Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 10 การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

บทที่ 10 การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

Published by benjamas, 2020-07-16 03:46:21

Description: การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

Search

Read the Text Version

- 181 - บทที่ 10 การตัดเกรดและการนาผลการประเมนิ ไปใชใ้ นการพัฒนาผเู้ รียน การตัดเกรด เป็นการตัดสินผลการเรียนรู้ ซึ่งเป็นข้ันตอนสุดท้ายของการวัดและ ประเมินผลของผู้เรียน โดยนาคะแนนในการวัดและประเมินผลระหว่างเรียนและหลังเรียน นามารวบรวมแล้วแปลความหมายของคะแนนโดยเทียบกับเกณฑ์ที่กาหนดไว้ และแปลง คะแนนออกมาเป็นเป็นสัญลักษณ์หรือการให้ระดับคะแนน ซึ่งผลการประเมินการเรียนรู้ของ ผเู้ รียนตลอดภาคการศกึ ษาหรอื ปีการศึกษาน้ัน จะนาไปใช้พัฒนาผเู้ รียนในด้านต่าง ๆ ได้ 1. คะแนน 1.1 ความหมายของคะแนน คะแนน คือ ตัวเลขที่แสดงแทนปริมาณจากผลการวัดด้วยการทดสอบหรือการ ปฏิบัติ หรือความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยคะแนนแบ่งออกเป็นคะแนนดิบ (Raw Score) และคะแนนมาตรฐาน (Standard Score) 1.2 ประเภทของคะแนน 1.2.1 คะแนนดิบ (Raw Score) คะแนนดิบ เป็นคะแนนที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลจากการวัดโดยตรง ซึ่งวิธีการวัดที่ได้คะแนนแต่ละครั้งน้ันจากเคร่ืองมือหรือข้อสอบที่มีความยากง่ายและเน้ือหาที่ แตกต่างกัน จึงต้องใช้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติม เช่น การนาคะแนนดิบมาเป็นคะแนนเฉลี่ยและส่วน เบี่ยงเบนของคะแนนแต่ละฉบับ เป็นต้น ซึ่งถ้าคะแนนดิบของผู้เรียนมาจัดอันดับ จะเป็นข้อมูล ในระดับมาตราเรียงอันดับ เน่ืองจากคะแนนของผู้เรียนแต่ละคนมีความห่างไม่เท่ากัน ช่วง คะแนนจึงไม่เท่ากัน หากเคร่ืองมือหรือข้อสอบมีความยากง่ายเท่า ๆ กัน คะแนนจากการสอบ ครั้งนั้นจะเป็นข้อมูลในระดบั มาตราอันตรภาค 1.2.2 คะแนนมาตรฐาน (Standard Score) เป็นคะแนนที่ได้จากการเทียบคะแนนของแต่ละกลุ่ม มาปรับให้มีความเท่า เทียมกันแล้วนามาเปรียบเทียบได้ นั่นหมายถึง การนาคะแนนดิบมาปรับเปลี่ยนด้วย กระบวนการคณิตศาสตร์ให้เป็นรูปคะแนนใหม่ที่มีความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถเข้าใจได้ ว่าผู้สอบได้คะแนนนั้น ๆ เก่งหรอื อ่อน โดยมีเกณฑ์เปรียบเทียบ และถือว่าคะแนนที่ปรับเปลี่ยน หรอื คะแนนมาตรฐานแล้วเป็นข้อมลู ในระดบั มาตราอนั ตรภาค

- 182 - 2. การตดั เกรด การตัดเกรดหรือการให้ระดับผลการเรียน เป็นการสรุปผลการเรียนข้ันสุดท้าย โดยกาหนดระดับความสามารถในการเรียนของผเู้ รียนว่า ผ่าน-ไม่ผา่ น หรอื เก่ง-อ่อน ระดับใด การตัดเกรดจึงเป็นการประเมินผลจากการสอบและการวัดด้วยเคร่ืองมือหลากหลายชนิด ในแต่ละรายวิชา เพื่อสรุปผลออกมาเป็นระดับผลการเรียน (Grade) (สมนึก ภัททิยธนี, 2558) ครูผู้สอนต้องพิจารณาการให้เกรดหรือระดับผลการเรียนอย่างรอบคอบ โดยคานึงถึง ความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการวัดต้องเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ และเกณฑ์ในการพิจารณา ต้องเหมาะสม สามารถที่ใช้เป็นหลกั เปรียบเทียบหรือเกณฑ์ตัดสินเกี่ยวกับระดับความสามารถ ของผู้เรยี นได้ 2.1 ระบบของการตัดเกรด การตดั เกรด หรอื การกาหนดระดับคะแนนมอี ยู่ 2 ระบบ คือ (พะเยาว์ เนตรประชา , 2559) 2.1.1 ระบบสมบูรณ์ (Absolute Marking System) เป็นระบบการให้เกรดที่ใช้ คะแนนดิบหรือเปอร์เซ็นต์ที่ผู้เรียนสอบได้เป็นหลักในการตัดเกรด เช่น ผู้เรียนได้ 90% ขึ้นไป ให้เกรด A ได้ 75%-89% ได้เกรด B เป็นต้น ระบบนี้มีจุดอ่อนตรงที่ใช้เปอร์เซ็นต์ดังกล่าว เป็นหลัก ท้ังนี้เพราะเปอร์เซ็นต์หรือคะแนนที่ผู้เรียนได้ จะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อสอบ เป็นอย่างมาก อีกทั้งการใช้วิจารณญาณของครูผู้สอนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเลย ดังน้ัน ถ้าผู้เรียนกลุ่มหนึ่งมีผลการเรียนโดยความรู้สึกของครูผู้สอนว่าค่อนข้างอ่อน แต่ข้อสอบที่ให้ ผเู้ รียนทาน้ันงา่ ยเกินไปผู้เรียนกลุ่มน้กี ็จะได้เกรด A หลายคน ซึ่งก็ไม่สอดคล้องกับการประเมิน ของครูผสู้ อนเลย 2.1.2 ระบบสัมพัทธ์ (Relative Marking System) เป็นระบบการให้เกรด โดยการเปรียบเทียบคะแนนของผู้เรียนภายในกลุ่ม แล้วใช้วิจารณญาณของครูผู้สอนกาหนด เกณฑ์การพิจารณาตามสภาพของกลุ่มน้ัน หลักการเบื้องต้นของระบบนี้ก็คือ จะต้อง แปลงคะแนนที่ผู้เรียนสอบได้ดังกล่าวได้ให้สามารถนามาเปรียบเทียบกันได้ ก็คือต้องใช้ระบบ คะแนนมาตรฐาน จุดอ่อนของวิธีการนี้ก็คือ ยึดการกระจายของคะแนนเป็นแนวโค้งปกติ เป็นเหตุให้นาไปใช้กับกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ผู้เรียนเก่งทั้งกลุ่ม หรือผู้เรียนอ่อนท้ังกลุ่ม อาจจะเกิดความไม่เหมาะสม น่ันคือ การตัดเกรดแบบเกณฑ์สัมพัทธ์ จะมีความยุ่งยาก เมื่อใช้กับกลุ่มผเู้ รียนที่มีการกระจายของคะแนนแคบ หรอื คะแนนการสอบของผู้เรียนใกล้เคียง หรอื เกาะกลุ่มกนั

- 183 - 2.2 ประเภทของการตัดเกรด ประเภทของการตัดเกรดออกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท (พิชิต ฤทธิ์จรูญ,2553; อิทธิพทั ธ์ สุวทันพรกูล, 2557; สมนึก ภทั ทิยธนี,2558) ดงั น้ี 2.2.1 การตัดเกรดแบบอิงเกณ ฑ์ (Criterion Referenced) เป็นการประเมิน ความสามารถของผู้เรียนรายบุคคลเป็นสาคัญ แล้วนาคะแนนมาเทียบกับเกณฑ์ที่กาหนดไว้ เพื่อตรวจสอบว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ และสอบได้ระดับคะแนนเท่าไร โดยมักจะใช้คะแนน ดิบมาเปลีย่ นเปน็ รอ้ ยละของคะแนนเต็มแล้วให้ระดบั คะแนนเป็นสัญลกั ษณ์ 1) ข้อดีของการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ คือ ทาให้ผู้เรียนไม่รู้สึกต้องแข่งขันกับ คนอืน่ เพราะเกรดทีไ่ ด้มานั้นไม่ได้ขึน้ อยู่กบั กลุ่มผู้เรยี น 2) ข้อจากัดของการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ คือ เกณฑ์ที่กาหนดไว้ต้องมี ความเหมาะสม 2.2.2 ก าร ตั ด เก รด แ บ บ อิ งก ลุ่ ม (Norm Referenced) เป็ น ก ารป ระเมิ น ความสามารถของกลุ่มผเู้ รียนเปน็ สาคัญ โดยพิจารณาร่วมกับคะแนนของผเู้ รียนรายบุคคล ซึ่ง ระดบั ความสามารถของผเู้ รียนนั้นจะไม่มีความแตกต่างกันมาก การนาคะแนนทีเ่ กิดจากผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนไปเปรียบเทียบกับ คะแนนของกลุ่มในวิชาเดียวกัน ส่วนมากจะรายงานออกมาในรูปอันดับที่ หรือตาแหน่ง เปอร์เซ็นไทล์ หรอื ในรูปแบบเกรด A, B, C, D, หรอื E, F, 1) ข้อดีของการตดั เกรดแบบอิงกลุ่ม คอื ตดั เกรดได้ง่าย เกิดการแข่งขันของ ผเู้ รียน 2) ข้อจากัดของการตัดเกรดแบ บ อิงกลุ่ม คือ เกรดน้ันขึ้นอยู่กับ ความสามารถของผู้เรียนในช้ันเรียน และเม่ือมีการแข่งขัน ทาให้ไม่เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กัน และนิยมใช้กับแบบทดสอบมาตรฐาน การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มนี้จะให้ความสาคัญใน ลกั ษณะทีบ่ ่งบอกว่าเขาเก่งกว่าคนอ่นื เท่าไร ดังน้ัน ครูผู้สอนควรคานึงถึงขนาดของช้ันเรียน หากตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม จานวนผู้เรียนไม่ควรน้อยกว่า 40 คน และหากลักษณะรายวิชาที่เน้นกระบวนการกลุ่มก็ไม่ เหมาะทีจ่ ะตดั เกรดลกั ษณะนี้ วิธีการตดั เกรดแบบอิงกลุ่มมีหลายวิธีมกั ดงั น้ี 1) วิธีของ ดิวอี้ (Dewey B. Stuit, 1976) มีวธิ ีการดังน้ี 1.1) เลือกระดับความสามารถของกลุ่ม กาหนดคะแนนเริ่มต้นของเกรด A โดยใช้มธั ยฐาน (Median) เปน็ ค่ากลางของกลุ่ม โดยขั้นตา่ ของเกรด A คือ median+Z(SD)

- 184 - 1.2) เลือกระดบั ผลการเรียน ระดับผลการเรียน 5 ระดับ ดังน้ัน เกรด A = หน่งึ เท่าของ SD เกรดขั้นต่าของ B = A – SD เกรดข้ันต่าของ C = B – SD เกรดขั้นต่าของ D = C – SD เกรดขั้นต่าของ F = D – SD ระดบั ผลการเรียน 8 ระดบั ดังนนั้ เกรด A = ครึง่ เท่าของ SD เกรดอืน่ ๆ ห่างกนั ครึ่งเท่าของ SD ไปจนถึง F ตวั อย่าง การตดั เกรดแบบอิงกลุ่มที่คะแนนมธั ยฐานของกลุ่ม = 60, Z=1.5 และ SD = 15 เกรด สตู ร การคานวณ ชว่ งคะแนน A Median + Z(SD) 60+1.5(15) = 83 83 – 100 B A - SD 83 – 15 = 68 68 – 82 C B - SD 68 – 15 = 53 53 - 67 D C - SD 53 – 15 = 38 38 – 52 F ตา่ กว่า D ตา่ กว่า 38 ตา่ กว่า 38 ถ้าความสามารถของกลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง และข้อมูลมีการแจกแจงปกติแล้ว ผู้สอบจะมีโอกาสได้เกรด A, B, C, D, F ร้อยละ 7, 24, 38, 24, 7 ตามลาดับ ดังเส้นโค้งปกติ (Normal Curve) 7 38 7 24 24 %% % % 37 52 67 82

- 185 - 2) วิธีของดักลาส (Douglas, อ้างถึงใน สมนกึ ภัททิยธนี, 2558) หลักการสาคัญ คือ จานวนเกรด จะเป็นเท่าไร ขึ้นอยู่กับอัตราส่วน ระหว่างคะแนนต่าสดุ กับสงู สุด กรณีมีผู้เข้าสอบ 90 คน ดงั ตัวอย่างน้ี คะแนน ความถ่ี คะแนน ความถ่ี คะแนน ความถ่ี คะแนน ความถ่ี 58 1 44 2 34 7 25 6 56 1 42 6 33 3 24 3 55 2 41 2 32 3 23 1 51 1 40 2 31 5 22 1 50 1 39 2 30 1 21 2 49 2 38 1 29 3 20 1 47 3 37 5 28 3 18 1 46 1 36 5 27 2 17 2 45 3 35 2 26 4 มีขน้ั ตอนดังน้ี 1) เมือ่ ตรวจให้คะแนนเรยี บร้อย จงึ เรียงคะแนนจากสูงสดุ ถึงตา่ สดุ 2) หาความถี่ของแตล่ ะคะแนน 3) หาพิสัย = คะแนนสงู สดุ -คะแนนตา่ สุด = 58 – 17 = 41 4) หาอัตราส่วนระหว่างคะแนนต่าสุดกับสูงสุด แล้วนาผลลัพธ์ไป เปรียบเทียบกับตารางเทียบจานวนเกรด เพือ่ ดจู านวนเกรดว่าควรจะมีเท่าไร = 17  0.29 58 อตั ราสว่ นระหว่างคะแนน จานวนเกรด ตัวเลขที่ไปหาพิสัย ตา่ สดุ กบั สงู สดุ เพือ่ ทราบชว่ ง 0.95 ขึน้ ไป 1 2 0.90 – 0.94 2 3 0.70 – 0.89 3 4 0.50 – 0.69 4 5 0.49 ลงมา 5 6 จากอัตราส่วน 0.29 เม่ือเทียบค่าในตาราง พบว่า น้อยกว่า 0.49 จึงควรตัดเกรด 5 ระดบั คือ A, B, C, D, F

- 186 - 5) จากตารางเทียบจานวนเกรดในข้อ 4 จะตัดสินเป็น 5 เกรด ดังนั้น ตัวเลขที่ไปหารพิสัยเพื่อทราบช่วงแต่ละเกรดจึงเป็น 6 (ดูตารางเทียบในขั้นที่ 3 และ 4 ประกอบ) คือ 41  6.8  7 ดังนั้น ระดับคะแนนของแต่ละเกรดจะห่างกัน 7 คะแนนยกเว้น 6 ระดับคะแนนที่ 3 (เกรด C) ซึ่งอยู่ตรงกลางและมีคนมากกว่าระดับคะแนนอื่น จึงมีช่วงคะแนน หา่ งเป็น 2 เท่า คือ 14 คะแนน (เพราะการสอบกบั ผู้เรียนจานวนมาก คะแนนมักจะอยู่ในรปู โค้ง ปกติ) และการตัด 5 เกรด ต้องเอา 6 หาร เพราะเกรด C มีช่วงคะแนนห่างกัน 2 เท่า จึงจะทา ให้คะแนนทุกตัวอยู่ในกลุ่ม 5 เกรดนไี้ ด้) ดงั นนั้ จานวนผเู้ รียนในแตล่ ะเกรด จะเป็นดังน้ี เกรด A ต้ังแต่ 52 – 58 มีจานวน 4 คน เกรด B ตั้งแต่ 45 – 51 มีจานวน 11 คน เกรด C ต้ังแต่ 31 – 44 มีจานวน 45 คน เกรด D ตั้งแต่ 24 – 30 มีจานวน 22 คน เกรด E ตั้งแต่ 17 – 23 มีจานวน 8 คน 3. การใหร้ ะดับผลการเรียน ในระดับประถมศึกษา การตัดสินเพื่อให้ได้ระดับผลการเรียนรายวิชา สถานศึกษา สามารถให้ระดับผลการเรียนหรือระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียนเป็นระบบตัวเลข ระบบ ตัวอักษร ระบบร้อยละ และระบบที่ใช้คาสาคัญ โดยในระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานใช้ระบบผ่าน และไม่ผ่าน ซึ่งเกณฑ์การตัดสินผ่านแต่ละรายวิชาที่ร้อยละ 50 จากนั้นจึงให้ระดับผลการเรียน ทีผ่ ่านเป็นระบบต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) สามารถเทียบกนั ได้ดังน้ี ตารางที่ 10.1 แสดงการเทียบระดับผลการเรียนด้วยระบบต่าง ๆ ระดับประถมศึกษา ระบบ ระบบ ระบบ ระบบที่ใชค้ าสาคัญสะทอ้ นมาตรฐาน ตวั เลข ตวั อกั ษร ร้อยละ 5 ระดับ 4 ระดบั 2 ระดบั 4 A 80 -100 ดีเยี่ยม ดีเยี่ยม 3.5 B+ 75 - 79 ดี ดี 3 B 70 – 74 2.5 C+ 65- 69 พอใช้ ผา่ น 2 C 60 -64 1.5 D+ 55- 59 ผา่ น ผา่ น 1 D 50 – 54 0 E,F 0 – 49 ไม่ผ่าน ไม่ผ่าน ไม่ผ่าน ที่มา: กระทรวงศึกษาทีก่ าร, 2553

- 187 - ในระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย การตดั สินเพื่อใหร้ ะดับผลการ เรียนรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ใช้ตัวเลขแสดงผลการเรียนเป็น 8 ระดับ ซึ่งเกณฑ์ การตัดสินผ่านแต่ละรายวิชาที่ร้อยละ 50 จากนั้นจึงให้ระดับผลการเรียนที่ผ่านให้ใช้ตัวเลข แสดงระดบั ผลการเรียน 8 ระดับ ตารางที่ 10.2 แสดงการเทียบระดับผลการเรียนด้วยระบบตัวเลขของระดบั มัธยมศกึ ษา ระดับผลการเรียน ความหมาย ชว่ งคะแนนเป็นร้อยละ 4 ดีเยีย่ ม 80 -100 3.5 ดีมาก 75 - 79 3 ดี 70 – 74 2.5 ค่อนขา้ งดี 65- 69 2 ปานกลาง 60 -64 1.5 พอใช้ 55- 59 1 ผา่ นเกณฑ์ข้ันต่า 50 – 54 0 ตา่ กว่าเกณฑ์ 0 - 49 และในกรณีไม่สามารถให้ระดับผลการเรียน 8 ระดับ ให้ใช้ตัวอักษรระบุเง่ือนไข “มส” หมายถึง ไม่มีสิทธิเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน และ “ร” หมายถึง รอการตัดสินเนื่องจาก ผเู้ รียนไม่มีขอ้ มลู ผลการเรียนรายวิชานั้น 4. เกณฑก์ ารวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นสิ่งที่กาหนดให้ทราบถึงการพิจารณา ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคลโดยเทียบตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ ประกอบด้วย การตัดสิน ผลการเรียน การให้ระดับผลการเรียน การเปลี่ยนผลการเรียน การเลื่อนช้ัน การเรียนซ้าช้ัน การสอนเสริม เกณฑ์การจบการศึกษา การเทียบโอน และการรายงานผลการเรียน โดย มีรายละเอียดดงั นี้ (ถวิล อรญั เวศ, 2547; กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) 4.1 การตัดสินผลการเรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ กาหนดหลักเกณฑ์การวัดและ ประเมินผลการเรีนรู้ ของผู้เรยี นระดบั ประถมศึกษาและมธั ยมศกึ ษา ดังน้ี 1) ผเู้ รียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด 2) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดและผ่านตามเกณ ฑ์ที่ สถานศกึ ษากาหนด

- 188 - 3) ผเู้ รียนต้องได้รับการตดั สินผลการเรียนทกุ รายวิชา 4) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่ สถานศึกษากาหนดในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ กิจกรรมพัฒนาผเู้ รียน 4.2 การใหร้ ะดบั ผลการเรียน สถานศึกษาสามารถให้ระดับผลการเรียนหรือระดับคุณภาพการปฏิบัติ ของผู้เรียนเป็นระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบร้อยละ และระบบที่ใช้คาสาคัญสะท้อน มาตรฐาน ดังที่กล่าวข้างต้น และมีการกาหนดการให้ระดับผลการตั ดสินของระดับ ประถมศึกษาและมธั ยมศกึ ษา ดงั น้ี 1) การตัดสินใช้ระบบผา่ นและไม่ผ่าน ในแต่ละรายวิชาที่รอ้ ยละ 50 2) ให้ระดับผลการเรียนด้วยระบบต่าง ๆ ได้แก่ ระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบร้อยละระบบทีใ่ ชค้ าสาคัญสะท้อนมาตรฐาน 3) การประเมินการอ่าน คิดวเิ คราะห์ และเขียน และคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ กาหนดเกณฑ์การตัดสนิ 4 ระดับ โดยใหผ้ ลการประเมินเป็นดีเยีย่ ม ดี ผา่ น ไม่ผ่าน 4) การประเมินกิจกรรมพฒั นาผเู้ รียน พิจารณาท้ังเวลาเข้าร่วมและผลงาน ระดบั ผลการประเมินเปน็ เปน็ ผ่านและไม่ผา่ น 4.3 การเปลี่ยนผลการเรียน การเปลี่ยนผลการเรียน “0” “ร” “มส” และ “มผ” ในระดับมัธยมศกึ ษา ดังนี้ 1) การเปลี่ยนผลการเรียน “0” สถานศึกษาจัดสอนซ่อมเสริม แล้วสอบแก้ตัวได้ไม่เกิน 2 คร้ัง หากครบแล้วยังได้รับผลการเรียน “0” ถ้ารายวิชาพื้นฐานให้เรียนซ้า แต่ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ให้เรียนซ้าหรือเปลี่ยนวิชาเรียนใหม่ 2) การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” ให้ผู้เรียนแก้ “ร” ตามสาเหตุ ได้รับผลการเรียนตามปกติ (0-4) กรณีส่งงานไม่ครบให้มีผลการประเมินระหว่างเรียนและ ปลายภาค และการแก้ “ร” ต้องภายใน 1 ภาคเรียนน้ัน หากพ้นกาหนดผลการเรียนจะเป็น “0” ให้เรียนซ้า 3) การเปลี่ยนผลการเรียน “มส” มี 2 กรณี คือ เวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่ไม่น้อย กว่าร้อยละ 60 ให้สถานศกึ ษาจัดเรียนเพิม่ เติมโดยใช้ชว่ั โมงสอนซ่อมเสริม เวลาว่าง วันหยุด หรือ มอบหมายงานให้ทา จะได้รับผลการเรียนไม่เกิน “1” และการแก้ “มส” ภายในปีการศึกษานั้น หากพ้นกาหนดผลการเรียนจะเป็น “0” ให้เรียนซ้าหรือเปลี่ยนวิชาใหม่ อีกกรณี คือ เวลาเรียน ไม่ถึงร้อยละ 60 ถ้ารายวิชาพื้นฐานให้เรียนซ้า แต่ถ้าเป็นเพิ่มเติม ให้เรียนซ้าหรือเปลี่ยนวิชาเรียน ใหม่และแสดงในระเบียบแสดงผลการเรียนว่าแทนรายวิชาใด 4) การเปลี่ยนผลการเรียน “มผ” สถานศึกษาต้องจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทากิจกรรมในส่วนที่ผู้เรียนไม่ได้เข้าร่วมหรือไม่ได้ทา

- 189 - จนครบ และให้ดาเนินการเสร็จสิ้นภายในภาคเรียนนั้น ๆ และต้องดาเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน ปีการศึกษานั้น 4.4 การเรียนซา้ ช้ัน ผเู้ รียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจานวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเปน็ ปญั หาต่อการเรียนในระดับชั้นทีส่ งู ข้นึ สถานศกึ ษาอาจตั้งคณะกรรมการพิจารณาใหเ้ รียนซ้าช้ันได้ ตารางท่ี 10.3 แสดงการเรียนซ้าช้ันของผู้เรยี นระดบั ประถมศึกษาและมธั ยมศกึ ษา ระดบั ประถมศึกษา ระดับมัธยมศกึ ษา มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 อนั เนือ่ งจาก ผเู้ รียนมีระดบั ผลการเรียนเฉลีย่ ในปีการศึกษา สาเหตจุ าเป็นหรอื เหตสุ ุดวิสัย น้ันต่ากว่า 1.00 และมีแนวโน้มว่าจะเปน็ ปญั หา ต่อการเรียนในระดบั ชั้นที่สูงขนึ้ ผเู้ รียนมีผลการประเมินผ่านมาตรฐานการ ผเู้ รียนมีผลการเรียน 0, ร, มส เกินครึง่ หนึง่ ของ เรียนรู้และตัวชีว้ ัดไม่ถึงเกณฑต์ ามที่ รายวิชาทีล่ งทะเบียนเรียนในปีการศกึ ษานั้น สถานศกึ ษากาหนดในแต่ละรายวิชา ผเู้ รียนมีผลการประเมินรายวิชาในกลุ่มสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ สงั คมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรมอยู่ในระดบั ผ่าน 4.5 การเลื่อนช้ัน เมื่อส้ินปีการศกึ ษา ผู้เรียนจะได้รับการเลื่อนช้ัน เมือ่ มีคุณสมบตั ิดงั น้ี ตารางท่ี 10.4 แสดงการเลื่อนช้ันของระดับประถมศึกษาและมธั ยมศกึ ษา ระดับประถมศึกษา ระดบั มธั ยมศกึ ษา ผเู้ รียนมีเวลาเรยี นตลอดปีการศกึ ษาไม่ รายวิชาพืน้ ฐานและรายวิชาเพิม่ เติมได้รับการตดั สิน น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรยี นทั้งหมด ผลการเรียนผา่ นตามเกณฑ์ทีส่ ถานศึกษากาหนด ผเู้ รียนมีผลการประเมินผ่านทกุ รายวิชาพืน้ ฐาน ผเู้ รียนมีผลการประเมินการอ่าน คดิ ผเู้ รียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมิน วิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอนั พึง ผา่ นตามเกณฑท์ ีส่ ถานศึกษากาหนด ในการอ่าน ประสงค์ และกิจกรรมพฒั นาผเู้ รียนผา่ น คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์ ตามเกณฑท์ ีส่ ถานศกึ ษากาหนด และกิจกรรมพัฒนา

- 190 - 4.6 การสอนซ่อมเสริม หลักสูตรฯ กาหนดให้สถานศึกษาจัดสอนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรยี นเต็มตามศกั ยภาพ ตารางท่ี 10.5 แสดงการสอนซ่อมเสริมสาหรบั ผเู้ รียนระดบั ประถมศึกษาและมธั ยมศกึ ษา ระดบั ประถมศึกษา ระดับมธั ยมศกึ ษา สถานศกึ ษาจัดการสอนซ่อมเสริม เพื่อแก้ไข สถานศกึ ษาควรจดั สอนซ่อมเสริมดังนี้ ข้อบกพร่อง กรณีที่ผู้เรยี นมีความรู้ ทักษะ -ผเู้ รียนมีความรู้/ทักษะพืน้ ฐานไม่เพียง กระบวนการ หรอื คุณลักษณะไม่เป็นไปตาม พอทีจ่ ะศกึ ษาในแต่ละรายวิชา เกณฑท์ ี่สถานศึกษากาหนด -ผเู้ รียนไม่สามารถแสดงความรู้ ทักษะ กระบวนการ หรอื คุณลักษณะทีก่ าหนดไว้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชวี้ ดั ในการ ประเมินผลระหว่างเรียน -ผเู้ รียนได้ระดับผลการเรียน “0” ให้จัดสอน ซ่อมเสรมิ ก่อนสอบแก้ตัว -กรณีผเู้ รียนมีผลการเรียนไม่ผ่าน สามารถ จดั สอนซ่อมเสริมในภาคฤดูร้อนได้ 4.7 เกณฑ์การจบการศึกษา เกณฑก์ ารจบการศกึ ษาของผเู้ รียนระดับประถมศึกษาและมัยธมศกึ ษาดังน้ี ตารางท่ี 10.6 แสดงเกณฑ์การจบการศกึ ษาสาหรบั ผเู้ รียนระดบั ประถมศกึ ษาและมัธยมศกึ ษา ระดับประถมศึกษา ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ผเู้ รียนเรียนรายวิชาพืน้ ฐาน ผเู้ รียนรายวิชาพื้นฐานและ ผเู้ รียนรายวิชาพื้นฐานและ และรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม เพิม่ เติมไม่เกิน 81 หนว่ ยกิต เพิม่ เติมไม่เกิน 81 หนว่ ยกิต ตามโครงสร้างเวลาเรียนที่ โดยเป็นรายวิชาพืน้ ฐาน 66 โดยเป็นรายวิชาพืน้ ฐาน 41 หลักสตู รแกนกลางฯกาหนด หนว่ ยกิต และรายวิชา หนว่ ยกิต และรายวิชาเพิ่มเติม ตามทีส่ ถานศกึ ษากาหนด เพิ่มเติมตามที่สถานศกึ ษา กาหนด

- 191 - ระดบั ประถมศึกษา ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ผเู้ รียนต้องมีผลการประเมิน ผเู้ รียนต้องได้หน่วยกิต ตลอด ผเู้ รียนต้องได้หน่วยกิต ตลอด รายวิชาพืน้ ฐานผ่านเกณฑ์ หลกั สตู รไม่น้อยกว่า 77 หลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วย การประเมนิ ตามที่ หนว่ ยกิต โดยเปน็ รายวิชา กิต โดยเป็นรายวิชาพืน้ ฐาน 41 สถานศกึ ษากาหนด พืน้ ฐาน 66 หนว่ ยกิต และ หนว่ ยกิต และรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาเพิม่ เติมไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า 36 หนว่ ยกิต ผเู้ รียนมีผลการประเมินการ 11 หนว่ ยกิต อ่าน คดิ วิเคราะห์ และเขยี น ผเู้ รียนมีผลการประเมินการ ผเู้ รียนมีผลการประเมินการ ในระดับผ่านเกณฑก์ าร อ่าน คดิ วิเคราะห์ และเขยี น อ่าน คดิ วิเคราะห์ และเขยี นใน ประเมินตามที่สถานศกึ ษา ในระดบั ผ่านเกณฑก์ าร ระดับผ่านเกณฑก์ ารประเมิน กาหนด ประเมินตามที่สถานศกึ ษา ตามทีส่ ถานศกึ ษากาหนด ผเู้ รียนมีผลการประเมิน กาหนด คุณลักษณะอนั พึงประสงค์ใน ผเู้ รียนมีผลการประเมิน ผเู้ รียนมีผลการประเมิน ระดบั ผ่านเกณฑก์ ารประเมิน คณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์ใน คุณลกั ษณะอันพึงประสงค์ใน ตามสถานศึกษากาหนด ระดับผ่านเกณฑก์ ารประเมิน ระดบั ผ่านเกณฑก์ ารประเมิน ผเู้ รียนเข้าร่วมกิจกรรม ตามสถานศึกษากาหนด ตามสถานศึกษากาหนด พัฒนาผเู้ รียนและมีผลการ ผเู้ รียนเข้าร่วมกิจกรรม ผเู้ รียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนา ประเมินผ่านเกณฑก์ าร พฒั นาผเู้ รียนและมีผลการ ผเู้ รียนและมีผลการประเมิน ประเมินตามทีส่ ถานศกึ ษา ประเมินผ่านเกณฑก์ าร ผา่ นเกณฑก์ ารประเมินตามที่ กาหนด ประเมินตามทีส่ ถานศกึ ษา สถานศกึ ษากาหนด กาหนด 4.8 การเทยี บโอนผลการเรยี น สถานศึกษาสามารถเทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนจากสถานศึกษาได้ ในกรณีต่าง ๆ ได้แก่ การย้ายสถานศึกษา การเปลี่ยนรปู แบบการศึกษา การย้ายหลักสูตร การ ออกกลางคัน และการขอกลับเข้ารับการศึกษาต่อการศึกษาจากต่างประเทศและขอเข้าศึกษา ต่อในประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถเทียบโอนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากแหล่งการ เรียนรู้อื่น ๆ เช่น สถานประกอบการ สถาบันทางศาสนา สถาบันการฝึกอบรมอาชีพ การ จดั การศึกษาโดยครอบครวั เป็นต้น

- 192 - 5. การรายงานผลการเรียน 5.1 การรายงานผลการเรียน การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครอง และผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งสถานศกึ ษาต้องสรุปผลการประเมิน และจัดทาเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยมีเอกสาร หลักฐานการศึกษา ได้แก่ ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) ประกาศนียบัตร (ปพ.2) แบบ รายงานผู้สาเร็จการศึกษา (ปพ.3) แบบบันทึกผลการเรียนประจารายวิชา แบบรายงาน ประจาตวั นักเรียน ใบรับรองผลการเรียน ระเบียนสะสม ฯลฯ 5.2 เอกสารหลกั ฐานการศึกษา ตามหลกั สตู รแกนกลางฯ 5.2.1 เอกสารหลักฐานการศึกษาท่ีกระทรวงศึกษาธิการกาหนด เอกสารที่ กระทรวงศึกษาธิการควบคุมและบังคับแบบ เพื่อใช้เป็นหลักฐานสาหรบั การตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองผลการเรียนของผเู้ รียน สถานศึกษาต้องใช้แบบพิมพ์ของกระทรวงศึกษาธิการและ ดาเนินการจัดทาตามที่กระทรวงศึกษาธิการกาหนดไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ได้แก่ ระเบียน แสดงผลการเรียน (ปพ.1) ประกาศนียบัตร (ปพ.2) แบบรายงานผู้สาเร็จการศึกษา (ปพ.3) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) 1) ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) เปน็ เอกสารสาหรับบันทึกข้อมูลผล การเรียนของผู้เรียนตามหลักสูตรฯ ได้แก่ ผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผลการ ประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และผล การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องจัดทาและออกเอกสารนี้ให้ผู้เรียนเป็น รายบุคคล เม่ือผู้เรียนจบการศึกษาแต่ละระดับหรือเมื่อผู้เรียนออกจากสถานศึกษาในทุกกรณี เพื่อใช้แสดงผลการเรียนตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 2551 2) ประกาศนียบัตร (ปพ.2) เป็นเอกสารแสดงวฒุ ิการศึกษาที่มอบให้แก่ผู้ จบการศึกษาภาคบังคับ และผู้สาเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อรับรองศักดิ์และสิทธิ์ของผู้สาเร็จการศึกษาตามวุฒิแห่ง ประกาศนยี บตั รนนั้ 3) แบบรายงานผู้สาเร็จการศึกษา (ปพ.3) เป็นเอกสารสาหรับอนุมัติ การจบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐานของผู้เรียนในแต่ละรุ่นการศึกษา โดยบันทึกรายชื่อและข้อมูลทางการศึกษาของผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.6) และผู้ จบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) และผู้จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.6) ใช้เป็นเอกสารสาหรับการ ตัดสินและอนุมัติผลการเรียนให้ผู้เรียนเป็นผู้สาเร็จการศึกษาและใช้ในการตรวจสอบยืนยัน และรบั รองความสาเรจ็ และวุฒิการศึกษาของผสู้ าเร็จการศึกษาแตล่ ะคนตลอดไป

- 193 - 5.2.2 เอกสารหลักฐานการศึกษาท่ีสถานศึกษากาหนด เป็นเอกสารที่ สถานศึกษาจัดทาขึ้นเพื่อบันทึกพัฒนาการผลการเรียนรู้และข้อมูลสาคัญเกี่ยวกับผู้เรียน เช่น แบบบันทึกผลการเรียนประจารายวิชา แบบรายงานประจาตัวผู้เรียน ระเบียนสะสม ใบรับรอง ผลการเรียน และเอกสารอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการนาเอกสารไปใช้ 1) แบบบันทึกผลการเรียนประจารายวิชา เป็นเอกสารที่สถานศึกษา จัดทาขึ้นเพื่อให้ผู้สอนให้บันทึกข้อมูลการวัดและประเมินผลการเรียนตามแผนการจัดการ เรียนรู้และประเมินผลการเรียน และใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาตัดสินผลการเรียนแต่ละ รายวิชา เอกสารนีค้ วรจัดทาเพือ่ บันทึกข้อมลู ของผเู้ รียนเปน็ รายห้อง 2) แบบรายงานประจาตัวนักเรียน เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทาขึ้น เพื่อบันทึกข้อมูลการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนแต่ละคนตาม เกณฑ์การตัดสินการผ่านระดับช้ันตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน รวมทั้งข้อมูล ด้านอื่น ๆ ของผู้เรียนท้ังที่บ้านที่โรงเรียน เป็นเอกสารรายบุคคลสาหรับสื่อสารให้ผู้ปกครอง ของผู้เรียนแต่ละคนได้รับทราบผลการเรียนและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนและร่วมมือ ในการพัฒนาผเู้ รียนอย่างต่อเน่อื ง 3) ใบรับรองผลการเรยี น เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทาขึ้นเพื่อรับรอง สถานภาพความเป็นผู้เรียนในสถานศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่หรอื รับรองผลการเรียนหรือวุฒิของ ผู้เรียนเป็นการชั่วคราว ตามที่ผู้เรียนต้องขอทั้งกรณีผู้เรียนกาลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนหรือเม่ือ จบการศึกษาไปแล้ว แต่กาลังรอรับหลักฐานการศึกษา ระเบียนแสดงผลการเรียน เป็นต้น ใบรับรองผลการเรียนมีอายุการใช้งานชั่วคราว โดยปกติประมาณ ๓๐ วัน ซึ่งผู้เรียนสามารถ นาไปใช้เป็นหลักฐานแสดงคุณสมบัติของผู้เรียนในการสมัครเข้าศึกษาต่อหรือสมัครเข้าทางาน หรอื เม่ือกรณีอื่น ๆ ที่ผู้เรียนแสดงคุณสมบัติเกี่ยวกับวุฒิความรู้ หรือสถานภาพการเป็นผู้เรียน ของตน 4) ระเบียนสะสม เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทาขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง ตลอดช่วงระยะเวลา การศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน ระเบียนสะสมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในการแนะแนวทางการศึกษาและการประกอบอาชีพของผู้เรียน การพัฒนาปรับปรุง บุคลิกภาพ การปรับตัวของผู้เรียน และผลการเรียน ตลอดจนรายงานกระบวนการพัฒนา คุณภาพ ของผู้เรียนระหว่างสถานศึกษากับบ้าน และใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ คุณสมบตั ิของผเู้ รียนตามความเหมาะสม ดังตวั อย่างตอ่ ไปนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553)

- 194 - ตัวอยา่ ง ปพ.1 : ป ระเบียนแสดงผลการเรียนหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน ระดบั ประถมศึกษา

- 195 -

- 196 - ตัวอยา่ ง ปพ.1 : บ ระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้

- 197 -

- 198 - ตัวอยา่ ง ปพ.1 : พ ระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย

- 199 -

- 200 - ตวั อย่าง ปพ.2 :บ ประกาศนบี ัตรให้ผู้เรยี นที่สาเรจ็ การศึกษาภาคบังคบั (มัธยมศกึ ษาปีที่ 3)

- 201 - ตวั อยา่ ง ปพ.2 :พ ประกาศนบี ตั รให้ผู้เรยี นทีส่ าเรจ็ การศึกษาขึน้ พืน้ ฐาน (มัธยมศกึ ษาปีที่ 6)

- 202 - ตัวอย่าง ปพ.3 : ป แบบรายงานผสู้ าเรจ็ การศกึ ษา (ประถมศึกษาปีที่ 6)

- 203 -

- 204 - ตัวอย่าง ปพ.3 : บ แบบรายงานผสู้ าเรจ็ การศกึ ษา (มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3)

- 205 -

- 206 - ตัวอย่าง ปพ.3 : พ แบบรายงานผสู้ าเรจ็ การศกึ ษา (มธั ยมศกึ ษาปีที่ 6)

- 207 -

- 208 - 6. การนาผลการประเมินไปใช้ในการพฒั นาผเู้ รียน รายงานผลการเรียนรู้จากการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร แกนกลางการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551 สามารถนาผลประเมินไปใช้ประโยชน์ ดงั น้ี 6.1 ข้อมูลระดับช้ันเรียน ประกอบด้วย เวลามาเรียน ผลประเมินความรู้ ความสามารถ พฤติกรรมการเรียน ความประพฤติ และผลงานในการเรียนของผู้เรียน เป็นข้อมูลสาหรับการรายงานให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้เรียน ครูผู้สอนและผู้ปกครอง ได้รับ ทราบความก้าวหน้า ความสาเร็จในการเรียนของผู้เรียนเพื่อนาไปใช้ในการวางแผนกาหนด เป้าหมายและวธิ ีการในการพฒั นาผเู้ รียน 6.2 ข้อมูลระดับสถานศึกษา ประกอบด้วย ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ เขียนผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รายปี/รายภาค ผลการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้รายปี/รายภาคโดยรวมของ สถานศึกษา เพื่อใช้เป็นข้อมูลและสารสนเทศในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และคุณภาพ ผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด การตัดสิน การเลื่อนชั้น และการซ่อมเสริม ผเู้ รียนทีม่ ขี ้อบกพร่องให้ผ่านระดบั ชั้น และเปน็ ข้อมูลในการออกเอกสารหลักฐานการศึกษา 6.3 ข้อมูลระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน ด้วยแบบประเมินที่สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทาขึ้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้สาคัญ ในระดับช้ันที่นอกเหนือจากการประเมินคุณภาพระดับชาติ เป็นข้อมูลที่ผู้เกี่ยวข้องใช้วางแผน และดาเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้เกิดการ ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศกึ ษาของผู้เรยี นและสถานศกึ ษา 6.4 ข้อมูลระดับชาติ ได้แก่ ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียนด้วยแบบประเมิน ที่เป็นมาตรฐานระดับชาติในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สาคัญในช้ันประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ซึ่งดาเนินการโดยหน่วยงานระดับชาติ เป็นข้อมูลที่ผู้เกี่ยวข้องใช้ วางแผนการดาเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการยกระดับ คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่น เขตพื้นที่การศึกษาและ ประเทศชาติ รวมทั้งนาไปรายงานในเอกสารหลกั ฐานการศึกษาของผเู้ รียน 6.5 ข้อมูลพัฒนาการของผู้เรียนด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับ พัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และพฤติกรรมต่าง ๆ เป็นข้อมูลส่วนหนึ่ง ของการแนะแนวและจัดระบบการดูแลช่วยเหลือ เพื่อแจ้งให้ผู้เรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และ ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูล โดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบแต่ละฝ่าย นาไปใช้ปรับปรุงแก้ไขและ

- 209 - พัฒนาผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการอย่างถูกต้อง เหมาะสม รวมท้ังนาไปจัดทาเอกสารหลักฐาน แสดงพฒั นาการของผู้เรียน โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรได้รับการรายงานผลการประเมินของผู้เรียนเพื่อใช้เป็น ข้อมูลในการดาเนินงาน ดังน้ี ตารางที่ 10.7 แสดงเป้าหมายการรายงานของกลุ่มเป้าหมายและการใชข้ ้อมูล กลมุ่ เปา้ หมาย การใชข้ อ้ มูล ผู้เรียน - ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการเรียน รวมทั้งพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และพฤตกิ รรมตา่ ง ๆ ของตน - วางแผนการเรียน การเลอื กแนวทางการศกึ ษาและอาชีพในอนาคต - แสดงผลการเรียน ความรคู้ วามสามารถ และวฒุ กิ ารศึกษาของตน ผู้สอน - วางแผนและดำเนนิ การปรับปรงุ แก้ไขและพฒั นาผู้เรียน - ปรับปรงุ แก้ไขและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ครวู ัดผล - ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลของผู้สอนผู้เรียน - พัฒนาระบบ ระเบียบ และแนวทางการประเมินผลการเรียน นายทะเบียน - จัดทาเอกสารหลกั ฐานการศกึ ษา ครูแนะแนว - ให้คาแนะนาผู้เรียนในด้านตา่ ง ๆ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร - พิจารณาให้ความเหน็ ชอบผลการเรียนของผู้เรียน และงานวชิ าการสถานศกึ ษา - พฒั นาแนวทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศกึ ษา - พจิ ารณาตัดสนิ และอนมุ ัตผิ ลการเรียนของผู้เรียน - พฒั นากระบวนการจัดการเรียนของสถานศกึ ษา - วางแผนการบริหารจดั การศกึ ษาด้านต่าง ๆ ผู้ปกครอง - รับทราบผลการเรียนและพัฒนาการของผู้เรียน - ปรับปรงุ แก้ไขและพฒั นาการเรียนของผู้เรียน รวมท้ังการดูแลสุขภาพ อนามัย ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สงั คม และพฤติกรรมตา่ ง ๆ ของผู้เรียน - พจิ ารณาวางแผนและสง่ เสริมการเรียน การเลอื กแนวทางการศกึ ษา และอาชีพในอนาคตของผู้เรียน ฝ่าย/หนว่ ยงานทีม่ ีหนา้ ท่ี - ตรวจสอบและรบั รองผลการเรียนและวุฒิการศึกษาของผู้เรียน- ตรวจสอบรับรองความรู้และวุฒิ เทียบระดับ/วุฒกิ ารศึกษาของผู้เรียน สถานศกึ ษา การศึกษา /สถานศกึ ษา - เทียบโอนผลการเรียน สานกั งานเขตพ้นื ที่การศึกษา/ - ยกระดับและพฒั นาคุณภาพการศึกษาของสถานศกึ ษาในเขตพ้นื ที่ หนว่ ยงานตน้ สงั กัด การศึกษา นเิ ทศ ตดิ ตาม - และใหค้ วามชว่ ยเหลอื การพฒั นาคุณภาพการศึกษาของสถานศกึ ษาที่ มผี ลการประเมินตา่ กว่าค่าเฉลยี่ ของสานกั งานเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษา

- 210 - ดังน้ัน การนาผลประเมินไปใช้ประโยชน์ให้มีคุณค่าและมีความคุ้มค่า มีแนวทางปฏิบัติ (พิชิต ฤทธิ์จรูญ,2559) ดังน้ี 1. การใช้ผลการประเมินเพื่อวางแผนการจัดการเรียนูร้ ผลการประเมิน ก่อนการเรียนรู้ที่มีการตรวจสอบความพร้อมและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน จะนามาใช้ เพือ่ การวางแผนการจดั การเรียนรใู้ ห้เหมาะสมกบั สภาพผู้เรียนเป็นรายบคุ คลหรอื รายกลุ่ม โดย อาจมีการจัดการเรียนรู้ปรับพื้นฐานหรือสอนเสริม การเสริมแรง การให้คาปรึกษาแนะแนว วิธีการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน และการประสานความร่วมมือกบั ผู้ปกครองในการเอาใจใส่ดูแล ช่วยเหลือและส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของผเู้ รียนในการจัดการเรียนรใู้ นระยะต่อไป 2. การใช้ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงพัฒนา เม่ือมีผลการประเมินในขณะเรียนรู้ ครูผู้สอนควรทบทวนการจัดการเรียนรู้และใช้ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ทบทวน ก ารเรีย น รู้ แล ะใช้ ผ ล ก ารป ระเมิ น ต น เอ งเพื่ อ ป รับ ป รุ งพั ฒ น าก ารเรีย น รู้ขอ งต น เอ งด้ ว ย ซึ่งจะต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เห็นคุณค่าและประโยชน์ของผลการประเมินการเรียนรู้และ ใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง และครูผู้สอนควรใช้ ประสานความร่วมมือกบั ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของ ผเู้ รียนใหม้ ีพัฒนาขึน้ 3. การใช้ผลการประเมินเพื่อสรุปและตัดสินผลการเรียนูร้ จากผลการประเมิน ขณะเรียนรู้ ผลการประเมินเพื่อการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ในช่วงหลังการเรียนรู้ ครูผู้สอนจะต้องนามาประมวลสรุปเป็นผลการเรียนรู้เพื่อนาไปสู่การตัดสินผลการเรียนรู้ของ ผู้เรียนโดยให้ระดับคะแนนผลการเรียนรู้หรือเกรด ซึ่งจะบ่งชี้ ถึงความรู้ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะที่ตอ้ งการพฒั นาตามรายวิชาหรอื หลักสูตรที่กำหนดไว้ 4. การใช้ผลการประเมินเพื่อการรายงานต่อผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง ผลการ ประเมินทุกช่วงระยะเวลาของการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนสามารถนามาใช้เป็นสารสนเทศ สาหรับรายงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อผู้ปกครองต่อผู้บริหารสถานศึกษา ฝ่ายวิชาการ สามารถใช้ผลการประเมินสรุปเป็นผลการจัดศึกษาในภาพรวมของสถานศึกษารายงาน ต่อผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ ซึ่งจะนาไปสู่การตัดสินใจเพื่อให้การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มี คณุ ภาพมากขึน้

- 211 - สรุป การตัดเกรดเป็นการตัดสินผลการเรียนรู้โดยนาคะแนนมาแปลความหมายและ เทียบกับเกณฑ์ แล้วแปลงคะแนนออกมาเป็นสัญลักษณ์หรือตัวเลข โดยคะแนนแบ่งออกเป็น คะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน คะแนนที่นามาตัดเกรดน้ันแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบ สมบูรณ์และระบบสัมพัทธ์ ซึ่งประเภทของการตัดเกรดแบ่งออกเป็นแบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม แบบอิงเกณฑ์นั้นเหมาะกับการประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคล ที่ไม่ต้องแข่งขันกับใครแต่แข่งขัน กับตนเอง โดยนาคะแนนมาเทียบกับเกณฑ์ที่เหมาะสม ส่วนการตัดเกรดแบบอิงกลุ่มเหมาะ สำหรับพิจารณาความสามารถของกลุ่มร่วมกับคะแนนของผู้เรียนรายบุคคล แล้วนาคะแนนที่ ได้เหล่าน้ันมาแปลงเป็นสัญลักษณ์ตามแนวการวัดและประเมินผลหลกั สตู รแกนกลางฯ กาหนด เป็นระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบร้อยละ และระบบที่ใช้คาสาคัญสะท้อนมาตรฐาน และ นามารายงานผลการเรียนโดยมีเอกสารหลักฐานสาหรับผู้เรียน ได้แก่ ระเบียนแสดงผลการ เรียน (ปพ.1) ประกาศนียบัตร (ปพ.2) แบบรายงานผู้สาเร็จการศึกษา (ปพ.3) แบบบันทึกผล การเรียนประจารายวิชา แบบรายงานประจาตัวนักเรียน ใบรับรองผลการเรียน ระเบียนสะสม ซึง่ ผลการประเมินจะสามารถนาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ในการปรับปรงุ แก้ไขและพัฒนาการ เรียน การวางแผนการเรียน การเลือกแนวทางในการศกึ ษาต่อ และแสดงความรู้ความสามารถ และวุฒิการศึกษาของผู้เรียนเอง นอกจากนั้นครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องยังสามารถนาผลการ ประเมินไปวางแผนการดาเนินงาน การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นแนวทางการพัฒนา สถานศกึ ษา และการบริหารจัดการต่าง ๆ รวมถึงผู้ปกครองได้รบั ผลการพัฒนาของผู้เรยี นด้วย

- 212 - แบบฝึกหัด 1. คะแนนแบ่งออกเปน็ กี่ประเภท จงอธิบายความหมายของคะแนนแตล่ ะประเภท 2. จงบอกข้อดีและข้อจากดั ของการตัดเกรดแบบอิงเกณฑแ์ ละแบบอิงกลุ่ม 3. จงหาช่วงคะแนนและทาการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม โดยมีคะแนนมัธยฐานของกลุ่ม = 50, Z=1.2 และ SD = 12 4. จงอธิบายการนาผลประเมินไปใช้ประโยชน์ และยกตัวอย่างการใช้ข้อมูลของบุคคล/ หนว่ ยงาน อย่างนอ้ ยข้อละ 3 ตัวอย่าง ดงั น้ี 4.1 ผเู้ รียน 4.2 ครผู สู้ อน 4.3 ผบู้ ริหารสถานศกึ ษา 4.4 ผปู้ กครอง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook