หลักการคิดเชิงออกแบบ และนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล จัดทำโดย นายภาสวิทย์ ศรีเลิศ ชั้น ปวส. 2/6 เลขที่ 2 เสนอ อาจารย์ สุรีพร เมืองมุงคุณ
TABLE OF CONTENTS 1.การเขียนแผนธุรกิจสำหรับ นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลและ การนำเสนอแผนธุรกิจ (Present) 2.การกำหนดปัญหา (Define) 3.การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายลูกค้า (empathize) 4.การทดลอง (Test) 5.การสร้างแบบจำลอง (Prototype)
หน่วยที่1 การเขียนแผนธุรกิจสำหรับ นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลและการนำ เสนอแผนธุรกิจ(PRESENT)
แผนธุรกิจ (Business Plan) หมายถึง แผนงาน ทางธุรกิจที่แสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติในการ ลงทุนประกอบการ โดยมีจุดเริ่มต้นจากจะผลิตสินค้าหรือ บริการอะไร มีกระบวนการปฏิบัติอย่างไร และผลจากการ ปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด ใช้งบประมาณและกำลังคนเท่า ไหร่ เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการแก่ลูกค้า และ จะ บริหารอย่างไรธุรกิจถึงจะประสบผลสำเร็จ
วัตถุประสงค์หลักของการนำเสนอแผนธุรกิจ มี 5 ประการ ประกอบด้วย 1) เพื่อเป็นการอธิบายแนวคิดสำคัญของธุรกิจ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้นำเสนออธิบายถึงที่ของแนวความคิดใน การเริ่มต้นหรือการดำเนินธุรกิจ 2) เพื่อทราบถึงการวางแผนและการดำเนินธุรกิจ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้พิจารณาแผนทราบถึงวิธีการดำเนินธุรกิจ 3) เพื่อทบทวนความถูกต้องและข้อมูลในแผนธุรกิจ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้นำเสนออธิบายถึงข้อมูลต่าง ๆ ในแผนธุรกิจ 4) เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้พิจารณาแผนสอบถามผู้นำเสนอเกี่ยว กับข้อมูลบางส่วนที่อาจมีข้อสงสัย 5) เพื่อการตัดสินใจให้การสนับสนุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายหรือตัดสินใจเลือกในการสนับสนุนการ ตัดสินต่าง ๆ ซึ่งมักใช้ในการประกวดแข่งขันด้านแผนธุรกิจ
วิธีการนำเสนอแผนธุรกิจมีส่วนประกอบ 4 ส่วน 1) เอกสารแผนธุรกิจ เป็นองค์ประกอบแรกและอาจถือได้ว่า เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการนำเสนอ เพราะเอกสารแผนธุรกิจ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการนำเสนอ 2) การนำเสนอด้วยภาพ เป็นองค์ประกอบที่สองจากเอกสาร แผนธุรกิจ โดยการนำเสนอด้วยภาพนี้ หมายถึง สิ่งที่ผู้นำเสนอแผนนำ เสนอรายละเอียดต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ หรือ สถาบันการเงิน 3) การนำเสนอด้วยเสียง เป็นองค์ประกอบที่สามต่อจาก การนำเสนอด้วยภาพ แต่จะเป็นสิ่งที่เกิดขั้นพร้อมกัน คือ จะนำเสนอ ด้วยเสียงไปพร้อม ๆ กัน 4) การตอบข้อซักถาม เป็นองค์ประกอบสำคัญสุดท้ายใน การนำเสนอแผนธุรกิจ เพราะเป็นสิ่งที่บอกว่าผู้ประกอบการหรือผู้จัด ทำแผนธุรกิจนั้นเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอมากน้อยเพียงใด
หน่วยที่2 การกำหนดปัญหา(Define)
การกำหนดปัญหา(Define) หมายถึง การเข้าใจถึงปัญหา ซึ่งเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการพัฒนาระบบโดยนักวิเคราะห์ระบบจะ ต้องเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขั้นและความต้องการของผู้ใช้ เพื่อหา แนวทางของระบบใหม่ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้และ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขั้นกับธุรกิจได้ ดังนั้น ขั้นตอนนี้จึงเป็นขั้น ตอนที่มีความสำคัญที่สุด
วีธีการกำหนดปัญหา มีขั้นตอน ดังนี้ 1) แจกแจงองค์ประกอบของความเป็นไปได้ โดย วิเคราะห์ว่า ความเป็นไปได้ในการเกิดปัญหานั้นมาจากสาเหตุ ใดบ้าง เช่น สินค้าที่ผลิตแล้วไม่สามารถจำหน่ายแข่งขันกับคู่ แข่งขันได้ 2) วิเคราะห์ความเป็นไปที่จะเกิดเหตุเช่นนั้น เมื่อ พิจารณารายละเอียดแล้ว ในลำดับต่อไปให้เพิ่มตารางการ วิเคราะห์โอกาสความน่าจะเป็นจากสาเหตุของปัญหาดังกล่าว 3) เลือกข้อที่ตอยว่าความน่าจะเป็นมากที่สุด มาก และ ปานกลางมาพิจารณาก่อน ซึ่งอาจพบว่าสิ่งใดคือปัญหาที่ควร แก้ไขหรือป้องกันก่อน 4) เลือกข้อที่ตอบว่าความน่าจะเป็นน้อยหรือน้อยที่สุด มาพิจารณาด้วย เพื่อให้เกิดความรอบคอบมากยิ่งขึ้น และ เพื่อ เป็นการป้องกันความผิดพลาดได้
องค์ประกอบเพื่อการตัดสินใจเลือก โครงการ มีดังนี้ 1) ความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และ ประสบการณ์ของผู้ทำโครงงาน 2) ประโยชน์ของโครงการ โครงการนั้นจะต้องนำ ภาระงาน ชิ้นงาน และกิจกรรมอิสระ 3) ความคิดสร้างสรรค์ เป็นโครงการที่ไม่มีผู้ใดทำไว้หรือ เป็นการพัฒนาโครงการที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว 4) ระยะเวลา ผู้ทำโครงการควรกำหนดวันสิ้นสุด โครงการให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถประมาณระยะเวลาลงใน ตารางได้ 5) ค่าใช้จ่าย ผู้ทำโครงการต้องประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมด ยึดหลักความคุ้มค่าในการทำโครงการ 6) ความปลอดภัย ผู้ทำโครงการควรเลือกทำโครงการ ที่ไม่อันตรายต่อผู้ทำโครงการ สังคม และประเทศชาติ 7) ค่านิยมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ผู้ทำโครงการควร หลีกเลี่ยงการทำโครงการที่ขัดต่อความเชื่อ วัฒนธรรม หรือ ประเพณีต่าง ๆ
หน่วยที่3 การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ลูกค้า(Empathize)
กลุ่มเป้าหมาย (Targeting) คือ กลุ่มที่มีโอกาสจะ เปลี่ยนมาเป็นลุกค้า ซึ่งต้องการขายสินค้าหรือบริการให้การ ระบุว่ากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการโดยปกติจะใช้ข้อมูลประชากร มาเป็นตัวกำหนด เนื่องจากหาข้อมูลได้ง่าย เช่น เพศ อายุ ราย ได้ รูปแบบการดำเนินชีวิต เป็นต้น ข้อมูลมูลเหล่านี้เป็นข้อมูล พื้นฐานที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้การกำหนดกลุ่มเป้าหมายมีความ ชัดเจนและจรงจุดประสงค์มากขึ้นฉะนั้นถ้ารู้จักกลุ่มเป้าหมาย มากขั้นจะเป็นผลดีกับธุรกิจมากเท่านั้น
ประโยชน์ของการทำ STP มีดังนี้ 1) ช่วยยกระดับการแข่งขันของรายย่อย หรือธุรกิจ SMEs 2) สามารถเลือกช่องทางทำการตลาดได้อย่างแม่นยำ 3) การสื่อสารของตราสินค้า (Brand) ที่ถูต้องเหมาะสม สามารถสื่อสารได้ตรงใจผู้รับสารมากยิ่งขึ้น 4) วิจัยตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น
เงื่อนไขในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) 1) การประเมินการตัดสินใจ เมื่อกำหนดกลุ่มเป้า หมายได้แล้ว ควรพิจารณาถึงสิ่งที่จะตามมาด้วย 2) ลูกค้าปัจจุบัน เมื่อต้องการขายสินค้าหรือบริการสิ่ง แรกที่ควรค้นหาข้อมูล คือ ฐานลูกค้าปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้าที่หน้า สนใจอยู่มากน้อยเพียงใด 3) ขนาดกลุ่มเป้าหมาย การคาดการณ์จำนวนผู้ที่มีศักยภาพ ในการซื้อสินค้าหรือบริการสามารถดูข้อมูลจากการแบ่งส่วนตลาด 4) การแบ่งส่วนตลาด การแบ่งส่วนตลาดสามารถดูได้ จากยอดขายทั้งหมดในอุตสาหกรรม ซึ่งคำนวนได้จากยอดขายใน ช่วงเวลานึง 5) จุดแข็งของสินค้าและบริการ เมื่อมีกลุ่มเป้าหมายที่ ต้องการแล้วสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนมาเป็น ลูกค้า คือ การทบทวนพัฒนาสินค้าและบริการ
หน่วยที่4 การทดลอง(Test)
การทดลอง คือ (Test) คือ การนำแบบจำลองหรือ ต้นแบบที่มีความละเอียดต่ำมาทดลองกับกลุ่มเป้าหมายใน บริบทจริงหรือเสมือนจริงเพื่อทดสอบความเข้าใจของนัก ออกแบบกับกลุ่มเป้าหมายว่า ตรงกันหรือไม่ เพื่อเป็น โอกาสในการพัฒนาและปรับปรุงแนวคิดของนักออกแบบ ให้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการทดลอง มี 4 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อทดลองความถูกต้องและปรับแก้อย่างรวดเร็ว ที่สุด เพราะในกระบวนการออกแบบนักออกแบบจะต้องปรับ แก้ความคิดต้นแบบอยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนารูปแบบให้ตอบ โจทย์ความต้องการ 2) เพื่อมั่นใจว่าผลงานการออกแบบเป็นไปตามความ คาดหวังของผู้ใช้งาน ขั้นตอนการทดลองยังเป็นขั้นตอนที่ทีม นักออกแบบจะต้องสื่อสารกับผู้ใช้งานอย่างใกล้ชิด 3) เพื่อประเมินข้อแนะนำและความคิดเห็นของผู้ใช้ งาน การทดลองยังช่วยให้ทีมนักออกแบบสามารถรวมรวบ ความคิดเห็นของผู้ใช้งานและนำมาประเมินเพื่อปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ 4) เพื่อสื่อสารผลลัพธ์ที่ได้ไปสู่ผู้ใช้งานอย่างมี ประสิทธิภาพ การทดลองและปรับแก้จะช่วยให้ทีมนัก ออกแบบสามารถสื่อสารที่มาที่ไปของผลลัพธ์ที่ได้ให้กับผู้ใช้ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทดลองมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การนิยามวัตถุประสงค์ของโครงการและลักษณะ ของผู้ใช้งานไว้อย่างชัดเจน ในขั้นแรกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการ วางกรอบปัญหาและโจทย์ของการทดลอง 2) การระดมผู้ใช้งานที่จะทดลอง โดยปกติอาจระดม หาผู้ใช้งานเพื่อทดลองประมาณ 6-8 คน ซึ่งโดยสถิติแล้วการ ทดลองต้นแบบกับผู้ใช้งาน จะสามารถช่วยชี้จุดบกพร่องของ ผลงานได้ถึง 80 % 3) การทดลองประสบการณ์ อาจเป็นการเริ่มต้นด้วย การสัมภาษณ์ผู้ใช้งานแต่ละคนแบบคร่าว ๆ และทำให้ผู้ใช้งาน เข้าใจว่าตนจะสามารถให้ความคิดเห็นได้อย่างอิสระ 4) การวิเคราะห์ ขั้นตอนนี้เป็นการทำสรุปข้อมูลกับผู้ สังเกตการณ์ในขั้นตอนก่อนหน้าเพื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้รับ ทั้งหมดจากการทดลองเพื่อประเมินผล 5) การนำเสนอบทสรุป จากนั้นในขั้นตอนสุดท้าย ทีม ทดลองต้องเรียบเรียงข้อมูลและบทสรุปของการทดลองและ ถ่ายทอดและสื่อสารให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ
หน่วยที่5 การสร้างแบบจำลอง(Prototype)
การสร้างแบบจำลอง (Prototype) หมายถึง การ แปลงความคิดให่เป็นรูปเป็นร่างอย่างง่าย ประหยัด และ ใช้ เวลาเร็วที่สุด ให้เป็นต้นแบบไปทดสอบกับกลุ่มบุคคลที่คิดว่า จะเป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้ใช้งานหรือลูกค้า การสร้าง แบบจำลอง (Prototype) เพื่อเก็บข้อเสนอแนะจากผู้ใช้ งานก่อนสร้างสินค้าจริง
วัตถุประสงค์ของการสร้างแบบจำลอง มีดังนี้ 1) เพื่อหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ เนื่องจากการที่มีความ คิดมากมายที่ต้องการจะทำให้เกิดขึ้น และยังช่วยลดปัญหาต่าง ๆ อีกด้วย 2) ช่วยให้เข้าใจผู้ใช้อย่างแท้จริงและรอบด้าน ถ้าหากไม่ทำ ต้นแบบแล้ว จะใช้เวลาในการพัฒนานานและเสียกำลังใจในการ ทำงาน 3) ช่วยลดความเสี่ยง ในการเสียเงินจำนวนมากไปพัฒนาสินค้า หรือบริการที่ไม่รู้จะตอบโจทย์ผู้ ใช้หรือไม่ 4) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ทำให้รู้ถึงความต้องการของผู้ใช้ให้ชัดเจน มากขึ้น ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นและมีเวลามากพอในการพัฒนา สินค้า 5) เพื่อใช้ในการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการออกแบบระบบ โดยเห็นถึงผลกระทบของระบบที่ออกแบบ 6) เพื่อใช้เป็นตัวแทนระบบที่ได้ออกแบบให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งานและ ให้นักวิเคราะห์ได้ประมาณเวลาและสิ่งที่ออกแบบต่อ
ขั้นตอนการสร้างแบบจำลองมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) สร้างต้นแบบ (Build) คือ เลือกวิธีที่จะสร้างต้นแบบอย่างง่ายขึ้นมา โดยเลือกทำจากส่วนที่สำคัญก่อน และ ไม่ทำหลายอย่างจนซับซ้อน เกินไป 2) ทดสอบกับผู้ใช้ (Test) เมื่อตั้งสมมติฐานและสร้างต้นแบบเสร็จแล้ว ต้องหากลุ่มที่จะมาเป็นผู้ทดสอบต้นแบบ 3) เรียนรู้ (Learn) คือ ทำใจเป็นกลาง ไม่โต้แย้งเพื่อปกป้องแนวความ คิดตนเองจนไม่ได้เรียนรู้จากกลุ่มเป็าหมาย 4) ทำซ้ำหรือปรับแก้ (Iterate) คือ ขั้นตอนต่อไป หลังจากเรียนรู้จาก แบบจำลองแรก ว่าจะทำสิ่งใดต่อไป
Search
Read the Text Version
- 1 - 22
Pages: