Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 3 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

บทที่ 3 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

Published by benjamas, 2020-06-14 04:25:52

Description: แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

Search

Read the Text Version

- 43 - บทที่ 3 แนวปฏบิ ตั ิการวดั และประเมนิ ผลการเรยี นรู้ ระบบการจัดการศึกษาประเทศไทยมีท้ังระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา เป็น กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยความเชื่อมโยง ของหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ซึ่งการวัดและประเมินผลปฐมวัย มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้านร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การศึกษา ข้ันพื้นฐานเป็นการวัดประเมินเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของผู้เรียน และอุดมศึกษาเป็นการวัด และประเมินเพื่อพัฒนาใหผ้ ู้เรียนเช่ือมโยงองค์ความรู้กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ทั้งนี้เนื้อหา สาระในบทนี้จะกล่าวถึงแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ เพื่อ ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุคุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผลที่ สะท้อน มาตรฐาน โดยเริ่มต้นจากการวัดและประเมินผลในระดับชั้นเรียน ที่นาไปสู่การพัฒนาผเู้ รียนให้ เต็มศกั ยภาพบนพืน้ ฐานของความแตกต่างระหว่างบคุ คลจนถึงการประเมินระดบั ชาติ 1. จดุ มุ่งหมายของการวดั และประเมินผลการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอยู่บนจุดมุ่งหมายพื้นฐานสองประการ ประการแรก คือ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผล การเรียนและการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนอื่ ง บันทึก วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมลู แล้วนามาใช้ในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียนและ การจัดการเรียนรู้ของครู เรียกว่า การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative Assessment) ผู้สอนต้องใช้วิธีการและเคร่ืองมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การซักถาม การ ใช้เกณฑ์ และการให้คะแนน (Rubrics) สิ่งสาคัญที่สุด คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนใน ลักษณะคาแนะนาที่เชือ่ มโยงความรู้เดิมกบั ความรใู้ หม่ ตลอดจนการใหผ้ เู้ รียนพัฒนาตนได้ ประการที่สอง คือ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนเป็นการประเมิน สรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) ซึ่งมีหลายระดับ ได้แก่ เม่ือเรียนจบหน่วยการ เรียน จบรายวิชา เพื่อตัดสินให้คะแนน หรือให้ระดับผลการเรียน การประเมินเพื่อตัดสินผลการ เรียนที่ดีต้องให้โอกาสผเู้ รียนแสดงความรู้ความสามารถด้วยวิธีการที่หลากหลายและพิจารณา ตัดสินบ นพื้นฐานของเกณ ฑ์ ผลการป ฏิบัติมากกว่าใช้เปรียบเทียบระหว่างผู้เรียน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553)

- 44 - 2. การกากับดูแลคณุ ภาพการศกึ ษา การจัดการศึกษาในปัจจุบันน้ันมุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนที่เป็นไปตามมาตรฐาน ของหลักสูตร หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายด้านการจัดการศึกษาจงึ มีบทบาทหน้าที่ ในการตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนตามความคาดหวังของหลักสูตร ดังนั้น หลักสูตรแกนกลางฯ 2551 จึงกาหนดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ใน 4 ระดับ ซึ่งทุกระดับมีเจตนารมย์ เช่นเดียวกัน คือ ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนาผลการประเมินมาใช้ เปน็ ข้อมูลในการพัฒนาอย่างตอ่ เนื่อง โดยมีรายละเอียดดงั นี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) 2.1 การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการ จัดการเรียนรู้ ผู้สอนดาเนินการเพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัดสินผลการเรียนในรายวิชาหรือ กิจกรรมที่ตนสอน และประเมินเพื่อดูว่าบรรลุตัวชี้วัดหรือมีแนวโน้มว่าจะบรรลุตัวชี้วัดเพียงใด แล้วแก้ไขข้อบกพร่องเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง (Formative Assessment) และตรวจสอบการ จัดการสอนว่าผู้เรียนมีผลอันเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อย เพียงใด มีการประเมินผลกลางภาคหรือปลายภาคตามรูปแบบการประเมินที่สถานศึกษา กาหนด แล้วนาผลการประเมินมาเป็นข้อมลู ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป 2.2 การประเมินระดับสถานศึกษา เปน็ การตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นรายภาคหรือรายปีการศึกษา ประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อนุมัติผลการเรียน ตัดสินการเลื่อนชั้นเรียน และ ประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาว่าส่งผลต่อการเรียน ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ และนาผลไปเทียบกับเกณฑ์ระดับเขตพื้นที่และระดับชาติ จะเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน และ การจัดทาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพ การศึกษา รวมถึงรายงานผลต่อคณะกรรมการสถานศึกษา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน ผปู้ กครอง และชุมชน 2.3 การประเมินระดับเขตพื้นท่ีการศึกษา เป็นการประเมินเพื่อใช้เป็นข้อมูล พื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ตามภาระความรับผิดชอบ ประเมินคุณภาพผู้เรียนด้วยวิธีการและเคร่ืองมือที่เป็นมาตรฐานซึ่งจัดทาและดาเนินการ โดยเขตพืน้ ทีก่ ารศกึ ษา หรอื ด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัดหรอื หนว่ ยงานทีเ่ กีย่ วข้อง 2.4 การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินเพื่อนาผลมาใช้เป็นข้อมูล ในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่าง ๆ เพื่อนาไปวางแผนยกระดับคุณภาพ การจดั การศกึ ษา และเปน็ ข้อมลู สนับสนุนการตัดสินใจในระดบั นโยบายประเทศ

- 45 - 3. แนวทางในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพืน้ ฐานพุทธศกั ราช 2551 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นกระบวนการเก็บรวบรวม ตรวจสอบ ตีความผลการเรียนรู้ และ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร โดย สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เปิดโอกาส ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม กาหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนา ผู้เรียนตัดสินผลการเรียน และสอดคล้อง ครอบคลุมมาตรฐาน ตัวชี้วัด ตามกลุ่มสาระ การเรียนรู้ นอกจากน้ันการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ จัดการเรียนการสอน ต้องดาเนินด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย เพื่อสามารถวัดและ ประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบด้าน ท้ังความรู้ ความคิด พฤติกรรม และเจตคติ และมีการ เทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและระหว่างรูปแบบการศึกษา ออกเอกสาร หลักฐานการศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผล รายงานผลการเรียน แสดงวุฒิการศึกษา และรบั รองผลการเรียนของผู้เรยี น 3.1 องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พทุ ธศักราช 2551 หลักสูตรแกนกลางฯ 2551 กาหนดให้ผู้เรียนได้องค์ประกอบของการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ดังน้ี 3.1.1 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดย ครูผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม ตามที่ กาหนดในหน่วยการเรียนรู้ ใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความรู้ ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน โดยวัดและประเมินผลกาเรียนรู้อย่างต่อเน่ือง สังเกต พัฒนาการ พฤติกรรมการเรียน การ่วมกิจกรรม ควบคู่ไปกับการใช้การทดสอบ เพื่อใช้เป็น ข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียนและประเมินการเลื่อนชั้น และจบการศึกษาระดับต่าง ๆ ซึ่ง ภารกิจ ของสถานศึกษาในการดาเนินการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีดงั นี้ 1) กาหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกบั คะแนนปลายปี/ปลายภาค โดยให้ ความสาคญั ของคะแนนระหว่างเรียนมากกว่าคะแนนปลายภาค เชน่ 70:30, 80:20 เป็นต้น 2) กาหนดเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสม ตามระดับช้ันเรียน เช่น ระดับประถมศึกษาอาจกาหนดเป็นระดับผลการเรียน หรือระดับ คุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียน เป็นระบบตัวเลข ตัวอักษร ร้อยละ หรือระบบที่ใช้คาสาคัญ

- 46 - สะท้อนมาตรฐาน สาหรับมัธยมศึกษากาหนดเป็นผลการเรียน 8 ระดับ และกาหนดเง่ือนไข ของผลการเรียน เชน่ การประเมนิ ทีไ่ ม่สมบูรณ์ (ร) การไม่มสี ิทธิสอบปลายภาค (มส) เป็นต้น 3) กาหนดแนวปฏิบัติในการสอนซ่อมเสริมระหว่างเรียน กรณีผู้เรียน มีผลการประเมินตวั ช้วี ัด/มาตรฐานการเรียนรู้ไมผ่ ่านตามเกณฑท์ ี่สถานศกึ ษากาหนด 4) กาหนดแนวปฏิบัติในการสอนซ่อมเสริม การสอบแก้ตัว กรณีผู้เรียน มีระดับผลการเรียน “0” หรอื มีคุณภาพต่ากว่าเกณฑ์ 5) กาหนดแนวปฏิบัติในการอนมุ ตั ผิ ลการเรียน 6) กาหนดแนวทางในการรายงานผลการประเมินตอ่ ผเู้ กีย่ วข้อง 3.1.2 การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน เป็นการประเมินศักยภาพของ ผู้เรียนในการอ่านหนังสือ เอกสาร และสื่อต่าง ๆ เพื่อหาความรู้ แล้วนาเนื้อหานั้น มาคิดวิเคราะห์ นาไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์ การสร้างสรรค์ และแก้ปัญหา ในเร่ืองต่าง ๆ และถ่ายทอดความคิดน้ันด้วยการเขียนที่ถูกต้อง มีเหตุผลและลาดับขั้นตอน ในการนาเสนอ อา่ น (รับสาร) หนังสือ เอกสาร โทรทัศน์ อนิ เทอร์เน็ต สื่อตา่ ง ๆ ฯลฯ แลว้ สรปุ เป็นความรู้ความเข้าใจของตนเอง คิดวเิ คราะห์ วเิ คราะห์ สังเคราะห์ หาเหตผุ ล แก้ปญั หา และสร้างสรรค์ เขียน (สื่อสาร) ถ่ายทอดความรู้ ความคดิ สือ่ สารให้ผู้อน่ื เข้าใจ ภาพที่ 3.1 แสดงการประเมินการอ่าน คดิ วิเคราะห์ และเขยี น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553 การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน มีหลักการประเมิน ขอบเขตการประเมิน เครื่องมือ และวิธีการประเมิน ดงั น้ี 1) หลักการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นการประเมิน เพื่อการปรับปรุงพัฒนาผเู้ รียน และตัดสินการเลื่อนชั้นและจบการศึกษาระดับต่าง ๆ ใช้วิธีการ ประเมินที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงออกซึ่งความสามารถดังกล่าว อย่างเต็มตามศักยภาพและทาให้ผลการประเมินที่ได้มีความเชื่อมั่น ใช้รูปแบบ วิธีการประเมิน และเกณฑ์การประเมินที่ได้จากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และสรุปผลการประเมินเพื่อ รายงาน เน้นการรายงานคุณภาพของความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็น 4 ระดบั คอื ดีเยีย่ ม ดี ผา่ น และไม่ผ่าน 2) การประเมนิ และตวั ช้วี ดั ทีแ่ สดงถึงการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ดงั นี้

- 47 - ตารางที่ 3.1 แสดงขอบเขตการประเมินแตล่ ะระดับช้ัน เกีย่ วกบั การอา่ น คิดวิเคราะห์ และเขียน ชน้ั ประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษา ชนั้ มธั ยมศกึ ษา ช้ันมัธยมศกึ ษา ปีท่ี 1-3 ปีท่ี 4-6 ปีท่ี 1-3 ปีท่ี 4-6 การอา่ นจากสื่อ การอา่ นจากสื่อ การอา่ นจากสื่อ การอา่ นจากสื่อ สิง่ พิมพ์ และ/หรอื สิ่งพิมพ์ และ/หรอื สิง่ พิมพ์และ สิ่งพิมพ์และ สื่อประเภทต่าง ๆ ที่ สื่อประเภทต่าง ๆ ที่ สือ่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ที่ สือ่ อเิ ล็กทรอนิกส์ที่ ให้ความเพลิดเพลิน ให้ข้อมลู สารสนเทศ ให้ข้อมูลสารสนเทศ ให้ข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้ ประสบการณ์ ข้อคิด ความรู้ ความรู้ ประสบการณ์ และมีประเดน็ ใหค้ ิด ที่เอ้ือให้ผู้อา่ นนาไป เกี่ยวกับสังคมและ แนวคิด ทฤษฎี และเขียนบรรยาย คิดวิเคราะห์ แสดง สิง่ แวดล้อมที่เอือ้ ให้ รวมทั้งความงดงาม ถ่ายทอดประเดน็ ความคิดเหน็ ผอู้ ่านนาไปคิด ทางภาษาทีเ่ อ้ือให้ ที่คิดดว้ ยภาษา ตัดสินใจ แก้ปัญหา วิเคราะห์ วจิ ารณ์ ผอู้ ่านวิเคราะห์ ทีถ่ ูกต้องเหมาะสม และถ่ายทอดโดยการ สรปุ แนวคิด คณุ ค่า วิพากษ์วิจารณ์ แสดง เชน่ อ่านสาระความรู้ เขียนเปน็ ความเรยี ง ที่ได้ นาไปประยกุ ต์ใช้ ความคิดเหน็ โต้แย้ง ที่นาเสนออย่างสนใจ เชงิ สร้างสรรคด์ ้วย ด้วยวิจารณญาณ หรอื สนับสนนุ นิยาย เรื่องส้ัน นทิ าน ถ้อยคาภาษา และถ่ายทอดเป็น ทานาย คาดการณ์ นิทานปรมั ปรา ทีถ่ ูกต้องชดั เจน เช่น ข้อเขียนเชงิ ตลอดจนประยกต์ใช้ อ่านหนังสอื พิมพ์ สร้างสรรค์หรือ ในการตัดสินใจ วารสาร หนังสอื เรียน รายงานด้วยภาษา แก้ปญั หา และ บทความ สุนทรพจน์ ทีถ่ กู ต้องเหมาะสม ถ่ายทอดเป็นข้อเขียน คาแนะนา คาเตือน เชน่ อ่านหนังสอื พิมพ์ เชงิ สร้างสรรค์ วารสาร หนังสอื เรียน รายงาน บทความ บทความ สนุ ทรพจน์ วิชาการอย่างถกู ต้อง คาแนะนา คาเตือน ตามหลกั วิชา เช่น แผนภูมิ ตาราง อ่านบทความวิชาการ แผนที่ วรรณกรรมประเภท ต่าง ๆ

- 48 - ตารางที่ 3.2 แสดงตวั ช้วี ดั ความสามารถในการอา่ น คิดวิเคราะห์ และเขียน ชน้ั ประถมศึกษา ช้นั ประถมศึกษา ชัน้ มัธยมศกึ ษา ชั้นมธั ยมศกึ ษา ปีท่ี 1-3 ปีท่ี 4-6 ปีท่ี 1-3 ปีท่ี 4-6 1. สามารถอ่านและ 1. สามารถอ่าน 1. สามารถคัดสรรสือ่ ที่ 1. สามารถอ่าน หาประสบการณ์จาก เพื่อหาข้อมลู ต้องการอ่านเพื่อหา เพื่อการศกึ ษาค้นคว้า สือ่ ทีห่ ลากหลาย สารสนเทศ ข้อมูลสารสนเทศได้ เพิ่มพนู ความรู้ 2. สามารถจบั ประเดน็ เสริมประสบการณ์จาก ตามวัตถุประสงค์ ประสบการณ์ และ สาคญั ขอ้ เทจ็ จรงิ สื่อประเภทต่าง ๆ สามารถสร้างความ การประยกุ ต์ใช้ใน ความคิดเหน็ เร่ืองทีอ่ ่าน 2. สามารถจบั ประเดน็ เข้าใจและประยุกต์ใช้ ชีวติ ประจาวัน 3. สามารถ สาคญั เปรียบเทียบ ความรจู้ ากการอ่าน 2. สามารถจัดประเด็น เปรียบเทียบแง่มุมต่างๆ เชอ่ื มโยงความเปน็ เหตุ 2. สามารถจบั ประเด็น สาคัญ ลาดบั เชน่ ขอ้ ดี ขอ้ เสีย เปน็ ผลจากเร่อื งทีอ่ ่าน สาคญั และประเดน็ เหตกุ ารณจ์ ากการอ่าน ประโยชน์ โทษ ความ สนับสนุน โต้แย้ง สือ่ ทีม่ คี วามซับซ้อน เหมาะสม ไม่เหมาะสม 3. สามารถวิเคราะห์ 3. สามารถวิเคราะห์สิง่ 4. สามารถแสดงความ วิจารณ์ ความ ทีผ่ ู้เขียนต้องการ คิดเห็นตอ่ เรื่องที่อ่าน สมเหตุสมผล ความ สือ่ สารกบั ผอู้ ่าน และ โดยมีเหตุผลประกอบ น่าเชอ่ื ถือ ลาดับความ สามารถวิพากษ์ ให้ 5. สามารถถ่ายทอด และความเป็นไปได้ของ ข้อเสนอแนะในแง่มมุ ความคิดเห็น เรือ่ งทีอ่ า่ น ต่าง ๆ ความรสู้ ึก จากเร่อื งที่ 4. สามารถสรุปคุณค่า 4. สามารถประเมิน อ่านโดยการเขียน แนวคิด แงค่ ิดทีไ่ ด้จาก ความน่าเช่อื ถือ คุณค่า การอา่ น แนวคิดที่ได้จากสิ่งที่ 5. สามารถสรปุ อ่านอย่างหลากหลาย อภปิ ราย ขยายความ 5. สามารถเขียนแสดง แสดงความคิดเห็น ความคิดเหน็ โต้แย้ง สนับสนุน โต้แย้ง สรปุ โดยมี โน้มน้าว โดยการเขียน ข้อมลู อธิบายสนบั สนุน สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเพียงพอและ เชน่ ผังความคิด สมเหตุสมผล เป็นต้น

- 49 - 3) ขอ้ เสนอแนะเกี่ยวกับเครือ่ งมือและวธิ ีการประเมิน เพื่อให้ได้ผลการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ เขียน ที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ผู้ประเมินควรให้ความสาคัญกับเคร่ืองมือ และวิธีการประเมนิ ในประเดน็ ต่อไปนี้ ลักษณะภาระงานทีก่ าหนดให้ผู้เรียนปฏิบตั ิ - สื่อที่ให้ผู้เรียนอ่านต้องมีความสอดคล้องกับขอบเขตการประเมิน ในแต่ละระดับ - การกาหนดเงอ่ื นไขการปฏิบัติให้เป็นไปตามประเด็นการตรวจสอบ - ประเด็นคาถาม กระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความรู้ ความเข้าใจ ความคิด เกี่ยวกับสิง่ ทีอ่ า่ นและเขียน ถ่ายทอดความรู้ ความคิดของตนเอง ลกั ษณะเครือ่ งมือ/วิธีการประเมนิ - ให้ผู้เรยี นได้ปฏิบัติจรงิ - ทดสอบโดยการสอบข้อเขียน - การให้ผู้เรยี นประเมินตนเอง/เพือ่ นประเมิน - การพูดคุย ซักถาม ถาม-ตอบปากเปล่า - การตรวจผลงาน การใช้ผลการประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเป็นข้อมูล ย้อนกลับแก่ผู้เรียน เพื่อเป็นการปรับปรุง พัฒนา ดูความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคในการเรียน เน้นลักษณะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning) มากกว่าการประเมิน เพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning) มีผลการวิจัยระบุว่าการให้ข้อมูลย้อนกลับ ด้วยคาพดู จะกระตนุ้ ให้เกิดการพฒั นา 3.1.3 การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นการประเมินคุณลักษณะ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ในด้านคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ได้อย่างมีความสุข ซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กาหนด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 คุณลักษณะ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียนและประเมิน การเลื่อนช้ัน และจบการศกึ ษาระดับต่าง ๆ ดงั ภาพต่อไปนี้

- 50 - ภาพที่ 3.2 แสดงการประเมินคุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์ 8 คณุ ลักษณะ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ต้องอาศัยการบริหารจัดการสถานศึกษา และการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ครูที่ปรึกษา ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และชุมชน ที่ต้องมุ่งขัดเกลา บ่มเพาะ ปลูกฝัง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน โดยสามารถบูรณาการในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการพิเศษต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดทาขึ้น เช่น โครงการ วันพ่อ วันแม่ แห่งชาติ วันรักษ์สิ่งแวดล้อม แห่เทียน พรรษา หรือกิจกรรมที่องค์กรในท้องถิ่นจัดขึ้น เป็นต้น รวมท้ังสอดแทรกในกิจวัตรประจาวัน ของสถานศึกษา เช่น การเข้าแถวซื้ออาหารกลางวัน เป็นต้น การประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ไม่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสัดส่วนการให้คะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนปลายปี/ ปลายภาค ไม่รวมอยู่ในการตัดสินรายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และมีแนวทางการพัฒนา และประเมินที่สถานศกึ ษาสามารถเลือกนาไปใช้ได้ตามความเหมาะสม ดังตอ่ ไปนี้

- 51 - รปู แบบท่ี 1 กลุ่มสาระการเรียนรแู้ ละผทู้ ี่รบั ผดิ ชอบพัฒนาและประเมินทุกคุณลกั ษณะ ภาพที่ 3.3 แสดงรปู แบบการประเมินแบบกลุ่มสาระการเรียนรู้และผทู้ ี่รับผดิ ชอบพฒั นา และประเมินทกุ คุณลักษณะ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) รปู แบบนีเ้ หมาะสาหรบั สถานศกึ ษาทีม่ คี วามพร้อมสูง และต้องการเน้นการพัฒนา ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สู่ความเป็นเลิศ โดยมีนโยบายที่ให้ครูทุกคนมีส่วนร่วม มีคณะกรรมการคอยช่วยเหลือคณะครู อาจนาสภานัก เรียนเข้ามาร่วม สถานศึกษา อาจมีเป้าหมายว่าผเู้ รียนร้อยละ 90 ขนึ้ ไป จะต้องมีคุณลักษณะอนั พึงประสงค์อยู่ในระดบั “ดี” เป็นอย่างนอ้ ย

- 52 - รูปแบบท่ี 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้และผู้ที่รับผิดชอบเลือกพัฒนาและประเมินเฉพาะ คุณลกั ษณะที่เหมาะสม ภาพที่ 3.4 แสดงรปู แบบการประเมินแบบกลุ่มสาระการเรียนรู้และผทู้ ีร่ บั ผดิ ชอบเลือกพฒั นา และประเมินเฉพาะคุณลกั ษณะทีเ่ หมาะสม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) รูปแบบนี้เหมาะสมกับโรงเรียนที่มีความพร้อมปานกลาง ครูครบช้ันเรียน มีครูพิเศษบ้างแต่ไม่มากนัก ครูอาจต้องเป็นทั้งผู้สอนและทางานส่งเสริมแล ะรับผิดชอบ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วย โดยคัดเลือกคุณลักษณะอันพึงประสงค์เฉพาะข้อที่มีเน้ือหา ใกล้เคียงกบั มาตรฐานหรอื ตัวช้วี ัดในกลุ่มสาระนั้น ๆ ที่ครูแต่ละคนรับผดิ ชอบ

- 53 - รปู แบบท่ี 3 ครปู ระจาช้ันหรอื ครูประจาวิชาพฒั นาและประเมิน หรอื ร่วมพัฒนาและประเมิน ภาพท่ี 3.5 แสดงรปู แบบการประเมินแบบครปู ระจาชั้นหรอื ครูประจาวิชาพฒั นาและประเมิน หรอื ร่วมพัฒนาและประเมินคณุ ลกั ษณะอนั พึงประสงค์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) รูปแบบนี้เหมาะสาหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่ครบช้ัน หรือครบช้ันพอดี แต่ครูคนหนึ่งต้องทาหลายหน้าที่ ความพร้อมทรัพยากรมีน้อย การพัฒนาและประเมิน คุณลกั ษณะอันพึงประสงค์ ควรเปิดโอกาสใหช้ ุมชน เข้ามามีสว่ นร่วมในการประเมนิ ด้วย 3.1.4 การประเมินกิจกรรมพฒั นาผูเ้ รียน เปน็ การประเมินการปฏิบตั ิกิจกรรม และผลงานของผู้เรียน และเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม และใช้เปน็ ข้อมูลประเมินการเลื่อนช้ัน และจบการศึกษาระดบั ต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรม แนะแนว กิจกรรมนักเรียน (ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บาเพ็ญประโยชน์ นักศึกษา วิชาทหาร ชุมชน/ชมรม) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) ซึ่งสถานศกึ ษาต้องส่ิงเสริมการพฒั นาความสามารถของผเู้ รียนตามหลักสตู รแกนกลาง การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ด้วยกิจกรรม 3 ลกั ษณะ ดังน้ี 1) กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จัก ตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กาหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิต

- 54 - ท้ังด้านการเรียนและอาชีพ สามารถปรบั ตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและ เข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คาปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วม พัฒนาผู้เรียน เช่น กิจกรรมการรู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น กิจกรรม การปรบั ตัวและดารงชีวิต กิจกรรมแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ กิจกรรมการตัดสินใจและ แก้ปญั หา เปน็ ต้น 2) กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นาผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทางานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจ ที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปันกัน เอื้ออาทรและสมานฉันท์ โดยจัดให้ สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ ด้วยตนเองในทุกข้ันตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและ ปรับปรุงการทางาน เน้นการทางานร่วมกันกับกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับ วฒุ ิภาวะของผเู้ รียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย 2.1) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บาเพ็ญประโยชน์ และ นักศึกษาวิชาทหาร เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นาผู้ตามที่ดี ความรับผดิ ชอบ การทางานร่วมกนั การรู้จกั แก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปันกัน การประนีประนอม เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทีม่ คี วามสมบรู ณ์พรอ้ มท้ังด้านรา่ งกาย จติ ใจ อารมณ์ สงั คม และสติปญั ญา เป็นต้น 2.2) กิจกรรมชุมนุม ชมรม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยเน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเอง ตั้งแต่การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทางาน เน้นการ ทางานร่วมกันเป็นกลุ่ม กิจกรรมสาคัญในการพัฒนา ได้แก่ ชุมนุมหรือชมรมต่าง ๆ ที่สถานศึกษากาหนดขึ้นตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน และบริบท ของสถานศึกษาและท้องถิ่น 3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ต่อสงั คม ชมุ ชน และท้องถิ่น ตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความเสียสละต่อสังคม ความดงี าม มีจิตสาธารณะ เชน่ กิจกรรมอาสาพฒั นาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรคส์ งั คม เปน็ ต้น การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณ ประโยชน์ สามารถนาไป สอดแทรกหรือบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บาเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร ได้ตามความเหมาะสม ท้ังนี้ การทากิจกรรม

- 55 - เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ให้ผู้เรียนรายงานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมและมีผู้รับรอง ผลการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย โดยสถานศกึ ษาจัดเวลาเรียนให้ผู้เรยี น ดงั น้ี ระดบั ประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 รวม 6 ปี จานวน 60 ชว่ั โมง ระดับมธั ยมศกึ ษาปีที่ 1 - 3 รวม 3 ปี จานวน 45 ชว่ั โมง ระดบั มธั ยมศกึ ษาปีที่ 4 - 6 รวม 3 ปี จานวน 60 ชั่วโมง ตวั อย่างรูปแบบการจัดกิจกรรมเพือ่ สังคมและสาธารณประโยชน์ รูปแบบที่ 1 จัดทำโครงกำรท่ีให้ผู้เรียนเข้ำร่วมกิจกรรมนอกเหนือจำกกำร เรียนปกติซ่ึงเป็นกิจกรรมท่ีอยู่ในลักษณะเพ่ือสังคมและสำร ธำรณประโยชน์ รปู แบบที่ 2 จัดทำเป็นกิจกรรมตำมขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม วัน สำคัญทำงรำชกำรหรือกิจกรรมที่นำนักเรียนออกทำประโยชน์ ร่วมกบั ชมุ ชนหน่วยงำนรำชกำร หรือองคก์ รอ่ืน ๆ รปู แบบท่ี 3 จัดให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตำมควำมต้องกำร โดยมีครูเป็นท่ี ปรึกษำกิจกรรม เช่น รวมกลุ่ม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม พัฒนำ ชุมชน/ท้องถนิ่ เป็นต้น ภาพที่ 3.6 แสดงรูปแบบการจดั กิจกรรมเพื่อสงั คมและสาธารณประโยชน์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) แนวทางการประเมินกิจกรรมพัฒนาผเู้ รียนรายกิจกรรม มแี นวปฏิบัติดังน้ี 1. ตรวจสอบเวลาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ ทีส่ ถานศึกษากาหนด 2. ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ ชิ้นงานของผู้เรียน ตามเกณ ฑ์ที่สถานศึกษากาหนด ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และ ใช้การประเมินตามสภาพจริง

- 56 - 3. ผู้เรียนที่มีเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ ชิ้นงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนด เป็นผู้ผ่านการประเมินรายกิจกรรมและนา ผลการประเมินไปบันทึกในระเบียนแสดงผลการเรียน 4. ผู้เรียนที่มีผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์เวลาการเข้าร่วมกิจกรรม หรือเกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงานของผู้เรียนหรือทั้งสองเกณฑ์ ถือว่าไม่ผ่าน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้สอนต้องดาเนินการซ่อมเสริมและประเมินจนผ่าน ท้ังนี้ ควรดาเนินการให้เสร็จสิ้นในปีการศึกษานั้น ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลยพินิจ ของสถานศึกษา ดังนั้นองค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551 ดังแผนภาพต่อไปนี้ 1. กล่มุ สาระการ 2. การอา่ น คิดวเิ คราะห์ เรยี นรู้ 8 กลุม่ สาระ การเขียน คุณภาพของ ผ้เู รยี น 3. คณุ ลักษณะ 4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรยี น อันพึงประสงค์ ภาพที่ 3.7 แสดงองค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553)

- 57 - สรุป แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน และการวัด และประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน โดยมีการกากับดูแลคุณภาพการศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ และ องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ คือ 1) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน 3) การประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 4) การประเมินกิจกรรมพัฒนาผเู้ รียน ซึ่งผู้เรยี นต้องมีผลการประเมินการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบของการวัดและประเมินผล ให้ครอบคลมุ ชดั เจน และนาไปพัฒนาการจัดการ เรียนการสอนของครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศกึ ษา แบบฝึกหดั 1. จงอธิบายความสาคัญ ของการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒ นา (Formative Assessment) และ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน (Summative Assessment) พร้อมทั้งสรปุ ว่ามีความเหมอื น ความแตกต่าง หรอื สอดคล้องกัน อย่างไร 2. การกากับดูแลคุณภาพการศึกษาแบ่งการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ออกเป็นกี่ ระดับ มอี ะไรบ้าง จงอธิบายพอสงั เขป 3. องค์ประกอบหลักของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 มีอะไรบ้าง จงเขียนแผนผังความคิด 4. ในสาขาวิชาของนักศึกษา จะประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนได้อย่างไร บ้าง ยกตัวอย่าง (ศกึ ษาแผนภาพประกอบการตอบคาถาม) อา่ น (รับสาร) หนังสือ เอกสาร โทรทศั น์ อนิ เทอร์เน็ต สือ่ ตา่ ง ๆ ฯลฯ แลว้ สรุปเปน็ ความรู้ความเข้าใจของตนเอง คิดวเิ คราะห์ วเิ คราะห์ สังเคราะห์ หาเหตุผล แก้ปัญหา และสร้างสรรค์ เขียน (สื่อสาร) ถ่ายทอดความรู้ ความคดิ สือ่ สารให้ผู้อ่นื เข้าใจ

- 58 - 5. จงบอกระดบั การประเมินเพื่อสรปุ ผลรายงานคุณภาพความสามารถในการการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน เปน็ 4 ระดับ คือ ดีเยีย่ ม ดี ผา่ น และไม่ผ่าน 6. จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวช้ีวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ของนักเรียนระดบั ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3 และประถมศึกษาปีที่ 4-6 7. จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวช้ีวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ของนักเรียนระดบั ช้ัน มัยธมศกึ ษาปีที่ 1-3 และมยั ธมศกึ ษาปีที่ 4-6 8. จงออกแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เหมาะสมกับโรงเรียนที่มี ความพรอ้ มปานกลาง ครคู รบช้ันเรยี น มีครพู เิ ศษบ้างแต่ไม่มากนัก 9. จงอธิบายแนวทางการประเมินกิจกรรมพัฒนาผเู้ รียนมาพอสงั เขป 10. ในสาขาวิชาของนักศึกษา สามารถประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในกิจกรรม การเรียนรู้ ได้อย่างไรบ้าง จงอธิบายทั้ง 8 คุณลกั ษณะ ประกอบด้วย 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตรยิ ์ 2) ชื่อสัตย์สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการทางาน 7) รัก ความเปน็ ไทย 8) มีจิตสาธารณะ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook