Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 118 DBD Accounting Jan'22

Description: DBD Accounting January 2022 Issue No. 118

1. ข่าวประชาสัมพันธ์
- ช่องทางการติดต่อกองกำกับบัญชีธุรกิจ
- ยื่นงบผ่าน e-Filing สำหรับสมาคมการค้าและหอการค้า
2. บทความ
- โอกาสของผู้ทำบัญชีสู่การเป็นนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA)
3. บทความรอบรู้มุมต่างประเทศ บล็อกเชนและวิชาชีพบัญชี
- มาตรฐานการเปิดเผยรายงานความยั่งยืน (Sustainability Disclosure Standard)

Keywords: accounting,e-Magazine,accountant,business

Search

Read the Text Version

e-Magazine ฉบับที่ 118 เดือนมกราคม 2565 DBD Accounting ข่าวประชาสัมพั นธ์ หน้า 2 ช่องทางการติดต่อกองกำกับบัญชีธุรกิจ ปีแรก ! ยื่นงบผ่าน e-Filing สำหรับสมาคมการค้าและหอการค้า บทความ หน้า 5 โอกาสของผู้ทำบัญชีสู่การเป็นนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) รอบรู้มุมต่างประเทศ หน้า 11 มาตรฐานการเปิดเผยรายงานความยั่งยืน (Sustainability Disclosure Standard) Facebook Page Line OpenChat DBD Accounting กองกำกับบัญชีธุรกิจ DBD Accounting

ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 2 ช่องทางการติดต่อกองกำกับบัญชีธุรกิจ 1. Facebook Page ฝกด้าดวกตยเิขดน้าะตไคปาะมกเดพไจลก์ DBD Accounting กองกำกับบัญชีธุรกิจ @dbdaccounting13 2. Line OpenChat เลือกห้องได้ ดังนี้ : DBD Accounting 1. งานผู้ทำบัญชี (e-Accountant) 2. งานการอนุญาต (e-Permit) และ e-Learning 3. ห้องคลินิกบัญชี 3. โทรศัพท์ 4. e-mail ส่วนส่งเสริมพั ฒนาวิชาชีพบัญชี ระบบ e-Accountant 02-547-4395 [email protected] ระบบ e-Permit 02-547-4408 [email protected] โครงการ Young & smart [email protected] accountants ส่วนส่งเสริมพัฒนาสำนักงานบัญชีคุณภาพ ระบบ e-AccFirm 02-547-5981 [email protected] ส่วนตรวจสอบบัญชี 02-547-4402 [email protected] 02-547-4403 [email protected] ส่วนเลขานุการกกบ. 02-547-4407 [email protected] คลินิกบัญชี 02-547-4396

ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 3 ระบบงานของกองกำกับบัญชีธุรกิจ https://dbd.go.th > บริการออนไลน์ ระบบงานผู้ทำบัญชี (e-Accountant) http://eaccountant.dbd.go.th/ e-accountant/ แจ้ง/เพิ่ม/ยกเลิกรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี ยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชีประจำปี (ช่วงวันที่ 1-30 มกราคมของทุกปี) ยืนยันสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี ระบบงานการอนุญาต (e-Permit) http://epermit.dbd.go.th/DBD-ePermit ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงรอบปีบัญชี (ส.บช.4) วีดีโอ Youtube แนะนำการใช้งานระบบ e-Permit ขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีไว้ที่อื่น (ส.บช.1) แจ้งบัญชีสูญหายเสียหาย (ส.บช.2) แจ้งส่งมอบบัญชี ระบบสำนักงานบัญชีคุณภาพ (e-AccFirm) ลงทะเบียน ประสงค์ขอรับรองคุณภาพ http://epermit.dbd.go.th/eAccFirm/ สำนักงานบัญชีจากกรมฯ ระบบการจัดทำฐานข้อมูลนักบัญชีคุณภาพรุ่นใหม่ (Young & smart accountants) http://epermit.dbd.go.th/YoungAcc/ สำหรับสถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ กับกรมเพื่อจัดอบรมให้แก่นิสิต/ นักศึกษาสาขาบัญชีที่กำลังจะจบการศึกษาเป็นบัณฑิต วารสารอิเล็กทรอนิกส์ e-Magazine (DBD Accounting) วารสารรายเดือนของกองกำกับบัญชีธุรกิจ http://magazine.dbd.go.th/ เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความที่่น่าสนใจ บทความแปล ระบบ e-Newsletter http://newsletter.dbd.go.th/ เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ของกรมฯ ส่งทางอีเมล ระบบ e-Learning (DBD Academy) https://dbdacademy.dbd.go.th/ หลักสูตรวิชาบัญชี นับชั่วโมง CPD ได้ 8 วิชา

ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 4 เว็ปไซต์ของกรมพั ฒนาธุรกิจการค้า https://dbd.go.th/ ระบบงานของกองกำกับบัญชีธุรกิจ DBD Academy เรียนฟรี ! หลักสูตรบัญชี 8 วิชา e-Magazine วารสารรายเดือนอ่านฟรี e-Newsletter รับข่าวสารของกรมฯ ทางอีเมล รวบรวมกฎหมายและคู่มือต่างๆด้านการบัญชี รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง DBD e-Service แอปพลิเคชันของกรมพั ฒนาธุรกิจการค้า คลังข้อมูลธุรกิจ (DBD Datawarehouse) โปรแกรมตรวจสอบข้อมูล นิติบุคคล งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล ระบบจดทะเบียนธุรกิจออนไลน์ (e-Registration) ระบบออกหนังสือรับรองนิติบุคคล ระบบจองชื่อนิติบุคคล iOS Android ระบบจองคิวจดทะเบียน ดาวน์โหลดใช้งานบนมือถือ >>>

ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 5 ยื่นงบผ่าน e-Filing สำหรับสมาคมการค้าและหอการค้า ปีแรก ! กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเปิดช่องทางยื่นงบการเงินผ่าน e-Filing สำหรับสมาคมการค้าและหอการค้าแล้ว โดยท่านสามารถขอรับ Username และ Password และศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวข้องได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ หรือ คลิก https://efiling.dbd.go.th/efilingweb/

ข่าวประชาสัมพันธ์ DBD ACCOUNTING หน้า 6 สแกนที่นี่ https://www.dbd.go.th/ > การบริการข้อมูลธุรกิจ > ระบบการนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ติดต่อสอบถาม กองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อีเมล: [email protected] LIne ID: @sxw0580y โทรศัพท์: 02 547 4377, 02 547 4390-91, 02 547 5978, 02 547 4385 Facebook Page: DBD BIT

บทความ DBD ACCOUNTING หน้า 7 โอกาสของผู้ทำบัญชีสู่การเป็นนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีและท่านผู้อ่านหลายๆ ท่าน คงได้ยินหรือ คุ้นกับคำว่านักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant) หรือที่เรียก สั้นๆ ว่า ASEAN CPA มาบ้างแล้ว โดยที่ผ่านมา ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA จาก ประเทศไทย ซึ่งได้ยื่นคำขอผ่านทางสภาวิชาชีพบัญชี จะมาจากกลุ่มผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant) หรือ CPA เท่านั้น และจากข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ https://aseancpa.org/ พบว่า มี CPA จากประเทศไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA แล้วทั้งสิ้น 722 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2565) และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ทำบัญชีหรือนักบัญชีที่สนใจสามารถขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA ได้ สภาวิชาชีพ บัญชีจึงได้จัดทำโครงการประกาศนียบัตรนักบัญชีวิชาชีพ (Professional Accountant Certificate) หรือ PAC และโครงการทดสอบนักบัญชีบริหาร (Thai Chartered Management Accountant) หรือ TCMA เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ทำบัญชีและผู้ที่สนใจ สามารถเข้าทำการทดสอบเพื่อให้มีคุณสมบัติที่ สามารถขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA ได้ อย่างไรก็ดี ในการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA ของผู้ทำบัญชีและนักบัญชีที่สนใจนั้น นอกจากจะต้อง ผ่านการทดสอบ PAC หรือ TCMA แล้ว ยังรวมถึงการมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี สะสมอย่างน้อย 3 ปี ภายในระยะเวลา 5 ปี ด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตลอดจนสภาวิชาชีพบัญชี ถือเป็นหน่วยงานสำคัญในการให้องค์ความรู้ เตรียม ความพร้อม และส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของไทย มีคุณสมบัติและศักยภาพที่สามารถแข่งขันใน ระดับอาเซียนได้ ดังนั้น DBD Accounting ฉบับนี้ ฝ่ายวิชาการจึงขอนำเสนอเรื่องน่ารู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ASEAN CPA เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ทำบัญชีและผู้ที่สนใจขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อ ดังนี้ 1. ความเป็นมาของ ASEAN CPA 2. ลักษณะงานของ ASEAN CPA 3. คุณสมบัติของ ASEAN CPA และโอกาสของผู้ทำบัญชีในการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA 4. ขั้นตอนการสมัครเป็น ASEAN CPA

บทความ DBD ACCOUNTING หน้า 8 1. ความเป็นมาของ ASEAN CPA ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 9 ประเทศ ได้ร่วมกันลงนามในข้อตกลง ยอมรับร่วมด้านบริการสาขาบัญชี (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Accountancy Services) หรือ MRA สาขาบัญชี โดย MRA สาขาบัญชีนี้มีวัตถุประสงค์ในการส่ง เสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีสามารถเข้าไปให้บริการด้านบัญชีในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ และเป็นการยกระดับวิชาชีพบัญชีในภูมิภาคอาเซียนให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น MRA ฉบับนี้ จึงเป็นต้นกำเนิดของนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant) หรือ ASEAN CPA โดยได้กำหนดคุณสมบัติกลางของ ASEAN CPA ที่ได้รับการ ยอมรับร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนไว้ (Best Practices) และได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีในแต่ละประเทศ เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีใน ประเทศของตน (Country of Origin) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA เพื่อไปปฏิบัติงานยัง ประเทศปลายทาง (Host Country) และหน่วยงานเหล่านี้ ยังมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของ ASEAN CPA จากประเทศอื่น ที่เข้ามาปฏิบัติงานในประเทศตนด้วย สำหรับประเทศไทย มีสภาวิชาชีพบัญชีเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดังกล่าว โดยสภาวิชาชีพบัญชี ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการกำกับดูแล (Monitoring Committee) หรือ MC เพื่อพิจารณาใบสมัครและคุณสมบัติ ของผู้ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA จากประเทศไทย ก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ ประสานงานนักบัญชีวิชาชีพของอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant Coordinating Committee :ACPACC) พิจารณาอนุมัติการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA ต่อไป ที่มา : สภาวิชาชีพบัญชี * ACPA คือ ASEAN Chartered Professional Accountant หรือ ASEAN CPA ซึ่งขึ้นทะเบียนกับประเทศต้นทาง RFPA คือ Registered Foreign Professional Accountant หรือ ASEAN CPA จากประเทศต้นทางที่เข้ามาให้บริการ สาขาบัญชีในประเทศปลายทาง ศึกษารายละเอียด MRA สาขาบัญชีของอาเซียน ได้ที่ https://www.tfac.or.th/upload/9414/MCKJUo9Hsq.pdf

บทความ DBD ACCOUNTING หน้า 9 2. ลักษณะงานของ ASEAN CPA เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของประเทศต้นทาง (Country of Origin) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA แล้ว และเมื่อมีนายจ้างจากประเทศปลายทาง (Host Country) ให้การรับรอง จะสามารถ เข้าไปประกอบวิชาชีพบัญชีไนประเทศปลายทางนั้นได้ โดยสาขาของวิชาชีพที่ให้บริการได้นั้น จะครอบคลุม งานบริการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบัญชีในรูปแบบ Non-Regulated Services ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงการ ลงนามในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและการให้บริการทางบัญชีอื่ นที่กำหนดว่าต้องมีใบอนุญาต ภายในประเทศนั้นๆ ซึ่งถือว่าเป็น Regulated Services นั่นเอง ศึกษารายละเอียด Non-Regulated Services และ Regulated Services ของแต่ละประเทศ ได้ที่ https://aseancpa.org/ 3. คุณสมบัติของ ASEAN CPA และโอกาสของผู้ทำบัญชีในการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA สำหรับประเทศไทย ผู้ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน จะต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบ สภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant) พ.ศ. 2559 ดังต่อไปนี้ 1. เป็นสมาชิกสามัญ หรือสมาชิกวิสามัญของสภาวิชาชีพบัญชี 2. หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีสะสม อย่างน้อย 3 ปี ภายในระยะเวลา 5 ปี ในช่วงเวลาใดก็ได้ 3. ในกรณีของผู้ทำบัญชี ต้องผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดใน โครงการใดโครงการหนึ่งต่อไปนี้ โครงการประกาศนียบัตรนักบัญชีวิชาชีพ (Professional Accountant Certificate: PAC) โครงการทดสอบนักบัญชีบริหาร (Thai Chartered Management Accountant: TCMA) ในกรณีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ CPA ใบอนุญาตต้องยังไม่สิ้นผลหรือถูกพักใช้ 4. มีการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง ทางวิชาชีพที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด (หลักเกณฑ์เดียวกับ CPA) 5. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจรรยาบรรณตามมาตรา 49 (3) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพ บัญชี พ.ศ. 2547 6. ไม่เคยต้องโทษจรรยาบรรณตามมาตรา 49 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ศึกษารายละเอียดประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่เกี่ยวข้องได้ที่ https://www.tfac.or.th/Article/Detail/66936 ศึกษารายละเอียดโครงการประกาศนียบัตรนักบัญชีวิชาชีพPAC ได้ที่ https://www.tfac.or.th/Article/Detail/142963 ศึกษารายละเอียดโครงการทดสอบนักบัญชีบริหารTCMA ได้ที่ https://www.tfac.or.th/Article/Detail/114157

บทความ DBD ACCOUNTING หน้า 10 4. ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่สนใจจะยื่นคำขอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA สามารถยื่นคำขอได้ที่สภา วิชาชีพบัญชี โดยกรอกข้อมูลตามแบบที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด และเมื่อสภาวิชาชีพบัญชีได้รับแบบ คำขอขึ้นทะเบียนที่ครบถ้วนและสมบูรณ์แล้ว คณะกรรมการกำกับดูแล (Monitoring Committee) หรือ MC ของประเทศไทยจะพิจารณาและตรวจประเมินคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ โดยผู้ที่มีคุณสมบัติ ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับการเสนอชื่อต่อคณะกรรมการประสานงานด้านวิชาชีพบัญชีแห่งอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant Coordinating Committee) หรือ ACPACC เพื่อรับรองและออกใบรับรองนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน ที่มา : สภาวิชาชีพบัญชี ศึกษารายละเอียดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA ได้ที่ เขียนโดยฝ่ายวิชาการ กองกำกับบัญชีธุรกิจ https://www.tfac.or.th/Article/Detail/67609 กุมภาพันธ์ 2565

รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 11 มาตรฐานการเปิดเผยรายงานความยั่งยืน Sustainability Disclosure Standards International Financial Reporting Standards Sustainability Disclosure Standards เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 มูลนิธิมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS Foundation) ได้ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการมาตรฐานความยั่งยืนระหว่างประเทศ (International Sustainability Standards Board : ISSB) ในงานประชุมภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำ มาตรฐานการเปิดเผยรายงานความยั่งยืน (Sustainability Disclosure Standards) ที่เป็น มาตรฐานสากล ซึ่ง ISSB จะทำงานร่วมกันกับคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีสากล (International Accounting Standards Board : IASB) ที่เป็นหน่วยงานกำหนด IFRS เพื่อ ให้การจัดทำกรอบการรายงานใหม่นี้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบัน มาตรฐาน 2 หัวข้อแรกที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของ ISSB คือ พฤศจิกายน 2564 จัดตั้ง ISSB 1.Climate-related disclosures 2.General sustainability disclosure ออกฉบับร่าง Exposure drafts issued กำหนดนโยบายในการประกาศใช้มาตรฐาน Policy decision on whether to adopt standards รับฟังความคิดเห็น Comments received เข้าขั้นตอนรับรองมาตรฐาน Endorsement process พิจารณาเนื้อหา Redeliberations แต่ละประเทศนำมาตรฐานไปประกาศใช้ Local adoption of individual standards ออกมาตรฐานฉบับใช้จริง Final standards issued แต่ละองค์กรนำมาตรฐานไปปรับใช้ Implementation by companies IFRS Foundation process มูลนิธิมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ระหว่างประเทศ Jurisdiction process กระบวนการตามกฎหมาย

รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 12 หน่วยงานต่างๆที่มีส่วนร่วมในการร่างมาตรฐานการเปิ ดเผยรายงานความยั่งยืน ที่ผ่านมามีการจัดตั้งองค์กรและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆเพื่ อออกกรอบและกฎเกณฑ์ที่ เกี่ยวข้องกับการรายงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและสภาพอากาศ และบางบริษัทก็ได้เริ่มนำมา ปรับใช้แล้ว 2. 1. 3. 4. Source : KPMG 1. World Economic Forum (WEF) กำหนดตัววัดและการเปิดเผยปัจจัยอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน 2. Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) กำหนดกรอบที่ช่วยให้กิจการเปิดเผยความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพ อากาศ 3. Value Reporting Foundation (VRF) เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นจากการควบรวมของ 2 องค์กร ได้แก่ Sustainability Accounting Standards Board (SASB) กำหนดมาตรฐานรายประเภทอุตสาหกรรมที่สามารถปรับใช้ได้ทั่วโลก Integrated Reporting Framework <IR> มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลที่ให้แก่ฝั่ งผู้ให้เงินทุน เพื่อ ให้การจัดสรรเงินทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. Climate Disclosure Standards Board (CDSB) กำหนดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เป็นประโยชน์ ต่อนักลงทุนที่ใช้งบการเงินทั่วไป

รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 13 การจัดทำต้นแบบ (Prototype) ของมาตรฐานการเปิ ดเผยรายงานความยั่งยืน ในเดือนพฤศจิกายน 2564 TRWG (Technical Readiness Working Group) ซึ่งเป็นคณะ ทำงานของ ISSB ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง เช่น TCFD SASB ได้ออกเอกสารต้นแบบ (Prototype) ของการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.ต้นแบบการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ (Climate Prototype) 2. ต้นแบบข้อกำหนดทั่วไป (General Requirements Prototype) จะเป็นพื้นฐาน ในการกำหนดมาตรฐานความยั่งยืนด้านอื่นๆ โดยเอกสารฉบับนี้ถือเป็นการให้ข้อมูลและให้เห็นทิศทางของมาตรฐานการเปิดเผย รายงานความยั่งยืนที่จะประกาศใช้ในอนาคตเท่านั้น เพราะยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการ การตามกฎหมาย (due process) ของ IFRS Foundation และหน่วยงานกำกับ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง Source : KPMG สรุปเนื้อหาใน Prototype Climate prototype นำกรอบการรายงานที่ออกโดย TCFD มาต่อยอด โดยกำหนดให้กิจการต้อง เปิดเผยข้อมูลที่ให้ผู้ใช้งบการเงินทั่วไปสามารถพิ จารณาถึง: 4 Pillars 1.การกำกับดูแล | Governance กระบวนการในการกำกับ การควบคุม และขั้นตอนต่างๆที่บริษัทใช้ในการดูแลควบคุมความเสี่ยงและ โอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ

รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 14 สรุปเนื้อหาใน Prototype (ต่อ) 2. กลยุทธ์ | Strategy ประเด็นด้านความยั่งยืนที่อาจช่วยส่งเสริม หรือกระทบต่อโมเดลธุรกิจและกลยุทธ์ ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว เช่น บริษัทจะใช้ข้อมูลความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศประกอบการตัดสินใจและการบริหาร กลยุทธ์องค์กรหรือไม่และอย่างไร ผลกระทบของความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศต่อโมเดลของธุรกิจที่มีในตอนนี้และที่ คาดว่าจะเกิดขึ้น ผลกระทบของความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศต่องบการเงินของบริษัททั้งช่วงสิ้นสุด รอบปีบัญชีนี้ และที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว ความยืดหยุ่น (resilience) ของกิจการในการรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพอากาศ 3. การจัดการความเสื่ยง | Risk management การระบุ วิเคราะห์ จัดการ และกำจัดความเสี่ยงที่เกี่ยวของกับความยั่งยืน 4. เป้าหมาย และตัวชี้วัด (ข้ามอุตสาหกรรม) | Targets and metrics (cross industry) ข้อมูลที่ถูกนำไปใช้ในการจัดการและตรวจสอบผลการดำเนินงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน 4 Pillars Source : IFRS General Requirements Prototype ได้ต้นแบบมาจากการกำหนดมาตรฐานรายประเภท อุตสาหกรรม จำนวน 77 ประเภทของ SASB โดยต้นแบบฉบับนี้จะกำหนดให้กิจการรายงานข้อมูล สาระสำคัญท้งหมดที่เกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสในด้านความยั่งยืน ซึ่งจะแบ่งข้อกำหนดการเปิด เผยเป็นตามธีม (thematic disclosure requirements) และประเภทอุตสาหกรรม (industry disclosure requirements) ควรเปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญ (Material information) ที่ ให้คำอธิบายที่ครบถ้วนเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสที่สำคัญในด้านความยั่งยืน ครอบคลุมถึงการกำกับ กลยุทธ์ การจัดการความเสี่ยงของกิจการ และมีตัวชี้วัดและเป้าหมาย ให้ความสำคัญกับความต้องการของนักลงทุน เจ้าหนี้ และตัวขับเคลื่อนมูลค่าของกิจการ (enterprise value) สม่ำเสมอ เปรียบเทียบได้ และเชื่อมโยงได้ เกี่ยวข้องกับหมวดหมู่และอุตสาหกรรมของธุรกิจ แสดงข้อมูลทั้งระยะสั้น กลาง และยาว

รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 15 แนวทางในอนาคต การจัดตั้ง ISSB ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการรวบรวมกรอบการรายงานมูลค่าของกิจการ และคาด ว่ามาตรฐานนี้จะแยกออกจากการรายงานด้านอื่นๆ โดย Prototype ฉบับนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ของการกำหนดมาตรฐาน และกรอบการรายงานที่บังคับใช้โดยความสมัครใจ และยังมีหน่วยงาน กำกับบางแห่ง (เช่น ในทวีปยุโรป) อยู่ระหว่างการพัฒนา green taxonomy เพื่อจัดทำข้อกำหนด ในการจัดประเภทของรายได้และค่าใช้จ่าย โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ความยั่งยืน ISSB คาดว่าจะออกมาตรฐานที่เกี่ยวกับความยั่งยืนทั้ง 2 ฉบับนี้อย่างเร็วที่สุดภายในครึ่งหลังของปี 2565 (H2 2022) และแต่ละกิจการสามารถนำไปปรับใช้ได้โดยสมัครใจ ทั้งนี้ สามารถเริ่มออก รายงานได้อย่างเร็วที่สุดตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2565 เป็นต้นไป บริษัทควรเตรียมตัวอย่างไร? ให้ความรู้คนในองค์กร จัดโครงสร้างการกำกับดูแลที่นำโดยคณะผู้บริหาร Educate your organization Establish a board-led governance structure เกี่ยวกับการออกรายงานด้านความยั่งยืน พิจารณาทั้งรายงานทางการเงินและความยั่งยืน ในที่ ความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพ ประชุมคณะผู้บริหาร เมื่อต้องตัดสินใจประเด็นที่เกี่ยวกับ อากาศ รวมถึงทำความเข้าใจในบริบทของ สภาพอากาศและออกรายงาน บริษัท พู ดคุยกับกับผู้ดูแลแต่ละระบบงาน ค้นหาทางเลือกหลากหลาย Engage with current process owners Explore your options เพื่อทำความเข้าใจที่มาของข้อมูล การบันทึก และ เพื่อจัดการการเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ย้าย การรายงาน รวมถึงบ่งชี้จุดบกพร่องของระบบ ข้อมูลบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำรายงานความ ยั่งยืน เข้าไปร่วมประมวลผลในระบบเพิ่มเติม

รอบรู้มุมต่างประเทศ DBD ACCOUNTING หน้า 16 อ้างอิง 1. https://home.kpmg/xx/en/home/insights/2021/12/issb-sustainability-disclosures- talkbook.html 2. https://home.kpmg/xx/en/home/insights/2021/11/sustainability-reporting- climatechange-issb.html 3. https://www.ifrs.org/content/dam/ifrs/groups/trwg/summary-of-the-trwg-work- programme.pdf 4. https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=4fc42d22-8726-4ce7-a0cf- 7e703e3cc5ce แปลและเรียบเรียงโดย: นางสาวบุญสิตา ภววงษ์ศักดิ์ นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ ฝ่ายวิชาการ กองกำกับบัญชีธุรกิจ

ที่ปรึกษา อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายทศพล ทังสุบุตร ผู้อำนวยการกองกำกับบัญชีธุรกิจ นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ นางสาวจุฑามณี ยอดแสง _________ คณะผู้จัดทำ ช่องทางเข้าอ่าน e-Magazine นางสาวธัญพร อธิกุลวริน http://magazine.dbd.go.th/ นางสาวภาสิน จันทรโมลี https://pubhtml5.com/bookcase/uttw นางสาวบุญสิตา ภววงษ์ศักดิ์ หากมีข้อแนะนำ/ติชมสามารถแจ้งได้ที่ Line OpenChat : DBD Accounting กองกำกับบัญชีธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อีเมล : [email protected] เบอร์โทรศัพท์ : 02-547-4407 Line OpenChat : DBD Accounting Facebook page : DBD Accounting กองกำกับบัญชีธุรกิจ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ...


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook