Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 12 วิธีการสอนที่เป็นพื้นฐานสำคัญญสำหรับครู

12 วิธีการสอนที่เป็นพื้นฐานสำคัญญสำหรับครู

Published by ploy071245, 2022-11-16 12:54:44

Description: ความหมาย วิธีสอนโดยใช้การทดลองเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนรายบุคคลหรือรายกลุ่มเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นผลประจักษ์ชัดจากการคิดและการกระทำของตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นตรงกับความเป็นจริง มี ความหมายสําหรับผู้เรีย

Search

Read the Text Version

12 แผนการสอน สิ่งที่ต้องทำ งานวิิธีการสอนพืั้นฐาน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับครู 12 แผนการสอน จัดทำโดย นางสาวอทิตยา คงสมแสวง เลขที่ 10 รหัสนักศึกษา 16415063 สาขาการสอนภาษาไทย

วิธีสอนโดยใช้การทดลอง (Experiment) ความหมาย องค์ประกอบสําคัญของวิธีสอน วิธีสอนโดยใช้การทดลองเป็นวิธีการที่ 1. มีปัญหาและสมมติฐานในการทดลอง มุ่งช่วยให้ผู้เรียนรายบุคคลหรือราย 2. มีวัสดุอุปกรณ์สําหรับการทดลอง กลุ่มเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นผล 3. มีการทดลอง ประจักษ์ชัดจากการคิดและการกระ 4. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการ ทำของตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้น ตรงกับความเป็นจริง มี ความหมาย ทดลอง สําหรับผู้เรียนและจำได้นาน เทคนิคขั้นตอน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการใช้วิธี สอนโดยใช้การทดลองให้มีประสิทธิภาพ 1.การเตรียมการ ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายกำหนดตัวปัญหา ที่จะใช้ในการทดลองและกระบวนการ หรือขั้นตอนในการดำเนิน การทดลองให้ชัดเจน 2. การนำเสนอเรื่อง / ตัวปัญหาที่จะใช้ในการทดลอง ผู้สอนอาจ เป็นผู้นำเสนอปัญหาที่จะใช้ในการทดลอง แต่ถ้าทำให้ผู้เรียนมี ความรู้สึกว่า ปัญหามาจากตัวผู้เรียนเองได้ ก็จะยิ่งดี จะทำให้การ เรียนรู้หรือการทดลองนั้นมีความหมายสำหรับผู้เรียนมาก 3.การให้ความรู้ / ขั้นตอน / รายละเอียดในการทดลอง ผู้สอนอาจ เป็นผู้กำหนดขั้นตอนและรายละเอียดในการทดลองเอง หรืออาจ ให้ผู้เรียน ร่วมกันวางแผนและกาหนดขั้นตอนในการดำเนินการ ทดลองก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมกับสาระแต่การให้ ผู้เรียนร่วม กันดำเนินการนั้นจะช่วยให้ผผู้เรียนพัฒนาทักษะต่าง ๆ 4.การทดลอง การทดลองทำได้หลายแบบ ผู้สอนอาจให้ผู้เรียน ลงมือทดลองตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ ทั้งหมด โดยครูทำหน้าที่ สังเกต และให้คำแนะนำหรือให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน หรือผู้ สอนอาจลงมือทำ การทดลองเอง ให้ผู้เรียนสังเกต แล้วทำการ ทดลองตามไปทีละขั้นตอน หรือผู้สอนอาจลงมือทำการทดลอง

วิธีสอนโดยใช้การทดลอง (Experiment) ข้อดี 1.เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง ได้ผ่าน กระบวนการต่าง ๆ ได้พิสูจน์ ทดสอบ และเห็นผลประจักษ์ ด้วยตนเอง จึงเกิดการเรียนรู้ได้ดี มีความเข้าใจ และจะจดจำ การเรียนรู้นั้นได้มาก 2. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะ กระบวนการต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ รวมทั้งได้พัฒนาลักษณะนิสัยใฝ่รู้ 3.เป็นวิธีสอนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมาก จะทำให้เกิดความ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ ข้อจํากัด 1.เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุ สำหรับผู้เรียน จำนวนมาก หรือในกรณีที่ ต้องออกไปเก็บข้อมูลนอกสถานที่ ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายพาหนะ ที่พัก และวัสดุต่าง ๆ ด้วย 2. เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามากเนื่องจากการดำเนินการแต่ละขั้น ตอนต้องใช้เวลา 3.เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึง จะสามารถสอนและฝึกฝน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration) ความหมาย เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงเห็นสิ่ง ที่เรียนรู้อย่างเป็นธรรม ทำให้ เกิดความเข้าใจและจดจำ ในเรื่องที่สาธิตได้ดีและนาน วัตถุประสงค์ วิธีสอนโดยใช้การสาธิตเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนทั้งชั้นได้ เห็นการปฏิบัติจริงด้วยตา ตนเอง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องหรือการปฏิบัตินั้นชัดเจนขึ้น องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน 1. มีเรื่องหรือสิ่งที่จะสาธิต 2.มีการแสดง / การทำ / ให้ผู้เรียนสังเกตดู 3. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการสาธิต ขั้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของการสอน 1.ผู้สอนแสดงการสาธิต ผู้เรียนสังเกตการสาธิต 2. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต

วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration) ข้อดีและข้อจํากัดของวิธีสอนโดยใช้การสาธิต ข้อดี 1.เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง เห็นสิ่งที่ เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำใน เรื่องที่สาธิตได้ดีและนาน 2.เป็นวิธีสอนที่ช่วยประหยัดเวลา อุปกรณ์และค่าใช้จ่าย หาก ใช้ทดแทนการทดลอง 3. เป็นวิธีที่สามารถสอนผู้เรียนได้จำนวนมาก ข้อจํากัด 1. เป็นวิธีที่ผู้เรียนที่ผู้เรียนอาจไม่สังเกตเห็นการสาธิตอย่าง ชัดเจน ทั่วถึง หากเป็นกลุ่ม 2.เป็นวิธีที่ผู้สอนเป็นผู้สาธิต จึงอาจไม่เห็นพฤติกรรมของผู้ เรียน 3.เป็นวิธีที่ผู้เรียนอาจมีส่วนร่วมไม่ทั่วถึง และมากพอ 4. เป็นวิธีที่ผู้เรียนไม่ได้ลงมือทำเองจึงอาจไม่เกิดความรู้ที่ลึกซึ้ง เพียงพอ

วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย (Deductive Method) ความหมาย กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ ทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปในเรื่องที่เรียน แล้วจึงใช้ตัวอย่างการใช้ ทฤษฎี/หลักการ/กฎ หรือข้อสรุปนั้นหลาย ๆ ตัวอย่าง หรืออาจให้ผู้เรียน ฝึกนำทฤษฎี/หลักการ/กฎ หรือข้อสรุปนั้นไปในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในทฤษฎี/หลักการ/กฎ หรือ ข้อสรุปนั้น ๆ อย่างลึกซึ้งขึ้น หรือกล่าวสั้น ๆ ว่าเป็นการสอนจากหลักการ ไปสู่ตัวอย่างย่อย ๆ องค์ประกอบของการสอนแบบนิรนัย 1. มีผู้สอนผู้เรียน 2.มีทฤษฎี / หลักการ / กฎ หรือข้อสรุปต่าง ๆ 3.มีตัวอย่างสถานการณ์ที่หลากหลาย ที่สามารถนำ ทฤษฎี/หลักการ/กฎ หรือข้อสรุปนั้นนำไปใช้ได้ 4.มีการฝึกนำทฤษฎี / หลักการ / กฎ หรือข้อสรุปไปใช้ ในสถานการณ์ที่หลากหลาย 5. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการนำหลัก การไปใช้

วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย (Deductive Method) ขั้นตอนการสอนโดยใช้การนิรนัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้น 1. ขั้นเตรียม หรือขั้นอธิบายปัญหา เป็นขั้นที่ผู้สอนจะต้องเตรียม ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ ชีวิตจริงและเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน 2. ขั้นสอน ผู้สอนจะต้องอธิบาย และสรุปกฎเกณฑ์ หลักการ หรือ ทฤษฎี ให้ผู้เรียนได้ เข้าใจ พร้อมกับยกตัวอย่างให้ผู้เรียนได้เห็นจริง 3. ขั้นสรุป เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องสรุปกฎเกณฑ์และทฤษฎี จากสิ่งที่ผู้ สอนได้อธิบายไว้ เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาไว้อย่างถูกต้อง 4. ขั้นนำไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสิ่งที่ผู้ สอนได้อธิบายไว้ว่า สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ได้หรือไม่ ข้อดี 1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็ว และไม่ยุ่งยาก 2. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการนำทฤษฎี / หลักการไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ 3. เป็นวิธีสอนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถหรือ เรียนรู้ได้เร็วสามารถพัฒนา โดยไม่ต้องรอผู้เรียนรู้ได้ ช้ากว่า ข้อจำกัด 1. เป็นวิธีการที่ผู้สอนจำเป็นต้องเตรียมตัวอย่าง / สถานการณ์ / ปัญหาที่หลากหลายมาให้ผู้เรียนได้ฝึก ทำ 2. เป็นวิธีสอนที่ขึ้นกับความเข้าใจและความสามารถของผู้ สอนในการนำทฤษฎี หลักการ 3.เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า อาจจะตามไม่ทัน เพื่อนและเกิดปัญหาในการเรียนรู้

วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture) ความหมาย วิธีสอนโดยใช้การบรรยายคือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการพูด บอก เล่า อธิบาย สิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถาม แล้ว ประเมินการเรียนรู้ของ ผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง วัตถุประสงค์ วิธีสอนโดยใช้การบรรยายเป็นวิธี การที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระหรือ ข้อความรู้จํา นวนมากพร้อม ๆ กันได้ในเวลาที่จำกัด องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน 1. มีเนื้อหาสาระ หรือข้อความรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ 2. มีการบรรยาย (พูด บอกเล่า อธิบาย) 3. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย 4. ขั้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของการสอน 1. ผู้สอนเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย 2. ผู้สอนบรรยาย (พูด บอกเล่า อธิบาย) เนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้ เรียนได้เรียนรู้ 3.ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้ เรียน

วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture) ข้อดีและข้อจํากัดของวิธีสอนโดยใช้การบรรยาย ข้อดี 1.เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลาน้อย เมื่อเทียบกับวิธีสอนแบบอื่น ๆ 2. เป็นวิธีสอนที่ใช้กับผู้เรียนจํานวนมากได้ 3. เป็นวิธีสอนที่สะดวก ไม่ยุ่งยาก 4. เป็นวิธีสอนที่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้มาก ข้อจํากัด 1.เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีบทบาทน้อย จึงอาจทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจ ในการบรรยาย 2.. เป็นวิธีสอนที่อาศัยความสามารถของผู้บรรยาย ถ้าผู้บรรยายไม่มี ศิลปะในการบรรยายที่ ดึงดูดใจผู้เรียน ผู้เรียนอาจขาดความสนใจ และถ้าผู้สอนขาดการเรียบเรียงเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสม 3. เป็นวิธีสอนที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่าง ระหว่างบุคคล

เทคนิคการสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method ) ความหมาย วิธีสอนแบบอุปนัย เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎ เกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจาก ตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้ นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบแล้วพิจารณาค้นหา องค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำ มาเป็นข้อสรุป วัตถุประสงค์ ความมุ่งหมายและวิธีสอนแบบอุปนัย เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สำคัญ ๆ ด้วยตนเองกับให้ เข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของความคิด ต่างๆ อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดจนกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการทำการ สอบสวนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

เทคนิคการสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method ) ข้อดี 1. จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน 2. ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์ 3. ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูก ต้องตามหลักจิตวิทยา ข้อจำกัด 1. ไม่เหมาะสมที่จะใช้สอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ 2.ใช้เวลามาก อาจทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย 3. ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นทางการเกินไป 4.ครูต้องเข้าใจในเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ใน การสอน

การจัดการเรียนรู้โดยการไปทัศนศึกษา ความหมาย การจัดการเรียนรู้โดยการไปทัศนศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ นำผู้เรียนออกไปศึกษาเรียนรู้ ณ สถานที่ที่เป็นแหล่งความรู้ในเรื่อง นั้น ( ซึ่งอยู่นอกสถานที่เรียนกันอยู่โดยปกติ )โดยมีการศึกษาเรียน รู้สิ่งต่าง ๆ ในสถานที่นั้นตามกระบวนการหรือวิธีการที่ผู้สอนและผู้ เรียนได้ร่วมกันวางแผนไว้ และมีการอภิปรายสรุปผลการเรียนรู้ จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้ องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน 1. มีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในเรื่อง วัตถุประสงค์ สถานที่ การเดินทาง เรื่องที่จะศึกษา วิธีศึกษา ค่าใช้จ่าย กำหนดการเดินทางและหน้าที่ความรับผิดชอบ 2. มีการเดินทางออกไปยังสถานที่เป้าหมายซึ่งอยู่นอกโรงเรียน หรือนอกสถานที่ที่เรียนกันอยู่เป็นปกติ 3. มีกระบวนการในการศึกษาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ในสถานที่นั้น 4. มีสรุ ปผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการไปทัศนศึกษา

การจัดการเรียนรู้โดยการไปทัศนศึกษา ขั้นตอนสำคัญ ( ที่ขาดไม่ได้ ) ของการสอน 1.ผู้สอนและผู้เรียนวางแผนร่วมกันในเรื่องวัตถุประสงค์ สถานที่ที่ จะไป การเดินทาง สิ่งที่จะไปศึกษา วิธีศึกษา ค่าใช้จ่าย กำหนดการเดินทาง และหน้าที่ความรับผิดชอบ 2. ผู้สอนและผู้เรียนเดินทางไปยังสถานที่เป้าหมาย 3. ผู้เรียนศึกษาสิ่งต่าง ๆ ในสถานที่นั้นตามกระบวนการหรือวิธี การศึกษาที่ได้วางแผนไว้ 4. ผู้สอนและผู้เรียนเดินทางกลับ และสรุปผลการเรียนรู้ หรือผู้ สอนและผู้เรียนสรุปผลการเรียนรู้ และเดินทางกลับ ข้อดีของการจัดทัศนศึกษา การจัดทัศนศึกษาช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง เรียนรู้ ตามสภาพจริง สามารถนำความรู้ที่ได้รับภายในห้องเรียนมา เชื่อมโยงกับสิ่งที่เห็นจากการทัศนศึกษาได้ รวมไปถึงเอื้อต่อผู้ เรียนในการฝึกทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะการประสานงาน การ ทำงานกลุ่ม การวางแผน ตลอดจนส่งผลให้ผู้เรียนมีความ กระตือรือร้นในการเรียนรู้และสนใจการเรียนเพิ่มขึ้น ข้อจำกัดของการจัดทัศนศึกษา การจัดทัศนศึกษาจำเป็นต้องมีการวางแผนที่รัดกุมและติดต่อ ประสานงานต่าง ๆ จึงเป็นวิธีสอนที่ค่อนข้างมีความยุ่งยาก รวม ถึงเป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่ายสูง หากบริหารจัดการและเตรียม กระบวนการไม่ดีพอ การจัดทัศนศึกษาอาจเกิดผลที่ไม่คุ้มค่าได้

วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย ความหมาย วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ กำหนดโดยการจัดผู้ เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4-8 คน และให้ผู้เรียนในกลุ่มพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และประสบ การณ์ในประเด็นที่ กำหนด และสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของกลุ่ม วัตถุประสงค์ วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างทั่วถึง มีโอกาส แสดงความคิด เห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ใน เรื่องที่เรียนกว้างขึ้น องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน 1.มีการจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละประมาณ 4-8 คน 2. มีประเด็นในการอภิปราน 3. มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้สึก และประสบการณ์ กันระหว่างสมาชิกในกลุ่มตามประเด็น การอภิปราย 4. มีการสรุปสาระที่สมาชิกลุ่มได้อภิปรายกันเป็นข้อสรุปของกลุ่ม 5. มีการนำข้อสรุปของกลุ่มมาใช้ในการสรุปบทเรียน

วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย ขั้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของการสอน 1.ผู้สอนจัดผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละประมาณ 4-8 คน 2. ผู้สอน / ผู้เรียนกำหนดประเด็นในการอภิปราย 3. ผู้เรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตามประเด็นอภิปราย 4. ผู้เรียนสรุปสาระที่สมาชิกกลุ่มได้อภิปรายร่วมกันเป็นข้อสรุปของ กลุ่ม 5. ผู้สอนและผู้เรียนนำข้อสรุปของกลุ่มย่อยมาใช้ในการสรุปบท เรียน ข้อดีและข้อจํากัดของวิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย ข้อดี 1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนกลุ่มใหญ่มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นและมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างทั่วถึง 2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนได้ข้อมูลและความคิดเห็นที่หลาก หลาย ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ที่ กว้างขึ้น 3.เป็นวิธีสอนที่ช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้เรียน ช่วยให้ผู้ เรียนได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ จำนวน มาก เช่น ทักษะการพูด การแสดง ความคิดเห็น การโต้แย้ง การวิพากษ์วิจารณ์ และทักษะการคิด เป็นต้น ข้อจำกัด 1. เป็นวิธีการสอนที่ใช้เวลามาก 2. เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยสถานที่หรือบริเวณที่กว้างพอจะจัดกลุ่มให้ อภิปรายกันได้ โดยไม่รบกวนกัน 3. หากผู้เรียนไม่รู้หรือไม่ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มที่ดี การอภิปรายอาจไม่ได้ผลดี 4. หากสมาชิกกลุ่มและผู้สอน ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีอาจเกิด ปัญหาการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง สมาชิกในกลุ่ม ได้

วิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization Method) ความหมาย กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ตาม วัตถุประสงค์ โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้ เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาและบทละครที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ทำให้เรื่องราวนั้นมีชีวิตขึ้นมา และสามารถทำให้ทั้งผู้แสดงและผู้ชมเกิด ความเข้าใจและจดจำเรื่องนั้นได้นาน วัตถุประสงค์วิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร วิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเห็น ภาพของเรื่องราวที่ต้องการเรียนรู้ประจักษ์ชัดด้วยตาตนเอง ทำให้เรื่องราวนั้นมีชีวิตขึ้นมา ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจน และจดจำได้นาน ขั้นตอนสำคัญของวิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร 1. ผู้สอน / ผู้เรียนเตรียมบทละคร 2. ผู้เรียน ศึกษาบทละครและเลือก (หรือผู้สอนกำหนด) บทบาทที่จะ แสดง 3. ผู้เรียนศึกษาบทที่จะแสดงและซ้อมการแสดง ผู้สอนให้คำแนะนำใน การชมการแสดงแก่ผู้เรียนที่เป็นผู้ชม 4. ผู้สอนและผู้เรียนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการแสดง เช่น เครื่อง แต่งกาย ฉาก เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ 5. ผู้เรียนแสดงหรือชมละคร 6.. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงของผู้เล่น เรื่องราวหรือ เนื้อหาการแสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการแสดงละคร 7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

วิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization Method) ขั้นตอนสำคัญของวิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร 1. ผู้สอน / ผู้เรียนเตรียมบทละคร 2. ผู้เรียน ศึกษาบทละครและเลือก (หรือผู้สอนกำหนด) บทบาทที่ จะแสดง 3. ผู้เรียนศึกษาบทที่จะแสดงและซ้อมการแสดง ผู้สอนให้คำแนะนำ ในการชมการแสดงแก่ผู้เรียนที่เป็นผู้ชม 4. ผู้สอนและผู้เรียนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการแสดง เช่น เครื่องแต่งกาย ฉาก เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ 5. ผู้เรียนแสดงหรือชมละคร 6.. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงของผู้เล่น เรื่องราว หรือเนื้อหาการแสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการแสดงละคร 7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ข้อดี 1. ทำให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จริง 2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน 3.นักเรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะการพูด การเขียน การ แสดงออก การจัดการ การแสวงหาความรู้ และการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นต้น ข้อจำกัด 1.เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก ต้องมีการจัดเตรียมบทละคร และการแสดง ที่ยุ่งยาก 2.เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย ประกอบการแสดง ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3. เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องมาใช้ในการเขียน บท หากผู้สอนไม่มีข้อมูลเพียงพอ หรือไม่สามารถแสวงหาข้อมูลที่ ต้องการได้ จะทำให้เรื่องราวหรือการแสดงไม่สมบูรณ์

วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ (Role-Play Method) ความหมาย กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ที่กาหนด โดย การให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียง กับความเป็นจริง และแสดงออกมาตาม ความรู้สึกนึกคิดของตน และนา เอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งทางด้าน รู้ ความคิด ความรู้สึกและ พฤติกรรมที่สังเกตพบว่าเป็นข้อมูลใน การอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกโดยตัวผู้เรียนเอง 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกวางแผนการทำงานและทำงานร่วมกันได้ 3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเอง และของผู้อื่น 4. เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงและผู้ดูที่ดี 5. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้จากการแสดงบทบาท สมมุติ

วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ (Role-Play Method) ขั้นตอนของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาท 1.ผู้สอน / ผู้เรียน นำเสนอ สถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ 2. ผู้สอน / ผู้เรียนเลือกผู้แสดงบทบาท 3. ผู้สอน เตรียมผู้สังเกตการณ์ 4. ผู้เรียน และสังเกตพฤติกรรมที่ แสดงบทบาท แสดงออก 5. ผู้สอน และผู้เรียน อภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความ คิด ความรู้สึก และ พฤติกรรมที่แสดงออก ของผู้แสดง 6. ผู้สอน และผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ 7. ผู้สอน ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ข้อดี 1. ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเอง 2. ผู้เรียนได้เข้าใจถึงพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น 3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 4. ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ 5. ทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เป็นจริงของชีวิต 6. ทำให้ผู้เรียนรู้จักฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น 7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกได้มาก ข้อจำกัด 1. หากการเตรียมการไม่ดีก็จะเสียเวลามาก 2. หากผู้แสดงอายหรือขัดเขินก็จะทำให้การแสดงนั้นไม่ชัดเจน แนบเนียน ทำให้เรื่อราวเปลี่ยนไป 3. หากการแสดงบางอย่างไปกระทบจิตใจผู้เรียนมากเกินไป อาจ ทำให้สถานการณ์ ของการแสดงเปลี่ยนไป 4. ผู้สอนที่ไม่สามารถเข้าถึงปัญหาได้เองทั้งหมดก็อาจจะทำให้การ แสดงนั้นมีอุปสรรคมาก 5. บางครั้งถ้าคาดหวังในสถานการณ์มากเกินไปก็ต้องเตรียมตัว มาก ซึ่งทำให้ไม่คุ้ม กับการลงทุน

วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (Case Method) ความหมาย กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริงและตอบ ประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น แล้วนำคำตอบและเหตุผลที่มาของคำตอบ นั้นมาใช้เป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึกฝนการ เผชิญและแก้ปัญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาส ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ความคิดของผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่ กว้างขึ้น ขั้นตอนของการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง 1.ผู้สอน/ ผู้เรียนนำเสนอกรณีตัวอย่าง 2. ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง 3. ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ 4. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ 5. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและวิธีแก้ปัญหาของผู้ เรียน และสรุป การเรียนรู้ที่ได้รับ 6. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (Case Method) ข้อดี 1.เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การ คิดอย่างมี วิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนมี มุมมองที่กว้างขึ้น 2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ จริงและได้ฝึกแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลที่จะเกิดขึ้น ช่วยให้ เกิดความพร้อมที่จะแก้ปัญหา เมื่อเผชิญปัญหานั้นในสถานการณ์ จริง 3. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนสูง ส่งเสริม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และส่งเสริมการเรียนรู้จากกันและกัน 4. เป็นวิธีสอนที่ให้ผลดีมากสำหรับกลุ่มผู้เรียนที่มีความรู้และ ประสบการณ์หลาก หลายสาขา ข้อจำกัด 1.หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การ เรียนรู้อาจไม่กว้างเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน 2. หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การ เรียนรู้อาจไม่ กว้างเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน 3.แม้ปัญหาและสถานการณ์จะใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่ก็ไม่ได้ เกิดขึ้นจริงๆ กับผู้เรียน ความคิดในการแก้ปัญหาจึงมักเป็นไป ตามเหตุผลที่ถูกที่ควร ซึ่งอาจไม่ตรงกับการปฏิบัติจริงได้

วิธีสอนโดยใช้เกม (Game Method) ความหมาย วิธีสอนโดยใช้เกม คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผล การเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ วิธีสอนโดยใช้เกมเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ อย่าง สนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับ ประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง ขั้นตอนสำคัญของการสอนโดยใช้เกม 1.ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกา การเล่น 2. ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา 3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและ วิธีการหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน 4. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

วิธีสอนโดยใช้เกม (Game Method) ข้อดี 1.เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง ผู้เรียนได้รับ ความ สนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้จากการเล่น 2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นประจักษ์แจ้ง ด้วยตนเองทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน 3. เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอนและผู้เรียนชอบ ข้อจำกัด 1. เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก 2. เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากเกมบางเกมต้องซื้อหามาโดย เฉพาะเกมจำลองสถานการณ์บางเกมมีราคาสูงมาก เนื่องจากการ เล่นเกมส่วนใหญ่ ผู้เรียนทุกคนต้องมีวัสดุอุปกรณ์ในการเล่นเฉพาะ ตน 3. เป็นวิธีสอนที่ขึ้นกับความสามารถของผู้สอน ผู้สอนจำเป็นต้องมี ความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม จึงจะสามารถสร้างได้ 4. เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก เกมเพื่อการฝึกทักษะ แม้ จะไม่ยุ่งยากซับซ้อนนัก 5. เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำการอภิปรายที่มี ประสิทธิภาพจึงจะ สามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ ได้ตามวัตถุประสงค์

วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation Technique) ความหมาย การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนใช้ช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยผู้สอนจัดสถานการณ์ ขึ้นเลียนแบบของจริง โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการแก้ปัญหา ได้ ใช้ทักษะกระบวนการคิดและการตัดสินใจจากสถานการณ์นั้นๆ โดยให้ผู้ เรียนมีส่วนร่วมในบทบาทหรือในสถานการณ์นั้น ๆ ให้มากที่สุด องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอนโดยใช้ สถานการณ์จำลอง 1. มีผู้สอนและผู้เรียน 2.มีสถานการณ์ ข้อมูล บทบาทและกติกา ที่สะท้อนความเป็นจริง 3. ผู้เล่นในสถานการณ์มีปฏิสัมพันธ์กันหรือมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์นั้น 4. ผู้เล่นหรือผู้สวมบทบาทมีการใช้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ 5. การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นใน สถานการณ์จริง 6. มีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์ วิธีการ เล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น เพื่อการเรียนรู้ 7. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation Technique) ขั้นตอนของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ขั้นที่ 1 : ขั้นปฐมนิเทศ ขั้นที่ 2 : ขั้นแสดงบทบาทตามสถานการณ์ ขั้นที่ 3 : ขั้นอภิปราย ขั้นที่ 4 : ขั้นสรุปและประเมินผล ข้อดี 1.เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สถานการณ์จริงๆ ได้มากที่สุด 2.เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้กระทำ รวมทั้งได้ รับประสบการณ์ที่หลากหลายด้วย 3.ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะหลายๆ ทางและทำงานร่วมกันผู้อื่นได้ 4.สร้างบรรยากาศสนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนเพลิดเพลิน ข้อจำกัด 1.การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองจะต้องเตรียมการเป็นอย่างดี หาก ขาดการเตรียมการจะทำให้กิจกรรมมีอุปสรรค 2. บางครั้งการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต้องใช้เวลามาก 3.ผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในสถานการณ์จำลองนั้นมาก เพราะหากผู้ สอนขาดประสบการณ์ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หรือจะได้ผลไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด 4. การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ เรียน หากผู้เรียนไม่ร่วมมือก็จะทำให้กิจกรรมติดขัดไม่บรรลุผลตามที่ วางไว้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook