มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 46 (1) สำเนาหนังสือเดินทางหน้าท่ีมีรูปถ่ายและหน้าที่ตรวจลงตราประเภทคนอยู่ ชั่วคราวเพ่ือทำงาน (Non-Immigrant Visa Category “B”) (2) สำเนาใบอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย (Work Permit) (3) สำเนาวุฒิการศึกษา ให้แนบพร้อมสำเนาเอกสารหลักฐานข้อใดข้อหน่ึง ตามที่ ระบุไว้ในข้อ 7 (2) (4) สำเนาใบรายงานผลการศกึ ษา (ถา้ มี) (5) ต้นฉบับหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาของสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ หรือต้นฉบับหนังสือรับรองสถานะใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (Professional Standing Certification) แล้วแต่กรณี (6) แบบประเมนิ การปฏิบัติการสอนในสถานศกึ ษาเปน็ เวลาไมน่ ้อยกว่าหนงึ่ ปี (7) รูปถ่ายหน้าตรงคร่ึงตัว ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือน จำนวน 2 รปู (8) หลักฐานการชําระเงินค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต ในอัตราตาม ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้าม)ี (ราชกจิ จานุเบกษา, 2559, หนา้ 67-70) ข้ันตอนการย่ืนคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผ่านระบบ อิเลก็ ทรอนิกส์ (กรณสี ำเร็จการศึกษาในหลักสตู รที่คุรสุ ภาให้การรับรอง) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรท่ีคุรุสภาให้การรับรอง ท่ีมีความประสงค์ยื่นคำขอ ข้ึนทะเบยี นรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สามารถยื่นคำขอข้ึนทะเบียนใบอนุญาตประกอบวชิ าชีพ ครู ผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (KSP Self-Service) เพ่ือเป็นหลักฐานในการประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบญั ญตั สิ ภาครแู ละบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 โดยมีข้นั ตอนดงั น้ี ข้ันตอนท่ี 1 ตรวจสอบรายช่อื ผ้สู ำเรจ็ การศกึ ษาในหลกั สตู รทีค่ รุ สุ ภาใหก้ ารรบั รอง ตรวจสอบรายช่ือผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรท่ีคุรุสภาให้การรับรอง ผ่าน มหาวทิ ยาลัย/สถาบัน เพอื่ ขอรบั เลขที่สง่ ขอ้ มลู ผู้สำเรจ็ การศกึ ษา กรณีผสู้ ำเรจ็ การศกึ ษาท่ีเขา้ ศึกษา ตั้งแตป่ ีการศกึ ษา 2562 จะตอ้ งผ่านการทดสอบ 5 วชิ า และประเมนิ สมรรถนะตามท่ีครุ ุสภากำหนด ข้นั ตอนท่ี 2 เข้าใช้งานระบบบรกิ ารอิเลก็ ทรอนกิ ส์ การย่ืนคำขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้ย่ืนผ่านระบบบริการ อิเลก็ ทรอนิกส์ ด้วยตนเอง KSP Self-Service (https://selfservice.ksp.or.th) * กรณียงั ไมเ่ คยสมคั รสมาชกิ ให้ลงทะเบียนสมัครสมาชิกใหม่ก่อน แล้วดำเนนิ การล็อกอนิ เข้าสูร่ ะบบ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 47 ขน้ั ตอนท่ี 3 ยื่นคำขอขึ้นทะเบยี นรับใบอนุญาตประกอบวชิ าชีพครู การยื่นคำขอข้ึนทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สามารถยื่นคำขอผ่านระบบ e-service โดยให้เลือกยื่นคำขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาต KSP-Bundit เข้าเมนู ใบอนุญาต -> ขอขึ้น ทะเบียนใบอนุญาต – ครูไทย -> บันทึกข้อมูลคำขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาต – ครู สำหรับ KSP-Bundit ให้บันทึกข้อมูลและแนบเอกสารประกอบคำขอ เพ่ือตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสาร ประกอบคำขอในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ขนั้ ตอนที่ 4 ชำระค่าธรรมเนียมคา่ ขนึ้ ทะเบยี นใบอนุญาตประกอบวชิ าชีพครู หลังจากบันทึกคำขอขึ้นทะเบยี นใบอนญุ าตประกอบวิชาชพี ครูแล้ว ให้พมิ พ์ใบแจ้งชำระ ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เลือกเมนู ใบอนุญาต ขอข้ึนทะเบียน ใบอนุญาต – ครูไทย ตรวจสอบข้อมูลขอข้ึนทะเบียน และคลิ๊กปุ่ม เพ่ือพิมพ์ใบแจ้งการชำระ ค่าธรรมเนียมช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมสามารถชำระค่าธรรมเนียมข้ึนทะเบียนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครู ได้ 3 ชอ่ งทาง ไดแ้ ก่ 1. เคานเ์ ตอรธ์ นาคารกรุงไทย (ระบบยังไม่รองรับการชำระผา่ น mobile Banking) 2. เคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทย 3. เคาน์เตอรเ์ ซอรว์ ิส (รา้ นเซเวน่ อเี ลฟเวน่ ) * จุดบริการชำระค่าธรรมเนียมจะส่งข้อมูลการรับชำระค่าธรรมเนียมให้คุรุสภา ภายใน 1 – 3 วนั ทำการ ขั้นตอนท่ี 5 ตรวจสอบคุณสมบัติการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และเอกสารประกอบ หลังจากย่ืนคำขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและช ำระค่าธรรมเนียม ข้ึนทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแล้ว เจ้าหน้าที่จุดบริการงานคุรุสภา ณ สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด ในพ้ืนท่ีจังหวัดที่ท่านอยู่จะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารแนบ ประกอบ โดยจะดำเนนิ การภายใน 5 – 7 วันทำการ และแจง้ ผลการตรวจสอบผ่านระบบ e-service ขั้นตอนท่ี 6 เสนอพิจารณาอนมุ ตั ิ หลังจากผ่านการตรวจสอบและชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว สำนักงานเลขาธิการ คุรุสภาจะดำเนินการเสนอคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พิจารณาอนุมัตกิ ารข้ึนทะเบียนใบอนุญาต ประกอบวชิ าชีพครูใหแ้ ก่ผู้ท่ียื่นคำขอและผ่านการตรวจสอบคุณสมบัตแิ ละเอกสารหลักฐาน โดยจะใช้ ระยะเวลาดำเนินการ 15 วันทำการ หลังจากที่ตรวจสอบคำขอและชำระค่าธรรมเนียมถูกต้อง เรียบร้อยแลว้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 48 ข้นั ตอนท่ี 7 ประกาศรายชื่อผู้ไดร้ บั การอนุมัติ หลังจากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาอนุมัติแล้ว สำนักงานเลขาธิการ คุรุสภาจะดำเนนิ การประกาศรายช่ือผู้ผ่านการอนุมัตอิ อกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ผา่ นเว็บไซต์ของ คุรุสภา เมนู ตรวจสอบผลต่าง ๆ ตรวจสอบสถานะใบอนญุ าต (http://www.ksp.or.th/service/license_search.php) สามารถพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองได้ทันที ผ่านระบบ KSP Self-Service (รายละเอียดศกึ ษาในคู่มอื การใช้งาน การพมิ พ์ใบอนญุ าตประกอบวชิ าชีพอเิ ล็กทรอนกิ ส์) ส่วนท่ี 3 การกำหนดอายุและการตอ่ อายใุ บอนญุ าต ข้อ 16 ใบอนญุ าตให้มอี ายุใช้ได้เป็นเวลาหา้ ปี นบั แต่วันทีอ่ อกใบอนุญาต ข้อ 17 ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการกำหนด และ ประพฤตติ นตามจรรยาบรรณของวชิ าชีพ ผูป้ ระกอบวิชาชพี ทีไ่ ด้รับอนุมตั จิ ากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพให้ต่ออายุใบอนุญาต ต่อเนื่องเป็นคร้ังท่ีสามตามเง่ือนไขท่ีคณะกรรมการกำหนด และไม่มีกรณีถูกวินิจฉัยว่าประพฤติผิด จรรยาบรรณของวิชาชีพ หรือถกู ลงโทษทางวินัยให้ถือเปน็ ใบอนุญาตตลอดชีพ ผู้ได้รับใบอนุญาตตลอดชีพ หากถูกวินิจฉัยว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ที่ไม่ใช่กรณีถูกเพิกถอนใบอนุญาต ใบอนุญาตตลอดชีพนั้นให้มีอายุใช้ได้ห้าปี นับแต่วันที่ได้รับทราบ คําวินิจฉยั ดงั กลา่ ว ขอ้ 18 ผไู้ ด้รบั ใบอนุญาต ทป่ี ระสงคจ์ ะขอต่ออายุใบอนญุ าต ตอ้ งยนื่ คําขอต่อเลขาธิการ ภายในหน่งึ รอ้ ยแปดสิบวันกอ่ นวันทใี่ บอนญุ าตจะหมดอายุ พร้อมดว้ ยเอกสารและหลกั ฐาน ดงั ตอ่ ไปน้ี (1) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจําตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐ (2) สำเนาใบอนุญาตฉบับท่ขี อตอ่ อายุ (3) เอกสารหลักฐานแสดงคณุ สมบัติตามท่คี ณะกรรมการกำหนด (4) คํารับรองการประพฤตติ นตามจรรยาบรรณของวิชาชีพจากผูบ้ งั คับบัญชา (5) รูปถ่ายหน้าตรงคร่ึงตัว ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 น้ิว ถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือน จำนวน 1 รปู (6) หลักฐานการชําระเงินคา่ ธรรมเนยี มการต่ออายุใบอนุญาต ในอัตราตามประกาศ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร (6) เอกสารอื่น ๆ (ถา้ ม)ี
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 49 เมื่อตรวจสอบแบบคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้เลขาธิการ เสนอคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาตตามประเภท ของใบอนุญาตโดยกำหนดวนั ออกใบอนญุ าตเปน็ วันท่ีต่อเน่อื งจากใบอนุญาตฉบับเดมิ ทงั้ น้ี ให้ใชห้ ลักฐานการชําระเงินเปน็ หลักฐานแสดงการยืน่ คําขอและผ่านการตรวจสอบ คุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว ผู้ย่ืนคําขอจะได้รับใบอนุญาตเม่ือผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการมาตรฐาน วิชาชีพ กรณี คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไมอ่ นมุ ัตใิ หต้ ่ออายุใบอนุญาต ให้เลขาธกิ ารแจง้ ให้ ผู้ยื่นคําขอรบั ทราบ ข้อ 19 ผู้ย่ืนคําขอต่ออายุใบอนุญาตหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว และมี คุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 17 ให้ชี้แจงเหตุผลกรณีที่ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตหลังจากวันท่ี ใบอนุญาตหมดอายุพร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ 18 และให้ชําระค่าดำเนินการกรณีขอต่ออายุ ใบอนุญาตล่าช้าเป็นเงินเดือนละสองร้อยบาท โดยระยะเวลาท่ีล่าช้านับได้ไม่ถึงหนึ่งเดือนให้นับเป็น หน่งึ เดือน การย่ืนคําขอต่ออายุใบอนุญาตหลังจากวันท่ีใบอนุญาตหมดอายุแล้ว ต้องไม่พ้น ระยะเวลาห้าปีท่ใี บอนุญาตมีอายใุ ชไ้ ด้ เม่ือตรวจสอบแบบคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้เลขาธิการ เสนอคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาตตามประเภท ของใบอนญุ าตโดยกำหนดวนั ออกใบอนญุ าตเป็นวนั ท่ีต่อเนือ่ งจากใบอนุญาตฉบับเดมิ ท้ังนี้ หลักฐานการชําระเงินใช้เป็นหลักฐานแสดงการยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาต และผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบ้ืองต้นแล้ว ผู้ยื่นคําขอจะได้รับใบอนุญาตเมื่อผ่านการอนุมัติ จากคณะกรรมการมาตรฐานวชิ าชีพ กรณี คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชพี ไมอ่ นมุ ัติให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้เลขาธกิ ารแจง้ ให้ ผู้ยืน่ คําขอรบั ทราบ ข้อ 20 ผู้ได้รับใบอนุญาตท่ีใบอนุญาตหมดอายุแล้ว ไม่สามารถใช้สิทธิในการประกอบ วชิ าชพี ตามประเภทใบอนุญาตที่ไดร้ บั ต่อไปได้ ขอ้ 21 ใบอนุญาตสิ้นสุดลงในกรณี ดงั ตอ่ ไปนี้ (1) ใบอนุญาตหมดอายุตามข้อ 16 (2) ถกู สงั่ เพิกถอน (3) ถกู สัง่ พักใชใ้ บอนุญาต
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 50 ข้อ 21 ผู้ท่ีถูกเพิกถอนใบอนุญาต เม่ือพ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ถูกส่ังเพิกถอน ประสงค์ขอรับใบอนุญาตตามประเภทที่เคยได้รบั ให้ย่ืนคําขอต่อเลขาธิการตามแบบที่กำหนด พร้อม ด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจําตัว เจ้าหนา้ ท่ขี องรฐั (2) ใบอนญุ าตและสำเนาคำสงั่ เพิกถอนใบอนุญาต (3) เอกสารที่แสดงหรือรับรองความประพฤติและการประกอบวิชาชีพหรือการ ทำงานระหว่างถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซ่ึงออกโดยหน่วยงานต้นสังกัดหรือผู้บังคับบัญชา หรือ หน่วยงานทเี่ ก่ยี วข้องของผยู้ ่ืนคําขอ (4) รูปถ่ายหน้าตรงคร่ึงตัว ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือน จำนวน 2 รูป (5) หลักฐานการชําระเงินค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต ในอัตราตาม ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (6) เอกสารอน่ื ๆ (ถ้าม)ี เม่ือตรวจสอบแบบคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้เลขาธิการ เสนอคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาประเมินความเหมาะสม จากความรู้ ความสามารถ ความประพฤติระหว่างถูกเพิกถอนใบอนุญาต และไม่มีลักษณะต้องห้ามในการประกอบวิชาชีพ ประกอบการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ข้ึนทะเบียนรับใบอนุญาตตามประเภทของใบอนุญาต โดยวันที่ออกใบอนุญาตใหน้ ับต้งั แต่วนั ที่คณะกรรมการมาตรฐานวชิ าชีพอนมุ ัติ กรณี คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่อนุมัติออกใบอนุญาต ให้เลขาธิการแจ้งให้ผู้ย่ืน คําขอรับทราบ สว่ นที่ 4 ใบแทนใบอนุญาต ข้อ 23 ผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาต กรณีใบอนุญาตถูกทำลาย ชำรุด สูญหาย หรือขอ เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ปรากฏในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการตามแบบท่ีกำหนด พร้อมด้วย เอกสารและหลกั ฐาน ดงั ตอ่ ไปนี้ (1) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจําตัว เจ้าหน้าทข่ี องรัฐ (2) ใบอนุญาตที่ถูกทำลาย ชํารุด หลักฐานการรับแจ้งความ หรือหลักฐาน ประกอบการขอเปล่ยี นแปลงขอ้ มลู ที่ปรากฏในใบอนุญาต แล้วแต่กรณี (3) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือน จำนวน 2 รูป
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 51 (4) หลักฐานการชําระเงินค่าธรรมเนียมการขอใบแทนใบอนุญาต ในอัตราตาม ประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร (5) เอกสารอืน่ ๆ (ถ้าม)ี เมื่ อ ต ร ว จ ส อ บ แ บ บ คํ า ข อ พ ร้ อ ม เอ ก ส า ร ห ลั ก ฐ า น ถู ก ต้ อ ง แ ล ะ ค ร บ ถ้ ว น แ ล้ ว ให้เลขาธิการเสนอคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาออกใบแทนใบอนุญาตตามประเภท ของใบอนญุ าต ขอ้ 24 ใบแทนใบอนญุ าตให้ใชแ้ บบตามข้อ 15 สว่ นที่ 5 การเปลย่ี นแปลงข้อมูลทางทะเบียน ข้อ 25 ผู้ได้รับใบอนุญาตท่ีประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางทะเบียน ให้ยื่นคําขอ ตอ่ เลขาธิการตามแบบท่กี ำหนดพรอ้ มดว้ ยเอกสารและหลกั ฐาน ดังต่อไปนี้ (1) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจําตัว เจ้าหน้าท่ขี องรัฐ (2) สำเนาใบอนุญาต (3) เอกสารและหลักฐานเก่ยี วกับการขอเปลย่ี นแปลงขอ้ มลู ทางทะเบยี น เม่ื อ ต ร ว จ ส อ บ แ บ บ คํ า ข อ พ ร้ อ ม เอ ก ส า ร ห ลั ก ฐ า น ถู ก ต้ อ ง แ ล ะ ค ร บ ถ้ ว น แ ล้ ว ให้เลขาธิการเสนอคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาออกใบแทนใบอนุญาตตามประเภท ของใบอนญุ าต ส่วนที่ 6 การอทุ ธรณ์ ข้อ 26 ผู้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต ขอต่ออายุใบอนุญาต หรือขอใบแทน ใบอนุญาตท่ีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่ออกใบแทนใบอนุญาต ผู้ยื่นคําขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายในสามสิบวัน นบั แต่วนั ท่ไี ด้รับแจง้ การไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายใุ บอนุญาต หรือไมอ่ อกใบแทนใบอนุญาต การอทุ ธรณ์ ใหท้ ำเปน็ หนงั สือใช้ถ้อยคําสภุ าพ และตอ้ งมรี ายละเอียด ดังตอ่ ไปน้ี (1) ชือ่ และทีอ่ ยู่ของผู้อุทธรณ์ (2) การกระทำท้ังหลายท่ีเป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ พร้อมทั้งข้อเท็จจริง หรือ พฤติการณ์ ตามสมควรเกย่ี วกับการกระทำดังกลา่ ว (3) คาํ ขอของผอู้ ุทธรณ์ (4) ลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ คําอุทธรณ์ใดมีรายการไม่ครบตามวรรคสอง หรือไม่ชัดเจน หรือไม่อาจเข้าใจได้ ให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้คำแนะนําแก่ผู้อุทธรณ์น้ันให้ถูกต้อง ในการน้ีให้ถือวันที่ย่ืนอุทธรณ์ คร้งั แรกเป็นหลกั ในการนับอายุความ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 52 ถ้าผู้อุทธรณ์เห็นว่าคําวินิจฉัยช้ีขาดของคณะกรรมการไม่เป็นธรรมสำหรับผู้อุทธรณ์ สามารถย่ืนฟ้องศาลปกครองไดภ้ ายในเก้าสบิ วนั นับแตว่ นั ทไ่ี ดร้ บั ทราบคำส่ัง บทสรปุ วชิ าชีพครู (teaching profession) หมายความว่า วิชาทีจ่ ะนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ ครูให้เกิดความรู้ความชำนาญเป็นการเฉพาะตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ โดยผู้ ประกอบวิชาชีพครูต้องได้รับอนุญาติให้ประกอบวิชาชีพในการทำหน้าท่ีหลักทางด้านการเรียน การสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ข้ันพื้นฐาน และอุดมศึกษาท่ีต่ำกว่าปริญญาท้ังของรัฐและเอกชน รวมทั้งต้องประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐาน การปฏิบตั งิ านและจรรยาบรรณของวิชาชีพ อาชีพครูถือได้ว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญ ม่ันคง ปัจจุบันอาชีพครูได้รับการยกฐานะโดยมีพระราชบัญญัติรองรับว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยพิจารณาจากเกณฑ์การยอมรับเป็นอาชีพได้ตลอดชีวิต บริการสังคม ใช้วิธีการทางปัญญา มจี รรยาบรรณวชิ าชพี มีอสิ ระในการตัดสนิ ใจตามสมรรถนะของผูป้ ระกอบวชิ าชีพหรือความเปน็ อสิ ระ ของผู้ประกอบวิชาชีพ ใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรมยาวนาน มีการฝึกอบรมประจำการ อย่างต่อเน่ือง และมีองค์กรพิทักษ์ประโยชน์ โดยพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดให้องค์กรวิชาชีพ คือ “คุรุสภา” มีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในกำกับของ กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่เก่ียวกับการควบคุมและรักษามาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากร ทางการศึกษา คำถามทบทวน หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเน้ือหาในบทเรียนนี้แล้ว จงอธิบายข้อความหรือตอบคำถาม ตอ่ ไปนใ้ี หถ้ ูกต้องชดั เจน 1. วิเคราะหว์ ชิ าชพี ครูมลี กั ษณะเด่นหรือดอ้ ยกว่าวิชาชพี อ่นื ๆ หรือไม่ อย่างไร 2. ววิ ฒั นาการของวิชาชีพครูแต่ละยคุ มลี ักษณะแตกตา่ งกันอย่างไร 3. ปจั จุบนั สังคมยอมรบั วา่ อาชพี ครเู ปน็ อาชีพชั้นสูงหรือวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ 4. วเิ คราะห์สภาพปญั หาของวชิ าชพี ครทู สี่ ง่ ผลตอ่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นรูข้ องผเู้ รยี น 5. พระราชบัญญัติสภาครูและบคุลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้คุรุสภา มีบทบาทหน้าทอี่ ยา่ งไรต่อวิชาชีพครู 6. ครูที่จะสามารถรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้น้ัน ต้องมีความรู้และประสบการณ์ วิชาชพี อยา่ งไรบา้ ง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทที่ 3 มาตรฐานวิชาชพี และจรรยาบรรณของวชิ าชีพ วิชาชีพครูเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างคนไทยให้มี ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ รวมท้ังมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตใจท่ีเข้มแข็ง ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิชาชีพ ชั้นสูง (profession) ที่คำนึงถึงการให้บริการแก่สังคมเป็นหลัก (social service) จากบทบาทและ ความสำคัญดังกล่าว พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จึงกำหนดแนวทางในการ ดำเนินงานกำกับ ดูแล รักษา และพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา โดยกำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ให้มีอำนาจหน้าท่ีกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับ ดูแล ให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและ จรรยาบรรณของวชิ าชีพ ดังน้ัน การประกอบวชิ าชีพครูต้องมีมาตรฐานวิชาชพี กำกับท้ังในด้านความรู้ ประสบการณ์วิชาชีพ การปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตน อันได้แก่จรรยาบรรณเพื่อให้เกิดคุณภาพ ในการประกอบวชิ าชีพ สามารถสรา้ งความเชือ่ มั่นศรัทธาให้แก่ผรู้ ับบริการจากวชิ าชพี ได้วา่ เป็นบริการ ทม่ี คี ุณภาพ โดยการประกอบวิชาชีพครูตอ้ งใชค้ วามรู้ ทักษะ และความเช่ยี วชาญเฉพาะ ในบทที่ 3 นี้ ผู้เขยี นจะได้อธบิ ายให้เข้าใจเก่ียวกบั มาตรฐานวชิ าชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอในที่น้ี ได้แก่ มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มาตรฐานวิชาชีพครู จรรยาบรรณของวชิ าชีพ แผนแบบพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวชิ าชพี ครู มาตรฐานวชิ าชีพทางการศึกษา 1. ความหมาย นักวิชาการ นักการศึกษา รวมท้ังหน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้ให้ความหมายของคำว่า “มาตรฐาน” และ “มาตรฐานวชิ าชพี ” และ “มาตรฐานวชิ าชพี ทางการศึกษา” ไว้หลากหลาย ดงั เชน่ พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ NECTEC's Lexitron Dictionary (ออนไลน์) อธิบายคำว่า “มาตรฐาน” (standard) เปน็ คำนาม หมายถึง “สิง่ ท่ถี ือเอาเป็นหลักสำหรับเทียบกำหนด” พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร (ออนไลน์) คำว่า “มาตรฐาน” เป็นคำนาม หมายถึง “กำหนดอยา่ งใดอย่างหนง่ึ ซงึ่ ถอื เป็นหลักเทยี บ” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อธิบายคำว่า “มาตรฐาน” ว่าเป็นคำนาม หมายถึง “ส่ิงท่ีถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันท่ัวไป” เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช หรือ “ส่ิงท่ีถือเอาเป็น เกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ท้ังในด้านปริมาณและคุณภาพ” เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสอื น้ียัง ไม่เขา้ มาตรฐาน (ราชบัณฑติ ยสถาน, 2556, ออนไลน)์ สกุลรัตน์ ทรงนิสัย (2564, ออนไลน์) กล่าวว่า “มาตรฐาน” (Standards) ได้ถูกเขียนขึ้น โดยนำเอารายละเอียดของความจำเพาะทางเทคนิค หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ท่ีเห็นพ้องร่วมกัน เพ่ือใช้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 54 เป็นกฎ, แนวทาง หรือ คำนิยามของคุณลักษณะต่าง ๆ ทั้งนี้ เพ่ือให้มั่นใจได้ว่า วัตถุดิบ, ผลิตภัณฑ์, กระบวนการ หรือบริการต่าง ๆ เหมาะสมตามเป้าหมายทีต่ ง้ั ไว้ กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ (2554, ออนไลน์) กล่าวว่า “มาตรฐานวิชาชีพ” หมายถึง การกำหนดคุณลักษณะ และคุณสมบัติของผู้เรียนท่ีผ่านกระบวนการของการจัดการเรียนการสอน วิชาชีพนั้น ๆ ให้มีระดับความสามารถในการประกอบอาชีพ ท้ังด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ ใน วิชาชีพ ซ่ึงสามารถดำเนินการโดยการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล หรือการสอบ ที่เป็นหลักประกันให้มั่นใจว่า ผู้ท่ีผ่านการเรียนการสอนในวิชาชีพน้ัน ๆ จะมี ความสามารถในการประกอบอาชีพนัน้ ได้อย่างมีคุณภาพ ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 (ราชกิจจานุเบกษา, หน้า 65) ให้นิยามคำว่า “มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตามประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐาน การปฏิบตั ิงาน และมาตรฐานการปฏบิ ัตติ น 2. มาตรฐานวชิ าชพี ทางการศึกษา มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซ่ึงพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ทางการศึกษา สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากร ทางการศึกษาอื่น ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพ ในการประกอบวชิ าชีพ สามารถสร้างความเชอ่ื ม่ันศรทั ธาใหแ้ กผ่ ู้รับบริการจากวิชาชพี ได้วา่ เปน็ บริการ ท่มี คี ณุ ภาพ ดงั น้นั ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศกึ ษาจะต้องศกึ ษาใหเ้ กิดความรู้ ความเข้าใจท่ีถูกต้องให้ สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพให้สมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงมีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชย่ี วชาญในการประกอบวชิ าชพี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 (1) และ (11) (ฉ) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุม ครั้งที่ 5/2556 วันท่ี 16 พฤษภาคม 2556 และคร้ังท่ี 11/2556 วันที่ 2 กันยายน 2556 โดยความ เห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการคุรุสภาจึงออกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพไว้ เรียกว่า “ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556” มีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันท่ี 4 ตุลาคม 2556 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณว์ ิชาชพี มาตรฐานการปฏบิ ตั ิงาน และมาตรฐานการปฏบิ ัตติ น ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุม ครั้งที่ 13/2561 เม่ือวันท่ี 17 ธันวาคม 2561 คุรุสภาโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออก ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับท่ี 4) พ.ศ. 2562 (ราชกิจจานุเบกษา, หน้า 18) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันท่ี 20 มีนาคม 2562 เปลี่ยนแปลงข้อ 3 ให้ยกเลิกความในบทนิยาม
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 55 คำว่า “มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ” “มาตรฐานการปฏิบัติงาน” และ “มาตรฐาน การปฏิบัติตน” ในข้อ 4 แห่งข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความ ตอ่ ไปนแี้ ทน “มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ” หมายความว่า ข้อกำหนดเก่ียวกับความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีเพียงพอท่ีสามารถนาไปใช้ในการประกอบ วิชาชพี ได้ “มาตรฐานการปฏิบัติงาน” หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ หรือการแสดง พฤติกรรมการปฏิบัติงานและการพัฒนางาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมท้ังผู้ต้องการ ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องปฏิบัติตาม เพ่ือให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย การเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา รวมทั้งต้องฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีทักษะ หรือความชานาญสูงขึ้น อย่างต่อเน่ือง “มาตรฐานการปฏิบตั ิตน หมายความว่า จรรยาบรรณของวิชาชพี ทกี่ ำหนดขึ้นเปน็ แบบแผน ในการประพฤติปฏิบัติตน ซ่ึงผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมท้ังผู้ต้องการประกอบวิชาชีพ ทางการศกึ ษาตอ้ งยึดถอื ปฏิบตั ติ าม เพื่อรกั ษาและส่งเสริมเกียรตคิ ุณช่ือเสยี ง และฐานะของผู้ประกอบ วิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เช่ือถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนามาซึ่งเกียรติ และ ศักดศ์ิ รแี ห่งวิชาชีพ” มาตรฐานวิชาชพี ครู ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 (ราชกิจจานุเบกษา, หน้า 66) กำหนดให้ “ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” ประกอบด้วย ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหาร การศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอ่ืน ซ่ึงได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ตาม พระราชบัญญตั ิสภาครูและบคุ ลากรทางการศกึ ษา พ.ศ. 2546 ผู้ประกอบวิชาชีพ “ครู” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียน การสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพ้ืนฐาน และอดุ มศกึ ษาทีต่ ่ำกวา่ ปรญิ ญาทั้งของรัฐและเอกชน การประกอบวิชาชีพครู ต้องมีมาตรฐานวิชาชีพกำกับท้ังในด้านความรู้และประสบการณ์ วิชาชพี การปฏิบตั ิงาน และการปฏิบตั ติ น โดยมีรายละเอียด ดงั น้ี หมวดท่ี 1. มาตรฐานความรแู้ ละประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรอื มีคณุ วฒุ ิอ่นื ท่คี ุรุสภารบั รอง โดยมีมาตรฐานความรแู้ ละประสบการณ์วิชาชพี ดังตอ่ ไปนี้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 56 1.1 มาตรฐานความรู้ ต้องมคี วามรอบรู้และเขา้ ใจในเรอ่ื ง ดงั ตอ่ ไปนี้ 1.1.1 การเปล่ียนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง 1.1.2 จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการ วเิ คราะหแ์ ละพฒั นาผูเ้ รียนตามศกั ยภาพ 1.1.3 เน้ือหาวิชาที่สอน หลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลในการ จดั การเรยี นรู้ 1.1.4 การวัด ประเมนิ ผลการเรยี นรู้ และการวิจัยเพ่ือแกป้ ัญหาและพฒั นาผู้เรียน 1.1.5 การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพอื่ การศึกษา 1.1.6 การออกแบบและการดาเนินการเกย่ี วกบั งานประกนั คุณภาพการศึกษา 1.2 มาตรฐานประสบการณ์ วิชาชีพ ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหน่ึงปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติ การสอน ตามหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงื่อนไขทีค่ ณะกรรมการครุ ุสภากำหนด ดงั ต่อไปนี้ 1.2.1 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน 1.2.2 การปฏบิ ัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ หมวดที่ 2. มาตรฐานการปฏบิ ัติงาน ผปู้ ระกอบวชิ าชีพครู ต้องมีมาตรฐานการปฏบิ ัติงาน ดังน้ี 2.1 การปฏบิ ตั ิหน้าที่ครู 2.1.1 มงุ่ มั่นพัฒนาผู้เรยี น ดว้ ยจิตวญิ ญาณความเปน็ ครู 2.1.2 ประพฤติตนเป็นแบบอย่างท่ีดี มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นพลเมือง ที่เข้มแขง็ 2.1.3 สง่ เสรมิ การเรียนรู้ เอาใจใส่ และยอมรบั ความแตกตา่ งของผเู้ รียนแตล่ ะบุคคล 2.1.4 สร้างแรงบนั ดาลใจผู้เรยี นให้เปน็ ผใู้ ฝเ่ รียนรู้ และผู้สร้างนวัตกรรม 2.1.5 พฒั นาตนเองใหม้ ีความรอบรู้ ทันสมยั และทันตอ่ การเปลีย่ นแปลง 2.2 การจัดการเรียนรู้ 2.2.1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ ส่ือ การวัดและประเมินผล การเรยี นรู้ 2.2.2 บูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนในการวางแผนและจัดการเรียนรู้ ทีส่ ามารถพฒั นาผูเ้ รียนให้มปี ญั ญารู้คดิ และมคี วามเปน็ นวัตกร
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 57 2.2.3 ดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามศักยภาพ สามารถ รายงานผลการพฒั นาคุณภาพผ้เู รยี นได้อย่างเปน็ ระบบ 2.2.4 จัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน โดยตระหนักถึงสขุ ภาวะของผเู้ รียน 2.2.5 วจิ ัย สร้างนวัตกรรม และประยุกตใ์ ช้เทคโนโลยีดิจิทลั ให้เกิดประโยชน์ต่อการ เรียนรู้ของผู้เรียน 2.2.6 ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา วิชาชพี 2.3 ความสมั พันธก์ บั ผูป้ กครองและชุมชน 2.3.1 ร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ 2.3.2 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ที่มคี ณุ ภาพของผู้เรียน 2.3.3 ศึกษา เข้าถึงบริบทของชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกันบนพ้ืนฐานความ แตกต่างทางวฒั นธรรม 2.3.4 สง่ เสรมิ อนุรักษว์ ฒั นธรรม และภมู ปิ ัญญาท้องถ่ิน หมวด 3 มาตรฐานการปฏิบัติตน ผูป้ ระกอบวชิ าชีพครู ต้องมีมาตรฐานการปฏบิ ตั ติ นตามขอ้ บังคบั ครุ ุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณ ของวชิ าชพี จรรยาบรรณของวิชาชีพ จรรยาบรรณในวิชาชีพ หมายถึงประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติ เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อผดุงเกียรติ และสถานะของวิชาชีพน้ันก็ได้ผกู้ ระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องไดร้ ับโทษโดยวา่ กล่าว ตักเตือน ถูกพัก งาน หรือถกู ยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้ จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นส่ิงสำคัญในการท่ีจะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่ อาชีพ ที่เป็น “วิชาชีพ” นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้ อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า “จรรยาบรรณ“ ส่วนลักษณะ “วิชาชีพ ” ที่สำคัญคือเป็นอาชีพท่ีมี ศาสตร์ช้ันสูงรองรับ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าว ในระดับ อุดมศึกษาท้ังการสอนด้วยทฤษฎีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมี ประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากน้ีจะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี “จรรยาบรรณ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 58 ในวิชาชีพ” เพ่ือให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนด ในจรรยาบรรณวิชาชีพท่ัวไป คือ แนวความประพฤติปฏิบตั ิที่มีต่อวิชาชีพต่อผเู้ รียน ตอ่ ตนเอง และต่อ สงั คม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) (11) (จ) และมาตรา 50 แห่ง พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งท่ี 5/2556 วันท่ี 16 พฤษภาคม 2556 โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการคุรุสภาจึงออก ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 มผี ลบงั คับตง้ั แตว่ นั ท่ี 4 ตุลาคม 2556 (ราชกจิ จานุเบกษา, หนา้ 73-74) ดงั ตอ่ ไปนี้ “จรรยาบรรณของวิชาชีพ” หมายความว่า มาตรฐานการปฏิบัติตนท่ีกำหนดขึ้นเป็นแบบ แผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริม เกยี รติคุณช่อื เสียงและฐานะของผปู้ ระกอบวิชาชพี ทางการศึกษาให้เป็นทีเ่ ช่ือถือศรัทธาแกผ่ ู้รับบริการ และสังคม อันจะนำมาซ่ึงเกยี รติและศักดศ์ิ รแี หง่ วิชาชพี ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบ แผนพฤตกิ รรมตามจรรยาบรรณของวชิ าชพี ดังนี้ หมวด 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง 1. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสยั ทศั น์ ใหท้ นั ต่อการพฒั นาทางวิทยาการ เศรษฐกจิ สงั คม และการเมืองอยเู่ สมอ หมวด 2 จรรยาบรรณตอ่ วชิ าชพี 2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซ่ือสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชกิ ท่ีดีขององค์กรวชิ าชพี หมวด 3 จรรยาบรรณตอ่ ผู้รับบริการ 3. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจ แกศ่ ษิ ย์ และผู้รบั บรกิ าร ตามบทบาทหนา้ ที่โดยเสมอหนา้ 4. ผูป้ ระกอบวชิ าชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรยี นรู้ ทักษะ และนิสยั ท่ีถกู ต้อง ดงี ามแก่ศษิ ย์ และผรู้ ับบรกิ าร ตามบทบาทหน้าทอี่ ย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสทุ ธิ์ใจ 5. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ 6. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สตปิ ัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศษิ ย์ และผรู้ บั บริการ 7. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่ เรยี กรับหรือยอมรับผลประโยชนจ์ ากการใช้ตำแหน่งหน้าท่โี ดยมิชอบ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 59 หมวด 4 จรรยาบรรณต่อผู้รว่ มประกอบวิชาชพี 8. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยดึ มน่ั ในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคใี นหมู่คณะ หมวด 5 จรรยาบรรณต่อสงั คม 9. ผูป้ ระกอบวชิ าชีพทางการศกึ ษา พงึ ประพฤตปิ ฏบิ ัตติ นเป็นผู้นำในการอนุรกั ษ์และพฒั นา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ส่ิงแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมนั่ ในการปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอนั มพี ระมหากษตั ริย์ทรงเป็นประมุข แผนแบบพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชพี ครู อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (11) (จ) มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุม ครัง้ ท่ี 2/2550 วนั ที่ 19 กุมภาพนั ธ์ 2550 โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศกึ ษาธกิ าร คณะกรรมการคุรสุ ภาจงึ ออกขอ้ บังคบั คุรสุ ภาว่าดว้ ยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวชิ าชพี พ.ศ. 2550 (ราชกิจจานเุ บกษา, หน้า 37) โดยใหน้ ิยาม “แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ” หมายความว่า ประมวลพฤติกรรม ที่เป็นตัวอย่างของการประพฤติท่ีกำหนดขึ้นตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษา คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ต้องหรือ พึงประพฤติปฏิบัติตามประกอบด้วย พฤติกรรมท่ีพึงประสงค์ ที่กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการ ศกึ ษาต้องหรือพึงประพฤติตาม และพฤตกิ รรมทไี่ มพ่ ึงประสงค์ ทก่ี ำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการ ศึกษาต้องหรอื พงึ ละเวน้ โดยกำหนดให้ หมวด 1 แบบแผนพฤตกิ รรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู หมวด 2 แบบแผนพฤตกิ รรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผบู้ รหิ ารสถานศึกษา หมวด 3 แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวชิ าชีพผู้บรหิ ารการศกึ ษา หมวด 4 แบบแผนพฤตกิ รรมตามจรรยาบรรณของวิชาชพี ศกึ ษานเิ ทศก์ สำหรับในส่วนนี้ขอนำเสนอเฉพาะ หมวด 1 แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของ วชิ าชพี ครู ดังน้ี สว่ นที่ 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการ พัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติและละเว้น การ ประพฤตติ ามแบบแผนพฤติกรรม ดังตวั อยา่ งต่อไปน้ี (ก) พฤติกรรมท่ีพึงประสงค์ (1) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างท่ีดี
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 60 (2) ประพฤติตนเปน็ แบบอย่างท่ีดีในการดำเนินชวี ติ ตามประเพณี และวฒั นธรรมไทย (3) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ท่ีได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายที่ กำหนด (4) ศึกษา หาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่าง สมำ่ เสมอ (5) ค้นคว้า แสวงหา และนำเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนาและก้าวหน้าเป็นท่ียอมรับ มาใช้แก่ศิษย์และผ้รู บั บรกิ ารให้เกิดผลสัมฤทธ์ทิ ่พี งึ ประสงค์ (ข) พฤติกรรมทไ่ี มพ่ งึ ประสงค์ (1) เก่ียวข้องกบั อบายมุขหรือเสพสิง่ เสพตดิ จนขาดสติหรอื แสดงกิริยาไม่สุภาพเปน็ ที่ น่ารงั เกียจในสังคม (2) ประพฤตผิ ดิ ทางชู้สาวหรอื มีพฤติกรรมลว่ งละเมดิ ทางเพศ (3) ขาดความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ จนเกดิ ความเสยี หาย ในการปฏิบตั ิงานตามหน้าที่ (4) ไมร่ ับรู้หรอื ไมแ่ สวงหาความรู้ใหม่ ๆ ในการจดั การเรยี นรู้ และการปฏิบัตหิ นา้ ท่ี (5) ขดั ขวางการพัฒนาองค์การจนเกดิ ผลเสยี หาย ส่วนที่ 2 จรรยาบรรณตอ่ วชิ าชีพ ครูต้องรัก ศรัทธา ซ่ือสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกท่ีดีขององค์กร วิชาชพี โดยตอ้ งประพฤตแิ ละละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดงั ตวั อย่างตอ่ ไปนี้ (ก) พฤติกรรมทพี่ งึ ประสงค์ (1) แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวชิ าชีพ (2) รักษาชอ่ื เสียงและปกป้องศักดิศ์ รแี หง่ วชิ าชพี (3) ยกยอ่ งและเชดิ ชเู กียรติผมู้ ีผลงานในวิชาชพี ใหส้ าธารณชนรบั รู้ (4) อทุ ศิ ตนเพือ่ ความก้าวหน้าของวชิ าชีพ (5) ปฏิบัติหน้าท่ีด้วยความรับผิดชอบ ซ่ือสัตย์สุจริตตามกฎ ระเบียบ และแบบแผน ของทางราชการ (6) เลอื กใช้หลักวชิ าท่ถี ูกตอ้ ง สรา้ งสรรค์เทคนคิ วิธีการใหม่ ๆ เพอื่ พัฒนาวชิ าชีพ (7) ใช้องค์ความรู้หลากหลายในการปฏิบัติหน้าท่ี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิก ในองค์การ (8) เข้าร่วมกิจกรรมของวชิ าชพี หรือองคก์ รวชิ าชีพอยา่ งสรา้ งสรรค์ (ข) พฤติกรรมทไี่ ม่พงึ ประสงค์ (1) ไม่แสดงความภาคภูมใิ จในการประกอบวชิ าชพี
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 61 (2) ดูหมิ่น เหยยี ดหยาม ให้ร้ายผู้รว่ มประกอบวิชาชีพ ศาสตร์ในวิชาชีพ หรือองค์กร วชิ าชีพ (3) ประกอบการงานอืน่ ที่ไมเ่ หมาะสมกบั การเปน็ ผ้ปู ระกอบวชิ าชพี ทางการศึกษา (4) ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผิดชอบ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือแบบแผนของ ทางราชการจนกอ่ ให้เกดิ ความเสยี หาย (5) คดั ลอกหรือนำผลงานของผู้อ่นื มาเปน็ ของตน (6) ใชห้ ลกั วิชาการทไี่ มถ่ ูกตอ้ งในการปฏบิ ตั วิ ชิ าชพี สง่ ผลใหศ้ ิษยห์ รือผรู้ บั บรกิ าร เกดิ ความเสยี หาย (7) ใช้ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ หรืออาศัยองค์กรวิชาชีพแสวงหาประโยชน์เพื่อ ตนเองหรือผู้อนื่ โดยมชิ อบ ส่วนที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้รบั บรกิ าร ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ครูต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย ท่ีถูกต้องดีงาม แก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธ์ิใจ ครูต้อง ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างท่ีดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และครูต้อง ให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่ง หน้าทโี่ ดยมชิ อบโดยตอ้ งประพฤตแิ ละละเวน้ การประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดงั ตัวอยา่ งต่อไปนี้ (ก) พฤตกิ รรมทพ่ี งึ ประสงค์ (1) ให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือศิษย์และผู้รับบริการด้วยความเมตตากรุณาอย่างเต็ม กำลงั ความสามารถและเสมอภาค (2) สนบั สนนุ การดำเนนิ งานเพอื่ ปกปอ้ งสทิ ธเิ ด็ก เยาวชน และผดู้ ้อยโอกาส (3) ตง้ั ใจ เสียสละ และอุทิศตนในการปฏิบัตหิ นา้ ท่ี เพ่อื ให้ศษิ ยแ์ ละผูร้ บั บริการไดร้ ับ การพัฒนาตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบคุ คล (4) ส่งเสริมให้ศิษย์และผู้รับบริการสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากส่ือ อปุ กรณ์ และแหล่งเรียนรู้อยา่ งหลากหลาย (5) ให้ศิษย์และผู้รับบริการ มีส่วนร่วมวางแผนการเรียนรู้ และเลือกวิธีการปฏิบัติ ทเ่ี หมาะสมกบั ตนเอง (6) เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการด้วยการรับฟังความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจอยา่ งกลั ยาณมิตร
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 62 (ข) พฤตกิ รรมทไ่ี มพ่ งึ ประสงค์ (1) ลงโทษศิษย์อย่างไม่เหมาะสม (2) ไม่ใส่ใจหรือไม่รับรู้ปัญหาของศิษย์หรือผู้รับบริการ จนเกิดผลเสียหายต่อศิษย์ หรือผรู้ ับบริการ (3) ดูหมิน่ เหยยี ดหยามศษิ ยห์ รือผ้รู บั บริการ (4) เปิดเผยความลับของศิษย์หรือผู้รับบริการ เป็นผลให้ได้รับความอับอายหรือ เส่อื มเสยี ชือ่ เสียง (5) จูงใจ โน้มน้าว ยุยงส่งเสริมให้ศิษย์หรือผู้รับบริการปฏิบัติขัดต่อศีลธรรมหรือ กฎระเบียบ (6) ชักชวน ใช้ จ้าง วานศิษย์หรือผู้รับบริการให้จัดซ้ือ จัดหาส่ิงเสพติด หรือเข้าไป เก่ียวข้องกบั อบายมขุ (7) เรยี กรอ้ งผลตอบแทนจากศษิ ย์หรือผูร้ บั บรกิ ารในงานตามหนา้ ทที่ ีต่ ้องให้บริการ ส่วนท่ี 4 จรรยาบรรณตอ่ ผูร้ ว่ มประกอบวชิ าชีพ ครูพึงช่วยเหลอื เก้ือกูลซึ่งกนั และกันอย่างสรา้ งสรรค์ โดยยึดม่นั ในระบบคุณธรรมสร้างความ สามคั คใี นหมู่คณะ โดยพงึ ประพฤติและละเวน้ การประพฤตติ ามแบบแผนพฤติกรรมดังตวั อย่างต่อไปน้ี (ก) พฤตกิ รรมที่พึงประสงค์ (1) เสียสละ เอื้ออาทร และใหค้ วามชว่ ยเหลอื ผู้รว่ มประกอบวชิ าชีพ (2) มคี วามรัก ความสามัคคี และร่วมใจกนั ผนกึ กำลงั ในการพฒั นาการศึกษา (ข) พฤติกรรมที่ไมพ่ ึงประสงค์ (1) ปิดบังข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงาน จนทำให้เกิดความเสียหายต่องานหรือผู้ รว่ มประกอบวชิ าชพี (2) ปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยตำหนิ ใหร้ ้ายผอู้ ืน่ ในความบกพร่องทีเ่ กิดขนึ้ (3) สร้างกลุ่มอิทธิพลภายในองค์การหรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมประกอบวิชาชีพให้เกิด ความเสยี หาย (4) เจตนาให้ข้อมูลเท็จทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเกิดความเสียหายต่อผู้ร่วม ประกอบวชิ าชพี (5) วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือแตก ความสามัคคี สว่ นท่ี 5 จรรยาบรรณตอ่ สังคม ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ส่ิงแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดม่ันในการปกครอง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 63 ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติ ตามแบบแผนพฤติกรรม ดงั ตวั อย่างต่อไปนี้ (ก) พฤตกิ รรมที่พงึ ประสงค์ (1) ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริยท์ รงเปน็ ประมุข (2) นำภูมิปัญญาท้องถ่ินและศิลปวัฒนธรรมมาเป็นปัจจัยในการจัดการศึกษาให้เป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม (3) จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินชีวิตตามหลัก เศรษฐกิจพอเพยี ง (4) เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพ่ืออนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมพัฒนาเศรษฐกิจ ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถ่ิน และศิลปวัฒนธรรม (ข) พฤติกรรมทไี่ มพ่ ึงประสงค์ (1) ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนที่จัดเพื่อประโยชน์ ต่อการศึกษาท้ังทางตรงหรือทางออ้ ม (2) ไม่แสดงความเป็นผู้นำในการอนุรักษ์หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมปิ ญั ญาหรอื สง่ิ แวดล้อม (3) ไมป่ ระพฤติตนเป็นแบบอยา่ งท่ีดใี นการอนรุ ักษ์หรือพฒั นาสง่ิ แวดลอ้ ม (4) ปฏิบตั ติ นเป็นปฏปิ กั ษ์ต่อวฒั นธรรมอนั ดีงามของชุมชนหรอื สังคม บทสรุป มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพ ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซ่ึงผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติ ปฏิบัติตามประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และ มาตรฐานการปฏบิ ัติตน มาตรฐานวิชาชีพครู (1) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (2) มาตรฐานการ ปฏิบัติงาน ต้องมีมาตรฐาน การปฏิบัติหน้าที่ครู การจัดการเรียนรู้ และ ความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง และชุมชน (3) มาตรฐานการปฏบิ ตั ิตน จรรยาบรรณของวิชาชีพ และแผนแบบพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประกอบด้วย (1) จรรยาบรรณต่อตนเอง (2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ (3) จรรยาบรรณต่อผู้บริการ (4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวชิ าชีพ และ (5) จรรยาบรรณต่อสังคม
64 คำถามทบทวน 1. พระราชบัญญตั ิสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ได้กำหนดมาตรฐาวชิ าชพี ออกเปน็ ก่ดี ้าน อะไรบ้าง จงอธบิ าย 2. มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา หมายความวา่ อยา่ งไร 3. ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ครูต้องมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วชิ าชีพอย่างไรบา้ ง 4. ผ้ปู ระกอบวิชาชีพครูต้องมีมาตรฐานการปฏบิ ัติงาน อย่างไรบ้าง 5. ผู้ประกอบวชิ าชีพครตู ้องประพฤตปิ ฏิบตั ิตามจรรยาบรรณของวชิ าชพี อย่างไรบา้ ง 6. ยกตวั อยา่ งแผนแบบพฤตกิ รรมที่พึงประสงค์และไม่พงึ ประสงค์ ตามจรรยาบรรณ ของวิชาชีพครู แตล่ ะหมวด มาพอสงั เขป มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บทที่ 4 คณุ ธรรม จริยธรรม สำหรบั ผูป้ ระกอบวิชาชีพครู คณุ ธรรม จริยธรรม เป็นมโนสำนึกของความดีงามของจิตใจท่ีสง่ ผลต่อพฤติกรรมของบุคคล ผู้ท่ีมีคุณธรรม จริยธรรม จงึ มักเป็นบคุ คลท่ีประพฤติดีประพฤติชอบ คุณธรรม จริยธรรม จึงเป็นปัจจัย ที่มีความสำคัญต่อการประกอบวิชาชีพของบุคคลในทุกสาขาอาชีพ โดยฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้เป็นกลไกสำคัญในด้านการสอน การอบรม และการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ศิษย์ ซึ่งถือว่า เป็นหน้าที่หลักอีกประการหน่ึงนอกจากการสอนในด้านวิชาความรู้ ผู้ประกอบวิชาชพี ครทู ุกคนจะต้อง ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมอีกด้วย เพราะพฤติกรรมท่ีเหมาะสม ท่ีครูได้แสดงออกจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการปลูกฝังค่านิยม ความศรัทธาให้แก่ศิษย์ได้ปฏิบัติตาม หากครขู าดซงึ่ ความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักถึงคณุ ประโยชน์และโทษท่ีเปน็ ผลสืบเนอื่ งมาจาก การมีและการขาดคุณธรรม จริยธรรม หรือจิตสํานึกท่ีดีแล้วยอมสงผลเสียต่อบุคคล สังคม และ ประเทศชาติเปน็ อย่างมาก ดังนั้น ในบทท่ี 4 น้ี ผู้เขียนจะได้อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคุณธรรมและ จริยธรรม ความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม ประโยชน์ของคุณธรรมและจริยธรรม คุณธรรมสี่ ประการสำหรับคนไทย หลักคุณธรรมและจรยิ ธรรมสำหรับครู การพัฒนาคุณธรรมและจรยิ ธรรมของ ครู การปลูกฝงั คณุ ธรรมและจริยธรรมสำหรบั ครู โดยมีรายละเอียดดงั ตอ่ ไปน้ี ความหมายของคุณธรรม และ จรยิ ธรรม ความหมายของคำว่า คุณธรรม (moral/virtue) และ จริยธรรม (ethics) พระภิกษุสงฆ์ ผทู้ รงไว้ซึ่งความรู้ ความเช่ียวชาญในพระธรรมวนิ ัย นักปราชญ์ นักวิชาการ รวมท้งั หน่วยงานราชการ ต่าง ๆ ไดใ้ หค้ วามหมายไว้หลากหลายแงม่ ุม ดังน้ี 1. ความหมายของ “คณุ ธรรม” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (2556, ออนไลน์) อธิบายคำว่า “คุณ” คือ ความดที ่ีประจำอยใู่ นสงิ่ นั้น ๆ ส่วนคำว่า “ธรรม” คือ คุณความดี, คำสั่งสอนในศาสนา, ความจริง สำหรับคำว่า “คุณธรรม” หมายถึง “สภาพคุณงามความดี” สอดคล้องกับ พจนานุกรมแปลไทย- อังกฤษ NECTEC's Lexitron Dictionary (ออนไลน์) อธิบาย คำว่า คุณธรรม (virtue) หมายถึง ความด,ี คณุ ความดี, คณุ งามความดี, ความดีงาม พระธรรมโกศาจารย์หรือพุทธทาสภิกขุ (2529, อ้างถึงใน ยนต์ ชุ่มจิต, 2558, หน้า 152) ซ่ึงเป็นพระภิกษุสงฆ์ท่ีท้ังสังคมไทยและสังคมโลกให้ความเคารพและเป็นพระภิกษุสงฆ์ท่ีความรู้ ความเช่ียวชาญในพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง ได้อธิบายให้เข้าใจคำว่า “คุณธรรม” โดยแยกอธิบาย
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 66 ความหมายของคำว่า “คุณ” และ “ธรรม” ไว้ว่า คำว่า “คุณ” น้ัน หมายถึง ค่าท่ีมีอยู่ในแต่ละส่ิง ซึ่งเป็นท่ีตั้งแห่งความยึดถือ เป็นไปได้ท้ังทางดีและทางร้าย คือ ทำให้จติ ใจยินดกี ็เรียกวา่ “คุณ” ทำให้ จิตใจยินร้าย ก็เรยี กว่า “คุณ” ซึ่งเปน็ ไปตามธรรมชาติของมัน ผู้ที่มจี ิตหลุดพ้นดว้ ยประการท้งั ปวงจะ อยเู่ หนือความหมายของคำนี้ ส่วนความหมายของคำว่า “ธรรม” น้ัน พระธรรมโกศาจารย์หรือพุทธทาสภิกขุ ได้อธิบาย ความหมายไว้ 4 ประการด้วยกัน คือ ธรรมะ คือ ธรรมชาติ เรามหี นา้ ท่ีตอ้ งเกี่ยวข้อง ธรรมะ คือ กฎของธรรมชาติ เรามหี นา้ ทตี่ อ้ งเรยี นรู้ ธรรมะ คือ หนา้ ท่ีตามกฎของธรรมชาติ เรามีหนา้ ทต่ี อ้ งปฏบิ ัติ ธรรมะ คือ ผลจากการปฏบิ ตั ิหนา้ ที่น้นั เรามหี น้าที่จะตอ้ งมหี รอื ใชม้ นั อยา่ งถกู ต้อง พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2554, หน้า 14) ได้กล่าวว่า คุณธรรม เป็นภาพของ จิตใจ กล่าวคือคุณสมบตั ิทีเ่ สรมิ สร้างจิตใจให้ดีงาม ใหเ้ ป็นจติ ใจทส่ี งู ประณีตและประเสรฐิ พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (2558, ออนไลน์) กล่าวว่า คุณธรรม คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝัง ข้นึ ในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซ่ือสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่าง ๆ เม่ือจิต เกิดคณุ ธรรมขนึ้ แล้ว จะทำให้เป็นผู้มจี ิตใจดี และคดิ แต่ส่งิ ท่ีดี จงึ ได้ชอ่ื ว่า “เปน็ ผมู้ คี ุณธรรม” ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (2550, หน้า 1) ได้กำหนดความหมายของ “คุณธรรม” ว่าหมายถึง ส่ิงที่มีคุณค่ามีประโยชน์เป็นความดีงาม เป็นมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดความช่ัว กลัวบาป ใฝ่ความดี เป็นเคร่ืองกระตุ้น ผลักดันให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบ เกิดจิตสำนึกท่ีดีมีความสงบเย็นภายใน เป็นสิ่งท่ีต้องปลูกฝัง โดยเฉพาะเพอ่ื ใหเ้ กดิ ข้นึ และเหมาะสมกับความต้องการในสงั คมไทย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (2556, หน้า 33) ให้ความหมายของ “คุณธรรม” หมายถึง คุณงามความดีท่ีสะท้อนออกมาจากนิสัยของคน ซ่ึงจะปรากฏเห็นตามบุคลิกลักษณะของบุคคล” และ “จริยธรรม” หมาย ถึง “ความประพฤติดี สอดคล้องกับหลักศีลธรรมทางศาสนา ขนบประเพณี วฒั นธรรม” ยนต์ ชุ่มจิต, (2558, หน้า, 153) ได้สรุปความหมายถึง คำว่า “คุณธรรม หมายถึง ธรรมชาตขิ องความดี ลกั ษณะของความดี หรอื สภาพของความดี ที่มอี ยู่ในตวั บุคคลใดบุคคลหนง่ึ ” จากที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่า คำว่า “คุณธรรม” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “moral/virtue” ประกอบด้วยคำว่า “คุณ” คือ ความดีที่ประจำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ และคำว่า “ธรรม” คือ คุณความดี จึงสรุปได้ว่า “คุณธรรม” (moral) หมายถึง สภาพคุณงามความดีท่มี ีอยูใ่ นตวั บุคคล เป็นคุณสมบัติ ที่ เสริมสร้างจิตใจใหด้ งี าม เป็นผู้จติ ใจที่สงู ประณีต และประเสริฐ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 67 2. ความหมายของ “จริยธรรม” เป็นท่ีปรากฏโดยท่ัวไปว่า จริยธรรม มักจะถูกกล่าวถึงคำที่ควบคู่กันคือคุณธรรมท่ีเรียกกัน ติดปากว่า “คุณธรรม จริยธรรม” แต่สำหรับจริยธรรมเมื่อแยกออกจากคุณธรรมแล้วจะมีประเด็น ท่ีสำคัญ คือ คำว่า “จริยธรรม” (ethics) มาจากภาษากรีกสองคำ ได้แก่ “ศีลธรรม” (ehtikos or moral) กับ “อุปนิสัย” (ethos or character) จริยธรรม จึงหมายถึง ศีลธรรมกบั อปุ นิสัย รวมทั้ง สิ่งที่มีคุณค่า หรือกฎแห่งความประพฤติของกลุ่มคนหรือบุคคล (Richard Garner, 1975, อ้างถึงใน ทนิ พนั ธ์ุ นาคะตะ, 2557, หนา้ 15) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (2556, ออนไลน์) อธิบายคำว่า “จรยิ ธรรม” หมายถึง “ธรรมที่เปน็ ข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม” ส่วนคำวา่ “ศีลธรรม” หมายถึง ความประพฤติทดี่ ีท่ชี อบ, ศีลและธรรม, ธรรมในระดบั ศีล ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (2550, หน้า 1) ได้กำหนดความหมายของคำว่า “จริยธรรม” หมายถึง กรอบ หรือแนวทางอันดีงามที่พึง ปฏิบัติซึ่งกำหนดไว้สำหรับสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงาม ความสงบร่มเย็น เปน็ สุข สร้างความรกั สามคั คีความอบอุ่นมัน่ คงและปลอดภัยในการดำรงชวี ติ จำนงค์ ทองประเสริฐ (2552, หน้า 1) ได้ให้ความหมาย ของจริยธรรมว่า ประกอบด้วยคํา ว่า จริย แปลว่า พึงประพฤติ, พึงปฏิบัติ, พึงดำเนิน กับคําว่า ธรรม ซ่ึงมีความหมายหลายอย่าง ความหมายหน่ึงก็คือ หลักการ ดังนั้น คําว่า จริยธรรม จึงอาจแปลว่า ธรรมที่พึงประพฤติปฏิบัติ หรือ หลกั การดำเนินชวี ิตของมนุษย์ ทินพันธ์ุ นาคะตะ (2557, หน้า 16) กล่าวว่า จริยธรรมกับศีลธรรมเป็นคำที่ใช้ทดแทน กันได้เสมอ คำว่า จริยธรรม ท่ีใช้กันทั่วไปมีอยู่ 3 อย่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ประการแรก รูปแบบ ทั่วไปหรือวิถีชีวิต เช่น จริยธรรมชาวพุทธหรือชาวคริสต์ ประการที่สอง กฎแห่งความประพฤติ หรือประมวลหลักศีลธรรม (moral code or principle) เช่น จริยธรรมในอาชีพ หรือ พูดว่า เป็นพฤติกรรมท่ีไม่มีจริยธรรม กับ ประการที่สาม ปรัชญาทางศีลธรรมหรือจริยธรรม ซ่ึงได้แก่ หลักการทางปรัชญาท่ีว่าด้วยการให้เหตุผลเก่ียวกับการกระทำที่มีศีลธรรมหรือมีจริยธรรม เช่น ความคิดสำคญั ๆ เก่ียวกับความประพฤติของคนเรา ซงึ่ ปรัชญาทางศีลธรรม หรือ จริยธรรม เป็นเร่ือง ของการประเมินและตัดสินเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติทางศีลธรรม หรือ หลักการแห่งความประพฤติ ทัง้ หลาย พระวจิ ิตรธรรมาภรณ์ (2558, ออนไลน์) กลา่ ววา่ “จรรยา” หมายถึง ความประพฤติ กิรยิ า ที่ควรประพฤติซึ่งสังคมแต่ละสังคมกำหนดขึ้นสอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละวิชาชีพก็อาจกำหน ด บุคลิกภาพ กิริยา วาจาท่ีบุคคลในวิชาชีพพึงประพฤติปฏิบัติ เช่น ครู แพทย์ พยาบาล ย่อมเป็นผู้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 68 พงึ สำรวมในกิริยา วาจา ท่าทางที่แสดง “จริยธรรม” คือ กฎแห่งความประพฤติของมนุษยซ์ ่ึงเกิดจาก ธรรมชาติของมนุษย์เอง ความเป็นผมู้ ีปรีชาญาณ (ปัญญาและเหตุผลรวมกัน) ทำให้มนุษย์มีมโนธรรม รูจ้ ักแยกแยะความดี ถกู ผดิ ควรไม่ควร จรยิ ธรรม มลี กั ษณะ 4 ประการ คอื 1. การตัดสินทางจริยธรรม (moral judgment) บุคคลจะมีหลกั การของตนเองเพอื่ ตัดสิน การกระทำของผ้อู ่ืน 2. หลักการจริยธรรมและการตัดสินตกลงใจเป็นความสมั พันธ์ท่เี กดิ ข้ึนในตัวบุคคลก่อนที่ จะปฏบิ ตั ิการตา่ ง ๆ 3. หลักการทางจริยธรรมเป็นหลักการสากลที่บุคคลใช้ในการตัดสินใจในการกระทำ สิง่ ต่าง ๆ 4. ทัศนะเก่ียวกบั จริยธรรมได้มาจากความคิดของบุคคลหรอื อดุ มคติของสังคมจนเปน็ ทัศนะ ในการดำรงชวี ติ ของตนและของสังคมท่ตี นอยู่ สมศกั ด์ิ เกยี รติสรุ นนท์ (2556, หน้า 33) ให้ความหมายของ “จริยธรรม” หมาย ถึง “ความ ประพฤตดิ ี สอดคลอ้ งกับหลักศลี ธรรมทางศาสนา ขนบประเพณี วัฒนธรรม” พระมหาอนันต์ องฺกุรสิริ (2561, หน้า 85) กล่าวว่า คำว่า คุณธรรม จริยธรรม สองคำน้ี เป็นคำท่ีมีความหมายเกี่ยวข้องกันในด้านคุณงาม ความดี กล่าวคือ จริยธรรม คือ ความประพฤติ ท่ีถูกต้องดีงามทั้งกายและวาจา สมควรท่ีบุคคลจะประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ตนเองและคนในสังคม รอบข้างมีความสุข สงบ เยือกเย็น จริยธรรมเป็นเร่ืองของการฝึกนิสัยที่ดีโดยกระทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอจนเป็นนิสัย ผู้มีความประพฤติดีงามอย่างแท้จริงจะต้องเป็นผู้มีความรู้สึกในด้านดี อยู่ตลอดเวลา การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคคลจึงต้องพัฒนาท้ัง 3 ด้าน ควบคู่กันไป คือ การพัฒนาดา้ นสตปิ ญั ญา ด้านจิตใจ และด้านพฤติกรรม จะเห็นว่า คุณธรรม หมายถึง หลักของความดี ความงาม ความถูกต้องในการแสดงออกทั้ง กาย วาจา ใจ ของแต่ละบุคคลซ่ึงยดึ ม่ันไวเ้ ป็นการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัยซึ่งอาจส่งผลให้การ อย่รู ่วมกันในสังคมอย่างมคี วามสขุ จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสงั คม จริยธรรมจึงเป็นส่ิงสำคัญในสังคม ที่จะนำความสุขสงบและความและความเจริญก้าวหน้า มาสู่สังคมนั้น ๆ เพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจกย็ ่อมสูงส่ง มีความสะอาด และสว่างในจติ ใจ จะทำการงานใดก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อ่นื เป็นบุคคลมีคุณค่า มปี ระโยชน์ และสร้างสรรค์คุณงามความดี อนั เปน็ ประโยชนต์ ่อบา้ นเมืองต่อไป สุพจน์ ไข่มุกต์ (2556, หน้า 45) เห็นว่า “คุณธรรมและจริยธรรม เป็นคำท่ีมีความหมาย ใกล้เคียงกันและผู้ใช้มักจะใช้ควบคู่กันไปเสมอ ซ่ึงโดยสรุปแล้ว หมายความถึง กฎเกณฑ์ในเรื่อง ความประพฤติของมนุษย์ซ่ึงเกิดจากธรรมชาติของมนุษย์เอง หรือเกิดจากกระบวนการกล่อมเกลา ทางสงั คมในเร่ืองของการประพฤติปฏิบตั ิในสง่ิ ทด่ี ีงาม มนุษย์ผูเ้ จริญใช้เป็นแนวทางการควบคุมตนเอง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 69 ทำให้การรจู้ ักไตร่ตรองแยกแยะว่าส่ิงใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ กฎเกณฑ์ในทางสังคมดังกล่าวนี้เป็นที่ ยอมรับกันว่าเป็นส่ิงที่ดีงาม ควรประพฤติปฏิบัติ เป็นเคร่ืองมือในการกำกับบุคคลให้คิดดี พูดดี และ ทำดี สภาวะน้ีเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในจิตใจของบุคคลผู้เจริญอยู่ทุกขณะ แม้กระท่ังการแสดงกริยา อาการออกสู่ภายนอก และเป็นเคร่อื งกำกบั บุคคลมใิ ห้ตกไปสูท่ ตี่ ำ่ ทราม กล่าวโดยสรปุ คำว่า “จริยธรรม” (ethics) มาจากภาษากรีกสองคำ ได้แก่ “ศีลธรรม” กับ “อุปนิสัย” จริยธรรม ประกอบด้วยคําว่า จริย แปลว่า พึงประพฤติ, พึงปฏิบัติ, พึงดำเนิน กับคําว่า ธรรม ซึ่งมีความหมายหลายอย่าง ความหมายหน่ึงก็คือ หลักการ ดังน้ัน คําว่า จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งการประพฤติปฏิบัติของกลุ่มคนหรือบุคคลท่ีสอดคล้องกับหลักศีลธรรมทางศาสนา ขนบประเพณี วัฒนธรรมอันดงี าม ความสำคัญของคุณธรรมและจรยิ ธรรม คุณธรรม จริยธรรม นับว่าเป็นพ้ืนฐานที่สำคัญของคนทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใด หรือวิชาชีพใดไม่มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตน และแห่งวชิ าชีพน้ัน ๆ ที่ยงิ่ กวา่ นั้นก็คอื การขาดคุณธรรมจริยธรรมท้ังในส่วนบุคคลและในวิชาชพี อาจ มีผลร้ายต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตได้อีกด้วย ดังจะพบเห็นได้จากการเกิดวิกฤติ ศรัทธาในวิชาชีพหลายแขนงในปัจจุบัน ทั้งวงการวิชาชีพครู แพทย์ ตำรวจ ทหาร นักการเมือง การปกครอง ฯลฯ จงึ มคี ำกล่าววา่ เราไม่สามารถสรา้ งครูดีบนพ้นื ฐานของคนไมด่ ี และไมส่ ามารถสร้าง แพทย์ ตำรวจ ทหารและนักการเมืองที่ดี ถ้าบุคคลเหลา่ น้ันมพี ้ืนฐานทางนสิ ัยและความประพฤติที่ไม่ดี ดังพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จ พระมหากษตั ริ-ยาธิราช ณ ทอ้ งสนามหลวง เม่ือวันจนั ทรท์ ่ี 5 เมษายน พ. ศ.2525 ไว้ ดงั น้ี “...การจะทำงานให้สัมฤทธ์ิผลที่พึงปรารถนา คือให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยน้ัน จะอาศัยความรู้แต่เพยี งอย่างเดยี วมิได้ จำเป็นตอ้ งอาศัยความสุจริต ความบรสิ ุทธิ์ใจ และความถกู ตอ้ ง เป็นธรรม ประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้น เสมือนเครื่องยนต์ท่ีทำให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ ประการเดยี ว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้วเป็นเสมือนหนง่ึ พวงมาลัยหรือหางเสอื ซ่ึงเป็นปัจจยั ที่นำทาง ให้ยวดยานดำเนินไปถูกทางด้วยความสวัสดี คือ ปลอดภัย บรรลุจุดประสงค์...” (RMUTI ราชมงคล อสี าน, 2564, ออนไลน)์ คุณธรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความเป็นระเบียบ ความสงบสุข ความเจริญให้แก่ ปัจเจกบุคคล สังคม และประเทศชาติโดยส่วนรวม ดังที่ ประวัติ พ้ืนผาสุก (2549 หน้า 8-9) ได้อธิบายความสำคัญของคุณธรรม ซ่ึงเป็นปัจจัยสำคัญ ท่ีจะเสริมสร้างความสงบสุขและความเจริญ ให้แก่บุคคลและเป็นฐานแห่งความสุขแกส่ ว่ นรวม ซ่งึ สามารถสรุปได้ ดังน้ี
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 70 1. คุณธรรม เป็นเคร่ืองธำรงศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ เราไม่ตีค่าความเป็นมนุษย์ท่ีตัวเงิน แต่จะตีค่ากันท่ีคุณธรรม ผู้มีคุณธรรมจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี เป็นคนมีค่าของสังคม ส่วนผู้ไร้ คุณธรรมจะเป็นคนมีค่าน้อยและอาจจะถูกประณามจากสังคมว่า “เป็นคนแต่ก็เหมือนมิใช่คน” คือ เป็นคนแต่เพียงร่างกายแต่ใจน้ันไม่มีความเป็นคน ความเป็นคนในท่ีน้ีก็คือความเป็นผู้มีคุณธรรมและ เปน็ คนดีของสังคมนน่ั เอง 2. คุณธรรม เป็นเคร่ืองส่งเสริมบุคลิกภาพ เช่น “ความซื่อตรง” ทำให้คนมีความสมบูรณ์ ในความคิดและกระทำเพราะไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างความคิด การพูดและการกระทำของบุคคล นั้น หรือหากจะกล่าวเป็นสำนวนก็จะได้ว่า เป็นบุคคลท่ีปากกบั ใจตรงกนั อยู่เสมอนนั้ เอง 3. คุณธรรม เป็นเคร่ืองเสริมมติ รภาพ เช่น “ความจริงใจ” ทำใหค้ วามสัมพันธ์กับบุคคลอ่ืน เป็นไปอย่างราบร่นื คนไม่จริงใจย่อมไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้อ่ืน ไม่แต่เฉพาะในเร่ืองใหญ่ ๆ หรือ สำคญั ๆ แม้แต่เรื่องเพยี งเลก็ นอ้ ยกจ็ ะไมม่ ใี ครให้ความไว้วางใจ จึงทำให้เสยี ประโยชนท์ ีค่ วรจะได้ 4. คุณธรรม เป็นการสร้างความสบายใจ ซึ่งนอกจากจะสบายใจเพราะการกระทำแต่สิ่งท่ี เหมาะท่ีควรแล้ว ยังสบายใจที่ไม่ต้องระมัดระวังภัยอันตรายที่จะมีมาอีกด้วย เพราะผู้ที่มีคุณธรรม จะเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติแต่ในทางท่ีถูกต้องและไม่ทำผิดใด ๆ ท้ังจะเป็นผู้ท่ีน่ารักน่าคบค้าสมาคม อกี ดว้ ย 5. คุณธรรม เป็นเครอ่ื งสง่ เสริมความสำเร็จ ความมั่นคงในการประกอบอาชีพการงาน และ การดำรงชวี ติ 6. คุณธรรม เป็นปัจจัยสำคัญท่ีจะช่วยเสริมสร้างความสงบสุข และความเจริญให้แก่ ประเทศชาติโดยส่วนรวม น้ันก็เพราะว่า ความสงบสุขของประเทศชาติจะมีได้ก็ต่อเมื่อคนในชาติ มคี ุณธรรมบางประการท่ีทำให้ไม่เบียดเบียนกนั ไม่กล่ันแกลง้ กนั ไม่เอารดั เอาเปรียบกัน ไม่ใช้เสรีภาพ จนเกินเลยล่วงล้ำสิทธิของกันและกัน ไม่ละเลยต่อการที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย วินัย และจรรยา วชิ าชีพท่ีใช้บังคบั กัน เปน็ ต้น คนทไ่ี ม่มคี ณุ ธรรมจะไม่สามารถช่วยสรา้ งสรรค์จรรโลงและป้องกนั รักษา ประเทศชาติได้เลย เพราะการสร้างสรรค์จรรโลงและป้องกันประเทศชาติเป็นงานใหญ่ที่สำคัญการ ทำงานใหญ่ที่สำคัญเช่นนี้ต้องอาศัยคุณธรรมหลายประการ เชน่ ความสจุ รติ ความมงุ่ มั่น ความอดทน เปน็ ตน้ โดยท่ีคุณธรรมเป็นเคร่ืองส่งเสริมความสงบสุขและความเจริญ ฉะนั้นผู้ท่ีต้องการความสงบ สุขและความเจริญจึงต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีคุณธรรม ท้ังนี้ มิใช่เพียงเพ่ือให้ตนเองสงบสุขและมี ความเจริญเป็นการส่วนตัวเพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ประเทศชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวมมี ความสงบสุขและเจริญรงุ่ เรอื งดว้ ย ดว้ ยเหตทุ บี่ ุคคลและสว่ นรวมต้องพึ่งพาอาศยั ซ่ึงกันและกนั
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 71 นอกจากนี้ คุณธรรมยังต้องอาศัยความรู้ซง่ึ เป็นองค์ประกอบทส่ี ำคญั คือรู้ว่าอะไรเป็นความ ดีรู้ว่า อะไรควร ไม่ควร รู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น รวมทั้งรู้จักสังคม ดังนั้นความรู้จึงจำเป็นต้องคู่กับ คณุ ธรรมซึง่ จะสามารถเป็นเครือ่ งดำรงตนเองและสังคมประเทศชาติใหเ้ จรญิ ก้าวหน้าได้ คุณธรรมถือว่าเป็นสิ่งท่ีทุกคนควรมี เพราะคุณธรรมเป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ทำให้ มนุษยแ์ ตกตา่ งจากสัตว์ทั่วไป คุณธรรมตามแนวคดิ ของนักปราชญ์ท้ังหลายจึงจำแนกออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนความรู้ความเข้าใจ ส่วนอารมณ์ความรู้สกึ และส่วนท่ีเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ ท่ีแสดงอกมา เช่น การปฏิบัติตามศาสนา การควบคุมตนเอง ความกล้าหาญ ความยุติธรรม ฯลฯ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผทู้ ่ี ถึงพร้อมด้วยความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างถูกต้องดีงาม การท่ีผู้ประกอบวิชาชีพครูจะพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม หรือการที่จะพัฒนาผู้อ่ืนท่ีแวดล้อม ใกล้ชิดและเก่ียวข้องอยู่ในความดูแล เพ่ือให้เป็นบุคคลผู้มีคุณธรรมจึงต้องเริ่มจากการพัฒนาปัญญา พัฒนาจิตใจ อารมณ์ เพ่อื ให้ท้งั สองสว่ นน้เี ป็นตวั ควบคมุ พฤตกิ รรมของบุคคลผู้นนั้ ต่อไป คุณธรรมและจริยธรรม มีความสำคัญในการเป็นเครื่องธำรงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมบุคลิกภาพ เสริมมิตรภาพ สร้างความสบายใจ เป็นเครื่องส่งเสริมความสำเร็จ ความม่ันคง ในการประกอบอาชีพการงาน และการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความสงบสุข และความเจริญให้แก่ประเทศชาติโดยส่วนรวม ฉะน้ันผู้ท่ีต้องการความสงบสุขและความเจริญจึงต้อง ฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ท้ังน้ี มิใช่เพียงเพ่ือให้ตนเองสงบสุขและมีความเจริญ เป็นการส่วนตัวเพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ประเทศชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวมมีความสงบสุข และเจรญิ รุง่ เรอื งด้วย ประโยชน์ของคุณธรรมและจริยธรรม การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม หรือหลักธรรมคำสอนทางศาสนาทำให้เกิดคุณประโยชน์ ท้ังต่อตนเอง ต่อสังคม และตอ่ ประเทศชาติ 1. คณุ ประโยชน์ต่อตนเอง 1.1 ใหค้ วามรู้ในเรอ่ื งคุณคา่ ของชีวติ 1.2 ให้หลกั ในการดำเนินชวี ติ ว่าอะไรควร อะไรไมค่ วร 1.3 เปน็ การพฒั นาจิตใจของคนให้มีระดับจิตใจสูงขน้ึ ร้จู ักเออื้ เฟื้อเผอื่ แผผ่ ู้อน่ื 1.4 ช่วยให้เห็นคุณค่าของจริยธรรมสากล เช่น ความยุติธรรม ความซ่ือสตั ย์ สุจริต ความอดทน 1.5 ใหห้ ลกั ในการตัดสนิ ว่า อะไรดี อะไรชวั่ อะไรถกู อะไรผดิ 2. คุณประโยชน์ตอ่ สังคม 2.1 ชว่ ยให้สังคมมรี ะเบยี บและช่วยให้คนในสงั คมอยู่รว่ มกนั อยา่ งมคี วามสขุ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 72 2.2 จรยิ ธรรมของบุคคลในสังคมช่วยให้สงั คมอยู่ไดอ้ ย่างมีความสขุ 2.3 ชว่ ยใหเ้ กดิ ความเที่ยงธรรม ถูกตอ้ ง เหมาะสมกบั สภาพของสังคมนั้น ๆ 3. คุณประโยชน์ตอ่ ประเทศชาติ ประเทศชาติท่ีบุคคลในชาติมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามในจิตใจ ย่อมประสบแต่ความ เจริญ ร่งุ เรือง คณุ ธรรม จรยิ ธรรม จงึ เป็นรากฐานแหง่ ความเจริญของชาติท้ังปวง ประวัติ พื้นผาสุก (2549 หน้า 19-22) ได้อธบิ ายประโยชน์ของการมีจริยธรรม ทำใหบ้ ุคคล เป็นผู้มีความเจริญก้าวหน้าและมีความม่ันคงในอาชีพการงาน ได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคล โดยทั่วไปทั้งเพื่อนร่วมงานและสมาชิกในสังคม คนเป็นสมาชิกของสังคม ชุมชน ประเทศชาติและคน ส่วนใหญ่ต่างมีอาชีพของตนเอง แน่นอนทุกคนย่อมมีความหวังในการสร้างความเจริญของงานและ ความเจริญก้าวหน้าของตนในงานนั้น ๆ แต่การที่จะก้าวไปถึงจุดดังกล่าว การพัฒนาคนจึงเป็นหัวใจ สำคัญขององคก์ าร องค์การแตล่ ะองค์การมีกฎเกณฑ์และระเบียบปฏบิ ัติในการดำเนินงาน มจี ริยธรรม แห่งวิชาชีพนั้น ๆ และที่ตามมาก็คือเร่ืองของจิตใจหากบุคลากรมีคุณธรรม มีความสำนึกในเร่ือง ของการคดิ ดี ประพฤตดิ บี ริสทุ ธิ์ใจเป็นที่ตง้ั แลว้ งานขององค์การนั้นก็ย่อมดีไปตามการปฏิบตั ขิ องคน เมื่อทุกคนในหน่วยงานมีจิตสำนึกท่ีดี ทุ่มเทในการทำงานโดยไม่เกี่ยงกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ความสามัคคีเป็นอันหนงึ่ อันเดียวกนั ก็ย่อมเกิดขึน้ ผลตอบแทนทีไ่ ดร้ บั ในส่วนเฉพาะบคุ คลก็ตามมาคือ ความสบายอกสบายใจ ความคดิ สร้างสรรค์ในอันที่จะสร้างสิ่งใหม่ ๆ หรือพฒั นางานให้เจรญิ ก้าวหน้า ขึ้นไปเร่ือย ๆ อาชีพเกิดความม่ันคง องค์การเป็นปึกแผ่นไร้ปัญหาซ่ึงงานบริหารบุคคลที่นับว่าเป็น ปจั จัยที่สำคัญทีส่ ุดประการหนึง่ ของการทำงาน และส่ิงนเ้ี ปน็ สง่ิ ท่ีองคก์ ารทงั้ หลายมีความตอ้ งการ หลกั คุณธรรมสำหรับผปู้ ระอบวชิ าชีพครู 1. หลักคณุ ธรรมตามพุทธศาสนา ศาสนาทุกศาสนามีหลักธรรมคำสอนเป็นเครื่องยึดเหน่ียวจิตใจ หลักธรรมคำสอน ของศาสนา มีเป้าหมายเดียวกันคือ สอนให้คนเป็นคนดี ด้วยเหตนุ ้ี ธรรมะ หรือ หลกั ธรรมของศาสนา จึงมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อคนเรา หลักคุณธรรม จริยธรรม ท่ีเป็นหัวใจสำคัญของแต่ละศาสนาเป็นเสมือน เข็มทิศท่ีจะช้ีนำคนทุกคนให้ไปถึงเป้าหมาย คือความสุขที่แท้จริงของชีวิต การมีวิชาความรู้ การมี ทรัพย์สมบัติ มีความฉลาดรู้ อาจกลายเป็นดาบสองคมท่ีกลับมาทำร้ายคนเราได้ หากคนเหล่านั้น ขาดคุณธรรม จริยธรรม หรือขาดธรรมะ เป็นเคร่ืองยึดเหนี่ยว ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดชมหาราช พระราชทานพระบรมราโชวาทถึงลักษณะพิเศษของหลักธรรมใน พระพทุ ธศาสนา วา่ “...ธรรมในพระพทุ ธศาสนามคี วามหมดจดบรสิ ุทธิ์ และสมบูรณ์บริบรู ณด์ ้วยเหตผุ ล
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 73 ซงึ่ บคุ คลจะสามารถศึกษาและปฏบิ ตั ิดว้ ยปัญญา ด้วยความเพง่ พินจิ ใหเ้ กดิ ประโยชน์ คือความสำคญั ความผาสุกแก่ตนโดยอยา่ งเท่ียงแท้ ต้งั แต่ประโยชน์ขนั้ พนื้ ฐาน คอื การตั้งตัวใหเ้ ป็นปรกตสิ ขุ จนถงึ ประโยชนน์ ัน้ ปรมัตถ์ คือหลุดพ้นจากเครื่องเกาะเก่ยี วร้อยรัดทุกประการ ข้อน้ีเปน็ ลักษณะพเิ ศษในพระพุทธศาสนา ซึ่งทำให้พระพทุ ธศาสนามีค่าประเสรฐิ สุด...” (ออนไลน์) พุทธทาสภิกขุ (2545, หน้า 107) กล่าวว่า คุณธรรมของครู คือ ความสมบูรณ์ด้วยหน้าท่ี และสิทธิสำหรับครู หรือ คุณธรรมของครู นี้มีลักษณะสูง เป็นงานหรือหน้าท่ีของปูชนียบุคคล แทนที่ จะเป็นอาชีพธรรมดาสามัญ, เป็นหน้าท่ขี องปูชนียบุคคล - เป็นผเู้ ปดิ ประตทู างวิญญาณ - มีลักษณะสูงสง่ ในแง่คณุ ธรรม - มหี นา้ ท่พี ัฒนามนุษยใ์ ห้เปน็ ไปในทางทีถ่ กู ทุกวิถีทาง - เปน็ การกระทำหนา้ ท่ีและสทิ ธิโดยสมบูรณ์ - ในจิตใจของครูเต็มอยู่ดว้ ย เมตตา และปญั ญา - เป็นปูชนียบุคคล ท่ีมีบุญคุณและทำประโยชน์แก่โลกอย่างมหาศาล แล้วได้รับ ประโยชน์ตอบแทนเพยี งเลี้ยงชพี ได้ - เป็นเจา้ หน้ี เน่ืองจากมีบุญคณุ ทว่ มทน้ เหนอื จิตวญิ ญาณ หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา หรือ พุทธวิธี เป็นหลักธรรมที่เป็นยาขนานเอก ซง่ึ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยตุ ฺโต) ได้รวบรวมหลักธรรมไว้ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบบั ประมวล ธรรม (2546, ออนไลน์) ท้งั น้ี ผู้เขียนได้คดั เลือกหลักคุณธรรมท่ีเหมาะสมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู พงึ ยดึ ถอื ปฏบิ ตั ิ ดงั นี้ 1.1 โลกบาลธรรม ธรรมคุ้มครองโลก คือ ปกครองควบคุมใจมนุษย์ไว้ให้อยู่ในความดี มิให้ละเมิดศีลธรรม และใหอ้ ยู่กนั ดว้ ยความเรยี บร้อยสงบสขุ ไม่เดอื ดรอ้ นสบั สนว่นุ วาย มี 2 คอื (1) หริ ิ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชัว่ (2) โอตตัปปะ ความกลวั บาป เกรงกลัวตอ่ ความชว่ั และผลของกรรมช่วั
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 74 1.2 ศีล 5 หรือ เบญจศลี ศีล 5 หรือ เบญจศีล คือ ความประพฤติชอบทางกายและวาจา, การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, การควบคุมตน ใหต้ ัง้ อยู่ในความไม่เบียดเบียน (1) ปาณาตปิ าตา เวรมณี เว้นจากการปลงชีวติ , เวน้ จากการฆ่าการประทษุ รา้ ยกนั (2) อทินฺนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้, เว้นจากการลักโกง ละเมิดกรรมสทิ ธิ์ ทำลายทรัพยส์ นิ (3) กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม, เว้นจากการล่วง ละเมดิ ส่งิ ที่ผูอ้ นื่ รักใครห่ วงแหน (4) มุสาวาทา เวรมณี เวน้ จากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง (5) สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็น ทีต่ ง้ั แห่งความประมาท, เวน้ จากสิ่งเสพตดิ ใหโ้ ทษ ศีล 5 ข้อน้ี ในบาลีช้ันเดิมส่วนมากเรียกว่า สิกขาบท 5 ข้อปฏิบัติในการฝึกตนบ้าง ธรรม 5 บา้ ง เมอื่ ปฏิบัตไิ ดต้ ามน้ี กช็ ่ือว่าเปน็ ผู้มศี ลี คอื เป็นเบอื้ งตน้ ท่จี ดั วา่ เปน็ ผ้มู ศี ลี (virtuous) 1.3 สจุ รติ 3 ความประพฤติดี, ประพฤตชิ อบ 3 ประการ (1) กายสุจริต ความประพฤติชอบด้วยกาย มี 3 คือ งดเว้นและประพฤติตรงข้าม กบั ปาณาตบิ าต อทินนาทาน และกาเมสมุ ิจฉาจาร (2) วจีสุจริต ความประพฤติชอบด้วยวาจา มี 4 คือ งดเว้นและประพฤติตรงข้าม กับ มุสาวาท ปสิ ณุ วาจา ผรุสวาจา และ สมั ผปั ปลาปะ (3) มโนสุจริต ความประพฤติชอบด้วยใจ มี 3 คือ อนภิชฌา อพยาบาท และ สัมมาทฏิ ฐิ 1.4 สนั โดษ 3 คอื ความยินดี, ความพอใจ, ความยินดีด้วยของของตนซ่ึงได้มาด้วยเรี่ยวแรงความเพียร โดยชอบธรรม, ความยินดดี ้วยปัจจยั สต่ี ามมตี ามได้, ความรจู้ ักอม่ิ ร้จู กั พอ ประกอบด้วย (1) ยถาลาภสันโดษ (ยนิ ดีตามที่ได้, ยินดตี ามท่พี งึ ได้) คือ ตนได้สงิ่ ใดมา หรอื เพียร หาส่ิงใดมาได้ เมอื่ เป็นส่ิงท่ีตนพึงได้ ไมว่ ่าจะหยาบหรือประณตี แค่ไหน กย็ ินดพี อใจด้วยสิ่งน้นั ไม่ตดิ ใจ อยากได้สิ่งอ่ืน ไม่เดอื ดรอ้ นกระวนกระวายเพราะสง่ิ ทตี่ นไม่ได้ ไม่ปรารถนาส่ิงทตี่ นไม่พึงได้หรอื เกินไป กวา่ ทตี่ นพงึ ได้โดยถูกตอ้ ง ชอบธรรม ไมเ่ พง่ เลง็ ปรารถนาของท่คี นอ่ืนได้ ไม่รษิ ยาเขา
75 (2) ยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง) คือ ยินดีแต่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพ และวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่ยินดีอยากได้เกินกำลัง ตนมีหรือได้สิ่งใดมาอันไม่ถูกกับกำลัง รา่ งกายหรือสขุ ภาพ (3) ยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) คือ ยินดีตามท่ีเหมาะสมกับตน อันสมควรแกภ่ าวะ ฐานะ แนวทางชวี ิต และจดุ หมายแห่งการบำเพ็ญกจิ ของตน มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 1.5 อริยสัจ 4 อริยสัจ 4 อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา อาจเรียกว่าเป็นหวั ใจของพระ ศาสนากว็ า่ ได้ อริยสจั 4 ประกอบไปด้วย (1) ทุกข์คือ ชีวติ เป็นทุกข์ หรือมปี ัญหาอยูเ่ สมอ (2) สมุทยั คอื ความทุกขแ์ ละปัญหาย่อมมีสาเหตุ (3) นโิ รธ คือ ความดบั ทุกข์มีได้ (4) มรรค คือ มีหนทางท่ีนำไปสคู่ วามดับทกุ ข์ 1.6 ฆราวาสธรรม 4 ฆราวาสธรรม ประกอบด้วย 2 คำ \"ฆราวาส\" แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก, ผู้ครอง เรือน และ \"ธรรม\" แปลว่า ความถกู ตอ้ ง, ความดงี าม, นสิ ัยทดี่ ีงาม, คุณสมบตั ิ, ขอ้ ปฏิบัติ ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบดว้ ยธรรมะ 4 ประการ คือ (1) สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพ้ืนฐาน เป็นคนจริงต่อความ เปน็ มนุษยข์ องตน (2) ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ บังคับตัวเองเพื่อลดและละกิเลส และ รักษาสจั จะ (3) ขันติ แปลว่า อดทน ไม่ใช่แพียงแต่อดทนกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อ่ืนที่ เราไมพ่ อใจ แตห่ มายถงึ การอดทนอดกลนั้ ตอ่ การบีบบังคบั ของกิเสส (4) จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งท่ีไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลส เพราะ นนั่ คอื สง่ิ ทไี่ มค่ วรมีอยูก่ ับตน ละนสิ ยั ไม่ดีต่าง ๆ 1.7 พละ 4 ธรรมอนั เป็นกำลัง,ธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนนิ ชวี ติ ด้วยความมั่นใจ ไมห่ ว่นั ตอ่ ภัยทุกอย่าง (1) ปัญญาพละ กำลงั ปัญญา (2) วริ ยิ พละ กำลงั ความเพยี ร
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 76 (3) อนวัชชพละ กำลังสุจริต หรือ กำลังความบริสุทธ์ิ, ตามศัพท์แปลว่า กำลังการ กระทำท่ีไม่มีโทษ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมบริสุทธิ์ เช่นมีความประพฤติและหน้าท่ีการงาน สจุ รติ ไมม่ ีข้อบกพร่องเสียหาย พดู จริง มเี หตุผล มงุ่ ดี ไม่รุกรานให้ร้ายใคร ทำการดว้ ยเจตนาบริสทุ ธิ์ (4) สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือ การยึดเหนี่ยวน้ำใจคนและประสานหมู่ชน ไวใ้ นสามัคคี สงเคราะห์ดว้ ยสงั คหวตั ถุ 4 คอื 4.1 ทาน การให้ปัน โดยปกติหมายถึง ช่วยเหลือในด้านทุนหรือปัจจัย เคร่ืองยังชีพ ตลอดจนเผ่ือแผ่กันด้วยไมตรี อย่างเลิศหมายถึงธรรมทาน คือ แนะนำส่ังสอนให้ความรู้ ความเขา้ ใจ จนเขารู้จกั พ่งึ ตนเองได้ 4.2 เปยยวัชชนะ พูดจับใจ, = ปิยวาจา คือ พูดด้วยน้ำใจหวังดี มุ่งให้เป็น ประโยชน์และรู้จักพูดให้เป็นผลดี ทำให้เกิดความเช่ือถือ สนิทสนม และเคารพนับถือกันอย่างเลิศ หมายถงึ หมน่ั แสดงธรรม คอยช่วยช้แี จงแนะนำหลักความจริง ความถกู ตอ้ งดีงาม แกผ่ ูท้ ตี่ ้องการ 4.3 อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ คือ ช่วยเหลือรับใช้ ทำงานสร้างสรรค์ ประพฤติการท่ีเป็นประโยชน์ อย่างเลิศหมายถึง ช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง (สัทธา สัมปทา) ให้ประพฤติดีงาม (สีลสัมปทา) ให้มีความเสียสละ (จาคสัมปทา) และให้มีปัญญา (ปัญญา สมั ปทา 4.4 สมานัตตตา มีตนเสมอ คือ เสมอภาค ไม่เอาเปรียบ ไม่ถือสูงต่ำ ร่วมสุข ร่วมทุกข์ด้วย อย่างเลิศหมายถึง มีความเสมอกันโดยธรรม เช่น พระโสดาบันมีตนเสมอกับ พระโสดาบนั เปน็ ต้น พละหมวดน้ี เป็นหลักประกันของชีวิต ผู้ประพฤติธรรม 4 น้ีย่อมดำเนินชีวิตด้วยความ ม่ันใจ เพราะเปน็ ผมู้ พี ลังในตน ยอ่ มข้ามพน้ ภัยทง้ั คอื 1. อาชวี ิตภัย ภยั เนื่องดว้ ยการครองชีพ 2. อสิโลกภัย ภยั คือความเสอื่ มเสียชอ่ื เสยี ง 3. ปรสิ สารัชชภยั ภัยคอื ความครั่นคร้ามเกอ้ เขินในทช่ี ุมนมุ 4. มรณภัย ภยั คือความตาย 5. ทคุ คตภิ ัย ภยั คอื ทคุ ติ 1.8 พรพมวิหาร 4 หรือ พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมประจำใจเพ่ือให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏบิ ตั ขิ องผ้ทู ป่ี กครอง และการอยู่ร่วมกับผอู้ ่นื ประกอบด้วยหลักปฏบิ ัติ 4 ประการ คือ (1) เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรี และคิดทำประโยชนแ์ ก่มนษุ ยส์ ตั วท์ ั่วหนา้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 77 (2) กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัด ความทุกขย์ ากเดือดร้อนของปวงสัตว์ (3) มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อ่ืนอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วย อาการแช่มช่ืนเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเม่ือเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยง่ิ ขนึ้ ไป (4) อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณา เห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาช่ัง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรม ทส่ี ัตว์ท้ังหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมท่ีจะวินิจฉัย และปฏิบัติไปตามธรรม รวมท้ังรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเม่ือไม่มีกิจท่ีควรทำ เพราะเขารับผิดชอบ ตน ได้ดแี ลว้ เขาสมควรรับผดิ ชอบตนเอง หรอื เขาควรได้รบั ผลอนั สมกับความรับผดิ ชอบของตน 1.9 อิทธบิ าท 4 หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเคร่ืองให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่อง สำเรจ็ สมประสงค์ ทางแหง่ ความสำเร็จ คุณธรรมทนี่ ำไปสคู่ วามสำเรจ็ แห่งผลทมี่ ่งุ หมาย มี ๔ ประการ (1) ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการท่ีจะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ไดผ้ ลดียง่ิ ๆ ขน้ึ ไป (2) วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไมท่ ้อถอย (3) จิตตะ (ความคิด) คือ ต้ังจิตรับรู้ในส่ิงท่ีทำ และทำส่ิงนั้นด้วยความคิด เอาจิต ฝักใฝ่ ไมป่ ลอ่ ยใจใหฟ้ ้งุ ซา่ นเลอื่ นลอยไป (4) วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หม่ันใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยงิ่ หย่อนในสิง่ ที่ทำนั้น มกี ารวางแผน วดั ผล คิดค้นวธิ ีแก้ไขปรบั ปรุง 1.10 อคติ 4 หมายถึง วิถีในทางท่ีผิดหรือการดำเนินไปในทางท่ีผิด ท้ังนี้ อนั เกิดจากทัศนะหรือความ คิดเห็นในทางท่ีผิด ซึ่งต่อมาจึงใช้คำให้เข้าใจง่ายเป็น ความลำเอียง หรือ ความไม่เท่ียงธรรม ประกอบดว้ ย 4 ประการ คือ (1) ฉันทาคติ คอื ความลำเอยี งเพราะชอบพอ (2) โทสาคติ คือ ความลำเอียงเพราะโกรธหรอื ชงิ ชัง (3) โมหาคติ คือ ความลำเอยี งเพราะหลง หรอื ความลำเอยี งเพราะความเขลา (4) ภยาคติ คอื ความลำเอยี งเพราะกลวั
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 78 อคติ 4 เป็นธรรมสำหรับปุถุชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ท่ีเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้า ผู้ที่ทำหน้าที่ ฝา่ ยปกครอง หรือเปน็ ข้าราชการ เพราะธรรมเหล่าน้ี เป็นสัจจะความจรงิ ท่ีมักเกิดขึ้นกับบุคคลเหล่านี้ และมีผลอยา่ งมากตอ่ การบรหิ ารงาน ตอ่ การปกครอง และความสงบสุขของสงั คม 1.11 อบายมุข 6 ช่องทางของความเสอ่ื ม หรือทางที่จะนำไปสู่ความพนิ าศ หรือเหตุยอ่ ยยบั แห่งโภคทรพั ย์ (1) ติดสุราและของมึนเมา มีโทษ 6 คือ 1) ทรัพย์หมดไป ๆ เห็นชัด ๆ 2) ก่อการ ทะเลาะวิวาท 3) เป็นบ่อเกิดแห่งโรค 4) เสียเกียรตเิ สยี ช่ือเสียง 5) ทำให้ไม่รู้อาย 6) ทอนกำลังปัญญา (2) ชอบเท่ียวกลางคืน มีโทษ 6 คือ 1) ชื่อว่าไม่รักษาตัว 2) ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย 3) ชื่อว่าไม่รกั ษาทรัพย์สมบัติ 4) เปน็ ที่ระแวงสงสัย 5) เป็นเป้าใหเ้ ขาใสค่ วามหรอื ข่าวลือ 6) เป็นทาง มาของเร่ืองเดอื ดร้อนเปน็ อนั มาก (3) ชอบเท่ียวดูการละเล่น มีโทษ โดยกายงานเสื่อมเสียเพราะใจกังวลคอยคิดจ้อง กับเสียเวลาเมื่อไปดูส่ิงนั้น ๆ ท้ัง 6 กรณี คือ 1) รำที่ไหนไปที่น้ัน 2) ขับร้อง-ดนตรี-เสภา-เพลง- เถิดเทงิ ทไี่ หน ไปทน่ี ่นั (4) ติดการพนัน มีโทษ 6 คือ 1) เมื่อชนะย่อมก่อเวร 2) เมื่อแพ้ก็เสียดายทรัพย์ ท่ีเสียไป 3) ทรัพย์หมดไป ๆ เห็นชัด ๆ 4) เข้าท่ีประชุม เขาไม่เช่ือถือถ้อยคำ 5) เป็นท่ีหม่ินประมาท ของเพื่อนฝูง 6) ไม่เป็นที่พึงประสงค์ของผู้ท่ีจะหาคู่ครองให้ลูกของเขา เพราะเห็นว่าจะเล้ียงลูกเมีย ไม่ไหว (5) คบคนชั่ว มีโทษ โดยนำให้กลายไปเป็นคนชั่วอย่างคนที่ตนคบทั้ง 6 ประเภท คอื ได้เพ่ือนที่จะนำให้กลายเป็น 1) นักการพนัน 2) นักเลงหญิง 3) นักเลงเหล้า 4) นักลวงของปลอม 5) นักหลอกลวง 6) นักเลงหวั ไม้ (6) เกียจคร้านการงาน มีโทษ โดยทำให้ยกเหตุต่าง ๆ เป็นข้ออ้างผัดเพ้ียนไม่ทำ การงาน โภคะใหม่ก็ไม่เกิด โภคะที่มีอยู่ก็หมดส้ินไป คือให้อ้างไปทั้ง 6 กรณีว่า หนาวนัก-ร้อนนัก- เย็นไปแลว้ -ยงั เชา้ นกั -หิวนัก-อิม่ นกั แล้วไมท่ ำการงาน 1.12 กัลยาณมติ รธรรม 7 องค์คุณของกัลยาณมิตร หรือ คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือท่านท่ีคบหรือเข้าหา แล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ในท่ีนี้มุ่งเอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ มี 7 ประการ ดังนี้ (1) ปโิ ย (นา่ รกั ) ในฐานเปน็ ทส่ี บายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม (2) ครุ (น่าเคารพ) ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นทพี่ ่ึงใจ และปลอดภยั
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 79 (3) ภาวนีโย (น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง) ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญา แทจ้ รงิ ทง้ั เป็นผู้ฝึกอบรมและปรบั ปรุงตนอยเู่ สมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างดว้ ยซาบซึ้งภูมิใจ (4) วตฺตา จ (รู้จักพูดให้ได้ผล) รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากลา่ วตักเตอื น เป็นท่ปี รกึ ษาทดี่ ี (5) วจนกฺขโม (อดทนต่อถ้อยคำ) คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำ เสนอแนะวิพากษว์ จิ ารณ์ อดทน ฟังไดไ้ มเ่ บ่ือ ไม่ฉุนเฉียว (6) คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา (แถลงเร่ืองล้ำลึกได้) สามารถอธิบายเร่ืองยุ่งยากซับซ้อน ให้เขา้ ใจ และใหเ้ รียนรู้เรือ่ งราวที่ลึกซง้ึ ยิ่งขนึ้ ไป (7) โน จฏฺฐาเน นิโยชเย (ไม่ชักนำในอฐาน) คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือ ชักจูงไปในทางเสื่อมเสยี 1.13 สัปปรุ ิสะธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี, ธรรมของผู้ดี มี 7 ประการ คือ (1) ธัมมัญญุตา (ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือ รู้จักเหตุ) คือ รู้หลักความจริง รหู้ ลกั การ รู้หลกั เกณฑ์ รู้กฎแหง่ ธรรมดา รูก้ ฎเกณฑแ์ หง่ เหตผุ ล และรหู้ ลกั การท่ีจะทำใหเ้ กดิ ผล (2) อัตถัญญุตา (ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล) คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ท่ีประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดข้ึนสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไป ตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้น ๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักน้ัน ๆ มีความมุ่งหมาย อย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพ่ือประสงค์ประโยชน์อะไร การท่ีตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมาย อยา่ งไร เมือ่ ทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบา้ งดงั น้ี เป็นต้น (3) อัตตัญญุตา (ความรู้จักตน) คือ รู้ว่า เราน้ัน ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติ ใหเ้ หมาะสม และรทู้ ี่จะแกไ้ ขปรบั ปรุงต่อไป (4) มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณ) คือ ความพอดี เช่น รู้จักประมาณในการใช้ จา่ ยโภคทรพั ย์ เปน็ ตน้ (5) กาลัญญุตา (ความรู้จักกาล) คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลา ที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าท่ีการงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอ เวลา ให้เหมาะเวลา เปน็ ต้น (6) ปริสัญญุตา (ความรู้จักบริษัท) คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาท่ีจะ ประพฤติต่อชุมชนน้ัน ๆ ว่า ชุมชนน้ีเมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างน้ี ชุมชนนี้ ควรสงเคราะห์อยา่ งน้ี เป็นต้น
80 (7) ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา (ความรู้จักบุคคล) คือ ความแตกต่าง แห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใคร ๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลน้ัน ๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอน อยา่ งไร เปน็ ต้น 1.14 มรรค 8 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) มรรคเรียกเต็ม ๆ ว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แปลว่า ทาง หรอื มรรควิธีทจี่ ะนำไปสู่ความดับทุกข์ หรือดับตัณหานนั่ เอง ในท่นี ี้ หมายถึง มรรคมีองค์ 8 หรือเรียก ส้ัน ๆ วา่ มรรค 8 ซ่ึงมีรายละเอยี ด ดงั นี้ มรรคมอี งค์ 8 คำแปล / ความหมาย ลักษณะ / แนวทางปฏิบัติ 1. สมั มาทฐิ ิ ความเหน็ ชอบ : 1. การเขา้ ใจชัดวา่ อะไรคือทุกข์ อะไรคือสาเหตุ ความเขา้ ใจในทางทถี่ ูกตอ้ ง แห่งทุกข์ อะไรคือการดบั ทุกข์ และอะไรท่ีจะ นำไปสู่การดบั ทุกข์ 2. การเขา้ ใจว่าอะไรคือความดี อะไรคือความช่ัว 3. การเขา้ ใจหลกั ปฏจิ จสมปุ บาท คือ กระบวนการเกิดขน้ึ และดับแห่งทกุ ข์โดยเป็น ปจั จยั อาศัยกัน 2. สัมมาสังกปั ปะ ความดำรชิ อบ : 1. ความคิดท่ีปลอดโปรง่ ไม่หมกหมุ่นอยู่ในส่ิง ความคดิ ในทางที่ถูกท่คี วร ที่สนองความอยาก อันได้แก่ รูป รส กลนิ่ เสียง สมั ผัส (กามคุณ) รวมถงึ ความคดิ เสยี สละ ปราศจากการครุ่นคิดหาผลประโยชน์ใสต่ วั 2. ความคดิ ท่ีไม่พยาบาทมงุ่ ร้ายใคร เต็มไปด้วย ความเมตตากรุณา 3. ความคดิ ไมเ่ บียดเบยี นใคร ไมค่ ิดทำร้าย มคี วามกรุณาคดิ ช่วยเหลือผู้อ่ืนให้พ้นจาก ความทกุ ข์ 3. สมั มาวาจา เจรจาชอบ : 1. งดเวน้ จากการพูดเทจ็ งดเวน้ จากการพูดจาในทาง 2. งดเว้นจากการพูดส่อเสยี ด ยยุ งให้เกิดความ ทไ่ี ม่ถกู ไมค่ วร แตกแยก 3. งดเวน้ จากการพูดหยาบคาย 4. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ 4. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ : 1. งดเวน้ จากการทำลายชีวติ ผู้อื่น สัตวอ์ นื่
81 มรรคมีองค์ 8มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงคำแปล / ความหมาย ลักษณะ / แนวทางปฏิบัติ 5. สมั มาอาชีวะ การกระทำท่เี ป็นกายสจุ รติ 2. งดเว้นจากการขโมยของของผู้อนื่ 3. งดเว้นจากการประพฤตผิ ดิ ในกาม 6. สัมมาวายามะ เล้ียงชีพชอบ : 1. งดเวน้ จากการประกอบอาชีพทใ่ี ชว้ ธิ ีการโกง 7. สมั มาสติ การทำมาหากนิ ดว้ ยอาชีพ หรอื การหลอกลวง การประจบสอพลอ การบีบ 8. สัมมาสมาธิ สจุ รติ บังคบั ขู่เขญ็ 2. งดเวน้ จากการประกอบมจิ ฉาชีพ 5 ประเภท พยายามชอบ : อนั ไดแ้ ก่ ค้ามนษุ ย์ ค้าอาวุธ คา้ สรุ า และยาเสพติด เพยี รพยายามทางจิต การคา้ ยาพิษและการคา้ สัตวเ์ พอ่ื ฆ่าเปน็ อาหาร อยา่ งยงิ่ ใหญ่ 4 ประการ 1. เพยี รระวังไมใ่ ห้ความชั่วเกิดขึ้น 2. เพยี รละความชั่วทเี่ กิดข้ึนแลว้ ต้งั สตชิ อบ : 3. เพยี รสรา้ งความดีทย่ี ังไม่เกิดให้เกดิ ขน้ึ การตงั้ สติพิจารณาสงิ่ 4. เพยี รรักษาความดีทเ่ี กดิ ขึน้ แลว้ ไมใ่ ห้เสื่อม ท้งั หลายตามความเปน็ จรงิ หรอื ให้เจริญย่งิ ๆ ขึ้นไป พิจารณาธรรมใหเ้ กดิ ปัญญา รูเ้ ทา่ ทันสภาวะ การตั้งจิตม่ันชอบ : ความเป็นจรงิ เชน่ พิจารณาขันธ์ 5 (รปู เวทนา การตั้งจติ ใหแ้ นว่ แน่ สัญญา สังขาร และวญิ ญาณ : ใหม้ องสิ่งเหล่าน้ี อยู่ในอารมณ์ใดอารมณห์ น่ึง ว่ามกี ารเกิดข้นึ ต้ังอยู่ และดับไปเป็นปกติ ไมม่ ี ไม่ฟุ้งซ่าน ใครสามารถบังคับมนั ได้) เป็นตน้ 1. การทำใจใหส้ งบ 2. ระงับกเิ ลสและเคร่อื งเศร้าหมอง 3. ใหม้ ีอารมณ์แนว่ แน่เปน็ อันเดยี ว มรรคมีองค์ 8 นี้ เมอื่ จัดเขา้ ในระบบการฝึกหัดอบรม หรอื เรยี กว่า “ไตรสิกขา” คอื จดั เป็น ศีล สมาธิ และปญั ญา ไดด้ ังน้ี หมวดปัญญา ไดแ้ ก่ 1. สัมมาทิฐิ (ความเหน็ ชอบ) และ 2. สมั มาสังกัปปะ (ดำรชิ อบ) หมวดศีล ได้แก่ 3. สัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) 4. สัมมากมั มันตะ (การทำงานชอบ) และ 5. สัมมาอาชีวะ (การเลีย้ งชพี ชอบ) หมวดสมาธิ ได้แก่ 6. สมั มาวายามะ (ความเพียรชอบ) 7. สัมมาสติ (การตงั้ สติชอบ) และ 8. สมั มาสมาธิ (การตงั้ จิตม่นั ชอบ)
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 82 โดยท่ีสัมมาทิฐินับเป็นจุดเริ่มต้นหรือเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ ท่ีจะนำผู้ปฏิบัติให้ดำเนินไปถูกทางและ กา้ วหน้าในการปฏิบัติ มีเงือ่ นไขที่จะทำใหส้ ัมมาทิฐิเกดิ ขน้ึ และพฒั นาไปโดยถูกต้องมอี ยอู่ ย่างแยบคาย ด้วยตนเองใช้ความคิดสืบสาวตลอดสาย แยกแยะเหตุผลท้ังผลได้และผลเสียอย่างรอบคอบโดยไม่มี อคติ ไม่รับเอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปทานเข้าไป (โยนิโสมนสิการ) (สุรีพร ฟักประไพ, 2564, ออนไลน)์ 1.15 ทศพธิ ราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรอื เป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ใหม้ ีความเปน็ ไปโดยธรรมและยังประโยชน์สขุ ให้ เกิดแกป่ ระชาชนจนเกิดความช่ืนชมยนิ ดี ซ่ึงความจริงแลว้ ไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจา้ แผ่นดิน หรือผปู้ กครองแผ่นดนิ เทา่ นั้น บุคคลธรรมดาท่ีเป็นผู้บรหิ ารระดับสงู ในทกุ องคก์ ร และผมู้ ีหน้าที่ในการ ปกครองดูแลผอู้ ื่นก็พึงใช้หลักธรรมเหลา่ น้ี (1) ทาน (ทาน)ํ คือ การให้ (2) ศลี (สลี ํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทง้ั กาย วาจา และใจ (3) บรจิ าค (ปรจิ าค)ํ คอื การเสยี สละความสขุ ส่วนตนเพ่ือความสขุ ส่วนรวม (4) ความซ่ือตรง (อาชฺชวํ) คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลกั การของตน (5) ความอ่อนโยน (มททฺ ว)ํ คือ การมอี ัธยาศัยออ่ นโยน (6) ความเพียร (ตป)ํ คอื ความเพยี รพยายามในการทำความสขุ เพื่อส่วนรวม (7) ความไม่โกรธ (อกฺโกธ)ํ คือ การไม่แสดงอาการโกรธ (8) ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง การผลิต การบริโภคที่สมดุลโดยไมเ่ น้นประโยชนส์ ่วนตนเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การแขง่ ขนั แย่งชงิ จนเป็น การเบียดเบียนตนเองและผู้อนื่ และทำลายสิ่งแวดล้อม (9) ความอดทน (ขนฺติ) คือการรกั ษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไมว่ ่าจะถูกกระทบกระท่ัง ดว้ ยสงิ่ อนั เปน็ ทพี่ ึงปรารถนาหรือไม่พงึ ปรารถนากต็ าม มคี วามมน่ั คงหนกั แน่นไมห่ ว่นั ไหว (10) ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแนน่ ถือความถูกต้อง เท่ียงธรรมเปน็ หลกั กล่าวโดยสรุป คุณธรรมตามหลักพุทธศาสนา สำหรับผู้ประอบวิชาชีพครูที่ควรนำไป ประพฤติปฏิบัติ ประกอบด้วย (1) โลกบาลธรรม (2) ศีล 5 หรือ เบญจศีล (3) สุจริต 3 (4) สันโดษ 3 (5) อรยิ สัจ 4 (6) ฆราวาสธรรม 4 (7) พละ 4 (8) พรพมวหิ าร 4 หรอื พรหมวิหารธรรม (9) อิทธบิ าท 4 (10) อคติ 4 (11) อบายมุข 6 (12) กัลยาณมิตรธรรม 7 (13) สัปปุริสะธรรม 7 (14) มรรค 8 (15) ทศพธิ ราชธรรม หรอื ราชธรรม 10
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 83 จรยิ ธรรมสำหรบั ผู้ประกอบวชิ าชพี ครู ส่ิงที่น่าสนใจคือ จริยธรรมเกิดข้ึน ได้อย่างไร ต้นกำเนิดของจริยธรรมท่ีเป็นแหล่งท่ีมา ท่ีสำคัญของจริยธรรมด้วย เพราะวรรณคดีเป็นท่ีรวบรวมแนวคิดทางจริยธรรม ซ่ึงอาจถือได้ว่าเป็น ส่วนหน่ึงท่กี อ่ ให้เกิดจริยธรรม ดงั รายละเอยี ดท่กี ล่าวต่อไปนี้ 1. แหลง่ ท่มี าของจริยธรรม แหล่งท่ีเป็นบ่อเกดิ ของจริยธรรมท่เี ป็นแหลง่ สำคัญ มีดงั นี้ 1. ปรัชญา วิชาปรัชญาคือวิชาท่ีว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง สาระของปรัชญาจะ กล่าวถึงลักษณะของชีวิตที่พึงปรารถนาควรเป็นอย่างไร ธรรมชาติของมนุษย์ สภาพสังคมที่ดี ความคิดเชิงปรัชญาจะแถลงออกมาเป็นความเช่ืออย่างมีเหตุผล จนคนต้องยอมรับว่าเป็นความคิด ทีไ่ ด้รับการพิจารณาไตร่ตรองรอบคอบแล้วปรัชญาจะกล่าวถึงเร่ืองเก่ียวกบั ความดี ความงาม คา่ นิยม เพอื่ จะได้ยึดเปน็ หลักปฏิบัติประจำตัวตอ่ ไป 2. ศาสนา คำสอนของศาสดาในศาสนาต่าง ๆ ตามที่ศาสดาเหล่าน้ันท่านได้ปฏิบัติเอง และส่ังสอนให้ผู้อ่ืนปฏิบัติตาม จนเกิดผลดีงามของการปฏิบัตินั้นเป็นท่ีประจักษ์มาแล้ว เช่น หลักคำ สอนของพระพุทธศาสนา คำสอนของศาสนาครสิ ต์ หรือขอ้ ปฏบิ ัตขิ องศาสนาอสิ ลาม เปน็ ต้น 3. วรรณคดี หนังสือวรรณคดีเป็นหนังสือที่มีมาตรฐานทั้งด้านเนื้อหาสาระ คุณค่าและวิธี แตง่ จนเป็นทีย่ อมรบั กันโดยท่ัวไป ชาตทิ ี่เจริญดว้ ยวฒั นธรรมยอ่ มมวี รรณคดีเป็นของตนเองในหนังสือ วรรณคดจี ะมแี นวคดิ คำสอนทเ่ี ปน็ แนวปฏิบตั ิได้ เชน่ สุภาษติ พระรว่ ง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง จึงกลา่ วไดว้ า่ วรรณคดกี ็เปน็ แหล่งกำเนิดหรอื เปน็ ที่รวบรวมแนวคดิ ทางจริยธรรมด้วย 4. สังคม สิ่งท่สี ังคมกำหนดนับถือร่วมปฏิบัติด้วยกัน อันได้แก่ ขนบธรรมเนยี มประเพณี ซึ่ง เปน็ ขอ้ กำหนดท่ถี อื ปฏิบตั กิ ันในสงั คมและยอมรบั สบื ทอดกันมา 5. การเมืองการปกครอง ในระบอบการเมืองการปกครอง ได้กำหนดข้อบังคับระเบียบ กฎหมายของบ้านเมือง จรรยาบรรณต่างๆ ซึ่งเป็นข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติ เพ่ือการอยู่ร่วมกันอย่าง สนั ตสิ ุขและเพอื่ ความยุติธรรมโดยท่วั กัน การเกดิ จริยธรรมในมนุษยแ์ ต่ละคน อาจเกิดไดจ้ ากลักษณะตอ่ ไปนี้ 1. เกดิ จากการเลียนแบบ เป็นกระบวนการที่เกิดจากการเรยี นรู้ การยอมรับ การเลยี นแบบ พฤติกรรมของผใู้ หญ่ท่ีแวดลอ้ มตนอยู่แลว้ นำมาปรบั เข้ากับตนเอง กระบวนการนี้จัดเป็นกระบวนการ ทม่ี ีความสำคัญต่อพฒั นาการของเด็ก ส่วนใหญจ่ ะเกดิ ในครอบครัว โรงเรียน กลมุ่ เพื่อนและชุมชน 2. การสร้างจริยธรรมในตนเอง โดยตัวเองเป็นผู้กำหนดข้ึน ซึ่งอาจเป็นเร่ืองของมโนธรรม เหตุผลหรืออารมณ์ของมนุษย์ นักปรัชญาบางคนเช่นคานต์ (Kant) เช่ือว่า มนุษย์มีกฎจริยธรรม เกิดข้ึนในตนเอง โดยรู้จักปรับตัวในสภาพธรรมธรรมชาติ (natural self) เข้าด้วยกัน แล้วเลือกเอา แนวทางท่ีดีมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเกิดจากการเรียนรู้ระบบสังคม จริยธรรม ค่านิยม ท่ีได้จาก
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 84 การวิเคราะห์คุณค่า ความถูกผิดช่ัวดี จนกลายเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด แนวศีลธรรม ให้ ยดึ ถือปฏิบัติการบำเพ็ญประโยชนแ์ ละพันธสัญญาประชาคม (utility and social contract) เป็นการ ปฏิบัติตามระเบียบก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชาติมีความสัมพันธ์เป็น มิตรไมตรี ต่างปฏิบัติตามบทบาท ใช้สิทธิหน้าที่ทำให้เกิดความสงบสุขและสามัคคีการปฏิบัติตาม หลักสากลธรรม (universal) หลักมโนธรรมสากลที่ครอบคลุมได้ท้ังโลก เป็นข้อยืนยันคุณความดีของ ทุกศาสนาว่าล้วนวางแนวทางให้คนหรือศาสนิกชนของตนบำเพ็ญตนอยู่ในคุณงามความดีตามท่ีได้ สร้างสรรค์หลักธรรมไว้ มีการกล่อมเกลาจิตใจให้ศรัทธาแน่วแน่ในการบำเพ็ญตนให้มีสาระ มุ่งถึง เป้าหมายของความเช่ือสูงสุดที่ยึดมั่น ซึ่งล้วนเป็นสุคติหรือหนทางดีงาม หลักจริยธรรมท่ีขยาย ขอบเขตจากจดุ เล็กสดุ คือเฉพาะตนไปจนถึงสากลโลก 2. ระดับจริยธรรม เป้าหมายของคุณงามความดีทบี่ ุคคลได้ปฏิบัติอย่างถกู ต้องแล้วน้ัน จะได้รับผลมากน้อยข้ึนอยู่ กับระดับสตปิ ญั ญาของบุคคลนั้น ๆ ในทางพระพทุ ธศาสนาแบ่งระดับจริยธรรมไวเ้ ป็น 2 ระดบั คือ 1. ระดบั โลกียธรรม โลกียธรรม ได้แก่ ธรรมอันเป็นวิสยั ของโลก สภาวะเนอื่ งในโลก เช่น ศีล 5 เป็นต้น โลกียธรรมเป็นธรรมขั้นต้นสำหรับผู้มีสติปัญญาไม่แก่กล้า การปฏิบัติตามโลกียธรรม มุ่งให้บุคคลในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสันติสุขไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่ทำช่ัวสร้างแต่ คุณงามความดีและทำจติ ใจให้บรสิ ทุ ธิ์ผอ่ งใส เปน็ การน้อมนำเอาพุทธโอวาทมาปฏบิ ัติในฐานะทีย่ ังเป็น ปุถุชนอยู่ จริยธรรมในระดับโลกียธรรม จะถูกกำหนดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากคำสอนของ ศาสนาแล้วก็ยังมีองค์กรทางสังคม เช่น ระเบียบ กติกา จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ องค์กร ทางการเมือง อันไดแ้ ก่ กฎหมาย พระราชบญั ญตั ิ พระราชกำหนด เป็นตน้ 2. ระดับโลกุตตรธรรม โลกุตตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก ได้แก่ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ผู้บรรลุจริยธรรมระดับนี้จัดเป็นอริยบุคคล คือผู้พ้นจากกิเล ส ซ่ึงแบ่ง ออกเปน็ 4 ระดบั จากระดับต่ำไปสูร่ ะดับสงู ดังน้ี 2.1 โสดาบนั อริยบุคคล 2.1 สกทาคามอี รยิ บคุ คล 2.3 อนาคามีอรยิ บคุ คล 2.4 อรหันตอริยบคุ คล จริยธรรมทั้งสองระดับนี้ ความสำคัญอยู่ท่ีการประพฤติปฏิบัติ การปฏิบัติตามหลัก โลกียธรรมโดยเฉพาะส่วนท่ีเป็นพุทธโอวาทอย่างสมบูรณ์โดยชอบ ก็สามารถยกข้ึนสู่โลกุตตรธรรมได้ อาจถือได้ว่าโลกียธรรมน้ันเป็นธรรมข้ันต้น หากค่อยปฏิบัติฝึกฝนไปตามลำดับก็จะบรรลุถึงโลกุตตร ธรรม ดังท่ีพระพุทธทาสภิกขุ (2529, หน้า 203-204) ได้อธิบายว่า “คำว่า โลกียธรรมกับโลกุตตร ธรรม มักจะยึดถือกันเป็นหลักตายตัวว่า โลกิยะอยู่ในโลกอีกระบบหนึ่งต่างจากโลกุตตระอยู่นอกโลก
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 85 อีกระบบหนึ่งต่างหากอย่างนี้ไม่ถูก โลกิยะ มันเป็นชั้นต้น เป็นของมีอยู่แล้วของบุคคลที่ยังไม่รู้อะไร อยู่ในวิสัยของโลกอยู่แล้ว มีแต่จะเลื่อนไปหาโลกุตตระ ไม่ใช่หันหลังให้กันแล้วเดินกันไปคนละทิศละ ทาง โลกิยะก็แปลว่า มันยังทำอะไรมากไม่ได้ มันยังอยู่บ้านมันยังมีความรู้ต่ำ ยังมีตัวตน ยังมีของตน แต่แลว้ มันคอ่ ย ๆ ไปทางของโลกตุ ตะเพอื่ จะไม่มีตวั ตน เพ่ือจะอยู่เหนือปญั หาท้งั ปวงคือเหนือโลก” องค์ประกอบของจรยิ ธรรม กรมวิชาการ (2535, หน้า 5 ) ได้จัดทำเอกสารการประชุมเกี่ยวกับจริยธรรมไทย สรุปว่า จริยธรรมของบคุ คลมอี งค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. ด้านความรู้ (moral reasoning) คือ ความเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงาม สามารถตัดสินแยกความถกู ตอ้ งออกจากความไม่ถกู ต้องได้ดว้ ยการคิด 2. ด้านอารมณ์ความรู้สึก (moral attitude and belief) คือ ความพึงพอใจ ความศรัทธา เล่ือมใส ความนยิ มยนิ ดี ท่ีจะรบั จริยธรรมมาเป็นแนวทางในการประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ น 3. ด้านพฤติกรรม (moral conduct) คือการกระทำหรือหารแสดงออกของบุคคลใน สถานการณต์ า่ งๆ ซึง่ เชอ่ื ว่าเกิดจากอทิ ธพิ ลของท้งั สององคป์ ระกอบข้างต้น เนื่องจากองค์ประกอบของจริยธรรมประกอบด้วย 3 ส่วน ดังกล่าวข้างต้น การพัฒนา คนในด้านจริยธรรมจึงต้องพัฒนา 3 ด้านไปด้วยกัน ในการดำเนินชีวิตของคนนั้น องค์ประกอบท้ัง 3 ประการเก่ียวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและ ทางวาจานั้น จะมีความสัมพันธ์กับทางจิตใจและสติปัญญา คนท่ีมีอารมณ์โกรธจะแสดงพฤติกรรม ออกมาทางการก้าวร้าวรุนแรง และย่ิงเป็นคนท่ีมีปัญญาน้อยด้วยแล้ว พฤติกรรมที่แสดงออกก็จะ ก้าวร้าวรุนแรงยิ่งกว่าบุคคลที่มีสติปัญญาซ่ึงจะสามารถควบคุมจิตใจของตนได้โดยไม่แสดงพฤ ติกรรม ไม่ดีให้ออกมาปรากฏ น่ันก็แสดงว่าผู้มีสติปัญญาดีย่อมสามารถควบคุมอารมณ์และความประพฤติได้ ดกี ว่าผู้ดอ้ ยปญั ญาน่ันเอง แนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลโดยพัฒนาองค์ประกอบของจริยธรรมท้ัง 3 ด้าน กล่าวคือ เร่ิมจากการพัฒนาองค์ประกอบสำคัญอันดับแรก ได้แก่ ปัญญาหรือความรู้ ด้วยเห็นว่า “ปัญญา” เป็นองคป์ ระกอบสำคัญในการส่งเสริมให้บุคคลแสดงพฤติกรรมในทางทถ่ี ูกต้องและเป็นตัว ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้เป็นอิสระ เป็นสุขจากแรงกระทบกระท่ังทั้งปวงนั้น นักปราชญ์ ทางการศกึ ษาไดเ้ ห็นพรอ้ งกันดังน้ี พระธรรมปิฎก (2539, หน้า 15-21) กล่าวไว้พอนำมาสรุปความได้ว่า มนุษย์น้ันเม่ือรับรู้ ประสบการณ์อย่างใดอย่างหน่ึง ก็จะมีความรู้สึกหรือเวทนาเกิดข้ึน ความรู้สึกนี้อาจเป็นได้ท้ังสุข เวทนา หรือทุกขเวทนา เมอ่ื มีเวทนาอย่างใดอย่างหนงึ่ แล้วมนุษยท์ ่ียงั มีอวิชชาก็จะมีปฏกิ ิรยิ าแตกต่าง จากผู้มีปัญญา คือถ้าผู้มีอวิชชาก็จะมีความรู้สึกยินดียินร้ายต่ออารมณ์ท่ีเกิดข้ึน ซ่ึงเรียกว่า “ตัณหา” ตัณหาจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม การใช้ตัณหาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ก็เพราะมนุษย์ยังไม่พัฒนา
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 86 ยังไม่มีความรู้ ยังไม่มีปัญญา การใช้ตัณหาเป็นตัวนำพฤติกรรมอาจทำให้เกิดโทษหลายประการ คือ เป็นอันตรายต่อตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นอันตรายต่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์หรือสังคม เป็นอันตายต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเกิดปัญหาเช่นนี้ เน่ืองจากมนุษย์ปล่อยให้ตัณหาเป็น ตวั นำพฤตกิ รรมการแกป้ ัญหา ก็คือ เราจะปลอ่ ยให้ตัณหาเปน็ ตัวกำหนดพฤตกิ รรมไมไ่ ด้ มนุษยจ์ ะต้อง กำหนดรู้อะไรเป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตของตนแล้วทำตามความรู้น้ัน คือเอาความรู้เป็นตัวกำหนด นำพฤติกรรม ดังน้ัน ในการศึกษา จึงต้องฝึกคนให้พัฒนาปัญญา เม่ือมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วพฤติกรรมก็จะ เปลี่ยนไป เช่นการบริโภคอาหาร ก็จะกำหนดรู้ด้วยปัญญาว่าเรากินเพื่อบำรุงร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ ได้ ให้มีความสุขภาพดี เพ่ือให้เรามีชีวิตท่ีผาสุก หรือเป็นเคร่ืองเกื้อหนุนชีวิตที่ดีงาม เพ่ือการบำเพ็ญ กิจอันประเสริฐคือการทำหน้าท่ีและประโยชน์ต่างๆ นั่นก็คือใช้ปัญญาในการทำหน้าท่ีรู้คุณค่าของ อาหาร รู้ความประสงค์ในการกินการบริโภคและ “ปัญญา” น้ีจะมาเป็นตัวนำพฤติกรรมตัวใหม่ “ปัญญา” จะมากำหนดพฤติกรรมแทน “ตัณหา” น่ีก็คือจุดเริ่มต้นของการศึกษาหรือการพัฒนาคน คือพัฒนาปัญญาหรือความรู้ก่อน นอกจากแนวคิดของพระธรรมปิฎกแล้ว ยังมีแนวคิดของนัก การศึกษาตะวันตกท่ีเห็นพร้องต้องกันกับแนวคิดน้ีคือ โคลเบิร์ก (Kohlberg, 1964 หน้า 385-390) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาทางสติปัญญาและอารมณ์เป็นรากฐานของการพัฒนาทางจริยธ รรม โคลเบิร์กเช่ือว่าจริยธรรมของมนุษย์มีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเพราะเกิดจากกระบวนการ ทางปัญญา ซ่ึงมีการเรียนรู้มากขึ้น ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กจะสอดคล้องกับ ทฤษฏีของเพียเจต์ (Piaget) เช่ือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการปรับตัวและการสร้างสมดุล ระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อมที่จะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ พัฒนาการของมนุษย์มีความ ต่อเนื่องและเจริญข้ึนตามวุฒิภาวะ นักการศึกษาทั้งสองท่านเช่ือว่า จริยธรรมของมนุษย์มีพัฒนาการ ตามระดับวฒุ ิภาวะ เพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญา ซึ่งมีการเรียนรู้มากขึ้น และจากการศึกษา และวิจัยของโคลเบิร์ก (Kohlberg) ยืนยันว่าจริยธรรมมีการพัฒนาการตามวุฒิภาวะและมี ความสมั พนั ธ์กับระดบั การศกึ ษา องค์ประกอบของจริยธรรมท้ัง 3 ส่วน คือ ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรมน้ี คนส่วนใหญ่จะ เข้าใจกันว่า จิตใจเป็นส่วนสำคัญท่ีสดุ เป็นตัวที่ควบคุมพฤติกรรมของคนดังคำกลา่ วที่ว่า “ใจเปน็ นาย กายเป็นบ่าว” คำกล่าวนี้ไม่ผิด เพราะมีหลักฐานให้พบเห็นเสมอว่า ความอุตสาหะ ความกล้าหาญ ความรัก ความชัง ฯลฯ ล้วนเป็นความรู้สึกทางจิตใจท่ีมีผลให้คนแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบท่ี แตกต่างกัน หากแต่ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว จิตใจของคนเราย่อมอ่อนไหวผันแปรได้ง่าย หากไม่มี ปัญญาเป็นตัวกำกับ อาจมีส่ิงจูงใจให้จิตใจอ่อนไหวไปตามโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสรญิ สุข ทุกข์ เมอ่ื จติ ใจผันผวนปรวนแปรพฤติกรรมของคนกจ็ ะเปลยี่ นแปลง เพราะเกดิ ตณั หาเปน็ ตวั นำจติ ใจ แตถ่ ้า หากบุคคลผู้น้ันเป็นผู้มีปัญญา รู้แจ้งในความเป็นจริงของโลกและชีวิต ปัญญาก็จะเป็นตัวช้ีนำไม่ให้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 87 จิตใจอ่อนไหวไปตามส่ิงที่มากระทบ จิตใจก็จะเข้มแข็งไม่อ่อนไหวปรวนแปร จนเกิดผลกระทบไปถึง การเปล่ียนแปลงพฤตกิ รรมท่ีเคยประพฤติปฏิบัติ ท้ังนี้ เพราะมีปัญญาเป็นตัวควบคุมจติ ใจไวอ้ ีกระดับ หนึ่ง จึงสรุปไดว้ ่า ในองค์ประกอบของจรยิ ธรรมทัง้ 3 สว่ นน้ี “ปญั ญา” เป็นองคป์ ระกอบท่สี ำคัญทีส่ ุด ที่จะช้ีนำให้จิตใจและพฤติกรรมของคนดำเนินไปอย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรม ดังพุทธพจน์ ที่ว่า “สพเฺ พ ธมมฺ า ปญญฺ ุตตฺ า” แปลวา่ “ธรรมทั้งหลายมปี ัญญาเปน็ เยี่ยมยอด” ทฤษฏีทางจิตวิทยาท่ีเกีย่ วข้องกบั จริยธรรม การเรียนรู้ทางจริยธรรมและการพัฒนาจริยธรรมของมนุษย์ มีกล่าวท้ังในวิชาจิตวิทยา แนวคดิ ของนักการศกึ ษา รวมถึงงานวิจยั ท่ีเกี่ยวข้อง แนวคิดแต่ละทฤษฎีอาจคล้ายกันบ้างแตกต่างกัน บ้าง ในการศึกษาและนำมาปฏิบัติจะต้องพิจารณาจุดเด่นจุดด้อยของทฤษฎีนั้น ๆ แล้วนำมาบูรณา การกบั ทฤษฎอี ืน่ ๆ เพื่อใหก้ ารพัฒนาจรยิ ธรรมมนุษย์มีประสิทธิภาพสงู สดุ และมีข้อบกพรอ่ งน้อยท่สี ดุ 1. ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget is Theory of lntellectual Development) เพียเจต์ ( Piaget, 1932 หน้า 9-55 ) เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการปรับตัวและ การสร้างสมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อมท่ีจะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ พัฒนาการของ มนุษย์มีความต่อเน่ืองและเจริญข้ึนตามวุฒิภาวะ และพัฒนาการของมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับพัฒนาทาง สติปญั ญาของบุคคลนนั้ เพียเจต์ ( Piaget ) ไดแ้ บ่งข้ันตอนของพฒั นาสติปัญญาออกเป็น 4 ข้ันคือ (1) ขนั้ รบั ร้จู ากประสาทสัมผสั และการเคล่อื นไหว (sensorimotor operation) (2) ขั้นเรม่ิ คดิ ด้วยปัญญา (pre-operational thinking) (3) ขนั้ คิดดว้ ยรปู ธรรม (concrete operational thinking) (4) ขั้นคิดตามแบบแผนของตรรกวิทยา (formal prepositional thinking or formal operational thinking) จากพัฒนาการทางสติปัญญาทั้ง 4 ขั้นนี้ เพียเจต์ ( Piaget) ได้นำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการ แบง่ ขน้ั พฒั นาจริยธรรมออกเปน็ 3 ขัน้ ดังน้ี ระดับพัฒนาทางสติปัญญา 1. ข้ันรับรู้จากประสาทสัมผัสและการเคล่ือนไหว (sensorimotor operation) อายุต้ังแต่ แรกเกดิ จนถึง 2 ขวบ 2. ข้ันเร่ิมคิดด้วยปัญญา (pre-operational thinking) และข้ันเริ่มคิดด้วยรูปธรรม (early concrete operational thinking) อายปุ ระมาณ 2-7 ปี 3. ข้ันคดิ ค้นดว้ ยรูปธรรมในชว่ งปลาย (late concrete operational thinking) อายุ 7-11 ปี ถึงขน้ั คิดตามแบบแผนของตรรกวิทยา (formal operational thinking) อายตุ ั้งแต่ 11 ปี ขึน้ ไปถึง 15 ปี
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 88 ระดบั พฒั นาทางจรยิ ธรรม 1. ข้ันก่อนจริยธรรม เป็นชั้นที่ยังไม่มีความสามารถรับรู้ส่ิงแวดล้อมได้อย่างละเอียด มีแต่ ความตอ้ งการทางร่างกาย 2. ข้ันยึดคำส่ัง ในขั้นน้ีเด็กจะรับรู้สภาพส่ิงแวดล้อมและบทบาทของตนเองต่อผู้อ่ืน รู้จัก เกรงกลวั ผ้ใู หญ่ เหน็ ว่าคำส่ังหรือกฎเกณฑต์ า่ ง ๆ เปน็ สิง่ ทีต่ ้องปฏิบตั ิตาม 3. ข้ันยึดหลักแห่งตน เด็กสามารถใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลประกอบการตัดสินใจและต้ัง เกณฑ์ที่เป็นตัวของตัวเอง ผลจาการวิจัยในระยะต่อมา เพียเจต์ ( Piaget) ได้ต้ังเกณฑ์การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมไว้ 6 เกณฑ์ คอื (1) การตัดสินจากเจตนาการกระทำ (intentional in judgment) เด็กเล็กจะตดั สนิ การ กระทำจากปริมาณสิ่งของ สว่ นเด็กโตจะตัดสนิ จากเจตนาของการกระทำ (2) การตัดสินเก่ียวโยงกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relativism in Judgment) เด็กเล็ก จะตัดสินการกระทำโดยยึดเอาความเช่ือความเห็นของผู้ใหญ่ว่าดี ส่วนเด็กโตจะยึดเอาเหตุผลและ สถานการณ์ประกอบการตดั สนิ (3) ความเห็นอิสระจากการลงโทษ (independent of sanction) เด็กเล็กจะตัดสินว่า การกระทำใดไม่ดีจากการกระทำใดไม่ดีจากการถูกทำโทษ แต่เด็กโตจะตัดสินการกระทำใดไม่ดี เพราะสง่ิ นัน้ ไปขดั กบั เกณฑแ์ ละเกิดอันตรายตอ่ บุคคลอนื่ (4) ใชว้ ิธีการแกแ้ ค้น (use of reciprocity) วธิ นี เี้ ด็กเล็กใชน้ ้อยกว่าเดก็ โต (5) การลงโทษเพ่ือตัดสินนิสัย (use of punishment as restitution and reform) เด็กเล็กจะสนับสนุนการลงโทษอยา่ งหนกั เพอื่ แก้นสิ ัย แตเ่ ด็กโตไม่คอ่ ยเหน็ ดว้ ย (6) หลักธรรมชาติของความโหดร้าย (nationalist of misfortune) เด็กเล็กจะถือว่า การกระทำผดิ จะตอ้ งไดร้ ับการลงโทษจากพระเจ้า จากที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่าตามแนวคิดของเพียเจต์ ( Piaget) เด็กเล็กจะมองกฎเกณฑ์ ว่าเป็นส่ิงจริงจัง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ( absolute) และมาจากอำนาจภายนอก ( external) หมายความ วา่ พฒั นาการทางจริยธรรมของเด็กเล็กจะอยู่ในลักษณะผดิ วา่ กันไปตามสิ่งท่ีสังเกตเหน็ ได้ โดยมิได้คำ นึกถึงเจตนาของผู้กระทำ ที่เป็นเช่นน้ีเนื่องมาจากการใช้ภาษา และความคิดของเด็กมีลักษณะยึด ตนเองเป็นศูนย์กลาง (egocentric) ทำให้ไม่สามารถมองเห็นหลาย ๆ สิ่งได้ ในเวลาเดียวกัน เม่ือเด็ก โตขนึ้ อายุประมาณ 11-12 ปี พัฒนาการทางจรยิ ธรรมของเด็กวัยนี้จะมีการเชือ่ มโยงหาเหตุผล เด็กจะ คำนึงถึงเจตนาของผูท้ ำมากกว่าส่ิงที่สงั เกตได้เฉพาะหน้า เน่อื งจากเด็กวยั น้ีสามารถมองหลาย ๆ ส่ิงได้ ในเวลาเดียวกัน เด็กโตจึงสามารถเข้าใจถึงเจตนาของผู้อื่นและสามารถยืดหยุ่นเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ได้
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 89 โด ย ต ร ะห นั ก ว่ าก ฎ เก ณ ฑ์ เป็ น เพี ย งข้ อ ต ก ล งร ะห ว่า งบุ ค ค ล ใน ก าร ค ว บ คุ ม พ ฤ ติ ก ร ร ม ใน แ ต่ ล ะ สถานการณ์เทา่ น้ัน นอกจากนีย้ งั สามารถนำกฎเกณฑไ์ ปใช้ในสถานการณต์ า่ ง ๆ ได้ 2. ทฤษฎีพฒั นาจรยิ ธรรมของโคลเบริ ์ก (Kolberg) โคลเบิรก์ (Kolberg) เป็นนักจติ วิทยากลมุ่ ปัญญานิยม (cognitivism) ซึง่ มีความเชื่อพื้นฐาน ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ท่ีมีสมอง สามารถเกิดการเรียนรู้ เพื่อการปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อม ได้ โดยนำแนวเชื่อทางชีววิทยามาประยุกต์กับศาสตร์ทางจิตวิทยา แนวคิดน้ีสอดคล้องกับแนวคิด ของเพียเจต์ (Piaget) คือ เชื่อว่า จรยิ ธรรมน้นั มีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเชน่ กนั เพราะจรยิ ธรรม ของมนษุ ย์เกิดจากกระบวนการทางปัญญา เม่ือมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น โรงสรา้ งทางปัญญาเพ่มิ พูน ขึ้น จริยธรรมก็พัฒนาตามวุฒิภาวะ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ซึ่งเชื่อว่า จริยธรรมมีความสัมพันธ์กับอายุ กาลเวลา สถานที่ วัฒนธรรม และสภาพการณ์ ซึ่งความหมายว่า “ความถูกตอ้ ง” “ความด”ี “ความงาม” ขน้ึ อยู่กับเวลา สถานที่ และองค์ประกอบอืน่ ๆ นอกจากนี้โคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาวิจัย (Kolberg, 1964 หน้า 383-432) โดยวิเคราะห์คำตอบของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10-16 ปี เก่ียวกับเหตุผลในการเลือกทำพฤติกรรม อย่ างห น่ึ งใน ส ถ าน ก ารณ์ ที่ ขั ด แ ย้ งกั น ระ ห ว่างค ว าม ต้ อ ง ก ารส่ ว น บุ ค ค ล แ ล ะ ก ฎ เก ณ ฑ์ ข อ งก ลุ่ ม หรือสังคม และนำมาสรุปเป็นเหตุผลในการแบ่งจริยธรรมออกเป็น 6 ขั้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดบั ๆ ละ 2 ข้นั ดงั นี้ ระดับท่ี 1 ระดับก่อนเกณฑ์สังคม (pre conventional level ) อายุ 2-10 ปี การท่ีเรียก ระดับน้ีว่าก่อนเกณฑ์สังคม เพราะว่าเด็กในวัยน้ียังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์สังคม แต่จะรับกฎเกณฑ์ ขอ้ กำหนดวา่ อะไรดี ไม่ดี จากผู้มอี ำนาจเหนือตน เชน่ พอ่ แม่ ครู หรือ เด็กท่โี ตกว่า จริยธรรมในระดับ นี้ คือ หลกี เล่ยี งการลงโทษและคิดถึงผลตอบแทนทเ่ี ปน็ ประโยชน์ เช่น การแสวงหารางวลั ระดบั ที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑส์ ังคม (conventional morality) ช่วงอายุระหวา่ ง 10-20 ปี ผ้ทู ่ีอยู่ในชว่ งอายนุ ส้ี ว่ นใหญ่สามารถทีจ่ ะปฏบิ ตั ิตามกฎเกณฑ์สงั คมเพราะรู้วา่ เป็นกฎเกณฑ์ ระดับท่ี 3 ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์สังคม (post conventional level) โดยปรกติ คนจะพัฒนาขึ้นมาถึงระดับน้ี หลังจากอายุ 20 ปี แต่จำนวนไม่มากนัก จริยธรรมระดับน้ีจะอยู่เหนือ กฎเกณฑส์ ังคม กลา่ วคอื คนจะดีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ ของตนเอง วิเคราะห์ด้วยตนเองก่อน โดยคำนึกถึงความสำคัญและประโยชน์เสมอภาคในสิทธิ มนุษยชน โดยปรกติคนจะพฒั นาถงึ ระดับน้มี ีจำนวนไมม่ ากนัก ขัน้ การใชเ้ หตุผลเชงิ จริยธรรม ขั้นที่ 1 การเชื่อฟั งและการลงโทษ (obedience and punishment orientation) พฤติกรรม “ดี” คือ พฤติกรรมที่ทำแล้วได้รางวัล พฤติกรรม “ไม่ดี” คือพฤติกรรมท่ีทำแล้วได้รับ การลงโทษ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 90 ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเคร่ืองมือเพื่อประโยชน์ของตนเอง (instrumental relativist orientation) เด็กจะเช่ือฟังหรือทำตามผู้ใหญ่ ถ้าคิดว่าตนเองจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับความ พงึ พอใจ ข้ันที่ 3 หลักการทำตามผู้อื่นเห็นชอบ (good boy nice girl orientation ) อายุ 9-13 ปี เปน็ การทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม เพอื่ จะได้รบั การยอมรบั วา่ เป็นเด็กดี ขั้นที่ 4 หลักการทำตามกฎระเบียบสังคม (Law and order orientation) อายุ 14-20 ปี เป็นขัน้ ทีย่ อมรับในอำนาจและกฎเกณฑข์ องสงั คม พร้อมที่จะปฏิบตั ิตามกฎเกณฑข์ องสงั คม ขั้นที่ 5 หลักการทำตามสัญญาสังคม (social contract orientation) เป็นข้ันที่เน้น ความสำคัญของมาตรฐานทางจรยิ ธรรมทคี่ นส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับวา่ เปน็ สิ่งทถี่ กู ต้องสมควรปฏิบัติ ตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิซ่ึงกันและกัน ในขั้นนี้ส่ิง ถูก-ผิด จะข้ึนอยู่กับค่านิยมและ ความคดิ เห็นของแตล่ ะบุคคล ข้ันที่ 6 หลักการทางจริยธรรมที่เป็นสากล (universal ethical principle orientation) ขน้ั น้ีเปน็ ข้นั ที่แต่ละบุคคลเลอื กทจ่ี ะปฏิบัติตามหลกั การทางจริยธรรมดว้ ยตวั ของมันเอง และเม่อื เลอื ก แลว้ ก็ปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา เปน็ หลกั การเพอื่ มนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสทิ ธิมนุษยชน และ เพ่อื ความยุติธรรมของมนษุ ย์ทกุ คน นอกจากนี้โคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับลักษณะ อ่นื ของมนษุ ย์ ที่สำคญั คือ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับระดับสติปัญญาท่ัวไป และความสัมพันธ์ระหว่าง จริยธรรมกับความสามารถท่ีจะผลได้ท่ีดีกว่าในอนาคต แทนท่ีจะรับผลท่ีเล็กน้อยกว่าในปัจจุบันหรือ ในทันที ซงึ่ ลกั ษณะนเ้ี รยี กวา่ “ลักษณะมุ่งอนาคต” 2. ผู้มีจริยธรรมสูงจะเป็นผู้มีสมาธิดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตน และมีความภาคภูมิใจ ในตนเองและสภาพแวดล้อม สงู กวา่ ผูม้ ีจรยิ ธรรมตำ่ 3. โคลเบิร์ก (Kolberg) ได้ศึกษาจริยธรรมตามแนวคิดของเพียเจต์ ( Piaget) และพบว่า พฒั นาการทางจริยธรรมของมนษุ ย์ ไม่ได้บรรลุจุดสมบูรณ์ในบุคคลอายุ 16 ปี เป็นส่วนมาก แตม่ นุษย์ ในสภาพปรกติจะมีพัฒนาการทางจรยิ ธรรมอกี หลายขั้นตอนจนอายุ 16-25 ปี 4. การใช้เหตุผลเพ่ือการตัดสินใจ ที่จะเลือกการกระทำส่ิงใดส่ิงหนึ่งในสถานการณ์ต่าง ๆ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางจิตใจของบุคคลได้อย่างมีแบบแผนและยังอาจทำให้เข้าใจ พฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เหตุผลเชิงจริยธรรมของแต่ละบุคคลเป็นเคร่ืองทำนาย พฤตกิ รรมเชงิ จริยธรรมของบุคคลนัน้ ในสถานการณ์แต่ละอยา่ งได้อกี ดว้ ย
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 91 ทฤษฏีของโคลเบิรก์ (Kolberg) เป็นที่นิยมนำมาใช้กันมาก โดยเฉพาะอย่างย่งิ ทฤษฎีการใช้ เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reasoning) เป็นฐานความคิดของนักจิตวิทยาและนักการศึกษา ของตะวันตกเป็นจำนวนมาก แม้ในประเทศไทย นักจิตวิทยาและนักพฤติกรรมศาสตร์ก็ได้ทำวิจัย โดยยึดกรอบแนวคดิ ของโคลเบิรก์ เชน่ วจิ ยั ของดวงเดอื น พนั ธมุ นาวิน ตามทัศนะของโคลเบิร์ก (Kolberg) จริยธรรมแต่ละข้ันเป็นผลจากการคิดไตร่ตรอง ซึ่งจำเปน็ ต้องอาศยั ข้อมูล ขอ้ มูลท่ีนำมาพิจารณาส่วนหน่ึงเป็นความเขา้ ใจของตนเองเก่ยี วกับสง่ิ ตา่ ง ๆ และอีกส่วนหน่ึงเป็นประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ โดยเฉพาะข้อมูลที่ได้รับฟังจากทัศนะของผู้อ่ืนซึ่ง อยสู่ ูงกว่าระดบั ของตนเอง 1 ชน้ั จากที่กล่าวมาจะพบว่าแนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใกล้คียงกับเพียเจต์ ( Piaget) คือเชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์พัฒนาการได้ตามวัย และวุฒิภาวะทางสติปัญญา พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ไม่ใช่การป้อนรูปแบบ กล่าวคือดูรูปหน่ึงจบแล้ว ดูอีกรูปหน่ึง โดยที่รูปแรกไม่ปรากฏในสายตาอีกต่อไป แต่พัฒนาการของมนุษย์จะค่อย ๆ พัฒนาไปตามวัน เวลา เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ตามวุฒิภาวะ จริยธรรมเก่ายังจะมีรากแก้วฝังอยู่ และพัฒนาตามกาลเวลาที่มนุษย์ มีวุฒิภาวะเพ่ิมข้ึน เกิดเป็นจริยธรรมใหม่ข้ึน จริยธรรมไม่ได้สร้างข้ึนภายในหนึ่งวัน คนจะมีอุปนิสัย ดีงามต้องสร้างเสริมและสะสมจากการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมด้วยกระบวนการทางสังคม และจะเรียนรู้ได้ตามความสามารถของวุฒิภาวะ ซ่ึงกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรม กับส่งิ แวดลอ้ ม 3. ทฤษฎีจติ วเิ คราะห์ (Psychoanalytic Theory) ผู้นำทฤษฏีน้ี คือ ฟรอยด์ (Freud) จิตแพทย์ออสเตรีย (สมพร สุทัศนีย์ 2541 หน้า 185-186) นักจิตวิทยากลุ่มน้ีเช่ือว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์มีความเลวติดตัวมาตั้งแต่เกิด พฤติกรรมต่าง ๆ เกิดจากสัญชาตญาณซ่ึงเป็นแรงกระตุ้นที่เกิดจากภายใน สัญชาตญาณดังกล่าว มี 2 ชนิด คือ สัญชาตญาณทางเพศ ซ่ึงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด และสัญชาตญาณความก้าวร้าว เป็นแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะก้าวร้าว ทำลาย ซึ่งแสดงออก 2 ลักษณะคอื กา้ วร้าวตนเอง และก้าวร้าวผ้อู ื่น นอกจากพฤติกรรมจะเกิดจากสัญชาตญาณดังกล่าว ซึ่งแอบแฝงอยู่ในจิต ท่ีเรียกว่า จติ ไร้สำนกึ แลว้ พฤติกรรมจะเกิดจากระบบของจิต 3 ระบบ คือ อดิ (id) อีโก้ (ego) และซุปเปอร์อีโก้ (super ego) พฤติกรรมส่วนใหญ่เกิดจาก อิด (id) คือพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อสนองความพอใจ ของตนเองฝ่ายเดียว โดยมิได้คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น เมื่อบุคคลต้องการกระทำสิ่งใดก็ลงมือทำ ทันทีโดยไม่ใคร่ครวญ การกระทำจึงไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม แต่หากทำไม่ได้ก็จะเกิดความเครียด ทางออกท่ีดีท่ีสุดคือใช้กลไกการป้องกันตนเองท่ีเรียกว่า “การทดเทิด” (Sublimation) คือ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 92 แสดงพฤติกรรมท่ีดีแทนพฤติกรรมท่ีไม่ดี เช่น ฝึกเป็นนักมวยท่ีมีช่ือเสียงแทนพฤติกรรมก้าวร้าวเกเร หรอื ทดแทนความกดดันทางเพศ ทางศาสนาเรียกอิด (id) น้ีว่า สัญชาตญาณดิบ ซึ่งมีราคะ โลภะ โทสะ เป็นพ้ืนฐานอยู่ และอาจแฝงด้วยโมหะ กล่าวโดยรวมส่ิงท่ีฟรอยด์เรียกว่าอิด (id) น่ันก็คืออกศุ ลจติ ในพระพุทธศาสนา นนั่ เอง (วศิน อนิ ทสระ, 2541 หน้า 82) พฤติกรรมที่เกิดจากอีโก้ (ego) คือ พฤติกรรมท่ีเป็นไปตามหลักเหตุผล และความเป็นจริง เช่น นายแดงอยากฟังเพลงเสียงดัง เขาจะไม่เปิดให้เสียงดังเพราะจะทำให้คนอ่ืนเดือดร้อน แต่เขาจะ คิดหาเหตุผลว่าทำอย่างไรจึงจะสนองความต้องการได้ แสดงว่าพฤติกรรมแบบอีโก้ (ego) แม้จะเป็น พฤติกรรมที่เป็นไปตามหลักเหตุผลก็จริง แต่ยังมีความต้องการสนองความพอใจของตนเอง เรียกว่า ยังมี “อสั มิมานะ” ได้แก่ ความรู้สึกว่า ตัวฉัน ตัวเรา คืออหงั การ หรือความรู้สกึ ของจิตท่ียังมีอหังการ อยู่ ยังมีอสั มมิ านะอยู่นั่นเอง พฤติกรรมที่เกิดจากซุปเปอร์อีโก้ (super ego) ซุปเปอร์อีโก้ เป็นส่วนของคุณธรรม คนท่ีมี ซุปเปอร์อีโก้จะเป็นคนที่มีคุณธรรม และมีความรับผิดชอบสูง แสดงว่ามนุษย์ยังมีคุณธรรม จริยธรรม หรือทางพระเรียกว่ามี “กุศลเจตสิก” คอยยับย้ังเอาไว้ ไม่ให้กระทำตามใจอยากเสียทุกอย่าง คนที่มี ซปุ เปอรอ์ โี ก้สงู จึงเป็นคนมีคณุ ธรรมจรยิ ธรรมและมคี วามรับผิดชอบสูง ซุปเปอร์อีโก้ เป็นส่วนที่เกิดจากการอบรมสั่งสอน การถูกควบคุมโดยขนบธรรมเนียม ประเพณี การกลัวโทษทัณฑ์เม่ือทำผิด เม่ืออิด (id) กับ ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) เกิดขึ้นในจิต พร้อมกัน อีโก้ (ego) จะต้องทำหน้าท่ีตัดสินว่าจะเอาอย่างไรดี ซ่ึงจะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในตน (self – conflict) ทำให้มนุษย์ยุ่งยากใจในการตัดสินใจ แม้ธรรมจะชนะอธรรมในบางคราว ก็ไม่ได้ แปลวา่ อิด (id) จะหายไป มันเพียงแต่ถูกกดข่มไว้เท่าน้ัน เมื่อใดจริยธรรมหรือซุปเปอร์อีโก้อ่อนแอลง เมอื่ น้นั อดิ (id) จะแผลงฤทธข์ิ ้ึนมาอีก และอาจรุนแรงกวา่ เดิม เพราะถูกเกบ็ กดไวม้ าก ในสังคมมนุษย์มีขนบประเพณีเข้มงวดกวดขัน มนุษย์ต้องอยู่ในกรอบท้ังที่ไม่สมัครใจนั้น ดูอาการภายนอกเหมือนว่าเรียบร้อยดี เพราะอิด (id) ถูกกดข่มไว้ด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี และศีลธรรม แต่ภายในใจของเขาจะรุ่มร้อน วุ่นวาย สับสน ไม่เหมือนผู้ที่อยู่อย่างสมัครใจ และเห็น คุณค่า จิตของใครมีแต่ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) ไม่มีอิด (id) จิตนั้นจะสงบร่มเย็น ไม่มีความขัดแย้ง สดช่ืนอยภู่ ายในเสมอ 4. ทฤษฎีความตอ้ งการของมาสโลว์ (Maslow is Theory of Need Gratification) มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม ซ่ึงนักจิตวิทยากลุ่มน้ีเช่ือว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เกิดมาดีและพร้อมท่ีจะทำสิ่งดี ถ้าความต้องการของมนุษย์ได้รับการ ตอบสนองอย่างเพียงพอ มาสโลว์ (Maslow) เป็นผู้หนึ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าถึงความต้องการของมนุษย์ โดยมองเห็นว่ามนุษย์ทุกคนล้วนแต่มีความต้องการท่ีจะสนองความต้องการให้กับตนเองท้ังสิ้น
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 93 ซึ่งความต้องการมนุษย์ มีมากมายหลายอย่างด้วยกัน เขาได้นำความต้องการเหล่าน้ันมาจัดเรียง เป็นลำดบั จากขัน้ ต่ำไปข้ันสูงสุดเปน็ 5 ขน้ั ดว้ ยกนั 1. ความต้องการด้านร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการข้ันพ้ืนฐาน ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม อากาศ การพักผ่อน ความต้องการทางเพศ ความต้องการความอบอุ่น ต้องการขจัดความเจ็บป่วย และต้องการรักษาความสมดุลของร่างกาย ทุกคนต้องการส่ิงเหล่าน้ี เหมือนกนั อาจแตกต่างกันเป็นรายบุคคล ท้งั น้ขี ้ึนอยกู่ ับเพศ วัย และสถานการณ์ ฯลฯ ความต้องการ ปัจจยั 4 ดงั กลา่ วข้างตน้ หากเพียงพอแล้ว มนษุ ย์จะพฒั นาในข้ันตอ่ ไป 2. ความต้องการความม่ันคงปลอดภัย (safety needs) เมื่อได้รับความพึงพอใจทางด้าน ร่างกายแล้ว มนุษย์จะพัฒนาไปสู่ข้ันท่ีสองคือ ความรู้สึกม่ันคงปลอดภัย สิ่งท่ีแสดงถึงความต้องการ ขั้นน้ีคือ การท่ีมนุษย์ชอบอยู่อย่างสงบ มีระเบียบวินัย ไม่รุกรานผู้อื่น ความต้องการระดับนี้อาจแยก ยอ่ ยได้ดงั นี้ 2.1 ความมั่นคงในครอบครัว การมีบ้านแข็งแรงปลอดภัย มีความรักใคร่ปรองดองกัน ในครอบครวั 2.2 ความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพ มีรายได้ยุติธรรม ไม่ถูกไล่ออก งานไม่เส่ียงอันตราย ผูบ้ งั คับบัญชาดีมีความยุติธรรม ฯลฯ 2.3 มีหลกั ประกนั ชวี ติ เชน่ มผี ู้ดูแลเอาใจใสย่ ามชรา ยามเจบ็ ไข้ 3. ความต้องการความรกั และความเปน็ เจ้าของ (belongingness and love need) 3.1 ความต้องการมเี พอื่ น 3.2 ความต้องการการยอมรบั จากกลุ่ม 3.3 ต้องการแสดงความคิดเหน็ ในกลุ่ม 3.4 ต้องการรักคนอน่ื และได้รบั ความรกั จากคนอ่นื 3.5 ต้องการความรสู้ ึกวา่ สงั คมเปน็ ของตน 4. ความต้องการเกยี รตยิ ศชือ่ เสียง และความภาคภมู ใิ จ (sefl- esteem need) ได้แก่ 4.1 ต้องการยอมรบั ความคิดเหน็ หรอื ขอ้ เสนอ 4.2 ต้องการเกยี รตยิ ศชื่อเสียงจากสังคม 4.3 ตอ้ งการนบั ถอื ตนเอง มคี วามมน่ั ใจตนเอง ไมต่ ้องพ่ึงผอู้ นื่ 4.4 ตอ้ งการได้รับการยกย่องนบั ถือจากผู้อื่น 4.5 ต้องการความม่นั ใจในตนเอง และรสู้ ึกตนเองมีคุณค่า 5. ความต้องการตระหนกั ในตนเอง (self-actualization need) ไดแ้ ก่ 5.1 ตอ้ งการรู้จกั ตนเอง ยอมรับตนเอง เปิดใจรับฟงั คำวจิ ารณโ์ ดยไมโ่ กรธ 5.2 ตอ้ งการรูจ้ กั แก้ไขตนเองในส่วนท่ียังบกพรอ่ ง
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 94 5.3 ต้องการพฒั นาตนเอง พรอ้ มทีจ่ ะรับฟงั ความคดิ เห็นของผู้อ่ืนเกย่ี วกับตนเอง 5.4 ต้องการค้นพบความจรงิ พร้อมทจ่ี ะเปิดเผยตนเองโดยไมม่ กี ารปกป้อง 5.5 ตอ้ งการเป็นตวั ของตวั เอง ประสบความสำเรจ็ ดว้ ยตัวเอง แนวคิดตามทฤษฏีของมาสโลว์ จึงเป็นแนวทางหน่ึงในการพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม บุคคลที่พัฒนาถึงข้ันตระหนักในตนเอง (self-actualization) เป็นบุคคลท่ีมีจริยธรรม มีวินัยในตนเอง และมีบุคลิกภาพประชาธิปไตย การพัฒนาจากข้ันต้นไปสู่ขั้นต่อ ๆ ไปน้ัน ต้องอาศัย ความ “พอ” ของบุคคล ซ่ึงความพอน้ี นอกจากจะข้ึนกับสภาพทางกายแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความรู้สึก พอดีด้วย จึงมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องได้รับการสนองตอบความต้องการพ้ืนฐานเท่า ๆ กัน แต่เปน็ ไปตามลำดบั ข้ันเหมือน ๆ กนั แนวคิดของนักวิจิตวิทยาท่ีเก่ียวกับคุณธรรม จริยธรรม ดังกล่าวข้างต้น เป็นพ้ืนฐาน ประการหน่ึ งที่ผู้ประกอบวิชาชีพครู ควรนำมาพิจารณ าประกอบการพิจารณ าคุณ ธรรมจริยธ รรม ของตนเองและบุคคลที่อยู่ในปกครองดูแล เพ่ือเป็นแนวทางพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของตนเอง และบุคคลที่อยู่ในปกครองด้วย วิชาจิตวิทยาเป็นศาสตร์ท่ีได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหน่ึง ของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม การกระทำ และการะบวนการคิดไปพร้อม ๆ กับ การศึกษาถึงเร่ืองสติปัญญา ความคิด ความรู้ ความเข้าใจ การให้เหตุผล เร่ืองของตนเอง หรือเร่ือง ของมนุษย์ และพยายามอธิบายเก่ียวกับวิธีการปรับตัวของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าเป็นทางทฤษฎี จิตวิทยาด้านบุคลิกภาพ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาความแตกต่างระหว่าง บุคคล จิตวิทยาสังคม ล้วนเป็นเรื่องศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ เหตุแห่งความเป็นมาและผลที่เกิดขึ้น การศึกษาในแนวจิตวิทยาจึงเป็นการศึกษาที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซ่ึงคนท่ัวไปค่อนข้าง ยอมรบั ในหลักการทฤษฎีว่าเปน็ สงิ่ ทนี่ ่าเชื่อถอื แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาตัดสินว่า เรื่องใดควรเช่ือหรือไม่ควรเช่ือขอให้ถือตามหลัก คำสอนของพระพุทธองค์ ในบทกาลามสูตร (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร) คือ พระสูตรที่พระโคตม พุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล กาลามสูตรเป็นหลักแห่ง ความเชอื่ ที่พระพุทธองคท์ รงวางไว้ใหแ้ ก่พทุ ธศาสนิกชน ไม่ให้เชือ่ สิง่ ใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใชป้ ัญญา พิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ (กรมการศาสนา, พระไตรปิฎก ฉบับหลวง, (2525), ออนไลน์) ได้แก่ 1. อย่าปลงใจเช่อื ดว้ ยการฟงั ๆ ตามกันมาหรือเพียงมีใครพูดให้ฟัง 2. อยา่ ปลงใจเช่ือดว้ ยการถือสบื ๆ กนั มาอยา่ งยาวนาน 3. อยา่ ปลงใจเชอ่ื ดว้ ยการเล่าลอื หรอื คนส่วนใหญ่เชอ่ื กัน 4. อย่าปลงใจเช่อื ดว้ ยการอา้ งตำราหรอื มีในคมั ภรี ์ 5 อย่าปลงใจเชือ่ เพราะตรรกะ
มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 95 6. อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน) และการเอาสิง่ นั้นสิง่ นม้ี าปะตดิ ปะตอ่ กนั 7. อย่าปลงใจเชื่อเพราะลักษณะอาการท่ีแสดงออกมาน่าจะเป็นไปได้ หรือเห็นด้วยตา ได้ยนิ กับหู เพราะเรือ่ งราวหน่ึงอาจมีอะไรมากกวา่ ทีเ่ ห็น 8. อยา่ ปลงใจเชื่อเพราะเขา้ กนั ได้กบั ทฤษฎีหรือทิฏฐิของตนหรอื ตามอคติในใจ 9. อย่าปลงใจเชื่อเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเพราะเป็นผู้มี หนา้ ทเี่ ก่ยี วข้องโดยตรง 10. อย่าปลงใจเช่ือเพราะเป็นครขู องเรา เพราะเคารพนับถือวา่ คนพูดเป็นสมณะผูน้ ำทางจิต วิญญาณของเรา เป็นศาสดาของเรา เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเม่ือใดสอบสวนจนรไู้ ด้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่าน้นั เปน็ กุศลหรือไม่มีโทษ เมอื่ นน้ั พงึ ถอื ปฏิบตั ิ ดังนั้น พระสูตรนี้ท่านมิได้ห้ามมิให้เชื่อ แต่ให้เช่ือด้วยมีปัญญาประกอบด้วย มิฉะน้ัน ความเชอื่ ต่าง ๆ จะไม่พ้น “ความงมงาย” และไมพ่ ึงแปลความเลยเถดิ ไปว่าพระพทุ ธเจ้าทรงสอนไม่ให้ เชื่อสิ่งเหล่านี้ และให้เชื่อส่ิงอ่ืนนอกจากนี้ แต่พึงเข้าใจว่า แม้แต่สิ่งเหล่าน้ีซ่ึงบางอย่างก็เลือกเอา มาแล้วว่า.. เป็นส่ิงท่ีน่าเช่ือท่ีสุด ท่านก็ยังเตือนไม่ให้ปลงใจเชื่อ ไม่ให้ด่วนเช่ือ ไม่ให้ถือเป็นเครื่อง ตัดสินเด็ดขาด ยังอาจผิดพลาดได้ ต้องใชป้ ัญญาคดิ พิจารณาให้ดกี อ่ น แลว้ สิ่งอ่ืน คนอน่ื เราจะตอ้ งคิด ต้องพิจารณา ระมัดระวงั ให้มากสักเพียงไหน ความสำคญั ของจริยธรรม จรยิ ธรรม เปน็ ส่งิ สำคัญในสังคมทจ่ี ะนำความสุขสงบและความและความเจริญก้าวหน้ามาสู่ สังคมนั้น ๆ เพราะเม่ือคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาด และสว่างในจิตใจ จะทำการงานใดก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น เป็นบุคคลมีคุณค่า มปี ระโยชน์ และสรา้ งสรรค์คุณงามความดี อนั เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองตอ่ ไป วศิน อินทสระ (2541 หน้า 6-9) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของจริยธรรม ดงั จะกล่าวโดยย่อ ดงั น้ี 1. จริยธรรมเป็นรากฐานอันสำคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง ความม่ันคงและความสงบสุข ของปัจเจกชน สังคมและประเทศชาติอย่างย่ิง รัฐควรส่งเสริมประชาชนให้มีจริยธรรมเป็นอันดับแรก เพ่ือให้เป็นแกนกลางของการพัฒนาด้านอ่ืน ๆ ท้ังเศรษฐกิจ การศึกษา การเมืองการปกครอง ฯลฯ การพัฒนาที่ขาดจริยธรรมเป็นหลักยึดย่อมเกิดผลร้ายมากกว่าดี เพราะผู้มีความรู้แต่ขาดคุณธรรม ย่อมก่อให้เกิดความเส่ือมเสียได้มากกว่าผู้ด้อยความรู้ โดยท่านกล่าวว่า “ ผู้มีความรู้แต่ไม่รู้วิธีท่ีจะ ประพฤติตน ย่อมก่อให้เกิดความเส่ือมเสียได้มากกว่าผู้มีความรู้น้อย ถ้าเปรียบความรู้เหมือนดิน จริยธรรมย่อมเป็นเหมือนน้ำ ดินท่ีไม่มีน้ำยึดเหนี่ยวเกาะกุมย่อมเป็นฝุ่นละอองให้ความรำคาญ
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147