Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ม.4 #หน่วยที่ 6.1 เล่ม 2 @ แผนที่ภูมิประเทศ

ม.4 #หน่วยที่ 6.1 เล่ม 2 @ แผนที่ภูมิประเทศ

Published by samphun2525, 2021-11-24 11:58:28

Description: แผน 6-1 โลกฯ ม.4 เล่ม 2

Search

Read the Text Version

หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 6 แผนที่ แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ แผนการจดั การเรยี นรู้ที่ 1 แผนทภี่ มู ปิ ระเทศ เวลา 8 ช่วั โมง 1. ผลการเรยี นรู้ 12. อ่านและแปลความหมายจากแผนท่ีภูมิประเทศและแผนที่ธรณีวิทยาของพื้นท่ีที่กำหนด พร้อมทั้ง อธบิ ายและยกตวั อยา่ งการนำไปใช้ประโยชน์ 2. จุดประสงคก์ ารเรียนรู้ 1. อ่านและแปลความหมายจากแผนท่ีภูมิประเทศของพื้นทที่ ่ีกำหนดได้ (K) 2. อธบิ ายและยกตัวอยา่ งการนำแผนทภี่ มู ิประเทศไปใช้ประโยชนไ์ ด้ (K) 3. ปฏิบตั ิกิจกรรมเพื่อศึกษาการใช้แผนทภี่ มู ปิ ระเทศได้ (P) 4. สนใจใฝ่รู้ในการศกึ ษา (A) 3. สาระการเรยี นรู้ สาระการเรยี นร้เู พ่ิมเติม สาระการเรยี นร้ทู ้องถน่ิ - แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนท่ีที่สร้างเพ่ือจำลอง พิจารณาตามหลกั สตู รของสถานศกึ ษา ลักษณะของผิวโลกหรือบางส่วนของพื้นท่ีบน ผิวโลก โดยมีทิศทางท่ีชัดเจน และมาตราส่วน ขนาดต่างๆ ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน แผนท่ีภูมิประเทศมักแสดงเส้นชั้นความสูง และ คำอธิบายสญั ลกั ษณต์ ่างๆ ท่ีปรากฏในแผนท่ี - แผนท่ีธรณีวิทยา เป็นแผนท่ีแสดงการกระจาย ตัวของหินกลุ่มต่างๆ ท่ีโผล่ให้เห็นบนพ้ืนผิว ทำ ให้ทราบถึงขอบเขตของหินในพ้ืนท่ี นอกจากน้ี ยังแสดงลักษณะการวางตัวของชั้นหิน ซาก- ดึกดำบรรพ์ และธรณโี ครงสร้าง - ข้อมูลจากแผน ท่ี ภู มิป ระเท ศและแผน ท่ี ธรณีวิทยา สามารถนำไปใช้วางแผนการใช้ ประโยชน์และประเมินศักยภาพของพื้นที่ได้ อย่างเหมาะสม เช่น ประเมินศักยภาพแหล่ง ทรัพยากรธรณีต่างๆ การวางผังเมือง การสร้าง เขื่อน 73

หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 6 แผนที่ แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ 4. สาระสำคัญ/ความคดิ รวบยอด แผนท่ี คือ สิ่งท่ีแสดงลักษณะผิวโลกท้ังส่วนที่เป็นธรรมชาติและส่วนท่ีมนุษย์สร้างขึ้น โดยนำมาแสดง ลงในพื้นราบด้วยการยอ่ สว่ นใหเ้ ลก็ ลงตามขนาดที่ต้องการ พร้อมทั้งกำหนดเครือ่ งหมาย สญั ลักษณ์ ทิศทาง มาตราส่วน ฯลฯ เพ่ือใหแ้ ปลความหมายแผนท่ีได้อย่างถกู ต้อง 5. สมรรถนะสำคญั ของผ้เู รียนและคณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญของผ้เู รยี น คณุ ลักษณะอนั พงึ ประสงค์ 1. ความสามารถในการส่ือสาร 1. มีวินยั 2. ความสามารถในการคิด 2. ใฝเ่ รยี นรู้ 1) ทกั ษะการสงั เกต 3. มุ่งม่ันในการทำงาน 2) ทักษะการสำรวจค้นหา 3) ทักษะการทดลอง 4) ทกั ษะการนำความรูไ้ ปใช้ 5) ทกั ษะการสรุปลงความเห็น 3. ความสามารถในการใช้ทกั ษะชวี ติ 6. กิจกรรมการเรียนรู้  แนวคิด/รปู แบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สบื เสาะหาความรู้ 5Es (5Es Instructional Model) ชั่วโมงท่ี 1 ขั้นนำ กระตนุ้ ความสนใจ (Engage) 1. ครแู จง้ ให้นกั เรยี นทราบว่าจะเรยี นเก่ียวกับเรือ่ งแผนที่ 2. ครูตั้งคำถามกระตุ้นความสนใจ โดยให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดในการตอบคำถาม ซ่ึงอาจใช้ คำถาม BIG QUESTION จากหนังสือเรียนโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ม.4-6 เล่ม 2 หรือคำถาม อ่ืนๆ ตัวอยา่ งเช่น • แผนท่ีคืออะไร (แนวตอบ : แผนท่ี คอื ส่ิงท่แี สดงลักษณะผิวโลกทั้งสว่ นทีเ่ ปน็ ธรรมชาตแิ ละสว่ นท่ีมนษุ ยส์ รา้ ง ข้ึน โดยนำมาแสดงลงในพ้ืนราบด้วยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดท่ีต้องการ พร้อมท้ังกำหนด เครื่องหมาย สญั ลกั ษณ์ ทิศทาง มาตราสว่ น ฯลฯ เพื่อใหแ้ ปลความหมายแผนท่ีได้อย่างถูกตอ้ ง) • นักเรยี นเคยใช้แผนทหี่ รอื ไม่ อยา่ งไร 74

หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 6 แผนที่ แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ (แนวตอบ : พิจารณาจากคำตอบของนักเรียน เช่น เคยใช้แผนที่เพื่อเดินทางท่องเที่ยว ต่างจังหวดั เคยใช้แผนท่ีใน google map) 3. ให้นักเรยี นทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพอ่ื วดั ความรูเ้ ดิมของนักเรียน 4. ให้นักเรยี นทำกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรยี น โดยการแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วครูนำแผนท่ีทางหลวง ของประเทศไทยมาให้นักเรียนร่วมกันพิจารณา จากน้ันครูต้ังคำถามให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกัน อภิปราย • หากนักเรียนต้องการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดนครราชสีมา จะต้องผ่านทางหลวง หมายเลขใดบา้ ง (ครูอาจเปลย่ี นจงั หวัดเพื่อใหเ้ หมาะสมกบั จังหวดั ที่โรงเรยี นตั้งอยู่) (แนวตอบ : ทางหลวงหมายเลข 1 และทางหลวงหมายเลข 2) • ระยะทางจากอำเภอเมืองเพชรบุรีถึงอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีค่าประมาณเท่าใด (ครูอาจ เปลยี่ นจังหวัดเพ่ือให้เหมาะสมกบั จงั หวดั ทโ่ี รงเรยี นต้งั อยู)่ (แนวตอบ : ประมาณ 158 กิโลเมตร ) ช่ัวโมงท่ี 2 ขัน้ สอน สำรวจคน้ หา (Explore) 1. ให้นักเรียนกลุ่มเดิมร่วมกันศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบแผนที่ องค์ประกอบของแผนท่ี และ ระบบพิกัดบนแผนที่ จากหนังสือเรียนโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ม.4-6 เล่ม 2 หรือจากแหล่ง เรยี นรูต้ ่างๆ โดยแบง่ หนา้ ที่ความรบั ผดิ ชอบของสมาชิกในกลุม่ ตามความคิดเหน็ ของแต่ละกลุ่ม เชน่ สมาชิกคนท่ีที่ 1 ศกึ ษาเรอื่ ง การออกแบบแผนที่ สมาชกิ คนท่ีที่ 2 และ 3 ศกึ ษาเรอ่ื ง องค์ประกอบของแผนที่ สมาชิกคนที่ที่ 4 และ 5 ศึกษาเรื่อง ระบบพิกดั บนแผนท่ี 2. ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มสรุปความรู้ที่ศึกษา แล้วท้ังกลุ่มร่วมกันอภิปรายและสรุปความรู้ที่ได้จาก การศึกษา อธบิ ายความรู้ (Explain) 1. ครูต้ังคำถามเกี่ยวกับการออกแบบแผนท่ี เพ่ือตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน โดยอาจให้แต่ละ กลมุ่ แข่งขนั กันตอบคำถาม ซึ่งครูอาจเตรียมของต่างๆ เช่น ลูกอม ปากกา สมุดโนต้ เป็นตน้ เพอ่ื เป็น ของรางวลั • การออกแบบแผนท่ปี ระกอบด้วยหลกั การใดบา้ ง (แนวตอบ : การออกแบบแผนท่ปี ระกอบด้วยหลักการ ดงั น้ี - ภาพ-พ้ืน (figure-ground) - ความสมดลุ เชิงทศั น์ (visual balance) 75

หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 6 แผนที่ แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ - ความเปรยี บต่าง (contrast) - ลำดบั เชิงทศั น์ (visual hierarchy)) • ภาพหลกั กบั ภาพพื้นหลังบนแผนท่คี วรมีลกั ษณะอยา่ งไร (แนวตอบ : ภาพหลักควรมีความโดดเด่น เป็นจุดสนใจมากกว่าภาพพ้ืนหลัง โดยอาจใช้สี ความสวา่ ง ความเขม้ หรือลวดลายตา่ งไปจากภาพพนื้ หลงั ซง่ึ เปน็ ภาพประกอบ) 2. ครตู ้งั คำถามเกี่ยวกับองคป์ ระกอบของแผนทเี่ พ่ือตรวจสอบความเขา้ ใจของนักเรียน • องค์ประกอบของแผนทม่ี เี พือ่ วัตถปุ ระสงค์ใด (แนวตอบ : องค์ประกอบของแผนที่มีไว้เพ่ือทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลและรายละเอียดเพียงพอ สำหรับการใชแ้ ผนท่ีน้ันๆ) • จงอธิบายความแตกตา่ งระหว่างเส้นรุ้งกบั เสน้ แวง (แนวตอบ : เส้นรุ้ง (latitude) หรือเส้นขนาน เป็นเส้นสมมติบนผิวโลกท่ีลากเป็นแนวนอน ขนานกบั เสน้ ศนู ย์สตู ร มคี ่าละตจิ ดู เปน็ องศาเหนอื หรอื องศาใต้ เส้นแวง (longitude) หรือเส้นต้ัง เปน็ เส้นสมมตบิ นผิวโลกท่ีลากเป็นแนวต้ังจากขั้วโลกเหนือ ไปข้ัวโลกใต้ มคี า่ ลองจจิ ดู เป็นองศาตะวันออกหรอื องศาตะวนั ตก) • เครอื่ งหมายตา่ งๆ ในแผนทีม่ ีประโยชนอ์ ยา่ งไร (แนวตอบ : ใช้แสดงรายละเอียดแทนคำอธิบาย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจและแปลความหมายได้ โดยง่าย) ชั่วโมงท่ี 3 3. ครตู งั้ คำถามเกีย่ วกบั ระบบพิกัดบนแผนท่ีเพ่อื ตรวจสอบความเข้าใจของนกั เรียน • ระบบพกิ ดั บนแผนท่ีคอื อะไร (แนวตอบ : ระบบพิกัด (coordinate systems) เป็นระบบท่ีกำหนดขึ้นเพื่อใช้อ้างอิง ตำแหนง่ ในแผนท่ี) • เส้นละติจูด 0 องศา และลองจจิ ดู 0 องศา คอื บรเิ วณใด (แนวตอบ : เส้นละติจูด 0 องศา คือ บริเวณเส้นศูนย์สูตร ส่วนลองจิจูด 0 องศา คือ เส้นที่ ลากผา่ นเมืองกรนี ชิ (Greenwich) ประเทศองั กฤษ) • ค่าของมุมละติจูดและลองจิจูด มีหน่วยอะไร (แนวตอบ : ค่าของมุมละติจดู และลองจิจูด มีหน่วยวัดเป็นองศา (degree o) ลิปดา (lipda ') และฟิลิปดา (philipda \"´) โดย 1 องศา แบ่งออกเป็น 60 ลิปดา และ 1 ลิปดา แบ่งออกเป็น 60 ฟลิ ิปดา) • ระบบพิกดั กรดิ ท่นี ยิ มใชใ้ นกิจการทหารในปัจจุบันคือระบบใด (แนวตอบ : ระบบพิกัดกริดท่ีนิยมใช้ในกิจการทหาร (military grid) ในปัจจุบัน คือ ระบบ พิกดั กรดิ ยูนเิ วอรซ์ ัลทรานสเวอรส์ เมอรเ์ คเตอร์ (Universal Transverse Mercator ; UTM)) 76

หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 6 แผนท่ี แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ 4. ครอู ธิบายเพม่ิ เติมว่า แผนทมี่ ีหลายชนดิ นักเรยี นควรเลอื กใชใ้ ห้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใชง้ าน โดยหากพิจารณาจากลักษณะการใช้งานและรายละเอียดท่ีแสดงไว้ในแผนท่ี สามารถจำแนกได้ 4 ชนิด ดังนี้ - แผนท่ีท่ัวไป (general map) - แผนทแี่ สดงทางราบ (planimetric map) - แผนทภ่ี ูมิประเทศ (topographic map) - แผนทเี่ ฉพาะเรื่อง (special map/thematic map) ซ่ึงอาจให้นักเรียนศึกษาเพ่ิมเติมได้จากหนังสือเรียนหรือแหล่งข้อมูลต่างๆ จากนั้นครูแจ้งว่า ในช่ัวโมงถดั ไปนกั เรยี นจะได้ศกึ ษาเก่ยี วกบั แผนท่ภี มู ิประเทศ ช่วั โมงที่ 4 สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูนำแผนท่ีภูมิประเทศซ่ึงมีการแสดงเส้นชนั้ ความสูงมาให้นักเรียนรว่ มกนั พิจารณา แล้วให้นักเรียน รว่ มกันอภปิ รายวา่ เส้นทล่ี ากเชอื่ มตอ่ กนั แต่ละเส้นแสดงถึงสิง่ ใด 2. ให้นักเรียนศึกษาเร่ือง เส้นช้ันความสูงและช่วงต่างเส้นชั้น จากหนังสือเรียนโลก ดาราศาสตร์ และ อวกาศ ม.4-6 เลม่ 2 3. ครูอธิบายเพ่ิมเติมเกี่ยวกับเส้นช้ันความสูง โดยใช้ข้อมูลจากใบความรู้ที่ 1 เร่ือง ลักษณะและ กฎเกณฑ์ของเส้นชน้ั ความสงู 4. ให้นักเรียนทั้งห้องร่วมกันทำกิจกรรมเร่ือง การสร้างเส้นช้ันความสูง จากหนังสือ เรียนโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ม.4-6 เล่ม 2 โดยใช้อุปกรณ์จำลองการสร้างเส้นชั้นความสูง ซ่ึงอาจใช้ กลอ่ งพลาสตกิ ใสท่ีมีฝาปดิ ชั่วโมงท่ี 5 อธบิ ายความรู้ (Explain) 1. ครูใชค้ ำถามใหน้ ักเรยี นร่วมกันอภิปรายหลงั จากทำกจิ กรรม • ลักษณะเสน้ ชัน้ ความสูงท่ีบบี แคบเข้าหายอดเขาคืออะไร (แนวตอบ : ร่องน้ำ) • ลกั ษณะเสน้ ชนั้ ความสงู ทช่ี ิดกนั เปน็ ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศแบบใด (แนวตอบ : พ้ืนท่ีลาดชัน) • ลกั ษณะเสน้ ช้ันความสูงที่หา่ งกันอยา่ งสม่ำเสมอ เปน็ ลกั ษณะภมู ิประเทศแบบใด (แนวตอบ : พน้ื ทลี่ าดเอียงซึ่งมีมมุ เทไมเ่ ปล่ยี นแปลง) 2. ครูและนกั เรยี นร่วมกันอภปิ รายการทำกจิ กรรม โดยแนวการอภปิ รายควรเป็น ดังน้ี 77

หน่วยการเรียนร้ทู ่ี 6 แผนที่ แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ “เสน้ ชั้นความสูงเป็นเสน้ ท่ีแสดงให้ทราบว่า ลักษณะความสูงต่ำของภูมิประเทศจรงิ ท่ปี รากฏ บนแผนทีน่ ั้นเป็นอยา่ งไร โดยแตล่ ะเส้นจะลากผ่านบรเิ วณท่มี รี ะดบั ความสูงเท่ากนั โดยสามารถแปล ความหมายได้ว่า หากบริเวณที่เราตอ้ งการทราบค่าความสูง มีเสน้ ชั้นความสงู ใดลากผ่าน บริเวณนั้น จะมีระดับความสูงเท่ากับค่าของเสน้ ช้ันความสูง เช่น เส้นชั้นความสูง 200 เมตร ลากผ่านบริเวณ A แสดงว่าบริเวณ A มคี วามสูง 200 เมตร” สำรวจคน้ หา (Explore) 1. ครูนำอภิปรายวา่ สามารถนำความรเู้ รอ่ื งเส้นช้ันความสูงมาแปลงเป็นภาพธรณีสัณฐานของพืน้ ที่ได้ 2. ให้นักเรียนท้ังห้องร่วมกันทำกิจกรรมเรื่อง การสร้างภูมิประเทศจำลองจากเส้นช้ันความสูง จาก หนงั สอื เรยี นโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ม.4-6 เลม่ 2 ช่ัวโมงท่ี 6 อธิบายความรู้ (Explain) 1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม โดยครูตั้งคำถามเพ่ือให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ร่วมกนั แสดงความคดิ เห็นวา่ • ภมู ิประเทศที่นักเรียนคิด และแบบจำลองภูมิประเทศที่นักเรยี นสร้างน้ัน เหมือนหรือแตกต่างกัน อยา่ งไร เพราะเหตุใดจงึ เปน็ เช่นนน้ั (แนวตอบ : ส่วนมากจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่มีส่วนที่แตกต่างกันบ้าง เนื่องจากการแปล ความหมายของเสน้ ชนั้ ความสูงคลาดเคล่อื นไป) • นักเรียนจำเป็นต้องสร้างแบบจำลองภูมิประเทศเพ่ือทำความเข้าใจแผนที่ภูมิประเทศหรือไม่ เพราะเหตใุ ด (แนวตอบ : ไม่จำเป็น เพราะเม่ือสามารถแปลความหมายของเส้นชั้นความสูงบนแผนที่ได้ อยา่ งคลอ่ งแคล่ว เราจะสามารถนึกภาพภมู ิประเทศจริงของพน้ื ท่ีเหล่านน้ั ได้จากลักษณะของเส้น ชน้ั ความสงู ) 2. ครนู ำอภิปรายเพ่ิมเตมิ เกยี่ วกบั ลกั ษณะของเส้นช้ันความสงู ดงั นี้ - บริเวณภูเขาท่ีมีความลาดชันน้อยและลาดชันสม่ำเสมอ จะมีเส้นช้ันความสูงท่ีมีระยะห่างมาก และระยะห่างเท่าๆ กัน - บริเวณภูเขาที่มีความลาดชันมากและลาดชันสม่ำเสมอ จะมีเส้นช้ันความสูงที่มีระยะห่างน้อย และระยะหา่ งเท่าๆ กัน 78

หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 6 แผนที่ แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ - บริเวณพ้ืนท่ีท่ีมีความลาดชันไม่สม่ำเสมอ จะมีเส้นช้ันความสูงท่ีมีระยะห่างไม่สม่ำเสมอ นั้นคือ บริเวณลาดชันน้อย เส้นช้ันความสูงจะห่างกนั มาก แต่บริเวณลาดชันมาก เส้นชั้นความสูงจะห่าง กันน้อย - บริเวณยอดเขา จะมเี ส้นชน้ั ความสูงเปน็ วงบรรจบเขา้ หากนั ช่ัวโมงท่ี 7 ขยายความเขา้ ใจ (Elaborate) 1. ครูนำอภิปรายเกี่ยวกับการสร้างแผนที่ภูมิประเทศโดยการลากเส้นชั้นความสูง แล้วให้นักเรียนกลุ่ม เดิมทำกจิ กรรมในใบงานที่ 6.1 เรอ่ื ง การสรา้ งแผนท่ภี มู ปิ ระเทศ ตามข้ันตอน ดงั นี้ 1) ศกึ ษาใบความรู้ท่ี 6.1 เรอื่ ง ลักษณะและกฎเกณฑ์ของเสน้ ชน้ั ความสงู 2) หาคา่ ความสูงท่สี ูงทส่ี ุดและต่ำท่สี ุดจากแผนท่ที ีก่ ำหนดให้ 3) คำนวณหาจำนวนเส้นชั้นความสูงท้ังหมดท่ีต้องวาดลงในแผนที่ โดยกำหนดให้แต่ละเส้นมีความ สูงห่างกนั 10 เมตร (ใชข้ อ้ มลู ท่ไี ด้จากข้อ 2) ประกอบการคำนวณ) 4) วาดเส้นชั้นความสูงจากพื้นที่ท่ีมีความสูงน้อยที่สุด หากในพื้นท่ีมีเส้นขอบทะเลสาบหรือขอบ ระดับน้ำ ให้ยดึ แนวขอบดงั กล่าวเป็นเส้นช้ันความสูงท่ีต่ำท่ีสดุ แล้ววาดเส้นชั้นความสูงเส้นถัดไป โดยเพิม่ ความสูงข้นึ ทกุ ๆ 10 เมตร จนครบตามจำนวนทคี่ ำนวณไวใ้ นขอ้ 3) 5) อภิปรายลักษณะของพน้ื ที่จากแผนทเี่ สน้ ช้ันความสงู ที่ได้ 2. ครแู ละนักเรียนร่วมกนั อภิปรายผลการทำกิจกรรม โดยครูตั้งคำถามเพือ่ ใหน้ กั เรยี นแต่ละกลุ่ม ร่วมกันตอบ ดังนี้ • ระดบั ความสงู ทีส่ ูงท่ีสุดและตำ่ ที่สุดมีค่าเท่าใด (แนวตอบ : 750 เมตร และ 822 เมตร) • จำนวนเส้นชนั้ ความสงู ท่ีต้องวาดในแผนที่มจี ำนวนเท่าใด (แนวตอบ : 7 เสน้ โดยคำนวณจาก (822-750) 10 = 7.2) • อธิบายความหมายของพ้นื ท่ีได้อย่างไร (แนวตอบ : เป็นพ้ืนท่ีลาดชันจากทิศเหนือลงมาทางทะเลสาบ ทางด้านทิศตะวันตกมีทางน้ำ ทางด้านทิศตะวนั ออกอาจมถี ้ำหรือหลุมยบุ ) 3. ครมู อบหมายให้นกั เรยี นทำแบบฝกึ หดั จากแบบฝึกหัดโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ม.4-6 เล่ม 2 79

หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 6 แผนท่ี แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ ช่วั โมงท่ี 8 ข้นั สรุป ตรวจสอบผล (Evaluate) 1. ครตู รวจสอบความเข้าใจของนกั เรยี นเกี่ยวกับแผนทภ่ี ูมประเทศ โดยอาจใช้คำถาม ดังนี้ • เสน้ ช้นั ความสูงตดั กนั ไดห้ รือไม่ เพราะเหตุใด (แนวตอบ : ไมไ่ ด้ เนอื่ งจากเสน้ ช้ันความสูงแตล่ ะเส้นมคี า่ ความสูงแตกต่างกนั ) • เส้นชัน้ ความสงู สามารถอยูช่ ิดกันมากจนเกือบจะทบั กันไดห้ รือไม่ อย่างไร (แนวตอบ : ได้ ซ่งึ พบในกรณีท่เี ปน็ บริเวณหนา้ ผาสงู ชนั ) • ในแผนท่ีหนึ่งๆ นั้นจะสามารถระบุเส้นชั้นความสูงได้ละเอียดเพียงใด นักเรียนคิดว่ามีปัจจัยใด เก่ยี วขอ้ งบา้ งเพราะเหตใุ ด (แนวตอบ : มาตรส่วนของแผนที่ จุดประสงค์ในการใช้แผนที่ เนื้อท่ีท่ีทำการสำรวจ ระยะเวลาและค่าใช้จา่ ยในการสำรวจ เปน็ ตน้ ) • แผนทีภ่ ูมปิ ระเทศมปี ระโยชนอ์ ย่างไร จงยกตวั อยา่ ง (แนวตอบ : แผนที่ภูมิประเทศมีประโยชน์ในการวางแผนจัดการพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นด้าน การทหาร การทอ่ งเทยี่ ว เปน็ ตน้ ) 2. ครตู รวจสอบผลการทำแบบทดสอบก่อนเรยี น 3. ครปู ระเมนิ ผล โดยการสังเกตการตอบคำถาม การรว่ มกนั ทำกจิ กรรม 4. ครูวัดและประเมินการทำใบงานท่ี 6.1 เรื่อง การสรา้ งแผนที่ภมู ิประเทศ 5. ครูตรวจสอบผลการทำแบบฝกึ หดั 80

หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 6 แผนที่ แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ 7. การวัดและประเมนิ ผล รายการวดั วธิ กี าร เครอื่ งมอื เกณฑ์การประเมิน 7.1 การประเมินก่อนเรียน - แบบทดสอบกอ่ นเรียน - ตรวจแบบทดสอบ - แบบทดสอบก่อนเรียน - รอ้ ยละ 60 ผ่านเกณฑ์ หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 6 ก่อนเรียน 7.2 ประเมินระหวา่ งการจัด กิจกรรมการเรยี นรู้ 1) แผนทภี่ มู ิประเทศ - ตรวจใบงานที่ 6.1 - ใบงานที่ 6.1 - รอ้ ยละ 60 ผ่านเกณฑ์ - แบบฝึกหัด - รอ้ ยละ 60 ผา่ นเกณฑ์ - ตรวจแบบฝึกหัด - แบบประเมิน - ระดบั คณุ ภาพ 2 การปฏบิ ตั กิ าร ผา่ นเกณฑ์ 2) การปฏิบัติการ - ประเมนิ การ - แบบสงั เกตพฤตกิ รรม - ระดับคุณภาพ 2 การทำงานรายบุคคล ผ่านเกณฑ์ ปฏิบัตกิ าร - แบบสงั เกตพฤติกรรม - ระดบั คุณภาพ 2 การทำงานกลุ่ม ผา่ นเกณฑ์ 3) พฤติกรรมการ - สังเกตพฤติกรรม - แบบประเมนิ - ระดับคุณภาพ 2 คณุ ลกั ษณะ ผ่านเกณฑ์ ทำงานรายบุคคล การทำงานรายบุคคล อนั พงึ ประสงค์ 4) พฤติกรรมการ - สังเกตพฤติกรรม ทำงานกลมุ่ การทำงานกลุ่ม 5) คณุ ลักษณะ - สงั เกตความมีวนิ ัย อนั พึงประสงค์ ใฝ่เรยี นรู้ และมงุ่ มนั่ ในการทำงาน 8. สอ่ื /แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สอื่ การเรยี นรู้ 1) หนังสอื เรยี น โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ม.4 เล่ม 2 หน่วยการเรียนร้ทู ี่ 6 แผนที่ 2) ใบงานท่ี 6.1 เร่อื ง การสรา้ งแผนที่ภมู ิประเทศ 3) ใบความรู้ที่ 6.1 เรื่อง ลกั ษณะและกฎเกณฑข์ องเส้นชั้นความสูง 4) แบบฝกึ หดั โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ม.4 เลม่ 2 หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 6 แผนท่ี 8.2 แหลง่ การเรียนรู้ 1) หอ้ งเรยี น 81

หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 6 แผนท่ี แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ 2) ห้องสมุด ใบความรู้ที่ 6.1 เร่อื ง ลักษณะและกฎเกณฑ์ของเส้นช้ันความสูง ลักษณะและกฎเกณฑ์ของเสน้ ช้นั ความสูง 1. ผสู้ รา้ งเส้นชน้ั ความสงู โดยท่วั ไปมกั กำหนดชว่ งความหา่ งของแต่ละเส้นชนั้ ความสูงเปน็ เลขจำนวนเตม็ ง่ายๆ เชน่ 5, 10, 20, 30, ..., 100, 150, 200, …, 500, 1,000 เมตร 2. หน่วยเส้นช้ันความสงู มีค่าเป็นหน่วยความสูงที่อิงกบั ระดับมาตรฐาน เช่น เมตรจากระดับน้ำทะเล ปากลาง หรือเซนติเมตรจากหมุดสำรวจมาตรฐานท่ีสรา้ งขึ้นมาเอง 3. เส้นชนั้ ความสงู เปน็ เส้นแบง่ ระหวา่ งบรเิ วณทีม่ ีความสงู มากกว่าและบรเิ วณทีม่ คี วามสงู น้อยกว่า 4. เส้นขอบทะเลสาบและชายฝั่งในแผนท่ี เป็นเส้นท่ีมีลักษณะเช่นเดียวกบั เส้นชนั้ ความสงู 5. ในการสร้างเส้นช้ันความสูงให้อ่านง่ายมักมีเส้นหลัก (index contour) แสดงด้วยเส้นที่เข้มกว่า และแสดงค่าระดับความสูงเปน็ ตวั เลข 6. สที ีน่ ยิ มใช้เขียนเสน้ ชัน้ ความสูง คือ สนี ำ้ ตาลและสีดำ 7. เสน้ ช้ันความสงู จะไม่แยกและไมแ่ ตกจากกนั 8. เสน้ ชน้ั ความสงู เปน็ เส้นตอ่ เน่ืองในแผนที่ และเส้นช้นั ความสงู จะมาบรรจบกนั เสมอ 9. รูปร่างของเส้นชัน้ ความสงู จะคด โค้ง และเวา้ 10. เส้นช้นั ความสูงเสน้ หนง่ึ เปน็ ตัวแทนของระดบั ความสูงค่าหนึง่ เท่านัน้ 11. เส้นชั้นความสูงจะไม่ตัดกัน ในกรณีทเ่ี ปน็ หน้าผาเส้นชนั้ ความสูงจะถีช่ ิดกันมาก 12. เส้นช้ันความสูงต่างๆ เม่ือลากผ่านทางน้ำจะมีรูปร่างเป็นรปู ตัว V หรือ U โดยท่ีมีฐานของตัว V และ U ชี้ไปยังบริเวณท่ีสูงกว่า ทVาสง่วนน้ำททา่ีไหงนล8้ำใ2ทนไ่ีบหรลิเวในณบทร่ีมิเวีคณวาทม่ีเปล็านดทชี่รันาบมหากรือรคูป่อรน่าขงข้างอรงาเบส้นเชส้ัน้น ความสูงจะมีลกั ษณะเป็นรูปตัว ชน้ั ความสงู จะมีลักษณะเป็นรปู ตวั U

หน่วยการเรียนร้ทู ่ี 6 แผนท่ี แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ ใบงานที่ 6.1 เร่อื ง การสร้างแผนทภ่ี ูมิประเทศ คำชีแ้ จง : ใหน้ ักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนทก่ี ำหนด วิธปี ฏบิ ตั ิ 1. ศึกษาใบความรู้ท่ี 6.1 เรื่อง ลักษณะและกฎเกณฑ์ของเสน้ ชัน้ ความสูง 2. หาคา่ ความสงู ท่ีสูงทีส่ ุดและต่ำท่ีสดุ จากแผนท่ีทีก่ ำหนดให้ 3. คำนวณหาจำนวนเสน้ ชัน้ ความสงู ทง้ั หมดทต่ี อ้ งวาดลงในแผนท่ี โดยกำหนดให้แตล่ ะเสน้ มี ความสูงห่างกัน 10 เมตร (ใช้ขอ้ มลู ที่ไดจ้ ากข้อ 2) ประกอบการคำนวณ) 4. วาดเสน้ ชน้ั ความสูงจากพนื้ ที่ท่ีมีความสงู น้อยที่สดุ หากในพ้นื ท่มี เี สน้ ขอบทะเลสาบหรือขอบ ระดบั น้ำ ใหย้ ดึ แนวขอบดังกล่าวเปน็ เส้นชัน้ ความสงู ท่ีตำ่ ที่สุด แลว้ วาดเส้นช้ันความสงู เส้นถัดไป โดยเพม่ิ ความสูงข้ึนทุกๆ 10 เมตร จนครบตามจำนวนท่ีคำนวณไว้ในข้อ 3) 5. อภปิ รายลักษณะของพน้ื ทีจ่ ากแผนที่เสน้ ชั้นความสงู ที่ได้ 83

หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 6 แผนที่ แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ ใบงานที่ 6.1 เฉลย เรอื่ ง การสรา้ งแผนทภ่ี ูมิประเทศ คำช้ีแจง : ใหน้ ักเรียนปฏบิ ัติกิจกรรมตามขนั้ ตอนทก่ี ำหนด วิธีปฏิบัติ 1. ศกึ ษาใบความรูท้ ่ี 1 เรื่อง ลกั ษณะและกฎเกณฑข์ องเสน้ ชนั้ ความสงู 2. หาคา่ ความสงู ท่ีสงู ท่ีสดุ และต่าท่สี ดุ จากแผนท่ที ่กี าหนดให้ 3. คานวณหาจานวนเสน้ ชนั้ ความสงู ทงั้ หมดท่ตี อ้ งวาดลงในแผนท่ี โดยกาหนดใหแ้ ตล่ ะเสน้ มี ความสงู ห่างกนั 10 เมตร (ใชข้ อ้ มลู ท่ีไดจ้ ากขอ้ 2) ประกอบการคานวณ) 4. วาดเสน้ ชนั้ ความสงู จากพนื้ ท่ีท่มี คี วามสงู นอ้ ยท่สี ดุ หากในพนื้ ท่มี ีเสน้ ขอบทะเลสาบหรือขอบ ระดบั นา้ ใหย้ ึดแนวขอบดงั กลา่ วเป็นเสน้ ชนั้ ความสงู ท่ีต่าท่สี ดุ แลว้ วาดเสน้ ชนั้ ความสงู เสน้ ถดั ไป โดยเพ่มิ ความสงู ขึน้ ทกุ ๆ 10 เมตร จนครบตามจานวนท่คี านวณไวใ้ นขอ้ 3) 5. อภปิ รายลกั ษณะของพนื้ ท่จี ากแผนท่เี สน้ ชนั้ ความสงู ท่ีได้ 84

หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 6 แผนที่ ............................ แผนฯ ที่ 1 แผนทีภ่ มู ิประเทศ ...........................) 9. ความเห็นของผบู้ รหิ ารสถานศึกษาหรือผทู้ ไ่ี ด้รบั มอบหมาย ขอ้ เสนอแนะ ลงชอ่ื ( ตำแหนง่ 10. บนั ทกึ ผลหลงั การสอน • ดา้ นความรู้ • ดา้ นสมรรถนะสำคญั ของผเู้ รยี น • ด้านคุณลกั ษณะอันพึงประสงค์ • ดา้ นความสามารถทางวทิ ยาศาสตร์ • ดา้ นอืน่ ๆ (พฤติกรรมเดน่ หรือพฤติกรรมท่มี ีปัญหาของนักเรยี นเปน็ รายบคุ คล (ถ้าม)ี ) • ปญั หา/อุปสรรค • แนวทางการแกไ้ ข 85


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook