Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สุขภาพคอม

สุขภาพคอม

Published by thapanut armradit, 2021-12-26 20:19:29

Description: สุขภาพคอม

Search

Read the Text Version

สุขภาพก็เหมือน ถนน

ปัญหาสุขภาพ ปั ญ ห า สุ ข ภ า พ ห ม า ย ถึ ง สิ่ ง ที่ ก่ อ ใ ห้ เ กิ ด ค ว า ม ขั ด ข้ อ ง ท า ง สุ ข ภ า พ ข อ ง ป ร ะ ช า ช น โ ด ย ค ว า ม ขั ด ข้ อ ง ท า ง สุ ข ภ า พ นั้ น เ กิ ด จ า ก ค ว า ม เ จ็ บ ป่ ว ย เ ป็ น โ ร ค แ ล ะ ค ว า ม ไ ม่ ป ล อ ด ภั ย ใ น ชี วิ ต โ ด ย ปั ญ ห า สุ ข ภ า พ ข อ ง ค น ทั่ ว ไ ป ที่ พ บ ใ น ป ร ะ ข า ก ร ส่ ว น ใ ห ญ่ ไข้หวัดธรรมดา สาเหตุของโรค เชื้อโรคที่ ทำให้เกิดไข้หวัดธรรมดาเป็นเชื้อไวรัส และ เชื้อไวรัสนี้มีหลายชนิด ดังนั้น ผู้ที่เป็นหวัดใหม่ ๆ จากเชื้อไวรัสชนิด หนึ่งก็อาจเป็นหวัดอีกครั้งหนึ่งจากเชื้อไวรัสอีกชนิด หนึ่งได้ การติดต่อ เรามักจะได้รับ เชื้อไข้หวัดธรรมดาจากการไอ จาม ของผู้ที่ เป็นไข้หวัดอยู่แล้ว หรืออาจได้รับเชื้อโรคจากการสัมผัสใกล้ชิดกับ ภาชนะสิ่งของที่ผู้ป่วยใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ ไวรัสเข้าไปแล้ว ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอาการไข้หวัดเสมอไป ถ้า ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ความต้านทานโรคของร่างกายดี ก็สามารถ ทำลายเชื้อไวรัสนั้นได้และไม่เจ็บป่วย แต่ถ้าร่างกายเราอ่อนแอ เช่น ทำงานหนัก อดนอนมากๆ ดื่มสุราจัด วิ่งเล่นหักโหมเกินไป เมื่อได้รับ เชื้อไข้หวัด ก็จะเกิดอาการไข้หวัดได้ ระยะฟักตัว หมายถึง ระยะเวลานับตั้งแต่ได้รับเชื้อโรคเข้าไปจนกระทั่ง เริ่มมีอาการ ระยะฟักตัวของไข้หวัดธรรมดาโดยทั่วไปคือ 1-3 วัน

ถ้าความต้านทานโรคของร่างกายไม่ดี หรือผู้ป่วยปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง อาจมีโรค แทรกซ้อนได้หลายอย่าง ที่สำคัญคือ 1. หลอดลมอักเสบ มีอาการไอ มีเสมหะ เสมหะอาจมีสีเขียวซึ่งแสดงว่ามีเชื้อ บัคเตรีแทรกซ้อน ถ้าไม่รักษาให้ถูกต้องก็อาจเป็นเรื้อรัง หรือลุกลามเป็นปอดอักเสบ ได้ 2. ปอดอักเสบ มักลุกลามมาจากไข้หวัดแล้วมีอาการหลอดลมอักเสบด้วย โดย มากเป็นในผู้ที่มีความต้านทานน้อย เช่น เด็ก คนชรา ผู้ที่ชอบดื่มสุราจัด อาการจะมี ไข้สูง เจ็บหน้าอก ไอมีเสมหะสีเขียวหรือบางทีมีเลือดปน หายใจหอบ 3. หูน้ำหนวก เป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัดธรรมดาอีกอย่างหนึ่งซึ่งมักพบใน เด็ก มีอาการปวดหู ต่อมาแก้วหูอาจทะลุ มีน้ำมูกข้น ๆ คล้ายหนองไหลออกมาจากรู หูข้างที่เป็น ถ้าเป็นนานๆ และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะทำให้หูหนวก และ บางทีหนองอาจทะลุเข้าในสมองถึงแก่ชีวิตได้ วิธีปฏิบัติตัวเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา ควร ปฏิบัติดังนี้ 1. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง อย่าให้ร่างกายอ่อนแอลงไปอีก ได้แก่ การนอนหลับ พักผ่อนให้มากๆ รักษาร่างกายให้อบอุ่น งดเว้นการออกกำลังกายหักโหม งดเว้น จากสิ่งที่เป็นพิษต่างๆ เช่น เหล้า บุหรี่ 2. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ 3. ถ้ามีอาการไข้ ปวดตามตัว ก็อาจรับประทานยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ ยา แก้ไข้ แก้ปวด 4. ถ้ามีอาการมากขึ้น หรือสงสัยว่าจะมีโรคแทรกซ้อนก็ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้ๆ บ้าน การควบคุมและป้องกันโรค สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดธรรมดาได้

1. ป้องกันก่อนจะเกิดโรค ได้แก่ 1) เพิ่มความแข็งแรงและความ ต้านทานโรคให้แก่ร่างกายอยู่เสมอ ๆ โดยการกิน อาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อน ให้เพียงพอ รักษาร่างกายให้อบอุ่นโดยเฉพาะเวลา อากาศเปลี่ยน 2) ป้องกันมิให้เชื้อไข้หวัดเข้าสู่ ร่างกาย โดยการหลีกเลี่ยงจากการใกล้ชิดกับคนที่ เป็นหวัด ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นหวัด ไม่เข้าไปใน ที่ที่แออัดมาก ๆ เช่น ในโรงภาพยนตร์ ขณะที่ ร่างกายอ่อนแอ 2. การป้องกันเมื่อเกิดโรคขึ้นแล้ว ได้แก่ 1) ป้องกันมิให้เชื้อโรคแพร่กระจาย ออก ไป เช่น ไอหรือจามทุกครั้งต้องปิดปาก ปิดจมูก ด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือมือ ทำลายเชื้อโรคที่ติดมากับ ภาชนะสิ่งของของผู้ป่วยด้วยการต้มหรือซักล้างด้วย สบู่ หรือผงซักฟอกแล้วตากให้แห้ง พักผ่อนอยู่กับ บ้านไม่ไปโรงเรียนหรือทำงาน เพราะจะทำให้เชื้อแพร่ กระจายแพร่ออกไปกว้างขวางมากขึ้น 2) ป้องกันโรคแทรกซ้อน โดยการ ทำให้ร่างกายแข็งแรงมิให้อ่อนแอลงไป ดื่มน้ำมากๆ และไปปรึกษาแพทย์โดยเร็วถ้ามีอาการสงสัยว่าจะมี โรคแทรกซ้อน 3) แจ้งให้ผู้ปกครอง หรือผู้อื่นทราบ ว่ากำลังเป็นหวัดอยู่จะได้ป้องกันตนเองมิให้ติดไข้หวัด ต่อไปได้

1.2. ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อของระบบทาง เดินหายใจที่พบได้บ่อยเช่นเดียวกับไข้หวัด ธรรมดาและ มักจะระบาดได้เร็ว บางทีระบาด ไปทั่วประเทศหรือข้ามประเทศได้ สาเหตุของโรค ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อ ไวรัสซึ่งมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีความรุนแรง ต่างกันและความสามารถในการระบาดก็ต่าง กัน ระยะฟักตัว เช่นเดียวกับไข้หวัดธรรมดา คือ 1-3 วัน อาการ มีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัด ธรรมดามาก คือ มีอาการไข้สูงอย่างรวดเร็ว บางทีอาจหนาวสั่นด้วย ปวดศีรษะและปวดตาม เนื้อตามตัวมาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ไอแห้งๆ อาจจะเจ็บคอได้ แต่มักจะไม่พบอาการน้ำมูก ไหล บางคนอาจมีอาการหน้าแดง ตาแดง อาการไข้มักเป็นอยู่ 2-4 วัน ก็ค่อย ๆ ลดลง อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามตัว มัก จะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าไม่มีโรค แทรกซ้อน ก็จะหายเป็นปกติภายใน 2สัปดาห์

โรคแทรกซ้อน ไข้หวัดใหญ่มีอาการของโรคแทรกซ้อน มากกว่าและรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา โรคแทรกซ้อนที่ สำคัญ ได้แก่ 1. ปอดอักเสบ อาการคล้ายปอดอักเสบจากไข้หวัด ธรรมดา อาจเกิดจากเชื้อไวรัสของโรคเอง หรือจากเชื้อ บัคเตรีแทรกซ้อนก็ได้ เป็นภาวะที่พบบ่อยและทำให้มี อาการรุนแรงอาจถึงตายได้ 2. สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยมากเกิดการ อักเสบจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะมาก และมัก จะซึมลง อาจเสียชีวิตได้โดยง่าย 3. เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงตายได้จากหัวใจ วาย วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ มี วิธีป้องกันเช่น เดียวกับไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่มีวิธีป้องกันเพิ่มอีกวิธี หนึ่ง คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งจะช่วยป้องกันโรค หรือทำให้ ความรุนแรงของโรคลดลง แต่เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มี หลายชนิด เพราะฉะนั้นบางครั้งวัคซีนก็ใช้ไม่ได้ผลและราคา ค่อนข้างแพงด้วย จึงมักฉีดวัคซีนให้เฉพาะผู้ป่วยที่มี ร่างกายอ่อนแอหรืออาจเกิดโรคแทรกซ้อน ได้ง่าย เช่น คน ชรา หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น และฉีด เฉพาะเวลามีการระบาดเท่านั้น

1.3. วัณโรค วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่สำคัญมากโรคหนึ่ง เพราะ คนไทยยังเป็นกันมาก มีสาเหตุมาจากบัคเตรีชนิดหนึ่ง เป็นแล้วรักษาหายยาก ต้องกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ปัจจุบันวัณโรคยังเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญใน ประเทศไทย วัณโรคส่วนมากจะเป็นที่บริเวณปอด ซึ่งจะ มีอาการ ดังนี้ อาการทั่วไป ได้แก่ อาการไอเรื้อรัง มักไอแห้งๆ ถ้าเป็นนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษา แผลในปอดจะ ลุกลามมากขึ้น ทำให้ไอมีเลือดปนออกมา เชื้อวัณโรคจะ ทำลายเนื้อปอดไปเรื่อยๆ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบ เหนื่อย ไอเป็นเลือดและอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากมีอาการน่าสงสัยว่าอาจเป็นวัณโรค ได้แก่ อาการไข้ต่ำๆ เรื้อรัง ในตอนบ่ายหรือเย็น เบื่ออาหาร ผอมลง ไอเรื้อรังเกินกว่า 3-5 สัปดาห์ หรือไอเป็นเลือด ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์เพื่อการตรวจ วินิจฉัยโดยตรง วัณโรคอาจเป็นที่อวัยวะอื่น เช่น ที่ต่อม น้ำเหลืองรอบคอ เรียกว่า ฝีประคำร้อย ที่ลำไส้ ที่ไต ที่ เนื้อเยื่อหุ้มสมอง หรืออาจกระจายไปหลายๆ ส่วนของ ร่างกายได้

หากพบว่าเป็นวัณโรค ต้องอดทนกินยาโดยสม่ำเสมอ ไม่ลดยา หยุดยา หรือเพิ่มยาโดยมิได้ปรึกษาแพทย์ และต้องให้ครบระยะเวลาตามที่แพทย์สั่งด้วย หากมี ปัญหาจากการใช้ยา เช่น เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร มีผื่น ขึ้นตามตัว ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้หาทางแก้ไข อย่า หยุดกินยาเองโดยพลการ นอกจากนี้แล้วต้องบำรุงรักษาร่างกายให้ แข็ง แรงด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้ เพียงพอ รวมทั้งต้องระมัดระวังไม่แพร่เชื้อโรคให้แก่ผู้ อื่น โดยใช้ผ้าปิดปากเวลาไอหรือจาม เสมหะหรือน้ำมูก น้ำลายควรถ่มลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และทำลาย ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนเททิ้ง อย่าคลุกคลีใกล้ชิดกับ เด็กและคนชรา ซึ่งมักจะติดโรคได้ง่าย การฉีดวัคซีน บี.ซี.จี. จะช่วยป้องกันโรคได้มาก ผู้ฉีดวัคซีน บี.ซี.จี. แล้ว แม้จะเป็นโรคนี้ก็มักจะมีอาการ ไม่รุนแรง เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีน บี.ซี.จี. ตั้งแต่ แรกเกิด และได้รับการฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งครั้ง เมื่อ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตาม ปกติโรงพยาบาล ทุกแห่งจะฉีดวัคซีนนี้ให้แก่เด็กแรกเกิดทุกคนที่คลอด ในโรง พยาบาล เด็กที่ไม่ได้คลอดในโรงพยาบาลควร พาไปให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยหรือโรง พยาบาลฉีด วัคซีนนี้ให้โดยเร็ว

1.4. โรคหอบหืด โรคหอบหืดหรือเรียกสั้นๆ ว่า โรคหืด เป็นโรคที่เกิดกับ หลอดลม ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก เมื่อป่วยเป็นโรคหอบหืด แล้วมักจะหายยาก อาจเป็นๆ หายๆ อยู่หลายปีจนตลอดชีวิต เพราะโรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการดูแล รักษาให้ถูกต้องปล่อยให้ป่วยเรื้อรังอยู่เป็น เวลานานอาจ กลายเป็นโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดย อาจเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่เด็กเล็กที่มีอายุไม่ถึง 1 ขวบ ผู้ป่วยที่ เป็นผู้ใหญ่ส่วนมากจะป่วยมาตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยมากเริ่มเมื่อ มีอายุ 2-5 ปี และผู้ป่วยในวัยเด็กนี้จากสถิติพบว่าเป็นเด็ก ชายมากกว่าเด็กหญิงถึง 2 เท่า แต่เมื่อโตเป็นวัยหนุ่มสาว แล้วกลับมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้พอๆ กันทั้งสองเพศ ปัญหาของโรคหอบหืด ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืดกันมาก และมีผู้ป่วย อยู่จำนวนไม่น้อยที่ไม่เอาใจใส่ดูแล รักษา ทั้งยังนิยมไปซื้อยา มารับประทานเอง ซึ่งนอกจากอาจจะไม่มีผลในการรักษา และ เท่ากับเป็นการปล่อยให้โรคทรุดโทรมมากขึ้น นอกจากนี้สิ่งที่ สำคัญก็คือ ผู้ป่วยยังอาจได้รับอันตรายจากยาที่รับประทาน ได้อีกด้วย สาเหตุของโรคหอบหืด

ภูมิแพ้ กล่าวคือ เมื่อร่างกายหายใจหรือรับประทานสิ่งที่แพ้ เข้าไป ก็จะทำให้มีอาการหอบหืดขึ้นมาได้ โดยอาจจะ เป็นการหายใจเอาสิ่งที่แพ้ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ เช่น ควัน ฝุ่นละออง กลิ่นน้ำมัน ไอระเหยสารเคมี ละอองเกสรดอกไม้ ดอกหญ้า ขนสัตว์ต่างๆ เป็นต้น หรือรับประทานอาหารชนิด ที่ทำให้แพ้เข้าไป เช่น กุ้ง ปู ปลา ไข่ นม มะเขือเทศ ถั่ว ยา บางชนิด เป็นต้น 2. สาเหตุจากสิ่งอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการ หอบหืดเกิดขึ้นเมื่อพบกับอากาศเย็น ความชื้นหรือเมื่อออก กำลังกายมากเกินไป หรือเมื่อหัวเราะ หรือเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกายในขณะมีประจำ เดือน ตลอดจนเมื่อมีอารมณ์เคร่งเครียด เช่น ตกใจ เสียใจ ดีใจ ตื่นเต้น เป็นต้น ซึ่งการเกิดอาการหอบหืดจากสิ่งเหล่า นี้นั้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอมาก่อน ทั้งนี้เพราะหลอดลม ของผู้ป่วยมีความไวกว่าคนปกติ การไอจะทำให้หลอดลมหด ตัว จึงเกิดอาการหอบขึ้น ซึ่งในคนปกติจะไม่เป็นเช่นนี้ นอกจากนี้โรคหอบหืดอาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมได้อีก ด้วย

อาการของโรคหอบหืด ผู้ ป่วยจะมีอาการหอบหืดที่ เรียกว่าจับหืดเป็นระยะๆ โดยจะมีอาการเป็นๆ หายๆ อยู่เป็นพักๆ อาจจับหืดทุกวันทุกคืนหรือจับหืดตลอด คืนตลอดวันก็ได้ ในขณะที่จับหืดอยู่นั้น ผู้ป่วยจะมี อาการหายใจลำบากเฉพาะในช่วงหายใจออก ซึ่งมัก เกิดเสียงวี้ดๆ ขึ้น ส่วนการหายใจเข้านั้นยังทำได้เป็น ปกติ ทั้งนี้เพราะช่วงหายใจออกนั้น เป็นการปล่อย อาการออกมาเอง ภายหลังจากที่มีอากาศอัดเต็มอยู่ ในปอด แต่เนื่องจากกล้ามเนื้อที่อยู่ตามผนังของ หลอดลมเกิดการเกร็งตัวรัดให้หลอดลม ตีบ อีกทั้ง ภายในหลอดลมมีเสมหะที่เหนียวข้นซึ่งหลั่งจากเซลล์ ของเยื่อบุในหลอดลม มาคั่งอยู่ ลมหายใจออกจึง ผ่านมาตามหลอดลมได้ลำบาก และอาจทำให้เกิด เสียงดังวี้ดๆ ได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอ หอบ และมีเสมหะเหนียว อย่างไรก็ดีอาการหอบที่ เกิดขึ้นนั้นอาจทุเลาลงได้เองหรือจากการรักษา และ อาการมักเป็นซ้ำๆ มากน้อยเป็นรายๆ ไป ในขณะที่ ไม่มีอาการหอบนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นปกติเช่นคน ทั่วไป สามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ ผลที่มีต่อสุขภาพ

โรคหอบหืดนอกจากทำให้ผู้ป่วยได้รับความ ทุกข์ทรมานแล้ว ถ้าเป็นอยู่ เรื้อรังอาจทำให้เกิดโรคแทรกต่างๆ กับร่างกายได้ เช่น หลอดลมอักเสบ หลอดลมโป่งพอง ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ รุนแรง จะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและอาจเกิดหัวใจวายได้ การป้องกันรักษา 1. พยายามสังเกตว่าตนแพ้สิ่งใด แล้วพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น ถ้าแพ้นุ่น หรือขนเป็ดขนไก่ ก็ควรใช้หมอนที่ทำด้วยฟองน้ำแทน หรือถ้าแพ้ฝุ่นละออง ก็ ควรหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปในบริเวณที่มีฝุ่นละอองมาก เป็นต้น 2. พยายามจัดบ้านให้สะอาดเรียบร้อย โดยเฉพาะในห้องนอนควรจัดให้มี ของใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อจะได้สะดวกต่อการทำความสะอาด และหลีกเลี่ยง การใช้ผ้าห่มหรือเครื่องนอนที่ทำจากขนสัตว์ รวมทั้งควรปิดประตูหน้าต่างให้ มิดชิดในขณะที่ไม่อยู่ในห้อง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเกสรดอกไม้และเชื้อโรคต่างๆ ปลิวเข้าไปในห้อง 3. พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ ในบริเวณที่มีควันไฟ มีละอองสารเคมีฆ่าแมลง หรือมีกลิ่นฉุนรุนแรง เพราะสิ่ง เหล่านี้จะทำให้หลอดลมผู้ป่วยเกิดการระคายเคืองได้ง่ายกว่าคนปกติ ทั่วไป 4. พยายามทำจิตใจให้เบิกบาน หาเวลาออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียง พอ เมื่อเป็นหวัดควรไปให้แพทย์ตรวจรักษาให้หายโดยเร็ว ไม่ปล่อยทิ้งไว้ให้ เรื้อรัง 5. เมื่อเกิดอาการหอบหืด ควรไปให้แพทย์ตรวจรักษาจะเป็นการดีที่สุด ไม่ ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะยาแก้แพ้นั้นเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ และ ยาแก้แพ้ส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาอาการของโรคหอบหืดได้ เพราะอาการแพ้ เป็นโรคหอบหืดนี้เป็นอาการแพ้ที่รุนแรง 6. เมื่อมีโอกาสควรไปให้แพทย์ตรวจรักษาโรคหอบหืดให้หายขาด แม้จะต้อง ใช้เวลานานก็ตาม ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาจากแพทย์และสามารถปฏิบัติตนได้ ถูกต้อง โอกาสที่จะหายจากโรคนี้มีสูงถึงร้อยละ 75 โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเด็ก มีโอกาสหายมากกว่าผู้ใหญ่

การปฏิบัติตนในขณะเกิดอาการแพ้ ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้ 1. ควรรีบไปให้แพทย์ตรวจรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด 2. พยายามรักษาร่างกายให้อบอุ่น อยู่เสมอ 3. หลีกเลี่ยงการเข้าไปใกล้สิ่งที่ ทำให้แพ้ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปใน บริเวณที่มีอากาศไม่บริสุทธิ์ 4. พักผ่อนนอนหลับให้มากๆ และ พยายามทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส

2. โรคไม่ติดต่อ โรคไม่ติดต่อ เกิดจากพฤติกรรมของคนที่ไม่ถูกต้อง และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งไม่มีการติดต่อ และแพร่กระจายของโรค กลุ่มเสี่ยงของโรค ส่วนมากจะเป็น วัยทำงาน เพราะมีความเครียด ขาดการออกกำลังกาย เป็นก ลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แต่ปัจจุบันเริ่มตั้งแต่แม่และเด็ก แม่ต้อง มีความรู้ในการเลี้ยงลูก โรคที่ไม่ติดต่อ หรือ เอนซีดี ภาษาอังกฤษ เรียก Non- communicable disease คือ โรคที่ไม่ติดต่อจากสิ่งมีชีวิต สู่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นโรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ การสัมผัสผู้ป่วยจึง ติดต่อไม่ได้ ดังนั้น โรคไม่ติดต่อ การสัมผัสคลุกคลี ไม่มีผล ทำให้เกิดโรคจากผู้ป่วย แต่ติดต่อผ่านตัวนำโรคหรือผ่านสาร คัดหลั่งต่างๆ จะทำให้เกิดอาการเรื้อรังของโรค โดยอาการ ค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆที ลักษณะของโรคที่ไม่ติดต่อ เช่น โรคอ้วน โรคหลอด เลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดัน โลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคทางพันธุกรรม โรคไตและโรคสมอง เป็นต้น

โรคไม่ติดต่อมักเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ที่เกิดจาก การเสื่อมตามอายุ ภาวะขาดสารอาหาร และการทำงานผิด ปกติของอวัยวะต่างๆ ลักษณะของโรคประเภทนี้ เช่น จากโรค ภูมิแพ้ โรคภูมิต้านตนเอง โรคออโตอิมมูน เป็นต้น นอกจาก สาเหตุเหล่านี้ ยังมีสาเหตุจากพันธุกรรมอีกด้วย เช่น ปาก แหว่งเพดานโหว่ หรือ โรคกลุ่มอาการดาวน์ เป็นต้น สรุปว่า โรคไม่ติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิด ปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ และโรคจะไม่ สามารถติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็งโรคนิ่ว โรคจิต และโรคประสาท โรคความดันเลือด เป็นต้น ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ พฤติกรรมของมนุษย์มีผลต่อการเกิดโรคมากที่สุด โรคไม่ ติดต่อจึงเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของคน นอกจาก พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องแล้ว อิทธิพลด้านสิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อ สาเหตุของการเกิดโรคได้มากเช่นกัน หากเราอยู่ในสถานที่ที่ไม่ เหมาะสม สามารถเกิดโรคได้เช่นกัน ดังนั้น การอยู่ในสถานที่ที่ เหมาะสม และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่ดี ก็จะทำให้อยู่ในสภาพร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคได้ การป้องกันโรคไม่ติดต่อ

โรคไม่ติดต่อ เกิดจากใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง อยู่ในสถานที่ที่ไม่ดีต่อ สุขภาพ พฤติกรรมต่างๆที่ทำร่ายสุขภาพ ความเครียด อาหาร การพักผ่อน โดยเราได้ทำการแยกข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกัน การเป็นโรค มีดังนี้ 1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรก ให้หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตนที่จะ ทำให้เกิดโรค การปฏิบัตตนให้แข็งแรง เช่น รับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2. ดูแลสุขภาพจิตให้ปรกติ สร้างความอบอุ่นในครอบครัว ลดความเครียด จากการดำนินชีวิตทั้งหลาย 3. การทำงานที่มีความเสี่ยงหรือกิจกรรมใดที่มีความเสี่ยง ของอุบัตติเหตุต่อร่างกาย ให้ใส่เครื่องป้องกัน เช่น เดินทาง จักรยายนต์ให้ใส่หมวกกันนอก อยู่ในเขตก่อสร้างให้ใส่หมวก นิรภัย เป็นต้น 4. ดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เป็นที่สะอาด และปราศจาก มลภาวะ ทั้งหลาย 5. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งอันตราย ทั้งด้านมลภาวะ ต่างๆ ตัวอย่างโรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน (DM / Diabetes) ความดันโลหิตสูง (HT / Hypertension) โรคหลอดเลือด สมอง / อัมพฤกษ์ อัมพาต (Stroke) โรคหัวใจขาดเลือด (IHD /Ishemic Heart Disease) และอื่น

3. โรคติดต่อ โรคติดต่อ หมายถึง โรคติดต่อจากสิ่งมี ชีวิตสู่คน บทความนี้มาทำความรู้จักกับโรค ติดต่อ ความหมายของโรคติดต่อ โรคติดต่อมี อะไรบ้าง โรคที่ติดต่อกันได้ทางตรง และทาง อ้อมโดยมีเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคที่ทำให้ เกิดโรค โรคติดต่อ คือ โรคที่สามารถถ่ายทอด ติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล โรค คือ ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย โรคต่างๆ มีหลายชนิด แบ่งต่ามอวัยวะของ ร่างกาย และลักษณะของการเกิดโรค ซึ่ง “โรค ติดต่อ” นั้นเป็นกลุ่มของโรคชนิดหนึ่งที่มีความ อันตราย และสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายกับมนุษย์ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคติดต่อกันว่า โรค ติดต่อคืออะไร สาเหตุของโรคติตต่อ โรคติดต่อ มีกี่ประเภท ต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดโรคติดต่อ และโรคแต่ละโรคที่เป็นโรคติดต่อนั้น เป็น อย่างไร สาเหตุ อาการ การรักษาและการ ป้องกันทำอย่างไร

โรคติดต่อ คือ ภาวะของการเกิดความผิด ปรกติของร่างกาย ซึ่งเกิดจากการ ถ่ายทอดจากผู้ที่มีเชื้อโรคที่เป็นภาหะใน การเกิดโรค สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อ โรคต่างๆ ที่ส่วนมากการติดต่อของโรค เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ เป็นปัจจัยร่วมอยู่ด้วย โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นทั้ง ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปสู่ คนอื่นๆได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผ่าน การสัมผัสโดยตรง การหายใจ การกิน อาหาร และช่องทางทุกช่องทางที่สามารถ เข้าสู่ร่างกายคนได้ สำหรับโรคติดต่อใน ประเทศไทยนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ - โรคติดต่ออันตราย - โรคติดต่อตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข - โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ



วิธีดูแลสุขภาพให้ดี ได้ด้วยตัวเอง 1. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารกับสุขภาพเป็นของคู่กัน การที่เราจะมี สุขภาพดีได้นั้น การกินถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักใน การดูแลตัวเอง เป็นการดูแลจากภายในสู่ภายนอก เราจึงควรต้องกินอาหารให้พอดีและหลากหลายใน แต่ละวัน เลือกกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นไปที่โปรตีนและคาร์โบ ไฮเดตรที่มีประโยชน์เป็นหลัก เสริมผัก ผลไม้ที่ให้ เกลือแร่และวิตามิน ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหาร จำพวกไขมันและอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง 2. ออกกำลังกาย เมื่อเลือกทานอาหารที่ดีแล้วสิ่งที่สำคัญไม่ แพ้กันนั่นก็คือการออกกำลังกาย ปัจจุบัน การออกกำลังกายมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่ กับความชอบ ไลฟสไตล์ และสภาพ ร่างกายของแต่ละคน แต่ไม่ว่าจะเป็นการ ออกกำลังกายชนิดไหน ก็มีส่วนช่วยทำให้ ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดีมากขึ้นทั้ง นั้น 3. ดื่มน้ำให้เยอะ เพื่อสุขภาพและผิวพรรณ การดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานการมีสุขภาพ ดีที่สำคัญขาดไม่ได้เลยในชีวิตประจำวัน แต่ กลับเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม การ ดื่มน้ำเปล่านอกจากจะช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าแล้ว ยังช่วยปรับสมดุลย์ของ ร่างกาย บรรเทาความเมื่อยล้า ช่วยในเรื่อง ระบบเผาผลาญและการขับถ่าย แถมยังช่วย ให้สุขภาพผิวของเราดีขึ้น

4. พักผ่อนให้เพียงพอ ปัจจุบันเรา ใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ จนลืมไปว่าสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุดและเป็นสิ่งที่ สำคัญอันดับต้นๆ ในการดูแลตัวเองให้มี สุขภาพดีนั้นก็คือการนอนการนอนหลับให้ เพียงพอ ซึ่งถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เพราะในช่วงเวลาที่เรานอนหลับ อวัยวะต่างๆ จะได้หยุดพัก หรือทำงานน้อยลง เป็นช่วง เวลาที่ระบบภูมิต้านทานจะทำงานได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ และสะสมพลังงานสำรอง ไว้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากเรานอนครบ 8-10 ชั่วโมงต่อคืน จะทำให้เราตื่นมาแล้ว รู้สึกสดชื่นและสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ใน วันถัดไปได้อย่างไม่รู้สึกเหนื่อยล้า เปรียบ เสมือนการได้ชาร์ตแบตร่างกายให้เต็ม 100% ในทุกๆ วัน 5. วางแผนจัดการกับความเครียด ไม่ให้เสีย สุขภาพจิต ความเครียดถือเป็นศัตรูตัวร้ายที่คอยบั่นทอน สุขภาพ เป็นสภาวะอารมณ์ของคนที่ต้องเจอกับ ปัญหาต่างๆ จนเกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล และรู้สึกกดดัน หลายครั้งที่เรามักเรียกโดยที่เรา ไม่รู้ตัว แต่สิ่งเหล่านี้มักจะแสดงออกมาทาง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ หรือพฤติกรรม บางคน เครียดแล้วทำให้หงุดหงิดง่าย บางคนเครียดแล้ว ป่วยบ่อย บางคนก็นอนไม่หลับ เราจึงควรต้องหา วิธีจัดการและบรรเทาความเครียดที่เกิดขึ้น เพื่อให้ เรามีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีในเวลา เดียวกัน

บรรณานุกรม https://www.cigna.co.th/health-wellness/tip/simple- tips-take-care-your-health-and-strong https://sites.google.com/site/stylebay245/payha- sukhphaph


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook