ชดุ วชิ า วัสดุศาสตร์ 2 รายวิชาเลือกบังคบั ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ รหสั พว22003 หลักสตู รการศกึ ษานอกระบบระดบั การศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551 สานกั งานสง่ เสรมิ การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย สานกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร กระทรวงศึกษาธกิ าร
ก คำนำ ชดุ วชิ าวสั ดศุ าสตร์ 2 รหัสวชิ า พว22003 ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น น้ี ประกอบด้วยเนื้อหา วัสดุศาสตร์รอบตัว การใช้ประโยชน์และผลกระทบจากการใช้วัสดุ การจัดการวัสดุท่ีใช้แล้ว การคดั แยกและการรไี ซเคิลวสั ดุ และการจัดการวสั ดอุ ันตราย เนื้อหาความรู้ ดงั กล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อใหผ้ ้เู รียน มีความรู้ ความเขา้ ใจเกีย่ วกับวัสดุและสามารถเปรียบเทียบสมบัติ ของวัสดุแต่ละชนิด การใช้ประโยชน์ การคัดแยกและการรีไซเคิลวัสดุในชีวิตประจาวัน รวมท้ัง ตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้วัสดุ ตลอดจนสามารถนาความรู้ไปใช้ ในการจัดการวัสดุ อนั ตรายในชีวติ ประจาวันของตนเอง และชุมชน สานักงาน กศน. ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ท่ีให้การสนับสนุน องค์ความรู้ประกอบการนาเสนอเนื้อหา รวมท้ังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทาชุดวิชา หวังเป็น อย่างยง่ิ ว่าชุดวชิ าน้ี จะเกิดประโยชนต์ อ่ ผู้เรยี น กศน. และสร้างความตระหนักในการจัดการวัสดุ ทใี่ ชแ้ ล้วอย่างร้คู ุณค่าต่อไป สานักงาน กศน.
ข คำแนะนำกำรใช้ชดุ วชิ ำ ชดุ วชิ าวสั ดศุ าสตร์ 2 รหสั วชิ า พว22003 ใช้สาหรบั นกั ศกึ ษาหลักสตู รการศึกษา นอกระบบระดับการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น แบง่ ออกเปน็ 2 ส่วน คอื สว่ นท่ี 1 โครงสรา้ งของชดุ วิชา แบบทดสอบกอ่ นเรยี น โครงสรา้ งหน่วยการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมเรียงลาดบั ตามหน่วยการเรยี นรู้ และแบบทดสอบหลังเรยี น สว่ นที่ 2 เฉลยแบบทดสอบและกิจกรรม ประกอบด้วย เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน และหลงั เรียน เฉลยและแนวตอบกิจกรรมทา้ ยหนว่ ยการเรียน เรยี งลาดบั ตามหน่วยการเรยี นรู้ วิธกี ำรใชช้ ดุ วชิ ำ ให้ผเู้ รยี นดาเนนิ การตามขน้ั ตอน ดังน้ี 1. ศกึ ษารายละเอียดโครงสรา้ งชดุ วชิ าโดยละเอียด เพ่ือให้ทราบว่าผูเ้ รยี น ตอ้ งเรียนรู้เนอื้ หาในเร่ืองใดบา้ งในรายวชิ าน้ี 2. วางแผนเพื่อกาหนดระยะเวลาและจัดเวลาที่ผู้เรียนมีความพร้อมท่ีจะศึกษา ชุดวิชาเพ่ือให้สามารถศึกษารายละเอียดของเน้ือหาได้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ พร้อมทา กจิ กรรมตามท่กี าหนดให้ทันกอ่ นสอบปลายภาค 3. ทาแบบทดสอบก่อนเรยี นของชุดวิชาตามที่กาหนด เพื่อทราบพ้ืนฐานความรู้ เดิมของผู้เรียน โดยให้ทาลงในสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้และตรวจสอบคาตอบจากเฉลย แบบทดสอบ เฉลยและแนวตอบกจิ กรรมท้ายหนว่ ยการเรียน 4. ศึกษาเนือ้ หาในชดุ วิชาในแต่ละหน่วยการเรียนรอู้ ย่างละเอียดให้เข้าใจ ทั้งใน ชุดวิชาและส่ือประกอบ (ถ้ามี) และทากิจกรรมทก่ี าหนดไวใ้ ห้ครบถ้วน 5. เมอ่ื ทากิจกรรมเสร็จแต่ละกิจกรรมแล้ว ผู้เรียนสามารถตรวจสอบคาตอบได้ จากเฉลยและแนวตอบกิจกรรมท้ายหน่วยการเรียน หากผู้เรียนตรวจสอบแล้วมีผลการเรียนรู้ ไมเ่ ปน็ ไปตามที่คาดหวงั ใหผ้ ้เู รยี นกลับไปทบทวนเนื้อหาสาระในเร่ืองน้ันซ้าจนกว่าจะเข้าใจแล้ว กลับมาทากจิ กรรมน้นั ใหม่
ค 6. เมือ่ ศึกษาเน้ือหาสาระครบทุกหน่วยแล้ว ให้ผู้เรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน และตรวจคาตอบจากเฉลยแบบทดสอบหลังเรียนที่ให้ไว้ในท้ายเล่ม เพ่ือประเมินความรู้หลัง เรียนหากผลไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ให้ผู้เรียนกลับไปทบทวนเน้ือหาสาระในเรื่องนั้นให้เข้าใจ อกี คร้งั หนงึ่ แลว้ กลบั มาทาแบบทดสอบหลังเรียนและตรวจให้คะแนนตนเองอีกครั้ง ผู้เรียนควร ทาแบบทดสอบหลงั เรียนให้ได้คะแนนไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 60 ของแบบทดสอบท้ังหมด (หรือ 24 ข้อ) เพ่อื ให้ม่ันใจวา่ จะสามารถสอบปลายภาคผ่าน 7. หากผู้เรียนได้ทาการศึกษาเน้ือหาและทากิจกรรมแล้วยังไม่เข้าใจ ผู้เรียน สามารถสอบถามและขอคาแนะนาได้จากครู ผรู้ ู้ หรอื แหล่งค้นควา้ อ่ืน ๆ เพ่มิ เติม กำรศกึ ษำค้นคว้ำเพ่มิ เติม ผู้เรียนอาจศึกษาหาความรู้เพ่ิมเติมได้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น หนังสือเรียน รายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์ ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษา ขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 หนังสือเรียนสาระพ้ืนฐาน รายวิชาวิทยาศาสตร์ พว31001 ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คู่มือการ จัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร คู่มือประชาชนเพ่ือการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ ขยะมลู ฝอยชมุ ชน วารสาร แผน่ พบั ประชาสมั พนั ธ์ อินเทอรเ์ น็ต ผู้รู้ และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นต้น กำรวดั ผลสัมฤทธ์ิทำงกำรเรียน การวดั ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี น หลักสูตรรายวชิ าเลอื กบังคบั “วสั ดศุ าสตร์ 2” เปน็ ดงั นี้ 1. ระหว่างภาค วดั ผลจากการทากิจกรรมหรอื งานท่ไี ด้รบั มอบหมายระหวา่ งเรียน 2. ปลายภาค วัดผลจากการทาขอ้ สอบวดั ผลสมั ฤทธปิ์ ลายภาค
ง โครงสรา้ งชุดวชิ า พว22003 วสั ดศุ าสตร์ 2 ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้ สาระการเรียนรู้ สาระความรูพ้ ื้นฐาน มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพ้ืนฐานเกี่ยวกับคณติ ศาสตร์ วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี มาตรฐานการเรยี นรู้ระดับ มคี วามรูค้ วามเขา้ ใจ และเหน็ คุณคา่ เก่ียวกับกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งมชี ีวิต ระบบนิเวศ ทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ มในทอ้ งถน่ิ และประเทศ สาร แรง พลงั งาน กระบวนการเปล่ียนแปลงของโลกและดาราศาสตร์ มจี ติ วทิ ยาศาสตร์และนา ความรไู้ ปใชป้ ระโยชนใ์ นการดาเนนิ ชีวิต ผลการเรียนรูท้ ี่คาดหวงั 1. มีความรู้ ความเขา้ ใจเกีย่ วกบั วสั ดศุ าสตรร์ อบตวั การใชป้ ระโยชน์และ ผลกระทบจากการใช้วัสดุ การจัดการวัสดุอนั ตราย การคัดแยกและการรไี ซเคลิ วัสดุ และการ จัดการวัสดุท่ีใช้แล้ว 2. ทดลองและเปรียบเทยี บสมบตั ิของวัสดชุ นิดตา่ ง ๆ ได้ 3. ตระหนกั ถงึ ผลกระทบทเี่ กิดจากการใช้วัสดใุ นชีวิตประจาวนั
จ สรปุ สาระสาคัญ 1. วัสดุศาสตร์ (Materials Science) เป็นการศกึ ษาองคค์ วามรู้ท่เี ก่ียวข้องกบั วัสดุ ท่ีนามาใช้ประกอบกันเป็นชิ้นงาน ตามการออกแบบ มีตัวตน สามารถสัมผัสได้ โดยวัสดุแต่ละ ชนิดจะมีสมบัติเฉพาะตัว ได้แก่ สมบัติทางฟิสิกส์ สมบัติทางเคมี สมบัติทางไฟฟ้า และสมบัติ เชิงกล วัสดุที่เราใช้หรือพบเห็นในชีวิตประจาวัน สามารถจาแนกตามแหล่งท่ีมาของวัสดุ ได้แก่ วสั ดธุ รรมชาติ แบง่ ออกเปน็ วัสดุธรรมชาติทีไ่ ดจ้ ากส่งิ มชี วี ติ และวัสดธุ รรมชาติที่ไดจ้ ากไม่มีชีวิต และวสั ดสุ ังเคราะห์ ซง่ึ เป็นวสั ดุทเ่ี กดิ จากกระบวนการทางเคมี 2. วสั ดศุ าสตร์มีความผกู พันกบั การดาเนินชีวิตของมนุษย์ มาเป็นเวลาช้านาน หรือ อาจกล่าวได้ว่า “วัสดุศาสตร์อยู่รอบตัวเรา” ซ่ึงวัตถุต่าง ๆ ล้วนประกอบข้ึนจากวัสดุ โดยการ พัฒนาสมบตั ขิ องวสั ดุให้สามารถใชง้ านในด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจาวันได้มากขึ้น ทาให้วัสดุที่ใช้ ในปัจจุบันมีความแข็ง ความยืดหยุ่น นาไฟฟ้า หรือนาความร้อนได้ดี ตามความเหมาะสมของ การใช้งาน 3. ขยะมูลฝอยที่เราพบเห็นในชีวิตประจาวัน เริ่มทวีคูณเพิ่มปริมาณข้ึนเรื่อย ๆ เพ่ือให้มีปริมาณขยะท่ีลดน้อยลง เราต้องมีการจัดการขยะมูลฝอยให้ถูกวิธี เพ่ือลดผลกระทบ ทจ่ี ะเกิดขึ้นกบั ส่งิ แวดล้อมมากท่ีสุด ในปัจจุบันการจัดการขยะมูลฝอยมีหลากหลายวิธี เป็นการ ผสมผสานเพ่ือให้เป็นกระบวนการท่ีเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของขยะมูล ฝอย การจัดการขยะมูลฝอยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง มีความยืดหยุ่น ไม่มีรูปแบบท่ีตายตัว ขึ้นกับเงื่อนไขและปัจจัยด้านการจัดการขยะมูลฝอยของท้องถ่ินนั้นๆ เช่น พ้ืนที่หรือสถานท่ี ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน และ ในปัจจุบันวิธีการจากัดขยะอย่างง่ายๆ ท่ีพบเห็น มี 2 วิธี คอื โดยการเผาไหม้และฝังกลบ 4. การคัดแยกวัสดุเป็นการลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากต้นทาง ได้แก่ ครัวเรือน สถานประกอบการหรือสถานที่สาธารณะ ทั้งน้ี ก่อนทิ้งขยะ ครัวเรือน หน่วยงาน หรือสถานท่ี สาธารณะต่าง ๆ ควรจดั ให้มีระบบการคัดแยกวัสดุประเภทต่าง ๆ เพอ่ื นาวสั ดุเหลา่ นั้นกลับไปใช้ ประโยชน์ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ และเข้าสู่ระบบการคัดแยกวัสดุเพ่ือนาไปรีไซเคิล เป็นการ เปลยี่ นสภาพของวัสดใุ หม้ ีมลู คา่ จากสิ่งท่ีไม่เป็นประโยชน์ ให้สามารถนากลับมาใช้ใหม่ และลด คา่ ใช้จา่ ยในการกาจดั ขยะทเี่ กิดข้นึ
ฉ 5. การจัดการวัสดุอันตราย ถือเป็นเร่ืองสาคัญที่ต้องใส่ใจให้มีการคัดแยกและการ จัดการที่ถูกต้องเหมาะสม เพ่ือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดข้ึนต่อสุขภาพและส่ิงแวดล้อม โดยการลดปริมาณขยะอันตราย จากการเลือกซื้อ การใช้ การท้ิง รวมถึงการรวบรวม เพื่อนาไปสู่ การจัดการขยะอันตรายที่ถูกวิธี รวมไปถึงการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ท่ีเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งานไม่สามารถนากลับมาใช้ได้โดยคานึงถึงความ จาเป็นทจี่ ะต้องใช้สิ่งของเหล่านี้อย่างรู้คุณค่า และสามารถช่วยลดปริมาณขยะอันตรายให้เหลือ นอ้ ยทีส่ ดุ ได้ ขอบข่ายเน้ือหา จานวน 30 ชว่ั โมง หน่วยท่ี 1 วสั ดุศาสตร์รอบตวั จานวน 20 ช่วั โมง หนว่ ยท่ี 2 การใช้ประโยชน์และผลกระทบ จานวน 15 ชว่ั โมง จานวน 30 ช่วั โมง จากการใช้วัสดุ จานวน 25 ชัว่ โมง หน่วยท่ี 3 การจัดการวัสดุท่ใี ช้แล้ว หน่วยที่ 4 การคัดแยกและการรไี ซเคลิ วัสดุ หนว่ ยที่ 5 การจดั การวัสดอุ นั ตราย การจดั ประสบการณก์ ารเรียนรู้ 1. บรรยาย 2. ศกึ ษาคน้ ควา้ ดว้ ยตนเองจากสอ่ื ที่เกี่ยวข้อง 3. พบกลมุ่ อภปิ ราย แลกเปล่ียนเรยี นรู้ วเิ คราะห์ และสรุปการเรียนรทู้ ไ่ี ด้ ลงในเอกสารการเรียนรดู้ ว้ ยตนเอง (กรต.)
ช ส่ือประกอบการเรยี นรู้ 1. สือ่ เอกสาร ไดแ้ ก่ 1.1 ชุดวิชา วสั ดุศาสตร์ 2 รหสั วิชา พว22003 1.2. สมดุ บันทึกกจิ กรรมการเรียนรู้ ชุดวิชา วัสดุศาสตร์ 2 2. สือ่ อิเล็กทรอนกิ ส์ ไดแ้ ก่ 2.1 เวป็ ไซต์ 2.2 หนงั สอื เรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรูว้ ิทยาศาสตร์ 2.3 CD,DVD ทีเ่ ก่ียวข้อง 3. แหลง่ เรยี นรู้ในชมุ ชน ไดแ้ ก่ 3.1 มุมหนังสอื กศน.ตาบล 3.2 หอ้ งสมุดประชาชนอาเภอ 3.3 หอ้ งสมุดประชาชนจงั หวัด 3.4 ศูนยว์ ิทยาศาสตรเ์ พ่ือการศึกษา 3.6 เทศบาลและสานักงานสงิ่ แวดล้อม จานวนหน่วยกติ ระยะเวลาเรยี นตลอดหลกั สตู ร จานวน 120 ช่วั โมง รวม 3 หน่วยกิต กจิ กรรมการเรียนรู้ 1. ทาแบบทดสอบก่อนเรียนและตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายเลม่ รายวิชาวัสดศุ าสตร์ 2 2. ศึกษาเน้อื หาสาระในหนว่ ยการเรียนรู้ทกุ หน่วย 3. ทากิจกรรมตามท่กี าหนดและตรวจสอบคาตอบจากเฉลยและแนวตอบ ในท้ายเลม่ รายวิชาวสั ดุศาสตร์ 2 4. ทาแบบทดสอบหลังเรียนและตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายรายวิชา วสั ดุศาสตร์ 2
ซ การวัดและประเมินผล 1. ประเมนิ ความกา้ วหน้าผูเ้ รยี น จานวน 60 คะแนน ไดแ้ ก่ 1.1 แบบทดสอบกอ่ นเรียน - หลงั เรียน 1.2 การสงั เกต การซักถาม ตอบคาถาม 1.3 ตรวจกจิ กรรมในแตล่ ะหนว่ ยการเรียนรู้ (กรต.) 2. ประเมินผลรวมผ้เู รียน จานวน 40 คะแนน โดยการทดสอบปลายภาคเรยี น จานวน 40 คะแนน
สารบญั ฌ คาํ นาํ หนา้ คาํ แนะนาํ การใช้ชุดวชิ า ก โครงสร้างชุดวิชา ข สารบญั ง หนว่ ยที่ 1 วสั ดุศาสตร์รอบตวั ฌ 1 เร่ืองที่ 1 ความหมายของวัสดศุ าสตร์ 2 เรือ่ งท่ี 2 ประเภทของวัสดุ 3 เรือ่ งท่ี 3 สมบตั ิของวสั ดุ 5 หนว่ ยท่ี 2 การใชป้ ระโยชนแ์ ละผลกระทบจากการใชว้ สั ดุ 11 เรอ่ื งที่ 1 ประโยชนก์ ารนําวัสดศุ าสตร์ไปใช้ในชีวิตประจําวนั 12 เรอื่ งท่ี 2 ผลกระทบของการใช้วสั ดุ 21 เรอ่ื งที่ 3 การเลอื กผลติ ภัณฑ์ทเี่ ป็นมติ รกับส่ิงแวดลอ้ ม 26 หนว่ ยที่ 3 การจดั การวสั ดทุ ี่ใชแ้ ลว้ 32 เรอ่ื งท่ี 1 การจดั การวัสดุ 33 เรื่องที่ 2 หลัก 3R ในการจัดการวสั ดุทใ่ี ช้แล้ว 37 เรอื่ งที่ 3 เทคโนโลยกี ารกําจัดวัสดุประเภทโลหะและอโลหะ 44 หนว่ ยที่ 4 การคัดแยกและการรีไซเคลิ วสั ดุ 49 เรื่องที่ 1 การคดั แยกวัสดุ 50 เรอ่ื งท่ี 2 การรีไซเคลิ วสั ดุ 56 หนว่ ยท่ี 5 การจดั การวสั ดอุ ันตราย 67 เรอ่ื งที่ 1 ความหมายของวัสดุอนั ตราย 68 เร่ืองที่ 2 การจดั การขยะอนั ตราย 71 เร่ืองที่ 3 วิธกี ารที่จะชว่ ยลดปญั หาวัสดทุ เ่ี ป็นพิษต่อส่งิ แวดลอ้ ม 75 บรรณานุกรม 77 คณะผู้จัดทํา 83
1 หน่วยการเรยี นท่ี 1 วัสดุศาสตร์รอบตัว สาระสาํ คญั วสั ดุศาสตร์ (Materials Science) เป็นการศึกษาองค์ความรู้ที่เกีย่ วขอ้ งกบั วสั ดุ ท่ีนํามาใช้ประกอบกันเป็นช้ินงาน ตามการออกแบบ มีตัวตน สามารถสัมผัสได้ โดยวัสดุแต่ละ ชนิดจะมีสมบัติเฉพาะตัว ได้แก่ สมบัติทางฟิสิกส์ สมบัติทางเคมี สมบัติทางไฟฟ้า และสมบัติ เชงิ กล วัสดุ ท่ีเราใช้หรือพบเห็นในชีวิตประจําวัน สามารถจําแนกตามแหล่งท่ีมาของวัสดุ ได้แก่ วสั ดุธรรมชาติ แบ่งออกเป็น วัสดุธรรมชาติท่ีได้จากส่ิงมีชีวิต เช่น ไม้ เปลือกหอย ขนสัตว์ ใยไหม ใยฝา้ ย หนงั สัตว์ ยางธรรมชาติ วสั ดธุ รรมชาติท่ไี ดจ้ ากส่ิงไม่มีชีวิต เชน่ ดนิ เหนียว หนิ ปูน ศิลาแลง กรวด ทราย เหล็ก และวัสดุศาสตร์สังเคราะห์ ซึ่งเป็นวัสดุท่ีเกิดจากกระบวนการ ทางเคมี เชน่ พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ โฟม เป็นตน้ ตัวชวี้ ดั 1. บอกความหมายของวสั ดศุ าสตรไ์ ด้ 2. จําแนกประเภทของวัสดศุ าสตร์ได้ 3. เปรียบเทยี บสมบัติของวสั ดไุ ด้ ขอบขา่ ยเนอ้ื หา 1. ความหมายของวัสดุศาสตร์ 2. ประเภทของวสั ดุศาสตร์ 3. คณุ สมบัตขิ องวสั ดุ
2 หนว่ ยการเรยี นท่ี 1 วัสดศุ าสตร์รอบตวั เรอ่ื งท่ี 1 ความหมายของวัสดุศาสตร์ วัสดุ (Materials) หมายถงึ สง่ิ ของหรอื วตั ถทุ ี่นํามาใช้ประกอบกันเป็นชน้ิ งานตาม การออกแบบ มตี วั ตน สมั ผสั ได้ และมสี มบัติเฉพาะตวั ท่แี ตกต่างกัน ได้แก่สมบตั ิทางฟสิ ิกส์ สมบตั ิทางเคมี สมบัตทิ างไฟฟา้ และสมบตั เิ ชงิ กล วัสดุศาสตร์ (Materials Science) หมายถึง การศึกษาองค์ความรู้ท่ีเก่ียวข้องกับ วัสดุ ท่นี าํ มาใชป้ ระกอบกนั เปน็ ชิ้นงาน ตามการออกแบบ มีตัวตน สามารถสัมผัสได้ โดยวัสดุแต่ ละชนิดจะมีสมบัติเฉพาะตัว ได้แก่ สมบัติทางฟิสิกส์ สมบัติทางเคมี สมบัติทางไฟฟ้า และสมบัติ เชิงกล วัสดุศาสตร์รอบตัว เป็นการเรียนรู้ด้านวัสดุศาสตร์ทําให้เราทราบถึงแหล่งที่มา การ เลือกใช้ วัตถุดิบกระบวนการผลิต สมบัติและการใช้งานวัสดุด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจําวัน ผลกระทบจากการใช้วสั ดุ รวมถงึ เทคโนโลยีการกําจัดวัสดุ และการรีไซเคิล ซ่ึงเป็นการนําวัสดุท่ี ไม่ต้องการใช้แล้ว ท้ังที่เกิดข้ึนภายหลังเสร็จส้ินการใช้งานหรือระหว่างกระบวนการผลิตกลับมา ผ่านกระบวนการแปรรูปเพือ่ ผลติ เป็นผลติ ภัณฑใ์ หม่ ทาํ ให้เรามีความรู้ และความเข้าใจถงึ คุณค่า ของวัสดุ รู้สึกหวงแหนทรัพยากรของชาติซึ่งจะก่อให้เกิดจิตสํานึกท่ีดีต่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม ปัจจุบันวิวัฒนาการทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทําให้มนุษย์สามารถผลิตวัสดุ หรือผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ในระดับอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็ว และมีคุณภาพที่ดีขึ้น ตัวอย่าง เช่น พลาสติก ซึ่งเป็นวัสดุท่ีถูกสังเคราะห์มา เพื่อทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ และเป็นที่ยอมรับว่า เป็นส่ิงที่มีประโยชน์และขาดไม่ได้แล้วในชีวิตประจําวันของมนุษย์ แต่ในทํานองกลับกัน พบว่า การใช้พลาสตกิ กก็ ่อให้เกดิ ปัญหายงุ่ ยากตามมาในการจัดการภายหลงั เสรจ็ สน้ิ จากการใช้งาน เนอื่ งจากเปน็ วัสดทุ ยี่ ่อยสลายไดย้ าก ดังนั้น การศกึ ษาถงึ สมบัตขิ องวสั ดทุ ม่ี ีความแตกตา่ ง จะ นาํ ไปสู่การจัดการวสั ดภุ ายหลังจากการใช้งานได้อยา่ งเหมาะสมกับวัสดนุ ัน้
3 เรอื่ งที่ 2 ประเภทของวัสดุ ในปัจจุบันไม่ว่าภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม หรือภาคครัวเรือน ล้วนต้อง เกี่ยวข้องกับวัสดุ (Materials) อยู่เสมอท้ังในเชิงของผู้ใช้วัสดุ ผู้ผลิตและผู้ควบคุมกระบวนการ ผลิต ตลอดจนผู้ออกแบบท้ังในรูปแบบ องค์ประกอบ และโครงสร้าง บุคคลเหล่านี้จําเป็นอย่าง ย่ิงท่ีจะต้องเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมถูกต้องจากสมบัติของวัสดุเหล่านั้น นอกจากน้ียังจะต้อง สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เม่ือมีความผิดปกติเกิดข้ึนมันเป็นเพราะเหตุใด โดยเฉพาะอย่างย่ิงใน ปัจจุบันการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก วัสดุใหม่ๆถูก ผลิตขึน้ และมกี ารคน้ ควา้ คุณสมบตั ิพเิ ศษของวัสดุ เพอ่ื ใชป้ ระโยชนม์ ากข้นึ กระบวนการผลิต ก็สามารถทําได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้ราคาของวัสดุน้ันตํ่าลง การศึกษาเก่ียวกับสมบัติของ วัสดุชนิดต่างๆ จะช่วยให้เราสามารถเลือกวัสดุมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม จึงเป็น ส่ิงจําเป็นท่ีทุกคนควรรู้ไว้การแบ่งประเภทของวัสดุ ตามคุณสมบัติทั่ว ๆไป อาจจัดแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ไดแ้ ก่ วัสดปุ ระเภทโลหะและวสั ดปุ ระเภทอโลหะ 2.1 วัสดุประเภทโลหะ(Metallic Materials)เป็นวัสดุท่ีได้มาจากสินแร่ตาม ธรรมชาติโดยตรง ซ่ึงส่วนใหญ่จะเป็นของผสมกับวัสดุชนิดอื่นๆ อยู่ในรูปของสารประกอบ (Compound)ต้องนํามาผ่านขบวนการถลุงหรือสกัด เพื่อให้ได้แร่ หรือ โลหะท่ีบริสุทธิ์ เม่ือนํา แร่บริสุทธ์ินี้ไปผ่านขบวนการแปรรูปโลหะจะได้วัสดุเพ่ือการใช้งาน โลหะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 2.1.1 โลหะจาํ พวกเหลก็ (Ferrous Metal) โลหะท่ีมีพน้ื ฐานเป็นเหล็ก เช่น เหลก็ หลอ่ เหล็กเหนยี ว เหลก็ กล้า เหลก็ ไรส้ นิม เหล็กกล้าผสม เปน็ ต้น 2.1.2 โลหะนอกจําพวกเหลก็ (Non Ferrous Metal)โลหะนอกจาํ พวกเหล็ก เช่น ทอง เงนิ ทองแดง อะลมู ิเนียม สงั กะสี ทังสเตน แมกนเี ซียม ตะก่วั ปรอท โบลิดนิ ่ัม ฯลฯ รวมถึงโลหะผสม เช่น บรอนซ์ และทองเหลอื ง เป็นต้น ภาพท่ี 1.1 ของใชใ้ นครวั เรอื นประเภทโลหะ
4 2.2 วสั ดปุ ระเภทอโลหะ (NonMetallic Materials)วัสดุในกลุม่ อโลหะน้ี สามารถ แบ่งยอ่ ย ไดด้ งั นี้ 2.2.1 อนิ ทรยี ์สาร (Organic) เป็นวสั ดทุ ่ไี ด้มาจากสง่ิ ท่ีมีชีวติ เช่น ไม้ เสน้ ใย ธรรมชาติ หนงั สตั ว์ น้ํามันจากพืช ยางพารา ขนสตั ว์ เปลือกหอย หวาย เปน็ ต้น 2.2.2อนนิ ทรยี ์สาร (Inorganic) เปน็ วสั ดุทีไ่ ดม้ าจากธรรมชาติ จากสิ่งทีไ่ ม่มชี ีวติ เป็นพวกแรธ่ าตตุ ่าง ๆ เช่น หิน ดนิ เหนียว กรวด ทราย ศิลาแลง หนิ ออ่ น ยิปซมั และ อญั มณตี ่าง ๆ เป็นตน้ 2.2.3 วัสดสุ งั เคราะห์ (SyntheticMaterials) เปน็ วสั ดทุ ี่ตอ้ งผา่ นขบวนการ ทางด้านอุตสาหกรรมและเคมี เกดิ จากการผสมตวั ของวัสดุ ธาตุ และมเี คมภี ัณฑ์อืน่ ๆ แบ่งย่อย ได้ 2 ชนิด คอื 1. วสั ดอุ นิ ทรียส์ ารสังเคราะห์ เช่น กระดาษ ฟองนํ้า หนงั เทียม เสน้ ใย สังเคราะห์ พลาสตกิ ยางเทียม เป็นต้น 2. วัสดอุ นนิ ทรีย์สารสงั เคราะห์ เช่น ปูนซีเมนต์ คอนกรีต สที าอาคาร แกว้ อฐิ เซรามิก เปน็ ต้น ภาพที่ 1.2 ของใช้ในครวั เรอื นประเภทอโลหะ
5 เรอื่ งท่ี 3 สมบตั ขิ องวัสดุ สมบตั ขิ องวัสดุ หมายถงึ ลักษณะเฉพาะตวั ของวัสดุ ที่แสดงวา่ วสั ดชุ นดิ หนงึ่ เหมอื นหรอื แตกต่างจากวสั ดอุ ีกชนิดหนึง่ สมบัติของวัสดุ สามารถแบ่งได้ ดังน้ี 3.1 สมบัตทิ างกายภาพ ประกอบดว้ ย 3.1.1 ความแข็ง หมายถึง ความทนทานของวัสดุต่อการถูกขูดขีด วัสดุที่มี ความแข็งมาก จะทนต่อการขีดข่วนได้มาก และเม่ือถูกขีดข่วนจะไม่เกิดรอยหรือเกิดรอยเพียง เล็กน้อย มีสมบัติที่มีความคงทนถาวร สึกกร่อน แตกหักยาก แข็งแกร่ง เช่น ก้อนหิน เพชร เหล็ก เป็นต้น เราสามารถตรวจสอบคุณสมบัติความแข็งของวัสดุได้โดยการนําวัสดุมาขูดกัน เพื่อหาความทนทานต่อการขีดข่วน ถ้านําวัสดุชนิดหน่ึงขูดบนวัสดุอีกชนิดหนึ่ง วัสดุท่ีถูกขูด เกิดรอยแสดงว่า มีความแข็งน้อยกว่าวัสดุท่ีใช้ขูด แต่ถ้าวัสดุท่ีถูกขูดไม่เกิดรอยแสดงว่ามีความ แข็งมากกว่าวสั ดทุ ่ีใชข้ ูด 3.1.2 ความเหนียว หมายถึง หน่วยวัดแรงที่ทําให้วัสดุขาด เช่น พลาสติก มี ความเหนียวมากกว่ากระดาษ เราจึงต้องออกแรงเพ่ือฉีกถุงพลาสติกให้ขาดมากกว่าแรงที่ใช้ ฉีกถุงกระดาษให้ขาด การตรวจสอบความเหนียวของวัสดุ สามารถพิจารณาได้จากสมบัติ 2 ประการ คอื ความสามารถในการตแี ผ่เป็นแผ่นบาง ๆ และความสามารถในการยืดเปน็ เส้น ค่าความเหนยี วจะมากหรอื นอ้ ย ข้นึ อยกู่ ับปจั จยั ดงั นี้ 1. ชนิดของวัตถุ เชน่ เส้นเอ็นเหนียวกวา่ เส้นด้าย เชือกไนลอนเหนียว กว่าเชือกฟาง 2. ขนาดของวัสดุ วัสดเุ สน้ ใหญจ่ ะทนต่อแรงดงึ ได้มากกว่า จึงเหนียว กว่าวัสดเุ สน้ เลก็ 3.1.3 ความยืดหยุ่น หมายถงึ สมบตั ิของวสั ดทุ ี่สามารถกลับคืนสูส่ ภาพเดิมได้ หลังจากหยดุ แรงกระทาํ ทที่ ําให้เปลย่ี นรปู ร่างไป เชน่ ลกู โป่ง ยางรถยนต์ ยางยดื ฟองน้าํ หนังสตก๊ิ ยางรัดผม เปน็ ต้น วัสดุแตล่ ะชนดิ มีความยดื หยุ่นไมเ่ ทา่ กัน วสั ดบุ างชนดิ ยงั คงสภาพความยืดหยนุ่ อย่ไู ด้ แม้จะมีแรงกระทาํ มาก ๆ เชน่ หนังสติก๊ วสั ดบุ างชนิดสภาพยดื หยนุ่ หมดไป เม่ือได้รบั แรง ทมี่ ากระทํามาก เชน่ เอ็น เป็นต้น
6 วัสดทุ ี่ไมก่ ลบั สู่สภาพเดมิ และมีความยาวเพ่มิ ขน้ึ จากเดมิ เรยี กว่า วัสดนุ ้นั หมด สภาพยืดหยนุ่ วัสดบุ างชนดิ ไม่มสี ภาพยดื หยุ่น เพราะเมื่อมแี รงมากระทาํ จะเปลีย่ นแปลงรปู ร่าง และไมก่ ลับสู่สภาพเดมิ เมื่อหยุดแรงกระทาํ เชน่ ใชม้ อื กดดนิ น้าํ มัน ดนิ นา้ํ มันจะยุบตวั ลง เมอ่ื ปล่อยมอื จะเหน็ ดนิ น้าํ มันเป็นรอยกด ไม่กลบั สูส่ ภาพเดมิ 3.1.4 ความหนาแน่น หมายถึง อัตราส่วนระหว่างค่ามวลสาร ต่อหน่วย ปรมิ าตร มหี น่วยเป็นกิโลกรัมต่อลูกบาศกเ์ มตร หรอื กรมั ต่อลูกบาศกเ์ ซนตเิ มตร มวล คอื ปรมิ าณของเนือ้ สารหรอื เนือ้ วัสดุ เช่น เหลก็ และไมท้ มี่ ีขนาด หรอื ปริมาตรเท่ากัน หากเหลก็ มนี ํ้าหนกั มากกวา่ ไม้ แสดงวา่ เหล็กมมี วลมากกวา่ ไม้ น้ําหนักของวัสดุ คือ ผลจากแรงดงึ ดูดของโลกที่กระทาํ ตอ่ วัสดหุ รอื วตั ถุ น้นั ถา้ วสั ดุหรือวตั ถนุ ัน้ มีมวลมาก จะมีน้ําหนกั มากด้วย นาํ้ หนกั ของวัตถุเป็นหนว่ ยที่วดั ดว้ ย เคร่ืองชง่ั มหี นว่ ยเปน็ กรมั กโิ ลกรมั ปริมาตรของวัตถุ คือ ขนาดของวสั ดุ เครอื่ งมอื ทใ่ี ชว้ ดั ความจุ ไดแ้ ก่ เคร่ืองตวง เช่น กระบอกตวง บกี เกอร์ ช้อนตวง ปรมิ าตรของวตั ถุ มหี นว่ ยเป็น ลูกบาศก์เมตร หรือ ลูกบาศก์เซนติเมตร วัสดุแต่ละชนิดจะมีความหนาแนน่ ไมเ่ ทา่ กนั ความหนาแน่นจงึ จัดเป็น คุณสมบัตเิ ฉพาะของวัสดุโดยความหนาแน่นของวัสดุ หาได้จากผลหารระหวา่ งมวลรวมกบั ปริมาตรรวม ดงั สมการ ความหนาแนน่ = มวล ปริมาตร 3.2 สมบตั ิทางความรอ้ น เมื่อวัสดสุ องสง่ิ ทม่ี ีอณุ หภมู ิตา่ งกนั จะเกิดการถา่ ยโอน ความร้อนให้แก่กนั โดยความร้อนจะถา่ ยเทจากวตั ถุ หรอื บรเิ วณทม่ี อี ณุ หภมู ิสูงไปยังวตั ถุ หรือ บรเิ วณทีม่ ีอณุ หภูมิตา่ํ กวา่ เสมอ และการถา่ ยเทความร้อนจะหยดุ ลง เมอ่ื วัตถุหรอื บริเวณทงั้ สอง มีอณุ หภูมเิ ทา่ กนั พลังงานความร้อนสามารถสง่ ผา่ นจากวัสดทุ ี่หนง่ึ ไปสู่วสั ดุอีกแห่งหน่งึ ได้ 3 วธิ ี 3.2.1 การนาํ ความรอ้ น เป็นการส่งผ่านพลังงานความรอ้ นตอ่ ๆ กนั ไปในเนอื้ ของตวั กลาง โดยตวั กลางไมไ่ ด้มกี ารเคลอื่ นที่ แตค่ วามรอ้ นจะค่อย ๆ แผ่กระจายไปตามเนอื้ วตั ถุน้ัน ซึง่ การนาํ ความรอ้ น เปน็ ปรากฏการณส์ ่งผ่านความรอ้ นของวสั ดุ จากบริเวณทมี่ ี
7 อณุ หภมู ิสงู ไปยังบรเิ วณทม่ี ีอณุ หภูมติ ํา่ เช่น กรณีทผี่ ู้เรียนจับช้อนโลหะที่แชอ่ ยูใ่ นถ้วยแกง รอ้ น ๆ แลว้ จะรูส้ ึกว่าที่ปลายชอ้ นโลหะทีจ่ ับนั้นจะร้อนดว้ ย ทง้ั น้เี พราะโลหะเป็นตวั นําความ ร้อนทดี่ ี ภาพท่ี 1.3 แสดงการนําความรอ้ น ทมี่ า : https://www.slideshare.net วัสดทุ นี่ าํ ความร้อนสามารถถ่ายโอนความรอ้ นได้ดี เรียกว่า ตวั นาํ ความร้อน เชน่ เงนิ ทองแดง ทองคํา ทองเหลอื ง อะลูมเิ นียม เหลก็ ดีบุก เป็นต้น ส่วนวสั ดุท่คี วามรอ้ นถ่ายโอน ผา่ นได้ไม่ดี เรียกว่า ฉนวนความรอ้ น เชน่ แก้ว ไม้ กระดาษ พลาสติก ผา้ กระเบอื้ ง เปน็ ต้น 3.2.2 การพาความร้อน เป็นการส่งผา่ นความร้อน โดยตัวกลางรับความรอ้ น จากบรเิ วณหนง่ึ แลว้ เคล่อื นท่พี าความรอ้ นไปยังอีกบรเิ วณหนึง่ เชน่ พัดลมพดั ผา่ นตัวเราแลว้ พา ความร้อนออกไป จึงทําใหเ้ รารสู้ ึกเยน็ สบาย 3.2.3 การแผร่ งั สี เป็นพลังงานความร้อนทส่ี ามารถเดินทางจากท่ีแห่งหนึ่งไปสู่ ทีอ่ กี แห่งหนึ่งโดยไมต่ อ้ งมตี ัวกลาง เชน่ ความร้อนจากดวงอาทติ ย์เดนิ ทางมาถงึ โลกของเรา ในรปู ของคลื่นแม่เหลก็ ไฟฟา้ ภาพที่ 1.4 แสดงการแผร่ ังสี ทม่ี า : http://thanapat53a25.wikispaces.com
8 3.3 สมบัตทิ างไฟฟา้ ประกอบด้วย การนาํ ไฟฟ้าของวสั ดุ เปน็ สมบตั ิในการยอมให้ กระแสไฟฟา้ ผา่ นได้ วัสดุที่กระแสไฟฟา้ ผ่านได้ดี เรียกวา่ ตวั นาํ ไฟฟา้ เชน่ เงนิ ทองแดง เหล็ก อะลูมิเนยี ม วสั ดทุ ี่กระแสไฟฟ้าผ่านได้ไมด่ ี เรยี กวา่ ฉนวนไฟฟ้า เช่น ไม้ พลาสตกิ ผา้ กล่าวโดยสรุป การพัฒนาสมบัติของวัสดุให้มีประสิทธิภาพดียิ่งข้ึน หรือให้มี สมบัติตรงตามความต้องการน้ันล้วนต้องใช้องค์ความรู้ทางวัสดุศาสตร์เข้าไปเก่ียวข้องทั้งส้ิน ดังน้ัน การพัฒนาความรู้ด้านวัสดุศาสตร์และการเรียนรู้เทคโนโลยีวัสดุควบคู่กันไปจึงมี ความสําคัญสําหรับมนุษย์ ในการนําความรู้มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์และ ปรับปรุงกระบวนการผลิตวัสดุให้มีสมบัติตามความต้องการ และนํามาสังเคราะห์สร้างวัสดุใหม่ เพ่ือปรับปรุงวัสดุให้มีสมบัติตามต้องการ นอกจากน้ีความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ยังสนับสนุนการ เลอื กใช้วัสดใุ ห้เหมาะสมและสอดคล้องกบั ความตอ้ งการในชีวิตประจําวัน ตารางท่ี 1.1 ตวั อยา่ งของสมบัตแิ ละการใชง้ านของวสั ดปุ ระเภทโลหะ ประเภท สมบัติ การใชป้ ระโยชน์ โลหะจําพวกเหลก็ นําไฟฟา้ ดี ขน้ึ รูปดี ลวดสายไฟฟ้า - เหลก็ หล่อ หลอ่ ข้ึนรปู งา่ ย ชิน้ ส่วนเครอ่ื งยนต์ - เหล็กเหนียว กลึง-กัดได้งา่ ย เครือ่ งมอื ชา่ งต่าง ๆ - เหลก็ กลา้ รับแรงสน่ั สะเทอื นดี - เหล็กไรส้ นทิ มคี วามแข็งแรง - เหล็กกล้าผสม โลหะนอกจาํ พวกเหลก็ ทนทานต่อการกัดกร่อนของ อุตสาหกรรมเคมี การผลิตไฟฉาย - ทองทองแดง - อะลูมิเนียมแมกนเี ซียม กรดและด่าง อปุ กรณไ์ ฟฟ้า สายเคเบลิ - ตะกว่ั ปรอท โบลดิ นิ ่ัม - บรอนซ์ ทองเหลอื ง นําไฟฟา้ ได้ดี ใช้ผลิตเครอ่ื งใชใ้ นครวั เรือน ทาํ ให้โลหะอน่ื ง่ายต่อการ ขึน้ รปู นําความรอ้ นไดด้ ี
9 ตารางท่ี 1.2 ตวั อยา่ งของสมบตั ิและการใชง้ านของวัสดปุ ระเภทอโลหะ ประเภท สมบตั ิ การใชป้ ระโยชน์ อนิ ทรียส์ าร เปน็ ฉนวนกนั ไฟฟา้ เคร่ืองนุ่งหม่ - ไม้ ฉนวนความรอ้ น ที่อยอู่ าศัย - เสน้ ใย มคี วามแข็งแรง - หนงั สตั ว์ - ขนสตั ว์ ขึ้นรูปเป็นแผ่นบางง่าย ภาชนะบรรจุอาหาร - เปลอื กหอย ยดื หยุ่นดี สรา้ งทอ่ี ยู่อาศยั อนินทรยี ส์ าร เป็นฉนวนกนั ไฟฟา้ ฉนวนกันความรอ้ น - หนิ ตา้ นทานความช้นื - ดนิ เหนยี ว แข็งแรง - กรวด - ทราย ขนึ้ รูปเปน็ แผ่นบางง่าย ผลิตภณั ฑ์บรรจอุ าหาร - ศิลาแลง ยดื หยุ่นดี เคลอื บแผ่นวงจร - หนิ ออ่ น เป็นฉนวนกนั ไฟฟา้ ทาํ กาวผลิตไมอ้ ดั - ยปิ ซมั ตา้ นทานความช้ืน บา้ น - อัญมณี แข็งแรง ของใช้ในครวั เรอื น วัสดุสังเคราะห์ - กระดาษ - ฟองน้าํ - หนังเทียม - เส้นใยสังเคราะห์ - พลาสติก - ยางเทยี ม - ปูนซีเมนต์ - คอนกรตี - สีทาอาคาร
ประเภท 10 - อิฐ - เซรามกิ ส์ สมบตั ิ การใชป้ ระโยชน์ กิจกรรมทา้ ยหน่วยการเรยี นที่ 1 หลังจากท่ีผู้เรียนศึกษาเอกสารชุดการเรียนหน่วยที่ 1 จบแล้ว ให้ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้าเพ่ิมเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วทํากิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 1 ในสมุดบันทึก กจิ กรรมการเรียนรู้ แล้วจัดส่งตามทผ่ี ูส้ อนกาํ หนด
11 หน่วยการเรียนท่ี 2 การใช้ประโยชนแ์ ละผลกระทบจากการใชว้ ัสดุ สาระสําคญั วัสดุศาสตร์มีความผูกพันกับการดําเนินชีวิตของมนุษย์ มาเป็นเวลาช้านาน หรืออาจ กล่าวได้ว่า “วัสดุศาสตร์อยู่รอบตัวเรา” ซ่ึงวัตถุต่างๆ ล้วนประกอบข้ึนจากวัสดุ โดยการพัฒนา สมบัติของวัสดุให้สามารถใช้งานในด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจําวันได้มากข้ึน ทําให้วัสดุท่ีใช้ใน ปัจจุบันมีความแข็ง ความยืดหยุ่น นําไฟฟ้า หรือนําความร้อนได้ดี ตามความเหมาะสมของการ ใชง้ าน ตวั ชวี้ ัด 1. อธิบายประโยชนข์ องวัสดศุ าสตรใ์ นชวี ิตประจําวนั ได้ 2. บอกผลกระทบต่อส่งิ แวดล้อมจากการใชว้ ัสดใุ นชวี ติ ประจาํ วันได้ 3. เลือกใช้ผลติ ภัณฑ์ทเ่ี ป็นมติ รกับสง่ิ แวดลอ้ มได้ ขอบขา่ ยเนอื้ หา 1. ประโยชนก์ ารนําวสั ดุศาสตรไ์ ปใช้ในชวี ิตประจาํ วนั 2. ผลกระทบจากการใชว้ สั ดุ 3. เลือกผลติ ภัณฑท์ เ่ี ป็นมติ รกบั สง่ิ แวดลอ้ ม
12 หน่วยการเรยี นที่ 2 การใช้ประโยชนแ์ ละผลกระทบจากการใช้วัสดุ เรื่องที่ 1 ประโยชน์การนาํ วสั ดุศาสตรไ์ ปใชใ้ นชีวิตประจําวัน คนในสมยั ก่อนใชว้ ัสดจุ ากธรรมชาติ ดิน หิน เขาสัตว์ กระดกู สัตว์ นาํ มาทาํ เปน็ สิ่งของ เครือ่ งใช้ และนําขนสัตว์ หนังสตั ว์ ใบไม้ มาทาํ เครื่องนุ่งหม่ ตอ่ มามีการนําวสั ดุจากธรรมชาติ มาดัดแปลงมากขึน้ เช่น ทาํ ยางรถยนต์ การทอผา้ สยี อ้ มผ้า กระดาษ รวมทง้ั การนาํ เหล็ก โลหะ ต่างๆ และแก้วมาใชป้ ระโยชน์ ปัจจุบันนเี้ ราสามารถสงั เคราะห์วตั ถขุ ึ้นหลายชนิดทีน่ ํามาทาํ เป็น เคร่ืองใชไ้ ด้มากมาย ซ่ึงเราตอ้ งพิจารณาสมบัตขิ องวัสดุชนิดน้นั ให้เหมาะสมกบั การใช้งานสง่ิ ของ ชนดิ นน้ั ซงึ่ วัสดชุ นดิ ตา่ งๆสามารถนาํ มาใชป้ ระโยชน์ได้ เชน่ โลหะผสมอะลูมิเนยี ม พลาสติก ยางสงั เคราะห์ เสน้ ใยสังเคราะห์ 1.1 ประโยชนข์ องวัสดปุ ระเภทโลหะจําพวกเหล็ก เนื่องด้วยโลหะมีคุณสมบัติท่ีดีมากมายหลายประการเช่น เหล็กมีความ แข็งแรงทนทาน จึงทําให้ความต้องการใช้เหล็กมีเพิ่มมากขึ้นมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จาก ปัจจุบนั ทีเ่ หลก็ เข้ามาเปน็ สว่ นหน่งึ ในชวี ติ ประจาํ วันของมนษุ ย์จนขาดไมไ่ ด้ ได้แก่ เครอ่ื งใช้ ในครัวเรือน ภาชนะบรรจุภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ ยานพาหนะ ส่ิงก่อสร้าง ผลงานศิลปะ ซ่ึงล้วนทํา ขึ้นด้วยเหล็กเป็นส่วนประกอบท้ังส้ิน โลหะสามารถนํามาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปของเหล็กบริสุทธ์ิ เหลก็ ผสมประเภทตา่ ง ๆ และสารประกอบเหลก็ ภาพท่ี 2.1 ของใชใ้ นครวั เรือนประเภทโลหะจําพวกเหลก็
13 โลหะจําพวกเหล็กชนดิ ต่าง ๆ ท่ีนิยมนาํ ไปใชง้ านในปจั จุบัน ไดแ้ ก่ เหลก็ เหลก็ กล้า เหล็กเหนียว เหลก็ ไร้สนมิ และเหล็กกลา้ ผสม สําหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม การกอ่ สรา้ งอาคาร ถนน สะพาน อตุ สาหกรรมบรรจภุ ัณฑ์ อุตสาหกรรมเครอ่ื งจักรกล อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟา้ และใช้ผลติ เคร่ืองใชใ้ นครัวเรอื นต่าง ๆ 1.2 ประโยชน์ของวัสดปุ ระเภทโลหะนอกจําพวกเหล็ก เป็นโลหะที่ขาดความแข็งแรงทางดา้ นโครงสรา้ งหรอื คุณสมบัตทิ างเชิงกล ท่ีไม่ดนี ัก จึงทาํ ให้การนําไปใช้โดยตรงไมเ่ ปน็ ที่นยิ ม แต่จะถูกใชใ้ นรปู ของสารประสมเพ่ิมหรอื ธาตทุ ี่ เพม่ิ เตมิ คุณสมบัตพิ เิ ศษให้กับโลหะอื่นๆ เช่น คุณสมบัติทางด้านความทนทานต่อการกดั กร่อน ของกรดและด่าง การนาํ ไฟฟ้า หรอื การทําให้โลหะอน่ื งา่ ยตอ่ การขนึ้ รูป เช่น อะลมู เิ นียม ทองแดง ตะกวั่ ดีบุก โคบอลต์โครเมียมเงนิ ซิลกิ อนนกิ เกลิ ตะกั่ว ทองคาํ ทองแดง เป็นต้น ภาพท่ี 2.2 ของใช้ในครัวเรอื นประเภทโลหะนอกจําพวกเหลก็
14 ตารางท่ี 2.1 ตารางการนําไปใชง้ านชนิดต่าง ๆ ทน่ี ยิ มใชใ้ นปัจจบุ ัน โลหะนอกจําพวกเหล็ก การใชง้ าน อะลมู เิ นียม อุตสาหกรรมเคมี การผลิตไฟฉาย อุปกรณไ์ ฟฟา้ สายเคเบิล เคร่อื งใชค้ รวั เรือน ทองแดง อตุ สาหกรรมไฟฟ้า อตุ สาหกรรมกอ่ สรา้ ง ใช้ผลิตเครื่องใช้ เครือ่ งประดับ และงานประตมิ ากรรมต่าง ๆ ตะกวั่ อตุ สาหกรรมแบตเตอร่ี อุตสาหกรรมไฟฟา้ และอิเล็กทรอนกิ ส์ เป็นฉนวนปอ้ งกนั รังสี ดีบุก อุตสาหกรรมไฟฟา้ และอเิ ล็กทรอนิกส์ อตุ สาหกรรมเหล็กแผ่น เคลอื บ ใชผ้ ลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน บรรจุภัณฑ์เครอื่ งประดบั โคบอลต์ อตุ สาหกรรมผลติ เคร่อื งจักรอากาศยาน เครอ่ื งจักรกล ใช้ผลิตแมเ่ หล็กถาวร และเคร่อื งกรองไอเสีย โครเมยี ม อุตสาหกรรมเคลือบแผน่ เหลก็ อุตสาหกรรมฟอกหนัง ใชผ้ ลิตเทปสเตอรโิ อ วีดีโอ และเปน็ ส่วนผสมในวสั ดุทนไฟ แคดเมียม แบตเตอรช่ี นิดประจุไฟฟ้าใหมไ่ ด้ ใช้เคลอื บผิวสกรู และนอ็ ต เปน็ สารประกอบในการผลิตเม็ดสีแดงและเขยี ว เงนิ ใชผ้ ลติ เครื่องประดบั กระจกเงา ฟลิ ์มถ่ายภาพ กระดาษอดั ภาพ ซิลกิ อน อุตสาหกรรมการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ อุตสาหกรรมแกว้ กระจก อตุ สาหกรรมก่อสร้าง ใช้เปน็ โลหะผสมในอุตสาหกรรมเหล็ก และอตุ สาหกรรมอะลูมิเนียม นกิ เกิล ใช้ผลิตเหรยี ญกษาปณ์ เคร่ืองใช้ในครวั เรือน และแบตเตอรช่ี นิด ประจุไฟฟา้ ใหมไ่ ด้ ตะก่ัว อุตสาหกรรมแบตเตอร่ี อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอเิ ล็กทรอนิกส์ และเป็นฉนวนปอ้ งกนั รังสี ทองคาํ ใช้ผลติ เครือ่ งประดบั ใช้ในงานทันตกรรม และอปุ กรณ์ อิเล็กทรอนกิ ส์ ทองแดง อตุ สาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมกอ่ สรา้ ง ใช้ผลติ เครอ่ื งใช้ เครื่องประดับ และงานประตมิ ากรรมตา่ ง ๆ
15 1.3 ประโยชนข์ องวัสดปุ ระเภทพลาสติก ปัจจุบันพลาสติก มีความสําคัญต่อชีวิตประจําวันเป็นอย่างมาก เคร่ืองมือ เครื่องใช้ และวัสดุก่อสร้างหลายชนิดทําด้วยพลาสติก เช่น เคร่ืองใช้ในครัวเรือนจําพวก จาน ชาม ขวดโหลตา่ ง ๆ ของเลน่ เดก็ วัสดุกอ่ สรา้ ง สีทาบ้าน กาวติดไม้และตดิ โลหะ อุปกรณ์ ทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น เหตุท่ีพลาสติกเป็นท่ีนิยม เพราะมีราคา ถูกมีนํ้าหนักเบา ทนความชื้นได้ดีไม่เป็นสนิม ทําให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามต้องการได้ง่ายกว่า โลหะ เป็นฉนวนไฟฟ้า มีทั้งชนิดโปร่งใส และมีสีต่าง ๆ กัน ด้วยเหตุนี้พลาสติกจึงใช้แทน โลหะ หรือวัสดุบางชนิด เช่น แก้ว ได้เป็นอย่างดี แต่พลาสติกก็มีข้อเสียหลายอย่างด้วยกัน คือ ไม่แขง็ แรง (รับแรงดึง แรงบิด และแรงเฉอื นไดต้ ่าํ มาก) ไม่ทนความร้อน ท้ังนี้ เพราะพลาสติกสามารถนํามาหล่อให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามแบบโดยใช้ความ ร้อน และแรงอัดเพียงเล็กน้อย จุดหลอมตัวของพลาสติกอยู่ระหว่าง 80-350 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ข้ึนอยู่กับชนิดของพลาสติก จะเห็นได้ว่าจุดหลอมตัวของพลาสติกตํ่ากว่าโลหะมาก วัตถุ เครื่องใช้ที่ทําด้วยพลาสติก ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีได้แก่ ตู้วิทยุ ตู้โทรทัศน์ โทรศัพท์ หวี กรอบ แว่นตา ถุงพลาสติกใส่ของ ของเล่นเด็ก ผ้าปูโต๊ะ เป็นต้น นอกจากนี้ พลาสติกยังใช้ประโยชน์ กับโลหะหรือวัตถุบางชนิด เช่น ทําพวงมาลัยรถยนต์ ใช้พลาสติกหุ้มเหล็กทําให้ไม่เป็นสนิมและ กระชับมือย่ิงข้ึน พลาสติกใช้หุ้มสายไฟเป็นฉนวนไฟฟ้าพลาสติกใช้ทําไส้กลางระหว่างกระจก สองแผ่นประกบกัน เรียกว่า กระจกนิรภัย ใช้เป็นกระจกรถยนต์ เพราะเมื่อกระจกแตกจะไม่ กระจาย ภาพท่ี 2.3 ตวั อยา่ งของใชใ้ นครัวเรอื นท่ที าํ มาจากพลาสตกิ
16 พลาสตกิ ที่พบในชีวติ ประจําวนั พลาสติกทพ่ี บในชวี ิตประจาํ วัน มี 2 ประเภท คือ เทอร์โมพลาสติก และ เทอร์โมเซตต้ิง มีขอ้ พจิ ารณาในการใชต้ ามสมบตั ิทางความร้อน ดังนี้ 1. เทอร์โมพลาสติก เปน็ พลาสติกทีใ่ ช้กนั แพร่หลายท่ีสดุ โดยสมบตั พิ ิเศษของพลาสติก ประเภทน้ี เมอ่ื ไดร้ ับความร้อนถงึ จุดหน่ึงก็จะหลอมเหลว และสามารถนาํ กลบั มาใชใ้ หม่ได้อีก หลงั จากนําไปขึน้ รูปเปน็ ผลิตภัณฑแ์ ลว้ โพลเิ มอร์ประเภทน้ีจะมีโครงสร้างโมเลกุลของสายโซโ่ พลิเมอร์เป็นแบบเส้นตรงหรอื แบบก่งิ ส้นั ๆ สามารถละลายไดด้ ใี นตวั ทําละลายบางชนิด เมื่อได้รบั ความร้อนจะอ่อนตัว และ หลอมเหลวเปน็ ของเหลวหนืดเนื่องจาก โมเลกลุ ของโพลิเมอร์ทพ่ี ันกันอยู่สามารถเคล่อื นที่ผ่าน กนั ไปมาได้ง่ายข้ึนเม่อื ได้รับความร้อน และเม่ือเย็นตัวลงกจ็ ะแข็งตัว ซ่ึงการหลอมเหลวและเยน็ ตวั นี้ สามารถเกดิ กลับไปกลบั มาไดโ้ ดยไม่ทําใหส้ มบัติทางเคมแี ละทางกายภาพ หรือโครงสร้าง ของโพลิเมอร์เปลยี่ นไปมากนกั พลาสตกิ ประเภทนส้ี ามารถขน้ึ รปู โดยการฉีดขณะที่พลาสตกิ ถูก ทาํ ใหอ้ อ่ นตัวและไหลได้ด้วยความร้อนและความดัน เข้าไปในแม่แบบท่มี ชี อ่ งว่างเปน็ รปู รา่ งตาม ตอ้ งการ ภายหลงั จากทีพ่ ลาสติกไหลเขา้ จนเต็มแมพ่ ิมพ์จะถูกทําให้เย็นตัว และถอดออกจาก แม่พมิ พ์ ไดผ้ ลิตภัณฑท์ ีม่ รี ปู รา่ งตามตอ้ งการ สามารถนาํ ไปใช้งานได้ เมอื่ ใช้เสรจ็ แล้วสามารถนาํ กลบั มารไี ซเคลิ ได้โดยการบด และหลอมด้วยความร้อนเพอื่ ข้นึ รูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหมไ่ ดอ้ ีก แต่ พลาสติกประเภทน้ีมขี ้อเสียและขดี จํากัดของการใช้งาน คอื ไมส่ ามารถใช้งานทอ่ี ณุ หภูมสิ ูงได้ เพราะอาจเกดิ การบิดเบย้ี วหรือเสียรปู ทรงไป ตวั อยา่ ง เช่น ขวดน้ําดื่มไมเ่ หมาะสําหรับใชบ้ รรจุ นาํ้ รอ้ นจดั หรือเดือด พลาสตกิ ประเภทเทอร์โมพลาสตกิ ท่ีใชก้ ันอยู่ทวั่ ไปในชวี ติ ประจาํ วัน ท่ีสามารถนํา กลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้ มดี งั นี้ 1) โพลเิ อทธลิ ีนเทเรฟทาเลต (Poly ethylene terephthalate : PET) ทนแรงกระแทก ไมเ่ ปราะแตกง่าย สามารถทําให้ใส มองเห็นสิ่งท่ีบรรจุอยู่ภายในจึง นิยมใช้บรรจุนํ้าด่ืม นํ้ามันพืช และเครื่องสําอาง นอกจากน้ียังมีสมบัติป้องกันการแพร่ผ่านของ ก๊าซได้เป็นอยา่ งดี จึงใชเ้ ปน็ ภาชนะบรรจนุ ํ้าอัดลม สามารถนาํ กลับมารไี ซเคลิ ใช้ใหม่ได้ โดยนิยม นํามาผลิตเป็นเส้นใยสําหรับทําเส้ือกันหนาว พรม และเส้นใยสังเคราะห์สําหรับยัดหมอน หรือ เสอื้ สาํ หรับเลน่ สกี
17 2) โพลเิ อทธลิ ีนความหนาแนน่ สูง (High density polyethylene : HDPE) โพลิเอทธิลีนชนิดหนาแน่นสูงมีโครงสร้างโมเลกุลเป็นสายตรง ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้ มาก ไม่แตกง่าย ส่วนใหญ่ทําให้มีสีสันสวยงาม ยกเว้นขวดที่ใช้บรรจุนํ้าดื่ม ซ่ึงจะขุ่นกว่าขวด PET ขึ้นรูปได้ง่าย ทนสารเคมีจึงนิยมใช้ทําบรรจุภัณฑ์สําหรับน้ํายาทําความสะอาด แชมพู สระผม แป้งเดก็ และถุงหูหว้ิ นอกจากนภ้ี าชนะท่ีทําจากโพลิเอทธิลีนยังมีสมบัติป้องกันการแพร่ ผา่ นของความช้ืนได้ดี จึงใช้เป็นขวดนมเพื่อยืดอายุของนมให้นานข้ึน สามารถนํากลับมารีไซเคิล เพ่อื ผลติ ขวดตา่ ง ๆ เชน่ ขวดใส่น้าํ ยาซกั ผ้า แท่งไมเ้ ทียมเพ่อื ใช้ทํารวั้ หรือม้าน่งั ในสวน 3) โพลไิ วนลิ คลอไรด์ (Poly vinyl chloride : PVC) เป็นพลาสติกแข็งใช้ทําท่อ เช่น ท่อน้ําประปา แต่สามารถทําให้น่ิมโดยใส่สาร พลาสติกไซเซอร์ ใชท้ ําสายยางใส แผ่นฟลิ ม์ สําหรับหอ่ อาหาร ม่านในห้องอาบนํ้า แผ่นกระเบ้ือง ยาง แผ่นพลาสติกปูโต๊ะ ขวดใส่แชมพูสระผม โพลิไวนิลคลอไรด์ เป็นพลาสติกที่มีสมบัติ หลากหลาย สามารถนํามาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์อื่นได้อีกมาก เช่น ประตู หน้าต่าง วงกบ และหนัง เทียม สามารถนํากลับมารีไซเคิล เพื่อผลิตท่อประปาสําหรับการเกษตร กรวยจราจร และ เฟอรน์ เิ จอร์ หรอื มา้ นัง่ พลาสติก 4) โพลิเอทธลิ ีนความหนาแนน่ ต่ํา (Low density polyethylene : LDPE) โพลิเอทธิลีนเป็นพลาสติกที่นิ่ม สามารถยืดตัวได้มาก มีความใส นิยมนํามาทําเป็น ฟิล์มสําหรับห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง และถุงเย็นสําหรับบรรจุอาหาร สามารถนํา กลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ โดยใช้ผลิตเป็นถุงดําสําหรับใส่ขยะ ถุงหหู ้วิ หรือถังขยะ 5) โพลิโพรพลิ ีน (Polypropylene : PP) โพลโิ พรพิลนี เปน็ พลาสตกิ ทแี่ ขง็ ทนตอ่ แรงกระแทกได้ดี ทนตอ่ สารเคมี ความร้อน และน้าํ มัน ทาํ ใหม้ ีสสี ันสวยงามได้ ส่วนใหญน่ ิยมนาํ มาทําภาชนะบรรจอุ าหาร เชน่ กลอ่ ง ชาม จาน ถงั ตะกร้า หรือกระบอกสาํ หรับใสน่ ้ําแชเ่ ย็น สามารถนํากลบั มารีไซเคิลใชใ้ หมไ่ ด้ โดยนิยม ผลิตเป็นกล่องแบตเตอรร่ี ถยนต์ ช้นิ สว่ นรถยนต์ เชน่ กนั ชน และกรวยสาํ หรบั น้ํามัน
18 6) โพลสิ ไตรนี (Polystyrene : PS) โพลิสไตรีน เป็นพลาสติกท่ีแข็ง ใส แต่เปราะ และแตกง่าย ราคาถูก นิยมนํามาทํา เป็นภาชนะบรรจุของใช้ เช่น เทปเพลง สําลี หรือของแห้ง เช่น หมูแผ่น หมูหยอง และคุ้กกี้ เน่ืองจาก โพลิสไตรีนเปราะและแตกง่าย จึงไม่นิยมนําพลาสติกประเภทน้ีมาบรรจุน้ําด่ืมหรือ แชมพูสระผม เน่ืองจากอาจล่ืนตกแตกได้ มีการนําพลาสติกประเภทน้ีมาใช้ทําภาชนะหรือถาด โฟมสาํ หรบั บรรจุอาหาร โฟมจะมีนํ้าหนักที่เบามากเน่ืองจากประกอบด้วย โพลิสไตรีนประมาณ 2-5 % เท่าน้ัน ส่วนที่เหลือเป็นอากาศท่ีแทรกอยู่ในช่องว่าง โพลิสไตรีน สามารถนํากลับมาใช้ ใหมไ่ ด้ โดยนยิ มผลติ เปน็ ไมแ้ ขวนเสอ้ื กลอ่ งวดี โี อ ไม้บรรทัด หรอื ของใช้อน่ื ๆ 7) พลาสติกอ่ืน ๆ ที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก หรือไม่ทราบว่าเป็นพลาสติกชนิดใด ปัจจุบันเรามีพลาสติกหลายชนิดให้เลือกใช้ พลาสติกท่ีใช้ในครัวเรือนส่วนใหญ่สามารถนํา กลับมารีไซเคิลเพ่ือหลอมใช้ใหม่ได้ สําหรับพลาสติกในกลุ่มท่ี 7 เป็นพลาสติกชนิดอ่ืนที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก 2. เทอรโ์ มเซตติ้ง เป็นพลาสติกทม่ี ีรปู ทรง ถาวร เม่อื ผา่ นกรรมวธิ ีการผลติ โดยใชค้ วาม รอ้ นหรือกรรมวิธกี ารหลอ่ พลาสติกเหลวแลว้ จะนํากลบั ไปหลอมละลายเพ่อื นํากลับมาใช้ใหม่ (recycle) ไมไ่ ด้ โพลเิ มอรป์ ระเภทนจ้ี ะมีโครงสร้างเป็นแบบรา่ งแห ซ่งึ จะหลอมเหลวได้ในข้ันตอนการข้ึน รูปครั้งแรกเท่าน้ัน ซึ่งในข้ันตอนน้ีจะมีปฏิกิริยาเคมีเกิดข้ึนทําให้เกิดพันธะเชื่อมโยงระหว่าง โมเลกุล ทําให้โพลิเมอร์มีรูปร่างท่ีถาวร ไม่สามารถหลอมเหลวได้อีกเมื่อได้รับความร้อน และ หากได้รับความร้อนสูงเกินไป จะทําให้พันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุลแตกออก ได้สารท่ีไม่มี สมบัติของความเปน็ โพลิเมอร์ต่อไป การผลิตพลาสติกชนิดเทอร์โมเซตจะแตกต่างจากพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก คือ ใน ขั้นตอนแรกต้องทําให้เกิดปฏิกิริยาโพลิเมอไรเซชันเพียงบางส่วน มีการเชื่อมโยงโมเลกุลเกิดข้ึน บ้างเล็กน้อย และยังสามารถหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึงสามารถข้ึนรูปภายใต้ความดัน และอุณหภูมิสูงได้ เม่ือผลิตภัณฑ์มีรูปร่างตามต้องการแล้ว ให้คงอุณหภูมิไว้ประมาณ 200 - 300 องศาเซลเซียส เพื่อให้ได้โครงสร้างแบบร่างแหท่ีเสถียรและแข็งแรง สามารถนําผลิตภัณฑ์ ออกจากแบบโดยไม่ต้องรอให้เย็น เน่ืองจากผลิตภัณฑ์จะแข็งตัวอยู่ภายในแม่พิมพ์ ดังนั้นการ ให้ความร้อนในกระบวนการผลิตพลาสติกเทอร์โมเซตกลับทําให้วัสดุแข็งขึ้น ต่างจาก
19 กระบวนการผลิตพลาสติกเทอร์โมพลาสติที่การให้ความร้อนจะทําให้พลาสติกน่ิม และ หลอมเหลว พลาสติกเทอร์โมเซตเม่ือใช้งานเสร็จแล้วไม่สามารถนํามาผ่านการหลอมและผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรอื รไี ซเคลิ ได้อกี และถา้ ใหค้ วามร้อนมากเกินไป จะทําให้พลาสติกเกิดการ สลายตัวหรือไหม้ โดยไม่เกิดการหลอมเหลว ตัวอย่าง ของพลาสติกในกลุ่มน้ีเช่น เบคเคอไลต์ และเมลามนี เปน็ ตน้ ตารางท่ี 2.2 แสดงความแตกตา่ งระหว่างเทอรโ์ มพลาสตกิ และเทอร์โมเซต เทอรโ์ มพลาสตกิ เทอร์โมเชตติ้ง 1. เป็นโพลเิ มอร์แบบเสน้ หรือแบบกิง่ 1. เปน็ โพลเิ มอร์แบบเชอ่ื มโยงหรือ แบบรา่ งแห 2. จะอ่อนตวั หรือหลอมเหลวเมื่อได้รบั 2. จะแข็งตวั เมือ่ ไดร้ บั ความรอ้ น ความรอ้ น 3. ตอ้ งทาํ ใหเ้ ยน็ ก่อนเอาออกจากแม่แบบ 3. ไมต่ ้องรอใหเ้ ย็นกอ่ นเอาออกจาก มฉิ ะนน้ั จะเสียรปู ทรงได้ แม่แบบ 4. ไมเ่ กดิ ปฏิกิรยิ าโพลเิ มอร์ไรเซชันในแม่พมิ พ์ 4.เกดิ ปฏิกริ ยิ าโพลเิ มอร์ไรเซชัน ในแม่พิมพ์ 5. นาํ มารีไซเคลิ โดยการหลอมและขึ้นรูปใหม่ได้ 5.ไม่สามารถนาํ มารีไซเคลิ ได้
20 ตารางท่ี 2.3 การนําพลาสตกิ บางชนดิ ไปใชป้ ระโยชน์ ที่ ตวั ย่อ ช่ือเตม็ ผลิตภณั ฑ์ 1 PET โพลิเอทธิลีนเทเรฟทาเลต ภาชนะบรรจนุ าํ้ อดั ลม เส้นใยสาํ หรบั (Poly (ethylene terephthalate) ทําเส้อื กนั หนาว พรม 2 HDPE โพลเิ อทธลิ นี ความหนาแนน่ สูง บรรจุภณั ฑ์สาํ หรับน้ํายาทาํ ความ (High density polyethylene) สะอาด แชมพสู ระผม แป้งเด็ก และ ถงุ หหู ้วิ ขวดใส่นํ้ายาซักผา้ 3 PVC โพลิไวนิลคลอไรด์ ท่อนาํ้ ประปาสายยางใสแผ่นฟิล์ม (Poly (vinyl chloride ) สาํ หรับห่ออาหาร ม่านในห้องอาบนาํ้ แผน่ กระเบือ้ งยาง แผ่นพลาสตกิ ปูโตะ๊ แผน่ พลาสติกปโู ต๊ะ ขวดใส่ แชมพูสระผม 4 LDPE โพลเิ อทธลิ นี ความหนาแนน่ ตาํ่ ฟิล์มสาํ หรบั หอ่ อาหารและหอ่ ของ (Low density polyethylene ) ถุงใสข่ นมปงั และถงุ เยน็ สําหรบั บรรจุ อาหาร ถงุ ดําสําหรบั ใส่ขยะ ถงุ หูห้ิว ถังขยะ 5 PP โพลโิ พรพิลนี (Polypropylene ) กล่อง ชาม จาน ถงั ตะกรา้ กระบอก สําหรบั ใส่นา้ํ แชเ่ ยน็ กล่องแบตเตอรี่ รถยนต์ ช้ินสว่ นรถยนต์ เช่น กนั ชน และกรวยสําหรบั นาํ้ มัน 6 PS โพลิสไตรีน (Polystyrene ) ภาชนะบรรจขุ องใช้ เช่น เทปเพลง สาํ ลี หรอื ของแห้ง ถาดโฟมสําหรับ บรรจุอาหารไมแ้ ขวนเสื้อ กลอ่ งวดี โี อ ไม้บรรทัด หรือของใชอ้ ื่น ๆ 7 PC โพลคี ารบ์ อเนต(Polycarbonate) นํากลับมารีไซเคิลเป็นขวดนํ้า กล่อง เปน็ พลาสตกิ ชนิดอ่นื ๆ ทีอ่ าจจะนาํ และถุงบรรจอุ าหาร กระสอบปุ๋ย และ พลาสติกหลายชนิดมาผสมกัน แต่ ถงุ ขยะ ไมใ่ ช่พลาสติก 6 ชนิดก่อนหน้าน้ี
21 เรอ่ื งที่ 2 ผลกระทบของการใชว้ สั ดุ วัสดุเหลือใช้ หรือ ขยะมูลฝอย สําหรับคนท่ัวไป ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดว่าไม่มีประโยชน์ ต้องเอาไปกําจัดเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว ขยะเหล่านั้น ยังสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อีก ถา้ รู้จักคิดกอ่ นท้ิง แลว้ นําขยะเหล่านน้ั มาผ่านกระบวนการคดั แยกกอ่ นทิ้ง เพือ่ นาํ กลบั มาใช้ ใหเ้ กิดประโยชน์ หากขยะมลู ฝอยไม่ผา่ นกระบวนการคัดแยกกอ่ นทงิ้ ขยะเหล่านีร้ วมกัน มปี ริมาณท่ีมากขน้ึ เรือ่ ย ๆ และเพม่ิ ทวีคูณ ซ่งึ เมือ่ ท้ิงไวใ้ นระยะเวลานาน จะถูกหมกั หมม สร้างความสกปรก สงิ่ กลนิ่ เหมน็ สง่ ผลกระทบทงั้ ต่อสุขภาพและระบบนิเวศ 2.1 แหลง่ กาํ เกดิ ขยะมูลฝอย แหล่งกาํ เนิดของขยะมูลฝอยจากกิจกรรมตา่ ง ๆ ขยะเปน็ สง่ิ ทเ่ี หลอื ใช้ หรือส่งิ ท่ีไม่ ต้องการอกี ตอ่ ไป สามารถแบ่งตามแหล่งกําเนดิ ได้ดังน้ี 2.1.1 ของเสยี จากครัวเรือนแหล่งชมุ ชน เชน่ หลอดไฟ ถา่ นไฟฉาย แบตเตอรี่ แก้ว เศษอาหาร พลาสตกิ โลหะ หินไม้ กระเบ้ือง หนัง ยาง เปน็ ต้น 2.1.2 ของเสียจากภาคเกษตรกรรม เชน่ ยาฆา่ แมลงป๋ยุ มลู สตั ว์ นา้ํ ทิง้ จากการทาํ ปศุสตั ว์ เปน็ ต้น 2.1.3 ของเสียจากโรงงานอตุ สาหกรรม ของเสยี อันตรายท่วั ประเทศไทย 73 % มา จากระบบอุตสาหกรรม สว่ นใหญย่ ังไมม่ กี ารจัดการท่เี หมาะสมโดยทง้ิ กระจายอยตู่ าส่งิ แวดล้อม และทงิ้ ร่วมกบั มลู ฝอยอ่ืน 2.1.4 ของเสียจากโรงพยาบาลและสถานที่ศึกษาวิจัย ซ่ึงเป็นของเสียอันตรายอย่าง ยิ่ง เช่น ขยะติดเช้ือ เข็มฉีดยา สําลีซับเลือด รวมท้ังของเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี สารเคมี ได้ทิ้งสู่ส่ิงแวดล้อมโดยปะปนกับมูลฝอย สิ่งปฏิกูลเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ในการแพร่กระจาย ของเช้อื โรคและสารอนั ตราย
22 2.2 ผลกระทบด้านสขุ ภาพ 2.2.1 ความเส่ยี งต่อการเกดิ โรคการไดร้ บั สารอนั ตรายบางชนดิ เข้าไปในร่างกาย อาจทําใหเ้ จบ็ ป่วยเปน็ โรคตา่ ง ๆ จนอาจถงึ ตายได้พษิ ของขยะอนั ตรายสามารถเข้าสรู่ า่ งกาย ของเราได้ ดังนี้ 1) ทางการหายใจโดยการสูดดมไอระเหย ผง หรือละอองสารพิษเข้าสู่ ร่างกาย เช่น สี ตวั ทาํ ละลายน้ํามนั รถยนต์ 2) ทางผวิ หนงั โดยการสมั ผัสหรอื จบั ต้องสารพิษซ่ึงสามารถซมึ เขา้ สูผ่ วิ หนงั และจะดดู ซึมได้มากย่งิ ขึ้นหากมีบาดแผลท่ผี วิ หนงั หรอื เปน็ โรคผวิ หนงั อยกู่ อ่ นแล้ว 2.2.2 เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุของแมลง และพาหะของโรค เศษวัสดุ ของเสีย มีปริมาณเพ่ิมมากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากการขยายตัวของ เมอื งการพฒั นาเทคโนโลยเี พ่ืออํานวยความสะดวกสบาย การอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น หากใช้วิธี กาํ จดั เศษวสั ดุ ของเสยี ทไี่ มถ่ กู ตอ้ งเหมาะสม ยอ่ มกอ่ ใหเ้ กดิ ปญั หาตามมา เน่ืองจากเชอ้ื จลุ ินทรีย์ ท่ีปนเปื้อนมากับขยะมูลฝอย จากเศษวัสดุต่าง ๆ มีโอกาสท่ีจะขยายพันธ์ุเพ่ิมจํานวนมากย่ิงขึ้น ได้ เพราะขยะมูลฝอยมีท้ังความชื้นและสารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ใช้เป็นอาหาร ขยะพวกอินทรีย์ สารที่ทิ้งค้างไว้ จะเกิดการเน่าเป่ือยกลายเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุของเช้ือโรค นอกจากน้ันขยะที่ ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะเป็นท่ีอยู่อาศัยของสัตว์พาหะ โดยจะเข้ามาทํารัง ขยายพันธุ์ เพราะมีทั้ง อาหารและที่หลบซ่อน ดังนั้นขยะที่ขาดการเก็บรวบรวม และการกําจัด จึงทําให้เกิดเป็นแหล่ง เพาะพันธ์ทุ ี่สําคญั ของเชื้อโรค แมลงวัน หนู แมลงสาบ ซึง่ เป็นพาหะนําโรคมาสคู่ น 2.2.3 ก่อใหเ้ กดิ ความราํ คาญ การเก็บรวบรวมขยะได้ไมห่ มดก็จะเกดิ เปน็ กล่นิ รบกวน กระจายอยู่ ทวั่ ไปในชมุ ชน นอกจากนน้ั ฝุ่นละอองทเี่ กิดจากการเกบ็ รวบรวมการขนถา่ ย และการกาํ จัดขยะ ก็ยังคงเปน็ เหตรุ าํ คาญทม่ี ักจะได้รับการร้องเรยี นจากประชาชนในชมุ ชนอย่เู สมอ อกี ทง้ั อดุ จาด ตานา่ ขยะแขยง
23 2.3 ผลกระทบตอ่ ระบบนิเวศ ขยะเป็นสาเหตุสําคัญท่ีทําให้เกิดมลพิษของนํ้า มลพิษของดิน และมลพิษของ อากาศ เน่ืองจากขยะส่วนทีข่ าดการเก็บรวบรวม หรอื ไม่นาํ มากําจัดให้ถูกวิธี ปล่อยท้ิงค้างไว้ใน พ้ืนที่ของชุมชน เมื่อมีฝนตกลงมาจะไหลชะนําความสกปรก เช้ือโรค สารพิษจากขยะไหลลงสู่ แหล่งนาํ้ ทาํ ใหแ้ หลง่ นํา้ เกิดเนา่ เสียไดห้ ากสารอันตรายซมึ หรอื ไหลลงส่พู น้ื ดิน หรอื แหล่งน้าํ จะไปสะสมในหว่ งโซ่อาหาร เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ําและพืชผัก เมื่อเรานําไปบริโภคจะได้รับสาร นั้นเขา้ สู่รา่ งกายเหมอื นเรากินยาพิษเขา้ ไปอย่างชา้ ๆ 2.3.1 มลพษิ ดา้ นสงิ่ แวดลอ้ ม ถ้ามีการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้ง เช่น การเผาพลาสติก ถ้าการเผา ไหม้ไม่สมบูรณ์ จะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ท่ีจัดเป็นก๊าซพิษออกมาด้วย ทําให้เกิดควันมีสารพิษทําให้คุณภาพของอากาศเสีย ส่วนมลพิษทางอากาศจากขยะมูลฝอยนั้น อาจเกดิ ขนึ้ ไดท้ ั้งจากมวลสารทม่ี ีอยู่ในขยะและพวกแกส๊ หรือไอระเหย ท่สี ําคญั ก็คือ กล่นิ เหมน็ ที่เกดิ จากการเนา่ เปอ่ื ย และสลายตวั ของอินทรยี ส์ ารเป็นสว่ นใหญ่ นอกจากน้ีพลาสติกซึ่งมีโมโน เมอร์ มธี าตคุ ลอรีนเป็นองคป์ ระกอบ เชน่ โพลิไวนิลคลอไรด์ หรือจลุ ินทรยี ์ เมื่อเผาไหมจ้ ะให้ กา๊ ซไฮโดรเจนคลอไรด์ ซึง่ มีสมบัตเิ ปน็ กรดจะเป็นอนั ตรายจากการสูดดม และอาจเปน็ สว่ นหน่ึง ที่ทําให้เกิดฝนกรด ส่วนพลาสติกประเภททใี่ ชย้ เู รยี ในการผลติ โพลเิ มอร์ เมอื่ เผาแล้วจะเกดิ กา๊ ซ แอมโมเนีย ซ่งึ มีสมบัตเิ ป็นดา่ ง ดงั นน้ั จงึ ไม่ควรกาํ จดั พลาสตกิ ด้วยวธิ กี ารเผา
24 2.3.2 ระบบนเิ วศถูกทาํ ลาย มลู ฝอยอนั ตรายบางอยา่ ง เชน่ ไฟฉายหลอดไฟ ซง่ึ มสี ารโลหะหนกั บรรจใุ นผลิตภัณฑ์ หากปนเปอ้ื นส่ดู ินและนาํ้ จะส่งผลเสยี ต่อระบบนเิ วศ และหว่ งโซอ่ าหาร ซ่งึ เป็นอันตรายตอ่ มนุษย์และส่ิงแวดล้อม ภาพที่ 2.4 ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อระบบนิเวศ 2.3.3 ปัญหาดินเสอ่ื มสภาพ ขยะมูลฝอยและของเสียต่างๆถ้าเราท้ิงลงในดิน ขยะส่วนใหญ่จะสลายตัวให้ สารประกอบ อินทรีย์และอนินทรีย์มากมายหลายชนิดด้วยกัน แต่ก็มีขยะบางชนิดที่สลายตัวได้ ยาก เช่น ผ้าฝ้าย หนัง พลาสติก โดยเฉพาะเกลือไนเตรตสะสมอยู่เป็นจํานวนมาก แล้วละลาย ไปตามนา้ํ สะสมอยูใ่ นบรเิ วณใกล้เคยี ง การทงิ้ ของเสยี จากโรงงานอตุ สาหกรรมตา่ ง ๆ เปน็ แหล่ง ผลิตของเสียที่สําคัญยิ่ง โดยเฉพาะของเสียจากโรงงานท่ีมีโลหะหนักปะปน ทําให้ดินบริเวณนั้น มีโลหะหนักสะสมอยู่มาก โลหะหนักท่ีสําคัญ ได้แก่ ตะก่ัว ปรอท และแคดเมียม ซึ่งจะมี ผลกระทบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของขยะมูลฝอย ถ้าขยะมีซากถ่านไฟฉาย ซาก แบตเตอร่ี ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์มาก ก็จะส่งผลต่อปริมาณโลหะหนักพวกปรอท แคดเมียม ตะกั่ว ในดินมาก ซ่ึงจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์ในดิน และสารอินทรีย์ในขยะมูลฝอย เมื่อมี การย่อยสลาย จะทําให้เกิดสภาพความเป็นกรดในดิน และเม่ือฝนตกมาชะกองขยะมูลฝอย จะทําให้นํ้าเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลปนเป้ือนดินบริเวณรอบ ๆ ทําให้เกิดมลพิษของดินได้ การปนเป้ือนของดิน ยังเกิดจากการนํามูลฝอยไปฝังกลบ หรือการยักยอกนําไปท้ิงทําให้ของเสีย อันตรายปนเป้ือนในดินนอกจากนั้นการเลี้ยงสัตว์เป็นจํานวนมาก ก็ส่งผลต่อสภาพของดิน เพราะส่งิ ขับถา่ ยของสัตว์ทนี่ ํามากองทับถมไว้ ทาํ ให้เกิดจลุ ินทรีย์ยอ่ ยสลาย
25 ได้อนุมลู ของไนเตรตและอนมุ ูลไนไตรต์ ถา้ อนมุ ลู ดังกลา่ วน้ีสะสมอยู่จํานวนมากในดนิ บริเวณ นั้นจะเกิดเปน็ พษิ ได้ ซึ่งเปน็ อันตรายตอ่ มนุษย์โดยทางออ้ ม โดยได้รบั เขา้ ไปในรปู ของน้ําดม่ื ท่มี ี สารพษิ เจอื ปน โดยการรบั ประทานอาหาร พชื ผกั ทปี่ ลูกในดินทีม่ ีสารพิษสะสมอย่แู ละยงั ส่งผล กระทบต่อคณุ ภาพดนิ 2.3.4 ปญั หามลพษิ ทางนํ้า ขยะมูลฝอยอนิ ทรีย์ จาํ นวนมากถา้ ถูกทิง้ ลงสแู่ มน่ ํ้าลาํ คลอง จะถูกจลุ ินทรีย์ ในน้ําย่อยสลายโดยใช้ออกซิเจน ทําใหอ้ อกซเิ จนในนํา้ ลดลงและส่งผลให้เกิดน้ําเนา่ เสีย ภาพที่ 2.5 ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อแมน่ ํ้าลาํ คลอง ทมี่ า : http://contentcenter.prd.go.th ปัจจุบันเราพบว่าอุณหภูมิของโลกเราสูงขึ้น ระบบนิเวศถูกทําลาย ซ่ึงเกิดจากฝีมือของ มนุษย์เรา ได้แก่ การท้ิงขยะไม่ถูกท่ี กําจัดขยะไม่ถูกวิธี นําไปเผาเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ และจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การทําความเย็นในตู้เย็น เคร่ืองปรับอากาศ โฟมกระป๋องสเปรย์ สารดับเพลิง สารชะล้างในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสารเหล่าน้ี เรียกว่า สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon,CFC ) และใน อนาคต ถ้าเราไม่ช่วยกันลดการใช้สารทําลายช้ันโอโซนท่ีเกิดจากสาร CFC โลกของเราก็จะเจอ กบั ปญั หาส่ิงแวดลอ้ มเป็นพิษ อย่างหลกี เลี่ยงไม่ได้
26 เรือ่ งท่ี 3 การเลือกผลติ ภัณฑท์ ่เี ป็นมติ รกบั สิง่ แวดลอ้ ม หลักการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมเป็นการประยุกต์ใช้แนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่พร้อมรับมือ กับส่ิงท่ีจะเกิดข้ึนกับสิ่งแวดล้อม สามารถลดปริมาณขยะซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้ โดยเลอื กใช้สินคา้ อย่างพอประมาณ มเี หตุผลในการเลือกใช้ มีภูมิคุม้ กันไมเ่ กดิ พษิ ภัยตอ่ ตนเอง และส่ิงแวดล้อม โดยควรศึกษาความรู้เก่ียวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมเพ่ือจะได้ เลือกซ้อื ไดอ้ ยา่ งถูกต้อง และใชจ้ นเกิดเป็นนิสัยซ่ึงเปน็ พืน้ ฐานแหง่ คณุ ธรรมในหลายดา้ น 1. คุณสมบัตสิ นิ คา้ ทเ่ี ป็นมิตรกบั สง่ิ แวดลอ้ ม 1) ใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เช่น วัสดุที่ไม่มีพิษ วัสดุ หมุนเวยี นทดแทนได้ วัสดรุ ีไซเคิลและวสั ดทุ ่ใี ชพ้ ลงั งานตาํ่ ในการจดั หามา 2) ใช้วัสดุน้อย เช่น น้ําหนักเบา ขนาดเล็ก มีจํานวนประเภทของวัสดุ น้อย มีการเสริมความแขง็ แรง เพ่ือให้ลดขนาดลงได้ 3) มีการใชเ้ ทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ใช้ทรัพยากร และพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในการผลิต ใช้พลังงานที่สะอาด ลดการเกิดของเสีย จาก กระบวนการผลติ และลดขนั้ ตอนของกระบวนการผลติ 4) มีระบบขนส่งและจัดจําหน่ายท่ีมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ลดการใช้ หบี ห่อบรรจภุ ณั ฑท์ ี่ฟมุ่ เฟือย ใช้บรรจุภัณฑท์ ่ีทําจากวัสดุที่ใช้ซํ้าหรือหมุนเวียนใหม่ได้ ใช้รูปแบบ การขนส่งที่ก่อผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมตํ่า และเลือกใช้เส้นทางการขนส่งที่ประหยัดพลังงาน ท่สี ุด 5) ลดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมท่ีเกิดในช่วงการใช้งาน เช่น ใช้พลังงาน ตํ่า มีการปล่อยมลพิษตํ่า ในระหว่างใช้งาน ลดการใช้วัสดุสิ้นเปลือง (เช่น ต้องเปลี่ยนไส้กรอง บอ่ ย) และลดการใช้ชิน้ สว่ นที่ไม่จาํ เป็น 6) มีความคุ้มค่าตลอดชีวิตการใช้งาน เช่น ทนทาน ซ่อมแซมและดูแล รกั ษาง่าย ปรบั ปรงุ ต่อเตมิ ได้ ไม่ตอ้ งเปล่ยี นบ่อย 7) มีระบบการจัดการหลังหมดอายุการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การเก็บรวบรวมที่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตํ่า มีการออกแบบให้นําสินค้าหรือช้ินส่วน กลับมาใช้ซ้ํา หรือหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ง่าย หรือหาก ต้องกําจัดท้ิงสามารถนําพลังงานกลับคืน มาใชไ้ ดแ้ ละมีความปลอดภัยสาํ หรับการฝังกลบ
27 2. ฉลากสินคา้ และบริการท่เี ป็นมิตรตอ่ ส่งิ แวดล้อม ฉลากส่ิงแวดล้อม หมายถึง ฉลากที่ติดบนผลิตภัณฑ์หรือบริการว่าเป็นมิตรกับ ส่ิงแวดลอ้ มโดยในกระบวนการผลติ หรือใช้งานสามารถลดการใช้ทรัพยากรหรือลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ฉลากส่ิงแวดล้อมนับเป็นกลยุทธ์อย่างหน่ึงทางการตลาด เพ่ือสร้างแรงจูงใจให้ ประชาชนตระหนักถึงความสําคัญของการรักษาสภาพแวดล้อม และเป็นการเสริมสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร โดยสร้างความตระหนักว่าผลิตภัณฑ์ท่ีนําไปใช้เป็นเคร่ืองมือหรือ อุปกรณ์สําคัญ ในการปกป้องสภาพแวดล้อม ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและผู้ผลิต ซ่ึง ผลิตภัณฑ์ท่ีสามารถติดฉลากแวดล้อมต้องผ่านกระบวนการประเมินจากหน่วยงานท่ีให้ การรับรองว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมโดยรวมน้อยกว่า เม่ือเปรียบเทียบ กับผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน และมีคุณภาพการใช้งานอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซ่ึงในที่น้ี หมายถึงสินค้าและบริการทั่วๆไปปัจจุบันฉลากเพ่ือสิ่งแวดล้อมซ่ึงจัดอยู่ในมาตรฐาน การจดั การสิง่ แวดลอ้ ม ISO 14001 จาํ แนกไดเ้ ป็น 4 ประเภท ประกอบดว้ ย ฉลากประเภทท่ี 1 เป็นฉลากสําหรับสินค้าหรือบริการที่ได้รับการรับรองจากบุคคลท่ี 3 ดําเนินการ โดยองค์กรอิสระ มอบให้กับผลิตภัณฑ์ท่ีมีคุณสมบัติตรงตามข้อกําหนดตามอนุกรมมาตรฐาน ISO 14020 ซึ่งการกําหนดเกณฑ์พิจารณาการลดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมตลอดท้ังวัฏจักรชีวิต ผลิตภัณฑ์ (Life cycle consideration) ภายใต้กรอบดําเนินการตามอนุกรมมาตรฐาน ISO 14024 ปัจจุบันมีการใช้ฉลากประเภทน้ีมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศเยอรมณีเป็น ประเทศแรกท่ีเร่ิมใช้ฉลากประเภทน้ี สําหรับฉลากประเภทนี้ในประเทศไทย ได้แก่ ฉลากเขียว ซึ่งในปจั จบุ นั มสี นิ คา้ หลายประเภทท่ีไดร้ ับอนุมัตใิ หต้ ดิ ฉลากดังกลา่ ว ฉลากส่ิงแวดล้อมประเภท นี้จะให้กับผลิตภัณฑ์ประเภทอุปโภคบริโภค และบริการทุกประเภท ยกเว้น อาหาร ยาและ เครื่องดื่ม และทางภาครัฐก็ให้การสนับสนุน โดยการรณรงค์ให้หน่วยงานราชการ พิจารณา จัดซื้อจัดจ้างสินคา้ หรือบรกิ ารสีเขยี ว ตัวอย่างฉลากประเภทท่ี 1 เช่น
28 ภาพที่ 2.6 ตวั อย่างฉลากสําหรบั สนิ คา้ หรอื บรกิ ารประเภทที่ 1 ท่ีมา : http://www.thailandindustry.com ฉลากประเภทท่ี 2 เป็นฉลากผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตเป็นผู้ออกฉลากเอง เพ่ือความมุ่งหมายเฉพาะ ด้าน เน้นลักษณะทางสิ่งแวดล้อมด้านใดด้านหนึ่ง เนื่องจากเป็นการเผยแพร่ข้อมูลประเด็น ด้านสิ่งแวดล้อมเชิงเด่ียว ไม่ได้พิจารณาตลอดท้ังวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และไม่มีกลไก การตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม โดยการปฏิบิติตามอนุกรมมาตรฐาน ISO 14021 ซ่ึงเป็นนิยาม และคําศัพท์ ข้อกําหนดและแนวทางในการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์ และบทลงโทษในกรณีท่ี ละเมดิ ข้อกาํ หนดทีเ่ กี่ยวกบั การใช้ฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทท่ี 2 ตัวอยา่ งฉลาก เชน่ ภาพท่ี 2.7 ตัวอย่างฉลากสําหรบั สนิ ค้าหรอื บรกิ ารประเภทที่ 2 ท่ีมา : http://www.thaitextile.org
29 ฉลากประเภทที่ 3 เปน็ ฉลากทีแ่ สดงข้อมูลเชิงปริมาณบนพื้นฐานของการประเมินตลอดวัฏจักรของ สินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถประเมินผลกระทบของสินค้าต่อสิ่งแวดล้อมได้ จ า ก ก า ร เ ผ ย แ พ ร่ ข้ อ มู ล เ ชิ ง ป ริ ม า ณ ท่ี บ อ ก ร า ย ล ะ เ อี ย ด เ ก่ี ย ว กั บ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ น ก า ร ใ ช้ ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ปริมาณมลพิษท่ีเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับฉลากโภชนา การอาหาร เป็นส่วนหน่ึงของอนุกรมมาตรฐาน ISO/TR 14025 เป็นแนวทาง หลักการและ ขอ้ กาํ หนดของวิธกี ารรบั รองผลิตภณั ฑท์ ี่จะใช้ฉลากผลิตภัณฑป์ ระเภทที่ 3 ตวั อย่างฉลาก เชน่ ภาพท่ี 2.8 ตวั อย่างฉลากสาํ หรบั สินค้าหรอื บริการประเภทที่ 3 ท่มี า : http://www.thaitextile.org ฉลากประเภทที่ 4 เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมทีบ่ ่งชีป้ ระเด็นด้านสิ่งแวดลอ้ มของผลิตภณั ฑ์ เช่น ฉลาก ประหยัดไฟ หรอื Energy Star ในผลิตภณั ฑเ์ ครอ่ื งใชไ้ ฟฟา้ ภาพที่ 2.9 ตวั อยา่ งฉลากสําหรับสนิ คา้ หรือบริการประเภทท่ี 4 ทีม่ า : http://www.thaitextile.org
30 3. แนวทางการเลือกสนิ ค้าท่ีเป็นมติ รกบั ส่งิ แวดลอ้ ม ผลิตภณั ฑห์ รอื สินคา้ ที่เป็นมติ รกบั สง่ิ แวดล้อม ผู้บริโภค มีแนวทางการเลือกสนิ คา้ ทเี่ ป็นมติ รกับสิง่ แวดลอ้ ม โดยพิจารณาคุณสมบตั ิสินค้า ไดด้ งั น้ี 1. ใช้วัสดุท่ีมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เช่น วัสดุท่ีไม่มีพิษ วัสดุหมุนเวียน ทดแทนได้ วัสดรุ ไี ซเคิล และวัสดทุ ีใ่ ชพ้ ลังงานตํา่ ในการจดั หามา 2. ใช้วัสดุน้อย เช่น น้ําหนักเบา ขนาดเล็ก มีจํานวนประเภทของวัสดุน้อย เช่น มีวัสดหุ บี หอ่ น้อย มีการเสริมความแขง็ แรง เพ่ือใหล้ ดขนาดลงได้ 3. มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ใช้ทรัพยากรและ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในการผลิต ใช้พลังงานท่ีสะอาด ลดการเกิดของเสียจาก กระบวนการผลติ และลดข้ันตอนของกระบวนการผลิต 4. มีระบบขนส่งและจัดจําหน่ายที่มีประสิทธิภาพ เช่น ลดการใช้หีบห่อบรรจุ ภณั ฑท์ ฟี่ มุ่ เฟอื ย ใช้บรรจุภณั ฑ์ทที่ าํ จากวัสดทุ ใ่ี ช้ซํา้ หรือหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ ใช้รูปแบบการขนส่ง ที่กอ่ ผลกระทบต่อส่งิ แวดล้อมตํา่ และเลอื กใช้เสน้ ทางการขนส่งทีป่ ระหยัดพลงั งานทส่ี ุด 5. ลดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมที่เกิดในช่วงการใช้งาน เช่นใช้พลังงานตํ่า มีการ ปล่อยมลพษิ ตา่ํ ในระหวา่ งใชง้ าน ลดการใช้วสั ดุสน้ิ เปลือง และลดการใช้ช้ินสว่ นท่ไี ม่จาํ เป็น 6. มีความคุ้มคา่ ตลอดชวี ติ การใช้งาน เช่น ทนทาน ซ่อมแซมและดูแลรักษาง่าย ปรับปรงุ ตอ่ เติมได้ ไม่ต้องเปล่ยี นบ่อย 7. มีระบบการจัดการหลังหมดอายุการใช้งานท่ีมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การ เก็บรวบรวมที่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตํ่า มีการออกแบบให้นําสินค้าหรือช้ินส่วนกลับมาใช้ ซ้ําหรือหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ง่าย หรือหากต้องกําจัดท้ิงสามารถนําพลังงานกลับคืนมาใช้ได้ และมี ความปลอดภัยสาํ หรบั การฝงั กลบ 8. การพิจารณาว่าสินค้าใดเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมควรพิจารณาว่าสินค้านั้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากในช่วงใดของวัฏจักรชีวิต เช่น เคร่ืองใช้ไฟฟ้า จะก่อผลกระทบ มากในช่วงใช้งานมากกว่าในช่วงการผลิต และหากมีการลดผลกระทบในช่วงดังกล่าวให้น้อย กว่าสินค้าอืน่ ทม่ี ลี กั ษณะการทาํ งานเหมือนกัน รวมท้ังประเด็นดา้ นสิ่งแวดล้อมอ่ืน ๆ ซึ่งจะถือได้ วา่ เป็นสินค้าทเี่ ปน็ มิตรกับสงิ่ แวดล้อม
31 ดงั น้ัน การพิจารณาเลือกใชส้ นิ คา้ และบรกิ ารที่เป็นมติ รตอ่ สงิ่ แวดล้อม โดยใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นํามาพิจารณาให้รอบคอบ บนพ้ืนฐานความรู้น้ัน จะทําให้ สามารถตัดสินใจเลือกใช้สินค้าและบริการน้ัน ๆ อย่างมีเหตุมีผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกัน พิษภัยที่เกิดข้ึนกับวัสดุเหลือใช้จากสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ส่งผลต่อสุขภาพตนเองและเป็นพิษ ตอ่ ส่งิ แวดลอ้ ม ผลิตภัณฑ์หรือส่ิงของเครื่องใช้มากมายหลายชนิดทําให้มนุษย์มีชีวิตท่ี สะดวกสบายมากข้ึน แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีก็มีผลกระทบต่อมนุษย์หลายด้าน เช่น ทําให้ เกิดมลภาวะ ทําลายสภาพแวดล้อม ปัญหาสังคม ความยากจน อาชญากรรม ปัญหาเศรษฐกิจ ซ่ึงปัญหาเหล่าน้ีจะต้องแก้ไขโดยการมีจิตสํานึกของมนุษย์ทุกคนในการเลือกใช้ส่ิงของเครื่องใช้ อย่างสร้างสรรค์ เลือกสิ่งของเครื่องใช้ท่ีเป็นมิตรกับชีวิต สังคม และส่ิงแวดล้อม มนุษย์สามารถ จะเปลย่ี นความคิด ลดความเห็นแก่ตัว การใช้ส่ิงของที่เป็นอันตรายต่อส่ิงแวดล้อมทําให้เกิดโทษ มากกว่าประโยชน์ ซ่ึงการแก้ปัญหานอกจากจะใช้กระบวนการเทคโนโลยีโดยการหาวิธีใหม่ๆ แล้วมนุษย์ทุกคนจะต้องมีจิตสํานึกในการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงมีจิตสาธารณะคํานึงถึง ประโยชนข์ องส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ใช้ส่ิงของเลือกใช้อย่างสร้างสรรค์ รู้คุณค่าและ ไมเ่ กิดโทษตอ่ คนอื่น ๆ รวมถึงสังคม และกอ่ ให้เกิดมลภาวะน้อยท่ีสดุ เป็นตน้ กิจกรรมทา้ ยหนว่ ยการเรียนท่ี 2 หลังจากท่ีผู้เรียนศึกษาเอกสารชุดการเรียนหน่วยที่ 2 จบแล้ว ให้ผู้เรียนค้นคว้า เพม่ิ เตมิ จากแหล่งเรียนรู้ตา่ ง ๆ แล้วทํากิจกรรมการเรียนรู้หน่วยที่ 2 ในสมุดบันทึกกิจกรรมการ เรยี นรู้ แลว้ จดั ส่งตามทผี่ สู้ อนกาํ หนด
32 หนว่ ยการเรียนที่ 3 การจัดการวสั ดทุ ่ใี ช้แลว้ สาระสาํ คญั ขยะมูลฝอยทเ่ี ราพบเหน็ ในชวี ิตประจาํ วัน เริม่ ทวีคูณเพิม่ ปริมาณขึน้ เร่ือย ๆ เพอื่ ให้ มีปริมาณขยะท่ีลดน้อยลง เราต้องมีการจัดการขยะมูลฝอยให้ถูกวิธี เพ่ือลดผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ในปัจจุบันการจัดการขยะมูลฝอยมีหลากหลายวิธี เป็นการ ผสมผสานเพื่อให้เป็นกระบวนการท่ีเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของขยะมูล ฝอย การจัดการขยะมูลฝอยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง มีความยืดหยุ่น ไม่มีรูปแบบท่ีตายตัว ข้ึนกับเง่ือนไขและปัจจัยด้านการจัดการขยะมูลฝอยของท้องถ่ินนั้นๆ เช่น พื้นที่หรือสถานที่ ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน และ ในปัจจุบันวิธีการจํากัดขยะอย่างง่ายๆ ที่พบเห็น มี 2 วิธี คือ โดยการเผาไหมแ้ ละฝังกลบ ตวั ชวี้ ดั 1. อธิบายหลักสาํ คัญในการจดั การวสั ดทุ ่ีใชแ้ ล้วได้ 2. อธบิ ายหลัก 3R ในการจดั การวัสดทุ ีแ่ ล้วได้ 3. อธิบายเทคโนโลยีการกําจัดวัสดุได้ ขอบขา่ ยเนือ้ หา 1. การจัดการวัสดุ 2. หลกั 3R ในการจดั การวัสดทุ ่แี ล้ว 3. เทคโนโลยีการกําจดั วสั ดุประเภทโลหะและอโลหะ
33 หน่วยการเรียนที่ 3 การจัดการวัสดทุ ีใ่ ชแ้ ล้ว เรื่องท่ี 1 การจดั การวัสดุ ขยะมูลฝอยที่เราพบเห็นในชีวิตประจําวันเกิดจากบ้านเรือน ตลาดสด สถานประกอบการ แหลง่ ทอ่ งเทีย่ วในชุมชน รวมถึงสถานที่สาธารณะต่างๆ เร่ิมทวคี ูณเพิ่มปริมาณข้ึนเร่ือยๆ เพ่ือให้ มปี ริมาณขยะท่ลี ดนอ้ ยลง เราตอ้ งมีการจัดการขยะมลู ฝอยให้ ถูกวิธี เพือ่ ลดผลกระทบทจี่ ะเกิดขึ้นกับส่ิงแวดล้อมมากท่ีสุด ในปัจจุบันการจัดการขยะมูลฝอยมี หลากหลายวิธี เป็นการผสมผสานเพ่ือให้เป็นกระบวนการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการ แก้ปญั หาของขยะมลู ฝอย การจดั การขยะมลู ฝอยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง มีความยืดหยุ่น ไม่ มีรูปแบบท่ีตายตัวขึ้นกับเง่ือนไขและปัจจัยด้านการจัดการขยะมูลฝอยของท้องถิ่นนั้นๆ เช่น พ้ืนที่หรือสถานท่ี ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย สถานะทาง การเงิน ความสามารถในการลงทุนของท้องถ่ิน การจัดการขยะมูลฝอย มีหลักการท่ีสําคัญ 3 ประการ ดังน้ี 1) การเก็บรวบรวมและขนส่ง มีวตั ถุประสงค์ เพ่ือทจ่ี ะนําเอาขยะมูลฝอยออก จากแหล่งกําเนดิ เพอื่ ลดผลกระทบต่อสขุ อนามัยและสภาพแวดล้อม 2) กระบวนการใชป้ ระโยชนด์ ้วยวธิ กี ารต่าง ๆ มวี ตั ถุประสงคเ์ พื่อการใช้ ประโยชนจ์ ากขยะมลู ฝอยในรูปแบบการนาํ กลับมาใชใ้ หม่ เช่น การทําปุ๋ย หรือการนํามาผลติ พลงั งาน หรอื จะนาํ รูปแบบการลด คดั แยก และใช้ประโยชนจ์ ากขยะมลู ฝอยใหเ้ กิดประโยชน์ สงู สดุ โดยการใช้หลัก 3R คอื ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซาํ้ (Reuse) นาํ กลับมาใชใ้ หม่ (Recycle) ตามความเหมาะสม 3) การกําจัด มีวัตถุประสงค์ เพื่อกําจัดส่วนที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ ใน ปัจจบุ ันวิธีการจาํ กัดขยะอย่างง่าย ๆ มี 2 วธิ ี คือ (1) โดยการเผาไหม้ เป็นการนาํ ขยะไปเผาในเตาเผา แต่วิธีน้ีจะก่อให้เกิด ปัญหา เพราะขยะบางชนิดเม่ือเผาแล้วทําให้เกิดการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ จะปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซ่ึงเป็นอันตรายและทําให้เกิดมลพิษทางอากาศ การเผาขยะจึงเป็นสิ่งท่ีพึง ระวงั โดยทั่วไปขยะจากบ้านเรือนจะใชว้ ิธกี ารเผามากทสี่ ุด
34 (2) โดยการฝังกลบ โดยทั่วไปแล้ว ขยะจากบ้านเรือน ประมาณร้อยละ 80 จะถูกนําไปเทในหลุมขนาดมหึมา เพื่อทําการฝังกลบ แต่การฝังกลบ หลุมฝังกลบที่มีการ จัดการท่ีดี จะต้องนําขยะเข้าเครื่องอัดให้แน่นเป็นแผ่นแบนๆแล้วทับถมด้วยดินท่ีสะอาด เพื่อ ปอ้ งกนั สตั วต์ า่ ง ๆ เช่น สุนัข แมว หนู นก แมลงวัน มาขุดคุ้ย ขยะท่ีถูกฝังจะมีแบคทีเรียมาช่วย ย่อยสลาย ขยะที่ย่อยสลายได้น้ัน จะถูกย่อยสลายด้วยกระบวนการทางชีวภาพตามธรรมชาติ โดยมีปัจจัยประกอบด้วย แบคทีเรีย น้ํา ออกซิเจน และความร้อน หลุมฝังกลบจะต้องมีการ ป้องกันการไหลซึมของนํ้าเสียและเชื้อโรค เพราะขยะบางชนิดไม่สามารถย่อยสลายตัวได้ เนอื่ งจากไม่ไดส้ มั ผัสกับออกซิเจนหรือน้ําเลย การกําจัดด้วยวิธีนี้ทําให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง ตามมาเชน่ กัน เนื่องจากการเน่าเสียของขยะ ทําให้เกิดของเหลวท่ีเป็นพิษ ไหลซึมลงไปทําให้น้ํา ใต้ดินเป็นพิษได้ นอกจากน้ันการเน่าเสียของขยะ ยังทําให้เกิดก๊าซมีเทน ซ่ึงมีผลทําให้เกิด ปรากฏการณ์เรือนกระจก ซ่ึงการฝังกลบแต่ละสถานที่ เมื่อขยะเต็มแล้วจะต้องหาที่ใหม่ต่อไป อกี เร่ือย ๆ ดังนัน้ ต้องกาํ จดั ขยะมลู ฝอยใหถ้ กู ตอ้ งตามหลกั วชิ าการ ด้วยการฝังกลบอยา่ ง ถูกหลกั สขุ าภบิ าล เพื่อป้องกันผลกระทบทีจ่ ะเกิดข้นึ ตามมา ภาพที่ 3.1 แสดงการกาํ จดั ขยะมลู ฝอยดว้ ยวิธกี ารฝงั กลบ ที่มา : http://kanchanapisek.or.th
35 อัตราการยอ่ ยสลาย ขยะแต่ละชนิดท่ยี ่อยสลายไดจ้ ะมอี ัตราเรว็ ในการย่อยสลายต่างกัน บางชนิดมีอัตราเร็วของ การย่อยสลายต่ํามาก และบางชนิด เช่น แก้วก็ไม่สามารถย่อยสลายได้ ระยะเวลาการย่อยสลาย ตามธรรมชาติ อัตราเรว็ ของการย่อยสลายของขยะแตล่ ะชนิดมีความแตกตา่ งกัน ดังน้ี 5 วนั – 1 เดอื น 3 เดือน 2-5 เดอื น เศษพชื ผกั ใบไหม้ เศษกระดาษ 6 เดือน 5 ปี 12-15ปี เปลอื กส้ม กล่องนมเคลือบพลาสตกิ กน้ กรองบุหร่ี 25-40 ปี 80-100 ปี 450 ปี รองเท้าหนัง กระป๋องอะลมู ิเนยี ม ถุงพลาสตกิ
450 ปี 500 ปี 36 ขวดพลาสตกิ ผ้าอ้อมเด็กชนดิ สาํ เร็จรปู ไมย่ อ่ ยสลาย โฟม ภาพท่ี 3.2 ตารางภาพแสดงอตั ราเรว็ ในการยอ่ ยสลายขยะมูลฝอย
37 เรือ่ งที่ 2 หลัก 3R ในการจดั การวัสดทุ ี่ใชแ้ ลว้ การลดปริมาณขยะด้วยหลัก 3R เป็นแนวทางปฏิบัติในการลดปริมาณขยะในครัวเรือน โรงเรียน และชมุ ชน ดังน้ี 1. Reduce หมายถึง การใชน้ ้อย หรอื ลดปริมาณการใช้ เช่น 1) หลีกเลย่ี งการใชอ้ ยา่ งฟุ่มเฟอื ย ลดปรมิ าณการใช้ให้อยู่ในสัดส่วนท่ีพอเหมาะ ลดปริมาณบรรจุภัณฑ์หีบห่อท่ีไม่จําเป็น ลดการขนขยะเข้าบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ถุงพลาสติก ถุง กระดาษ โฟม หรือหนงั สอื พิมพ์ ฯลฯ 2) เลอื กใช้สนิ ค้าทมี่ อี ายกุ ารใชง้ านสงู ใช้ผลติ ภณั ฑช์ นดิ เตมิ เช่น นาํ้ ยาล้างจาน นํ้ายาปรบั ผ้านมุ่ ถา่ นชนดิ ชาร์จ ได้สบู่เหลว นํา้ ยารดี ผ้า ฯลฯ 3) เลือกบรรจภุ ณั ฑ์ท่ีสามารถนํากลับมาใช้ใหมไ่ ด้ 4) คิดก่อนซ้ือสินค้า พิจารณาว่าสิ่งนั้นมีความจําเป็นมากน้อยเพียงใดหลีกเลี่ยง การใช้สารเคมีภายในบ้าน เช่น ยากําจัดแมลงหรือนํ้ายาทําความ สะอาดต่าง ๆ ควรจะหันไปใช้ วิธีการทางธรรมชาติจะดีกว่า อาทิ ใช้เปลือกส้มแห้ง นํามาเผาไล่ยุง หรือใช้ผลมะกรูดดับกล่ิน ภายในหอ้ งนา้ํ 5) ลดการใช้กล่องโฟมหลีกเลี่ยงการใช้โฟมและพลาสติกโดยใช้ถุงผ้าหรือ ตะกร้าในการจบั จา่ ยซื้อ ของใชป้ นิ่ โต ใส่อาหาร 6) ลดการใชถ้ ุงพลาสติก ควรใช้ถุงผ้าหรือตะกรา้ แทน ใชถ้ ุงผ้า ถกู วิธี ตอ้ งไม่มี ถุงพลาสติก หลบอยขู่ า้ งในนะจะ๊ . ภาพที่ 3.3 ภาพการรณรงคล์ ดใช้ถงุ พลาสตกิ
38 2. Reuse ใชซ้ าํ้ Reuse หมายถึง การใช้ซํ้าผลิตภัณฑ์สิ่งของต่างๆ เช่นใช้แก้วนํ้าเซรามิคหรือ แก้วใส ด้วยวิธีการใช้แล้วล้างนํ้าให้สะอาดสามารถนํามาใช้ได้อีกครั้งแทนการใช้แก้วพลาสติก ทตี่ อ้ งใชแ้ ล้วตอ้ งท้ิง นําถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว มาเป็นถุงขยะใช้กระดาษให้ครบท้ัง 2 หน้า บริจาค สิง่ ของเครือ่ งใช้ เสือ้ ผ้าที่ไมต่ อ้ งการใหผ้ อู้ ่ืนดดั แปลงวสั ดุส่ิงของเป็นของใช้ใหม่เป็นตน้ ภาพท่ี 3.4 การลดปรมิ าณขยะดว้ ย Reuse โดยใชแ้ ก้วนํ้าเซรามิค หรือ แกว้ ใส แทนแกว้ พลาสติก หรือแก้วกระดาษเคลือบ นําส่ิงของมาดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น การนํายางรถยนต์มาทําเก้าอี้ การนําขวดพลาสติกก็สามารถนามาดดั แปลงเปน็ ที่ใสข่ อง หรือแจกัน การนาํ เศษผา้ มาทาํ เปลนอน เปน็ ตน้ เก้าอ้จี ากขวดนาํ้ กระถางตน้ ไมจ้ ากรองเท้าเก่า ภาพที่ 3.5 การนําสิ่งของมาดดั แปลงใชป้ ระโยชน ์ ท่มี า : http://www.naibann.com
39 3. Recycle การแปรรปู นาํ กลบั มาใช้ใหม่ Recycle หมายถึง การรีไซเคิลหรือแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ เพื่อนําวัสดุท่ียังสามารถ นํากลับมาใช้ใหม่หมุนเวียนกลับมาเข้าสู่กระบวนการผลิตตามกระบวนการของแต่ละประเภท เพื่อนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยแล้ว ยังเป็นการ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่เกิดกับส่ิงแวดล้อม ขยะรีไซเคิลโดยทั่วไป แยกได้เป็น 4 ประเภท คือ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ อโลหะ ส่วนบรรจุภัณฑ์บางประเภทอาจจะใช้ซํ้า ไม่ได้ เช่น กระป๋องอะลูมิเนียม หนังสือเก่า ขวดพลาสติก ซึ่งแทนท่ีจะนําไปทิ้ง ก็รวบรวมนํามา ขายให้กบั รา้ นรับซ้อื ของเก่า เพอ่ื สง่ ไปยงั โรงงานแปรรปู เพือ่ นําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑต์ ่าง ๆ ดงั นี้ 1) นําขวดพลาสติก มาหลอมเป็นเมด็ พลาสติก 2)นาํ กระดาษใชแ้ ล้วแปรรปู เป็นเยอื่ กระดาษ เพอื่ นําไปเปน็ สว่ นผสมในการผลิต เปน็ กระดาษใหม่ 3) นําเศษแก้วเกา่ มาหลอม เพอ่ื ขึน้ รูปเปน็ ขวดแก้วใบใหม่ 4) นําเศษอลูมิเนียมมาหลอมขึ้นรูปเป็นแผ่น นํามาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม รวมทั้ง กระป๋องอะลมู เิ นยี ม ภาพท่ี 3.6 การรไี ซเคิลหรอื การแปรรปู ขยะนาํ กลับมาใชใ้ หม่ ทม่ี า : http://www.bantub.go.th
Search