Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานสามัคคีเภทคำฉันท์

รายงานสามัคคีเภทคำฉันท์

Published by 37 นวพรรณ ประดับมุข, 2023-07-25 14:43:56

Description: รายงานสามัคคีเภทคำฉันท์

Search

Read the Text Version

รายงาน เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ นำเสนอ ครู ณัฐยา อาจมังกร จัดทำโดย นาย นัฐวุฒิ วิบูลยศริน เลขที่ 3 นางสาว สิริมงคล หยอมวิไล เลขที่ ๓๐ นางสาว กนกวรรณ ชนะคุ้ม เลขที่ ๓๕ นางสาว นวพรรณ ประดับมุข เลขที่ ๓๗ นางสาว ศรุดา แก้วมณี เลขที่ ๔๐ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖.๑๑ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม



คำนำ รายงานเล่มนี้เป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชา ท 33101 ภาษาไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึง เนื้อเรื่องบทกลอน ลักษณะคำฉันท์ชนิดต่างๆ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คุณค่าด้าน สังคม และการนำไปใช้ การจัดทำรายงานได้ทำการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจาก หนังสือและ เว็บไซต์ ผู้จัดทำหวังว่าจะเป็ นประโยชน์ แก่ผู้สนใจ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำข้อน้อมรับไว้ และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ 15 กรกฎาคม 2566

สารบัญ หน้า เรื่อง ๑ 2 เนื้อหา 2 ผู้แต่ง 2 จุดประสงค์ 4 ที่มาของเรื่อง 6 ลักษณะคำประพันธ์ 7-36 เรื่องย่อก่อนบาทเรียน 37-42 ถอดคำประพันธ์ 43-45 อธิบายคำศััพท์ยาก คุณค่าวรรณคดี บรรณานุกรม 46

1 เนื้อหา ( สามัคคีเภทคำฉันท์ ) พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธทรงปรารถนาที่จะขยายอาณาเขตไปยัง แคว้นวัชชีของกษัตริย์ ลิจฉวี แต่กษัตริย์ลิจฉวีทรงตั้งมั่นอยู่ในอปริหานิยธรรม 7 ประการ ซึ่งเป็ นธรรมะสำหรับหมู่คณะที่ก่อ ให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวกัน ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงลังเลไม่กล้ายกกองทัพไปตีแคว้นวัชชี พระองค์จึง ทรงปรึกษากับอัครปุโรหิต ชื่อ วัสสการพราหมณ์ พราหมณ์ เฒ่าออกอุบาย ทูลคัดค้านการตีแคว้น วัชชี พระเจ้าอชาตศัตรูแสร้งกริ้ว รับสั่งให้ลงโทษ พราหมณ์ เฒ่าอย่างหนัก แล้วให้ขับไล่ออกไปจากเมือง วัสสการพราหมณ์ ไปพึ่ง พระบารมีกษัตริย์ลิจฉวีโดยใช้โวหารแสดงเหตุผล ประกอบกับร่างกายที่มีริ้วรอย จากการลงโทษ ทำให้กษัตริย์ลิจฉวีทรงเชื่อสนิทและให้รับใช้ใกล้ชิด คือ มีหน้าที่อบรมสั่งสอนพระกุมาร ทั้งหลาย ตลอดจนพิจารณาคดีความต่างๆ ระยะแรกพราหมณ์ เฒ่าก็ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่งจนเป็ น ที่ไว้วางพระทัย ต่อจากนั้ นจึงเริ่มดำเนิ นตามอุบายทำลายความสามัคคีในหมู่พระกุมาร แล้วขยายวงไป ถึงพระชนกของพระกุมารเหล่านั้นอีกด้วย เวลาล่วงไป 3 ปี สามัคคีธรรมในหมู่กษัตริย์ลิจฉวีก็สิ้นไป วัสสการพราหมณ์ จึงลอบให้คนไปทูล พระเจ้าอชาตศัตรูยกกองทัพมาตีแคว้นวัชชีได้สำเร็จ

2 ผู้แต่ง นายชิต บุรทัต กวีในรัชกาลที่ ๖ ในขณะที่บรรพชาเป็ นสามเณร อายุเพียง ๑๘ ปี ได้เข้าร่วมแต่งฉันท์สมโภช พระมหาเศวตฉัตรในงานราชพิธีฉัตรมงคล รัชกาลที่ ๖ เมื่ออายุ ๒๒ ปี ได้ส่งกาพย์ปลุกใจลงในหนังสือพิมพ์ สมุทรสาร นายชิต มีนามสกุลเดิมว่า ชวางกูร ได้รับพระราชทานนามสกุล “บุรทัต” จากพระบาทสมเด็พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี ๒๔๕๐ เมื่ออายุ ๒๓ ปี ใช้นามปากกาว่า เจ้าเงาะ เอกชน และแมวคราว รูปแบบ แต่งเป็ นบทร้อยกรอง โดยนำฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันอย่าง เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละตอน ประกอบด้วยฉันท์ ๑๘ ชนิด กาพย์ ๒ ชนิด คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ จุดประสงค์ในการแต่ง นายชิต บุรทัต อาศัยเค้าคำแปลของเรื่องสามัคคีเภทมาแต่งเป็ นคำฉันท์ เพื่อ แสดงความสามารถในเชิงกวีให้เป็ นที่ปรากฏ และเป็ นพิทยาภรณ์ ประดับบ้านเมือง ที่มาของเรื่อง ชิต บุรทัตได้นำเค้าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์มาจากนิทานสุภาษิตเรื่องหนึ่งใน หนังสือพิมพ์ราย คาบชื่อ “ธรรมจักษุ” หนังสือรุ่นแรกของมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็ น หนังสือที่เรียบเรียงจากภาษาบาลีซึ่ง มีเรื่องราวอยู่ในมหาปรินิพพานสูตร และอรรถกถา สุมังคลวิลาสินี โดยชิต บุรทัตได้แต่งเติมความบ้างตาม ลีลาฉันท์เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗ มีจุด มุ่งหมายในการแต่งเพื่อแสดงฝี มือกวี เฉลิมพระนคร และเป็ น คติสอนใจ แสดงโทษแห่งการแตกความสามัคคี

3 ลักษณะคำประพันธ์ ข้อบังคับของคำประพันธ์ฉันท์ คำครุและลหุ ครุ คือ คำที่มีเสียงหนัก เป็ นคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ สระเกิน ” ลหุ คือ คำที่มีเสียงเบา ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา ไม่มีตัวสะกด ลักษณะเด่น คำประพันธ์ที่ใช้แต่งสามัคคีเภทคำฉันท์นั้นใช้ฉันท์และกาพย์ สลับกัน จึงเรียกว่า คำฉันท์ โดยมีฉันท์ถึง 18 ชนิด กาพย์ 2 ชนิด ดังนี้ 1. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 เป็ นฉันท์ที่มีลีลาการอ่านสง่า เคร่งขรึม ใช้แต่งสำหรับ บทไหว้ครู บทสดุดี ยอพระเกียรติ 2. วสันติดิลกฉันท์ 14 เป็ นฉันท์ที่มีลีลาไพเราะ งดงาม ใช้สำหรับบรรยายหรือ พรรณนาชื่นชมสิ่งที่สวยงาม 3. อุปชาติฉันท์ 11 นิยมแต่งสำหรับบทเจรจาหรือบรรยายความเรียบๆ 4. อีทิสังฉันท์ 21 เป็ นฉันท์ที่มีจังหวะกระแทกกระทั้น เกรี้ยวกราด โกรธแค้น 5. อินทรวิเชียรฉันท์ 11 เป็ นฉันท์ที่มีลีลาสวยงามดุจสายฟ้ าพระอินทร์ มีลีลา อ่อนหวาน ใช้บรรยายความหรือหรือพรรณนาเพื่อโน้มน้าวใจให้อ่อนโยน เมตตา สงสาร ให้อารมณ์ เหงาและเศร้า 6. วิชชุมมาลาฉันท์ เป็ นฉันท์ที่ใช้ในบรรยายความ 7. อินทรวงศ์ ฉันท์ 12 เป็ นฉันที่มีลีลาตอนท้ายไม่ราบรื่นใช้ในการบรรยายความ หรือพรรณนาความ 8. วังสัฏฐฉันท์ 12 เป็ นฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะ เหมือนเสียงปี่ 9. มาลินีฉันท์ 15 เป็ นฉันท์ที่ใช้ในการแต่งกลบทหรือบรรยายความที่เคร่งขรึม 10. ภุชงคประยาตฉันท์ 12 เป็ นฉันท์ลีลางามสง่า นิยมใช้แต่งบทที่ดำเนินเรื่อง อย่างรวเร็วและคึกคัก 11. มาณวกฉันท์ 8 เป็ นฉันท์ที่มีลีลาผาดโผน สนุกสนาน ร่าเริง และตื่นเต้น 12. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็ นฉันท์ที่มีความไพเราะใช้ในการบรรยายบทเรียบๆ 13. สัทธราฉันท์ ๒๑ มีความหมายว่า ฉันท์ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ผู้ฟัง จึงเหมาะ เป็ นฉันท์ที่ใช้สำหรับแต่งคำนมัสการ อธิษฐาน ยอพระเกียรติ หรืออัญเชิญเทวดา ใช้แต่งบทสั้นๆ 14. สาลินีฉันท์ ๑๑ เป็ นบทที่มีคำครุมาก ใช้บรรยายบทที่เป็ นเนื้อหาสาระเรียบๆ

4 ๑๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ เป็ นฉันท์ที่เหมาะสำหรับใช้บรรยายบทเรียบๆ แต่ไม่ค่อย มีคนนิ ยมแต่งมากนัก 16. โตฏกฉันท์ ๑๒ เป็ นฉันท์ที่มีลีลาสะบัดสะบิ้ง ใช้แต่งกับบทที่แสดงความโกรธ เคือง ร้อนรน หรือสนุกสนาน คึกคะนอง ตื่นเต้น และเร้าใจ 17. กมลฉันท์ ๑๒ หมายถึง ฉันที่มีความไพเราะเหมือนดังดอกบัว ใช้กับบทที่มี ความตื่นเต้นเล็กน้ อยและใช้บรรยายเรื่อง 18. จิตรปทาฉันท์ ๘ เป็ นฉันท์ที่เหมาะสำหรับบทที่น่ากลัว เอะอะ เกรี้ยวกราด ตื่นเต้นตกใจและกลัว 19. สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘ มีลักษณะการแต่งคล้ายกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ แต่ต่างกัน ที่มีข้อบังคับ ครุ ลหุ เพิ่มขึ้นมา ทำให้เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับ ข้อความที่คึกคักสนุกสนาน โลดโผน ตื่นเต้น 20. กาพย์ฉบัง ๑๖ เป็ นกาพย์ที่มีลีลาสง่างาม ใช้สำหรับบรรยายความงามหรือ ดำเนิ นเรื่องอย่างรวดเร็ว อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ุั ครุ ุ ุุ ุ ลหุ บาท 1 ัั ุั ั ุ ุั ุั ั บาท 2 ัั ุัั ุุัุั ั 1 บท บาท 3 ัั ุัั ุุัุั ั บาท 4 ัั 1 บท ัั ั ัั อินทรวิเชียรฉันท์ 11 1. บทหนึ่งมี 2 บาท บาทหนึ่งมี 2 วรรค วรรคหน้ามี 5 คำ วรรคหลังมี 6 คำ รวม บาทหนึ่งมี 11 คำ เรียกว่า ฉันท์ 11 2. ครุ-ลหุ : แต่ละบาท คำที่ 3 ของวรรคหน้า คำที่ 1 , 2 , 4 ของวรรคหลัง เป็ น ลหุ ส่วนที่เหลือเป็ นครุ 3. ส่งสัมผัสแบบกาพย์ คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2 ( เป็ นสัมผัสไม่บังคับ แต่ถ้ามีจะทำให้ฉันท์บทนั้นไพเราะยิ่งขึ้น ) และคำสุดท้าย ของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้าย ของวรรคที่ 4 ของบทแรก จะต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ในบทถัดไป

5 วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ั ครุ บาท 1 ั ั ั ั ัััั 1 บท บาท 2 ั ั ั ั ัััั สัมผัสระหว่างบท บาท 3 ั ั ั ั ัััั บาท 4 ั ั ั ั ัััั 1 บท บาท 1 ั ั ั ั ัััั บาท 2 ั ั ั ั ัััั บาท 3 ั ั ั ั ัััั บาท 4 ั ั ั ั ัััั ฉันทลักษณ์ วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ( ประกอบด้วย ครุ ทั้งหมด ) 1. 1 บท มี 4 บาท บาทละ 8 พยางค์ แบ่งเป็ น 2 วรรค วรรคละ 4 พยางค์ ส่ง สัมผัสแบบกลอน 2. ลักษณะครุ-ลหุ ประกอบด้วย ครุ ทั้งหมด คือ ครุ - ครุ - ครุ - ครุ - ครุ - ครุ - ครุ - ครุ ไม่มี ลหุ

6 เรื่องย่อ ( ก่อนบทเรียน ) พระเจ้าอชาตศัตรูกษัตริย์แคว้นมคธต้องการครอบครองแคว้นวัชชีของเหล่ากษัตริย์ ลิจฉวี แต่เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีรวมถึงชาวเมืองแคว้นวัชชีตั้งมั่นอยู่ในอปริหานิยธรรมซึ่งมุ่ง ให้เกิดความสามัคคี ดังนั้นการเอาชนะโดยการใช้กำลังอย่างเดียวจึงเป็ นเรื่องยาก วัสสการพราหมณ์ ปุโรหิตของพระเจ้าอชาตศัตรูจึงคิดอุบายโดยการที่ตนจะอาสาไปเป็ น ไส้ศึกยุยงให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกสามัคคีกัน ต่อมาวัสสการพราหมณ์ แกล้งทูงทัดทาน การไปตีแคว้นวัชชี พระเจ้าอชาตศัตรูแสร้งพิโรธ รับสั่งให้เฆี่ยนแล้วขับไล่ออกจากเมือง เมื่อวัสสการพราหมณ์ ได้เข้าไปอยู่ในแคว้นวัชชีก็ได้ทำหน้าที่พิจารณาคดีความต่างๆ จนเป็ นที่ไว้วางใจ

7 ถอดคำประพันธ์ ภุชงคประยาตฉันท์ 12 ( วัสส์ การพราหมณ์ เริ่มทำอุบายทำลายสามัคคี ) ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึ งการ กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย ปวัตน์ วัญจโนบาย เหมาะแก่การณ์ จะเสกสรร สมัครสนธิ์สโมสร มล้างเหตุพิเฉทสาย ลศึกษาพิชากร เสด็จพร้อมประชุมกัน ณ วันหนึ่งลุถึงกา สถานราชเรียนพลัน กุมารลิจฉวีวร สนิ ทหนึ่งพระองค์ ไป ก็ถามการณ์ ณ ทันใด ตระบัดวัสสการมา กถาเช่นธปุจฉา ธ แกล้งเชิญกุมารฉัน มนุษย์ผู้กระทำนา ประเทียบไถมิใช่หรือ ลุห้องหับรโหฐาน ก็รับอรรถอออือ มิลี้ลับอะไรใน ประดุจคำพระอาจารย์ นิ วัตในมิช้านาน จะถูกผิดกระไรอยู่ สมัยเลิกลุเวลา และคู่โคก็จูงมา กุมารลิจฉวีขัตติย์ กสิกเขากระทำคือ ก็เท่านั้ นธเชิญให้ ประสิทธิ์ศิลป์ ประศาสน์ สาร

8 ถอดคำประพันธ์ อุรสลิจฉวีสรร พชวนกันเสด็จมา และต่างซักกุมารรา ชองค์ นั้ นจะเอาความ ณข้างในธไต่ถาม พระอาจารย์สิเรียกไป วจีสัตย์กะส่ำเรา อะไรเธอเสนอตาม รวากย์วาทตามเลา วภาพโดยคดีมา กุมารนั้ นสนองสา มิเชื่อในพระวาจา เฉลยพจน์ กะครูเสา และต่างองค์ก็พาที จะพูดเปล่าประโยชน์ มี กุมารอื่นก็สงสัย รผลเห็นบเป็ นไป สหายราชธพรรณนา ธ พูดแท้ก็ทำไม จะถามนอกบยากเย็น ไฉนเลยพระครูเรา ธคิดอ่านกะท่านเป็ น เลอะเหลวนักละล้วนนี ละแน่ ชัดถนัดความ มิกล้าอาจจะบอกตา เถอะถึงถ้าจะจริงแม้ ไถลแสร้งแถลงสาร แนะชวนเข้าณข้างใน ประดามีนิ รันตร์เนื อง มลายปลาตพินาศปลง ชะรอยว่าทิชาจารย์ รหัสเหตุประเภทเห็น และท่านมามุสาวาท พจีจริงพยายาม พิพิธพันธไมตรี กะองค์ นั้ นก็พลันเปลือง

9 ถอดคำประพันธ์ พราหมณ์ ผู้ฉลาดคาดคะเนว่ากษัตริย์ลิจฉวีวางใจคลายความ หวาดระแวง เป็ นโอกาสเหมาะที่จะเริ่มดำเนินการตามกลอุบาย ทำลายความสามัคคี วันหนึ่งเมื่อถึงโอกาสที่จะสอนวิชา กุมารลิจฉวีก็ เสด็จมาโดยพร้อมเพรียงกัน ทันใดวัสสการพราหมณ์ ก็มาถึงและแกล้ง เชิญพระกุมารพระองค์ ที่สนิ ทสนมเข้าไปพบในห้องส่วนตัว แล้วก็ทูลถามเรื่องที่ไม่ใช่ความลับแต่ประการใด ดังเช่นถามว่า ชาวนาจูงโคมาคู่หนึ่งเพื่อเทียมไถใช่หรือไม่ พระกุมารลิจฉวีก็รับสั่งเห็นด้วยว่าชาวนาก็คงจะกระทำดังคำของ พระอาจารย์ ถามเพียงเท่านั้นพราหมณ์ ก็เชิญให้เสด็จกลับออกไป ครั้นถึงเวลาเลิ กเรียนเหล่าโอรสลิ จฉวีก็พากันมาซักไซ้ พระกุมารว่า พระอาจารย์เรียกเข้าไปข้างใน ได้ไต่ถามอะไรบ้าง ขอให้บอกมาตามความจริง พระกุมารพระองค์ นั้ นก็เล่าเรื่องราวที่พระอาจารย์เรียกไปถาม แต่เหล่ากุมารสงสัยไม่เชื่อคำพูดของพระสหาย ต่างองค์ก็วิจารณ์ ว่า พระอาจารย์จะพูดเรื่องเหลวไหลไร้สาระเช่นนี้เป็ นไปไม่ได้ และหากว่าจะ พูดจริงเหตุใดจะต้องเรียกเข้าไปถามข้างในห้อง ถามข้างนอกห้องก็ได้ สงสัยว่าท่านอาจารย์กับพระกุมารต้องมีความลับอย่างแน่ นอน แล้วก็มาพูดโกหก ไม่กล้าบอกตามความเป็ นจริง แกล้งพูดไปต่างๆ นานา กุมารลิจฉวีทั้งหลายเห็นสอดคล้องกันก็เกิดความโกรธเคือง การทะเลาะวิวาทก็เกิดขึ้นเพราะความขุ่นเคืองใจ ความสัมพันธ์อันดี ที่เคยมีมาตลอดก็ถูกทำลายย่อยยับลง

10 ถอดคำประพันธ์ มาณวกฉันท์ 8 กาลอนุกรม ท่านทวิชงค์ ล่วงลุประมาณ วิทยะยง หนึ่งณนิ ยม เอกกุมาร พราหมณไป เมื่อจะประสิทธิ์ ห้องรหุฐาน เชิญวรองค์ ความพิสดา โทษะและไข เธอจรตาม ครูจะเฉลย โดยเฉพาะใน ภัตกะอะไร ดีฤไฉน จึ่งพฤฒิ ถาม ยิ่งละกระมัง ขอธประทาน เค้าณประโยค แล้วขณะหลัง อย่าติและหลู่ เรื่องสิประทัง เธอน่ ะเสวย สิกขสภา ในทินนี่ พอหฤทัย ราชธก็เล่า ตนบริโภค วาทะประเทือง อาคมยัง

11 ถอดคำประพันธ์ เสร็จอนุศาสน์ ราชอุรส ลิจฉวิหมด ต่างธก็มา ท่านพฤฒิ อา ถามนยมาน รภกระไร จารยปรา แจ้งระบุมวล จริงหฤทัย เธอก็แถลง เมื่อตริไฉน ความเฉพาะล้วน เหตุบมิสม เรื่องนฤสาร ต่างบมิเชื่อ ก่อนก็ระ จึ่งผลใน แตกคณะกล คบดุจเดิม ขุ่นมนเคือง เช่นกะกุมาร เลิกสละแยก เกลียวบนิ ยม

12 ถอดคำประพันธ์ เวลาผ่านไปตามลำดับ เมื่อถึงคราวที่จะสอนวิชาก็จะเชิญ พระกุมารพระองค์หนึ่ง พระกุมารก็ตามพราหมณ์ เข้าไปในห้องเฉพาะ พราหมณ์ จึงถามเนื้อความแปลก ๆ ว่า ขออภัย ช่วยตอบด้วย อย่าหาว่า ตำหนิหรือลบหลู่ ครูขอถามว่าวันนี้พระกุมารเสวยพระกระยาหารอะไร รสชาติดีหรือไม่ พอพระทัยมากหรือไม่ พระกุมารก็เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระ กระยาหารที่เสวย หลังจากนั้นก็สนทนาเรื่องทั่วไป แล้วก็เสด็จกลับ ออกมายังห้องเรียน เมื่อเสร็จสิ้นการสอนราชกุมารลิจฉวีทั้งหมดก็มา ถามเรื่องราวที่มีมาว่าท่านอาจารย์ได้พูดเรื่องอะไรบ้าง พระกุมารก็ตอบ ตามความจริง แต่เหล่ากุมารต่างไม่เชื่อ เพราะคิดแล้วไม่สมเหตุสมผล ต่างขุ่นเคืองใจด้วยเรื่องไร้สาระเช่นเดียวกับพระกุมารพระองค์ก่อน และเกิดความแตกแยกไม่คบกันอย่างกลมเกลียวเหมือนเดิม

13 ถอดคำประพันธ์ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ 11 กลห์ เหตุยุยงเสริม นฤพัทธก่อการณ์ ทิชงค์เจาะจงเจตน์ ทินวารนานนาน กระหน่ำและซ้ำเติม ธก็เชิญเสด็จไป รฤหาประโยชน์ ไร ละครั้งระหว่างครา เสาะแสดงธแสร้งถาม เหมาะท่าทิชาจารย์ น่ ะแน่ ะข้าสดับตาม พจแจ้งกระจายมา บห่อนจะมีสา ก็เพราะท่านสิแสนสา กระนั้ นเสมอนัย วและสุดจะขัดสน พิเคราะห์ เชื่อเพราะยากยล และบ้างก็พูดว่า ธก็ควรขยายความ ยุบลระบิลความ น่ ะแน่ ะข้าจะขอถาม วจลือระบือมา ละเมิดติเตียนท่าน ก็เพราะท่านสิแสนสา รพัดทลิทภา ยพิลึกประหลาดเป็ น มนเชื่อเพราะไป่ เห็น จะแน่ มิแน่ เหลือ ธ ก็ควรขยายความ ณที่บมีคน วนเค้าคดีตาม นยสุดจะสงสัย และบ้างก็กล่าวว่า เพราะทราบคดีตาม ติฉันเยาะหมิ่นท่าน รพันพิกลกา จะจริงมิจริงเหลือ ผิข้อ บ สำเค็ญ กุมารองค์เสา กระทู้พระครูถาม

14 ถอดคำประพันธ์ คำมิควรการณ์ คุรุท่านจะถามไย ธ ซักเสาะสืบใคร ระบุแจ้งกะอาจารย์ พระกุมารโน้ นขาน ทวิชแถลงว่า เฉพาะอยู่กะกันสอง ยุบลกะตูกาล ธ มิทันจะไตร่ตรอง พฤฒิ ครูและวู่วาม กุมารพระองค์ นั้ น เหมาะเจาะจงพยายาม ก็เชื่อ ณ คำของ บ มิดีประเดตน พิโรธกุมารองค์ ทุรทิฐิมานจน ยุครูเพราะเอาความ ธิพิพาทเสมอมา ทิชครูมิเรียกหา ก็พ้อและต่อพิษ ชกุมารทิชงค์เชิญ ลุโทสะสืบสน ฉวิมิตรจิตเมิน คณะห่างก็ต่างถือ และฝ่ ายกุมารผู้ พลล้นเถลิงลือ ก็แหนงประดารา มนฮึก บ นึกขามฯ พระราชบุตรลิจ ณ กันและกันเหิน ทะนงชนกตน ก็หาญกระเหิมฮือ

15 ถอดคำประพันธ์ พราหมณ์ เจตนาหาเหตุยุแหย่ซ้ำเติมอยู่เสมอ ๆ แต่ละครั้ง แต่ละวัน นานนานครั้ง เห็นโอกาสเหมาะก็จะเชิญพระกุมาร เสด็จไปโดยไม่มีสารประโยชน์ อันใด แล้วก็แกล้งทูลถาม บางครั้งก็พูดว่า นี่แน่ะข้าพระองค์ได้ยินข่าวเล่าลือกันทั่วไป เขานิ นทาพระกุมารว่าพระองค์ แสนจะยากจนและขัดสน จะเป็ นเช่นนั้นแน่หรือ พิเคราะห์ แล้วไม่น่าเชื่อ ณ ที่นี้ไม่มีผู้ใด ขอให้ทรงเล่ามาเถิด บางครั้งก็พูดว่าข้าพระองค์ขอทูลถาม พระกุมาร เพราะได้ยินเขาเล่าลือกันทั่วไปเยาะเย้ยดูหมิ่นท่าน ว่าท่านนี้มีร่างกายผิดประหลาดต่าง ๆ นานาจะเป็ นจริงหรือไม่ ใจไม่อยากเชื่อเลยเพราะไม่เห็น ถ้าหากมีสิ่งใดที่ลำบากยากแค้นก็ตรัสมาเถิด

16 ถอดคำประพันธ์ สัทราฉันท์ 21 ( กษัตริย์ฤทธิ์ฉวีแตกสามัคคีมัสการพราหมณ์ รอบส่งข่าวทูลพระเจ้าอชาตศัตรู ) ลำดับนั้ นวัสสการพราหมณ์ ธ ก็ยุศิษยตาม แต่งอุบายงาม ฉงนงำ ริณวิรุธก็สำ ปวงโอรสลิจฉวีดำ ธ เสกสรร คัญประดุจคำ มิละปิ ยะสหฉันท์ ก็อาดูร ไป่ เหลือเลยสักพระองค์อัน พระชนกอดิศูร ขาดสมัครพันธ์ ปวัตติ์ความ ลุวรบิดรลาม ต่างองค์นำความมิงามทูล ณ เหตุผล แห่งธโดยมูล นฤวิเคราะหเสาะสน เพราะหมายใด แตกร้าวก้าวร้ายก็ป้ ายปาม กษณะตริเหมาะไฉน ทีละน้ อยตาม สะดวกดาย ฟั่ นเฝื อเชื่อนัยดนัยตน พจนยุปริยาย สืบจะหมองมล บ เว้นครา สหกรณประดา แท้ท่านวัสสการใน ชทั้งหลาย เสริมเสมอไป มิตรภิทนะกระจาย ก็เป็ นไป หลายอย่างต่างกลธขวนขวาย พระหฤทัยวิสัย วัญจโนบาย ระวังกันฯ ครั้นล่วงสามปี ประมาณมา ลิจฉวีรา สามัคคีธรรมทำลาย สรรพเสื่อมหายน์ ต่างองค์ทรงแคลงระแวงใน ผู้พิโรธใจ

17 ถอดคำประพันธ์ ในขณะนั้นวัสสการพราหมณ์ ก็คอยยุลูกศิษย์ แต่งกลอุบายให้ เกิดความแคลงใจ พระโอรสกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายไตร่ตรองใน อาการน่าสงสัยก็เข้าใจว่าเป็ นจริงดังถ้อยคำที่อาจารย์ปั้ นเรื่องขึ้น ไม่มีเหลือเลยสักพระองค์เดียวที่จะมีความรักใคร่กลมเกลียว ต่างขาดความสัมพันธ์ เกิดความเดือดร้อนใจ แต่ละองค์นำเรื่องไม่ดี ที่เกิดขึ้นไปทูลพระบิดาของตน ความแตกแยกก็ค่อย ๆ ลุกลามไป สู่พระบิดา เนื่องจากความหลงเชื่อโอรสของตน ปราศจากการ ใคร่ครวญเกิดความผิดพ้องหมองใจกันขึ้น ฝ่ ายวัสสการพราหมณ์ ครั้นเห็นโอกาสเหมาะสมก็คอยยุแหย่อย่างง่ายดาย ทำกลอุบายต่าง ๆ พูดยุยงตามกลอุบายตลอดเวลา เวลาผ่านไป ประมาณ ๓ ปี ความร่วมมือกันระหว่างกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายและความสามัคคี ถูกทำลายลงสิ้น ความเป็ นมิตรแตกแยก ความเสื่อม ความหายนะ ก็บังเกิดขึ้น กษัตริย์ต่างองค์ระแวงแคลงใจ มีความขุ่นเคืองใจซึ่งกันและกัน

18 ถอดคำประพันธ์ สาลินีฉันท์ 11 ตระหนักเหตุถนัดครัน พจักสู่พินาศสม พราหมณ์ ครูรู้สังเกต จะสัมฤทธิ์มนารมณ์ ราชาวัชชีสรร และอุตสาหแห่งตน ประชุมขัตติย์มณฑล ยินดีบัดนี้กิจ กษัตริย์สู่สภาคาร เริ่มมาด้วยปรากรม สดับกลองกระหึมขาน ณกิจเพื่อเสด็จไป ให้ลองตีกลองนัด จะเรียกหาประชุมไย เชิญซึ่งส่ำสากล ก็ขลาดกลัวบกล้าหาญ และกล้าใครมิเปรียบปาน วัชชีภูมีผอง ประชุมชอบก็เชิญเขา ทุกไท้ไป่ เอาภาร ไฉนนั้ นก็ทำเนา บแลเห็นประโยชน์ เลย ต่างทรงรับสั่งว่า และทุกองค์ธเพิกเฉย เราใช่เป็ นใหญ่ใจ สมัครเข้าสมาคมฯ ท่านใดที่เป็ นใหญ่ พอใจใคร่ในการ ปรึกษาหารือกัน จักเรียกประชุมเรา รับสั่งผลักไสส่ง ไป่ ได้ไปดั่งเคย

19 ถอดคำประพันธ์ พราหมณ์ ผู้เป็ นครูสังเกตเห็นดังนั้น ก็รู้ว่าเหล่ากษัตริย์ ลิจฉวีกำลังจะประสบความพินาศ จึงยินดีมากที่ ภารกิจประสบผลสำเร็จสมดังใจ หลังจากเริ่มต้นด้วยความบากบั่นและ ความอดทนของตน จึงให้ลองตีกลองนัดประชุมกษัตริย์ลิจฉวี เชิญทุกพระองค์เสด็จมายังที่ประชุม ฝ่ ายกษัตริย์วัชชีทั้งหลาย ทรงสดับเสียงกลองดังกึกก้อง ทุกพระองค์ไม่ทรงเป็ นธุระ ในการเสด็จไป ต่างองค์รับสั่งว่าจะเรียกประชุมด้วยเหตุใด เราไม่ได้เป็ นใหญ่ ใจก็ขลาด ไม่กล้าหาญ ผู้ใดเป็ นใหญ่ มีความกล้าหาญไม่มีผู้ใดเปรียบได้ พอใจจะเสด็จไปร่วมประชุมก็เชิญเขาเถิด จะปรึกษาหารือกัน ประการใดก็ช่างเถิด จะเรียกเราไปประชุมมองไม่เห็นประโยชน์ ประการใดเลย รับสั่งให้พ้นตัวไป และทุกพระองค์ก็ทรงเพิกเฉยไม่เสด็จ ไปเข้าร่วมการประชุมเหมือนเคย

20 ถอดคำประพันธ์ อุปัฏฐิตาฉันท์ 11 ชนะคล่องประสบสม ธก็ลอบแถลงการณ์ เห็นเชิงพิเคราะห์ ช่อง คมดลประเทศฐาน พราหมณ์ เวทอุดม ภิเผ้ามคธไกร สนว่ากษัตริย์ใน ให้วัลลภชน วลหล้าตลอดกัน กราบทูลนฤบาล คณะแผกและแยกพรรค์ ทเสมือนเสมอมา แจ้งลักษณสา ขณะไหนประหนึ่งครา วัชชีบุรไกร ก็ บ ได้สะดวกดี พยุห์ ยาตรเสด็จกรี บัดนี้สิก็แตก ริยยุทธโดยไวฯ ไป่ เป็ นสหฉัน โอกาสเหมาะสมัย นี้หากผิจะหา ขอเชิญวรบาท ธาทัพพลพี

21 ถอดคำประพันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นช่องทางที่จะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย พราหมณ์ ผู้รอบรู้พระเวทก็ลอบส่งข่าว ให้คนสนิทเดินทางกลับ ไปยังบ้านเมือง กราบทูลกษัตริย์แห่งแคว้นมคธอันยิ่งใหญ่ ในสาสน์ แจ้งว่ากษัตริย์วัชชีทุกพระองค์ขณะนี้ เกิดความแตกแยก แบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่สามัคคีกันเหมือนแต่เดิม จะหาโอกาสอันเหมาะสม ครั้งใดเหมือนดังครั้งนี้คงจะไม่มีอีกแล้ว ขอทูลเชิญพระองค์ยกกองทัพอันยิ่งใหญ่มาทำสงครามโดยเร็วเถิด ความต่อจากอุปัฎฐิตาฉันท์ อ่านในถอดความสามัคคีเภทคำฉันท์ ตอนที่ ๖ ไร้รักสามัคคี วัชชีเสียเมือง

22 ถอดคำประพันธ์ วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ( พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชี ) ข่าวเศิ กเอิกอึง ทราบถึงบัดดล ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี ชนบทบูรี แทบทุกถิ่นหมด หวาดกลัวทั่ วไป อกสั่นขวัญหนี หมดเลือดสั่นกาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ ตื่นตาหน้ าเผื อด ซ่ อนตัวแตกภัย หลบลี้หนีตาย ทิ้งย่านบ้านตน ชาวคามล่าลาด ซุกครอกซอกครัว ขุนด่านตำบล คิดผันผ่อนปรน เข้าดงพงไพร มาคธข้ามมา เหลือจักห้ามปราม ป่ าวร้องทันที รุกเบียนบีฑา พันหัวหน้ าราษฎร์ วัชชีอาณา หารือแก่กัน ป้ องกันฉันใด จักไม่ให้พล จึ่งให้ตีกลอง แจ้งข่าวไพรี เพื่อหมู่ภูมี ชุมนุมบัญชา

23 ถอดคำประพันธ์ ราชาลิจฉวี ไป่ มีสักองค์ อันนึ กจำนง เพื่อจักเสด็จไป เรียกนัดทำไม ต่างองค์ดำรัส กล้าหาญเห็นดี ใครเป็ นใหญ่ใคร ขัดข้องข้อไหน ตามเรื่องตามที เชิญเทอญท่านต้อง เป็ นใหญ่ยังมี ปรึกษาปราศรัย รุกปราศอาจหาญ ความแขงอำนาจ ส่วนเราเล่าใช่ แก่งแย่งโดยมาน ใจอย่างผู้ภี วัชชีรัฐบาล แม้แต่สักองค์ฯ ต่างทรงสำแดง สามัคคีขาด ภูมิศลิจฉวี บ่ชุมนุมสมาน

24 ถอดคำประพันธ์ ข่าวศึกแพร่ไปจนรู้ถึงชาวเมืองเวสาลี แทบทุกคนในเมือง ต่างตกใจและหวาดกลัวกันไปทั่ว หน้าตาตื่น หน้าซีดไม่มี สีเลือด ตัวสั่น พากันหนีตายวุ่นวาย พากันอพยพครอบครัวหนี ภัย ทิ้งบ้านเรือนไปซุ่มซ่อนตัวเสียในป่ า ไม่สามารถห้ามปราม ชาวบ้านได้ หัวหน้าราษฎรและนายด่านตำบลต่าง ๆ ปรึกษากัน คิดจะยับยั้งไม่ให้กองทัพมคธข้ามมาได้ จึงตีกลองป่ าวร้องแจ้ง ข่าวข้าศึกเข้ารุกราน เพื่อให้เหล่ากษัตริย์แห่งวัชชีเสด็จมา ประชุมหาหนทางป้ องกันประการใด ไม่มีกษัตริย์ลิจฉวีแม้แต่ พระองค์เดียวคิดจะเสด็จไป แต่ละพระองค์ทรงดำรัสว่าจะเรียก ประชุมด้วยเหตุใด ผู้ใดเป็ นใหญ่ ผู้ใดกล้าหาญ เห็นดีประการ ใดก็เชิญเถิด จะปรึกษาหารืออย่างไรก็ตามแต่ใจ ตัวของเรานั้น ไม่ได้มีอำนาจยิ่งใหญ่ จิตใจก็ขี้ขลาด ไม่องอาจกล้าหาญ แต่ละ พระองค์ต่างแสดงอาการเพิกเฉย ปราศจากความสามัคคี ปรองดองในจิตใจ กษัตริย์ลิจฉวีแห่งวัชชีไม่เสด็จมาประชุมกัน แม้แต่พระองค์เดียว

25 ถอดคำประพันธ์ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ติยรัชธำรง นคเรศวิสาลี ปิ่ นเขตมคธขัต พิเคราะห์ เหตุณธานี ยั้งทัพประทับตรง ขณะเศิ กประชิดแดน และมินึ กจะเกรงแกลน ภูธรธสังเกต รณทัพระงับภัย แห่งราชวัชชี บมิทำประการใด บุรว่างและร้างคน เฉยดูบรู้สึก สยคงกระทบกล ฤๅคิดจะตอบแทน ลุกระนี้ถนัดตา คิยพรรคพระราชา นิ่งเงียบสงบงำ รจะพ้องอนัตถ์ ภัย ปรากฏประหนึ่งใน รกกาลขว้างไป ดุจกันฉะนั้ นหนอ แน่ โดยมิพักสง กลแหย่ยุดีพอ ท่านวัสสการจน จะมิร้าวมิรานกัน ภินท์ พัทธสามัค ชาวลิจฉวีวา ลูกข่างประดาทา หมุนเล่นสนุกไฉน ครูวัสสการแส่ ปั่ นป่ วนบเหลือหลอ

26 ถอดคำประพันธ์ ครั้นทรงพระปรารภ ธุระจบธจึ่งบัญ ชานายนิ กายสรร พทแกล้วทหารหาญ ฬุคะเนกะเกณฑ์ การ เร่งทำอุฬุมป์ เว จรเข้านครบร เพื่อข้ามนทีธาร อดิศูรบดีศร ทิวรุ่งสฤษฎ์ พลัน เขารับพระบัณฑูร พยุหาธิทัพขันธ์ ภาโรปกรณ์ ตอน พลข้ามณคงคา พิ ศเนื องขนัดคลา จอมนาถพระยาตรา ลิบุเรศสะดวกดายฯ โดยแพและพ่วงปัน จนหมดพหลเนื่อง ขึ้นฝั่ งลุเวสา

27 ถอดคำประพันธ์ จอมกษัตริย์แห่ งแคว้นมคธหยุดทัพตรงหน้ าเมืองเวสาลี พระองค์ทรงสังเกตวิเคราะห์ เหตุการณ์ ทางเมืองวัชชีในขณะ ที่ข้าศึกมาประชิดเมือง ดูนิ่งเฉยไม่รู้สึกเกรงกลัว หรือคิดจะ ทำสิ่งใดโต้ตอบระงับเหตุร้าย กลับอยู่อย่างสงบเงียบไม่ ทำการสิ่งใด มองดูราวกับเป็ นเมืองร้างปราศจากผู้คน แน่ นอนไม่ต้องสงสัยเลยว่าคงจะถูกกลอุบายของ วัสสการพราหมณ์ จนเป็ นเช่นนี้ ความสามัคคีผูกพันแห่ง กษัตริย์ลิจฉวีถูกทำลายลงและจะประสบกับภัยพิบัติ ลูกข่าง ที่เด็กขว้างเล่นได้สนุกฉันใด วัสสการพราหมณ์ ก็สามารถ ยุแหย่ให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคีได้ตามใจชอบ และคิดที่จะสนุกฉันนั้น ครั้นทรงคิดได้ดังนั้นจึงมีพระราช บัญชาแก่เหล่าทหารหาญให้รีบสร้างแพไม้ไผ่เพื่อข้ามแม่น้ำ จะเข้าเมืองของฝ่ ายศัตรู พวกทหารรับราชโองการแล้วก็ ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับ ในตอนเช้างานนั้นก็เสร็จทันที จอมกษัตริย์เคลื่อนกองทัพอันมีกำลังพลมากมายลงในแพที่ ติดกัน นำกำลังข้ามแม่น้ำจนกองทัพหมดสิ้น มองดูแน่นขนัด ขึ้นฝั่ งเมืองเวสาลีอย่างสะดวกสบาย

28 ถอดคำประพันธ์ จิตรปทาฉันท์ 8 นิ วิสาลี พลมากมาย นาครธา ก็ลุพ้นหมาย เห็นริปุมี พระนครตน ข้ามติรชล มนอกเต้น มุ่งจะทลาย ตะละผู้คน มจลาจล ต่างก็ตระหนก อลเวงไป ตื่น บ มิเว้น มุขมนตรี ทั่ วบุรคา รุกเภทภัย เสียงอลวน ทรปราศรัย ขณะนี้หนอ สรรพสกล พระทวารมั่น ตรอมมนภี อริก่อนพอ บางคณะอา ชสภารอ ยังมิกระไร วรโองการ ก็จะได้ทำ ควรบริบาล รัสภูบาล ต้านปะทะกัน ก็เคาะกลองขาน ขัตติยรา ดุจกลองพัง ดำริจะขอ ทรงตริไฉน โดยนยดำ เสวกผอง อาณัติปาน

29 ถอดคำประพันธ์ ศัพทอุโฆษ ประลุโสตท้าว ขณะทรงฟัง ลิจฉวีด้าว และละเลยดัง ต่างธก็เฉย ธุระกับใคร ไท้มิอินัง ณ สภาคา บุรทั่ วไป ต่างก็บคลา และทวารใด แม้พระทวาร สิจะปิ ดมีฯ รอบทิศด้าน เห็นนรไหน

30 ถอดคำประพันธ์ ฝ่ ายเมืองเวสาลีมองเห็นข้าศึกจำนวนมากข้ามแม่น้ำมาเพื่อที่จะทำลายล้าง บ้านเมืองของตน ต่างก็ตระหนักตกใจกันถ้วนหน้า ในเมืองเกิดจราจลวุ่นวาย ไปทั่วเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่างหวาดกลัวภัย บางพวกก็พูดว่าขณะนี้ยังไม่เป็ นไรหรอก ควรจะป้ องกันประตูเมืองเอาไว้ ให้มั่นคง ต้านทานข้าศึกเอาไว้ก่อน รอให้ที่ประชุมเหล่ากษัตริย์มีความคิดเห็น ว่าจะทรงทำประการใด จะได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติของพระองค์ เหล่า ข้าราชการทั้งหลายก็ตีกลอง สัญญาณดังขึ้นราวกับกลองจะพัง เสียงดังกึกก้องไปถึงพระกรรณกษัตริย์ลิจฉวี ต่างองค์ทรงเพิกเฉยราวกับไม่เอาใจใส่กับเรื่องราวของผู้ใด ต่างองค์ไม่เสด็จไปที่ประชุม แม้แต่ประตูเมืองรอบทิศทุกบานก็ไม่มีผู้ใดปิ ด

31 ถอดคำประพันธ์ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 จอมทัพมาคธราษฎร์ ธ ยาตรพยุหกรี ธาสู่วิสาลี นคร โดยทางอันพระทวารเปิ ดนรนิกร ฤๅรอจะต่อรอน อะไร เบื้องนั้ นท่านคุรุวัสสการทิ ชก็ไป นำทัพชเนนทร์ไท มคธ เข้าปราบลิจฉวิขัตติย์รัฐชนบท สู่เงื้อมพระหัตถ์ หมด และโดย ไป่ พักต้องจะกะเกณฑ์ นิกาย พหลโรย แรงเปลืองระดมโปรย ประยุทธ์ ราบคาบเสร็จ ธ เสด็จลุราชคฤหอุต คมเขตบุเรศดุจ ณเดิม เรื่องต้นยุกติก็แต่จะต่อพจนเติม ภาษิตลิขิตเสริม ประสงค์ ปรุงโสตเป็ นคติสุนทราภรณจง จับข้อประโยชน์ ตรง ตริดู

32 ถอดคำประพันธ์ จอมทัพแห่งแคว้นมคธกรีธาทัพเข้าเมืองเวสาลีทางประตูเมืองที่ เปิ ดอยู่โดยไม่มีผู้คนหรือทหารต่อสู้ประการใด ขณะนั้น วัสสการพราหมณ์ ผู้เป็ นอาจารย์ก็ไปนำทัพของกษัตริย์แห่งมคธเข้า มาปรากษัตริย์ลิจฉวี อาณาจักรทั้งหมดก็ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ โดยที่กองทัพไม่ต้องเปลืองแรงในการต่อสู้ ปราบราบคาบแล้ว เสด็จยังราชคฤห์ เมืองยิ่งใหญ่ดังเดิมเนื้อเรื่องแต่เดิมจบลงเพียงนี้ แต่ประสงค์จะแต่งสุภาษิตเพิ่มเติมให้ได้รับฟังเพื่อเป็ นคติอันทรง คุณค่านำไปคิดไตร่ตรอง

33 ถอดคำประพันธ์ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ชอชาตศัตรู วประเทศสะดวกดี อันภูบดีรา วรราชวัชชี ได้ลิจฉวีภู ฑอนัตถ์ พินาศหนา คณะแตกและต่างมา แลสรรพบรรดา หสโทษพิโรธจอง ถึงซึ่งพิบัติบี ทนสิ้นบปรองดอง เหี้ยมนั้ นเพราะผันแผก ตริมลักประจักษ์เจือ ถือทิฐิมานสา รสเล่าก็ง่ายเหลือ คติโมหเป็ นมูล แยกพรรคสมรรคภิน ยนภาวอาดูร ขาดญาณพิจารณ์ ตรอง ยศศักดิเสื่อมนาม คุรุวัสสการพราหมณ์ เชื่ออรรถยุบลเอา กลงำกระทำมา เหตุหากธมากเมือ จึ่งดาลประการหา เสียแดนไผทสูญ ควรชมนิ ยมจัด เป็ นเอกอุบายงาม

34 ถอดคำประพันธ์ พุทธาทิบัณฑิ ต พิเคราะห์ คิดพินิจปรา รภสรรเสริญสา ธุสมัครภาพผล สุกภาวมาดล ว่าอาจจะอวยผา บนิ ราศนิ รันดร ดีสู่ณหมู่ตน คยพรรคสโมสร คุณไร้ไฉนดล หมู่ใดผิสามัค เพราะฉะนั้ นแหละบุคคล ไป่ ปราศนิราศรอน ธุระเกี่ยวกะหมู่เขา มุขเป็ นประธานเอา พร้อมเพรียงประเสริฐครัน บมิเห็นณฝ่ ายเดียว ผู้หวังเจริญตน นรอื่นก็แลเหลียว มิตรภาพผดุงครอง พึงหมายสมัครเป็ น ทมผ่อนผจงจอง ธูรทั่ วณตัวเรา มนเมื่อจะทำใด ควรยกประโยชน์ ยื่น ลุก็ปันก็แบ่งไป สุจริตนิ ยมธรรม์ ดูบ้างและกลมเกลียว ยั้งทิฐิมานหย่อน อารีมิมีหมอง ลาภผลสกลบรร ตามน้ อยและมากใจ

35 ถอดคำประพันธ์ พึงมรรยาทยึด สุประพฤติสงวนพรรค์ รื้อริษยาอัน อุปเฉทไมตรี ผิบไร้สมัครมี ดั่ งนั้ นณหมู่ใด รวิวาทระแวงกัน พร้อมเพรียงนิ พัทธ์นี สยคงประสบพลัน หิตะกอบทวิการ หวังเทอญมิต้องสง มนอาจระรานหาญ ซึ่งสุขเกษมสันต์ ก็เพราะพร้อมเพราะเพรียงกัน นรสูงประเสริฐครัน ใครเล่าจะสามารถ เฉพาะมีชีวีครอง หักล้างบแหลกลาญ ผิวใครจะใคร่ลอ พลหักก็เต็มทน ป่ วยกล่าวอะไรฝูง สละลี้ณหมู่ตน ฤๅสรรพสัตว์อัน บมิพร้อมมิเพรียงกัน สุขทั้งเจริญอัน แม้มากผิกิ่งไม้ ลุไฉนบได้มี มัดกำกระนั้ นปอง พภยันตรายกลี ติประสงค์ก็คงสม เหล่าไหนผิไมตรี คณะเป็ นสมาคม กิจใดจะขวายขวน ภนิ พัทธรำพึง ผิ วมีก็คำนึ ง อย่าปรารถนาหวัง จะประสบสุขาลัย ฯ มวลมาอุบัติบรร ปวงทุกข์พิบัติสรร แม้ปราศนิ ยมปรี ควรชนประชุมเช่น สามัคคิปรารม ไป่ มีก็ให้มี เนื่องเพื่อภิยโยจึง

36 ถอดคำประพันธ์ พระเจ้าอชาตศัตรูได้แผ่นดินวัชชีอย่างสะดวก และกษัตริย์ลิจฉวีทั้ง หลายก็ถึงซึ่งความพินาศล่มจม เหตุเพราะความแตกแยกกัน ต่างก็มีความยึดมั่นในความคิดของตน ผูกโกรธซึ่งกันและกัน ต่างแยกพรรค แตกสามัคคีกัน ไม่ปรองดองกัน ขาดปัญญาที่จะพิจารณาไตร่ตรอง เชื่อถ้อยความของบรรดาพระโอรส อย่างง่ายดาย เหตุที่เป็ นเช่นนั้นเพราะกษัตริย์แต่ละพระองค์ทรงมาก ไปด้วยความหลง จึงทำให้ถึงซึ่งความฉิบหาย มีภาวะความเป็ นอยู่ อันทุกข์ระทม เสียทั้งแผ่นดิน เกียรติยศ และชื่อเสียงที่เคยมีอยู่ ส่วนวัสสการพราหมณ์ นั้นน่าชื่นชมอย่างยิ่ง เพราะเป็ นเลิศในการกระทำกลอุบาย ผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็ นต้น ได้ใครครวญกล่าวพิจารณา สรรเสริญว่าชอบแล้ว ในเรื่องผลแห่งความพร้อมเพรียงกัน ความสามัคคีอาจอำนวยให้ถึงซึ่งสภาพแห่งความผาสุก ณ หมู่แห่งตน ไม่เสื่อมคลายตลอดไป หากหมู่ใดมีความสามัคคีร่วมชุมนุมกัน ไม่ห่างเหินกันสิ่งที่ไร้ประโยชน์ จะมาสู้ได้อย่างไร ความพร้อมเพรียง นั้นประเสริฐยิ่งนัก เพราะฉะนั้นบุคคลใดหวังที่จะได้รับความเจริญ แห่งตนและมีกิจธุระอันเป็ นส่วนร่วม ก็พึงตั้งใจเป็ นหัวหน้าเอาเป็ นธุระ ด้วยตัวของเราเองโดยมิเห็นประโยชน์ ตนแต่ฝ่ ายเดียว ควรยกประโยชน์ ให้บุคคลอื่นบ้าง นึกถึงผู้อื่นบ้าง ต้องกลมเกลียว มีความเป็ นมิตรกันไว้ ต้องลดทิฐิมานะ รู้จักข่มใจ จะทำสิ่งใดก็เอื้อเฟื้อ ไม่มีความบาดหมางใจ ผลประโยชน์ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นก็แบ่งปันกัน มากบ้างน้อยบ้างอย่างเป็ นธรรม ความทุกข์พิบัติอันตรายและ ความชั่วร้ายทั้งปวง ถึงแม้จะไม่ต้องการก็ต้องไ้ด้รับเป็ นแน่แท้ ผู้ที่อยู่ ร่วมกันเป็ นหมู่คณะหรือสมาคม ควรคำนึงถึงความสามัคคีอยู่เป็ นนิจ ถ้ายังไม่มีก็ควรจะมีขึ้น ถ้ามีอยู่แล้วก็ควรให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปจึงจะ ถึงซึ่งความสุขสบาย

37 คำศัพท์ยาก คำศัพท์ ความหมาย 1 กลถหา์ เหตุ ถ้อยคำ 2 กลห์ เหตุ เหตุแห่งการทะเลาะ 3 กสิก ชาวนา 4 ไกวล ทั่ วไป 5 ขัตติย์ กษัตริย์ 6 คดี เรื่อง 7 คม ไป 8 ชเนนทร์ 9 ทม ผู้เป็ นใหญ่ในชน (ชน + อินทร) 10 ทลิทภาว การข่มใจ 11 ทั่วบุรคาม ยากจน 12 ทิช ทั่ วบ้านทั่ วเมือง ผู้เกิดสองครั้ง คือ พราหมณ์

38 คำศัพท์ยาก คำศัพท์ ความหมาย 13 ทิน วัน 14 นครบร เมืองของข้าศึก 15 นย , นัย ความหมาย , เค้าความ 16 นยมาน ใจความสำคัญ 17 นรนิ กร ฝูงชน 18 นฤพัทธ , นิพัทธ์ เนืองๆ , เนื่องกัน 19 นฤสาร ไม่มีสาระ 20 นิ วัต กลับ 21 นีรผล ไม่เป็ นผล 22 ประเด มอบให้หมด 23 ประศาสน์ การสั่งสอน 24 ปรากรม ความเพียร

39 คำศัพท์ยาก คำศัพท์ ความหมาย 25 ปรุงโสต ในที่นี้หมายถึง แต่งให้ไพเราะน่าฟัง 26 ปลาต หายไป 27 ปวัตน์ ความเป็ นไป \"ปวัตติ์\" ก็ได้ 28 พฤฒิ ผู้เฒ่า 29 พิเฉท ตัดขาด , ทำลาย 30 พิชากร วิชาความรู้ 31 พุทธาทิบัณฑิ ต ผู้รู้ มีพระพุทธเจ้าเป็ นอาทิ 32 ภัต ข้าว 33 ภาโรปกรณ์ ในที่นี้หมายถึง ทำสิ่งที่ได้รับมอบหมาย 34 ภินท์พัทธสามัคคิย การแตกความสามัคคี 35 ภิยโย ยิ่งๆ ขึ้น 36 ภีรุก ขลาด , กลัว

40 คำศัพท์ยาก คำศัพท์ ความหมาย 37 ภูมิศ กษัตริย์ 38 มน ใจ 39 มนารมณ์ สมดังที่ตั้งใจ ความถือตัว 40 มาน ยุติ , จบสิ้น 41 ยุกติ ที่ลับ , ที่สงัด 42 รหุฐาน ในที่นี้หมายถึง จดหมาย 43 ลักษณสาสน เค้า 44 เลา อุบายหลอกลวง 45 วัญจโนบาย คนสนิ ท 46 วัลลภชน ผิดปกติ 47 วิรุธ การแตกสามัคคี 48 สมรรคภินทน

41 คำศัพท์ยาก คำศัพท์ ความหมาย 49 สมัครภาพ ความสามัคคี 50 สหกรณ หมู่เหล่า 51 ส่ำ หมู่ , พวก 53 สิกขสภา ห้องเรียน 54 สุขาลัย สถานที่ที่มีความสุข 55 เสาวน ฟัง 56 เสาวภาพ สุภาพ 57 หายน์ , หายน ความเสื่อม 58 หิตะ 59 เหี้ยมนั้น ประโยชน์ 60 อนัตถ์ เหตุนั้ น 61 อนุกรม ไม่เป็ นประโยชน์ ตามลำดับ

42 คำศัพท์ยาก คำศัพท์ ความหมาย 62 อภิเผ้า ผู้เป็ นใหญ่ 63 อาคม มา มาถึง 64 อุปเฉทไมตรี ตัดไมตรี 65 อุรส โอรส ลูกชาย 66 อุฬุมป์ เวฬุ แพไม้ไผ่ 67 เอาธูร เอาเป็ นธุระ 68 เอาภาร รับภาระหรือรับผิดชอบ

43 วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี ( สามัคคีเภทคำฉันท์ ) ด้านวรรณศิลป์ การเล่นเสียงพยัญชนะ เช่น ดั่งนั้น ณ หมู่ใด ผิว บ ไร้สมัครมี พร้อมเพียงนิ พัทธ์นี รวิวาทระแวงกัน การเล่นเสียงสัมผัสสระ เช่น ใครเล่าจะสามารถ มนอาจระรานหาญ หักล้าง บ แหลกลาญ ก็เพราะพร้อมเพราะเพรียงกัน การเล่นเสียงวรรณยุกต์ เช่น แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง มัดกำกระนั้ นปอง พลหักก็เต็มทน

44 วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี ( สามัคคีเภทคำฉันท์ ) ด้านวรรณศิลป์ การใช้วรรณศิลป์ สร้างสุนทรียภาพด้านความหมาย มีการใช้ความเปรียบ เพื่อให้เข้ามจความคิด เช่น เรื่องการปลุกปั่ น เรื่องความสามัคคี เช่น ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป หมุนเล่นสนุกไหม ดุจกันฉะนั้ นหนอ เช่น แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง มัดกำกันนั้ นปอง พลหักก็เต็มตน การใช้โวหารภาพพจน์ การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์ เช่น การเปรียบเทียบโดยนัย ไม่กล่าวเปรียบ เทียบตรง ๆ อย่างอุปมาอุปไมย แต่ผู้อ่านก็พอจะจับเค้าได้จากคำที่ผู้แต่งใช้ ตอนวัสสการพราหมณ์ กล่าวเปรียบเทียบทหารของแคว้นวัชชีกับทหารของแคว้นมคธ ว่า เช่น \"หิ่งห้อยสิแข่งสุริยะไหน จะมิน่ าชิวาลาญ” ผู้อ่านย่อมจะเข้าใจได้ว่า หิ่งห้อยนั้น หมายถึง กองทัพมคธ ส่วนสุริยะนั้น หมายถึง กองทัพวัชชี

45 วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี ด้านสังคม 1. การเมืองการปกครอง 2. การศึกษา ในอดีตกษัตริย์หรือราชกุมารจะได้รับการศึกษาจากอาจารย์ผู้ชำนาญ ในวิทยาการต่างๆเพราะถือเป็ นผู้ที่มีบทบาทในการปกครองบ้านเมือง 3. การขยายอาณาเขต พระมหากษัตริย์ที่ปกครองแคว้นต่างๆจะขยายอาณาเขตให้กว้างขวาง ขึ้นเรื่อยๆโดยการสู้รบเพื่อยึดครองดินแดนที่อ่อนแอกว่ามาเป็ นของ ตนเองและหากดิ นแดนที่ยึดครองได้นั้ นมีความรุ่งเรืองมากก็ยิ่งจะแสดง ถึงชัยชนะและความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ผู้ที่ได้ครอบครองมากเท่านั้ น ด้านการนำไปใช้ ให้ข้อคิดหรือคติธรรม โดยมุ่งแสดงให้เห็นโทษของการแต่ความ สามัคคี หรือ \"สามัคคีเภท\" เนื่องมาจากการไม่ยึดมั่นใน \"อปริหานิย ธรรม\" (คือ ธรรมอันไม่เป็ นที่ตั้งแห่งความเสื่อมหรือความหายนะ) ของ ชาวแคว้นวัชชี ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูสามารถเข้ายึดเมืองได้อย่าง ง่ายดาย อันแสดงให้เห็นถึงการขาดสติปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่าง ถี่ถ้วนของบรรดากษัตริย์ลิจฉวี จนทำให้ตนและส่วนรวมถึงแก่ความ พินาศ ต่างจากฝ่ ายพระเจ้าอชาตศัตรู ที่อาศัยการใช้สติปัญญาจน สามารถยึดครองแคว้นวัชชีได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้กำลัง

46 บรรณานุกรม กัลยาณี ถนอมแก้ว. (๒๕๕๗). ถอดความสามัคคีเภทคำฉันท์ในบทเรียน (๑). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/330820 สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ กัลยาณี ถนอมแก้ว. (๒๕๕๗). ถอดความสามัคคีเภทคำฉันท์ในบทเรียน (๒). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/330832 สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ กัลยาณี ถนอมแก้ว. (๒๕๕๗). ถอดความสามัคคีเภทคำฉันท์ในบทเรียน (๓). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/332007 สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ กัลยาณี ถนอมแก้ว. (๒๕๕๗). ถอดความสามัคคีเภทคำฉันท์ในบทเรียน (๔). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/332012 สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ กัลยาณี ถนอมแก้ว. (๒๕๕๗). ถอดความสามัคคีเภทคำฉันท์ในบทเรียน (๕). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/310307 สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ Unknown. เนื้อหาสามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://so06.tci-thaijo.org/index.php สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ Unknown. ผู้แต่ง จุดประสงค์ ที่มาของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/406381 สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ Unknown. ลักษณะคำประพันธ์สามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/a/watpa.ac.h สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ Unknown. เนื้อเรื่องย่อสามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : หนังสือวรรณคดีและวรรณกรรม ม.๖ หน้า ๙๒ สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ Unknown. คำศัพท์ยากสามัคคีเภทคำฉันท์. เข้าถึงได้จาก : หนังสือวรรณคดีและวรรณกรรม ม.๖ หน้า ๑๐๘ - ๑๑๐ สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ Unknown. คุณค่าวรรณคดีสามัคคีเภทคำฉันท์. เข้าถึงได้จาก : หนังสือวรรณคดีและวรรณกรรม ม.๖ หน้า ๑๐๔ - ๑๐๗ สืบค้น ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook