Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Published by pandora-mp, 2021-10-30 16:24:06

Description: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
18-4000-1002 ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ
(Safety and Health in Establishment)
นายคมสัน กลางแท่น
วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม

Search

Read the Text Version

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับอาชีว อนามัยและความ ปลอดภัยความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถาน ประกอบการ (Safety and Health in Establishment) (18-4000-2302)

สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการจัดการ การควบคุม ระเบียบปฏิบัติ การป้องกันอันตราย และผลกระทบจากการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2. แสดงความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบมาตรฐานสากล ที่ เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 3. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับความปลอดภัย การควบคุม การป้องกันอันตรายและ ผลกระทบจากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ คำอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการ การควบคุม ระเบียบปฏิบัติ การป้องกันอันตรายและ ผล กระทบจากการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กฎหมายด้านอาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย ระบบมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ เกี่ยวกับความปลอดภัยการควบคุม การป้องกัน อันตรายและผลกระทบจากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ

1.1 ความหมายของอาชีวอนามัย อาชีวอนามัย หมายถึง การส่งเสริมและการดำรงรักษาสุขภาพรวม ทั้งการควบคุมและป้องกันโรคตลอดจนอุบัติเหตุ จากการทำงาน ของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ องค์การอนามัยโลก และองค์การแรงงานระหว่างประเทศร่วมกัน กำหนดขอบข่ายของงานอาชีวอนามัยได้ดังนี้ เป็นงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและการดำรงรักษาสุขภาพ ร่างกาย จิตใจตลอดจนมีความเป็นอยู่ในสังคมที่ดี การป้องกันสุขภาพอนามัยและโรคอันเกิดจากการทำงาน การดำเนินงานปกป้องคุ้มครองผู้ประกอบอาชีพไม่ให้ทำงาน เสี่ยงต่ออันตรายและโรคภัยไข้เจ็บ เป็นการจัดให้ผู้ประกอบอาชีพได้ทำงานให้เหมาะสม เป็นการปรับปรุงงานให้หมาะสมกับผู้ประกอบอาชีพและ เป็นการปรับปรุงคนให้เหมาะกับงานที่ทำ

1.2 ความสำคัญของ งานอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย จึงกล่าวได้ว่า งานอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัย เป็นการจัดบริการด้านสาธารณสุขที่มุ่งให้ เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ อาชีพทุกฝ่าย ทุกสาขาอาชีพ ทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและ ฝ่ายคนงาน ซึ่งสุดท้ายแล้วย่อมเกิดผลประโยชน์โดย รวมกับประเทศชาตินั่นเอง

1.3 การสูญเสียที่กิดจากงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ความสูญเสียหรือค่าใช้จ่ายอันเนื่องจาก งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้คือ 1.3.1 ความสูญเสียทางตรง หมายถึง 1.3.2 ความสูญเสียทางอ้อม หมายถึง คำใช้จ่ายอื่ น ๆ ได้แก่ 1) การสูญเสียเวลาทำงานของ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายไปอันเกี่ยวเนื่ อง 2) ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ กับผู้ได้รับบาดเจ็บโดยตรงจากการ ที่ได้รับความเสียหาย 3) วัตถุดิบหรือสินค้าที่ได้รับความเสียหายต้องโยนทิ้ง ทำลาย เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ 4) ผลผลิตลดลง 1) ค่ารักษาพยาบาล 5) ค่าสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้บาดเจ็บ 2) ค่าเงินทดแทน 6) ค่าจ้างแรงงานของผู้บาดเจ็บ 3) ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ 7) การสูญเสียโอกาสในการทำกำไร 4) ค่าประกันชีวิต 8) ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า น้ำประปา 9) การเสียชื่อเสียงและภาพพจน์ของโรงงาน

1.4 สาเหตุของการเกิดความไม่ ปลอดภัยจากการทำงาน การเกิดความไม่ปลอดภัยจากการทำงานมีอยู่ 2 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัยของ คนงาน (Unsafe Act) และสภาพของงานที่ไม่ ปลอดภัย (Unsafe Condition) 1.4.1 การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัยเป็นการกระทำที่ไม่ ปลอดภัยของคนงานในขณะที่ปฏิบัติงาน เป็นผลให้เกิด อุบัติเหตุได้ถึง ร้อยละ 88 ของอุบัติเหตุ 1.4.2 สภาพของงานที่ไม่ปลอดภัยเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่ ปลอดภัยที่อยู่รอบตัวคนงานในขณะทำงาน ซึ่งอาจเป็น สาเหตุของการเกิดอุ บัติเหตุได้

1.5 แนวทางในการป้องกันการประสบอันตราย 1.การกำหนดมาตรการ 2.การตรวจ 3.การศึกษาวิจัยความ 4.การศึกษา ปลอดภัย ความปลอดภัย ความปลอดภัย 5.การฝึกอบรมความ 6.การสร้างเสริม 7.การจัดมาตรการ 8.การปรับปรุงสภาพ 9.การประกันการ ปลอดภัย ทัศนคติความ ความปลอดภัยใน การทำงานและสิ่ง ประสบอันตราย ปลอดภัย สถานประกอบการ แวดล้อมในการทำงาน

1.6 บุคลากรที่ 1 นักอาชีวสุขศาสตร์ เกี่ยวข้องกับงาน 2 นักอาชีวสุขศึกษา อาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย 3 วิศวกรความปลอดภัย 4 นักพิษวิทยาอาชีวอนามัย 5 แพทย์อาชีวอนามัย 6ุ พยาบาลอาชีวอนามัย 7 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยใน การทำงาน (จป.)

1.บทบาทหน้าที่ของนักอาชีวสุขศาสตร์ 1. ดูแล ตรวจสอบอันตรายของสิ่งแวดล้อมและ สภาพความไม่ปลอดภัย ของสถานประกอบการ 2. ประเมินผลการตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อมไม่ ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย และความ ปลอดภัย ตลอดจนประสิทธิภาพในการทำงาน หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่คนงานและชุมชน 3. ศึกษามาตรการในการควบคุม แก้ไขปัญหาสิ่ง แวดล้อม และความไม่ปลอดภัย

2 บทบาทหน้าที่ของนักอาชีวสุขศึกษา 1. จัดกิจกรรมให้คนงานได้รับความรู้ที่เกี่ยวกับ งานอาชีวอนามัย 2. จัดให้มีการฝึกอบรม เผยแพร่ความรู้ทางด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัยแท่หน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดหาหรือผลิตสื่ออุปกรณ์ทางด้านอาชีว อนามัยและความปลอดภัย

3 บทบาทหน้าที่ของวิศวกร ความปลอดภัย 1. แก้ไขและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ ปลอดภัย โดยใช้วิซาการควบคุมทางวิศวกรรม เช่น การระบายอากาศ ระบบการบำบัดมลพิษ เป็นต้น 2. ดูแล ตรวจตราเครื่องจักรกลต่าง ๆ ให้อยู่ใน สภาพที่ปลอดภัย ดำเนินการและทำงานร่วมกับ ทีมงานอาชีวอนามัยอื่ น ๆ ในการป้องกัน อุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน

4 บทบาทหน้าที่ของนักพิษวิทยา อาชีวอนามัย 1) หาข้อมูลเกี่ยวกับพิษวิทยาของสารต่าง ๆ ที่ใช้ใน กระบวนการผลิต 2) ตรวจวิเคราะห์สารพิษและสิ่งแวดล้อม 3) นำเสนอผลการวิเคราะห์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

5 บทบาทหน้าที่ของ แพทย์อาชีวอนามัย 1. ส่งเสริมและป้องกันสุขภาพอนามัย และฟื้ นฟู สมรรถภาพของคนงาน 2. ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคอันเนื่องมาจากการ ประกอบอาชีพและโรคอื่ น ๆ ทุกอาชีพ 3. รักษาพยาบาลผู้ป่วยจากการประกอบอาชีพใน งานอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและอื่ น ๆ ให้คำ แนะนำปรึกษาเรื่องโรคภัยจากการทำงานให้แก่ผู้ ประกอบอาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้อง

6 บทบาท หน้าที่ของพยาบาล อาชีวอนามัย 1. จัดให้มีและดำเนินการตรวจสุขภาพ การให้ภูมิคุ้มกันโรค การ ให้สุขศึกษาและ คำปรึกษา แนะนำด้านสุขภาพ และความ ปลอดภัยของคนงาน 2. กำหนดมาตรฐานการพยาบาล และจัดระบบบริการรักษา พยาบาลของฝ่ายการพยาบาล 3. ประเมินคุณภาพและปรับปรุงการให้บริการพยาบาล ดูแล ให้การพยาบาลผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บตามแผนการรักษาของ แพทย์ หรือส่งต่อไปในรายที่จำเป็นฉุกเฉิน 4. ร่วมดำเนินการเพื่อป้องกันความพิการและฟื้ นฟูสมรรถภาพ ของคนงานอันเนื่ องมาจากการทำงาน 5. จัดเตรียม ดูแลรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุภัณฑ์ของ หน่วยงาน ให้เพียงพอ และพร้อมที่จะใช้งานได้ทันที 6. จัดทำระเบียนและรายงานต่าง ๆ ในการบริการด้านสุขภาพ แก่คนงาน 7. ร่วมมือในการจัดโปรแกรมการศึกษาดูงานของหน่วยงาน 8. รวบรวมผลการปฏิบัติงานในฝ่ายการพยาบาลเพื่อสรุปและ จัดทำรายงาน ประจำปี

7 บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยในการทำงาน (จป.) 1. ดูแลให้มีการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยใน การทำงานของลูกจ้าง 2. ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยใน การทำงานให้แก่ลูกจ้าง 3. ควบคุมและดูแลอุปกรณ์ความปลอดภัยให้ถูก วิธีและให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ 4. ตรวจตราสภาพการทำงานและการปฏิบัติงาน ของลูกจ้าง แล้วรายงานนายจ้างในการ ปรับปรุงแก้ไขเพื่ อความปลอดภัยในการทำงาน 5. บันทึก จัดทำรายงาน และสอบสวนเกี่ยวกับ อุ บัติภัยและโรคซึ่งเกิดขึ้ นจากการทำงาน 6. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับความ ปลอดภัยในการทำงาน

1.7 ประโยชน์ที่จะได้รับจาก การจัดการอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย 1.7.1 ประโยชน์ต่อบุคคล 1.7.2 ประโยชน์ต่อสถานประกอบการ 1.7.3 ประโยชน์ต่อภาวะสังคมและ เศรษฐกิจของประเทศ

แบบฝึกหัด จงตอบคำถามต่อไปนี้ 1. จงบอกความหมายของอาชีวอนามัย 2. องค์การอนามัยโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ร่วมกันกำหนดขอบข่ายของงานอาชีวอนามัยไว้กี่ข้อ 3. โรคภัยไข้เจ็บอันอาจจะเกิดจากอันตรายที่เป็นพิษเป็นภัยใน การทำงานมีอะไรบ้าง 4. คำที่เกี่ยวข้องที่ควรทราบในการทำงานคืออะไรบ้าง 5. ความปลอดภัย (Safety) หมายถึงอะไร 6. อันตราย (Danger) หมายถึงอะไร 7. อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึงอะไร 8. อุบัติเหตุจากการทำงาน ปี พ.ศ. 2560 เกิดจากสาเหตุใดมาก ที่สุด 9. แนวทางในการป้องกันการประสบอันตรายมีกี่ข้อ อะไรบ้าง 10. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดการอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยมีกี่ข้อ อะไรบ้าง