Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นางสาวกัลยา บุญเเท่น

นางสาวกัลยา บุญเเท่น

Published by 14 กัลยา บุญแท่น, 2022-08-11 02:25:24

Description: การลำเลียงของพืช

Keywords: ชีววิทยา

Search

Read the Text Version

การลำเลียงของพืช จัดทำโดย นางสาวกัลยา บุญแท่น ม.5/3 เลขที่13 นำเสนอ คุณครู สมใจ พิทักษ์ธรรม โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ

คำนำ E-BOOKS เล่มนี้ เป็นการสรุป เนื้ อหาเกี่ยวกับการลำเลียงของพืช หวังว่าจะให้ผู้อ่านได้มีความรู้และ ประโยชน์ เกี่ยวกับการสรุปครั้งนี้ คณะผู้จัดทำ

การลำเลียงสารของพืช คือโครงสร้างและ การทำงานของระบบลำเลียงน้ำและอาหารของ พืช ซึ่งประกอบด้วยระบบท่อลำเลียง (Vascular Tissue System) ที่เป็นเนื้ อเยื่อซึ่งเชื่อมต่อกัน ตลอดในลำต้น โดยทำหน้ าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากราก ส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช เพื่อนำไปใช้ใน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photo Synthesis) ผลิตสารต่างๆ และน้ำตาล ส่งต่อไป ยังเนื้ อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของพืช เพื่อนำไปใช้ใน กิจกรรมอื่น ๆ ของเซลล์ เช่น การหายใจ การ สืบพันธุ์ และการเจริญเติบโตต่อไป น้ำ สารอาหารและแร่ธาตุต่าง ๆ จะถูกลำเลียง ไปในรูปของสารละลาย ตั้งแต่บริเวณปลายราก หรือที่เรียกว่า “ขนราก” (Root Hair) จำนวน มากของพืช



โดยการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจะมี ทิศทางการลำเลียงขึ้นสู่ ปลายยอดของ ต้นไม้เท่านั้ น ไม่มีการลำเลียงลงกลับ ด้านล่าง เป็นระบบที่อาศัยการแพร่แบบอ อสโมซิส (Osmosis) ตั้งแต่ในรากและ แรงดึงตามธรรมชาติ เช่น แรงดันราก (Root Pressure) คือ แรง ดันที่ทำให้น้ำเคลื่อนที่ต่อเนื่ องกันจาก รากเข้าสู่ ไซเลมและต่อไปจนถึงปลายยอด ของพืช เป็นแรงดันที่เกิดจากการออสโม ซิสของน้ำในดิน แรงคาพิลลารี (Capillary Force) คือ แรงดึงที่เกิดจากการดึงดูดระหว่าง โมเลกุลของน้ำด้วยกันเอง (Cohesion) และแรงยึดติดของโมเลกุลน้ำกับพื้นผิว หรือผนั งเซลล์ในท่อลำเลียง (Adhesion) แรงดึงจากการคายน้ำ (Transpiration Pull) ที่ทำให้น้ำถูกดูดขึ้นไปจากราก เพื่อ แทนที่ส่ วนของน้ำที่พืชสูญเสี ยไป

ท่อลำเลียงอาหาร หรือ “โฟลเอม” (Phloem) คือ เนื้ อเยื่อที่ทำหน้ าที่ลำเลียง สารอาหาร โดยเฉพาะ “น้ำตาลกลูโคส” (Glucose) ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสงในรูปของสารละลาย นำส่งจากใบ ไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชที่กำลังมีการเจริญ เติบโต รวมถึงการนำไปเก็บสะสมไว้ที่ใบ รากและลำต้น การลำเลียงอาหารสามารถ เกิดได้ในทุกทิศทาง โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ ดังนี้ การแพร่ (Diffusion) คือ การลำเลียงสาร ผ่านเนื้ อเยื่อส่วนต่าง ๆ จากเซลล์ของใบสู่ เซลล์ข้างเคียงต่อกันเป็นทอด ๆ เป็นการ กระจายอนุภาคของสารจากบริเวณที่มี ความเข้มข้นสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้น ต่ำ การลำเลียงแบบใช้พลังงาน (Active Transport) คือ การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้ม เซลล์จากบริเวณที่สารมีความเข้มข้นต่ำไปสู่ บริเวณที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งอาศัยพลังงาน ที่ได้จากการหายใจระดับเซลล์และโปรตีน ตัวพาในการลำเลียง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook