Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี

คู่มือการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี

Published by thanakit ritsri, 2022-07-30 14:39:41

Description: คู่มือการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี

Search

Read the Text Version

ขอบคุณรปู ภาพจาก Freepik

การเลี้ยงไกไ่ ขอ่ ารมณ์ดี ไก่ไข่ที่เลี้ยงในปัจจุบันได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีผลผลิตไข่สะสมมากกว่าในอดีตมาก และเริ่มให้ผลผลิตไข่เร็วขึ้น ผู้เลี้ยงจึงต้องมีการปรับปรุงวิธีการเลี้ยง เพื่อให้ไก่ไข่นั้นสามารถให้ ผลผลิตสูง การเลี้ยงไก่ไขในปัจจุบันมีการเลี้ยงในโรงเรือนในกรงตับทำให้สัตว์เกิดความเครียด ตลอดจนมกี ารใช้ยาปฏิชีวนะซ่งึ กอ่ ให้เกิดผลเสียต่อผูบ้ ริโภค การเลี้ยงไก่ที่ปล่อยให้ไก่ออกมาจากโรงเรือนหรือภายนอกคอกได้อย่างอิสระ และได้ใช้ ชีวิตตามธรรมชาติ เป็นวิธีเลี้ยงไก่ไข่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะจะทำให้ไก่อารมณ์ดี มีความสุข มีสุขภาพที่แข็งแรง เป็นผลดีกับผลผลิตที่ได้ เมื่อนำมาปรุงอาหารจะมีความหอมมัน รสชาติดี และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดังนั้นการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีจะสามารถช่วยผลิตอาหาร แหล่งโปรตีนที่ใช้บริโภคในครัวเรือน ไข่เป็นอาหารโปรตีนที่ดี ที่เหมาะสมกับทุกครอบครัว สามารถสร้างความมน่ั คงดา้ นอาหารให้กับเกษตรกรและเยาวชนไดเ้ ปน็ อย่างดี ➢ พนั ธ์ุไก่ไข่ พันธุไ์ ก่ท่ีเลี้ยงในเมืองไทยแบง่ ออกเปน็ 2 กลมุ่ ใหญ่ ๆ คอื 1. ไก่พันธ์แุ ท้ เป็นไกท่ ี่ไดร้ ับการคดั เลอื กและผสมพันธุ์เป็นอย่างดมี าอยา่ งต่อเนอ่ื งของ นักผสมพันธุ์จนลูกหลานในรุ่นต่อ ๆ มา มีลักษณะรูปร่าง ขนาด สีและอื่น ๆ เหมือนบรรพบุรุษ หรอื ลักษณะประจำพนั ธุ์คงที่ 1.1 พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์เรด (Rhode Island Red) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ไก่ โร้ด” เป็นไก่พันธุ์เก่าแก่พันธุ์หนึ่งที่มีอายุกว่า 100 ปี ไก่พันธ์ุนี้มี 2 ชนิด คือ ชนิดหงอนกุหลาบ (Rose comb) และชนิดหงอนจักร (single comb) แต่ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายเป็นชนิดหงอน จกั ร ซึง่ เป็นไกท่ ่ใี หไ้ ขค่ อ่ นข้างดเี คยมีสถิตชิ นะการแข่งขนั ไกไ่ ข่ดกในประเทศไทยอยู่เสมอ ภาพที่ 1 ไกโ่ รด้ ไอส์แลนด์

1.2 พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค (Barred Plymouth Rock) หรือที่เรียกกันว่า “ไก่บาร์” มีขนสีดำสลับกับสีขาว ตามขวาง ของขน ลักษณะลำตัวยาว หงอนจักร ปากสีเหลือง ตาสีน้ำตาลแดง หงอนเหนียงและตุ้มหูมีสีแดง หนังสีเหลือง ขาและนิ้วเท้าสีแดง ให้ไข่ เปลือกสีน้ำตาลเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือนครึ่ง ทนทานต่อ สภาพแวดลอ้ มได้ดี 1.3 พันธุ์เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร (Single Comb White Leghorn) เป็นไก่พันธุ์เบาที่มีขนาดเล็ก ลักษณะว่องไว ปราดเปรยี ว มีการเจริญเติบโตเร็ว ขนสีขาวท้ังตวั หงอนจกั ร 5 แฉก ภาพที่ 2 ไก่บารพ์ ลีมทั ร็อค ขนาดใหญ่ หงอนมสี แี ดง ปากเหลือง ตมุ้ หูสีขาว ผิวหนงั และ หน้าแข็ง สีเหลือง ให้ไข่เร็ว ให้ไข่ดก ไข่เปลือกสีขาว มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารค่อนข้างสูง ทนต่อ อากาศรอ้ นได้ดีเรมิ่ ใหไ้ ขเ่ ม่ืออายปุ ระมาณ 4 เดือนครึ่ง ให้ไข่ ปลี ะประมาณ 300 ฟอง ภาพท่ี 3 ไกเ่ ล็กฮอรน์ ขาว 2. ไก่พันธุ์ลูกผสม เป็นพันธ์ุไก่ไข่ที่ได้จากการนำไก่ไข่ตั้งแต่ 2 สายพันธุ์ขึ้นไปมาผสม กันเปน็ พิเศษ ให้ผลผลิตไขส่ งู และมคี ณุ ภาพตรงตามความตอ้ งการของตลาด ไกพ่ ันธไ์ุ ข่นเ้ี ปน็ ที่นิยม เลี้ยงกนั ในเชงิ การค้ามากทส่ี ดุ ในปจั จุบนั เน่อื งจากเป็นพันธ์ุไกท่ ผี่ สมขึ้นเปน็ พิเศษ โดยบรษิ ัทผผู้ ลิต ลูกไก่พันธ์ุไขจ่ ำหนา่ ยไดม้ กี ารพัฒนาและปรับปรุงพันธใ์ุ ห้มีประสทิ ธภิ าพในการให้ผลผลิตไข่สูงและ มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด เช่น เอ.เอ.บราวน์ (A.A. Brown) รอสบราวน์(Ross Brown) ไฮเซกบราวน์ (Hisex Brown) อีซ่าบราวน์ (Isa Brown) ซูปเปอร์ฮาร์โก้ (Super Harco) ดีคาร์บวอร์เรน (Dekalb Voren) ฮับบาร์ดโกเด้นคอมเมท (Hubbard Golden Commet) เซพ เวอร์สตาร์ครอส 579 (Shaver Starcross 579) แบ๊บค๊อกบี-380 (Babcock B-300) บาโบลนา เตตร้า-เอสแอล (Babolna Tetra-SL) เป็นต้น ภาพที่ 4 ไก่อีซ่า บราว

ตารางท่ี 1 แสดงลักษณะของไก่ไข่พนั ธต์ุ ่าง ๆ พนั ธ์ุ จำนวนไข่ สขี อง ใหเ้ น้ือ/ใหไ้ ข่ อายุเริ่มไข่ น้ำหนกั ตอ่ ปี เปลอื กไข่ (สัปดาห์) เฉล่ีย กก. เลก็ ฮอร์นขาว 280-300 ขาว ใหไ้ ข่ 16-17 2.5 (White leghorn) 18-24 2.9 250 น้ำตาล เน้ือและไข่ 18-22 2.9 โร้ดไอส์แลนดแ์ ดง (Rhode Island red) 280 นำ้ ตาล เนื้อและไข่ 18-20 2.7 ออ่ น บารพ์ ลมี ัทรอ็ ค 15 2.7-3.2 (Barred Plymouth 200 นำ้ ตาล เนอ้ื และไข่ 25-30 2.5 Rock) 20 2.0 250-300 นำ้ ตาล เนอ้ื และไข่ โกลเดนท์ แรซ ไว ยนั ดอท (Golden 300 เขยี วแกม ให้ไข่ Laced Wyandottes) ฟา้ โกลเดนท์ โคเมท 300 นำ้ ตาล ใหไ้ ข่ (Golden Comet) อเมอรัวกาน่า (Ameraucana) อีซ่า บราว (Isa brawn) ➢ การจัดการทัว่ ไปสำหรับไก่ไข่ 1. โรงเรอื น การเลี้ยงไก่ไข่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโรงเรือนสำหรับไก่ไข่ โรงเรือนไก่ไข่ต้องมี ความแขง็ แรง ทนทาน ปอ้ งกนั ลม กนั แดด กันฝน รวมถึงสัตวอ์ น่ื ๆ เชน่ นก แมว หนู และสุนัขได้ ทำความสะอาดง่าย อยู่ห่างจากชุมชนเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นรบกวน ควรวางให้ถูกทิศทางลมเพ่ือ การระบายอากาศที่ดี ซึ่งช่วยลดอุณหภูมิและความชื้น ภายในโรงเรือน ทำให้สัตว์ได้รับออกซิเจน อย่างเพียงพอและช่วยระบายแก๊สทเี่ กิดจากการหมกั ของมลู สัตว์

ลักษณะของโรงเรือนไก่ไข่จะมีหลายแบบ รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่มีดงั น้ี 1. แบบเพิงหมาแหงน โรงเรือนแบบนี้แบบนี้จะสร้างง่าย ลงทุนน้อย แต่จะมี ข้อเสยี คอื ฝนอาจจะสาดเขา้ ทางดา้ นหนา้ ไดง้ า่ ย และมคี วามแขง็ แรงนอ้ ย 2. แบบหน้าจั่วชั้นเดียว โรงเรือนแบบนี้มีข้อดีคือแข็งแรงกว่าแบบเพิงหมาแหงน สามารถปอ้ งกนั แดด ลม ฝนได้ดีกว่า แตจ่ ะมีค่าวัสดุ อปุ กรณ์ และค่ากอ่ สร้างมากกว่าแบบเพงิ หมา แหงน เพราะรูปแบบมีความซบั ซ้อนมากกว่า 3. แบบหน้าจั่วสองชั้น โรงเรือนแบบนี้จะคล้าย ๆ กับหน้าจั่วชั้นเดียว แต่จะ ต่างกันตรงที่มีหน้าจั่วช้ันท่ี 2 เพิ่งขึ้นมาเพือ่ ช่วยระบายอากาศ ทำให้แบบน้ีจะระบายความรอ้ นได้ ดีและเย็นกวา่ แบบหน้าจัว่ ช้นั เดยี ว แต่กจ็ ะมีคา่ ก่อสร้างแพงกว่าหน้าจว่ั ช้นั เดียว 4. แบบหน้าจั่วกลาย โรงเรือนแบบนี้คล้ายเพิงหมาแหงน แต่สามารถกันฝนได้ ดีกว่า และมีค่าใชจ้ า่ ยในการกอ่ สร้างมากกวา่ เพิงหมาแหงน 5. แบบเพิงหมาแหงนกลาย โรงเรอื นแบบน้ีนี้จะดีกวา่ เพงิ หมาแหงนและแบบหน้า จว่ั เพราะมกี ารระบายอากาศ และกนั ฝน กนั แดดได้ดกี ว่า แตค่ า่ ใชจ้ ่ายถูกกวา่ แบบหน้าจ่วั หลาย ภาพ 5 ลกั ษณะของโรงเรือนไก่ 2. อปุ กรณ์การเลยี้ งไกไ่ ข่ นอกจากมโี รงเรอื นทดี่ ีแลว้ เราจำเป็นตอ้ งมีอุปกรณพ์ ืน้ ฐานอยา่ งเช่น ซึ่งอุปกรณ์ในการ เลย้ี งไก่ไขค่ วรมดี งั น้ี 1. อุปกรณก์ ารให้อาหาร มหี ลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถงั อาหาร เป็นต้น 2. อปุ กรณ์ใหน้ ้ำ มหี ลายแบบขึ้นอย่กู ับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ 3. เคร่ืองกกลูกไก่ ทำหน้าทีใ่ หค้ วามอบอ่นุ แทนแมไ่ ก่ในตอนท่ลี ูกไก่ยังเล็กอยู่

4. รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหาก เลี้ยงแบบโรงเรือนก็จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าใครเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรบั การออกไข่ อย่างท่ีได้กล่าวมาข้างตน้ 5. วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและ ความสบายของตัวไก่ 6. อปุ กรณก์ ารให้แสง ทงั้ แสงจากธรรมชาติ และแสงจากอปุ กรณอ์ ิเล็กทรอนิกส์ ➢ การจดั การโรงเรือนและอุปกรณ์สำหรับการเลี้ยงไก่ไขอ่ ารมณด์ ี 1. โรงเรือน การเลี้ยงไก่ไข่ถึงแม้ว่าจะเลี้ยงแบบปล่อยก็มีความจำเป็นต้องมีโรงเรือนและอุปกรณ์ เพื่อบังแดด บังลมและฝน โรงเรือนไก่ไข่ต้องมีความแข็งแรง ทนทาน ป้องกันลม กันแดด กันฝน รวมถึงสตั ว์อนื่ ๆ เชน่ นก แมว หนู และสนุ ัขได้ ทำความสะอาดงา่ ย อยหู่ า่ งจากชมุ ชนเพ่ือป้องกัน กล่ินเหม็นรบกวน โครงสร้างควรเป็นคอนกรีต มีวัสดุรองพื้นคอก เช่น แกลบหนา 3-5 นิ้ว และ ควรมีรังไข่ 1 ช่อง ต่อแม่ไก่ 4 ตัว และประตูเข้า-ออก 2 ด้าน เพื่อหมุนเวียนปล่อยไก่ออกสู่แปลง อิสระ ทั้งนี้ หากมีโรงเรือนมากกว่า 1 หลัง แต่ละหลังควรเว้นระยะห่างกันมากกว่า 10 เมตร เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ภายในโรงเรือนต้องมีอุปกรณ์ให้ น้ำใหอ้ าหาร มีวัสดุรองพน้ื มีรังไข่เพื่อใหไ้ ก่วางไข่ ภาพ 6 โรงเรอื น

2. การใหอ้ าหารและให้น้ำไกไ่ ข่ อาหารไก่ไข่มี 4 ชนิด คือ อาหารผสม หัวอาหาร อาหารอัดเม็ดหรืออาหารสำเร็จรูป และอาหารเสริม สำหรับการให้น้ำในไก่ไข่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ควรให้น้ำประมาณครึ่งลิตรต่อวัน หากไก่ขาดน้ำในช่วงกำลังไข่ จะทำให้ไข่ฟองเล็ก น้ำที่ให้ควรเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ใส่ในกระบอกหรือถังให้ไก่กิน โดยไก่ไข่ที่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ต้องการน้ำประมาณ 0.5 ลิตรต่อวัน ต่อตัว หากขาดน้ำในชว่ งท่กี ำลงั ไขเ่ พียง 3-4 ช่วั โมง จะทำใหไ้ ข่ฟองเลก็ นำ้ สำหรบั ใหไ้ กไ่ ข่ควรเป็น น้ำสะอาด ส่วนเรื่องของอาหารนั้น ถ้าเป็นชว่ งเร่ิมให้ไข่จะเป็นอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีน 13-15 % ซึ่งก็มีทั้งอาหารผสม หัวอาหาร อาหารอัดเม็ด หรืออาหารสำเร็จรูป และอาหารเสริมการให้ อาหารไก่ไข่ เป้าหมายสำคัญของอาหารท่ีใช้เลี้ยงไก่ไขต่ ้องคำนึงถึงตน้ ทุนการผลิตให้ต่ำท่ีสุดและมี ประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ไข่ 1 ฟองต่ำที่สุด อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตไข่ 1 ฟอง เป็น ค่าอาหารประมาณ 60% ดงั นั้นจะมผี ลเกี่ยวข้องไปถึงเร่อื งอัตราการให้ไข่ และขนาดตัวของไก่ด้วย ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเลือกสายพันธุ์ไก่ที่มีอัตราการให้ไข่ดกและขนาดตัวเล็กเพื่อประหยัดค่าอาหาร นอกจากนย้ี ังข้ึนอย่กู ับสภาพอากาศ ฤดกู าลกเ็ ป็นปจั จยั สำคญั 2. อณุ หภูมิ ความชนื้ สมั พทั ธ์ และแสงสว่าง ไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ การระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่สามารถระบาย ออกทางผิวหนังเหมือนคนเรา ดังนั้น การระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยหายใจเอาอากาศ เข้าไปในปอด เข้าถุงลม ส่วนน้ำที่ไก่กินเข้าไปบางส่วนจะระเหยรวมออกมากับอากาศที่ไก่หายใจ ออกเนื่องจากร่างกายไก่ไม่มีความร้อน โรงเรือนไก่ไข่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการระบาย อากาศ หากสร้างโปร่ง การหมุนเวียนถ่ายเทอากาศดี อากาศเสียจะถูกขับออกนอกโรงเรือนและ อากาศบริสุทธิ์จากภายนอกจะเข้าไปแทนที่ โดยนำความร้อนจากภายในโรงเรือนออกไปด้วย นอกจากน้ันจะเป็นการลดปริมาณเชอ้ื โรคต่าง ๆ ได้ในระดบั หนึ่ง สำหรับแสงสวา่ ง การเล้ยี งไกไ่ ขแ่ สงสวา่ งมคี วามจำเป็นทจ่ี ะตอ้ งเพม่ิ เม่ือไกม่ อี ายุ 6-22 สัปดาหโ์ ดยค่อย ๆ เพมิ่ แสงใหส้ ปั ดาหล์ ะ 1/2-1 ชั่วโมง จนครบ 4 ช่ัวโมง รวมแสงธรรมชาตอิ กี 12 ชว่ั โมงต่อวัน รวมเป็น 16 ชว่ั โมง จึงจะเพยี งพอตอ่ ความตอ้ งการ เพอื่ ทจี่ ะให้ไดผ้ ลผลติ สงู หรอื อายุ การใหไ้ ข่นานและจะใชแ้ สงเชน่ นีไ้ ปจนกว่าไก่จะหมดไข่ ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมประมาณ 50-80 % ซึ่งถ้าความชื้นใน อากาศต่ำการระบายความร้อนออกจากร่างกายจะระบายได้ดีขึ้น ซึ่งประเทศไทยมักจะเจอปญั หา เรอ่ื งความช้นื ในฤดฝู น (รอ้ น-ชน้ื )

3. วิธเี รม่ิ ตน้ เลยี้ งไกไ่ ข่ 1. การเลีย้ งลกู ไกอ่ ายุ 1 วัน เปน็ วิธีท่นี ิยมกนั มากเนอ่ื งจากทนุ นอ้ ย สามารถเลยี้ งไก่ ได้ตลอดเวลาด้วยตวั เอง ดูแลเอาใจใส่ไดอ้ ย่างเตม็ ท่ี ไดร้ ู้ประวัตขิ องไกท่ ัง้ ฝงู 2. การเลี้ยงไก่รุน่ อายุ 2 เดอื น เปน็ วิธีทีน่ ิยมกนั ในปัจจุบัน โดยการซือ้ ไกร่ ุน่ อายุ 6 สัปดาห์ - 2 เดือน มาจากฟารม์ หรือบริษัททร่ี ับเลยี้ งลกู ไก่ ลูกไก่ในระยะนรี้ าคายงั ไมแ่ พงมากนัก และสามารถตดั ปญั หาในเรือ่ งการเลยี้ งดูลูกไกแ่ ละการกกลกู ไก่ 3. การเลยี้ งไก่สาว เปน็ วธิ ีทผ่ี เู้ ล้ียงไก่เป็นอาชพี หรอื เพอื่ การค้านิยมกนั มาก เน่ืองจาก ไม่ต้องเสียเวลาเลีย้ งดไู ก่เล็กหรือไกร่ ุ่น 4. การเล้ียงไก่ไขร่ ะยะต่าง ๆ 4.1 การเล้ียงดไู กเ่ ล็ก เม่ือลกู ไก่มาถึงฟาร์ม ต้องนำเขา้ เครอ่ื งกกโดยเร็วท่ีสุด เตรยี มน้ำสะอาดใหก้ ิน ทันที ควรผสมยาปฏิชีวนะหรือวิตามินให้กินติดต่อกัน 2-3 วันแรก ถ้าลูกไก่มีลักษณะนอนฟุบ อ่อนเพลียมาก ควรผสมน้ำตาลทรายลงในน้ำผสมยาปฏิชีวนะในอัตรา 5-10% ระยะ 12 ชั่วโมงแรกเมื่อลูกไก่เข้าเครื่องกก 2- 3ชั่วโมง หรือลูกไก่เริ่มกนิ น้ำได้แล้ว ให้อาหารไก่ไข่เลก็ โปรตีน 19 % ให้นอ้ ย ๆ แตบ่ อ่ ยคร้งั อย่างนอ้ ย ภาพที่ 7 ไก่เลก็ วันละ 3-4 ครั้ง ให้แสงสว่างในโรงเรือน 1-3 วันแรกเท่านั้น เพื่อให้ไก่คุ้นเคยกับสถานที่ ควรเปิด ไฟสลัว ๆ ภายในเครื่องกกต้องมีแสงไฟอยู่ตลอดเวลาในระยะ 1-3 สัปดาห์ หมั่นตรวจสุขภาพไก่ อาหารและน้ำ เปลี่ยนวัสดุรองพ้ืนที่ชืน้ อากาศต้องถ่ายเทได้สะดวก ขยายวงกกให้กว้างตามความ เหมาะสมทกุ ๆ 5-7 วัน ยกเครื่องกกใหส้ ูงข้นึ เล็กนอ้ ย ปรับอุณหภมู ิใหต้ ่ำลงสัปดาหล์ ะ 5 องศาฟา เรนไฮด์ ทำวัคซีนตามกำหนด ตัดปากเมื่ออายุ 6-9 วัน เมื่อกกลูกไก่ครบ 21 วัน นำวงล้อมและ เคร่อื งกกออก 4.2 การเลี้ยงดูไก่รุ่น การเลี้ยงไก่ในระยะนี้ ควรจัดเตรียม พื้นที่เลี้ยงในอัตราไก่ 5-6 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร เมื่ออายุ 7 สัปดาห์ เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่เล็กเป็นอาหารไก่ไข่รุ่น ให้ อาหารในอัตรา 4-5 ถังต่อไก่ 100 ตัว ปรับระดับที่ให้ อาหารให้อยู่ระดับหลังไก่เสมอ ทำความสะอาดอย่างน้อย ภาพที่ 8 ไก่รุน่ สปั ดาห์ละครั้ง เตรยี มนำ้ สะอาดให้เพียงพอ โดยใช้ในอัตรา ตามขอบราง 1 นิว้ ต่อไก่ 1 ตวั ดแู ลวสั ดรุ องพื้นอย่าให้แฉะ ช่ังนำ้ หนกั ไก่ จำนวน 5% ของฝูง ทกุ สปั ดาห์ เพอื่ ใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน ของไก่แต่ละสายพันธุ์ เพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณอาหารที่จะให้จดบันทึกเกี่ยวกับการจัดการอื่น ๆ ดว้ ย

4.3 การเลี้ยงดูไก่สาว การเลี้ยงดูไก่สาวจะใกล้เคียง กบั การเลยี้ งดไู ก่รนุ่ ตอ้ งควบคมุ ปริมาณอาหาร และน้ำหนกั ตวั ไก่ ใหอ้ ยู่ในเกณฑม์ าตรฐานของไก่ไข่แต่ละสายพนั ธุ์ ควรจัดการดังน้ี เมื่อไก่อายุ 15 สัปดาห์ เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่รุ่นเป็นไก่ไข่สาว ไม่ควรให้กินอาหารแบบเต็มที่เพราะไก่มักจะกินเกินความ ต้องการทำให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ไก่ให้ไข่เร็วแต่ไม่ทนและ สิน้ เปลอื งคา่ อาหาร 5. การจดั การอาหารไก่ไข่ ภาพท่ี 9 ไก่สาว 5.1 การจัดการไก่เล็ก ลูกไก่อายุแรกเกดิ จนถึง 4 สัปดาห์ เป็นช่วงสำคัญที่สุดของการ เลี้ยงไก่ไข่เล็ก ผู้เลี้ยงควรดูแลเอาใจใส่และหมั่นเติมอาหารให้ลูกไก่ได้รับอาหารตลอดเวลา เนื่องจากลูกไก่ยังเล็ก ร่างกายมีความอ่อนแอประกอบกับระบบอวัยวะภายในและระบบการสร้าง ภูมิคุ้มกันโรคกำลังเกิดการพัฒนาการสูง ดังนั้น ผู้เลี้ยงควรให้การดูแลจัดการเป็นพิเศษ โดยใช้วิธี โรยอาหารกระจายบนถาดใต้กก เพื่อการเจริญเติบโตที่ดี โครงสร้างใหญ่ มีขนาดสม่ำเสมอ มี รูปร่างทางสรรี วิทยาท่ดี แี ละสุขภาพแข็งแรง สูตรอาหารไก่ไข่ระยะเล็ก (0-6 สปั ดาห์) วัตถุดิบ ปรมิ าณท่ใี ช้ (%) ปลายข้าว 55 รำละเอียด 18 กากถวั่ เหลอื ง 19.8 ปลาป่น 5 เปลือกหอยป่น 0.8 ไดแคลเซียมฟอสเฟต 0.8 เกลอื ปน่ 0.35 พรีมกิ ซ์ 0.25 100 รวม โปรตนี 18% พลงั งาน 2900 Kcal/กก.

5.2 การจัดการไก่รุ่น-ไก่ไข่สาว การให้อาหารไก่รุ่นหรือไก่ไข่สาวนั้น ควรเริ่มมีการ จำกัดปริมาณอาหารเมื่อไก่รุ่นมีอายุได้ประมาณ 12 สัปดาห์ เป็นต้นไป เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้ ไดต้ ามลักษณะของสายพันธุ์ ซึ่งปริมาณการให้อาหารควรเปน็ ไปตามขอ้ มูลดงั ตารางน้ี ตารางแสดงปรมิ าณอาหารที่ให้ตามช่วงอายแุ ละน้ำหนักของไกไ่ ข่ อายุ นำ้ หนักตวั (กรัม) ปรมิ าณอาหารท่ใี ห้เฉลี่ย (กรมั ตอ่ ตัวตอ่ สัปดาห์) 6 500 350 8 750 380 10 900 400 12 1100 420 14 1240 450 16 1380 470 18 1500 500 20 1600 550 สตู รอาหารไกส่ าว (12-18 สปั ดาห์) อาหารระยะก่อนไข่สำหรับไก่สาวในช่วงอายุ 12-18 สัปดาห์ ควรมีระดับโภชนนาการ ท่เี หมาะสมเพอื่ การสะสมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในไขกระดกู ระยะนีค้ วรกระตนุ้ ให้ไก่กินอาหาร ได้มากที่สุดเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาระบบสืบพันธ์ุ เตรียมความพร้อมในการสร้างไข่ ตวั อย่างสตู รอาหารไกส่ าวดงั ตาราง วัตถดุ ิบ ปริมาณที่ใช้ (%) ปลายขา้ ว 52.7 รำละเอยี ด 30 กากถั่วเหลอื ง 8.2 ปลาป่น 3 ใบกระถินปน่ 4 เปลือกหอยป่น 1 ไดแคลเซยี มฟอสเฟต 0.5

วัตถดุ ิบ ปรมิ าณทใ่ี ช้ (%) 0.35 เกลอื ปน่ 0.25 พรมี กิ ซ์ 100 รวม โปรตนี 14% พลังงาน 2850 Kcal/กก. ➢ โรคและการสขุ าภบิ าลฟาร์มไกไ่ ข่ โรคท่ีพบในไก่ไข่ การเลี้ยงไก่ให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทำให้ไก่ไข่สามารถให้ผลผลิตสูง ต้องมีการวาง ระบบการป้องกนั โรคทดี่ ี ในการเลยี้ งไกไ่ ข่มกั มีโอกาสพบโรคที่สำคญั ดงั นี้ 1. โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคระบาดไก่ที่ ร้ายแรงที่สุด มีระบาดทั่วไป ถ้าเกิดขึ้นในฝูงใดมักจะทำ ให้ตายหมดเล้า ในไก่ใหญ่ทำให้ไข่ลด โรคนี้เกิดจากเชื้อ ไวรสั ชนดิ หนง่ึ การติดต่อของโรคเปน็ ไปรวดเรว็ มากดงั นี้ - ติดต่อกันโดยตรงในไก่ป่วยที่อยู่ใกล้ชิด กนั กินน้ำและอาหารร่วมกัน - ติดไปกับอุปกรณ์การเลี้ยงไก่ คนและ สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ตลอดจนนก หนู และแมลงวัน ภาพที่ 10 โรคนิวคาสเซิล กเ็ ป็นตวั นำโรคได้ - จากการชำแหละไก่ที่ป่วยและตายด้วยโรคนี้ ซึ่งในซากไก่จะมีเชื้อโรคอยู่ใน ปริมาณสงู มากพอท่จี ะแพรร่ ะบาดไปยังไกต่ ัวอื่น ๆ ในเล้าและไก่บริเวณใกลเ้ คยี งได้ 2. โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เป็นโรคตดิ ต่อทางระบบหายใจ เกิดได้กบั ไก่ทุกอายุ แต่ ในลูกไกเ่ ล็กจะติดโรคนีไ้ ด้ง่ายกว่า และตายมากกวา่ ในไก่ใหญ่ เกิดจากเชือ้ ไวรัสชนดิ หนึ่ง การแพร่ ระบาดรวดเร็วมาก ไก่จะไดร้ ับเช้ือโรคโดยการหายใจเอาเช้อื โรคท่ีปลวิ ฟุ้งอยใู่ นอากาศ หรือการกิน เอาเช้อื โรคท่ปี นอย่ใู นอาหารหรอื นำ้ เข้าไป

3. โรคอหิวาต์ไก่ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่พบได้ในไก่ เป็ด ห่าน และนกอีกหลายชนิด ระบาดได้ทกุ ฤดกู าล เกิดจากเชอ้ื แบคทเี รียชนิดหนงึ่ ติดต่อไดห้ ลายทาง เชน่ - โดยกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าไป และติดต่อกันต่อไปในสัตว์ป่วยที่อยู่ ใกล้ชิดกนั - เชื้อโรคติดไปกับอุปกรณ์การเลี้ยง คน และสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ตลอดจน นก หนู ก็เปน็ ตัวนำโรคได้ - เปด็ -ไก่ ทีเ่ ล้ียงใกลแ้ หล่งน้ำ ซากเปด็ -ไกท่ ่ีเป็นโรค และสิ่งขบั ถา่ ยทีต่ กลงในน้ำน้ัน เช้อื โรคจะแพรก่ ระจายไปตามกระแสน้ำได้ - จากการชำแหละเป็ด-ไก่ ที่ป่วยและตายด้วยโรค ซึ่งเชื้อโรคสามารถแพร่กระจาย ไปสูเ่ ปด็ -ไก่ตัวอนื่ ๆ ในเล้าและเป็ด-ไกบ่ รเิ วณใกลเ้ คยี งได้ 4. โรคฝีดาษไก่ เป็นโรคระบาดที่พบได้มากในลูกไก่และไก่รุ่น นอกจากนี้นกพิราบก็ เปน็ โรคน้ีได้ ติดตอ่ ไดร้ วดเร็วมาก มักจะทำให้ไกต่ ายเปน็ จำนวนมาก ตัวท่ไี ม่ตายจะแคระแกรน ไม่ เจริญเติบโตเท่าทค่ี วร เกดิ จากเชื้อไวรสั ติดตอ่ ไดห้ ลายทาง ดังน้ี - ทางบาดแผล เชน่ แผลท่เี กิดจากถูกของมีคม แผลจากการจิกตกี ันในฝงู - ยุงเป็นพาหะที่สำคัญในการนำเชื้อโรคไประบาดในไก่ตัวอื่น ๆ โดยยุงกินเลือด สตั วป์ ่วยในระยะท่ีมีเชื้อโรคอยูใ่ นกระแสเลือด เช้อื โรคกจ็ ะเข้าไปอยู่ในตวั ยุง เมื่อยุงไปกัดดูดเลือด ไกอ่ ีกตวั หน่ึงกจ็ ะปลอ่ ยเชอ้ื โรคเข้าไปทำใหไ้ กเ่ ป็นโรค 5. โรคหวดั ตดิ ต่อหรือหวดั หนา้ บวม เป็นโรคทางเดินหายใจมักเกดิ กับไก่รนุ่ และไก่ใหญ่ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทเี รียทีป่ ะปนอยูใ่ นเสมหะ น้ำมูก และน้ำตาของไก่ป่วย ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดง อาการอย่างรวดเร็ว โดยมีอาการจาม มีน้ำตา น้ำมูกอยู่ในช่องจมูกและเปียกเปรอะถึงปาก และมี กลิ่นเหม็น เมื่อเป็นรุนแรง ตาจะแฉะจนปิด หน้าบวม เหนียงบวม ไก่กินอาหารน้อยลง ไก่ที่กำลัง ให้ไขจ่ ะไข่ลด 6. โรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ เกิดได้กับไก่ทุกอายุ แต่ในลูกไก่เล็กจะติดโรคนี้ได้ง่ายกว่า และตายมากกว่าในไก่ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง การ แพร่ระบาดรวดเร็วมาก ไก่จะได้รับเชื้อโรคโดยการหายใจเอาเชื้อโรคที่ปลิวฟุ้งอยู่ในอากาศ หรือ การกนิ เอาเชอ้ื โรคท่ีปนอย่ใู นอาหารหรอื นำ้ เขา้ ไป 7. โรคมาเร็กซ์ เป็นโรคที่มกั เป็นกบั ไกร่ ุ่น ไกส่ าว ซ่งึ เกดิ จากเช้ือไวรัส ทีส่ ะสมอยทู่ ่หี นัง ไก่บริเวณโคนขนของไก่ป่วยเป็นแผ่นเล็กๆ คล้ายขี้รังแค ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการหงอยซึม การเจริญเติบโตไม่ได้ขนาด ในกรณีที่เป็นอัมพาต ไก่จะอ่อนเพลีย กินน้ำกินอาหารไม่ได้ การทรง ตัวไม่ปกติ เดินขาลาก แล้วเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ การป้องกัน การสุขาภิบาล และการเลี้ยงดูที่ดี ไมใ่ หไ้ กเ่ ครียด และการใหว้ คั ซนี ป้องกันโรคมาเรก็ ซ์

วคั ซีน ชนิดของวัคซนี แบง่ ออกได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 1. วัคซีนเชื้อเป็น วัคซีนเชื้อเป็นสามารถให้ไก่ได้ทีละตัว โดยการหยอดตาหรือหยอด จมกู หรอื ใหไ้ ก่เป็นกลุ่มโดยการละลายในน้ำดื่ม หรอื การสเปรย์ ทำใหป้ ระหยดั แรงงาน วัคซีนเช้ือ เป็นสามารถถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากแม่แต่ให้ความคุ้มโรคสูง อาจทำให้ สตั ว์เกดิ โรคได้ แต่การเก็บรกั ษายงุ่ ยากกวา่ วคั ซนี เช้อื ตาย และมรี าคาถูก 2. วัคซีนเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่มักเตรียมจากเชื้อที่ความรุนแรงที่ถูกทำให้ตายโดยทาง เคมีหรือฟิสกิ ส์ จลุ ชีพเหล่าน้ไี ม่สามารถแบ่งตัวเพ่ิมจำนวนได้เมอ่ื เข้าสู่ร่างกาย จึงมีความปลอดภัย แต่ให้ความค้มุ โรคตำ่ วัคซีนเช้อื ตายจะใหโ้ ดยวิธกี ารฉีดเท่านนั้ สารทีใ่ ช้ผสมกับวคั ซีนจะเป็นน้ำมัน หรืออลูมินัมไฮดร็อกไซด์ สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดี วัคซีนเชื้อตายมีราคาแพงแต่เก็บ รกั ษางา่ ย วัคซีนสำหรับสตั วป์ กี ท่ีมา: กรมปศุสตั ว์ (2544)

การทำวัคซีน การทำวคั ซนี ไก่สามารถทำได้หลายวิธีท้งั นข้ี นึ้ อย่กู ับชนิดของวัคซีนที่ใช้และชนิดของโรค 1. การหยอดตาหรือหยอดจมูก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ เพื่อป้องกันโรคที่เกิด ข้ึนกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคนวิ คาสเซลิ และหลอดลมอกั เสบ 2. การแทงปีก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ คือบริเวณใต้ผิวหนัง เช่น วัคซีนป้องกัน โรคฝดี าษ เปน็ วัคซีนทม่ี ีความเขม้ ข้นมาก เน่ืองจากใช้น้ำยาละลายวัคซีนเพียงเล็กน้อย และใช้เข็ม จุ่มวัคซีนครั้งละ 0.01 ซี.ซี. โดยสังเกตุจากการที่วัคซีนเต็มรูเข็มทั้งสองข้าง แล้วแทงเข็มจากทาง ด้านล่างผ่านทะลผุ นงั ของปีกไก่ 3. การฉดี เขา้ ใต้ผิวหนัง เป็นวธิ ที ่นี ยิ มใช้ในการทำวคั ซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์ โดยฉีดเข้าใต้ ผิวหนังบริเวณทา้ ยทอยหรือฐานคอ ทำให้การสร้างภูมิคุ้มกนั เกิดขึ้นอยา่ งช้า ๆ แต่ให้ผลในการคมุ้ กนั โรคนาน 4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่นิยมใช้กับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หน้าอก การฉีดเข้ากล้ามเน้ือจะกระตุ้นการสร้างภมู คิ ้มุ กนั ดีกว่าการหยอดตาและจมูก เพราะจะไป กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้วยสารนำขึ้นในกระแสเลือดและเกิดการหมุนเวียนไปทั่วร่างกาย ทำให้ ภูมิคุ้มกันเกดิ ขึน้ อย่างรวดเรว็ 5. การละลายน้ำดื่ม เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ประหยัดแรงงาน และเหมาะสำหรับไก่จำนวน มาก ๆ แต่การสร้างภูมิคุ้มกันจะมีความผันแปรค่อนข้างมาก เนื่องจากไก่แต่ละตัวได้รับวัคซีนใน ปรมิ าณทแี่ ตกต่างกัน 6. การฉีดสเปรย์ เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับการทำวัคซีนครั้งแรกในลูกไก่อายุ 1 วัน เพื่อ ป้องกันโรคติดเชื้อจากไวรัสในระบบะทางเดินหายใจ อาจสเปรย์ตั้งแต่ในโรงฟักหรือโรงเรือนที่ เลี้ยง โดยสเปรยใ์ สล่ ูกไกท่ ีอ่ ยูใ่ นกล่องเลย ลูกไก่จะได้รบั วคั ซีนผ่านทางลกู ตาหรือจมูก เป็นวิธีท่ีทำ ได้รวดเรว็ สามารถให้วัคซีนแก่ไกจ่ ำนวนมาก ๆ ในระยะเวลาอนั สนั้ แต่ประมาณวัคซีนที่ได้รับอาจ แตกตา่ งกนั ไป



➢ การปอ้ งกันโรคในไก่ไข่ เพื่อลดความเสย่ี งในการเกิดโรคต่างๆการเลยี้ งไกค่ วรมีการวางระบบในการปอ้ งกันโรคท่ี ดีซง่ึ ประกอบไปด้วยหลักการตา่ ง ๆ ดังตอ่ ไปน้ี 1. โรงเรอื นและอปุ กรณ์การเลยี้ งต้องผ่านการล้างทำความสะอาดฆา่ เชื้อและพกั เล้า ก่อนการรับไก่เขา้ เลย้ี ง 2. เลย้ี งไก่เพยี งอายเุ ดียวในแต่ละโรงเรอื น หลีกเลย่ี งการเล้ยี งไก่รายอายหุ รอื หลายฝูง ในโรงเรียนเดียวกัน 3. ควบคมุ และกำจัดสตั วพ์ าหะนำโรคเชน่ นกหนูแมลงและสัตว์เลี้ยงต่างๆ 4. ควบคมุ การผ่านเข้าบริเวณฟาร์มและการเขา้ ไปในโรงเรยี นของบคุ คลยานพาหนะ และวัสดุอุปกรณ์ 5. การดแู ลรักษาความสะอาดอุปกรณโ์ รงเรอื นและบรเิ วณภายในฟาร์มให้สะอาดอยู่ เสมอ 6. น้ำท่ใี ช้ในการเลีย้ งไกต่ อ้ งสะอาดและผา่ นการฆ่าเชอื้ ดว้ ยคลอรนี 7. มมี าตรการการควบคมุ การแพร่ระบาดของโรคเม่ือมีไก่ปว่ ยมเี ตาเผาซากไกท่ ่ตี าย การขาดการสุขาภิบาลในการเลี้ยงที่ดี การค้าและการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเป็นสาเหตุ สำคัญในการแพร่กระจายโรคไวรัส ไข้หวัดนกถูกทำลายได้โดยง่ายหากมีการจัดการที่ดี ไวรัส ต้องการ pH 6.5 – 7.0 ถูกทำลายที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที การโดน แสงรังสีก็ลดความสามารถในการติดเชื้อได้ ระยะฟักตัวในสัตว์ปีก 3-5 วัน บางรายอาจนานถึง 3 สัปดาห์ แนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยกันกำจัดหรือควบคุมโรคไข้หวัดนกเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของ ชาวบ้านในชนบท 1. การสร้างคอกไก่ ควรอยู่ห่างจากบ้านทีอ่ ยู่อาศัยพอประมาณ (อย่างน้อย 20 เมตร) เพื่อป้องกันการติดต่อของโรคจากไกม่ าสู่สมาชิกในครอบครัว สร้างด้วยวัตถุที่หาได้ในทอ้ งถิ่นหาก บริเวณใกล้เคียงเกิดโรคระบาดก็สามารถกักไก่ไว้ในคอกเพื่อสามารถดำเนินการตามมาตรการ สุขาภิบาล ตามวิชาการทางสตั วแพทย์ได้ คอกท่ีสรา้ งเพ่อื ป้องกันโรคไขห้ วดั นกควรให้แสงแดดส่อง เขา้ ไปถึงพ้นื คอกเพอื่ ฆ่าเชื้อได้เวลาชว่ งหนง่ึ 2. การสุขาภิบาล ในเวลาปกตไิ มเ่ กิดโรค ควรนำมลู ไกอ่ อกจากคอกอยา่ งน้อยสัปดาห์ละ ครั้ง ใช้สาร ใช้อีเอ็ม หรือน้ำหมักชีวภาพให้ไก่กินและพ่นหรือราดคอกเป็นประจำเมื่อเกิดโรค ระบาดควรขังอยู่ในคอกการใชส้ ารอีเอ็มหรือน้ำหมักชีวภาพพ่นฆ่าเชือ้ ในคอกหรือทีไ่ กน่ อนหรือให้ ไก่กินในปรมิ าณมากขึ้น อาจช่วยป้องกันโรคได้ ตามประสบการณ์ของเกษตรกรท่กี ล่าวมาแล้วหาก ยงั ไมม่ น่ั ใจในการใชอ้ ีเอม็ และน้ำหมกั ในการปอ้ งกนั โรค ควรทำการศึกษาวจิ ยั เพ่มิ เติม

3.ปรับวิธีการขายไก่ เกษตรกรหรือพ่อค้าไก่ท้องถิ่นจะนำไก่มีชีวิตไปขายที่ตลาดสด ชุมชนเมืองหากมีไก่จากบางแห่งเป็นโรคเกษตรกรหรือพ่อค้าก็จะเป็นพาหะนำโรคกลับไปหมู่บ้าน เหมือนกัน แนวทางการพัฒนาปรับปรุงได้แก่ จัดตลาดนัดไก่มีชีวิตในชุมชนให้วิสาหกิจชุมชนฆ่า ชำแหละขายเป็นไก่สดขายส่งให้พ่อคา้ ท้องถน่ิ นำไปขายตอ่ เป็นตน้ 4.การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในการใช้มาตรการป้องกัน กำจัดโรคไข้หวดั นก ควรให้ชุมชนชนบทตระหนักว่าหากเกิดโรคแล้วชาวบา้ นจะเกิดความสูญเสีย อย่างมาก ให้ชมุ ชนสนบั สนนุ ชาวบ้านสร้างคอกไกแ่ ละจัดการดา้ นสขุ าภบิ าลที่ถกู สขุ ลกั ษณะ ไมช่ ้ือ ไกจ่ ากนอกหมบู่ ้านมาบรโิ ภคหากไม่จำเป็น สรา้ งชอ่ งทางสื่อสารในการแจง้ ข้อมลู แกเ่ จา้ หน้าท่ีหาก สงสัยว่าอาจมีการเกิดโรค รับรองว่าเป็นหมู่บ้านที่ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนก เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และชุมชนสามารถกำกับดูแลฟาร์มเป็นการค้าในพื้นที่ที่ไม่ ปฏบิ ัตติ ามมาตรการที่ทางราชการได้กำหนด เพราะหากเกิดโรคในฟาร์มเหล่านี้ ไกข่ องชาวบ้านใน พืน้ ที่จะตอ้ งถูกทำลายไปดว้ ย

เอกสารอา้ งองิ 1. กานดา ลอ้ แกว้ มณี และชลัท ทรงบญุ ธรรม. 2560. การเลี้ยงไกไ่ ขของประเทศไทย (Poultry production in Thailand) . คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวดั สกลนคร. Available form http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/animal/Poultry.pdf 2. Best Chicken Breeds for Egg Laying. Available form https://www.afrugalhomestead.com/2018/06/best-chicken-breeds-for-egg- laying.html 3. Wikipedia. Chicken breeds. Available form https://en.wikipedia.org/wiki/Rhode_Island_Red 4. NRC. 1994. Nutrient Requirements of Poultry. 9th. Academy Press. Washington DC, USA. 5. นพวรรณ ไชยานุกูลกติ ติ. การให้อาหารไก่ไขร่ ะยะต่างๆ. เอกสารเผยแพร่ กองอาหารสตั ว์ กรม ปศุสตั ว์. กรงุ เทพมหานคร. 6. อทุ ัย คนั โธ. 2529. อาหารและการผลิตอาหารเล้ยี งสุกรและสตั ว์ปีก. ศนู ย์วจิ ัยและฝึกอบรมการ เลย้ี งสตั วแ์ หง่ ชาต.ิ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม. 7. ประภากร ธาราฉาย. 2560. การผลติ สัตว์ปีก. http://www.as2.mju.ac.th/E- Book/t_prapakorn สบื ค้นเมือ่ วันที่ 19 กรกฎาคม 2565. 8. ยอดชาย ทองไทยนันท์. 2551. ความหลากหลายทางชีวภาพกบั การผลติ ปศุสัตว์ ตามปรชั ญา เศรษฐกจิ พอเพียง, กรมปศุสัตว์ กองบำรุงพนั ธสุ์ ัตว์ กลุ่มวจิ ัยความหลากหลายทางชีวภาพ

ขอบคุณรปู ภาพจาก Freepik

- 15 - ➢ การป้องกันโรคในไกไ่ ข่ เพือ่ ลดความเสยี่ งในการเกิดโรคตา่ งๆการเล้ยี งไกค่ วรมีการวางระบบในการป้องกันโรคท่ี ดีซึง่ ประกอบไปด้วยหลกั การต่าง ๆ ดงั ตอ่ ไปนี้ 1. โรงเรอื นและอุปกรณ์การเลีย้ งต้องผ่านการล้างทำความสะอาดฆ่าเช้ือและพักเล้า ก่อนการรบั ไก่เข้าเล้ยี ง 2. เลยี้ งไกเ่ พยี งอายเุ ดียวในแต่ละโรงเรือน หลีกเลยี่ งการเลีย้ งไกร่ ายอายหุ รือหลายฝงู ในโรงเรยี นเดยี วกนั 3. ควบคมุ และกำจดั สัตวพ์ าหะนำโรคเช่นนกหนแู มลงและสตั ว์เลย้ี งต่างๆ 4. ควบคมุ การผ่านเข้าบริเวณฟาร์มและการเข้าไปในโรงเรยี นของบคุ คลยานพาหนะ และวสั ดอุ ุปกรณ์ 5. การดูแลรกั ษาความสะอาดอุปกรณ์โรงเรือนและบรเิ วณภายในฟารม์ ใหส้ ะอาดอยู่ เสมอ 6. น้ำท่ใี ช้ในการเลย้ี งไก่ตอ้ งสะอาดและผา่ นการฆ่าเชอ้ื ดว้ ยคลอรีน 7. มมี าตรการการควบคมุ การแพรร่ ะบาดของโรคเมื่อมไี กป่ ว่ ยมเี ตาเผาซากไกท่ ตี่ าย การขาดการสุขาภิบาลในการเลี้ยงที่ดี การค้าและการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเป็นสาเหตุ สำคัญในการแพร่กระจายโรคไวรัส ไข้หวัดนกถูกทำลายได้โดยง่ายหากมีการจัดการที่ดี ไวรัส ต้องการ pH 6.5 – 7.0 ถูกทำลายที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที การโดน แสงรังสีก็ลดความสามารถในการติดเชื้อได้ ระยะฟักตัวในสัตว์ปีก 3-5 วัน บางรายอาจนานถึง 3 สัปดาห์ แนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยกันกำจัดหรือควบคุมโรคไข้หวัดนกเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของ ชาวบา้ นในชนบท 1. การสร้างคอกไก่ ควรอยู่ห่างจากบ้านทีอ่ ยู่อาศัยพอประมาณ (อย่างน้อย 20 เมตร) เพื่อป้องกันการติดต่อของโรคจากไก่มาสู่สมาชิกในครอบครัว สร้างด้วยวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่นหาก บริเวณใกล้เคียงเกิดโรคระบาดก็สามารถกักไก่ไว้ในคอกเพื่อสามารถดำเนินการตามมาตรการ สขุ าภิบาล ตามวิชาการทางสัตวแพทย์ได้ คอกทสี่ ร้างเพ่อื ปอ้ งกนั โรคไขห้ วดั นกควรใหแ้ สงแดดส่อง เข้าไปถงึ พื้นคอกเพือ่ ฆา่ เช้ือไดเ้ วลาชว่ งหน่ึง 2. การสุขาภิบาล ในเวลาปกตไิ มเ่ กดิ โรค ควรนำมูลไก่ออกจากคอกอย่างน้อยสัปดาห์ละ ครั้ง ใช้สาร ใช้อีเอ็ม หรือน้ำหมักชีวภาพให้ไก่กินและพ่นหรือราดคอกเป็นประจำเมื่อเกิดโรค ระบาดควรขงั อยู่ในคอกการใชส้ ารอีเอ็มหรือน้ำหมกั ชีวภาพพน่ ฆา่ เชื้อในคอกหรือทีไ่ กน่ อนหรือให้ ไก่กินในปรมิ าณมากขน้ึ อาจช่วยป้องกันโรคได้ ตามประสบการณข์ องเกษตรกรท่ีกล่าวมาแล้วหาก ยังไมม่ นั่ ใจในการใชอ้ ีเอ็มและนำ้ หมักในการปอ้ งกันโรค ควรทำการศกึ ษาวิจยั เพ่ิมเตมิ

- 16 - 3.ปรับวิธีการขายไก่ เกษตรกรหรือพ่อค้าไก่ท้องถิ่นจะนำไก่มีชีวิตไปขายที่ตลาดสด ชุมชนเมืองหากมีไก่จากบางแห่งเป็นโรคเกษตรกรหรือพ่อค้าก็จะเป็นพาหะนำโรคกลับไปหมู่บ้าน เหมือนกัน แนวทางการพัฒนาปรับปรุงได้แก่ จัดตลาดนัดไก่มีชีวิตในชุมชนให้วิสาหกิจชุมชนฆ่า ชำแหละขายเป็นไก่สดขายส่งใหพ้ ่อค้าทอ้ งถิ่นนำไปขายต่อเปน็ ตน้ 4.การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในการใช้มาตรการป้องกัน กำจัดโรคไข้หวดั นก ควรให้ชุมชนชนบทตระหนักว่าหากเกิดโรคแล้วชาวบา้ นจะเกิดความสูญเสยี อย่างมาก ให้ชุมชนสนบั สนุนชาวบ้านสรา้ งคอกไกแ่ ละจดั การด้านสุขาภิบาลท่ถี ูกสขุ ลักษณะ ไมช่ ้ือ ไกจ่ ากนอกหม่บู ้านมาบรโิ ภคหากไมจ่ ำเปน็ สรา้ งชอ่ งทางส่ือสารในการแจ้งข้อมูลแกเ่ จา้ หน้าท่ีหาก สงสัยว่าอาจมีการเกิดโรค รับรองว่าเป็นหมู่บ้านที่ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดนก เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และชุมชนสามารถกำกับดูแลฟาร์มเป็นการค้าในพื้นที่ที่ไม่ ปฏบิ ัตติ ามมาตรการทท่ี างราชการได้กำหนด เพราะหากเกิดโรคในฟาร์มเหล่านี้ ไก่ของชาวบ้านใน พนื้ ท่ีจะตอ้ งถกู ทำลายไปดว้ ย

- 17 - เอกสารอ้างอิง 1. กานดา ลอ้ แก้วมณี และชลัท ทรงบญุ ธรรม. 2560. การเลย้ี งไก่ไขของประเทศไทย (Poultry production in Thailand) . คณะทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละอตุ สาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตเฉลิมพระเกียรตจิ งั หวัดสกลนคร. Available form http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/animal/Poultry.pdf 2. Best Chicken Breeds for Egg Laying. Available form https://www.afrugalhomestead.com/2018/06/best-chicken-breeds-for-egg- laying.html 3. Wikipedia. Chicken breeds. Available form https://en.wikipedia.org/wiki/Rhode_Island_Red 4. NRC. 1994. Nutrient Requirements of Poultry. 9th. Academy Press. Washington DC, USA. 5. นพวรรณ ไชยานกุ ลู กติ ต.ิ การใหอ้ าหารไก่ไข่ระยะตา่ งๆ. เอกสารเผยแพร่ กองอาหารสตั ว์ กรม ปศสุ ัตว.์ กรุงเทพมหานคร. 6. อุทยั คันโธ. 2529. อาหารและการผลติ อาหารเล้ียงสุกรและสตั ว์ปกี . ศูนยว์ จิ ัยและฝึกอบรมการ เลีย้ งสัตว์แหง่ ชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม. 7. ประภากร ธาราฉาย. 2560. การผลิตสัตว์ปกี . http://www.as2.mju.ac.th/E- Book/t_prapakorn สบื ค้นเมือ่ วันที่ 19 กรกฎาคม 2565. 8. ยอดชาย ทองไทยนนั ท.์ 2551. ความหลากหลายทางชวี ภาพกบั การผลติ ปศสุ ตั ว์ ตามปรชั ญา เศรษฐกิจพอเพียง, กรมปศุสัตว์ กองบำรงุ พันธุ์สัตว์ กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook