Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 2 พฤติกรรมทางการศึกษา

บทที่ 2 พฤติกรรมทางการศึกษา

Published by benjamas, 2020-06-14 04:24:24

Description: พฤติกรรมทางการศึกษา พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย

Search

Read the Text Version

- 19 - บทที่ 2 พฤตกิ รรมทางการศกึ ษา การจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาน้ัน มุ่งหวังให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายและกระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ความรู้ คุณลักษณะ และทักษะ ที่เรียกว่า พฤติกรรมทางการศึกษา (Education Behavior) ซึ่งในการจัดการเรียนรู้น้ัน ครูผู้สอนต้องมีการตรวจสอบผลการเรียนรู้ว่าผู้เรียน เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์จากการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนมากน้อยเพียงใด และสามารถ จาแนกจุดมุ่งหมายให้เป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้ เน่ืองจากจุดมุ่งหมายของรายวิชาเดียวกัน ครูผสู้ อนแต่ละคนมักจะแปลความหมายทีต่ ่างกัน จะส่งผลให้การจัดการเรียนรู้และการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้แตกต่างกันไปด้วย ดังน้ัน ครูผู้สอนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมทางการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการศึกษากับการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ 1. พฤติกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ครูผู้สอน ต้องวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของรายวิชาได้อย่างครอบคลุม ชัดเจน จึงจะสามารถวัดและประเมิน พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจาแนกออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) และด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (Bloom and Other,1956; สุรางค์ โค้วตระกูล, 2553 ; พิชิต ฤทธิจ์ รูญ ,2553) ดังน้ี 1.1 พฤติกรรมการเรียนรู้ดา้ นพุทธิพสิ ัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมในด้านสมองหรือสติปัญญาของผู้เรียนในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดย แบ่งความรู้ออกเป็น 6 ระดับ เรียงลาดับตามขั้นตอนการเกิดพฤติกรรมจากขั้นต่าสุดไปถึง ข้ันสูงสุด คือ ความรู้-จา ความเข้าใจ การนาไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และ การประเมนิ ค่า โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1.1 ความรู้ – ความจา (Knowledge) หมายถึง ความสามารถทางสมองในการ รักษาไว้ซึ่งเร่ืองราวต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับรู้ไว้ในสมองได้อย่างถูกต้องแม่นยา โดยแบ่งความรู้ ออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

- 20 - 1) ความรู้เกี่ยวกับในเร่ืองเฉพาะ (Knowledge of Specifics) เป็นสมรรถภาพ ทางสมองขน้ั ต่าสุดที่จะเป็นพื้นฐานให้เกิดสมรรถภาพสมองขนั้ สงู ที่ซับซ้อน เป็นความรู้เกีย่ วกับ ศัพท์และนิยาม สามารถบอกความหมายของคาและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น นิยามคาศัพท์ ทางวิทยาศาสตร์ได้ บอกความหมายของการวัดและประเมินผลได้ เป็นต้น และความรู้เกีย่ วกับ กฎและความจริง สามารถบอก กฎ สูตร ทฤษฎี และข้อเท็จจริงต่าง ๆ เช่น บอกสูตรการหา พืน้ ที่สามเหล่ยี มได้ เป็นต้น 2) ความรู้ในวิธีดาเนินการ ที่จะใช้เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะต่าง ๆ เป็นความรู้ เกี่ยวกับแบบแผน สามารถบอกรูปแบบ การปฏิบัติ แบบฟอร์ม หรือระเบียบต่าง ๆ ได้ เช่น บอกแผนผังโคลงสี่สุภาพได้ เป็นต้น ความรู้เกี่ยวกับการลาดับข้ัน สามารถบอกขั้นตอน ก่อนหลัง ทิศทางการเปลี่ยนแปลง หรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น บอกได้ว่าการขับรถยนต์ ควรทาอะไรก่อนหลัง เป็นต้น ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท สามารถจาแนก จัดหมวดหมู่ ความเหมือนและความต่าง คุณสมบัติ และหน้าที่ของสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น จัดหมวดหมู่ของวัน ตามเหตุการณ์ได้ เป็นต้น ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ สามารถบอกเกณฑ์ หลักในการตรวจสอบ และวินิจฉัยข้อเท็จจริง เช่น บอกได้ว่าอะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าใครผ่านหรือไม่ผ่าน เป็นต้น ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ สามารถบอกเทคนิค กระบวนการ และวิธีการสืบเสาะหาความรู้ อันทีจ่ ะได้มาของผลลัพธ์ตามทีต่ ้องการ เชน่ บอกวิธีแก้สมการได้ เป็นต้น 1.1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง การเข้าใจในความรู้ที่เรียน โดย อธิบายด้วยคาพูดของตนเอง หรืออาจจะสามารถแปลความหมาย (Translation) หรือตีความ (Interpretation) และขยายความ (Extrapolation) ได้ แบ่งความเข้าใจออกเป็น 3 ลักษณะ 1) การแปลความ (Translation) เป็นความสามารถในการถอดความหมาย จากภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาหนึ่ง ซึ่งอาจแปลได้หลายลักษณะ เช่น แปลประโยคภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทย แปลความหมายจากคาสภุ าษิต แปลความหมายจากแผนภมู ิ เปน็ ต้น 2) การตีความ (Interpretation) เปน็ ความสามารถในการสรุปความ มองภาพ ส่วนรวมมาเป็นข้อความสั้น ๆ อย่างได้ใจความ เช่น อ่านเร่ืองแล้วตีความหมายข้อคิดที่แฝงอยู่ ในเน้ือเร่อื งได้ อ่านเรือ่ งแล้วค้นหาจุดมงุ่ หมายของผแู้ ต่งได้ เป็นต้น 3) ก ารขยายค วาม (Extrapolation) เป็ น ความ สาม ารถ ในการขยาย แนวความคิดให้กว้างไกลไปจากข้อมูลเดิมอย่างสมเหตุสมผล ต้องอาศัยการแปลความหมาย และการตีความประกอบกันจึงจะสามารถขยายความหมายของเร่ืองราวนั้นได้ เช่น อ่านเร่ือง ที่แต่งยังไม่จบแล้วขยายความคิดได้ว่าตอนจบน่าจะเป็นอย่างไร คาดคะเนเหตุการณ์ได้ เหตุการณน์ ีค้ วรเกิดในสถานที่อย่างไร เปน็ ต้น

- 21 - 1.1.3 การนาไปใช้ (Application) หมายถึง ความสามารถจะนาสิ่งที่เรียนรู้มาใช้ ในประสบการณ์ชีวิตประจาวัน เชน่ ถ้าเรียนเกี่ยวกบั การหาพืน้ ที่ของสเ่ี หลี่ยมผนื ผา้ ในหอ้ งเรียน ผเู้ รียนสามารถทีจ่ ะหาพืน้ ที่ของสนามที่เป็นรูปสี่เหลีย่ มผนื ผ้าได้ เป็นต้น 1.1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะเร่ืองราว สิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย และแสดงความสัมพันธ์ของส่วนย่อยเหล่านั้น การวิเคราะห์ แบ่งเปน็ 3 ลักษณะคือ 1) การวิเคราะห์ความสาคัญ (Analysis of Elements) เป็นความสามารถ ในการค้นหาจุดสาคัญหรือหัวใจของเร่ือง ค้นหาสาเหตุ ผลลัพธ์ และจุดมุ่งหมาย สาคัญของ เร่ืองต่าง ๆ เช่น อ่านบทความแล้วบอกได้ว่าหัวใจสาคัญของเร่ือง คืออะไร ค้นหาเหตุผล ของเรอ่ื งราวทีอ่ า่ นได้ เปน็ ต้น 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Analysis of Relationship) เป็นความสามารถ ในการค้นหาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และการพาดพิงกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ว่ามี ความเกี่ยวพันกันในลกั ษณะใด คล้อยตามกัน หรอื ขัดแย้งกัน เกี่ยวข้องกัน หรือไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น แยกข้อความที่ไม่จาเป็นในคาถามได้ ค้นหาความสัมพันธ์ของเบญจศีลกับเบญจธรรม เปน็ รายข้อได้ เปน็ ต้น 3) วิ เค ร า ะ ห์ ห ลั ก ก า ร (Analysis of Organizational Principles) เป็ น ความสามารถในการค้นหาว่า การที่โครงสร้างและระบบของวัตถุ สิ่งของ เร่ืองราว และ การกระทาต่าง ๆ ที่ร่วมกันอยู่ในสภาพเช่นน้ันได้เพราะยึดหลักการหรือแกนอะไรเป็นสาคัญ เช่น การที่กระติกน้าร้อนสามารถเก็บความร้อนไว้ได้เพราะยึดหลักการใด การทาสงคราม ปัจจบุ ันใช้วธิ ีโฆษณาชวนเชอ่ื เพราะยึดหลักการใด เป็นต้น 1.1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) หมายถึง ความสามารถในการรวบรวม สิ่งที่เรียนรู้ หรือประสบการณ์เข้าเป็นส่วนรวม เป็นสิ่งใหม่ โครงสร้างหรือหน้าที่ใหม่ที่แตกต่าง ไปจากของเดิม แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ 1) สั ง เค ร า ะ ห์ ข้ อ ค ว า ม (Production of Unique Communication) เป็ น ความสามารถในการสังเคราะห์ข้อความโดยสื่อด้วยการพูด เขียน วิพากษ์ วิจารณ์ หาข้อยุติ เช่น สามารถแต่งเร่ืองราวหรือบทกลอนได้โดยไม่ลอกเลียนใคร สามารถวาดภาพโดยอาศัย จนิ ตนาการของตนเองได้ เป็นต้น 2) สงั เคราะหแ์ ผนงาน (Production of Plan) เป็นความสามารถในการกาหนด แนวทางวางแผน ออกแบบ เขียนโครงงานหรือโครงการต่าง ๆ เช่น เขียนโครงการเกี่ยวกับ จติ อาสาได้ วางแผนจดั กิจกรรมการพฒั นาคุณธรรมจริยธรรมได้ เปน็ ต้น

- 22 - 3) สังเคราะห์ความสัมพันธ์ (Derivation of a Set of Abstract Relations) เป็นความสามารถในการนาเอานามธรรมย่อย ๆ มาจัดระบบของข้อเท็จจริงหรือส่วนประกอบ มาผสมผสานให้เป็นสิ่งสาเร็จรูปหน่วยใหม่ เกิดเป็นเร่ืองราว กฎ ทฤษฎี หรือสูตรขึ้น เช่น เม่ือกาหนดข้อเท็จจริงหรือเง่ือนไขของเร่ืองราวให้แล้วสมมติสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถ หาข้อยตุ ิหรอื ข้อสรุปของเรือ่ งน้ันในแง่มมุ ต่าง ๆ ได้ เปน็ ต้น 1.1.6 การประเมินค่า (Evaluation) หมายถึง ความสามารถที่จะใช้ความรู้ ที่เรียนมาในการตัดสินวินิจฉัยคุณค่าของสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือประสบการณ์จากการอ่านหรือฟัง โดยอาศยั เกณฑแ์ ละมาตรฐานที่วางไว้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1) ป ระเมิ น โด ย อ าศั ย เก ณ ฑ์ ภ าย ใน (Judgment in Terms of Internal Evidence) เป็นความสามารถในการตัดสินเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งโดยใช้เนื้อหาสาระ ในเหตุการณ์นั้นเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน เช่น อ่านเน้ือเร่ืองแล้วสามารถตัดสินได้ว่าตัวละครใด เป็นคนดี เลวตามเนื้อเร่ืองที่ปรากฏนั้น การตัดสินพฤติกรรมของผู้เรียนว่ากระทาถูกต้อง หรอื ไม่ตามระเบียบของโรงเรียนนน้ั เป็นต้น 2) ประเมินโดยอาศัยเกณ ฑ์ภายนอก (Judgment in Terms of External Criteria) เป็นความสามารถในการตัดสินเหตุการณ์ ใดเหตุการณ์ หนึ่ง โดยใช้เกณฑ์ที่ ไม่ได้ปรากฏตามเนื้อเรอ่ื งหรือเหตุการณ์นน้ั ๆ แต่ใชเ้ กณฑท์ ี่กาหนดขึน้ มาใหม่ซึง่ อาจเป็นเกณฑ์ ตามหลักเหตุผล หรือเกณฑ์ที่สังคมหรือระเบียบประเพณีกาหนดไว้ก็ได้ เช่น การตัดสิน พฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นโดยใช้เกณฑ์วัฒนธรรมไทยว่าเหมาะสมหรือไม่ซึ่งอาจแตกต่าง จากการตัดสินโดยใช้เกณฑ์จิตวิทยาวัยรุ่น การตัดสินคุณค่าของวิชาบางวิชาตามสภาพสังคม ปจั จบุ นั ว่ามีคุณค่าเพียงใดกบั การเรียนในยุคปัจจบุ นั เปน็ ต้น โดยพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยน้ัน เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนจะแสดงออก หลังจากเรียนหรือทากิจกรรมด้วยเนื้อหาหรือหน่วยการเรียนในแต่ละรายวิชานั้น ครูผู้สอน จะต้องกาหนดจุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระ รายวิชา ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน โดยกาหนดพฤติกรรมทั่วไปให้เป็น พฤติกรรมที่วัดได้สังเกตได้ เพื่อให้ครูผู้สอนได้สังเกต บันทึก และวิเคราะห์ผลการเกิด พฤติกรรมของผู้เรียนได้ตรงที่กาหนด ซึ่งได้ลาดับข้ันของพฤติกรรมและกาหนดพฤติกรรม ทีส่ งั เกตได้ สรปุ เป็นแผนภาพดงั ต่อไปนี้

- 23 - การเปล่ยี นแปลงพฤติกรรมทั่วไปเปน็ พฤติกรรมทีส่ งั เกตได้ ความรู้ ความจา (KNOWLEDGE) ความรู้ ความร้ใู นเรือ่ ง : บอกความหมาย ให้นยิ าม บอกคาจากัดความ บอกลักษณะ เรียกชื่อ ความจา บอกวัน บอกสถานที่ บอกเหตกุ ารณ์ บอกทฤษฎี บอกสตู ร บอกลกั ษณะโครงสรา้ ง ความรู้ในวิธีการ : บอกหลักการ บอกกฎ บอกวิธีการ บอกแนวโน้ม บอกเหตุ ความ บอกความสัมพันธ์ บอกชนิด บอกประเภท จาแนก แจกแจง จัดประเภท ของเกณฑ์ เข้าใจ บอกข้อกาหนด บอกองค์ประกอบ บอกวิธี บอกเทคนิค บอกการใช้ บอกวิธีปฏิบัติ การ ความเข้าใจ (COMPREHENSION) นาไปใช้ การแปลความ : แปลความหมาย แปลศัพท์ เปลีย่ นรูป ให้ความหมาย(ใหม่) การตคี วาม : สรปุ ตีความ เรียบอันดับ บอกทศั นะ บอกความแตกต่าง จาแนก วาด อธิบาย แสดง(สาธิต) การขยายความ : คาดคะเน อ้างสรปุ ทานาย พยากรณ์ ตดั สิน ขยาย ต่อเติม การนาไปใช้ (APPLICATION) นาไปใช้ นาไปสรุป เลือก พฒั นา จดั ใช้ เปลี่ยน คานวณ สรา้ ง สาธิต อภิปราย รวบรวมข้อมลู วางแผนดาเนินการ แก้ปญั หา การ การวเิ คราะห์ (ANALYSIS) วิเคราะห์ วเิ คราะหค์ วามสาคัญ : บอกความสาคญั จาแนกหลกั สาคญั วิจารณ์ อภิปราย องค์ประกอบ วเิ คราะห์ความสมั พนั ธ์ : บอกความสมั พันธ์ เปรียบเทียบ บรรยาย เหตแุ ละผล อธิบายความสมั พันธ์ จดั หมวดหมู่ การ วเิ คราะห์หลักการ : วิเคราะห์สดุ ประสงค์ อธบิ ายความเปน็ มา หาข้อสรปุ สังเคราะห์ การสังเคราะห์ (SYNTHESIS) สังเคราะหข์ อ้ ความ : เขียนบทความ เขียนโครงสรา้ ง เขียนแบบ แต่งเรือ่ ง เล่า (ใหม่) สงั เคราะหแ์ ผนงาน : วางแผน วางเป้าหมาย ผลิต กาหนดวิธี กาหนดจดุ ประสงค์ การ สงั เคราะหค์ วามสมั พนั ธ์ : รวมเรื่อง เข้าเรือ่ ง สรา้ ง ประเมินค่า การประเมินค่า (EVALUATION) อาศัยเกณฑ์ภายใน : ตัดสิน พจิ ารณา เปรียบเทียบ อาศยั เกณฑ์ภายนอก : ตัดสิน โต้แย้ง พิจารณา เปรียบเทียบ ภาพที่ 2.1 แสดงพฤติกรรมด้านพทุ ธิพสิ ัย (Cognitive domain)

- 24 - ในช่วงปี ค.ศ.1990 - 1999 แอนเดอร์สัน (Anderson) และ แครทโวทล์ (Krathwohl) ซึ่ง เป็นบุคคลที่อยู่ในคณะของบลูม ได้มีการปรับปรุงจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านพุทธิพิสัย เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (Revised Bloom's Taxonomy; Anderson and Krathwohl, 2001, Wilson, Leslie O, 2001,2013, Davis R. Krathwohl, 2002 อ้างถึงใน อนวุ ตั ิ คณู แก้ว, 2558) จงึ เกิดการวัดพฤติกรรมดา้ นพุทธิพิสยั แบบใหม่ ดงั น้ี Bloom,1956 Anderson and Krathwohl,2001; Krathwohl,2002 ภาพที่ 2.2 แสดงการปรับปรุงพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Revised Bloom’s Taxonomy) ทีม่ า: Wilson, Leslie O. 2001 https://thesecondprinciple.com/teaching-essentials/beyond-bloom-cognitive-taxonomy-revised/ จากภาพที่ 2.2 จะเห็นได้ว่าการปรับปรุงพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยใหม่เป็นการ ปรบั เปลี่ยนนิยามคาศัพท์และโครงสรา้ ง โดยมีรายละเอียดดงั น้ี 1. การปรบั นิยามคาศัพท์ 1.1 การเปลี่ยนจากการใช้คานาม เป็นคากริยา เพราะคากริยาสามารถอธิบาย การกระทาของพทุ ธิพิสัยได้ดีกว่าคานาม เช่น ความรู้ (Knowledge) เปลีย่ นเปน็ จา (Remember) ความเข้าใจ (Comprehension) เปลีย่ นเป็นเข้าใจ (Understand) เปน็ ต้น

- 25 - 1.2 การปรบั เปลีย่ นคาอธิบายของแตล่ ะดา้ น ดังน้ี 1.2.1 จา (Remember) หมายถึง ความสามารถในการดึง (Retrieving) ความรู้ ทีเ่ กี่ยวข้องจากหน่วยความจาระยะยาว (Long Term Memory) ทาหน้าที่เหมอื นคลงั ข้อมูลถาวร ซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้เป็นระบบ ที่สามารถเก็บข้อมูลความจาได้นาน และ ไม่จากดั จะเกบ็ ข้อมูลไว้บนพนื้ ฐานของความหมาย และความสาคัญของข้อมลู ประกอบด้วย 1) การจาได้ (Recognizing) หรอื เรียกว่าการระบุ (Identifying) 2) การระลึกได้ (Recalling) หรอื การดึงความรอู้ อกมา (Retrieving) 1.2.2 เข้าใจ (Understand) หมายถึง ความสามารถในการอธิบายความหมาย ของข้อความ การใช้คาพูดอธิบายปากเปล่า (Oral) การเขียน (Writing) และ การสื่อความหมาย (Graphic Communication) ประกอบด้วย 1) การตีความ (Interpreting) เช่น อธิบายความ (Clarifying) ถอดความ (Paraphrasing) แสดงให้เห็น (Representing) การแปลความ (Translating) 2) การยกตัวอย่าง (Exemplifying) เช่น การอธิบายให้เห็นภาพประกอบ (Illustrating) การยกตัวอย่างประกอบ (Instantiating) 3) การจัดประเภท (Classifying) เช่น การจัดกลุ่ม (Categories) การ จดั เปน็ กลุ่ม (Subsuming) 4) การสรุป (Summarizing) เช่น การสรุปเร่ือง (Abstracting) การกล่าว สรปุ (Generalizing) 5) การอนุมาน/การลงความเห็น/การสรุปอ้างอิง (Inferring) เช่น การลงมติ/ การสรุปผล (Concluding) การสรุปอ้างอิง (Extrapolating) การสอดแทรกความเห็น (Interpolating) การทานาย (Predicting) 6) การเปรียบเทียบ (Comparing) เช่น การเปรียบเทียบความแตกต่าง (Contrasting) การจับคู่ (Matching) การทาแผนที่ (Mapping) 7) การอธิบาย (Explaining) เชน่ รปู แบบการสรา้ ง (Constructing model) 1.2.3 ประยุกต์ใช้ (Apply) หมายถึง ความสามารถในการนากระบวนการไปใช้ ในการทาแบบฝกึ หัด (Perform exercises) หรอื แก้ปัญหา (Solve problems) ประกอบด้วย 1) การปฏิบัติ (Executing) เชน่ การดาเนินการ (Carrying out) 2) การทา/ดาเนินการ (Implementing) เชน่ การใช้ (Using)

- 26 - 1.2.4 วิเคราะห์ (Analyze) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์ส่วนประกอบ ต่าง ๆ และตรวจสอบความเกี่ยวข้องของส่วนประกอบ (Constituent parts) กับ โครงสร้าง ภาพรวม (Overall Structure) หรอื วัตถุประสงค์ (Objectives) ประกอบด้วย 1) ก า ร บ อ ก ค ว า ม แ ต ก ต่ า ง (Differentiating) เช่ น ก า ร จ า แ น ก (Discriminating) การแยกแยะ/จาแนกความแตกต่าง (Distinguishing) การบอกจุดสนใจ (Focusing) การคดั เลือก/การคดั สรร (Selecting) เปน็ ต้น 2) การจัดการ (Organizing) เช่น การเชื่อมโยง/การหาความสอดคล้อง (Finding Coherence) ก า ร บ รู ณ า ก า ร (Integrating) ก า ร ก า ห น ด โค ร ง ร่ า ง (Outlining) การวิเคราะหค์ า/ ประโยค (Parsing) การจดั ทาโครงสร้าง (Structuring) เปน็ ต้น 3) การบอกคุณลักษณะ (Attributing) เชน่ การร้ือ (Deconstructing) 1.2.5 ประเมิน (Evaluate) หมายถึง ความสามารถในการตัดสินใจบนพื้นฐาน ของเกณฑ์ และมาตรฐาน ประกอบด้วย 1) การตรวจสอบ (Checking) เช่น การประสานกัน/ความสอดคล้องกัน (Coordinating) การค้นหา (Detecting) การตดิ ตาม (Monitoring) การทดสอบ (Testing) เป็นต้น 2) การวิจารณ์ (Critiquing) เชน่ การตัดสินใจ (Judging) เป็นต้น 1.2.6 สร้างสรรค์ (Create) หมายถึง ความสามารถนาเอาส่วนต่าง ๆ หรือ ส่วนประกอบ หรอื องค์ประกอบ มารวมกนั เพื่อสร้างเป็นสิ่งใหม่ ประกอบด้วย 1) การสร้าง/ทาให้เกิดขึ้น/ทาให้มีขึ้น (Generating) เช่น การสร้าง สมมุตฐิ าน (Hypothesizing) เปน็ ต้น 2) การวางแผน (Planning) เชน่ การออกแบบ (Designing) เป็นต้น 3) การผลติ (Producing) เชน่ การสรา้ ง (Constructing) เป็นต้น การปรับปรุงจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านพุทธิพิสัยใหม่ โดยเป็นการปรับเปลี่ยน คานิยามและคาอธิบายโครงสร้าง โดยปรบั จากคานามเป็นคากริยาเพือ่ ทีจ่ ะแสดงถึงพฤติกรรม ทีว่ ัดได้และสังเกตได้ (พิศษิ ฐ ตณั ฑวณิช, 2557; อนวุ ัติ คณู แก้ว, 2558) สามารถสรุปได้ ดงั น้ี

- 27 - ตารางที่ 2.1 แสดงการปรับปรงุ จดุ มุ่งหมายทางการศึกษาด้านพทุ ธิพิสัยใหม่ Bloom (1956) Anderson and Krathwohl (2002) คานิยาม คาอธบิ าย คานิยาม คาอธบิ าย ความรู้ – ความจา ความสามารถทางสมองในการ จา ความสามารถในการดึงความรู้ (Knowledge) ทรงไวซ้ ึง่ เรื่องราวตา่ ง ๆ (Remember) ทีเ่ กีย่ วข้อง จากหน่วยความจา ทีบ่ คุ คลได้รับรู้ไว้ในสมองได้ ระยะยาว การจดจาสาระต่าง ๆ อย่างถูกต้องแมน่ ยา และระลึกได้ ความเข้าใจ การมคี วามเข้าใจในความรู้ เข้าใจ ความสามารถในการอธิบาย (Comprehension) ที่เรียน โดยสามารถอธิบายด้ (Understand) ด้วยวิธีการสื่อสารด้วยคาพูด วยคาพูดของตนเอง หรือ ภาษาเขยี น ทา่ ทาง สัญลกั ษณ์ สามารถ แปลความหมาย รูปภาพ หรือวธิ ีอืน่ ๆ ตีความ หรอื การขยายความ เพอ่ื ถ่ายทอดให้กบั ผู้อืน่ การนาไปใช้ ความสามารถในการ ประยกุ ตใ์ ช้ ความสามารถในการ (Application) นาสิ่งที่เรียนรู้มาใชใ้ น (Apply) นากระบวนการไปใชใ้ น การทา ประสบการณ์ชีวิตประจาวัน แบบฝึกหัด หรือแก้ปญั หา หรอื แก้ไขสถานการณ์ตา่ ง ๆ การวเิ คราะห์ ความสามารถในการแยกแยะ วเิ คราะห์ ความสามารถในการวิเคราะห์ (Analysis) เรื่องราวสิง่ ต่าง ๆ ออกเปน็ (Analyze) ส่วนประกอบ ตา่ ง ๆ และ ส่วนย่อย และแสดง ตรวจสอบความเกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ของสว่ นประกอบ กบั โครงสร้าง เหลา่ นั้น ภาพรวมหรือวัตถุประสงค์ การสังเคราะห์ ความสามารถทีจ่ ะรวบรวม ประเมิน ความสามารถในการตดั สนิ ใจ (Synthesis) สิง่ ที่เรียนรู้ หรือประสบการณ์ (Evaluate) เกี่ยวข้องกบั คุณค่า บนพนื้ ฐาน เข้าเปน็ สว่ นรวม เปน็ ส่งิ ใหม่ ของ เกณฑ์ และมาตรฐาน โครงสร้างหรือหนา้ ท่ใี หม่ ทีก่ าหนด ทีแ่ ปลกแตกตา่ งไปจากเดิม การประเมินค่า ความสามารถทีจ่ ะใชค้ วามรู้ สร้างสรรค์ ความสามารถนาเอาสว่ นต่าง ๆ (Evaluation) ที่เรียนมาในการตดั สนิ วนิ จิ ฉัย (Create) หรือส่วนประกอบ หรือ คณุ ค่าของสง่ิ ที่ได้เรียนรู้ หรือ องคป์ ระกอบ มารวมกัน ประสบการณ์จากการอ่านหรือ เพ่อื พัฒนาประดิษฐ์ หรอื สร้างเป็น ฟงั โดยอาศยั เกณฑ์และ สิง่ ใหม่ให้เกิดข้ึน มาตรฐานทีว่ างไว้ และกระบวนการและคาศพั ท์ใหมด่ ้านพุทธิพิสยั สามารถเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมท่วั ไป เปน็ พฤติกรรมทีส่ งั เกตได้ดงั น้ี (Anderson & Krathwohl. 2001)

- 28 - ตารางท่ี 2.2 แสดงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั่วไปเปน็ พฤติกรรมที่สังเกตได้ด้านพทุ ธิพิสยั ใหม่ พฤติกรรมด้านพุทธิพสิ ยั พฤติกรรมทส่ี ังเกตได้ 1.1 จา (Remember) หมายถึง ความสามารถในการดึง 1.1.1 จาได้ (Recognizing) เอาความรู้ทีม่ อี ยู่ในหน่วยความจาระยะยาวออกมา 1.1.2 ระลึกได้ (Recalling) 1.2 เข้าใจ (Understand) หมายถึง ความสามารถในการ 1.2.1 ตีความ (Interpreting) กาหนดความหมายของคาพดู ตัวอกั ษร และการส่ือสาร 1.2.2 ยกตวั อย่าง (Exemplifying) จากสือ่ ต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการจัดการเรียนรู้ 1.2.3 จาแนกประเภท (Classifying) 1.2.4 สรปุ (Summarizing) 1.2.5 อนุมาน (Inferring) 1.2.6 เปรียบเทียบ (Comparing) 1.3 ประยุกต์ใช้ (Apply) หมายถึง ความสามารถในการ 1.2.7 อธิบาย (Explaining) ดาเนนิ การหรอื ใช้ระเบียบวิธีการภายใต้สถานการณ์ 1.3.1 ดาเนินงาน (Executing) ที่กาหนดให้ 1.3.2 ใช้เปน็ เครื่องมอื (Implementing) 1.4 วิเคราะห์ (Analyze) หมายถึง ความสามารถในการ 1.4.1 บอกความแตกต่าง แยกส่วนประกอบของส่งิ ต่าง ๆ และค้นหาความสัมพนั ธ์ (Differentiating) ระหว่างสว่ นประกอบ ความสมั พนั ธ์ระหว่างของ 1.4.2 จดั โครงสร้าง (Organizing) ส่วนประกอบกับโครงสรา้ งรวมหรอื ส่วนประกอบเฉพาะ 1.4.3 ระบุคณุ ลกั ษณะ (Attributing) 1.5 ประเมิน (Evaluate) หมายถึง ความสามารถในการ 1.5.1 ตรวจสอบ (Checking) ตดั สินใจโดยอาศยั เกณฑ์หรือมาตรฐาน 1.5.2 วิพากษ์วจิ ารณ์ (Critiquing) 1.6 สร้างสรรค์ (Create) หมายถึง ความสามารถในการ 1.6.1 สร้าง (Generating) รวมส่วนประกอบต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยรูปแบบใหม่ๆ ที่มี 1.6.2 วางแผน (Planning) ความเชือ่ มโยงกันอย่างมีเหตุผล หรอื ทาให้ได้ผลติ ภณั ฑ์ 1.6.3 ผลติ (Producing) ทีเ่ ปน็ ต้นแบบ 2. การปรับเปลี่ยนโครงสรา้ ง พุทธิพิสัยแบบเดิม จะวัดมิติเดียว คือ มิติกระบวนการทางปัญญา (Cognitive process dimension) ซึ่งเป็นการวัดต้ังแต่ความรู้ จนถึง การประเมินค่า แต่ได้ปรับเปลี่ยนเป็น การวัด 2 มิติ ประกอบด้วย มิติที่หนึ่ง คือ มิติกระบวนการทางปัญญา (Cognitive process

- 29 - dimension) ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น และมิติด้านความรู้ (Knowledge dimension) โดยมี รายละเอียดดังนี้ มิติดา้ นความรู้ (Knowledge dimension) ประกอบด้วย 1. ความรู้ด้านข้อเท็จจริง (Factual knowledge) เป็นความรู้พื้นฐานที่ผู้เรียนต้องรู้ เพือ่ นาไปปรับใหเ้ ข้ากบั เนือ้ หาวิชา หรอื การแก้ปัญหา ประกอบด้วย 1.1 ความรเู้ กี่ยวกับคาศัพท์ (Knowledge of terminology) 1.2 ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียด และองค์ประกอบ (Knowledge of specific details and elements) 2. ความรู้ด้านความคิดรวบยอด (Conceptual knowledge) เป็นความรู้เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ภายในระหว่างองค์ประกอบพื้นฐานต่าง ๆ กับโครงสร้างนั้น (โครงสร้างขนาด ใหญ่) ที่ทาให้องค์ประกอบพืน้ ฐานเหลา่ น้ัน สามารถทางานรว่ มกนั ได้ ประกอบด้วย 2.1 ค วามรู้เกี่ ยวกับ การจาแน กป ระเภ ท แล ะจาแน กก ลุ่ ม (Knowledge of classifications and categories) 2.2 ความรู้เกี่ยวกับหลักการ และการขยายหลักการ (Knowledge of principles and generalizations) 2.3 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี รูปแบบ และ โครงสร้าง (Knowledge of theories, models, and structures) 3. ความรดู้ ้านกระบวนการ (Procedural knowledge) เปน็ ความรเู้ กี่ยวกบั วิธีการทีจ่ ะทา สิง่ ใดสิง่ หนึ่ง วธิ ีการแสวงหาความรู้ และเกณฑส์ าหรับการใช้ทักษะ ข้ันตอนวิธีแก้ปญั หา กลวิธี และ วิธีการ ประกอบด้วย 3.1 ความรู้เกี่ยวกับทักษะเฉพาะเร่ืองและขั้นตอนวิธีแก้ปัญหา (Knowledge of subject specific skills and algorithms) 3.2 ความรู้เกี่ยวกบั เทคนิค และ วธิ ีการเฉพาะเร่ือง (Knowledge of subject Specific techniques and methods) 3.3 ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณ าเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม (Knowledge of criteria for determining when to use appropriate procedures) 4. ความรู้ด้านอภิปัญญา (Metacognitive knowledge) เป็นความรู้เกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจโดยทั่วไป หรอื เปน็ การสรา้ งความตระหนกั และความรดู้ ้วยตวั เอง ประกอบด้วย 4.1 ความรเู้ ชงิ กลยทุ ธ์ (Strategic knowledge)

- 30 - 4.2 ความรู้เกี่ยวกับงานที่เป็นองค์ความรู้ รวมทั้งบริบทที่เหมาะสม เง่ือนไขความรู้ (Knowledge about cognitive tasks, including appropriate contextual and conditional knowledge) 4.3 ความรเู้ กี่ยวกับตนเอง (Self-knowledge) จากความรู้ด้านอภิปัญญาน้ัน แครทโวทล์ (Krathwohl, 2002) ได้เปลี่ยน โครงสร้างของจุดมุ่งหมายทางการศึกษาจากมิติเดียวเป็นสองมิติ แสดงดังตารางที่ 2.2 และ อธิบายความหมายของมิติด้านความรู้ที่เพิ่มเติมเข้ามา โดยมีแนวทางการนามิติของ กระบวนการทางปัญญาและมิติดา้ นความรู้ไปใช้ ดงั ตวั อย่างตอ่ ไปนี้ (อนุวัติ คูณแก้ว, 2558) ตารางที่ 2.3 แสดงการอธิบายความหมายของมิติความรู้ มิติดา้ นความรู้ มิติของกระบวนการทางปัญญา (Knowledge dimension) (Cognitive process dimension) จา เข้าใจ ประยุกต์ใช้ วิเคราะห์ ประเมนิ สร้างสรรค์ ความรดู้ ้านขอเท็จจริง ตวั ช้วี ดั (Factual knowledge) ที่ 1 ความรดู้ ้านความคิดรวบยอด (Conceptual knowledge) ความรดู้ ้านกระบวนการ ตวั ช้วี ัด ตวั ช้วี ดั (Procedural knowledge) ที่ 2 ที่ 3 ความรดู้ ้านอภปิ ญั ญา (Metacognitive knowledge) กลุม่ สาระการเรียนรูส้ งคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 5 สาระที่ 2 หนา้ ที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดาเนนิ ชีวติ ในสังคม มาตรฐาน ส2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหนา้ ทีของการเปน็ พลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธารงรกั ษาประเพณีและวฒั นธรรมไทย ดารงชีวติ อยู่ร่วมกนั ในสังคมไทย และสงั คมโลกอย่างสันติสขุ ตัวชี้วดั ที่ 1 ยกตวั อย่างบทบาท สทิ ธิ เสรีภาพและหนา้ ทีใ่ นฐานะพลเมอื งดี ตัวชีว้ ัดที่ 2 เสนอวิธีการปกป้องคุ้มครองตนเองหรอื ผู้อืน่ จากการละเมิดสทิ ธิเด็ก ตัวชี้วดั ที่ 3 เหน็ คุณค่าวัฒนธรรมไทยที่มผี ลตอ่ การดาเนินชีวติ ในสงั คมไทย

- 31 - 1.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ดา้ นจติ พิสยั (Affective Domain) พฤติกรรมด้านจิตพิสัยเป็นการแสดงออกที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ อารมณ์และคุณธรรมของบุคคล ซึ่งต้องอาศัยการสร้างหรือปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นโดยเริ่มจากพฤติกรรมขั้นแรกที่ง่ายไปหาขั้นสุดท้ายที่ยาก มี 5 ระดับ ประกอบด้วย การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างค่านิยม การจัดระบบค่านิยม และการสร้างลักษณะนิสัย (สมนึก ภทั ทิยธนี, 2558 ; พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2553) ดงั น้ี 1.2.1 การรับรู้ (Receiving) เป็นข้ันที่บุคคลรู้สึกว่ามีสิ่งเร้ามากระตุ้นให้แสดง พฤติกรรม และจะเริ่มทาความรู้จักในสิ่งนั้น นั่นคือเริ่มสนใจและเต็มใจในสิ่งนั้น พฤติกรรม ขั้นน้มี พี ฤติกรรมย่อย 3 ขั้น คือ 1) การทาความรู้จัก (Awareness) เป็นข้ันที่บุคคลเริ่มมีความรู้สึกว่ามีสิ่งเร้า เข้ามาหรือมีความรู้สึกต่อสิ่งที่พบเห็น และยอมให้สิ่งเร้าน้ันเข้ามาอยู่ในความในใจของตน เชน่ ผเู้ รียนกาลงั คุยกับเพื่อนเหน็ ครูผสู้ อนมองมาก็หยุดคยุ เป็นต้น 2) การเต็มใจที่จะรับรู้ (Willing to Receive) เป็นข้ันที่บุคคลเริ่มแยกแยะ ความแตกต่างระหว่างสิ่งเร้าที่มากระตุ้นกับสิ่งเร้าอื่น ๆ และเกิดความพอใจในสิ่งเร้า ที่มากระตนุ้ เชน่ ผเู้ รียนหยิบสมดุ -หนงั สือ ขนึ้ มาวางบนโต๊ะ เมื่อถึงเวลาเรียน เป็นต้น 3) การควบคุมหรือคัดเลือกรับสิ่งเร้าที่ต้องการ (Controlled of Selected Attention) เป็นการเลือกสรรที่จะสนใจหรือเอาใจใส่ต่อสิ่งเร้าที่ตนเองพอใจ หรือค้นหา ด้วยตนเอง เชน่ เลือกฟงั เพียงหน่งึ เสียง จากเสียงที่สามารถรับรู้ได้อย่างมากหมาย เป็นต้น 1.2.2 การตอบสนอง (Responding) เป็นขั้นทีบ่ ุคคลแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบสิ่งน้ัน ด้วยความยินยอม เต็มใจ พฤติกรรมในขั้นน้ปี ระกอบด้วยพฤติกรรมย่อย 3 ขั้น คือ 1) การยินยอมที่จะตอบสนอง (Acquiescence in Responding) เป็นการแสดง ออกมาในลักษณะยินยอมหรือคล้อยตาม เช่น ครูผู้สอนให้ไปอบรมปฏิบัติธรรม ก็ไปท้ัง ๆ ที่ไม่ค่อยสนใจเท่าไร หรือ ครูผู้สอนถามว่า “เข้าใจหรือไม่” ผู้เรียนตอบว่า “เข้าใจ” เป็นการ ตอบสนองดว้ ยวาจา เปน็ ต้น 2) ความเต็มใจตอบสนอง (Willingness to Response) เป็นการตอบสนอง ด้วยความเต็มใจ หรือเพิ่มความสนใจในสิ่งเร้านั้นมากขึ้น เช่น ไปปฏิบัติธรรมด้วยความเต็มใจ เมือ่ ครผู สู้ อนชวน เป็นต้น 3) ความพึงพอใจในการตอบสนอง (Satisfaction in Response) เป็นการ แสดงให้เหน็ ลักษณะทางอารมณใ์ นทางที่ชืน่ ชอบในสิ่งนน้ั และพึงพอใจที่จะตอบสนอง เช่น การ ตอบว่า “เข้าใจ” ด้วยใบหนา้ ทีย่ ิม้ แย้มและสขุ ใจ เปน็ ต้น

- 32 - 1.2.3 ก ารเกิ ด ค่ านิ ย ม (Valuing) เป็ น ขั้น ที่ บุ ค ค ล ม อ งเห็ น คุ ณ ค่ าขอ ง การตอบสนองสิ่งเร้าหรือประสบการณ์แล้วกลายมาเป็นสิ่งที่ยึดถือของบุคคลในโอกาสต่อไป ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อย 3 ขั้น คือ 1) ก ารยอ ม รับ ใน คุ ณ ค่ าห รือ ค่านิยม (Acceptance of value) เป็ น ข้ัน การมองเห็นความสาคัญและยอมรับว่าพฤติกรรมที่แสดงออกไปน้ันเป็นสิ่งที่ดีมีคุณค่า เช่น การไม่ทิ้งเศษกระดาษบนถนนเพราะเหน็ ว่าควรทิง้ ในถงั ขยะ เป็นต้น 2) การชื่นชอบในคุณค่า (Preference for value) เป็นข้ันการนิยมชมชอบ ในคุณค่าของการยอมรบั ด้วยความพึงพอใจ เชน่ มีความพึงพอใจทีจ่ ะทงิ้ ขยะในถังขยะ เปน็ ต้น 3) การสร้างคุณค่า (Commitment of conviction) เป็นข้ันที่บุคคลนาสิ่งน้ัน มาปฏิบัติอยู่เสมออย่างคงเส้นคงวาจนเกิดการยอมรับเป็นค่านิยมของตนเองและแสดงออก อย่างชัดเจนว่ายึดถือคุณค่าของสิ่งใด สนับสนุน ปกป้องคุณค่า ปฏิเสธคุณค่าที่ขัดแย้งและ พยายามชักชวนผอู้ ื่นให้ปฏิบตั ิตามค่านิยมของตนด้วย เชน่ ชกั ชวนให้ผู้อน่ื ทิ้งขยะในถงั เปน็ ต้น 1.2.4 การจัดระบบคุณค่าหรอื การจัดการ (Organization) เป็นข้ันตอนที่บุคคล นาค่านิยมที่ตนเองสร้างไว้แล้วมาจัดหมวดหมู่ โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมเหล่าน้ัน และปรับสิ่งที่ขัดแย้งกัน เพื่อนามาสร้างเป็นค่านิยมสาหรับยึดถือปฏิบัติต่อไป ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย 2 ข้ัน คือ 1) การสร้างความคิดรวบยอดของคุณค่า (Conceptualization of a Value) เป็นความสามารถของบุคคลที่จะสร้างแก่นสารสาคัญของคุณค่าของสิ่งน้ัน ๆ จากการ จัดหมวดหมู่คุณค่าย่อย ๆ เช่น การเรียนวิชาวัดผล จะได้รับการปลูกฝังให้เป็นคนซื่อสัตย์ เกีย่ วกบั การสอบ ผเู้ รียนกส็ ามารถปฏิบัติตามหลักวิชาได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น 2) การจัดค่านิยมให้เป็นระบบ (Organization of a value system) เป็นการ นาเอาคุณค่าหลาย ๆ คุณค่ามาจัดระบบให้อยู่ในสภาพที่สอดคล้องกลมกลืนกันเพื่อสร้างเป็น ลักษณะภายในตนที่คงที่แน่นอน ซึ่งจะแสดงออกมาในลักษณะของปรัชญาแห่งชีวิตหรือ อุดมการณ์แห่งความคิด เช่น ชีวิตนี้อยู่ได้ด้วยการแบ่งปัน ชีวิตสร้างงานแล้วงานจะสร้างชีวิต เป็นต้น 1.2.5 การสร้างลัก ษ ณ ะนิ สัย (Characterization by value set) เป็นขั้น การนาค่านิยมที่จัดระบบคุณค่าที่มีในตัวเข้าเป็นระบบที่ถาวรและทาหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม ของบุคคลไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ๆ ก็จะแสดงพฤติกรรมตามค่านิยมที่ยึดถือตลอดไป สม่าเสมอจนเกิดเป็นลักษณะนิสยั ประจาตัวของแต่ละบุคคล แบ่งออกเปน็ 2 ลกั ษณะ คอื

- 33 - 1) การสร้างลักษณะนิสัยท่ัวไป (Generalized set) เป็นการแสดงพฤติกรรม ที่สอดคล้องกับค่านิยมบางตัวอย่างของบุคคล โดยคานึงถึงผลที่จะเกิดตามมาในสถานการณ์ น้ัน ๆ ด้วย เชน่ รู้วา่ การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิง่ ที่ดี แตเ่ นือ่ งจากไม่ตรงกบั ลักษณะนิสัย จึงกระทา เพียงบางครงั้ เป็นต้น 2) การสร้างลักษณะนิสัยถาวร (Characterization) เป็นขั้นที่บุคคลแสดง ลักษณะนิสัยที่แท้จริงออกมาอย่างสมบูรณ์ตามความเชื่อหรือเจตคติที่ได้มาเป็นปรัชญาชีวิต ของตน เป็นสุดยอดของการพัฒนาคน เช่น นิสัยเร่ืองความมีวินัยของตนเองเกิดจากการ เหน็ คุณค่าของความมีวินัยแล้วพยายามจัดระเบียบความเป็นอยู่ให้มีวินยั จนเป็นนิสยั หรอื ยินดี และเต็มใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อน่ื จนเปน็ นิสยั ประจาตวั เปน็ ต้น ทั้งนีพ้ ฤติกรรมดา้ นจติ พิสัยแสดงลาดบั ขั้นได้ดงั ภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 2.3 แสดงลาดบั ขั้นพฤติกรรมดา้ นจติ พิสัย ทีม่ า: Krathwohl, D.R.,Bloom,B.s., and Masia, B.B. 1964 http://www.edu.gov.mb.ca/k12/tech/lict/teachers/index.html

- 34 - ตารางท่ี 2.4 แสดงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั่วไปเปน็ พฤติกรรมที่สังเกตได้ด้านจติ พิสยั (ชยั ฤทธิ์ ศิลาเดช, 2544) พฤตกิ รรมดา้ นจติ พสิ ยั พฤตกิ รรมทสี่ ังเกตได้ 1. การรบั รู้ 1.1 การทาความรจู้ กั - จาแนก แยก ถาม (เสียง ภาพ เหตกุ ารณ์ เรือ่ งราว) 1.2 การเตม็ ใจท่จี ะรับรู้ - เลอื ก สะสม ยอมรับ เชื่อมตอ่ (ตัวอยา่ ง ตัวแบบ รปู ร่าง 1.3 การควบคุมหรือคดั เลอื กรับสิง่ เร้าที่ ขนาด จังหวะ) ตอ้ งการ - เลอื ก ติดตาม ตอบ ยึดถอื ฟงั ควบคุม (ทางเลือก คาตอบ) 2. การตอบสนอง 2.1 การยินยอมที่จะตอบสนอง - ยอมตาม ชมเชย ทาตาม ยอมรบั (คาแนะนา วธิ ีการ กฎ ข้อบังคบั คาช้ีแจง) 2.2 ความเตม็ ใจตอบสนอง - อาสา อภปิ ราย ปฏิบัติ แสดง อ่าน รายงาน (เรื่องราว สิ่งที่กาหนดให้ การค้นคว้า ทดลอง ความเหน็ ) 2.3 ความพงึ พอใจในการตอบสนอง - แสดงอาการยนิ ดี ใชเ้ วลาอา่ นในเรื่อง... ขยาย เพิ่มเตมิ ชว่ ย (งาน สนุ ทรพจน์ บทความ การแสดง) 3. การเกิดคา่ นิยม 3.1 การยอมรับในคุณค่าหรอื คา่ นิยม - ทาให้สมบรู ณ์ เข้าร่วมดว้ ย นาเสนอ ทาซ้า รายงาน เริม่ ต้น ระบุ ให้ขอ้ มูล (คาตอบ ข้อเขียน หลักการ ความเชอ่ื เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ กิจกรรม) 3.2 การชื่นชอบในคุณค่า - ชว่ ยเหลอื สนับสนุน อธิบาย สรรเสริญ (บุคคล สิง่ ของ เหตกุ ารณ์) 3.3 การสร้างคณุ ค่า - โตแ้ ยง้ ปฏเิ สธ ต่อตา้ น สนบั สนนุ แนะนา (ความเหน็ ความเชอ่ื แนวคิด เหตุผล เหตกุ ารณ์ ผลงาน) 4. การจัดระบบคุณค่าหรอื การจัดการ 4.1 การสร้างความคิดรวบยอดของ - เปรียบเทียบ สรุป ขยาย อภปิ ราย ปรบั ปรุงทาให้สมบูรณ์ คุณค่า (เป้าหมาย หลกั การว่ ม กฎเกณฑ์ แนวคิด) 4.2 การจัดคา่ นิยมให้เปน็ ระบบ - จดั เรียบเรียง สลับ ประสาน จดั กลุ่ม บง่ ความ สังเคราะห์ สร้างขนึ้ (เป้าหมาย หลกั การ แนวคิด ระบบ วิธีการ ข้อจากดั ) 5. การสร้างลกั ษณะนิสัย 5.1 การสร้างลักษณะนิสัยทวั่ ไป - ปรบั ปรุง เปลี่ยนแปลง ทาให้เสร็จ แสดงตรวจสขุ ภาพ (พฤตกิ รรม แผนงาน วิธีการ) 5.2 การสร้างลกั ษณะนิสัยถาวร - ประพฤติปฏบิ ตั ิ แสดงออก ปรบั ตน เสนอ (มนษุ ยธรรม จรยิ ธรรม วุฒภิ าวะ ข้อขัดแยง้ )

- 35 - 1.3 พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านทกั ษะพิสยั (Psychomotor Domain) พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย เป็นการแสดงออกที่เกี่ยวกับความสามารถ เชิงปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการใช้งานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายที่ต้องอาศัย การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อกบั การทางานของระบบประสาทต่าง ๆ ซึง่ เป็นหน่วยสั่งการ เช่น การเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ในการทากิจวัตรประจาวัน เล่นกีฬา เล่นดนตรีหรือกิจกรรม อื่น ๆ หากผู้เรียนได้ฝึกฝน การทางานของกล้ามเน้ือและระบบประสาทให้มีการประสาน สัมพันธ์กัน ย่อมก่อให้เกิดความชานาญหรือทักษะในการปฏิบัติงาน โดยแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง (พิชิต ฤทธิจ์ รูญ, 2553) ดงั น้ี 1.3.1 พฤติกรรมตามพฒั นาการด้านทกั ษะพิสัย แบ่งเปน็ 5 ระดบั ประกอบด้วย 1) การเลียนแบบ (Imitating) เป็นข้ันเริ่มต้นการเรียนรู้ด้านทักษะของมนุษย์ โดยมีผู้ทาให้ดูและทาตามทีละขั้น และอาจมีการช่วยเหลือขณะปฏิบัติ เช่น การฝึกจับดินสอ เริม่ หดั เขียนตวั อักษร หรอื เลียนเสียงคาต่าง ๆ เปน็ ต้น 2) การทาโดยยึดแบบ (Patterning) เป็นความสามารถในการปฏิบัติ ด้วยตัวเองตามแบบที่กาหนด อาจทาด้วยการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง อาจทาช้าและ ไม่ถูกต้องทีเดียวในตอนแรก เชน่ การผูกเชือกรองเท้า การหดั เต้นรา เปน็ ต้น 3) การทาด้วยความชานาญ (Mastering) เป็นความสามารถในการปฏิบัติ ได้ด้วยความถูกต้องแม่นยา เหมาะสมกับเวลาโดยไม่มีการช่วยเหลือ ไม่มีการชี้แจง ไม่มี การแนะนาหรือมีแบบหรือทาให้ดู เพียงแต่กาหนดหัวเร่ืองแหรือวิ ธีการว่าให้ทาอะไร เน้น ความถูกต้อง รวดเร็ว อดทน แน่นอน เชน่ การเล่นดนตรี การพิมพด์ ีด เปน็ ต้น 4) การทาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ (Applying) เป็นความสามารถในการ ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม กับเวลาในสถานการณ์ ใหม่หรือสถานการณ์ อื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากที่เคยทามาแล้ว โดยไม่มีการช่วยเหลือ ไม่มีการแนะนาขั้นตอน หรือ การปฏิบัติใด จากผู้อื่น เน้นการกาหนดทักษะที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหา เลือกทักษะที่ต้องใช้ อย่างมั่นใจเมอ่ื ยามจาเป็น และกาหนดข้ันตอนในการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้นได้ด้วยตนเอง เช่น การถีบจกั รเย็บผา้ ขณะเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น 5) การแก้ปัญหาได้โดยฉับพลัน (Improvising) เป็นความสามารถในการ ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยฉับพลันซึ่งอาจเป็นการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เสนอ สอดแทรกสิ่งใหม่เข้าไปกับทักษะเดิมที่มีมาก่อน โดยเน้นการหาวิธีการปฏิบัติใหม่ เพื่อให้ เหมาะสมกับสถานการณน์ ั้น เชน่ การแก้ไขตะเข็บเสื้อผ้าให้เข้ากบั หนุ่ ของผู้สวมใส่ เปน็ ต้น

- 36 - 1.3.2 พฤติกรรมในเรือ่ งทักษะการเคลือ่ นไหว แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1) ทั ก ษ ะ ก า ร เค ลื่ อ น ไห ว ร่ า ง ก า ย ( Gross bodily movement) เป็ น ความสามารถที่จะใช้อวัยวะบางส่วนที่ไม่ซับซ้อนในการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ ว ประกอบด้วย การเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนบน ส่วนล่าง และทั้งสองส่วน 2) ทักษะการเคลื่อนไหวที่ต้องใช้ประสาทรวม ๆ กัน เป็นความสามารถที่จะ ใช้การประสานสัมพันธ์กันของระบบประสาทต่าง ๆ ประกอบด้วย การเคลื่อนไหวของมือและ นวิ้ การประสานระหว่างมอื และตา ระหว่างมอื ตา และเท้า และการเคลื่อนไหวอื่น ๆ 3) ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง (Non-verbal communication behavior) เป็นการแสดงออกเพื่อสื่อความหมายกับคนอื่น ด้วยการแสดงสีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหว ทั้งร่างกาย 4) ทักษะพฤติกรรมทางด้านภาษา (Speech behaviors) เป็นความสามารถ แสดงออกทางด้านภาษา ด้วยการออกเสียง การสร้างเสียงและคา การเปล่งเสียง และ การประสานระหว่างเสียงและท่าทาง ตารางท่ี 2.5 การเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมทั่วไปเป็นพฤติกรรมทีส่ งั เกตได้ด้านทักษะพิสยั (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2553; สมนึก ภัททิยธนี, 2558) พฤติกรรมด้านทกั ษะพิสยั พฤติกรรมที่แสดงออก 1. ขนั้ เลียนแบบ - แสดงอาการรบั รู้ทางตา หู สมั ผัส ลิน้ จมูก ความรสู้ ึกเคลื่อนไหว - เลียนแบบ ปฏิบัติตามข้ันตอน ปฏิบัติตามคาแนะนา 2. การทาโดยยึดแบบ - บอกข้ันตอนการปฏิบตั ิ/วิธีใช้เคร่อื งมอื - ปฏิบตั ิตามแบบทีก่ าหนด 3. การทาด้วยความชานาญ - วางท่าพร้อมที่จะปฏิบัติด้วยความต้ังใจ 4. การทาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ - ปฏิบัติโดยไม่มแี ผน ปฏิบัติดว้ ยความคล่องแคล่ว 5. การแก้ปญั หาได้โดยฉบั พลนั - ปฏิบัติงานที่ซบั ซ้อนดว้ ยความมั่นใจ ปฏิบัติด้วย ท่าทางทีส่ ง่างาม - ดัดแปลงการปฏิบตั ิงาน ปฏิบตั ิดว้ ยวิธีใหม่ ๆ

- 37 - 2. จุดมุง่ หมายทางการศึกษา จุ ด มุ่ งห ม า ย ท า งก าร ศึ ก ษ า เป็ น สิ่ ง ที่ เป รีย บ เส มื อ น ทิ ศ ท า งที่ จ ะพั ฒ น า ผู้ เรี ย น ไป สู่ เป้าหมายที่ต้องการ ตามหลักสูตรการศึกษา ดังนั้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ จะต้อง ดาเนินการให้ครอบคลุมจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัดด้วย เช่นเดียวกันจุดมุ่งหมายทางการศึกษา โดยทั่วไปนั้นจะมีการกาหนดแบบกว้างไปสู่จุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ (อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกลู , 2557) ดังน้ี 2.1 จุดมุ่งหมายท่ัวไป (General Objectives) เป็นจุดมุ่งหมายที่แสดงทิศทางของ การศึกษาอย่างกว้าง ๆ ดังเช่น จุดมุ่งหมายของนโยบายการปฏิรูปการศึกษา จุดมุ่งหมายของ หลักสูตร ซึ่งจุดมุ่งหมายประเภทนี้ไม่สามารถทาให้บรรลุผลได้ในระยะเวลาส้ัน ๆ ต้องอาศัย เทคนิควิธีและกระบวนการต่าง ๆ เข้าร่วมด้วยกัน จึงจะทาให้เกิดผลสาเร็จได้ เช่น การบรรลุ จุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้นั้น ผู้สอนต้องมีการออกแบบ การจั ดการเรียนรู้และ ใช้สอ่ื การเรียนรทู้ ี่เหมาะสม การวดั และประเมินผลที่ามนา่ เช่อื ถือ และถูกต้องชัดเจน เป็นต้น 2.2 จุดมุ่งหมายเฉพาะ (Specific Objectives) เป็นจุดมุ่งหมายที่แยกออกมาจาก จุดมุ่งหมายทั่วไป และสามารถทาให้บรรลุผลได้ แต่ก็ยังคงต้องใช้ระยะเวลา เช่น เม่ื อ จุดมุ่งหมายทั่วไปของหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนสอบผ่านทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายเฉพาะจึงเป็นการกาหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่งที่กาหนดให้ผู้เรียน ผา่ นมาตรฐานและสาระการเรียนรู้น้ัน ๆ เช่น จุดมงุ่ หมายเฉพาะวิชาภาษาไทย เปน็ ต้น 2.3 จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives) เป็นจุดมุ่งหมายที่เน้น การแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดขึ้น หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยพฤติกรรม ดังกล่าวน้ันต้องสังเกตได้อย่างชัดเจน และสามารถวัดได้ ทาให้เกิดขึ้นได้ ภายในระยะเวลา อนั ส้ันหรอื ในคาบเรียน การกาหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน ประกอบด้วย พฤติกรรมที่คาดหวัง สถานการณ์ และเกณฑ์ องคป์ ระกอบของจดุ ประสงค์เชิงพฤติกรรม พฤติกรรมท่ีคาดหวงั สถานการณ์ เกณฑ์ (Expected Behavioral) (Condition) (Criteria) ภาพที่ 2.4 แสดงองค์ประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

- 38 - องค์ประกอบของจดุ ประสงค์เชงิ พฤติกรรม ประกอบด้วย 1. พฤติกรรมที่คาดหวัง (Expected Behavior) คือ การใช้คาที่แสดงถึงการกระทา (Action Words) ไว้อย่างชัดเจนว่าเม่ือผู้เรียนผ่านการเรียนรู้บทเรียนน้ันไปแล้ว ผู้เรียนสามารถ จะกระทาอะไรบ้าง ซึ่งคาที่ใช้แสดงพฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นคากริยา (Verb) เช่น บอก จาแนก อธิบาย ทดลอง แตง่ เขียน เป็นต้น 2. สถานการณ์ (Condition) คือ การกาหนดเง่ือนไขหรือเหตุการณ์ เพื่อช่วยขยาย พฤติกรรมให้เด่นชดั มากยิ่งขึน้ ว่า เหตกุ ารณน์ ้ันจะเกิดข้ึนเม่อื ใด ที่ไหน และอย่างไร 3. เกณฑ์ (Criterion) คือ การกาหนดมาตรฐานขั้นต่า เพื่อเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่า ผู้เรียนจะต้องเกิดพฤติกรรมอย่างน้อยที่สุดเท่าใด ครูผู้สอนจึงจะพึงพอใจต่อผู้เรียนว่า เกิด การเรียนรใู้ นบทเรียนนั้น ๆ แล้ว ตวั อยา่ งจุดประสงคเ์ ชิงพฤติกรรม 1) เม่ือกาหนดชื่อสัตว์ต่างๆ ให้ 10 ชื่อ ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่า สัตว์ชนิดใด เปน็ สัตว์ทีเ่ ลี้ยงลกู ด้วยนม ได้ถูกต้องอย่างนอ้ ย 7 ชือ่ พฤติกรรมทีค่ าดหวงั จะเป็นคากริยา คือ “บอก” สถานการณ์ คือ “กาหนดชื่อสตั วต์ ่าง ๆ ให้ 10 ชือ่ ” เกณฑ์ คือ ผเู้ รียนบอกได้ถูกต้องอย่างนอ้ ย 7 ชื่อ” 2) ผเู้ รียนจาแนกประเภทเครื่องดนตรีจากการฟงั เพลงได้ถกู ต้องอย่างนอ้ ย 2 ประเภท พฤติกรรมที่คาดหวงั คือ “จาแนก” สถานการณ์ คือ “จากการฟังเพลง” เกณฑ์ คือ “ได้ถกู ต้องอย่างนอ้ ย 2 ประเภท” 3) เม่ือกาหนดอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ให้ ผู้เรียนสามารถแสดงวิธีการใช้และ การเกบ็ รักษาอุปกรณ์เหล่านั้นได้ถูกต้อง พฤติกรรมทีค่ าดหวงั คือ “แสดงวธิ ีการใชแ้ ละการเกบ็ รกั ษาอปุ กรณ์” สถานการณ์ คือ “กาหนดอุปกรณ์คอมพวิ เตอร์ให้” เกณฑ์ คือ “ได้ถกู ต้อง” 4) ผเู้ รียนสืบค้นข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์ได้อย่างถกู ต้องอย่างนอ้ ย 5 แหลง่ ขอ้ มลู พฤติกรรมที่คาดหวัง คือ “สืบค้น” สถานการณ์ คือ “ข้อมูลทางประวตั ิศษสตร์” เกณฑ์ คือ “ได้อย่างถูกต้องอย่างนอ้ ย 5 แหลง่ ขอ้ มลู ”

- 39 - 3. การจาแนกพฤตกิ รรมจากตวั ชี้วดั ท่กี าหนดในหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กาหนดตัวชี้วัดและ สาระการเรียนรู้แกนกลางทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและ พลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ เพื่อนาไปใช้เป็นกรอบ และทิศทางในกาหนดจุดประสงค์และการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กาหนดไว้ ซึ่งการวิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ นั้น ครูผู้สอนจะต้องพิจารณาว่าตัวชี้วัดมุ่งหวังให้ผู้เรียนแสดง พฤติกรรมอย่างไร ตามเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในรายวิชา ดังน้ันครูผู้สอนควรจะทราบและสามารถ จาแนกพฤติกรรมจากตัวชีว้ ัดที่กาหนดในหลักสตู รแกนกลาง ฯ ได้ ดังตัวอย่างในตารางตอ่ ไปนี้ ตารางที่ 2.6 แสดงตัวอย่างการจาแนกพฤติกรรมจากตัวชวี้ ัดทีก่ าหนดในหลกั สูตร ตัวชีว้ ดั / พุทธพิ สิ ัย จดุ ประสงคเ์ ชิง ตัวชีว้ ดั สร้างสรรค์ จิต ทักษะ พฤตกิ รรม ประเมนิ ค่า พิสัย พิสยั วิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ เข้าใจ จา ท.4.1 ระบุชนดิ และหนา้ ทข่ี อง  ป.4/2 คานามในประโยคได้   ถูกต้อง  ท.5.1 สรปุ ความรู้และข้อคดิ ม.2/4 จากการอา่ นไป   ประยกุ ตใ์ ชใ้ นชีวิตจรงิ ได้ ค.2.1 หาปริมาตรของปริซึม ม3/2 ทรงกระบอก พีระมิด กรวย และทรงกลมได้ ค.6.1 ให้เหตุผลประกอบการ ป.4-6/3 ตดั สนิ ใจและสรุปผลได้ อย่างเหมาะสม ส.4.1 เทียบศกั ราชตามระบบ ม.1/2 ตา่ ง ๆ ที่ใชศ้ กึ ษา ประวตั ศิ าสตร์ได้

- 40 - ตัวชี้วดั / พทุ ธพิ สิ ัย จดุ ประสงคเ์ ชิง ตัวชี้วัด สร้างสรรค์ จิต ทกั ษะ พฤตกิ รรม ประเมนิ ค่า พิสยั พิสยั วิเคราะห์ ประยุกต์ใช้  เข้าใจ จา ว.5.1 บอกแหลง่ พลงั งาน  ป.3/1 ธรรมชาติทีใ่ ชผ้ ลิตไฟฟา้ ได้อยา่ งน้อย 3 แหลง่ พ.3.1 ควบคุมการเคลือ่ นไหว  ป.2/1 ร่างกาย ขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใชอ้ ุปกรณ์ ประกอบ ได้อย่างถูกต้อง พ.1.1 อธิบายความสาคัญของ  ม.1/1 ระบบประสาท และตอ่ ม ไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจรญิ เตบิ โต และ พฒั นาการของวยั รุ่นได้ อย่างถูกต้อง ศ.2/1 มสี ่วนร่วมในกิจกรรม     ป.1/4 ดนตรีอยา่ งสนุกสนาน ง.3.1 สร้างงานเอกสาร (บัตร  ป.5/2 อวยพร ใบประกาศ รายงาน) เพื่อใชป้ ระโยชน์ ในชีวิตประจาวนั ดว้ ย ความรับผิดชอบ โดยมี การอา้ งอิงแหลง่ ข้อมูล และใชค้ าสภุ าพ ต.2.2 เปรียบเทียบความ  ป.6/2 เหมอื น/ความแตกตา่ ง ระหว่างเทศกาลงาน ฉลองและประเพณีของ เจ้าของภาษากับของไทย ได้

- 41 - การจาแนกพฤติกรรมจากตัวชี้วัดที่กาหนดในหลักสูตรแกนลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 น้ัน ครูผู้สอนต้องพิจารณามาตรฐาน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง เพื่อนามากาหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่สามารถวัดได้ สังเกตได้ หรือที่เรียกว่า จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรม และพิจารณาว่าจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กาหนดขึ้นน้ัน ตรงกับพฤติกรรม ของผู้เรียนในด้านใด เพื่อจะได้ทราบพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดขึ้นหลังจากเรียนจบในแต่ละ หนว่ ย สรปุ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ต้องดาเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และเป็นไป ตามจุดมุ่งหมายของเนื้อหาที่กาหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาตลอดทั้งหลักสูตร ซึ่งจะครอบคลุ มพฤติกรรมปลายทางของผู้เรยี นทั้ง 3 ด้าน คอื ดา้ นพุทธิพิสัย ด้านจติ พิสยั และ ด้านทักษะพิสัย เพื่อให้ผลการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีความตรงตามสภาพ ตามพฤติกรรมของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ดังน้ันครูผู้สอนจึงต้องให้ความสาคัญกับ การวางแผนการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลของแต่ละรายวิชาให้ครบทุกด้าน จะทาให้ครูผู้สอนสามารถกาหนดวิธีการและสร้างเคร่ืองมือการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสม แบบฝึกหดั 1. จงอธิบายความหมายของคาศัพท์ตอ่ ไปนี้ 1.1 ความร-ู้ ความจา 1.2 การวิเคราะหค์ วามสัมพันธ์ 1.3 การสังเคราะหค์ วามสัมพันธ์ 2. ให้พิจารณาพฤติกรรมต่อไปนี้ และระบุจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทกั ษะพิสัย) และระบุว่าอยู่ในลาดับขั้นใด พร้อมท้ังแสดงเหตผุ ลประกอบ 2.1 อภญิ ญาอธิบายลกั ษณะของพชื เซลล์เดียวและหลายเซลล์ได้ 2.2 อนุรกั ษณ์เหน็ ไฟในหอ้ งเรียนเปิดอยู่เลยเดินไปปิดไฟโดยทีไ่ ม่มีใครเห็น 2.3 อภศิ ดาวิเคราะหส์ าเหตุของการเสียกรุงศรีอยธุ ยาครั้งที่ 2 ได้อย่างถูกต้อง 2.4 อรสาเลือกใช้เคร่ืองมอื ในการตอนกิ่งต้นไมไ้ ด้อย่างเหมาะสม 2.5 อภชิ าติชอบชวนเพื่อไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์เสมอ

- 42 - 3. จงพิจารณาตวั ชีก้ ลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาข้ันพืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 แล้วกาหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม พร้อมท้ังจาแนกพฤติกรรมจาก ตวั ชีว้ ัดที่กาหนดในหลกั สูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่าน สร้างความรู้และความคิด เพื่อนาไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดาเนินชีวิตและมีนิสัย รักการอ่าน ตวั ช้วี ัดป. 5 1. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถกู ต้อง 2. อธิบายความหมายของคา ประโยคและข้อความที่เป็นการบรรยายและการ พรรณนา 3. อธิบายความหมายโดยนยั จากเรอ่ื งทีอ่ ่านอย่างหลากหลาย 4. แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเหน็ จากเรอ่ื งทีอ่ ่าน 5. วิเคราะหแ์ ละแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรือ่ งที่อา่ นเพื่อนาไปใช้ในการดาเนินชีวิต 6. อ่านงานเขียนเชิงอธิบายคาสั่ง ข้อแนะนา และปฏิบัติตาม 7. อ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจอย่างสม่าเสมอและแสดงความคิดเห็น เกีย่ วกับเรื่องทีอ่ า่ น 8. มีมารยาทในการอา่ น


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook