Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรัฐศาสตร์

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรัฐศาสตร์

Published by sulai8444, 2019-09-24 19:00:30

Description: บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรัฐศาสตร์

Search

Read the Text Version

บทท่ี 1 ความรพู้ ื้นฐานเก่ยี วกับรัฐศาสตร์ คาว่า “รัฐศาสตร์” มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า “Political Science” โดย Political น้ัน มี รากฐานมาจากคาว่า “Polis” ในภาษากรีก โดยมีความหมายว่า การจัดองค์การทางการเมืองรูปแบบหน่ึง ซึ่งในปัจจุบันการศึกษา “รัฐศาสตร์” จัดเป็นสาขาหน่ึงของสังคมศาสตร์ (Social Science) ที่มุ่งศึกษาถึงการ อยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม โดยสังคมปัจจุบันจะมีการกล่าวถึงบทบาทของรัฐท่ีเชื่อมโยงกับ “รัฐศาสตร์” ท่ีวา่ “ไม่มีทีใ่ ดในโลกทเ่ี ราจะอยู่อาศัยไดโ้ ดยปราศจากอานาจและอิทธิพลของรัฐ ” โดยในสภาวะปัจจุบันพ้ืนท่ี ทกุ ตารางน้ิวในโลกถูกจับจองโดยรัฐทั้งสิ้น รัฐมีอานาจในการเข้ามาล้อมกรอบกาหนด และชี้แนะแนวทางการ ดารงชีวิตของประชาชนตั้งแต่ก่อนเกิดจนกระท่ังตาย ประชาชนแทบไม่สามารถแบ่งแยกรัฐออกจากส่ิงอ่ืน ๆ ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม แม้นว่าปัจจุบันซ่ึงเป็นยุค โลกาภิวัฒน์รัฐก็มีบทบาทที่จะต้องดาเนินนโยบายท่ีเข้มแข็งเพ่ือที่จะต่อรองและปกป้องผลประโยชน์ของ ประเทศให้ปลอดภัยจากอานาจของระบบทุนนิยมที่มากับกระแสโลกาภิวัฒน์ อานาจรัฐมีอานาจและขอบข่าย โยงใยกวา้ งขวาง สามารถกาหนดกรอบนโยบายเศรษฐกิจ มีอานาจเหนอื ศาสนา วัฒนธรรม และแม้แตเ่ ช้ือชาติ ความหมายของคาว่า “รฐั ศาสตร”์ รัฐศาสตร์ (Political Science) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ อันเป็นสาขาหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ ที่ กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับรัฐ ว่าด้วยทฤษฎีแห่งรัฐ การวิวัฒนาการของรัฐสถาบันทางการเมืองท่ีทาหน้าท่ี ดาเนินการปกครองมีกลไกไปในทางใด ทฤษฎีการจัดองค์การต่าง ๆ ในทางปกครอง รูปแบบของรัฐบาล หรือ สถาบันทางการเมืองท่ีต้องออกกฎหมายและรักษาการณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ เอกชน (Individual) หรอื กลุ่มชน (Group) กับรัฐ และความสมั พนั ธร์ ะหว่างรัฐกบั รฐั ตลอดจนแนวคิดทางการ เมืองที่มีอิทธิพลต่อโลก ตลอดจนการแสวงหาอานาจของกลุ่มการเมืองหรือภายในกลุ่มการเมือง หรือสถาบัน การเมอื งต่างๆ เพ่ือการปกครองรัฐให้เป็นไปด้วยดีท่ีสุดซึ่งถ้าพิจารณาถึงสภาพและขอบเขตอย่างกว้าง ๆ แล้ว จะกล่าวไดว้ า่ รฐั ศาสตรเ์ ป็นการศึกษาถึงเรื่องราวทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง (political behavior) หรือการแสวงหาอานาจทางการเมือง (power – seeking) ของกลุม่ คน และสถาบัน อนั มีลักษณะแตกต่างจาก รัฐ ซึ่งมุ่งแสวงหาอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐและทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (CC. Rodee, 1993 : 4) ส่วนในประเทศไทยเป็นท่ีเข้าใจกันว่า รัฐศาสตร์ คือ ศาสตร์ท่ีว่าด้วยเร่ืองอานาจของรัฐ (science of power) ซึ่งเป็นวิชาที่มุ่งศึกษาองค์กรท่ีมีอานาจปกครองรัฐหนึ่ง และการแข่งขันกันมีอานาจในรัฐหน่ึง (เดชชาติ วงศ์ โกมลเชษฐ์, 2515 : 1) ท้ังน้ีหากอธิบายถึงศัพท์คาว่า “รัฐศาสตร์” กล่าวได้ว่า เป็นศัพท์ที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ บางครั้งในภาษาไทยใช้คาว่า “การเมือง” หรือ “การปกครอง” ซึ่งในภาษาอังกฤษอาจใช้คาต่อไปนี้ 1)

Politics 2) Political Science 3) Government ซึ่งถ้าแปลตรงตัวก็คือ “การเมือง” “รัฐศาสตร์” และ “การปกครอง” ความแตกต่างของท้ัง 3 คาน้ีกอ็ าจมีอยบู่ ้าง แต่ในวงการรัฐศาสตร์ตะวันตกเป็นท่ียอมรับ ว่าสามารถใช้แทนกันได้ (สารานุกรมสังคมศาสตร์, อ้างถึงในจิรโชค วีรสย และคณะ, 2551 : 5) ด้วยศัพท์ ดังกล่าวที่เป็นคาที่มีความสัมพันธ์เก่ียวข้องกัน โดยท่ัวไปก็มักใช้แทนกัน ท้ังนี้อาจด้วยนัยทางการเมืองการ ปกครองเป็นเร่ืองที่มีความจาเป็นและสาคัญต่อมนุษย์ เพราะเป็นเร่ืองที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเก่ียวข้องสัมพันธ์ กล่าวคอื มนุษย์ถา้ ไมอ่ ยใู่ นฐานะผปู้ กครองก็จะอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง เม่ือเป็นเช่นน้ีแล้วน้ันมนุษย์จึงมีความ จาเป็นจะต้องเรียนรู้เกย่ี วกับการเมืองการปกครองตามอัตภาพของตน ด้วยรฐั ศาสตร์เปน็ ศาสตร์แห่งรัฐ ซงึ่ ถูกสร้างข้ึนมาเพ่ือเป็นแนวทางในการศึกษาการเมืองการปกครอง จึงมีนักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์หลายท่านมีมุมมองท่ีอาจจะแยกวิชาการนี้ออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ 1. ใน ลักษณะท่เี ป็นศาสตร์ (Science) คือ เป็นความรู้ทางวิชาการด้านการเมืองการปกครอง และ 2. ในลักษณะท่ี เป็นศิลป์ (Arts) คือ วิชารัฐศาสตร์กลายเป็นวิชาที่ประยุกต์เอาลักษณะที่เป็นศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกัน แล้ว นาเอาวชิ าการนี้มาใชป้ กครองประเทศ จากมุมมองดงั กลา่ วมนี กั วิชการหลายทา่ นทีไ่ ดน้ ิยามความหมายของรฐั ศาสตร์ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้ Bernard Crick (2002 : 176) ให้ความหมายไว้ว่า รัฐศาสตร์เป็นเร่ืองของการรวบรวมเอา ผลประโยชน์หรอื อดุ มการณ์ทีแ่ ตกต่างกนั มารวมไวเ้ ป็นกล่มุ เดยี วกนั เพ่อื ความผาสุกของคนในทกุ กลุ่ม David Easton (1953 : 109) กล่าวว่า รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ท่ีว่าด้วยการเลือกสรรสิ่งท่ีดีให้คนใน สังคมได้อยู่กิน ใช้อย่างมีคุณภาพข้อแตกต่างท่ีสาคัญคือ รัฐศาสตร์ เป็นเร่ืองท่ีหนักไปทางวิทยาการ หรือเป็น ศาสตร์ ที่มกี ารจดั ระบบหมวดหมู่อยา่ งชดั แจง้ ส่วนการเมอื งมลี กั ษณะหนักไปเชิงการกระทาหรือเป็นกิจกรรม ทงั้ น้ี บูฆอรี ยหี มะ (2554 : 1-2) ได้ทาการรวบรวมแนวคิดของนกั วิชาการที่ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ รัฐศาสตรไ์ วห้ ลายทา่ นไดแ้ ก่ จอร์จ แคทลิน (George Catlin) อธิบายว่า รัฐศาสตร์ เป็น “ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ” จัดเป็นสาขาหน่ึง ของสังคมศาสตร์ซ่ึงมุ่งให้ความสนใจในเร่ืองของทฤษฎี การจัดองค์การการเมืองการปกครอง และ วิธดี าเนนิ การตา่ ง ๆ ของรัฐ บลันชลี (Bluntschli) อธิบายว่า รัฐศาสตร์ คือ ศาสตร์ท่ีเก่ียวข้องกับรัฐ โดยพยายามท่ีจะทาความ เข้าใจให้ลึกซึ้งถึงแง่มุมต่าง ๆ ทั้งในแง่ของเงื่อนไขพ้ืนฐานของรัฐ ธรรมชาติที่สาคัญของรัฐ รูปแบบของรัฐ และพัฒนาการของรัฐ อลัน ไอซาค (Alan Isaak) กล่าวว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาที่เก่ียวข้องกับการใช้อานาจเพื่อไกล่ เกลีย่ แก้ไขปัญหาความขดั แยง้ ในเรื่องของการกระจายทรัพยากรและส่ิงท่ีมีคุณค่าในสังคมโดยผ่านทางสถาบัน ทางการเมืองการปกครอง

ส่วนนักวิชาการไทยก็ได้ให้นิยามความหมายเก่ียวกับรัฐศาสตร์ไว้เช่นเดียวกัน อาทิ จรูญ สุภาพ (2518 : 549) ให้ทัศนะว่า วิชารัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ท่ีว่าด้วยรัฐ (the science of the state) ซ่ึงจัดว่าเป็น สาขาหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ที่กล่าวถึงทฤษฎี การจัดองค์การการเมือง การปกครอง รัฐบาล และวิธีการ ดาเนินการตา่ ง ๆ ของรัฐ ความหมายและความสาคญั ของคาวา่ “การเมอื ง” คาว่า “การเมือง” (Politics) ในภาษาพูดอาจมีความเอนเอียงไปในทางลบ เพราะอาจจะถูกบุคคล บางกล่มุ มองภาพในทางที่ไม่ดี คือ อาจจะมองไปว่าการเมืองการปกครองเป็นเรื่องสกปรก โหดร้ายทารุณ เข่น ฆ่า มุ่งหาผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นเร่ืองของคนมีเงิน คนมีการศึกษาและคนที่ใฝ่หาความเป็นใหญ่ แต่สภาพที่ เป็นจรงิ แล้ว การเมืองการปกครองเปน็ เร่ืองของคนทกุ คนในสังคมจะต้องเรียนรู้ทาความเข้าใจ ไม่เป็นเรื่องที่น่า กลัวหรอื เลวรา้ ยอยา่ งทวี่ า่ ซ่ึงถ้ามีความเข้าใจที่ดีและนามาใช้ให้ถูกต้องตามกระบวนการแล้วนั้น ก็สามารถก่อ เกดิ เป็นกระบวนการทางการปกครองท่ีสร้างประโยชน์สขุ ใหก้ ับประชาชนได้ ทั้งน้ีในการกล่าวถึงคาจากัดความ และความหมายของ คาว่า “การเมือง” ท่ีได้มีนักปราชญ์และนักรัฐศาสตร์หลายท่าน ให้คานิยาม ไว้แตกต่าง กันออกไปตามทัศนะของแตล่ ะทา่ น ซง่ึ ในท่นี ้ีจะขอรวบรวมไวพ้ อเป็นแนวทางในการศึกษา ดงั น้ี Plato นักปราชญ์ทางการเมืองศิษย์ของท่าน Socrates ท่านได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม แต่เล่มท่ี สาคัญที่สุดคือ อุตมรัฐ (The Republic) ซ่ึงในหนังสือเล่มนี้ Plato ได้ให้ทัศนะเก่ียวกับการเมืองไว้ว่า “การเมอื ง คืออานาจความยตุ ธิ รรมแก่คนทั้งปวง” Aristotle (1943) ได้อธิบายเร่ืองการเมืองในหนังสือ politics ของท่านไว้ว่า การเมืองย่อมเกี่ยวพัน กับอานาจอานาจทางการเมืองจะต้องแตกต่างจากอานาจอื่น องค์การทางการเมืองจะต้องมีอานาจปกครอง เป็นอธิปัตย์หน่วยการบริหาร (รัฐบาล) แห่งองค์การทางการเมืองจะต้องเป็นผู้ใช้อานาจอธิปไตยในกิจกรรม ต่างๆ ทุกกรณีดังนั้นคุณลักษณะของการเมืองจึงกอปรด้วยปัจจัยเด่นชัดอย่างน้อยสองประการคือ อานาจ (Authority) และการปกครอง นอกจากน้ันเขายังกล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง มนุษย์จะหลีกเล่ียง การเมอื งไม่ได้ จึงจาเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลมุ่ กอ้ นในชุมชน Harold D Lasswell (1963 : 126 ) มองการเมืองว่าเป็นเรื่องของอิทธิพลและผู้ทรงอิทธิพลโดยเน้น ในเร่ืองของใคร ได้อะไร ได้เม่ือไร และอย่างไร และผู้ทรงอิทธิพลตามความเห็นของลาสเวลล์ คือผู้ท่ีสามารถ

ได้รับหรือกอบโกยสิ่งท่ีมีคุณค่าต่างๆ ในสังคมอันได้แก่ อานาจ ความเคารพนับถือ ความนิยมชมชอบ ความ ยุตธิ รรม ความอยู่ดกี นิ ดี ความมั่นคง ชานาญ และความรอบรไู้ ด้มากทส่ี ดุ Easton (1953 : 111) ได้ให้คาจากัดความศัพท์การเมืองว่า การเมืองเป็นเรื่องของอานาจ (Power) อานาจหน้าท่ี (Authority) หรอื ความขัดแย้ง (Conflict) Max Weber (1964 : 89) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มในสังคมเพ่ือให้ ได้มาซงึ่ อานาจวาสนา Roland Pennock and David Smith (1964 : 9) ให้ความหมายว่า การเมือง เป็นสิ่งท่ีเก่ียวกับ อานาจเปน็ องค์กรทางสงั คมหรอื สถาบนั ท่ีได้รับการยอมรับว่ามีอานาจเด็ดขาดในการรักษาความสงบเรียบร้อย ของสงั คม ตลอดจนดารงรักษาสังคมและมีอานาจทาใหว้ ัตถุประสงคร์ ่วมของสมาชิกในสังคมประสบผลสาเร็จ กล่าวโดยสรุป การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพันกับอานาจและการปกครอง ไม่ว่าสภาวการณ์ใดหรือ สถาบันใด หากมีการต่อสู้แข่งขันกันเพ่ือแสวงหาอานาจที่เหนือกว่ากันแล้ว ก็เป็นการเมืองทั้งส้ิน นอกจากน้ี การเมืองยังเป็นเรื่องท่ีเก่ียวกับการปกครอง การดูแล จัดการให้มนุษย์อยู่กันอย่างเป็นธรรมและเป็นระเบียบ การเมืองจึงเปน็ สว่ นหนงึ่ ของชีวิตมนุษยแ์ ละเปน็ สง่ิ ทด่ี ีงาม เป็นทงั้ ศาสตร์และศิลปข์ องการปกครอง ซึ่งสามารถ ศึกษาและเรียนรู้ได้เช่นเดียวกับศิลปะและศาสตร์สาขาอื่นท่ีมีอยู่ในโลกเรื่องของการเมืองเป็นเรื่องท่ีมี ความสาคัญทง้ั ต่อบคุ คลต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ท้ังน้ีเพราะการเมืองเป็นเรื่องท่ีเก่ียวข้องกับคนทุก คน ดังท่ีอริสโตเติล กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์การเมือง อีกท้ังการเมืองยังเป็นเร่ืองเกี่ยวพันกับอานาจและการ แบ่งปันผลประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม ถ้ารัฐใดประเทศใดมีระบบการเมืองที่ดี มีสถาบันทางการเมืองที่ม่ันคงมี นักการเมืองที่มีคุณภาพ รัฐนั้นประเทศนน้ั ก็จะเจรญิ รุง่ เรือง และพฒั นาก้าวหนา้ ไปในทศิ ทางที่ถูกต้อง ขอบขา่ ยของวชิ ารฐั ศาสตร์ การศึกษาวิชารัฐศาสตร์เป็นการศึกษาถึงอานาจรัฐและส่ิงแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อรัฐที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของอนาคต การศึกษาประวิติศาสตร์ของนักรัฐศาสตร์ก็คือ การศึกษา เพอื่ จะใหไ้ ดส้ มมติฐานและคาทานายเหตกุ ารณท์ ่ีเกดข้ึนในปัจจุบันและอนาคต จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งท่ีท่าน จะตอ้ งตดิ ตามขา่ วสารบา้ นเมอื งอย่างสมา่ เสมอ เขา้ ใจเหตุการณ์บา้ นเมืองโดยใช้ทฤษฎีบททางรัฐศาสตร์เข้ามา วิเคราะห์วิชารัฐศาสตร์ในปัจจุบันจึงขยายขอบข่ายตามไปด้วย โดยปัจจุบันสาขาวิชารัฐศาสตร์ได้เพิ่มขยาย มากมาย สามารถสรปุ ได้ (อา้ งแล้วใน, ทินพนั ธ์ นาคะตะ, 2525) ดงั น้ี 1. ปรชั ญาการเมือง (political philosophy) สาขาวิชาปรัชญาการเมือง จะรวมเอาการศึกษาวิชา ปรัชญาการเมือง การศึกษาทฤษฎีการเมือง และการศึกษาแนวคิดทางการเมืองไว้ด้วยกัน การศึกษาในแนว ปรัชญาการเมืองนี้จะมุ่งศึกษาเกี่ยวกับหลักการทฤษฎีบท แนวคิดทางรัฐศาสตร์ ซ่ึงเป็นวิธีการศึกษาท่ีเก่าแก ที่สดุ ในอดีตการศึกษาในแนวนี้เน้นทางด้านศีลธรรมจรรยา การพูดถึงสังคมอุดมคติโดยไม่ค่อยได้ใช้หลักความ จริงเข้ามาพิสูจน์ ซ่ึงวิธีการน้ีสามารถย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ในปัจจุบันการศึกษาวิชาน้ีได้พยายาม นาเอาหลักความจริงหรอื เหตุการณ์ต่างๆทเี่ กดิ ข้ึนเข้ามาประยกุ ต์ในการศึกษามากข้ึนโดยพยายามค้นคว้าความ

จริงเพอ่ื สรปุ เปน็ ทฤษฎเี พอื่ หาแกน่ แท้ของวิชารัฐศาสตร์ ทาให้การศึกษารัฐศาสตร์ได้ใช้ประโยชน์จากหลักการ ของปรชั ญาการเมอื งมากมาย เชน่ หลกั การแบง่ สนั อานาจ หลกั การตรวจสอบถ่วงดลุ หลักแหง่ กฎหมาย 2. กฎหมายมหาชน หรือ กฎหมายสาธารณะ (public law) การศึกษากฎหมายมหาชน คือ การศกึ ษาทม่ี ีระหว่างรัฐกบั ประชาชนซึ่งจะตา่ งกบั กฎหมายเอกชนที่ใชก้ าหนดความสัมพนั ธร์ ะหว่างเอกชนด้วย กนั เอง การศกึ ษากฎหมายมหาชนให้ความสาคัญกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายในสังคมท่ีเก่ียวกับความสัมพันธ์ ของประชาชนพลเมืองและรัฐบาล การศึกษากฎหมายมหาชนจะประกอบไปด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง การศึกษาในรูปแบบน้ีสามารถย้อนกลับไปได้ในสมัยโรมัน คือซิเซ โรนกั ปราชญ์ในสมัยน้ันได้บอกไว้ว่า รัฐกบั กฎหมายเปน็ สิ่งท่ีแยกจากกันไม่ได้ ท้ังสองเป็นคาอธิบายของกันและ กนั 3. รัฐประศาสนศาสตร์ (public administration) รัฐประศาสนศาสตร์เป็นสาขาวิชาท่ีค่อนข้าง ใหม่ในวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นผลของการขยายอานาจรัฐบาล รัฐประศาสนศาสตร์เป็นการเรียนเกี่ยวกับการ พัฒนาการของการบริหารในส่วนของรัฐบาล ซ่ึงแตกต่างจากการบริหารในส่วนของเอกชนเพราะเป็นการ บริหารองค์กรที่มีขนาดใหญ่กว่า และไม่ได้มุ่งหวังผลกาไรเหมือนการบริหารงานของเอกชน แต่มุ่งหวังที่ความ อยู่ดีมีสุขของผู้ได้รับบริการคือประชาชนท้ังหลาย วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีขอบเขตกว้างขวาง ต้องการ บุคลากรท่ีมีความรู้ความสามารถท้ังแบบเฉพาะทาง และความสามารถท้ังแบบเฉพาะทาง และความสามารถ ในด้านการบริหารในการนานโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้ได้ตามเป้าหมายโดยวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบไปด้วย 4 สาขาย่อยคือ การบริหารองค์การ การบริหารงานบุคคล การบริหารการคลัง และการ บริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐบาล ในการศึกษาการบริหารภาครัฐน้ันไม่ได้เน้นเฉพาะ ภาคปฏิบตั ขิ องการบริหาร แตย่ งั รวมถึงการสร้างและการเตรยี มการกาหนดนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย 4. ความสมั พันธร์ ะหว่างประเทศ (international relations) วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ เป็นวิชาใหม่ท่ีเพิ่งขยายตัวมาในช่วงหลังสงครามโลกคร้ังที่ 1 และสงครามครั้งท่ี 2 แต่เดิมการศึกษาวิชาน้ี มุ่งหวังท่ีจะผลิตบุคคลท่ีเข้ามาทางานในองค์กรระหว่างประเทศหรือกระทรวงต่างประเทศ แต่ในปัจจุบันที่ การเมืองระหว่างประเทศเข้ามามีอิทธิพลในการเมืองภายในประเทศมากขึ้น สาขาวิชาน้ีจึงมีความสาคัญใน การศึกษารัฐศาสตร์มากขึ้นตามลาดับการศึกษาในสาขาวิชาน้ีต้องการความ รู้ความเข้าใจเก่ียวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วัฒนธรรม และข้อมูลทางด้านจิตวิทยา ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่าน้ีมีบทบาทสาคัญใน การกาหนดบทบาทของแต่ละรฐั ในเวทีการเมืองระหวา่ งประเทศ ดังนั้นผู้เรียนวิชาน้ีจึงต้องมีความเชี่ยวชาญทั้ง ในวชิ ารฐั ศาสตรแ์ ละวิชาสงั คมศาสตรอ์ น่ื ๆดว้ ย 5. การเมืองการปกครอง (government) สาขาวิชาการเมืองการปกครองมุ่งผลิตบัณฑิตท่ีมีความ เชี่ยวชาญในเร่ืองเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ องค์กรต่างๆของรัฐบาล การเลือกตั้ง กลุ่มผลประโยชน์ การปกครอง ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถ่ิน ในอดีตผู้ท่ีเรียนจบในสาขาวิชาปกครองมุ่งที่จะออกมาเป็นข้าราชการ กระทรวงมหาดไทย แต่ในปัจจุบันท่ีการกระจายอานาจการปกครองเร่ิมขยายตัวในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างย่ิงได้กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่าสนับสนุ นการกระจายอานาจการปกครองส่วน ท้องถ่นิ ความตอ้ งการผเู้ ชยี่ วชาญในทางด้านการเมืองการปกครองท้องถ่ินจึงขยายตัวมากข้ึน นักศึกษาที่เรียน

วิชาการเมืองการปกครองมีหนทางเลือกในการเข้าไปมีบทบาทในการเมืองส่วนท้องถ่ิน เช่น องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตาบล เป็นต้น นอกเหนือจากการทางานในส่วนกลางคือกระทรวงมหาดไทย ดังท่ีกลา่ วมา 6. การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics) สาขาการเมืองเปรียบเทียบเป็นสาขาที่เก่าแก่ มาก มีการศึกษาพร้อมๆกับการศึกษาปรัชญาการเมืองในสมัยกรีกโดยอริสโตเติลผู้ซ่ึงพยายามศึกษาและ เปรียบเทียบรูปแบบของรัฐบาลสมัยนั้นการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบต้องการการวิเคราะห์และศึกษา การเมืองและสังคมการเมือง รวมถึงการศึกษารัฐธรรมนูญ องค์กรการบริหารและข้ันตอนในการบริหาร บทบาทของกลุ่มการเมืองนอกจากรัฐบาลรวมท้ังการศึกษาเปรียบเทียบนโยบายต่างๆของแต่ละรัฐด้วย การศึกษาการเมืองเปรยี บเทยี บจึงต้องการความรู้ความเข้าใจทุกด้านทางรฐั ศาสตร์ 7. เศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy) การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมุ่งเน้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและเศรษฐกิจ ซ่ึงแท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันได้ยาก แต่ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 วิชาเศรษฐศาสตร์ได้แยกตัวออกไปจากเศรษฐศาสตร์การเมือง โดยให้ ความสาคัญกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากขึ้น โดยลดความสาคัญของวิชาการทางด้านการเมืองลงและ ทาให้การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองค่อยๆลดความสาคัญลงไปอย่างไรก็ตามในช่วงทศวรรษที่ 70 ในช่วง สงครามเวียดนามวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองค่อยๆทวีความสาคัญมากข้ึนจนกระท่ังถึงปัจจุบันในปัจจุบัน สังคมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น รัฐจะต้องเข้าไปจัดการกับปัญหาใหม่ๆขึ้นแทบทุกวันไม่ว่าจะเป็นเร่ือง กฎหมาย การค้า การเงนิ การธนาคาร หรือปัญหายาเสพติด ปัญหาส่ิงแวดล้อม ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการความรู้ ใหม่ ๆ มาจัดการกับประเด็นและปัญหาเหล่านี้ รัฐศาสตร์จึงมีการขยายสาขาวิชาเพ่ิมมากมาย เช่น สาขา การเมืองการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ สาขาจิตวิทยาการเมือง เป็น ตน้ ความเปน็ มาของวชิ ารัฐศาสตร์ ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยังไม่มีการศึกษาถึงพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์อย่างกว้างขวาง เป็น เพียงศึกษารัฐศาสตร์ท่ีเน้นหนักไปในแง่ของศาสนา ปรัชญา ศีลธรรม ของมนุษย์ในสังคมเท่าน้ัน เมื่อเข้ามาใน คริสต์ศตวรรษที่ 19 นักปรัชญาท้ังหลายจึงได้รวบรวมเน้ือหาสาระและขอบข่ายของวิชารัฐศาสตร์ไว้มากข้ึน เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเองและในขณะเดียวกันวิชารัฐศาสตร์ก็เป็นแขนงวิชาหนึ่งในกลุ่มสังคมศาสตร์ (Social Sciences) แต่วิชารัฐศาสตรก์ ็ได้มผี ูศ้ ึกษารวบรวมและพัฒนามาโดยลาดับ ซ่ึงสามารถแบ่งยุคแห่งวิชา รฐั ศาสตร์ไดเ้ ปน็ 4 ยคุ (ทนิ พันธ์ นาคะตะ, 2525) คือ

1. ยุคกรีกโบราณ (Ancient Greeks) การศึกษาเรื่องรัฐและการเมืองน้ันได้เร่ิมต้นมาต้ังแต่สมัยกรีก โบราณคือ ประมาณ 500 ถึง 300 ปีก่อนคริสตกาล อาจเรียกปราชญ์เพลโต(Plato) ได้ว่าเป็นบิดาของวิชา ทฤษฎีการเมือง และปราชญ์อริสโตเติล (Aristotle) ควรจะได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์ ปราชญท์ ง้ั สองทา่ นได้พิจารณารัฐในแงค่ ิดปรัชญา ซ่ึงถือว่าความรู้ทุกอย่างเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันหมด ยังมิได้ แยกศึกษาวิชารัฐศาสตร์ออกมาโดยเฉพาะอย่างชัดเจน คือวิชาการนี้ยังรวมอยู่กับศาสตร์อ่ืน ๆ โดยเฉพาะ ปรัชญาศีลธรรมทางศาสนา เพราะความเช่ือของคนในยุคนั้นฝังแนบแน่นอยู่กับศาสนา จึงทาให้คาสอนของ ศาสนามีอิทธิพลต่อการเป็นอยู่ของคนในสังคม ความคิดท่ีจะพ่ึงพาอาศัยผู้ปกครองจึงมีน้อย ซ่ึงเป็นผลทาให้ ขาดการรวบรวมเนอ้ื หาสาระของรัฐศาสตรข์ ้นึ เปน็ หมวดหมขู่ องตนเองอย่างชดั เจนดงั กลา่ วแล้ว 2. ยุคโรมันโบราณ (Ancient Roman) ในยุคนี้ได้มีนักปราชญ์หันมาสนใจศึกษาวิเคราะห์วิชา รฐั ศาสตร์อยา่ งจรงิ จังมากขน้ึ โดยเฉพาะหลกั นิติศาสตร์และหลักในทางรัฐประศาสนศาสตร์ จึงทาให้จักรวรรดิ โรมันได้ถ่ายทอดมรดกทางรัฐศาสตร์ อันได้แก่ความคิดในทางกฎหมาย หลักนิติศาสตร์ และหลักในทางรัฐ ประศาสนศาสตร์ให้กับชาวโลก ส่วนนักปราชญ์คนสาคัญในยุคนี้คือ J. W. Burgess ผู้ได้หันมาศึกษาวิเคราะห์ วิชารัฐศาสตร์อย่างแท้จริง แต่ยังจากัดอยู่เพียงในวงแคบ ๆ เฉพาะในแบบท่ียึดตัวบทกฎหมายเป็นหลัก ต่อมา ในระยะหลัง ๆ จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าตาราทางรัฐศาสตร์ขึ้นมาอย่างจริงจัง ทั้งน้ีก็เพื่อให้ประชาชนได้รู้ สาระสาคัญต่าง ๆ คือ 1) เรื่องกฎหมาย 2) เรื่องรูปแบบโครงสร้างการปกครอง 3) เร่ืองอานาจของรัฐบาล รฐั สภาและศาล 4) เรื่องนโยบายเป้าหมายของการปกครองแตล่ ะรูปแบบ 3. ยุคกลาง (The Middle Ages) ในยุคน้คี วามสาคัญของรัฐหรือฝ่ายอาณาจักรลดน้อยลงกว่าฝ่ายศา สนจักร เพราะการปกครองยังแนบแน่นอยู่กับผู้นาทางศาสนา จึงทาให้ฝ่ายศาสนจักรเข้ามามีอิทธิพลต่อการ ออกระเบียบข้อบังคับ กาหนดนโยบายของรัฐ รวมท้ังการแต่งต้ังถอดถอนกษัตริย์หรือประมุขของรัฐ “ทฤษฎี การเมือง (political Theory) ได้กลายเป็นสาขาหน่ึงของศาสนศาสตร์ (Theology) นอกจากน้ันศาสนายังมี อานาจในการวินิจฉัยข้อโต้แย้งทางการเมืองโดยไม่จาเป็นต้องพิจารณาด้วยวิธีการรวบรวมข้อเท็จจริง (Empirical) และทางปฏบิ ัติแต่ประการใด” 4. ยุคพ้ืนฟู (The Renaissance) แนวความคิดความเช่ือของคนในยุคนี้พยายามท่ีจะลดอิทธิพลของ ฝา่ ยศาสนจักร หันมาให้ความสนใจเก่ียวกับรัฐมากกว่า เป็นต้นว่า ความม่ันคงของรัฐ ผลประโยชน์ของรัฐและ เอกภาพของชาติ จึงทาให้ยุคน้ีเกิดภาวะแห่งรัฐชาติ (National State) กลุ่มคนท่ีมีเชื้อชาติศาสนาต่าง ๆ ก็ พยายามรวมตัวกนั สรา้ งชาตขิ ึ้นมาดว้ ยความรู้สึกนึกคิดแบบชาตินิยม (Nationalism) การศึกษารัฐศาสตร์สมัย น้ีเน้นศึกษาพฤติกรรมศาสตร์มากกว่าทฤษฎี โดยพยายามศึกษาค้นคว้าหาวิธีวิเคราะห์วิจัยทฤษฎีเพื่อนาไปสู่ การปฏิบัติให้ได้ ส่วนนักปราชญ์คนสาคัญในยุคนี้มีหลายท่าน เช่น Wallas ได้ศึกษาข้อมูลเหตุจูงใจทาง การเมือง Lasswel ศึกษาอิทธิพลท่ีกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ทางการเมือง Lasswel ได้นาเทคนิคมา วเิ คราะห์ศกึ ษาอิทธพิ ลของมนุษยต์ ่อกิจกรรมทางการเมือง เปน็ ตน้ แนวทางการศึกษารฐั ศาสตร์ (Approaches in Political Science)

หลักของการศึกษารัฐศาสตร์ (บรรพต วีระสัย สุรพล ราชทัณฑารักษ์ และบวร ประพฤติดี, 2526) คือ การแสวงหาหนทางหรือการที่จะทาความเข้าใจ (understanding) ถึงท่ีมาและความเป็นไปของปรากฏการณ์ ตา่ ง ๆ ในทางการเมือง เพ่อื ทีจ่ ะหาคาอธิบายและคาดการณแ์ นวโนม้ของปรากฏการณด์ งั กล่าวในอนาคต ไม่ว่า จะมีการนาความรู้ด้านนี้ไปใช้เพียงใด หรือไม่ และเพ่ือวัตถุประสงค์ใดก็ตามการท่ีจะเข้าใจปรากฏการณ์ทาง การเมอื งไดอ้ ย่างชดั เจนนัน้ จะต้องอาศัยวธิ ีการวิเคราะห์เป็นเคร่ืองมือสาคัญ ท้ังน้ีเพราะการวิเคราะห์เป็นการ จาแนกสงิ่ ต่าง ๆ ทีเ่ ก่ยี วข้องกับปรากฏการณ์ ด้วยการช้ีให้เห็นถึงระดับ ประเภทและทิศทางของความสัมพันธ์ ท่ีดารงอยู่ในภาวะการณ์หนึ่ง อันทาให้เข้าใจได้ว่าปรากฏการณ์ทางการเมืองน้ันคืออะไร ทาไมจึงเกิดขึ้นและ เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือกล่าวได้ว่า นักรัฐศาสตร์จะใช้แนวทางการศึกษาวิเคราะห์มาเป็นกรอบความคิด (Conceptual Framework) สาหรับการมองขอบข่าย สาระ และปัญหาของเรื่องรวมหรือปรากฏการณ์ทาง การเมืองที่สนใจ ซึ่งความพยายามท่ีจะทาความเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองน้ี ได้ก่อให้เกิด แนวทางการศึกษาการเมืองหรือรัฐศาสตร์ขึ้นมาอย่างหลากหลาย เริ่มจากแนวทางท่ีเก่าแก่ท่ีสุดคือการนา แนวคิดเชิงปรัชญามาใช้พิจารณาและเลือกเป้าหมายทางการเมืองเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้เกิดความ สัมฤทธ์ผลในเป้าหมายน้ัน นอกจากน้ียังได้แก่ แนวคิดเชิงอานาจ แนวคิดเรื่องสถาบัน แนวคิดในเรื่อง กระบวนการนโยบายสาธารณะ เป็นต้น ซ่ึงแต่ละแนวทางก็มีกรอบการมองและวิเคราะห์การเมืองแตกต่าง กันลงไปในหลักการและรายละเอียด ทั้งนี้ สนธิ เตชานันท์ (2543 หนา้ 88-90) ได้จาแนกแนวทางการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ไว้เป็น 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1. แนวทางการศกึ ษาวเิ คราะห์รฐั ศาสตรเ์ ชิงนโยบาย (policy approach) แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้ พิจารณาการเมืองในแง่กระบวนการกาหนดนโยบาย ด้วยการนา แนวคิดเชิงระบบ (System analysis) มาศึกษา อธิบายรวมท้ังเป็นแนวทางการปรับปรุงกระบวนการนาเข้า (input) ส่วนท่ีทาหน้าท่ีแปลงส่ิงนาเข้า (conversion) ส่วนนาออกจากระบบ (output) และส่วนย้อนกลับ (feedback) โดยมีความมุ่งหมายท่ีจะทาความเข้าใจและอธิบายการดาเนินการของกระบวนการต่าง ๆ ดงั กลา่ วจากการสังเกตผลการดาเนินงานเท่าที่จะสามารถกระทาได้ อันเป็นผลให้รัฐศาสตร์ได้รับการพิจารณา วา่ เป็นวชิ าท่เี นน้ ในเรอื่ งนโยบายศาสตร์ 2. แนวทางการศกึ ษาวเิ คราะห์เชงิ อานาจ (power approach) แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้เห็นว่า อานาจ (power) และการต่อสู้แข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่ง อานาจ เป็นแก่นสารัตถะหรือเน้ือแท้ของการเมือง ซ่ึงแตกต่างไปจากแนวทางการวิเคราะห์เชิงนโยบายอย่าง มาก เนื่องจากมิได้ให้ความสนใจมองว่าการเมืองเป็นกระบวนการที่มีระเบียบแบบแผนตามตัวแบบระบบ (systems model) แต่การเมือง เป็นการต่อสู้แข่งขันและการแสดงออกเชิงอิทธิพลของคนหรือกลุ่มคนท่ี ครอบงาต่อการทางานของระบบการเมือง ด้วยเหตุนี้ การศึกษาวิเคราะห์การเมืองแนวนี้ จึงมีสาระสาคัญใน การศึกษาถึงประเด็นการได้มาซึ่งอานาจ การใช้อานาจ และการคงไว้ซ่ึงอานาจทางการเมืองโดยเช่ือว่าจะเป็น วิธีท่ีดีที่สุดและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากท่ีสุดในการทาความเข้าใจและอธิบายถึงคงามพ่ายแพ้และชัย ชนะทางการเมืองได้

3. แนวทางการศึกษาวเิ คราะห์เชิงศีลธรรมหรอื เป้าหมาย (moral and goals approach) แนวทางการศึกษาแบบน้ี มิได้ให้ความสนใจต่อกระบวนการของระบบการเมืองและอานาจทางการ เมืองเช่นเดียวกับแนวทาง 2 แนวทางท่ีได้กล่าวมาแล้ว แต่เป็นการพิจารณาถึงทิศทางและเป้าหมายของ การเมือง ซ่ึงประกอบไปด้วยลักษณะทางศีลธรรม รูปแบบพ้ืนฐานของความชอบ ความถูกต้อง และความ เหมาะสมทางการเมือง ซึ่งก็ต้องพิจารณาถึงข้อจากัดของขอบเขตอานาจทางการเมือง อันดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ ง่ายนักตอ่ การทาความเขา้ ใจ และมกั ปรากฏว่ามีนักรัฐศาสตร์จานวนน้อยท่ีเห็นด้วยกับแนวทางการศึกษาแนว นี้ เมอื่ เปรยี บเทยี บกบั แนวทางการศึกษาวเิ คราะหร์ ฐั ศาสตร์เชิงนโยบายและเชิงอานาจเชน่ ท่ีได้กล่าวถึงแลว้ การจาแนกแนวทางการศึกษารฐั ศาสตร์ (Methodology in Political Science) ระเบียบวิธีการศึกษา หมายความรวมถึง วิถีทางที่คน ๆ หนึ่งใช้ในการศึกษา ไม่ว่าจะนิยามหรือคา จากัดความ หรือแนวทางในการวิเคราะห์ อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาที่เป็นระบบหรือไม่ มีการสร้าง แบบจาลองหรือตัวแบบของการศึกษาไว้หรือไม่ก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาแต่ละแบบท่ีมีอยู่ในการศึกษาวิชา รฐั ศาสตรน์ ้ัน จะเปน็ แนวทางที่ชว่ ยใหน้ ักรัฐศาสตร์สามารถทาความเข้าใจและอธิบายเก่ียวกับเรื่องการเมืองได้ อย่างถูกต้องมากย่ิงขึ้น เกิดความรู้ความเข้าใจท่ีเท่ียงตรง และเนื่องจากรัฐศาสตร์มิได้กล่าวถึงเพียงแต่เร่ือง การเมืองการปกครองประการเดียว แต่ยังหมายความกว้างถึงการศึกษาเกี่ยวกับการแจกแจงคุณค่าในเชิง อานาจ การบริหารและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของสังคมรัฐศาสตร์นอกจากที่ต้องอาศัยองค์ความรู้เฉพาะแล้ว ยงั เป็นการสานความร้หู รือประสมประสานบูรณาการความร้ใู นศาสตร์ด้านอื่น อาทิประวัติศาสตร์ เศรษศาสตร์ การจดั การมนุษยวิทยา เปน็ ตน้ ประกอบเข้าไปด้วย ในอนั ที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจส่ิงท่ีศึกษาเรื่องรัฐศาสตร์ ทม่ี ีความสลบั ซบั ซ้อน เป็นไปอย่างแตกฉานย่งิ ขึน้ วิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์หากพิจารณาตามนิยามท่ีกล่าวถึงข้างต้นแล้ว ก็กล่าวได้ว่าระเบียบวิธี การศึกษาเกิดข้ึนมาตั้งแต่แรกเร่ิมมีการศึกษาเก่ียวกับเรื่องการเมืองน่ันเอง เพียงแต่แตกต่างกันไปบ้างตาม จุดเน้นของแต่ละวิธี ซึ่งพิจารณาได้จากงานเขียนของ สนธิ เตชานันท์ (2543 : 9-17) ซ่ึงได้จาแนกไว้อย่าง นา่ สนใจ ดงั น้ี 1. แนวทางการศกึ ษารฐั ศาสตร์แบบเก่า (Traditional political science) แนวการศึกษาแบบน้ีประกอบไปด้วยระเบียบวิธีการศึกษาหลายแบบ แต่ละแบบก็แตกต่างกันไปบ้าง ดงั น้ี 1.1 แบบปรัชญาการเมืองคลาสสิค (Classical political philosophy) แนวทางการ วิเคราะห์แบบนีถ้ ือได้ว่าเปน็ วธิ ีท่ีเก่าแก่ที่สุด โดยมีลักษณะท่ีสาคัญคือ การประเมินค่าสิ่งท่ีนักปรัชญาการเมือง สนใจ ประกอบกับการใช้วิธีการอนุมานหรือคาดคิดเอาด้วยเหตุด้วยผลเท่าที่มีอยู่ว่าการเมืองคืออะไร ระบบ การปกครองทด่ี ีท่สี ดุ ผู้ปกครองท่ีดที ส่ี ุดควรจะเป็นอย่างไร ดังที่ไดก้ ล่าวไปแล้วในเร่อื งแนวทาง

1.2 แบบประวัติศาสตร์ (Historical method) แนวทางการศึกษาแบบน้ีได้เร่ิมต้นข้ึนมา ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ใน สหรัฐอเมริกาและยังคงใช้กันมากในปัจจุบัน โดยนักรัฐศาสตร์เช่ือกันว่า รัฐศาสตร์มีต้นกาเนิดมาจากสาขาวิชาประวัติศาสตร์ หรือเป็นวิชาประวัติศาสตร์การเมืองซ่ึงรวมตลอดถึง ประวัติพรรคการเมือง ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และประวัติความคิดทางการเมืองท่ีสาคัญต่าง ๆ และเหน็ ว่าวิธกี ารศกึ ษาแบบนเี้ ป็นส่ิงจาเปน็ ทช่ี ่วยให้สามารถทาความเข้าใจความเป็นจริงของสถาบันการเมือง ตา่ ง ๆ ไดอ้ ย่างถ่องแท้ 1.3 แบบกฎหมาย (Legalistic method) แนวทางการศึกษาแบบน้ีถือว่า เป็นเรื่องธรรมดาท่ี การศกึ ษาในเรอื่ งการเมอื งกับกฎหมายหรอื ระบบกฎหมายมคี วามเก่ยี วพันกนั และไดก้ ลายเป็นส่ิงท่ีวางพื้นฐาน การศึกษารฐั ศาสตร์อเมริกนั ที่พจิ ารณาวา่ รฐั ศาสตร์แท้จริงแลว้ คอื การศกึ ษาระบบกฎหมายและรฐั ธรรมนญู 1.4 แบบวิเคราะห์สถาบัน (Institutional analysis method)แนวทางการวิเคราะห์แบบนี้ เกดิ ขนึ้ จากความตระหนกั ของนักรฐั ศาสตร์ว่าการเมอื งเป็นสง่ิ ทมี่ ากไปกวา่ ระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และ เพ่ือให้มีการพูดถึงการเมืองตามความเป็นจริงและเพียนงพ่อต่อการทาความเข้าใจรัฐศาสตร์ที่ไม่สามารถหา คาตอบไดจ้ ากวิธีการศกึ ษาแบบกฎหมายและประวตั ศิ าสตร์ การวิเคราะห์สถาบันการเมืองจะเป็นวิธีการหน่ึงที่ ช่วยให้นักรัฐศาสตร์มองเห็นหรือได้ศึกษาเกี่ยวกับความป็นจริงทางการเมืองมากท่ีสุด แต่อย่างไรก็ดี จุดมุ่งหมายของวิธีการศึกษาแบบนี้มีลักษณะสาคัญของการพรรณารายละเอียดสถาบันทางการเมือง อานาจ บทบาทและหน้าท่ขี องประธานาธบิ ดี ด้วยวธิ ีการสงั เกตที่ไมล่ กึ ซง้ึ ท่มี ใิ ชก่ ารอธบิ ายระบบการเมือง 2. ระเบยี บวธิ ีการศกึ ษาเชงิ พฤติกรรมนยิ ม (Behavioralism) ภายหลังท่ีนักรัฐศาสตร์ได้หันเหความสนใจไปศึกษาการเมืองในเชิงวิเคราะห์มากข้ึน เพื่อจะยกฐานะ ของวิชารัฐศาสตร์ใหท้ ดั เทยี มกบั วิชาสงั คมศาสตรอ์ ่นื ๆ พรอ้ มกบั ความกา้ วหน้าทางระเบียบวิธีการศึกษาหลาย อยา่ งท่อี าศยั วธิ กี ารทางวทิ ยาศาสตร์มาใช้ ได้ก่อให้การศึกษาวิชารัฐศาสตร์หันเหความสนใจจากเดิมที่เป็นการ อนุมานหรือการประเมินค่าส่ิงที่ศึกษาตามความเห็นหรือทัศนะของนักรัฐศาสตร์ เช่นที่นักวิชาการบางท่าน เรียกว่าเป็น “การคาดคิดไปตามอาเภอใจ” ซ่ึงได้รับการวิพากษ์ถึงความน่าเชื่อถือในแง่ความเป็นศาสตร์ท่ี สามารถนามาอธิบายการเมืองได้อย่างกว้างขวางถูกต้อง ได้เป็นสิ่งผลักดันให้รัฐศาสตร์นาเอาเทคนิควิธีศึกษา เชิงศาสตร์อันได้แก่วิธีการเชิงปริมาณ การรวบรวมข้อมูลที่พิสูจน์ได้ สนใจปรากฎการณ์ท่ีสังเกตได้ การวัดท่ีมี ความถกู ตอ้ งแมน่ ยา การวิเคราะหอ์ ยา่ งมีระเบียบวิธีและอ้างอิงทฤษฎี โดยเช่ือว่าทฤษฎีและผลของการค้นพบ ท่ีนาไปสู่ข้อสรุป จะช่วยเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งที่สาคัญของรัฐศาสตร์ทุกสาขา มาใช้ใน การศึกษาวิเคราะห์โดยเฉพาะในส่วนท่ีเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์ไปด้วย โดยแนวทาง การศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมด้านหน่ึงได้แก่การเน้นในการศึกษาพฤติกรรมของผู้ดาเนินการทางการเมือง เป็นสาคัญ ท่ีมักจะปฏิเสธแนวทางแบบวิเคราะห์สถาบัน ซึ่งนักรัฐศาสตร์บางท่านเช่น เดวิด อีสตัน (David Easton) ได้เรียกร้องใหน้ ักรัฐศาสตร์หันมาสนใจศึกษาเกีย่วกบั กิจกรรมทางการเมืองมากกว่าการศึกษาสถาบัน ทางการเมอื ง 3. ระเบียบวิธกี ารศึกษายคุ หลงั พฤติกรรมศาสตร์ (Post-behavioralism)

วิธีการศึกษาแบบน้ีมีท่ีมาจากการที่นักวิชาการรัฐศาสตร์รุนใหม่ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ไม่ ยอมรับระเบียบวิธีการศึกษาแบบพฦติกรรมนิยมที่ยึดมั่นวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากเกินไป โดยวิภาควิจารณ์หรือ กลับเคล่ือนไหวปฎิรูปวิชารัฐศาสตร์หรือเป็นยุคท่ีเรียกว่า “การปฏิวัติยุคหลังแนวการศึกษาเชิงพฤติกรรม (the Post-behavioralism Revolution)” โดยสาระสาคัญในแนวคิดของนักรัฐศาสตร์กลุ่มนี้คือเห็นว่าย่ิงรัฐศาสตร์ใช้ วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับการแยกค่านิยมออกจากการเมืองมากเท่าใด นักรัฐศาสตร์ก็จะ ยิ่งห่างไกลจากการเมืองมากขึ้นเท่านั้น และจะทาให้นักรัฐศาสตร์มุ่งแต่ความสนใจที่จะศึกษาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มากกว่าท่ีจะมองปัญหาสาคัญ ๆ ทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ นักรัฐศาสตร์จึงต้องให้ความสาคัญต่อค่านิยมในการ พจิ ารณาตัดสนิ เร่อื งการเมืองการปกครอง อันแตกต่างไปจากการศึกษาเชิงพฤติกรรมนิยมท่ีมุ่งแยกส่วนค่านิยมออก จากข้อเทจ็ จริง ความสมั พันธร์ ะหวา่ งรัฐศาสตร์กบั สาขาวิชาอ่ืน ศาสตร์ในสังคมศาสตร์ประกอบด้วยศาสตร์ต่างๆหลายแขนง ซ่ึงรัฐศาสตร์ก็เป็นแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ และการศึกษารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาเกี่ยวกับรัฐลักษณะ หลักเกณฑ์และวิชาการปกครองของมนุษย์ ดังน้ัน การศกึ ษาวชิ ารัฐศาสตรจ์ ึงมีความสัมพนั ธ์และเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่นๆมากมาย (จริ โชค วรี ะสยั , 2543) คือ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาท่ีให้หลักฐาน และข้อมูล ต่างๆ เก่ียวกับเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้นในอดีต ซ่ึงนักรัฐศาสตร์สามารถใช้เป็นรากฐาน ในการวิเคราะห์หาแนวโน้มอง เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทั้งเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ จะทาให้นักรัฐศาสตร์เข้าใจถึงปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ปัญหาของบ้านเมือง 2. ความสัมพนั ธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาท่ีศึกษาเก่ียวกับการผลิตการ ใช้ทรัพยากร การจาหน่ายจ่ายแจก การแบ่งสันปันส่วน การบริโภค ซึ่งเป็นวิชาที่เก่ียวข้องกับประชาชนโดยท่ัวไป การปกครองประเทศจาเป็นต้องนาเอาวิชาเศรษฐศาสตร์มากาหนดนโยบายทางการเมืองด้วยการศึกษาวิชา รัฐศาสตร์จะได้ผลดีเมื่อสามารถเข้าใจลักษณะและพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์ สภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น ลักษณะพรมแดน ท่ีตั้ง ภูมอิ ากาศ ภูมิประเทศ ลักษณะของทรัพยากร เหล่าน้ีล้วนแต่เป็นปัจจัยสาคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง ของประเทศ เช่น การกาหนดนโยบายท้ังภายในประเทศและภายนอกประเทศ การจะเข้าใจปัญหาทางการเมืองของ ประเทศใด จาเปน็ ตอ้ งศึกษาปจั จัยทางด้านภมู ิศาสตร์ด้วย 4. ความสัมพันธ์ระหว่างวิชารัฐศาสตร์กับสังคมวิทยา สังคมวิทยาเป็นการศึกษาถึงสภาพสังคม ในด้าน โครงสร้าง ปัญหา การเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ของมนุษย์ วิชารัฐศาสตร์ต้องเก่ียวพันกับสังคมมนุษย์ การ เขา้ ใจ ลกั ษณะทางการเมือง หรอื ปญั หาทางการเมือง จาต้องนาหลกั ของสังคมวทิ ยา มาประกอบการพิจารณาด้วย 5. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับจิตวิทยา การปกครองจาเป็นต้องเกี่ยวข้องกับประชาชน ความ เจริญหรือความม่ันคงทางการเมืองข้ึนอยู่กับการสนับสนุนของประชาชน การศึกษาทางด้านจิตวิทยา ที่ศึกษาถึง จติ ใจอารมณ์พฤติกรรมของมนุษย์ จงึ เป็นประโยชนท์ จ่ี ะช่วยให้มกี ารกาหนดนโยบาย ทางการเมืองท่เี หมาะสมได้

6. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับจริยธรรม จริยธรรมเก่ียวข้องกับคุณธรรมและศีลธรรม วิชา รัฐศาสตร์ต้องอาศัยหลักจริยธรรมอย่างมาก เพราะการปกครองจะได้ผลดีหรือไม่อยู่ท่ีจริยธรรมของผู้ปกครอง และผู้ใต้ปกครอง การดาเนินงานทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการเมืองในประเทศ หรือการเมืองระหว่างประเทศ หากอย่ใู นหลกั ของจริยธรรมแลว้ ยอ่ มก่อใหเ้ กิดประโยชน์ต่อมนษุ ยอ์ ยา่ งมาก 7. ความสัมพันธ์ระหวา่ งรฐั ศาสตรก์ ับนิติศาสตร์ วชิ ากฎหมาย เป็นเร่ืองของกฎหมายข้อบังคับที่ช่วย ใหม้ นุษย์อย่รู ว่ มกันอย่างเป็นระเบียบ กฎหมายเป็นเคร่ืองมือของรัฐ ท่ีจะทาให้รัฐสามารถดาเนินกิจการต่าง ๆ ทางการเมืองการปกครองไปได้อย่างเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ กล่าวได้ว่าความมั่นคงของทางการเมืองน้ัน เกี่ยวกบั กฎหมายและการบงั คับใช้กฎหมายเปน็ สง่ิ สาคญั สรปุ จากสาระสาคัญของวิชารัฐศาสตร์จะเห็นได้ว่า วิชารัฐศาสตร์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างกว้างขวาง โดยลาดบั และเป็นไปตามสถานการณ์ของโลกแต่ละสมยั ซ่ึงเดิมทีเดียวนั้นนักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ได้รวบรวม ข้อมูลเพ่ือให้อนุชนได้ศึกษาเพียงประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองเท่าน้ัน แต่เมื่อสังคมมนุษย์ได้มีการ เปลี่ยนแปลงจากสังคมที่คับแคบ คือเริ่มจากสังคมของวงศาคณาญาติมาเป็นรัฐชาติอย่างในปัจจุบัน จึงมี ความจาเป็นอยู่เองที่นักปราชญ์ทางการเมืองจะต้องพัฒนาวิเคราะห์ปัจจัยประยุกต์วิชาการเมืองให้เท่าทันต่อ การเจริญเติบโตท้ังทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เพ่ือท่ีจะให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจในด้าน การเมืองอย่างกว้างขวาง และผู้สนใจศึกษาสามารถท่ีจะเลือกเรียนแขนงวิชารัฐศาสตร์ตามที่ตนต้องการและ ถนัดได้ จึงนบั วา่ เป็นความกา้ วหน้าของวิชารัฐศาสตร์ คาถามท้ายบท 1. จงอธบิ ายแนวคิด ความหมาย และความสาคญั ของวชิ ารฐั ศาสตร์ มาพอเขา้ ใจ 2. รัฐศาสตร์และการปกครองมีความหมายเหมอื นหรอื แตกต่างกนั อยา่ งไร 3. จงอธิบายวิวัฒนาการของการศกึ ษาวิชารัฐศาสตร์ 4. สาขาวชิ าใดของรัฐศาสตร์ทท่ี า่ นมคี วามสนใจมากท่ีสดุ เพราะเหตใุ ด 5. แนวทางการศึกษารฐั ศาสตรแ์ บบเก่า (Traditional political science) มีลักษณะเปน็ อย่างไร 6. ระเบยี บวิธีการศกึ ษาเชงิ พฤติกรรมนยิ ม (Behavioralism) มลี ักษณะเป็นอยา่ งไร 7. ระเบียบวธิ ีการศกึ ษายคุ หลังพฤตกิ รรมศาสตร์ (Post-behavioralism) มสี าระสาคัญอยา่ งไร 8. วชิ ารฐั ศาสตร์มคี วามเก่ยี วขอ้ งกบั สาขาวชิ าอะไรไดบ้ ้าง 9. รัฐศาสตร์สมั พนั ธก์ ับเศรษฐศาสตรอ์ ย่างไร 10. รฐั ศาสตรส์ มั พนั ธ์กับปรัชญาอยา่ งไร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook