Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore King53

King53

Description: King53

Search

Read the Text Version

๗๐พทลพ่ี ังค่อวาใมหด้ ี

บทน�ำ โลกกลา่ วขานวา่ คนไทยโชคดที มี่ พี ระมหากษตั รยิ ท์ ยี่ งิ่ ใหญ่ อย่างพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช เพราะ พระองค์ทรงเป็นปราชญ์และนักพัฒนาที่นำ�พาแผ่นดินไทย สคู่ วามรุ่งเรือง ๗๐ คำ�สอนของพระองค์ในเล่มน้ี อัญเชิญจากพระบรม- ราโชวาทและพระราชดำ�รัส ท่ีได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ ตลอด ๗๐ ปีท่ีทรงครองราชย์ โดยแบ่งออกเปน็ ๗ หมวด ไดแ้ ก่ ความรตู้ นความเสยี สละความซอ่ื สตั ย์ความออ่ นโยนความเพยี ร ความรับผิดชอบ และความพอเพียง เพ่ือให้เราทุกคนน้อมนำ� เป็นแนวทางปฏิบตั ิในการด�ำ เนนิ ชวี ติ บรษิ ทั ปตท. จ�ำ กดั (มหาชน) ขอสานตอ่ ค�ำ สอนของพระองค์ เพราะเชื่อว่าพลังความดีเรม่ิ ตน้ ท่ี “ตวั เรา” นอ้ มส�ำ นกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ เปน็ ลน้ พน้ อนั หาทสี่ ดุ มไิ ด้ ข้าพระพทุ ธเจ้า บริษทั ปตท. จำ�กดั (มหาชน)

๑ ความรูต้ น หมายถงึ การรับรู้ ความรู้ตน ในความเปน็ จรงิ ของตนเอง ทั้งความคดิ และพฤตกิ รรม อนั จะนำ�ไปสกู่ ารควบคมุ ตนเอง ให้ปฏิบตั ใิ นทางทีด่ ที ่ีชอบ

“...อยา่ งงา่ ย ๆ กอ่ น คอื พจิ ารณาดวู า่ ตวั เองก�ำ ลงั คดิ อะไร ก�ำ ลงั ท�ำ อะไร ใหร้ ตู้ ลอดเวลา แลว้ ร้วู ่าทำ�อะไร อยา่ งนเี้ ปน็ วธิ อี ยา่ งหนงึ่ ทจ่ี ะท�ำ ใหไ้ มม่ ภี ยั ถา้ เราคอย ระมดั ระวงั ตลอดเวลาใหร้ วู้ า่ ตวั ท�ำ อะไร ใหร้ วู้ า่ การท�ำ นี้ เราทำ�อะไรตลอดเวลา ก็จะไม่ผิดพลาด เพราะว่า โดยมากความผิดพลาดมาจากความไม่รู้ในปัจจุบัน บางทีเรากเ็ ผลอ...” พระราชดำ�รัส ในโอกาสท่คี ณะครูใบฎกี าเล็ก (ถานุตฺตโร) และคณะ เฝ้าถวายเงนิ และตน้ เทียนพรรษา ณ พระต�ำ หนักจติ รลดารโหฐาน วนั จนั ทร์ ที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๕

“...ผู้ที่ทราบตระหนักว่าตนศึกษาเพ่ืออะไร แล้วนำ� ความรู้ ความคิด และความชำ�นาญ ไปปฏิบัติให้ ถกู จุดประสงค์ท่แี ท้จริงโดยเต็มกำ�ลังความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อการสร้างสรรค์ เท่าน้ัน จงึ จะหวงั ไดว้ า่ จะสามารถสรา้ งความเจรญิ ผาสกุ และ ความวัฒนาถาวรในชาติให้เกิดมีข้ึนได้โดยสมบูรณ์ ทุกคนจึงควรจะได้ศึกษา และปฏิบัติการทุกสิ่ง ทกุ อยา่ ง ดว้ ยสตปิ ญั ญา และดว้ ยความรตู้ วั ระวงั ตวั โดยสม่ำ�เสมอทุกเวลา...” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปรญิ ญาบตั ร ประกาศนียบตั ร และอนปุ รญิ ญาบตั รแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ณ มหาวิทยาลัยมหดิ ล วันพธุ ท่ี ๒๔ กันยายน ๒๕๑๘

“...ขอให้พยายามใช้ความคิดวิทยาการพร้อมทั้ง ความฉลาด ความรอบคอบ ความมีสตริ ู้ตวั ในการ ปฏบิ ตั งิ านทกุ อยา่ ง ในทอ้ งถนิ่ ทกุ แหง่ การใชป้ ญั ญา ความรอบคอบ และความหนักแนน่ ของทา่ น จะชว่ ย ใหภ้ ารกจิ ทกุ ประการลลุ ว่ งไปดว้ ยดี ประสบผลส�ำเรจ็ ทีม่ ุ่งหมายไว้ทกุ ๆ อยา่ ง...” พระบรมราโชวาท ในพธิ ีพระราชทานกระบ่แี ละประกาศนยี บัตร  แกน่ ักเรยี นนายร้อยช้ันปที ี่ ๓ ปี ๒๕๑๕ และนักเรยี นนายร้อย หลกั สตู รพิเศษ รนุ่ ที่ ๕ นักเรียนนายรอ้ ยแพทย์ ซงึ่ สำ�เรจ็ การศกึ ษาจากโรงเรยี นนายรอ้ ยพระจลุ จอมเกลา้ ณ หอประชุมกติ ติขจร โรงเรียนนายรอ้ ยพระจุลจอมเกล้า วันพฤหัสบดี ท่ี ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๑๖

“...ทุกคนจ�ำเป็นต้องหม่ันใช้ปัญญาพิจารณา การกระท�ำของตนให้รอบคอบอยู่เสมอ ระมัดระวัง ท�ำการทุกอย่างด้วยเหตุผล ด้วยความมีสติ และ ดว้ ยความรตู้ วั เพอื่ เอาชนะความชว่ั รา้ ยทงั้ มวลใหไ้ ด้ โดยตลอด และสามารถกา้ วไปถงึ ความส�ำเรจ็ ทแี่ ทจ้ รงิ ท้งั ในการงานและการครองชีวติ ...” พระบรมราโชวาท ในพิธพี ระราชทานปรญิ ญาบตั รและอนปุ รญิ ญาบตั ร แก่ผูส้ �ำ เรจ็ การศึกษาจากจฬุ าลงกรณมหาวทิ ยาลยั ประจ�ำ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๑๕ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณมหาวิทยาลยั วนั ศกุ ร์ ที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๖

“...ความคิดนั้นสำ�คญั มาก ถอื ไดว้ า่ เปน็ แม่บทใหญ่ ของค�ำ พดู และการกระท�ำ ทงั้ ปวง กลา่ วคอื ถา้ คนเรา คิดดี คิดถูกต้อง ทั้งตามหลักวิชาและคุณธรรม คำ�พูดและการกระทำ�ก็เป็นไปในทางที่ดีที่เจริญ แตถ่ า้ คดิ ไมด่ ี ไมถ่ กู ตอ้ ง ค�ำ พดู และการกระท�ำ กอ็ าจ ก่อให้เกิดความเส่ือมเสียหาย ท้ังแก่ตัวเองและ สว่ นรวมได.้ ..” พระบรมราโชวาท ในพิธพี ระราชทานปริญญาบตั ร ของจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั ณ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั วันพุธ ที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพมิ พ์ในหนังสอื “วันเด็ก” ประจำ�ปี ๒๕๒๑ เด็ก ๆ ทำ�อะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอ จะทำ�ให้เป็นคนมีระเบียบ และคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำ�การงานต่าง ๆ ได้โดย ถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำ�เร็จ และความเจริญให้แก่ตนเองแก่ส่วนรวมในอนาคต ไดอ้ ย่างแน่นอน พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน วนั ท่ี ๑๒ ธันวาคม พุทธศกั ราช ๒๕๒๐

“...งานใด ๆ ก็ตาม ถา้ ไมท่ ำ�ด้วยใจและดว้ ยอาการที่ สงบสำ�รวม ความรบี รอ้ น ฟงุ้ ซ่าน หลงผิด และอคติ ทกุ ๆ อยา่ ง กจ็ ะเขา้ ปดิ บงั หนทางทจ่ี ะน�ำ ปญั ญามาใช้ ให้เกิดประสิทธิภาพจนหมดส้นิ และเม่อื นำ�ปัญญา มาใช้ไม่ได้ ก็ยากท่ีจะทำ�งานให้ถูกต้องได้ ความ ผิดพลาดและความเสียหายนานาประการก็อยู่ใน วสิ ยั ท่ีจะเกิดขึ้นไดท้ ุกเมื่อ...” พระบรมราโชวาท ในพิธพี ระราชทานปริญญาบตั ร แกผ่ ้สู ำ�เรจ็ การศึกษาจากมหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ ณ สวนอัมพร วนั อังคาร ที่ ๒๗ มถิ ุนายน ๒๕๒๑

“...ความรู้สึกระลึกได้ว่าอะไรเป็นอะไร หรือเรียก ส้ัน ๆ ว่า ‘สติ’ นั้น เป็นส่ิงส�ำคัญท่ีสุดอย่างหน่ึง ทจ่ี ะท�ำใหบ้ คุ คลหยดุ คดิ พจิ ารณากอ่ นทจ่ี ะท�ำ จะพดู และแมแ้ ตจ่ ะคดิ สงิ่ ใดสงิ่ หนงึ่ วา่ สงิ่ นนั้ ดหี รอื ชว่ั มคี ณุ มปี ระโยชน์หรอื เสียหาย ควรกระท�ำหรือควรงดเวน้ อย่างไร เม่ือย้ังคิดได้ ก็จะช่วยให้พิจารณาทุกสิ่ง ทกุ อยา่ งอยา่ งละเอยี ดประณตี และสามารถกลนั่ กรอง เอาส่ิงท่ีไม่เป็นสาระ ไม่เป็นประโยชน์ออกได้หมด คงเหลือแตเ่ นื้อแทท้ ถี่ ูกต้องและเปน็ ธรรม...” พระบรมราโชวาท พระราชทานแกส่ ามัคคสี มาคม ในพระบรมราชปู ถัมภ์ เพ่อื เชญิ ไปอ่านในการประชมุ สามญั ประจ�ำ ปี ระหว่างวนั ท่ี ๑๖ - ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๒๐

“...นกั เรยี นทย่ี งั คงกอ่ เรอ่ื งววิ าท จนเกดิ ความเสยี หาย แก่ตนแก่โรงเรียนอยู่ ขอให้สำ�นึกว่า การกระทำ� เชน่ นน้ั อาจกลายเปน็ การท�ำ ลายอนาคตของตนไปได้ อย่างคาดไม่ถึง ฉะน้ัน ขอให้พยายามฝึกฝนอบรม ตนเองให้มีคา่ เปน็ คนเตม็ คน ให้เป็นคนดีมปี ระโยชน์ ให้จงได.้ ..” พระราชด�ำ รสั ในพิธีเปดิ งานกรฑี า ศลิ ปหัตถกรรมนกั เรยี น ประจ�ำ ปี ๒๕๑๒ ณ กรฑี าสถานแหง่ ชาติ วันจนั ทร์ ท่ี ๑ ธนั วาคม ๒๕๑๒

“...การท่ีบุคคลจะท�ำการส่ิงใดให้ส�ำเร็จผลได้ มากนอ้ ยเพยี งใดนน้ั ยอ่ มขนึ้ อยกู่ บั ศกั ยภาพทม่ี อี ยู่ ในตวั เองเปน็ ส�ำคญั ขอ้ นอ้ี ธบิ ายไดว้ า่ คนเราแตล่ ะคน ยอ่ มมคี วามรู้ ความสามารถ และความถนดั แตกตา่ ง กันไป สูงต�่ำไม่เท่ากัน ดังน้ัน เม่ือจะท�ำการส่ิงใด จงึ ควรต้องรู้จักประมาณตน...” พระบรมราโชวาท ในพิธพี ระราชทานปรญิ ญาบตั รของจฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ณ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั วนั พฤหัสบดี ท่ี ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๑

พระบรมราโชวาท พระราชทานแกข่ ้าราชการพลเรอื น เนือ่ งในวันขา้ ราชการพลเรอื น วนั อาทิตย์ ที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔ การปฏบิ ตั ริ าชการนน้ั นอกจากมงุ่ กระท�ำเพอ่ื ใหง้ าน ส�ำเรจ็ ไปโดยเร็ว และมปี ระสิทธภิ าพแล้ว ยงั จะตอ้ ง กระท�ำด้วยสติรู้ตัวและปัญญารู้คิด ว่าส่ิงใดเป็น ความเจริญ ส่ิงใดเป็นความเสื่อม อะไรเป็นส่ิงท่ี ต้องท�ำ อะไรเป็นสิ่งที่ต้องละเว้นหรือก�ำจัด ผลที่ เกิดข้ึนจึงจะเป็นประโยชน์ท่ีแท้และย่ังยืน ทั้งแก่ ตนเองและส่วนรวม วังไกลกงั วล วันที่ ๓๐ มนี าคม พทุ ธศักราช ๒๕๔๔

๒ ความเสียสละ หมายถงึ ความเสยี สละ การกระท�ำ เกอ้ื กลู ตามกำ�ลงั ความเหมาะสมสว่ นตน ท่มี ่งุ ผลเพอ่ื สว่ นรวม โดยปฏบิ ัติด้วยความเต็มใจ

“...พระพทุ ธเจา้ กต็ รสั ไวว้ า่ บคุ คลใดประกอบความดี คุณความดีนั้นย่อมต้องสนองตอบ ข้าพเจ้าจึงขอ ชักชวนแต่ละท่าน ให้พยายามบำ�เพ็ญความดีด้วย น�ำ้ ใจอนั บรสิ ทุ ธิ์ แมบ้ างโอกาสอาจจะตอ้ งเสยี สละบา้ ง กจ็ งมานะอยา่ ทอ้ ถอยจงสมคั รสมานสามคั ครี ว่ มใจกนั ให้ม่ันคงด้วยดี ทั้งนี้เพ่ือความสุขสวัสดีของท่าน และเพื่อความวัฒนาถาวรของประเทศชาติอันเป็น ที่รกั ของเราท้งั หลาย...” พระราชดำ�รสั ในโอกาสขนึ้ ปี พุทธศกั ราช ๒๔๙๗ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๙๖

“...ทางท่ีจะช่วยให้ประเทศเราผ่านพ้นภัยพิบัติ มีความวัฒนาถาวรไปได้ก็โดยท่ีเราชาวไทยทุกคน มีน้�ำใจรักชาติอย่างแท้จริง ไม่ถือเอาประโยชน์ ของตนและพรรคพวกแต่ฝ่ายเดียว มุ่งบ�ำเพ็ญ กรณียกิจหน้าท่ีด้วยความสุจริต ขยันหม่ันเพียร เพื่อคุณประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ และ พรอ้ มทจ่ี ะเสยี สละประโยชนส์ ว่ นตวั เพอ่ื สว่ นรวม...” กระแสพระราชปราศรัยแดป่ ระชาชนในวนั ปใี หม่ พ.ศ. ๒๔๙๕

“…การปิดทองหลังพระน้ัน เมื่อถึงคราวจำ�เป็น ก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบ ปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้าไม่มีใคร ปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระท่ีงามบริบูรณ์ ไม่ได้...” พระบรมราโชวาท ในพิธพี ระราชทานปริญญาบตั ร แก่นิสิตจุฬาลงกรณมหาวทิ ยาลัย  วนั ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖

“...ผทู้ ี่ทำ�งานให้เกิดประโยชนแ์ ก่ส่วนรวมย่อมได้รับ ประโยชนเ์ ปน็ สว่ นของตนดว้ ย ผทู้ ท่ี �ำ งานโดยเหน็ แกต่ วั เบียดเบียนประโยชน์ส่วนรวม ย่อมบ่ันทอนทำ�ลาย ความม่ันคงของประเทศชาติ และท่ีสุดตนเองก็จะ เอาตวั ไมร่ อด...” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปรญิ ญาบัตร ประกาศนียบัตร และอนุปรญิ ญาบตั รแก่ผู้ส�ำ เรจ็ การศึกษา สาขาวชิ าและวชิ าต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วนั พฤหสั บดี ท่ี ๑๖ มกราคม ๒๕๑๒

“...การเข้าใจถึงสถานการณ์และสภาพการของผู้ท่ี เราจะชว่ ยเหลอื นน้ั เปน็ สงิ่ ส�ำ คญั ทส่ี ดุ การชว่ ยเหลอื ให้เขาได้รับส่ิงที่เขาควรจะได้รับตามความจำ�เป็น อยา่ งเหมาะสม จะเปน็ การชว่ ยเหลอื ทไี่ ดผ้ ลดที สี่ ดุ ...” พระราชด�ำ รสั ในพธิ ีเปดิ การประชมุ การสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ครง้ั ที่ ๕ ณ หอ้ งประชุมศาลาสนั ตธิ รรม วนั อาทติ ย์ ท่ี ๖ เมษายน ๒๕๑๒

“...การท่ีขอให้ทำ�เพื่อส่วนรวมนี้ ก็ไม่ใช่ว่าแต่ละคน จะต้องสละทุกอย่างให้เหลือแต่ตัวล่อนจ้อนเพื่อส่ิง ทเี่ รยี กวา่ สว่ นรวม มใิ ชอ่ ยา่ งนนั้ แตห่ มายวา่ สละสงิ่ ใด ท่ีสละได้เพ่ือที่จะให้ส่วนรวมอยู่ได้ โดยจุดประสงค์ ทจี่ ะสว่ นบคุ คลอยไู่ ดเ้ หมอื นกนั เพราะวา่ ถา้ สว่ นรวม อยไู่ ม่ได้ ส่วนบุคคลกอ็ ยู่ล�ำ บาก นอกจากจะเป็นผทู้ ่ี เอาตวั รอดโดยแท้ และลงทา้ ยผทู้ เ่ี อาตวั รอดเหลา่ นน้ั ก็จะนับว่าเอาตัวไม่รอด เพราะว่าไม่มีเกียรติ ไมม่ คี วามภมู ใิ จในตวั ฉะนน้ั กข็ อรอ้ งใหส้ มาชกิ ทง้ั หลาย พยายามท่ีจะพินิจพิเคราะห์ในการกระทำ�ในการ เสนอขา่ วเสนอบทความ ใหเ้ ปน็ ไปในทางทสี่ รา้ งสรรค์ เปน็ ไปในทางทจ่ี ะท�ำ ใหส้ ว่ นรวมเปน็ ปกึ แผน่ ใหส้ ว่ นรวม มคี วามเจริญก้าวหนา้ มีส่ิงทด่ี งี าม...” พระบรมราโชวาท พระราชทานแกค่ ณะกรรมการ สมาคมหนังสอื พมิ พ์แหง่ ประเทศไทย ณ พระตำ�หนกั จติ รลดารโหฐาน วันอังคาร ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๑๕

“...คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและ จะตอ้ งให้ หมายความวา่ ตอ่ ไป และเดย๋ี วนด้ี ว้ ย เมอ่ื รบั ส่ิงของได้มาก ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ใหไ้ ดโ้ ดยพยายามทจี่ ะสรา้ งความสามคั คใี นหมคู่ ณะ และในชาติ ท�ำให้หมคู่ ณะและชาติประชาชนท้ังหลาย มีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ดว้ ยจติ ใจทเ่ี ผ่อื แผโ่ ดยแท.้ ..” พระบรมราโชวาท พระราชทานแกน่ ักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแกน่ ณ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น วนั พฤหัสบดี ท่ี ๒๐ เมษายน ๒๕๒๑

“...การท�ำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมน้ันได้ประโยชน์ มากกว่าท�ำเฉพาะประโยชน์ส่วนตัว และบอกได้ว่า คนไหนท�ำเพือ่ ประโยชน์ส่วนตัวแท้ ๆ ลว้ น ๆ เชื่อว่า ประโยชน์นนั้ จะไมไ่ ด้ เท่ากบั รวบรวมของหนักมาวาง บนหัว แบกเอาไว้ตลอดเวลา ซ่ึงก็ไม่สบาย ก็หนัก ก็เหนื่อย แต่ถ้าผู้ใดท�ำเพื่อส่วนรวม ย่ิงมาก ย่ิงดี ย่ิงเบา ยง่ิ คล่องแคล่ววอ่ งไว และยิง่ มคี วามสุข...” พระราชดำ�รัส พระราชทานแก่นกั ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครนิ ทร์ ณ มหาวทิ ยาลัยสงขลานครนิ ทร์ วิทยาเขตปตั ตานี วนั พฤหสั บดี ที่ ๑๑ กนั ยายน ๒๕๒๓

“...การทป่ี ระเทศของเราได้รักษาอธิปไตย และดำ�รง ฐานะมาด้วยดีได้ตลอดมานั้น ก็ด้วยอาศัยความ ร่วมมือของทุก ๆ ฝ่าย ต่างช่วยกันปฏิบัติงานเพื่อ ประโยชน์ของประเทศชาติ ด้วยความสามัคคี และ ความพรอ้ มที่จะเสยี สละ เพื่อประโยชนข์ องสว่ นรวม มาแล้วแต่หนหลัง...” พระบรมราโชวาท พระราชทานแกท่ หารรักษาพระองค์ ในพิธีตรวจพลสวนสนามเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วนั ท่ี ๓ ธันวาคม ๒๕๐๔

“...การให้น้ี ไม่ว่าจะให้ส่ิงใด แก่ผู้ใด โดยสถานใด กต็ าม ล้วนเป็นสิ่งทีพ่ ึงประสงคอ์ ยา่ งยงิ่ เพราะเป็น เครื่องประสานไมตรีอย่างสำ�คัญระหว่างบุคคลกับ บุคคล และทำ�ให้สังคมมีความม่ันคงเป็นปึกแผ่น ดว้ ยสามคั คธี รรม นอกจากนน้ั การใหย้ งั เปน็ บอ่ เกดิ แห่งความสุขอีกด้วย กล่าวคือ ผู้ให้ก็มีความสุข มีความอมิ่ เอบิ ใจ ผูร้ บั ก็มีความสขุ มกี ำ�ลังใจ สงั คม ส่วนรวมตลอดถึงประเทศชาติ ก็มีความผาสุก มคี วามร่มเย็น…” พระราชดำ�รสั พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ในโอกาสขน้ึ ปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๔๖ วนั องั คาร ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๕

พระบรมราโชวาท พระราชทานเพอ่ื เชิญลงพิมพ์ในหนังสอื ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจา้ หน้าทผ่ี เู้ สียชีวิตในการปราบปราม ผู้กอ่ การรา้ ยคอมมวิ นสิ ต์ เจา้ หนา้ ที่ทกุ ฝ่ายผู้เสียชวี ติ ลงน้นั เปน็ ผ้กู ล้าสละชพี เพ่ือรักษาอิสรภาพและความสุจริตยุติธรรมใน แผน่ ดินไว้ใหเ้ รา เราทกุ คนพึงส�ำ รวจดูตัวเองให้เหน็ ถ่องแท้ ว่าได้ทำ�ส่ิงใดท่ีช่วยให้ชาติและมาตุภูมิ เกิดความเป็นปึกแผน่ มน่ั คงบ้าง ภพู ิงคราชนเิ วศน์ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พทุ ธศักราช ๒๕๒๘

๓ ความซอื่ สัตย์ หมายถึง ความซื่อสตั ย์ ประพฤติจรงิ ใจ ไมเ่ อนเอยี ง ยดึ ม่นั ในความถกู ต้อง ทง้ั ตอ่ หนา้ และลบั หลัง

“...การที่จะท�ำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือ ทเ่ี ปน็ ประโยชนแ์ ละเปน็ ธรรมดว้ ยนนั้ จะอาศยั ความรู้ แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จ�ำเป็นต้องอาศัยความ สุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย...” พระบรมราโชวาท ในพธิ ีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวทิ ยาลยั รามค�ำ แหง ณ อาคารใหม่ สวนอมั พร วนั ศุกร์ ท่ี ๘ กรกฎาคม ๒๕๒๐

“...ทุกคนจะต้องปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ ปัจจุบันเพ่ือให้ประเทศชาติอยู่รอด คือรวมความ ตามทเี่ คยพดู อยเู่ สมอ ทา่ นผใู้ หญท่ กุ คนกพ็ ดู ขอให้ ท�ำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยความต้ังใจ สดุ ก�ำลงั กาย ก�ำลงั ใจ เท่าน้นั ...” พระราชด�ำ รสั พระราชทานแก่ผูแ้ ทนสมาคม บริษัท โรงงาน คณะกรรมการบรหิ ารสมาคมรฐั ศาสตร์ ณ พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน วนั ศกุ ร์ ที่ ๑๓ มิถนุ ายน ๒๕๑๘

“...คนไมม่ คี วามสจุ ริต คนไม่มีความม่นั คง ชอบแต่ มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวม ทสี่ �ำคญั อันใดได้ ผู้ท่ีมีความสุจริตและความมุ่งม่ัน เท่าน้ัน จึงจะท�ำงานส�ำคัญย่ิงใหญ่ที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์แท้จริงได้ส�ำเร็จ...” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแกน่ ิสิตจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒

“...ความซ่ือสัตย์สุจริตน้ันขอวิเคราะห์ศัพท์ว่า ความตรงไปตรงมาตอ่ สง่ิ ทง้ั หมดนอ้ ยใหญ่ สว่ นงาน ของราชการ สว่ นงานของตวั เองเปน็ สว่ นตวั ทง้ั หมด คือความซื่อสัตย์สุจริต และค�ำว่าสุจริตน้ีก็มาจาก ค�ำว่าการท่องเท่ียวของจิตในทางที่ดี หรือคิดให้ดี คิดให้สุจริต ท้ังฉลาดด้วย ทั้งไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือการงานของตัว ท้ังไม่เบียดเบียนส่วนรวมด้วย จงึ จะเปน็ ผสู้ ุจริต...” พระราชด�ำ รสั พระราชทานแกผ่ บู้ ังคบั บัญชา อาจารย์ และนายทหารนักเรียน โรงเรยี นเสนาธิการทหารบก ชดุ ที่ ๕๗ ซึง่ เดินทางมาศึกษาภูมปิ ระเทศทวั่ ๆ ไป ทางภาคใต้ ในโอกาสเขา้ เฝา้ ทลู ละอองธุลพี ระบาท ณ ศาลาบหุ ลนั ทกั ษิณราชนเิ วศน์ วนั องั คาร ท่ี ๒๘ สงิ หาคม ๒๕๒๒

“...ถ้ามีความสุจริตใจไม่พอ หรือไม่หนักแน่น แนว่ แนพ่ อ ทจี่ ะท�ำหน้าท่ีให้ตรงตามจุดประสงคแ์ ละ หลักการท่ีศึกษามา ก็อาจท�ำให้เกิดความเสียหาย ใหญห่ ลวงแกช่ าติไดต้ า่ ง ๆ โดยง่าย...” พระบรมราโชวาท ในพธิ ีพระราชทานปรญิ ญาบัตร วุฒบิ ตั ร ประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะแก่ผ้ทู รงคณุ วุฒิ และผูส้ �ำ เร็จการศึกษาจากวิทยาลยั ปอ้ งกันราชอาณาจักร วิทยาลยั การทัพบก วทิ ยาลัยการทัพเรอื วิทยาลัยการทพั อากาศ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ และโรงเรียนเสนาธกิ ารทหารอากาศ ณ อาคารใหม่ สวนอมั พร วันองั คาร ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๒

“...ผทู้ มี่ คี วามสจุ รติ และบรสิ ทุ ธใิ์ จ แมจ้ ะมคี วามรนู้ อ้ ย ก็ย่อมท�ำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่า ผู้มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความ บรสิ ุทธิใ์ จ...” พระราชดำ�รัส ในโอกาสท่คี ณะผอู้ ำ�นวยการและอาจารย์ใหญจ่ ากโรงเรียนตา่ ง ๆ ในเขตอ�ำ เภอดสุ ิต “กลุ่มจิตรลดา” เขา้ เฝ้า ฯ ทลู เกล้า ฯ ถวายเงนิ โดยเสดจ็ พระราชกศุ ลตามพระราชอธั ยาศยั ณ พระตำ�หนักจติ รลดารโหฐาน วนั องั คาร ท่ี ๑๘ มีนาคม ๒๕๒๓

“...ซ่ือสัตย์สุจริตนี้มีความสำ�คัญ เพราะถ้าหากว่า แต่ละคนมีความต้ังใจแล้ว แต่ไม่มีความซ่ือสัตย์ สจุ รติ กไ็ มม่ เี ปา้ หมายทแ่ี นน่ อน จะเปะปะไปทางโนน้ ที ทางน้ที ี ไม่มีทางท่จี ะส�ำ เร็จในงานการใด ๆ...” พระราชด�ำ รัส ในโอกาสที่ ฯ พณ ฯ พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ นายกรัฐมนตรี น�ำ คณะรฐั มนตรเี ขา้ เฝ้าทูลละอองธลุ ีพระบาท เพอื่ ถวายสตั ย์ปฏิญาณก่อนเขา้ รบั หนา้ ท่ี ณ พระตำ�หนกั จติ รลดารโหฐาน วนั จันทร์ ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๖

“...ความเจริญนั้นจะเกิดข้ึนได้ ย่อมต้องอาศัย เหตปุ จั จยั ประกอบกนั หลายอยา่ ง นอกจากวทิ ยาการ ที่ดีแล้ว อย่างหนึ่ง จะต้องอาศัยความยุติธรรม เท่ียงตรง และความสะอาดสุจริต ซ่ึงต้องเป็นไป พรอ้ มทัง้ ในความคิดและการกระท�ำ...” พระบรมราโชวาท ในพิธพี ระราชทานปรญิ ญาบตั รแกบ่ ัณฑติ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ ณ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ จงั หวัดขอนแก่น วนั พฤหัสบดี ท่ี ๑๙ ธนั วาคม ๒๕๒๘

“...ในการใช้วิชาความรู้ประกอบอาชีพไม่ว่าอย่างใด ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ท่านท้ังหลายจงมั่นอยู่ในความ ซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพราะคุณธรรมอันนี้เป็นมูลฐานอันสำ�คัญท่ีจะ ยังความเจริญและความเป็นปึกแผ่นแก่สังคม เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีกลมเกลียว...” พระราชดำ�รสั การพิธีพระราชทานปรญิ ญาบตั รแกน่ ักศึกษา มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๖

พระบรมราโชวาท พระราชทานเพ่อื เชิญลงพิมพ์ในหนังสอื วันเดก็ ปี พุทธศกั ราช ๒๕๓๑ ความซอ่ื สตั ยส์ จุ รติ เปน็ พนื้ ฐานของความดที กุ อยา่ ง เด็ก ๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีข้ึนในตนเอง เพ่ือจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิต ทส่ี ะอาด ที่เจรญิ มั่นคง พระต�ำ หนกั จิตรลดารโหฐาน วนั ที่ ๑๘ พฤศจกิ ายน พทุ ธศกั ราช ๒๕๓๐

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรอื น เนือ่ งในวันขา้ ราชการพลเรือน วนั ศกุ ร์ ที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๑ เกียรติและความสำ�เร็จเกิดจากผลการปฏิบัติงาน และปฏิบัติตัวของแต่ละคน ที่สามารถปฏิบัติงาน ในความรับผิดชอบให้ได้ผลสมบูรณ์ตรงตาม วัตถุประสงค์ และปฏิบัติตัวให้สุจริต เท่ียงตรง พอควรพอดแี กต่ ำ�แหน่งหนา้ ท่ที ีด่ ำ�รงอยู่ พระต�ำ หนกั จติ รลดารโหฐาน วันท่ี ๑ เมษายน พุทธศกั ราช ๒๕๓๑

๔ ความอ่อนโยน หมายถงึ ความอ่อนโยน ความนมิ่ นวล การประพฤติปฏบิ ัติ อยา่ งสุภาพตามกาลเทศะและ สถานภาพตน โดยมคี วามเมตตา กรุณาเปน็ พนื้ ฐานในจิตใจ

“...ในวงสังคมน้ันเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาท อันดีงามส�ำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม...” พระบรมราโชวาท ในพธิ พี ระราชทานปริญญาบัตร แกน่ ิสิตจฬุ าลงกรณมหาวิทยาลัย ๒๕ มิถนุ ายน ๒๔๙๖

“...การท่ีจะเรียนให้ดี ให้รู้วิชาแจ่มแจ้งลึกซ้ึงได้น้ัน นอกจากจะอยทู่ ค่ี วามตง้ั ใจและความหมนั่ เพยี รแลว้ ยังอยู่ที่ความมีสัมมาคารวะความฉลาดท่ีจะทำ�ตัว ให้เป็นท่ีเมตตาเอ็นดูของครูด้วย ถ้าทำ�ตัวดีมีความ อ่อนน้อมเคารพเชื่อฟังครู เอาใจใส่ช่วยเหลือครู ในกิจต่าง ๆ แม้เล็กน้อยก็ไม่น่ิงดูดายหรือเฉยเมย ครยู อ่ มมองเหน็ ความดใี นกายในใจของตวั จะรกั ใคร่ เหมือนเป็นท้ังลูกท้ังศิษย์ จะยินดีสั่งสอนอบรม ความร้คู วามดที กุ อยา่ งไดโ้ ดยเตม็ ใจและจริงใจ...” พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะครู นกั เรียน โรงเรียนวงั ไกลกังวล ในโอกาสเข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานรางวัล ณ พระราชวงั ไกลกงั วล วันพธุ ท่ี ๗ มิถุนายน ๒๕๒๑

“...ค�ำว่าอ่อนโยนนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นคน ออ่ นเปยี กปกครองงา่ ย มใิ ชอ่ ยา่ งนน้ั ความออ่ นโยน หมายความว่าพูดได้สะดวกมีเหตุผล ถ้าหากว่า มีความคิดก็ออกความคิดด้วยความละมุนละม่อม ดังนัน้ ความออ่ นโยนก็ค่กู บั ความเข้มแข็ง...” พระราชด�ำ รสั พระราชทานแกค่ ณะกรรมการบริหารทุนพระราชทาน คณะครู และนักเรียนโรงเรียนราชวินิต ณ พระตำ�หนกั จิตรลดารโหฐาน วนั อังคาร ที่ ๑๘ มนี าคม ๒๕๒๓

“...ชาวต่างประเทศนับถือศิลปะไทยและนับถือ คนไทย การท่เี ขานับถอื คนไทย เขาก็จะมีความร้สู กึ หลายอย่าง มีความรู้สกึ วา่ คนไทยเปน็ มิตร คนไทย เปน็ คนทนี่ า่ รกั เปน็ คนทน่ี า่ ทจ่ี ะคบไวเ้ ปน็ เพอ่ื น เขาจะ นับถือเราว่าเราน่าเกรงขาม เพราะว่ามีวัฒนธรรม มาช้านาน...” พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะนาฏศิลป์ จากกรมศลิ ปากร ซึ่งจะเดนิ ทางไปเผยแพรศ่ ิลปะ และวัฒนธรรมไทย ณ ประเทศออสเตรเลยี ณ พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน วันศกุ ร์ ที่ ๒๗ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๑๓

พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชญิ ลงพมิ พ์ในหนงั สือวันเด็ก ประจำ�ปี ๒๕๒๙ เด็กต้องหัดทำ�ตัวให้สุภาพอ่อนโยน หมั่นขยัน เอาการเอางาน เอ้ือเฟ้ือช่วยเหลือผู้อ่ืนด้วยความ เต็มใจอยู่เสมอให้ติดเป็นนิสัย จักได้เติบโตข้ึนเป็น คนดี มีประโยชน์ และมีความเจริญมน่ั คงในชีวิต ภูพานราชนิเวศน์ วนั ที่ ๑ ธันวาคม พทุ ธศกั ราช ๒๕๒๘

“...นิสัยน่ารักนี้เป็นส่ิงท่ีส�ำคัญส�ำหรับทุกคน เพราะวา่ งานทจ่ี ะท�ำหรอื งานทกี่ �ำลงั ท�ำ ท�ำอยคู่ นเดยี ว ไมไ่ ด ้ จะตอ้ งรว่ มกนั ท�ำ ถา้ มคี วามนา่ รกั คอื มอี ธั ยาศยั ดี มีความโอบอ้อมอารีกัน ท�ำให้งานน้ันง่ายข้ึนมาก เพราะวา่ ผทู้ รี่ ว่ มงานกย็ อ่ มฟงั ผทู้ มี่ อี ธั ยาศยั ออ่ นโยน และผูท้ มี่ ีอธั ยาศยั ท่ีนา่ คบ...” พระราชดำ�รสั พระราชทานแก่คณะกรรมการบริหารทนุ พระราชทาน คณะครู และนกั เรียนโรงเรียนราชวนิ ิต ณ พระตำ�หนกั จิตรลดารโหฐาน วันองั คาร ท่ี ๑๘ มนี าคม ๒๕๒๓

“...ผทู้ ม่ี จี ติ ใจเมตตากรณุ า หมายถงึ การทจี่ ะมจี ติ ใจ เห็นใจผู้อื่น มีจิตใจที่จะเห็นถึงความเดือดร้อน เราจะตอ้ งชว่ ยเหลือ จติ ใจนก้ี เ็ ปน็ จิตใจทมี่ กี ำ�ลงั มาก ทั้งอ่อนโยนมาก จิตใจนี้เป็นปัจจัยท่ีทำ�ให้งานการ ทกุ อยา่ งกา้ วหนา้ ได้ เพราะวา่ ถา้ คนทมี่ เี มตตากรณุ า ในใจ และเผื่อแผ่ต่อผู้อ่ืน หมายความว่าผู้น้ันเป็น คนฉลาด...” พระราชด�ำ รัส ในโอกาสทสี่ มาคมพ่อค้าทราย เฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงิน เพื่อโดยเสดจ็ พระราชกศุ ลตามพระราชอัธยาศยั ณ พระต�ำ หนกั จิตรลดารโหฐาน วันศกุ ร์ ที่ ๓๐ ตลุ าคม ๒๕๒๔

๕ ความเพียร หมายถึง ความเพียร ความพยายามบากบนั่ ไม่ยอ่ ทอ้ ปฏิบตั อิ ย่างสม่ำ�เสมอ เพอ่ื ใหเ้ กิดความส�ำ เร็จ

“...การสรา้ งสรรคต์ นเอง การสรา้ งบา้ นเมืองก็ตาม มใิ ชว่ า่ สรา้ งในวนั เดยี ว ตอ้ งใชเ้ วลาตอ้ งใชค้ วามเพยี ร ต้องใช้ความอดทนเสียสละ แต่สำ�คัญท่ีสุดคือ ความอดทนคือไมย่ อ่ ทอ้ ไมย่ อ่ ทอ้ ในส่งิ ท่ีดงี าม สิ่งท่ี ดงี ามนน้ั ทำ�มนั นา่ เบอ่ื บางทเี หมอื นวา่ ไมไ่ ดผ้ ล ไมด่ งั คือดูมันครึทำ�ดีน่ี แต่ขอรับรองว่าการทำ�ให้ดีไม่ครึ ต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอน ในความอดทนของตน...” กระแสพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นกั ศกึ ษา ครู และอาจารย์ ในโอกาสเขา้ เฝา้ ฯ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วนั เสาร์ ที่ ๒๗ ตลุ าคม ๒๕๑๖

“...ความเพียรน่ีหมายความว่าไม่ใช่ความเพียร ในการท�ำงานเท่านั้นเอง หมายถึงความเพียรที่จะ ข่มใจตัวเองด้วย ความกล้าหาญท่ีจะข่มใจตัวเองให้ อดทน ไม่ใช่อดทนแล้วก็เหมือนว่าใครท�ำก็ท�ำไป เราทนเอาไว้ เท่ากับคนอื่นเขาเอาเปรียบเรา ไม่ใช่ อดทนท่ีจะยังไม่เห็นผล อดทนที่จะทราบว่าส่ิงใด ที่เราท�ำต้องใช้เวลา ถ้าเราอดทน หรือถ้าพูด ตามธรรมดาวา่ ‘เหนยี ว’ ไว้ อดทนในความดี ท�ำใหด้ ี เหนียวไว้ในความดแี ลว้ ภายภาคหนา้ ไดผ้ ลแน่...” กระแสพระบรมราโชวาท พระราชทานแกน่ กั เรียน นกั ศึกษา ครู และอาจารย์ ในโอกาสเข้าเฝา้ ฯ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันเสาร์ ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๖

“...ความเพียรน้ันคือไม่ท้อถอยในการฝึกตนเอง ไม่ท้อถอยในการแผ่ความรู้ ไม่ท้อถอยในการช่วย ผู้อื่น วินัยก็คือระเบียบท่ีมีอยู่ในใจของตัวเอง เพ่ือ ทจี่ ะเลอื กเฟน้ วชิ าการมาใชใ้ นที่ ๆ เหมาะสม ทถี่ กู ตอ้ ง และวินัยคือควบคุมตัวเองให้อยู่ในร่องในรอย ไมท่ �ำให้เกิดความเสียหายต่อตนเอง...” พระบรมราโชวาท พระราชทานแกค่ ณะครฝู กึ ตำ�รวจตระเวนชายแดน ณ ศาลาเรงิ พระราชวงั ไกลกังวล วันพธุ ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๑๘


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook