Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การทำแผนที่

การทำแผนที่

Published by 952ed00001, 2020-06-04 06:48:36

Description: แผนที่

Search

Read the Text Version

การจดั ทาแผนท่ี (Cartography) บทท่ี 1 บทนา 1.1 ประวตั ิและความเป็นมาของแผนที่ 1.1.1 แผนทีย่ ุคโบราณ  แผนภูมิเดนิ เรอื ของชาวเกาะมาร์แชลล์ ลักษณะของแผนภูมินี้จะทาขึ้นด้วยเปลือกหอย ซ่ึงผูกติดกับโครงท่ีทาด้วยก้านมะพร้าว ใช้สาหรับเดินเรือ ระหว่างเกาะ โดยก้านมะพร้าวซึ่งผูกเป็นเส้นตรงใช้แทนบริเวณคลื่นหรือเส้นทางการเดินเรอื ระหว่างเกาะ ส่วนตัว เกาะจะแสดงด้วยเปลอื กหอย โดยรปู รา่ งและความหมายของแต่ละแผนที่จะมีความหมายแตกตา่ งกนั มากขึ้นอยกู่ ับ การตคี วามของผูส้ รา้ งแผนท่ขี ึน้ มา รปู ที่ 1 แผนภมู เิ ดนิ เรอื ของชาวเกาะมารแ์ ชลล์  แผนทขี่ องชาวเอสกโิ ม

โดยแผนที่ของชาวเอสกโิ มจะใช้ไม้สลกั ตดิ ลงบนแผน่ หนังแมวนา้ ตวั อยา่ งดังแสดงในรปู ที่ 2 เป็นการแสดง ตาแหน่งของปลาวาฬ เรือ และมนษุ ย์ รปู ที่ 2 แผนทขี่ องชาวเอสกโิ ม (อา้ งองิ จาก cryptoforest)  แผนท่ขี องชาวบาบโิ ลเนยี แผนทไี่ ด้แสดงถึงสง่ิ ก่อสร้างและแสดงรายละเอยี ดเกี่ยวกบั สภาพภมู ปิ ระเทศรอบๆ อาณาจักรบาบิโลน ริม ฝั่งแม่น้ายูเฟรทีส ซ่ึงเป็นแม่น้าท่ีมีต้นน้าอยู่ในเทือกเขาทางตะวันออกของประเทศตุรกี ยาวประมาณ 2,300 กิโลเมตร โดยแผนที่ถกู ค้นพบประมาณ 600 ปีก่อนคริสตศักราช ทบี่ ริเวณเมืองซปิ ปาร์ (Sippar) ประเทศอิรกั

รปู ที่ 3 แผนทข่ี องชาวบาบโิ ลเนยี  แผนทสี่ มัยกรีก รากฐานของการทาแผนที่ในปัจจุบัน เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทาแผนที่ชาวกรีกในสมัยโบราณ กรีกเชื่อ ว่าโลกมีลักษณะเป็นทรงกลม และได้คิดเร่ืองเก่ียวกับระยะละติจูดและลองจิจูด การสร้างเส้นโครงแผนท่ี (Projection) และยงั ได้มกี ารคานวณขนาดของโลก เมื่อประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาลได้มีนักปรัชญาชาวกรีกผู้หนึ่งช่ือ อแนกซิมันเดอร์ (Anaximander, 610-546 B.C.1) ได้เขียนแผนท่ีข้ึนมาชิ้นหน่ึงซ่ึงถือว่าเป็นแผนท่ีโลกอันแรก แสดงอยู่ในรูปวงกลมโดยบ่งบอกให้ เห็นโลกในกลุม่ ประเทศแถบทะเลอีเจยี น2 และพน้ื ทที่ ั้งหมดทถี่ ูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทร 1 B.C. ย่อมาจากคาว่า Before Christ หมายถึง ปีกอ่ นคริสตศ์ กั ราช เชน่ 600 B.C. หมายถึง 600 ปกี อ่ นคริสต์ศกั ราช 2 เปน็ ทะเลท่ตี ิดตอ่ กับทะเลเมดิเตอรเ์ รเนียน อยู่ระหว่างประเทศกรซี กับตรุ กี ทางด้านตะวนั ออกของกรีก เปน็ แหล่งอารยธรรมของ โลกสมยั หนงึ่

รปู ที่ 4 แผนทข่ี องอแนกซมิ นั เดอร์ ตอ่ มาอกี ราว 220 ปีก่อนคริสตกาล เอราทอสเทนีส (Eratosthenes, 276-194 B.C.) นักปราชญ์ทางด้าน ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ชาวกรีก ได้ทาการสร้างแผนท่ีโดยใช้ระบบละติจูด และลองจิจูด รวมถึงคานวณเส้น รอบโลกได้ 25,000 ไมล์ ซง่ึ ใกล้เคียงความเปน็ จริง คอื เสน้ รอบวงของโลกมคี า่ เทา่ กับ 24,899 ไมล์

รปู ท่ี 5 แผนทข่ี องเอราทอสเทนสี ในปี ค.ศ. 150 คลอดิอุสปโตเรมี (Claudius Ptolemy) เป็นผู้นาความรู้ทางด้านแผนท่ีของกรีกมาใช้และ พัฒนาจนมีความเจริญไปถึงจุดสุดยอด โดยการนาเอาผลงานของ เอราทอสเทนีส มาดัดแปลงและทาแผนท่ีโลก ดว้ ยวิธีกาหนดคา่ ของมุมของเส้นขนานและเส้นเมอริเดียน3 โดยได้ทาแผนที่ดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซ่ึง ใช้หลักเส้นโครงแผนท่ีแบบรูปกรวย แผนที่ของคลอดิอุสปโตเรมีใช้เป็นหลักการในการทาแผนท่ีถึงคริสตศักราชท่ี 1700 แตม่ ขี อ้ บกพร่องตรงทค่ี านวณระยะของโลกเลก็ เกนิ ไป 3 เส้นเมอริเดียน (meridian, เส้นลองจิจูด) เป็นเส้นสมมติท่ีลากจากข้ัวโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างข้ึนจากการสมมติเส้น เมอริเดียนปฐม มคี ่ามุม 0 องศา ลากผ่านตาบลกรีนซิ กรงุ ลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เสน้ เมอรเิ ดยี นรอบโลก มี 360 เส้น แบ่งเป็นเสน้ องศาตะวนั ออก 180 เสน้ และเสน้ องศาตะวันตก 180 เส้น ความสาคัญของเสน้ เมอรเิ ดยี น คอื บอกพิกัดของตาแหน่ง ทตี่ งั้ ตา่ งๆ บนพน้ื ผิวโลกโดยใช้ร่วมกันเส้นขนาน (เสน้ ละติจดู ) และใช้เป็นแนวแบง่ เขตเวลาของโลก

รปู ที่ 6 แผนทข่ี องคลอดอิ สุ ปโตเรมี  แผนท่ีสมัยโรมนั ความคิดและความเหน็ ทางดา้ นแผนทข่ี องชาวโรมันและกรีกค่อนข้างมีความแตกต่างกันมาก สังเกตไดจ้ าก แผนท่ีของชาวโรมันที่ไม่มีความชานาญในด้านการคานวณทางภูมิศาสตร์ เช่น การหาละติจดู การวัดตาแหน่งทาง ดาราศาสตร์ โครงแผนท่ี เป็นต้น ชาวโรมันได้เปล่ียนการทาแผนที่กลับมาใช้แบบรูปจานตามความคิดของกรีก ในช่วงตอนต้น ซึ่งความคิดของแผนที่รูปจานน้ีต้ังอยู่บนรากฐานความเชื่อที่ว่าโลกเป็นแผ่นแบนๆ แทนท่ีจะมีทรง กลม โดยโรมันได้เอาทวปี 3 ทวปี มาใสโ่ ดยจัดใหส้ มดุลกัน ยโุ รปอยู่ทางซา้ ย แอฟรกิ าทางขวา เอเชียอยู่บนอิตาลี มี พื้นท่ี 4/5 ของทั้งหมด สว่ นจนี อินเดียและรัสเซียมีเนื้อทแี่ คบๆ แผนที่ดังกล่าวเรียกว่า “The Orbis Terrarum of the Roman”

รปู ที่ 7 แผนที่ The Orbis Terrarum of the Roman (อา้ งอิงจาก atlantismaps) 1.1.2 แผนทยี่ คุ กลาง หลังจากท่ีกรีกเสื่อมอานาจ ชาวโรมันมีบทบาทมากข้ึนในการทาแผนท่ี และเป็นยุคท่ีศาสนาคริสต์มี อิทธิพลมากเหนือส่ิงอื่นใด แผนที่จึงเป็นไปตามทิศทางศาสนา ซ่ึงจะแสดงเป็นรูปกลมๆ เช่นเดียวกับยุคโรมัน มี เมืองเยรูซาเล็มอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยทวีปต่างๆ ซ่ึงจะเรียกแผนท่ีนี้ว่า T and O map ยุคนี้จัดเป็นยุคมืดของ นักทาแผนที่

T หมายถงึ ทะเลเมดิเตอรเ์ รเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวปี คั่นกลางทวปี ยุโรปท่ีอยู่ ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาท่ีอยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ส่วน O หมายถึง พื้นท่ีล้อมรอบด้วย มหาสมทุ ร รปู ที่ 8 แผนท่ี T and O map (ซา้ ย) ภาพจากหนงั สอื Etymologies โดย Isidore, Saint, Bishop of Seville (ขวา) แผนทท่ี ท่ี า การปรบั ใหต้ รงกบั ตาแหนง่ จรงิ โดยหมนุ ใหท้ วปี เอเชยี อยทู่ างดา้ นขวา  แผนทีข่ องอาหรบั แผนท่ีของอาหรับเป็นแผนที่ลกั ษณะ T and O map เชน่ กัน โดยจะเนน้ ทวีปเอเชียบรเิ วณกลุ่มตะวันออก กลาง และเน้นทางศาสนาอิสลาม เช่น แผนที่ Al-Idrisi's ถูกสร้างขึ้นเมือ่ ประมาณ ค.ศ. 1154 โดยนักภูมศิ าสตรช์ ื่อ วา่ Muhammad al-Idrisi ทิศใตข้ องแผนทจี่ ะอยูท่ างด้านบนของแผนที่ หรือแผนที่ Ibn Hawqals ถกู สร้างขึน้ เมื่อ ประมาณ ค.ศ. 1000 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อว่า Ibn Hawqals ทิศใต้ของแผนท่ีจะอยู่ทางด้านบนของแผนท่ี เชน่ เดยี วกัน เป็นตน้

รปู ที่ 9 (ซา้ ย) แผนที่ Al-Idrisi's (ขวา) แผนท่ี Ibn Hawqals  แผนทีข่ องจนี ในยุคนี้แผนท่ีของจีนได้ถูกสร้างข้ึนเม่ือประมาณปี ค.ศ. 1390 เรียกวา่ แผนที่ Da Ming Hun Yi Tu แผน ท่บี ริเวณประเทศจีนโดยทางเหนอื ติดมองโกเลีย รปู ท่ี 10 แผนที่ Da Ming Hun Yi Tu

 แผนที่เดินเรือ ในช่วง ค.ศ. 1321 นกั ภูมิศาสตร์ชาวอติ าลชี อ่ื ว่า Pietro Vesconte ไดเ้ ร่มิ ใช้แผนที่ในการเดินเรือ เรียกว่า “แผนที่ปอร์โตลาน” (Portolan Charts) ซ่งึ เป็นแผนท่ีท่ีใชใ้ นการนาทางเพือ่ เดินเรอื โดยสร้างจากการใช้เข็มทิศใน การกาหนดทิศทางและประมาณระยะทางด้วยการสารวจ จนในปี ค.ศ. 1375 ได้มีการพัฒนาและสร้างเป็นแผนท่ี โลกทชี่ ่อื ว่า Catalan Atlas รปู ท่ี 11 แผนที่ Portolan Chart โดย Jorge de Aguiar สรา้ งเมอ่ื ค.ศ. 1492

รปู ท่ี 12 แผนที่ Catalan Atlas 1.1.3 แผนที่ยคุ หลัง ในช่วงปี ค.ศ. 1492 มาร์ติน เบไฮม์ (Martin Behaim, ค.ศ. 1459-1507) ได้สร้างลูกโลกจาลองข้ึน คอ่ นข้างสมบูรณ์แบบ แสดงลักษณะภูมิประเทศทั่วโลก และเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรทางซีกโลกใต้ นับเป็นลูกโลก จาลองลกู แรกของโลก ตอ่ มาในช่วงยุคสงครามโลกครงั้ ท่ี 1 (ค.ศ. 1914-1918) แผนท่ีถูกนามาใช้ทางด้านยุทธศาสตร์ ตลอดจนมี การทาแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศข้ึน ทาให้สามารถผลิตแผนที่ได้รวดเร็วยิ่งข้ึน ซ่ึงเยอรมันเป็นผู้ริเร่ิมใช้ในสมัย สงครามโลก

รปู ที่ 13 แผนที่ในสมยั ยคุ หลงั 1.1.4 แผนทยี่ คุ ปจั จบุ นั ปัจจุบันการทาแผนท่ีโดยใช้อุปกรณ์บินถ่ายจากทางอากาศได้เข้ามามีบทบาทสาคัญในการสร้างแผนท่ี เนอ่ื งจากมีความสามารถในการเขา้ ถงึ ข้อมลู อยา่ งรวดเรว็ สามารถบันทึกข้อมลู ได้เปน็ บริเวณกว้าง เข้าใจง่าย และมี ความแม่นยาสูง โดยอปุ กรณ์ที่ใชใ้ นการบินถา่ ย เช่น อากาศยาน ดาวเทยี ม เปน็ ตน้ จะทาการบนั ทึกข้อมลู ภาพจาก ด้านบนเหนอื พื้นโลก แลว้ นามาสรา้ งเปน็ ภาพลกั ษณะพืน้ ทแี่ ละลกั ษณะภมู ิประเทศ

รปู ท่ี 14 แสดงตวั อยา่ งการใชภ้ าพถา่ ยดาวเทยี มมาทาแผนทใ่ี นยคุ ปจั จบุ นั

1.2 ความหมายของแผนที่ แผนที่ คือ สิ่งท่ีแสดงลักษณะของพ้ืนผิวโลกท้ังที่มีอยู่ตามธรรมชาติและท่ีปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพ้ืน แบนราบด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่กาหนดขึ้น (อ้างอิงจาก พจนานุกรมศพั ท์ภมู ศิ าสตร์ ฉบับราชบัณฑติ ยสถาน) แผนท่ี คือ รูปลายเสน้ ท่ีเขียนหรือกาหนดขึ้น เพื่อแสดงลักษณะของพื้นผิวพภิ พท้งั หมด หรือเพยี งบางส่วน ลงบนพ้ืนราบตามมาตราส่วน โดยใช้สีและสัญลักษณ์แทนรายละเอียดของภูมิประเทศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งทมี่ นษุ ยส์ ร้างข้ึน (อ้างอิงจาก ความรเู้ บ้อื งตน้ ในการอ่านแผนท่ี โรงเรียนแผนท่ี กรมแผนท่ที หาร) 1.3 การจาแนกชนดิ ของแผนที่ ปจั จุบันการจาแนกชนิดของแผนที่ อาจจาแนกได้หลายแบบแล้วแต่จะยึดถือการจาแนกใดเป็นหลักในการ จาแนก เชน่ 1.3.1 การจาแนกชนิดของแผนทต่ี ามลกั ษณะท่ีปรากฏบนแผนที่ แผนที่ลายเส้น (Line Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นท่ีด้วยเส้นและองค์ประกอบของเส้น ซึ่ง อาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ท่อนเส้น หรือเส้นใดๆ ท่ีประกอบเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ถนนแสดงด้วยเส้นคู่ขนาน อาคารแสดงด้วยเส้นประกอบเป็นรูปส่เี หลี่ยม สัญลักษณ์ที่แสดงรายละเอยี ดเป็นรูปที่ประกอบดว้ ยลายเส้น แผนที่ ลายเส้นยังหมายรวมถึงแผนที่แบบแบนราบและแผนท่ีทรวดทรง ซึ่งถ้ารายละเอียดท่ีแสดงประกอบด้วยลายเส้น แล้วถอื ว่าเป็นแผนทีล่ ายเส้นทัง้ สิน้

รปู ท่ี 15 แผนทล่ี ายเสน้ บรเิ วณประเทศอนิ เดยี และปากสี ถาน

รปู ที่ 16 แผนทล่ี ายเสน้ บรเิ วณประเทศไทยและประเทศเพอ่ื นบา้ น (อา้ งองิ จาก google map) แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) เป็นแผนท่ีซ่ึงมีรายละเอียดในแผนที่ท่ีได้จากการถ่ายภาพด้วยกล้อง ถ่ายภาพ ซ่ึงอาจถ่ายภาพจากเครื่องบินหรือดาวเทียม การผลิตแผนที่ทาโดยวิธีการนาเอาภาพถ่ายมาทาการ ปรับแก้ แล้วนามาต่อเป็นภาพแผ่นเดียวกัน แผนที่ภาพถ่ายสามารถบันทึกภาพได้รวดเร็วและเปน็ บรเิ วณกว้าง แต่ การปรับแก้ภาพถ่ายและการนาภาพถ่ายมาสร้างเป็นแผนที่ค่อนข้างยากเพราะ ต้องอาศัยเครื่องมือและความ ชานาญ

รปู ที่ 17 แผนทภ่ี าพถา่ ยจากดาวเทยี ม HJ-1A (SMMS) (ซา้ ย) บรเิ วณสนามบนิ สวุ รรณภมู ิ (ขวา) บรเิ วณสนามบนิ ดอนเมอื ง แผนที่แบบผสม (Annotated Map) เป็นแบบที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนท่ีภาพถ่ายโดย รายละเอียดท่ีเป็นพื้นฐานส่วนใหญ่เป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพ ส่วนรายละเอียดที่สาคัญๆ เช่น แม่น้า ลาคลอง ถนน เส้นทาง รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์แยกสีให้เห็นเด่นชัด ปัจจุบันนิยมใช้มาก เพราะสะดวกและง่ายแก่การอ่าน มีท้ังแบบแบนราบ แล้วแบบพิมพ์นูน ส่วนใหญ่มีสีมากกว่า สองสขี นึ้ ไป

รปู ที่ 18 แผนที่แบบผสมบรเิ วณอนสุ าวรยี ช์ ยั สมรภมู ิ กรงุ เทพฯ (อา้ งองิ จาก google map) 1.3.2 แบง่ ตามมาตราสว่ น สามารถแบ่งมาตราส่วนแยกออกได้เป็น 2 แบบคือ แบ่งตามมาตราส่วนของนักภูมิศาสตร์และแบ่งตาม มาตราสว่ นของนักการทหาร  แบ่งตามมาตราสว่ นของนกั ภูมศิ าสตร์ มาตราสว่ นเลก็ ได้แก่แผนท่ีขนาดมาตราส่วนเลก็ กวา่ 1 : 1,000,000 มาตราสว่ นปานกลาง ได้แกแ่ ผนที่ขนาดมาตราส่วนตัง้ แต่ 1 : 250,000 ถงึ 1 : 1,000,000 มาตราสว่ นใหญ่ ได้แกแ่ ผนที่ขนาดมาตราสว่ นใหญ่กว่า 1 : 250,000  แบง่ ตามมาตราส่วนของนักการทหาร มาตราส่วนเล็ก ได้แก่แผนที่ขนาดมาตราส่วนเลก็ กวา่ 1 : 600,000 มาตราสว่ นปานกลาง ได้แก่แผนท่ีขนาดมาตราส่วนตง้ั แต่ 1 : 600,000 ถึง 1 : 75,000 มาตราสว่ นใหญ่ ไดแ้ กแ่ ผนที่ขนาดมาตราส่วนใหญ่กวา่ 1 : 75,000

1 : 1,000,000 1 : 250,000 1 : 50,000 1.3.3 แบง่ ตามประเภทของแผนที่ รปู ที่ 19 แสดงมาตราสว่ นของแผนท่ี แผนท่ีแบบแบน (Planimetric Map) เป็นแผนท่ีที่แสดงพ้ืนผิวของโลกในทางราบเท่านั้นไม่สามารถบอก ความสูงตา่ ของพ้ืนท่ีได้ โดยจะใชใ้ นการแสดงตาแหน่งของสงิ่ ตา่ งๆ ตลอดจนทางนา้ เส้นถนน เปน็ ต้น รปู ที่ 20 แผนที่แบบแบน (Planimetric Map) (อา้ งอิงจาก google map) แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) แผนท่ีชนิดน้ีแสดงรายละเอียดทั้งตามแนวนอนและตามแนวต้ัง โดยจะแสดงลักษณะของพน้ื ผิวพภิ พหรอื สง่ิ ที่ปรากฏบนผวิ พืน้ พิภพบางชนดิ ทัง้ 3 มิติ

รปู ที่ 21 แผนทภ่ี มู ปิ ระเทศ (Topographic Map) แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map) เป็นแผนที่ซึ่งรายละเอียดท่ีปรากฏบนแผนท่ีนั้นได้จากการถ่ายภาพ ภมู ปิ ระเทศด้วยการถ่ายภาพทางอากาศแล้วนามาสร้างเสน้ กริด รายละเอียดขอบระวาง ชื่อสถานที่ ช่ือถนน ระดับ ความสงู ท่สี าคัญ มาตราส่วน และทิศทางโดยประมาณ ซ่งึ จะพมิ พ์รายละเอียดตา่ งๆ ไว้บนภาพถา่ ยนัน้ ด้วย

รปู ท่ี 22 แผนทภ่ี าพถา่ ย (Photo Map)

บทท่ี 2 องค์ประกอบของแผนที่ องค์ประกอบของแผนท่ี หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนแผ่นแผนท่ี โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้ แผนทไ่ี ด้ทราบขอ้ มูลและรายละเอยี ดอย่างเพียงพอสาหรับการใช้แผนท่ี และมีการแบ่งพ้ืนทกี่ ารแสดงผลของแผนท่ี ออกเปน็ ส่วนๆ ซึ่งเรียกวา่ “ระวาง” (sheet) 2.1 สว่ นประกอบของแผนท่ี ตามปกติรูปแบบของแผนที่ทว่ั ไปจะเป็นรูปสเ่ี หล่ยี มจตั ุรัสหรือสี่เหลีย่ มผืนผา้ หา่ งจากริมทั้งส่ีด้านของแผน ท่ีเข้าไปจะมีเส้นกั้นขอบเขตเป็นรูปสี่เหล่ียม ซ่ึงเรียกว่าเส้นขอบระวางแผนที่ (Border) ที่เส้นขอบระวางแผนที่แต่ ละดา้ นจะมีตวั เลขบอกค่าพิกัดกริด และค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (คา่ ของละตจิ ดู และลองจิจดู ) กากบั ไว้ 2.1.1 ชื่อแผน่ ระวาง (Sheet Name) จะมีชือ่ แผ่นระวางน้ีปรากฏอยู่สองแห่งคือ ณ ตรงก่งึ กลางขอบระวางตอนบน และทางดา้ นซ้ายของระวาง ตอนล่าง ตามปกติแล้วจะต้ังชื่อตามลักษณะเด่นของรายละเอียดในแผ่นระวาง เช่น ชื่อหมู่บ้าน ตาบล อาเภอ จงั หวัด หรือลกั ษณะเดน่ ทางภมู ิศาสตร์ เช่น ช่ือภเู ขา แมน่ า้ หนอง บงึ รปู ท่ี 23 แสดงชอ่ื แผน่ ระวาง

2.1.2 หมายเลขแผ่นระวาง (Sheet Number) หมายเลขนี้จะปรากฏอยู่ทางขวาสุดของขอบระวางด้านบนและจะใช้เป็นหมายเลขอ้างอิงท่ีกาหนดให้กับ แผนท่แี ต่ละระวาง รปู ท่ี 24 แสดงหมายเลขแผน่ ระวาง 2.1.3 ชอื่ ชดุ และมาตราส่วน (Series name and Scale) ชื่อชุดของแผนที่จะปรากฏอยู่ที่ขอบระวางด้านซ้ายตอนบน ตามปกติแล้วชื่อชุดของแผนที่มักจะตั้งตาม ลักษณะเด่นของบริเวณพื้นที่ซ่ึงแผนท่ีชุดนั้นๆ ปกคลุมอยู่ สาหรับมาตราส่วนของแผนท่ีน้ันจะปรากฏอยู่ทั้งที่ขอบ ระวางด้านซ้ายตอนบน และตรงก่ึงกลางของขอบระวางตอนล่าง ตามปกติแล้วการเลือกมาตราส่วนย่อมขึ้นอยู่กับ ความมุ่งหมายที่ตัง้ ใจวา่ จะนาแผนที่ชดุ น้นั ไปใช้เพ่ือการใด

รปู ที่ 25 แสดงชอื่ ชดุ และมาตราสว่ น 2.1.4 หมายเลขประจาชดุ (Series Number) หมายเลขประจาชุดปรากฏอยู่ท่ีขอบระวางด้านขวาตอนบน และที่ขอบระวางด้านซ้ายตอนล่าง โดย หมายเลขประจาชุดจะแสดงให้ทราบถึงการปกคลุมพ้ืนที่ทางภูมิศาสตร์ บอกถึงขนาดของมาตราส่วน รวมท้ัง จาแนกแผนที่แต่ละชนดิ หรือแต่ละรุน่ โดยการกาหนดชื่อหรอื หมายเลขเพื่อใหเ้ หน็ ความแตกต่างระหว่างชุด โดยหมายเลขประจาชดุ จะประกอบดว้ ย  องค์ประกอบท่ี 1 ประกอบด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ A – Z (โดยจะยกเว้น I และ O) หมายถึง การ ครอบคลุมพ้ืนที่บริเวณภูมิภาค ซึ่งทั่วโลกจะประกอบด้วย 24 ภูมิภาค โดยตัวอักษรภาษาอังกฤษ L เป็น ภูมภิ าคที่ครอบคลมุ ประเทศไทย ลาว กมั พชู า เวียดนาม มาเลเซยี จีน ไตห้ วนั เกาหลี และญี่ปุ่น  องค์ประกอบท่ี 2 ประกอบด้วยตัวเลข 1 ตาแหน่ง หมายถึง ย่านของมาตราส่วนประกอบด้วยหมายเลข 0 – 9 กลา่ วคือ o หมายเลข 1 มาตราส่วน 1 : 5,000,000 และเล็กกวา่ o หมายเลข 2 มาตราสว่ นต้งั แต่ 1 : 5,000,000 ถงึ 1 : 2,000,000 o หมายเลข 3 มาตราสว่ นตงั้ แต่ 1 : 2,000,000 ถึง 1 : 510,000 o หมายเลข 4 มาตราสว่ นตั้งแต่ 1 : 510,000 ถงึ 1 : 255,000

o หมายเลข 5 มาตราสว่ นตั้งแต่ 1 : 255,000 ถึง 1 : 150,000 o หมายเลข 6 มาตราสว่ นตง้ั แต่ 1 : 150,000 ถึง 1 : 70,000 o หมายเลข 7 มาตราสว่ นต้ังแต่ 1 : 70,000 ถงึ 1 : 35,000 o หมายเลข 8 มาตราส่วนตั้งแต่ 1 : 35,000 o หมายเลข 9 แผนทผ่ี ังเมอื ง ไม่กาหนดมาตราส่วน o หมายเลข 0 แผนทร่ี ปู ถ่าย ไมก่ าหนดมาตราส่วน  องค์ประกอบที่ 3 ประกอบด้วยตัวเลข 1 ตาแหน่ง หมายถึง การแบ่งย่อยพ้ืนที่ในองค์ประกอบที่ 1 ออกเป็นส่วนๆ มีหมายเลข 1 – 9 แต่ถ้าบริเวณส่วนย่อยของภูมิภาคหลายๆ ส่วนรวมกันจะให้หมายเลข เปน็ 0 เช่น ภูมิภาค L จะใชห้ มายเลข 0 เป็นต้น  องค์ประกอบท่ี 4 ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตาแหน่ง หมายถึง หมายเลขรหัสหรือรุ่นของแผนที่ เพื่อที่ใช้ใน การระบุแผนที่ของแต่ละชนิดหรือแต่ละรุ่น และสามารถเข้าใจว่าไม่ได้เป็นแผนที่ชุดเดียวกันถึงแม้ว่าจะมี มาตราส่วนเท่ากันหรือคลุมพื้นที่ในภูมิภาคและในส่วนของภมู ิภาคเดียวกัน เชน่ แผนที่ชุด L7017 มาตรา ส่วน 1 : 50,000 และแผนทช่ี ุด L7018 มาตราส่วน 1 : 50,000 ท้ัง 2 แผนท่ีจะมีมาตราส่วนเทา่ กัน และ ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยเหมือนกัน แต่แผนท่ีชุด L7018 จะใหม่กว่าและดีกว่าเพราะมีการปรับปรุง ขอ้ มลู มาจากแผนทช่ี ดุ L7017 เปน็ ต้น รปู ท่ี 26 แสดงหมายเลขประจาชดุ

2.1.5 หมายเลขการจัดพิมพ์ (Edition Number) ปรากฏอยู่ที่ขอบระวางด้านขวาตอนบนและขอบระวางด้านซ้ายตอนล่าง หมายเลขการจัดพิมพ์นี้จะ เรียงลาดับจากน้อยไปหามาก โดยจะแสดงให้ทราบว่าแผนที่นั่นได้ถูกจัดพิมพ์ข้ึนเป็นคร้ังที่เท่าไร ซึ่งโดยปกติแล้ว แผนท่ีบริเวณเดียวกันหมายเลขการจัดพิมพ์คร้ังหลังๆ ย่อมมีข้อมูลและรายละเอียดท่ีทันสมัยกว่าแผนท่ีท่ีมี หมายเลขการจัดพิมพ์ครงั้ กอ่ นๆ รปู ท่ี 27 แสดงหมายเลขการจดั พมิ พ์ 2.1.6 มาตราส่วนเสน้ บรรทดั (Bar Scales) จะปรากฏอยู่กึ่งกลางของขอบระวางด้านล่าง มาตราส่วนเหล่านี้แสดงไว้เป็นรูปเส้นบรรทัดหลายๆ เส้น เพ่ือใช้พิจารณาหาระยะจริงจากแผนที่ แผนที่แต่ละระวางจะมีมาตราส่วนเส้นบรรทัดตั้งแต่ 3 บรรทัดขึ้นไป ซ่ึง แตล่ ะบรรทดั จะแสดงมาตราส่วนวัดระยะทแ่ี ตกตา่ งกนั เช่น ไมล์ เมตร หลา และไมล์ทะเล4 เปน็ ต้น 4 ไมล์บก (statute mile) เท่ากับ 1.61 กิโลเมตร ส่วนไมล์ทะเล (nautical mile หรือ geographical mile) นั้นยาวกว่าไมล์บก คือเทา่ กับ 1.852 กโิ ลเมตร

รปู ท่ี 28 แสดงมาตราสว่ นเสน้ บรรทดั 2.1.7 บนั ทกึ เกย่ี วกับความน่าเช่ือถอื (Credit Note) จุดประสงค์สาคัญของบันทึกนี้ เพื่อช้ีแจงให้ผู้ใช้แผนท่ีทราบว่า หน่วยงานใดเป็นผู้ทาแผนที่นี้ด้วยวิธีใดจะ ปรากฏอยดู่ า้ นล่างซา้ ยของขอบระวางแผนท่ี เช่น “แผนท่ีนจ้ี ัดทาโดย ARMY MAP SERVICE (AM) เหลา่ ทหารช่าง กองทพั บกอเมรกิ นั ฯลฯ การแปลภาพในสนามกระทาเมอื่ ปี พ.ศ. 2498” รปู ที่ 29 แสดงบนั ทกึ เกยี่ วกบั ความนา่ เชอ่ื ถอื

2.1.8 สารบัญระวางตดิ ต่อ (Adjoining Sheets) สารบัญระวางติดต่อจะปรากฏอยู่ที่ขอบระวางตอนล่างด้านขวา สารบัญระวางติดต่อนี้แสดงให้ทราบถึง แผนท่ีระวางต่างๆ ทีอ่ ยรู่ อบแผนทฉี่ บบั นั้น รปู ท่ี 30 แสดงสารบญั ระวางตดิ ตอ่ 2.1.9 สารบญั แสดงแนวแบง่ เขตการปกครอง (Boundaries) ปรากฏอยู่ท่ีตอนล่างของขอบระวางด้านขวา แผนผังน้ีเป็นรูปแสดงให้ทราบถึงเขตการปกครองในแผนท่ี ซง่ึ ตรงกบั ในภูมปิ ระเทศ เชน่ ขอบเขตจังหวดั ขอบเขตอาเภอ เป็นตน้

รปู ท่ี 31 แสดงสารบญั แสดงแนวแบง่ เขตการปกครอง 2.1.10 คาแนะนาเก่ียวกบั ระดับความสูง (Elevation Guide) ปรากฏอย่ทู ตี่ อนลา่ งของขอบระวางด้านขวาใกลก้ ับสารบญั ระวางติดต่อเปน็ แผนผงั ทแ่ี สดงความสูงของจุด ตา่ งๆ ในแผนทซี่ ่งึ ตรงกบั ในภูมิประเทศจริง โดยที่ความสูงนนั้ คดิ จากระดับนา้ ทะเลปานกลาง5 5 ระดับน้าทะเลปานกลาง (Mean Sea Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดบั นา้ ทะเลขนึ้ สูงสดุ (High Tide : HT) และลงตา่ สุด (Low Tide : LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาท่ีกาหนด แล้วนาค่ามาเฉล่ียเป็นระดับน้าทะเลปานกลาง สาหรับระยะเวลาที่ทา การรังวัดโดยท่ัวไปจะต้องวดั เปน็ เวลา 18.6 ปี ตามวฏั จกั รของน้า ระดับน้าทะเลปานกลางของแต่ละบรเิ วณทั่วโลกอาจจะมีความ สูงไม่เท่ากัน

รปู ท่ี 32 แสดงคาแนะนาเกย่ี วกบั ระดบั ความสงู 2.1.11 แผนผังเดคลิเนชัน่ (มุมเย้อื ง) (Declination Diagram) ปรากฏอยู่ที่ขอบระวางตอนล่าง แสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของมุมท่ีเกิดขึ้นระหว่างทิศเหนือจริง ทิศ เหนอื กริด และทศิ เหนือแม่เหล็ก รปู ที่ 33 แสดงแผนผงั เดคลเิ นชนั่ (มมุ เยอ้ื ง)

2.1.12 ช่วงตา่ งเส้นชนั้ ความสูง (Contour Interval) ปรากฏอยู่ท่ขี อบระวางตอนล่างบอกให้ทราบถงึ ช่วงตา่ งเส้นช้นั ความสูง รปู ท่ี 34 แสดงชว่ งตา่ งเสน้ ชน้ั ความสงู 2.1.13 อิลลิปซอยด์ (Ellipsoid) กริด (Grid) เส้นโครงแผนที่ (Projection) หลักฐานทางแนวยืน (Vertical Datum) หลักฐานทางแนวนอน (Horizontal Datum) กาหนดจุดควบคุมโดย (Controlled By) สารวจช่ือโดย (Names Data By) แผนท่ีน้จี ดั ทาโดย (Prepared By) พมิ พ์โดย (Printed By) ขอ้ ความท้ังหมดทก่ี ล่าวมาน้ี ปรากฏอยู่ขอบระวางตอนล่างใตข้ ้อความทีบ่ อกระยะชว่ งตา่ งเสน้ ชั้นความสงู โดยบอกใหท้ ราบถงึ ขอ้ มลู ต่างๆ ท่ีกลา่ วมานี้ไว้อย่างชัดเจน

รปู ท่ี 35 แสดงอลิ ลปิ ซอยด์ (Ellipsoid) กรดิ (Grid) เสน้ โครงแผนท่ี (Projection) หลกั ฐานทางแนวยนื (Vertical Datum) หลกั ฐานทางแนวนอน (Horizontal Datum) กาหนดจดุ ควบคมุ โดย (Controlled By) สารวจชอ่ื โดย (Names Data By) แผนทน่ี ้ี จดั ทาโดย (Prepared By) พมิ พโ์ ดย (Printed By) 2.1.14 ศพั ทานกุ รม (Glossary) ปรากฏอยู่ใต้คาแนะนาเกี่ยวกับระดับสูง เป็นคาอธิบายเกี่ยวกับคาต่างๆ ทางเทคนิค หรือ คาแปลของคา ตา่ งๆ ท่ีใช้อยบู่ นแผนที่ซ่งึ ใช้ภาษาพื้นเมืองมาเปน็ คาภาษาองั กฤษ รปู ท่ี 36 แสดงศพั ทานกุ รม

2.1.15 คาแนะนาการใช้คา่ กริด (Grid reference Box) เป็นข้อความท่ีบรรจุอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ปรากฏอยู่ก่งึ กลางด้านล่างขอบระวาง เป็นคาแนะนาสาหรับการ อา่ นพกิ ัดแบบละเอียด โดยอธบิ ายไว้เป็นขัน้ ตอน รปู ท่ี 37 แสดงคาแนะนาการใชค้ า่ กรดิ 2.1.16 คาอธบิ ายสัญลักษณ์ (Legend) ปรากฏอยู่ที่ขอบระวางด้านล่างทางซ้าย สัญลักษณ์หรือเคร่ืองหมายแผนท่ีจะแสดงไว้ด้วยรูปภาพ เคร่ืองหมาย และเส้นตา่ งๆ โดยอธิบายใหท้ ราบวา่ สิ่งที่เป็นอยู่จรงิ ในภมู ปิ ระเทศน้นั คอื อะไร

รปู ที่ 38 แสดงคาอธบิ ายสญั ลกั ษณ์ 2.1.17 หมายเลขสงิ่ อปุ กรณ์ (Stock No.) ปรากฏอยู่ท่ีขอบระวางตอนล่างสุดทางด้านขวา หมายเลขส่ิงอุปกรณ์จะเป็นเคร่ืองบอกให้ทราบถึงชนิด ของแผนท่ีต่างๆ ใช้เพื่อความมุ่งหมายในการเบิกแผนท่ี หมายเลขสิ่งอุปกรณ์ประกอบด้วยหมายเลขชุด หมายเลข ระวาง และครง้ั ทก่ี ารพมิ พ์ ตามลาดับ ตวั อยา่ ง เชน่ หมายเลขส่ิงอุปกรณ์ L701805137101 L7018 หมายถงึ หมายเลขประจาชดุ ที่ L7018 51371 หมายถงึ หมายเลขแผน่ ระวางที่ 5137 I (ใช้เลขอารบิกแทนเลขโรมนั ) 01 หมายถึง หมายเลขการจัดพมิ พ์ ซง่ึ หมายถึง พมิ พค์ รง้ั ท่ี 1 รปู ท่ี 39 แสดงหมายเลขสงิ่ อปุ กรณ์ 2.2 สัญลกั ษณ์ คือ เครื่องหมายแบบมาตรฐานท่ีพิมพ์ไว้บนแผนที่เพ่ือแสดงลักษณะของสิ่งต่างๆ ท่ีเกิดข้ึนตามธรรมชาติ และสงิ่ ทมี่ นุษย์สร้างข้ึน

การจาแนกชนดิ ของสัญลักษณ์สามารถจาแนกได้ตามเกณฑ์ดงั ต่อไปนี้ 2.2.1 จาแนกตามรปู ร่างของสญั ลกั ษณ์  สัญลักษณ์ที่เป็นจุด (Point or Pictorial Symbol) แสดงคุณลักษณะของวัตถุ มักใช้แทนสถานท่ีและ ตาแหน่งหรือท่ีตั้งของสถานที่ การแสดงรูปร่างของจุดอาจแตกต่างกันได้หลายอย่าง เช่น วงกลม รูป สามเหล่ยี ม รปู สีเ่ หลี่ยม รปู ภาพของสถานท่ี เปน็ ตน้ รปู ท่ี 40 แสดงสญั ลกั ษณท์ เี่ ปน็ จดุ  สญั ลักษณ์ทเ่ี ป็นเส้น (Line Symbol) มกั ใชแ้ ทนสิ่งต่างๆ ที่มีลกั ษณะเป็นเส้นหรือแนว ซ่ึงอาจเกิดขึน้ ตาม ธรรมชาติ เช่น แม่นา้ ลาธาร หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ถนน รถไฟ เส้นขอบเขตการปกครอง เส้นรอบ รูปบอ่ น้า

รปู ที่ 41 แสดงสญั ลกั ษณท์ เี่ ปน็ เสน้  สัญลักษณ์ที่เป็นพื้นท่ี (Area Symbol) เป็นสัญลักษณ์ท่ีแทนพื้นที่เป็นบริเวณกว้างๆ เช่น ทุ่งนา ป่าไม้ แหล่งน้า การใช้ที่ดิน พ้ืนท่ีสวน พ้ืนที่ไร่ ซ่ึงบางพ้ืนที่นั้นอาจมีสีหรือสัญลักษณ์อ่ืนๆ ประกอบด้วย เช่น หาดทรายจะมีจุดเล็กๆ ประกอบอยู่ด้วย พ้ืนท่ีนาก็อาจมีสัญลักษณ์รูปต้นข้าวเล็กๆ ประกอบอยู่ด้วย เปน็ ตน้

รปู ท่ี 42 แสดงสญั ลกั ษณท์ เ่ี ปน็ พน้ื ที่ 2.2.2. จาแนกตามสิ่งทดแทน  สัญลกั ษณ์ท่ีใชแ้ ทนสิ่งทเ่ี กดิ ข้นึ เองตามธรรมชาติ (Natural or Physical features) ซึง่ ใชท้ ดแทน สิ่ง เหล่าน้ี เชน่ o แหล่งน้าและระบบการระบายน้า เช่น ห้วย หนอง คลอง บงึ แมน่ ้า ทะเล เปน็ ต้น o พืชพรรณธรรมชาติ เป็นพืชพรรณที่เกิดขึ้นเองมนุษย์มิได้ปลูกข้ึน เช่น ป่าทึบ ป่าแคระ ป่าไผ่ เปน็ ตน้ o ความสูงต่าของพ้นื ท่ี เชน่ ภเู ขา ทีร่ าบ แอ่งน้า เป็นตน้  สญั ลักษณท์ ีใ่ ชแ้ ทนสงิ่ ทม่ี นุษยส์ รา้ งข้นึ (Man-made features) o การใช้ทด่ี ิน เชน่ พน้ื ทท่ี าการเกษตร พื้นทที่ าเหมืองแร่ พ้นื ทีท่ านาเกลอื เป็นต้น o การคมนาคม เชน่ ทางรถยนต์ ทางรถไฟ ทางคนเดิน เสน้ ทางเดนิ เรือ เป็นตน้ o สถานท่ีราชการ เช่น ที่ต้ังศาลากลางจงั หวดั ท่ีว่าการอาเภอ โรงเรยี น เป็นตน้  สัญลักษณ์ที่ใช้แทนข้อมูลพิเศษ (Special features) เป็นสัญลักษณ์ท่ีใช้แทนสิ่งซ่ึงผู้เขียนแผนที่ต้องการ แสดงให้ผใู้ ช้ทราบ โดยส่งิ เหล่าน้ันไม่มีปรากฏให้เหน็ บนพ้ืนที่เพราะอาจเป็นข้อตกลงท่ีมนษุ ย์ทาขึ้นเท่าน้ัน หรืออาจมปี รากฏแตไ่ มเ่ ปน็ ทร่ี ู้จักของคนทวั่ ไป เช่น o เส้นกนั้ อาณาเขตการปกครอง ไดแ้ ก่ เส้นอาณาเขตประเทศ เขตจงั หวดั เขตอาเภอ เป็นต้น

o ความสงู ของผิวโลก ไดแ้ ก่ หมุดหลกั ฐานแนวนอน จดุ ระดับสูงเทย่ี ง เป็นต้น o พิกัดภูมิศาสตรแ์ ละพิกัดฉาก 2.3 สี (Color) สีทใี่ ช้ในบรเิ วณขอบระวางแผนท่ีจะเปน็ สีของสัญลักษณ์ท่ีใชแ้ ทนรายละเอยี ดหรอื ข้อมลู ต่างๆ ของแผนท่ี (อา้ งอิง การอ่านแผนท่ี โรงเรยี นทหารชา่ ง กรมการทหารชา่ ง)  สีดา แทนรายละเอียดที่สาคัญทางวัฒนธรรมหรือส่ิงท่ีมนุษย์สร้างขึ้น เช่น หมู่บ้าน ทางรถไฟ อาคาร สุสาน วดั สถานท่รี าชการตา่ งๆ เปน็ ตน้  สีนา้ เงนิ แทนรายละเอียดทเ่ี ปน็ นา้ เช่น แมน่ ้า ทะเลสาบ หนอง บึง เปน็ ตน้  สีนา้ ตาล แทนรายละเอยี ดท่มี คี วามสูงต่าของพน้ื ผวิ เช่น เส้นช้ันความสูง ดนิ ถม แนวคันดนิ เป็นตน้  สเี ขยี ว แทนบริเวณท่เี ปน็ ปา่ หรือพืชพรรณไมต้ ่างๆ เชน่ ป่า สวน ไร่ เป็นตน้  สีแดง แทนถนนสายหลัก พ้ืนท่ีย่านชุมชนหนาแน่น บางแห่งแสดงไว้ให้ทราบเป็นพื้นท่ีหวงห้าม หรือมี อันตราย รปู ท่ี 43 แสดงสแี ทนสญั ลกั ษณใ์ นแผนท่ี (อา้ งองิ จาก howstuffworks.com) 2.4 ช่ือภูมิศาสตร์ (Geographical Names) เป็นตัวอักษรกากับรายละเอียดต่างๆ ที่แสดงไว้ภายในขอบระวางแผนท่ี เพื่อใช้บอกให้ทราบว่าสถานที่ แหล่งน้ันมชี ื่อเรยี กอะไร

รปู ท่ี 44 แสดงชอ่ื ภมู ศิ าสตร์

บทที่ 3 ระบบพิกดั แผนที่ 3.1 พนื้ ท่หี ลกั ฐาน (Datum) เป็นระบบอ้างองิ ในการหาตาแหน่ง (Reference system) ซึ่งประกอบด้วยหมุดหลกั ฐานท่ีรังวัดเชื่อมโยง กันเป็นโครงข่ายและมีค่าพิกัดบนระบบอ้างอิง พ้ืนที่หลักฐานมี 2 ชนิด คือพ้ืนหลักฐานทางราบและพื้นหลักฐาน ทางดงิ่  พ้นื ที่หลักฐานทางราบ จะอยู่ตรงก่ึงกลางด้านล่างของขอบระวางของแผนท่ี เป็นการสารวจเพ่ือทาพิกัดท่ี แนน่ อนของพ้ืนที่ตา่ งๆ เชน่ หมู่บา้ น ตาบล เปน็ ต้น โดยยึดวิธีสารวจทางแนวราบมาจากหมุดหลักฐานทาง ราบทปี่ ระเทศอนิ เดีย  พ้ืนท่ีหลักฐานทางด่ิง จะอยู่กึ่งกลางด้านล่างของขอบระวางของแผนท่ี เป็นการกาหนดความสูงของพื้นที่ ต่างๆ ที่ปรากฏบนแผนท่ีนั้น โดยอ้างอิงความสูงจากระดับน้าทะเลปานกลาง สาหรับประเทศไทยใช้ค่า ระดับน้าทะเลปานกลาง ณ เกาะหลัก จังหวดั ประจวบคีรีขนั ธ์ 3.2 โปรเจคชน่ั แผนที่ (Map Projection) เป็นกรรมวิธีในการจาลองพื้นผิวของรูปทรงรีลงบนแผนท่ีที่แบนเรียบ โดยอาศัยหลักการฉายแสง คือให้มี แหลง่ ต้นกาเนิดแสงส่องไปยังโลกแลว้ มฉี ากมารับไวด้ า้ นหลงั เกดิ เปน็ ภาพสองมิตอิ อกมาเปน็ แผนที่  รปู ทรงกระบอก (Cylinder) ต้นกาเนิดแสงจะอยู่ก่ึงกลางโลกโดยมีฉากรูปทรงกระบอกหอ่ รอบโลกเอาไว้ บริเวณที่สัมผัสกบั ผิวโลกจะมี ความบิดเบี้ยวน้อยส่วนบริเวณท่ีห่างออกไปจะมีความบิดเบ้ียวมากข้ึน โปรเจคช่ันแบบรูปทรงกระบอกน้ีจึงเหมาะ ในการนามาใช้ทาแผนท่สี ว่ นกลางโลก  รปู ทรงกรวย (Cone) ผลจากการโปรเจคชั่นแบบรูปทรงกรวยนี้ เส้นละติจูดจะเป็นเส้นโค้งซ้อนๆ กัน เส้นลองจิจูดจะเป็น เส้นตรงคล้ายซี่ลอ้ รถจกั รยาน โปรเจคชั่นแบบรูปทรงกรวยนจี้ งึ เหมาะในการนามาเหมาะกับบริเวณใกลข้ ั้วโลก  รปู ทรงระนาบ (Plane)

ต้นกาเนิดแสงจะอยู่ก่ึงกลางโลกโดยมีฉากแบนราบสัมผัสกับโลกจุดใดจุดหนึ่ง เม่ือสัมผัสบริเวณขั้วโลก จะทาให้เส้นละติจูดปรากฏออกมาเป็นเส้นวงกลม ส่วนเส้นลองจิจูดจะปรากฏออกมาเป็นเส้นตรงเป็นรัศมีคล้าย ซีล่ อ้ รถจกั รยาน โปรเจคชัน่ แบบ Plan นีจ้ ึงเหมาะในการนามาใชท้ าแผนทบ่ี รเิ วณขัว้ โลก รปู ท่ี 45 แสดงรปู แบบโปรเจคชนั่ ของแผนที่ (a) โปรเจคชนั่ รปู ทรงกระบอก (b) โปรเจคชนั่ รปู ทรงกรวย (c) โปรเจคชน่ั รปู ทรงระนาบ (อา้ งอิงจาก http://linfiniti.com/) 3.3 พิกดั ภมู ิศาสตร์ (Geographic Coordinates) ระบบพิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบพิกัดที่กาหนดตาแหน่งบนพื้นโลก ด้วยวิธีการอ้างอิงตาแหน่งเป็นค่าระยะ เชิงมุมของละติจูด (Latitude) และลองจิจูด (Longitude) ตามระยะเชิงมุมท่ีห่างจากศูนย์กาเนิด (Origin) ของ ละติจดู และลองจจิ ดู ที่กาหนดขน้ึ

รปู ที่ 46 แสดงระบบพกิ ดั ภมู ศิ าสตร์ (อา้ งองิ จาก colorado.edu) สาหรับศูนย์กาเนดิ ของละตจิ ูด (Origin of Latitude) น้ันกาหนดขึน้ จากแนวระดับท่ีตดั ผ่านศูนยก์ ลางของ โลกและต้ังฉากกบั แกนหมุน เรยี กแนวระนาบศูนยก์ าเนดิ น้ันวา่ เส้นศนู ย์สตู ร (equator) ซงึ่ แบง่ โลกออกเปน็ ซีกโลก เหนือและซีกโลกใต้ ฉะนั้นละติจูดจะเป็นค่ามุมท่ีวัดระหว่างจุดใดๆกับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งจะวัดมุมออกไปทั้งซีกโลก เหนือและซีกโลกใต้โดยท่ีค่าของมุมจะสิ้นสุดท่ีข้ัวโลกเหนือและข้ัวโลกใต้มีค่าของมุมเท่ากับ 90 องศา ดังนั้นเวลา จะใชค้ า่ มมุ ของละติจดู อ้างอิงในการบอกตาแหนง่ ตา่ งๆ นอกจากจะกาหนดค่าวัดเป็นองศา ลปิ ดา และฟิลิปดาแล้ว จะต้องบอกซีกโลกเหนอื หรอื ซีกโลกใต้กากบั ดว้ ยเสมอ เช่น ละตจิ ูดที่ 30 องศา 00 ลิปดา 15 ฟิลปิ ดาเหนือ

รปู ท่ี 47 แสดงลกั ษณะของเสน้ ละตจิ ดู ศูนย์กาเนิดของลองจิจูด (Origin of Longitude) กาหนดขึ้นจากแนวระดับที่ตัดผ่านแกนหมุนของโลก โดยเร่ิมจากข้ัวโลกเหนือ ผ่านบริเวณหอดูดาวเมืองกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษไปจนถึงข้ัวโลกใต้ เรียก ศนู ย์กาเนิดนี้ว่า เส้นเมอริเดยี นเร่ิมแรก (Prime Meridian) เป็นเส้นที่แบ่งโลกออกเป็นซกี โลกตะวนั ตกและซีกโลก ตะวันออก ค่าระยะเชิงมุมของลองจิจูดเป็นค่าท่ีวัดมุมออกไปทางตะวันตกหรือตะวันออกของเส้นเมอริเดียน เรมิ่ แรก กลา่ วคือ  ทางตะวันตก จะวัดจากเส้นเมอริเดียนเริ่มแรกเป็นฐานกาเนิดมมุ มคี ่าเท่ากับ 0 องศา และมคี ่าเพ่ิมข้ึนโดย มีทิศทางไปทางทิศตะวันตก และไปส้นิ สดุ ทเ่ี ส้นเมอรเิ ดียนด้านตรงข้ามมีค่าของมมุ เทา่ กบั 180 องศา  ทางตะวันออก จะวัดจากเส้นเมอริเดียนเร่ิมแรกเป็นฐานกาเนิดมุมมีค่าเท่ากับ 0 องศา และมีค่าเพิ่มขึ้น โดยมีทิศทางไปทางทิศตะวันออก และไปสิ้นสุดท่ีเส้นเมอริเดียนด้านตรงข้ามมีค่าของมุมเท่ากับ 180 องศา

รปู ที่ 48 แสดงลกั ษณะของเสน้ ลองจจิ ดู 3.4 พกิ ัดกรดิ (Grid Coordinate) พิกัดกริด คือ ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่แปลงค่าพิกัดในลักษณะ 3 มิติ ให้เป็นลักษณะพื้นราบท่ี 2 มิติ (Cartesian Coordinate System) ระบบพิกัดกรดิ ประกอบด้วยเส้นขนาน 2 ชุดในแนวตัง้ และแนวนอนตัดกันเป็น มุมฉากทาให้เกิดสี่เหล่ียมจัตุรัส ระบบพิกัดกริดจะมีอยู่ด้วยกันหลายระบบ เช่น Mercator, Transverse Mercator, Universal Polar Stereographic Grid (UPS Grid) และ Universal Transverse Mercator เปน็ ต้น 3.4.1 ระบบพิกัดกรดิ UTM (UNIVERSAL TRANSVERS MERCATOR GRID) ระบบพิกัดกริด UTM จะใช้การกาหนดโซนของกริด (Grid Zone Designation) โดยการแบ่งออกเป็น 2 สว่ น คอื

การแบ่งโซนตามเส้นละตจิ ูด ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ละติจูด 80 องศาใต้ถึงละติจูด 84 องศาเหนือ โดยจะแบ่งพ้ืนที่ออกเป็น 20 ส่วน ส่วนละ 8 องศา เฉพาะส่วนบนสุดเท่าน้ันที่มีค่าเป็น 12 องศา ในแต่ละส่วนจะใช้อักษรกากับเริ่มจากอักษร C ทเ่ี ปน็ สว่ นใตส้ ุด (ระหว่างละตจิ ูด 80 องศา – 72 องศาใต)้ ขนึ้ ไปตามลาดับถึงอักษร X โดยจะยกเวน้ I กับ O การแบ่งโซนตามเส้นลองจิจูด ครอบคลมุ พื้นท่ตี งั้ แต่ลองจิจูด 180 องศาตะวันตกเวยี นไปทางตะวันออกถึงลองจจิ ูด 180 องศาตะวันออก แบ่งพนื้ ทอี่ อกเป็น 60 ส่วน สว่ นละ 6 องศา ในแต่ละส่วนใช้ตัวเลขกากบั เร่ิมส่วนท่ี 1 ระหวา่ งลองจิจดู 180 องศา ตะวันตกกับ 174 องศาตะวันตก นับไปทางทิศตะวันออกจนถึงส่วนท่ี 60 ซ่ึงเป็นส่วนสุดท้ายอยู่ระหว่างลองจิจูด 174 องศาตะวนั ออกกบั 180 องศาตะวันออก (ลองจิจูด 180 ตะวันตกกับ 180 ตะวนั ออกเป็นเส้นเดยี วกนั ) การกาหนดโซนของกริดตามลักษณะน้ีจะทาให้เกิดเป็นรูปสี่เหลี่ยมท่ีตัดกันด้วยเส้นละติจูดที่ห่างกัน 8 องศา และลองจิจูดท่ีห่างกัน 6 องศา จะมีวิธีการอ่านค่าประจาโซนโดยให้อ่านค่าไปทางขวาและข้ึนบนหรือ เรียกว่า “READ RIGHT – UP” โดยท่ีค่าประจาแต่ละโซนจะมีค่าที่เป็นตัวเลขนาหน้าตัวอักษร เช่น 3P หรือ 60N เปน็ ตน้

รปู ที่ 49 แผนที่ในระบบพกิ ดั กรดิ แบบ UTM (อา้ งองิ จาก grossmont.edu) รปู ที่ 50 การกาหนดโซนของกรดิ ในระบบ UTM 3.4.2 ระบบพิกัด UPS (Universal Polar Stereographic Grid System) UPS เป็นระบบพิกัดกริดที่ใช้กาหนดตาแหน่งและอ้างอิงในการบอกตาแหน่งบริเวณข้ัวโลกเหนือ (ละติจูด 84-90 องศาเหนือและข้ัวโลกใต้ (ละติจูด 80-90 องศาใต้) สาหรับแผนที่ของประเทศต่างๆ และทวีปท่ีอยู่บริเวณ ละตจิ ดู ทข่ี ว้ั โลกทงั้ สอง จะมีระบบและวิธีการกาหนดค่าตารางพกิ ัดดังน้ี การแบ่งโซนกริดขั้วโลก (UPS grid zone) แบง่ ออกเปน็ 2 โซน ทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ โดยใชเ้ ส้น เมอริเดียนท่ี 0 องศาและ180 องศา เป็นเส้นแบ่งโซนและใช้อักษรภาษาอังกฤษเรียกกากับโซน สาหรับ UPS grid zone ขว้ั โลกเหนอื ใช้อักษร Y (ซีกโลกตะวนั ตก) และ Z (ซีกโลกตะวันออก) ขว้ั โลกใตใ้ ชอ้ กั ษร A (ซีกโลกตะวนั ตก) และ B (ซกี โลกตะวันออก)

รปู ท่ี 51 แสดงการแบง่ โซนกรดิ ขวั้ โลกเหนอื และขว้ั โลกใต้ 3.5 มาตราสว่ นแผนที่ (Map Scale) มาตราส่วนแผนที่เป็นอัตราส่วนระยะบนแผนท่ีตามแนวนอนกับระยะในภูมิประเทศตามแนวนอน โดยที่ ระยะบนแผนท่ีจะมีคา่ เป็น 1 เสมอ โดยใชห้ น่วยวัดระยะใดๆ กไ็ ด้ เช่น 1 : 50,000 หรือ 1/50,000 หมายความว่า 1 หนว่ ยที่วดั ได้บนแผนทีเ่ ท่ากับ 50,000 หน่วยในภมู ปิ ระเทศจริงในหน่วยวัดระยะเดยี วกัน สูตรการคานวณหามาตราส่วน มาตราส่วน = ระยะบนแผนท่ี / ระยะในภมู ิประเทศ ตัวอย่าง แผนท่ีมาตราส่วน 1 : 1,000 วัดระยะบนแผนท่ีได้ 5 เซนติเมตร ดังน้ันระยะในภูมิประเทศ 5 x 1,000 = 5,000 เซนติเมตร การหามาตราสว่ นของแผนที่กระทาได้ 2 วิธี คอื  เปรยี บเทยี บระยะบนแผนที่กบั ระยะเดียวกันในภูมปิ ระเทศ ตัวอย่าง แผนท่ีฉบับหนึ่งไม่ทราบมาตราส่วน แต่วัดระยะระหว่างจุด 2 จุดของแผนที่ได้ 10 เซนติเมตร และวัด ระยะเดยี วกนั น้ใี นภูมปิ ระเทศได้ 1,000 เมตร แผนทฉี่ บับน้มี มี าตราส่วนเทา่ ไร มาตราส่วน = ระยะบนแผนที่ / ระยะในภมู ปิ ระเทศ

= 10 เซนติเมตร / 1,000 เมตร = 10 เซนติเมตร / (1,000 X 100) เซนตเิ มตร แผนท่ฉี บับนมี้ มี าตราสว่ น = 1 : 10,000  เปรียบเทียบกบั แผนทีอ่ ื่นในบริเวณเดยี วกัน ซงึ่ มมี าตราส่วนอยู่แล้ว ตัวอย่าง วัดระยะระหว่างจุด 2 จุด บนแผนที่ ก. ที่ไม่ทราบมาตราส่วน วัดระยะระหว่าง 2 จุดได้ 10 เซนติเมตร และ แผน ข. มีมาตราส่วน 1 : 2,000 และวัดระยะระหว่างจุด 2 จุดท่เี ป็นจุดบริเวณเดียวกันกับแผนที่ ก. ได้ 4 เซนติเมตร ดังนน้ั แผนทีฉ่ บับแรกน้มี ีมาตราสว่ นเท่าไหร่ แผนท่ี ข. มมี าตราสว่ น 1 : 2,000 วดั ระยะได้ 4 ซม. ระยะในภูมิประเทศ = 2,000 x 4 = 8,000 ซม. มาตราส่วน = ระยะบนแผนที่ / ระยะในภมู ปิ ระเทศ ดังนนั้ แผนท่ี ก. มีมาตราสว่ น = 10 ซม. / 8,000 ซม. = 1 : 800 3.6 ทศิ ทาง ทิศทางเป็นเร่ืองท่ีเกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิตประจาวันของมนุษย์ โดยคาท่ีจะได้ยินอยู่เสมอ เช่น ซา้ ย-ขวา หน้า-หลัง เหนือ-ใต้ ออก-ตก ในการกาหนดทิศทางท่ีต้องการความละเอียดถกู ตอ้ งสงู จาเป็นต้องมีวธิ ีการ ที่แนน่ อน ใช้ไดก้ ับทุกพน้ื ที่ มีหน่วยในการบอกทิศทางทสี่ ามารถวดั ได้และมีความเปน็ สากล 3.6.1 ค่างา่ มมุม คา่ งา่ มมุมเปน็ หน่วยทใี่ ช้ในการกาหนดทิศทาง ซง่ึ จะประกอบดว้ ยกัน 3 ระบบ คือ  องศา (Degree) เป็นหน่วยที่ใช้ในการกาหนดขนาดของง่ามมุมท่ีใช้อยู่อย่างแพร่หลายท่ีสุด สว่ นใหญ่จะมี หน่วยเป็น องศา ลปิ ดา และฟิลิปดา โดยกาหนดให้มุมรอบจุดมีค่าเท่ากับ 360 องศา, 1 องศามีค่าเทา่ กับ 60 ลปิ ดา, 1 ลปิ ดามีค่าเทา่ กบั 60 ฟลิ ิปดา  มิล (Mils) เป็นหน่วยท่ีใช้ในการกาหนดขนาดของง่ามมุมในกิจการทหารบางสาขา เช่น การบอกท่ีหมาย เพื่อการยิงอาวุธของทหารราบ หรอื การต้ังยงิ และปรับมุมยิงของปืนใหญ่ เป็นต้น โดยกาหนดให้มมุ รอบจุด มคี า่ เท่ากบั 6,400 มิล

 เกรด (Grade) เป็นหน่วยท่ีใช้ในการกาหนดขนาดของง่ามมุมที่มีใช้อยู่ในงานสารวจด้านวิศวกรรมและ งานก่อสร้าง โดยกาหนดให้มมุ รอบจุดมีค่าเทา่ กับ 400 เกรด โดย 90 องศามคี า่ เทา่ กับ 100 เกรด, 1 เกรด แบ่งออกเปน็ 100 เซนตเิ กรด และ 1 เซนติเกรด แบ่งเปน็ 100 มิลลเิ กรด 3.6.2 เสน้ ฐานสาหรับกาหนดทิศทาง (Direction Base Lines) ในการรังวัดสิ่งใดๆ ก็ตาม จาเป็นต้องกาหนดจุดเร่ิมต้น หรือจุดศูนย์กลาง การกาหนดทิศทางก็ เช่นเดียวกัน จาเป็นต้องมีแนวเร่ิมหรือแนวทิศทางท่ีเป็นศูนย์ ซ่ึงมีชื่อเฉพาะเรียกว่า “เส้นฐานสาหรับกาหนด ทิศทาง” เส้นฐานสาหรับกาหนดทิศทางท่ีใช้เป็นสากลอยู่ในปัจจุบัน นิยมใช้ทิศเหนือเป็นทิศหลักซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกนั คือ  ทศิ เหนอื จรงิ (True North) คอื แนวทลี่ ากจากจุดใดจดุ หนง่ึ บนพนื้ ผิวพภิ พไปสู่จดุ ขั้วโลกเหนือ เส้น ลองจิจูดทุกเส้นจะชี้ไปในทิศทางของทิศเหนือจริง โดยจะใช้รูป “ดาว” เป็นเครื่องหมายแสดง ทิศ เหนือจริง  ทิศเหนือกริด (Grid North) คือแนวทิศเหนือท่ีขนานกับเส้นกริดในทางตั้ง โดยจะใช้อักษร “GN” เป็น เครอ่ื งหมายกากับแนวทิศเหนอื กรดิ  ทิศเหนือแม่เหล็ก (Magnetic North) คือแนวทิศเหนือท่ีกาหนดขึ้นโดยใช้เข็มทิศแม่เหล็ก โดยจะใช้รูป “ลูกศรซีกเดียว” เปน็ เครื่องหมายแสดงแนวทิศเหนือแม่เหล็ก รปู ที่ 52 แสดงสญั ลกั ษณแ์ ทนทศิ เหนอื จรงิ ทศิ เหนอื กรดิ และทศิ เหนอื แมเ่ หลก็

3.6.3 มมุ ภาคทิศและมุมภาคทศิ กลบั (Azimuth and Back Azimuth) มุมภาคทิศ (Azimuth) คือ ค่าของมุมทางราบท่ีนับเวียนตามเข็มนาฬิกา จากเส้นฐานสาหรับกาหนด ทิศทางไปยังทิศทางของที่หมาย เน่ืองจากเส้นฐานสาหรับกาหนดทิศทางมี 3 ชนิด ดังน้ันแล้วมุมภาคทิศจึงมี 3 ชนดิ ตามไปด้วย คอื  มุมภาคทิศเหนือจริง (True Azimuth) คือมุมภาคทิศที่ใช้แนวทิศเหนือจริงเป็นเส้นฐานในการกาหนด ทิศทาง  มุมภาคทิศเหนือแม่เหล็ก (Magnetic Azimuth) คือมุมภาคทิศท่ีใช้แนวทิศเหนือแม่เหล็กเป็นเส้นฐานใน การกาหนดทิศทาง  มุมภาคทศิ เหนอื กริด (Grid Azimuth) คอื มุมทิศทใ่ี ชแ้ นวทศิ เหนอื กรดิ เป็นเส้นฐานในการกาหนดทศิ ทาง รปู ที่ 53 แสดงมมุ ภาคทศิ เหนอื จรงิ มมุ ภาคทศิ เหนอื แมเ่ หลก็ และมมุ ภาคทศิ เหนอื กรดิ มมุ ภาคทศิ กลับ (Back Azimuth) คอื คา่ ของมมุ ทางราบท่ีนบั จากแนวเสน้ ฐานสาหรับกาหนดทศิ ทางเวยี น ตามเข็มนาฬิกาไปยังทิศทางท่ีอยู่ตรงข้ามกับทิศทางของที่หมาย วิธีการคานวณ คือ ในกรณีที่ค่ามุมภาคทิศน้อย กว่า 180 องศา ให้เอา 180 องศา บวกกับค่ามุมภาคทิศจะได้มุมภาคทิศกลับ และกรณีท่ีค่ามุมภาคทิศมากกว่า 180 องศา ใหเ้ อา 180 องศา ลบออกจากคา่ มมุ ภาคทศิ จะได้มุมภาคทิศกลับ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook