Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอน นารายณ์ปราบนนทก

Description: ความเป็นมา บทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอน นารายณ์ปราบนนทก นำเค้าเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย เป็นรามเกียรติ์ที่สมบูรณ์ที่สุด ประพันธ์โดย สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด

Search

Read the Text Version

คำนำ หนังสือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเนื้อหาสำหรับการศึกษาความรู้ มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก แนวคิดที่ได้ จากเรื่อง และคุณค่าวรรณคดีด้านต่าง ๆ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้ศึกษาเป็นอย่างมาก ผู้จัดทำ

สารบัญ หน้า ๑ ๑ เรื่อง ๒ ความเป็นมา ๒ ผู้แต่ง ๓ ลักษณะคำประพันธ์ ๕ จุดประสงค์ในการแต่ง ๖ ตัวละครที่สำคัญ ๗ เนื้ อเรื่องย่อ แนวคิดที่ได้จากเรื่อง การพิจารณาคุณค่า

๑ ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ด้วง พระชนก คือ หลวงพินิจอักษรกับ พระชนนีคือดาวเรือง ทรงขึ้นครองราชย์หลังจากสมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคต เป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี ตลอดรัชกาล พระองค์ทรงทำสงครามทั้งกับ พม่าและปราบหัวเมืองต่าง ๆ ทรงสร้างระเบียบการปกครอง ฟื้ นฟูพระพุทธศาสนา ศิลปะศาสตร์ และอักษรศาสตร์ รวบรวมชำระกฎหมายตราสามดวงจนสมบูรณ์ และพระองค์ยังเป็นกวีโดยทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง ได้แก่ รามเกียรติ์ ดาหลัง อุณรุท และกลอนนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง ความเป็นมา บทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอน นารายณ์ปราบนนทก นำโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย เป็นรามเกียรติ์ ที่สมบูรณ์ที่สุด ประพันธ์โดย สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑

๒ ลักษณะคำประพันธ์ แต่งด้วยกลอนบทละคร การดำเนินเนื้อเรื่องเป็นกลอน บทละคร มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ วรรคแรก มักขึ้นต้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป เป็นต้น เมื่อนั้น ใช้กับตัวเอกของเรื่องหรือตัวละครกษัตริย์ บัดนั้น ใช้กับตัวละครสามัญ หรือไม่สำคัญ มาจะกล่าวบทไป ใช้เมื่อขึ้นต้นตอนใหม่ หรือความใหม่ จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อรวบรวมรามเกียรติ์ให้สมบูรณ์ และเพื่อแสดง พระเกียรติของพระรามหรือ พระมหากษัตริย์ไทย

๓ ตัวละครที่สำคัญ ๑. พระอิศวร : พระกายสีขาว, พระศอมีสีนิล, อาวุธประจำพระองค์คือ ตรีศูล ธนู คทา บ่วงบาศ บัณเฑาะว์ และสังข์, มีพระเนตร ๓ ดวง ดวงที่สาม อยู่กลางพระนลาฏ, พาหนะประจำพระองค์ คือ โคอุสุภราช, มีพระจันทร์ ครึ่งซีกอยู่เหนือตาที่สาม ๑ ๒. นนทก : เป็นยักษ์ที่ทำหน้าที่ล้างเท้าเทวดา, หัวโล้น เนื่องจากโดน เทวดากลั่นแกล้ง, มีนิ้วเพชรสามารถชี้ให้ตายก็ได้

๔ ตัวละครที่สำคัญ ๓. พระนารายณ์ : เป็นเทพเจ้าฝ่ายปราบปราม, มีพระกายสีดอกตะแบก (สีม่วง), มี ๔ กร, อาวุธประจำพระองค์คือ ตรี คทา จักร สังข์ ธนูและพระ ขรรค์ ๑ ๔. นางสุวรรณอัปสร : เป็นนางฟ้าจำแลงของพระองค์พระนารายณ์, เป็นนางฟ้าที่สวยที่สุด, สามารถร่ายรำได้อย่างสวยงาม น่าหลงใหล

๕ เนื้ อเรื่องย่อ นนทกมีหน้าที่ล้างเท้าเทวดาอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส เมื่อเทวดาพากันไปเฝ้า พระอิศวร พวกเทวดาชอบข่มเหงนนทกอยู่เป็นประจำ โดยการลูบหัวบ้าง ตบ หัวบ้าง จนกระทั่งผมร่วงหมด นนทกแค้นใจเป็นอันมากจึงไปเฝ้าพระอิศวร กราบทูลว่าตนได้รับใช้มานานยังไม่เคยได้รับสิ่งใดตอบแทนเลย จึงทูลขอให้นิ้วเป็นเพชรมีฤทธิ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นถึงตายได้ พระอิศวรก็ประทาน ให้ตามคำขอ เมื่อเหล่าเทวดามาลูบศีรษะเล่นเช่นเคย นนทกก็ใช้นิ้วเพชรชี้ให้ตายลงเป็น จำนวนมาก พระอิศวรทรงทราบก็กริ้ว โปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ พระ นารายณ์แปลงกายเป็นนางฟ้าสวยงามมายั่วยวน นนทกนักรักจึงเกี้ยวนาง นางแปลงจึงชวนให้นนทกร่ายรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก นนทกตกลงรำตาม ไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้วเพชรชี้ที่เข่าตนเอง นนทกก็ล้มลง ก่อนตายนนทกเห็นนางแปลงปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์ จึงต่อว่าพระ นารายณ์มีอำนาจ มีถึง ๔ กร เหตุใดจึงต้องทำอุบายมาหลอกลวงตน พระ นารายณ์จึงให้นนทกไปเกิดใหม่ให้มีถึง ๒๐ มือมีฤทธิมากมาย แล้วพระองค์ จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง ๒ มือลงไปสู้ด้วยและจะเอาชนะให้ได้ นนทก จึงไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเป็นพระราม

๖ แนวคิดที่ได้จากเรื่อง ๑. การใช้อำนาจอย่างมีคุณธรมม ๒. การใช้สติปัญญาสำคัญกว่าการใช้กำลัง ๓. รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ๔. ไม่ควรโอ้อวดว่าตนเองมีความสามารถเหนือผู้อื่น ๕. ควรมีเมตตาต่อผู้อื่นจึงจะทำให้สงคมร่มเย็นเป็นสุข

๗ การพิจารณาคุณค่า ๑.คุณค่าด้านเนื้ อหา ตอนนารายณ์ปราบนนทก เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศอินเดีย นับได้ว่าเป็นวรรณคดีที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยปรากฏ อยู่ แก่นเรื่องที่สำคัญที่สะท้อนออกมาคือ การใช้อำนาจแก่บุคคลที่ไม่สามารถ ใช้สติควบคุมตัวเองได้ ย่อมก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่นเรื่องอีกประการคือ การผูกใจเจ็บแค้นไม่ยอมให้อภัย ย่อมนำมาซึ่ง ความเดือดร้อน เหมือนกับที่นนทกแค้นนางแปลง จนมาจุติเป็นทศกัณฐ์และ พ่ายแพ้แก่พระราม เพราะความพยาบาทของตน ๒.คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การดำเนินเรื่องรวดเร็ว กระชับ ใช้คำชมความงามของนางแปลงได้ อย่างเห็นภาพพจน์ เหมาะสำหรับการนำไปแสดง โดยมีการขับร้องและใช้ ดนตรีประกอบ ๓.คุณค่าด้านสังคม สังคมจะสงบสุขอยู่ได้ถ้าคนเรามีน้ำใจต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ข่มเหงน้ำใจกัน