Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 38_อัครพนธ์

38_อัครพนธ์

Published by 38_Akkaraphon Akkajan_Pws2-3, 2022-01-19 08:31:10

Description: E-book
38_อัครพนธ์ อรรคจันทร์ ปวส.2/3

Search

Read the Text Version

การออกแบบสื่อดิจิทัล 30204-2201 ลงชื่อเข้าร่วมที่ www.atc.co.th นำเสนอโดย วิทยาลัยอรรถวิทย์พณิชยการ การเรียนการสอน ในแบบสื่อดิจิทัล เรียนรู้สร้างสรรค์ในการออกแบบดิจิทัล 12 มิถุนายน 2560 เวลา 11.00 น. ณ หอประชุม SBC ลงทะเบียนเวลา 10.00 น.

สื่อดิจิทัล 1 ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในสาขา ต่างๆ เช่น การโทรคมนาคม (Telecommunication) คอมพิวเตอร์ (computer) อินเทอร์เน็ต (Internet) และการกระจายภาพและเสียง (Broadcast) ประสานกันรวมเป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า “การ หลอมรวมของสื่อดิจิตอล (Digital Convergence)” ทำให้เกิด บริการใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวออกมามากมาย อาทิ โทรศัพท์ ทางไกลผ่านเครือข่ายไอพี (ไอพีโฟน) โทรทัศน์ที่รับชมผ่านทาง อินเทอร์เน็ต (IPTV) วิทยุออนไลน์ คลิปวิดีโอบนเว็บไซต์ เช่น ยูทู วป์ดอทคอม หรือแม้แต่โมบายทีวี ที่เป็นการดูโทรทัศน์ผ่านมือถือ เป็นต้น..... สื่อดิจิตอล (Digital) สื่อดิจิตอล หมายถึงสื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพ เคลื่อนไหว เสียง และ วิดีโอ เป็นต้น โดยอาศัยเทคโนโลยีความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยให้ข้อมูลที่เป็นสื่อต่างๆ เหล่านั้นมาแปลงสภาพ และเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการ ใช้งาน

สื่อดิจิทัล 2 รูปแบบของสื่อดิจิตอล ประกอบด้วย 1.CD Training 2.CD Presentation 3.VCD/DVD 4.E-book และ E-document 1.CD Training คือ การสร้าง สื่อดิจิตอลในลักษณะที่เป็น CD ที่ ใช้ในการสอนการใช้งาน จะเป็นการสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น สอนการใช้โปรแกรม Microsoft Word เป็นต้น นอกจากนั้น CD Training ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องการสอนการทำงานของโปรแกรม ต่างๆ จะใช้เป็นการสาธิตการทำงานของโปรแกรมเป็นต้น 2.CD Presentation คือ การสร้างเป็นสื่อดิจิตอลในลักษณะที่ เป็น CD ที่ใช้สำหรับในการนำเสนอในสถานที่ต่าง ๆ เช่น นำเสนอข้อมูล ในที่ประชุม นำเสนอข้อมูลบริษัท ที่เรียกว่า Company Profile 3.VCD /DVD คือ การสร้างสื่อดิจิตอลในลักษณะที่เป็น CD ภาพยนตร์ ที่มีการตัดต่อภาพยนตร์ต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็น Movie Clip แล้วนำมาจัดเรียงต่อกันเป็นภาพยนตร์ 1 เรื่อง เป็นต้น 4.E-book และ E-document คือ การสร้างสื่อดิจิตอลใน ลักษณะที่เป็น การทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถสร้างโดย การแปลงไฟล์เอกสารต่าง ๆ ให้เป็น Webpage หรือเป็น PDF File เป็นต้น

การออกแบบสื่อดิจิทัล 3 การออกแบบสื่อดิจิทัล (Digital Media Design) การออกแบบสื่อดิจิทัลเป็นหนึ่งในการสื่อสารแบบ Visual Communication Arts หรือ นิเทศศิลป์ ซึ่งเป็นศิลปะที่ เกี่ยวข้อง กับการสื่อสารทางการมองเห็น (Visual Communication) เพราะ เป็นการสื่อสารไปยังผู้รับสารด้วยภาพเป็นสําคัญ (Visual Image) แม้จะมีบางองค์ประกอบจะมีการสื่อสารทางเสียง มาประกอบก็ตาม แต่สื่อหลักก็ยังเป็นการ สื่อสารด้วยภาพ โดยเสียงเป็นตัวเสริมให้ ภาพนั้นสมบูรณ์ขึ้น ทั้งนี้เพราะการรับรู้ของมนุษย์เรานั้น รับรู้จาก จักษุประสาทมากที่สุด (รับรู้ทางตา83% หู 11%)

การออกแบบสื่อดิจิทัล 4 Communication Arts หรือ นิเทศศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องกับศิลปะในการสื่อสาร โดยให้ความสําคัญกับการ สื่อสาร จากองค์ประกอบของการสอสาร กล่าวคือ ผู้สงสาร สาร สื่อ และ ผู้รับสาร ซึ่งผู้สงสารอาจเป็นตัวบุคคล องค์กร หรือ บริษัทก็ได้ ข่าวสารจะต้องเป็นเนื้อหาสาระที่ผู้ส่งต้องการที่จะกระจายให้ประชาชน ไดรับทราบ สื่อหรือช่องทาง เป็นการหาวิธีการ กระจายข่าวสารต่างๆ ไปสู่กลุ่มเป้าหมายให้ได้มาก และกว้างไกล ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่ง และผู้รับสาร หรือกลุ่มเป้าหมาย จะต้องสามารถรับข่าวสารนั้นได้ โดย ผู้สงสารจะต้องหาวิธีการทำให้ข่าวสารที่ส่งไป ถึงผู้รับสารได้มากที่สุด Visual Communication คือ การสื่อสารด้วยการมองเห็น เป็นการสื่อสารที่ มุ่งที่จะให้ความคิดความเข้าใจของผู้อื่น ให้เหมือน กับความคิดความเข้าใจของเรา หรือทำอย่างไรจึงจะเอาความรู้สึก นึกคิดของผู้อื่นได้ โดยให้มีความรู้สึกนึกคิด เช่นเดียวกับเรา เพราะ ธรรมชาติมนุษย์ได้รับข่าวสารอย่างเดียวกันมา แต่จะมีความเข้าใจและ ความรู้สึกนึกคิด แตกต่างกัน ออกไป การสื่อสารที่ดีก็ต้องมีการ วางแผน โดยสิ่งที่ Visual Communication เห็นนั้นได้สื่อสารผ่าน ภาพ (Image), เครื่องหมาย (signs), ตัวพิมพ์ (Typography), ภาพวาด (Drawing), ออกแบบกราฟฟิค (Graphic Design), ภาพ ประกอบ (Illustration), สี (Color) และทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Resources) เป็นต้น

การออกแบบสื่อดิจิทัล 5 Visual Communication Arts หรือ นิเทศศิลป์ หมายถึง งาน ศิลปะเพื่อการนาเสนอให้ปรากฎ ในรูปแบบต่างๆ ผ่าน การมองเห็น เป็นสําคัญ นอกจาก จะเกี่ยวของกับการสอสารแล้ว ยังต้องเกี่ยว ของ กับวิชาการสาขาต่าง ๆ อีกก็คือ จิตวิทยา ธุรกิจ เทคโนโลยี กระบวนการสร้างสรรค์ และศิลปะ Digital Media Design หรือ การออกแบบสื่อดิจิทัล จึงหมาย ถึงการสรางสรรค์ผลงานในเชิงนิเทศศิลป์เพื่ อสื่อสารสง ต่างๆ ให้กับผู้รับสาร โดยใช้สื่อระบบดิจิทัลในกระบวนการออกแบบ และการสื่อสาร การออกแบบด้วยสื่อดิจิทัลแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ผลงานการออกแบบสิ่งพิมพ์ด้วยสื่อดิจิทัล เช่น หนังสือ ( Book), นิตยสาร ( Magazine), วารสาร ( Periodical), ภาพโฆษณา ( Poster), เครื่องหมายและการค้า (Trademark & Logo), ตราสัญลักษณ์ (Logo), บรรจุภัณฑ์ (Packaging) เป็นต้น 2. ผลงานการออกแบบเพื่อนำไปใช้สอดิจิทัลโดยตรง เช่น Web Page, Banner, Animation, E-Newsletter, Blog, E-Book, Wallpaper, VDO เป็นต้น

ประโยชน์ 6 ข้อดีของสื่อดิจิตอล 1. ความคงทน คุณภาพของสิ่งที่อยู่ใน “ Digital Media ” การเสื่อมสภาพจะใช้เวลานานกว่า เพราะรูปแบบของข้อมูลที่จัดเก็บ แบบ . สองระดับ ” (0 กับ 1) โอกาสที่จะผิดเพี้ยนจะเกิดขึ้นได้ยาก กว่า ข้อมูลแบบต่อเนื่อง เช่น การบันทึกภาพลงในวีดิทัศน์แบบอนา ลอก กับการบันทึกภาพลงวีดิทัศน์ ในระบบดิจิตอล เมื่อเส้นเทปยืด การอ่านข้อมูลกลับมาในแบบดิจิตอลนั้น จะทำได้ง่ายกว่า และสามารถ ทำให้ได้ข้อมูลกลับมาได้เหมือนเดิมได้ง่ายกว่า แต่สำหรับอนาลอก จะ ให้คุณภาพของภาพ ที่ลดลงโดยทันที 2. รูปแบบของการนำไปใช้งานทำได้หลากหลายวิธี ข้อมูลที่จัด เก็บในแบบดิจิตอล ถือได้ว่า เป็นข้อมูลกลาง ที่สามารถแปลงไปสู่รูป แบบอื่นได้ง่ายเช่น ถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล เมื่อได้เป็น ข้อมูลภาพ ออกมาแล้ว จากนั้น สามารพิมพ์ภาพลงบนกระดาษหรือการแสดง ภาพบนจอคอมพิวเตอร์ หรือแสดงภาพบนจอทีวี ก็ได้เช่นกัน 3. การนำไปผสมผสานกับสื่อรูปแบบอื่น เช่น ภาพถ่าย นำมารวม กับเสียง มีการแสดงแบบ Multi-Media 4. การปรับแต่ง (Edit) เป็นการปรับแต่งสื่อที่เป็นภาพถ่าย วิดีโอ เสียงนกร้อง … นำมาปรับแต่งให้ดีขึ้นกว่าเดิม การสอดแทรก สิ่งเหล่านี้ทำให้น่าดู น่าฟัง มากกว่าปกติ มีความวิจิตรพิสดาร

ประโยชน์ 7 ข้อเสียของสื่อดิจิตอล เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการกระทำผิดศิลธรรม การละเมิดในสิทธิของผู้ อื่น เช่น การนำเอาภาพของบุคคลหนึ่ง มาตัดต่อกับภาพเปลือยกาย ของอีกคนหนึ่ง หรือ การทำซ้ำ (Copy) กับ งานสื่อ ที่มีลิขสิทธิ์ถูก ต้อง เป็นต้น ถึงอย่างไรก็ตาม จากข้อดี ที่มีคุณสมบัติเด่นมากมายเหล่านี้ ทำให้แนวโน้มของอุปกรณ์สื่อในอนาคต สามารถพัฒนาขึ้นเป็นสื่อ ดิจิตอล (Digital Media) และมีแนวทางของการพัฒนา ให้มี คุณภาพดีขึ้นทุกขณะ และราคาถูกลงอย่างเหลือเชื่อ …

หลักเบื้องต้นของสื่อดิจิทัล 8 สื่อดิจิตอล (ตรงกันข้ามกับสื่ออนาล็อก) มักหมายถึงสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทํางานโดยใช้รหัสดิจิตอล ในปัจจุบัน การเขียน โปรแกรมต้องอยู่บนพื้นฐานของเลขฐานสอง ในกรณีนี้ ดิจิตอล หมายถึงการแยกแยะระหว่าง \"0\" กับ \"1\" ในการ แสดงข้อมูล คอมพิ วเตอร์เป็นเครื่องจักรที่มักจะแปลข้อมูลดิจิตอลฐานสองแล้ว จึงแสดงชั้นของเครื่องประมวลผลชั้นของ ข้อมูลดิจิตอลที่เหนือกว่า สื่อดิจิตอลเช่นเดียวกับสื่อเสียง วิดีโอ หรือเนื้อหาดิจิตอลอื่น ๆ สามารถถูกสร้างขึ้น อ้างอิงถึง และได้รับการแจกจ่ายผ่านทางเครื่อง ประมวลผลข้อมูลดิจิตอล สื่อดิจิตอลได้นํามาซึ่งการเปลี่ยนแปลง อย่างใหญ่หลวง เมื่อเทียบกับสื่ออนาล็อก

หลักเบื้องต้นของสื่อดิจิทัล 9 Digital Media (สื่อดิจิตอล) และ มัลติมีเดีย (Multimedia) ทั้งสองคํานี้เป็นเรื่องของสื่อทั้งหมดหรืออาจจะเรียกรวมว่า สื่อ ใหม่(New media) ก็พอจะนับรวมไปได้ ทั้งสอง คําต่างก็มีความ เกี่ยวโยงกัน ถ้าลองคิดถึงสื่อประเภทใดบ้างที่มีลักษณะเป็นดิจิตอล หลายๆ คนคงพอนึกได้ เนื่องด้วย ส่วนใหญ่ล้วนเป็นสิ่งที่เราได้เคย ใช้อยู่แล้วในชีวิตประจําวัน เช่น การพิมพ์ข้อความเพื่อส่งเมล์ การ เปิดฟังเพลงด้วย คอมพิวเตอร์ การชมภาพถ่ายที่เก็บในฮาร์ดดิสก์ การชมภาพเคลื่อนไหวผ่านจอคอมพิวเตอร์ การดูวิดีโอ หรือการ ติดต่อสื่อสาร ในยุคปัจจุบัน ทั้งหมดนี้เรารับข้อมูลผ่านสื่อที่เป็น ดิจิตอลทั้งสิ้น และถ้าหากเรานําสื่อดิจิตอลทั้งหมดนี้มารวมเข้าด้วย กัน เราจะได้เป็นมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งถือเป็นสื่อใหม่ (New media) ที่กําลังมีอิทธิพลต่อการสื่อสารในยุคปัจจุบัน

องค์ประกอบของสื่อดิจิตอล 10 1. ข้อความ เป็นส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาของมัลติมีเดีย ใช้แสดง รายละเอียด หรือเนื้อหาของเรื่องที่นําเสนอ ถือว่า เป็นองค์ประกอบ พื้นฐานที่สําคัญของมัลติมีเดีย ระบบมัลติมีเดียที่นําเสนอผ่านจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจาก จะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้ เลือกมากมายตามความต้องการแล้วยังสามารถกําหนดลักษณะของ การปฏิสัมพันธ์ (โต้ตอบ)ในระหว่างการนําเสนอได้อีกด้วย 2. เสียง ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลซึ่งสามารถ เล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้ โดยใช้โปรแกรมที่ ออกแบบมาโดยเฉพาะสําห รับทํางานด้านเสียง หากในงานมัลติมีเดียมีการใช้เสียงที่เร้าใจและ สอดคล้องกับเนื้อหาใน การนําเสนอ จะช่วยให้ระบบมัลติมีเดียนั้นเกิด ความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความน่าสนใจ และ น่าติดตามในเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากเสียงมี อิทธิพลต่อผู้ใช้มากกว่าข้อความหรือภาพนิ่งดังนั้น เสียง จึงเป็น องค์ประกอบที่จําเป็นสําหรับมัลติมีเดียซึ่งสามารถนําเข้าเสียงผ่าน ทางไมโครโฟน แผ่นซีดี ดีวีดี เทป และวิทยุ เป็นต้น

องค์ประกอบของสื่อดิจิตอล 11 3. ภาพนิ่ง เป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพ วาด และภาพลายเส้น เป็นต้น ภาพนิ่งนับว่ามี บทบาทต่อระบบงาน มัลติมีเดียมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร เนื่องจากภาพจะให้ผลใน เชิงการเรียนรู้หรือรับรู้ด้วยการ มองเห็นได้ดีกว่า นอกจากนี้ยัง สามารถถ่ายทอดความหมายได้ลึกซึ่งมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร ซึ่งข้อความหรือ ตัวอักษรจะมีข้อจํากัดทางด้านความแตกต่างของ แต่ละภาษา แต่ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้กับทุกชนชาติ ภาพ นิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์หรือ วารสารวิชาการ เป็นต้น 4. ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้น ตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เช่น การ เคลื่อนที่ของลูกสูบของเครื่องยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์ จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้อง ใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้าง เกี่ยวกับขนาดของ ไฟล์ที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่ง หลายเท่า

องค์ประกอบของสื่อดิจิตอล 12 5. วิดีโอ เป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสําคัญเป็น อย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอล สามารถนําเสนอข้อความ หรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้ สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบ ชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลัก ของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของ พื้นที่บน หน่วยความจําเป็นจํานวนมาก เนื่องจากการนําเสนอวิดีโอ ด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง ( Real-Time) จะต้องประกอบด้วย จํานว นภาพไม่ตํ่ากว่า 30 ภาพต่อวินาที (Frame/Second) ถ้าหากการ ประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการ บีบอัดขนาดของ สัญญาณมาก่อน การนําเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วย ความจํามากกว่า 100 MB ซึ่งจะทํา ให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและ มีประสิทธิภาพในการทํางานที่ด้อยลง สรุปได้ว่าคําว่า “มัลติมีเดีย” หมายถึง การนําองค์ประกอบของสื่อดิจิตอลชนิดต่างๆ มาผสม ผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวิดีโอ (Video) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสื่อความ หมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ ( Interactive Multimedia) และได้ บรรลุผลตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

เทคนิคการตัดต่อภาพด้วย 13 สื่อดิจิทัล การตัดต่อภาพยนตร์ เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งใน การสร้างภาพยนตร์ ซึ่งหมายถึง การลำดับภาพจากภาพยนตร์ที่ถ่าย ทำไว้ โดยนำแต่ละฉากมาเรียงร้อยกันตามโครงเรื่อง จากนั้นก็จะใช้ เทคนิคการตัดต่อให้ภาพและเสียงมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เพื่อให้ ได้ภาพยนตร์ที่มีความสมบูรณ์เต็มรูปแบบ ก่อนที่จะนำไปเผยแพร ต่อไป การตัดต่อลำดับภาพ หมายถึง การเชื่อมต่อกันระหว่างช็อต 2 ช็อต เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ด้วยภาพ ซึ่งสามารถกระทำได้ทั้ง ภาพ นิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยการนำชิ้นงานแต่ละช็อต แต่ละฉากมา เรียงกัน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและกลมกลืนกันด้วยเทคนิค วิธี ต่างๆ จนกระทั่งสามารถเล่าเรื่องราวได้ตามบท (Script) ที่เขียนไว้ ดังนั้นผู้ตัดต่อที่ดี ต้องคิดสรรช็อตที่ดีและฉากที่ดีมาเรียงต่อกัน โดยจะต้องคำนึงถึงความยาว จังหวะ รวมถึงอารมณ์ที่ ต้องการสื่อ ให้ผู้ รับสารได้ รับรู้ และที่สำคัญก็คือ ต้องคำนึงถึงความเป็น เอกภาพของเรื่องนั้นๆ ด้วย การตัดต่อภาพและเสียง หมายถึง กระบวนการนำภาพต่างๆ ที่ บันทึกไว้มาลำดับเป็นเรื่องราวโดยอาศัยเครื่องมือตัดต่อ รวมถึง การซ้อนตัวหนังสือ หรือการสร้างภาพพิเศษต่างๆ เพื่อสร้างความ สมบูรณ์ของรายการในการสื่อความหมาย ตลอดจนการใส่เสียง บรรยาย เสียงประกอบ ตามรูปแบบของรายการนั้นๆ

ความสำคัญ 14 การตัดต่อลำดับภาพมีความสำคัญในส่วนที่ทำให้ผู้ดูเข้าใจเรื่อง ราวที่นําเสนอและได้อารมณ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่ม จนจบเรือง 1. การดึงผู้ดูให้เข้าไปเกี่ยวของและเป็นส่วนหนึ่งกับเหตุการณ์ในเรื่อง ทำให้ผู้ดูเกิดสภาพอารมณ์ตามที่ผู้ตัดต่อต้องการ 2. การสร้างเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง 3. การเชื่อมต่อภาพให้ดูลื่นไหล 4. การแก้ไขจุดบกพร่องที่อาจจะเกิดมาจากการถ่ายทำ 5. การกำหนดเวลา หรือ การกําจัดเวลา

DIGITAL TEACHI NG MATERIALS นำเสนอโดย วิทยาลัยอรรถวิทย์พณิชยการ เรียนรู้สร้างสรรค์ในการออกแบบดิจิทัล 12 มิถุนายน 2560 เวลา 11.00 น. ณ หอประชุม SBC ลงทะเบียนเวลา 10.00 น. ลงชื่อเข้าร่วมที่ www.atc.co.th 190.-


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook