Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore th1529476181-813_3

th1529476181-813_3

Description: th1529476181-813_3

Search

Read the Text Version

ตาย เมอ่ื เนอื้ สมองตายไปจำ� นวนมากกจ็ ะทำ� ใหก้ ารทำ� งานไมเ่ ปน็ ปกติ มีอาการสมองเส่ือมได้ 7. มีเน้ืองอกในสมอง โดยเฉพาะเน้ืองอกที่เกิดจากด้านหน้าของสมอง ซ่ึงอาจจะท�ำให้บุคลิกภาพเปล่ียนแปลง ความจ�ำและการตัดสินใจ เปลย่ี นแปลงไป การดแู ล 1. พูดจา และสือ่ สารกับผู้ป่วยเปน็ ประจ�ำ ใชว้ ิธีอธบิ ายส้นั ๆ ให้ผู้ป่วยท�ำ ทีละขั้น เช่น การกินอาหาร กินยา การออกก�ำลังกาย การเข้านอน ควรเปน็ เวลาเดมิ และวิธีการเหมือนเดิมทกุ วนั 2. ควรให้ผู้ป่วยได้ท�ำกิจกรรมต่างๆ บ้าง เพ่ือรู้สึกเพื่อให้มีส่วนร่วมใน ครอบครวั แตต่ ้องไม่ฝนื ผปู้ ่วยจนเกิดอาการหงดุ หงดิ และส่งผลถงึ ผทู้ ่ี ดแู ลท�ำใหอ้ ารมณ์เสยี ได้ 3. ไมค่ วรเคล่ือนยา้ ยอุปกรณ์ของใช้บ่อย ๆ 4. ไมค่ วรยดึ ตดิ กบั ความถกู ตอ้ งทง้ั หมด ถา้ ผปู้ ว่ ยยนื ยนั ความตอ้ งการ และ ไม่เปน็ อันตราย กไ็ มค่ วรขัดใจ 5. ควรหลกี เลยี่ งการพดู ถงึ ผปู้ ว่ ยตอ่ หนา้ ในเชงิ วพิ ากษว์ จิ ารณ์ เพราะอาจ กระตุ้นใหเ้ กิดอาการรุนแรงขน้ึ ได้ 6. ผ้ดู แู ลผูป้ ่วยควรได้รับการพักผอ่ นทเี่ พียงพอ มอี ารมณ์ดี เพราะผ้ปู ว่ ย ภาวะสมองเส่อื มยังตอ้ งการความสดช่นื ถ้าผ้ดู ูแลอารมณ์ดี จะมผี ลดี ต่ออาการของผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ควรผลัดกันท�ำ หนา้ ท่ี อยา่ ปลอ่ ยใหอ้ ยใู่ นความดแู ลของผใู้ ดผหู้ นงึ่ เพราะจะทำ� ใหเ้ กดิ ความเครยี ดได้ มัน่ คงในชวี ติ 51

การรกั ษา โรคสมองเสื่อมอาจเกิดได้จากการจากสาเหตุหลายประการ บางสาเหตเุ มอ่ื รกั ษาตง้ั แตเ่ รม่ิ ตน้ กส็ ามารถรกั ษาใหห้ ายขาดได้ บางสาเหตุ อาจปอ้ งกนั ไม่ให้อาการทรุดตวั ลง ในผปู้ ่วยสมองเสื่อมท่ีเกดิ จากการขาด สารอาหารบางอยา่ ง เช่น วิตามนิ B1 B12 หรอื ผู้ปว่ ยที่มกี ารแปรปรวน ของระบบเมตาโบลกิ ของรา่ งกาย ถา้ ไดร้ บั การรกั ษาแลว้ อาการสมองเสอ่ื ม มักจะดีข้ึน ท้ังน้ีข้ึนอยู่กับว่ามีอาการมากน้อยเพียงใด ความเสียหายของ สมอง มากนอ้ ยเพยี งใด ถ้าเน้ือสมองไมถ่ กู ทำ� ลายไปมากนักและได้รบั การ รกั ษาตามเวลาทส่ี มควร ผปู้ ว่ ยกจ็ ะมอี าการดขี นึ้ หลงั จากรกั ษาแลว้ อาการ ก็จะทรงตัวอยู่อย่างนั้นไปเร่ือย ๆ ส่วนในรายท่ีไม่สามารถรักษาให้ดีข้ึน แพทยอ์ าจแนะนำ� ใหญ้ าตแิ ละผปู้ ว่ ยทราบถงึ วธิ ปี ฏบิ ตั ติ วั และขอ้ ระวงั ตา่ ง ๆ เพอื่ ชะลออาการไมใ่ หเ้ ลวลงกวา่ ทคี่ วรเปน็ วธิ กี ารปอ้ งกนั ไมใ่ หเ้ กดิ โรคหรอื การแทรกซ้อน รวมทัง้ คำ� แนะนำ� ต่าง ๆ ทีญ่ าติ และผ้ดู ูแลควรทราบ ซงึ่ จะ ท�ำใหผ้ ู้ป่วยและญาติ ได้ใชช้ วี ติ อย่างมคี วามสุขและปลอดภัย 52 ชุดความรูก้ ารดูแลตนเองและพฒั นาศกั ยภาพผสู้ ูงอายุ

มนั่ คงในชีวติ 53

ขอ้ พงึ ระวงั ในผูส้ ูงอายุ การขาดสารอาหาร การขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ อาจมีสาเหตุมาจากการ เปลย่ี นแปลงของรา่ งกาย เชน่ การรบั รรู้ สชาตอิ าหารลดลง สขุ ภาพในชอ่ ง ปากเปลี่ยนไป ปริมาณน�้ำลายลดลง ปัญหาฟันผุ รากฟันไม่แข็งแรง ประสิทธิภาพของการย่อยและดูดซึมสารอาหารลดลง รวมถึงปัญหา สุขภาพจติ ท�ำให้เบอื่ อาหารหรอื ลดความอยากอาหารลง การดูแลเพือ่ ปอ้ งกันการขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ โปรตีน เป็นสารอาหารท่ีช่วยในการเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วน ท่ีสกึ หรอของรา่ งกาย ได้มาจากเนอื้ สตั ว์ตา่ ง ๆ ถัว่ เมล็ดแหง้ ไข่ นม และ ผลิตภัณฑ์จากนม ผ้สู ูงอายุควรกนิ เน้ือสตั วป์ ระมาณ 2 – 3 ช้อนโต๊ะต่อม้อื โดยเลือกเน้อื สตั วท์ ่ไี ม่ตดิ มนั ไมต่ ิดหนัง ถั่วเมล็ดแหง้ เช่น น�้ำนมถ่วั เหลือง เตา้ หู้ ถ่ัวต้มน้ำ� ตาล รวมทง้ั กินไข่สปั ดาห์ละ 2 - 3 ฟอง ผู้สูงอายทุ มี่ ีปัญหา ไขมันในเลือดสูง สามารถเลือกกินเฉพาะไข่ขาวได้เพราะไข่ขาวไม่มี คอเลสเตอรอล และควรดื่มนมพร่องมนั เนยทกุ วันอยา่ งน้อยวนั ละ 1 แก้ว เพราะนอกจากจะได้โปรตีนแล้ว ยังมีแคลเซียมท่ีช่วยซ่อมแซมและเสริม ความแขง็ แรงใหก้ ระดูก ไขมนั และน้�ำมัน เปน็ สารอาหารท่ีใหพ้ ลงั งานสงู มาก แต่ยอ่ ยยาก อาจทำ� ใหเ้ กดิ อาการแนน่ ทอ้ ง ทอ้ งอดื และนำ�้ หนกั เพมิ่ ได้ ถา้ กนิ ในปรมิ าณ มาก และยงั เปน็ สาเหตทุ �ำให้เกดิ โรคต่างๆ ได้ง่าย เชน่ โรคอ้วน โรคความ ดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ปริมาณไขมนั หรือน�้ำมนั ที่ควรกินแต่ละวันปริมาณ 2 -3 ช้อนโต๊ะ และควรเป็นน�้ำมันจากพืชท่ีมี กรดไลโนเลอิกสูง 54 ชุดความรกู้ ารดูแลตนเองและพฒั นาศกั ยภาพผู้สูงอายุ

คาร์โบไฮเดรต สารอาหารคาร์โบไฮเดรตท่ีผู้สูงอายุควรเลือกกิน คือ ขา้ ว แป้ง เผอื ก มนั หรอื ผลิตภณั ฑ์จากธัญพชื อื่น ๆ เชน่ กว๋ ยเต๋ียว ขนมจนี บะหมี่ มกั กะโรนี ฯลฯ และหลกี เลย่ี งนำ�้ ตาล นำ้� หวาน หรอื อาหาร ทมี่ นี ำ�้ ตาลเปน็ สว่ นผสม ขนมหวานตา่ ง ๆ เลอื กกนิ ผลไมส้ ดแทนขนมหวาน ซงึ่ ใหป้ ระโยชนแ์ กร่ า่ งกายมากกวา่ เพราะนอกจากจะไดร้ บั คารโ์ บไฮเดรต แลว้ ยงั ไดร้ ับวิตามนิ เกลือแรท่ ่ี มใี นผลไม้แต่ละชนดิ ด้วย วิตามิน เป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่งท่ีจ�ำเป็นส�ำหรับร่างกาย เพื่อช่วยในการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน ท�ำให้ร่างกายสามารถ ทำ� งานไดต้ ามปกติ เพมิ่ ภมู ติ า้ นทานโรค ปญั หาการขาดวติ ามนิ ในผสู้ งู อายุ พบไดบ้ อ่ ยครัง้ เช่น การขาดวิตามนิ บี ท�ำให้เกิดโรคเหนบ็ ชา มีอาการชา ตามปลายนว้ิ มอื นว้ิ เทา้ ซงึ่ เกดิ ไดเ้ พราะกนิ อาหารไมเ่ พยี งพอหรอื อาจเกดิ จากการกินอาหารซ�้ำๆ เป็นเวลานาน ท�ำให้ได้รับวิตามินบางตัวน้อยลง วติ ามินมีมากในผัก และผลไม้ ควรเลือกผกั และผลไมท้ ่กี นิ งา่ ยใหผ้ ูส้ ูงอายุ ไดก้ นิ ทกุ มอื้ และใหม้ หี ลากหลายชนดิ ในแตล่ ะวนั ผกั และผลไมใ้ หใ้ ยอาหาร ที่ชว่ ยในการขับถา่ ย ท�ำใหไ้ มเ่ กิดปญั หาทอ้ งผูกในผ้สู ูงอายุ เกลือแร่ เป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่งที่พบว่าผู้สูงอายุมักจะได้รับ ไมเ่ พยี งพอ เกลอื แรท่ คี่ วรใหค้ วามสำ� คญั ไดแ้ ก่ แคลเซยี ม ฟอสฟอรสั และ เหลก็ เมือ่ มอี ายุมากขน้ึ แคลเซยี มซ่งึ เปน็ ส่วนประกอบสำ� คัญของกระดูก จะลดลง การได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ จะท�ำให้กระดูกเปราะ พรุน ไม่แข็งแรง เมื่อประสบอบุ ัติเหตหุ รอื หกล้มเพียงเลก็ นอ้ ย กระดูกจะหกั ได้ ง่าย การขาดธาตเุ หลก็ ท�ำให้เกิดโรคโลหิตจาง เหนอ่ื ยงา่ ย ความต้านทาน โรคน้อยลง ป่วยง่าย ร่างกายอ่อนแอ ท้ังน้ีเกลือแร่มีในอาหารทุกชนิด มัน่ คงในชวี ิต 55

ทงั้ เนอ้ื สตั ว์ ปลากรอบ นม ไข่ เมลด็ พชื ถวั่ ผกั ผลไม้ และธญั พชื ในปรมิ าณ มากน้อยแตกต่างกัน การจัดอาหารให้ผู้สูงอายุได้กินอาหารให้ครบท้ัง 5 หมูท่ กุ วนั จะทำ� ใหไ้ ดร้ ับสารอาหารเกลือแร่ด้วย โดยผู้ดูแลควรพจิ ารณา ปรมิ าณของสารอาหารใหเ้ พยี งพอกบั ความตอ้ งการของผสู้ งู อายแุ ตล่ ะคน การกนิ อาหารให้ได้สัดสว่ น อาหารที่ได้สัดส่วนถูกต้องจะต้องประกอบด้วยอาหารหลัก 6 หมู่ คือ 1. โปรตนี ได้แก่ เนอ้ื สัตวต์ า่ งๆ 2. คารโ์ บไฮเดรต ไดแ้ ก่ พวกแป้ง ข้าวต่างๆ 3. ไขมนั 4. วติ ามิน 5. เกลือแร่ 6. กากใย 56 ชุดความรกู้ ารดแู ลตนเองและพฒั นาศักยภาพผูส้ งู อายุ

มนั่ คงในชีวติ 57

สารอาหาร 6 อยา่ งจะมมี ากในอาหารดงั ตอ่ ไปนี้ สารอาหาร ชนิดอาหาร โปรตีน เนอื้ ววั หมู ปลา เปด็ ไก่ นม ถัว่ คารโ์ บไฮเดรต ข้าว มัน ขนมปัง น้ำ� ตาล แป้งตา่ งๆ จากพืช ไขมนั ไขมันจากสตั วท์ ุกชนิด นม ไขมนั จากพืช วติ ามนิ นม ปลา น�้ำมนั ตบั ปลา ผกั ใบเขยี ว วติ ามนิ เอ ตบั ถว่ั ขา้ วกล้องถั่วเหลอื ง นม วติ ามินบี น�ำ้ ผลไม้ น�ำ้ สม้ ค้นั นำ�้ มะนาว มะเขือเทศ ผักใบเขียว วติ ามนิ ซี นม ตบั น�้ำมันตบั ปลา วิตามินดี ไขมนั จากปลาทะเล นำ�้ มนั พชื (ดอกทานตะวนั ) ลกู นทั วิตามินอี เกลอื แร่ นม ผลไม้ ผัก เมล็ดพชื ทั้งเมล็ด ถั่ว แคลเซย่ี ม ไข่ ตบั เนอ้ื สัตว์ ผักใบเขียว เมลด็ พชื ท้งั เมล็ด เหลก็ กากใย เมล็ดพชื ท้งั เมลด็ ผักใบเขยี ว ผลไม้ ถว่ั ขา้ วกล้อง 58 ชุดความรูก้ ารดแู ลตนเองและพัฒนาศักยภาพผสู้ ูงอายุ

พืชผกั ท่มี ีคุณค่าทางอาหาร วติ ามนิ เอสงู ยอดแค ใบกะเพรา ใบข้ีเหลก็ ผกั บุ้ง แครอท ต�ำลงึ ยอดฟกั ข้าว ใบมนั เทศ มีประโยชน์ตอ่ รา่ งกาย คือ ช่วยบ�ำรุงผิวหนัง ช่วยสร้างกระดูกและฟันให้แข็ง แรง สร้างเมด็ เลอื ดบ�ำรงุ สมอง เห็ดฟาง ถั่วเหลอื ง มะแว้ง ถัว่ พู ถ่ัวพุ่ม งาขาว เปน็ วติ ามนิ บสี ูง ประโยชน์ต่อร่างกายท�ำให้ร่างกายแข็งแรงมีก�ำลัง มคี วามอยากกินอาหาร ระบบประสาทดี วติ ามินซีสงู ขี้เหล็ก มะรุม ยอดสะเดา พริกหนุ่ม ฟักข้าว มี ประโยชน์ต่อร่างกาย คอื จะท�ำใหผ้ ิวพรรณ สดใส ป้องกันการแตกของเส้นเลือด เพิ่มความต้านทาน โรคแกร่ ่างกาย ช่วยให้แผลหายเร็ว ป้องกนั หวดั แร่ธาตุ ใบยอ ใบชะพลู ผกั แพว เห็ดลม มะขามสด ยอดแค แคลเซี่ยมสูง ผักกระเฉด สะเดา มปี ระโยชน์ตอ่ รา่ งกาย คอื ช่วย ให้กระดูกและฟันแข็งแรง ควบคุมการท�ำงานของ ปลายประสาทของกลา้ มเน้ือหัวใจ กล้ามเน้อื หวั ใจ ผักกูด ถว่ั ฝกั ยาว ผกั แวน่ เห็ดฟาง พริกหวาน ใบ แรธ่ าตเุ หลก็ สูง แมงลัก ใบกะเพรา ผักเม็ก มะกอ กระถิน มี ประโยชนต์ อ่ รา่ งกาย คอื ชว่ ยเสรมิ สรา้ งเลอื ด และ บำ� รงุ เลอื ด มนั่ คงในชีวติ 59

อบุ ัติเหต ุ ข้อพงึ ระวงั เพอื่ ป้องกนั การเกดิ อบุ ัตเิ หตใุ นบา้ น การจดั สภาพแวดลอ้ มในบา้ น พื้นทใ่ี ช้สอยทั่วไป • อปุ กรณแ์ ละของใช้ ควรอยใู่ นจดุ ทผ่ี สู้ งู อายหุ ยบิ จบั สะดวก ไมต่ อ้ งเออ้ื ม เชน่ สวิทซ์ไฟ ก๊อกน้ำ� หรอื ของใชป้ ระจ�ำวันอนื่ ๆ จัดหมวดหมูใ่ หเ้ ปน็ ระเบยี บไม่ปะปนกันซ่ึงอาจทำ� ใหส้ บั สนหยบิ ใช้งานผิด • ติดไฟให้แสงสว่างมองเห็นได้ชัดท้ังภายในห้องต่างๆ ตามทางเดิน ทางขนึ้ ลงบนั ได หรอื มมุ มดื ภายในบา้ น ใหส้ วทิ ซอ์ ยใู่ นจดุ ทเี่ ปดิ ปดิ งา่ ย • พนื้ ควรมรี ะดบั เสมอกนั ทกุ หอ้ ง ใชว้ สั ดปุ พู นื้ ทไ่ี มล่ นื่ ไมย่ กพน้ื ตา่ งระดบั หรอื มธี รณีประตู ถ้าจำ� เป็นต้องมีควรทาสีใหเ้ ห็นชดั เจน • จัดเก็บของให้เป็นระเบียบ ไม่วางเกะกะตามพื้นหรือขวางทางเดิน ระวังการสะดุดสายไฟ สายโทรศพั ท์ ของเลน่ พรมเชด็ เทา้ • ของตกแตง่ บา้ นพวกตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เตยี ง ไมค่ วรมสี ว่ นยนื่ ออกมาเกะกะ ขวางทางเดนิ เพื่อปอ้ งกนั การสะดดุ ลม้ • ควรตดิ ราวจบั ตามทางเดนิ เพอ่ื ใหผ้ สู้ งู อายใุ ชพ้ ยงุ ตวั ขณะเดนิ หรอื ออก กำ� ลงั กาย ราวจบั ควรอยสู่ งู จากพนื้ ประมาณ 80 ซม. หรอื ปรบั ใหเ้ หมาะ ตามระดบั ทผ่ี ู้สูงอายุจับถนัด • ราวบนั ไดต้องตดิ ตัง้ ใหม้ ั่นคง แขง็ แรง ควรมีราวบนั ได ทั้ง 2 ขา้ ง • ควรวางของใชป้ ระจำ� ตวั หรอื สงิ่ ของทผี่ สู้ งู อายตุ อ้ งหยบิ ใชบ้ อ่ ยๆ ไวเ้ ปน็ ทเี่ ปน็ ทางในจดุ ทสี่ ามารถหยบิ ใชไ้ ดส้ ะดวกและไมค่ วรเปลยี่ นทเี่ กบ็ วางบอ่ ย 60 ชุดความรกู้ ารดแู ลตนเองและพฒั นาศักยภาพผูส้ ูงอายุ

• ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินต่างๆ ไว้ใกล้กับโทรศัพท์ และวาง โทรศพั ทใ์ นบริเวณที่หยบิ ได้ง่าย ห้องนอน • ห้องนอนควรโล่ง กว้างพอสมควร อาจจะกว้างประมาณ 3-5 เมตร มีเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น มหี น้าตา่ งใหม้ องเหน็ ทวิ ทศั น์นอกห้อง ควรอยู่ ช้ันลา่ งเพอื่ ความสะดวกและลดอุบตั ิเหตุ • เตียงนอนควรต้ังอยู่ในที่ที่จะไปถึงได้โดยสะดวกในความมืด ความสูง ของเตยี งควรพอเหมาะกับทีผ่ ู้สงู อายุวางขาบนพื้นไดถ้ นดั เวลาลกุ จาก ทนี่ อน ห้องนัง่ เล่น • ห้องน่ังเล่นควรมีเคร่ืองเรือนน้อยๆ วางของเป็นระเบียบไม่เกะกะ มอี ปุ กรณอ์ ำ� นวยความสะดวกตา่ งๆ เชน่ โทรทศั น์ วทิ ยุ เกา้ อ้ี ทลี่ กุ งา่ ย น่งั สบายมั่นคงปลอดภยั หรอื เตยี งส�ำหรบั นอนพักตอนกลางวนั หอ้ งครวั • ห้องครัวควรจัดให้เป็นระเบียบ หยิบของใช้ง่ายไม่ควรต้องเอื้อมหรือ ยืนบนเก้าอี้เพื่อหยิบ ตู้หรือลิ้นชักควรอยู่ในจุดท่ีมีความสูงพอเหมาะ หยบิ ของใชส้ ะดวก • ควรมรี ะบบตดั แกส๊ อตั โนมตั ิ มรี ะบบระบายอากาศ และควรมบี รเิ วณ ให้วางของเพยี งพอ มนั่ คงในชีวติ 61

หอ้ งน้�ำ • ห้องน�้ำจะเป็นห้องที่มักจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มบ่อยท่ีสุดควรท�ำพื้น ห้องน้�ำเป็นพน้ื กระเบ้อื งชนิดกนั ลน่ื หรอื ปูแผน่ กนั ลืน่ • ติดราวจับบริเวณท่ีอาบน้�ำและโถส้วมเพื่อช่วยพยุงตัวลุกขึ้นยืน ความสูงของอุปกรณ์ การใชง้ านต่างๆ รวมทง้ั โถนงั่ ความมีความสูงพอ เหมาะกบั ผสู้ งู อายุ อาจมเี กา้ อท้ี ม่ี น่ั คงแขง็ แรงหรอื ทา่ นง่ั สำ� หรบั อาบนำ้� • ควรใชโ้ ถสว้ มแบบน่งั ราบแทนการน่งั ยองเพอื่ ป้องกันการปวดเขา้ และ ลุกยนื ไดง้ า่ ย • ก๊อกน�้ำหรือฝักบวั ควรอยูใ่ นจดุ ที่เออื้ มหยบิ ถึงงา่ ย • ประตูห้องน�้ำควรท�ำแบบเปิดออกด้านนอก ท่ีล็อกควรเปิดจากนอก ห้องได้ ถ้าเป็นก้านจับจะสะดวกกว่าลูกบิด หัวก๊อกแบบก้านจับก็ใช้ สะดวกกวา่ เชน่ เดยี วกนั ไมค่ วรใชก้ ลอนเนอ่ื งจากเวลาหกลม้ ในหอ้ งนำ้� คนข้างนอกจะได้เข้าไปช่วยเหลือได้สะดวก อาจติดตั้งสัญญาณขอ ความช่วยเหลือไว้ดว้ ย บรเิ วณรอบบา้ น • ขัน้ บนั ไดควรมีช่วงกา้ วทพี่ อเหมาะ มรี าวจดั ระหว่างทางเดนิ ตดิ ไฟให้ ความสว่างเพียงพอในบริเวณทางเดนิ ถา้ มรี ะเบยี งควรตดิ ราวกนั ตก • มที างลาดสำ� หรบั รถเขน็ ทางลาดควรมคี วามกวา้ งอยา่ งนอ้ ย 90-150 ซม. ความยาวไมน่ ้อยกว่า 150 ซม. ความลาดชนั ไม่เกิน 1:12 62 ชดุ ความรูก้ ารดแู ลตนเองและพัฒนาศกั ยภาพผสู้ งู อายุ

มนั่ คงในชีวติ 63

ไกฟารฟปา้ อ้ชงอ็ กตนั แอกบุ ส๊ัตรเิ หว่ั -ตแุจกาส๊ กรไะฟเบไหดิ ม้-นำ้� รอ้ นลวก • ตรวจตราสายไฟ เคร่อื งใช้ๆ ไฟฟ้า แก๊ส ให้อยู่ในสภาพดี ถา้ ชำ� รดุ ให้ ซอ่ มแซมหรอื เปลีย่ นใหม่ • ถอดปลก๊ั เครือ่ งใช้ไฟฟ้าหรือปิดแกส๊ หลงั ใช้งานทุกครัง้ • กอ่ นใชน้ ำ้� ร้อนควรตรวจดูความร้อนของน้ำ� ด้วยนิว้ มอื กอ่ นเสมอ • อย่าสมั ผัสสายไฟหรอื เคร่อื งใช้ ไฟฟ้าดว้ ยมือทีเ่ ปียก • อยา่ นำ� เครอ่ื งใช้ไฟฟ้าท่ียกเคล่ือนที่ไดไ้ วใ้ นหอ้ งน�ำ้ • ต้องถอดปลกั๊ กาต้มน�้ำออกทุกครั้ง กอ่ นเตมิ หรอื รินน�ำ้ • อ่านค�ำแนะน�ำการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้ละเอียด และปฏิบัติตามอย่าง เคร่งครัด • อย่าสูบบุหรี่บนที่นอนหรือบนเก้าอ้ีนอน เพราะถ้าหากหลับจะเกิด อันตรายได้ การใช้ยา • ยาก่อนอาหารตอ้ งกนิ ก่อนอาหารอยา่ งน้อยครง่ึ ชว่ั โมง ยาหลงั อาหาร ใหก้ นิ หลงั อาหารทนั ที • ยาลดกรดต้องกนิ กอ่ นหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง • เมื่อกินยาแก้แพ้จะท�ำให้มีอาการมึนงง ง่วงนอน ดังนั้นไม่ควรขับรถ หรือท�ำงานเกี่ยวกับเคร่อื งจกั ร • ยาลดไขแ้ กป้ วด ไมค่ วรกินขณะท้องว่าง ควรกนิ พรอ้ มอาหารหรอื นม • ยาฆา่ เชือ้ ยาลดอาการอักเสบ ควรกินกอ่ นอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลัง อาหาร 2 ช่วั โมง ไม่ควรกินรว่ มกับน�้ำผลไม้ และต้องกินให้หมดครบ จ�ำนวนตามแพทยส์ ั่งเพอ่ื ปอ้ งกนั เช้อื โรคด้ือยา 64 ชดุ ความรกู้ ารดูแลตนเองและพัฒนาศกั ยภาพผู้สงู อายุ

• ยาหยอดตา ไมค่ วรใชต้ ดิ ตอ่ กนั นานเกิน 3 สปั ดาห์ และถ้าเปดิ ใชแ้ ลว้ ไม่ควรเก็บไว้เกนิ 1 เดือน ถ้าใชย้ าไม่หมดให้ทง้ิ ไป ไม่ควรใช้ยาหยอด ตาร่วมกบั ผู้อน่ื • ยาหยอดจมกู ไมค่ วรหยอดเกนิ วนั ละ 3-4 ครั้ง และไมค่ วรใชต้ ดิ ต่อกนั นานเกิน 3 วนั • กอ่ นใชย้ าควรอา่ นฉลากยาใหถ้ ถ่ี ว้ น โดยเฉพาะเวลา ขนาด และขอ้ ควร ระวงั ไม่ควรกินยาใหน้ อ้ ยหรอื มากกวา่ ก�ำหนด การเพิ่มหรอื ลดขนาด ยาต้องปรึกษาแพทย์ • ควรหยดุ ใชย้ าทมี่ ลี กั ษณะ สี กลนิ่ ผดิ ไปจากเดมิ เพราะอาจเปน็ ยาหมด อายุ • ถ้าเกิดอาการแพ้หรือผ่ืนข้ึน คล่ืนไส้อาเจียน ควรหยุดยาและปรึกษา แพทย์ • ไมค่ วรซือ้ ยาชุดหรือยาอื่นๆ มากนิ เอง ถา้ มีอาการผิดปกติควรปรึกษา แพทยเ์ พือ่ ตรวจและรักษา • ควรเกบ็ ยาของผสู้ งู อายใุ หแ้ ยกตา่ งหากเปน็ สดั สว่ น ตดิ ฉลากบนภาชนะ เก็บยาใหม้ องเห็นไดช้ ดั เจน อ่านงา่ ย • ยาเมด็ ควรเกบ็ ในซองยา ขวด หรอื กลอ่ งและปดิ ฝาใหส้ นทิ อยา่ เกบ็ ยา เมด็ หลายอยา่ งไว้ในซองยา ขวด หรือกล่องและปิดฝาใหส้ นิท • หลกี เลีย่ งการเก็บยาใกลค้ วามร้อนหรือในท่ีท่เี ด็กหยบิ ไดง้ า่ ย • ควรรับยาตามแพทย์นัดอย่างต่อเน่ือง ไม่ควรซ้ือยามากินเอง เพราะ แพทยจ์ ะได้ตดิ ตามผลการรักษาดว้ ย มัน่ คงในชีวติ 65

วคั ซนี รายการวคั ซีนส�ำหรับผู้สงู อายุ วคั ซีนปอ้ งกนั โรคไขห้ วดั ใหญ่ • ผู้สงู อายุ 60 ปขี นึ้ ไป ควรฉีดปีละหนึง่ ครง้ั ในชว่ งเดอื นพฤษภาคม • อาการข้างเคยี งทอ่ี าจพบไดค้ อื มไี ข้ ปวดเมื่อยกลา้ มเนือ้ บวมบรเิ วณ ที่ฉดี ผื่นลมพษิ หอบ • ห้ามใช้กบั ผูท้ ีก่ �ำลังมไี ข้ แพไ้ ข่ไก่ วคั ซีนปอ้ งกันโรคติดเช้อื นวิ โมคอ็ กคสั (ปอดอกั เสบ) • ฉีดครัง้ เดียวหรอื ฉดี ซ�ำ้ ในกรณที ่ไี ดร้ บั ครั้งแรกมานานเกิน 6 ปขี น้ึ ไป • อาการข้างเคียงที่อาจพบได้คือ ปวด บวม บริเวณที่ฉีด ปวดข้อ ปวดกล้ามเนอื้ ชาปลายมอื ปลายเท้า ผน่ื ผิวหนงั ไขต้ ำ�่ ๆ • ห้ามใช้กับผู้แพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน ผู้ที่ก�ำลังมีการ ตดิ เชอ้ื ผทู้ ไ่ี ดร้ บั ยากดภมู คิ มุ้ กนั หรอื ไดร้ บั การฉายรงั สรี กั ษามานอ้ ยกวา่ 10 วนั วัคซนี ปอ้ งกนั โรคบาดทะยกั • ส�ำหรบั ผ้สู ูงอายทุ ี่ไมเ่ คยได้รับการฉดี วคั ซีนรวมเพ่อื ปอ้ งกนั โรคคอตบี บาดทะยัก และไอกรนมาก่อน ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก รวม 2 คร้ัง โดยแตล่ ะคร้งั ห่างกนั 6 เดอื น และฉีดเข็มที่ 3 ในอีก 6-12 เดอื นหลังจากฉีดเข็มสอง จากนั้นฉีดกระต้นุ ทกุ 10 ปี • อาการข้างเคียงท่ีอาจพบได้คือ ปวด บวมบริเวณท่ีฉีด ไข้ หนาวส่ัน ผืน่ แพ้ ปวดเมือ่ ยกล้ามเนอ้ื • ไม่ควรฉีดขณะมีการระบาดของโรคโปลิโอ และไม่ควรใช้ร่วมกับ ยาคลอแรมฟนิ คิ อล 66 ชุดความรกู้ ารดแู ลตนเองและพัฒนาศกั ยภาพผู้สงู อายุ

การดูแลผสู้ งู อายุทอี่ ยใู่ นภาวะพ่ึงพา การดแู ลผสู้ งู อายทุ เี่ จบ็ ปว่ ย มภี าวะพง่ึ พา บคุ คลในครอบครวั ไดแ้ ก่ บุตรหลาน ญาติพี่น้อง มีส่วนสำ� คัญอย่างย่ิงในการดูแลกิจวัตรประจ�ำวัน นอกจากการดแู ลท่วั ไป เช่น การดแู ลเรอื่ งอาหาร การปอ้ งกันแผลกดทับ การดูดเสมหะ และการฟน้ื ฟสู ภาพ สง่ิ ท่ีควรรู้สำ� หรบั ครอบครวั ทีม่ ผี ้สู งู อายุ • สงิ่ ทค่ี นใกลช้ ดิ กบั ผสู้ งู อายคุ วรรู้ คอื โรคและยาทผ่ี สู้ งู อายใุ ชเ้ ปน็ ประจำ� ใชใ้ นขนาดเทา่ ไร ยาออกฤทธอ์ิ ยา่ งไร กอ่ ใหเ้ กดิ อาการขา้ งเคยี งอยา่ งไร ได้บ้าง ถ้าเม่ือไหร่ท่ีมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น จ�ำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ ทราบถงึ ยาทใี่ ช้ประจ�ำเพ่อื ประกอบการวินิจฉยั • เอกสารสำ� คญั เกย่ี วกบั ตวั ผสู้ งู อายุ เชน่ บตั รประชาชน สตู บิ ตั ร ทะเบยี น บ้าน หลักฐานทางการเงิน ทรัพย์สินต่างๆ เอกสารประกันสังคม ประกันสุขภาพต่างๆ กรมธรรม์ประกันชีวิตของผู้สูงอายุ ประวัติการ รกั ษาโรค ชือ่ แพทย์ ทนั ตแพทย์ประจ�ำตัวและที่ติดตอ่ แม้กระทัง่ ร้าน ยาท่ีใช้เปน็ ประจำ� เหล่านค้ี วรจดั รวบรวมไวใ้ นท่ีปลอดภยั เปน็ สดั สว่ น สะดวกตอ่ การหยิบใช้ในกรณที ีจ่ �ำเป็น • หากผสู้ ูงอายมุ ีอาการผิดปกตอิ ืน่ ๆ เชน่ มองไม่ชัด หไู มไ่ ดย้ นิ สญู เสยี ความทรงจำ� สบั สน ซมึ เศรา้ หลายๆ อาการเหลา่ นย้ี งั พอรกั ษาใหก้ ลบั คนื มาดีข้นึ ได้ จงึ ควรขอค�ำแนะนำ� จากแพทยเ์ ฉพาะทาง • ควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเก่ียวกับโรคและอาการที่ผู้สูงอายุเป็น โดยอาจหาได้จากหนังสือ นิตยสารสุขภาพ เอกสารของโรงพยาบาล และแหลง่ ข้อมลู ทางอินเทอรเ์ นต็ ตา่ งๆ ม่ันคงในชวี ิต 67

• ตดิ ตอ่ หนว่ ยงานทอี่ าจใหก้ ารชว่ ยเหลอื ได้ เชน่ สำ� นกั งานประกนั สงั คม ประกันสุขภาพ หรือแม้กระท่ังสถานพยาบาลผู้สูงอายุที่อาจให้ค�ำ แนะน�ำในการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสม และหากได้รับค�ำแนะน�ำใดๆ ที่ส�ำคัญมาจากไหนก็ตาม ควรจดไว้ให้ชัดเจน ให้สมาชิกครอบครัว คนอน่ื ๆ ได้รับร้รู ่วมกันดว้ ย • ควรหาโอกาสพดู คยุ กบั สมาชกิ ครอบครวั คนอนื่ ๆ เพอ่ื ขอความรว่ มมอื และความคิดเห็นในการดูแลผู้สูงอายุร่วมกันตั้งแต่แรก ย่ิงเร็วที่สุดย่ิง ดี และจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนในการจัดการเรื่อง ตา่ งๆ • ในกรณที ผ่ี สู้ งู อายไุ มม่ ลี กู หลาน คนใกลช้ ดิ ควรรจู้ กั เพอ่ื นหรอื ญาตสิ นทิ ของผู้สูงอายุเพ่ือเป็นที่ปรึกษาหรือสอบถามประวัติ รวมท้ังท�ำความ รู้จกั คนทีท่ �ำหน้าทร่ี บั ผดิ ชอบดูแล ท้งั ดา้ นสว่ นตัว และด้านการเงนิ • ควรพดู คยุ กบั ผดู้ แู ลดา้ นกฎหมายของผสู้ งู อายุ เชน่ ทนายความประจำ� ครอบครวั (ถา้ ม)ี หรอื ผดู้ แู ลธรุ กจิ หากในกรณที ผี่ สู้ งู อายนุ น้ั ตอ้ งกลาย เปน็ บคุ คลทพุ พลภาพจะมีใครจัดการทรพั ยส์ ิน มรดก หรอื ตัดสินใจ ในการอนญุ าตการรกั ษา ตวั ผสู้ งู อายเุ องไดแ้ สดงเจตจำ� นงอยา่ งไรเกย่ี ว กับการดแู ลตัวเองในบั้นปลายชีวติ ไว้บา้ ง • ในกรณีที่ลูกหลานไม่สามารถท้ิงงานมาดูแลผู้สูงอายุในชีวิตประจำ� วัน ได้จรงิ ๆ อาจต้องพจิ ารณาหาผู้ช่วยในการดแู ล อาจวา่ จา้ งตามหน่วย งานท่ีมีการฝึกเจ้าหน้าท่ีพยาบาลผู้สูงอายุโดยเฉพาะซ่ึงตัวลูกหลาน ผูใ้ กลช้ ดิ ต้องคอยสังเกตการทำ� งานและควบคมุ ดูแลใกลช้ ิด • การพูดคุยกับผู้สูงอายุบ่อยๆ ท�ำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่นใจว่าลูกหลาน อยใู่ กล้ๆ คอยดแู ลและเปดิ โอกาสใหผ้ ู้สูงอายุได้คดิ ตัดสนิ ใจเรือ่ งต่างๆ 68 ชดุ ความรู้การดแู ลตนเองและพฒั นาศกั ยภาพผู้สงู อายุ

ร่วมกนั ด้วยถ้ายังสามารถท�ำได้ การทำ� เชน่ นี้จะชว่ ยให้ผ้สู งู อายุร้สู ึกว่า ยงั มคี ณุ ค่ามคี วามส�ำคญั ต่อสมาชิกในครอบครัว การเตรยี มตวั และตง้ั สตริ บั มอื กบั เรอื่ งทเ่ี กดิ ขน้ึ ตง้ั แตเ่ นน่ิ ๆ จะชว่ ย ให้สามารถจัดการกบั เรอ่ื งยงุ่ ยากทั้งหลายไดร้ วดเรว็ ขน้ึ และสามารถปรบั ตวั รับมือกับการเปลีย่ นแปลงท่เี กดิ กบั ผสู้ งู อายไุ ดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ การขบั เสมหะในทางเดินหายใจ ระบบทางเดนิ หายใจเปน็ ระบบทส่ี ำ� คญั ของรา่ งกาย การดแู ลใหไ้ ด้ รับอากาศในการหายใจอย่างเพียงพอ ช่วยให้การหายใจเป็นไปอย่างมี ประสทิ ธิภาพ ปอ้ งกันการอุดตันทางเดนิ หายใจและป้องกันการติดเชอื้ ใน ทางเดินหายใจจากการท่ีมีเสมหะค่งั ค้างอยู่ จงึ เป็นส่งิ ส�ำคัญท่ีละเลยไมไ่ ด้ การดแู ลเพ่ือปอ้ งกันการอุดตนั ทางเดินหายใจ มีวธิ ตี า่ งๆ ดงั น้ี 1. การสอนให้ไออย่างมีประสิทธภิ าพ 2. การดดู เสมหะโดยใชล้ กู ยางแดง 3. การดูดเสมหะดว้ ยสายดูดเสมหะ หลักเกณฑป์ ระเมินสภาพทางเดนิ หายใจอุดกั้น • มอี าการหายใจลำ� บาก ใชก้ ลา้ มเนอ้ื หนา้ ทอ้ งชว่ ยในการหายใจ • อัตราการหายใจเรว็ และลกั ษณะหายใจจมกู บาน • ชีพจรอาจชา้ หรือเรว็ • มเี สียงหายใจทมี่ เี สมหะคง่ั คา้ งและหายใจทางปาก • มีความบกพร่องในการแลกเปลีย่ นอากาศ เนอ่ื งจากมีเสมหะ อุดตนั มน่ั คงในชวี ิต 69

การไออย่างมีประสทิ ธภิ าพเพอื่ ช่วยขจัดเสมหะ • ผู้สูงอายุอยู่ในท่าท่ีผ่อนคลาย อาจนั่งหรือนอนศีรษะสูง ปล่อยตวั ตามสบายไมเ่ กรง็ กลา้ มเนอ้ื ส่วนใดๆ • หายใจเขา้ ออกลกึ ๆ ช้าๆ 2-3 ครงั้ จากนน้ั สูดหายใจเข้าช้าๆ ทางจมูกอย่างเต็มที่และกลั้นหายใจไว้ครู่หน่ึงประมาณ 2-3 วนิ าที • โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อยอ้าปากกว้างๆ และไอออกมา ตดิ ต่อกนั ประมาณ 2-3 ครัง้ ใหเ้ สมหะออกมา • พักโดยการหายใจเขา้ ออกช้าๆเบาๆ • ถ้าหากผู้ป่วยรู้สึกว่ายังมีเสมหะอยู่ให้ปฏิบัติซ�้ำจนรู้สึกว่า เสมหะท่มี อี ยู่ได้ออกหมดแล้ว • นอกจากนี้ผู้ป่วยควรดื่มน�้ำอุ่นวันละ 8-10 แก้วเพื่อช่วยให้ เสมหะออ่ นตวั หลุดออกไดง้ ่าย การดดู เสมหะในหลอดลมในรายที่เจาะคอ การดดู เสมหะดว้ ยสายดดู เสมหะ เพอื่ ชว่ ยในกรณที ่ไี ม่สามารถขบั เสมหะออกด้วยการไอได้ หรือผปู้ ่วยทีม่ เี สมหะค่งั ค้างอยบู่ รเิ วณปอดสว่ น ล่าง ซึ่งยากต่อการขับออกมา การดูดเสมหะด้วยวิธีนี้อาจเกิดภาวะ แทรกซอ้ นตามมาจากผลของการใชค้ วามดนั จากเครอื่ งดดู เสมหะไมเ่ หมาะ สม หรือใชส้ ายดดู ขนาดใหญเ่ กนิ ไป ดังนัน้ ผูด้ ูแลควรทราบวิธกี ารใชเ้ ครื่อง ดดู เสมหะ และการเลือกใช้สายดดู เสมหะท่ีถกู ตอ้ ง 70 ชุดความรกู้ ารดแู ลตนเองและพฒั นาศักยภาพผ้สู งู อายุ

การดูดเสมหะดว้ ยลกู ยางแดง การปฏิบัติ เหตผุ ล 1.ล้างมือให้สะอาดแล้วสวมถุงมอื ลดการแพร่กระจายเชอื้ โรค 2.รองผ้ากันเปื้อนบริเวณหน้าอก ป้องกันการเป้ือนเส้อื ผ้า ของผปู้ ว่ ย 3.จบั ลกู ยางแดงดว้ ยมอื ทถี่ นดั ใชน้ ว้ิ เพ่ือไล่อากาศภายในกระเปาะออก หวั แมม่ อื บบี ดา้ นทา้ ยของกระเปาะ ใหเ้ กดิ สญุ ญากาศภายใน 4.สอดปลายด้านเปิดของลูกยาง การลดความดันในกระเปาะอย่าง แดงเข้าจมูกหรือปากแล้วค่อยๆ ชา้ ๆ เพอื่ ปอ้ งกนั การดดู ถกู เยอื่ บใุ น ปล่อยน้ิวที่กดกระเปาะเพื่อดูด ทางเดินหายใจ เสมหะ 5.ไล่เสมหะออกจากกระเปาะโดย ท�ำความสะอาดภายในกระเปาะ การบบี กระเปาะ และปลอ่ ยหลายๆ กอ่ นท�ำการดูดเสมหะอีกครง้ั ครง้ั ในชามรปู ไต 6.ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนทาการ ดดู เสมหะตอ่ ไป 7 . ห ลั ง จ า ก ดู ด เ ส ม ห ะ เ ส ร็ จ ให้ท�ำความสะอาดบริเวณจมูกหรือ ปากที่มเี สมหะติดอยู่ มน่ั คงในชวี ติ 71

เครือ่ งดูดเสมหะ โดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ 1. แบบเคลอื่ นท่ไี ด้ 2. แบบตดิ ฝาผนงั ทั้ง 2 ประเภท จะมีภาชนะรองรบั เสมหะติดอยู่ และมหี น้าปิดของ เครื่องบอกความดนั ตามทไี่ ด้ปรบั ไว้ แรงดูดทเี่ หมาะสมในการดดู เสมหะ ควรปรับความดนั ใหอ้ ยู่ที่ 100-120 มม.ปรอท (13 น้ิวปรอท) สายดูดเสมหะมี 2 ประเภทดังนี้ 1. แบบสายตรง 2. แบบสายโค้ง การดดู เสมหะจากหลอดลม ข้อบ่งช้ี 1. เพอื่ กำ� จดั เสมหะในหลอดลมทผี่ ปู้ ว่ ยไมส่ ามารถกำ� จดั ออกไปไดเ้ องดว้ ย การไอ ในผ้ปู ่วยทใี่ ส่ท่อหลอดลมหรอื ไดร้ ับการเจาะหลอดลม 2. เพ่อื นำ� เอาเสมหะไปใชใ้ นการตรวจทางห้องปฏิบตั กิ าร ข้อควรระวงั 1. ผู้ป่วยทม่ี ีภาวะพร่องออกซเิ จนอย่างรุนแรง 2. ผ้ปู ว่ ยที่มีอาหารอยเู่ ต็มกระเพาะจะทำ� ใหเ้ กิดอาการส�ำลกั ได้ 3. ภาวะเลอื ดออกผดิ ปกติ การเตรยี มอปุ กรณ์ • สายดดู เสมหะปลอดเชื้อ 72 ชดุ ความรู้การดแู ลตนเองและพัฒนาศกั ยภาพผสู้ งู อายุ

• ถุงมอื ปลอดเชอื้ • เครื่องดูดเสมหะ • ตวั ควบคมุ สูญญากาศดว้ ยปลายนว้ิ • นำ�้ เกลือนอรม์ ัลปลอดเชอื้ • ขวดสะอาดปลอดเชอ้ื ในกรณีส�ำหรับเก็บเสมหะ วธิ ีการ 1. ก่อนการดูดเสมหะ ถ้าผู้ป่วยหายใจได้เองให้เพ่ิมความเข้มข้นของ ออกซเิ จนทใ่ี ชป้ ระมาณ 2-3 นาที 2. มือขวาสวมถุงมือปลอดเช้ือ หยิบสายดูเสมหะจากภาชนะท่ีเก็บแล้ว กระชับสายให้อยใู่ นอุ้งมือโดยระวังการปนเป้ือน 3. ใช้มือซ้ายถือสายจากเคร่ืองดูดที่ต่อเข้ากับตัวควบคุมสูญญากาศด้วย ปลายนิ้ว แล้วต่อกับสายดูดเสมหะที่ถืออยู่ในมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือ ขา้ งซ้ายปิดรทู ี่ตวั ควบคมุ เม่อื ตอ้ งการดดู 4. เปดิ เครอ่ื งดูดทดลองควบคุมแรงดดู ใหไ้ ด้ระหวา่ ง 80-120 มม.ปรอท 5. ปลดข้อต่อท่อหลอดลมจากสายเคร่ืองช่วยหายใจหรือจากสายส่ง ออกซิเจน ใชม้ อื ขวาสอดสายดดู เสมหะผ่านท่อหลอดลมอยา่ งรวดเรว็ 6. เมื่อสอดสายดูดเสมหะเข้าไปในหลอดลมลึกลงไปจนใส่เข้าไปไม่ได้อีก แล้ว ใชน้ ิ้วหัวแมม่ อื ซา้ ยปดิ รทู ี่ตัวควบคมุ เพ่ือดดู และปล่อย เป็นระยะ โดยดดู 2-3 วนิ าทแี ลว้ หยดุ ดึงสายขนึ้ เล็กนอ้ ยแล้วท�ำซ�ำ้ ระหว่างดดู เสมหะถา้ สายดดู ไมม่ รี ูดา้ นข้าง ให้หมนุ สายดูดดว้ ย เพอ่ื ใหด้ ดู ไดท้ ัว่ ถงึ โดยใช้เวลารวมส�ำหรับการดูดเสมหะต่อคร้ังประมาณ 15 วนิ าที หรือ มน่ั คงในชีวติ 73

ชวั่ อดึ ใจของผทู้ ำ� การดดู เสมหะ เนอื่ งจากผนงั หลอดลมขา้ งขวาจะเฉยี ง น้อยกว่าข้างซ้ายท�ำให้สายดูดเข้าหลอดลมข้างขวาง่ายกว่า ดังนั้นถ้า ตอ้ งการใหส้ ายดูดเขา้ หลอดลมข้างซา้ ยใหห้ นั หน้าผปู้ ่วยไปทางขวา 7. ถ้าผปู้ ว่ ยมเี สมหะมากใหท้ �ำการดูดซำ้� อีก 2-3ครัง้ แตใ่ หเ้ ว้นระยะใหผ้ ู้ ป่วยหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปแล้วจึงท�ำการดูดเสมหะซำ�้ 8. เมอ่ื ดดู เสมหะหมดแลว้ ใหด้ ดู นำ้� เปลา่ ผา่ นสายดดู เลก็ นอ้ ยกอ่ นปลดใส่ ภาชนะท่ใี ช้รวบรวมสายดูดหลังใชง้ านแล้ว 9. ถ้าเสมหะเหนียวข้นมาก ใหห้ ยอดน้ำ� เกลือนอร์มลั ปลอดเชื้อประมาณ 2-5 มล. เข้าหลอดลมกอ่ นดดู เสมหะ จะทำ� ใหด้ ูดเสมหะได้ดขี ึน้ การปอ้ งกันแผลกดทบั แผลกดทบั เกดิ จากการทม่ี กี ารกดทบั บรเิ วณผวิ หนงั เปน็ เวลานาน ทำ� ใหเ้ ลอื ดไปเลย้ี งผวิ หนงั ลดลง และเกดิ การตายของเซลลแ์ ละเนอ้ื เยอ่ื มกั เกิดในผปู้ ว่ ยทไี่ ม่คอ่ ยรสู้ กึ ตัว ชว่ ยตัวเองหรือเคล่อื นไหวไมไ่ ด้ ลักษณะและอาการของโรค เมอ่ื ผวิ หนงั บรเิ วณทถ่ี กู กดทบั ขาดเลอื ดไปเลยี้ งไดร้ าวๆ 2-3 ชว่ั โมง ผวิ หนงั บริเวณนนั้ จะเรมิ่ ตาย เจบ็ เปลี่ยนเปน็ สีแดงหรือม่วง ซ่งึ หากทิง้ ไว้ ไมร่ กั ษา จะเกดิ เปน็ แผลและตดิ เชอ้ื ได้ แผลกดทบั ทเ่ี ปน็ มาก อาจกนิ ลกึ ไป ถึงกระดกู ซึง่ จะต้องใช้เวลาในการรักษานาน 74 ชดุ ความรูก้ ารดแู ลตนเองและพัฒนาศักยภาพผสู้ งู อายุ

สาเหตุของการเกดิ แผลกดทบั 1. การกดทบั 2. ภาวะทุพโภชนาการ 3. การถูกจำ� กัดการเคลอื่ นไหว การนอนนานๆ โดยไม่เคล่อื นไหว 4. การตดิ เชอ้ื 5. การท�ำงานของระบบประสาทความรู้สึกเสื่อม 6. การเปลยี่ นแปลงของผิวหนงั โดยปกตแิ ลว้ เส้นเลอื ดจะมแี รงดนั ของหลอดเลือดฝอย เหมอื นทอ่ น�้ำประปา ถ้ามีอะไรพับไว้ก็จะไหลได้เพียงเล็กน้อย ลักษณะเดียวกันกับ เส้นเลือดเม่ือถูกทับจนเลือดไม่สามารถไหลมาเล้ียงกล้ามเน้ือได้จะท�ำให้ บริเวณทีถ่ ดู กดทบั มีการตายของเน้ือเย่ือ ซงึ่ แรงกดมากกว่า 20 มม.ปรอท เปน็ เวลา 2-4 ชวั่ โมง ท�ำให้เกดิ แผลกดทับ ในบรเิ วณทีม่ กี ลา้ มเนอ้ื มากจะ ทนต่อแรงกดทับได้ดี กรณีของแรงกดท่ีมากเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ท�ำให้ เกดิ อนั ตรายตอ่ เนอ้ื เยอื่ ไดเ้ ทา่ กบั แรงกดนอ้ ยๆ แตเ่ ปน็ ระยะเวลานาน ขณะ ทมี่ กี ารนอนบนเตยี ง หรือน่งั บนรถเขน็ ก็จะตอ้ งมีการเคล่ือนตวั ของคนไข้ ไมว่ า่ จะเคลอ่ื นตวั เพอ่ื เปลย่ี นผา้ ปทู นี่ อน หรอื ทำ� ความสะอาดเมอ่ื มกี ารถา่ ย ออกมา ไมว่ ่าจะเปน็ อจุ จาระ ปสั สาวะหรือแม้แตเ่ รอื่ งการอาบน�ำ้ การลกุ จากรถเข็นมาน่ังบนเตียง เป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดการเสียดสีกับที่นอน หรอื ที่นง่ั ซงึ่ การเสียดสหี รือการไถลไปกับพน้ื (ท่ีนอน รถเข็น ฯลฯ) การ ไถหรือถู ท�ำให้เกิดแรงกระท�ำโดยตรงต่อช้ันผิวก�ำพร้า จะท�ำให้เกิดการ ปรแิ ตกของเนื้อเยอื่ ได้เร็วขน้ึ ม่ันคงในชีวิต 75

การสังเกตอาการ หากเกิดรอยแดงบริเวณผิวหนัง และรอยดังกล่าวไม่เปล่ียนกลับ เปน็ สเี ดมิ ของผวิ ปกตแิ มว้ า่ จะไมม่ อี าการแผลกดทบั แลว้ กต็ าม นเี่ ปน็ อาการ เริ่มต้นของแผลกดทับ รอยแตกของผิวหนังอาจจะเป็นแผลตื้นๆ แต่สามารถขยายเป็นแผลกว้าง และขยายใหญ่ข้ึนลามลึกถึงไขมันไปยัง เนื้อเย่ือ ขยายตัวไปยังกล้ามเน้ือและกระดูก หากเกิดอาการติดเช้ือ แบคทเี รยี หรอื ไวรสั ทแ่ี ผล แผลจะมสี เี ขยี วคลำ้� ดำ� มกี ล่ินและหนอง และ อาจจะต้องตัดทิ้งเพื่อรักษาอาการ บางครั้งอาจมีขนาดเล็กเม่ือมอง ภายนอกแต่ภายในแผลอาจจะมีขนาดใหญ่ ดังน้ันเม่ือพบว่าเกิดรอยแตก หรอื อาการดงั กลา่ วบริเวณผวิ หนังของผปู้ ว่ ยควรรีบปรกึ ษาแพทยท์ ันที บริเวณท่ีอาจเกดิ แผลกดทับ ขณะนอน น้�ำหนักท้ังหมดของร่างกายของผู้ป่วยจะกดทับลงใน ส่วนโปนของกระดกู บริเวณหลังและสะโพก เปน็ สว่ นทมี่ ีความเสี่ยงที่สดุ จากสถิตพิ บวา่ ผปู้ ว่ ยทเ่ี ปน็ แผลกดทับบริเวณดังกล่าวมีจำ� นวนมากทสี่ ุด บริเวณท่อี าจเกดิ แผลกดทับในท่าตา่ งๆ 1. ผสู้ งู อายนุ อนหงาย บรเิ วณทเ่ี กดิ คอื ทา้ ยทอย ใบหู หลงั สว่ นบน กน้ กบ ขอ้ ศอก ส้นเท้า 2. ผสู้ งู อายนุ อนควำ�่ บรเิ วณทเ่ี กดิ คอื ใบหแู ละแกม้ หนา้ อกและใตร้ าวนม หนา้ ทอ้ ง หัวไหล่ สันกระดกู สะโพก หัวเขา่ ปลายเท้า 3. ผสู้ งู อายนุ อนตะแคง บรเิ วณทเ่ี กดิ คอื ศีรษะด้านข้าง หัวไหล่ กระดกู ก้น ป่มุ กระดูกตน้ ขา ฝีเย็บ หัวเข่าดา้ นหนา้ ตาตมุ่ 76 ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศกั ยภาพผ้สู งู อายุ

4. ท่าน่ังนานๆ บริเวณที่เกิดคือ ก้นกบ ปุ่มกระดูกก้น หัวเข่าด้านหลัง กระดูกสะบัก เทา้ ขอ้ เท้าด้านอก การปอ้ งกันแผลกดทับ และการพยาบาล 1. ดูแลพลิกตะแคงตัว เปล่ียนท่านอนทุก 2 ช่ัวโมง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว�่ำกง่ึ ตะแคง สลบั กันไปตามความเหมาะสม ควรใชห้ มอนหรือ ผ้าห่มนุ่มๆรองบริเวณท่ีกดทับ หรือปุ่มกระดูกท่ีย่ืน เพ่ือป้องกันการ เสยี ดสีและลดแรงกดทับ 2. ดูแลทน่ี อน ผา้ ปทู นี่ อน ให้สะอาด แหง้ เรยี บตึงอยู่เสมอ 3. ควรใช้ท่ีนอนท่ีมีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน�้ำ ท่ีนอน ฟองนำ้� ควรหลกี เลยี่ งการใชท้ น่ี อนทก่ี ารระบายอากาศไมด่ ี เชน่ ทน่ี อน หุ้มพลาสตกิ 4. การยกหรือเคล่ือนย้ายผู้ป่วย ควรมีผ้ารองยกและใช้การยกในการ เคลอ่ื นย้ายผูป้ ่วยเพ่ือปอ้ งกันการเกดิ การเสยี ดสี 5. ดแู ลผิวหนังผ้ปู ่วยให้สะอาด แห้ง ไมอ่ บั ช้นื เพราะถ้าผวิ หนังเปียกชื้น หรือรอ้ นจะท�ำใหเ้ กิดแผลเปอ่ื ย ผิวหนงั ถลอกง่าย โดยเฉพาะภายหลงั จากผ้ปู ่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ต้องท�ำความสะอาดแล้วซบั ให้แหง้ และหากสังเกตพบว่าผปู้ ว่ ยมีผวิ หนังแตกเป็นขยุ ควรหาครีม หรอื โลชนั่ ทาผวิ หนัง 6. ดูแลให้ผู้ป่วยออกก�ำลังกายตามความเหมาะสม เพ่ือให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผวิ หนงั แขง็ แรง มีการไหลเวียนโลหติ ดี มัน่ คงในชีวิต 77

7. จดั การอาหารใหผ้ ปู้ ว่ ยอยา่ งเพยี งพอ และมคี ณุ คา่ ทางโภชนาการครบ ถว้ นโดยเฉพาะโปรตนี จำ� เปน็ อยา่ งมากตอ่ ผปู้ ว่ ยทมี่ แี ผลกดทบั เพราะ ผูป้ ว่ ยจะสญู เสยี โปรตนี ไปทางแผลจ�ำนวนมาก นอกจากน้ีต้องดูแลให้ วติ ามินธาตุเหล็ก และนำ�้ อยา่ งสมดุลดว้ ย 8. อธบิ าย ใหค้ ำ� แนะนำ� รวมทงั้ ใหก้ ำ� ลงั ใจแกผ่ ปู้ ว่ ยและญาติ ใหต้ ระหนกั ถึงความสำ� คญั ของการพลิกตะแคงตัว และการทำ� ความสะอาดแผล การท�ำความสะอาดแผลโดยวิธีปราศจากเช้อื การทำ� แผลแบ่งเป็น 2 วธิ ีคอื 1. การท�ำแผลชนิดแห้ง ใช้ท�ำแผลชนิดที่ปาดแผลปิด เช่น แผลผ่าตัดท่ี แพทย์เย็บขอบแผลตดิ กัน แผลมที อ่ ระบาย 2. การทำ� แผลชนดิ เปียก ใชท้ �ำแผลชนดิ ที่ปากแผลเปิด เชน่ แผลกดทบั แผลผ่าตัดที่มีการติดเชื้อแล้วขอบแผลแยก แผลผ่าตัดแล้วที่เย็บขอบ แผลแต่ไม่ผกู ดา้ ยหรือไหมท่ีเย็บเขา้ หากัน วธิ ที �ำแผลชนดิ แห้ง 1. ดูขนาดของแผลว่าตอ้ งใช้วัสดุอปุ กรณ์อะไรบา้ ง 2. จัดท่านอนของผู้ปว่ ยใหเ้ หมาะสม เปิดเฉพาะต�ำแหน่งท่ีมีแผล 3. ลา้ งมอื ใหส้ ะอาด และเตรยี มวสั ดอุ กุ รณ์ ในการทำ� แผลตามความเหมาะ สมกับแผลของผ้ปู ่วย 4. จัดวางชดุ ท�ำแผล ใหใ้ กล้และสะดวกสำ� หรบั ท�ำแผล ในตำ� แหน่งทผ่ี ทู้ ำ� แผลไม่ทิ้งส�ำลีใช้แล้วหรือของใช้ในชุดท�ำแผล จัดวางภาชนะส�ำหรับ รองรบั เศษสำ� ลี ผา้ กอ๊ ซ จากการทาแผลไว้ใกลๆ้ ขณะทำ� แผล 78 ชุดความรู้การดแู ลตนเองและพัฒนาศกั ยภาพผู้สูงอายุ

5. เปิดชุดท�ำแผลด้วยเทคนิคปลอดเชื้อแล้วเตรียมน้�ำยาส�ำหรับท�ำแผล ถา้ เป็นแผลชนิดแห้งใช้เพยี งแอลกอฮอล์ 70% เพียงอย่างเดยี ว 6. ใชม้ อื จบั ผา้ ดา้ นนอกของชดุ ทำ� แผลเพอ่ื ยกดา้ มปากคมี คบี ขน้ึ แลว้ หยบิ ปากคมี ออกจากชดุ ทำ� แผล 7. ใชป้ ากคมี ชนดิ มเี ขย้ี วในชดุ ทำ� แผล หยบิ ผา้ ปดิ แผลดา้ นในทชี่ ดิ ตวั แผล ออกแล้วทิง้ ลงในภาชนะทีเ่ ตรยี มไว้ ใหส้ ังเกตวา่ แผลมอี าการบวมแดง กดเจ็บหรือไม่ และส่ิงที่ไหลออกจากแผลซงึ่ ตดิ อยูก่ ับผา้ ปิดมลี ักษณะ อยา่ งไร 8. ใชป้ ากคมี ไมม่ เี ขยี้ วหยบิ สำ� ลชี บุ แอลกอฮอล์ 70% และใชป้ ากคบี มเี ขย้ี ว รับสำ� ลีใหป้ ากคีบมีเข้ยี วอยู่ขา้ งลา่ ง บิดหมาดๆ แลว้ ใช้ปากคีบมีเขย้ี ว จับส�ำลีดังกล่าว เช็ดแผล และผิวหนังรอบๆแผลเท่าน้ัน เช็ดจนแผล และผวิ หนงั รอบๆแผลสะอาด โดยเชด็ บรเิ วณด้านในออกมาดา้ นนอก 9. ใชป้ ากคบี ไมม่ เี ขยี้ วหยบิ ผา้ กอ๊ ชปดิ แผลใหม้ ขี นาดใหญก่ วา่ แผลโดยรอบ ประมาณ 1 นวิ้ ปดิ คลมุ บนแผล ห้ามวางลงขา้ งแผลแลว้ ดึงเลื่อนมา ปิดแผล 10. ปดิ พลาสเตอรต์ ามแนวทางขวางกบั ล�ำตวั ของผู้ป่วย 11. เกบ็ เคร่อื งใชใ้ นการท�ำแผล แล้วนำ� ไปแช่ผงซกั ฟอกทเ่ี ตรียมไว้ 12. ล้างมือให้สะอาด หมายเหตุ การแชช่ ดุ ทำ� แผลท่ีใช้แลว้ แช่นานประมาณ 30 นาที จงึ ใสถ่ งุ มอื สะอาดแลว้ นำ� ภาชนะมาลา้ งใหส้ ะอาด ผง่ึ แดดใหแ้ หง้ นำ� มาหอ่ นึ่งต่อไป มนั่ คงในชีวิต 79

วธิ ที ำ� แผลชนิดเปยี ก 1. ใช้ปากคีบในชุดท�ำแผลหยิบผ้าปิดแผลด้านในท่ีชิดตัวแผลออกทิ้งใน ภาชนะทเี่ ตรยี มไว้ ถ้าพบเลือดแหง้ ตดิ แน่นให้ราดนำ�้ เกลือ 0.9% ไปท่ี ผา้ กอ๊ ซใหเ้ ปยี กกอ่ นดงึ ออกขณะเดยี วกนั ใหส้ งั เกตวา่ แผลมอี าการบวม แดงกดเจ็บหรือไม่ และสิ่งที่ไหลออกจากแผล ซึ่งติดอยู่กับผ้าปิดมี ลักษณะอยา่ งไร 2. ใช้ปากคีบหยิบส�ำลีชุปแอลกอฮอล์ 70% บิดพอหมาดเช็ดผิวหนัง บริเวณรอบๆ แผล โดยให้เร่ิมเช็ดจากส่วนที่ชิดแผลก่อนแล้วจึงเช็ด บรเิ วณรอบนอกห่างออกไป 3 นิ้ว 3. ใชป้ ากคบี หยบิ สำ� ลชี บุ นำ้� เกลอื หรอื นำ�้ ยาลา้ งแผลตามความเหมาะสม บิดพอหมาดแล้วเริ่มเช็ดจากบริเวณในสุดก่อน ใช้ส�ำลีก้อนใหม่ท�ำซ้�ำ จนแผลสะอาด (ถ้าแผลมีหนองหรือเน้ือตาย หรือพบส่ิงผิดปกติ ให้ ปรึกษาเจา้ หน้าทส่ี าธารณสุขที่ทำ� การเยย่ี มบา้ นได้) 4. คีบสำ� ลีชบุ แอลกอฮอล์ 70% เชด็ ผวิ หนังท่ีขอบแผลและบรเิ วณรอบๆ แผลอีกคร้งั หน่ึง วางผา้ กอ๊ ซชบุ นำ�้ เกลือหรือน�ำ้ ยาอืน่ ๆ ตามแผนการ รกั ษาไวใ้ นแผลอยา่ งหลวมๆ ปิดแผลดว้ ยผ้ากอ๊ ซและถ้าแผลเปยี กชืน้ มาก อาจใช้ผ้าก๊อซหุ้มส�ำลีปิดทับอีกช้ันหน่ึง แล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับ การท�ำแผลชนิดแห้งข้อ 10-12 การท�ำความสะอาดแผลทีอ่ ยใู่ นระยะเนอ้ื แผลแดงดี 1. ควรลา้ งแผลเบาๆ เฉพาะบริเวณผวิ หนังรอบๆ แผลเท่าน้ัน หลกี เลีย่ ง การขัดถูแผล หรือล้างแผลด้วยแรงดันสูง เพราะจะท�ำให้สารอาหาร 80 ชุดความรู้การดแู ลตนเองและพัฒนาศักยภาพผ้สู ูงอายุ

เซลล์ที่ก�ำลังงอกขยาย ถูกชะล้างออกไปดว้ ย 2. น�้ำยาทลี่ ้างแผลต้องไมม่ ีพษิ ต่อเซลล์ ไดแ้ ก่ น้�ำเกลือนอรม์ ลั สว่ นน�้ำยา ฆา่ เชื้อโรค เช่น ยาเบตาดีน ไฮโรเจน นำ้� ยาเดคนิ ไม่ควรใช้ในระยะนี้ เพราะจะทำ� ลายเซลล์ทจ่ี ำ� เป็นในการซอ่ มแผล ทำ� ใหแ้ ผลหายชา้ การทำ� ความสะอาดแผลตดิ เชือ้ หรอื แผลเนอ้ื ตาย 1. ใชก้ ารชะลา้ งแผลดว้ ยความดนั สงู เพอื่ ขจดั เศษเนอื้ ตายและแบคทเี รยี 2. ใชน้ ำ� ยาทำ� ความสะอาดแผล นำ้� เกลอื นอรม์ ลั หรอื นำ้� ยาฆา่ เชอ้ื ลา้ งแผล โดยเฉพาะอย่างย่ิงแผลติดเชอ้ื จากการปนเป้อื น 3. ก�ำจัดเศษเนื้อตายและส่ิงแปลกปลอมต่างๆ เพราะเป็นแหล่งให้ แบคทีเรยี เจริญได้ดี จึงควรตดั ออกใหห้ มด แลว้ เซลล์ใหมจ่ ะงอกขยาย เจริญมาปกคลุมแผลไดด้ ี 4. ก�ำจัดช่องหรือโพรงท่ีอยู่ภายใต้ผิวหนัง เนื่องจากช่องหรือโพรงมักมี สารคัดหล่ังจากแผล ซ่ึงเป็นแหล่งอาหารท่ีดีของแบคทีเรีย จึงควร ทำ� การอุดช่องหรือโพรงอยา่ งหลวมๆดว้ ยผ้าก๊อซหรือวสั ดทุ ่ีเหมาะสม ม่นั คงในชวี ิต 81

ขอ้ มลู แหล่งประโยชนด์ ้านสุขภาพ แหล่งจ�ำหน่ายเวชภณั ฑ์ส�ำหรบั ผูส้ งู อายุ เวชภณั ฑ์ หมายถงึ วสั ดหุ รอื อปุ กรณท์ างการแพทย์ เพอ่ื การบำ� บดั รกั ษาผปู้ ว่ ย เชน่ ทน่ี อนลม แผน่ เจลรองนอน เตยี งนอน รถเขน็ ผปู้ ว่ ย เกา้ อ้ี น่ังถ่าย อุปกรณ์ช่วยเดิน เคร่ืองดูดเสมหะ เครื่องพ่นยา เครื่องผลิต ออกซิเจน ปรอทวัดไข้ เครื่องช่วยฟัง เครื่องวัดความดันโลหิต เคร่ืองวัด นำ�้ ตาลในเลอื ด ผา้ ออ้ มสำ� เรจ็ รปู สำ� หรบั ผใู้ หญ่ แผน่ รองซบั อาหารทางการ แพทย์ โดยสามารถหาซอ้ื ไดท้ ร่ี า้ นจำ� หนา่ ยวสั ดอุ ปุ กรณท์ างการแพทยท์ วั่ ไป ทงั้ นี้ การใชว้ สั ดุหรืออปุ กรณท์ างการแพทยบ์ างประเภทจำ� เปน็ ตอ้ งขอคำ� แนะน�ำจากแพทยเ์ พอ่ื การใช้งานท่ถี กู ต้องและไมเ่ ป็นอันตรายต่อผูส้ งู อายุ แหล่งบริการให้ค�ำปรึกษาทางโทรศัพท์ • กองสร้างเสริมสุขภาพ สำ� นักอนามัย กรุงเทพมหานคร หมายเลขโทรศพั ท์ 0-2264-5201 • สายด่วนสขุ ภาพ ส�ำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) โทรศพั ทส์ ายดว่ น 1646 • สายด่วนสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-2000 • สายดว่ นกินดีสขุ ภาพดี กรมอนามยั โทรศัพท์สายด่วน 1675 • สายดว่ นปรึกษาปัญหาเร่อื งยา องค์การเภสัชกรรม หมายเลขโทรศัพท์ 0-2644-8850 กด 73 • สายดว่ นป่วยฉุกเฉิน 1669 สถาบันการแพทย์ฉกุ เฉินแห่งชาติ (สพฉ.) 82 ชุดความร้กู ารดูแลตนเองและพฒั นาศักยภาพผสู้ ูงอายุ

เวบ็ ไซด์ทเ่ี ก่ียวข้องกบั การดูแลสขุ ภาพผูส้ งู อายุ หน่วยงานหรอื เว็บไซด์ สำ� นกั ส่งเสริมสขุ ภาพ กรมอนามัย hp.anamai.moph.go.th คลินกิ รักดอทคอม www.clinicrak.com คลังปญั ญาไทย www.panyathai.or.th ไทยคลนิ ิก www.thaiclinic.com มูลนธิ สิ ถาบันวจิ ยั และพัฒนาผสู้ งู อายุ (มส.ผส.) thaigri.org มูลนิธพิ ัฒนางานผูส้ งู อายุ (FOPDEV) http://fopdev.or.th สถาบันเวชศาสตร์ผสู้ งู อายุ กรมการแพทย์ agingthai.dms.moph.go.th ส�ำนักงานกองทุนสนบั สนุนการสรา้ งเสรมิ สุขภาพ (สสส.) www.thaihealth.or.th เสน้ ทางสุขภาพ www.yourhealthyguide.com ม่นั คงในชวี ิต 83

การสรา้ งเสริมสขุ ภาพจติ เมอื่ ผสู้ งู อายดุ แู ลสขุ ภาพกายของตนเองเปน็ อยา่ งดแี ลว้ กต็ อ้ งดแู ล สุขภาพจิตของตนเองด้วย โดยท�ำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ ไม่ให้ตนเอง เกดิ ความเครยี ด หงดุ หงดิ ฉนุ เฉยี ว ทอ้ แทห้ รอื นอ้ ยใจ ดว้ ยการหากจิ กรรม ทท่ี ำ� ใหต้ นเองไดพ้ กั ผอ่ นหยอ่ นใจ มฉิ ะนนั้ จะเปน็ ผลเสยี ตอ่ สขุ ภาพจติ ของ ตนเองและสมั พันธภาพกบั ลกู หลานและคนอนื่ หลายคนท่เี ข้าสูว่ ยั สูงอายุ มกั มองตนเองไม่มคี วามสำ� คัญ ไรค้ วามสามารถ หรือรสู้ ึกวา่ ตนเองไม่แขง็ แรงเทา่ เมอ่ื กอ่ น เปน็ ภาระแกบ่ ตุ รหลาน สง่ ผลใหค้ วามพงึ พอใจในชวี ติ ลด ต�ำ่ ลง การมีความคดิ แงล่ บต่อตนเอง ยอ่ มสง่ ผลดา้ นลบตอ่ สขุ ภาพกายไป ดว้ ย การเสรมิ สรา้ งสขุ ภาพจติ ในผสู้ งู อายุ สามารถทำ� ไดโ้ ดยเรมิ่ จากการ เสรมิ สรา้ งความสุขใหก้ บั ตนเองก่อน ซึ่งมีวธิ กี ารดงั ต่อไปน้ี 1. สร้างความรู้สึกท่ีดีต่อตนเอง ด้วยการตั้งมั่นอยู่ในความดี ด้วยการมี ความคดิ ดี พดู ดี และทำ� ดี จะชว่ ยให้เรามคี วามสุข จิตใจแจ่มใสไมข่ ุน่ มวั อารมณด์ ี 2. ตระหนักในคุณค่าของตนเองท่ีมีต่อบุตรหลานและบุคคลอ่ืน ช่ืนชม และภาคภูมใิ จในตนเอง อย่ามองว่าตนเองไรค้ ่า หรอื รู้สึกท้อแท้ 3. ดำ� เนนิ ชวี ติ อยา่ งเรยี บงา่ ย ไมผ่ กู มดั ตวั เองดว้ ยกฏเกณฑต์ า่ งๆ มากมาย กินง่าย อยู่ง่าย ด�ำรงชีวิตอยู่บนความพอเพียง ซ่ึงไม่ได้หมายถึงการ ประหยดั จนอดึ อดั หรอื รดั ตวั จนเกนิ ไป แตใ่ หด้ ำ� เนนิ ชวี ติ อยบู่ นทางสาย กลาง ใชจ้ ่ายหรอื ทำ� กจิ กรรมตา่ งๆ ตามแตส่ ถานภาพของแต่ละบคุ คล ไมท่ ำ� ใหต้ นเองหรอื คนอน่ื เดอื ดรอ้ น ไมท่ ำ� อะไรเกนิ ตวั หรอื เกนิ ฐานะที่ ตนเองมี และหาความสุขจากส่ิงใกลต้ วั มีอยู่ หรอื เปน็ อยู่ 84 ชุดความรกู้ ารดแู ลตนเองและพฒั นาศกั ยภาพผู้สงู อายุ

4. ไม่ปล่อยใหต้ นเองอยู่ว่าง หางานอดเิ รก กิจกรรมที่ช่ืนชอบ หรอื ส่งิ ที่ ตนสนใจอยากท�ำแต่ไม่มีโอกาสท�ำเม่ืออยู่ในช่วงวัยที่ต้องท�ำงาน ซึ่ง อาจนำ� มาซงึ่ รายได้ หรือมวี ธิ กี ารคลายเครียดตา่ งๆ ทั้งนีก้ จิ กรรมน้ันๆ จะตอ้ งเหมาะกบั วยั และสภาพรา่ งกายของผสู้ งู อายดุ ว้ ย เชน่ ปลกู ตน้ ไม้ ทำ� ดอกไมป้ ระดิษฐ์ เล้ียงสัตว์เลยี้ ง เล่นดนตรี เขียนหนังสือ ฯลฯ หรือ ช่วยท�ำงานบา้ นเลก็ ๆ นอ้ ยๆ มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสมาคม หรอื ชมรม ประกอบอาชพี เลก็ ๆ นอ้ ยๆ เชน่ การทำ� ขนมขาย เพอ่ื คลาย เหงา เกิดความเพลิดเพลิน ผอ่ นคลายทง้ั รา่ งกายและจิตใจ มีความสุข ได้รายได้เพิ่มขึน้ แถมยังเกดิ ประโยชน์ต่อครอบครวั และสงั คมอกี ดว้ ย 5. ใช้เวลาทำ� กิจกรรมร่วมกบั ครอบครวั อยา่ งสมำ�่ เสมอ เช่น ท�ำอาหารให้ บุตรหลาน ไปเทยี่ วพกั ผ่อนในวันหยดุ ไปทำ� บญุ ทีว่ ัด ดโู ทรทัศน์ หรือ ออกกำ� ลังกายร่วมกัน รวมถงึ คบหาญาติมิตรเพอื่ นฝงู เพ่อื ท�ำกิจกรรม ร่วมกัน เช่น ไปท่องเท่ยี ว ท�ำบุญ บำ� เพ็ญประโยชนเ์ พือ่ สงั คม หรอื การ สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลท่ีอยู่รอบตัว สามารถช่วยให้ไม่รู้สึก เงียบเหงา 6. สร้างอารมณ์ขัน อารมณ์ขันจะท�ำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกที่ดี จิตใจ เบิกบานและมีความสุข ช่วยท�ำให้อายุยืนยาว มีสัมพันธภาพที่ดีกับ บุตรหลานและคนใกล้ชิด เพราะสามารถท�ำให้คนรอบข้างได้ยิ้ม หัวเราะและมีจิตใจที่แจ่มใสตลอดเวลาที่อยู่ด้วย การสร้างอารมณ์ขัน ให้ตนเองสามารถท�ำได้โดยเริ่มจากการรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง ทำ� ตวั ใหผ้ อ่ นคลาย ชมภาพยนตร์ หรอื รายการตลก อา่ นหนงั สอื ทที่ ำ� ให้ เกิดอารมณข์ นั เขา้ ไปพูดคยุ หรอื อยู่ในกลมุ่ หรือสภาพแวดล้อมทมี่ ีคน อารมณ์ดี ลองพูดตลกด้วยตนเองดว้ ยการใชค้ ำ� พดู ทเี่ ล่นคำ� เลน่ คารม มัน่ คงในชีวิต 85

ล้อเลียน หรือเลา่ เร่ืองตลก เพ่อื ท�ำให้คนอื่นและตนเองไดห้ วั เราะและ มีความสุข ตลอดจนฝึกย้ิมหัวเราะทุกครั้งเมื่อมีโอกาส แต่ทั้งน้ีต้อง เหมาะสมตามสถานการณ์และอยบู่ นความพอดี 7. สรา้ งคณุ คา่ เพมิ่ ใหก้ บั ตนเองดว้ ยการอทุ ศิ ตวั ใหเ้ ปน็ ประโยชนก์ บั สงั คม ดว้ ยการทำ� บญุ บรจิ าคทรพั ยใ์ หเ้ ปน็ ประโยชนก์ บั ผอู้ น่ื ชว่ ยเหลอื บคุ คล อน่ื ดว้ ยการใหค้ ำ� แนะนำ� ใหค้ ำ� อวยพร ใหก้ ำ� ลงั ใจ หรอื แสดงความเออ้ื อาทรต่อบุคคลอน่ื จะนำ� มาซึง่ ความสุขใจทั้งผูใ้ หแ้ ละผูร้ ับ ช่วยให้รสู้ กึ สดชนื่ มีชวี ติ ชวี า รสู้ กึ กระช่มุ กระชวย 8. แสวงหาความสงบสขุ ทางใจ ดว้ ยการฝกึ ทำ� สมาธิ สวดมนตศ์ กึ ษาธรรมะ จากหนังสือ หรือสนทนาธรรมกับผู้รู้ จะช่วยให้จิตใจสงบเข้าใจ ธรรมชาติ หรอื ความเปน็ จรงิ ของชวี ติ ไมฟ่ งุ้ ซา่ น ปลอ่ ยวางปญั หาตา่ งๆ 9. อยูใ่ กล้ชดิ ธรรมชาติ ใหม้ ากที่สดุ เช่น หาโอกาสท�ำงานในสวนดอกไม้ หรอื สวนผกั สดู อากาศบรสิ ทุ ธจิ์ ากปา่ เขาลำ� เนาไพร สมั ผสั สายลมและ แสงแดดบ้าง เพ่อื ผอ่ นคลายจติ ใจ 10. ส�ำหรับผู้ท่ีอยู่คนเดียวควรหาสัตว์เล้ียงไว้รับผิดชอบดูแลเพื่อให้ความ รักและการสือ่ สารกบั สตั วเ์ ลยี้ งเหล่านนั้ ปญั หาสขุ ภาพจติ ทพี่ บบ่อยในผสู้ งู อายุ การเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายจากความเส่ือมของอวัยวะ ต่างๆ การมีโรคประจ�ำตัวเม่ือเข้าสู่วัยสูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม เช่น การเกษียณจากหน้าท่ีการงาน การเปล่ียนสถานะครอบครัว จากหัวหน้าครอบครัวเป็นเพียงสมาชิกคนหน่ึงในครอบครัว อาจมีผลต่อ 86 ชดุ ความรู้การดูแลตนเองและพฒั นาศักยภาพผสู้ งู อายุ

สขุ ภาพจติ ของผสู้ งู อายุ บางรายอาจรสู้ กึ วา่ ตนเองไมม่ คี ณุ คา่ และมโี อกาส เปน็ สงู ข้ึนตามอายุ ปญั หาสขุ ภาพจิตที่พบบ่อยในผสู้ งู อายุ ไดแ้ ก่ ความวติ กกังวล ผู้สงู อายุอาจมีความวติ กกงั วลทตี่ อ้ งพงึ่ พาลกู หลาน มักแสดงออก เดน่ ชดั เป็นความกลัว ขาดความเชอื่ มัน่ ในตนเอง เช่น กลัวไม่มีคนเคารพ ยกย่องนับถือ กลัวว่าตนเองไร้ค่า กลัวถูกทอดท้ิง กลัวเป็นคนงกๆเง่ินๆ กลวั ถูกท�ำรา้ ย กลวั นอนไมห่ ลบั กลัวตาย ความวิตกกงั วลแสดงออกทาง ด้านร่างกาย เช่น เป็นลม แนน่ หน้าอก หายใจไม่ออก อาหารไม่ยอ่ ย ไมม่ ี แรง ออ่ นเพลยี นอนไมห่ ลับ กระสับกระสา่ ย เป็นตน้ ปญั หาความวติ กกงั วลของผสู้ งู อายุ บางเรอ่ื งอาจเปน็ การวติ กกงั วล ไปเอง เชน่ ความเปน็ หว่ งลกู หลาน การลดความกงั วลทเี่ กดิ จากปญั หาของ ตนเอง ควรแก้ท่ีความคดิ ของตนเอง โดยมองโลกในแง่ดี เชือ่ มัน่ ในความ สามารถของลกู หลาน เปดิ โอกาสใหล้ กู หลานแกป้ ญั หาดว้ ยตนเอง สง่ิ สำ� คญั คอื ผสู้ ูงอายตุ ้องรู้วา่ วิตกกงั วลเรอื่ งอะไร แก้อย่างไร ถ้าวิตกกังวลในเรอื่ งท่ี แกไ้ ขไมไ่ ดก้ ใ็ หค้ นอนื่ ชว่ ยแกไ้ ขหรอื ทำ� ใจยอมรบั ทำ� จติ ใจใหส้ งบ เชน่ สวด มนตเ์ ข้าวัด ฟงั เทศน์ หรือร่วมพธิ ีกรรมทางศาสนาของตนเอง ไหวพ้ ระ ฝึก สมาธิ สำ� หรบั ผู้ดูแลผสู้ งู อายุ อาจชว่ ยโดยวธิ ดี ังตอ่ ไปน้ี • พยายามจัดบ้านใหม้ สี งิ่ แวดลอ้ มท่ีดี • พยายามเขา้ ใจและแสดงความรักตอ่ ผ้สู ูงอายุ เช่น การโอบกอด สมั ผสั ให้ความม่นั ใจว่าสงู อายุจะไมถ่ กู ทอดทง้ิ ให้โดดเดย่ี ว มนั่ คงในชวี ิต 87

• ชวนคุยหรือช้ีแจงในเร่ืองความวิตกกังวล พยายามหาสาเหตุ ถ้าพบ สาเหตุแลว้ แกส้ าเหตุนั้น และบอกใหผ้ ูส้ งู อายุเกดิ ความม่นั ใจ • ถ้าไมม่ สี าเหตุท่แี นน่ อนทีท่ ำ� ให้เกดิ ความวิตกกงั วล ควรใหค้ วามม่นั ใจ แกผ่ สู้ งู อายวุ า่ ทกุ สงิ่ ทกุ อยา่ งปกติ เชน่ อธบิ ายใหผ้ สู้ งู อายทุ ราบวา่ ไมม่ ี อะไรย่งุ ยาก ไม่มีอะไรทตี่ ้องรบั ภาระหรือไมม่ ปี ญั หาครอบครัว • หากหาสาเหตไุ ม่พบหรอื มีหลายสาเหตุ หรือแกไ้ ขที่สาเหตุแลว้ อาการ ก็ไม่ดขี ้นึ ให้ปรกึ ษาแพทย์เพอื่ หาสาเหตุและรักษาตอ่ ไป ความเครยี ด ความเครียดเป็นเรื่องปกติท่ีไม่มีใครหลีกพ้นในชีวิตประจ�ำวัน ใน แง่ดี ความเครียดจะชว่ ยกระตุ้นให้แก้ไขปรบั ปรงุ ตัวเอง เพ่อื ใหเ้ ข้ากบั เหตุ การณ์ใหมๆ่ สภาวะใหมๆ่ แตห่ ากเกิดความเครียดบอ่ ยเป็นเวลานาน จะ สง่ ผลเสยี ทงั้ ตอ่ สขุ ภาพรา่ งกายและสขุ ภาพจติ เชน่ มคี วามดนั โลหติ สงู เปน็ แผลในกระเพาะอาหาร วิตกกงั วล ซมึ เศรา้ สาเหตดุ ้านร่างกาย ได้แก่ • จากการเจบ็ ปว่ ย โดยสว่ นใหญเ่ กดิ จากการเจบ็ ปว่ ยดว้ ยโรคเรอื้ รงั การ เป็นโรคท�ำให้มีความทุกข์ทรมานจากอาการของโรคและความทุกข์ ทรมานจากสภาพการเจบ็ ปว่ ยทต่ี นเปน็ อยู่ ผสู้ งู อายมุ กั ไดร้ บั ความทกุ ข์ ทรมาน เกดิ ความทอ้ ถอยและปรบั ตัวไดย้ าก • สภาพความเปน็ อยู่ที่ขัดสน ขาดแคลนปัจจยั สใี่ นการดำ� รงชพี • ถกู ทำ� ร้ายร่างกายจติ ใจ มักจะพบในผู้สงู อายุท่ีมีอย่ใู นภาวะพง่ึ พงิ เชน่ ผู้สงู อายุช่วยเหลือตัวเองไมไ่ ด้ หรอื ชว่ ยเหลือตนเองได้นอ้ ย ผู้สูงอายุท่ี 88 ชดุ ความรกู้ ารดแู ลตนเองและพัฒนาศกั ยภาพผูส้ งู อายุ

มรี ายไดน้ อ้ ย ฐานะยากจน โดยผสู้ ูงอายุเหลา่ นี้อาจถูกทำ� ร้ายรา่ งกาย เชน่ ถูกทุบตี ถูกมัด เปน็ ตน้ สาเหตุด้านจิตใจ ไดแ้ ก่ • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลานลดลง จากการท่ีลูกหลาน ต้องแยกครอบครัว ไปประกอบอาชพี หรอื ศึกษาตอ่ ต่างถ่นิ ท�ำให้ผู้สงู อายุต้องอยู่ตามล�ำพังมากขึ้น และไม่มีบทบาทในครอบครัวเช่นเม่ือ กอ่ น จงึ อาจเกดิ ความรสู้ กึ วา่ ตนเองไรค้ า่ ไรป้ ระโยชน์ มอี าการหงดุ หงดิ น้อยใจ เสยี ใจ • ถกู ทอดทงิ้ ไม่มผี ูด้ ูแล ไมม่ ีลูกหลานไปเยย่ี ม • ความรู้สกึ สญู เสีย ทำ� ใหผ้ ้สู ูงอายเุ กิดความเครียดไดง้ า่ ย เช่น การเสยี ชีวิตของคนใกล้ชดิ การเกษียณจากงาน การสูญเสยี บทบาทหนา้ ที่ใน สังคม การมีสภาพร่างกายทีเ่ สอ่ื มถอย เป็นตน้ • กลัวความตาย กลัวว่าตนเองจะต้องพลัดพรากจากบุคคลท่ีตนเองรัก กลวั ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานทางดา้ นร่างกาย • เปน็ ผวู้ ิตกกงั วลง่าย ขาดทกั ษะในการปรบั ตวั แนวทางการจัดการความเครียดและวิธีการผ่อนคลาย ความเครียด • พยายามท�ำความเข้าใจ และเปิดใจยอมรับกับสภาพของปัญหาท่ีเกิด ตามความจริง ยอมรบั ในสงิ่ ท่ียังแก้ไขไม่ได้ ยอมรบั ในสิง่ เปล่ียนแปลง ทดี่ ขี ้นึ • วางแผนแก้ไขปญั หาและจัดการกับปญั หาทเี่ กิดขนึ้ อยา่ งเปน็ ข้นั ตอน • จดบันทึกเหตุการณ์ท่ีท�ำให้ผู้สูงอายุเครียดตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มน่ั คงในชีวิต 89

แล้วดูว่าเหตุการณ์อะไรอาจจะท�ำให้เกิดความเครียดกับผู้สูงอายุอีก สิ่งเหล่าน้นั พอจะหลบหลกี ได้อย่างไร • หาทีป่ รกึ ษา เพือ่ น หรอื คนท่ีไว้วางใจ เพอื่ รบั ฟังหรือช่วยตัดสนิ ใจใน บางเรื่อง • หางานอดิเรกทีช่ อบทำ� สำ� หรับผทู้ ่ีมีภาระงานประจำ� มาก ควรให้เวลา ตัวเองบ้าง จดั เวลาให้เหมาะสม • ออกกำ� ลงั กายเบาๆ เป็นประจ�ำและสม�่ำเสมอ • การฝกึ เกร็ง และคลายกล้ามเน้ือ • ฝึกโยคะ หรอื ท�ำสมาธิ ซ่งึ จะน�ำไปสู่ความสงบและสบาย • ฝกึ การหายใจ จนิ ตนาการในทางบวกหรอื สรา้ งสรรค์ เพือ่ ใหเ้ กิดการ ผ่อนคลาย • การนอนหลบั • การปล่อยวาง • ลกู หลาน คนใกลช้ ิด ควรแสดงออกถึงความรกั ความผกู พันเอาใจใส่ เชน่ กอด หอม สัมผสั ชวนพดู คยุ รับฟังความรู้สกึ ของผสู้ งู อายุ พาไป เท่ียวพักผ่อนหย่อนใจในสถานที่ผู้สูงอายุชอบ เช่น พาไปท�ำบุญที่วัด ใกลบ้ ้าน หรือสถานทีป่ ฏิบตั ิธรรม สวนสาธารณะท่รี ม่ ร่นื ฯลฯ • หากไมส่ ามารถหาสาเหตขุ องความเครยี ดหรอื อาการเครยี ดยงั ไมล่ ดลง ควรปรกึ ษาจติ แพทยเ์ พ่ือหาสาเหตแุ ละบำ� บดั รักษา • 90 ชุดความรูก้ ารดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผสู้ ูงอายุ

ภาวะซมึ เศร้า ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจชนิดหน่ึงที่มี ผลกระทบจากความผดิ หวงั ความสญู เสยี หรอื การถวลิ หาสงิ่ ทขี่ าดหายไป เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะท�ำให้ผู้สูงอายุรู้สึกไม่มีความสุข จิตใจหม่นหมอง หดหู่ หงอยเหงา หมดความกระตอื รือล้น เบอื่ หนา่ ยสงิ่ ต่างๆ รอบตวั มองโลก ในแงร่ า้ ย แยกตวั เอง ชอบอยเู่ งยี บๆ ตามลำ� พงั ทอ้ แท้ บางครงั้ มคี วามรสู้ กึ ส้ินหวัง มองชีวิตไม่มีคุณค่า มองตนเองไร้ค่า เป็นภาระต่อคนอื่น อาจมี อาการทางกาย เชน่ นอนไมห่ ลบั หรอื นอนมากเกนิ ปกติ ออ่ นเพลยี ไมส่ ดชนื่ ไม่สนใจดูแลตนเอง ไม่มีสมาธิ ชอบพูดเรื่องเศร้า เบื่ออาหาร บางรายมี อารมณเ์ ศรา้ มากๆ อาจมคี วามคดิ ทำ� รา้ ยตนเองได้ บางรายแสดงออกดว้ ย การหงุดหงิดโมโหง่าย ทะเลาะกับบุตรหลานบ่อยคร้ัง เอาแต่ใจตนเอง น้อยใจงา่ ย สาเหตุ ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเกิดข้ึนได้จากหลายสาเหตุร่วมกัน ท้ัง สาเหตุทางดา้ นร่างกาย จติ ใจ และสภาพสังคม 1. สาเหตุทางด้านร่างกายที่พบบ่อย ได้แก่ พันธุกรรมหรือการมีประวัติ เปน็ โรคซมึ เศรา้ ในครอบครวั ความผดิ ปกตขิ องสารสอื่ ประสาทบางตวั ในสมอง การมพี ยาธใิ นสมอง เชน่ มีการเสื่อมของเซลลป์ ระสาท หรอื มีการฝ่อของสมองบางส่วน หรือเป็นโรคทางกายภาพท่ีมีผลกระทบ โดยตรงตอ่ สมอง เชน่ โรคสมองเสือ่ ม โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์ กินสนั โรคตอ่ มธยั รอยด์ ฯลฯ หรอื เปน็ ผลขา้ งเคยี งจากยาทกี่ ินประจำ� มน่ั คงในชีวิต 91

เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ยาขับ ปสั สาวะ หรือยารกั ษาโรคมะเรง็ 2. สาเหตทุ างดา้ นจติ ใจทพ่ี บบอ่ ย ไดแ้ ก่ การไมส่ ามารถปรบั ตวั ตอ่ การสญู เสีย เหตุการณ์ท่ีท�ำให้เกิดความผิดหวัง เสียใจ น้อยใจ หรือมี ความเครียดในเรื่องตา่ งๆ ทำ� ให้เกิดเป็นความทุกขใ์ จ ไมส่ บายใจ โดย สาเหตทุ พ่ี บบอ่ ยได้แก่ การสูญเสียบุคคลอนั เปน็ ทีร่ กั เชน่ คชู่ ีวติ ญาติ พนี่ อ้ ง หรอื เพอื่ นสนทิ การสญู เสยี หนา้ ทก่ี ารงาน บทบาทในครอบครวั การยา้ ยทอี่ ยู่ ความเจบ็ ปว่ ยทางกาย ทที่ ำ� ใหเ้ กดิ ความทกุ ขท์ รมาน หรอื เป็นโรคเร้อื รังทม่ี ีค่าใช้จา่ ยจ�ำนวนมาก ลูกหลานไม่ปรองดองกนั ไม่ได้ รบั การยอมรบั นบั ถอื จากลกู หลาน รวมทงั้ การมบี คุ คลกิ ภาพดง้ั เดมิ เปน็ คนที่ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง มองตนเองในด้านลบบ่อยๆ หรือ ชอบพง่ึ พาผู้อืน่ 3. สาเหตทุ างดา้ นสงั คม สง่ิ แวดลอ้ มทพี่ บบอ่ ย ไดแ้ ก่ การปรบั ตวั ไมไ่ ดต้ อ่ สภาพแวดลอ้ มท่เี ปลยี่ นแปลงไปตามยุคสมยั การประสบความเครียด จากการดำ� เนนิ ชวี ติ ประจำ� วนั การทะเลาะเบาะแวง้ ของคนในครอบครวั เป็นต้น 92 ชดุ ความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผสู้ ูงอายุ

การหลีกเล่ยี งหรือป้องกันการเกิดภาวะซมึ เศร้าในผู้ สงู อายุ ภาวะซึมเศร้าในผูส้ ูงอายเุ ปน็ ส่ิงท่ีสามารถหลกี เลยี่ งได้ด้วยการปฏิบัติ ตนเพ่อื ปอ้ งกันหรือรบั มือกับสาเหตุของภาวะซึมเศร้า ดงั นี้ การดแู ลตนเองทางด้านรา่ งกาย • กินอาหารที่เหมาะสมกับวัยให้ครบ 3 ม้ือ ในปริมาณพอเหมาะและ หลากหลาย • ออกกำ� ลงั กายเปน็ ประจำ� โดยเลอื กประเภทกฬี าทเี่ หมาะสมกบั สขุ ภาพ • ตรวจสุขภาพประจ�ำปี หากมีความผิดปกติเกิดข้ึนในร่างกายจะได้รีบ รักษาแต่เนิ่นๆ ไม่ปล่อยทง้ิ ไว้จนเกิดความรนุ แรง การดูแลตนเองทางด้านจติ ใจ • สร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ด้วยการมีความคิดดี พูดดี และท�ำดี จะชว่ ยท�ำใหม้ คี วามสุข จติ ใจแจม่ ใสไม่ขุ่นมัว อารมณด์ ี • ตระหนกั ในคณุ คา่ ของตนเองทม่ี ตี อ่ ลกู หลาน และบคุ คลอน่ื ชนื่ ชมและ ภาคภูมใิ จในตนเอง อย่ามองตนเองวา่ ไร้ค่า หรือรสู้ ึกทอ้ แท้ • ด�ำเนินชวี ิตอย่างเรยี บงา่ ย • ไม่ปล่อยให้ตัวเองอยู่ว่าง หางานอดิเรกหรือสิ่งท่ีตนสนใจ อยากท�ำ แตไ่ มม่ โี อกาสทำ� เมื่ออยู่ในชว่ งวัยทตี่ อ้ งท�ำงาน • ใชเ้ วลาท�ำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวอยา่ งสม่ำ� เสมอ เช่น ทำ� อาหารให้ บุตรหลาน ไปเท่ยี วพกั ผอ่ นในวันหยุด ไปท�ำบุญทว่ี ัด ดโู ทรทศั น์ หรอื ออกก�ำลังกายรว่ มกนั เปน็ ตน้ มนั่ คงในชีวิต 93

• สรา้ งคณุ คา่ เพมิ่ ใหก้ บั ตนเองดว้ ยการอทุ ศิ ตวั ใหเ้ ปน็ ประโยชนก์ บั สงั คม • แสวงหาความสงบสุขทางใจ ด้วยการฝึกท�ำสมาธิ สวดมนต์ ศึกษา ธรรมะจากหนังสือ หรือสนทนาธรรมกับผู้รู้ จะช่วยให้จิตใจให้สงบ เขา้ ใจธรรมชาตหิ รอื ความเปน็ จรงิ ของชวี ติ ไมฟ่ งุ้ ซา่ น ปลอ่ ยวางปญั หา ต่างๆ • อยใู่ กลข้ ดิ ธรรมชาตใิ หม้ ากทส่ี ดุ เชน่ สดู อากาศบรสิ ทุ ธจิ์ ากปา่ เขาลำ� เนา ไพร สัมผสั สายลมและแสงแดดบ้าง เพ่ือผ่อนคลายจิตใจ • ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวควรหาสัตว์เล้ียงไว้รับผิดชอบดูแลเพ่ือให้ความ รักและสอื่ สารกับสัตว์เลยี้ งเหล่าน้นั การดแู ลตนเองทางดา้ นสงั คม การเขา้ สงั คมเพอื่ ทำ� กจิ กรรมตา่ งๆ ทเี่ ปน็ ประโยชน์ กบั ตนเองและ ผอู้ นื่ เช่น การสมคั รเขา้ เป็นสมาชิกชมรมผูส้ งู อายุ จะช่วยให้มีเพ่อื นใหม่ๆ ได้ทดลองท�ำกิจกรรมใหม่ๆ ช่วยให้จิตใจกระชุ่มกระชวย คลายความ อา้ งว้าง คำ� แนะน�ำในการปฏิบัตติ ัวเบอื้ งต้นเม่อื เกิดภาวะซึมเศร้า 1. หลกี เลี่ยงการอยคู่ นเดยี วเมอื่ มอี ารมณเ์ ศรา้ เกดิ ขน้ึ ควรพดู คยุ กบั ผอู้ นื่ เพื่อผอ่ นคลายความเครียดและเกิดความเพลดิ เพลิน ไมเ่ งียบเหงา 2. ทำ� กจิ กรรมหรอื งานอดเิ รกทช่ี อบ เชน่ อา่ นหนงั สอื ฟงั เพลง ปลกู ตน้ ไม้ เยบ็ ปักถกั ร้อย เปน็ ต้น 3. ท�ำกิจกรรมรว่ มกบั ผู้อ่นื เช่น เขา้ ชมรมผ้สู งู อายุ ไปวัด หรือออกกำ� ลัง กายเปน็ ประจำ� เป็นตน้ 4. รบี ไปพบแพทย์ เพอ่ื ทำ� การตรวจรกั ษาโดยไมต่ อ้ งอาย เนอื่ งจากโรคนถ้ี อื เปน็ ความเจบ็ ปว่ ยอยา่ งหนงึ่ ทส่ี ามารถรกั ษาใหด้ ขี นึ้ และหายขาดได้ 94 ชดุ ความรกู้ ารดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผูส้ งู อายุ

มนั่ คงในชีวติ 95

สขุ ภาวะทางเพศ เพศสมั พนั ธเ์ ปน็ เรอื่ งปกตขิ องมนษุ ย์ ความพงึ พอใจในกจิ กรรมทาง เพศนน้ั สามารถเกดิ ขนึ้ ไดต้ ลอดชว่ งชวี ติ แตอ่ าจะแตกตา่ งไปตามวยั ความ หมายของเพศสมั พนั ธ์ ไมไ่ ดจ้ ำ� กดั อยทู่ ก่ี ารมเี พศสมั พนั ธเ์ ทา่ นนั้ แตร่ วมไป ถึงการมีความสัมพันธ์และมิตรภาพ อารมณ์ทางด้านบวก เช่น การดูแล ความออ่ นโยน ความใกล้ชดิ การดแู ลผู้สูงอายุในเรื่องเพศสัมพันธ์ • เรื่องเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องปกติของทุกอายุ ดังน้ันไม่ควรมีความรู้สึก ผิดทม่ี คี วามรสู้ กึ ทางเพศ หรอื มีเพศสัมพนั ธใ์ นวยั ผู้สงู อายุ • พดู คุยกบั คูช่ ีวติ ถงึ ลกั ษณะเพศสัมพนั ธท์ ีต่ นเองต้องการและชอบ ใน รายทมี่ ปี ญั หาการมเี พศสมั พนั ธ์ ควรพดู คยุ ปรกึ ษาหาทางแกไ้ ขรว่ มกบั สามภี รรยาหรอื อาจปรกึ ษาแพทย์ • กินอาหารส�ำหรับวยั ทอง หรอื วัยหมดประจำ� เดอื นทชี่ ว่ ยเพมิ่ ฮอร์โมน ไดแ้ ก่ สมนุ ไพร พืชทม่ี ฮี อรโ์ มนเอสโตรเจนสูง เชน่ พืชมฝี กั กะหล�ำ่ ปลี มะเขอื เทศ เปน็ ตน้ รวมทงั้ วติ ามนิ และเกลอื แรท่ ช่ี ว่ ยเพมิ่ ฮอรโ์ มนเพศ ได้แก่ สงั กะสี โครเมย่ี ม วติ ามินซี ดี อี และบีรวม • พยายามทะนถุ นอมสัมพนั ธภาพท่ดี กี บั ค่ชู วี ติ • ในผสู้ งู อายุ อาจจะตอ้ งใชเ้ วลาในการเลา้ โลมมากขน้ึ ตามสภาพรา่ งกาย และจติ ใจ • ความถ่ีในการมีเพศสัมพันธ์ ควรให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและ จติ ใจของสูงอายุ 96 ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศกั ยภาพผสู้ ูงอายุ

• ระมัดระวังการใช้ยาบางอย่างที่มีผลต่อเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะยาลด ความดนั โลหติ กลมุ่ ยาขบั ปสั สาวะ ยากลอ่ มประสาทและยานอนหลบั การป้องกนั โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ • ค�ำนึงถึงการมีเพศสัมพันธ์ท่ีปลอดภัย ไม่เปลี่ยนคู่นอน มีสามีหรือ ภรรยาคนเดยี ว • ตรวจประจ�ำปเี พอื่ หาเช้ือโรคแมว้ ่าจะไมม่ ีอาการ • เรยี นรู้อาการของโรคตดิ ต่อทางเพศสัมพันธ์ • อยา่ สวนล้างชอ่ งคลอด เพราะจะทำ� ให้เกดิ การติดเชอื้ ไดง้ า่ ย • หากเปน็ โรคตดิ ตอ่ ทางเพศสมั พนั ธใ์ หร้ บี รกั ษาอยา่ งรวดเรว็ เพอื่ ปอ้ งกนั การแพร่เช้ือและงดการรว่ มเพศ มน่ั คงในชวี ิต 97

ขอ้ มูลแหล่งประโยชนด์ ้านสุขภาพจติ แหล่งบริการให้คำ� ปรกึ ษาดา้ นสุขภาพจติ ทางโทรศัพท์ สายดว่ นกรมสุขภาพจติ (ฮอทไลน์คลายเครยี ด) ให้บรกิ ารปรกึ ษา ปญั หาสขุ ภาพจติ รบั ฟงั ปญั หาทที่ ำ� ใหเ้ กดิ ความคบั ขอ้ งใจ และใหค้ ำ� แนะนำ� ในการแก้ปัญหา โทรศพั ท์สายดว่ น 1667 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และ สามารถสอบถามหน่วยงานท่ใี หบ้ รกิ ารดา้ นสุขภาพจิต ในสงั กัดกระทรวง สาธารณสุขทวั่ ประเทศ • สายด่วนสุขภาพจิต ให้บริการปรึกษาสุขภาพจิต โทรศัพท์สายด่วน 1323 • สายด่วนกูใ้ จ (โรงพยาบาลวชิระ) หมายเลขโทรศัพท์ 0-2244-3187 • สายดว่ นกู้ใจ (โรงพยาบาลเจรญิ กรงุ ประชารักษ)์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2289-7000 • มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์ รับปรึกษาและให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับปัญหา ครอบครัว ปัญหาชีวิต หมายเลขโทรศัพท์ 0-2276-2950, 0-2276-7699 หรอื 0-2277-8811 • ปรกึ ษาปัญหาสุขภาพจิต (โรงพยาบาลศรีธัญญา) หมายเลขโทรศพั ท์ 0-2526-3342 ใหบ้ ริการตลอด 24 ชั่วโมง • ศูนย์แฮปปไ้ี ลน์ หมายเลขโทรศพั ท์ 0-2247-6274 ถงึ 7 (วนั จันทร-์ ศกุ ร์ เวลา 9.00-16.00) • ศนู ยโ์ ฮปไลน์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2377-0073 (วนั จนั ทร-์ ศกุ ร์ เวลา 9.00-16.00 น.) 98 ชุดความร้กู ารดูแลตนเองและพฒั นาศักยภาพผสู้ ูงอายุ

• ศูนยบ์ รรเทาใจ หมายเลขโทรศพั ท์ 0-2645-5577 หรือ 0-2675-5533 • สมาคมสขุ ภาพจติ แหง่ ประเทศไทย หมายเลขโทรศพั ท์ 0-2247-9292 หรือ 0-2245-2733 • คลินิกซมึ เศรา้ (โรงพยาบาลศรธี ัญญา) หมายเลขโทรศพั ท์ 0-2525-0981 ถงึ 5 ต่อ 1652 หรือ 1623 • ส�ำนักงานพฒั นาระบบข้อมลู ขา่ วสารสขุ ภาพ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2589-2490-2 • โรงพยาบาลสมเด็จเจา้ พระยา หมายเลขโทรศพั ท์ 0-2442-2500 • โรงพยาบาลราชานกุ ลู หมายเลขโทรศัพท์ 0-2245-4696 และสาย ดว่ น 0-2248-8900 • สถาบันกัลยาราชนครินทร์ หมายเลขโทรศพั ท์ 0-2441-6100 • โรงพยาบาลยวุ ประสารทไวทโยปถมั ภ์ จงั หวดั สมุทรปราการ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2384-3381 ในวนั และเวลาราชการ • โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ หมายเลขโทรศัพท์ (Hot line) 077- 312991 (ตลอด 24 ชว่ั โมง เวน้ วันหยดุ ราชการ) • โรงพยาบาลสวนปรงุ หมายเลขโทรศพั ท์ 053-908500 (ตลอด 24 ชว่ั โมง เวน้ วันหยดุ ราชการ) • โรงพยาบาลพระศรมี หาโพธิ์ จงั หวดั อุบลราชธานี หมายเลข โทรศัพท์ 045-352500 (ตลอด 24 ช่วั โมง เว้นวันหยดุ ราชการ สายดว่ นสุขภาพจิต 1323, 1667 • โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา หมายเลข โทรศัพท์ 044-233999 (ตลอด 24 ชั่วโมง เวน้ วนั หยุดราชการ) มั่นคงในชวี ติ 99

• โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น หมายเลขโทรศัพท์ 043-209999 ตอ่ 63127, 63128 ทุกวนั ตลอด 24 ชวั่ โมง • โรงพยาบาลจิตเวชนครพนม จังหวัดนครพนม หมายเลขโทรศัพท์ 042-53900 ตลอด 24 ชว่ั โมง • โรงพยาบาลจติ เวชนครสวรรค์ จงั หวดั นครสวรรค์ หมายเลขโทรศพั ท์ 056-219-444 ทุกวันตลอด 24 ชว่ั โมง • ศูนยป์ รกึ ษาปัญหาชีวิต (สมาคมสะมารติ ันส์แห่งประเทศไทย) ให้ค�ำ แนะน�ำปรึกษาเพื่อคลายทุกข์ แก้ปัญหา และหาทางออกให้กับชีวิต หมายเลขโทรศัพท์ 0-2713-6793 • เสถียรธรรมสถาน ให้ค�ำแนะน�ำเรื่องทางคลายทุกข์ ให้ค�ำปรึกษา ปัญหาธรรมะ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2519-1119, 0-2510-6697 หรือ 091-831-2294 100 ชดุ ความรกู้ ารดูแลตนเองและพัฒนาศกั ยภาพผู้สงู อายุ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook