Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นิทาน สอนใจวัยอนุบาล

นิทาน สอนใจวัยอนุบาล

Published by “Chalermrajakumari” Public library Bangkhonthi, 2020-06-25 22:45:06

Description: นิทาน สอนใจวัยอนุบาล
ที่มา...https://www.nacc.go.th/download/media/R50_774cartoon.pdf

Search

Read the Text Version

ชวี ประวตั ิ \"สนุ ทรภู่\" สุนทรภู่ กวีสําคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ํา ปีมะเมีย จุล ศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 08.00 น. น่ันเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณ สถานรี ถไฟบางกอกน้อยปัจจบุ นั ) บิดาของท่านเป็นชาวกรํ่า อําเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็น ชาวเมืองฉะเชิงเทรา ช่ือแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เช่ือว่า หลังจากสุนทรภเู่ กดิ ได้ไมน่ าน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ํา ตําบลบ้าน กรา่ํ อาํ เภอแกลง อันเปน็ ภูมิลําเนาเดมิ สว่ นมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนาง นมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังน้ัน สุนทรภู่จึงได้อยู่ ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซ่ึงสุนทรภู่ยังมีน้องสาว ตา่ งบดิ าอกี สองคน ช่ือฉิมและน่ิม ภาพจาก คุณ Nukoon Nueakong สมาชิกเว็บไซต์ยทู บู ดอทคอม

\"สุนทรภู่\" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและท่ีวัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้ เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทํางานอ่ืน นอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีต้ังแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะต้ังแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรัก แต่งกลอนย่ิงกว่างานอื่น คร้ังรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ท่ีวัดศรีสุดาราม ในคลองบางกอก นอ้ ย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนทิ านข้นึ ไว้ เมอื่ อายุราว 20 ปี ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหน่ึง ช่ือแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มี ตระกูล จงึ ถกู กรมพระราชวงั หลงั กร้วิ จนถึงให้โบยและจําคุกคนทั้งสอง แต่เม่ือกรมพระราชวังหลัง เสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษท้ังหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภอู่ อกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาท่ีอําเภอแกลง จังหวัดระยอง และมี บตุ รดว้ ยกนั 1 คน ช่อื \"พอ่ พัด\" ไดอ้ ยูใ่ นความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จัน กม็ ีเร่ืองระหองระแหงกนั เสมอ จนภายหลังกเ็ ลกิ รากนั ไป หลงั จากน้ัน สนุ ทรภู่ ก็เดนิ ทางเขา้ พระราชวงั หลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐม วงศใ์ นฐานะมหาดเล็ก ตามเสดจ็ ไปในงานพิธมี าฆบูชา ทอ่ี ําเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขากไ็ ด้แต่ง \"นริ าศพระบาท\" พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวน้ีด้วย และ หลังจาก \"นิราศพระบาท\" กไ็ มป่ รากฏผลงานใด ๆ ของสุนทรภอู่ ีกเลย

จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการ ในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จน แต่งต้ังให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เน่ืองจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลยั ทรงแตง่ กลอนบทละครในเรอ่ื ง \"รามเกียรต์ิ\" ติดขดั ไม่มผี ู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราช หฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นท่ีพอพระราชหฤทัย จึงทรงพระ กรุณาฯ เลอื่ นใหเ้ ปน็ \"ขุนสุนทรโวหาร\" ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทําร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ตดิ อยูไ่ มน่ านก็พ้นโทษ เนอ่ื งจากพระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลศิ หล้านภาลยั ทรงตดิ ขัดบทพระราช นิพนธ์เรื่อง \"สังข์ทอง\" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระราชหฤทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นท่ีพอ พระราชหฤทัย ภายหลังพน้ โทษ สุนทรภไู่ ด้เป็นพระอาจารย์ถวายอกั ษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และเช่ือกันว่าสุนทรภู่แต่งเร่ือง \"สวัสดิรักษา\" ใน ระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่น้ี สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่น่ิม มีบุตรด้วยกันหน่ึง คน ชอ่ื \"พ่อตาบ\"

\"สนุ ทรภู่\" รบั ราชการอยเู่ พียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหวา่ งนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่าง ๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัด เทพธิดาราม ซึ่งผลจากการท่ีภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปท่ีต่าง ๆ ท่ัวประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศ เรอ่ื งตา่ ง ๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสดุ ท้ายทภ่ี ิกษภุ แู่ ต่งไวก้ ่อนลาสกิ ขา คือ \"ราพันพิลาป\" โดยแต่ง ขณะจาํ พรรษาอยทู่ ่ีวดั เทพธดิ าราม พ.ศ. 2385 ทั้งน้ี ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ จนพระองค์ประชวรสนิ้ พระชนม์ สนุ ทรภจู่ ึงลาสกิ ขา รวมอายุพรรษาท่บี วชได้ประมาณ 10 พรรษา สนุ ทรภู่ออกมาตกระกําลําบากอยู่พักหน่ึงจึงกลับเข้าไปบวชอีกคร้ังหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขา และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวงั เดิม รวมทั้งไดร้ ับอปุ การะจากกรมหมืน่ อัปสรสดุ าเทพอีกด้วย ในสมยั รัชกาลที่ 4 เม่ือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ครองราชย์ ทรงสถาปนา เจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระ บวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น \"พระสุนทรโวหาร\" ตําแหน่งเจ้ากรม พระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวัง ในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ท่ี เรยี กชอื่ กันวา่ \"หอ้ งสุนทรภ\"ู่ สําหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ \"พ่อพัด\" เกิดจาก ภรรยาคนแรกคือแม่จัน, \"พ่อตาบ\" เกิดจากภรรยาคนท่ีสองคือแม่นิ่ม และ \"พ่อนิล\" เกิดจาก ภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏช่ือบุตรบุญธรรมอีกสองคน ช่ือ \"พ่อกลั่น\" และ \"พ่อ ชุบ\" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลท่ี 6) ทรงตรา พระราชบญั ญตั นิ ามสกลุ ขึน้ และตระกูลของสนุ ทรภไู่ ดใ้ ชน้ ามสกุลตอ่ มาว่า \"ภู่เรือหงส์\"

ประเภทนริ าศ หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเร่ืองท่ียังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ.. ผลงานของสนุ ทรภู่ - นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเม่ือหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่ เมอื งแกลง - นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ในวันมาฆบูชา - นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไป นมัสการพระเจดียภ์ ูเขาทอง ท่ีจังหวัดอยธุ ยา - นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเม่ือคร้ังยังบวชอยู่ และไปค้นหายา อายุวัฒนะทจี่ งั หวัดสพุ รรณบุรี เปน็ ผลงานเรือ่ งเดียวของสุนทรภทู่ แ่ี ตง่ เป็นโคลง - นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อคร้ังยังบวชอยู่ และไปค้นหายา อายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา - นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลท่ี 3) แต่งเป็นเนื้อเร่ืองอิเหนารําพันถึง นางบษุ บา - ราพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเม่ือคร้ังจําพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้าย ว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรําพันความอาภัพของตัวไว้เป็น \"รําพันพิลาป\" จากนั้นจึง ลาสิกขา

- นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) - เช่ือว่าแต่งเม่ือหลังจากลาสิกขาและเข้ารับราชการใน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมือง นครชัยศรี - นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเม่ือเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระป่ินเกล้า เจ้าอยู่หัว เช่ือว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหน่ึง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพ่ิมเติม ซึ่ง อ. ล้อม เพ็งแก้ว เชอื่ ว่า บรรพบุรษุ ฝ่ายมารดาของสุนทรภเู่ ป็นชาวเมืองเพชร

ประเภทนิทาน เรือ่ งโคบตุ ร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสรุ ิยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสงิ หไกรภพ

ประเภทสุภาษิต - สวัสดริ ักษา คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลท่ี 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอกั ษรแดเ่ จ้า ฟ้าอาภรณ์ - สุภาษิตสอนหญิง เป็นหน่ึงในผลงานซ่ึงยังเป็นท่ีเคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์ จริงหรอื ไม่ - เพลงยาวถวายโอวาท คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวาย อกั ษรแดเ่ จา้ ฟ้ากลางและเจา้ ฟ้าปว๋ิ ประเภทบทละคร - เรอื่ งอภยั ณุรา ซง่ึ เขยี นขน้ึ ในสมยั รัชกาลท่ี 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดา ในพระบาทสมเด็จพระปนิ่ เกลา้ เจ้าอยูห่ ัว ประเภทบทเสภา - เร่อื งขุนช้างขนุ แผน (ตอนกาเนดิ พลายงาม) - เรื่องพระราชพงศาวดาร ประเภทบทเหก่ ลอ่ ม แต่งข้ึนสําหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอใน พระบาทสมเด็จพระป่ินเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เร่ือง คือ เห่จับระบํา, เห่เร่ืองพระอภัยมณี, เหเ่ รื่องโคบตุ ร และเหเ่ ร่ืองกากี ตวั อยา่ งวรรคทองท่มี ีชื่อเสียงของสนุ ทรภู่ ด้วยความท่ีสุนทรภู่เป็นศิลปินเอกท่ีมีผลงานทางวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย ทําให้ผล งานหลาย ๆ เรื่องของสุนทรภู่ ถูกนําไปเป็นบทเรียนให้เด็กไทยได้ศึกษา จึงทําให้มีหลาย ๆ บท ประพนั ธท์ ค่ี ้นุ หู หรือ \"วรรคทอง\" ยกตัวอยา่ งเช่น

บางตอนจาก นริ าศอิเหนา จะหกั อื่นขนื หกั ก็จักได้ หกั อาลยั นไี้ ม่หลดุ สุดจะหัก สารพดั ตัดขาดประหลาดนัก แตต่ ัดรักนไ้ี ม่ขาดประหลาดใจ บางตอนจาก พระอภัยมณี บัดเดี๋ยวดงั หงง่ั เหงง่ วังเวงแว่ว สะดงุ้ แล้วเหลยี วแลชะแง้หา เหน็ โยคขี ร่ี ุ้งพงุ่ ออกมา ประคองพาขึน้ ไปจนบนบรรพต แล้วสอนว่าอย่าไวใ้ จมนษุ ย์ มนั แสนสุดลกึ ลํ้าเหลอื กําหนด ถงึ เถาวลั ย์พนั เกย่ี วที่เลยี้ วลด ก็ไม่คดเหมือนหน่ึงในน้ําใจคน (พระฤาษสี อนสุดสาคร) ********************** แมน้ ใครรักรักมง่ั ชังชงั ตอบ ใหร้ อบคอบคิดอ่านนะหลานหนา รสู้ ่งิ ไรไมส่ ้รู วู้ ชิ า รู้รกั ษาตวั รอดเป็นยอดดี (พระฤาษีสอนสุดสาคร)

อนั นินทากาเลเหมอื นเทน้ํา ไม่ชอกชา้ํ เหมอื นเอามดี มากรีดหนิ แคอ่ งคพ์ ระปฏิมายังราคนิ คนเดินดินหรอื จะสน้ิ คนนนิ ทา *********************** เขาย่อมเปรยี บเทยี บความว่ายามรกั แต่นา้ํ ผกั ต้มขมชมว่าหวาน ครน้ั รกั จางห่างเหนิ ไปเนิน่ นาน แตน่ าํ้ ตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล ********************** ถึงม้วยดินสิ้นฟา้ มหาสมุทร ไมส่ ้นิ สดุ ความรักสมคั รสมาน แม้เกิดในใตฟ้ า้ สุธาธาร ขอพบพานพศิ วาสไม่คลาดคลา แม้เนอื้ เย็นเป็นห้วงมหรรณพ พข่ี อพบศรีสวสั ด์เิ ปน็ มัจฉา แม้เปน็ บัวตวั พ่ีเปน็ ภุมรา เชยผกาโกสมุ ประทุมทอง แมเ้ ป็นถ้าํ อําไพใคร่เปน็ หงส์ จะร่อนลงสงิ สู่เป็นคู่สอง ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง เปน็ ค่คู รองพศิ วาสทกุ ชาติไป (ตอน พระอภัยมณเี กีย้ วนางละเวง ได้ถกู นาํ ไป ดัดแปลงเลก็ นอ้ ยกลายเป็นเพลง \"คํามัน่ สญั ญา\")

บางตอนจาก เพลงยาวถวายโอวาท อนั ความคิดวทิ ยาเหมือนอาวธุ ประเสริฐสุดซ่อนใสเ่ สียในฝกั สงวนคมสมนึกใครฮกึ ฮัก จงึ คอ่ ยชกั เชอื ดฟันให้บรรลัย *********************** อนั ออ้ ยตาลหวานล้ินแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหไู ม่รหู้ าย แมน้ เจ็บอน่ื หมนื่ แสนจะแคลนคลาย เจบ็ จนตายเพราะเหน็บให้เจบ็ ใจ บางตอนจาก สภุ าษติ สอนหญงิ มสี ลึงพงึ บรรจบใหค้ รบบาท อยา่ ใหข้ าดสงิ่ ของต้องประสงค์ จงมักนอ้ ยกนิ น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน *********************** จะพดู จาปราศรยั กับใครนั้น อย่าตะค้นั ตะคอกใหเ้ คอื งหู ไม่ควรพูดอ้อื อึ้งข้นึ มึงกู คนจะหลลู่ ว่ งลามไมข่ ามใจ ***********************

เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะไดย้ ากโหยหวิ เพราะชิวหา แมน้ พดู ดมี ีคนเขาเมตตา จะพดู จาพเิ คราะห์ใหเ้ หมาะความ *********************** ร้วู ชิ ากใ็ ห้รเู้ ป็นครูเขา จงึ จะเบาแรงตนชว่ ยขวนขวาย มีข้าไทใชส้ อยคอ่ ยสบาย ตัวเป็นนายโงเ่ ง่าบ่าวไม่เกรง บางตอนจาก ขนุ ช้างขุนแผน ตอนกาเนิดพลายงาม แม่รักลูก ลกู ก็รู้ อยูว่ ่ารกั ใครอื่นสกั หมน่ื แสน ไมแ่ มน้ เหมือน จะกนิ นอนวอนวา่ เมตตาเตอื น จะจากเรอื น ร้างแม่ ก็แตก่ าย *********************** ลกู ผชู้ ายลายมอื นนั้ คือยศ เจา้ จงอุตส่าห์ทาํ สมํ่าเสมียน (ขนุ แผนสอนพลายงาม)

บางตอนจาก นริ าศภเู ขาทอง ถงึ บางพดู พูดดเี ปน็ ศรศี ักด์ิ มคี นรกั รสถอ้ ยอร่อยจิต แมพ้ ูดช่วั ตัวตายทาํ ลายมติ ร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพดู จาฯ *********************** ถึงโรงเหลา้ เตากล่นั ควันโขมง มีคนั โพงผูกสายไวป้ ลายเสา โอ้บาปกรรมนํ้านรกเจยี วอกเรา ใหม้ วั เมาเหมอื นหนง่ึ บ้าเป็นน่าอาย *********************** ทาํ บญุ บวชกรวดนาํ้ ขอสาํ เรจ็ สรรเพชญโพธญิ าณประมาณหมาย ถงึ สรุ าพารอดไมว่ อดวาย ไม่ใกลก้ รายแกลง้ เมินก็เกินไป *********************** ไมเ่ มาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารกั สดุ จะหกั ห้ามจิตคิดไฉน ถงึ เมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนีป้ ระจําทุกคํ่าคืนฯ

บางตอนจาก นริ าศพระบาท เจ้าของตาลรกั หวานขน้ึ ปีนต้น เพราะด้นั ดน้ อยากล้มิ ชิมรสหวาน คร้นั ได้รสสดสาวจากจาวตาล ย่อมซาบซ่านหวานซงึ้ ตรงึ ถงึ ทรวง ไหนจะยอมใหเ้ จา้ หล่นลงเจ็บอก เพราะอยากวกข้นึ ลิน้ ชิมของหวง อนั รสตาลหวานละม้ายคล้ายพุม่ พวง พเ่ี จบ็ ทรวงชํ้าอกเหมอื นตกตาล...

ที่มาของวันสุนทรภู่ องคก์ ารการศึกษา วทิ ยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซงึ่ เป็นผู้ที่ มีหนา้ ท่สี ่งเสรมิ และเผยแพร่ผลงานดา้ นวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ท่ัวโลก ดว้ ยการ ประกาศยกยอ่ งเชดิ ชูเกียรติบุคคลผมู้ ีผลงานดเี ดน่ ทางวฒั นธรรมระดบั โลก ในวาระครบรอบ 100 ปีข้ึนไปเปน็ ประจําทกุ ปี โดยมีวตั ถุประสงคค์ ือ เพอื่ เผยแพรเ่ กยี รติคุณและผลงานของผมู้ ผี ลงาน ดเี ดน่ ทางดา้ นวฒั นธรรมระดบั โลกใหป้ รากฏแก่มวลสมาชกิ ทว่ั โลก และเพอื่ เชิญชวนใหป้ ระเทศ สมาชกิ มสี ว่ นรว่ มในการจัดกจิ กรรมเฉลมิ ฉลองร่วมกับประเทศทมี่ ีผไู้ ดร้ บั การยกย่องเชดิ ชูเกียรติ ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติวา่ ด้วยการศกึ ษา วิทยาศาสตร์ และ วฒั นธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศกึ ษาธิการ จะเป็นผสู้ บื คน้ บรรพบุรุษไทยผมู้ ีผลงานดีเด่น ทางวัฒนธรรม เพ่ือให้ยูเนสโกประกาศยกยอ่ งเชิดชเู กยี รติ และได้ประกาศยกยอ่ ง \"สนุ ทรภู่\" ให้ เปน็ บุคคลผูม้ ีผลงานดีเดน่ ทางวฒั นธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกดิ เมือ่ วันท่ี 26 มถิ ุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปีย่ มพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ไดด้ ําเนินการ จดั ต้ังสถาบันสุนทรภูข่ ้ึน เพือ่ สนบั สนนุ การจดั กจิ กรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้ แพรห่ ลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากย่งิ ขน้ึ ดังนัน้ ทางรัฐบาลจึงไดก้ าํ หนดให้ วันท่ี 26 มิถนุ ายน ของทกุ ปี เป็น \"วนั สุนทรภู่\" ซงึ่ นับแตน่ น้ั เมือ่ ถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจดั งานรําลึกถงึ สุนทรภ่ตู ามสถานท่ีตา่ ง ๆ เช่น ท่พี ิพธิ ภัณฑ์สนุ ทรภู่ \"วดั เทพธดิ าราม\" และทจี่ ังหวดั ระยอง และมี การจดั กจิ กรรมเชิดชูเกียรติคณุ และสง่ เสริมศลิ ปะการประพนั ธบ์ ทกวีจากองค์กรต่าง ๆ โดยทั่วไป

ทงั้ นี้ ผลงานของสุนทรภู่ยงั เปน็ ท่ีนิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนอื่ งตลอดมาไมข่ าดสาย และ มีการนาํ ไปดดั แปลงเปน็ ส่ือต่าง ๆ เช่น หนงั สอื การ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถงึ ละคร มีการ กอ่ สร้างอนสุ าวรีย์สุนทรภู่ ไว้ทต่ี ําบลบ้านกรํา่ อําเภอแกลง จงั หวัดระยอง ซ่ึงเป็นบ้านเกดิ ของบิดา ของสนุ ทรภู่ และเปน็ กําเนิดผลงานนิราศเรือ่ งแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง

กิจกรรมท่ีควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่ 1. มกี ารจดั นทิ รรศการเกยี่ วกับประวตั ิชีวติ และผลงาน 2. มกี ารแสดงผลงานประเภทนิทานของสุนทรภู่ 3. มกี ารประกวด แขง่ ขัน ประชนั สกั วา ตอบคาํ ถามเกี่ยวกบั ประวัติชวี ิต และผลงานของ สุนทรภู่



บรรณานกุ รม Highlight. วนั สุนทรภู่ 26 มถิ ุนายน ประวัตกิ วีเอกของไทย. 25 ,มิถนุ ายน 2563. จาก https://bit.ly/2VjLE0K เรยี บเรยี งโดย : ห้องสมดุ ประชาชน \"เฉลิมราชกมุ าร\"ี อาเภอบางคนที จังหวัดสมทุ รสงคราม กศน.อาเภอบางคนที อาเภอบางคนที จังหวดั สมทุ รสงคราม




Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook