Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 3 Proceeding

3 Proceeding

Published by Lampang special education center, 2021-09-22 08:43:37

Description: 3 Proceeding

Search

Read the Text Version

Proceedings รายงาน 9การประชมุ วชิ าการระดบั ชาติด้านการศกึ ษาพเิ ศษ ครั้งที่ “เทคโนโลยีท่อี อกแบบมาเพื่อปิดช่องว่างการศกึ ษา” Designed Technology in Closing Educational Gaps 26 – 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ณ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สานักบรหิ ารงานการศึกษาพิเศษ

รายงานการประชุมวิชาการระดบั ชาติดา้ นการศึกษาพเิ ศษ ครง้ั ท่ี 9 เทคโนโลยีท่ีออกแบบมาเพ่อื ปดิ ช่องว่างการศึกษา : Designed Technology in Closing Educational Gaps ระหว่างวนั ที่ 26 – 27 สงิ หาคม 2564 ณ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพนื้ ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ท่ีปรกึ ษา เลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน 1. นายอมั พร พนิ ะสา รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน 2. นายสนิท แยม้ เกษร รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน 3. นายกวนิ ทรเ์ กียรติ นนธ์พละ ผู้อานวยการสานักบริหารงานการศกึ ษ 4. วา่ ทีร่ ้อยตรี ธนุ วงษจ์ ินดา 5. นางภทั รยิ าวรรณ พนั ธนุ์ ้อย จัดทาโดย สานักบรหิ ารงานการศกึ ษาพเิ ศษ สานกั บรหิ ารงานการศึกษาพเิ ศษ 1. นางจริ ฐั ยา ไชยสาร สานักบริหารงานการศกึ ษาพิเศษ 2. นางสาวนนั ทนุช สุวรรนาวุธ สานกั บรหิ ารงานการศกึ ษาพิเศษ 3. นางสาวณัฐรินทร์ สนุ พิ ัฒน์ สานกั บริหารงานการศึกษาพิเศษ 4. นางสาวณัฐธิพร ฉิมปุ่น สานักบรหิ ารงานการศกึ ษาพเิ ศษ 5. นายคนติ ย์ ผามะณี สานักบริหารงานการศกึ ษาพเิ ศษ 6. นางสาวมณิสรา ปาลวฒั น์ สานกั บรหิ ารงานการศกึ ษาพเิ ศษ 7. นายบุญประเสริฐ สัตตานสุ รณ์ สานกั บริหารงานการศึกษาพิเศษ 8. นางสาวสชุ ีรา พลราชม สานกั บริหารงานการศึกษาพิเศษ 9. นายเอกชยั นาสมปอง 10. นายสามารถ รตั นสาคร เจ้าของ สานกั บริหารงานการศกึ ษาพเิ ศษ สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

คำนำ การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2564 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีท่ีออกแบบมาเพื่อปิดช่องว่างการศึกษา” Designed Technology in Closing Educational Gaps” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการศึกษาพิเศษ สร้างเครือข่าย ร่วมพัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรมแก้ปัญหาหรือลดอุปสรรคด้านการศึกษา รวมท้ังส่งเสริมการเรียนรู้ ของนักเรียนท่ีมีความต้องการจำเป็นพิเศษ และเพ่ือยกระดับการจัดการศึกษาพิเศษของประเทศไทยเทียบเท่า สากลที่ยั่งยืนโดยใช้งานวิจัยเป็นฐาน ภายใต้การประชุมแบบวิถีใหม่ (New Normal) โดยการบรรยาย อภิปราย และนำเสนอผลงานวิชาการท่ีเกี่ยวข้องกับการพัฒนางานด้านการศึกษาพิเศษในรูปแบบ online ผา่ นระบบ Video Conference ผลงานวิชาการท่ีผ่านการคัดเลือกให้ร่วมนำเสนอมีทั้งรูปแบบงานวิจัย R2R KM และ นวัตกรรม การนำเสนอผลงานวิชาการด้วยวาจา (Oral Presentation) จำนวน 59 เร่ือง และผลงานวิชาการ ประเภทโปสเตอร์ (Poster Presentation) จำนวน 47 เรอื่ ง สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมวิชาการระดับชาติด้าน การศึกษาพิเศษ คร้ังน้ี จะเป็นพ้ืนท่ีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับผู้บริหาร ครู นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้ท่ีสนใจเพือ่ ความกา้ วหน้าในวชิ าชีพอยา่ งต่อเนื่อง ผู้อำนวยการสำนกั บริหารงานการศึกษาพิเศษ

480 การพฒั นาหลกั สูตรเพ่ือเสรมิ สร้างทักษะการดำรงชีวิตอสิ ระในบา้ น สำหรบั เด็กที่มีความบกพร่องทางสตปิ ัญญา THE DEVELOPMENT OF A CURRICULUM TO ENHANCE INDEPENDENT LIVING SKILLS IN HOME FOR CHILDREN WITH INTELLECTUAL DISABILITIES สรุ ญั จิต วรรณนวล1 บทคดั ยอ่ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็ก ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความคาดหวังและแนวทาง การเสริมสร้างทักษะ ฯ 2) สร้างหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน 3) ทดลองใช้และ ปรับปรงุ หลักสูตร กล่มุ เป้าหมาย ได้แก่ เด็กท่ีมคี วามบกพร่องทางสตปิ ัญญา จำนวน 4 คน และครผู สู้ อน จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตร ฯ 2) คู่มือหลักสูตร ฯ 3) แบบประเมินก่อนและ หลังการ เสริมสร้างทักษะ ฯ และ 4) แบบประเมินตามสภาพจริงการเสริมสร้างทักษะ ฯ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ และการวเิ คราะห์เนื้อหา ผลการศกึ ษา พบว่า 1) ปจั จุบนั สถานศกึ ษาไม่มหี ลักสูตรการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต ฯ 2) หลักสูตร ฯ ประกอบด้วย จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ การจัดการเรียนรู้ และการวัดและ ประเมินผล 3) การทดลองใช้และปรับปรุงหลักสูตรฯ พบว่า ทักษะการดำรงชีวิตฯ ของเด็กที่มีความบกพร่องทาง สตปิ ัญญาหลงั การใชส้ งู กว่ากอ่ นการใช้หลกั สูตร ฯ คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสตู ร, ทกั ษะการดำรงชีวติ อิสระในบ้าน, เด็กท่มี คี วามบกพรอ่ งทางสตปิ ญั ญา Abstract This research aims to develop curriculum to enhance independent living skills in homes for Children with Intellectual Disabilities. The process was divided into three phases: (1) to investigate the current situation, expectations, and guidelines. (2) to create the curriculum. (3) to 1 กศ.ด. (การศึกษาพเิ ศษ) ผอู้ ำนวยการเชีย่ วชาญ ศนู ย์การศกึ ษาพเิ ศษประจำจังหวดั ลำปาง E mail: [email protected] โทรศัพท์ 081 568 6969

481 conduct the experiment and develop the curriculum. The tools used in the research were as follows: (1) a curriculum to enhance independent living skills in homes 2) Handbook of curriculum 3) pre-and-post assessment on enhancing the life skills of children with ID; and (4) an authentic assessment of enhancing life skills for children with ID. The statistics were the average, percentage and content analysis. It was found that: 1) educational institutions did not have a curriculum to develop life skills. The expectations of related people were to make the learning process systematic, during and after the learning process and students should have skills, knowledge, and attitude. 2) the curriculum enhances independent living skills, consisting of curriculum aims, content etc. 3) Research found that independent living after the curriculum, were at a higher level compared to the previous time. Keywords: The development of a curriculum, Independent living skills in home, Children with intellectual disabilities บทนำ สมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (American Psychiatric Association, 2013, p. 31) ได้นิยามคำว่า “ภาวะ บกพร่องทางสติปัญญา” ไว้ว่า เป็นลักษณะการขาดความสามารถทางจิตโดยทั่วไป โดยมีภาวะ 3 ลักษณะ คือ 1) ความบกพรอ่ งในความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ทมี่ ผี ลกระทบตอ่ พฤติกรรมการปรับตน จากการทดสอบระดับ เชาวป์ ัญญาเม่ือเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานเฉลย่ี ของคนปกติ คือ ต่ำกว่า 70 2) พฤติกรรมการปรบั ตนบกพร่องต้ังแต่ 1 ด้านขึ้นไป ใน 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะด้านสังคม หรือทักษะด้านการปฏิบัติ และ 3) แสดงอาการในช่วงที่สมองมีการพัฒนา คือ อายุระหว่างแรกเกิด – 18 ปี ดังนั้น สถานศึกษาควรการจัดการ เรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมและมีแนวทางปฏิบัติในทักษะการปรับตัวที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทาง สตปิ ัญญาสามารถเรยี นรใู้ นการดูแลตัวเอง ซงึ่ ทักษะการปรับตวั นี้หากไดร้ ับการสนบั สนุนที่เหมาะสมจะช่วยให้พวก เขามีอสิ ระในการดำเนินชวี ิต ถือเป็นทกั ษะท่บี ุคคลท่ัวไปต้องการในชวี ติ ประจำวันเพื่อใชช้ ีวติ อย่างอิสระ รวมไปถึง ทักษะการดูแลตนเองและการจัดการงานบ้าน เป็นกระบวนการที่เริ่มต้นตั้งแต่แรกเกิดและต่อเนื่องไปจนถึงวัย ผู้ใหญ่ (Bright Hub Education, 2010?) ซึ่ง ทักษะการทำงานบ้านถือเป็นทักษะย่อยของทักษะการดำรงชีวิต

482 อิสระในบ้านประกอบด้วย 1) การทำความสะอาดบ้าน 2) การซักและจัดเก็บเสื้อผ้า 3) การจัดเตรียมและปรุง อาหาร 4) การทำความสะอาดภาชนะ และ5) การทำความสะอาดเครื่องใช้ในครัวเรือน (Wehman, P., 2012) จากการศึกษามีข้อค้นพบว่าสถานศึกษาโดยทัว่ ไปมีการจัดทำหลักสูตรการสอนทกั ษะการดำรงชีวิตประจำวันน้อย (Bouck, 2010) เม่ือสถานศึกษาไมฝ่ ึกอบรมครูให้สามารถสอนทักษะการดำรงชวี ิตประจำวันให้กับเด็ก จึงส่งผลให้ ผ้เู รยี นท่ีมภี าวะบกพร่องทางสตปิ ญั ญาไม่สามารถใชช้ ีวติ ท่ีเปน็ อิสระได้ดว้ ยตนเอง (Ruteere, R.K.; et al. 2015) จากประสบการณ์ทผี่ ้วู ิจยั ไดเ้ ป็นคณะกรรมการและเลขานุการนิเทศติดตามการใชห้ ลักสูตรสำหรับเด็กท่ีมี ความต้องการจำเป็นพิเศษของสำนกั บรหิ ารงานการศึกษาพิเศษ (สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, 2559) โดยได้ นิเทศติดตามสถานศึกษานำร่องการใช้หลักสูตร จำนวน 26 แห่ง พบว่าสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่ได้นำหลักสูตร การดำรงชีวิตไปใช้ บางแห่งจัดห้องเรียนตามทักษะพื้นฐานของหลักสูตรการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยไม่มี กิจกรรมบูรณาการที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ประกอบกับผู้วิจัยในฐานะที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาได้นิเทศภายใน สถานศึกษาแต่ละห้องเรียนแล้วพบสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานศึกษาอื่น ๆ จึงทำให้ผู้วิจัยได้ข้อสรุปว่าค รูไม่ เข้าใจกระบวนการออกแบบหลักสูตรเพื่อบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงใน ชีวิตประจำวัน ส่งผลให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีความยากลำบากต่อการเชื่อมโยงประสบการณ์ที่ได้ จากห้องเรียนไปปฏิบัตใิ นสถานทต่ี ่างกันออกไป จากสภาพปัญหาและงานวิจัยที่ได้ศึกษา ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการ ดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยคำนึงถึงความต้องการจำเป็นของเด็กและ ครอบครัว มเี ปา้ หมายเพอ่ื ใหเ้ ดก็ ทีม่ ีความบกพร่องทางสติปัญญาสามารถทำงานบ้านได้ถูกต้องตามขนั้ ตอนเกิดเป็น สมรรถนะของตนเอง สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในครอบครัวและเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ของเด็กที่มีคว าม บกพร่องทางสตปิ ญั ญาในการดำรงชวี ติ ทกั ษะอืน่ ๆ ต่อไป แนวคิด/ทฤษฎ/ี เอกสารทเ่ี ก่ียวข้อง การวจิ ัยนี้ไดน้ ำแนวคดิ ทที่ ฤษฎีมาเป็นกรอบแนวคดิ ได้แก่ 1) เอกสารทเ่ี ก่ยี วข้องกับเด็กที่มีความบกพร่อง ทางสตปิ ญั ญา 2) เอกสารและงานวจิ ัยท่เี ก่ียวข้องกับการเสริมสรา้ งทักษะการดำรงชวี ิตอสิ ระในบ้านสำหรับเด็กท่ีมี บกพร่องทางสติปัญญา 3) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร 4) เอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทางตรง 5) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์

483 งาน 6) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการสอนโดยใช้การกระตุ้นเตือน 7) เอกสารและงานวิจัยท่ี เกี่ยวข้องกับเทคนิคการสอนโดยใช้การเสริมแรงทางบวก 8) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อสนับสนุนการ เรยี นรผู้ ่านการมอง โดยกำหนดกรอบแนวคดิ การวจิ ยั ดงั น้ี วัตถุประสงค์ เพือ่ พฒั นาหลักสตู รเพือ่ เสริมสรา้ งทักษะการดำรงชีวติ อสิ ระในบา้ นสำหรับเด็กทม่ี ีความบกพร่องทาง สติปญั ญา ระเบียบวธิ วี จิ ยั การวิจัยครั้งนี้ ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันยุทธศาสตร์ ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หมายเลขรับรอง SWUEC/E/G-171/2562 ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 เปน็ การวิจยั และพฒั นา (Research and Development) แบง่ เปน็ 3 ระยะ ดังนี้

484 ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความคาดหวังและแนวทางการเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระ ในบ้านสำหรับเด็กท่ีมคี วามบกพรอ่ งทางสติปัญญา 1. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับเด็กที่มีความ บกพรอ่ งทางสตปิ ัญญาอย่างน้อย 5 ปีขนึ้ ไปจำนวน 8 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ ประเด็นคำถามสนทนากลุ่ม (ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ได้อยู่ใน ระหว่าง 0.80 – 1.00) 3. การเกบ็ รวบรวมข้อมูล โดยการสนทนากลุม่ 4. วิเคราะหข์ อ้ มลู โดยการวิเคราะห์เน้อื หา (Content Analysis) ระยะที่ 2 สร้างหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตรอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง ทางสตปิ ญั ญา 1. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับเด็กที่มีความ ตอ้ งการพิเศษทางการศกึ ษา อยา่ งนอ้ ย 5 ปีข้นึ ไปจำนวน 8 คน 2. เครอ่ื งมอื ทีใ่ ช้ในการวจิ ยั ได้แก่ 1) หลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องท าง สตปิ ญั ญา (มคี า่ ดชั นีความสอดคล้องเทา่ กับ 1.00) 2) คู่มือหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตในบ้าน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญา (มคี ่าดชั นคี วามสอดคลอ้ งเทา่ กบั 1.00) 3) แบบประเมินก่อนและหลังการเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มีความ บกพรอ่ งทางสติปัญญา (มคี า่ ดชั นีความสอดคลอ้ งเท่ากับ 1.00 และมคี ่าความเช่ือมั่นระหว่างผูส้ ังเกตเทา่ กับ 87.5) 4) แบบประเมินตามสภาพจรงิ การเสริมสร้างทกั ษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเดก็ ที่มีความ บกพร่องทางสติปัญญา (มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้สังเกตเท่ากับ 83.33) 3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00) 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชงิ ลึกทางโทรศพั ท์

485 5. วเิ คราะหข์ อ้ มูล โดยการวิเคราะห์เน้ือหา (Content Analysis) (ระยะที่ 1 – 2 ได้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการปีท่ี 17 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม – มถิ ุนายน 2564) หน้า 33 - 49) ระยะที่ 3 ทดลองใช้และปรับปรงุ หลกั สูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอสิ ระในบ้านสำหรบั เด็กท่ีมี ความบกพร่องทางสติปญั ญา แบ่งการศกึ ษาออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังน้ี ขั้นตอนที่ 1 ทดลองใช้หลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางสตปิ ญั ญา 1. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ซึ่งได้รับ การวินิจฉัยจากแพทย์และมีบัตรประจำตัวคนพิการ อายุระหว่าง 13 – 18 ปี ที่ได้รับบริการจากศูนย์การศึกษา พิเศษประจำจังหวัดลำปาง จำนวน 4 คน โดยเลอื กแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2. แบบแผนการวิจัย การวิจยั ครง้ั นเ้ี ป็นการวจิ ัยก่ึงทดลอง (Quasi – Experimental Designs) โดยใชแ้ บบแผนการวจิ ยั One Group Pre test – Post test Design 3. ขน้ั ตอนการทดลอง แบ่งเปน็ 3 ขัน้ คอื ขัน้ ที่ 1 ขนั้ ตอนกอ่ นการทดลอง มีการดำเนนิ การดังน้ี 1) การคัดเลือกกลมุ่ เป้าหมาย 2) การเตรียมความพร้อม โดยการประชุมครูผู้สอน จำนวน 4 คน เพื่อ (1) ขอความร่วมมือ ในการทดลองและสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการของห้องเรยี นในการฝึกทกั ษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้าน รวมทั้งขั้นตอนการทดลอง (2) จัดเยี่ยมบ้านเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจำนวน 4 คน ที่เป็นกลุ่มทดลอง เพ่ือทำความเขา้ ใจกบั ผปู้ กครองและประเมนิ สภาพบ้านและส่ืออปุ กรณก์ ารทำงานบ้านของแตล่ ะครอบครวั (3) จัด อบรมและสาธิตการสอนให้ครูผู้สอนจำนวน 4 คน ตามหลักสูตร ฯ ที่พัฒนาขึ้น และ (4) ประเมินก่อนการทดลอง โดยการประเมินความสามารถพื้นฐาน (Pre - test) ขั้นที่ 2 ขั้นตอนดำเนินการทดลอง ผู้วิจัยดำเนินการทดลองร่วมกับครูผู้สอนในการฝึกทักษะ การดำรงชีวิตอิสระในบ้าน โดยใช้หลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางสตปิ ัญญาท่สี รา้ งขนึ้ กับกลุม่ ทดลอง ท่ศี ูนยก์ ารศึกษาพเิ ศษประจำจงั หวดั ลำปาง เริ่มทำการทดลองเม่ือ วนั ท่ี 1 กรกฎาคม 2563 และส้นิ สดุ การทดลองเม่ือวนั ที่ 15 มกราคม 2564

486 ข้ันท่ี 3 ขั้นตอนหลงั การทดลอง มกี ารดำเนินการ ดังนี้ 1) ประเมนิ ทกั ษะ การดำรงชวี ติ อสิ ระในบา้ นหลงั การทดลอง (Post - Test) 2) สรุปผลวิเคราะหข์ อ้ มูลตามเกณฑ์การให้คะแนนท่ีสร้างขึ้น 3) จัดประชุมครู เพื่อสะท้อนผลของการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มี ความบกพร่องทางสติปญั ญา 4) จัดทำวิดีโอการสอนทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง ทางสตปิ ัญญา เพอื่ ใช้เปน็ ส่ือการอบรมครูผสู้ อนและพ่ีเลี้ยงเด็กพิการตลอดจนผู้ปกครองต่อไป 4. การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนเฉล่ีย ของผเู้ รยี น และคา่ ดัชนปี ระสิทธผิ ล (Effectiveness index: E.I.) ขั้นตอนที่ 2 ปรับปรุงหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มีความ บกพรอ่ งทางสตปิ ญั ญา 1. กล่มุ เป้าหมายทีใ่ ชใ้ นการทดลอง ได้แก่ ครผู ู้สอนเดก็ ทม่ี คี วามบกพร่องทางสตปิ ัญญาระดับปานกลาง ของศนู ย์การศกึ ษาพเิ ศษประจำจงั หวดั ลำปาง จำนวน 4คน โดยเลอื กแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00) 3. การเกบ็ รวบรวมข้อมลู โดยการสัมภาษณ์เชิงลกึ 4. การวิเคราะหข์ ้อมูล โดยการวิเคราะหเ์ น้อื หา (Content Analysis) ผลการศกึ ษา ระยะที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบนั ความคาดหวังและแนวทางการเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระ ในบ้านสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สรุปได้ว่า ปัจจุบันสถานศึกษายังไม่มีหลักสูตรสำหรับการ เสริมสร้างทักษะการดำรงชวี ติ อิสระในบ้านสำหรบั เด็กท่ีมีความบกพรอ่ งทางสติปัญญาและครูผูส้ อนไม่มแี นวทางใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้องในการให้เด็กพึ่งพาตนเองได้นั้นอยู่ในระดับมาก และการหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมทักษะการทำงานบ้านที่สำคัญ ได้แก่ ทำความสะอาดบ้าน ปรุงอาหาร ล้างภาชนะ ซักผ้า และล้างห้องน้ำ (สุรัญจิต วรรณนวล, ฑมลา บุญกาญจน์ และ ชนิดา มิตรานันท์ 2564. น. 42)

487 ระยะที่ 2 ผลการสร้างหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางสติปัญญา พบว่า หลักสูตร ฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหาสาระ 3) การจัดการเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมด้านความ ถูกต้องอยู่ในระดับมาก ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ใน และด้านอรรถประโยชน์ในระดับมากที่สุด (สุรัญจิต วรรณนวล, ฑมลา บุญกาญจน์ และ ชนดิ า มิตรานนั ท์ 2564. น. 43-45) ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้และปรับปรุงหลักสูตร ฯ พบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีทักษะ การดำรงชีวิตอิสระในบ้านหลังการใช้หลักสูตร ฯ สูงกว่า ก่อนการใช้หลักสูตร ฯ และหลักสูตร ฯ มีการปรับปรุง แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินก่อนและหลังเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านสำหรับเด็กที่มี ความบกพรอ่ งทางสติปญั ญาให้มคี วามสอดคล้องกับส่อื การสอนและขั้นตอนการสอนให้กระชับขนึ้ อภปิ รายผล เนอ่ื งจากงานวิจัยระยะที่ 1 และระยะท่ี 2 ไดต้ ีพมิ พบ์ ทความในวารสารวทิ ยาลยั ราชสุดาเพ่ือการวิจัยและ พัฒนาคนพิการปีท่ี 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2564) หน้า 33 – 49 ในที่นี้จึงขออภิปรายผลเพียงระยะ ที่ 3 ดงั นี้ 1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้านหลังการใช้หลักสูตรเพ่ือ เสริมสร้างทักษะการดำรงชวี ิตอิสระในบ้านสำหรบั เด็กที่มีความบกพร่องทางสตปิ ัญญา สูงกว่า ก่อนใช้หลักสูตร ฯ เหตุที่ได้ผลการทดลองเป็นเช่นน้ี เนื่องจากมีการศึกษาสภาพบริบทของสิง่ แวดล้อมและอุปกรณ์ทีใ่ ช้ในบ้านรวมทง้ั การสอบถามผู้ปกครองก่อนลงมือทดลอง อีกทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเป็นอุปกรณ์จริงที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน สอนภายใต้สถานการณ์จริง สอดคล้องกับแนวคิดรูปแบบหลักสูตรเชิงการนำไปใช้ในชีวิต (Wehman, P.& Kregel. J. 2020) มีการออกแบบแผนการจัดการเรียนเรียนรู้ในกิจกรรมการการเรียนการสอน เป็นรปู แบบการเรยี นการสอนทางตรงซง่ึ มขี ั้นตอนชดั เจน สอนใหผ้ ู้เรยี นทำกจิ กรรมได้ประสบผลสำเร็จทลี ะขั้นตอน สอดคล้องกับแนวคิดของ ทิศนา แขมมณี (2560, น. 256) ที่ระบุว่าผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ การเรียนการสอนแบบทางตรงน้ี เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตรงไปตรงมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านพุทธิ พิสัยและทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาที่จำกัด แผนการจัดการเรียนรู้มีการวิเคราะห์งานให้เหมาะสมกับ ศักยภาพของกลุ่มตัวอย่าง โดยจัดลำดับจากง่ายไปหายากก่อให้เกิดการเรียนรู้และบรรลุเป้าหมายได้ดีข้ึน สอดคล้องกับแนวคิดการวิเคราะห์งานของ สุจินต์ สว่างศรี (2552, น. 56) นอกจากนั้นแผนการจัดการเรยี นรู้ยังมี

488 การออกแบบการกระตุ้นเตือนเมื่อผู้เรียนลืมในบางขั้นตอนและลดการกระตุ้นเตือนลงเมื่อผู้เรี ยนสามารถทำได้ พร้อมทั้งให้คำชมหรือปรบมือเป็นขวัญกำลังใจให้กับผู้เรียน พร้อมทั้งใช้บัตรภาพซึ่งเป็นสื่อทางสายตาหรือส่ือ สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมองช่วยในการกระตุ้นเตือน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ไนท์เซิลและโวลอรี (Neitzel, J., & Wolery, M. 2009) ที่ระบุว่าการกระตุ้นเตือนจะเรียงลำดับจากการให้ความช่วยเหลือระดับน้อย ที่สุดไปจนถึงการให้ความช่วยเหลือระดับที่มากที่สุด นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับแนวคิดการเสริมแรงทางบวก ของสกินเนอร์ (Skinner, B.F. 1938) ที่ได้ระบุว่าการเสริมแรงทางบวกเป็นการเพิ่มความถี่ของการเกิดของ พฤติกรรมที่เกิดการเรียนรู้ใหม่ อันเป็นผลมาจากกรรมที่ตามหลังพฤติกรรม ก่อให้เกิดพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ และสอดคล้องกบั การใช้ส่ือทางสายตาหรือการเรยี นรผู้ ่านการมองวา่ เป็นรูปแบบการเรียนรทู้ ี่ดีของคนสว่ นใหญ่โดย ใช้การมองและการสร้างภาพในสมอง เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมที่เคยเรียนรู้มาพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด ใหม่และขยายองค์ความรู้ของตนไปเรื่อย ๆ ดังนั้น การเรียนรู้ผ่านการมองจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กระบวนการคิด โครงสร้างความคิดในสมองของบุคคล อันเนื่องมาจากการรับรู้ทางสายตาหรือจากการมองเห็น (สมพร หวานเสร็จ, 2552, น. 49) 2. การปรบั ปรงุ หลกั สตู รเพ่อื เสริมสร้างทกั ษะการดำรงชีวิตอสิ ระในบา้ นสำหรับเด็กทีม่ ีความบกพร่องทาง สติปญั ญา เป็นข้นั ตอนท่ีสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนการประเมินหลกั สูตร ถอื เป็นการตรวจสอบความ สอดคลอ้ งของหลักสตู รทั้งระบบโดยผมู้ ีสว่ นเก่ยี วข้องกบั การใชห้ ลักสูตร เพ่ือให้เกิดหลกั สูตรที่มีประสิทธิภาพควรมี การประเมินหลังการใช้หลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของทาบา (Taba, H. 1962) สอดคล้องกับงานวิจัยของ อัคพงศ์ สุขมาตย์ (2553) ได้ศึกษาการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ที่ได้พัฒนาหลักสูตรเป็น 4 ขั้นตอนและมีการประเมินหลักสูตร พรอ้ มทงั้ ปรับปรงุ หลกั สตู รเป็นขั้นตอนสุดทา้ ย สรปุ และข้อเสนอแนะ กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดให้ศูนย์การศึกษาพิเศษและโรงเรียนเฉพาะความพิการทุกแห่งจัดทำ หลักสูตรสถานศึกษาสำหรับการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตอิสระสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและ เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทุกประเภท เพื่อเป็นทางเลือกของการศึกษาสำหรับเด็กที่มีข้อจำกัดในการเรยี น ในหลักสูตรที่ใช้สำหรับเด็กทั่วไปเพื่อให้เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษา ตลอดจนตอบสนองต่อความต้องการจำเป็น

489 พเิ ศษของเด็กเปน็ รายบุคคล ลดความเหลอื่ มลำ้ ทางการศึกษาอยา่ งแทจ้ ริง และเด็กสามารถดำรงชีวติ ไดด้ ว้ ยตนเอง ไม่เปน็ ภาระของครอบครัว สงั คม ประเทศซาติ มีคุณภาพชวี ติ ทด่ี แี ละมีความสุข ข้อเสนอแนะในการทำวจิ ัยคร้ังต่อไป ควรมีการศึกษาติดตามการใชห้ ลักสูตรเพื่อเสรมิ สรา้ งทักษะการดำรงชวี ติ อสิ ระในบ้านสำหรับเด็กท่ีมีความ บกพร่องทางสติปัญญาเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของการใช้หลักสูตร ฯ และปรับปรุงหลักสูตร ฯ ให้มีความ สมบรู ณ์มากยิ่งข้ึน กติ ตกิ รรมประกาศ งานวิจัยน้ีได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประเภททุนพัฒนา บณั ฑิตศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รหัสโครงการ 1232577 บรรณานุกรม American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders : DSM-5TM Bangkok: iGroup Press. Bouck, E. (2010). Reports of life skills training for students with intellectual disabilities in and out of school. Journal of Intellectual Disability Research, 54(12), 1093-1103. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21105934. Bright Hub Education. (2010?). Understanding the Meaning of Adaptive Skills for Special Education Students. Retrieved from https://www.brighthubeducation.com/special-ed- learning-disorders/73324-improving-adaptives-skills-in-students-with-intellectual- disabilities. Neitzel, J., & Wolery, M. (2009). Steps for implementation: Least-to-most prompts. Chapel Hill, NC: National Professional Development Center on Autism Spectrum Disorders. North Carolina: Frank Porter Graham Child Development Institute.

490 Ruteere, R.K., Mutia, J.M., Mwoma, T., & Runo, M. (2015). Challenges Experienced In Teaching Daily Living Skills to Learners with Mental Retardation. Journal of Education and Practice. 6(18). 159-163. Skinner, B. F. (1938). The Behavior of Organisms. New York: Appleton Century-Crofts. Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace & World. Wehman, P., & Kregel, J. (2012). Functional Curriculum for Elementary, Middle, and Secondary Age Students with Special Needs (3rd Ed.). Texas: Proed an International Publisher. Wehman, P., & Kregel, J. (2020). Functional Curriculum for Elementary, Middle, and Secondary Age Students with Special Needs (4th Ed.). Texas: Proed an International Publisher. ทิศนา แขมมณ.ี (2560). ศาสตร์การสอน องคค์ วามรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ทม่ี ปี ระสทิ ธิภาพ (พิมพ์คร้ังท่ี 21). กรงุ เทพฯ: โรงพิมพ์แหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั . สุจินต์ สวา่ งศร.ี (2552). แนวทางการจัดการเรยี นรู้ให้กับนักเรียนท่ีมีความบกพรอ่ งทางสตปิ ญั ญา. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพเิ ศษ. สุรญั จิต วรรณนวล, ฑมลา บญุ กาญจน์, และ ชนดิ า มติ รานันท์ (2564). การพัฒนาหลักสตู รเพือ่ เสรมิ สร้างทักษะ การดำรงชีวิตอสิ ระในบ้านสำหรบั เดก็ ทมี่ ีความบกพร่องทางสตปิ ัญญา. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพอื่ การ วิจยั และพฒั นาคนพกิ าร, 17(1), 33-49. สมพร หวานเสรจ็ . (2552). การพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกโดยใชส้ ่ือสนบั สนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง. ขอนแกน่ : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. สำนกั บรหิ ารงานการศึกษาพิเศษ. (2559). รายงานการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตรสำหรับเดก็ ท่มี ีความต้องการ จำเป็นพเิ ศษของศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรงุ เทพฯ: สำนักบรหิ ารงานการศึกษาพเิ ศษ สำนกั งาน คณะกรรมการการศึกษาข้นั พ้ืนฐาน. อคั พงศ์ สุขมาตย์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรเสรมิ สรา้ งคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรยี นชัน้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 4 ตามแนวคดิ จติ ตปัญญาศึกษา. (ปรญิ ญานพิ นธ์การศึกษาดษุ ฎบี ัณฑิต ). มหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวิ โรฒ, กรงุ เทพฯ. สืบคน้ จาก http://thesis.swu.ac.th/swudis/Cur_Re_Dev/Aukkapong_S.pdf.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook