Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิจัยชั้นเรียน 2-2565

วิจัยชั้นเรียน 2-2565

Published by thaithudN, 2023-04-18 06:36:24

Description: วิจัยชั้นเรียน 2-2565

Search

Read the Text Version

วิจัยในช้ันเรยี น ภาคเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2565 การหาประสทิ ธภิ าพการเรยี นการสอน วิชาการเขยี นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ นกั เรียนระดบั ประกาศนยี บตั รวชิ าชพี ขัน้ ปที ี่ 3 แผนกวิชาบริหารธุรกจิ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร นายนพรัตน์ ไทยถัด แผนกวิชาธรุ กจิ เกษตร

รายงานการวจิ ยั เรื่อง การหาประสิทธภิ าพการเรียนการสอนรายวชิ าการเขียนโปรแกรม ภาษาคอมพวิ เตอร์ นักศึกษาระดบั ประกาศนยี บัตรวชิ าชพี (ปวช.) ชน้ั ปที ี่ 3 แผนกวิชาคอมพิวเตอรธ์ รุ กจิ วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยชี ุมพร ภาคเรยี นที่ ๒ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖5 นายนพรตั น์ ไทยถัด ครผู ชู้ ว่ ย วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยชี ุมพร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา กระทรวงศึกษาธิการ

ก กิตตกิ รรมประกาศ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและความต้องการ ของผู้เรียน รายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู โดยมีกรอบการวิจัย ๔ ด้าน ที่บ่งชี้พฤติกรรมของครูผู้สอน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของผู้เรียนที่มีต่อครูผู้สอนในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการเรียนรู้ ท่ีมงุ่ พัฒนาคณุ ภาพของผ้เู รยี น ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้สำเร็จด้วยดี ต้องขอขอบคุณผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีขุมพรและรองผู้อำนวยการ ฯ หวั หนา้ งานวจิ ัยฯ ท่ีใหก้ ารสนบั สนุนการวิจัยฯ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย และขอบคุณ ผทู้ เ่ี กี่ยวขอ้ งในการจัดเก็บข้อมูล และตอบแบบสอบถาม ซึ่งมีสว่ นช่วยให้งานวิจยั ครัง้ น้ี สำเรจ็ ดว้ ยดี นายนพรตั น์ ไทยถดั ผ้วู ิจัย

ข รายงานวิจัยเรื่อง : การศึกษาระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียน รายวิชาการเขียน โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชพี ผู้วจิ ัย : นายนพรัตน์ ไทยถัด ตำแหนง่ ครูผู้ช่วย ปกี ารศึกษา : ๒/๒๕๖5 บทคดั ย่อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียน รายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อนำผลการการศึกษาไปปรับปรุงและพัฒนากระบวนการ จัดการเรียนการรู้ของครูผู้สอนของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร โดยศึกษาพฤติกรรมการสอนหรือ การจัดการเรียนรู้ ๔ ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ด้านสื่อการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านคุณธรรม จริยธรรม ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนกลุ่ม นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีท่ี 3 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซ่งึ กำลงั ศกึ ษาอยใู่ นวทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยชี ุมพรได้โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน ผลการศึกษา พบว่าผู้เรียนรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ พึงพอใจต่อครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๙ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๔๘๓ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก คือ ด้านการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย ๔.๔๔ มีคา่ เบย่ี งเบนมาตรฐาน .๕๗๗ รองลงมาคือด้านคุณธรรม จริยธรรม มคี ่าเฉล่ยี ๔.๔๑ มคี า่ เบ่ยี งเบนมาตรฐาน .๔๙๔ ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๘ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๔๘๑ และด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจน้อยกว่าด้านอื่น ๆ คือด้านสื่อการสอน มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๓ มีค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน .๕๐๐ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากครูผู้สอนมีการใช้สื่อการเรียนการสอน ตำราและเอกสารประกอบ การเรียนการสอน การส่ือสารยังไมส่ อดคล้องกับเน้ือหาวชิ า ทำใหผ้ เู้ รยี นเกดิ การเรียนรู้ไมเ่ ต็มประสิทธิภาพ

สารบญั หนา้ กติ ตกิ รรมประกาศ ก บทคัดย่อ ข บทที่ ๑ บทนำ ๑ ๑ ความเป็นมาและความสำคัญ ๒ วตั ถุประสงค์ของการวจิ ัย ๒ ขอบเขตการวิจัย ๒ กรอบแนวคิดของการวจิ ัย ๒ ประโยชน์ทไ่ี ด้รับ ๓ บทที่ ๒ เอกสารและวรรณกรรม ๓ ทฤษฎเี ก่ยี วกับความพงึ พอใจ ๖ จรรยาบรรณวชิ าชพี ครู ๖ หนา้ ท่ีและความรบั ผิดชอบของครู ๑๓ บทท่ี ๓ วธิ ีการดำเนนิ การวิจยั ๑๓ ประชากรและกลุ่มตวั อย่าง ๑๓ เคร่ืองมอื ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมลู ๑๓ ข้ันตอนในการสรา้ งเครอื่ งมือ 14 การรวบรวมเก็บข้อมลู 14 การวเิ คราะห์ขอ้ มูล 14 สถิตทิ ีใ่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล ๑๕ บทท่ี ๔ ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล 16 แสดงผลการวเิ คราะห์จำนวนผู้ใหข้ ้อมลู จำแนกตามกลุ่มตวั อย่าง 16 แสดงผลการวิเคราะหร์ ะดับความพงึ พอใจของผูเ้ รียน บทที่ ๕ สรุปอภิปรายผล 19 แสดงผลการวเิ คราะห์จำนวนผู้ให้ข้อมูลจำแนกตามกลุ่มตวั อย่าง 19 แสดงผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้เรียน

บทท่ี ๑ บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการวจิ ยั พระราชบัญญตั ิการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ปรบั ปรงุ พ.ศ.๒๕๔๕ ไดก้ ำหนดให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการปฏิรูปการศึกษา เพื่อพร้อมรับการประเมินจากภายนอก โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการศึกษามีตัวบ่งชี้ ๓ ข้อ คือ ๑) ครูรู้เป้าหมายของหลักสูตร และเป้าหมายของการจัดการศึกษา ๒) ครูมีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร จัดทำแผนและพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ๓) ครูมีความสามารถในการประเมินผลการจัดการ เรียนรู้และการนำผลการประเมินมาพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและคุณภาพการศึกษา (สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ๒๕๔๓ : ๓) ครูจึงเป็นบคุ ลากรท่สี ำคัญยง่ิ ในสถานศึกษา เพราะครูเป็น ผู้นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความ กระตือรือร้น และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติการสอนตามภาระหน้าที่ และมีบทบาทร่วมกับผู้ท่ี เก่ียวข้องในการดำเนนิ การประกนั คุณภาพภายในทุกข้ันตอน โดยเฉพาะอย่างย่งิ ในการประเมินตนเองใน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรยี นเป็นสำคัญ มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เตรียมสื่อและกิจกรรมการ เรียนรู้ เตรียมเครื่องมือวัดและประเมินตามสภาพจริง ซึ่งจะส่งผลให้ครูเกิดความเข้าใจการทำงานท้ัง ระบบและทราบเป้าหมายทีช่ ดั เจน สอดคลอ้ งกบั จุดมุ่งหมาย หลกั การ หรือมาตรฐานการศึกษาท่ีเน้น คณุ ภาพของผเู้ รยี นเปน็ สำคัญ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีการจัดการศึกษาระดับ ประกาศนียบตั รวิชาชพี ๒ ประเภทวชิ า คือ ๑) ประเภทเกษตรศาสตร์ ๒) ประเภทพาณชิ ยกรรม ด้วย ความตระหนกั ถึงคุณภาพของการบริหารและการจัดการเรียนรู้ ซง่ึ ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน ครูผู้สอน จำเป็นต้องทราบข้อมูลการสะท้อนผลในการจัดการเรียนรู้จากผู้เรียน เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนรู้ และเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับการประกัน คุณภาพการศึกษาตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๕) กำหนดให้ครูต้องทำการศึกษาหรือประเมินตนเอง เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียน ดังนั้นครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องทราบ ระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียนในด้านการสอน และพฤติกรรมของครูผู้สอนในรายวิชา การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อนำผลการการศึกษาไปปรับปรุงพัฒนากระบวนการเรียน การสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนพร้อมรับการประเมินภายในและภายนอกสถานศึกษา ของวทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีชุมพรต่อไป

๒ 1.2 วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียน รายวิชาการเขียนโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร เพื่อนำผลการศึกษาไปปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดการรู้ ของครูผูส้ อน 1.3 ขอบเขตของการวจิ ัย ๑. ศึกษาระดับความพึงพอใจ ของผู้เรียนรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งกำลังศึกษา ปีการศึกษาท่ี ๒/๒๕๖5 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ ธรุ กิจ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร ซ่งึ เลอื กมาแบบเจาะจง จำนวน 8 คน ๒. ตวั แปรที่ศึกษา ประกอบดว้ ย ตัวแปรอิสระ คือ ผู้เรียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ หลักสตู รประกาศนียบัตรวชิ าชีพชน้ั สงู ประกอบด้วยองคป์ ระกอบ ๔ ด้าน คอื ดา้ นการจดั การเรียนการสอน ของครูผสู้ อน ดา้ นสื่อการสอน ดา้ นการวัดและประเมินผล และด้านคุณธรรม จรยิ ธรรม ตัวแปรตาม คือ ระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียน รายวิชาการเขียน โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา ๒/๒๕๖5 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยชี มุ พร 1.4 กรอบแนวคดิ ในการวจิ ัย ตัวแปรอสิ ระ ตวั แปรตาม พฤติกรรมการจัดการเรยี นรู้ของครูผ้สู อน ระดบั ความพงึ พอใจ ๔ ดา้ น และความต้องการของผู้เรียน ๑. ด้านการจัดการเรยี นการสอนของ รายวชิ า ครผู ู้สอน การเขียนโปรแกรมภาษคอมพวิ เตอร์ ๒. ด้านสื่อการสอน ๓. ดา้ นการวัดและประเมินผล ๔. ดา้ นคุณธรรม จรยิ ธรรม 1.5 ประโยชน์ทไี่ ดร้ ับ ๑. สามารถบ่งชี้ถึงพฤติกรรมการสอนของครู เพื่อนำไปปรับปรุงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอนและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นคุณภาพของผู้เรียน ตามแนวการ ปฏิรูปการเรียนรู้ผ้เู รียนเป็นสำคัญ ๒. สามารถนำผลการศึกษาไปพัฒนาคุณภาพในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ของสถานศึกษา เพอ่ื รองรบั การประกันคุณภาพภายในและภายนอกได้

๓ บทท่ี ๒ เอกสารและงานวิจยั ทเ่ี ก่ียวข้อง ในการศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร ผู้วิจัยได้ศึกษาและรวบรวม แนวคิดและเอกสารตา่ ง ๆ ที่เก่ียวขอ้ งดงั น้ี ๑. ทฤษฎเี ก่ยี วกับความพงึ พอใจ ๒. จรรยาบรรณวชิ าชพี ครู ๓. แบบแผนพฤตกิ รรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. ๒๕๓๙ 2.1 ทฤษฎเี กย่ี วกับความพึงพอใจ 2.1.1 ความหมายของความพึงพอใจ Morse (1955:27:1967:81) กล่าวว่า ความพึงพอใจหรือความพอใจ ตรงกับคำใน ภาษาองั กฤษวา่ “Satisfaction” หมายถงึ สง่ิ ทต่ี อบสนองความต้องการขั้นพ้ืนฐานของมนุษย์ เป็นการลด ความตงึ เครยี ดทางด้านร่างกายและจติ ใจ หรอื สภาพความรู้สกึ ของบคุ คลทม่ี ีความสุข ความช่นื ใจ ตลอดจน สามารถสรา้ งทัศนคติในทางบวกต่อบุคคลต่อส่ิงหนึง่ ซงึ่ จะเปลย่ี นแปลงไปตามความพอใจต่อส่ิงน้ัน 2.1.2 ทฤษฎคี วามพึงพอใจ Shell (1975:252-268) ได้กล่าวถึงทฤษฎีของความพึงพอใจว่าเป็นความรู้สึกสองแบบของ มนุษย์ คือ ความรู้สึกทางบวกและความรู้สึกทางลบ ความรู้สึกทางบวกเป็นความรูส้ ึกที่เมือ่ เกิดขึ้นแล้วจะ ทำใหเ้ กดิ ความสุข ความสขุ นเี้ ป็นความรูส้ ึกทีแ่ ตกต่างจากความรสู้ กึ ทางบวกอน่ื ๆ กล่าวคอื เป็นความรู้สึก ที่ระบบย้อนกลับ ความสุขที่สามารถทำให้เกิดความสุขหรือความรู้สกึ ทางบวกเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นจะเห็น ได้วา่ ความสุขเปน็ ความร้สู ึกที่สลบั ซับซ้อนและความสุขน้ีจะมผี ลต่อบุคคลมากกว่าความรสู้ กึ ทางบวกอ่ืน ๆ จากการศึกษาของ Knob และ Stowart ได้อ้างถงึ เรื่องความพึงพอใจของปจั เจกบุคคลว่า มคี วามแตกต่าง กนั ไปตามความแปรปรวนของการตอบสนองความพึงพอใจ มพี ้ืนฐานจากองคป์ ระกอบที่ซับซ้อน ลักษณะ ความพึงพอใจจะแสดงออกในรูปของอารมณ์ ซึ่งจากการศึกษาในเรื่องเก่ียวกับความ พึงพอใจที่ผ่านมา พบว่า มักมีการพิจารณาความพึงพอใจในแง่ของทัศนคติ แรงจูงใจ ความคาดหวัง การได้รับรางวัล และ ความสมดลุ ยท์ างอารมณเ์ ป็นตน้ วรูม (Vroom ; 1964:99) กล่าวว่าทัศนคติและความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งสามารถใช้แทนกันได้ เพราะทั้งสองคำนี้จะหมายถึงผลที่ได้จากการที่บุคคลเข้าไปมีส่วนร่วมในสิ่งนั้น โดยทัศนคติด้านบวก จะแสดงให้เห็นสภาพความพึงพอใจในสิ่งนั้นและทัศนคติด้านลบจะแสดงให้เห็นสภาพความไม่พึงพอใจ นั่นเอง Rosenberg และ Holland กล่าวว่า ทัศนคติประกอบด้วยสามส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นความรู้ความ เข้าใจ กล่าวคือ เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความนึกคิดอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนที่สองเป็นเรื่องเกี่ยวกับ อารมณ์หรือความรู้สึกเกี่ยวกับอารมณ์ ส่วนที่สามเป็นเรือ่ งเกี่ยวกับการกระทำหรือพฤติกรรมเป็นส่วนท่มี ี ผลต่อการกำหนดพฤติกรรม

๔ วิมลสิทธิ์ หรยางกูร (2526:74) ให้ความหมายว่า ความพึงพอใจ เป็นการให้ค่าความรู้สึกของ คนเราที่สัมพันธ์กับโลกทัศน์ ที่เกี่ยวกับความหมายของสภาพแวดล้อม ค่าความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อ สภาพแวดล้อมจะแตกต่างกัน เช่น ความรู้สกึ ดี – เลว พอใจ – ไมพ่ อใจ สนใจ – ไม่สนใจ เปน็ ตน้ จึงสรุปได้ว่าความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือทัศนคติที่ดีของบุคคลซึ่งมักเกิดจากการ ได้รับการตอบสนองตามที่ตนต้องการ ก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีในสิ่งนั้น ตรงกันข้ามหากความต้องการไม่ได้ รับการตอบสนอง ความไม่พึงพอใจก็จะเกิดขึ้น ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้บริการจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้น จะตอ้ งพิจารณาถึงลักษณะของการใหบ้ ริการขององค์กร ประกอบกบั ระดบั ความรู้สึกของผมู้ ารับบริการใน มิติต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล ดังนั้นการวัดความพึงพอใจในการใช้บริการอาจจะกระทำได้ไหลายวิธี ดงั ตอ่ ไปน้ี (สาโรช ไสยสมบัติ 2544:39) 1. การใช้แบบสอบถาม ซง่ึ เป็นวธิ กี ารทีน่ ยิ มใชก้ นั แพร่หลายวิธหี น่งึ โดยการร้องขอหรือขอความ ร่วมมือ จากกลุ่มบุคคลที่ต้องการวัด แสดงความคิดเห็นลงในแบบฟอร์มที่กำหนดคำตอบไว้ให้เลือกตอบ หรือเป็นคำตอบอิสระ โดยคำถามที่ถามอาจจะถามถึงความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ที่หน่วยงานกำลัง ให้บรกิ ารอยู่ เช่น ลกั ษณะของการใหบ้ รกิ าร สถานทีใ่ ห้บริการ บุคลากรทีใ่ ห้บรกิ าร เป็นต้น 2. การสัมภาษณ์ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ทราบถึงระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการซึ่งเป็น วิธีการท่ีตอ้ งอาศัยเทคนิคและความชำนาญพเิ ศษของผู้สัมภาษณ์ที่จะจูงใจใหผ้ ู้ถูกสัมภาษณ์ตอบคำถามให้ ตรงกับขอ้ เทจ็ จรงิ การวัดความพึงพอใจโดยวธิ กี ารสัมภาษณ์นับวา่ เปน็ วิธีทปี่ ระหยัดและมีประสิทธิภาพอีก วิธหี นึง่ 3. การสังเกต เป็นอีกวิธหี นึง่ ท่ีจะทำใหท้ ราบถงึ ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการได้โดยวิธีการ สังเกตจากพฤติกรรมทั้งก่อนมารับบริการ ขณะรอรับบริการและหลังจากการได้รับบริการแล้ว เช่น การ สังเกตกิริยาท่าทาง การพูด สีหน้า และความถี่ของการมาขอรับบริการ เป็นต้น การวัดความพึงพอใจโดย วิธีน้ี ผู้วัดจะต้องกระทำอย่างจริงจังและมีแบบแผนที่แน่นอน จึงจะสามารถประเมินถึงระดับความ พึง พอใจของผ้ใู ชบ้ รกิ ารได้อยา่ งถกู ต้อง จะเห็นได้ว่า การวัดความพึงพอใจต่อบริการนั้น สามารถที่จะทำการวัดได้หลายวิธี ทั้งนี้จะต้อง ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความเหมาะสม ตลอดจนจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของการวัดด้วย จึงจะส่งผลให้ การวดั นน้ั มีประสทิ ธิภาพเปน็ ทน่ี ่าเชอ่ื ถอื ได้ ผาสุวรรณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (2532:68) อธิบายว่า การวัดด้านจิตพิสัย หรือ ความรู้สึกเป็น การวัดพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกหรืออารมณ์ เช่น ความสนใจ ความพอใจ ความซาบซึ้ง เจตคติ หรือทัศนคติ ค่านิยมการปรับตัว ทัศนคติเป็นการวัดถึงความรู้สึกของบุคคลอันเนื่องมาจากการ เรียนรู้ หรือประสบการณ์ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ค่อนข้างถาวรในระยะหนึ่ง แต่อาจเปลี่ยนได้ และทัศนคติก็สามารถระบุ ทิศทาง ความมากนอ้ ยหรือความเขม้ ได้ 1. ข้อตกลงเบื้องต้นในการวัดทัศนคติ ทัศนคติ มักมีข้อตกลงเบื้องต้น (เชิดศักด์ิ โฆวาสินธ์; 2544:94-95) ดังนี้ 1.1 การศึกษาทัศนคติเป็นการศึกษาความคิดเห็น ความรู้สึกของบุคคลที่มีลักษณะ คงเสน้ คงวาหรืออยา่ งนอ้ ย เป็นความคดิ เหน็ หรือความร้สู กึ ที่ไมเ่ ปลีย่ นแปลงไปในช่วงเวลาหนึ่ง 1.2 ทัศนคติไม่สามารถสังเกตหรือวัดได้โดยตรง ดังนั้นการวัดทัศนคติจึงเป็นการวัด ทางอ้อมจากแนวโน้มที่บุคคลจะแสดงออกหรือประพฤติปฏิบัติอย่างมีระเบียบแบบแผนคงที่ไม่ใช่พฤติ - กรรมโดยตรงของมนุษย์

๕ 1.3 การศึกษาทัศนคติของมนุษย์นั้น ไม่ใช่เป็นการศึกษาแต่เฉพาะทิศทางทัศนคติของ บคุ คลเหลา่ น้นั แต่ต้องศึกษาถึงระดับความมากน้อยหรือความเข้มของทัศนคติด้วย 2. การวัดทัศนคติ มีหลักเบื้องตน้ ๓ ประการ (บญุ ธรรม กิจปรดี าบรสิ ุทธ์ิ ๒๕๔๖;๒๒๒) ดงั น้ี 2.1 เนื้อหา (Content) การวัดทัศนคติต้องมีสิ่งเร้าไปกระตุ้นให้แสดงกริยาท่าทีออก สิ่งเรา้ โดยทั่วไปได้แก่ ส่งิ ทีต่ อ้ งการทำ 2.2 ทิศทาง (Direction) การวัดทัศนคติโดยทั่วไปกำหนดให้ทัศนคติมีทิศทางเป็น เสน้ ตรงและตอ่ เนอื่ งกนั ในลักษณะเปน็ ซา้ ย-ขวาและบวก - ลบ 2.3 ความเข้ม (Intensity) กริยาทา่ ทแี ละความรูส้ กึ ทแ่ี สดงออกต่อส่ิงเรา้ นัน้ มปี รมิ าณ มากหรือน้อยแตกต่างกัน ถ้ามีความเข้มสูงไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางใดก็ตาม จะมีความรู้สึก หรือท่าที รนุ แรงมากกวา่ ทีม่ คี วามเข้มปานกลาง 3. มาตรวัดทัศนคติ (Attitude Scale) เครื่องมือที่ใช้วัดทัศนคติ เรียกว่ามาตราส่วนประมาณ ค่า (Rating Scale) เคร่อื งมือวัดทัศนคติที่นยิ มใชแ้ ละรู้จักกนั แพรห่ ลายมี 4 ชนิด ได้แก่ มาตรวดั แบบเธอร์ สโตน (Thurstone Type Scale) มาตรวัดแบบลิคเคอร์ท (Likert Scale) มาตรวัดแบบกัตต์แมน (Guttman Scale) และมาตรวัดของออสกูด (Osgood Scale) ซึ่งแต่ละประเภทมีข้อจำกัด ข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน ดังนั้นการจะเลือกใช้มาตรวัดแบบใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความจำกัดของการศึกษา (บุญธรรม กิจปรดี าบริสทุ ธิ์; ๒๕๔๗:๒๙๔-๓๐๖) การประเมนิ ค่าทัศนคติ ในการวัดทัศนคติหรือความรู้สึกนึกคิดของคนเราต่อส่ิงหน่ึง เราต้องเสนอ ขอ้ ความแสดงทัศนคตติ ่อส่ิงนน้ั ๆ หลาย ๆ ขอ้ ความ ใหผ้ รู้ บั การทดสอบประเมินค่าแต่ละข้อความ ถือเป็น ๑ มาตร แล้วนำคะแนนจากมาตรต่าง ๆ มารวมเป็นคะแนนรวม และยึดคะแนนนี้เป็นหลักในการ ตีความ เนื่องจากถือว่าข้อความต่าง ๆ ก็วัดจากทัศนคติต่อสิ่งเดียวกัน มีข้อความหลายข้อความ เพื่อให้ ข้อความ เทีย่ ง นา่ เช่ือถือมากขนึ้ การให้คะแนน เรากำหนดใหก้ ารแสดงทศั นคติทางบวกเปน็ เหน็ ดว้ ยอยา่ งย่ิง เท่ากับ ๕ คะแนน เห็นด้วย เทา่ กบั ๔ คะแนน ไม่แนใ่ จ เทา่ กับ ๓ คะแนน ไม่เหน็ ดว้ ย เท่ากับ ๒ คะแนน ไมเ่ ห็นดว้ ยอยา่ งยิ่ง เทา่ กบั ๑ คะแนน หากข้อความแสดงทัศนคตทิ างลบ การใหค้ ะแนนจะให้ในทางกลับกนั คือ เห็นด้วยอย่างยง่ิ เท่ากบั ๑ คะแนน เห็นด้วย เท่ากับ ๒ คะแนน ไมแ่ น่ใจ เทา่ กบั ๓ คะแนน ไม่เห็นด้วย เท่ากบั ๔ คะแนน ไมเ่ ห็นดว้ ยอยา่ งยิง่ เท่ากับ ๕ คะแนน เมื่อผู้ได้รับการทดสอบ ประเมินค่าข้อความทั้งหมดทีละข้อความ แล้วนำคะแนนท่ีได้ มารวมเปน็ คะแนนของทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่ทดสอบ ผู้สอบ ผู้เสนอวิธีวัดแบบนี้ คือ Likert ซึ่งข้อตกลง เบื้องต้นที่ สำคญั คอื ข้อความต่าง ๆ ก็ใชว้ ดั ทศั นคตขิ องส่ิงเดยี วกัน การคดั เลอื กข้อความทีใ่ ช้วดั จริงเป็นเร่ืองสำคัญมาก

๖ 2.2 จรรยาบรรณวิชาชีพครู จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครู เป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ ความสำคัญ จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคญั ต่อวชิ าชพี อนื่ ๆ ซ่งึ สรุปได้ ๓ ประการ คอื ๑. ปกปอ้ งการปฏิบัตงิ านของสมาชกิ ในวิชาชีพ ๒. รักษามาตรฐานวิชาชพี ๓. พฒั นาวชิ าชพี ลกั ษณะของจรรยาบรรณวชิ าชีพครู จรรยาบรรณวิชาชีพครู จะตอ้ งมีลกั ษณะ ๔ ประการ คอื ๑. เปน็ คำมั่นสญั ญาหรือพนั ธะผกู พันต่อผู้เรยี น (Commitment to the student) ๒. เปน็ คำมัน่ สัญญาหรือพันธะผูกพนั ต่อสงั คม (Commitment to the society) ๓. เป็นคำม่นั สญั ญาหรือพนั ธะผกู พนั ตอ่ วชิ าชพี (Commitment to the profession) ๔. เปน็ คำม่นั สญั ญาหรอื พันธะผกู พนั ต่อสถานปฏิบตั งิ าน(Commitment to the employment practice) 2.3 แบบแผนพฤตกิ รรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 ๑. ครตู อ้ งรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใสช่ ว่ ยเหลือ ส่งเสริมใหก้ ำลังใจในการศึกษาเล่า เรยี นแก่ศิษยโ์ ดยเสมอหนา้ ๒. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเตม็ ความสามารถด้วยความบริสุทธ์ใิ จ ๓. ครูต้องประพฤติ ปฏิบตั ติ นเป็นแบบอย่างท่ดี แี ก่ศิษย์ท้งั ทางกาย วาจา และจติ ใจ ๔. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม ของศิษย์ ๕. ครูต้องไม่แสดงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และ ไมใ่ ช้ศิษยก์ ระทำการใดๆ อันเปน็ การหาประโยชนใ์ ห้แก่ตนโดยมชิ อบ ๖. ครยู ่อมพัฒนาตนเองท้ังในด้านวชิ าชีพ ดา้ นบคุ ลิกภาพและวิสัยทัศน์ ใหท้ ันต่อการพัฒนาทาง วิชาการ เศรษฐกจิ สงั คมและการเมืองอย่เู สมอ ๗. ครูย่อมรกั และศรัทธาในวชิ าชีพครู และเป็นสมาชกิ ทดี่ ีขององค์กรวชิ าชีพครู ๘. ครพู งึ ช่วยเหลือเก้ือกูลครแู ละชมุ ชนในทางสร้างสรรค์ ๙. ครพู ึงประพฤติ ปฏิบัติตน เปน็ ผนู้ ำในการอนรุ กั ษ์และพัฒนาภูมิปญั ญาและวฒั นธรรมไทย 2.3.1 หนา้ ที่และความรับผิดชอบของครู คำวา่ หนา้ ที่ (Duty) ตามความหมายใน Dictionary of Education นั้น หมายถงึ ส่งิ ที่ทกุ คน ต้องทำ โดยปกติแล้วภาวะจำยอมจะเป็นไปตามหลักศีลธรรมแต่บางครั้งก็เป็นไปตามกฎหมายหรือ ขอ้ ตกลง

๗ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของ หน้าที่ ไว้ ดังนี้ คือ กิจ ที่ควรทำ,กิจที่ตอ้ งทำ,วงแห่งกจิ การ, สำหรับคำว่า ความรับผิดชอบ ให้ความหมายไว้ ดังนี้ คือการยอมรับ ตามผลที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ได้กระทำไป webster s third New Internetionary dictionary ได้ให้ คำนิยามของ ความรับผิดชอบ ไว้ ดังน้ี - ความรับผดิ ชอบดา้ นศีลธรรม กฎหมาย หรือ จติ ใจ - ความไว้ใจ ความเช่ือถือได้ Dictionary of Education ได้ให้ความหมายของความรับผิดชอบไว้ ไว้ว่า “หน้าที่ประจำของแต่ ละบุคคล เมื่อเขาได้รับมอบหมายให้งานอย่างใดอย่างหนึ่ง” ส่วนความหมายของครู ในที่นี้จะอธิบายตาม รูปคำภาษาอังกฤษ คือ “Teachers” โดยสรุปจากคำอธิบายของ ยนต์ ชุ่มจิต ในหนังสือ ความเป็นครู ดังน้ี (ยนต์ ชุมจติ ๒๕๔๑: น. ๔๙–๕๕) T (Teaching) – การสอน หมายถึง การอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถในวิชาการ ทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งถือว่าเป็นงานหลักของครูทุกคนทุกระดับชั้นที่สอน ตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยา มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู พ.ศ. ๒๕๒๖ ข้อ ๓ กำหนดไว้ว่า ครูต้องต้ังใจสั่งสอนศิษย์ และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ การงานมิได้ และในขอ้ ๖ กำหนดไว้ว่า ครูต้องถ่ายทอดวชิ าความร้โู ดยไม่บิดเบือนและปดิ บงั อำพรางไม่นำ หรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนเองไปใชใ้ นทางที่ทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ จากข้อกำหนด ทั้ง ๒ ขอ้ ที่นำมากลา่ วนี้จะเห็นว่าหน้าท่ีของครูท่สี ำคัญคือการอบรมสั่งสอนศิษย์ การถา่ ยทอดวิชาความรู้ ให้แก่ศิษย์ โดยเฉพาะในข้อ ๓ ของระเบียบประเพณีของครู พ.ศ. ๒๕๒๖ นี้ ถือว่าการอบรมสั่งสอนศิษย์ เป็นหน้าที่ที่สำคัญมาก จะละทิ้งหรือทอดทิ้งไม่ได้เพราะถ้าหากครูละทิ้งการสอนก็คือครูละทิ้งหน้าที่ของ ครูซึ่งการกระทำเช่นนั้นจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางความคิดและสติปัญญาของศิษย์เป็นอย่างมาก กล่าวคือ ศิษย์ของครูจะไม่ได้รับการพัฒนา ความคิด ความรู้ และสติปัญญา หรือได้รับบ้างแต่ก็ไม่ เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดงั นัน้ ครูทุกคนควรตระหนักในการสอนเปน็ อันดบั แรกโดยถือวา่ เป็นหวั ใจของความ เป็นครคู อื การอบรมส่ังสอนศิษยใ์ หเ้ ปน็ คนดีมีความรใู้ นวิทยาการท้ังปวง ซึง่ การทค่ี รูจะปฏบิ ัติหน้าที่ในการ สอนของครไู ดอ้ ย่างครบถ้วนสมบูรณน์ ้นั ซง่ึ สำคัญทคี่ รูตอ้ งเพม่ิ สมรรถภาพในการสอนใหแ้ กต่ นเอง E(Ethics)-จรยิ ธรรม หมายถงึ หนา้ ท่ใี นการอบรมจริยธรรมให้แก่นักเรยี นซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลัก อกี ประการหนึง่ นอกจากการสั่งสอนในด้านวิชาความรู้โดยทัว่ ไปนอกจากนี้ครูทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติ ตนให้เป็นผู้มีจรยิ ธรรมอนั เหมาะสมอกี ดว้ ยเพราะพฤติกรรมอนั เหมาะสมทค่ี รูได้แสดงออกจะเปน็ เครื่องมือ ทส่ี ำคัญในการปลกู ฝังศรทั ธาใหศ้ ิษย์ได้ปฏิบัติตาม A ( Academic) – วิชาการ หมายถึง ครูต้องมีความรับผิดชอบในวิชาการอยู่เสมอ กล่าวคือ ครตู ้องเปน็ นักวชิ าการอยู่ตลอดเวลา เพราะอาชีพของครตู ้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ดังนนั้ ครูทกุ คนต้องศึกษาหาความร้เู พ่ิมเติมอยเู่ ป็นประจำ หากไมก่ ระทำเช่นนั้นจะทำให้ความรู้ท่ีได้ศึกษา เลา่ เรียนมานัน้ ล้าสมยั ไมท่ นั กบั การเปล่ยี นแปลงทางวิชาการใหม่ ๆ ซึง่ มีอยา่ งมากมายในปจั จุบนั C (Cultural Heritage) – การสืบทอดวัฒนธรรม หมายถึงครูต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งให้ตกทอดไปสู่คนอีกรนุ่ หน่งึ หรอื รุน่ ต่อ ๆ ไป ซ่ึงมีวิธีการ ทค่ี รจู ะกระทำได้ ๒ แนวใหญ่ ๆ ดว้ ยกันคอื ๑. การปฏิบัติตามวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามอย่างถูกต้องเป็นประจำ กล่าวคือ ครูทุกคนจะต้องศึกษาให้เข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติอย่างถ่องแท้ เสียก่อน ต่อจากนั้นจึงปฏิบัติตามให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ศิษย์และประชาชนทั่วไปยึดถือเป็น

๘ แบบอย่าง เช่น การแต่งกายให้เหมาะสมตามโอกาสต่าง ๆ การแสดงความเคารพและกิริยามารยาท แบบไทย ๆ และการจดั งานมงคลตา่ ง ๆ ๒. การอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เข้าใจในวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทยอย่างถูกต้อง และในขณะเดียวกันกก็ ระตุน้ ส่งเสริมให้นกั เรียนได้ประพฤติปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามแบบฉบับอันดีงามท่ี บรรพบุรษุ ไดย้ ดึ ถอื ปฏบิ ัตสิ บื ต่อกนั มา H ( Human Relationship) – มนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง การมีมนุษย์สัมพันธ์อันดีของครูต่อ บุคคลทั่วๆไป เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ครูสามารถปฏิบัติหน้าที่ของครู ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากน้ี การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของครูยังช่วยทำให้สถาบันศึกษาที่ครูปฏิบัติงานอยู่มี ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอีกด้วย ดังนั้น ครูทุกคนจึงควรถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบอีก ประการหน่ึงที่จะต้องคอยผูกมิตรไมตรีอันดีระหว่าง บุคคลตา่ ง ๆ ทีค่ รูมีส่วนเกีย่ วข้องด้วย มนุษย์สัมพันธ์ ระหวา่ งครูกบั บุคคลตา่ ง ๆ อาจจำแนกได้ ดงั น้ี ครผู ูส้ อนกับผ้เู รียนหรอื นกั เรียน ครูกับนักเรียนนับว่าเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันมากที่สุด จนกระทั่งในอดีตยกย่องให้ครู เป็นบิดาคนที่สองของศิษย์ ผู้ปกครองเมื่อส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนก็ฝากความหวังไว้กับครู กล่าวคือ มอบภาระต่าง ๆ ในการอบรมดูแล ลูกหลานของตนให้แก่ครู ดังนั้น ครูจึงควรปฏิบัติหน้าที่ของครูให้ สมบูรณ์ที่สุด และควรสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างครูและศิษย์ให้แน่นแฟ้น ให้ศิษย์มีความรู้สึกฝังใจ ตลอดไป วธิ ีการทีค่ รูควรจะทำตอ่ ศิษย์ เชน่ ๑. สอนศิษยใ์ หเ้ กิดความสามารถในการเรียนรู้ในวิชาการต่าง ๆ ใหม้ ากทีส่ ุดเท่าท่ีครจู ะกระทำได้ ๒. สอนให้นักเรียนหรือศิษย์ของตนมีความสุขเพลิดเพลินกับการเล่าเรียนไม่เบื่อหน่าย อยากจะ เรยี นอยู่เสมอ ๓. อบรมดูแลความประพฤติของศิษย์ให้อยู่ในระเบียบวินัยหรือกรอบของคุณธรรม ไม่ปล่อยให้ ศษิ ยก์ ระทำชั่วดว้ ยประการท้งั ปวง ๔. ดูแลความทุกขส์ ขุ อยู่เสมอ ๕. เปน็ ท่ีปรึกษาหารอื ช่วยแก้ปญั หาตา่ ง ๆ ใหแ้ ก่ศิษย์ ครูกบั ครู ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับครูนับว่ามีความสำคัญมากที่สุดต่อการพัฒนาวิชาชพี ครู เพราะ ครกู ับครทู ี่ทำงานสอนอยสู่ ถานศึกษาเดียวกัน เปรียบเสมอื นบคุ คลที่เปน็ สมาชิกในครอบครวั เดยี วกนั หาก สมาชิกในครอบครัวเดียวกันมีความสมานสามัคคีอันดีต่อกันแล้ว นอกจากจะทำให้การอบรมสั่งสอน นักเรยี นเป็นไปอย่างมีคุณภาพแล้ว ยังช่วยให้การปฏบิ ัตงิ านในดา้ นตา่ ง ๆ ทน่ี อกเหนือจากการสอนเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เมื่อเป็นเช่นน้ี การพัฒนาสถานศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครูก็จะดำเนินไป อย่างรวดเร็ว วธิ ที ค่ี รูควรปฏิบตั ิตอ่ ครู เพ่อื สรา้ งมนษุ ย์สมั พันธ์ต่อกัน เช่น ๑. ร่วมมือกันในการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติอย่างสม่ำเสมอ ๒. ช่วยเหลอื เกอื้ กลู กนั ในทางด้านวชิ าการ เช่น การแนะนำการสอน, แนะนำเอกสาร หรอื แหลง่ วิทยาการให้ ๔. ชว่ ยเหลอื งานสว่ นตวั ซึ่งกันและกันเทา่ ท่โี อกาสจะอำนวย ๔. ทำหนา้ ท่ีแทนกันเม่ือคราวจำเปน็

๙ ๕. ให้กำลังใจในการทำงานซึ่งกนั และกัน ซึ่งอาจจะแสดงออกในรูปของวาจาหรือการกระทำก็ได้ ๖. กระทำตนใหเ้ ป็นผมู้ คี วามสุภาพอ่อนนอ้ มต่อกนั เสมอ ไม่แสดงตนในทำนองยกตนข่มทา่ น หรอื แสดงตนวา่ เราเก่งกว่าผู้อื่น ครูกบั ผ้ปู กครอง ผู้ปกครองนักเรียนเป็นบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเล่าเรียน ของศิษย์และความก้าวหน้าของสถานศึกษา โรงเรียนใดที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามา ใกลช้ ิดโรงเรยี นอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนนัน้ จะสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเรว็ ทั้งด้านคุณภาพการเรียนของ นกั เรยี นและการพัฒนาส่งิ แวดล้อมทางกายภาพและสังคมรอบ ๆ โรงเรียน วิธกี ารทีค่ รสู ามารถสรา้ งมนุษย์ สมั พันธ์กับผูป้ กครองนักเรียนได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ เช่น ๑. แจ้งผลการเรียนหรือความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ให้ผู้ปกครองนักเรียนทราบเป็นระยะ ๆ ๒. ติดต่อกบั ผู้ปกครองเพื่อชว่ ยแกป้ ัญหาของศิษยใ์ นกรณที ี่ศษิ ยม์ ปี ัญหาทางการเรยี น ความ ประพฤติ สขุ ภาพ อื่น ๆ ๓. หาเวลาเยี่ยมเยียนผู้ปกครองเมื่อมีโอกาสอันเหมาะสม เช่น เมื่อได้ข่าวการเจ็บป่วย หรือ สมาชิกในครอบครัวถึงแกก่ รรม เป็นตน้ ๔. เชิญผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น การแข่งขันกีฬา ประจำปี งานแจก ประกาศนยี บัตร หรืองานชมุ นุมศษิ ยเ์ กา่ เปน็ ตน้ ๕. เม่ือไดร้ ับเชญิ ไปร่วมงานของผ้ปู กครองนกั เรยี น เช่น งานอปุ สมบท งานข้ึนบา้ นใหม่ งานมงคล สมรส เปน็ ต้น ตอ้ งพยายามหาเวลาว่างไปใหไ้ ด้ ๖. ครูควรร่วมมือกันทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้และอาชีพให้ผู้ปกครองและประชาชนใน ท้องถนิ่ บา้ ง จะทำใหป้ ระชาชนเหน็ ความสำคัญของครมู ากย่ิงขึน้ ๗. เม่ือชมุ ชนได้ร่วมมือกันจัดงานต่าง ๆ เช่น งานประจำปีของวัด หรือ งานเทศกาลตา่ ง ๆ ครู ควรใหค้ วามร่วมมอื อย่อู ยา่ งสม่ำเสมอ ๘. ครคู วรแจ้งข่าวสารต่าง ๆ ท่เี ปน็ ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง โดยใหผ้ ปู้ กครองได้ทราบเป็นระยะ ๆ ซงึ่ อาจจะส่งขา่ วสารทางโรงเรียน หรือการติดประกาศตามทอ่ี า่ นหนังสือประจำหมู่บ้านก็ได้ นอกจากครูจะต้องพยายามสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ดังกล่าว ซึ่งถือว่า เป็นกล่มุ บุคคลทม่ี ีความใกล้ชิดกบั ครู และครูกต็ ้องเกยี่ วข้องดว้ ยตลอดเวลาแลว้ ยงั มีกลุม่ บุคคลอื่น ๆ ท่ีครู จะต้องมีมนุษย์สัมพนั ธ์ที่ดดี ้วยอีก เชน่ พระภกิ ษุกับบุคคลท่ัวไป โดยเฉพาะพระภิกษสุ งฆ์ในวัดซ่ึงโรงเรียน ตั้งอยู่ จะมีส่วนช่วยให้การดำเนินการงานต่าง ๆ ของ โรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมากขึ้น ส่วน ประชาชนทั่วไปนั้นหากได้รับความประทับใจ เมื่อมาติดต่องานกับโรงเรียน ก็จะเป็นส่วนเป็นพลังอีกส่วน หนึ่งท่คี อยสนับสนนุ งานการศกึ ษาของโรงเรียนใหก้ ้าวหน้าต่อไป E (Evaluation) – การประเมินผล หมายถึงการประเมินผลการเรียนการสอนนักเรียนซึ่งถือว่า เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคญั ยิ่งอีกประการหน่ึงของครูเพราะการประเมินผลการเรียนการสอน เป็นการวดั ความเจริญกา้ วหนา้ ของศิษย์ในด้านต่างๆหากครสู อนแล้วไม่มีการประเมนิ ผลหรือวัดผลครูก็จะ ไม่ทราบได้ว่าศิษย์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านใดมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ครูจึงควรจะระลึกอยู่เสมอว่า ณ ที่ใดมีการสอน ทีนั่นจะต้องมีการสอบ สำหรับการประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียนนั้น ครู สามารถใช้วิธกี ารตา่ ง ๆ ไดห้ ลายวิธี ทง้ั น้ีอาจจะใชห้ ลาย ๆ วิธใี นการประเมนิ ผลครั้งหน่งึ หรือเลือกใช้เพียง วิธีการใดวธิ กี ารหนึ่ง ในการประเมนิ ผลการเรียนการสอนนน้ั มีหลายวิธี เช่น

๑๐ ๑. การสังเกต หมายถึง การสังเกตพฤติกรรมการทำงาน การร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือความตั้งใจใน การศึกษาเล่าเรยี น เป็นตน้ ๒. การสมั ภาษณ์ หมายถึง การสมั ภาษณเ์ พื่อต้องการทราบความเจริญกา้ วหนา้ ทางด้านการเรียน ของนักเรยี น ซง่ึ อาจจะเปน็ การสมั ภาษณ์ในเนอ้ื หาวิชาการทเ่ี รียน วธิ ีการเรยี น หรอื วิธกี ารทำงาน เปน็ ต้น ๓. การทดสอบ หมายถึง การทดสอบความรู้ในวิชาการที่เรียน อาจจะเป็นการทดสอบทาง ภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นก็ควรมีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใน การเรียนการสอนทกุ ๆ วชิ า ๔. การจัดอันดับคุณภาพ หมายถึง การนำเอาผลงานของนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มมา เปรียบเทยี บกันในด้านคณุ ภาพ แล้วประเมนิ คณุ ภาพของนักเรยี นแต่ละคนว่าคนใด ควรอยู่ในระดบั ใด ๕. การใช้แบบสอบถามและแบบสำรวจ เป็นวิธกี ารประเมนิ ผลการเรยี นอกี แบบหน่ึง เพอื่ สำรวจ ตรวจสอบคณุ ภาพการเรยี นการสอนทงั้ ของนักเรียนและของครู ๖. การบันทึกย่อและระเบียนสะสม เป็นวิธีที่ครูจดบันทึกพฤติกรรมความเจริญก้าวหน้าของ นักเรียนแต่ละคนไวเ้ ป็นลายลักษณอ์ ักษร ๗. การศึกษาเป็นรายบุคคล หมายถึง เป็นวิธีการที่นิยมใช้กับนักเรียนที่มีปัญหาเป็นรายบุคคล ปัญหาในที่นี้หมายความว่า ควบคุมทั้งเด็กที่เรียนเก่งและเด็กที่เรียนอ่อนรวมทั้งเด็กมีปัญหาในด้าน พฤตกิ รรมต่าง ๆ ด้วย ๘. การใช้วิธีสังคมมิติ เป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มเดียวกันประเมินคุณภาพของ บุคคลในสมาชิกเดียวกัน เพื่อตรวจสอบดูว่า สมาชิกคนใดได้รับความนิยมสูงสุดในด้านใดด้านหนึ่งหรือ หลาย ๆ ด้านก็ได้ ๙. การให้ปฏิบัติและนำไปใช้ เป็นวิธีการที่ครูต้องการทราบพัฒนาการทางด้านทักษะหรือการ ปฏบิ ัตงิ านของนกั เรยี นหลงั จากท่ไี ด้แนะนำวธิ ีการปฏบิ ัติให้แล้ว การประเมินผลการเรียนการสอนทุก ๆ วิชา ครูควรประเมินความเจริญก้าวหน้าของนักเรียน หลาย ๆ ด้าน ท่สี ำคัญ คอื ๑. ดา้ นความรู้ (Cognitve Domain ) คอื การวดั ความรูค้ วามเขา้ ใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสงั เคราะห์ และการประเมินผล ๒. ด้านเจตคติ ( Affective Domain) คือ การวัดความรู้สึก ค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรม ของนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ความตรงต่อเวลา ความมีระเบียบวินัย ความเอื้อ เฟื้อเผื่อแผ่ และความ ขยันขันแข็งในการทำงาน เปน็ ต้น ๓. ด้านการปฏบิ ัติ (Psychomotor Domian) คอื การวดั ด้านการปฏิบัติงานเพือ่ ตอ้ งการทราบ ว่านักเรียนทำงานเป็นหรือไม่หลังจากท่ีไดศ้ ึกษาภาคทฤษฎีแล้ว การวัดดา้ นการปฏบิ ัติงานหรือด้านทักษะ น้ี ครจู ะใชม้ ากหรือนอ้ ยจะต้องขนึ้ อยู่กับลักษณะวิชาท่ีสอน วิชาใดเน้นการปฏบิ ตั งิ านกจ็ ำเป็นตอ้ งมีการวัด ด้านการปฏิบัติงานให้มาก ส่วนวิชาใดเน้นให้เกิดความงอกงามทางด้านสติปัญญา การวัดด้านการ ปฏิบัติงานก็จะลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ในการเรียนการสอนทุก ๆ วิชาควรจะมีการวัดในด้านการ ปฏิบตั ิงานบ้างตามสมควร R (Research) – การวจิ ัย หมายถงึ ครูต้องเปน็ นกั แก้ปัญหา เพราะการวิจยั เป็นวิธีการแก้ปัญหา และการศึกษาหาความจริง ความรู้ที่เชื่อถือได้โดยวิธี การวิจัยของครูในที่น้ี อาจจะมีความหมายเพียงแค่ ค้นหาสาเหตุต่าง ๆ ที่นักเรียนมีปัญหาไปจนถึงการวิจัยอย่างมีระบบในชั้นสูงก็ได้ สาเหตุที่ครูต้อง รับผิดชอบในด้านนี้ก็เพราะในการเรียนการสอนทุก ๆ วิชา ควรจะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น

๑๑ ปัญหาเดก็ ไม่ทำการบ้าน เดก็ หนีโรงเรยี น เด็กท่ีชอบรงั แกเพือ่ น และเด็กท่ชี อบลักขโมย เป็นตน้ พฤติกรรม ตา่ ง ๆ เหล่าน้ี ถา้ ครสู ามารถแกไ้ ขได้ก็จะทำให้การเรยี นการสอนมีประสทิ ธิภาพย่ิงขน้ึ การที่ครูจะแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ครูจะต้องทราบสาเหตุ แห่งปัญหานั้น วิธีการที่ควรจะทราบสาเหตุที่แท้จริงได้ ครูจะต้องอาศัยการวิจัยเข้ามาช่วย ดังนั้น หน้าท่ี ของครูในด้านการค้นคว้าวิจัยจึงเป็นงานที่ครูจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูทุกคนจึงควรศึกษา กระบวนการวิจยั ใหม้ ีความรู้ ความเขา้ ใจด้วย ข้ันตอนในการวจิ ัยที่สำคัญมี ดังนี้ ๑. การตง้ั ปญั หา ๒. การตง้ั สมมุติฐานเพอ่ื แกป้ ัญหา ๓. การรวบรวมขอ้ มลู ๔. การวิเคราะห์ขอ้ มูล ๕. สรปุ ผล สำหรบั ข้นั ตอนของการทำงานวิจัยควรดำเนินงานตามลำดับตอ่ ไปน้ี ๑. การเลือกปัญหาสำหรบั การวิจยั ๒. การศกึ ษาเอกสารและงานวจิ ัยทเ่ี กีย่ วขอ้ ง ๓. การจำกัดขอบเขตและการให้คำจำกดั ความของปัญหา ๔. การตั้งสมมุติฐาน ๕. การกำหนดประชากรและกลมุ่ ตวั อย่าง ๖. การสร้างเครือ่ งมอื สำหรบั การวิจัย ๗. การรวบรวมขอ้ มูล ๘. การวเิ คราะหแ์ ละการแปลความหมายขอ้ มลู ๙. การสรปุ อภิปราย และขอ้ เสนอแนะ ๑๐. การรายงานผลการวจิ ยั S (Service) บริการ หมายถึง การให้บริการ คือ ครูจะต้องให้บริการแก่สังคมหรือบำเพ็ญตนให้ เปน็ ประโยชนต์ อ่ สงั คม ดังตอ่ ไปน้ี ๑. บรกิ ารความรู้ทวั่ ไป ให้แก่นักเรยี น ผปู้ กครอง ประชาชนในทอ้ งถิน่ ๒. บริการความรู้ทางด้านความรู้และสุขภาพอนามัย โดยเป็นผู้ให้ความรู้หรือเป็นผู้ประสานงาน เพอื่ ดำเนินการให้ความรแู้ ก่ประชาชน ๓. บริการด้านอาชพี เช่น ร่วมมือกับหนว่ ยงานอื่นเพื่อจัดฝกึ อบรมอาชีพระยะสัน้ ให้ประชาชนใน ท้องถนิ่ ๔. บริการใหค้ ำปรกึ ษาหารอื ทางดา้ นการศกึ ษาหรอื การทำงาน ๕. บรกิ ารดา้ นแรงงาน เชน่ ครูรว่ มมือกบั นกั เรยี นเพ่อื พัฒนาหมูบ่ า้ น ๖. บริการด้านอาคารสถานท่ีแก่ผู้ปกครองนกั เรียนท่ีมาขอใช้อาคารสถานที่ในโรงเรียนด้วยความ เต็มใจ

๑๒ 2.3.2 หนา้ ท่แี ละความรับผิดชอบของครู 1. สอนศิลปวทิ ยาใหแ้ ก่ศษิ ย์ ซง่ึ ถอื เปน็ หน้าที่สำคญั สำหรบั ครู ครูท่ีดีตอ้ งทำการสอนอย่างมี ประสทิ ธิภาพ มกี ารพฒั นาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้น ต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้ สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกบั นโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของทอ้ งถ่นิ และสถานการณบ์ า้ นเมืองในปจั จุบัน 2. แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ศิษย์ เพื่อช่วยให้ศิษย์ของตนสามารถ เลือกวิชาเรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ครูต้องคำนึงถึงสติปัญญา ความสามารถ และความถนัดของ บคุ ลิกภาพของศษิ ย์ด้วย 3. พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ โดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรม การเรยี นการสอนในหลกั สูตร และกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสตู ร 4. ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ เพื่อจะได้ทราบว่า ศิษย์ได้พัฒนาและมีความ เจริญกา้ วหนา้ มากนอ้ ยเพียงใดแลว้ การประเมินผลความเจริญกา้ วหน้าของศิษยค์ วรทำอย่างสม่ำเสมอ 5. อบรมคุณธรรม จริยธรรม ความมรี ะเบยี บวนิ ัย และค่านยิ มทด่ี ีงามใหแ้ ก่ศิษย์ เพื่อศิษย์ จะได้เปน็ ผใู้ หญ่ทด่ี ีของสงั คมในวันหนา้ 6. ปฏบิ ตั ติ ามกฎระเบยี บของหน่วยงานและสถานศกึ ษา ปฏิบตั ิตามพระราชบัญญตั ิครูและ จรรยาบรรณครู เพือ่ เปน็ แบบอยา่ งทด่ี แี ก่ศษิ ย์ 7. ตรงตอ่ เวลา โดยการเขา้ สอนและเลือกสอนตามเวลา ทำงานสำเร็จครบถ้วนตามเวลาและ รกั ษาเวลาทนี่ ัดหมาย 8. ปฏิบัติงาน ทำงานในหน้าที่ ท่ีได้รบั มอบหมายอย่างมีประสิทธภิ าพ 9. ส่งเสริมและพฒั นาความรคู้ วามสามารถของคน โดยการศึกษาค้นควา้ หาความรู้เพ่ิมเติม อยู่เสมอ เพื่อให้รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลข่าวสารและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีการ พฒั นาอยา่ งต่อเนอื่ ง โดยสรุปในภาพรวมหน้าที่ของครู คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพอ่ื ให้ผู้เรยี นมคี ณุ ลักษณะท่ีพงึ ประสงคต์ ามเป้าหมายของหลกั สูตร มคี ุณภาพสอดคล้องกบั ความต้องการ ของตลาดแรงงาน ดังนั้นในการวิจยั คร้ังน้ี ผู้วิจัยมุ่งศึกษาองค์ประกอบในการศึกษาความพึงพอใจและ ความต้องการของผู้เรียน และพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน ๔ ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดการ เรียนการสอนของครผู ูส้ อน ด้านสือ่ การสอน ดา้ นการวดั และประเมินผล และดา้ นคุณธรรม จริยธรรม

๑๓ บทที่ ๓ วิธดี ำเนนิ การวิจยั ในการศึกษาวิจยั ในบทน้ีจะกล่าวถึงวิธีการดำเนินการวจิ ยั ตามลำดับ ดงั นี้ ๑. ประชากรและกลุม่ เป้าหมาย ๒. เครื่องมอื ท่ใี ชใ้ นการในการเก็บรวบรวมข้อมลู ๓. ขัน้ ตอนในการสร้างเครื่องมือ ๔. การเกบ็ รวบรวมข้อมูล ๕. การวิเคราะห์ขอ้ มลู ๖. สถิตทิ ใี่ ชใ้ นการวเิ คราะห์ข้อมลู 3.1 ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง ประชากร : นักเรียน ที่กำลังศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ตามหลักสูตร ประกาศนียบตั รวิชาชีพ ซ่งึ ปฏบิ ัตกิ ารสอนโดยนพรัตน์ ไทยถัด กลุ่มตัวอย่าง : ผู้วิจัยได้ใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการเลือกกลุ่มผู้เรียนที่เรียน กับครูผูส้ อนในแตล่ ะรายวชิ า/หลักสูตร เป็นผใู้ หข้ ้อมูล จำนวน ๗ คน 3.2 เคร่อื งมอื ท่ใี ช้ในการเกบ็ รวมรวมข้อมลู เครื่องมือใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วยความพึงพอใจ ๔ ด้าน มี ข้อคำถาม จำนวน ๑๗ ข้อ คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ด้านสื่อการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านคุณธรรม จริยธรรม ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า ( Rating Scale) ซึ่งคำถามครอบคลุมถึงประเด็น ด้านความพึงพอใจ แบ่งเป็น ๕ ระดับคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง นอ้ ย และน้อยทสี่ ดุ แล้วทำเคร่อื งหมาย  ลงในแบบสอบถาม 3.3 ขัน้ ตอนการสรา้ งเคร่ืองมอื การสร้างเครอื่ งมือที่ใชใ้ นการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ในการวจิ ัยครั้งนี้ ไดด้ ำเนินการ ดงั น้ี ๑. ศึกษาเอกสาร บทความและรายงานการวิจัย เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ ความพึงพอใจดา้ นการจัดการศึกษาในรายวชิ าต่าง ๆ ตามหลกั สตู รประกาศนยี บัตรวิชาชีพ (ปวช.) ๒. นำข้อมลู จากการศึกษาคน้ ควา้ มาสรา้ งแบบสอบถาม ๓. นำเสนอร่างแบบสอบถามไปทำการตรวจสอบ เพื่อหาความตรงจากผู้เชี่ยวชาญ ช่วยตรวจสอบข้อกระทงคำถามแต่ละด้าน ได้คำถามที่ครอบคลุม มีความตรงตามเนื้อหา และมี ความตรงตามโครงสร้างในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอน โดยจำแนกเป็นพฤติกรรม การจัดการเรยี นรู้ ๔ ด้าน ๔. นำแบบสอบถามท่ีได้จากการตรวจสอบแลว้ นำมาปรบั ปรงุ แก้ไขให้ดียิ่งข้นึ และนำไปใช้ ในการวิจัยตอ่ ไป

๑๔ 3.4 การรวบรวมเกบ็ ขอ้ มูล ผู้วิจัยได้ดำเนนิ การเกบ็ รวบรวมข้อมูล ดังน้ี ผู้วิจัยได้ดำเนินการแจกแบบสอบถามแก่ผู้เรียน โดยชี้แจงวิธีการตอบแบบสอบถาม ด้วยตนเอง นำแบบสอบถามที่ได้มาตรวจสอบความสมบรู ณ์ พร้อมนำมาวิเคราะหผ์ ลต่อไป 3.5 การวิเคราะหข์ ้อมลู สำหรบั การวเิ คราะหข์ ้อมูล ได้ดำเนินการดงั นี้ ๑. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาทั้งหมด ตรวจสอบความสมบูรณ์ ฉบับที่สมบูรณ์แล้ว นำมาตรวจให้คะแนนโดยใช้มาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ต (Likert ) มีน้ำหนักคะแนน ๕ ระดับ (บญุ ชม ศรสี ะอาด. ๒๕๔๕ : ๖๒) ดังน้ี มากที่สุด มคี า่ ระดับคะแนน ๕ คะแนน มาก มีค่าระดบั คะแนน ๔ คะแนน ปานกลาง มคี ่าระดบั คะแนน ๓ คะแนน นอ้ ย มคี า่ ระดับคะแนน ๒ คะแนน นอ้ ยที่สุด มคี า่ ระดบั คะแนน ๑ คะแนน ๒. การวเิ คราะหข์ ้อมูล ผู้ศึกษาใช้สถิตใิ นการวิเคราะห์ข้อมลู ประกอบดว้ ย ๒.๑ สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ของขอ้ มลู เป็นตารางแสดงร้อยละ ๒.๒ วิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อครูผู้สอนวิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีชมุ พร โดยการหา คา่ เฉลี่ย (Mean) และส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ๒.๓ เกณฑ์ในการแปลความหมายข้อมูล การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยกำหนดขอบเขต คา่ เฉลยี่ ดงั นี้ ค่าระดบั คะแนนเฉลยี่ ความหมาย ๔.๕๑ - ๕.๐๐ มีคา่ ระดับความพึงพอใจอย่ใู นระดบั มากที่สุด ๓.๕๑ - ๔.๕๐ มีคา่ ระดับความพึงพอใจอย่ใู นระดบั มาก ๒.๕๑ - ๓.๕๐ มคี ่าระดบั ความพึงพอใจอยใู่ นระดับปานกลาง ๑.๕๑ - ๒.๕๐ มคี า่ ระดบั ความพึงพอใจอยูใ่ นระดับน้อย ๑.๐๐ - ๑.๕๐ มคี ่าระดับความพงึ พอใจอยู่ในระดบั น้อยทส่ี ุด 3.6 สถิติทใ่ี ชใ้ นการวเิ คราะห์ขอ้ มูล ผ้ศู กึ ษาใช้สถิตพิ ้นื ฐานได้แก่ ๖.๑ คา่ ร้อยละ (Percentage) ร้อยละ = ตวั เลขที่ต้องการเปรียบเทยี บ X ๑๐๐ จำนวนเต็ม

๑๕ ๖.๒ มชั ฉิมเลขคณติ หรอื ค่าเฉลีย่ (Arithmetic Mean) X = X N เมื่อ X แทน ค่าเฉลยี่  แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จำนวนของขอ้ มลู

๑๖ บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียน รายวิชาการเขียนโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร ผ้วู ิจยั นำเสนอผลการวิเคราะหต์ ามลำดบั ดังน้ี ๑. แสดงผลการวิเคราะหจ์ ำนวนผู้ให้ข้อมูลจำแนกกลมุ่ ตวั อย่าง ๒. แสดงผลการวิเคราะหร์ ะดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง 4.1 ผลการวิเคราะหจ์ ำนวนผู้ใหข้ อ้ มูลตามกลุ่มตวั อย่าง ตารางท่ี ๑ แสดงจำนวนผู้ให้ข้อมูลระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรยี น วิชาการเขียน โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชมุ พร จำแนกตามกลุ่มผูเ้ รยี น กล่มุ ผู้เรยี น จำนวนทั้งหมด ผ้เู รยี น รอ้ ยละ 8 จำนวนท่ีให้ขอ้ มูล ๑๐๐ ภาคปกติ 8 ๑๐๐ รวม 8 8 จากตารางที่ ๑ แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนตอบแบบสอบถามทั้งหมดร้อยละ ๑๐๐ จากจำนวนผู้เรียน ท้งั หมด 8 คน 4.2 ผลการวเิ คราะหร์ ะดับความพงึ พอใจของกลุม่ ตัวอย่างหรือผู้เรียน ตารางที่ ๒ แสดงระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียนต่อพฤติกรรมด้าน การจัดการเรยี นรูข้ องครูผสู้ อน จำแนกเปน็ รายด้าน พฤติกรรมท่ีปฏิบตั ิ คะแนนเฉล่ีย คา่ เบี่ยงเบน ระดับความพึง มาตรฐาน พอใจ ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ๔.๓๘ มาก ด้านส่อื การสอน ๔.๓๓ .๔๘๑ มาก ด้านการวดั ผลและประเมนิ ผล ๔.๔๔ .๕๐๐ มาก ด้านคณุ ธรรม จริยธรรม ๔.๔๑ .๕๗๗ มาก ๔.๓๙ .๔๙๔ มาก โดยภาพรวม .๔๘๓ จากตารางท่ี ๒ พบว่าผู้เรยี นรายวชิ าการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ พงึ พอใจตอ่ ครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๙ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๔๘๓ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก คือ ด้านการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย ๔.๔๔ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๕๗๗ รองลงมาคือด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ย ๔.๔๑ มีค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน .๔๙๔ ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๘ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๔๘๑ และด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจน้อยกว่าด้านอื่น ๆ คือ ด้านสื่อการสอน มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๓ มคี ่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน .๕๐๐

๑๗ ตารางที่ ๓ แสดงระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียนต่อพฤติกรรมการจัดการ เรียนรูข้ องครผู ู้สอน ด้านการจดั การเรยี นการสอนของครูผสู้ อน จำแนกเป็นรายข้อ พฤตกิ รรมทปี่ ฏบิ ัติ คะแนน คา่ เบ่ียงเบน ระดบั ความ เฉลีย่ มาตรฐาน พงึ พอใจ ด้านการจดั การเรียนการสอนของครผู สู้ อน ๑. แจ้งจดุ ประสงค์ ขอบขา่ ยเนอ้ื หา กจิ กรรมและวิธกี ารวัดผลอยา่ งชดั เจน ๔.๑๑ .๖๐๑ มาก ๒. ครผู สู้ อนเตรยี มการสอนเป็นอยา่ งดีทุกครั้งท่สี อน ๔.๓๓ .๘๖๖ มาก ๓. อธบิ ายเนอ้ื หาและยกตัวอย่างประกอบ ตรงประเด็น เข้าใจง่าย และชัดเจน ๔.๑๑ .๙๒๘ มาก ๔. มีกจิ กรรมการสอนหลากหลายทีส่ ง่ เสรมิ การคดิ /ทกั ษะปฏิบัติ ๔.๔๔ .๗๒๖ มาก ๕. จดั การเรียนการสอนเน้อื หาครบถว้ นตรงตามหลกั สตู ร ๔.๒๒ .๖๖๗ มาก ๖. เปิดโอกาสใหน้ ักศึกษา ซักถาม – ตอบ ทกุ ครงั้ ท่สี อน ๔.๗๘ .๔๔๑ มากทส่ี ดุ ๗. มวี ิธีการทีท่ ำใหน้ ักศกึ ษาเปน็ ผ้เู รยี นทก่ี ระตอื รือร้นและมสี ว่ นร่วม ๔.๔๔ .๗๒๖ มาก ๘. การแต่งกายและบุคลิกภาพของอาจารย์เหมาะสม ๔.๗๘ .๔๔๑ มากทสี่ ดุ ๙. ความสามารถในการสร้างบรรยากาศให้นา่ เรียน ๔.๒๒ .๖๖๗ มาก ๔.๓๘ .๓๘๑ มาก รวมคา่ ระดับคะแนนเฉลยี่ จากตารางที่ ๓ พบว่าผู้เรียนรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ มีความพึงพอใจ ต่อครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๘ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๓๘๑ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ซักถาม – ตอบ ทุกครั้งที่สอนและการแต่งกายและบุคลิกภาพของอาจารย์เหมาะสม มีค่าเฉลี่ย ๔.๗๘ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๔๔๑ รองลงมาคือมีกิจกรรมการสอนหลากหลายทีส่ ่งเสริมการคิด/ทักษะปฏิบัติ เท่ากับมีวิธีการที่ทำให้นักศึกษาเป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้นและมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ย ๔.๔๔ มีค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน .๗๒๖ ครูผู้สอนเตรียมการสอนเป็นอย่างดีทุกครั้งที่สอน ค่าเฉลี่ย ๔.๓๓ มีค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน .๘๖๖ จัดการเรียนการสอนเนื้อหาครบถ้วนตรงตามหลักสตู รเทา่ กับความสามารถในการสร้าง บรรยากาศให้น่าเรียน ค่าเฉลี่ย ๔.๒๒ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๖๖๗ และข้อที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจ น้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ แจ้งจุดประสงค์ ขอบข่ายเนื้อหา กิจกรรมและวิธีการวัดผลอย่างชัดเจนเท่ากับ อธิบายเนื้อหาและยกตัวอย่างประกอบ ตรงประเด็น เข้าใจง่าย และชัดเจน มีค่าเฉลี่ย ๔ .๑๑ มีคา่ เบยี่ งเบนมาตรฐาน .๖๐๑ ตารางที่ ๔ แสดงระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียนต่อพฤติกรรมการจัดการ เรยี นรู้ของครผู สู้ อน ดา้ นส่อื การสอน จำแนกตามรายข้อ พฤตกิ รรมทปี่ ฏิบัติ คะแนน ค่าเบยี่ งเบน ระดบั ความ เฉลยี่ มาตรฐาน พงึ พอใจ ด้านส่ือการสอน ๑๐. ใช้ส่ือการสอน/การส่อื สาร เหมาะสมกับเน้ือหาวิชาและช่วยใหเ้ กิดการเรยี นรู้ ๔.๐๐ .๗๐๗ มาก ๑๑. มตี ำราหรอื เอกสารประกอบการสอนท่ีสอดคล้องกับเน้ือหา ๔.๖๗ .๗๐๗ มากทสี่ ุด รวมคา่ ระดบั คะแนนเฉล่ีย ๔.๓๓ .๕๐๐ มาก จากตารางที่ ๔ พบว่าผู้เรียนรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ มีความพึงพอใจ ตอ่ ครผู ู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดบั มาก มคี า่ เฉลยี่ ๔.๓๓ มคี า่ เบี่ยงเบนมาตรฐาน .๕๐๐ เม่ือพิจารณา รายข้อ พบว่าข้อที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ มีตำราหรือเอกสารประกอบการสอน ที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย ๔.๖๗ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๗๐๗ และข้อที่ผู้เรียนมคี วามพึงพอใจ

๑๘ น้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ ใช้สื่อการสอน/การสื่อสาร เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและช่วยให้เกิดการเรียนรู้ มคี ่าเฉล่ีย ๔.๐๐ มีคา่ เบ่ยี งเบนมาตรฐาน .๗๐๗ ตารางที่ ๕ แสดงระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียนต่อพฤติกรรม การจัดการเรยี นรูข้ องครูผสู้ อน ดา้ นการวัดผลและประเมินผล จำแนกตามรายข้อ พฤตกิ รรมทีป่ ฏบิ ตั ิ คะแนน คา่ เบีย่ งเบน ระดบั ความพึง เฉลยี่ มาตรฐาน พอใจ ดา้ นการวัดผลและประเมินผล ๔.๖๗ .๗๐๗ มากทีส่ ดุ ๑๒. การมอบหมายงานให้ทำ มคี วามชัดเจนและมีปริมาณทเี่ หมาะสม ๔.๒๒ .๖๖๗ มาก ๑๓. ตรวจงานและช้แี จงขอ้ บกพรอ่ ง ใหน้ กั ศกึ ษาได้แก้ไขเป็นรายบคุ คล ๔.๔๔ .๘๘๒ มาก ๑๔. ใช้วธิ ีการประเมินผลหลากหลาย ทีส่ อดคลอ้ งกบั ลักษณะงานหรอื ๔.๔๔ .๕๗๗ มาก การเรยี นรู้ รวมค่าระดบั คะแนนเฉล่ยี จากตารางที่ ๕ พบว่าผู้เรียนรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ มีความพึงพอใจ ต่อครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ๔.๔๔ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๕๗๗ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ การมอบหมายงานให้ทำ มีความชัดเจนและมีปริมาณที่เหมาะสม มีค่าเฉลี่ย ๔ .๖๗ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๗๐๗ ใช้วิธีการประเมินผลหลากหลาย ที่สอดคล้องกับลักษณะงานหรือการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย ๔ .๔๔ มีค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน .๘๘๒ และข้อทีผ่ ู้เรยี นมีความพึงพอใจน้อยกว่าข้ออ่ืน ๆ คอื ตรวจงานและช้ีแจง ข้อบกพร่อง ใหน้ ักศึกษาไดแ้ กไ้ ขเปน็ รายบุคคล มีค่าเฉลี่ย ๔.๒๒ มคี ่าเบย่ี งเบนมาตรฐาน .๖๖๗ ตารางที่ ๖ แสดงระดับความพึงพอใจและความต้องการของผู้เรียนต่อพฤติกรรมการจัดการ เรยี นรูข้ องครูผ้สู อน ด้านคณุ ธรรม จรยิ ธรรม จำแนกตามรายข้อ พฤติกรรมที่ปฏิบัติ คะแนนเฉล่ีย ค่าเบี่ยงเบน ระดบั ความพึง มาตรฐาน พอใจ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ๑๕. มคี วามยตุ ธิ รรมปราศจากอคตติ อ่ ผเู้ รยี น ๔.๒๒ .๘๓๓ มาก ๑๖. มเี วลาใหผ้ เู้ รียนและอุทศิ ตนใหก้ ับการสอนอยา่ งเต็มที่ ๔.๓๓ .๕๐๐ มาก ๑๗. ประพฤติตนเปน็ แบบอยา่ งทด่ี ีให้กับผเู้ รยี น ๔.๖๗ .๕๐๐ มากที่สดุ รวม ๔.๔๑ .๔๙๔ มาก จากตารางที่ ๖ พบว่าผู้เรียนรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ มีความพึงพอใจ ต่อครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ๔.๔๑ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๔๙๔ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ข้อ คือ ประพฤติตน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน มีค่าเฉลี่ย ๔.๖๗ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๕๐๐ มีเวลาให้ผู้เรียนและ อุทิศตนให้กับการสอนอย่างเต็มท่ี มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๓ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๕๐๐ และข้อที่ผู้เรียน มีความพึงพอใจน้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ มีความยุติธรรมปราศจากอคติต่อผู้เรียนเท่ากับประพฤติตน เปน็ แบบอยา่ งท่ีดใี ห้กบั ผูเ้ รยี น มีคา่ เฉล่ยี ๔.๒๒ มคี า่ เบยี่ งเบนมาตรฐาน .๘๓๓

๑๙ บทที่ ๕ สรปุ อภิปรายผลและขอ้ เสนอแนะ ระดบั ความพงึ พอใจและความต้องการของผ้เู รียน รายวชิ าการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ หลักสตู รประกาศนยี บัตรวชิ าชีพ ปกี ารศึกษา ๒/๒๕๖5 จากกรอบการวิจัยเกี่ยวข้องกบั พฤติกรรมที่ครูผู้สอน ปฏิบัติต่อผู้เรียน ๔ ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ด้านสื่อการสอน ดา้ นการวัดและประเมนิ ผล และดา้ นคณุ ธรรม จริยธรรม ผลการวิจัย พบว่า ผู้เรียนรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ พึงพอใจต่อครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๙ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๔๘๓ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก คือ ด้านการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย ๔.๔๔ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๕๗๗ รองลงมาคือด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ย ๔.๔๑ มีค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน .๔๙๔ ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๘ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .๔๘๑ และด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจน้อยกว่าด้านอื่น ๆ คือด้านสื่อการสอน มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๓ มคี ่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน .๕๐๐ การอภปิ รายผล จากผลการวิจัย ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากด้านด้านการวัดและประเมินผล ทั้งอาจเนื่องมาจาก ครูผู้สอนมีการมอบหมายงานให้ทำ มีความชัดเจนและมีปริมาณที่เหมาะสม มีการตรวจงานและชี้แจง ข้อบกพร่อง ทั้งยังใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย สอดคล้องกับลักษณะงานหรือการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสนใจและเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น และด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับน้อยกว่า ด้านอื่น ๆ คือ ด้านสื่อการสอน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากครูผู้สอนมีการใช้สื่อการเรียนการสอน ตำราและเอกสารประกอบการเรียนการสอน การสื่อสารยังไม่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ทำให้ผู้เรียน เกดิ การเรยี นรู้ไม่เตม็ ประสทิ ธิภาพ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ครูผู้สอนควรมีสือ่ การเรียนการสอน กิจกรรมการสอนหลากหลายท่ีส่งเสริมการคิด/ทักษะปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะมากยิ่งขึ้น และควรให้นักเรียนนักศึกษาไปศึกษา ค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติม ทุกรายวิชาที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และครูผู้สอน ควรเน้นยำ้ ใหน้ ักเรยี น นกั ศกึ ษารจู้ ักใชเ้ วลาว่างให้เกดิ ประโยชนแ์ ละสอนหลักการคน้ ควา้ ข้อมลู เพิ่มเตมิ

บรรณานกุ รม ธีรศกั ด์ิ อัครบวร. ความเป็นครู. กรงุ เทพฯ : ก. พลพิมพ์, ๒๕๔๒. ประจง ประสารฉำ่ . คุณธรรมของครู : รากฐานอันม่นั คงของสังคม. ข้าราชการครู, ๒๔๔๑. ปรดี า บุญเพลงิ . เกณฑ์มารฐานวชิ าชีพครู. พิมพ์ครง้ั ที่ ๔ . กรงุ เทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรสุ ภา ลาดพรา้ ว, ๒๕๔๑. พรพมิ ล และ อนนั คช์ ยั พงษ์สวุ รรณ. ลักษณะครดู ี ๑๐ ประการ. มิตรคร,ู ๒๕๓๔. . ภาวิณี เจรญิ ยิง่ . ครูของแผ่นดนิ . วทิ ยาจารย์.หน้า ๑๘, ๒๕๔๒.

ภาคผนวก

แบบประเมินความพึงพอใจ วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยชี มุ พร คำชี้แจง แบบสอบถามชุดนี้จัดทำขึ้นโดย นายนพรัตน์ ไทยถัด แผนกวิชาธุรกิจเกษตร ครูผู้สอน รายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ช้นั ปีที่ 3 สาขาวชิ าบรหิ ารธรุ กจิ สาขางานคอมพิวเตอรธ์ ุรกจิ ตอนที่ 1 ข้อมูลสว่ นตวั เพศ mชาย m หญิง ตอนที่ 2 แบบสอบถามแสดงความพงึ พอใจ เกณฑก์ ารประเมนิ 1 หมายถึง เหน็ ดว้ ยน้อยทส่ี ุด หมายถงึ เหน็ ด้วยนอ้ ย 2 3 หมายถึง เหน็ ดว้ ยปานกลาง 4 หมายถึง เหน็ ดว้ ยมาก 5 หมายถึง เหน็ ด้วยมากท่ีสดุ คำชีแ้ จง เขียนเครอ่ื งหมาย ✓ ในชอ่ งทตี่ รงกบั ระดับความพึงพอใจของนกั ศึกษา ขอ้ รายการ ระดับความพงึ พอใจ 1 54 3 2 ด้านการจดั การเรียนการสอนของครูผสู้ อน 1 แจ้งจดุ ประสงค์ ขอบข่ายเนอ้ื หา กจิ กรรมและวธิ กี ารวัดผลอยา่ งชดั เจน 2 ครผู สู้ อนเตรยี มการสอนเป็นอยา่ งดที ุกคร้งั ทสี่ อน 3 อธบิ ายเนื้อหาและยกตัวอย่างประกอบ ตรงประเดน็ เขา้ ใจง่าย และชัดเจน 4 มีกิจกรรมการสอนหลากหลายทส่ี ่งเสรมิ การคดิ /ทกั ษะปฏิบตั ิ 5 จัดการเรยี นการสอนเนือ้ หาครบถว้ นตรงตามหลักสตู ร 6 เปิดโอกาสให้นกั ศกึ ษา ซักถาม – ตอบ ทุกครง้ั ท่สี อน 7 มวี ธิ กี ารที่ทำให้นักศึกษาเป็นผูเ้ รยี นทกี่ ระตือรอื ร้นและมสี ่วนรว่ ม 8 การแต่งกายและบุคลิกภาพของอาจารยเ์ หมาะสม 9 ความสามารถในการสรา้ งบรรยากาศให้น่าเรยี น ด้านสื่อการสอน 10 ใช้สือ่ การสอน/การส่อื สาร เหมาะสมกบั เนื้อหาวิชาและชว่ ยให้เกิดการเรยี นรู้ 11 มีตำราหรือเอกสารประกอบการสอนทส่ี อดคล้องกบั เน้อื หา ดา้ นการวดั ผลและประเมนิ ผล 12 การมอบหมายงานใหท้ ำ มคี วามชดั เจนและมปี รมิ าณที่เหมาะสม 13 ตรวจงานและชแ้ี จงข้อบกพรอ่ ง ใหน้ กั ศึกษาได้แกไ้ ขเป็นรายบุคคล 14 ใชว้ ิธีการประเมนิ ผลหลากหลาย ทสี่ อดคล้องกบั ลักษณะงานหรอื การเรยี นรู้ ดา้ นคุณธรรม จริยธรรม 15 มคี วามยุตธิ รรมปราศจากอคติตอ่ ผู้เรยี น

ขอ้ รายการ ๑๔ 16 มีเวลาใหผ้ เู้ รยี นและอทุ ิศตนให้กับการสอนอย่างเตม็ ท่ี ระดบั ความพงึ พอใจ 17 ประพฤตติ นเป็นแบบอย่างทด่ี ใี ห้กบั ผเู้ รยี น 54 3 2 1 ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook