มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 96 มากกว่าให้ประโยชน์ คนท่ีมีความรู้แต่ไม่มีจริยธรรมจึงมักเป็นคนที่ก่อความรำคาญหรือเดือดร้อน ใหแ้ ก่ผ้อู ่ืนอยูเ่ นอื ง ๆ” 2. การพัฒนาบ้านเมือง ต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรืออย่างน้อยก็ให้พร้อม ๆ ไปกับการ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่น ๆ เพราะการพัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนำน้ัน จะสูญเปล่าและเกิดผลเสียเป็นอันมากทำให้บุคคลลุ่มหลงในวัตถุและอบายมุข การที่เศรษฐกิจต้อง เส่ือมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคมละเลยจริยธรรม กอบโกยทรัพย์สินเป็นประโยชน์ สว่ นตัวมากเกินไปขาดความเมตตาปราณี แลง้ นำ้ ใจในการดำเนนิ ชวี ติ ซึง่ กันและกนั 3. จริยธรรม มไิ ด้หมายถงึ การถือศีล กนิ เพล เขา้ วัดฟังธรรม จำศลี ภาวนา โดยไม่ชว่ ยเหลือ ทำประโยชน์ให้แก่สังคม แต่จริยธรรมหมายถึงความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้อง เหมาะสมการทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เว้นส่ิงควรเว้น ทำส่ิงควรทำ ด้วยความฉลาด รอบคอบ รู้เหตุรู้ผลถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล ดังน้ันจะเห็นว่าจริยธรรมจึงจำเป็นและมีคุณค่า สำหรับทุกคนในทุกวชิ าชีพทุกสังคม สงั คมจะอย่รู อดดว้ ยจริยธรรม 4. การทุจริต คดโกง การเบียดเบียนกันในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้สังคมเส่ือมโทรม มีสาเหตุมาจากการขาดจริยธรรมของคนในสังคม ทรัพยากรธรรมชาติในโลกนี้น่าจะพอเล้ียงชาวโลก ไปได้อีกนาน ถ้าชาวโลกช่วยกันละทิ้งความละโมบโลภมาก แล้วมามีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ช่วยกัน สร้างสรรค์สังคม ยึดเอาจริยธรรมเป็นทางดำเนินชีวิต ไม่ใช่ยึดเอาลาภยศความมีหน้ามีตาในสังคม เป็นจุดหมาย ถ้าสิ่งน้ันจะเกิดข้ึนก็ถือเป็นเพียงผลพลอยได้และนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประพฤติ ธรรม เช่น อาศัยลาภผลเป็นเคร่ืองมือในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อาศัยยศและความมีหน้า มีเกยี รตใิ นสงั คมเปน็ เครอื่ งมอื ในการจงู ใจคนผเู้ คารพนบั ถือเข้าหาธรรม 5. จริยธรรมสอนให้เราเลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน ให้เอาใจใส่ดูแลเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ ซ่ึงเป็น บุพการีของชาติ สอนให้เราถ่อมตัวเพ่ือเข้าหากันได้ดีกับคนทั้งหลาย และไม่วางโตโอหังอวดดี หรือก้าวร้าวผู้อื่น สอนให้เราลดทิฐิมานะลงให้มาก ๆ เพื่อจะได้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความจริง ไม่หลงสำคัญตัวว่ารู้ดีกว่า มีความสามารถกว่าใคร ผู้นำท่ีมีจริยธรรมสูงย่อมเป็นท่ีเคารพกราบไหว้ ของท้ังหลายได้อย่างสนิทใจ เราควรเลือกผู้นำที่สามารถนำความสงบสุขทางใจมาสู่มวลชนได้ด้วย เพื่อสันติสุขจะเกิดขึ้นท้ังภายในและภายนอก ความแข็งแกร่งทางกำลังกายกำลังทรัพย์และอาวุธนั้น ถ้าปราศจากความแข็งแกร่งทางจริยธรรมเสียแล้ว บุคคลหรือประเทศชาติจะมั่นคงอยู่ได้ไม่นาน สังคมท่ีเจริญม่ันคงต้องมีจริยธรรมเป็นเคร่ืองรับรอบหรือเป็นแกนกลาง เหมือนถนนท่ีมั่นคงหรือตึก ท่ีแข็งแรง เขาใช้คอนกรีตเสริมเหล็กแม้เหล็กจะไม่ปรากฏออกมาให้เห็นภายนอก แต่มีความสำคัญ อยู่ภายในนายช่างย่อมรู้ดี ทำนองเดียวกันกับบัณฑิตย่อมมองเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่าจริยธรรม มีความสำคญั ในสังคมเพียงใด
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 97 ลำดวน ศรมี ณี (2543 หนา้ 12-13) ได้สรปุ ความสำคญั ของจริยธรรม ไวว้ า่ 1. เพ่ือเป็นหลักปฏิบัติให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยท่ีมนุษย์เป็นสัตว์สังคมท่ีชอบ อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ โดยมีกฎระเบียบประเพณีอย่างใดอย่างหน่ึงเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อเป็นเครื่อง ผูกพันไม่ให้เบียดเบียนซ่ึงกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประพฤติปฏิบัติในทางท่ีดีงาม ตลอดทั้ง ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดี ประโยชนท์ ่ไี ด้รับคอื ความสงบสขุ ทางร่างกายในสงั คม 2. เพอ่ื เป็นหลักใหเ้ ศรษฐกิจสมบรู ณ์ จากการที่ไดม้ ีการวางหลักการจดั สงั คมมนุษย์ไว้หลาย อย่างที่สำคัญท่ีสุดมี 2 อย่าง คือ ศาสนาและเศรษฐกิจ โดยศาสนาเกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรม เป็นเรื่องของจิตใจ ถ้ามนุษย์รู้จักควบคุมตนเองได้ รู้จักใช้ปัจจัยส่ีอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม สังคมก็สงบสุข ส่วนเศรษฐกิจเป็นเรื่องทางวัตถุ ซึ่งเช่ือว่าถ้ามนุษย์มีปัจจัยสี่บริบูรณ์ มีการจัดสรร แบง่ ปันอย่างมีคณุ ธรรมจริยธรรม สังคมกจ็ ะสงบสขุ ตามความตอ้ งการของมนุษย์ 3. เพื่อเป็นหลักให้สังคมเกิดความเจริญก้าวหน้า เน่ืองจากจริยธรรมมีความจำเป็นต่อชีวิต และจิตใจของมนุษย์ ทำให้บุคคลมีหลักปฏิบัติชีวิตที่ดีขึ้นก้าวหน้าข้ึน ปกครองตนเองได้ ทำให้คน เป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์แบบ เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมอันมีประโยชน์ต่อชีวิตและจิตใจของมนุษย์ ในสังคมส่วนรวม เป็นบ่อเกิดแห่งความเจริญท้ังหลายท่ีเรียกว่า “วัฒนธรรม อารยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี” ท่ีสำคัญท่ีสุดคือจริยธรรมมีประโยชน์แสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้า อันยิ่งใหญท่ างด้านจติ ใจของมนษุ ยชาตใิ นสังคมโลก ประมวลจรยิ ธรรมสำหรับครู พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 84 (2547, หน้า 52) กำหนดให้ วรรคแรก ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ ราชการด้วยความซ่ือสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยัน หม่ันเพียร ดูแล เอาใจใส่ รักษาประโยชน์ของทางราชการ และต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ วิชาชีพอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ยังต้องการประพฤติปฏิบัติ ตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรอื น และ ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ดงั น้ี 1. ประมวลจริยธรรมขา้ ราชการพลเรอื น โดยท่ีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 76 วรรคสามบัญญัติ ให้รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพ่ือให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวล จริยธรรมสำหรบั เจ้าหน้าท่ีของรฐั ในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดงั กล่าว และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 5 ได้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 98 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าท่ีของรัฐเพ่ือใช้เป็นหลักส ำคัญ ในการจดั ทำประมวลจรยิ ธรรมของหนว่ ยงานของรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ซ่ึงบัญญัติให้องค์กรกลาง บรหิ ารงานบคุ คลของหนว่ ยงานของรฐั มีหน้าทีจ่ ัดทำประมวลจริยธรรมสำหรบั เจา้ หน้าท่ขี องรัฐที่อยู่ใน ความรับผิดชอบ ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การ จัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2563 ก.พ. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน จึงจัดทำประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน เพ่ือใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตน และรักษา คณุ งามความดที ี่ข้าราชการต้องยดึ ถอื ในการปฏิบัติงาน ดงั ต่อไปน้ี ขอ้ 1 ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนนี้ให้ใช้บังคับตงั้ แต่วันถัดจากวันประกาศในราช กจิ จานุเบกษาเปน็ ตน้ ไป ข้อ 2 ข้าราชการพลเรอื นพงึ ปฏบิ ตั ติ นเพ่ือรกั ษาจรยิ ธรรม ดงั ตอ่ ไปน้ี (1) ยึดม่ันในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยการแสดงออกถึงความภูมิใจ ในชาตแิ ละรักษาผลประโยชน์ของชาติ ปฏบิ ัติตามหลักศาสนาทีต่ นนับถือ เคารพในความแตกต่างของ การนบั ถอื ศาสนา ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และเทดิ ทนู รกั ษาไวซ้ ึง่ สถาบนั พระมหากษตั รยิ ์ (2) ซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าท่ีอย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมายและตามท ำนอง คลองธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ ไม่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีนัยเป็นการแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ รับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความพรอ้ มรับการตรวจสอบและรับผิด มีจิตสำนึกท่ีดี โดยคำนึงถึง สังคม ส่งิ แวดล้อม สทิ ธมิ นษุ ยชน และเคารพต่อศกั ด์ศิ รคี วามเป็นมนษุ ย์ (3) กล้าตัดสินใจและยืนหยัดทำในสิ่งท่ีถูกต้องชอบธรรม กล้าคัดค้านในส่ิงท่ีไม่ถูกต้อง กล้าเปิดเผยหรือรายงานการทุจริตประพฤติมิชอบต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติ หน้าที่โดยปราศจากอคติ และไม่ยอมกระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมเพียงเพื่อรักษาประโยชน์หรือ สถานภาพของตนเอง (4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เสียสละ มีจิตสาธารณะ สามารถแยกเร่ืองส่วนตัวออกจากหน้าท่ีการงาน ไม่กระทำการอันมีลักษณะ เป็นการขดั กันระหวา่ งประโยชน์ส่วนบคุ คลและประโยชน์สว่ นรวม และไม่ประกอบกจิ การหรือเขา้ ไป เก่ียวขอ้ งกับผลประโยชนอ์ นั เกดิ จากการปฏบิ ัติหนา้ ที่ของตน (5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ และคุณภาพของงาน ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ทันต่อเวลาและสถานการณ์ คำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของรัฐ รักษา
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 99 มาตรฐานการทำงานท่ีดี พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เช่ือม่ันในระบบ การทำงานเป็นทมี ให้บรกิ ารแกป่ ระชาชนด้วยความเต็มใจ และเปิดเผยข้อมลู ขา่ วสารทีถ่ กู ตอ้ ง (6) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติโดยการใช้ ความรู้สึกหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเหตุผลของความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะทางเศรษฐกิจสังคม และต้องรักษาความเป็นกลางทางการเมืองโดยไม่อาศัย ตำแหนง่ หน้าทซี่ ึง่ อาจมีลกั ษณะเปน็ การให้คุณให้โทษแก่นกั การเมืองและพรรคการเมอื ง (7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างด้วยการเป็นข้าราชการที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทาง ราชการ พึงปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชน ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อ้างหรือใช้อำนาจโดยปราศจากเหตุผล ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายโดยน้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบรมราโชวาท หลักคำสอนทางศาสนามาปรับใช้ และปฏิบัติตน เปน็ พลเมอื งดดี ว้ ยการเคารพกฎหมายและมวี ินัย ข้อ 3 หากข้าราชการพลเรือนผู้ใดจะต้องยึดถือหรือปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพตามกฎหมาย หรอื ข้อบังคับอ่ืนใดท่ีกำหนดไว้โดยเฉพาะ นอกจากจะต้องรักษาจริยธรรมตามท่ีบัญญัติไว้ในประมวล จริยธรรมข้าราชการพลเรอื นน้แี ลว้ จะต้องยึดมน่ั ในจรรยาวชิ าชีพนั้นด้วย ข้อ ๔ การจัดทำแนวทางการปฏิบัติตนของข้าราชการพลเรือนตามประมวลจริยธรรม ข้าราชการพลเรอื นน้ี ใหเ้ ป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด ขอ้ ๕ ให้กรรมการ พนกั งานราชการ พนกั งาน ลูกจ้าง และผูป้ ฏบิ ตั งิ านอนื่ ยึดถอื ปฏิบัติ ตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนนดี้ ้วย (ราชกจิ จานเุ บกษา. (2564). เล่ม 138 หนา้ 8-9) 2. ประมวลจริยธรรมข้าราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา โดยท่ีเป็นการสมควรให้มีประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษ า เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562 ซ่ึง กำหนดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรมเป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ ของรัฐเพอื่ ใชเ้ ปน็ หลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรมของหนว่ ยงานของรัฐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหน่ึง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ก.ค.ศ. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาจึงกำหนดประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพ่ือใช้เป็นหลักในการ ประพฤตปิ ฏิบตั ขิ องข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา ไว้ดงั ต่อไปน้ี ข้อ 1 ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ มีผลใช้บังคับต้ังแต่วัน ถัดจากวนั ประกาศในราชกจิ จานุเบกษา ข้อ 2 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศกึ ษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบยี บข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 100 ข้อ 3 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเพ่ือรักษาจริยธรรม ทก่ี ำหนดไวอ้ ยา่ งเครง่ ครดั อยู่เสมอ ดังนี้ (1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมขุ (2) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าท่ีและต่อผู้เกี่ยวข้องในฐานะ ขา้ ราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษา (3) กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก และกระทำในสิง่ ท่ถี กู ต้องชอบธรรม (4) มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มุ่งป ระโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว หรือพวกพ้อง (5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ที่สะทอ้ นถงึ คณุ ภาพผเู้ รียนและคณุ ภาพการศึกษา (6) ปฏิบัติหน้าทอ่ี ยา่ งเป็นธรรมและไม่เลอื กปฏบิ ตั ิ (7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างท่ีดีและรักษาภาพลักษณ์ของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา (8) เคารพในศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ คำนึงถึงสิทธิเด็ก และยอมรับความแตกต่าง ของบคุ คล ข้อ 4 หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดจะต้องยึดถือหรือปฏิบัติตาม จรรยาบรรณของวิชาชีพตามกฎหมายหรือข้อบังคับอ่ืนใดที่กำหนดไวโ้ ดยเฉพาะ นอกจากจะต้องรกั ษา จริยธรรมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลจริยธรรมข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษานี้แล้ว จะต้อง ยึดมัน่ ในจรรยาบรรณของวชิ าชพี น้นั ด้วย ข้อ 5 การจัดทำแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาตามประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาน้ี ให้เป็นไปตามท่ี ก.ค.ศ. กำหนด ข้อ 6 ให้พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอ่ืนในหน่วยงานการศึกษา ประพฤติปฏบิ ตั ิตนตามประมวลจริยธรรมข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษานีด้ ว้ ย ข้อ 7 ให้ประธาน ก.ค.ศ. รักษาการตามประมวลจริยธรรมนี้ (ราชกิจจานุเบกษา, 2564, หนา้ 67-68)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 101 การปลกู ฝังคุณธรรมจรยิ ธรรมสำหรับครู วิธีปลูกฝังจริยธรรมตามแนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ไม่อาจกระทำได้ด้วยการสอน หรือการปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ดู และไม่อาจเรียนรู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ จริยธรรมสอนกันไม่ได้ จริยธรรมพัฒนาขึ้นมาด้วยการนึกคิดของแต่ละบุคคล ตามลำดับข้ันและพัฒนาการของปัญญา ซ่ึงผูกพันกับอายุ ดังน้ันหากยังไม่ถึงวัยอันควร จริยธรรมบางอย่างก็ไม่เกิด (ชัยพร วิชชาวุธ และ ธีระ พร อุวรรณโณ, 2534 หนา้ 96) ทฤษฏีการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผล (moral reasoning) ของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใช้กิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาจริยธรรมคือ การอภิปรายและแลกเปล่ียนทัศนะความคิดเห็น โดยมี ขัน้ ตอนดงั นี้ ข้ันตอนท่ี 1 ผดู้ ำเนินการเสนอประเดน็ ปญั หาหรอื เรอ่ื งราวที่มคี วามยากแก่การตดั สนิ ใจ ขัน้ ตอนที่ 2 แยกผู้อภปิ รายออกเป็นกลมุ่ ย่อยตามความคิดเห็นท่แี ตกตา่ งกัน ขั้นตอนที่ 3 ให้กล่มุ ยอ่ ยอภิปรายเหตุผล พรอ้ มหาข้อสรปุ วา่ เหตุผลท่ถี ูก – ผิด หรือควรทำ ไม่ควรทำ เพราะเหตอุ ะไร ขั้นตอนที่ 4 สรุปเหตุผลของฝา่ ยท่ีคดิ วา่ ควรทำและไมค่ วรทำ จากที่กล่าวมาจะพบว่าแนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใกล้เคียงกับเพียเจต์ ( Piaget) คือ เชือ่ วา่ พัฒนาการทางจรยิ ธรรมของมนุษย์พฒั นาการได้ตามวัย และวุฒิภาวะทางสตปิ ัญญา พัฒนาการ ทางจริยธรรมของมนุษย์ไม่ใช่การป้อนรูปแบบ กล่าวคือดูรูปหนึ่งจบแล้ว ดูอีกรูปหนึ่งโดยที่รูปแรกไม่ ปรากฏในสายตาอีกต่อไป แต่พัฒนาการของมนุษย์จะค่อยๆพัฒนาไปตามวัน เวลา เจริญข้ึนเรื่อย ๆ ตามวุฒิภาวะ จริยธรรมเก่ายังจะมีรากแก้วฝังอยู่ และพัฒนาตามกาลเวลาที่มนุษย์มีวุฒิภาวะเพ่ิมข้ึน เกิดเป็นจริยธรรมใหม่ข้ึน จริยธรรมไม่ได้สร้างขึ้นภายในหนึ่งวัน คนจะมีอุปนิสัยดีงามต้องสร้างเสริม และสะสมจากการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมด้วยกระบวนการทางสังคม และจะเรียนรู้ได้ตาม ความสามารถของวุฒภิ าวะ ซ่งึ กำหนดโดยปฏิสัมพนั ธร์ ะหว่างพันธุกรรมกบั สิ่งแวดล้อม วิธีปลูกฝังจริยธรรมตามแนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ไม่อาจกระทำได้ด้วยการสอน หรือการปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ดู และไม่อาจเรียนรู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ จริยธรรมสอนกันไม่ได้ จริยธรรมพัฒนาขึ้นมาด้วยการนึกคิดของแต่ละบุคคล ตามลำดับขั้นและพัฒนาการของปัญญาซ่ึง ผูกพันกับอายุ ดังน้ันหากยังไม่ถึงวัยอันควร จริยธรรมบางอย่างกไ็ ม่เกิด (ชัยพร วิชชาวุธ และ ธีระพร อุวรรณโณ, 2534, หน้า 96)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 102 บทสรุป คำว่า “คุณธรรม” (moral) ประกอบด้วยคำว่า “คุณ” คือ ความดีท่ีประจำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ และคำว่า “ธรรม” คือ คุณความดี หมายถึง สภาพคุณงามความดีท่ีมีอยู่ในตัวบุคคล เป็นคุณสมบัติ ที่เสริมสร้างจิตใจให้ดีงาม เป็นผู้จิตใจที่สูง ประณีต และประเสริฐ ส่วนคำว่า “จริยธรรม” (ethics) มาจากภาษากรีกสองคำ ไดแ้ ก่ “ศีลธรรม” กับ “อุปนสิ ยั ” จรยิ ธรรม ประกอบดว้ ยคําว่า จริย แปลว่า พึงประพฤติ, พึงปฏิบัติ, พึงดำเนิน กับคําว่า ธรรม ซึ่งมีความหมายหลายอย่าง ความหมายหน่ึงก็คือ หลักการ ดังนั้น คําว่า จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งการประพฤติปฏิบัติของกลุ่มคนหรือบุคคลท่ี สอดคลอ้ งกบั หลักศลี ธรรมทางศาสนา ขนบประเพณี วฒั นธรรมอันดีงาม คุณธรรมและจริยธรรม มีความสำคัญในการเป็นเครื่องธำรงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมบุคลิกภาพ เสริมมิตรภาพ สร้างความสบายใจ เป็นเครื่องส่งเสริมความสำเร็จ ความม่ันคง ในการประกอบอาชีพการงาน และการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความสงบสุข และความเจริญให้แก่ประเทศชาติโดยส่วนรวม ฉะนั้นผู้ที่ต้องการความสงบสุขและความเจริญจึงต้อง ฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ท้ังน้ี มิใช่เพียงเพื่อให้ตนเองสงบสุขและมีความเจริญ เป็นการส่วนตัวเพียงผู้เดียวเท่าน้ัน แต่ยังส่งผลให้ประเทศชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวมมีความสงบสุข และเจริญรุ่งเรืองด้วย การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม หรือหลักธรรมคำสอนทางศาสนาทำให้เกิด คณุ ประโยชน์ท้ังต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ ทำให้บุคคลเป็นผู้มคี วามเจริญก้าวหน้าและ มีความม่ันคงในอาชีพการงาน ได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลโดยท่ัวไปท้ังเพื่อนร่วมงานและ สมาชกิ ในสงั คม คุณธรรมสำหรับผู้ประอบวิชาชีพครูตามหลักพุทธศาสนา ประกอบด้วย (1) โลกบาลธรรม (2) ศีล 5 หรือ เบญจศีล (3) สจุ ริต 3 (4) สันโดษ 3 (5) อริยสจั 4 (6) ฆราวาสธรรม 4 (7) พละ 4 (8) พรพมวหิ าร 4 หรอื พรหมวิหารธรรม (9) อทิ ธิบาท 4 (10) อคติ 4 (11) อบายมุข 6 (12) กลั ยาณมติ ร ธรรม 7 (13) สปั ปุรสิ ะธรรม 7 (14) มรรค 8 (15) ทศพธิ ราชธรรม หรอื ราชธรรม 10 จรยิ ธรรมมแี หล่งทม่ี าจากปรัชญาที่ว่าดว้ ยหลักแห่งความร้แู ละความจริง คำสอนของศาสดา ในศาสนาต่าง ๆ วรรณคดี ส่ิงท่ีสังคมกำหนดนับถือร่วมปฏิบัติด้วยกัน ตลอดการเมืองการปกครอง ระดับจริยธรรม (1) ระดับโลกียธรรม โลกียธรรม ไดแ้ ก่ ธรรมอันเป็นวิสยั ของ (2) ระดับโลกุตตรธรรม โลกุตตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก จริยธรรมท้ังสองระดับนี้ ความสำคัญอยู่ที่การ ประพฤติปฏิบตั ิ การปฏิบัติ องคป์ ระกอบของจรยิ ธรรม (1) ด้านความรู้ (2) ดา้ นอารมณ์ความรสู้ กึ (3) ด้านพฤติกรรม ซ่ึง ทฤษฏีทางจิตวิทยาท่ีเกี่ยวข้องกับจริยธรรม (1) ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget is Theory of lntellectual Development) (2) ทฤษฎีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kolberg) (3) ทฤษฎีจิตวเิ คราะห์ (Psychoanalytic Theory) (4) ทฤษฎคี วามตอ้ งการของมาสโลว์ (Maslow is Theory of Need Gratification)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง103 ความสำคัญของจริยธรรม (1) จริยธรรมเป็นรากฐานอันสำคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง (2) การพัฒนาบ้านเมือง ต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรืออย่างน้อยก็ให้พร้อม ๆ ไปกับการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอ่ืน ๆ (3) จริยธรรมหมายถึงความประพฤติ การกระทำ และความคิดที่ถูกต้องเหมาะสมการทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์ (4) การทุจริต คดโกง การเบียดเบียนกันในรปู แบบต่าง ๆ อนั เป็นเหตุให้สังคมเสือ่ มโทรม มีสาเหตุมาจากการขาดจริยธรรม ของคนในสังคม (5) จริยธรรมสอนให้เราเลิกดูหม่ินกดขี่คนจน ให้เอาใจใส่ดูแลเอ้ืออาทรต่อผู้สูงอายุ ซ่งึ เป็นบุพการีของชาติ โดยผู้ประกอบวชิ าชีพครูควรประพฤติปฏิบัตติ ามประมวลจริยธรรมสำหรับครู (1) ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน (2) ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของตนเอง ท้ังนี้เนื่องจากจริยธรรม พฒั นาข้ึนมาด้วยการนึกคดิ ของแตล่ ะบคุ คล ตามลำดบั ขั้นและพัฒนาการของปัญญา ซ่ึงผูกพนั กับอายุ ดงั นัน้ ผ้เู ปน็ ครูควรหมัน่ ฝกึ ฝนและพฒั นาตนเองให้เป็นผ้ทู ีม่ ีคุณธรรมและจริยธรรมเพิ่มขน้ึ ตามลำดับ คำถามทบทวน หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงอธิบายข้อความหรือตอบคำถามต่อไปนี้ ใหถ้ กู ตอ้ งชดั เจน 1. คำว่า “ความรู้คู่คุณธรรม” เป็นคำพูดท่ีนิยมใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน ตามความเข้าใจ ของทา่ นแลว้ คิดว่ามีลกั ษณะอย่างไร 2. คณุ ธรรม มีความหมายและความสำคญั อยา่ งไร 3. ประเภทคณุ ธรรมได้ถูกแบ่งไว้เป็นก่ีประเภท อะไรบ้าง 4. จริยธรรม มคี วามหมายวา่ อยา่ งไร มีประโยชน์ตอ่ ผู้ปฏิบตั ิอย่างไร 5. คณุ ธรรมกบั จรยิ ธรรม มลี กั ษณะความสัมพันธร์ ะหวา่ งกันอย่างไร จงอธบิ ายพร้อมท้ัง ยกตัวอย่างประกอบให้เหน็ ชัดเจน 6. จงอธบิ ายเหตุผลที่ผ้ปู ระกอบวชิ าชพี ครูจำเป็นตอ้ งมคี ุณธรรมและจรยิ ธรรม 7. จงอธบิ ายว่าคณุ ธรรมจรยิ ธรรมมีความสำคญั ตอ่ ผู้ประกอบวชิ าชพี ครูอยา่ งไรบ้าง 8. จงอธิบายทฤษฎที างจติ วทิ ยาทเ่ี กี่ยวขอ้ งกบั จรยิ ธรรม
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทท่ี 5 ความเปน็ ครมู ืออาชีพ ครูเป็นบุคลากรท่ีสำคัญอย่างยิ่งในระบบการศึกษา ถึงแม้ว่าในปัจจุบันระบบการศึกษา จะเน้นไปทผี่ เู้ รยี นเปน็ สำคัญซึง่ ไม่ไดห้ มายความว่า ครูจะถกู ลดความสำคญั หรือบทบาทหนา้ ที่ท่ีเคยทำ ลงเลย เพียงแต่บทบาทของครูจะถูกเปล่ียนจากบุคคลที่สอนเพียงอย่างเดียว หรือจากผู้ที่มี อาชีพเป็นครู มาเป็นครูมืออาชีพ และบทบาทน้ีเองก็เป็นคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ของสังคมไทย ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน เพื่อเกิดความเข้าใจ ในเรอื่ งความเปน็ ครมู ืออาชพี ในบทท่ี 5 นี้ ผเู้ ขยี นไดอ้ ธบิ ายให้เขา้ ใจเก่ยี วกบั ความหมายของครูมืออาชีพ คุณลักษณะของ ครมู อื อาชีพ อดุ มการณ์ความเป็นครูมืออาชีพ ครมู ืออาชพี กับการจัดกระบวนการเรยี นรู้ การพัฒนาครู ไปสูค่ วามเปน็ มอื อาชีพ การปฏิรปู ตนเองสกู่ ารเป็นครูมืออาชีพ ความหมายของครมู อื อาชพี 1. ความหมายของคำวา่ “มืออาชพี ” คำว่า มืออาชีพ ได้ถูกบัญญัติขึ้นเมื่อศตวรรษท่ี 16 ที่ประเทศอังกฤษ เป็นการกล่าวของ ผมู้ คี วามรู้ด้านกฎหมายและหมอ (Duke, 1990, p.258) โดยมเี กณฑ์ ดงั นี้ 1. มีความรู้พ้นื ฐานทีเ่ ปน็ ศาสตรท์ พี่ สิ ูจนไ์ ด้ 2. เน้นการบริการผู้อื่น 3. ทำหนา้ ท่ีเฉพาะทาง 4. มกี ารควบคมุ มาตรฐานในการทำงาน 5. มสี ังคมทเี่ ปน็ เอกลกั ษณ์ 6. บางชนิดมใี บประกอบวิชาชีพ 7. สามารถจดลิขสทิ ธ์จิ ากความคิดได้ คำว่า มืออาชีพ จึงมักใช้เรียกผู้ที่ศึกษาในเร่ืองน้ันมาอย่างลึกซึ้ง และมีการฝึกฝน เป็นเวลานาน ซึ่งชูชาติ พวงมาลี (2550, หน้า 19) กล่าวว่า ครูมืออาชีพ ก็หมายถึง ผู้ท่ีมีความรัก ในวิชาชีพ สามารถจัดการเก่ียวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเองให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ ตรงตามความต้องการของนักเรียน ด้วยเทคนิควิธีสอนที่หลากหลายเป็นระบบ และสามารถ ปรับเปล่ียนตนเองใหเ้ ป็นไปตามสถานการณ์ท่เี ปลีย่ นแปลงไปในแตล่ ะยุคได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 105 กิตติชัย สุธาสโิ นบล, (2560, หน้า 153) กล่าวว่า มอื อาชีพ (Professional) เปน็ คำที่มักจะ กล่าวถึงผู้ทมี่ ีความสามารถเป็นพเิ ศษในการทำงาน มีความชำนาญการเฉพาะทาง มีความรู้ทางทฤษฎี และการปฏบิ ัติในระดับสงู และมีวิธกี ารทแ่ี ยบยลในการประยุกต์ใชไ้ ด้อย่างเหมาะสม 2. ความหมายของ “ครมู อื อาชีพ” นักวิชาการ นักการศึกษา ท้ังไทยและต่างประเทศ ผู้ทรงไว้ซ่ึงความรู้ทางการศึกษา รวมท้ัง หนว่ ยงานราชการตา่ ง ๆ ได้ใหค้ วามหมายของคำว่า “ครูมืออาชพี ” ไว้หลากหลาย ดงั เชน่ สุวิทย์ มูลคำ (2543, อ้างถึงใน ธีรศักด์ิ (อุปรมัย) อุปไมยอธิชัย, (2563) หน้า 3) ให้ความหมายของคำว่า “ครูมืออาชีพ” หมายความว่า ครูที่จัดกระบวนการเรียนรู้เพ่ือให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ ในยุค โลกาภิวัตน์ โลกอินเตอร์เน็ต โดยปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการสอนจากการสอนความรู้ให้แก่ผู้เรียน มาเป็นการสอนวิธีหาความรู้ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ของ พ.ร.บ.การศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 ความเป็นมืออาชีพของครูจงึ ควรทจ่ี ะต้องยึดถือและปฏิบัติให้เกิดความสมั พันธก์ ับมาตรฐาน ของวิชาชีพครู ซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อครูทุกคน ท้ังน้ีเนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ ทำให้มีความจำเป็นที่บุคคลจักต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกระดับ ให้มีความสำนึกต่อบทบาทและ ภารกิจต่าง ๆ ท่ีมีต่อสังคมมากขึ้น การเปล่ียนแปลงทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พร้อมท้ังกฎระเบียบข้อบังคับและกติกา ทางสังคมแห่งยุคประชาธิปไตย เป็นสิ่งบ่งบอกว่าต่อไปน้ี สังคม องค์การ หน่วยงาน และหน่วย ปฏิบัติต่าง ๆ มีความต้องการ “ครูมืออาชีพ” มิใช่เพียงแต่มี “อาชีพครู” เกิดขึ้นเท่าน้ัน “ครูมือ อาชีพ” จักตอ้ งมลี ักษณะพ้ืนฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คอื 1. ครูต้องมี ฉนั ทะ ตอ่ อาชีพครู เปน็ พ้นื ฐาน 2. ครูต้องมคี วามเมตตา ตอ่ เด็กและบุคคลรอบขา้ งเป็นพ้ืนฐาน และ 3. ครตู ้องมีความเป็นกัลยาณมติ ร พร้อมเสมอท่จี ะชว่ ยเหลือผูอ้ น่ื ด้วยความบริสทุ ธ์ใิ จ กิตติชัย สุธาสิโนบล, (2560, หน้า 153) กล่าวว่า ครูมืออาชีพ (Professional Teacher) หมายถึง ครูผู้ท่ีทำหน้าท่ีหลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนของผู้เรียนด้วย วิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนอย่างเต็มความรู้ ความสามารถ มีความชำนาญ ทางด้านการจัดการเรียนการสอน เพ่ือให้ผู้เรียนบรรลุผลตามมาตรฐานท่ีชาติต้องการอย่างมี ประสทิ ธิภาพ กล่าวโดยสรุป คำว่า “ครูมืออาชีพ” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Professional Teacher หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพครูในสถานศึกษาระดับปฐมวัย ข้ันพ้ืนฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่า ปริญญาทั้งของรฐั และเอกชน เป็นผู้ท่ีมคี วามเช่ียวชาญในการทำหน้าท่ีหลกั ทางดา้ นการเรียนการสอน
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 106 การถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการณ์ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยเทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน เกิดความเจริญงอกงามทงั้ ทางด้านรา่ งกาย สตปิ ญั ญา อารมณ์ และสังคม คุณลกั ษณะของครมู อื อาชพี คุณลักษณะของความเป็นครูมืออาชีพจะเป็นเช่นไรน้ัน ได้มีนักวิชาการนักการศึกษา ทั้งต่างประเทศและไทย ให้แนวคิดไว้หลายท่าน (Goens & Clover, 1991; Glickman, 1998; Hoy & Miskel, 2008; อา้ งถงึ ใน กติ ติชัย สธุ าสโิ นบล, 2560, หน้า 153-154) ดังตอ่ ไปนี้ โจเอนส์และโคลเวอร์ (Goens & Clover, 1991, p.268-269) กล่าวว่า ครูมืออาชีพจะ ทำงานอย่างเต็มกำลงั ความสามารถ เพราะมีคุณลักษณะทเ่ี กิดข้นึ ในระดับจิตใจ ดังนี้ 1. สนใจรางวัลท่ีเกิดจากความภาคภมู ใิ จ มากกว่าการรับรางวัลจากผู้อ่ืน 2. ชอบการเปล่ียนแปลงและเสนอความคิดใหม่เสมอ 3. พฒั นาความรู้ ความสามารถอยูเ่ สมอ 4. ฐานะของครขู ้นึ อย่กู ับความรู้ ความชำนาญ 5. ครแู ตล่ ะคนจะมีเป้าหมายในการทำงานทไ่ี มเ่ หมอื นกัน 6. ทีมงานเกดิ จากผลของการกระทำ การประเมนิ มคี วามสำคัญมาก 7. ภาวะผู้นำมีพน้ื ฐานจากการดลใจและความรู้ ความสามารถ ซาเยอร์ (Sayer, 1996, p.10-26) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะโดยท่ัวไปของความเป็นมืออาชีพ ที่สำคัญ คือ 1. บริการสาธารณะในสงิ่ ทสี่ ำคัญได้อยา่ งเหมาะสม 2. มีความสามารถในการวจิ ยั และสามารถคน้ พบความรู้ดว้ ยตนเอง 3. เปน็ ผ้ทู ี่ได้รับการศึกษาและการฝกึ หัดท่ียาวนาน มีความรอู้ ยา่ งแท้จรงิ และพฒั นาทกั ษะ อยู่เสมอ 4. เป็นผู้มคี วามรู้ ความสามารถอันเป็นความรู้ ความสามารถทเ่ี กิดจากการพัฒนาความเป็น มอื อาชพี ของตนเอง 5. มีความรบั ผดิ ชอบสูงและสามารถทำให้งานสมบูรณย์ ิ่งขน้ึ ได้ 6. มคี วามซ่ือสัตย์ มีสติ สนใจบรกิ ารลกู ค้า 7. เน้นผลการทำงาน ย่งิ กวา่ การบรรยายดว้ ยขอ้ เขยี นใด ๆ 8. มวี นิ ยั ในตนเอง มีจรรยาบรรณสงู 9. ควบคุมการรับเข้า การฝึกหัด การให้ใบประกอบวิชาชีพ และมาตรฐานการปฏิบัติ อย่างเข้มงวด
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 107 กลิคแมน (Glickman, 1998, p. 362) กล่าวว่า ครูมืออาชีพท่ีแท้จริง คือ การท่ีครูจัดการ เรียนการสอนอย่างมีส่วนร่วม มียุทธศาสตร์ในความร่วมมือในการเรียน และรู้จักผสมผสานวิธีการ อย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดผลกับนักเรียนสูงท่ีสุด นอกจากนั้น ยังสามารถสังเคราะห์วิธีการเรียนการ สอนเพ่อื สร้างสรรค์วิธกี ารเรยี นการสอนใหม่ ๆ ไดอ้ กี ดว้ ย ฮอยและมิสเกล (Hoy & Miskel, 2008, p.328-329) กล่าวว่า การสอนเป็นงานระดับมือ อาชพี ซง่ึ คณุ ลกั ษณะในความเปน็ ครูมืออาชีพนัน้ สามารถแบง่ ออกไดเ้ ปน็ 4 ประการ คอื 1. ดา้ นความรู้ (Knowledge) เป็นพื้นฐานที่จำเป็นมาก ความรู้ได้มาจากการศึกษาและการ ฝึกฝน ซ่ึงความรู้นั้นต้องจัดอย่างเป็นระบบในตัวเอง และมีความเข้าใจในระบบจะมีความจำเพาะ เจาะจง สามารถแกป้ ัญหาทีซ่ ับซอ้ นและลึกซ้งึ ได้ 2. ด้านความเป็นระเบียบและการควบคุม (Regulations and Control) โดยเฉพาะอย่าง ย่ิงความสามารถในการควบคมุ ตนเอง เพราะจะเปน็ ผ้ทู ่ีสามารถทำส่ิงตา่ ง ๆ ได้เอง ตามกรอบความรูท้ ี่ ตนมีความชำนาญการ และรบั การตรวจจากมืออาชพี ดว้ ยกันได้ 3. มรี ะบบการนึกคิดท่ดี ี (Ideology) ซ่งึ เปน็ พ้ืนฐานทส่ี ำคัญในการเกิดคา่ นิยมครูอาชีพ เช่น การคำถงึ การพัฒนานักเรยี น การคิดอยา่ งมีวิจารณญาณ เป็นตน้ 4. ความสัมพันธ์ร่วมกัน (Association) กลุ่มมืออาชีพมักมีความสัมพันธ์อย่างเพื่อน ในการ ที่ครูมืออาชีพเต็มใจปฏิสัมพันธ์กัน ยิ่งจะทำให้ผลการตัดสินใจและการปฏิบัติงานของกลุ่มมี ประสิทธิภาพมาก สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2543) กล่าวว่า คุณลักษณะของครูมืออาชีพ หมายถึง เคร่ืองหมาย ทช่ี ้ีให้เห็นว่าวชิ าชพี ครูมีความเปน็ วิชาชีพชั้นสูงหรือคุณลักษณะที่ดีของครูอันเป็นที่ต้องการของสังคม ซงึ่ ครูต้องมีความรกั และความเมตตาต่อศษิ ย์ เสียสละหม่ันเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอนเพื่อพัฒนา ตนเองอยู่เสมอ เอาใจใส่ต่อศิษยท์ ุกคน เป็นกำลังใจและช่วยสรา้ งแรงบันดาลใจให้กับศิษย์ เพ่ือให้เป็น คนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เป็นแบบอย่างที่ดี มีจรรยาบรรณ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ใช้วิธีการสอน ที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล รักความยุติธรรม ยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็ก แต่ละคน มีอุดมการณ์ ยึดมั่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีคุณธรรมยึดเหน่ียวจิตใจของตนเอง การเป็นครูดีจะเป็นพืน้ ฐานใหค้ ุณครูพัฒนาเป็นครูมืออาชีพไดต้ ่อไป กุลิสรา จิตรชญาวณิช (2561 หน้า 148) กล่าวถึง คุณลักษณะท่ีดีของครูมืออาชีพว่า ครูมืออาชีพ คือ ครูท่ีมีลักษณะเป็นครูด้วยใจรัก หรือมีความรักศรัทธาในวิชาชีพครู ปฏิบัติหน้าท่ี ด้วยอุดมการณ์ที่มุ่งม่ันในการจะพัฒนาผู้เรียน สังคม ประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า มีความ ประพฤติดี วางตัวดี รักและมีความเมตตา ดูแลเอาใจใส่ศิษย์เป็นอย่างดี รวมท้ังมีความสามารถในการ จัดการเรยี นรเู้ พ่ือพัฒนาผู้เรียนให้มคี ณุ ภาพ และพัฒนาตนเองในดา้ นต่าง ๆ อยู่เสมอ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 108 กล่าวโดยสรุป คุณลักษณะของครูมืออาชีพ น้ัน ต้องเป็นผู้มีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพ ครูเป็นพ้ืนฐาน มีอุดมการณ์ของความเป็นครู ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ พัฒนาความรู้ ความสามารถอยู่เสมอจนเกิดความชำนาญหรือเชี่ยวชาญ มีความสามารถในการวิจัยและค้นพบ ความรู้ด้วยตนเอง สามารถสังเคราะห์วิธีการเรียนการสอนเพื่อสร้างสรรค์วิธีการเรียนการสอนใหม่ ๆ มีความรับผิดชอบสูงและทำให้งานสมบูรณ์ย่ิงข้ึน มีความซื่อสัตย์ มีวินัยในตนเอง มีจรรยาบรรณสูง มีความเมตตาต่อศิษย์และบุคคลรอบข้าง และมีความเป็นกัลยาณมติ ร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อ่ืน ดว้ ยความบรสิ ุทธ์ิใจ อดุ มการณ์ความเปน็ ครมู ืออาชีพ คำว่า “อุดมการณ์” (ideology) เป็นหลักการท่ีวางระเบียบไว้เป็นแนวปฏิบัติเพ่ือให้บรรลุ เปา้ หมายทีก่ ำหนดไว้ ผทู้ ี่จะเป็นครูมืออาชีพต้องยึดไว้ประจำใจ 5 ประการ คือ เตม็ รู้ เตม็ ใจ เต็มเวลา เต็มคน และเต็มพลัง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553, หน้า 10-13; พระมงคล ธรรมวิธาน และคณะ, 2561, หนา้ 2496-2497) 1. เตม็ รู้ คือมีความรู้บริบูรณ์ ด้วยความรู้ 3 ประการคอื 1.1 ความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพ ครูจะต้องแสวงหาความรู้ที่เป็นประโยชน์และ เหมาะสมใหผ้ เู้ รยี น เรียนอย่างครบถ้วนเหมาะสมตามระดบั ความรนู้ ้ัน 1.2 ความรู้ทางโลก นอกเหนือจากตำราวิชาการแล้ว ครูต้องแสวงหาความรู้รอบตัว ดา้ นอื่น ๆ ใหบ้ รบิ ูรณโ์ ดยเฉพาะความเปน็ ไปของระเบยี บ ประเพณี สงั คม วฒั นธรรม 1.3 ความรู้เร่ืองธรรมะ ครูที่มีความรู้ด้านธรรมะจะสามารถหยิบยกเรื่องธรรมะมาเป็น อุทาหรณ์ สำหรับสั่งสอนศิษย์ได้ เช่น จะสอนให้ศิษย์ประสบผลสำเร็จด้านการศึกษาเล่าเรียนได้ดี ก็ยกหัวข้อธรรมะอย่างอิทธิบาท 4 คือ (1) พอใจในการศึกษา รักและสนใจในวิชาที่ตนเรียน (2) มีความเพียรท่ีจะเรียนไม่ย่อท้อ (3) เอาใจใส่ในบทเรียน การบ้าน รายงาน และ (4) หม่ันทบทวน อยู่เสมอ เป็นตน้ 2. เต็มใจ คือความมใี จเป็นครู พุทธศาสนาถือว่า “ใจน้ันเป็นใหญ่ ทกุ สิง่ ทุกอย่างเกิดจากใจ ทงั้ นนั้ ” คนจะเป็นครูทม่ี ีอุดมการณต์ อ้ งสร้างใจทีเ่ ต็มบรบิ ูรณด์ ว้ ยการมีใจเป็นครู การทำใจให้เต็ม มี ความหมาย 2 ประการ คอื 2.1 ใจครู การทำใจให้เตม็ บรบิ รู ณ์ตอ้ งถงึ พร้อมด้วยองคป์ ระกอบ ดังนี้ 2.1.1 รักอาชีพ ครูต้องมีทัศนคติท่ีดีต่ออาชีพ เห็นว่าอาชีพครูมีเกียรติ มีกุศล ได้ความภมู ใิ จ แสวงหาวิธีสอนทด่ี ีเพ่อื ศิษย์ 2.1.2 รักศษิ ย์ มีใจคดิ อยากใหศ้ ิษย์ทกุ คนมีความสุข และเสียสละเพอื่ ศิษย์ได้ 2.2 ใจสูง ครคู วรพยายามทาให้ใจสงู สง่ มีจติ ใจท่ดี ีงาม
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 109 3. เต็มเวลา คือการรับผิดชอบ การทุ่มเทเพอ่ื การสอน มี 3 ส่วน คือ 3.1 งานสอน ครตู ้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนอย่างเต็มท่ี วางแผนการสอน ค้นคว้า หาวิธีการที่จะสอนศษิ ยใ์ นรูปแบบต่าง ๆ 3.2 งานครู นอกเหนือไปจากการสอน ครูตอ้ งให้เวลาแก่งานธุรการ งานบริหาร บรกิ าร และงานที่จะทำให้สถาบนั ก้าวหนา้ 3.3 งานนักศึกษา ให้เวลาในการอบรม แนะนำสั่งสอนศิษย์เม่ือศิษย์ต้องการคำแนะนำ หรือตอ้ งการความชว่ ยเหลอื 4. เต็มคน คือการพัฒนาตนเองให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การพัฒนาตนเองให้เป็น แม่พิมพ์หรือพ่อพิมพ์ที่คนในสังคมคาดหวังไว้สูง ครูจึงจาเป็นต้องมีความบริบูรณ์ เป็นมนุษย์ท้ัง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สารวมกาย วาจา ใจ ให้มีความม่ันคงเป็นแบบอย่างที่ดี ปฏิบัติงาน ถูกต้อง หมั่นคิด พจิ ารณาตนเองเพ่อื หาทางแก้ไขปรับปรงุ ตนเองให้มีความบรบิ รู ณอ์ ยเู่ สมอ 5. เต็มพลัง คือการทุ่มเทพลังสติปัญญาและความสามารถเพ่ือการสอนวิชาการแก่ศิษย์ และอุทศิ ตนอยา่ งเตม็ ที่ เพื่อผลงานทส่ี มบูรณ์ กล่าวได้ว่า ครูมืออาชีพต้องสร้างอุดมการณ์ให้ตนเองเสมอ ๆ เร่ิมต้ังแต่การเติมเต็มความรู้ คือการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เสมอ ๆ การเติมเต็มให้ใจเข้มแข็ง การเติมเต็มเวลาคือการเสียสละ ความสุขส่วนตัว การเติมเต็มคนคือการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับชุมชน และการเติมเต็มพลังคือทุ่มเท กำลังกายและกำลังใจให้แกล่ ูกศิษย์อยา่ งเต็มกำลงั ความสามารถ ครูมอื อาชีพกับการจดั กระบวนการเรียนรู้ ครูมีหน้าที่ท่ีสำคญั อย่างหน่ึงซง่ึ ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของครูคือ การจัดการเรียนรู้ ครูทุกคน ต้องสอน การวางแผนการจัดการเรียนรู้จึงต้องให้ความสำคัญกับผู้เรียนตั้งแต่การวางรากฐานพัฒนา ชวี ิตตั้งแต่แรกเกิด การพัฒนาศักยภาพ และขดี ความสามารถด้านต่าง ๆ ท่ีจะทำให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี มีความสุข ดังปณิธานทีไ่ ด้ตัง้ ไว้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข เพ่ิมเติม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553 มาตราที่ 24 กล่าวว่า การวางแผนจัดกระบวนการเรียนรู้ในสถาน ศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานดังต่อไปน้ี (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2554, หน้า 8-9; นภาภรณ์ ธัญญา และคณะ, 2562, หนา้ 5-8) 1. การจัดเน้ือหาสาระการเรียนรู้ ครูต้องเลือกเนื้อหา สาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ ความสนใจ ความถนัด ความแตกต่างของผู้เรียนและสภาพท้องถ่ิน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ เลือกเน้ือหาสาระ จัดเนื้อหาสาระเพิ่มเติมจากในหลักสูตร มีการบูรณาการกับรายวิชาอ่ืน สามารถ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 110 ยืดหยุ่นด้านความเหมาะสมและเนื้อหาสาระมีความทันสมัยเพ่ือนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ และ สามารถนำเนอ้ื หาสาระน้นั ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชีวิตประจาวนั ได้ 2. การจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ ครตู ้องจัดกิจกรรมให้สอดคลอ้ งกบั ความสนใจและความถนัด ของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดกระบวนการเรียนรู้ครูจะต้องให้ ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก (Child centered) ครูต้องเปล่ียนบทบาทมาเป็ นผู้อำนวย ความสะดวก (Facilitators) จัดกจิ กรรมการเรียนรู้ทเ่ี หมาะสมสอดคล้องกับความสนใจและความถนัด ของผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ใหก้ ับผ้เู รียนไดพ้ ัฒนา ความสามารถของตนเองตามที่ ตนเองถนัด กิจกรรรมที่ครูจัดนั้นต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนด้วย ผู้เรียนแต่ละคนมี ความชอบ ความถนัดไม่เหมือนกัน ครูจะต้องช่วยประสานและมุ่งพัฒนาในลักษณะองค์รวม ให้มี ความสมดุลท้ังด้านร่างกายและจิตใจ ปัญญาและสังคม โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติจริงมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนเป็นรายบุคคล และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นคว้า แสวงหาความรู้ อย่างต่อเน่ือง เพ่ือให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ รวมท้ัง ปลูกฝงั คณุ ธรรม คา่ นยิ มทดี่ งี าม เพ่ือที่ผู้เรยี นจะได้บูรณาการความร้มู าประยุกต์ใช้ในชวี ติ ประจาวนั ได้ 3. การเลือกส่ือการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ ครูจะต้องจัดส่ือการเรียนและแหล่งเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งควรมีความหลากหลายเชื่อมโยงกับ ประสบการณ์จริง เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ จุดประสงค์ การเรียนรู้ มุ่งพัฒนาความคิดและศักยภาพ ของผู้เรียน และนำแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์เป็นส่ือการเรียนรู้เพ่ือตอบสนองการเรียนรู้ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ปัจจุบัน นวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แหล่งเรียนรู้มิได้มีเพียง เฉพาะภายในห้องเรียนเท่าน้ัน ครูต้องใช้แหล่งเรียนรู้ท่ีหลากหลาย เช่น ห้องสมุด สถานท่ีต่าง ๆ ในชุมชน และท้องถ่ิน หรือแม้กระท่ังอินเทอร์เน็ต ถือเป็นการเรียนรู้อย่างไร้พรมแดนที่เข้ามามี บทบาทต่อการศึกษาอย่างมากมาย ครูต้องเป็นผู้ชี้แนะ แนะนาให้คำปรึกษาต่อการเรียนรู้จากแหล่ง เรียนรตู้ า่ ง ๆ ใหผ้ ้เู รยี นสามารถเลือกใช้ได้อยา่ งเหมาะสมและมปี ระสทิ ธิภาพต่อผู้เรยี นมากที่สุด 4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครูต้องมีการวัดและประเมินผลการปฏิบัติตามสภาพ จริงของผู้เรียนอย่างต่อเน่ือง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลและให้ผู้เรียนมีการ ประเมินตนเอง ซึ่งการวัดและประเมินผลการเรียนรู้นี้จะใช้วิธีการท่ีหลากหลาย มีการสังเกตการทำ กิจกรรม การจัดทำแฟ้มผลงาน โดยต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาสาระ ของหลักสูตร และครอบคลุมท้งั ด้านพุทธิพิสัย ดา้ นทกั ษะพิสัย และด้านจิตพิสัย มกี ารรายงานผลการ ประเมนิ ให้ผู้เรียนและผปู้ กครองทราบ ให้คำแนะนำเพือ่ ปรับปรงุ การเรียน และนำผลจากการประเมิน ไปปรบั ปรุงวธิ ีการจัดการเรยี นรู้ให้แก่ผ้เู รียน
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 111 การวัดและประเมนิ ผลการเรียนรู้ ครูควรนำการประเมินผลตามสภาพจรงิ มาใช้ ซ่ึงลักษณะ ท่ีสำคัญของการประเมนิ ผลตามสภาพจริง มีดงั น้ี 4.1 งานที่ให้ผู้เรยี นปฏบิ ัติเป็นงานที่มคี วามหมาย (Meaning Task) สอดคล้องกบั สภาพ ความเป็นจริงในชวี ติ ประจำวนั มากกว่าการจำลองเหตุการณ์เพ่ือทดสอบ 4.2 การประเมนิ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย (Multiple Assessment) ทัง้ ด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะด้านต่าง ๆ โดยเน้นการลงมือปฏิบัติมากกว่าการ ประเมินความรู้ 4.3 ผลผลิตมีคุณภาพ (Quality Products) โดยผู้เรียนจะต้องรู้จักการประเมิน ปรับปรุงแกไ้ ขผลงานตลอดเวลา เพอื่ พฒั นาตนเองให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 4.4 การใช้ความคิดระดับสูง (Higher-order Thinking) ในการแสดงออกหรือการ ผลิตผลงานของผู้เรียน จะต้องเป็นการแสดงออกหรือผลงานท่ีเกิดจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์และ ประเมินแล้วเป็นอย่างดี 4.5 งานมีมาตรฐานชัดเจน (Clear Task and Standard) งานและกิจกรรมท่ีให้ผู้เรียน ปฏิบัติต้องมีขอบเขตและมาตรฐานท่ีชัดเจน สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหรือความคาดหวังท่ีต้องการ ให้เกดิ ขึน้ 4.6 การสะท้อนตนเอง (Self Reflections) เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความคิด ความรู้สึก ความคิดเห็น หรือเหตุผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกหรือผลงานของตนเองว่า ทำไมถึง ปฏบิ ัติ หรอื ไม่ปฏิบัติ ทำไมจึงชอบหรือไมช่ อบ เปน็ ตน้ 4.7 การเรียนรสู้ อดคลอ้ งกบั สภาพความเปน็ จรงิ ในชีวติ ประจาวนั (Transfer into Life) 4.8 เป็นการประเมินการเรียนรู้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง (Ongoing or Formative) ประเมินตลอดเวลาในทุกสถานการณ์ ทุกสถานที่ อันจะทำให้เห็นพัฒนาการและ พฤติกรรมที่แท้จริงของผ้เู รยี น 4.9 การบูรณาการความรู้ (Integration of Knowledge) ในลักษณะท่ีต้องใช้ความรู้ ความสามารถและทักษะท่ีเกิดจากการเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ มาช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหา อันจะ สอดคล้องกับสภาพความเปน็ จรงิ ของชีวิตของคนเรามากท่สี ดุ 5. การจัดสภาพบรรยากาศการเรียนรู้ ครูตอ้ งจัดสภาพแวดล้อมท่ีสง่ ผลต่อการเรียนรู้ของ ผู้เรียน ท้ังภายนอกห้องเรียนและภายในห้องเรียน การจัดมุมหนังสือในห้องเรียน จัดห้องปฏิบัติการ ให้มีความปลอดภัย มีส่ิงอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาความรู้ สภาพโรงเรียนมีความร่มร่ืน สะอาด มีแหล่งพักผ่อนอย่างเพียงพอ มีการเสริมกำลังใจในการเรียนร้แู ละสง่ เสรมิ ให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการจัดการเรยี นรู้ เพ่ือเอ้ือต่อการเรียนรูแ้ ละใฝร่ ขู้ องผูเ้ รยี นมากทส่ี ุด
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 112 การที่จะเป็นครูมืออาชีพได้อย่างมีศักยภาพนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงหน้าท่ีหลักของความเป็น ครู น่ันคือหน้าที่สอน หากครูทุกคนมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ท่ีเหมาะสม จัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนา ผูเ้ รียนในลักษณะองค์รวม มีสมดุลท้ังทางด้านจิตใจ ร่างกาย สติปัญญา และสังคม เน้นการฝึกปฏิบัติ ให้ผู้เรียนพ่ึงตนเอง มีความรับผิดชอบ มีวินัย และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ อีกทั้งมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียน มคี วามสามารถทางอารมณ์ มีคุณธรรม จริยธรรมได้แลว้ น้ัน ครูผู้น้ันไดก้ ้าวเขา้ มาสู่ความเป็นครูอาชีพ อยา่ งแท้จรงิ แล้ว การพฒั นาครูไปสคู่ วามเป็นมอื อาชพี การปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 จะประสบผลสำเร็จได้ข้ึนอยู่กับปัจจัยสำคัญอย่างย่ิงคือ ตัวครูผู้สอน ปัจจุบันจึงมีการส่งเสริมครูให้มีการพัฒนาไปสู่ความเป็นมืออาชีพด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการพัฒนา ความเป็นครูมืออาชีพน้ัน ได้มีประเด็นคำถามสำคัญ 2 ประการท่ีเก่ียวข้องกับการเลือกรูปแบบ ท่ีเหมาะสมในการพัฒนาครูคือ ครูมืออาชีพต้องมีศักยภาพด้านใดบ้าง และมีวิธีการอย่างในการ ส่งเสริมให้เกิดศักยภาพดังกล่าว ซึ่ง คลาร์ค (Clarke, 1994, p. 37-46; ประภาพรรณ เอ่ียมสุภาษิต, 2548, หน้า 28-31) ได้เสนอหลักการท่ีเป็นกุญแจสำคัญ 10 ประการ ในการพัฒนาครูไปสู่ความ เป็นมืออาชีพ ดงั น้ี หลักการที่ 1 สร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมให้เกิดข้ึนโดยตัวของครูเอง การเปิดโอกาสให้ครู มีส่วนตามความสมัครใจของตัวครูเองในโปรแกรมที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ มีผลต่อความสำเรจ็ ในการนำโปรแกรมการพฒั นาครูไปใช้ หลักการท่ี 2 พัฒนากลุ่มครูมากกว่าครูเปน็ รายบุคคล และโรงเรียนตลอดจนชุมชน รวมทั้ง ผู้เรยี น ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาต้องมีสว่ นรว่ มและส่วนสนับสนุน หลักการท่ี 3 ต้องยอมรับว่าในการพัฒนาครูไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ ย่อมมีอุปสรรค ท่เี กิดขน้ึ ในกระบวนการพัฒนาครู ซ่งึ คลาร์คได้สรุปอปุ สรรค 12 ประการโดยจำแนกเป็น 4 กลุม่ ดงั น้ี อุปสรรคท่เี ปน็ ปัจจัยภายนอก 1. การใช้ทฤษฎที ไ่ี ม่เหมาะสม 2. การขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานกลาง การขาดแหลง่ เงินทุน และการขาดการ ตดิ ตามผล 3. ความล้มเหลวในการสรา้ งความเข้าใจตรงกัน อุปสรรคทเี่ กย่ี วข้องกบั การบริหารและการจดั การสถานศึกษาและชุมชน 4. การไม่เปิดโอกาสให้ครูแต่ละคนได้มีเวลาศึกษาค้นคว้า วางแผนการสอนร่วมกัน และทำงานรว่ มกัน
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 113 5. วิธกี ารประเมนิ ผู้เรียนและการประเมนิ ผู้สอนไมส่ อดคลอ้ งกบั นวัตกรรมทีใ่ ชใ้ นการ พัฒนาครู 6. การรับรู้ของผู้เรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และชุมชน ต่อนวัตกรรมท่ใี ชใ้ นการพัฒนาครู อปุ สรรคท่ีเกีย่ วข้องกบั ความเช่ือ ความรู้ และการปฏบิ ตั ขิ องครู 7. การขาดความมุ่งม่ันของครทู จ่ี ะเปล่ียนแปลงพฤติกรรมการสอนและการเรยี นรู้ 8. ความคนุ้ เคยและการยึดมั่นในส่ิงทเ่ี คยปฏบิ ัติกอ่ ใหเ้ กิดการต่อตา้ นนวตั กรรมใหม่ 9. ครมู คี วามรูด้ า้ นเน้ือหาวิชาท่ีสอนและเนอื้ หาวชิ าครไู มเ่ พยี งพอ อปุ สรรคทเ่ี ก่ียวขอ้ งกับการพฒั นาทีมงานในโรงเรยี น 10. การขาดความเชือ่ มโยงระหวา่ งทฤษฎีกับสภาพจรงิ ที่เกดิ ข้ึนในชั้นเรียน 11. การให้ความสำคัญกกับการแก้ไขข้อบกพร่องมากกว่าการกระตุ้นให้เกิดการ ปรบั ปรุงและพฒั นา 12. การขาดการผสมผสานความรู้เกยี่ วกับการสอนและการเรยี นรู้เข้ากับความรู้และ วิธกี ารพัฒนาทมี งาน หลกั การที่ 4 การเรียนรู้แบบอิงประสบการณ์ หรอื การเรยี นรู้ดว้ ยการปฏบิ ัติในสถานการณ์ จริงในลักษณะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในช้ันเรียน เป็นวิธีการท่ีได้ผลต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการสอนและการเรียนรู้ของครู โปรแกรมการพัฒนาครูในลักษณะการอบรมหรือสัมมนา ในช่วงเวลาสั้น ๆ 1 หรอื 2 วัน ด้วยการฟังการบรรยายหรือชมการสาธิตของผู้เช่ียวชาญและไม่มีการ ตดิ ตามผล เปน็ วธิ ีการที่ได้ผลน้อยตอ่ การเปล่ียนแปลงพฤตกิ รรมของครู หลักการที่ 5 จูงใจให้ครูมีสว่ นร่วมอย่างกระฉับกระเฉงและให้คำมั่นสัญญาในกระบวนการ พฒั นาสู่ความเป็นมืออาชีพ และใหค้ รูเต็มใจศึกษาค้นควา้ และปฏิบัติการสอนโดยใชก้ ิจกรรมและงาน ทีค่ รูเป็นผู้ปรับปรงุ หรือพัฒนาขึ้นสำหรับช้ันเรียนของตน หลักการที่ 6 พึงตระหนักว่าการเปล่ียนแปลงความเช่ือของครูเก่ียวกับการสอนและการ เรียนรู้มีรากเหง้ามาจากการปฏิบัติจริงในช้ันเรียนอย่างต่อเน่ือง และเป็นผลจาการเปิดโอกาสให้ครู ได้ไตร่ตรอง ตรวจสอบผลการปฏิบัติของตนเอง ด้วยการสังเกตเชิงสร้างสรรค์พฤติกรรมการเรียนรู้ ของผู้เรียน โป ร แ ก ร ม ก า ร พั ฒ น าค รู ไป สู่ ค ว าม เป็ น มื อ อ า ชี พ ส่ ว น ม าก มี เป้ าห ม าย ต้ อ งก าร ให้ ค รู เปล่ียนแปลงทั้งด้านความรู้ ความเช่ือ เจตคติ การปฏิบัติการสอนในช้ันเรียน และรวมถึงการ เปล่ยี นแปลงการเรยี นรขู้ องผเู้ รียน ในกระบวนการพฒั นาจึงมีการสร้างแรงจูงใจให้ครูเกิดความเชื่อมั่น ว่าตนเองมีความสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพในการสอนและเรียนรู้ได้ดีกว่าเดิมได้ และเช่อื ว่าผลการ พัฒนาดังกล่าวจะก่อใหเ้ กิดประโยชน์กับผเู้ รยี น กระบวนการสรา้ งแรงจูงใจดงั กล่าว ทำให้ครูเกดิ ความ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 114 มุ่งมั่น และให้คำม่ันสัญญากับตนเองในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนและนำไปใช้ปฏิบัติจริงในชั้น เรยี น ภายหลังที่ครูประจักษ์ถึงผลที่เกิดกบั ผู้เรียน การเปล่ียนแปลงความเชอ่ื และเจตคติของครูย่อมมี ผลถาวร โปรแกรมการพัฒนาครูโปรแกรมใดก็ตาม ถ้าจัดกระทำให้แปลกแลกออกไปจากสภาพจริง ของการปฏิบัติการสอนที่ครูทำตามปกติ จะส่งผลน้อยต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครู และ พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ทอมป์สัน (Thompson, 1992, p.139) เสนอว่า การที่ครูได้เข้าไปมี ส่วนร่วมด้วยการเผชิญปัญหาการเรียนการสอนในสภาพจริงด้วยตนเอง และได้ประเมินและจัดระบบ ความเชื่อของตนใหม่ โดยผ่านกระบวนการคิดไตร่ตรอง ย่อมนำไปสู่การเปล่ียนพฤติกรรมการสอน และการเรียนรู้ทพ่ี ึงประสงค์ หลักการท่ี 7 จัดสรรเวลาและเปิดโอกาสให้ครูได้วางแผน ได้คดิ ไตร่ตรองทบทวนและให้ผล ป้อนกลับเกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลวในการปฏิบัติการสอนของตนต่อกลุ่ม เพื่อเป็นการ แลกเปล่ียนวิธีการใหม่ที่ดีและเหมาะสมของแต่ละคนให้คนอ่ืน ๆ รู้ และเพ่ือได้อภิปรายถงึ ปัญหาและ ทางเลือกท่ีเหมาะสมในการแก้ปัญหาตลอดจนวิธกี ารใหม่ ๆ ทเี่ กิดข้ึน หลักการท่ี 8 โน้มน้าวให้ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนำนวัตกรรมใหม่เก่ียวกับการเรียน การสอนมาใช้การจัดโปรแกรมพัฒนาครูท่ีครูมีส่วนร่วมในทุกช้ันของการวางแผนและนำแผนไปสู่การ ปฏิบัติ จะส่งผลให้ครูบูรณาการเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่ครูได้รับในกระบวนการพัฒนาไปสู่การ ปฏบิ ัติจริงในชั้นเรียน หลักการท่ี 9 พึงตระหนักว่า การเปล่ียนแปลงพฤติกรรมการสอนและการเรียนรู้เป็นเร่ือง ท่ีเกิดทีละน้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไป บางคร้ังมีความซับซ้อนหรือยุ่งยากครูจึงอาจเกิดความวิตกกังวล เกิดความสงสัยหรือขัดแย้งการสร้างบรรยากาศของการช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้ร่วมงานและเพื่อน สนทิ จึงเปน็ เรื่องสำคญั หลักการท่ี 10 ส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในอนาคตสำหรับการธำรง รักษาไว้ซ่ึงความเป็นครูมืออาชีพของตนเอง การพัฒนาที่ย่ังยืนต้องหมายความว่า ครูสามารถสร้าง นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเองหลังจากส้ินสุดโปรแกรมการพัฒนาแล้วและครูสามารถนำ ตนเองได้ ตลอดจนเป็นครเู ครือข่ายเพอื่ ไปพฒั นาครูคนอนื่ ๆ ได้ การปฏริ ปู ตนเองสกู่ ารเป็นครูมอื อาชพี ประสาท เนอื งเฉลิม (2559, หนา้ 66-73) กล่าวว่า การปฏิรูปตนเองเป็นกลไกสำคัญสู่การ เป็นครูมืออาชีพส่งผลต่อการปฏิรูปคุณภาพการศึกษา แนวคิดการจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงไรก็คงต้องให้ผู้สอนเป็นสำคัญยิ่งกว่า ผู้สอนคือคนท่ี ออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะกับพัฒ นาการและธรรม ชาติการเรียนรู้ใน ศตวรรษท่ี 21
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 115 การปฏิรูปตนเองเป็นส่ิงจำเป็นที่ช่วยพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้เกิดการเปล่ียนแปลง ในหลาย ๆ ด้าน การมองเห็นสภาพและเข้าใจตนเองว่าอยู่ในสภาวะใดและมีเป้าหมายที่ชัดเจนมุ่งมั่น ให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยที่เร่ิมจากการพัฒนาตนเอง แล้วขับเคลื่อนสู่ภาคประชาสังคมในวงกว้างมากยิ่งข้ึน ครูมืออาชีพจึงไม่เพียงแค่สอนเก่งหากแต่ต้อง เตมิ เต็มศกั ยภาพสูท่ กั ษะทจ่ี าเป็นในศตวรรษท่ี 21 การเรียนการสอนยุคปฏิรูปมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่จากผู้สอนเป็นผู้ให้คว ามรู้ ด้วยวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ มาเป็นการยกระดับคุณภาพผู้ เรียนด้วยการเน้นทักษะ และกระบวนการที่จำเป็น การบอกเล่าและถ่ายทอดความรู้โดยตรงจึงลดบทบาทลงเป็นการเรียนรู้ และลงมือทำในสิ่งทจี่ ำเป็นใกล้ตวั และบรู ณาการส่งิ ที่เรียนเข้ากับวิถีชีวิตจริงได้ การสอนเนอื้ หาสาระ จึงลดระดับลงแต่กลับเพ่ิมการเรียนรู้แทน น่ันหมายถึง การเรียนการสอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้สอน และผู้เรียนได้เข้าใจจุดมุ่งหมายและกระบวนการร่วมกัน หากถามว่าจะสอนอย่างไร อาจจะไม่ถูกต้อง ทั้งหมดเสียทีเดียวนัก หากแต่ต้องทำความเข้าใจว่าผู้เรียนเขาเรียนรู้อย่างไร การออกแบบกิจกรรม การเรยี นการสอนจึงเป็นหัวใจสำคัญของครมู ืออาชีพ การเรียนการสอนในยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างท้ังสภาพสังคม การเรียนรู้ วิธีการคิด และการดำรงชีวิตที่มีความซับซ้อนมากย่ิงข้ึน จึงเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปตนเอง เพื่อนำไปสู่การยกระดบั คณุ ภาพการศึกษา ซ่งึ สรปุ เปน็ ประเด็นไว้คร่าว ๆ ดงั น้ี 1. หลงใหลใคร่รู้ด้านการเรียนการสอน การพยายามพัฒนาตนเองด้านศาสตร์และศิลป์ การสอนจะทำให้ครูอยู่ในบรรยากาศของความเป็นวิชาการอย่างสม่ำเสมอ ชอบอ่าน ชอบคิด ชอบเขียน ชอบพูด และชอบนำความรู้และสิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับมาปรับใช้ในห้องเรียน หมั่นทบทวน ความรู้และทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนจะทาให้ครูรู้สึกหลงใหลใคร่รู้ส่ิงต่าง ๆ เกี่ยวกับ การเรียนการสอน 2. รักและยุติธรรมกับผู้เรียน ความรักมักทำให้คนเรียนรู้ท่ีจะให้อย่างบริสุทธ์ิใจ ปราศจาก อคติครอบงำ การแสดงความรักกับผู้เรียนทำได้ง่าย ๆ เช่น การลูบหัว การตบไหล่เบา ๆ การย้ิม การใช้คำพูดเชิงบวก การชมเชย นอกจากมีความรักแล้วยังต้องยุติธรรมกับผู้เรียนทุกคน ฝึกมองโลก ในแง่บวกและต้องมีความเชื่อเป็นพ้ืนฐานว่าผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพและพร้อมท่ีจะพัฒนาได้ ท้ังนี้ ตามแตศ่ ักยภาพความแตกต่างของแตล่ ะบุคคล 3. รักการสอนและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา การเรียนรู้ให้เท่าทันกับผู้เรียนยุคใหม่ ตอ้ งใส่ใจคุณภาพการสอน รู้จักสืบเสาะค้นคว้าหาความรู้ เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ มาปรับใช้ในชั้นเรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสนุกกับกิจกรรมและผู้สอนยังได้นำความรู้ใหม่มาทดลองใช้เพื่อให้เหมาะสม กบั ผู้เรียนแต่ละคน 4. ทำความเข้าใจปรัชญาการศึกษา เมื่อมองเห็นปรัชญาก็จะเข้าใจเป้าหมายและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน เช่น หลักสูตรการศึกษา กิจกรรมการเรียน การสอน และการวัดผลประเมินผล ซง่ึ ส่ิงเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญต่อการออกแบบและพัฒนาการเรียน การสอน
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 116 5. เปลี่ยนความคิด ปรับความเช่ือว่าการศึกษาที่ดีเริ่มจากคุณภาพครู ครูเท่านั้นคือผู้ท่ี เปล่ียนโลก เปล่ียนสังคมโดยรวมให้ดีข้ึน เพราะครูคือวิศวกรทางสังคมท่ีวางรากฐานให้กับสังคม ท้งั ปจั จุบนั และอนาคต หากรากฐานไม่ดีแลว้ ย่อมนาไปส่คู วามเส่ือมในทส่ี ดุ 6. เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การอบรม การสัมมนา การประชุม วิชาการ การเขียนบทความวิชาการ การสื่อสารผ่านเครือข่าย การร่วมแลกเปล่ียนเรียนรู้กับแวดวง วิชาชีพครู และที่สำคัญพยายามลดงานที่ไม่เก่ียวข้องกับการเรียนการสอน เพ่ือที่จะได้มีเวลาอยู่กับ ชั้นเรียนและพฒั นากจิ กรรมการเรยี นรู้ของผเู้ รียนใหส้ อดคล้องกับศตวรรษท่ี 21 จากข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้นมุ่งปรับความคิดของผู้สอนให้ตระหนักถึงความส ำคัญของ การเรยี นการสอน มุ่งพัฒนาวชิ าชพี ครูเพ่ือนำไปสู่คณุ ภาพของผู้เรียน ซึ่งการปฏิรปู ตนเองสู่การเปน็ ครู มืออาชีพเริ่มจากส่ิงที่ทำได้ด้วยตนเองและปฏิบัติแบบเรียบง่าย ขอเพียงมุ่งมั่นและใส่ใจที่จะพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการศึกษา การออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียน การสอน และการวัดผลประเมินผล กลไกการปฏิรูปตนเองทั้งหลายท้ังปวงเหล่าน้ีเริ่มที่การปรับ ความคิดของครแู ละลงมือปฏิบัติทีห่ ้องเรียน โดยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นการอา่ น การเขียน การคำนวณ การคิดแกป้ ญั หา การร่วมมอื กันทำงานผา่ นการสอ่ื สารอย่างมปี ระสทิ ธิภาพ บทสรปุ ครูมืออาชีพ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Professional Teacher หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพครู ในสถานศึกษาระดับปฐมวัย ขั้นพ้ืนฐาน และอุดมศึกษาท่ีต่ำกว่าปริญญาท้ังของรัฐและเอกชน เป็นผู้ ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ ทักษะและ ประสบการณ์ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมท่ีดีงาม ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียนด้วยเทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเจริญงอกงาม ทงั้ ทางด้านรา่ งกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม คุณลักษณะของครูมืออาชีพน้ันต้องเป็นผู้มีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครูเป็นพ้ืนฐาน มีอุดมการณ์ของความเป็นครู ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ พัฒนาความรู้ความสามารถ อยู่เสมอจนเกิดความชำนาญหรือเช่ียวชาญ มีความสามารถในการวิจัยและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง สามารถสงั เคราะห์วิธกี ารเรียนการสอนเพื่อสรา้ งสรรคว์ ิธกี ารเรียนการสอนใหม่ ๆ มีความรบั ผิดชอบ สูงและทำให้งานสมบูรณ์ยิ่งข้ึน มีความซ่ือสัตย์ มีวินัยในตนเอง มีจรรยาบรรณสูง มีความเมตตา ต่อศิษย์และบุคคลรอบข้าง และมีความเป็นกัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อ่ืนด้วยความ บริสุทธใิ์ จ ครูมืออาชีพต้องสร้างอุดมการณ์ให้ตนเองเสมอ ๆ เร่ิมตั้งแต่การเติมเต็มความรู้คือการ แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เสมอ ๆ การเติมเต็มให้ใจเข้มแข็ง การเติมเต็มเวลาคือการเสียสละความสุข ส่วนตัว การเติมเต็มคนคือการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับชุมชน และการเติมเต็มพลังคือทุ่มเทกำลังกาย และกำลังใจให้แก่ลกู ศษิ ย์อย่างเต็มกำลังความสามารถ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 117 การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูมืออาชีพ (1) การจัดเน้ือหาสาระการเรียนรู้ ครูต้องเลือก เนื้อหา สาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด ความแตกต่างของผู้เรียนและสภาพ ท้องถิ่น (2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัด ของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (3) การเลือกสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ ครูจะต้องจัดส่ือการเรียนและแหล่งเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน (4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครูต้องมีการวัดและประเมินผลการปฏิบัติตามสภาพจริง ของผู้เรยี นอย่างต่อเน่ือง เปิดโอกาสให้ผูเ้ รียนมีส่วนรว่ มในการประเมนิ ผลและให้ผู้เรียนมีการประเมิน ตนเอง (5) การจัดสภาพบรรยากาศการเรียนรู้ ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ของผ้เู รียนทงั้ ภายนอกห้องเรียนและภายในหอ้ งเรยี น การพัฒนาครไู ปสู่ความเป็นมืออาชีพ ประกอบด้วยหลกั การที่เป็นกุญแจสำคัญ 10 ประการ คือ (1) สร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นโดยตัวของครูเอง (2) พัฒนากลุ่มครูมากกว่าครู เป็นรายบุคคล (3) ต้องยอมรับว่าในการพัฒนาครูไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ ย่อมมีอุปสรรคที่เกิดขึ้น ในกระบวนการพัฒนาครู (4) การเรียนรู้แบบอิงประสบการณ์ หรือการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ในสถานการณ์จริงในลักษณะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในช้ันเรียน เป็นวิธีการที่ได้ผลต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนและการเรียนรู้ของครู (5) จูงใจให้ครูมีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉง และให้คำมั่นสัญญาในกระบวนการ พัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ (6) พึงตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลง ความเช่ือของครูเก่ียวกับการสอนและการเรียนรู้มีรากเหง้ามาจากการปฏิบัติจริงในช้ันเรียน อย่างต่อเน่ือง (7) จัดสรรเวลาและเปิดโอกาสให้ครูได้วางแผน ได้คิดไตร่ตรองทบทวนและให้ผล ป้อนกลับเก่ียวกับความสำเร็จและความล้มเหลวในการปฏิบัติการสอนของตนต่อกลุ่ม (8) โน้มน้าว ให้ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนำนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนมาใช้การจัดโปรแกรม พัฒนาครูท่ีครูมีส่วนร่วมในทุกชั้นของการวางแผนและนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (9) พึงตระหนักว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนและการเรียนรู้เป็นเรื่องท่ีเกิดทีละน้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไป (10) ส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในอนาคตสำหรับการธำรงรักษาไว้ซึ่งความเป็น ครมู ืออาชีพของตนเอง ก าร ป ฏิ รู ป ต น เอ งสู่ ก า ร เป็ น ค รูมื อ อ าชี พ เพื่ อ น ำ ไป สู่ ก า ร ย ก ร ะดั บ คุ ณ ภ า พ ก าร ศึ ก ษ า (1) หลงใหลใคร่รู้ด้านการเรียนการสอน (2) รักและยุติธรรมกับผู้เรียน (3) รักการสอนและพัฒนา ตนเองอยู่ตลอดเวลา (4) ทำความเข้าใจปรัชญาการศึกษา (5) เปลี่ยนความคิด ปรับความเช่ือว่า การศึกษาทีด่ ีเรม่ิ จากคุณภาพครู (6) เขา้ รว่ มกจิ กรรมทางวชิ าการอย่างสม่ำเสมอ
118 คำถามทบทวน หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนน้ีแล้ว จงอธิบายข้อความหรือตอบคำถาม ตอ่ ไปนี้ใหถ้ กู ต้องชัดเจน 1. จงอธิบายความรู้ทว่ั ไปเก่ียวกับการเป็นครูมอื อาชพี 2. ครูมืออาชีพ ควรมลี กั ษณะอยา่ งไรทจ่ี ะเหมาะสมกบั สงั คมยุคปจั จบุ ัน 3. อดุ มการณค์ วามเป็นครูมืออาชพี ควรมหี ลักยึดอยา่ งไรบา้ ง 4. กระบวนการจดั การช้ันเรียนของครูมืออาชีพ ควรเป็นอยา่ งไร 5. การพัฒนาตนเองของครมู ืออาชพี มีหลกั การสำคัญ ๆ อย่างไรบ้าง 6. จงเสนอแนวทางการปฏิรปู ตนเองสู่การเป็นครมู อื อาชีพ เพ่ือนำไปสู่การยกระดับคุณภาพ การศึกษา มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทที่ 6 การพฒั นาวิชาชพี ครู การพัฒนาวิชาชีพครูเป็นกระบวนการเรียนรู้ของครูอย่างต่อเนื่องตามช่วงอาชีพครู เพื่อความมั่นใจว่าครูจะมีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติการเรียนการสอน ท่ามกลางการเปล่ียนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วที่มีผลกระทบต่อการ เรียนรู้และการเรียนการสอน การวางแผนพัฒนาวิชาชีพครู ที่ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู และผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพ นักศึกษาที่กำลังศึกษาวิชาชีพครูและผู้ท่ีประกอบวิชาชีพครู ควรมคี วามรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องทเ่ี กยี่ วกบั สภาพการณ์พฒั นาวชิ าชพี ครู ซึ่งในบทที่ 6 น้ี ผู้เขียนได้อธิบายให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง สถานการณ์ครูไทยปัจจุบัน การยกระดับและการพัฒนาครปู ัจจบุ ัน การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 ขอ้ เสนอการยกระดับคุณภาพครใู นศตวรรษที่ 21 การพฒั นาวชิ าชพี ครู สถานการณ์ครไู ทยปัจจบุ นั ต้งั แต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สังคมไทยยังคงให้ความสำคัญต่อ “ครู” ว่าเป็นบุคคลท่ีจะส่งเสริม และสรรค์สร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณภาพและเม่ือสถานการณ์การเรียนรเู้ ปล่ียนแปลงไป ทั้งที่ เป็นการเรียนรู้ในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ท่ีก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่จำเป็นต้อง ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และยกย่องเพ่ือร่วมกันปกป้องและเสริมสรา้ งการเรียนรู้ของเด็กหรือผู้เรียน ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมอันดีงาม รวมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นคนดีของ ชุมชน สังคมและประเทศชาติ (วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ, 2553, หน้า 28; ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ, 2560, หนา้ 143) พิณสุดา สิริรังธศรี (2557, หน้า 6-17; ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ, 2560, หน้า 144) กล่าวถึงครู ในสถานศึกษาหรือในระบบปัจจุบันว่าเป็นครูกลุ่มหลักที่ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ และคุณภาพของผู้เรียน จากสถิติการศึกษาของประเทศไทยปี 2555 - 2556 มีครู/คณาจารย์ รวม 740,199 คน จำแนกเปน็ 1. ครรู ะดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานและปฐมวยั จำนวน 673,639 คน คดิ เป็นร้อยละ 91 2. คณาจารย์ระดับอดุ มศึกษา จำนวน 66,650 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 9 ปีการศึกษา 2555 ครู คณาจารย์ ดังกล่าวรับผิดชอบผู้เรียนในระบบแต่ละระดับ ท้ังสิ้น 14,079,980 คน จำแนกเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานและปฐมวัย จำนวน 12,322,197 คน คิดเป็นร้อย ละ 87.51 และการศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 1,757,783 คน คิดเป็นร้อยละ 12.49 คน อัตราส่วนนักเรียน/นักศึกษาต่อครู สำหรับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานและปฐมวัย คิดเป็น 18:3:1 และสำหรบั ระดบั อุดมศึกษา คดิ เปน็ 26:41:1 อาจกล่าวได้ว่า อัตราส่วนนักเรียนต่อครูโดยเฉพาะระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานและปฐมวัย โดยภาพรวมยังคงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ ก.ค.ศ. ท่ีกำหนดไว้คือ 25:1 ท่ีน่าจะเพียงพอต่อความ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 120 ต้องการของสถานศึกษา อย่างไรก็ตามอัตราส่วนนักเรียนต่อครูดังกล่าวก็ไม่สามารถสะท้อน ค ว า ม ห ล า ก ห ล า ย ข อ ง ก า ร จั ด ก า ร ศึ ก ษ า ขั้ น พื้ น ฐ า น ดั ง ก ล่ า ว ที่ มี พ้ื น ที่ แ ต ก ต่ า ง กั น ท้ั ง ใน เมื อ ง ชนบท และชายแดนที่ยังคงมีครูเกินเกณฑ์ในบางพ้ืนที่และไม่ครบตามเกณฑ์ในหลายพื้นท่ี รวมทั้ง การขาดแคลนครูเชิงคุณภาพตามสาระวิชา เช่น ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ บางแห่งไม่มีครู สอนเฉพาะวิชา ขณะเดียวกันการขาดแคลนครูเชิงปริมาณในอนาคตจะทวีความรุนแรงยิ่งข้ึน เมื่อครู จะเกษียณในรอบห้าปี (2556-2560) ถึง 97,254 คน มีจำนวนระหว่างปีละ 10,932 - 25,431 คน หากไม่เตรียมการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและภาพก็จะส่งผลต่อคุณภาพ การศึกษาของผู้เรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคน ภาครัฐ (ค.ป.ร.) ได้กำหนดให้มีการคืนอัตราเกษียณให้กระทรวง ศึกษาธิการ ไว้เพียงปี 2556 หลังจากน้ันจะคืนให้เพียงร้อยละ 20 ซ่ึงจะได้คืนเพียง 20,000 อัตราเท่าน้ัน จึงนับเป็นวิกฤติการณ์ และความท้าทายตอ่ ระบบครูและระบบการศึกษาทน่ี ่าเป็นห่วง การยกระดบั และการพัฒนาครปู ัจจุบนั ด้วยภารกิจและความรับผิดชอบต่อคุณภาพของนักเรียน/นักศึกษาดังกล่าว หากจะ พิจารณาถึงวงจรของระบบครูปัจจุบันท่ีประกอบด้วย การผลิต การพัฒนาและการใช้ครู (พิณสุดา สิรริ ังธศร,ี 2557, หน้า 7; ศกั ดชิ์ ยั ภู่เจรญิ , 2560, หน้า 145) พบวา่ 1. การผลิตครู มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูโดยคุรุสภา และมีสถาบันผลิตครูในความรับผิดชอบของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ท้ังภาครัฐ เอกชน และคณะสงฆ์ถึง 77 แห่ง ปีการศึกษา 2553 ทกุ ชั้นปี จำนวน 123,070 คน สำเร็จการศกึ ษา 15,466 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 12.56 และเขา้ ใหม่ 47,436 คน คิดเป็นร้อยละ 38.54 พบว่า คุณลักษณะครูที่ต้องการควรเป็นครูท่ีมีจิตวิญญาณ ของความเป็นครูและผู้ให้ มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดการเรียนรู้ ผู้อำนวย ความสะดวก ผู้สร้างแรงบันดาลใจ ตามทันเทคโนโลยี มีคุณธรรม มีความภาคภูมิในความเป็นไทย รู้และเข้าใจอัตลักษณ์ของความเป็นพลเมืองและพลโลก สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษ ที่ 21 และประชาคมอาเซียน การผลิตครูจึงต้องการการออกแบบที่สอดคล้องกับการเรียนรู้แบบใหม่ ในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานความเป็นไทย ที่ต้องรณรงค์และคัดเลือกให้คนเก่งคนดีมาเป็นครู ควบคู่ กับการจัดระบบการตอบแทนที่เหมาะสมและศักด์ิศรีของครูมืออาชีพท่ีควรปฏิรูประบบการผลิตครู ของครุศาสตร์ท่ีทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและความรู้ พลิกรปู แบบของการ ผลิตและพัฒนาครใู ห้เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ 2. การพัฒนา การพัฒนาครู เป็นหน้าท่ีของต้นสังกัด และมีองค์กรกลางด้านนโยบายและส่งเสริม การพัฒนาครู (สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา) ท่ียังคงต้องการกระจาย การพัฒนาไปที่สถานศึกษาโดยตรงตามความต้องการพัฒนาทีแ่ ท้จริงของครู ความเสมอภาคในโอกาส ได้รับการพัฒนาระหว่างครูในเมืองและครูในชนบท ครูในโรงเรียนขนาดใหญ่และครูในโรงเรียน ขนาดกลางหรือขนาดเล็ก โดยเฉพาะนวัตกรรมการพัฒนาท่ีหลากหลายท่ีให้ความสำคัญว่าครู คือผู้เรียนท่ตี ้องแสวงหาและต้องไดร้ บั การเรียนร้อู ยา่ งตอ่ เนื่องเพื่อศิษย์ท่มี ีคุณภาพ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 121 3. การใช้ครู มีองค์กรบริหารจัดการครูโดยคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) องค์กรวิชาชีพครูโดยคุรุสภา ทำหน้าที่ควบคุมและส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู พบว่า ตอ้ งการครูท่ีสอดคล้องกับความขาดแคลนเชิงปริมาณและคุณภาพ และสามารถกำหนดความต้องการ ได้เองโดยเฉพาะครูประจำสาระวิชา ครูวิชาเอก การสร้างแรงจูงใจและความภาคภูมิใจในวิชาชีพ การควบคุมมาตรฐานคุณภาพและการพัฒนาวิชาชีพท่ีสอดคล้องกับสภาพจริง การรักษาและปกป้อง สิทธิครูรวมทง้ั การประเมินครูเพื่อเล่ือนวิทยฐานะตามสภาพจริงและผลท่ีเกิดกบั ผ้เู รยี นที่ผูกกับความรู้ ความสามารถของครูควบควบคุมมาตรฐานครู ควรปฏิรูประบบการสอนของครทู ี่เน้นการคิดวิเคราะห์ และมีวิจารณญาณของผู้เรียน การประเมินครูแบบค่าสัมพัทธ์ที่ให้ความสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลง สทุ ธทิ เี่ กิดกับปัจจยั รวมทัง้ ภาวะผนู้ ำของผู้บรหิ ารและธรรมาภิบาล สรุปได้ว่า การผลิต การพัฒนาและการใช้ครูล้วนต้องการการปรับปรุงพัฒนาท่ีนำไปสู่ การยกระดับครูเพ่ือคุณภาพของผู้เรียนทั้งสิ้น แม้ว่าปัจจุบันจะมีข้อเสนอนโยบายการพัฒนาครู จากองค์กรนโยบายท่ีเกี่ยวข้องมาแล้วอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ก็ยังต้องการการเติมเต็มในระบบ และนำไปสู่การปฏิบัติให้มากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งด้านการผลิต การพัฒนา และการใช้ครู ในโอกาสตอ่ ไป บทบาทครูในศตวรรษท่ี 21 โลกในศตวรรษที่ 21 เป็นช่วงที่มีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างจาก ศตวรรษที่ 19 และ 20 อย่างสิ้นเชิง ครูในศตวรรษท่ี 21 คือ ครูในยุคโลกาภิวัตน์ จะต้องมีความรู้ กว้างไกลในเทคโนโลยี โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วย IT ครูจะต้องพัฒนาแบบก้าวกระโดดจึงจะทันโลก ยุคใหม่ นวัตกรรมจึงเป็นเคร่ืองมือของครูยุคใหม่ ที่จะต้องพัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยี วิชาการ เพ่ือนำนวัตกรรมไปพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น และยังถือได้ว่าครูเป็น ผู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ สำหรับการจัดการศึกษาก็จะมีการปรับเปล่ียนจากการสอนแบบเดิม ๆ ห้องเรียนแบบเดมิ ๆ จะถกู เปลี่ยนไปอย่างสิน้ เชิง ครู จะมีบทบาทสำคัญยิ่งกว่าเดิมจากผู้สอนเป็นผู้ฝึกให้เด็กได้เกิดทักษะที่จำเป็น ครูต้อง เปล่ียนความคิด ต้องละท้ิงความยึดม่ันในเนื้อหาวิชาว่าถูกท่ีสุด แล้วปรับตัวมาสู่การเป็นผู้ออกแบบ การเรียนรู้ ตงั้ คำถาม เพอ่ื กระตนุ้ ให้ผู้เรียนได้คดิ และลงมือปฏิบัติ เพราะการลงมือทำจะช่วยสนับสนุน ให้เด็กได้เกิดทักษะการเรียนรู้ (Learning skill) ครูท่ีมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนใหม่ ๆ อาจรวมตัวกันหาเทคนิคการจัดการเรียนการสอนท่ีแปลกใหม่ อาจจะอยู่ในรูปแบบของโครงงาน เพ่ือให้เด็กสามารถนำความรู้ท่ีได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และครูต้องไม่ตอบคำถามของเด็ก ในทันที ไม่ดุด่าว่ากล่าวหากคำตอบน้ันไม่ถูกต้อง เพราะจะเป็นการทำร้ายเด็กในภายหลัง แต่ควรใช้ วิธีการตั้งคำถามไปเร่ือย ๆ เพื่อนำไปสู่การลงมือค้นหาจนได้คำตอบที่ออกมาจากความคิดภายในตัว ของเด็กเอง ทำให้เด็กมีประสบการณ์เกิดเป็นทักษะชีวิต (Life skill) ซ่ึงการมีทักษะชีวิตที่ยังช่วยให้ เด็กรจู้ กั ทจี่ ะแก้ไขปญั หาต่าง ๆ ได้ (วิจารณ์ พานชิ , 2554; ศกั ด์ิชัย ภเู่ จริญ, 2560, หนา้ 153)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 122 การจดั การศึกษาในศตวรรษท่ี 21 การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 น้ัน ทิศนา แขมมณี (2557, หน้า 8-9; ศักด์ิชัย ภู่เจริญ, 2560, หน้า 155) ได้ศึกษาแนวคิดของนักการศึกษาและสรุปการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนใน ศตวรรษท่ี 21 จดั ได้เปน็ 5 กลมุ่ ดังน้ี 1. ความรู้ในวิชาแกน ได้แก่ ภาษาสำคัญ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา พหุวัฒนธรรม การปกครองและหน้าที่พลเมือง ศิลปะ รวมท้ัง แนวคิดสำคัญต่าง ๆ เช่น จิตสำนึกต่อโลก ส่ิงแวดล้อม สุขภาพ ความเป็นพลเมือง และการเป็น ผู้ประกอบการอย่างสรา้ งสรรค์ (Entrepreneurial spirit) ซ่ึงการเรียนรู้สาระความร้ดู ังกลา่ ว ควรเป็น การเรียนรูเ้ ชงิ ลกึ และมีความเช่อื มโยงสัมพนั ธ์กับสิ่งต่าง ๆ ท่ีเก่ียวขอ้ ง 2. คุณธรรมและคณุ ลกั ษณะ ไดแ้ ก่ ความรบั ผิดชอบ ความรู้รับผดิ ความซอื่ สัตย์ ความกล้า เชิงจรยิ ธรรม การตดั สินใจเชงิ จริยธรรม ความกลา้ เสย่ี ง 3. ทักษะทางปัญญา ได้แก่ ทักษะการส่ือสาร ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดวิพากษ์ คิดอย่าง มีวิจารณญาณ คิดสังเคราะห์ คิดริเร่ิม คิดแก้ปัญหา คิดตัดสินใจ คิดจินตนาการ คิดกว้าง รวมไปถึง ทักษะอีกชุดหนึ่งท่ีเรียกว่า ทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย ทักษะการแสวงหาข้อมูล/เข้าถึงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างความรู้ การชี้นำตนเอง (Self-directed learning) การเรียนรู้ ด้วยตนเอง การปรบั ปรุงวธิ ีการเรียนรู้ของตน การใฝร่ ู้และการรับผิดชอบการเรยี นรขู้ องตน 4. ทักษะทางสังคม ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความมีวินัยในตนเอง ความยืดหยุ่น การปรับตัว การฟ้ืนตัว (Resiliencd) ความมีบูรณภาพเป็นหน่งึ เดียว (Integrity) ความ เข้าใจผู้อ่ืนอยางลึกซ้ึง (Empathy) การเป็นผู้นำ การมีภาวะผู้นำ การสร้างแรงจูงใจและความร่วมมือ การปฏิสัมพนั ธ์และสร้างความสมั พนั ธ์ระหว่างบคุ คล การทำงานเปน็ ทีมและการเรยี นรู้เปน็ ทมี 5. ทักษะการใช้เทคโนโลยี เช่น การใช้เทคโนโลยีดิจิตอล และการใช้วิธีการเชิงปริมาณ (Digital & quantitative literacy) การใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีการส่ือสาร จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จัดได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย ความรู้ในวิชาแกน คุณธรรมและคุณลักษณะ ทักษะทางปัญญา ทักษะทางสังคม ทักษะการใช้เทคโนโลยี และในปัจจุบันการเรียนการสอนของครูมีส่ือรูปแบบต่าง ๆ ช่วยอำนวย ความสะดวกใหผ้ เู้ รยี นได้เรยี นร้ไู ด้ดีขึ้น ครกู ต็ ้องปรบั ตวั เพอ่ื จดั การเรียนการสอน ครูในศตวรรษที่ 21 ควรจะมีการปรับการจัดการเรียนการสอนรวมถึงการสอนที่ดี โดย เข้าใจเร่ืองความรู้เดิมของนักเรียน สร้างแรงบันดาลในให้นักเรียน สร้างการเรียนท่ีถูกต้อง การสอน โดยการปฏิบัติ พัฒนาการของนักเรียนและบรรยากาศของการเรียน รวมท้ังทำให้นักเรียนเกิด ความสามารถและทกั ษะในการกำกับการเรยี นรใู้ ห้กับตวั เอง ข้อเสนอการยกระดับคุณภาพครูในศตวรรษท่ี 21 พิณสุดา สิริรังธศรี (2557, หน้า 6-10; ศักด์ิชัย ภู่เจริญ, 2560, หน้า 150-152) กล่าวว่า คุณลักษณะครูท่ีมีคุณภาพ คือ 1) เป็นผู้ท่ีมีจิตวิญญาณความเป็นครูและเป็นผู้ให้ 2) มีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดการเรียนรู้ 3) มีทักษะการสื่อสาร 4) อำนวยความสะดวกในการ เรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพ 5) ต่ืนรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ 6) ตามทันเทคโนโลยีและข่าวสาร
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 123 ความก้าวหน้าที่วิทยาการและความรู้ 7) สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน 8) ใฝ่คว้าและ แสวงหาความรู้อย่างต่อเน่ือง 9) เป็นแบบอย่างทางคุณธรรมจริยธรรมและศีลธรรม 10) รู้และเข้าใจ ในอัตลักษณ์ความเป็นชนชาติไทยที่หลากหลาย 11) ภาคภูมิใจในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมือง โลก 12) ยอมรับและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 13) มีความพร้อมและรับต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และประชาคมอาเซียน เพ่ือให้เกิดการยกระดับคุณภาพครูไทยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานท่ีสามารถปฏิบัติได้จริง เป็นครูที่มีคุณภาพสมควรกำหนดคุณลักษณะที่มีคุณภาพภายใต้แนวคิด หลักการ วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ มาตรการและแนวทาง โดยดำเนนิ การดังนี้ 1. แนวคิด ครูเป็นบุคคลสำคัญทสี่ ุดในกระบวนการเรียนรู้ทีต่ ้องไดร้ ับการยกระดับคณุ ภาพ ท้ังระบบและต่อเนื่องท้ังด้านการผลิต การพัฒนา และการใช้ครู อันจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน ประชาชน และการพัฒนาประเทศในทสี่ ดุ 2. หลกั การ ยกระดบั คณุ ภาพครทู ง้ั ระบบทส่ี ามารถปฏิบตั ิได้จริงทง้ั ระยะส้นั และระยะยาว 3. วิสัยทัศน์ ยกระดับครูไทยระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ มศี ักยภาพในการจัดการเรยี นรู้ เป็นครูแนวใหม่เพ่ือศิษย์ท่ีมีคุณภาพ 4. เป้าประสงค์ เพ่ือให้ครูไทยในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานเป็นแบบอย่างท่ีดีของศิษย์ มีศักยภาพในการจัดการเรยี นรู้ เป็นครแู นวใหมเ่ พอ่ื ศษิ ยท์ ่ีมีคณุ ภาพ 5. ยุทธศาสตร์ เพ่ือให้สอดคล้องกบั คุณลักษณะครูท่ีมีคณุ ภาพ แนวคิด หลักการ วสิ ัยทัศน์ เปา้ ประสงค์ จึงควรกำหนดยุทธศาสตร์ ประกอบ 5.1 ยุทธศาสตร์ 1 การสร้างมาตรฐานวิชาชีพครใู ห้เป็นทยี่ อมรับ 5.2 ยทุ ธศาสตร์ 2 การผลิตครูให้ได้มาตรการเพ่อื รองรับการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 5.3 ยทุ ธศาสตร์ 3 การพฒั นาครูให้เกิดทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 5.4 ยุทธศาสตร์ 4 การเสริมสร้างประสิทธภิ าพการใช้ครู 5.5 ยุทธศาสตร์ 5 การส่งเสริมและพัฒนาสทิ ธิครู 6. มาตรการและแนวทาง 6.1 ประเดน็ เร่งดว่ นที่ตอ้ งดำเนินการ เป็นการตอบสนองความจำเป็นเร่งด่วน เห็นสมควรเลือกดำเนินการตามข้อเสนอข้างต้น กอ่ นโดยการปฏริ ปู ห้องเรียน 6.1.1 ปรับเปล่ียนรูปแบบการสอนของครูให้เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้แทนการ สอนแบบด้งั เดิม 6.1.2 ปรับระบบการพัฒนาครูเป็นการพัฒนาที่สถานศึกษาอยา่ งเป็นองค์รวมทั้งการ เรียนรู้ด้วยตนเอง การปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ การพัฒนาและจัดให้มีครูต้นแบบ เพื่อเป็นพ่ี เล้ียงช่วยเหลือวิชาการ/การจัดการเรียนรู้ของครู และจัดระบบเครือข่ายและนิเทศการสอนภายใน สถานศกึ ษา (หอ้ งเรียน) ใหม้ ีประสทิ ธิภาพ 6.1.3 ปรับระบบการประเมินผลการทำงานของครูด้วยวิธีการประเมินแบบค่า สมั พัทธ์ (Relative) ท่ีคำนึงถึงความต่างระหว่างผลผลติ กับปัจจัย เพื่อการบริหารจัดการและนำผลไป เป็นสว่ นหน่ึงในการเล่อื นวทิ ยฐานะ เงินเดอื น การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชพี ท่ีเกี่ยวข้อง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 124 6.2 เง่อื นไขการนำไปสู่การปฏิบัติ 6.2.1 การกระจายอำนาจการบริหารจัดการให้สมบูรณ์ท้ังการบริหารจัดการและ นวัตกรรมการศึกษา โดยกระจายให้พื้นท่ีจัดการศึกษาเอง ให้สังคมมีส่วนร่วมจัดการศึกษาอย่าง แท้จริงมากข้ึน รวมทั้งการมอบอำนาจให้สถานศึกษาระดับสูงกว่า (สถาบันอุดมศึกษา) มีหน้าท่ีดูแล ช่วยเหลือ แนะนำสถานศึกษาระดับตำ่ กวา่ (สถานศึกษาข้นั พ้นื ฐาน) 6.2.2 องค์กรต้นสังกัดและองค์กรส่งเสริมและพัฒนาครู เพิ่มศักยภาพให้โรงเรียน สามารถสง่ เสรมิ และบริหารจัดการการเรยี นรู้และพัฒนาคุณภาพของครูได้อย่างมปี ระสิทธิภาพทั้งด้าน วชิ าการ งบประมาณ และการบรหิ ารงานบุคคล 6.2.3 องค์กรระดับนโยบายที่เก่ียวข้อง/ต้นสังกัดส่วนกลางลดการสั่งการและ กระจายการพัฒนาครูให้เป็นหน้าที่ของเขตพ้ืนท่ีการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่าย สถานศึกษาหรือสถานศึกษาที่มีศักยภาพและความพร้อมที่ผ่านการประเมิน แล้วแต่กรณี โดยเพิ่ม บทบาทการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมต้นแบบและการติดตามประเมินผลเพื่อส่งเสริมการ เรยี นรู้ของครใู หม้ ากขน้ึ 6.2.4 องค์กรต้นสังกัด องค์กรท่ีเกี่ยวข้องและสถานศึกษาโดยกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารและครู เช่ือม่ันและตระหนักในความสำคัญของครูท่ีต้องมีการพัฒนา และดำเนินการตาม มาตรการและแนวทางในความรบั ผิดชอบที่เสนออย่างจรงิ จัง การพฒั นาวชิ าชีพครู 1. พัฒนาการของการพฒั นาวชิ าชพี ครูในประเทศไทย ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการผลิตและพัฒนาครูอย่างต่อเน่ือง โดยเฉพาะในด้าน การผลิตและพัฒนาครูสู่การยกระดับเป็นวิชาชีพช้ันสูง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ข้ันพ้นื ฐาน (2556) ได้สรุปพฒั นาการของการพัฒนาวิชาชีพครูในประเทศไทยไว้ 4 ยุค ดงั น้ี ยุคท่ี 1 ยุคก่อนมีพระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488 สรุปเหตุการณ์สำคัญ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะท่ี 1 เป็นการฝึกหัดแบบอรูปนัย (พ.ศ. 2400-2434) เป็นยุคก่อนมีสถาบันผลิตครู ไม่มีหลักสูตรชัดเจน ดำเนินการในวังและในวัดเป็นการสอนตัวต่อตัว เน้นว่าครูต้องเป็นผู้ที่มีความรู้คู่ คณุ ธรรม ระยะท่ี 2 เป็นการครุศึกษาเพือ่ ปฏริ ปู บ้านเมอื ง (พ.ศ. 2435-2455) โดยมีการจดั ตงั้ โรงเรียน ฝกึ หดั อาจารยเ์ พอ่ื ผลิตครูอาจารยไ์ ปสอนในกรุงเทพฯ และหัวเมอื งต่าง ๆ ซึง่ สอดคล้องกบั ยคุ สมัยการ ปฏิรูปปรบั ปรุงบา้ นเมือง ระยะที่ 3 เป็นการครุศึกษาเพือ่ พัฒนาอาชีพและท้องถ่ิน (พ.ศ. 2456-2488) ในระยะน้ีเป็นการให้ความสำคัญต่อชนบทไทย ถือว่าขอบฟ้าของประเทศไทย อยู่ที่ชนบท จึงเน้น การผลิตครดู า้ นอาชีพโดยเฉพาะเกษตรกรรม เพ่อื ไปสอนในชนบท เป็นการเริ่มตน้ การฝึกหดั ครชู นบท โดยถอื วา่ ครเู ป็นผูน้ ำทีด่ ที สี่ ุดในการพัฒนาชนบท ยุคท่ี 2 ยุครุ่งอรุณแห่งวิชาชีพครู : พระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488 (พ.ศ. 2488- 2522) ในยุคนี้มีพัฒนาการในการผลิตครู แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะท่ี 4 และ 5 ในระยะที่ 4 เป็น ระยะการครุศึกษาเพื่อความทันสมัย (พ.ศ. 2489-2516) ถือว่าเป็นระยะของการผลิตครูเพ่ือให้มคี วาม เป็นสากล อาศัยรูปแบบความเจริญจากต่างประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือผู้เช่ียวชาญ จาก ต่างประเทศ เป็นการผลิตครูสมัยใหม่ โดยนำแนวคิดจากตะวันตกทั้งด้านหลักสูตรและการเรียนการ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 125 สอนตามสากล โดยละทิ้งปรีชาญาณสยามเกือบหมด (สุมน อมรวิวัฒนา, 2554) ต่อมาเป็นการ ครุ ศกึ ษาระยะที่ 5 ซ่ึงเป็นระยะของการแสวงหาเอกลักษณ์ของครุศึกษาไทย (พ.ศ. 2517-2522) เป็นยุค ปฏิรูปการศึกษาเพ่ือชีวิตและสังคม มีนักคิดอิสระที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้มีเอกลักษณ์ ความเป็นไทย โดยเร่งปฏิรูปการศึกษาระดับประถมศึกษาแบบทดลองมมอบอำนาจให้คณะบุคคล เพื่อให้เปน็ รูปแบบการจดั การประถมศกึ ษาของประเทศไทยโดยเฉพาะ ยุคที่ 3 ยุคแห่งความคิดและความพยายาม (พ.ศ. 2523-2541) ซึ่งถือเป็นยุคท่ีจุด ประกายขายความคิดและมีความพยายามพิชิตเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงข้ึน อย่างเป็น รูปธรรม โดยการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488 หลายครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ มีการต้ังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) เป็นองค์กร กลางบริหารงานบุ คคลของข้าราชการครู โดยแยกออกจากอำนาจหน้าท่ีของคุรุสภ า ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488 นอกจากน้ีในปี พ.ศ. 2533 คุรุสภาได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน วิชาชีพครูท่ีระบุคุณลักษณะสำคัญสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูไว้ 4 ประการ คือ รอบรู้ ส อนดี มีคุณธรรมจรรยาบรรณ มุ่งมั่นพัฒนา พ.ศ. 2537 มีการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูขึ้นใหม่ มี 11 มาตรฐาน ที่มีเนื้อหาครอบคลุมเกณฑ์เดิมที่สามารถปฏิบัติและประเมินได้และพัฒนาต่อ เป็นระดับคุณภาพครูและพัฒนาจรรยาบรรณครู ในระยะนี้ถือเป็นระยะท่ี 6 คือ เป็นการครุศึกษา เพือ่ พฒั นาวชิ าชพี ครเู ป็นยคุ ทีต่ ้องการใหว้ ิชาชีพเป็นวิชาชีพชัน้ สูงและครูเป็นนักวิชาชพี ชนั้ สงู ยุคที่ 4 ยุคทองของวิชาชีพครู (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) ในยุคน้ีมีพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 เป็นพระราชบัญญัติ การศึกษา เพ่ือการปฏิรูปการศึกษาท่ีมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่เด็กเป็นสำคัญ นอกจากจะต้องจัดให้มีระบบการ บริหารจัดการด้านการศึกษาท่ีเอื้อต่อประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพการศึกษา การปรับหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมและการจัดให้มีส่ือและเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษาแล้ว ปัจจัยที่มี ความสำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ การปรับระบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ เพราะบุคคลเหล่าน้ีเป็นผู้ทำหน้าท่ีถ่ายทอดวิชาความรู้และเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้เรียน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีการจัดระบบครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการ ศึกษาขึ้นใหม่ เพ่ือยกระดับมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพช้ันสูง โดยบัญญัติไว้ใน หมวด 7 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มกี ระบวนการดงั น้ี 4.1 การผลิตครู (มาตรา 52) โดยกำหนดให้ประสานกับสถาบันผลิตครูในการปรับ ม า ต ร ฐ า น ก า ร ผ ลิ ต ค รู เพ่ื อ ให้ ได้ ม า ซ่ึ ง ผู้ ที่ มี ค ว า ม รู้ แ ล ะ ค ว า ม ช ำ น า ญ ใน วิ ช า ชี พ ท า ง ก า ร ศึ ก ษ า โดยสำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา (2558) ได้สรปุ ระบบท่เี กย่ี วของกับการผลติ ครไู ว้ ดังนี้ 4.1.1 ระบบการผลิตครูตามหลกั สตู รการผลติ ครู (1) หลักสูตรการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) เป็นหลักสูตรการผลิตครูที่ใช้เวลาศึกษาวิชาการอย่างเข้มข้น เป็นการเรียนภาคทฤษฎีและการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพ 4 ปี และฝกึ ปฏิบตั ิการสอนในสถานศึกษาที่ครุ ุสภารบั รองอีก 1 ปี รวมเป็น 5 ปี เมื่อผ่านการประเมินตามเกณฑ์จะมีคุณสมบัติและขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้หลักสูตรน้ี จดั เป็นหลักสูตรหลกั ในการผลติ ครู
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 126 (2) หลักสูตรการผลิตครูการศึกษาข้ันพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 2 ปี) รับผู้จบปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นและประสงค์จะเป็นครูเข้าศึกษาต่อวิชาชีพครู 1 ปี และฝึก ปฏิบัติการสอนในสถานศกึ ษาที่ครุ สุ ภารับรอง 1 ปี รวมเปน็ 2 ปี (3) หลักสูตรการผลิตครูระดับปริญญาโททางการสอน (หลักสูตร 3 ปี) เป็นหลักสูตรที่เปิดสอนสำหรับผู้จบปริญญาตรีในสาขาวิชาการศึกษาหรือสาขาอ่ืน ๆ เข้าศึกษา ในระดับปริญญาโท 2 ปี และฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่คุรุสภา รับรอง 1 ปี รวมเป็น 3 ปี เมอ่ื ผ่านการประเมิน ตามเกณฑ์แลว้ จะมคี ณุ สมบัติขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ 4.1.2 โครงการผลิตครูเพ่ือดึงดูด คนดี คนเก่ง เข้าสู่วิชาชีพครู ในการนี้ ตลอดระยะกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีโครงการผลิตครูลักษณะพิเศษเพ่ือให้ได้ครูดี มีความสามารถในการสอนโดยประกันการมีงานทำและบางโครงการให้ทุนตลอดการศึกษา โครงการ ท่ีดำเนินการ ได้แก่ โครงการครูพันธุ์ใหม่ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการมืออาชีพ) โครงการครูสหกิจ โครงการส่งเสริมการผลิตครู ท่ีมีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) โครงการเพชรในตมและโครงการบณั ฑติ คนื ถิน่ 4.1.3 มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) การผลิตครูได้มีความเปล่ียนแปลงอีกครั้งหนึ่ง เป็นปรากฏการณ์การปรับเปลี่ยน ในเร่ืองการควบคุมมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิตและมีการเพิ่มเวลาในการศึกษา ของนักศึกษาครู หลักสูตรระดับปริญญาตรีจากเดิม 4 ปี เป็น 5 ปี ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศใช้ “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552” กำหนดได้จัดทำ มาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพ่ือให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุง หลักสูตรและจัดการเรียนการสอน เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิ มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน จึงได้เกิดเป็น “มาตรฐานคุณวุฒิระดบั ปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์ และสาขา ศึกษาศาสตร์” (หลักสูตร 5 ป)ี (ธีรศักด์ิ (อุปรมยั ) อปุ ไมยอธิชัย, 2563, หน้า 34-37) 4.1.4 มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี) พ.ศ. 2562 (ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136. หน้า 12) เนื่องจากบริบทของโลก มีความเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีก็เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน จึงจำเป็นต้องมี การปรับปรุงการเรียนการสอนทุกสาขาวิชาชีพ ซ่ึงรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการ ปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ไปเรียบร้อยแล้ว หรือท่ีเราเรียกว่า โครงการบัณฑิตพันธ์ุใหม่ เพ่ือให้คนรุ่นใหม่มีสมรรถนะท่ีตอบสนองต่อการเปล่ียนแปลงในศตวรรษท่ี 21 หลักสูตรผลิตครู ท่ีต้องการผลิตครูรุ่นใหม่ออกมาสอนให้สามารถตอบโจทย์ในอนาคตได้ จำเป็นต้องกลับมาทบทวน หลักสูตรผลิตครู 5 ปี ที่ใช้มาต้ังแต่ปี 2547 ซึ่งก็เหมาะสมกับแนวคิดในขณะนั้นที่ต้องการให้ครูมี สมรรถนะเพิ่มมากข้ึน แต่เมือ่ สถานการณ์โลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ท้ังความรกู้ ็เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว กระทรวงศึกษาธิการจึงพิจารณาปรับหลักสูตรผลิตครูลดเวลาเหลือ 4 ปี แต่ยังสามารถคงคุณภาพ ของครูรุ่นใหม่ไว้ได้ โดยปรับกระบวนการเรียนการสอนใหม่ให้เหมาะสม โดยเฉพาะในส่วนของ การเรียนเน้ือหาสาระน้ันสามารถลดลงได้ เพราะทุกอย่างสามารถค้นคว้าหาได้เองทางอินเตอร์เน็ต เน้นการใช้เวลาไปเพ่ิมดา้ นกระบวนการสอน ปลูกฝังทศั นคติ จติ วิญญาณความเป็นครู ซึง่ เดิมหลกั สูตร ผลิตครู 5 ปี จะฝึกสอนในโรงเรียนในปีสุดท้ายของการเรียน สำหรับหลักสูตรผลิตครู 4 ปี ปรับใหม่
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 127 โดยให้นิสิตนักศึกษาครูเริ่มฝึกสอนในโรงเรียนต้ังแต่ปี 1 และเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 4 โดยระยะเวลาการฝึกสอนโดยรวมจะไม่น้อยกว่า 1 ปี ทั้งนี้ ให้คณะครุ ศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เร่มิ ดำเนินการไดต้ ั้งแตป่ ีการศกึ ษา 2562 4.2 การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานและจรรยาบรรณ (มาตรา 53) โดยกำหนด ให้มีองค์กรวิชาชีพและการควบคุมการประกอบวิชาชีพด้วยการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพ่ือคัดสรรให้ผู้ที่เข้าสู่วิชาชีพครูเป็นผู้ท่ีมีความเหมาะสมท้ังในด้านความรู้และคุณธรรม ตลอดจน เพื่อกำกับดูแลให้ครูเข้าสู่วิชาชีพ แล้วปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพเหมาะสม กับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง โดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา มีหน้าท่ีพัฒนาครูในการควบคุม กำกับ ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพและการธำรงรักษา สถานภาพของผูม้ ใี บอนุญาตประกอบวชิ าชีพ 4.3 การพัฒนาและส่งเสริม (มาตรา 52 และ มาตรา 53) โดยกำหนดให้มีสถาบัน เพ่ือการพัฒนาครูและจัดให้มีกองทุนพัฒนาและกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์และบุคลากรทางการ ศึกษา ท้ังน้ี เพื่อให้ครูได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบและเป็นการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ และมาตรฐานวิชาชพี โดยมหี น่วยงานท่เี ก่ยี วขอ้ ง ดังน้ี 4.3.1 สำนกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการขา้ ราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีหน้าท่ีในการพัฒนาครูเพ่ือเตรียมเข้าสู่ตำแหน่ง การพัฒนาครู บรรจุใหม่โดย ก.ค.ศ. จัดทำหลักสูตร การพัฒนาให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการอบรมพัฒนา การมี หรอื การเล่ือนวทิ ยฐานะ การธำรงรักษา สภาพวิทยฐานะ และการพัฒนาด้านอื่น ๆ 4.3.2 สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (สค บศ.) เปน็ หน่วยงานกลางในการประสานงาน การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 4.3.3 สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) พัฒนาครูด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตครู การเพิ่มศักยภาพของครู ในดา้ นอ่นื ๆ 4.3.4 หน่วยงานต้นสังกัดของครูประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาข้ันพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถ่ิน กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ดำเนินการพัฒนาครูตามนโยบายและโครงการหรือ กิจกรรมที่กำหนดข้ึน โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเผยแพร่นวัตกรรม เทคนิควิธีใหม่ ๆ การเพ่ิมพูน ศกั ยภาพเพ่อื ให้ครูมสี มรรถภาพตามทตี่ ้องการในแตล่ ะดา้ น แตะละเรือ่ งตามนโยบายของหนว่ ยงาน 4.3.5 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดำเนินการ พัฒนาครูเพ่ือพัฒนาสมรรถภาพการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐานและหนว่ ยงานท่ีมีสถานศึกษาในสังกัดอ่ืน ๆ 4.3.6 สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จัดหลักสูตรการพัฒนาครูในรูปแบบต่าง ๆ การศกึ ษาต่อเพือ่ การเพ่ิมวุฒิหรือปรบั วฒุ ิ การอบรมระยะสนั้ การอบรมเชงิ ปฏิบัติการตามความสนใจ ของครู และสถานศึกษา
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 128 4.3.7 สถาบันวิชาการภาคเอกชน จัดโครงการพัฒนาครูประกอบการใช้สื่อหรือ นวัตกรรมท่ีผลิตขน้ึ และเพิม่ พนู ศกั ยภาพหรือสมรรถนะอื่นของครตู ามความสนใจ 4.3.8 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นหน่วยงานระดับชาติทำหน้าท่ีเสนอ นโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับและประเภทการศึกษา โดยกำหนดนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์ในเร่ืองการผลิตและพัฒนาครู โดยบรรจุไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็น แผนระยะยาว (10 ปี) ทุกฉบับ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ แผน 5 ปี รวมทั้งจัดทำหลักการและ วธิ กี ารปฏิรปู การฝึกหดั ครู พฒั นาครู และบุคลากรทางการศกึ ษา การวิจยั รปู แบบการพัฒนาครู 4.4 การบริหารงานบุคคล (มาตรา 54 และ มาตรา 55) โดยจัดให้มีระบบ บริหารงานบุคคลท่ีเอื้อต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าท่ีของครู รวมถึงปรับค่าตอบแทนครูและ บคุ ลากรทางการศึกษาใหเ้ หมาะสมกับการเปน็ ผู้ประกอบวิชาชีพช้ันสูง ดังน้ันในการผลิตครูในระยะนี้ เป็นการครศุ ึกษาเพื่อปฏิรูปการศึกษาเป็นการสืบต่อจากการผลิตครู (ธีรศักด์ิ (อุปรมัย) อุปไมยอธิชัย, 2563, หน้า 37-38) 3. แนวทางการพฒั นาวิชาชีพครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน (2556) เสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบ วิชาชีพครู เป็นวิธีการอย่างหน่ึงเพื่อให้ครูได้เกิดการพัฒนาและต่อยอดและเมื่อพัฒนาแล้วควรนำ ความรู้มาถ่ายทอดสู่ผู้เรียนเพ่ือให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นความคาดหวังที่มีต่อการทำงานในฐานะ วิชาชีพครู โดยมีแนวทางการพัฒนารูปแบบวิชาชีพครูและวิธีการสร้างความสำเรจ็ แตกตา่ งกันออกไป ดว้ ยหลกั การ “D-E-V-E-L-O-P” 1. Development : ไม่หยดุ ยัง้ การพฒั นา ผูท้ ่ีจะประสบความสำเร็จในหนา้ ที่การงานและพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูได้จะต้อง เป็นคนที่มีหัวใจของการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองบุคลิกลักษณะ พฤติกรรมหรือแม้แต่ วิธีการทำงาน โดยต้องเป็นผู้ท่ีมีการสำรวจและประเมินความสามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลา คอยตรวจสอบว่าเรามีจุดแข็งและจุดบกพร่องในด้านใดบ้าง และพยายามที่จะหาทางพัฒนาจุดแข็ง และปรับปรุงจุดบกพร่องของตนให้ดีขึ้น เช่น ถ้าไม่เก่งภาษาอังกฤษ ไม่เข้าใจกระบวนการวิจัย ซ่ึงจำเป็นต้องนำมาใช้ในการทำงาน ก็ควรขวนขวายหาโอกาสท่ีจะเรียนเพ่ิมเติม นอกจากน้ียังต้อง เป็นคนท่ีไม่ยึดติดกับวิธีการหรือขั้นตอนการทำงานแบบเดิม ๆ โดยควรจะหาเทคนิคและแนวทาง ใหม่ ๆ เพ่อื พฒั นาการสอนของตนเองให้ดีขึน้ และมปี ระสิทธภิ าพมากข้ึนเสมอ 2. Endurance : มุ่งเนน้ ความอดทน ความอดทนเป็นพลังของความสำเร็จในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู อดทนต่อ คำพูด อดทนตอ่ พฤติกรรมการดูหมิ่นหรือสบประมาท อดทนต่อความเครียดในการทำงาน คนบางคน ลาออกจากอาชีพครูเพราะพบกับการพูดจารุนแรงหรือเพียงแค่ถูกต่อว่าต่อหน้าท่ีประชุมเท่านั้น การลาออกจากงานบ่อย ๆ น้ันเป็นสิ่งไม่ดี เพราะอาจถูกมองว่าท่านเป็นครูที่ไม่มีความอดทนเลย ก็เป็นได้ (เสียประวัติการทำงานของท่านเอง) หากท่านต้องเผชิญกับสถานการณ์ท่ีเลวร้ายหรือไม่ ปรารถนา ขอเพียงแต่ให้ท่านมีความอดทนและอดกล้ันเข้าไว้ คิดถึงประโยชน์ท่ีจะเกิดกับการพัฒนา เดก็ ผเู้ รยี นแล้วทา่ นจะสามารถเผชิญกบั ปญั หาต่าง ๆ ได้สำเร็จ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 129 3. Versatile : หลากหลายความสามารถ สถาบันการศึกษาย่อมต้องการคนท่ีมีความรู้ความสามารถให้เข้ามาพัฒนาและปรับปรุง ผู้เรียนให้ดีขึ้น หากท่านเป็นเจ้าของสถานศึกษา ท่านอยากได้คนที่สามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง หรือทำได้เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง แน่นอนว่าท่านคงต้องการคนที่มี ความสามารถทำงาน ได้หลากหลาย ไม่ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงงานท่ีได้รับหมายพิเศษ ซ่ึงบางคนท่ีหลีกเลี่ยงงาน กลัวว่า จะต้องทำงานมากกว่าคนอ่ืน ไม่อยากให้ใครเอาเปรียบ ไม่เคยอาสาท่ีจะทำงานนอกเหนือจากงาน สอนหนังสือที่รับผิดชอบ แน่นอนว่าคนกลุ่มนี้มีทางท่ีจะได้รับความก้าวหน้าและความสำเร็จในชีวิต ความเปน็ ครูไดย้ าก 4. Energetic : กระตอื รือร้นอยู่เสมอ ผู้ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูต้องมีความกระตือรือร้นและมีความตื่นตัวที่จะแสวงหา ความรู้ใหม่ ๆ การรับฟังข้อมูลข่าวสาร ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ท่ีเกิดขึ้น พร้อมท้ังมีความมุ่งมั่น ทีจ่ ะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคท่ีเกิดจาการเรียนการสอนใหป้ ระสบผลสำเร็จ โดยส่วนใหญ่คนที่มีความ กระตือรือร้นจะเป็นคนที่ชอบลองผิดลองถูก มาทำงานก่อนเวลาเสมอเพื่อหาโอกาสค้นคว้าหาความรู้ เพิ่มเติม พยายามที่จะให้งานเสร็จก่อนหรือตรงตามเวลาท่ีกำหนดซ่ึงแตกต่างจากคนท่ีขาดความ กระตือรือร้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่อยากให้วันทำงานมาถึง รอคอยเวลาเลิกสอนหนังสือ หรือเสร็จส้ินสัปดาห์การสอน ทำงานเฉ่ือย ไม่สนใจรับฟังข้อมูลข่าวสารใด ๆ เลย ขอเพียงให้งาน ของตนเองเสร็จเท่านัน้ เพือ่ ทจี่ ะได้กลบั บ้านหรอื ไปที่ไหน ๆ ตามที่ใจปรารถนา บุคคลเหล่านั้นไมม่ ีทาง หรือมโี อกาสนอ้ ยมากในการได้รับความสำเร็จและความก้าวหนา้ ในหนา้ ทก่ี ารงานของตน 5. Love : รกั งานที่ทำ ขอให้ตระหนักไว้เสมอว่า “คนเราไม่สามารถเลือกงานที่รักได้เสมอไป แต่เราสามารถ เลือกท่ีจะรักงานที่ทำอยู่ได้” พบว่าในยุคสมัยน้ีการเลือกงานที่รักมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยกว่าการท่ี จะเลือกรักงานที่ทำ ดังน้ัน “หากท่านไม่สามารถเลือกงานที่รักได้ ท่านก็ควรเลือกที่จะรักงาน ท่ีท่านทำ” เพราะความรู้สึกนี้เองจะส่งผลให้ท่านมีความสุขกับงานของท่าน ขอให้ลองถามตัวเองว่า ท่านรักงานวิชาชีพครูที่ทำอยู่หรือไม่ แล้วท่านมีพฤติกรรมอย่างไรหากท่านมีความรู้สึกว่าไม่รัก งานที่ทำอยู่เลยและผลงานท่เี กิดขึ้นเป็นอย่างไรบ้าง บางท่านเบ่ือหนา่ ยกับชีวิตทำงานแบบครูเช้าชาม เย็นชาม ไม่มีเป้าหมายในการทำงาน ซ่ึงย่อมแน่นอนว่าคงไม่ประสบความสำเร็จในหน้าท่ีการงาน ของท่านเลย พ้ืนฐานของความสำเร็จอยู่ท่ีความรักในส่ิงนั้น เมื่อมีความรักท่านจะมีความสุขกับ งานท่ีทำ ซึ่งจะทำให้พยายามหาวิธีการต่าง ๆ เพ่ือเพิ่มมูลค่าของงานที่ทำอยู่ตลอดเวลา และน่ัน จะสง่ ผลให้ท่านร้จู กั วางแผนชวี ิตและเป้าหมายความสำเร็จในการทำงานของท่าน 6. Organizing : จดั การเปน็ เลศิ การจัดการงานที่ดี จะทำให้ท่านรู้ว่าควรจะทำอะไรก่อนและหลังบ้าง สามารถจัดสรร เวลาและทรัพยากรต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ เวลาในการสอนหนังสือ เวลาให้กับตนเองและครอบครัว เพ่ือนฝูง การจัดการจะเป็ นส่ิงผลักดันให้ท่านต้องวางแผน และเป้าหมายการทำงานอยู่เสมอ ทั้งนี้ต้องสำรวจตนเองบ้างว่า ท่านมีความสับสนและไม่สามารถ ทำงานได้เสร็จตามแผนงานท่ีกำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่าน้ีเองจะเป็นเครื่องบ่งบ อกว่า
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 130 ท่านขาดประสิทธิภาพในการจัดการงานของท่านและไม่สามารถบริหารทรัพยากรต่าง ๆ ท่ีมีให้เกิด ประสทิ ธผิ ลได้ 7. Positive : คดิ แตท่ างบวก ค ว า ม คิ ด ท า ง บ ว ก ท่ี เป็ น สิ่ งที่ ช่ ว ย ท ำ ให้ คุ ณ ม อ ง โล ก ใน แ ง่ดี แ ล ะ พั ฒ น า ศั ก ย ภ า พ ความเป็นครู มีกำลังใจและพลังในการทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลสำเร็จ ผู้ท่ีมี ความคิดในทางบวกจะเป็นผู้ท่ีสนุกและมีความสุขกับงานท่ีทำ แสวงหาโอาสท่ีจะช่วยเหลือ และสนับสนุนผู้อ่ืนอยู่เสมอ สำหรับผู้ท่ีมีความคิดในทางลบอยู่ตลอดเวลาจะเป็นผู้ท่ีหมกมุ่นอยู่แต่ กับปัญหา ชอบโทษตัวเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ ขาดความคิดท่ีจะพัฒนาตนเองและงานที่ทำ ในท่สี ุดผลงานท่ีได้รบั ยอ่ มขาดประสทิ ธิภาพ (ธรี ศกั ดิ์ (อปุ รมัย) อุปไมยอธชิ ยั , 2563, หนา้ 38-41) นอกจากน้ี อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ (2560, หน้า 112-115) ได้ศึกษาวิจัย การพัฒนารูปแบบ การผลิตครู เพ่ือรองรับการศึกษายุค 4.0 โดยการวิเคราะห์หลักสูตรของสถาบันผลิตครู 4 แห่ง ซึง่ ประกอบด้วยสถาบันผลิตครูท่ีเป็นตัวแทนของสถาบันในสังกัดมหาวทิ ยาลัยในกำกับของรัฐ 2 แห่ง และสถาบนั ในสงั กดั ของมหาวิทยาลยั ราชภฏั 2 แหง่ ผลการวจิ ยั พบว่า 1. สมรรถนะท่ีจำเป็นของครูในการศกึ ษายุค 4.0 ประกอบดว้ ย 1. สมรรถนะแกนกลางของการศกึ ษายุค 4.0 จำนวน 10 ดา้ น ได้แก่ 1.1 การคิดแบบมีวจิ ารณญาณ 1.2 การแกป้ ัญหาแบบสร้างสรรค์ 1.3 การสร้างนวตั กรรม 1.4 ความเปน็ ผ้ปู ระกอบการ 1.5 ความเป็นผ้เู รยี นรู้ตลอดชีวติ 1.6 การใชเ้ ทคโนโลยแี ละสารสนเทศ 1.7 การทำงานรว่ มกบั ผอู้ ื่น 1.8 การส่อื สารขา้ มวัฒนธรรม 1.9 ภาวะผู้นำ 1.10 การมีจิตสาธารณะ 2. สมรรถนะวิชาชพี ครู 6 ด้าน ไดแ้ ก่ 2.1 ความเป็นครแู ละจรรยาบรรณวชิ าชพี ครู 2.2 การพัฒนาหลักสูตร 2.3 การรู้ลกึ ในเนือ้ หาวิชาและวิธีวิทยาการสอน 2.4 การประเมินผลและวจิ ัยเพ่ือพัฒนาการศกึ ษา 2.5 การพฒั นาผูเ้ รียน 2.6 การจัดสภาพแวดล้อมการเรยี นรู้ 2. จดุ แข็งและจุดออ่ นของการผลิตครใู นประเทศไทย ผลการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการผลิตครูในประเทศไทยประกอบด้วย ข้อมูล 2 ส่วนคือ ผลการวิเคราะห์หลักสูตรของสถาบันผลิตครู 4 แห่ง กับผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการ วิเคราะหเ์ อกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคณุ วุฒิ ดังนี้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 131 2.1 ผลการวิเคราะห์หลักสูตรปริญญาตรีของสถาบันผลิตครู 4 แห่ง โดยการ เปรียบเทียบความสอดคล้องระหว่างสมรรถนะครูในการศึกษายุค 4.0 กับรายวิชาในหลักสูตรผลิตครู พบว่ารายวิชาส่วนใหญ่ในหมวดการศึกษาทั่วไปของสถาบันผลิตครูทั้ง 4 แห่ง เป็นจุดอ่อนของ หลักสูตร ยกเว้นรายวิชาในกลุ่มวิชาสหศาสตร์ซึ่งมีเฉพาะท่ีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความ สอดคล้องในระดับมากจึงถือเป็นจุดแข็งของหลักสูตร ในขณะที่รายวิชาส่วนใหญ่ในหมวดวิชาชีพครู ของสถาบัน อุดมศึกษาส่วนใหญ่ (3 ใน 4 แห่ง) มีความสอดคล้องมาก จึงจัดเป็นจุดแข็งของหลักสูตร ผลติ ครู 2.2 ผลการสังเคราะห์ข้อมลู จากการวเิ คราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผทู้ รงคุณวฒุ ิ พบว่าการผลิตครขู องประเทศไทยมีจุดอ่อนมากกว่าจดุ แข็ง 3. การผลติ ครขู องประเทศที่ประสบความสำเรจ็ ระดบั นานาชาติ จากการวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับการผลิตครูของประเทศท่ีประสบความสำเร็จในการ ผลิตครูระดับนานาชาติ ได้แก่ ประเทศฟนิ แลนดแ์ ละสิงค์โปร์ มีข้อค้นพบที่สำคญั ดงั น้ี 3.1 ครูในประเทศฟินแลนด์และประเทศสิงค์โปร์มีความเป็นวิชาชีพนิยม (professionalism) สงู 3.2 การรับเข้าศึกษาในหลักสูตรผลิตครูของท้ัง 2 ประเทศน้ีใช้ระบบ ปิด ในขณะเดียวกันก็มีกลไกการดึงดูดคนดี คนเก่ง ให้มาสมัครเรียน เช่น ในประเทศสิงค์โปร์ ผู้ท่ีผ่าน การสัมภาษณ์เพื่อเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งชาติจะได้รับจ้างงานจากกระทรวงศึกษาธิการ ทันที และได้รับค่าตอบแทนและการผ่อนผันค่าเล่าเรียน ส่วนการรับสมัครและคัดเลือกนักศึกษาครู ในท้ังสองประเทศมีความเข้มข้นและใช้วิธีคัดเลือกที่หลากหลาย แต่ก็มีความยืดหยุ่นเพ่ือให้ผู้สนใจ เป็นครูสามารถสมัครเข้าศึกษาได้หลายช่องทาง เช่น หลักสูตรผลิตครูของฟินแลนด์มีท้ังการคัดเลือก โดยการสอบข้อเขียน สัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและสังเกตการณ์พฤติกรรมจากการเข้ารว่ มสถานการณ์ จำลอง รวมถึงพิจารณาจากหลักฐานการศกึ ษาและการเขา้ ร่วมกิจกรรมอ่ืนท่เี ก่ยี วข้องกบั วชิ าชีพครู 3.3 หลักสูตรการผลิตครูของทั้ง 2 ประเทศนี้เป็นหลักสูตรผลิตครูที่เน้นการวิจัย ในด้านโครงสร้างหลักสูตร หลักสูตรการผลิตครูของฟินแลนด์และสิงค์โปร์มีองค์ประกอบหลัก ท่ีคล้ายกัน คือ ประกอบด้วย (1) หมวดวิชาด้านการศึกษา (2) หมวดวิชาท่ีเก่ียวกับการสอนความรู้ เน้ือหา (3) หมวดวิชาเนื้อหาวิชาท่ีสอนในโรงเรียน ซ่ึงประกอบด้วย กลุ่มวิชาเอกและกลุ่มวิชาโท (4) หมวดวิชาเลือกเสรี (5) การฝึกประสบการณ์วชิ าชพี (6) หมวดวชิ าท่ีเกยี่ วขอ้ งกับภาษาการสอ่ื สาร 3.4. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพของฟินแลนด์และสงิ คโ์ ปร์ มลี ักษณะคล้ายกัน ดังน้ี (1) ทงั้ 2 ประเทศเร่มิ ต้นการฝกึ ประสบการณ์วชิ าชีพของต้งั แต่ช้ันปีที่ 1 จากสงั เกตการณส์ อน แล้วจึง ค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นในการฝึกประสบการณ์ขึ้นเร่ือย ๆ (2) ทงั้ 2 ประเทศนี้ให้ความสำคัญกบั การ เชื่อมโยงการเรียนรู้ภาคทฤษฎีกับการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ เช่น ประเทศฟินแลนด์มีการวางแผน การศึกษาให้นกั ศึกษาครฝู กึ ปฏิบตั ิโดยการสงั เกตการณ์ในโรงเรยี น ควบคู่กบั การเรยี นรายวิชาเกี่ยวกับ ศาสตรก์ ารสอนตัง้ แต่ปี 1 และส่งเสริมการสะท้อนคดิ จากปฏิบตั ิงาน (3) ท้ัง 2 ประเทศให้ความสำคัญ กับการคัดเลือกและพัฒนาครูพ่ีเลี้ยงให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิธีวิทยาการสอนและการวิจัย เช่น ครูพ่ีเลี้ยงในฟินแลนด์ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทเป็นอย่างต่ำและทำวิจัยร่วมกับ คณาจารย์ในสถาบันครุศึกษา ส่วนสิงค์โปร์จัดโปรแกรมเตรียมความพร้อมในการสอนงานให้กับครู
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 132 พี่เล้ียง (4) ท้ัง 2 ประเทศให้ความสำคัญกับการสังเกตการณ์การสอนและการสอนงาน (mentoring) การให้ข้อมูลย้อนกลับและการเรยี นรู้ในลักษณะชมุ ชนการเรยี นรู้ทางวิชาชพี 3.5 สถาบันผลิตครูในทั้ง 2 ประเทศเน้นการเรียนรู้เชิงรุก ส่งเสริมผู้เรียนให้วางแผน และกำกับการเรียนรู้ของตนเอง การทำงานและแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม เรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และเรยี นรู้เชงิ ประสบการณ์ รวมถงึ การเรียนรูโ้ ดยผสมผสานการใช้เทคโนโลยี 3.6 สถาบันผลิตครูในทั้ง 2 ประเทศมีการปฏิรูปการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน และห้องสมุดใหม่ให้เหมาะกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กล่าวคือจัดพ้ืนที่ให้สามารถใช้งาน ได้อเนกประสงค์ มีความยืดหยุ่นและเช่ือมต่อกับอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น Minerva Plaza ที่ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ นอกจากนี้ยังจัดการจัดพ้ืนท่ีพร้อมอุปกรณ์สนับสนุน การทำงานหรือท่ีเรียกว่า makerspace สำหรับการรวมกลุ่มเพ่ือแลกเปลี่ยนความคิดและสร้างสรรค์ นวตั กรรม 3.7 กิจกรรมพัฒนานักศึกษาครูของสิงค์โปร์เน้นกิจกรรมให้บริการสังคมท้ังใน และนอกประเทศท่ีสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาบัน นอกจากนี้กิจกรรมนอกหลักสูตรส่วนใหญ่เป็น กิจกรรมจัดโดยชมรมนิสติ นกั ศึกษาและเปดิ โอกาสใหน้ สิ ิตนกั ศึกษาเขา้ รว่ มกจิ กรรมตามความสมัครใจ จินตวีร์ คล้ายสังข์ และคณะ (2564, หน้า 12-17) นำเสนอแนวทางการผลิตครู ระดับอุดมศึกษาแบบพลิกโฉม : จากงานวิจัยสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ผลที่ได้จากการประชุมคณะ อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเก่ียวกับการผลิตครูในระดับอุดมศึกษาและการประเมินรับรองรูปแบบ การผลติ ครูระดบั อดุ มศึกษา นำไปสู่ขอ้ สรุปดังตอ่ ไปนี้ 1. รปู แบบการผลิตครขู องครแู บบพลกิ โฉม แบ่งออกเปน็ 2 มิติ คอื 1.1 การพัฒนาทักษะและฟ้ืนฟูทักษะ (Upskill/Reskill) ได้แก่ องค์กรให้การ สนับสนุนการสร้างเสริมประสบการณ์การสอน และการจัดการห้องเรียนแก่กลุ่มอาจารย์ท่ีไม่จบครู และองค์กรใหก้ ารสนบั สนุนและให้ความสำคัญกับความเช่ยี วชาญในเน้อื หาของกลุม่ อาจารยท์ ี่ไมจ่ บครู 1.2 ใช้แนวคิดเรื่องการสร้างเสริมตามหลักการเสริมต่อการเรียนรู้(Scaffolding Theory) ในการพัฒนาทักษะใหม่ (New Skill) และชุดทักษะแห่งอนาคต (Future Skillset) ของอาจารยโ์ ดยพจิ ารณาใน 3 ประเด็นหลัก ไดแ้ ก่ 1.2.1 การออกแบบชีวิตสำหรับผู้เรียน (Life Design for Learners) โดย (1) องค์กรสนับสนุนและสร้างกลไกให้ครูเป็นแบบอย่างของครูท่ีชัดเจนกับเป้าหมายในชีวิตผ่านการ วางแผนพฒั นาตนเอง (Individual Development Plan: IDP) และการส่งเสรมิ ใหม้ ีสุขภาวะทางกาย และจิตใจท่ีดี (Work Life Balance) (2) ครูเน้นการจัดประสบการณ์ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อให้ นักเรยี นสามารถนำสงิ่ ที่ไดเ้ รยี นรไู้ ปใชใ้ นการทำงานในอนาคต 1.2.2 การเปล่ียนผู้เรียนเป็นนวัตกร (Learners Become Innovator) โดย (1) องค์กรสนับสนุนให้ครูมีการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนการสอน (2) องค์กรสนับสนุน ให้ครปู รับกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรกุ (Active Learning) เพื่อเปดิ โอกาสให้ผ้เู รียนสร้างสรรค์ผลงาน 1.2.3 การสร้างครูยุคใหม่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงใหม่ ( New Generation Teachers, New Transformation Leaders) โด ย (1 ) อ งค์ ก รส นั บ ส นุ น ให้ มี ระ บ บ พี่ เล้ี ย ง (Mentoring System) เพื่อดูแลและให้คำแนะนำผ่านการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการทั้งในและนอก
133 โรงเรียน ตลอดจนชุมชนบริบทภายนอกโรงเรียน ท่ีเอ้ือให้อาจารย์และผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้คน หลากหลายวยั และสถานภาพทางสังคมเพ่ือเอื้อให้เกิดการเรียนรแู้ ละเขา้ ใจความแตกต่างหลากหลาย (2) ครูสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ควบคู่ไปกับการทำงานหรือฝึกงานในองค์กร/หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับวัฒนธรรมองค์กรและความต้องการที่ตลาดแรงงานต้องการจากคนรุ่นใหม่ เพื่อน าไปสู่การเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนผ่านในยุคอนาคต (Transformational Leadership) (3) องค์กรสนับสนุนกลไกให้ครูของครูปรับแนวคิด (Mindset), แนวคิดแบบเติบโต (Growth มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง Mindset) ในการพัฒนาผู้เรียนเพ่ือตอบโจทย์โลกอนาคต เช่น แนวคิดในเรื่องของสตาร์ทอัพ (Startup) ธุรกิจเพื่อสังคม(Social Enterprise) และการคิดเชิงออกแบบเพ่ือนวัตกรรม (Design Thinking for Innovation) 2. ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบายเรง่ ดว่ นดา้ นการผลิตครู ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงาน ท่ีเก่ียวข้องในการรับผิดชอบในเรื่องการผลิตอาจารย์ผู้สอนในสถาบันผลิตครู ใน 3 ประเด็นหลัก กล่าวคือ (1) ประเด็นด้านกลไกและหน่วยงานท่ีรับผิดชอบ (2) ประเด็นข้อเสนอแนะสำหรับสถาบัน ผลิตครูระดับอุดมศึกษา และ (3) ประเด็นข้อเสนอแนะเก่ียวกับการจัดต้ังหน่วยงานที่รับผิดชอบ เรือ่ งขอ้ มลู มหัต (Big Data) ทางการศกึ ษาในทุกระดบั 2.1 ประเด็นด้าน กลไกและหนว่ ยงานที่รับผิดชอบ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเก่ียวกับการผลิตครูในระดับอุดมศึกษาและการ ประเมินรบั รองรูปแบบการผลติ ครูระดับอุดมศึกษา เสนอให้มีการจัดตั้งนโยบายการจัดการระดับชาติ ว่าด้วยการผลิตครูของครู เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับการเพิ่มกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาอาจารย์ ผูส้ อนในสถาบันผลติ ครู ตัวช้ีวัดการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนในสถาบันผลิตครูที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐาน การกำกบั ติดตามในมิตติ ่าง ๆ ดงั ต่อไปน้ี 2.1.1 กระบวนการผลิตอาจารย์/ผู้สอน ควรเป็นไปในลักษณะระบบเปิด ท่ีมหาวิทยาลัยสามารถรับผู้สอนที่จบปริญญาด้านการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งได้ หรือในกรณี ที่ไม่จบปริญญาทางการศึกษาจะต้องเป็นไปตามเง่ือนไขของ มคอ. 1 (มีประสบการณ์สอนในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานและ/หรืออาชีวศึกษาอย่างน้อย 1 ปี กรณีที่ยังไม่มีประสบการณ์สอนในระดับ การศึกษาข้ันพื้นฐานและ/หรืออาชีวศึกษาจะต้องมีประสบการณ์การสอน อย่างน้อย 1 ปีในระดับ การศึกษาขั้นพ้ืนฐานและ/หรืออาชีวศึกษาภายใน 3 ปีการศึกษา ทั้งนี้ ให้นับรวมการปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษาในระหว่างศึกษาด้วย) โดยเน้นการเป็นหลักสูตรท่ีมีการจัดประสบการณ์ที่ใช้โรงเรียน เป็นฐาน รู้จักบริบทของโรงเรียน และนอกจากการอบรม 60 ชั่วโมง ท่ีเกี่ยวข้องกับสมรรถนะพ้ืนฐาน ของความเป็นครูแล้ว 2.1.2 อาจมีการเพิ่มเวลาในการอบรมในเร่ืองท่ีเก่ียวขอ้ งกบั ชุดทักษะแห่งอนาคต (Future Skillset) ประกอบด้วย (1) การออกแบบชีวิตสำหรับผู้เรียน (Life Design for Learners) ครูของครูควรมีภาวะผู้นำทางการศึกษา สามารถชี้แนะให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายชีวิตท่ีชัดเจนและมี ความสุขสมบูรณ์ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม (2) การเปล่ียนผู้เรียนเป็นนวัตกร (Learners Become Innovator) ครูของครูควรมีความสามารถในการพาผู้เรียนทำนวัตกรรมและมี ความเช่ียวชาญในนวัตกรรมด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน และ (3) การสร้างครูยุคใหม่ ผู้นำการ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 134 เปล่ียนแปลงใหม่ (New Generation Teachers, New Transformation Leaders) ครูของครูควรมี ความสามารถในการสรา้ งคนรุ่นใหม่ที่ตอบโจทย์โลกอนาคต สามารถสร้างความเปล่ียนแปลงในสังคม เศรษฐกิจใหม่ และตอบโจทย์การพฒั นาประเทศอย่างน้อยด้านละ 10 ช่ัวโมง (10 ช่ัวโมง x 3 ด้าน = 30 ชั่วโมง) เพื่อพัฒนาความเป็นครูหรืออาจเลือกการพัฒนาโดยการใช้ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) ในการให้คำแนะนำอาจารย์ผู้สอนในสถาบันผลิตครู ตัวอย่างเช่น อาจารย์ที่มีประสบการณ์ สงู ในการให้คำแนะนำอาจารยใ์ หมใ่ นด้านจิตวญิ ญาณความเป็นครแู นะนำวิธีการสอนท่ีมีประสิทธิภาพ เช่น การจดั การเรียนรเู้ ชิงรุก (Active Learning) หรือการใหค้ ำแนะนำในการทำวิจยั 2.1.3 สำหรับอาจารย์ร่วมผลิตครู ควรมีการร่วมมือกับคณะครุศาสตร์/ ศกึ ษาศาสตรก์ ับคณะร่วมผลติ ครู ในการพัฒนาดา้ นศาสตร์การสอนและการวัดประเมนิ ผล 2.1.4 ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สภาการศึกษา ในลกั ษณะการเน้นกระบวนการพัฒนาจติ วญิ ญาณของการเปน็ ครใู นกลุ่มอาจารย์ใหม่ และการพัฒนา ชุดทักษะแห่งอนาคต (Future Skillset) ของอาจารย์ท่ีมีประสบการณ์สูง ผ่านการสนับสนุน ในรปู แบบโครงการหรอื ทนุ วจิ ยั ร่วมกัน 2.1.5 การร่วมมือกับองค์กรเอกชนในการร่วมกันพัฒนาอาจารย์ใหม่ เช่น การ พัฒนานวัตกรรมโดยร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) การพัฒนาชุดทักษะแห่ง อนาคต (Future Skillset) และการใหท้ ุนในการทำวจิ ยั 2.2 ประเดน็ ขอ้ เสนอแนะสำหรบั สถาบันผลติ ครูระดับอุดมศึกษา 2.2.1 องค์กรควรสนับสนุนและสร้างกลไกให้ครูของครูเป็นแบบอย่างของครู ท่ีชัดเจน โดยเฉพาะในเร่ืองของการตั้งเป้าหมายในชีวิต อาจพิจารณาใช้แผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan: IDP) ทั้งกลมุ่ ทจี่ บครแู ละไมจ่ บครู 2.2.2 ในกระบวนการคัดกรองอาจารย์ใหม่ ควรมีโจทย์ทดสอบที่ท้าทาย เพื่อพิจารณาแนวคดิ ในเรอ่ื งกระบวนทัศน์ใหมแ่ ละการปรบั แนวคิด (Mindset) และการมีแนวคิดแบบ พัฒนา (Growth Mindset) ท่ีสามารถปรับตัวกับความท้าทายใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา โดยโจทย์ทดสอบ อาจอยใู่ นรูปแบบของการตงั้ สถานการณ์ทเ่ี กีย่ วข้องกบั ชุดทกั ษะแหง่ อนาคต (Future Skillset) 2.2.3 สำหรับการพัฒนาอาจารย์ประจำการ ควรมีการจัดตั้งศูนย์หรือสถาบัน ท่รี ับผดิ ชอบเรอื่ งนโี้ ดยตรง ท้ังนใ้ี นการจดั หลักสูตรดงั กล่าวฯ ควรมีการนำหลกั จิตวิทยามาประยุกต์ใช้ ให้เหมาะกับกลุ่มอาจารย์ (แบ่งตามอายุงาน) เน้นการปรับแนวคิด (Mindset) หรืออาจเชิญ ศาสตราจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญ (ท้ังจากภาครัฐ และเอกชน) มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้สอดคล้อง กับบริบทของสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเน้นบทบาทอาจารย์ว่าควรเป็นต้นแบบ และการส่งเสริม ทัศนคติท่ีดีให้กับผู้ เรียน มากกว่าการเน้นบ ทบาท ในด้านเนื้ อห าเพี ยงอย่างเดียว สามารถปรับ ตัว และมีความยืดหย่นุ ในสถานการณใ์ นปัจจุบันรวมถงึ แนวโนม้ ในอนาคต 2.2.4 พิจารณาเกณฑ์ในการขอตำแหน่งวิชาการ โดยอาจนำภาระงานจริง เช่น การฝึกประสบการณ์วชิ าชีพครู มาใชใ้ นการพจิ ารณา 2.2.5 การพัฒนาอาจารย์ให้มีองค์ความรตู้ ามบริบทท้องถิ่น การเชื่อมโยงท้องถ่ิน ชมุ ชนในการจัดการศึกษาและพัฒนาผ้เู รียน
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 135 2.3 ประเด็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเร่ือง Big Data ทางการ ศึกษาในทุกระดบั สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (Office of the Education Council, 2017) กล่าวถึงการจัดทำฐานข้อมูลในยุทธศาสตร์ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพ่ือสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เน้นกำลังคนมีทักษะที่จำเป็นและมีสมรรถนะ ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจากการทำ ฐานข้อมูลความต้องการกำลังคนจำแนกตามระดับการศึกษาและยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาศักยภาพ คนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในด้านระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษา ท่ีได้มาตรฐานระดับสากล เน้นการมีฐานข้อมูลความต้องการใช้ครู ผลการผลิตครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในระยะ 10 ปี จำแนกตามสาขาวชิ า และมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ท่ีเอ้ือให้ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาอ่ืนสามารถพัฒนาเพิ่มเติมเข้าสู้วิชาชีพครู และได้รับการพัฒนา สมรรถนะตามมาตรฐาน 4. ขนั้ ตอนการพัฒนาวชิ าชีพครู การพัฒนาวิชาชีพครูเป็นการดำเนินการให้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการท่ีต่อเน่ือง เกิดการสร้างสรรค์ส่ิงใหม่ด้วยการส่งเสิรมให้เกิดการคิดทบทวนการทำงาน ซ่ึงไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2559, อ้างถึงใน ธีรศักด์ิ (อุปรมัย) อุปไมยอธิชัย, 2563 หน้า 56-57) ได้เสนอแนวทางการปฏิบัติ ลงส่ขู ้ันตอนการดำเนนิ งานในแบบโครงสร้างไวด้ ังนี้ 1. แต่งต้ังคณะกรรมการประสานงานการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับชาติและระดับจังหวัดอ่ืน การแต่งต้ังคณะกรรมการดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการอยู่ในที่ต่าง ๆ อย่างกระจัดกระจาย ขาดการ เชื่อมโยงเก่ียวเนื่องซ่ึงกันและกัน ยังไม่มีแนวทางกลางของประเทศและไม่มีจุดเน้นเฉพาะของแต่ละ หนว่ ยงานและแต่ละทอ้ งถิ่น 2. กำหนดเงอื่ นไขบังคบั ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การกำหนดเง่ือนไข ถือเป็นความจำเป็นในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เงื่อนไขที่ว่านี้ต้องเป็นเง่ือนไขบังคับ ในลักษณะที่ว่าถ้าไม่มีการพัฒนาจะไม่มีการเล่ือนข้ันเงินเดือนหรือถ้าได้พัฒนาแล้วจะมีการเลื่อนขั้น เปน็ กรณพี ิเศษ ถา้ ไม่พฒั นาจะไม่ได้กา้ วหน้าตามขน้ั ตอน ถา้ พัฒนาจะเดนิ ไปตามขั้นตอน 3. การสร้างเครือข่ายและรับรองหลักสูตรการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เมือ่ กำหนดเป็นเงือ่ นไขบงั คบั ข้ึนมาแล้วจะมกี ารตื่นตัวในการพัฒนาของครูและบคุ ลากรทางการศึกษา อย่างมากและกว้างขวางตามไปด้วย โดยคณะกรรมการประสานงานการพัฒนาครูระดับชาติและ ระดับจังหวดั จะต้องส่งเสริมใหม้ ีเครอื ข่ายในการพฒั นาครูอย่างกวา้ งข 4. ระดมการสนับสนุน ส่งเสริมอย่างเต็มที่และกว้างขวาง เป็นการประมวลความ ช่วยเหลือต่าง ๆ ท่ีจะสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาอย่างเต็มท่ีและเต็มเวลา ด้วยการระดมทุน และสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือแก่ครูในเร่ืองของค่าใช้จ่ายท่ีจำเป็น บางส่วน 5. มกี ารวจิ ัยและประเมินผลการพัฒนาอย่างกว้างขวางและจรงิ จัง การพัฒนาในยุคใหม่ ต้องตั้งอยู่บนพ้ืนฐานของวิชาการและการวิจัยครูและบุคลากรทางการศึกษา คุรุสภา และหน่วยงาน
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 136 อ่ืน ๆ จะต้องส่งเสริมการวิจัย ค้นคว้าเก่ียวกับการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา อยา่ งกว้างขวาง รอบด้านและหลายแง่มมุ เพ่อื ให้ผลการวิจัยนำไปสู่การพัฒนาอยา่ งแท้จรงิ ถึงแม้ว่าแต่ละประเทศจะมีขั้นตอนการพัฒนาวิชาชีพครูที่มีรูปแบบท่ีแตกต่างกัน ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงครูผู้สอนให้มีคุณภาพเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้น และสามารถตอบสนอง ต่อความต้องการของผู้เรยี น จำเป็นอย่างยิง่ ท่ีทุกภาคส่วนในสังคมตอ้ งมีบทบาทและมีสว่ นร่วมในการ ช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ ต่อยอดประสบการณ์ ทักษะ และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา บนพื้นฐานของความเป็นครูทคี่ ำนงึ ถึงเอกลักษณแ์ ละความเป็นชาติของตัวเอง บทสรุป สถานการณ์ครูไทยปัจจุบัน อัตราส่วนนักเรียนต่อครูโดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปฐมวัยโดยภาพรวมยังคงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ ก.ค.ศ. ท่ีกำหนดไว้คือ 25:1 ที่น่า จะเพียงพอต่อความต้องการของสถานศึกษา อย่างไรก็ตามอัตราส่วนนักเรียนต่อครูดังกล่าวก็ไม่ สามารถสะท้อน ความหลากห ลายของการจัดการศึกษาข้ันพื้ นฐานดังกล่าวท่ีมีพื้ นที่ แตกต่างกัน ทงั้ ในเมือง ชนบท และชายแดนท่ียังคงมีครูเกนิ เกณฑ์ในบางพื้นที่และไม่ครบตามเกณฑ์ในหลายพื้นท่ี รวมท้ังการขาดแคลนครูเชิงคุณภาพตามสาระวิชา ขณะเดียวกันการขาดแคลนครูเชิงปริมาณ ในอนาคตจะทวีความรุนแรงย่ิงข้ึนหากไม่เตรียมการผลิตท่ีสอดคล้องกับความต้องการท้ังเชิงปริมาณ และภาพก็จะสง่ ผลต่อคุณภาพการศึกษาของผเู้ รยี นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การยกระดับและการพัฒนาครูปัจจุบัน 1) การผลิตครู มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู โดยคุรุสภา และมีสถาบันผลิตครูในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้งภาครัฐ เอกชน และคณะสงฆ์ถึง 77 แห่ง การผลิตครูจึงต้องการการออกแบบท่ีสอดคล้องกับการ เรียนรแู้ บบใหม่ในศตวรรษที่ 21 บนพน้ื ฐานความเป็นไทย ทีต่ ้องรณรงค์และคดั เลอื กให้คนเก่งคนดมี า เป็นครู ควบคู่กับการจัดระบบการตอบแทนทเ่ี หมาะสมและศักดิ์ศรีของครูมืออาชีพทีค่ วรปฏริ ูประบบ การผลิตครูของครุศาสตร์ที่ทันสมัยสอดคล้องกับการเปล่ียนแปลงทางวิทยาการและความรู้ พลิก รูปแบบของการผลิตและพัฒนาครูให้เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ 2) การพัฒนาครู เป็นหน้าท่ีของ ตน้ สงั กัด และมีองค์กรกลางด้านนโยบายและสง่ เสริมการพัฒนาครู (สถาบนั พฒั นาครู คณาจารย์ และ บคุ ลากรทางการศึกษา) ท่ียังคงต้องการกระจายการพัฒนาไปท่ีสถานศึกษาโดยตรงตามความตอ้ งการ พัฒนาท่ีแท้จริงของครู และ 3) การใช้ครูมีองค์กรบริหารจัดการครูโดยคณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) องค์กรวิชาชีพครูโดยคุรุสภา ทำหน้าที่ควบคุมและส่งเสริม มาตรฐานวชิ าชีพครู พบว่า ตอ้ งการครูท่สี อดคลอ้ งกับความขาดแคลนเชิงปริมาณและคุณภาพ ครูในศตวรรษที่ 21 คือ ครูในยุคโลกาภิวัตน์ จะต้องมีความรู้กว้างไกลในเทคโนโลยี โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วย IT ครูจะต้องพัฒนาแบบก้าวกระโดดจึงจะทันโลกยุคใหม่ นวัตกรรมจึงเป็น เครื่องมือของครูยุคใหม่ ที่จะต้องพัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยี วิชาการ เพื่อนำนวัตกรรมไปพัฒนา ผู้เรียนให้มีความรู้และเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนจากผู้สอน เป็นผู้ฝึกให้เด็กได้เกิดทักษะทจี่ ำเป็น ครตู อ้ งเปล่ยี นความคดิ ตอ้ งละท้ิงความยึดมั่นในเน้อื หาวชิ าว่าถูก ท่ีสุด แล้วปรับตัวมาสู่การเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ ตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดและลงมือ ปฏิบัติ เพราะการลงมอื ทำจะช่วยสนับสนุนใหเ้ ดก็ ไดเ้ กดิ ทักษะการเรียนรู้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง137 การจัดการศึกษาในศตวรรษท่ี 21 สรุปการเรียนรู้ท่ีจำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษท่ี 21 จัดได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย ความรู้ในวิชาแกน คุณธรรมและคุณลักษณะ ทักษะทางปัญญา ทักษะทางสังคม ทักษะการใช้เทคโนโลยี และในปัจจุบันการเรียนการสอนของครูมีสื่อรูปแบบต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ดีข้ึน ครูก็ต้องปรับตัวเพ่ือจัดการเรียนการสอนท่ีดี โดยเข้าใจเรื่องความรู้เดิมของนักเรียน สร้างแรงบันดาลในให้นักเรียน สร้างการเรียนที่ถูกต้อง การสอนโดยการปฏิบัติ พัฒนาการของนักเรียนและบรรยากาศของการเรียน รวมทั้งทำให้นักเรียน เกดิ ความสามารถและทักษะในการกำกับการเรียนรูใ้ ห้กบั ตัวเอง ข้อเสนอการยกระดับคุณภาพครูในศตวรรษที่ 21 เพ่ือให้เกิดการยกระดับคุณภาพครูไทย ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานที่สามารถปฏิบัติได้จริง เป็นครูท่ีมีคุณภาพสมควรกำหนดคุณลักษณะ ที่มีคุณภาพภายใต้แนวคิด หลักการ วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ มาตรการและแนวทาง โดยพิจารณา 1) ประเด็นเร่งด่วนท่ีตอ้ งดำเนินการ คือ ปรับเปลี่ยนรปู แบบการสอนของครู ปรับระบบ พัฒนาครู ปรับระบบการประเมินผลการทำงานของครู 2) เง่ือนไขการนำไปสู่การปฏิบัติ คือ การกระจายอำนาจการบริหารจัดการ องค์กรต้นสังกัดและองค์กรส่งเสริมและพัฒนาครูควรเพ่ิม ศักยภาพให้โรงเรียนสามารถส่งเสริมและบริหารจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพของครูได้อย่าง มีประสิทธิภาพ องค์กรระดับนโยบายท่ีเก่ียวข้องควรลดการสั่งการและจายอำนาจการพัฒนาครู ให้เป็นหนา้ ทข่ี องเขตพืน้ ที่การศึกษา องคก์ รต้นสังกดั องค์กรท่ีเกี่ยวข้องและสถานศึกษาโดยกรรมการ สถานศึกษา ผู้บริหารและครู ควรเชื่อม่ันและตระหนักในความสำคัญของครูที่ต้องมีการพัฒนา และดำเนินการตามมาตรการและแนวทางในความรับผดิ ชอบท่เี สนออย่างจริงจัง คำถามทบทวน หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนน้ีแล้ว จงอธิบายข้อความหรือตอบคำถาม ต่อไปนใี้ หถ้ กู ตอ้ งชดั เจน 1. ให้วเิ คราะหส์ ถานการณ์ครูไทยในปัจจบุ ันวา่ มีสภาพการณ์เปน็ อย่างไร 2. จงอธิบายวิธีการยกระดบั คุณภาพครูในศตวรรษท่ี 21 3. ให้มองภาพด้านการศกึ ษาในอนาคตและวเิ คราะห์บทบาทของครูในอนาคตวา่ เปน็ เชน่ ไร 4. การเรียนรู้ท่จี ำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษท่ี 21 ควรประกอบดว้ ยอะไรบ้าง 5. ขอ้ เสนอการยกระดบั คุณภาพครใู นศตวรรษท่ี 21 เพ่ือให้เกดิ การยกระดบั คณุ ภาพครู ไทย ท่านเหน็ ดว้ ยหรอื ไม่ เพราะเหตใุ ด อธบิ ายมาใหเ้ ขา้ ใจ 6. ให้เสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบวิชาชพี ครูในทัศนะของท่าน
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บรรณานุกรม กระทรวงศกึ ษาธิการ. (2546). พระราชบญั ญตั กิ ารศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 และท่ีแก้ไขเพิ่มเตมิ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับสง่ สินค้าและพสั ดภุ ณั ฑ.์ กระทรวงศึกษาธิการ. สำนกั งานเลขาธกิ ารคุรุสภา. (2546). พระราชบัญญัติสภาครแู ละบคุ ลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ : ครุ ุสภา. กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. สำนักงาน ก.ค.ศ.. (2547). พระราชบญั ญัตริ ะเบียบข้าราชการครูและ บคุ ลากรทางการศกึ ษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ : ครุ ุสภาลาดพร้าว. กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2525). พระไตรปิฎกฉบบั หลวง. เลม่ ท่ี ๑๒ อังคุตตรนกิ าย เอก-ทุก-ติกนบิ าต เกสปตุ ตสูตร. คน้ เม่ือ 3 มนี าคม 2564 จาก https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4930&Z =5092&pagebreak=0 กิตติชัย สธุ าสโิ นบล. (2560). จติ สำนกึ และจรรยาบรรณวิชาชพี คร.ู กรุงเทพฯ : คอมเมอรเ์ ชยี ล เวลิ ด์ มเี ดีย. กุลสิ รา จิตรชญาวณิช. (2561). การศกึ ษาและความเปน็ ครูไทย. กรงุ เทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กฤษมันต์ วัฒนาณรงค.์ (2554). มาตรฐานอาชีพและมาตรฐานวชิ าชีพส่กู ารจัดการเรียนการสอน อาชีวศกึ ษา. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2564. จาก https://www.thairath.co.th/content/200833 ขอ้ บังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวชิ าชีพ พ.ศ. 2556. (2556). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง วันที่ 4 ตุลาคม 2556. ขอ้ บงั คับครุ ุสภาว่าดว้ ยใบอนุญาตประกอบวิชาชพี พ.ศ. 2559. (2559). ราชกจิ จานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนพเิ ศษ 286 ง วันที่ 9 ธันวาคม 2559. ขอ้ บังคบั ครุ สุ ภาวา่ ดว้ ยแบบแผนพฤตกิ รรมตามจรรยาบรรณของวชิ าชพี พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานเุ บกษา. เล่ม 124 ตอนพเิ ศษ 51 ง วันท่ี 27 เมษายน 2550 ข้อบังคบั ครุ สุ ภาวา่ ดว้ ยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556). ราชกิจจานุเบกษา. เลม่ 130 ตอนพิเศษ 130 ง วันท่ี 4 ตลุ าคม 2556. ขอ้ บังคบั ครุ ุสภาว่าดว้ ยมาตรฐานวิชาชพี (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานเุ บกษา. เลม่ 136 ตอนพิเศษ 68 ง วันที่ 20 มีนาคม 2562. คุรสุ ภา. (2564). ประวัติครุ สุ ภา. ค้นเม่ือ 10 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.ksp.or.th/ksp2018/ksp_history/
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 139 ชชู าติ พวงมาล.ี (2550). คุณลักษณะของครมู อื อาชพี ของโรงเรยี นในโครงการหนึ่งอาํ เภอ หนึ่งโรงเรียน สังกดั สำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษาหนองคาย. วทิ ยานิพนธครุศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหาการศกึ ษา). อดุ รธานี : บณั ฑิตวทิ ยาลัยมหาวิทยาลยั ราชภัฏ อดุ รธานี. ทิศนา แขมมณ.ี (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรเู้ พ่ือการจดั กระบวนการเรียนร้ทู ี่มี ประสทิ ธิภาพ. กรุงเทพฯ : จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั . ธีรภทั ร์ เสรรี ังสรรค์. (2556). คุณธรรมและจรยิ ธรรม : นยั ทางจติ ใจท่ีมผี ลตอ่ พฤติกรรมของมนุษย์. ใน คณะกรรมการส่งเสรมิ และพฒั นาคุณธรรมและจริยธรรม สภาพัฒนาการเมือง, คณุ ธรรมและจรยิ ธรรม ไมม่ ีขาย สงั คมไทยจะมีได้ ตอ้ งช่วยกัน. (หน้า 125-132). กรุงเทพฯ : คณะรฐั มนตรแี ละราชกจิ จานเุ บกษา. ธรี ศักด์ิ (อปุ รมัย) อุปไมยอธิชัย. (2563). ความเปน็ ครู : แนวทางการพัฒนาเชิงทฤษฎีสกู่ ารปฏบิ ัต.ิ กรงุ เทพฯ : จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. นภาภรณ์ ธัญญา และคณะ. (2562). การปฏิรูปตนเองเพอื่ ความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารบณั ฑติ วิทยาลัยรำไพพรรณี. หน้า 1-10. ประภาพรรณ เอ่ียมสุภาษติ . (2548). รูปแบบการพฒั นาครูประจำการไปสู่ความเป็นครมู ืออาชีพ. วารสารสโุ ขทัยธรรมาธริ าช. ปีที่ 18 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน). หน้า 28-37. ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรอื น. (2564). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพเิ ศษ 109 ง วนั ท่ี 20 พฤษภาคม 2564. ประมวลจริยธรรมขา้ ราชการครูและบคุ ลากรทางการศึกษา. (2564). ราชกจิ จานุเบกษา. เลม่ 138 ตอนพิเศษ 213 ง วันที่ 9 กันยายน 2564. ประวัติ พืน้ ผาสกุ . (2549). คณุ ธรรมสำหรบั ผบู้ รหิ าร. เชียงใหม่ : มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเชียงใหม.่ ประสาท เนืองเฉลมิ . (2559). การปฏิรูปตนเองสกู่ ารเปน็ ครมู ืออาชพี . วารสารมนุษยศาสตรแ์ ละ สังคมศาสตร์. ปที ่ี 7 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม – มิถนุ ายน) หน้า 66-74. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2559). พจนานกุ รมพทุ ธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พมิ พค์ รั้ง 34). นครปฐม : การศึกษาเพ่ือสนั ตภิ าพพระธรรมปิฎก, มลู นิธ.ิ พระภาวนาวริ ิยคุณ (เผด็จ ทตตฺ ชีโว). (2553). ศาสตรแ์ ละศิลปแ์ หง่ ความเป็นครู. กรุงเทพฯ : สกสค. ลาดพรา้ ว พระมงคลธรรมวธิ าน และคณะ. (2561, มกราคม – เมษายน). ครูมอื อาชพี สู่การเรยี นรู้แบบมืออาชีพ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 หนา้ 2486-2499. พระมงคลสตุ าคม (สทิ ธิชัย อติธมฺโม). (2560, มกราคม-เมษายน). ครคู ือ พ่อแม่คนท่สี องของศิษย์. วารสารครศุ าสตร์ปรทิ รรศนฯ์ . 4, 1-7.
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 140 พระมหาอนันต์ องฺกรุ สริ ิ. (2561). “คุณธรรมจรยิ ธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนในยคุ ไทยแลนด์ 4.0”. วารสารนวตั กรรมการศกึ ษาและการวิจัย. ปที ่ี 2 ฉบับท่ี 2 พฤษภาคม – สงิ หาคม 2561 (หนา้ 81-90) พระวจิ ิตรธรรมาภรณ์. (2558). ความหมายของคุณธรรม. คน้ เมอ่ื 1 พฤษภาคม 2564. จาก http://portal.tebyan.net/Portal/Cultcure/ พณิ สดุ า สริ ริ ังธศร.ี (2557). เอกสารประกอบการประชมุ วิชาการ “อภวิ ัฒนก์ ารเรยี นร้สู จู่ ุดเปล่ียน ประเทศไทย”. 6-8 พฤษภาคม 2557. พุทธทาสภิกขุ. (2529). ฟา้ สางระหวา่ ง 50 ปี ท่ีสวนโมกข์ (ตอน 1). กรุงเทพฯ : การพิมพ์พระนคร. พูนทรัพย์ เกตุวรี ะพงศ์. (2556). ความหมายและความสำคัญของคร.ู ค้นเม่อื 3 กุมภาพันธ์ 2564. จาก http://poon2498.blogspot.com/2013/07/1_5942.html ยนต์ ชมุ่ จิต. (2558). ความเป็นคร.ู (พมิ พ์ครงั้ ท่ี 6). กรงุ เทพฯ : โอเดียนสโตร.์ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรวี ่าดว้ ยการสง่ เสรมิ คุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานเุ บกษา. เลม 124 ตอนพเิ ศษ 88 ง วันที่ 25 กรกฎาคม 2550 รฐั พงศ์ บุญญานุวัตร. (2560). พระผูเ้ ปน็ ครูแห่งแผน่ ดิน. คน้ เม่อื 7 กุมภาพนั ธ์ 2564. จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_430760 ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานกุ รม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งท่ี 2). คน้ เมื่อ 21 มกราคม 2564. จาก https://dictionary.orst.go.th/lookup_domain.php ราชมงคลอีสาน. (2564). คณุ ธรรม จรยิ ธรรม และจรรยาบรรณวิชาชพี . ค้นเมือ่ 10 มีนาคม 2564. จาก https://sites.google.com/site/anthikabac/khunthrrm-criythrrm-laea-crrya- Wichachiph ลำดวน ศรมี ณ.ี (2543). จรยิ ธรรมและจริยศาสตร์ตะวันออก. กรุงเทพฯ : ดวงแก้ว. วศนิ อนิ ทรสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร.์ กรงุ เทพฯ : ทองกวาว. วรากร สามโกเศศ และคณะ. (2553). ขอ้ เสนอระบบการศึกษาทางเลือกท่ีเหมาะกบั สขุ ภาวะ คนไทย. กรงุ เทพฯ : ภาพพมิ พ์. วจิ ารณ์ พานชิ . (2554). ครกู ับการเรียนรใู้ นศตวรรษท่ี 21. เอกสารประกอบการบรรยายวนั ท่ี 28 พฤษภาคม 2554 ในตลาดนัดความรู้ เครอื ขา่ ยการเรียนรู้สู่ความพอเพียงคร้ังท่ี 3 โรงแรมมริ าเคิล. วิไล ตัง้ จิตสมคิด. (2557). ความเปน็ ครู. (พิมพ์ครัง้ ท่ี 4). กรงุ เทพฯ : โอเดียนสโตร์. ศกั ด์ิชัย ภู่เจริญ. (2560). ความเป็นคร.ู กรุงเทพฯ : พลก๊อปปี้ เซอรว์ สิ แอนด์ ซัพพลาย. สนั ติ บญุ ภิรมย์. (2557). ความเป็นครู. กรงุ เทพฯ : ทริปเพ้ิล เอด็ ดเู คช่นั . สปุ ราณี จิราณรงค์. (2558). ครปู ระจำช้ันมืออาชีพ. กรงุ เทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 141 สุรางค์ โค้วตระกูล. (2564). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพค์ รั้ง 13). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั . สุรพี ร ฟกั ประไพ. (2564). หลักธรรมทางศาสนาพุทธ. ค้นเม่อื 7 มนี าคม 2564. จาก http://www.prakanong.ac.th/upload-elearning/hiS28foQEQUlXlo8/64/ mainmedia/2_1_cover.htm สกลุ รัตน์ ทรงนสิ ยั . (มปป.). \"มาตรฐาน\" คืออะไร (What are standards?). คน้ เม่ือ 2 พฤษภาคม 2564. จาก https://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=387 สถาบันพฒั นาขา้ ราชการพลเรือน. (2556). แนวคดิ ในการสรา้ งมาตรฐานวิชาชพี . ค้นเมอื่ 12 พฤษภาคม 2564. จากhttp://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option= com_content&view= article&id=280&catid=99&Itemid=265. สุพจน์ ไข่มุกต.์ (2556). หลกั ธรรท่ีสง่ เสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม. ใน คณะกรรมการส่งเสริม และพัฒนาคณุ ธรรมและจริยธรรม สภาพัฒนาการเมือง, คณุ ธรรมและจริยธรรม ไมม่ ีขาย สังคมไทยจะมีได้ ต้องช่วยกัน. (หนา้ 43-48). กรงุ เทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจา นเุ บกษา สนุกดอทคอม. (2564). พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปล้ือง ณ นคร. คน้ เมื่อ 21 มกราคม 2564. จาก https://dictionary.sanook.com/search/ สนุกดอทคอม. (2564). พจนานุกรมแปล ไทย-องั กฤษ NECTEC's Lexitron Dictionary. ค้นเม่ือ 21 มกราคม 2564. จาก https://dictionary.sanook.com/search/ สมศกั ด์ิ เกยี รตสิ รุ นนท์. (2556). หลักครองตนด้วยคณุ ธรรมและจรยิ ธรรม. ใน คณะกรรมการสง่ เสรมิ และพฒั นาคณุ ธรรมและจริยธรรม สภาพฒั นาการเมือง, คุณธรรมและจริยธรรม ไมม่ ีขาย สังคมไทยจะมีได้ ต้องช่วยกัน. (หน้า 33-35). กรงุ เทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจา นุเบกษา. สมหวงั พธิ ยิ านวุ ัฒน์. (2543). ขอ้ เสนอเชิงนโยบายการปฏิรปู วชิ าชีพครูตามพระราชบัญญัติ การศกึ ษาแหง่ ชาติ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช. สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน. (2553). เส้นทางครูมืออาชีพสำหรับครผู ชู้ ่วย. กรุงเทพฯ : ชมุ นุมสหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำกัด. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2554). พระราชบัญญตั ิการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และท่ีแกไ้ ขเพ่ิมเติม (ฉบบั ที่2) พ.ศ. 2545. กรงุ เทพฯ : พรกิ หวานกราฟฟิก. อภิภา ปรชั ญพฤทธิ.์ (2560). “การพัฒนารปู แบบการผลิตครู เพอ่ื รองรบั การศกึ ษายุค 4.0.” วารสารรม่ พฤกษ์ มหาวิทยาลยั เกริก. ปที ี่ 35. ฉบับท่ี 3. (กันยายน - ธนั วาคม 2560). หน้า 101-136.
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง142 Carroll, J. (1963). A Model of School Learning. Teachers College Record. 64 : 722-733 Clarke, Doug. (1994). Ten Key Principles from Research for the Professional Development of Mathematics Teachers. In Professional Development for Teachers of Mathematics, 1944 Year Book. Virginia : The National Council of Teachers of Mathematics. Duke, D.L. (1990). Teaching : an introduction. New York : McGraw-Hill. Emmer, E.T., & Evertson, C.M., Anderson, L.M. (1980). Effective Classroom Management at the beginning of the School Year. Elememtary School Journal. 80 : 219-231. Garner, Richard. (1975). Ethics. in Encyclopedia Americana. Vol.10. New York: Americana Corporation. Glickman, C. D. (1998). Development Supervision : Alternative Practice for Helping Teachers Improve Instruction. Washington D. C. : Association for Supervision and Curriculum Develoment. Goens, G.A. & Clover, S.L.R. (1991). Mastering School Reform. Boston : Allyn and Bacon Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill. Good, T.L. & Grows, D. (1979). The Missouri Mathematics Effectiveness Project. Gove, P. B. (1965). Webster’s third new international dictionary. Springfield : G & C. Merriam. Sayer J.. (1996). The Need for Recognition and Professional Status. In Mc Cleland, A.V. and Varma,V.eds. The Need of Teachers. London : Cassel. p.10-26. Thompson, Alba. (1992). Teachers Beliefs and Conceptions : A Synthesis of Research. in Handbook of Research on Mathematics Teaching and Learning. Edited by Douglas A. Grouws, New York : Macmillan Publishing Co., pp. 127-146.
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147