Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานผลการทดสอบภาษาไทย ศูนย์ฯ นากลาง 4 ปี 2565

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย ศูนย์ฯ นากลาง 4 ปี 2565

Published by ศิริชนก จุลนาง, 2023-05-14 11:28:38

Description: รายงานผลการทดสอบภาษาไทย ศูนย์ฯ นากลาง 4 ปี 2565

Search

Read the Text Version

ผลการทดรปสีกาอาบรยศภึกางษษาาา2ไ5ทน6ย5 ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 สรุปรายงานโดย นางปาริชาติ ปิติพั ฒน์ ศึกษานิเทศก์ นางสาวศิริชนก จุลนาง ศึกษานิเทศก์

บทที่ 1 บทนำ หน้า 1 ที่มาและความสำคัญ 1 จุดประสงค์ของการคัดกรอง 2 ขอบเขตของการประเมินในการอ่านและการเขียนของนักเรียน 2 นิยามศัพท์เฉพาะ 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4 สารบัญ บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง หน้า 5 นโยบายด้านการอ่านและการเขียนของกระทรวงศึกษาธิการ 5 นโยบายด้านการอ่านและการเขียนของสำนักงานเขตพื้นที่ 12 การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 12 การรายงานการประมเินผลความสามารถในการอ่านและการเขียน ของนักเรียนทางระบบติดตามและประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์ รายงานผลการทดสอบภาษาไทย ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 บทที่ 3 วิธีดำเนินการ หน้า 24 ขั้นตอนการดำเนินงาน 24 ปฏิทินการปฏิบัติงาน 24 กำหนดการรายงานผลการคัดกรอง 25 เกณฑ์ของระดับคะแนนและการแปรผลการคัดกรอง 25 การนำผลการคัดกรองไปใช้ในการพัฒนานักเรียน 26 จำนวนนักเรียนที่คัดกรอง 26 บทที่ 4 วิเคราะห์ผล หน้า 27 ตอนที่ 1 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 28 ตอนที่ 2 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 34 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ หน้า 40 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 – 6 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 40 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 – 6 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 42 ข้อเสนอแนะ 44

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 1 บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญ การศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประชากรของประเทศ ให้มีคุณภาพอันจะนำไปสู่การพัฒนา ประเทศให้มีความเข้มแข็งในทุกด้าน กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนที่ครอบคลุมทั้ง ด้านความ รู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สำหรับใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ให้ความสำคัญต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียนตั้งแต่วัยเริ่มต้น และการจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐาน กำหนดนโยบายให้ทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้ ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่มีระบบเพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่านและการเขียนตามเกณฑ์ มาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้เน้นย้ำให้โรงเรียนปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไปสู่ความเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ สามารถดำรงตนในสังคมอย่างปกติสุข การใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียน เป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเรียนรู้ และ การพัฒนาชีวิตสู่ความสำเร็จ เพราะจะนำมาซึ่งความรู้และส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ แยกแยะ และ ประยุกต์ใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดสื่อสารความรู้ ความคิดให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจได้ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 หากผู้เรียนบกพร่องหรือขาดความสามารถในทักษะดังกล่าวจะส่งผลให้การเรียน รู้ไม่อาจก้าวหน้าได้ และจะประสบความยากลำบากในการดำรงชีวิตจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัด การศึกษาที่จะต้องพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียน รวมทั้งส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารให้แก่ ประชาชนตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อให้สามารถเรียนรู้ในระดับที่ซับซ้อนขึ้นเมื่อเติบใหญ่ และนำไปสู่การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นในช่วงระยะเวลา 9 ปี ของการจัดการศึกษาภาคบังคับ และ 12 ปี ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็กและ เยาวชน จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อการวางรากฐานให้นักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ให้มั่นคง ซึ่งการรู้หนังสือ หรือการอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้นับเป็นพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรกๆ ของการพัฒนาขีด ความสามารถของผู้เรียน ทั้งนี้ การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียน นอกจากครูจะต้องมีความรู้ เข้าใจ ทักษะและกระบวนการพัฒนาความสามารถ ในการอ่านและการเขียนของนักเรียน ทั้งนักเรียนปกติและนักเรียนที่ต้อง ได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษแล้ว ครูยังต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เรียน ทั้งความแตกต่างทางสติปัญญาและความ แตกต่างทางพื้นฐานของครอบครัว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ด้วยเหตุนี้ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง ตั้งแต่วัย เริ่มต้น จะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับ เป็นการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรยนประการหนึ่ง และเป็นการวางรากฐาน ที่มั่นคงของการศึกษาชาติต่อไป

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 2 ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจึงได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาเครื่องมือคัด กรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น โดยเป็นการประเมินเพื่อ พัฒนาการเรียนรู้ (Formative Assessment) สำหรับเป็นข้อมูลการอ่าน และการเขียนของนักเรียน เพื่อให้ครูและผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษานำไปใช้ในการพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยสำหรับใช้ใน การเรียนรู้และการดำเนินชีวิตต่อไป โดยกรอบโครงสร้างของเครื่องมือที่สร้างขึ้นนี้ จัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ตามหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จุดประสงค์ของการคัดกรอง 1. เพื่อคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของศูนย์เครือ ข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 2. เพื่อให้ได้ข้อมูลผลการคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนานักเรียน ของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา นากลาง 4 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 3. เพื่อให้ได้สารสนเทศย้อนกลับไปใช้ในการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านความ สามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา นากลาง 4 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ขอบเขตของการประเมินในการอ่านและการเขียนของนักเรียน 1. การประเมินความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 1.1 รูปแบบการประเมิน เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative assessment) 1.2 ระยะเวลาในการประเมิน ในปีการศึกษา 2565 มีการประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง ดังนี้ ภาคเรียนที่ 1 ครั้งที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2565 ภาคเรียนที่ 2 ครั้งที่ 2 เดือนธันวาคม 2565 1.3 จำนวนนักเรียนที่รับการประเมิน

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 3 ตารางที่ 1 จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา นากลาง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ระดับชั้น เด็กปกติ จำนวน (คน) รวมทั้งสิ้น เด็กบกพร่อง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 93 1 94 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 70 20 90 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 86 25 111 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 71 27 98 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 78 33 111 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 77 23 100 รวม 475 129 604 นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การประเมินความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ได้กำหนดนิยาม ศัพท์ ดังนี้ 1.1 การอ่าน หมายถึง ความสามารถในการอ่านของนักเรียน ดังนี้ 1) การอ่านออกเสียง หมายถึง การอ่านคำ ประโยค หรือข้อความสั้น ๆ ที่เป็นวงคำศัพท์ที่กำหนด ในแต่ละระดับชั้นปี ทั้งที่เป็นคำที่มีความหมายโดยตรงหรือคำที่มีความหมายโดยนัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) การอ่านรู้เรื่อง หมายถึง การอ่านคำ ประโยค ข้อความสั้น ๆ หรือเรื่องราวที่เป็นวงคำศัพท์ที่ กำหนดในแต่ละระดับชั้นปี ทั้งที่เป็นคำที่มีความหมายโดยตรงหรือคำที่มีความหมายโดยนัยที่ใช้ในชีวิตประจำวันโดย สามารถบอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านร้อยแก้ว ร้อยกรอง สำหรับเด็ก (เป็นข้อความง่าย ๆ) จับใจความจากเรื่องที่อ่าน ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน บอกความหมายของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่สำคัญที่พบเห็นในชีวิต ประจำวัน คาด คะเนจากเรื่องที่อ่าน และสรุปความรู้ข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้อย่างสมเหตุสมผล 1.2 การเขียน หมายถึง ความสามารถในการเขียนคำ ประโยค หรือเรื่องของนักเรียน ดังนี้ 1) การเขียนคำ หมายถึง การเขียนคำที่เป็นวงคำศัพท์ที่กำหนดในแต่ละระดับชั้นปี โดยวิธีการเขียน คำตามคำบอก 2) การเขียนเรื่อง หมายถึง การเขียนเรื่องสั้น ๆ ตามจินตนาการ 2. การประเมินความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ได้กำหนดนิยาม ศัพท์ ดังนี้

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 4 2.1 การอ่าน หมายถึง ความสามารถในการจับใจความสำคัญ วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นและ เสนอแนวคิดใหม่จากเรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล และนำความรู้ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในการ ดำเนินชีวิต 2.2 การเขียน หมายถึง ความสามารถในการเขียนสื่อสาร โดยใช้ภาษาถูกต้อง ตรงตาม วัตถุประสงค์ วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความรู้ ความคิดอย่างมีเหตุผล 3. ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 หมายถึง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำนวนทั้งหมด 8 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านก่าน โรงเรียนบ้าน ซำเสี้ยว โรงเรียน บ้านนาหนองทุ่ม โรงเรียนบ้านโนนงาม โรงเรียนบ้านโนนตาล โรงเรียนบ้านฝั่งแดง โรงเรียนบ้านแสงดาวโนนธาตุ และ โรงเรียนบ้านเอื้องโนนไร่โนนสาวิทยา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีและใช้ข้อมูลสารสนเทศด้านคุณภาพของนักเรียนในการวางแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษา สถานศึกษา และห้องเรียน ของนักเรียนรายบุคคลนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป 2. โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบพัฒนาการด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 - 6 รายโรงเรียนและรายชั้นเรียน สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และวางแผน ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษาต่อไป 3. โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้สำหรับกำหนดนโยบาย กำกับ ติดตาม พัฒนาคุณภาพ การศึกษาและวางแผนการนิเทศของสถานศึกษาในสังกัด

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 5 2บทที่ เอกสารที่เกี่ยวข้อง การจัดทำข้อมูลสารสนเทศและรายงานผลการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียนผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e - MES) ปีการศึกษา 2565 ได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. นโยบายด้านการอ่านและการเขียนของกระทรวงศึกษาธิการ \"ปี 2565 เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ ทุกคน” 2. นโยบายด้านการอ่านและการเขียน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 3. การรายงานการประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนทางระบบติดตามและ ประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic Monitoring and Evaluation System : e-MES) ห้องนิเทศออนไลน์ ของ ศึกษานิเทศก์ 1. นโยบายด้านการอ่านและการเขียนของกระทรวงศึกษาธิการ \"ปี 2565 เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน\" สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดนโยบายขับเคลื่อนการศึกษาที่เน้นให้ความสำคัญกับการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย ให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดนโยบาย \"เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน\" เพื่อนำสู่การพัฒนาผู้เรียนตัวชี้วัด นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียน คล่อง มีสมรรถนะการอ่านขั้นสูง สามารถใช้การอ่านการเขียนและมีนิสัยรักการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มี ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กระทรวงศึกษาจึงกำหนดมาตรการให้สถานศึกษา เดินหน้าพัฒนาการอ่านการเขียน เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน ดังนี้ 1) ประกาศนโยบาย \"เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน\" โดยตั้งเป้าหมายความสำเร็จไว้ที่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ทุกคน อ่านออกเขียนได้ นักเรี่ยนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 อ่านคล่องเขียนคล่องและนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 - 6 มีสมรรถนะการอ่านขั้นสูง 2) แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการพัฒนาความสามารถในการอ่านการเขียนเชิงรุกตาม นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ประชาสัมพันธ์ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถศึกษาจัดทำสื่อ/นวัตกรรมพัฒนาความสามารถใน การอ่านการเขียนของนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ 4) พัฒนาและเผยแพร่สื่อ/นวัตกรรมพัฒนาความสามารถในการอ่านการเขียนที่ประสบผลสำเร็จ ทั้งใน รูปแบบของเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์และวีดิทัศน์ เพื่อให้ครูผู้สอนนำไปใช้เป็นแนวทางการฒนาการจัดการเรียน การสอนเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน 5) พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนแกนนำระดับเขตพื้นที่การศึกษาในการสอนการอ่านการเขียนของนักเรียน 6) ให้บริการเครื่องมือเพื่อวินิจฉัยความสามารถด้านการอ่านการเขียนสำหรับนักเรียน

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 6 7) ประเมินเพื่อวินิจฉัยความสามรถด้านการอ่าน (RT) ของนักเรียน ป.1 ทั่วประเทศ 8) กำกับ ติดตามและส่งเสริมสนับสนุนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามนโยบาย\"เด็กไทย วิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน\" 1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5. เครือข่าย 2. โรงเรียน 4. นักเรียน 3. ครู

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 7

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 8

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 9

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 10

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 11

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 12 2. นโยบายด้านการอ่านและการเขียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 2.1 ดำเนินการประกาศนโยบาย \"เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ ลายมือสวย\" ให้ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด รับทราบ 2.2 ดำเนินการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียนทุกระดับชั้น โรงเรียนในสังกัด วิเคราะห์สภาพปัญหา สาเหตุ เพื่อเป็นข้อมูลนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านการเขียนภาษาไทยทุกระดับชั้นเป็นรายบุคคล ให้ทุกโรงเรียนดำเนินการ จัดทำแผนพัฒนาซ่อมเสริมที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคล 2.3 บริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน จัดทำ คู่มือการดำเนินการพัฒนาอ่านเขียน เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ ลายมือสวย\"และเสริมสร้างควรกำลังใจแก่ผู้บริหารโรงเรียนปฏิบัติงาน 2.4 กำหนดแผนงาน/โครงการทั้งระยะสั้นและระยะยาว กำหนดจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพสอดคล้องตาม นโยบาย กลยุทธ์ของสพฐ. และดำเนินงานตามแผนพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย 3. การรายงานการประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนทางระบบติดตาม และประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic Monitoring and Evaluation System : e-MES) 3.1 ลักษณะของเครื่องมือ 3.1.1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและ การเขียนสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยแบบทดสอบแต่ละระดับชั้นแบ่งเป็น 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบทดสอบการอ่าน 2) การแบบทดสอบการเขียน จัดทำขึ้นโดยสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.1.2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่านและการเขียน จัดทำขึ้นโดยสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.2 ระยะเวลาในการประเมิน กำหนดให้ประเมินและรายงานผลการประเมินผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - MES) โดยมีระยะเวลา ในการประเมิน ดังนี้ 1) ภาคเรียนที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2565 2) ภาคเรียนที่ 2 เดือนธันวาคม 2565 โดยเป็นข้อมูลสารสนเทศจากการรายงานการประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียนของ นักเรียนทางระบบติดตามและประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic Monitoring and Evaluation System : e-MES) ในภาคเรียนที่ 1 ครั้งที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2565 และครั้งที่ 2 เดือนธันวาคม 2565)

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 13 3.3 ขั้นตอนการเข้าใช้ระบบติดตามและประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic Monitoring and Evaluation System : e-MES) การรายงานการอ่านและการเขียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2565 มีขั้นตอนดังนี้ 1.เข้าเว็บไซต์ http://203.159.250.192/~eme52/ เลือก ภาคอีสานเหนือ 2.จากนั้นให้โรงเรียนทำการ Login เข้าสู่ระบบการรายงานข้อมูล กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน และเข้าสู่ระบบที่เมนู เจ้าหน้าที่โรงเรียน 3.4 การรายงานผลการคัดกรองการอ่านและการเขียนของนักเรียน 1) เลือก ปี 2565 2) จากนั้นเลือกรายการที่ต้องการรายงาน

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 14 เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องตรงกันยอดรวมการอ่านและเขียนในแต่ละชั้น ต้องเท่ากับจำนวนนักเรียนในช่อง (3) นักเรียนปกติ *ไม่รวมนักเรียนบกพร่อง** เมื่อตรวจสอบข้อมูลถูกต้องครบถ้วนทุกชั้นแล้ว คลิก ท้ายตาราง และควรตรวจสอบอีกครั้ง ว่าระบบได้บันทึกข้อมูลไว้หรือไม่

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 15 3.4 โครงสร้างเครื่องมือคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โครงสร้างของเครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 16 โครงสร้างของเครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 17

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 18 โครงสร้างของเครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 19

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 20 โครงสร้างของเครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 21

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 22 โครงสร้างของเครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 23 โครงสร้างของเครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 24 บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา ในปีการศึกษา 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ดำเนินการจัดทำข้อมูล สารสนเทศและรายงานการประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียน ทางระบบติดตามและ ประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring andEvaluation System : e-MES) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูล สารสนเทศที่สามารถนำไปวางแผนและพัฒนาการอ่านและการเขียนในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผล ดังนี้ 1. ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. จัดทำเอกสารคู่มือการรายงานข้อมูลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-MES 2. สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานการรายงานทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-MES 3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินแจ้งการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียน พร้อมทั้งให้โรงเรียน ดำเนินการรายงานผลการประเมินผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-MES 4. สำนักงานเขตดำเนินการตรวจสอบข้อมูลของโรงเรียนให้ครบถ้วนถูกต้อง 5. นิเทศ กำกับติดตาม 6. สรุปข้อมูลสารสนเทศพร้อมทั้งรายงานการอ่านและการเขียน เพื่อใช้การวางแผนการพัฒนาในคราวต่อไป 2. ปฏิทินการปฏิบัติงาน

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 25 3. ขั้นตอนการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียน 3.1 ให้โรงเรียนดำเนินการคัดกรองเพื่อคัดแยกนักเรียนปกติและนักเรียนที่มีความบกพร่องตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างเป็นระบบ แล้วจัดทำข้อมูลสารสนเทศอย่างชัดเจน 3.2 โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการข้อสอบและดำเนินการสอบ 3.2.1 การเตรียมการก่อนการสอบ ก่อนการสอบให้โรงเรียนเตรียมการ ดังนี้ 1) การจัดห้องสอบ ให้จัดห้องสอบตามปกติของการจัดสอบของโรงเรียน 2) ผู้ดำเนินการสอบ มอบหมายให้ครูผู้สอนหรือครูประจำชั้นเป็นผู้ดำเนินการสอบ โดยใช้เครื่องมือ คัดกรองที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดส่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3.2.2 การดำเนินการสอบ การดำเนินการสอบให้ดำเนินการ ดังนี้ 1) ให้ครูผู้สอนหรือครูประจำชั้นที่ได้รับมอบหมายศึกษาทำความเข้าใจเอกสารต่อไปนี้ - คู่มือการคัดกรองความสามารถในการอ่านการเขียน - คำชี้แจงและเครื่องมือคัดกรองความสามารถในการอ่านการเขียน 2) ให้ครูผู้สอนหรือครูประจำชั้นที่ได้รับมอบหมายจัดสอบตามรายละเอียดที่กำหนดในคำชี้แจงของ แบบทดสอบแต่ละฉบับ 3.2.3 การดำเนินการหลังสอบ การดำเนินการหลังสอบให้ดำเนินการ ดังนี้ ครูผู้สอนหรือครูประจำชั้นที่ได้รับมอบหมายตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดในคำชี้แจงของ แบบทดสอบแต่ละระดับชั้นของนักเรียนในโรงเรียนของตน และรายงานผลการคัดกรองตามเกณฑ์ที่กำหนด 4. กำหนดการรายงานผลการคัดกรอง การคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในปีการศึกษา 2565 กำหนดการประเมินและรายงานผลผ่านทางระบบการติดตามทางอิเล็กทรอนิกส์ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ได้แก่ ภาคเรียนที่ 1 รายงานผลภายใน 31 กรกฎาคม 2565 ภาคเรียนที่ 2 รายงานผลภายใน 31 ธันวาคม 2565 5. เกณฑ์ของระดับคะแนนและการแปลผลการคัดกรอง การคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีเกณฑ์ ของระดับ คะแนนและการแปลผล ดังนี้ เกณฑ์ของระดับคะแนน การแปลผล ร้อยละ 75 - 10 ดีมาก ร้อยละ 50 - 74 ดี ร้อยละ 25 - 49 พอใช้ ร้อยละ 0 - 24 ปรับปรุง

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 6. การนำผลการคัดกรองไปใช้ในการพัฒนานักเรียน 26 การคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีวัตถุประสงค์ สำคัญ เพื่อนำข้อมูลจากผลการคัดกรองไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียน ซึ่งมีความ สามารถสูงให้ดียิ่งขึ้น และแก้ไขปัญหาการอ่านและการเขียนของนักเรียนที่มีผลการคัดกรองระดับต่ำ โดยครูควรพิจารณา ผลการคัดกรองของนักเรียนทั้งภาพรวมและรายบุคคล เพื่อให้ทราบว่านักเรียนแต่ละคน มีผลการคัดกรองความสามารถ และทักษะใดที่ควรได้รับการปรับปรุงพัฒนา โดยจำเป็นต้องปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เหมาะสมกับ นักเรียน เช่น การจัดสอนซ่อมเสริมนักเรียนเป็นรายบุคคลเพิ่มเติม เป็นต้น 7. จำนวนนักเรียนที่คัดกรอง ตารางที่ 2 จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ที่เข้ารับการคัดกรอง (ครั้งที่ 1) ตารางที่ 3 จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ที่เข้ารับการคัดกรอง (ครั้งที่ 2)

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 27 บทที่ 4 การวิเคราะห์ผล รายงานผลการทดสอบภาษาไทย ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา นากลาง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์ผล มี รายละเอียด ดังนี้ ตอนที่ 1 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ตอนที่ 2 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตอนที่ 1 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 28 ตารางที่ 4 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครั้งที่ 1 จากตาราง 4 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ครั้งที่ 1) ภาพรวม พบว่า ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 78 คน (ร้อยละ 83.87) มีนักเรียน ที่ได้ระดับดี จำนวน 12 คน (ร้อยละ 12.90) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 3 คน (ร้อยละ 3.23) ตามลำดับ ตารางที่ 5 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครั้งที่ 2 จากตาราง 5 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ครั้งที่ 2) ศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 77 คน (ร้อยละ 71.43) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 24 คน (ร้อยละ 22.22) และมีนักเรียนที่ได้ระดับ ปรับปรุง จำนวน 3 คน (ร้อยละ 2.78) ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 42 คน (ร้อยละ 38.89) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 22 คน (ร้อยละ 20.37) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 5 คน (ร้อยละ 4.63) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 4 คน (ร้อยละ 5.61) ตามลำดับ

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตารางที่ 6 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งที่ 1 29 จากตาราง 6 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 50 คน (ร้อยละ 71.43) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 12 คน (ร้อยละ 17.14) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 3 คน (ร้อยละ 4.29) และมีนักเรียนที่ได้ ระดับปรับปรุง จำนวน 1 คน (ร้อยละ 1.43) ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 34 คน (ร้อยละ 48.57) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 15 คน (ร้อยละ 21.43) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 12 คน (ร้อยละ 17.14) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 5 คน (ร้อยละ 7.14) ตามลำดับ ตารางที่ 7 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งที่ 2 จากตาราง 7 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 56 คน (ร้อยละ 84.85) และมีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 10 คน (ร้อยละ 15.15) ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 42 คน (ร้อยละ 63.64) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 19 คน (ร้อยละ 28.79) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 4 คน (ร้อยละ 6.06) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 1 คน (ร้อยละ 1.52) ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งที่ 1 และ2 ศูนย์เครือ ข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 71.43 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 84.85 จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี จากร้อยละ 48.57 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 63.64

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตารางที่ 8 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งที่ 1 30 จากตาราง 8 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 56 คน (ร้อยละ 65.12) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 14 คน (ร้อยละ 16.28) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 6 คน (ร้อยละ 6.98) และมีนักเรียนที่ได้ ระดับปรับปรุง จำนวน 5 คน (ร้อยละ 5.81) ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 43 คน (ร้อยละ 50) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 27 คน (ร้อยละ 31.40) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 9 คน (ร้อยละ 10.47) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 2 คน (ร้อยละ 2.33) ตามลำดับ ตารางที่ 9 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งที่ 2 จากตาราง 9 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 60 คน (ร้อยละ 72.29) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 15 คน (ร้อยละ 18.07) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 4 คน (ร้อยละ 4.82) และมี นักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 4 คน (ร้อยละ 4.82) ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 49 คน (ร้อยละ 59.03) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 13 คน (ร้อยละ 15.66) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 18 คน (ร้อยละ 21.69) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 3 คน (ร้อยละ 3.61) ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งที่ 1 และ2 ศูนย์เครือ ข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 65.12 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 72.29 จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี จากร้อยละ 50 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 59.03

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตารางที่ 10 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งที่ 1 31 จากตาราง 10 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 49 คน (ร้อยละ 69.01) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 18 คน (ร้อยละ 25.35) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 4 คน (ร้อยละ 5.63) ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 37 คน (ร้อยละ 52.11) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 23 คน (ร้อยละ 32.39) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 4 คน (ร้อยละ 5.63) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 7 คน (ร้อยละ 9.86) ตามลำดับ ตารางที่ 11 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งที่ 2 จากตาราง 11 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 61 คน (ร้อยละ 75.31) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 12 คน (ร้อยละ 14.81) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 7 คน (ร้อยละ 8.64) และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 1 คน (ร้อยละ 25) ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 34 คน (ร้อยละ 41.98) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 12 คน (ร้อยละ 14.81) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 26 คน (ร้อยละ 32.10) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 9 คน (ร้อยละ 11.11) ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งที่ 1 และ2 ศูนย์เครือ ข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 69.01 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75.31 จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี จากร้อยละ 32.39 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 41.98

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตารางที่ 12 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งที่ 1 32 จากตาราง 12 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 48 คน (ร้อยละ 61.54) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 24 คน (ร้อยละ 30.77) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 3 คน (ร้อยละ 3.85) ตาม ลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 30 คน (ร้อยละ 38.46) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน จำนวน 30 คน (ร้อยละ 38.46) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 10 คน (ร้อยละ 12.82) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 5 คน (ร้อยละ 6.47) ตามลำดับ ตารางที่ 13 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งที่ 2 จากตาราง 13 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 65 คน (ร้อยละ 87.84) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 7 คน (ร้อยละ 9.46) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 2 คน (ร้อยละ2.70) ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 38 คน (ร้อยละ 51.35) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 22 คน (ร้อยละ 29.73) และมีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 14 คน (ร้อยละ 18.92) ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งที่ 1 และ2 ศูนย์เครือ ข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 61.54 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 87.84 จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี จากร้อยละ 38.46 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 51.35

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตารางที่ 14 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งที่ 1 33 จากตาราง 14 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 53 คน (ร้อยละ 68.83) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 15 คน (ร้อยละ 19.78) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 5 คน (ร้อยละ 6.49) ตาม ลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 39 คน (ร้อยละ 50.65) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน จำนวน 28 คน (ร้อยละ 36.36) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 4 คน (ร้อยละ 5.19) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 3 คน (ร้อยละ 3.90) ตามลำดับ ตารางที่ 15 การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งที่ 2 จากตาราง 15 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 62 คน (ร้อยละ 81.57) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 10 คน (ร้อยละ 13.16) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 3 คน (ร้อยละ 3.94) และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 3 คน (ร้อยละ 3.94) ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 32 คน (ร้อยละ 42.11) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 25 คน (ร้อยละ 32.89) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 16 คน (ร้อยละ 21.05) และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 3 คน (ร้อยละ 3.95) ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์เครือ ข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 68.83 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 81.57 จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง พบว่า มีแนวโน้มลดลง มีนักเรียนที่ได้รับดี จาก ร้อยละ 50.65 ลดลงเป็นร้อยละ 42.11

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตอนที่ 2 การประเมินความสามารถการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 34 ตารางที่ 16 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครั้งที่ 1 จากตาราง 16 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ครั้งที่ 1) ภาพรวม พบว่า ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 68 คน (ร้อยละ 73.12) มีนักเรียน ที่ได้ระดับดี จำนวน 19 คน (ร้อยละ 20.43) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 4 คน (ร้อยละ 4.30) และมีนักเรียนที่ได้ระดับ ปรับปรุง จำนวน 2 คน (ร้อยละ 2.15) ตามลำดับ ตารางที่ 17 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครั้งที่ 2 จากตาราง 17 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 53 คน (ร้อยละ 49.07) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 20 คน (ร้อยละ 18.52) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 19 คน (ร้อยละ 17.59) และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 8 คน (ร้อยละ 7.41) ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ ระดับดีมาก จำนวน 32 คน (ร้อยละ 29.63) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 21 คน (ร้อยละ 19.44) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 21 คน (ร้อยละ 19.44) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 6 คน (ร้อยละ 5.56) ตามลำดับ

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตารางที่ 18 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งที่ 1 35 จากตาราง 18 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนคำ มีนักเรียนที่ได้รับดี จำนวน 27 คน (ร้อยละ 38.57) มี นักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 18 คน (ร้อยละ 25.71) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 15 คน (ร้อยละ 21.43) และมีนักเรียนที่ ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 6 คน (ร้อยละ 8.57) ตามลำดับ จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 26 คน (ร้อยละ 37.14) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 19 คน (ร้อยละ 27.14) นักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน จำนวน 19 คน (ร้อยละ 27.14) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 2 คน (ร้อยละ 2.86) ตามลำดับ ตารางที่ 19 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งที่ 2 จากตาราง 19 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการเขียนคำ มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 35 คน (ร้อยละ 53.03) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 23 คน (ร้อยละ 34.85) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 8 คน (ร้อยละ 12.12) ตามลำดับ จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 29 คน (ร้อยละ 43.93) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 24 คน (ร้อยละ 36.36) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 13 คน (ร้อยละ 19.69) ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์เครือ ข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนคำ พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จาก ร้อยละ 25.71 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 53.03 จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จาก ร้อยละ 37.14 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43.93

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตารางที่ 20 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งที่ 1 36 จากตาราง 20 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนคำ มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 37 คน (ร้อยละ 43.02) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 18 คน (ร้อยละ20.93) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 18 คน (ร้อยละ 20.93) และมีนักเรียนที่ได้ ระดับปรับปรุง จำนวน 10 คน (ร้อยละ 11.63) ตามลำดับ จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 33 คน (ร้อยละ 38.37) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 25 คน (ร้อยละ 29.07) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน จำนวน 17 คน (ร้อยละ 19.77) มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 6 คน (ร้อยละ 6.98) ตามลำดับ ตารางที่ 21 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งที่ 2 จากตาราง 21 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการเขียนคำ มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 28 คน (ร้อยละ 33.73) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 25 คน (ร้อยละ 30.12) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 18 คน (ร้อยละ 21.69) และมีนักเรียน ที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 12 คน (ร้อยละ 14.46) ตามลำดับ จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 35 คน (ร้อยละ 42.17) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 24 คน (ร้อยละ 28.91) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 21 คน (ร้อยละ 25.30) และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 3 คน (ร้อยละ 3.61) ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนคำ พบว่า มีแนวโน้มลดลง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 43.02 ลดลงเป็นร้อยละ 33.73 จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง พบว่า มีแนวโน้มลดลง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 29.07 ลดลงเป็นร้อยละ 28.91

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตารางที่ 22 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งที่ 1 37 จากตาราง 22 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดี จำนวน 34 คน (ร้อยละ 47.89) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 22 คน (ร้อยละ 30.99) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 15 คน (ร้อยละ 21.13) ตามลำดับ ตารางที่ 23 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งที่ 2 จากตาราง 23 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 33 คน (ร้อยละ 40.74) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 31 คน (ร้อยละ 38.27) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 15 คน (ร้อยละ 18.52) ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 30.99 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 40.74

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตารางที่ 24 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งที่ 1 38 จากตาราง 24 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดี จำนวน 30 คน (ร้อยละ 38.46) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 30 คน (ร้อยละ 38.46) มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 14 คน (ร้อยละ 17.95) และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง จำนวน 1 คน (ร้อยละ 1.28) ตามลำดับ ตารางที่ 25 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งที่ 2 จากตาราง 25 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 5คน (ร้อยละ 47.30) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 32 คน (ร้อยละ 43.24) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 7 คน (ร้อยละ 9.46) ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนคำ พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 38.46 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 47.30

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ตารางที่ 26 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งที่ 1 39 จากตาราง 26 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จำนวน 36 คน (ร้อยละ 46.75) มีนักเรียนที่ได้ระดับดี จำนวน 21 คน (ร้อยละ 27.27) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 17 คน (ร้อยละ 22.08) ตามลำดับ ตารางที่ 27 การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งที่ 2 จากตาราง 27 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดี จำนวน 32 คน (ร้อยละ 42.11) มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก จำนวน 31 คน (ร้อยละ 40.79) และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ จำนวน 13 คน (ร้อยละ 17.11) ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 27.27 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 40.79

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 40 บทที่ 5 สรุปผล ข้อเสนอแนะ ในปีการศึกษา 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ดำเนินการจัดทำข้อมูล สารสนเทศและรายงานการประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียน ทางระบบติดตามและ ประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring andEvaluation System : e-MES) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูล สารสนเทศที่สามารถนำไปวางแผนและพัฒนาการอ่านและการเขียนในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผล และได้ดำเนินการสรุปผล ได้ดังนี้ 1. การประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 1.1 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 83.87 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 12.90 และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 3.23 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 71.43 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 22.22 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 2.78 ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 38.89 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 20.37 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 4.63 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 5.61 ตามลำดับ 1.2 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 71.43 มีนักเรียนที่ได้ระดับ ดี ร้อยละ 17.14 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 4.29 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 1.43 ตามลำดับ จำแนกตาม ผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 48.57 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 21.43 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 17.14 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 7.14 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 84.85 และมีนักเรียนที่ได้ ระดับดี ร้อยละ 15.15 ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 63.64 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 28.79 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 6.06 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 1.52 ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี มาก จากร้อยละ 71.43 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 84.85 จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี จากร้อย ละ 48.57 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 63.64

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 1.3 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 41 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 65.12 มีนักเรียนที่ได้ ระดับดี ร้อยละ 16.28 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 6.98 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 5.81 ตามลำดับ จำแนก ตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 50 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 31.40 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 10.47 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 2.33 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 72.29 มีนักเรียนที่ ได้ระดับดี ร้อยละ 18.07 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 4.82 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 4.82 ตามลำดับ จำแนก ตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 59.03 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 15.66 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 21.69 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 3.61 ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี มาก จากร้อยละ 65.12 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 72.29 จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี จากร้อย ละ 50 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 59.03 1.4 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 69.01 มีนักเรียนที่ได้ระดับ ดี ร้อยละ 25.35 และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 5.63 ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 52.11 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 32.39 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 5.63 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 9.86 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 75.31 มีนักเรียนที่ ได้ระดับดี ร้อยละ 14.81 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 8.64 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 25 ตามลำดับ จำแนก ตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 41.98 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 14.81 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 32.10 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 11.11 ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งที่ 1 และ2 ศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับ ดีมาก จากร้อยละ 69.01 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75.31 จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี จากร้อยละ 32.39 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 41.98 1.5 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 61.54 มีนักเรียนที่ได้ระดับ ดี ร้อยละ 30.77 และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 3.85 ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 38.46 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 38.46 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 12.82 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 6.47 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 87.84 มีนักเรียนที่ ได้ระดับดี ร้อยละ 9.46 และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ2.70 ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 51.35 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 29.73 และมีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 18.92 ตามลำดับ

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 1.6 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 42 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 68.83 มีนักเรียนที่ได้ระดับ ดี ร้อยละ 19.78 และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 6.49 ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 50.65 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 36.36 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 5.19 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 3.90 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 81.57 มีนักเรียน ที่ได้ระดับดี ร้อยละ 13.16 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 3.94 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 3.94 ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 42.11 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 32.89 มีนักเรียนที่ได้ระดับ ดีมาก ร้อยละ 21.05 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 3.95 ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งที่ 1 และ 2 เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการอ่านออกเสียง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับ ดีมาก จากร้อยละ 68.83 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 81.57 จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง พบว่า มีแนวโน้มลดลง มีนักเรียนที่ได้รับดี จาก ร้อยละ 50.65 ลดลงเป็นร้อยละ 42.11 2. การประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 2.1 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ครั้งที่ 1) ภาพรวม พบว่า ศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 73.12 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 20.43 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 4.30 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 2.15 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการเขียน มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 49.07 มีนักเรียนที่ได้ ระดับดี ร้อยละ 18.52 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 17.59 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 7.41 ตามลำดับ จำแนกตามผลการอ่านรู้เรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 29.63 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 19.44 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 19.44 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 5.56 ตามลำดับ 2.2 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนคำ มีนักเรียนที่ได้รับดี ร้อยละ 38.57 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 25.71 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 21.43 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 8.57 ตามลำดับ จำแนกตามผล การเขียนเรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 37.14 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 27.14 นักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 27.14 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 2.86 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการเขียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการเขียนคำ มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 53.03 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 34.85 และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 12.12 ตามลำดับ จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 43.93 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 36.36 และมีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 19.69 ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนคำ พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี มาก จากร้อยละ 25.71 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 53.03 จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 37.14 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43.93

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 43 2.3 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนคำ มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 43.02 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ20.93 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 20.93 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 11.63 ตามลำดับ จำแนกตาม ผลการเขียนเรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 38.37 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 29.07 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 19.77 มีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 6.98 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการเขียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า จำแนกตามผลการเขียนคำ มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 33.73 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 30.12 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 21.69 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 14.46 ตามลำดับ จำแนกตามผล การเขียนเรื่อง มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 42.17 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 28.91 มีนักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 25.30 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 3.61 ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนคำ พบว่า มีแนวโน้มลดลง มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก จากร้อยละ 43.02 ลดลงเป็นร้อยละ 33.73 จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง พบว่า มีแนวโน้มลดลง มีนักเรียนที่ได้รับดีมากจากร้อยละ 29.07 ลดลงเป็นร้อยละ 28.91 2.4 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดี ร้อยละ 47.89 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 30.99 และมี นักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 21.13 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 40.74 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 38.27 และมี นักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 18.52 ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับ ดีมาก จากร้อยละ 30.99 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 40.74 2.5 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดี ร้อยละ 38.46 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 38.46 มีนักเรียนที่ได้ ระดับพอใช้ ร้อยละ 17.95 และมีนักเรียนที่ได้ระดับปรับปรุง ร้อยละ 1.28 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 47.30 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 43.24 และมี นักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 9.46 ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนคำ พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับ ดีมาก จากร้อยละ 38.46 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 47.30

รายงานผลการทดสอบภาษาไทย : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 44 2.6 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ครั้งที่ 1) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดีมาก ร้อยละ 46.75 มีนักเรียนที่ได้ระดับดี ร้อยละ 27.27 และมี นักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 22.08 ตามลำดับ ผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ครั้งที่ 2) ศูนย์เครือข่ายพัฒนา คุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับดี ร้อยละ 42.11 มีนักเรียนที่ได้ระดับดีมาก ร้อยละ 40.79 และมี นักเรียนที่ได้ระดับพอใช้ ร้อยละ 17.11 ตามลำดับ การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถในการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งที่ 1 และ 2 ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 4 ภาพรวม จำแนกตามผลการเขียนเรื่อง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น มีนักเรียนที่ได้รับดี มาก จากร้อยละ 27.27 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 40.79 3. ข้อเสนอแนะ 3.1 โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลสารสนเทศด้านคุณภาพของนักเรียนไปใช้ในการวางแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษา สถานศึกษา และห้องเรียน ของนักเรียนรายบุคคลนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป 3.2 โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลสารสนเทศด้านคุณภาพของนักเรียนทั้งรายโรงเรียนและรายชั้นเรียน สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และวางแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษาต่อไป 3.3 โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้สำหรับกำหนดนโยบาย กำกับ ติดตาม พัฒนาคุณภาพการ ศึกษาและวางแผนการนิเทศของสถานศึกษาในสังกัด