน บ้านคลองฉนวน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบล คลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านคลองฉนวน เดิมจัดตั้งติดอยู่ในเขตปกครองตำบลทุ่งหลวงอำเภอนาสารต่อมาราชการ ได้จัดตั้งอำเภอเวียงสระ ผนวกเอาตำบลทุ่งหลวงมาอยู่ในเขตการปกครอง เมื่อประชาชนมา อาศัยอยู่มากขึ้นจึงได้แยกตำบลเพิ่มเป็นตำบลคลองฉนวน

โครงสร้างของชุมชน - ด้านการปกครอง 1.นายเกรียงศักดิ์ สันติธรรม ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน 2.นายสำเริง ทองศรี ตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 3 นายสมคิด ทองถึง ตำแหน่งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 4.นายอภิสิทธิ์ ส้มเกลี้ยง ตำแหน่งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล - ด้านประชากร จำนวนหลังคาเรือน 189 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 786 คน และ ประชากรชาย 395 คน ประชากรหญิง 391 คน

- ด้านการศึกษา ตำบลคลองฉนวนมีโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 1 แห่ง คือโรงเรียนคลองฉนวน ข้อมูลทางด้านการศึกษาของคนในชุมชนมีดังนี้ ไม่ได้เรียนหนังสือ จำนวน 6 คน ประถมศึกษา จำนวน 14 คน มัธยมศึกษา จำนวน 31 คน อนุปริญญา จำนวน 13 คน ปริญญาตรี จำนวน 39 คน สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน - คน -ด้านศาสนา ตำบลคลองฉนวนมีวัดประจำตำบล 1 แห่ง คือวัดคลองฉนวน ประชากรในชุมชนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 100% โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ ในบ้านคลองฉนวนมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายอาชีพดังนี้ -เกษตรกร -ข้าราชการ -พนักงานบริษัท -ค้าขาย -รับจ้าง

ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ในเขตหมู่ที่ 2 ตำบลคลองฉนวน จะเป็นประเพณีของคนในพื้นที่ เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่และที่ สำคัญจะมีการทำบุญศาลาหมู่บ้าน จะมีการอาบน้ำพ่อท่านพร้อม สงฆ์น้ำพ่อท่านพร้อม ซึ่งพ่อ ท่านพร้อมเป็น ผู้บุกเบิกวัดคลองฉนวน ซึ่งการจัดงานจัดจัดในช่วงวนั ที่ 5-12เมษายน ของทุกๆ ปีและในเดือนกรกฎาคมจะมีการแห่เทียนพรรษา ณ วัดคลองฉนวน ปราชญ์ชาวบ้าน 1.นายจวน บานเย็น มีความรู้เรื่อง การจัดสาน 2.นายเยือน บานเย็น มีความรู้เรื่อง เย็บปักถักร้อย 3.นายยุทธ อินทฉิม มีความรู้เรื่อง จักรสาน 4.นางบานเย็น เพชระ มีความรู้เรื่อง การทำอาหาร 5.นายเกษต สันตธรรม มีความรู้ด้าน ศาสนพิธีทางศาสนา 6.นายชม ทองถึง มีความรู้ด้าน พิธีทางศาสนา 7.นางกาญจน ชัยภักดี มีความรู้ด้าน ทำดอกไม้เกล็ดปลา 8.นางผ่องศรี ด้วงชุม มีความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง 9.นางพรวิวาท์ ทองถึง มีความรู้ด้านช่างเย็บผ้า 10.นายวันชัย ด้วงชุม มีความรู้ด้าน ช่างยนต์ 11.นางสาวเสาวรันต์ จินา มีความรู้ด้านทำหมอนแกะสลัก 12.นายนกุล ทรัพย์เจริญ มีความรู้ด้านช่างไม้ 13.นายปริญญา ชัยภักดี มีความรู้ด้าน ช่างไฟฟ้า สถานที่สำคัญ 1. โรงเรียนคลองฉนวน 2. วัดคลองฉนวน 3. อนามัยคลองฉนวน

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนบ้านคลองฉนวนมีการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างมาก เนื่องจากประชากรในหมู่บ้านมีความรู้ความสามารถ มี ความพร้อมที่จะพัฒนาหมู่บ้านคลองฉนวนให้ดีขึ้น อีกทั้งความเจริญด้านเทคโนโลยีจาก ภายนอกเข้ามามากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ ศักยภาพของชุมชนที่ดีขึ้น ในส่วนทางด้านประเพณีและวัฒนธรรมนั้นเนื่องจากในหมู่บ้าน คลองฉนวนมีวัดประจำหมู่บ้านอยู่ทำให้ชาวบ้านเข้าถึงวัฒนธรรมและประเพณีอย่างทั่วถึง มี การยอมรับประเพณีและวัฒนธรรมใหม่ๆ และมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการพัฒนาของภาครัฐ เศรษฐกิจ ไปในทางที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามทางหมู่บ้านคลองฉนวนก็ยังมีปัญหาทางสังคม อยู่ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาภายในครอบครัวของชาวบ้าน และปัญหาในด้านของการ ศึกษา เป็นต้น

หมู่ที่ 3 บ้านควนสูง ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อาณาเขต บ้านควนสูง หมู่ที่ 3 ตั้งอยู่ในตําบลคลองฉนวน อําเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่าง จากอําเภอเวียงสระ ไปทางทิศใต้ ประมาณ 13 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปทาง ทิศใต้ ประมาณ 80 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ คลองลําพลา ทิศใต้ ติดต่อกับ ตําบลดุสิต อําเภอถ้ําพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช และหมู่ที่ 6 ตําบลคลองฉนวน ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 10 ตําบลคลองฉนวน ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 7 ตําบลคลองฉนวน ลักษณะภูมิประเทศ บ้านควนสูงเป็นที่ราบลุ่มสลับดินดอน มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ พื้นที่เหมาะสำหรับ ทำการเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน แม่น้ำสำคัญ 1. คลองลำพลา

ภูมิอากาศ อำเภอเวียงสระเป็นที่ราบมีลมมรสุมพัดผ่าน จึงมีฝนตกชุกตลอดปี ฤดูกาลจะมีเพียง 2 ฤดู คือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่ม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม บางปีอาจถึงเดือนมกราคม โดยทั่วไปในฤดูร้อน อากาศไม่ร้อนเนื่องจากมีสวนผลไม้ สวนยางพารา ฤดูฝนจะมีฝนตกในปริมาณที่มากกว่า พื้นที่ทั่วไป ช่วงกลางคืนอากาศจะเย็นชื้น ทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชนบ้านควนสูง ได้มีการจัดตั้งพื้นแหล่งธรรมชาติสำคัญในชุมชน เพื่อป้องกันการ เสื่อมโทรมและการถูกทำลายของพื้นที่ โดยจัดตั้งให้หานพือและคลองลำพลา เป็นแหล่ง อนุรักษ์ภายในชุมชน การคมนาคม การเดินทางเข้าหมู่บ้าน ราษฎรส่วนใหญ่จะใช้รถยนต์ส่วนตัว รถจักรยานยนต์ และรถ ประจำทาง โดยใช้เส้นทางสายหลักดังนี้ - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 (ถนนสายเอเชีย) - ทางหลวงชนบท สายบ้านยูงงาม – ควนสูง - ทางหลวงชนบท สายควนสูง - บอดใต้ ระยะทาง 3,000 กิโลเมตร

ประวัติชุมชน บ้านควนสูง หมู่ที่ 3 ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อตั้ง หมู่บ้านเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2490 จากคำบอกเล่าของคุณพ่อน้าว เกิดเลื่อน อายุ 101 ปี ท่าน กล่าวว่าก่อนหน้านั้นผู้คนมีการสัญจรไปมาโดยทางเรือแม่น้ำตาปี คนจำนวนมากล่องเรือ และแจวเข้ามาทางบ้านปากฉนวน ขึ้นตรงมาคลอง ฉนวนปัจจุบัน มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านคลอง ฉนวน หมู่ที่ 2 ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพื้นที่ถูกกั้นด้วยลําคลองฉนวน ต่อมาเมื่อประชากรเพิ่มมาก ขึ้นจึงต้องมีการขยับขยายออกมาทำมาหากิน การถางป่า ปลูกข้าวนา ทำไร่ เมื่อ ประชากร เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการแบ่งเขตการปกครองหมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือผู้ใหญ่ประ ทิศ ณ นคร ปกครองเป็นบ้านควรสูง หมู่ที่ 3 ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี จากในอดีตจนถึง ปัจจุบันมีผู้ใหญ่บ้านทั้งหมด 7 คน ดังนี้ 1. ผู้ใหญ่ประทศ ณ นคร 2. ผู้ใหญ่แสง ทองศรี 3. ผู้ใหญ่จันทร์ ทองจิตร 4. ผู้ใหญ่ผ้าง สําลีพันธ์ 5. ผู้ใหญ่สถิต อานนท์ 6. ผู้ใหญ่อรุณ เกลี้ยงกอบ 7. ผู้ใหญ่วีรศักดิ์ สิกขไชย

ยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์หรือการทำให้ความฝันชัด (Define) พัฒนาคน พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสิ่งแวดแล้ว กลยุทธ์ 1. พัฒนาแหล่งน้ำสาธารณะในหมู่บ้าน 2. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรในหมู่บ้าน โครงสร้างของชุมชน ด้านการปกครอง บ้านควนสูง มีการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านนำ โดย นายวีรศักดิ์ ลิกขไชย ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นต้น บ้านควนสูง มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การ ปกครองตามข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2526 มี คณะกรรมการและกลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน ที่มีความเข้มแข็งเนื่องจากผู้นำชุมชน ประชาชนใน หมู่บ้านมีความสามัคคีมีส่วนร่วมในการจัดเวทีประชาคม เพื่อปรึกษาหารือในด้านต่างๆ ทำให้หมู่บ้านและองค์กรต่างๆสามารถพัฒนาให้เข้มแข็งเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงได้ ด้านประชากร ชุมชนบ้านควนสูง มีจำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 1,411 คน ด้านการศึกษา ภายในชุมชนบ้านควนสูงไม่มีสถานศึกษา เด็กภายในชุมชนต้องออกไปเรียนหนังสือนอก พื้นที่ และมีเด็กบางส่วนไม่ได้รับการศึกษา เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียนและสถานที่ศึกษาอยู่ ไกลจากพื้นที่ ด้านศาสนา ชาวบ้านควนสูงทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ ชาวบ้านจะไปทำบุญหรือประกอบกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญทางศาสนาที่วัดสามัคคีธรรมราม

โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม น้ำมัน รับจ้างทั่วไป ค้าขาย และเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ความเชื่อ 1. หมอบ้าน 2. ดูฤกษ์ยาม ,ดวง 3. พระเคราะห์ ประเพณี 1. ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ 2. ประเพณีวันสงกรานต์ (รดน้ำพระ ,รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่) 3. ประเพณีสารทเดือน10 4. ประเพณีวันเข้า-ออกพรรษา/แห่เทียนพรรษา 5. ประเพณีลอยกระทง พิธีกรรม 1.พิธีไหว้เจ้าที่ 2.พิธีทำขวัญเด็ก 3.การโกนผมไฟ สถานที่สำคัญ 1. วัดธรรมสามัคคีราม 2. คลองลำพลา 3. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน 4. แหล่งเรียนรู้ชุมชน

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนบ้านควนสูงมีการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม คือ มีความความต้องการทางด้านวัตถุ การยอมรับประเพณีและวัฒนธรรมใหม่ๆ วิถี ชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการพัฒนาของภาครัฐ เศรษฐกิจ และความเจริญด้านเทคโนโลยีจาก ภายนอกเข้ามามากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีการพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ ของชุมชน ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

หมู่ที่ 4 บ้านคลองกา ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดและที่ตั้ง ทิศเหนือจรด หมู่ที่ 4 บ้านเขาปูน ทิศใต้จรด ตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจรด ตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันตกจรด หมู่ที่ 5 บ้านปากกา ตำบลคลองฉนวน บ้านคลองกาเป็นหมู่บ้านหนึ่งใน 12 หมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกขององค์การบริหารส่วน ตำบลคลองฉนวน และอยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน โดยทางรถยนต์ เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ มีลักษณะเป็นที่ราบ (หรือที่ราบ/แอ่ง/ที่รามเชิงเขา) เหมาะแก่การทำนาและทุ่ง เลี้ยงสัตว์ แม่น้ำสำคัญ - คลองกา - หนองจูด ภูมิอากาศ สภาพอากาศโดยทั่วไปของตำบล เป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดูคือ -ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28–40 องศาเซลเซียส -ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25–28 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 400 มิลลิเมตร/ปี

ทรัพยากรธรรมชาติ บ้านคลองกา มีคลองกาและหนองจูดไหลผ่านบริเวณหมู่บ้าน ซึ่งถือเป็นแหล่งทรัพยากร ธรรมชาติที่สำคัญของหมู่บ้านที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ชาวบ้านจึงช่วย กันอนุรักษ์โดยร่วมกันรณรงค์ไม่ให้ทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง และห้ามตัดต้นไม้บริเวณนั้น การคมนาคม - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 (ถนนสายเอเชีย) - ทางหลวงชนบท สายคลองกา - ถนนสายปากกา พรุแชง (กรมทางหลวงชนบท) - ทางหลวงชนบท สายบ้านยูงงาม - บ้านเขาปูน (กรมทางหลวงชนบท) - ถนนลาดยางสายโรงเรียนบ้านคลองกา - เขาปูน หมู่ที่ 4 (องค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ) ประวัติชุมชน ที่ตั้งหมู่ที่ 4 เดิมเป็นหมู่ 10ตำบลทุ่งหลวง อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้ แยกออกมาเป็น หมู่ 4บ้านคลองกา ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ ปี พ.ศ.2497โดยมีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายไข่ สุขแก้ว เป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน โดยตั้งชื่อว่าหมู่บ้านคลอง กา จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ชื่อหมู่บ้านคลองกา มาจาก นายไข่ สุขแก้ว เป็นผู้ตั้ง โดยได้ พบเห็นฝูงกาเป็นจำนวนมากมาลงเล่นน้ำหรือกินน้ำบริเวณทุ่งนาที่มีคลองและเวลาช่วงค่ำจะมี ฝูงกามานอนบริเวณทางเดิน โครงสร้างของชุมชน ด้านการปกครอง ทำเนียบผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 1. นายไข่ สุขแก้ว เริ่ม พ.ศ.2497 2. นายชม สุขแก้ว 3. นายสุวรรณ ริยาพันธ์ เริ่ม พ.ศ.2515 - พ.ศ.2540 4. นายวันชัย ยะโสธ์ เริ่ม พ.ศ.2541 - พ.ศ.2562 5. นายวิชาญ สุขแก้ว เริ่ม30ธันวาคม 2563 – ปัจจุบัน

ด้านการศึกษา ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนคลองกา ประวัติความเป็นมา โรงเรียนบ้านคลองกาตั้งเมื่อ 14มิถุนายน พ.ศ.2505โรงเรียนนี้ราษฎรในหมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้พร้อมใจกันสร้างโรงเรียนขึ้น 1 หลัง มุงด้วยสังกะสี โดยนายจางกามณีและนายสมปอง ยะโสธ์ มอบที่ดินให้คนละ 6 ไร่ รวมเป็นเนื้อที่ 12 ไร่ ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 13 เมตร ในที่ดินซึ่งสงวนไว้เป็นสมบัติของโรงเรียน พร้อมด้วย อุปกรณ์ต่างๆ ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,500บาท แรกเปิดทำการสอนเป็นโรงเรียนแบบประชาชน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 เป็นผู้อุปการะและนายเกริก บุญพวง ได้ขออนุญาตเปิดทำการสอน โดยให้ชื่อ โรงเรียนนี้ว่า “โรงเรียนบ้านคลองกา” (สามัคคีก่อสร้าง) เปิดสอนจากชั้น ป.1-4เมื่อวันที่ 14มิถุนายน พ.ศ.2505 จัดตั้ง มีครู 3 คน คือ นายเปลี่ยน เพชรช่วย นายอุดม สวนกูล และ นางสาวหนูเด็ด ขวัญใน ในการเปิดโรงเรียนนี้ ได้นิมนต์พระและได้เชิญนายทั่ววิทยปรีชากุล เจ้าหน้าที่แผนก ศึกษาธิการอำเภอพร้อมด้วย นายเกษม สันตธรรม ประธานกลุ่มคลองฉนวน และนายบัตร ทอง ศรี ครูโรงเรียนวัดคลองฉนวน นอกจากนี้มีผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ผู้ปกครองนักเรียนได้มาร่วมเป็น จำนวนมาก เมื่อทำพิธีเปิดป้ายเรียบร้อยแล้ว นายทั่ว ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาและ การดำเนินการของโรงเรียนพอสมควร ต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2506โรงเรียนนี้ก็ได้เปิดเป็นโรงเรียนประชาบาล นายนิกร แก้วเจริญ ครูโรงเรียนบ้านควนสูง มาเปิดรับเด็กเข้าเรียนในปีนี้ จนทางราชการได้ บรรจุ นายทวี ขุนสิทธิ์ มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2506นายนิกร แก้วเจริญ มอบหมายงานแล้วกลับไปทำการสอนโรงเรียนเดิม ในปีการศึกษาต่อมา นายทวี ขุนสิทธิ์ ย้ายไป ทำการสอนโรงเรียนบ้านไทรห้อง และได้บรรจุ นายอนงค์ นาคเดช มาเมื่อ 18พฤษภาคม พ.ศ.2507และนายอภิรมย์ สมศิลป์ มาเมื่อวันที่ 2มิถุนายน พ.ศ.2507ซึ่งทั้งสองคนทำการสอน อยู่เป็นปกติทุกวัน

- สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 - มีเขตพื้นที่บริการ 1 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4 ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี - ชื่อ-สกุล ผู้บริหารสถานศึกษาปัจจุบัน : นางสาวขวัญชนกเต็มเปี่ยม - ระดับที่เปิดสอน : เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 - ระบบโครงสร้างการบริหาร : โรงเรียนแบ่งโครงสร้างงานภายในสถานศึกษา ถือตาม ระเบียบคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ ภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2548โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มบริหารงานวิชาการ 2.กลุ่มแผนงานและงบประมาณ 3.กลุ่มบริการงานบุคคล 4.กลุ่มบริการงานทั่วไป - คำขวัญโรงเรียน : คุณธรรมดี วิชาการเด่น เน้นกีฬา รู้ค่าสิ่งแวดล้อม ก้าวพร้อมชุมชน - วิสัยทัศน์/ปรัชญา : โรงเรียนบ้านคลองกา จัดการศึกษาเน้นคุณธรรม บูรณาการ เศรษฐกิจพอเพียง สู่การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษา - พันธกิจ/เป้าประสงค์ 1.คุณธรรมนำความรู้คู่เศรษฐกิจพอเพียง 2.ส่งเสริมการพัฒนาครูเพื่อพัฒนาผู้เรียน 3.ส่งเสริมการบริหารจามมาตรฐานการศึกษา 4.มวลชนสัมพันธ์

- ข้อมูลครู/บุคลากรโรงเรียนบ้านคลองกา : จำนวนชาย 1 คน หญิง 6 คน รวมทั้งหมด 7 คน ชื่อ-สกุล นางสาวขวัญชนก เต็มเปี่ยม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน ชื่อ-สกุล นางเพียงโสม สมบัติ ตำแหน่ง ครู ชื่อ-สกุล นางสาวนินาวดี ดอเล๊าะ ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย

ชื่อ-สกุล นางพัชรินทร์ กาญจนะ ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย (ช่วยราชการ) ชื่อ-สกุล นายประจวบ ศรีภิลา ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ชื่อ-สกุล นางสาวสุกัญญา ไชยชาญ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการ ชื่อ-สกุล นางสาวณัฐณิชา สิทธิรักษ์ ตำแหน่ง ครู(อัตราจ้าง)

ด้านศาสนา ประชากรในชุมชนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 100% โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ ในชุมบ้านยอมงามมีการประกอบอาชีพ 3 อาชีพ ดังนี้ เกษตรกร ,ค้าขาย ,รับราชการ แยกเป็น % ได้ดังนี้ ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม วัฒนธรรม/ประเพณี - ประเพณีสงกรานต์ - ประเพณีลอยกระทง - ประเพณีการทำบุญตักบาตร เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา - ประเพณีสารทเดือนสิบ - ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ - ประเพณีการเข้าโรงครู ชาวบ้านที่นับถือเชื้อสายทางมโนราห์ ปราชญ์ชาวบ้าน - นางเผื่อน สุขแก้ว สานกระด้ง - นายเสริม อินทกูล เกี่ยวกับสมุนไพร - นายเวียน แก้วทุ่ง กลอนมโนราห์

สถานที่สำคัญ - คลองกา - หนองจูด การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนบ้านคลองกามีการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมอย่างมาก การยอมรับประเพณี วัฒนธรรมใหม่ๆและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มีผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นและการมีส่วนร่วม ของคนในชุมชนนั้นก็ยังเป็นบ่อเกิดของความสามัคคีภายในชุมชนให้ชุมชนเข้มแข็งห่างไกลจาก ยาเสพติดต่างๆ

หมู่ที่ 5 บ้านปากกา ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดและที่ตั้ง ทิศเหนือ จรด ม.9 ต.คลองฉนวน ระยะทางห่างจากอำเภอโดยรถยนต์ 15 กม. ทิศใต้ จรด ม.7 ต.ดุสิด อ.ถ้ำพรรณรา ทิศตะวันออก จรด ม.4 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ ทิศตะวันตก จรด ม.10 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ มีลักษณะเป็นที่ราบ (หรือที่ราบ/แอ่ง/ที่รามเชิงเขา) ลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียง เหนือ มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้ อาณาเขตของหมู่บ้าน ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 9 ต.คลองฉนวน ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 7 ต.ดุสิต อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ต.คลองฉนวน ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 10 ต.คลองฉนวน แม่น้ำสำคัญ - แม่น้ำตาปี ภูมิอากาศ สภาพอากาศโดยทั่วไปของตำบล เป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดูคือ -ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28–40 องศาเซลเซียส -ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25–28 องศาเซลเซียส และมี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 400 มิลลิเมตร/ปี

ทรัพยากรธรรมชาติ มีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน มีบ่อน้ำตื้น 10 แห่ง และมีคลอง 2 แห่ง และมี่ป่าไม้ธรรมชาติ การคมนาคม - ถนนลาดยาง 2 เส้น ระยะทาง 4 กิโลเมตร - ถนนลูกรัง 3 เส้น ระยะทาง 3 กิโลเมตร - ถนนคอนกรีต 4 เส้น ระยะทาง 4 กิโลเมตร - ห่างจากอำเภอ 16 กิโลเมตรห่างจากเทศบาล/อตต. 2 กิโลเมตร - ทางหลวงชนบท สายปากกา - พรุแชง (กรมโยธาธิการ) - ทางหลวงชนบท สายปากกา - แม่น้ำตาปี (กรมโยธาธิการ) ประวัติชุมชน บ้านปากกา เดิมแยกมาจากหมู่ที่ 4 ต.คลองฉนวน โดยมีลำน้ำคลองฉนวน ไหลผ่าน หมู่บ้าน ซึ่งลำคลองนี้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีปลาและสัตว์น้ำอาศัยอยู่จำนวนมาก เป็นที่หากินของ คนและสัตว์ สัตว์ดังกล่าวที่มาหากินบริเวณนี้ คือ “กา” มีการจำนวนมากที่มากินปลากินหอย ในแม่น้ำตรงนี้ เมื่อมีประชาชนมาอาศัยอยู่จำนวนมาก จนเป็นหมู่บ้าน จึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านนี้ ว่า “บ้านปากกา” โครงสร้างของชุมชน ด้านการปกครอง ทำเนียบผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 1. นายเติม ชูรักษ์ 2.นายนิยม สุขแก้ว 3.นายไพฑูรย์ ยะโส 4.นายไพศักดิ์ ศรีเทพ 5.นางกานต์รวี กรดมาก ปัจจุบัน

ด้านประชากร จำนวนครัวเรือน จำนวน 207 ครัวเรือน ประชากรชาย จำนวน 340 คน ประชากรหญิง จำนวน 360 คน ประชากร รวม จำนวน 700 คน ผูส้ ูงอายุ จำนวน 94 คน ผู้พิการ จำนวน 19 คน ด้านการศึกษา จำนวน - คน ไม่ได้เรียนหนงั สือ จำนวน 45 คน ประถมศึกษา จำนวน 19 คน มัธยมศึกษา จำนวน 10 คน อนุปริญญา จำนวน 18 คน ปริญญาตรี จำนวน - คน สูงกว่าปริญญาตรี ด้านศาสนา ประชากรในชุมชนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 90% ประชากรในชุมชนนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 10% โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ ภาคการเกษตร ทำนา จำนวน - คน /12 คน ทำไร่ จำนวน 124 คน - คน ทำสวน จำนวน /4 คน ประมง จำนวน ปศุสัตว์ จำนวน

ภาคนอกการเกษตร ข้าราชการ จำนวน 5 คน พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 9 คน พนักงานบริษัท จำนวน 28 คน รับจ้างทั่วไป จำนวน 76 คน ค้าขาย จำนวน 23 คน ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 95 คน กำลังศึกษา จำนวน 32 คน ไม่มีอาชีพ จำนวน - คน สรุป ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม จำนวน /296 คน อัตราจ้างแรงงานในหมู่บ้าน วันละ 200 บาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 10,500 บาท/คน/ปี ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม เดือน ธันวาคม - มกราคม ประเพณีทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เดือน เมษายน ประเพณีวันสงกรานต์ เดือน มิถุนายน ประเพณีวันเข้าพรรษา/แห่เทียนพรรษา เดือน กันยายน ประเพณีวันออกพรรษา เดือน กันยายน ประเพณีเดือนสิบ เดือน ตุลาคม ประเพณีชักพระ

ปราชญ์ชาวบ้าน 1.นายเกษม จงจิตร 3 งานเหล็ก มีด พร้า 2.นายวิจารณ์ ชูขันธ์ 12 งานช่าง/ยาสมุนไพร 3.นายมนูญ ขวัญชุม 61 การเกษตร 4.นายเทิ่ม พลพา 46 ดนตรีไทย กลองยาว 5.นายเริ่ม ซ้ายพิพันธ์ 49 จักสาน 6.นางดวง ชัยยัง 47/1 พิธีกรรมทางศาสนา 7.นางอารีย์ ทิพย์ดี พิธีกรรมทางศาสนา สถานที่สำคัญ - โรงเรียนบ้านปากกา การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนบ้านปากกา มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อย่างมาก การยอมรับประเพณีวัฒนธรรมใหม่ๆและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การสื่อสาร หรืออินเตอร์เน็ตหรือสื่อออนไลน์ต่างๆ จะทำให้ชาวบ้านศึกษาเกี่ยวกับการทำ อาชีพการพัฒนาอาชีพ ซึ่งจะได้นำมาเปลี่ยนแปลงในการทำอาชีพของชาวบ้านและซึ่งจะเกิด การเปลี่ยนแปลงพัฒนาในการทำอาชีพของชาวบ้านให้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกในชุมชน สามารถพัฒนาและต่อยอดอาชีพได้

หมู่ที่ 6 บ้านปากหาน ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดและที่ตั้ง ทิศเหนือติด ม.3 ตำบลคลองฉนวน ทิศใต้ติด ม.11 ตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกติด ม.3 ตำบลคลองฉนวน ทิศตะวันตกติด แม่น้ำตาปี อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ แม่น้ำสำคัญ - แม่น้ำตาปี ภูมิอากาศ สภาพอากาศโดยทั่วไปของตำบล เป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดูคือ -ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28–40 องศาเซลเซียส -ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25–28 องศาเซลเซียส และมี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 400 มิลลิเมตร/ปี ทรัพยากรธรรมชาติ มีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน ลำห้วยคลองเล เกิดจากหนองกก มีหาน 6 แห่ง ได้แก่ หานทุ่งคา หาน สำลี หานห้วยหาด หานน้ำใส หานตึก และ หานน้ำเกลี้ยง มีพันธ์สัตว์น้ำชุกชุมให้ราษฎรหา เลี้ยงชีพตลอดมา

การคมนาคม - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 (ถนนสายเอเชีย) - ทางหลวงชนบท สายบ้านยูงงาม - บ้านปากหาน - ทางหลวงชนบท สายบ้านยูงงาม - บ้านควนสูง ประวัติชุมชน มีราษฎรเริ่มอพยพเข้ามาอยู่อาศัย และทำมาหากินประมาณปี พ.ศ.2492 โดยล่องเรือมา ตามแม่น้ำตาปีและมาขึ้นเรือตรงท่าเรือปากหาน ต่อมาเรียกหมู่บ้านว่าบ้านปากหาน ราษฎร ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ อพยพมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช 30 เปอร์เซ็นต์เป็นราษฎร ภายในพื้นที่เวียงสระเดิม โดยแยกการปกครองมาจาก หมู่ที่ 3 ตำบลคลองฉนวน โดยมีผู้ใหญ่ บ้านคนแรกชื่อ นายชม เพ็งรัตนา เกษียณอายุราชการปี 2517 ผู้ใหญ่บ้านคนต่อมาชื่อ นายสม นึก ซังทอง เกษียณอายุราชการปี 2539 และผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน นายสนิท มณีอ่อน เลือกตั้ง เมื่อ 10 เมษายน 2539 และเป็นผู้ใหญ่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน โครงสร้างของชุมชน ด้านการปกครอง ทำเนียบผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 1. นายชม เพ็งรัตนา เกษียณอายุราชการปี พ.ศ. 2517 2. นายสมนึก ซังทอง เกษียณอายุราชการปี พ.ศ. 2539 3. นายสนิท มณีอ่อน เลือกตั้งเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2539 และดำรงตำแหน่งมาจนถึง ปัจจุบัน ด้านประชากร หมู่ที่ 6 บ้านปากหาน ปัจจุบันมีราษฎร 355 ครัวเรือน ประชากร 1232 คน ประชากรที่ใช้สิทธิ์ ได้จำนวน 980 คน

ด้านการศึกษา ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนบ้านปากหาน - ก่อตั้งเมื่อ: 29 สงิ หาคม 2510 บนเนื้อที่ 25 ไร่ 85 ตารางวา เปิดสอนระดับอนุบาล- ประถมศึกษา - ผู้บริจาคที่ดิน: นายแป้น สิขิวัฒน์- ครูใหญ่คนแรก: คุณครูสมบัติ ทองศรี - ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน: ว่าที่ร้อยตรีหญิง ช่อเพชร สุขอนันต์ - ปัจจุบัน สังกัด สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านปากหาน 1.นายฉลอง สิขิวัฒน์ ประธานกรรมการ 2.นางสุธาทิพย์ รักษาวงศ์ ผู้แทนผู้ปกครอง 3.นายจรินทร์ แก้วมาก ผู้แทนครู 4.นางนิตยา พุทธแก้ว ผู้แทนองค์ชุมชน 5.นายสนิท มณีอ่อน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6.นายวงศ์สถิต สิขิวัฒน์ ผูแ้ ทนศิษย์เก่า 7.นายบัวทอง ชูเรือง ผู้แทนองค์กรศาสนา 8.นายนิพนธ์ สิขิวัฒน์ ผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิ

ข้อมูลครู/บุคลากรโรงเรียนบ้านปากหาน : จำนวนชาย 4 คน หญิง 6 คน รวมทั้งหมด 10 คน 1.ชื่อ-สกุล ว่าที่ร้อยตรีหญิง ช่อเพชรสุขอนันต์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน 2.ชื่อ-สกุล นาย สรวิชญ์ รักษาสัตย์ ตำแหน่ง ครู (ข้าราชการ) 3.ชื่อ-สกุล นาง นางทิพวรรณ จันทร์แก้ว ตำแหน่ง ครู (ข้าราชการ) 4.ชื่อ-สกุล นาย อำนาจ นนทศักดิ์ ตำแหน่ง ช่างไม้ชั้น 3 (ลูกจ้างประจำ) 5.ชื่อ-สกุล นางสาว ไอลดา ศรีวิสัย ตำแหน่ง ครูธุรการ (ลูกจ้างชั่วคราว) 6.ชื่อ-สกุล นางสาว อติญา หนูเนียม ตำแหน่ง ครู (อัตราจ้าง) 7.ชื่อ-สกุล นาย สุคนธ์ ศิริพงศ์ ตำแหน่ง ครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน (ลูกจ้างชั่วคราว) 8.ชื่อ-สกุล นางสาว ชนากานต์ แก้ววิลา ตำแหน่ง ครู (อัตราจ้าง) 9.ชื่อ-สกุล นาย เอกพล พรหมชีหมุน ตำแหน่ง ครู (อัตราจ้าง) 10.ชื่อ-สกุล นาง ขวัญสุดา พรหมชีหมุน ตำแหน่ง ครูพี่เลี้ยง ด้านศาสนา ประชากรในชุมชนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 100%

โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ 70 เปอร์เซ็นต์ ทำสวนยางพารา 25 เปอร์เซ็นต์ ทำสวนปาล์มน้ำมัน 5 เปอร์เซ็นต์ รับจ้าง ไม่มีที่ดินทำกิน ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม - ประเพณีวันสารทเดือนสิบ - ประเพณีวันสงกรานต์ - ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ปราชญ์ชาวบ้าน 1.นายประยูล ลออ อายุ 75 ปี : แพทย์แผนไทย (2530-ปัจจุบัน) 2.นายอารมณ์ ธนากัณฑ์ อายุ 83 ปี : ศาสนพิธีและจักรสาน (2520-ปัจจุบัน) 3.นางคำนึง ชูไกรไทย อายุ 63 ปี : หมอตำแย (2540-ปัจจุบัน) 4.นายสำราญ ศรีชาย อายุ 53 ปี : ศิลปหัตถกรรม (2525) 5.นายอำนาจ ชัยสะอาด อายุ 63 ปี : ช่างไฟฟ้า,ช่างยนต์ (2534-ปัจจุบัน) 6.นายสำเริง สิขิวัฒน์ อายุ 61 ปี : ช่างต่อเรือไม้ (2534-ปัจจุบัน) สถานที่สำคัญ - สำนักสงฆ์บ้านปากหาน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนบ้านปากหาน มีการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมอย่างมาก การยอมรับประเพณี วัฒนธรรมใหม่ๆและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ส่งผลให้สมาชิกในชุมชนสามารถพัฒนาและต่อยอดอาชีพได้อย่าง ทันท่วงที รวมถึงผลักดันให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนสามารถออกความเห็นภายในชุมชนได้ ทำให้ ชุมชนพัฒนามากยิ่งขึ้น

หมู่ที่ 7 บ้านควนปราง ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดและที่ตั้ง ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ 6 คลองฉนวน ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่3 คลองฉนวน ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่12 คลองฉนวน บ้านควนปรางหมู่7 ตั้งอยู่ในตำบล คลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจาก อำเภอ 20 ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 20กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปทางทิศตะวันตกประมาณ70 กิโลมตร ลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม แม่น้ำสำคัญ -อ่างเก็บน้ำห่านลูกต่าง -ลำคลองฉนวน ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศโดยทั่วไปของตำบล เป็นแบบมรสุม มี2 ฤดู คือ -ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม – เมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28–40 องศาเซลเซียส -ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม-ธันวาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25–28 องศาเซลเซียส และมี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 400 มิลลิเมตร/ปี ทรัพยากรธรรมชาติ บ้านควนปราง มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ ลำคลองฉนวนและอ่างเก็บน้ำภายในหมู่บ้าน ซึ่ง ถือว่าเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ ทำให้มีน้ำกินน้ำใช้ไม่ขาด.

การคมนาคม จากที่ว่าการอำเภอเวียงสระ มุ่งสู่ทางทิศใต้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ถนนสายเอเชีย ประมาณ15 กิโลเมตร แยกบ้านปากกาไปทางทิศตะวันตก 5 กิโลเมตร ประวัติชุมชน ประมาณปี พ.ศ. 2438 ราษฎรกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยทำมาหากิน โดยย้ายถิ่นฐานมาจาก ตำบลทุ่งหลวง ได้ใช้พื้นที่ป่า มีต้นมะปรางต้นใหญ่จำนวนหลายต้นและประกอบกับบริเวณนี้มี พื้นที่ลาดสูงหรือภาษาใต้ที่ชาวบ้านเรียกว่า ควน จึงมีการเรียกว่า ควนปราง มาจนถึงปัจจุบัน และในปี พ.ศ.2519 ได้แยกมาเป็นหมู่บ้าน มี นายเขียว วัชนะ เป็นผู้ใหญ่คนแรกของหมู่บ้าน และ เป็น หมู่บ้าน อพป เมื่อปี พ.ศ. 2527 โครงสร้างของชุมชน ด้านการปกครอง -ผู้ใหญ่บ้านคนแรก นายเขียววัชนะ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 - 2520 -ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 นายคล่อง บำรุงศรี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2521 - 2529 -ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 นายธีรพันธ์ อุบลวัฒนา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2530 - 2550 -ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 นายสุเทพ รักษ์วงค์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบัน ด้านประชากร จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 783 คน แยกเป็นชาย 387 คน หญิง 387 คน

ด้านการศึกษา ข้อมูลพื้นฐานบ้านควนปราง จำนวน ชาย 3 คน หญิง 6 คน รวมทั้งหมด 9 คน ประวัติ โรงเรียนบ้านควนปราง โรงเรียนบ้านใต้ ตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๘๘ เดิมตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นอาคารชั่วคราว ต่อมาเมื่อ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๘ ได้ ย้ายมาตั้งที่ หมู่ที่ ๗ ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในเนื้อที่ ๑๒ ไร่ มี นายนิวัฒน์ วรรณโชติ เป็นครูใหญ และ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน๒๕๕๖ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนบ้านควนปราง วิสัยทัศน์ “โรงเรียนบ้านควนปรางจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มี ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ มีสื่ออุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม ครูมีเทคนิคการ สอนและสื่อการสอนที่ทันสมัยและเพียงพอ โดยชุมชนมีส่วนร่วม” พันธกิจ -โรงเรียนและชุมชนจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น -จัดสภาพในห้องเรียนและภายในห้องเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ -จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม -จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ -โรงเรียนและชุมชนวางแผนดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร -พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลง -โรงเรียนและชุมชนร่วมมือกันสนับสนุนเด็กวัยเรียนให้เข้ารับการศึกษาในแต่ละดับชั้นทุก คน

โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ ในบ้านควนปรางมีการประกอบอาชีพ 4 อาชีพดังนี้ เกษตรกร ข้าราชการ พนักงานบริษัท ค้าขาย ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม - ประเพณีสารทเดือนสิบ - ประเพณีลอยกระทง - ประเพณีวันสงกรานต์ - หนังตะลุง - ประเพณีทางศาสนาต่างๆ สถานที่สำคัญ -อ่างเก็บน้ำห่านลูกต่าง -ลำคลองฉนวน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนบ้านควนปราง มีการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม อย่างมาก นั่นก็คือ มีความความต้องการทางด้านวัตถุเช่น การใช้วัตถุที่มีค่า ราคาแพง ขึ้นตามกระแส การยอมรับประเพณีและวัฒนธรรมใหม่ๆ วิถี ชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการพัฒนาของ ภาครัฐ เศรษฐกิจ และความเจริญด้านเทคโนโลยีจากภายนอกเข้า มาใช้มากขึ้น ซึ่งการ เปลี่ยนแปลงบางอย่างก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ศักยภาพของชุมชนที่ดีขึ้น.

หมู่ที่ 8 บ้านไสยง ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดและที่ตั้ง บ้านไสยงเป็นหมู่บ้านหนึ่งใน 12 หมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกขององค์การบริหารส่วน ตำบลคลองฉนวน มีอาณาเขตติดต่อกัน ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 ตำบลเขานิพันธ์ ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลคลองฉนวน ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 และ หมู่ที่ 5 ตำบลเขานิพันธ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 9 ตำบลคลองฉนวน ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบ (หรือที่ราบ/แอ่ง/ที่ราบเชิงเขา) ลาดเอียงไปทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือ แม่น้ำสำคัญ บ่อน้ำตื้น 10 แห่ง แห่ง คลอง 2 แห่ง ระบบน้ำประปาหมู่บ้าน 2 ภูมิอากาศ สภาพอากาศโดยทั่วไปของตำบล เป็นแบบมรสุม มี 2ฤดู คือ -ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28–40 องศาเซลเซียส -ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25–28 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 400 มิลลิเมตร/ปี

ทรัพยากรธรรมชาติ เขาถ้ำปลา เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำที่ภายในมีความสวยงาม มีธารน้ำไหลผ่านตลอดปี มีฝูง ปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถที่จะเดินชมหรือล่องเรือชมหินงอกหินย้อยและปลานานา พันธุ์ ใช้เวลาในการล่องเรือ 40 นาที และบริเวณโดยรอบมีพันธุ์ไม้ต่างๆ มีความสวยงาม ร่มรื่น การเดินทางใช้เส้นทาง รพช.สายยูงงาม-เขาปูน ระยะทาง 2 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวขวาตามถนน ลูกรังอีก 1 กิโลเมตร การคมนาคม เส้น ระยะทาง 8 กิโลเมตร ถนนลาดยาง 4 กิโลเมตร ถนนลูกรัง - เส้น ระยะทาง - กิโลเมตร ถนนคอนกรีต 1 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอ 15 เส้น ระยะทาง 4 กิโลเมตร ห่างจากเทศบาล/อบต. 8 ประวัติชุมชน บ้านไสยง เดิมแยกมาจากหมู่ที่ 2 ตำบลคลองฉนวน โดยมีหมู่บ้านที่แยกออกมานี้ ตั้งอยู่ ทางทิศตะวันออกของหมู่ที่ 2 และมีพื้นที่มีพืชชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “ต้นยง” ชาวบ้านจะนำดอก ยง มาผูกทำเป็นไม้กวาด นำมาขายสร้างรายได้ จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านไสยง” โครงสร้างของชุมชน ด้านการปกครอง ทำเนียบผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 1. นายสมปอง เช็ก พ.ศ. 2542 2. นายเพี้ยน ทองนุ่น พ.ศ. 2542 - 2547 3. นายเกียรติชัย ศรีนิล พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน

ด้านประชากร ข้อมูลประชากรตามทะเบียนราษฎร์ (สำนักงานทะเบียนราษฎร์อำเภอเวียงสระ) จำนวนครัวเรือน จำนวน 129 ครัวเรือน ประชากรชาย จำนวน 272 คน ประชากรหญิง จำนวน 273 คน ประชากรรวม จำนวน 545 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 70 คน ผู้พิการ จำนวน 9 คน ด้านการศึกษา ไม่ได้เรียนหนังสือ จำนวน - คน 45 คน ประถมศึกษา จำนวน 19 คน 10 คน มัธยมศึกษา จำนวน 18 คน - คน อนุปริญญา จำนวน ปริญญาตรี จำนวน สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน ด้านศาสนา ประชากรในชุมชนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 100%

โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ การประกอบอาชีพภาคการเกษตร ทำไร่ จำนวน 12 คน ทำสวน จำนวน 124 คน ปศุสัตว์ จำนวน 4 คน การประกอบอาชีพภาคนอกการเกษตร ข้าราชการ จำนวน 5 คน พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 9 คน พนักงานบริษัท จำนวน 28 คน รับจ้างทั่วไป จำนวน 76 คน ค้าขาย จำนวน 23 คน ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 95 คน กำลังศึกษา จำนวน 32 คน สรุป ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม จำนวน 296 คน อัตราจ้างแรงงานในหมู่บ้าน วันละ 200 บาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 10,500 บาท/คน/ปี ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม วัฒนธรรม/ประเพณี - ประเพณีสงกรานต์ - ประเพณีลอยกระทง - ประเพณีการทำบุญตักบาตร เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา - ประเพณีสารทเดือนสิบ - ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ - ประเพณีการเข้าโรงครู ชาวบ้านที่นับถือเชื้อสายทางมโนราห์

ปราชญ์ชาวบ้าน 1. ชื่อ: นายสมปอง เช็ก ที่อยู่: บ้านเลขที่ 48 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความสามารถด้าน: นวดแผนไทย/หมอยาสมุนไพร 2. ชื่อ: นายโสภณ ศิลปะรัศมี ที่อยู่: บ้านเลขที่ 52 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความสามารถด้าน: งานช่างไม้ ช่างปูน 3. ชื่อ: นายพ่วง ทองนุ่น ที่อยู่: บ้านเลขที่ 40/4 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี มีความสามารถด้าน: งานช่างไม้ ช่างปูน 4. ชื่อ: นายทวี มูลี ที่อยู่: บ้านเลขที่ 57 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความสามารถด้าน: งานช่างไม้ สถานที่สำคัญ - เขาถ้ำปลา บ้านไสยง - ค่ายลูกเสือชั่วคราวบ้านไสยง อำเภอเวียงสระ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนบ้านต้นแค มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้าน วิถีชีวิต ที่อยู่อาศัย และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากเดิม เนื่องจากประชากรในชุมชนมีการพัฒนา คุณภาพชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม แต่ในชุมชนบางครัวเรือนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสิ่ง เสพติดและไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากพอ

หมู่ที่ 9 บ้านต้นแค(ทุ่งคา) ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดและที่ตั้ง พื้นที่รวมโดยรวมของบ้านต้นแค มีทั้งหมด 5,000 ไร่ แยกเป็นที่อยู่อาศัย 100 ไร่ พื้นที่ทำ สวน 800 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรอื่นๆ 200 ไร่ ทิศเหนือจด หมู่ที่ 14 ตำบลทุ่งหลวง ทิศใต้จด หมู่ที่ 3 บ้านควนสูง ตำบลคลองฉนวน ทิศตะวันออกจด ตำบลเขานิพันธ์ ทิศตะวันตกจด ตำบลสินปุน อำเภอพระแสง บ้านต้นแคเป็นหมู่บ้านหนึ่งใน 12 หมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์การบริหารส่วน ตำบลคลองฉนวน และอยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน โดยทางรถยนต์ เป็นระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ สภาพโดยรวมส่วนใหญ่เป็นที่ราบเหมาะแก่การทำนาและทุ่ง เลี้ยงสัตว์ แม่น้ำสำคัญ 1. แม่น้ำตาปี 2.คลองควนทัง 4.ภูมิอากาศ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook