Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ออมอุ่นใจกับกองทุนประกันสังคม

ออมอุ่นใจกับกองทุนประกันสังคม

Description: ออมอุ่นใจกับกองทุนประกันสังคม

Search

Read the Text Version

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม คำ�นิยม นอกจากการจัดเก็บเงินสมทบและจ่ายสิทธิประโยชน์แล้ว สํำ�นักงานประกันสังคม ยังมีภารกิจหลักตามกฎหมายในการนํำ�เงินที่จัดเก็บได้ไปจัดหาผลประโยชน์ นับตั้งแต่ก่อตั้งถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษที่สํำ�นักงานประกันสังคม ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถในการบริหารกองทุนประกันสังคม ทํำ�ให้ กองทุนเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง จากที่มีเงินลงทุนเพียง 1,890 ล้านบาท ในปีแรก ในวันนี้กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนมากกว่า 9 แสนล้านบาท นับเป็นกองทุนบํำ�นาญที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ใน เอเซีย ผมจึงมีความตั้งใจจะให้หนังสือ “ออมอุ่นใจกับกองทุนประกันสังคม” ซึ่ง คุณวิน พรหมแพทย์ เขียนขึ้นมาเล่มนี้ ช่วยเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการออมเงิน กับกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ รวมทั้งเผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับการเงินและการลงทุนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย พร้อมรูปประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าสามารถออมเงินกองทุนประกันสังคมได้อย่างไร และยังสามารถ นํำ�ไปประยุกต์ใช้ประกอบการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนได้ นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำ�นักงานประกันสังคม

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม เกริ่นนำ� หนังสือ “ออมอุ่นใจกับกองทุนประกันสังคม” เล่มนี้ เป็นหนังสือเล่มแรกที่ รวบรวมบทความที่ผมเขียนเป็นประจํำ�ใน วารสารประกันสังคม ภายใต้ชื่อคอลัมน์ เดียวกัน แต่เนื่องจากการเขียนบทความในวารสารเป็นตอนๆ ทํำ�ให้บางครั้งไม่ สามารถเล่าเรื่องได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเราอยากเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ การออมกับกองทุนประกันสังคมให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ผมจึงได้เรียนปรึกษา ท่านจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสํำ�นักงานประกันสังคม ท่านไม่เพียงแต่เห็นว่า การจัดทํำ�เป็นหนังสือน่าจะเป็นประโยชน์เท่านั้น แต่ได้กรุณาตรวจร่างหนังสือ และให้คํำ�แนะนํำ�ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทํำ�หนังสือเล่มนี้เป็นอย่างยิ่ง แรงบันดาลใจของผมที่เริ่มต้นเขียนบทความ เกิดจากความคิดว่า สํำ�นักงาน ประกันสังคมมีภารกิจตามกฎหมายให้การคุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์ทั้งหมด 7 กรณีให้กับผู้ประกันตน ซึ่งปัจจุบันมีจํำ�นวนมากกว่า 10 ล้านคน มีผู้ประกันตน จํำ�นวนมากไม่ทราบว่า เงินที่ตนเองสมทบทุกเดือนนั้น มีส่วนของ “เงินออม” ด้วย ผมขอขอบคุณคณะกรรมการประกันสังคม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสํำ�นักงาน ประกันสังคมทั้งในอดีตและปัจจุบันทุกท่านที่ช่วยกันวางรากฐานในการออมเงิน เพื่อเกษียณ รวมทั้งวางกรอบการลงทุนที่ทํำ�ให้เงินกองทุนประกันสังคมเติบโต อย่างมั่นคง ขอขอบคุณท่าน ผอ. ไพลิน จินดามณีพร ผู้อํำ�นวยการศูนย์สารนิเทศ และ ผอ. เซี่ยมกี่ นิลทองคํำ� ผู้อํำ�นวยการสํำ�นักบริหารการลงทุน ที่กรุณาสร้าง แรงบันดาลใจและให้คํำ�แนะนํำ�ในการจัดทํำ�หนังสือ และผมเชื่อว่าความเข้มแข็งและ ทุ่มเทของทีมงาน สํำ�นักบริหารการลงทุน ที่ผมสังกัดอยู่ จะช่วยสร้างดอกผลทํำ�ให้ เงินออมของผู้ประกันตนเติบโตอย่างมั่นคงตลอดไป วิน พรหมแพทย์ หัวหน้ากลุ่มงานลงทุน สำ�นักบริหารการลงทุน สำ�นักงานประกันสังคม

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม สารบัญ หน้า ส่วนที่1 : กระปุกออมสิน ชื่อ “กองทุนประกันสังคม” 2 5 เส้นทางเดินของเงินสมทบ กองทุนประกันสังคม 8 กระปุกออมสิน ขนาด 9 แสนล้านบาท ออมอย่างมั่นคงกับกองทุนประกันสังคม ส่วนที่2 : ออมอุ่นใจกับกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ 14 15 รู้จักระบบการออมในประเทศไทย 15 1.การออมภาคบังคับ 15 - กองทุนบํำ�เหน็จบํำ�นาญข้าราชการ (กบข.) 15 - กองทุนประกันสังคม (กรณีชราภาพ) 16 2.การออมภาคสมัครใจ 16 - กองทุนสํำ�รองเลี้ยงชีพ 16 - การซื้อประกันชีวิต 17 - กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ 19 - กองทุนรวมหุ้นระยะยาว 26 28 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกองทุนบํำ�นาญ 31 สิทธิประโยชน์ที่ท่านได้รับ จากกองทุนประกันสังคม ออมเพื่อเกษียณ กับกองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ ประโยชน์ 9 ข้อ เมื่อออมกับกองทุนประกันสังคม

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม สารบัญ (ต่อ) หน้า ส่วนที่3 : นานาสาระการออมเงินเพื่อเกษียณ 38 43 “ออมก่อนใช้” ด้วยการสร้างระบบการออมอัตโนมัติ 49 เคล็ดลับ 5 ข้อ ออมให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณ ตั้งเป้าการออมเพื่อเกษียณ ส่วนที่4 : ภารกิจการนํำ�เงินออมไปลงทุนให้เกิดผล 54 58 สร้างดอกผลจากการนํำ�เงินออมไปลงทุน 61 ขั้นตอนการตัดสินใจลงทุนของสํำ�นักงานประกันสังคม 62 กรอบการลงทุน คํำ�ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับการลงทุน ประวัติผู้เขียน 71

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ส่วนที่ 1 : กระปุกออมสิน ชื่อ “กองทุนประกันสังคม”

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม เส้นทางเดินของเงินสมทบ กองทุนประกันสังคม ท่านทราบหรือไม่ครับว่า เงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ท่านถูก หัก 5% จากเงินเดือนทุกเดือน มีเส้นทางเดินอย่างไร ขอเล่าให้ฟังเป็น ขั้นตอนดังนี้ครับ 2 ขั้นตอนที่ 1 จัดเก็บเงินสมทบ ในแตล่ ะเดอื น ท่านผู้ประกันตนซึ่งเป็น “ลูกจ้าง” ถกู หักเงนิ สมทบ กองทนุ ประกันสังคมในอัตรา 5% ของคา่ จ้าง “นายจ้าง” ของทา่ นสมทบเทา่ กันในอัตรา 5% “รัฐบาล” ชว่ ยสมทบอกี 2.75% รวมเงนิ สมทบ 12.75% จากตวั อยา่ งขา้ งตน้ ผปู้ ระกนั ตนแตล่ ะทา่ นสมทบสงู สดุ ไมเ่ กนิ 750 บาท นายจ้างสมทบด้วย 750 บาท รัฐบาลช่วยอีก 412.50 บาท รวมเป็นเงิน สมทบสูงสุดไม่เกิน 1,912.50 บาทต่อคนต่อเดอื น เน่ืองจากเรามีผู้ประกันตนในระบบจำ�นวนมากถึง 10 ล้านคน แต่ละ ท่านมีรายได้และมีเงินสมทบไม่เท่ากัน ในแต่ละเดือนสํำ�นักงานประกัน สังคมจะได้รับเงินสมทบรวมกันหลายพันล้านบาท ในแต่ละปี จึงมีเงิน สมทบทั้งจากฝ่าย “ลูกจ้าง” “นายจ้าง” และ “รัฐบาล” ไหลเข้ามาที่ กองทุนประกันสังคมประมาณ 110,000 ล้านบาท

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ขั้นตอนที่ 2 จ่ายประโยชน์ทดแทนให้ลูกจ้าง หนว่ ยงานของสำํ�นักงานประกันสังคมทม่ี ชี อ่ื วา่ “ส�ำํ นักการเงนิ การบัญชี และการลงทุน” ทำ�หน้าที่หักเงินสมทบที่จัดเก็บได้จำ�นวนหนึ่งไว้เพื่อ เตรียมเป็นค่าใช้จ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ประกันตน ครอบคลุม สิทธิประโยชน์ 7 กรณี ได้แก่ 1. ประสบอันตราย/เจ็บป่วย 2. ทุพพลภาพ 3. ตาย 4. คลอดบุตร 5. สงเคราะห์บุตร 6. ชราภาพ 7. ว่างงาน 3เชอ่ื ไหมครบั วา่ ผปู้ ระกนั ตนทอ่ี ยใู่ นระบบจำ�นวน 10 ลา้ นคนนน้ั ในแตล่ ะ ปี ไดม้ กี ารใชบ้ รกิ ารทางการแพทย์ ซง่ึ เปน็ สทิ ธปิ ระโยชนห์ มายเลข 1. เจบ็ ปว่ ย/ ประสบอนั ตราย เพยี งกรณเี ดยี ว รวมกนั มากถงึ 30 ลา้ นครง้ั หรอื กลา่ วไดว้ า่ ผ้ปู ระกันตนคนหนง่ึ ใช้สทิ ธปิ ระกันสังคมเพอ่ื ไปพบแพทย์เฉลย่ี 3 ครั้งตอ่ ปี สิทธิประโยชน์หมายเลข 2. ถึง 7. นั้น มีการใช้สิทธิรวมกันปีละเกอื บ 2 ล้านครั้ง ในแต่ละปี กองทุนประกันสังคมได้จ่ายประโยชน์ทดแทนให้ ลูกจ้างเป็นเงินประมาณ 50,000 ล้านบาท ขั้นตอนที่ 3 นำ�เงินคงเหลือไปลงทุน เงินสมทบที่จัดเก็บได้ปีละ 110,000 ล้านบาท เมื่อหักเงินจ่าย ประโยชน์ทดแทนให้ลูกจ้างปีละ 50,000 ล้านบาท ทำ�ให้มีเงินคง เหลือประมาณปีละ 60,000 ล้านบาท สำ�นักงานประกันสังคมได้ มอบหมายให้หน่วยงานภายในที่มีชื่อว่า “สำ�นักบริหารการลงทุน”

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม นำ�เงินส่วนที่เหลือนี้ไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกผล นับตั้งแต่จัดตั้งสำ�นักงานประกันสังคมเม่ือ ปี พ.ศ. 2533 จนถงึ วันน้ี เป็นเวลากวา่ 20 ปี ส�ำํ นักงานจัดเก็บเงนิ สมทบจากลกู จ้าง นายจ้าง และรัฐบาล สะสมรวมกันได้เป็นเงนิ 716,435 ล้านบาท เรานับวา่ สว่ นน้คี อื “เงนิ ต้น” ในช่วงเวลาเดียวกัน สํำ�นักงานประกันสังคมได้นำ� “เงินต้น” ที่มีไป ลงทุน จนได้รับ “ดอกผล” สะสมรวมกันเป็นเงินมากถึง 275,402 ล้าน บาท เมื่อนำ� “เงินต้น” มารวมกับ “ดอกผล” ในวันนี้เราจึงมีเงินลงทุน กองทุนประกันสังคมสะสมเป็นจำ�นวนมากถึง 991,837 ล้านบาท เงนิ ลงทนุ จำ�นวนกวา่ 9 แสนล้านบาทน้ี สว่ นใหญเ่ ป็นเงนิ ทส่ี �ำํ นักงาน 4 ประกันสังคมทำ�หน้าทเ่ี ปน็ “กระปกุ ออมสนิ ” ออมเงนิ ไว้แทนทา่ นผ้ปู ระกัน ตนในระหวา่ งทท่ี า่ นทำ�งานและมรี ายได้ แล้วรอจนถงึ วันทท่ี า่ นเกษยี ณ ทา่ นจะได้รับเงนิ ออมน้กี ลับไปในรปู ของ “บ�ำํ เหน็จ” หรอื “บ�ำํ นาญ” โดยจะ เรม่ิ มกี ารจา่ ยบ�ำํ นาญชราภาพในปี พ.ศ. 2557 เปน็ ปแี รก

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม กระปุกออมสิน ขนาด 9 แสนล้านบาท กระปุกออมสินขนาด 9 แสนล้าน เปน็ เวลาหลายปแี ลว้ ทส่ี �ำํ นกั งานประกนั สงั คมทำ�หนา้ ทเ่ีปน็ “กระปกุ ออมสนิ ” เกบ็ ออมเงนิ แทนทา่ นผปู้ ระกนั ตน จนถงึ วนั น้ี (ขอ้ มลู ณ วนั ท่ี 31 ธนั วาคม 2555) เงนิ ทเ่ี กบ็ ออมไว้ใน “กระปกุ ออมสนิ ” เตบิ โตข้นึ จนมมี ลู คา่ มากถึง 991,837 ล้านบาท สว่ นใหญเ่ ปน็ เงนิ ลงทนุ กองทนุ กรณสี งเคราะห์บตุ รและชราภาพ จ�ำํ นวน 862,055 ลา้ นบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตน จํำ�นวนกว่า 10 ล้านคน ทั่วประเทศที่สํำ�นักงานประกันสังคมสะสมไว้เตรียมจ่าย สิทธิประโยชน์กรณบี �ำํ นาญชราภาพ โดยจะเรม่ิ มกี ารจา่ ยบ�ำํ นาญชราภาพ ในปี พ.ศ. 2557 สว่ นเงนิ ลงทนุ กองทนุ กรณเี จบ็ ปว่ ย ตาย ทพุ พลภาพ คลอดบตุ ร 58,326 ลา้ นบาทและเงนิ ลงทนุ กองทนุ กรณวี า่ งงานจำ�นวน 70,189 ลา้ นบาท นน้ั 5เป็นเงินที่สํำ�รองไว้เพ่ือรองรับสิทธิประโยชน์ได้เป็นเวลาประมาณ 2 ปี ซง่ึ เป็นการสํำ�รองเงินตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพื่อรองรับเหตุการณ์วิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในอีกมุมหนึ่ง เงินที่มีอยู่ใน “กระปุกออมสิน” ไม่ได้โตขึ้นจากการจัด เก็บเงินสมทบเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากดอกผลที่สั่งสมมาจากการนำ� เงินไปลงทุนด้วย ในจำ�นวนเงนิ ลงทนุ 991,837 ล้านบาท นั้น ประกอบด้วยเงินสมทบ สะสมจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล จำ�นวน 716,435 ล้านบาท เงนิ สว่ นน้ถี อื วา่ เปน็ “เงนิ ต้น” แต่ด้วยเห็นว่า หากเราเก็บ “เงินต้น” ไว้เฉยๆ จำ�นวนเงินก็จะ เท่าเดิม สํำ�นักงานประกันสังคมจึงนำ�เงินสมทบของท่าน ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เพื่อให้เกิดดอกผลและ เป็นที่น่าภาคภูมิใจว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่สํำ�นักงานทำ�หน้าที่บริหารเงินลงทุน

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ได้สร้าง “ผลตอบแทนสะสม” ให้กับกองทุนประกันสังคมเป็นเงินมากถึง 275,402 ล้านบาท เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า หากสํำ�นักงานไม่นำ�เงินไป ลงทุน วันนี้เงินใน “กระปุกออมสิน” คงมีเพียง 7 แสนล้านบาท แต่ด้วย เรานำ�เงินไปลงทุน ทำ�ให้เงินงอกเงยขึ้นจนเป็น 9 แสนล้านบาทในวันนี้ ขอให้ท่านมั่นใจด้วยว่าดอกผลท่ีเกิดข้ึนจากการลงทุนตกเป็นของ กองทุนประกันสังคมทุกบาททุกสตางค์ หน้าที่ของสํำ�นักงาน คอื ทำ�ให้เงินใน “กระปุกออมสิน” เติบโตอย่างมั่นคง เตรียมไว้ รองรับการจ่ายบํำ�เหน็จหรือบํำ�นาญเมื่อท่านเกษียณ รวมทั้งรองรับ ภาระค่าใช้จ่ายสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเงนิ ลงทนุ จำ�นวน 9 แสนลา้ นทม่ี อี ยใู่ น “กระปกุ ออมสนิ ” นน้ั ส�ำํ นกั งาน ได้นำ�ไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล 6 พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้เอกชน ร้อยละ 80 และลงทุนใน หลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้อื่น หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ ร้อยละ 20

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 7

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ออมอย่างมั่นคงกับกองทุนประกันสังคม สํำ�นักงานประกันสังคมได้ทํำ�หน้าที่เป็น “กระปุกออมสิน” เก็บออม เงินแทนท่านผู้ประกันตนมาเป็นเวลากว่า 20 ปี จนถึงวันนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555) เงินที่เก็บออมไว้ใน “กระปุกออมสิน” เติบโต ขึ้นจนมีมูลค่ามากถึง 991,837 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนกองทุน กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จํำ�นวน 862,055 ล้านบาท ซึ่งเป็น เงินออมของผู้ประกันตน จํำ�นวนกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศที่สํำ�นักงาน ประกันสังคมสะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีบํำ�นาญชราภาพ โดย จะเริ่มมีการจ่ายบํำ�นาญชราภาพในปี พ.ศ. 2557 ส่วนเงินลงทุนกองทุน กรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร จํำ�นวน 58,326 ล้านบาท และเงินลงทุนกองทุน กรณีว่างงาน จํำ�นวน 8 70,189 ล้านบาท นั้น เป็นเงินที่สํำ�รองไว้เพ่ือรองรับสิทธิประโยชน์ได้ เป็นเวลาประมาณ 2 ปี ซึ่งเป็นการสํำ�รองเงินตามมาตรฐานขององค์การ แรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพ่ือรองรับเหตุการณ์วิกฤตที่อาจจะเกิด ขึ้นได้ในอนาคต เงินก้อนสุดท้ายเป็นเงินลงทุนกองทุนประกันสังคมตาม มาตรา 40 (แรงงานนอกระบบ) จํำ�นวน 1,267 ล้านบาท โดยเงนิ ลงทนุ ทั้งหมดน�ำํ ไปลงทนุ ในหลักทรัพย์ทม่ี คี วามมัน่ คงสงู ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวสิ าหกจิ และห้นุ ก้เู อกชน ร้อยละ 80 และ ลงทนุ ในหลักทรัพย์ทม่ี คี วามเสย่ี ง ได้แก่ เงนิ ฝากธนาคาร ตราสารหน้อี น่ื หนว่ ยลงทนุ และหุ้นสามัญ ร้อยละ 20 หากแบ่งสัดส่วนตามภูมิภาค กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนใน ประเทศไทยร้อยละ 97 และมีเงินลงทุนในต่างประเทศร้อยละ 3 ส่วน ของการลงทุนในต่างประเทศนี้เป็นพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ หุ้นกู้เอกชนต่างประเทศที่มีความมั่นคงทั้งหมด

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ผลตอบแทนการลงทุน ในปี 2555 กองทุนประกันสังคมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน จํำ�นวน 40,304 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งได้รับ ผลตอบแทน 36,062 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2556 กองทุนน่าจะได้รับ ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า 40,000 ล้านบาท ท่านผู้อ่านคงทราบหลักการ High Risk High Return แล้วใช่ไหม ครับ การลงทุนในตราสารหนี้ต่างๆ (ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร รัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้เอกชน) มีความเสี่ยงต่ํำ� และมีผลตอบแทนต่ํำ� กองทุนประกันสังคมได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยจากตราสารหนี้ประมาณ 4.00% ต่อปี นับได้ว่าสูงกว่าการเอาเงินไปฝากธนาคาร แต่ก็ยังไม่ได้เป็น ตัวเลขที่สูงมากนัก ส่วนการลงทุนในตราสารทุน หรอื หุ้น มีความเสี่ยงสูงจากความ 9ผันผวนของราคาในระยะสั้น แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่สูงคุ้มค่ากับความ เสี่ยงหากลงทุนในระยะยาว ใน 5 ปีที่ผ่านมา กองทุนได้รับผลตอบแทน จากหุ้นเฉลี่ยปีละ 22.87% มากกว่าผลตอบแทนตราสารหนี้ถึง 5 เท่า (อย่าลมื นะครับว่า ช่วง 5 ปีนี้รวมปี 2008 ที่มีวิกฤตทางการเงินและ ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนติดลบเกือบ 40%) ทั้งนี้ นับตั้งแต่จัดตั้งสํำ�นักงานประกันสังคมเม่ือปี พ.ศ. 2533 กองทุนประกันสังคมมีเงินสมทบสะสมจํำ�นวน 716,435 ล้านบาท เงิน ดังกล่าวได้นํำ�ไปลงทุนและได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสะสมจํำ�นวน 275,402 ล้านบาท โดยมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 7.55% ต่อปี

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 10

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 11

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 12

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ส่วนที่ 2 : ออมอุ่นใจกับกองทุน ประกันสังคมกรณีชราภาพ13

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม รู้จักระบบการออมในประเทศไทย ท่านผู้อ่านคงจะจํำ�ได้แล้วนะครับว่า ในแต่ละเดอื นที่ท่านผู้ประกัน ตนจํำ�นวนกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศถูกหักเงินเดือนเพื่อสมทบเข้า กองทุนประกันสังคมนั้น ท่านได้สร้างระบบการ “ออม” เพ่ือการเกษียณ ของตัวท่านเองด้วย โดยในจํำ�นวนเงินสมทบ 5% ที่ท่านส่งสมทบเข้า กองทุนประกันสังคมนั้น 3% เป็นเงินออมกรณีชราภาพ นายจ้างช่วย สมทบอีก 3% รวมเป็น 6% ซึ่งสํำ�นักงานประกันสังคมเก็บสะสมไว้เตรียม จ่ายเป็นบํำ�เหน็จหรือบํำ�นาญเม่ือท่านเกษียณ ปัจจุบันเงินออมของท่าน เติบโตจนมีจํำ�นวนมากกว่า 8 แสนล้านบาท ในตอนนี้ ผมขอนํำ�ท่านไปรู้จักระบบการ “ออม” เพื่อเกษียณในภาพ รวมของประเทศไทยกันนะครับ ท่านจะได้เห็นภาพว่า การที่ได้ออมกับ 14 กองทนุ ประกันสังคมนั้น เหมอื นหรอื แตกตา่ งจากระบบการออมอน่ื อยา่ งไร ยอดเงินออมสะสม ครอบคลุม ณ สิ้นปี 2554โดย ประมาณ (ล้านบาท) การออมภาคบังคับ กองทุนบำ�เหน็จบำ�นาญข้าราชการ ข้าราชการ 400,000 (ไม่รวมเงินสำ�รอง) 1,200,000 คน กองทุนประกันสังคม (กรณีชราภาพ) พนักงานเอกชน 800,000 10,000,000 คน การออมภาคสมัครใจ พนักงานเอกชนและ 600,000 กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ รัฐวิสาหกิจ 2,200,000 คน การซื้อประกันชีวิต กรมธรรม์ประกันชีวิต 1,300,000 (ยอดเงินลงทุนของบริษัทประกันชีวิต) จำ�นวน 15,000,000 ฉบับ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 80,000 กองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) 130,000 รวม 3,310,000

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 1. การออมภาคบังคับ ประกอบด้วย - กองทุนบํำ�เหน็จบํำ�นาญข้าราชการ (กบข.) ครอบคลุมสมาชิกที่ เป็นข้าราชการจํำ�นวนประมาณ 1.2 ล้านคน และมีเงินสะสมประมาณ 400,000 ล้านบาท ข้าราชการทเ่ี ป็นสมาชกิ กบข. จะถกู หักเงนิ สะสม 3% ของเงินเดือน รัฐบาล (ในฐานะนายจ้าง) จ่ายเงินสมทบให้อีก 3% รวม เป็น 6% เมื่อเกษียณจะได้รับ “บํำ�เหน็จ” เป็นเงินก้อนจาก กบข. เท่ากับ เงินสะสมและเงินสมทบข้างต้น บวกดอกผลจากการลงทุน (ในบางกรณี อาจจะได้เงินชดเชยและเงินประเดิมเพิ่มเติมด้วย) - กองทุนประกันสังคม (กรณีชราภาพ) ครอบคลุมสมาชิกที่เป็น ลูกจ้างในภาคเอกชน จํำ�นวนประมาณ 10 ล้านคน มีเงินสะสมประมาณ 800,000 ล้านบาท ลูกจ้างจะถูกหักเงินสมทบ 3% ของเงินเดอื น (เงิน เดือนขั้นต่ํำ� 1,650 บาท - ขั้นสูง 15,000 บาท) นายจ้างสมทบให้อีก 3% 15รวมเป็น 6% เม่ือเกษียณ หากสมทบมากกว่า 1 ปีแต่ไม่ครบ 15 ปี จะได้ รับ “บํำ�เหน็จ” เป็นเงินก้อนเท่ากับเงินสมทบของตนเองและของนายจ้างที่ สะสมไว้บวกดอกผลจากการลงทุน หากสมทบตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจะได้รับ “บำ�นาญ” จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต จะสังเกตได้ว่า จากจํำ�นวนกํำ�ลังแรงงาน 35 ล้านคนนั้น มีผู้ที่อยู่ใน ระบบการออมภาคบังคับประมาณ 11 ล้านคน คอื ข้าราชการและลูกจ้าง ในภาคเอกชน เรียกกันว่าเป็นแรงงานในระบบ (Formal Sector) 2. การออมภาคสมัครใจ มีไว้เพ่ือรองรับผู้ท่ียังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพ่ือวัยเกษียณภาคบังคับ แรงงานนอกระบบ (Informal Sector) หรอื มสี วัสดกิ ารดังกลา่ ว แตต่ ้องการ ออมเพม่ิ เตมิ ประกอบด้วย

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม - กองทนุ ส�ำํ รองเล้ยี งชพี ครอบคลมุ สมาชกิ ทเ่ี ป็นพนักงานรัฐวสิ าหกจิ และลูกจ้างในภาคเอกชนจํำ�นวนประมาณ 2.2 ล้านคน มีเงินสะสม ประมาณ 600,000 ล้านบาท โดยลูกจ้างสมัครใจให้หัก “เงินสะสม” และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ” เมื่อเกษียณ จะได้รับ “บํำ�เหน็จ” เป็นเงินก้อน เท่ากับเงินสะสมและเงินสมทบข้างต้น บวกดอกผลจากการลงทุน - การซื้อประกันชีวิต ปัจจุบันมีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีผล บังคับจำ�นวน 15 ล้านฉบับ อาจจะอนุโลมได้ว่ามีผู้เอาประกัน ประมาณ 10 – 12 ล้านคน มียอดเงินออมที่เกิดจากการซื้อประกัน ชีวิตประมาณ 1,300,000 ล้านบาท (คํำ�นวณจากเงินลงทุนของ บริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทในระบบ) การซื้อประกันชีวิตเป็นการส่ง 16 เสริมให้ผู้ซื้อกรมธรรม์ออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ โดยมีการกํำ�หนดให้ ผู้เอาประกันต้องจ่ายเบื้ยประกันตามระยะเวลาที่กำ�หนด หลังจาก นั้นสามารถหยุดส่งเบี้ยประกัน โดยได้รับความคุ้มครองชีวิตต่อไปและ ทยอยได้รับเงินคืนในอนาคต สามารถเลือกแบบกรมธรรม์ที่จ่ายผล ประโยชน์เมื่ออายุถึงวัยเกษียณได้ - กองทุนรวมเพ่ือการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรอื RMF) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการออมเงินระยะยาว เพื่อวัยเกษียณ โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่มีข้อแม้ว่า (1) ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่องโดยซื้อหน่วยลงทุน RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง (2) ต้องลงทุนขั้นต่ํำ� 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท แล้ว แต่จํำ�นวนใดจะต่ํำ�กว่า (3) ต้องไม่หยุดซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อ กัน และ (4) ขายคนื หน่วยลงทุนเมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ํำ�กว่า 55 ปี และ ลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ณ สิ้นปี 2554 มียอดเงินออมในกองทุน RMF ประมาณ 80,000 ล้านบาท

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม - กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund หรือ LTF) เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้นเพ่ือส่งเสริมให้เกิดการออมเงินระยะ ยาว ถึงแม้ว่า LTF จะไม่มีข้อบังคับเรื่องอายุ 55 ปีเหมอื น RMF แต่การ ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระยะยาวก็ทํำ�ให้ถือได้ว่า LTF เป็นเครื่องมอื อย่างหนึ่งในการออมเพื่อเกษียณเช่นเดียวกัน โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิ ประโยชน์ทางภาษี แต่มีข้อแม้ว่า (1) ต้องถอื หน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน และ (2) สามารถลงทุนได้สูงสุด 15% ของเงินได้ในแต่ละปี แต่ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ณ สิ้นปี 2554 มียอดเงินออม ในกองทุน LTF ประมาณ 130,000 ล้านบาท 17

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นมา แรงงานนอก ระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีคุณสมบัติ คอื มีอายุตั้งแต่ 15 – 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนหรือลูกจ้าง สามารถสมัครเป็น ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ โดยหากเลอื กทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท (ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท/เดือน รัฐบาลร่วมจ่าย 50 บาท/เดือน) เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีบํำ�เหน็จชราภาพ โดยจะ ได้รับบํำ�เหน็จจากเงินออมบวกดอกผลจากการลงทุนเป็นเงินก้อนเม่ืออายุ ครบ 60 ปีบริบูรณ์ นับเป็นการออมภาคสมัครใจรูปแบบใหม่ครับ จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่า คนไทยมีเงินออมเพื่อเกษียณรวมกัน ประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 18 ระบบการออมทั้งหมดข้างต้น นอกจากจะถูกออกแบบไว้เพื่อส่งเสริมให้ เกิดการออมเงินในขณะที่ยังมีรายได้ เพื่อให้มีเงินใช้ในยามเกษียณแล้ว ยังมีลักษณะคล้ายกันอีกอย่างหนึ่งคือ เงินที่ออมหรือสะสมเข้ากองทุน ต่างๆ เหล่านี้ได้รับการยกเว้นภาษี (อาจจะมีเพดานในบางกรณี) และเม่ือ เกษียณ ผลประโยชน์ที่ได้รับก็ได้รับการยกเว้นภาษีเช่นกัน

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกองทุนบํำ�นาญ ในตอนที่แล้วผมได้ปูพ้ืนภาพรวมระบบการออมต่างๆ ในประเทศไทย แล้ว คราวนี้เรามาเจาะลึกการออมกับกองทุนบํำ�นาญกันครับ กองทุนบำ�นาญคืออะไร กองทุนบำ�นาญเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นสำ�หรับสมาชิกเพ่ือให้สมาชิก ได้ออมเงินในขณะที่ยังมีงานทํำ�และมีรายได้ เพื่อให้มีเงินบำ�เหน็จหรือ บำ�นาญในวัยเกษียณ ซึ่งจะเป็นช่วงที่ไม่ได้ทํำ�งานและไม่มีรายได้ กองทุน บำ�นาญจึงมีบทบาทสำ�คัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ กำ�ลังจะมีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะจะเป็นการส่ง เสริมให้ออมเงินด้วยตนเองเพื่อให้มีบำ�นาญสำ�หรับตนเองในอนาคต กองทุนบํำ�นาญมีรูปแบบใดบ้าง 19 กองทุนบํำ�นาญทั่วโลกแบ่งเป็น 2 แบบหลักๆ คอื 1. กองทุนแบบกํำ�หนดประโยชน์ทดแทน (Defined Benefit หรือ DB) เป็นกองทุนที่กํำ�หนดสูตรบํำ�นาญที่สมาชิกจะได้รับ โดยสมาชิกแต่ละ คนจะได้รับบํำ�นาญมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการส่งเงินสมทบ และรายได้ โดยผู้บริหารกองทุน (เรียกว่า Plan Sponsor) มีภาระหน้าที่ และต้องรับความเสี่ยงในการจัดหาเงินมาให้พอจ่ายบำ�นาญ ในหลาย ประเทศทั่วโลกใช้กองทุนรูปแบบนี้กับระบบบำ�นาญภาคบังคับที่วาง ไว้ให้เป็นการดูแลขั้นพื้นฐาน ซึ่งตามโมเดลของธนาคารโลกใช้คำ�ว่า เสาหลักแรก (Pillar I) คือเป็นกองทุนบำ�นาญภาคบังคับที่บริหาร โดยภาครัฐเพื่อการกระจายรายได้และเพื่อขจัดความยากจน รวมทั้ง เพื่อลดภาระของรัฐในการดูแลผู้สูงอายุ

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ตัวอย่างของกองทุนแบบ DB ในประเทศไทยก็คือ กองทุนประกัน สังคมกรณีชราภาพ ซึ่งกํำ�หนดสูตรเงินบํำ�นาญไว้ว่า สมาชิกหรือ ผู้ประกันตนที่อายุครบ 55 ปีขึ้นไป เกษียณจากการทํำ�งาน และสมทบ มาแล้วไม่ต่ํำ�กว่า 180 เดือน มีสิทธิรับ “บํำ�นาญ” เท่ากับร้อยละ 20 ของเงนิ เดอื นเฉลย่ี 60 เดอื นสดุ ท้าย (คำ�นวนจากรายได้ขั้นต่ํำ� 1,650 บาท และไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน) หากสมทบเกินกว่า 15 ปี ทุกๆ ปี ที่สมทบเพิ่ม จะได้รับบำ�นาญส่วนเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ของเงินเดือน เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 20 เช่น ผู้ประกันตนที่มีเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาทและสมทบเป็น เวลา 30 ปี จะได้รับบํำ�นาญเท่ากับ (20% x 15,000) + (1.5% x 15 ปี ที่สมทบเพิ่ม x 15,000) = 3,000 + 3,375 = 6,375 บาทต่อเดือน โดยรับเป็นรายเดือนเดือนละ 6,375 บาท ตลอดชีวิต ผู้ประกันตนที่อายุครบ 55 ปีขึ้นไป เกษียณจากการทำ�งาน และ สมทบมาแล้วไม่ต่ำ�กว่า 12 เดือนแต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับ “บํำ�เหน็จ” เป็นเงินก้อนเท่ากับเงินสมทบของตนเองและนายจ้างที่สะสมไว้ ก่อนเกษียณ บวกดอกผลจากการลงทุน เงินที่จะเอามาจ่ายเป็นบํำ�เหน็จและบํำ�นาญนี้มาจากเงินสมทบของ ผู้ประกันตนร้อยละ 3 ของเงินเดือน รวมกับของนายจ้างอีกร้อยละ 3 เป็น ร้อยละ 6 ต่อเดือน

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม นับตั้งแต่เริ่มให้มีสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพเมื่อปี พ.ศ. 2541 สํำ�นักงานประกันสังคมได้ทํำ�หน้าที่จัดเก็บเงินออมของท่านผู้ประกัน ตนแล้วนํำ�ไปลงทุนเพื่อให้เงินของท่านเติบโตขึ้น จนถึงปัจจุบัน กองทุน ประกันสังคมกรณีชราภาพมีเงินสะสมมากกว่า 800,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตน จํำ�นวนกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ ที่ สํำ�นักงานประกันสังคม สะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีบํำ�เหน็จ หรือบํำ�นาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายบํำ�นาญชราภาพในปี พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ บํำ�เหน็จและบํำ�นาญของข้าราชการที่จ่ายโดย กรมบัญชีกลางก็อาจถอื ได้ว่าเป็นบํำ�นาญแบบ Defined Benefit เช่นกัน แต่เป็นแบบที่เรียกว่า pay as you go คือไม่ได้จัดเก็บเงินสมทบไว้แต่ แรก รัฐบาลจะตั้งงบประมาณมาจ่ายก็ต่อเมื่อข้าราชการเกษียณ 21 2. กองทนุ แบบก�ำํ หนดเงนิ สมทบ (Defined Contribution หรือ DC) เป็นกองทุนที่กำ�หนดเงินสมทบที่สมาชิกและนายจ้างจะต้องจ่ายเข้า กองทุนในแต่ละเดือน แต่ไม่กำ�หนดว่าเมื่อเกษียณจะได้รับเงินคืน เท่าไร โดยส่วนใหญ่สมาชิกกองทุนบำ�นาญแบบ DC เมื่อเกษียณจะ ได้รับบำ�เหน็จเป็นเงินก้อน เท่ากับส่วนที่ตนเองสมทบบวกส่วนที่ นายจ้างสมทบและดอกผลจากการลงทุน กองทุนแบบ DC มีการแยกบัญชีเงินออมของสมาชิกแต่ละคน (ต่างจาก กองทุนแบบ DB ที่นํำ�เงินสมทบมา กองรวมกัน เม่ือเกษียณก็จะได้รับ เงินบํำ�นาญที่จ่ายจากเงินกองกลาง) ในหลายประเทศใช้กองทุนแบบ DC นี้ กับระบบบำ�นาญที่ต่อยอดจากบำ�นาญขั้นพื้นฐาน ซึ่งเรียกกันว่า

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม เสาหลักที่สอง (Pillar I) คือ กองทุนบํำ�นาญที่บริหารโดยภาคเอกชน และจัดตั้งโดยนายจ้างหรือกลุ่มวิชาชีพ และเสาหลักที่สาม (Pillar II) คอื ระบบการออมภาคสมัครใจที่บริหารโดยภาคเอกชน ลักษณะที่สํำ�คัญของกองทุนแบบ DC คือสมาชิกกองทุนเป็นผู้รับความ เสี่ยงหากการบริหารกองทุนล้มเหลวหรือขาดทุน จนทํำ�ให้เงินออมใน บัญชีของตนเองสูญหายไปและไม่มีเงินบํำ�เหน็จพอใช้เมื่อเกษียณ ตัวอย่างของกองทุนแบบ DC ในประเทศไทยคือ กองทุนบํำ�เหน็จ บํำ�นาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งกํำ�หนดให้ข้าราชการ (ในฐานะลูกจ้าง) จ่าย “เงินสะสม” เข้ากองทุนร้อยละ 3 ต่อเดือน และให้รัฐบาล (ในฐานะ นายจ้าง) จ่าย “เงินสมทบ” เข้ากองทุนร้อยละ 3 ต่อเดือน เมื่อเกษียณ ข้าราชการจะได้รับ “บํำ�เหน็จ” เป็นเงินก้อนเท่ากับเงินสะสม เงินสมทบ 22 และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวจาก กบข. (ในบางกรณีอาจจะ ได้เงินชดเชยและเงินประเดิมเพิ่มเติมด้วย) โปรดสังเกตว่า ข้าราชการยังคง ได้รับบํำ�เหน็จหรือบํำ�นาญตามสิทธิจากกรมบัญชีกลาง แต่เงินที่สะสมกับ กบข. เป็นเงินออมส่วนเพิ่มที่ข้าราชการจะได้รับกลับคืนไปเป็นเงินก้อนเม่ือ เกษียณ กองทุนบํำ�เหน็จบํำ�นาญข้าราชการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 ปัจจุบันมีเงินลงทุนสะสม (ไม่รวมเงินสํำ�รอง) ประมาณ 400,000 ล้าน บาท ครอบคลุมสมาชิกที่เป็นข้าราชการจํำ�นวนประมาณ 1.2 ล้านคน นอกจากนี้ กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพซึ่งจัด ตั้งขึ้นโดยภาคเอกชนเพื่อเป็นสวัสดิการของ พนักงานก็จัดว่าเป็นกองทุนบำ�นาญแบบ DC คือ ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม” และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม “เงนิ สมทบ” เมอ่ื เกษยี ณก็จะได้รับบ�ำํ เหนจ็ เปน็ เงนิ ก้อน จ�ำํ นวนเทา่ กับเงนิ สะสม เงนิ สมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนของเงนิ ดังกลา่ ว ปจั จบุ นั กองทนุ ส�ำํ รองเลย้ี งชพี มเี งนิ สะสมประมาณ 600,000 ลา้ นบาท ครอบคลุมสมาชิกที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างในภาคเอกชน จํำ�นวนประมาณ 2.2 ล้านคน 23

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 3 เสาหลักระบบบํำ�นาญ ธนาคารโลกได้จัดกลุ่มระบบบํำ�นาญออกเป็น 3 เสาหลัก (Three Pillars) ที่เกื้อหนุนกัน ได้แก่ เสาหลักที่ 1 (Pillar I) เป็นระบบการออมภาคบังคับที่บริหาร จัดการโดยภาครัฐ มีจุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ ขจัดความ ยากจน และลดภาระของรัฐในการดูแลผู้สูงอายุ ส่วนมากจะเป็น กองทุนกํำ�หนดประโยชน์ทดแทนเป็นสูตรบํำ�นาญชัดเจน (Defined Benefit หรอื DB) ในประเทศไทย กองทุนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คอื 24 กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ซึ่งครอบคลุมลูกจ้างในภาค เอกชนจํำ�นวน 10 ล้านคน เสาหลักที่ 2 (Pillar I) เป็นระบบการออมภาคบังคับที่จัดตั้งและ บริหารโดยภาคเอกชนหรอื กลุ่มวิชาชีพ ส่วนใหญ่เป็นกองทุนแบบ กํำ�หนดอัตราเงินสมทบให้สมาชิกและนายจ้างจะต้องจ่ายเข้ากองทุน ในแต่ละเดอื น (Defined Contribution หรอื DC) เม่ือเกษียณจะ ได้รับเงินคืนเท่ากับส่วนที่ตนเองสมทบบวกส่วนที่นายจ้างสมทบ และดอกผลจากการลงทุน ในประเทศไทย กองทุนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ กองทุนบํำ�เหน็จบํำ�นาญข้าราชการ ซึ่งครอบคลุมข้าราชการ จํำ�นวน 1.2 ล้านคน และกองทุนสํำ�รองเลี้ยงชีพ ซึ่งครอบคลุม พนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างในภาคเอกชนจํำ�นวนประมาณ 2.2 ล้านคน

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม เสาหลักที่ 3 (Pillar II) เป็นระบบการออมภาคสมัครใจที่ประชาชน 25 เลอื กออมเอง ส่วนใหญ่เป็นการออมเพิ่มเติมต่อยอดจากระบบการออม ภาคบังคับที่ตนเองมีอยู่แล้ว ในประเทศไทย การออมที่อยู่ในกลุ่มนี้มี ให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย ได้แก่ การซ้ือประกันชีวิต การซ้ือกองทุน รวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) การซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) รวมทั้งการฝากธนาคารและการออมเงินระยะยาวรูปแบบอ่ืนๆ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยของเราโชคดีมากนะครับที่มีระบบการ ออมครบทั้ง 3 เสาหลัก และน่าดีใจว่ามีคนไทยจํำ�นวนมากที่มีระบบ การออมมากกว่า 1 รูปแบบ เช่น พนักงานเอกชนจํำ�นวนนับล้าน คนนอกจากได้ออมกับ กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ (เสาหลัก ที่ 1) แล้วยังมีเงินออมกับกองทุนสํำ�รองเลี้ยงชีพ (เสาหลักที่ 2) แถม ซ้ือประกันชีวิตอีก (เสาหลักที่ 3) ... ยิ่งออมมาก ก็ยิ่งทํำ�ให้ตัวเอง เกษียณอย่างสบายครับ

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม สทิ ธปิ ระโยชนท์ ท่ี า่ นไดร้ บั จากกองทนุ ประกนั สงั คม ท่านทราบหรือไม่ว่า เงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ท่านถูกหัก 5% จากเงินเดอื นทุกเดือน ท่านจะได้อะไรกลับมาบ้าง เพ่ือให้เข้าใจง่าย ผมขอ ยกตัวอย่างเป็นตัวเลขนะครับ สมมติว่าท่านมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป เน่ืองจาก กองทุนประกันสังคมมีเพดานการจัดเก็บเงินสมทบจากฐานค่าจ้างสูงสุด อยู่ที่ 15,000 บาท ท่านที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จึงสมทบ ในอัตรา 5% ของเพดานค่าจ้าง 15,000 บาท เป็นจํำ�นวนรวม 750 บาท นายจ้างของท่านสมทบอีก 5% คิดเป็นเงิน 750 บาท รัฐบาลช่วยสมทบ อีก 2.75% คิดเป็นเงิน 412.50 บาท ซึ่งเงินสมทบทั้งหมดดูแลสิทธิของ ท่านดังนี้ 26

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม เงินสมทบส่วนแรกจํำ�นวน 225 บาท กับเงินสมทบในส่วนหลัง จํำ�นวน 75 บาทนั้น ถูกหักเพ่ือการคุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรอื เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย อันมิใช่เนื่องจากการทํำ�งาน คลอดบุตร และ ว่างงาน เงินสมทบในส่วนนี้เปรียบเสมอื นการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต หาก ท่านไม่ได้ใช้สิทธิกรณีใดเลยในขณะนี้ เงินสมทบในส่วนนี้จะถูกนํำ�ไป รวมเป็นเงินกองกลาง เพื่อใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหรอื จ่ายเป็นเงิน ประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้ให้แก่เพื่อนๆ สมาชิกที่เป็นผู้ประกันตน เม่ือต้องประสบความเดือดร้อนจากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร หรอื ว่างงาน ตามหลักการ “เฉลย่ี ทกุ ข์ – เฉลย่ี สขุ ” ซึ่งกันและกัน ส�ำํ หรับเงนิ สมทบกรณสี งเคราะห์บตุ ร เป็นสว่ นทร่ี ัฐบาลจา่ ยสนับสนนุ ให้กับผู้ประกันตนในอัตราร้อยละ 1 คิดเป็นเงิน 150 บาทต่อเดือน 27เงินสมทบกรณีชราภาพ เป็นการหักเงินสมทบเพ่ือ“การออม” โดยผู้ ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบร้อยละ 3 และนายจ้างสมทบร้อยละ 3 รวม เป็นร้อยละ 6 ของทุกเดือน หมายเหตุ: สํำ�หรับปี พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2556 คณะกรรมการ ประกันสังคมได้มมี ตปิ รับลดอัตราเงนิ สมทบ ตัวเลขเงนิ ท่ที า่ นสมทบจรงิ จึงต่ํำ�กว่าที่เห็นในตารางครับ

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ออมเพื่อเกษียณกรณกับีชกราอภงทาพุนประกันสังคม ในจํำ�นวนเงินสมทบ 5% ที่ท่านส่งสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น 3% เป็นเงินออมกรณีชราภาพ นายจ้างช่วยสมทบอีก 3% รวมเป็น 6% ซึ่ง สํำ�นักงานประกันสังคมเก็บสะสมไว้เตรียมจ่ายเป็นบํำ�เหน็จหรือบํำ�นาญ เม่ือท่านเกษียณ ปัจจุบันเงินออมของท่านผู้ประกันตนจํำ�นวนมากกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ ได้เติบโตขึ้นจนมีจำ�นวนรวมกันมากกว่า 8 แสนล้านบาท ขอยกตัวอย่างเป็นตัวเลขนะครับ ท่านที่มีรายได้ 15,000 บาทต่อ เดือนขึ้นไป ท่านจะได้ออมด้วยการสมทบกับกองทุนประกันสังคมในอัตรา 3% ของเพดานค่าจ้าง 15,000 บาท คิดเป็นเงิน 450 บาท (หรือเฉลี่ย 28 วันละ 15 บาท) นายจ้างสมทบอีก 450 บาท รวม 900 บาทต่อเดือน เงินออมดังกล่าวถูกสะสมไว้กับกองทุนประกันสังคม ผู้ประกันตนจะ ได้รับคืนเป็นประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเม่ืออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยจะได้รับเป็นเงินก้อน ซึ่งเรียก ว่า “เงินบํำ�เหน็จชราภาพ” ในกรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ครบ 180 เดือน หรอื รับเป็นรายเดือน ซึ่งเรียกว่า “เงินบํำ�นาญชราภาพ” ใน กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพครบ 180 เดือนขึ้นไป (เริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 31 ธันวาคม 2541) ประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. ท่านที่สมทบไม่ครบ 12 เดือน (เทียบเท่ากับ 1 ปี) มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือตาย หรือ เป็นผู้ทุพพลภาพ ท่านมีสิทธิได้รับเงิน“บำ�เหน็จ”ซึ่งเป็นเงินก้อน จำ�นวนเท่ากับเงินสมทบส่วนที่ท่านสมทบจริงกลับคนื ไป

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม - ตัวอย่าง ท่านที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ซึ่งสมทบเดือน ละ 450 บาท หากสมทบเป็นเวลา 10 เดือน แล้วเกษียณก็จะได้รับ บํำ�เหน็จจํำ�นวน 450 x 10 = 4,500 บาท 2. ท่านที่สมทบตั้งแต่ 12 เดอื นขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน (เทียบ เท่ากับ 15 ปี) มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง หรือตาย หรอื เป็นผู้ทุพพลภาพ ท่านมีสิทธิได้รับเงิน “บ�ำํ เหนจ็ ” ซึ่งเป็นเงินก้อน จํำ�นวนเท่ากับเงินสมทบส่วนที่ท่านและนายจ้างสมทบ กลับคืนไปบวกดอกผลจากการลงทุนในช่วงเวลาที่ท่านสมทบเข้ากองทุน ตามที่สํำ�นักงานประกันสังคมประกาศกํำ�หนด - ตัวอย่าง ท่านที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไปและสมทบเข้า กองทุนกรณีชราภาพเป็นเวลา 10 ปี ท่านจะมีสิทธิได้รับบํำ�เหน็จเป็นเงิน ประมาณ (450 x 2) x 12 เดอื น x 10 ปี = 108,000 บาท ที่ใช้คํำ�ว่า 29ประมาณเพราะท่านจะได้รับเงินบํำ�เหน็จมากกว่านี้หากรวมดอกผลจาก การลงทุน - โปรดสังเกตว่า เงินบํำ�เหน็จเท่ากับจํำ�นวนเงินที่ท่านและนายจ้าง สมทบจริง ท่านที่มีรายได้และเงินสมทบไม่คงที่จำ�เป็นต้องตรวจสอบ ย้อนหลังจากตัวเลขที่ท่านสมทบจริง ไม่สามารถคํำ�นวณตามตัวอย่าง ข้างต้นได้ครับ 3. ท่านที่สมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดอื น (เทียบเท่ากับ 15 ปี) ไม่ ว่าระยะเวลา 180 เดอื นจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ท่านมีสิทธิได้รับเงิน“บํำ�นาญ”จ่าย เป็นรายเดอื นและได้รับไปตลอดชีวิต เงินบํำ�นาญที่ได้รับคํำ�นวณตามสูตร เท่ากับร้อยละ 20 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดอื นสุดท้าย และทุกๆ 12 เดือนที่สมทบเพิ่ม (คอื ตั้งแต่ปีที่ 16 เป็นต้นไป) ท่านจะได้รับโบนัสส่วน เพิ่ม เท่ากับร้อยละ 1.5 ของเงินเดือนเฉลี่ย

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม - ตัวอย่างที่ 1 ท่านที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไปและสมทบเข้า กองทุนกรณีชราภาพเป็นเวลา 15 ปี จะได้รับบํำ�นาญจํำ�นวน (15,000 x 20%) = 3,000 บาทต่อเดือน - ตัวอยา่ งท่ี 2 ทา่ นทม่ี รี ายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทข้นึ ไปและสมทบเปน็ เวลา 30 ปี จะได้รับบำ�นาญจำ�นวน (15,000 x 20%) + (15,000 x 15 ปที ส่ี มทบเพิ่ม x 1.5%) = 3,000 + 3,375 = 6,375 บาทต่อเดือน - กรณีผู้รับเงินบํำ�นาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแตเ่ ดอื นทม่ี สี ทิ ธไิ ด้รับเงนิ บํ�ำ นาญชราภาพ ให้จ่ายเงนิ บ�ำํ เหน็จชราภาพ จํำ�นวน 10 เท่าของเงินบํำ�นาญชราภาพรายเดอื นที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อน ถึงแก่ความตาย 30

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ประโยชน์ 9 ข้อ เม่ือออมกับกองทุนประกันสังคม การที่ท่านได้ทยอยออมเงินกับกองทุนประกันสังคมนั้นมีประโยชน์ มากถึง 9 ข้อ ดังนี้ 1. ได้ออมเงินแบบอัตโนมัติ การถูกหักเงินเพ่ือสมทบกับกองทุนประกัน สังคมเป็นประจํำ�ทุกเดือนนั้น เป็นการสร้างวินัยการออมให้กับตนเอง โดย ในแต่ละเดือนท่านจะได้ออมกับกองทุนประกันสังคมเพียง 3% ของค่าจ้าง มีเพดานไม่เกิน 15,000 บาท ดังนั้น จํำ�นวนเงินออมสูงสุดที่แต่ละท่าน จะส่งเข้ากองทุนคือ 450 บาทต่อเดอื นเท่านั้น การมีระบบบังคับออมกับ กองทุนประกันสังคมทํำ�ให้ท่านมั่นใจว่า ในแต่ละเดือนที่ท่านมีรายได้ จะมี เงินส่วนหนึ่งของรายได้ (ไม่เกิน 450 บาท) ถูกหักออกไปก่อนเพ่ือเป็นเงิน ออม เหลอื เท่าไหร่จึงนํำ�มาใช้จ่าย หากไม่มีระบบนี้ คนส่วนใหญ่ก็มักจะอด ไม่ได้ที่จะนํำ�เงินไปใช้จ่ายจนหมด ไม่เหลือเก็บออม 312. ได้มีนายจ้างช่วยสมทบด้วย นอกจากท่านจะได้ออมกับกองทุน ประกันสังคมสูงสุด 450 บาทต่อเดือนแล้ว นายจ้างของท่านยังช่วยสมทบ ด้วยในจํำ�นวนเงินที่เท่ากัน การมีระบบประกันสังคมของไทยจึงช่วย ส่งเสรมิ ให้เกดิ ระบบการออมทเ่ี กดิ จากการช่วยเหลอื กันทั้งฝ่ายลกู จ้างและ ฝ่ายนายจ้าง เพ่ือให้ลูกจ้างมีสวัสดิการที่ดีในอนาคต ดังนั้น เมื่อรวมกับ เงินสมทบของนายจ้างอีก 3% ของค่าจ้าง นายจ้างจึงช่วยสมทบให้ท่านอีก ในจํำ�นวนเท่ากับที่ท่านสมทบ คอื สูงสุด 450 บาทต่อเดอื น ท่านจึงมีเงิน ออมกับกองทุนประกันสังคมสูงสุด 900 บาทต่อเดอื น 3. ได้นํำ�เงินออมไปลงทุนให้งอกเงย เมื่อสํำ�นักงานประกันสังคมได้รับ เงินออมที่ท่านสมทบแล้ว ก็จะนํำ�ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ที่มีความ มั่นคง เพื่อให้เงินของท่านงอกเงย รองรับภาระการจ่ายบํำ�เหน็จหรือ บํำ�นาญให้กับท่านในอนาคต โดยในปี พ.ศ. 2554 กองทุนประกันสังคม ได้รับดอกผลจากการลงทุนจํำ�นวน 36,062 ล้านบาท สํำ�หรับงวด 6

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม เดือนแรกของปี พ.ศ. 2555 กองทุนได้รับดอกผลจากการลงทุนจํำ�นวน 21,139 ล้านบาท 4. ได้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ� ด้วยเหตุที่กองทุน ประกันสังคมเป็นนักลงทนุ สถาบันรายใหญ่ จงึ มคี วามได้เปรยี บในการจัดหา แหลง่ ลงทนุ เมอ่ื เทยี บกับประชาชนทัว่ ไป ตัวอยา่ งทเ่ี ห็นได้ชัดกค็ อื ประชาชน ส่วนใหญ่เม่ือมีเงินเหลอื เก็บก็มักจะนํำ�ไปฝากธนาคาร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ดอกเบ้ยี เงนิ ฝากอยทู่ ่ี 0.5 - 2.0% ตอ่ ปี แตก่ องทนุ ประกันสังคมน�ำํ เงนิ ออม ของทา่ นไปลงทนุ ในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวสิ าหกจิ และหลักทรัพย์ อน่ื ทส่ี ว่ นใหญม่ คี วามมัน่ คงสงู และให้ผลตอบแทนมากกวา่ ทั้งน้ี นับตั้งแต่ เรม่ิ จัดเกบ็ เงนิ สมทบกรณชี ราภาพเมอ่ื ปี พ.ศ. 2541 กองทนุ ประกันสังคม กรณชี ราภาพได้รับผลตอบแทนเฉลย่ี 5.56% ตอ่ ปี 32 5. ได้นํำ�เงินออมไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ท่านลงทุนเองไม่ได้ กองทุน ประกันสังคมมีความได้เปรียบในฐานะนักลงทุนสถาบัน ทํำ�ให้สามารถ เข้าถึงแหล่งลงทุนที่ประชาชนทั่วไปอาจจะไม่สามารถเข้าถึงได้โดยตรง อาทิ การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว อายุ 10 ปี หรอื 20 ปี เน่ืองจาก กองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนบํำ�นาญระยะยาว มีความสามารถใน การลงทุนในตราสารที่มีอายุยาวได้ ต่างจากบุคคลธรรมดาที่นิยมนํำ�เงิน ออมไปฝากธนาคารระยะสั้นเท่านั้น 6. ได้รับประโยชน์จากการกระจายความเสย่ี ง เงนิ ออมของทา่ นจ�ำํ นวน กวา่ 8 แสนล้านบาทได้น�ำํ ไปลงทนุ ในหลักทรัพย์ทม่ี คี วามมัน่ คงสงู มากกวา่ ร้อยละ 80 ประกอบด้วย พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวสิ าหกจิ และหุ้น ก้เู อกชน สว่ นทเ่ี หลอื อกี ร้อยละ 20 กระจายลงทนุ ในหลักทรัพย์ทม่ี คี วาม เสย่ี ง ได้แก่ ตราสารหน้อี น่ื ๆ หนว่ ยลงทนุ และห้นุ สามัญ การกระจายลงทนุ แบบน้ีทำํ�ให้กองทุนไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากความผันผวนของราคา หลักทรัพย์ในระยะสั้น ท�ำํ ให้ทา่ นมัน่ ใจวา่ แม้วา่ ตลาดการเงนิ จะมคี วาม

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ผันผวนแตเ่ งนิ ออมของทา่ นไมไ่ ด้หายไปไหน ยังคงอยคู่ รบและมัน่ คงทก่ี องทนุ ประกันสังคม 7. มีทีมงานบริหารเงินออมให้ ไม่ต้องลงมือทํำ�เอง เงินที่ท่านออม กับกองทุนได้รับการดูแลจากทีมงานจัดการกองทุน ซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนใน 33หลักทรัพย์ต่างๆช่วยแบ่งเบาภาระการบรหิ ารเงนิ ออมออกจากตัวท่านไปให้ สํำ�นักงานประกันสังคมทํำ�หน้าที่แทน นอกจากนี้ การลงทุนใน หลักทรัพย์หลายประเภทมคี วามซับซ้อนในการวเิ คราะห์เชน่ การลงทุนใน หุ้นกู้เอกชนหรือหุ้นสามัญ ซึ่งต้องใช้ข้อมูลจํำ�นวนมากและใช้ความรู้ เฉพาะทาง การที่สํำ�นักงานประกันสังคมบริหารเงินออมให้กับท่านจึง ช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนนี้ ทํำ�ให้ท่านไม่ต้องเสียเวลาในการวิเคราะห์หรือ จัดหาแหล่งลงทุนเอง 8. มีสิทธิรับบํำ�เหน็จหรือบํำ�นาญเมื่อเกษียณ ท่านที่สมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดอื น มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และ ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือตาย หรอื เป็นผู้ทุพพลภาพ ท่านมี สิทธิได้รับเงิน“บํำ�เหน็จ” ซึ่งเป็นเงินก้อน จํำ�นวนเท่ากับเงินสมทบส่วนที่ ท่านและนายจ้างสมทบกลับคืนไปบวกดอกผลจากการลงทุนในช่วงเวลา ที่ท่านสมทบเข้ากองทุนตามที่สํำ�นักงานประกันสังคมประกาศกํำ�หนด

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ท่านที่สมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดอื น ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือน จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ ประกันตนสิ้นสุดลง ท่านมีสิทธิได้รับเงิน “บํำ�นาญ” จ่ายเป็นรายเดือน และได้รับไปตลอดชีวิต เงินบํำ�นาญที่ได้รับคํำ�นวณตามสูตรเท่ากับร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และทุกๆ 12 เดือนที่สมทบเพิ่ม (คอื ตั้งแต่ปีที่ 16 เป็นต้นไป) ท่านจะได้รับโบนัสส่วนเพิ่ม เท่ากับร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างเฉลี่ย ตัวอย่าง ท่านที่มีค่าจ้างเฉลี่ย 10,000 บาท และสมทบเป็นเวลา 30 ปี จะได้รับบํำ�นาญจํำ�นวน (10,000 x 20%) + (10,000 x 15 ปีที่สมทบ เพิ่ม x 1.5%) = 2,000 + 2,250 = 4,450 บาทต่อเดือน 9. มีสิทธิได้รับบำ�นาญทุกเดอื นตลอดชีวิต จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็น 34 ได้ว่า ในกรณีที่ท่านมีสิทธิได้รับบํำ�นาญ ถึงแม้ว่าจะเป็นเงินจํำ�นวนไม่กี่ พันบาท แต่ท่านจะได้รับเงินบํำ�นาญดังกล่าวทุกเดือนตลอดชีวิต แม้ว่า ท่านจะอายุยนื ถึง 80 ปี 90 ปี หรือ 100 ปี ท่านจึงมั่นใจได้ว่า ทุกๆ เดอื น หลังเกษียณ แม้จะไม่มีรายได้หรือไม่ได้รับความช่วยเหลอื ทางการเงินจาก ลูกหลาน อย่างน้อยท่านได้มีเงินบํำ�นาญจากกองทุนประกันสังคมเป็น ประจํำ�ทุกเดอื น เป็นการแบ่งเบาภาระทางการเงินและสร้างความมั่นคง ให้กับท่านตลอดชีวิต

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 35

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 36

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม ส่วนที่ 3 : นานาสาระการ ออมเงินเพื่อเกษียณ37

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม “ออมก่อนกใาชร้”ออดม้วอยัตกโานรมสัตริ้างระบบ เราจํำ�เป็นต้องเริ่มออมเสียแต่วันนี้ เพื่อให้เกษียณอย่างสบาย และเรา ควรปรับแนวคิดในการออมเสียใหม่ ให้ “ออมก่อนใช้” ไม่ใช่ “ใช้แล้วเหลอื จึงออม” เพราะโดยธรรมชาติของคนเรานั้นมักจะขาดวินัยในการออม แม้ ตั้งใจจะใช้จ่ายอย่างประหยัดเพื่อจะออมให้ได้ ก็มักทํำ�ไม่สํำ�เร็จ หลักการก็คอื ว่า สร้างระบบการออมที่หักเงินไปออมทันทีเงินเดอื น ออก ในตอนนี้ผมขอขยายความการสร้างระบบการออมอัตโนมัติ เพ่ือให้ เราสามารถ “ออมก่อนใช้” ได้สํำ�เร็จ เพื่อให้เข้าใจง่าย สมมติว่าท่านมีเงินเดือน 20,000 บาท และตั้งใจจะ ออมให้ได้เดอื นละ 2,000 บาท เรามาดูกันว่าจะมีช่องทางสร้างระบบการ 38 ออมอัตโนมัติได้อย่างไรบ้าง เงินเดือน เงินออม เงินที่ใช้จ่ายได้ 20,000 บาท 2,000 บาท 18,000 บาท 1. ระบบออมภาคบังคับ ผมได้เล่าไปในตอนก่อนแล้วว่า การออม ภาคบังคับเป็นการสร้างวินัยการออมที่ดีที่สุด เพราะเรากํำ�ลังถูกบังคับ ให้ออมเงินด้วยการหักจากเงินเดือนโดยอัตโนมัติ ดังนั้น ระบบการออม ภาคบังคับจึงจัดเป็น “การออมอัตโนมัติ” ที่มีอยู่แล้ว ท่านไม่ต้องสร้างขึ้น มาใหม่ แต่ขอให้ออมผ่านระบบนี้อย่างเต็มที่ ระบบการออมภาคบังคับที่สํำ�คัญของไทยคือ กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ ซึ่งท่านที่ทํำ�งานในภาคเอกชนและเป็นผู้ประกันตนซึ่งมี จํำ�นวนกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศในขณะนี้ ได้ออมอยู่แล้วทุกเดือนใน อัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง นายจ้างช่วยสมทบอีกร้อยละ 3 ของค่าจ้าง

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม มีเพดานค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท เงินที่ท่านออมเหล่านี้จะได้รับกลับ คนื ไปในรูปของ “บํำ�เหน็จ” หรือ “บํำ�นาญ” เม่ือเกษียณ ท่านจึงได้ออมเงิน กับกองทุนประกันสังคมอยู่แล้วทุกเดือน เน่ืองจากเราสมมติว่าท่านมีเงินเดือน 20,000 บาท แต่กองทุนจัด เก็บเงินสมทบโดยมีเพดานค่าจ้าง 15,000 บาท ท่านจึงออมกับกองทุน ประกันสังคมในอัตราร้อยละ 3 ของเพดานค่าจ้าง 15,000 บาท คิดเป็น เงินออมเดือนละ 450 บาท นายจ้างสมทบอีก 450 บาท รวมเป็นเงิน ออมเดอื นละ 900 บาท จะเห็นได้ว่า ในแต่ละเดอื น ท่านออมกับกองทุนประกันสังคมเป็น จํำ�นวนไม่มากนัก เช่น ท่านที่มีรายได้ 20,000 บาทต่อเดอื น ท่านออม เพียง 450 บาท การออมกับกองทุนประกันสังคมจึงไม่ได้สร้างภาระ ทางการเงินแต่ประการใด แต่เป็นระบบการออมแบบอัตโนมัติให้กับตัว 39ท่านเอง เพ่ือให้มีบํำ�เหน็จหรอื บํำ�นาญใช้หลังเกษียณ

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม 2. ระบบการออมภาคสมัครใจ มีไว้เพื่อรองรับผู้ที่ยังไม่มีสวัสดิการ ออมเงินเพ่ือวัยเกษียณภาคบังคับ หรอื มีสวัสดิการดังกล่าว แต่ต้องการ ออมเพิ่มเติม ระบบการออมภาคสมัครใจที่สํำ�คัญ คอื กองทุนสํำ�รองเลี้ยงชีพ ซึ่ง ครอบคลุมสมาชิกที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างในภาคเอกชน จํำ�นวนประมาณ 2 ล้านคน ปัจจุบันมีเงินสะสมประมาณ 600,000 ล้านบาท โดยลูกจ้างสมัครใจให้หัก “เงินสะสม” และนายจ้างจ่ายเงินเข้า อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ” เม่ือเกษียณจะได้รับ “บํำ�เหน็จ” เป็น เงินก้อน เท่ากับเงินสะสมและเงินสมทบข้างต้น บวกดอกผลจากการ ลงทุน นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายขยายความคุ้มครองไปยังประชากร 40 กลุ่มที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินภาคบังคับ โดยเปิดโอกาสให้ท่านที่อยู่ใน กลุ่มแรงงานนอกระบบ ได้แก่ กลุ่มที่ทํำ�งานรับจ้าง (แรงงานประมง คนทํำ�งานบ้าน คนขับรถส่วนตัว) กลุ่มที่ทํำ�อาชีพอิสระ (เกษตรกร แม่ค้า คนขับรถรับจ้าง) เป็นต้น สามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้เพ่ือให้ได้รับสิทธิประโยชน์ 4 ประการ โดย 1 ใน 4 สิทธิประโยชน์ คือการได้รับบํำ�เหน็จชราภาพเป็นเงินก้อนเม่ืออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ 3. ระบบการออมอัตโนมัติ ที่สร้างขึ้นเอง ในกรณีที่ ไม่ได้อยู่ในระบบการออม ภาคบังคับ หรือไม่มีกองทุน สำ�รองเลี้ยงชีพ หรือมี ระบบการออมข้างต้นแล้ว แต่ต้องการออมเพิ่ม เราก็

ออมอุ่นใจ...กับกองทุนประกันสังคม สามารถสร้างระบบการออมภาคบังคับได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีทางเลอื กหลาก หลาย เช่น - ฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ หากที่ทํำ�งานของท่านมีสหกรณ์ ออมทรัพย์ การหักเงินเดอื นเพื่อฝากเงินกับสหกรณ์เป็นประจํำ�ทุกเดอื น ก็เป็นการสร้างระบบการออมแบบอัตโนมัติที่ดีอย่างหนึ่ง โดยทั่วไป การ ฝากกับสหกรณ์ออมทรัพย์มักจะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากธนาคาร และ ให้สิทธิกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ํำ�กว่าธนาคารด้วย - กู้เงินซื้อบ้าน เมื่อท่านเริ่มมีฐานะการเงินที่มั่นคงและมีกํำ�ลัง พอที่จะผ่อนไหว การกู้ซื้อบ้านนับเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างระบบ การออมอัตโนมัติ เพราะการชํำ�ระค่างวดเป็นประจํำ�ทุกเดือนเป็นการ ออมเงินเพื่อไปสู่เป้าหมายคือการมีบ้านเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นทรัพย์สิน ที่ใช้ประโยชน์ได้และเป็นทรัพย์สินที่มูลค่ามักจะปรับเพิ่มขึ้นตาม 41กาลเวลา - เปิดบัญชีเงินฝากปลอดภาษี ปกติเวลาเอาเงินไปฝากธนาคาร เราจะรู้จักแต่ “เงินฝากออมทรัพย์” และ “เงินฝากประจํำ�” ใช่ไหมครับ แต่ เดี๋ยวนี้มีบัญชีเงินฝากแบบพิเศษที่ส่งเสริมให้เกิดการออมเงิน ซึ่งบังคับให้ ฝากเป็นประจํำ�ทุกเดือน ขั้นต่ํำ�เดอื นละ 1,000 บาท แต่ไม่เกินเดอื นละ 25,000 บาท ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 24 เดอื น เม่ือครบกํำ�หนด จะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากประจํำ� และไม่ต้องเสียภาษีจากดอกเบี้ย ที่ได้รับด้วย ลองไปสอบถามรายละเอียดจากธนาคารที่ท่านเป็นลูกค้านะ ครับ - เปิดบัญชีซื้อกองทุนแบบอัตโนมัติ ในปัจจุบันนี้บริษัทจัดการ กองทุนส่วนใหญ่มีบริการสํำ�หรับลูกค้าที่ต้องการออมเป็นประจํำ�ทุกเดือน ด้วยการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติเพ่ือหักเงินจากบัญชีเงินฝากของเราไป ซื้อหน่วยลงทุน หลายแห่งเริ่มต้นที่ 500 บาทต่อเดอื นเท่านั้น ปัจจุบันมี