Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 2

บทที่ 2

Published by pongyat1987, 2020-05-22 03:36:26

Description: บทที่ 2

Search

Read the Text Version

18 หนวยการเรยี นรูที่ 2 การลูกเสอื ไทย สาระสาํ คญั พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจา อยูห วั ทรงเล็งเหน็ ความสําคัญของกจิ การลกู เสอื จึงไดทรงพระราชทานกําเนิดลูกเสือไทยขึ้นเม่ือวันท่ี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ในการตั้งลูกเสือ กเ็ พอ่ื ใหค นไทยรกั ชาติบานเมือง เปนผูนับถือศาสนาและมีความสามัคคี ไมทําลายซ่ึงกันและกัน เปน รากฐานแหง ความม่ันคงของประเทศชาติ โดยกิจการลูกเสือไทย เร่ิมขึ้นครั้งแรกที่โรงเรียน มหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในปจจุบัน) เมื่อวันท่ี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 มคี วามเจริญกาวหนามาถงึ ปจจุบัน (พ.ศ. 2561) นับเนอ่ื งเปนเวลา 107 ป โดยจําแนกตามรัชสมัย ดังน้ี 1) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวรัชกาลท่ี 6 (พ.ศ. 2454 –2468) 2) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว รัชกาลท่ี 7 (พ.ศ. 2468 –2477) 3) รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลท่ี 8 (พ.ศ. 2477 – 2489) 4) รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู ิพลอลุยเดช รัชกาลท่ี 9 (พ.ศ. 2489 – 2559) และ 5) รชั สมยั สมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชริ าลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลท่ี 10 (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2561 ถงึ ปจ จบุ ัน) พระราชบัญญัติลกู เสอื แหงชาติ พ.ศ. 2551 ไดกําหนดไววาคณะลูกเสือแหงชาติ ประกอบดวย บรรดาลูกเสือท้ังปวง และบคุ ลากรทางการลูกเสือ โดยมพี ระมหากษัตริยทรงเปน ประมุขของคณะลูกเสือแหงชาติ การบริหารงานของคณะลูกเสือแหงชาติ ประกอบดวย สภาลูกเสือแหงชาติมีนายกรัฐมนตรีเปนสภานายก มีกรรมการโดยตําแหนง และกรรมการ ผูทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารลูกเสือแหงชาติ มีรัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ เปนประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตําแหนง และกรรมการผูทรงคุณวุฒิ กรรมการลูกเสือ จังหวัด มีผูวาราชการจังหวัด เปนประธานกรรมการมีกรรมการโดยตําแหนง กรรมการ ประเภทผูแ ทน และกรรมการผูทรงคณุ วฒุ ิ กรรมการลกู เสอื เขตพนื้ ท่กี ารศึกษา มผี ูอ าํ นวยการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เปนประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตําแหนง กรรมการ ประเภทผแู ทน และกรรมการผูทรงคุณวฒุ ิ

19 ตัวช้ีวดั 1. อธิบายประวตั ิการลูกเสือไทย 2. อธิบายความรูทว่ั ไปเก่ยี วกบั คณะลกู เสือแหงชาติ ขอบขา ยเน้อื หา เรือ่ งท่ี 1 ประวัติการลูกเสือไทย 1.1 พระราชประวตั ิของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจา อยหู วั 1.2 กาํ เนิดลูกเสือไทย 1.3 กจิ การลูกเสือไทยแตละยคุ เรอ่ื งท่ี 2 ความรูท ัว่ ไปเก่ียวกบั คณะลูกเสือแหง ชาติ 2.1 คณะลูกเสอื แหง ชาติ 2.2 การบริหารงานของคณะลูกเสือแหง ชาติ 2.3 การลูกเสอื ในสถานศกึ ษา เวลาที่ใชใ นการศกึ ษา 3 ชัว่ โมง ส่ือการเรยี นรู 1. ชดุ วิชาลูกเสือ กศน. รหสั รายวชิ า สค32035 2. สมุดบันทกึ กิจกรรมการเรยี นรูประกอบชุดวชิ า 3. ส่อื เสริมการเรียนรูอืน่ ๆ

20 เรื่องท่ี 1 ประวตั กิ ารลูกเสือไทย พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา เจาอยูหัว ทรงเล็งเห็นความสาํ คญั ของกจิ การลกู เสอื จึงไดทรงพระราชทานกําเนิดลูกเสือไทยข้ึนเม่ือวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยมีพระราช ประสงค 3 ประการ ซึ่งเปนรากฐานแหงความม่ันคงที่จะนําใหชาติดํารงอยูเปนไทยไดสมนาม คอื 1) ความจงรักภกั ดตี อผทู รงดาํ รงรัฐสีมาอาณาจักรโดยตองตามนิติธรรมประเพณี 2) ความรัก ชาตบิ านเมืองและนับถอื พระศาสนา และ 3) ความสามัคคีในคณะและไมทําลายซ่ึงกันและกัน ประเทศไทยเปน ประเทศอนั ดับทส่ี ามของโลกทม่ี ีลูกเสอื โดยต้ังกองลกู เสือกองแรกข้นึ ทีโ่ รงเรียน มหาดเล็กหลวงหรือโรงเรียนวชิราวุธวทิ ยาลยั ในปจ จบุ นั เรียกวา กองลูกเสือกรงุ เทพฯ ที่ 1 ลูกเสือ คนแรกของประเทศไทย คือ นายชัพน บุนนาค พระองคไดทรงดําเนินการสอนลูกเสือโดย พระองคเอง วิชาที่ใชในการฝกอบรมเปนวิชาฝกระเบียบแถว ทาอาวุธ การสะกดรอย หนาที่ ของพลเมอื ง ฯลฯ และไดท รงพระกรณุ าโปรดเกลา โปรดกระหมอมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใหจ ดั ตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียนตาง ๆ ทาํ ใหก ิจการลูกเสือไดร ับความนยิ มแพรห ลายและเจริญขึ้น อยางรวดเรว็ และโปรดเกลา โปรดกระหมอ มใหมขี อบังคับลักษณะการปกครองลูกเสือ พระองค ทรงต้ังสภากรรมการลูกเสือแหงชาติและพระองคดํารงตําแหนงสูงสุดของคณะลูกเสือแหงชาติ หลังจากนั้นพระมหากษตั ริยไ ทยทกุ ประองคท รงเปนพระประมุขของคณะลกู เสือแหง ชาติ ประวัตลิ กู เสือไทย แบงออกเปน 5 ยุค ไดแ ก 1) ยุคกอตัง้ (พ.ศ. 2454 - 2468) เปน ยคุ รชั กาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ- เกลาเจาอยูหัว โดยพระองคทรงสถาปนาลูกเสือแหงชาติขึ้น เมื่อวันท่ี 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2454 โปรดใหต้ังกองลกู เสือกองแรกข้ึนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เรียกวากองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1 ซง่ึ ตอมากิจการลกู เสอื ไดขยายตัวไปหลายจังหวดั 2) ยคุ สงเสริม (พ.ศ. 2468 - 2482) เร่มิ ตง้ั แตแผน ดนิ พระบาทสมเด็จพระปกเกลา- เจา อยูห ัว จนถึงตนสงครามโลกครง้ั ที่ 2 ยคุ น้ไี ดมกี ารชุมนุมลูกเสือแหงชาติข้ึนเปนคร้ังแรก เมื่อ พ.ศ. 2470 ณ พระราชวงั อทุ ยานสราญรมย จงั หวดั พระนคร และเม่ือ พ.ศ. 2473 ไดมีการจัดงาน ชุมนมุ ลูกเสอื แหงชาติ คร้งั ท่ี 2 ณ สถานท่เี ดียวกัน ป พ.ศ.2476 ตงั้ กองลกู เสือสังกัดกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ พ.ศ. 2482 ไดมีการตราพระราชบัญญตั ลิ ูกเสือข้ึนเปน ฉบับแรก 3) ยคุ ประคบั ประคอง (พ.ศ. 2482 - 2489) เปนยุคทีอ่ ยูใ นระหวางเกิดสงครามโลก ครง้ั ท่ี 2 ผลของสงครามทาํ ใหก จิ การลกู เสอื ซบเซาลงมาก มกี ารตราพระราชบญั ญตั ิยวุ ชนแหงชาติขึ้น โดยแบงหนวยราชการเปนหนวยลกู เสอื และหนวยยุวชนทหาร 4) ยคุ กา วหนา (พ.ศ. 2489 - 2514) กิจการลูกเสือท่ีสําคัญที่เกิดข้ึนในยุคน้ี คือ การยกเลิกพระราชบัญญัติยุวชนแหงชาติ พ.ศ. 2486 ไดตราพระราชบัญญัติลูกเสือข้ึน พ.ศ. 2490 และไดต้งั คายลูกเสือวชริ าวุธทจี่ ังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2504 มีการฝกอบรมวิชาผูกํากับ ลูกเสอื สามัญ ขนั้ วูดแบดจ ครั้งท่ี 1 และสงเจาหนา ที่ไปรวมกิจกรรมของกิจกรรมลูกเสือนานาชาติ กจิ กรรมของลกู เสอื โลกหลายกจิ กรรม

21 5) ยุคถึงประชาชน (พ.ศ. 2514 - ปจจุบัน) เกิดกิจกรรมลูกเสือชาวบาน โดยสภาลูกเสอื แหงชาติ มีมติรับกิจการลูกเสือชาวบานเปนสวนหน่ึงของคณะลูกเสือแหงชาติ เม่ือ พ.ศ. 2516 และกระทรวงศึกษาธิการไดมีคําสั่งลงวันท่ี 4 เมษายน พ.ศ. 2516 ใหนําวิชา ลกู เสือเขาสูหลกั สูตรของโรงเรียน จะเห็นไดวา กจิ การลูกเสือมีประวัติที่ยาวนาน เปน กระบวนการท่ีทั่วโลกยอมรับวา สามารถพัฒนาเยาวชนใหเปนพลเมืองท่ีดี มีความรับผิดชอบตอตนเอง ตอสวนรวมและชาติ บา นเมืองไดเปนอยางดี รูจักการทํางานเปนระบบหมู รูจักการเปนผูนําและผูตาม รวมทั้งเปน กระบวนการท่ีฝกคนใหรูจักการเปนประชาธิปไตย ฝกผูใหญใหรูจักวิธีการฝกชาวบานใหรูจัก แยกแยะชัว่ ดี 1.1 พระราชประวัตขิ องพระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา เจา อยหู วั พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ทรงเปนพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลาเจาอยูห วั และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (สมเด็จ พระนางเจาเสาวภาผองศรี) ทรงพระราชสมภพ เม่ือวันเสารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ไดรับ พระราชทานพระนามวาสมเด็จเจาฟาวชิราวุธ เมื่อทรงพระเยาวไดศึกษาวิชาหนังสือไทยกับ พระยาศรสี ุนทรโวหาร เพิ่งไดพระชนมายุได 13 พรรษา เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ใน สาขาประวตั ิศาสตร รัฐศาสตร กฎหมาย วรรณคดี ทีม่ หาวทิ ยาลยั ออกฟอรด และวิชาทหารบกที่ โรงเรยี นแฮนดเ ฮสิ ต รวม 9 ป พระองคไดเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติตอจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เม่อื วนั ท่ี 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ขณะน้ันมีพระชนมายุได 31 พรรษา ตลอดรัชสมัยของพระองค ไดทรงประกอบพระราชกรณียกิจทํานุบํารุงประเทศชาติในดานการปกครอง การทหาร การศกึ ษา การสาธารณสุข การคมนาคม การศาสนา โดยเฉพาะทางวรรณคดีทรงพระราชนิพนธ ทัง้ รอ ยแกว รอ ยกรองประมาณ 200 เรื่อง ดว ยพระปรชี าสามารถของพระองค ประชาชนจึงถวาย พระสมญาแดพระองควา “พระมหาธีรราชเจา” ทรงอยูในราชสมบัติเพียง 16 ป เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระชนมายุ 46 พรรษา แตเน่ืองดวยพระราชกรณียกิจ ของพระองค ทําใหเกดิ คุณประโยชนแกบานเมืองอยา งใหญห ลวง รฐั บาลกบั ประชาชนจึงรว มใจกัน สรางพระบรมรูปของพระองคประดิษฐานไวที่สวนลุมพินี และคณะลูกเสือแหงชาติ รวมดวย คณะลูกเสือท่ัวราชอาณาจักร ไดสรางพระบรมรูปของพระองคประดิษฐานไวหนาคายลูกเสือ วชริ าวธุ อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบรุ ี

22 1.2 กําเนิดลกู เสอื ไทย ในการตั้งลูกเสือก็เพ่ือใหคนไทยรักชาติบานเมือง เปนผูนับถือศาสนาและ มีความสามัคคี ไมทําลายซึ่งกันและกัน เปนรากฐานแหงความมั่นคงของประเทศชาติ ทรงให ทม่ี าของช่อื ลกู เสอื ไววา “ลูกเสือบใ ชเสือสัตวไพร เรายืมมาใชดว ยใจกลา หาญปานกนั ใจกลา มใิ ชก ลา อธรรม เชน เสืออรญั สญั ชาติชนคนพาล ใจกลา ตองกลา อยา งทหาร กลา กอปรกิจการแกชาติประเทศเขตคน” พทุ ธศักราช 2454 (ค.ศ. 1911) พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา เจา อยหู วั ทรงกอ ตั้งกจิ การลกู เสอื ไทย เมือ่ วันท่ี 1 กรกฎาคม 2454 พทุ ธศกั ราช 2463 (ค.ศ. 1920) สง ผูแทนคณะลูกเสือไทยไปรว มงานชมุ นุมลูกเสือโลก คร้งั ท่ี 1 ณ ประเทศองั กฤษ พุทธศกั ราช 2465 (ค.ศ. 1922) คณะลกู เสือแหง ชาติ เขาเปนสมาชกิ สมัชชาลูกเสือโลก พทุ ธศกั ราช 2467 (ค.ศ. 1924) สง ผแู ทนคณะลกู เสือไทยไปรวมงานชุมนมุ ลกู เสอื โลก คร้ังท่ี 2 ณ ประเทศเดนมารก พุทธศกั ราช 2470 (ค.ศ. 1927) จัดงานชุมนมุ ลูกเสอื แหง ชาติคร้ังท่ี 1 (1st National Jamboree) ณ พระราช อุทยานสราญรมย 26 กุมภาพนั ธ - 3 มีนาคม 2470 จํานวนลกู เสือไทยท้งั ส้ิน 1,836 คน พทุ ธศกั ราช 2473 จัดงานชุมนมุ ลกู เสอื แหงชาติครง้ั ท่ี 2 (2st National Jamboree) ณ พระราช อทุ ยานสราญรมย 1 - 7 มกราคม 2473 จํานวนลูกเสอื ไทย 1,955 คน ลูกเสอื ตา งประเทศ 22 คน

23 พุทธศกั ราช 2478 กําเนิดตราประจําคณะลูกเสอื แหง ชาติ พุทธศกั ราช 2497 จัดงานชมุ นมุ ลกู เสือแหง ชาติครง้ั ท่ี 3 (3st National Jamboree) ณ กรีฑา สถานแหง ชาตพิ ระนคร 20 - 26 พฤศจิกายน 2497 จํานวนลกู เสือไทย 5,155 คน พทุ ธศกั ราช 2499 (ค.ศ. 1956) เปน สมาชิกของสํานักงานลกู เสือภาคตะวนั ออกไกล ซึง่ เพง่ิ จดั ตง้ั ข้นึ ขณะนั้น มปี ระเทศสมาชิกอยู 10 ประเทศ พทุ ธศกั ราช 2504 (ค.ศ. 1961) เฉลมิ ฉลองครบรอบ 50 ปลกู เสือไทย จดั งานชมุ นุมลูกเสอื แหง ชาติครง้ั ที่ 4 ณ สวนลุมพินี พระนคร 19 - 25 พฤศจิกายน 2504 จํานวนลูกเสอื ไทย 5,539 คน ลกู เสือตา งประเทศ 348 คน พุทธศกั ราช 2505 (ค.ศ. 1962) เปน เจา ภาพจัดการประชุมผูบังคับบญั ชาลูกเสือภาคพ้นื ตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout Conference) ณ ศาลาสนั ติธรรม วชริ าวธุ พุทธศกั ราช 2508 (ค.ศ. 1965) จัดงานประชุมสภาลกู เสอื แหงชาติ ครงั้ ท่ี 1 (1st National Scout Conference) จดั งานชมุ นุมลกู เสือแหงชาติครง้ั ท่ี 5 (5st National Jamboree) ณ คา ยลูกเสือ 9 - 15 ธันวาคม 2508 จาํ นวนลกู เสอื ไทย 5,736 คน ลูกเสือตางประเทศ 431 คน วชิราวุธ พทุ ธศกั ราช 2512 (ค.ศ. 1969) จดั งานชมุ นมุ ลูกเสือแหง ชาติครัง้ ที่ 6 (6st National Jamboree) ณ คา ยลกู เสือ 11 - 17 ธันวาคม 2512 จํานวนลกู เสอื ไทย 5,000 คน ลกู เสือตา งประเทศ 582 คน

24 จงั หวัดเลย พุทธศกั ราช 2514 (ค.ศ. 1971) วชิราวธุ เฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปก ารลูกเสือไทย เขา รว ม ทดลองเปด อบรมลกู เสอื ชาวบา นครัง้ แรก ณ บา นเหลา กอหก ก่งิ อําเภอนาแหว จัดงานชุมนมุ ลกู เสือแหงชาติครงั้ ที่ 7 (7st National Jamboree) ณ คายลูกเสอื 28 - 30 มิถนุ ายน 2514 จํานวนลกู เสือไทย 1,667 คน ลูกเสอื ตางประเทศไมไ ด วชริ าวธุ พุทธศกั ราช 2516 (ค.ศ. 1973) 256 คน จัดงานชมุ นุมลกู เสือแหง ชาติครั้งที่ 8 (8st National Jamboree) ณ คายลกู เสือ 23 - 30 พฤศจิกายน 2516 จํานวนลูกเสอื ไทย 4,968 คน ลูกเสือตางประเทศ วชริ าวธุ พทุ ธศกั ราช 2520 (ค.ศ. 1977) 159 คน จดั งานชมุ นุมลกู เสอื แหงชาติครั้งท่ี 9 (9st National Jamboree) ณ คา ยลกู เสือ 21 - 27 พฤศจิกายน 2520 จํานวนลูกเสอื ไทย 10,827 คน ลกู เสอื ตางประเทศ พุทธศกั ราช 2523 (ค.ศ. 1980) จดั งานชุมนุมลกู เสอื แหง ชาติคร้งั ที่ 10 (10st National Jamboree) ณ คา ยลูกเสอื วชริ าวุธ 28 ธ.ค. 2523 - 3 ม.ค. 2524 จาํ นวนลกู เสือไทย 12,692 คน ลูกเสือ ตางประเทศ 108 คน พทุ ธศกั ราช 2528 (ค.ศ. 1985) เปน เจา ภาพจัดงานชมุ นมุ ลูกเสอื ภาคพ้ืนเอเชีย - แปซิฟก คร้งั ท่ี 9 งานชมุ นุมลกู เสอื แหงชาติ ครง้ั ที่ 11 (11st National Jamboree) ณ คายลูกเสอื วชิราวุธ 21 - 27 พฤศจกิ ายน 2528 จาํ นวนลกู เสือไทย 5,336 คน ลกู เสือตา งประเทศ 391 คน

25 พุทธศกั ราช 2529 (ค.ศ. 1986) เปนเจา ภาพจดั การประชมุ สมชั ชาลูกเสือภาคพน้ื เอเชยี - แปซฟิ ก ครงั้ ท่ี 15 พุทธศกั ราช 2532 (ค.ศ. 1989) งานชมุ นุมลูกเสือครงั้ ท่ี 12 ณ คา ยลูกเสอื วชริ าวุธ 21 - 27 พฤศจิกายน 2532 จาํ นวนลูกเสอื ไทย 9,330 คน ลูกเสอื ตางประเทศ 422 คน พทุ ธศกั ราช 2534 (ค.ศ. 1991) จดั กจิ กรรมเฉลิมฉลอง 80 ปล ูกเสอื ไทย งานชุมนุมลกู เสอื แหงชาติ ครัง้ ท่ี 13 (13st National Jamboree) ณ คายลกู เสือวชริ าวธุ 1 - 7 กรกฎาคม 2534 จํานวนลูกเสอื ไทย 10,022 คน ลกู เสือตา งประเทศ 357 คน พทุ ธศกั ราช 2536 (ค.ศ. 1993) เปนเจาภาพจดั การประชมุ สมชั ชาลูกเสอื โลก ครงั้ ท่ี 33 ทก่ี รงุ เทพ (33rd World Scout Conference) งานชุมนมุ ลูกเสอื แหง ชาติ ครั้งที่ 14 (14st National Jamboree) ณ คายลกู เสอื วชิราวธุ 22 - 28 พฤศจกิ ายน 2536 จาํ นวนลูกเสือไทย 10,263 คน ลกู เสือตางประเทศ 357 คน พทุ ธศกั ราช 2540 (ค.ศ. 1997) จัดงานชมุ นุมลกู เสือแหง ชาติครั้งท่ี 15 (15st National Jamboree) ณ คา ยลูกเสอื วชิราวธุ 21 - 27 พฤศจิกายน 2540 จํานวนลูกเสอื ไทย 11,274 คน ลกู เสอื ตา งประเทศ 160 คน พุทธศกั ราช 2544 (ค.ศ. 2001) เฉลมิ ฉลองครบรอบ 90 ปล ูกเสอื ไทย เตรยี มการ การจดั งานชมุ นุมลูกเสอื โลก จดั งานชุมนุมลูกเสือแหง ชาติ คร้งั ท่ี 16 ณ หาดยาว จ.ชลบุรี 28 ธ.ค. 2544 - 4 ม.ค. 2545

26 พทุ ธศกั ราช 2546 (ค.ศ. 2003) เปน เจาภาพจดั งานชุมนุมลูกเสอื โลก ครงั้ ท่ี 20 (20thWorld Scout Jamboree) พุทธศกั ราช 2548 (ค.ศ. 2005) จดั งานชุมนมุ ลกู เสอื แหงชาติครั้งที่ 17 (17st National Jamboree) ณ หาดยาว จ.ชลบุรี 25 - 31 กรกฎาคม 2548 เปนเจา ภาพจดั งานชมุ นุมลูกเสอื ภาคพื้นเอเชีย - แปซิฟก ครัง้ ท่ี 25 (25th Asia – Pacific Regional Scout Jamboree) พุทธศกั ราช 2552 (ค.ศ. 2009) จดั งานชุมนุมลกู เสือแหงชาติครง้ั ท่ี 18 ณ คา ยลกู เสือไทยเฉลิมพระเกียรติ จ.ตรัง 25-30 เมษายน 2552 พทุ ธศกั ราช 2554 (ค.ศ. 2011) เฉลมิ ฉลองครบรอบ 100 ปการลกู เสอื ไทย 1.3 กจิ การลกู เสือไทยแตล ะยคุ กิจการลูกเสือไทย เร่ิมข้ึนครั้งแรกที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัย ในปจจุบัน) เม่ือวันท่ี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 มีความเจริญกาวหนามาถึง ปจจุบนั (พ.ศ. 2561) นับเนือ่ งเปนเวลา 107 ป โดยจําแนกตามรชั สมัย ดงั น้ี 1) รัชสมยั พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลาเจาอยหู วั รชั กาลท่ี 6 (พ.ศ. 2454 –2468) 2) รัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระปกเกลาเจา อยูห ัว รชั กาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 –2477) 3) รัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานนั ทมหิดล รชั กาลท่ี 8 (พ.ศ. 2477 – 2489) 4) รชั สมยั พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอลยุ เดช รัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489 – 2559) 5) รชั สมัยสมเดจ็ พระเจาอยหู ัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2561 ถึงปจจุบนั )

27 1) การลูกเสอื ไทยรชั สมัยพระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลท่ี 6 (พ.ศ. 2454 –2468) ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ทรงพระราชทานกําเนิด เสอื ปาได 2 เดือน ซึ่งในระยะเวลาน้ันกิจการเสือปาไดดําเนินไปอยางเปนท่ีพอพระราชหฤทัย อยางยิ่ง เห็นไดจากการเพ่ิมจํานวนสมาชิกของเสือปาท่ีมากขึ้น และกิจการเสือปาถูกจําแนก ออกไปเปน กองเสอื ปาประเภทตาง ๆ อกี มาก แมจะทรงพอพระราชหฤทัยเพยี งใด พระองคก็ไม เคยทจี่ ะยุติในพระราชดําริที่จะเปนประโยชน ตอประเทศชาติ ดวยพระองคทรงเห็นวากิจการ เสือปา นน้ั แมจ ะประสบผลสาํ เร็จเพยี งใด แตสมาชิกน้ันเปนผูใหญแตฝายเดียว ทั้ง ๆ ที่บานเมืองน้ัน ประกอบดวยพลเมอื งหลายชวงวัย เด็กผูชายทั้งหลายก็เปนผูท่ีสมควรจะไดรับการฝกฝน และ ปลูกฝงอุดมการณความรักชาติไปพรอม ๆ กับการฝกฝนใหมีความรู และทักษะในทางเสือปาดวย เพือ่ วาในอนาคตเม่อื เติบโตขึ้นจะไดประพฤติตัวใหเปนประโยชนแกบ า นเกดิ เมืองนอน ดงั นั้น ในวันท่ี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว จงึ ไดท รงพระราชทานกําเนดิ กจิ การเสือปาสาํ หรบั เด็กชาย ท่ีทรงพระราชทานช่ือวา ลูกเสือ ในกิจการน้ีพระองคทรงมีพระราชประสงคที่ใหเด็กชายจดจําหลักสําคัญ 3 ประการคอื 1) ความจงรักภักดีตอผูทรงดํารงรัฐสีมาอาณาจักร โดยตองตามนิติธรรม ประเพณี 2) ความรักชาติบา นเมอื ง และนับถือพระศาสนา 3) ความสามัคคใี นคณะ และไมทาํ ลายซ่ึงกันและกัน การกอตั้งกิจการลูกเสือในครั้งแรกน้ัน พระองคทรงต้ังกองลูกเสือใหมีใน โรงเรียนกอน และกองลูกเสอื กองแรกของสยามประเทศคือ กองลกู เสอื โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรยี นวชริ าวธุ ในปจจุบัน และถูกเรียกวากองลูกเสือหลวง หรือกองลูกเสือกรุงเทพที่ 1 และลูกเสือในโรงเรียนน้ีก็ถูกเรียกวาลูกเสือหลวงเชนกัน กอนที่กิจการลูกเสือจะขยายไปสู โรงเรยี นเด็กชายท่ัวประเทศในเวลาไมนาน โดยลูกเสือคนแรก คือ นักเรียนโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ทีช่ อ่ื ชัพน บนุ นาค การเปนลูกเสือของนาย ชัพน บุนนาค น้ันเกิดจากการที่ไดแตงเครื่องแบบ ลูกเสือ และกลาวคําปฏิญาณของลูกเสือ ซึ่งเปนการกลาวตอหนาพระพักตร ซึ่งคร้ังน้ันมีผูท่ี บนั ทกึ เหตุการณเอาไวว า

28 ร.6 - “อา ยชพั น ดอกหรือ เอง็ กลาวคาํ สาบานของ ลกู เสอื ไดห รอื เปลา” ชพั น - “ขา พระพุทธเจา ทอ งมาแลววา 1. ขา จะมใี จจงรักภักดีตอพระเจาอยหู ัว 2. ขาจะประพฤติตนใหส มควรเปนลกู ผชู าย 3. ขาจะประพฤตติ นตามขอบังคับและแบบแผน ของลูกเสอื ” ร.6 - ในหนาที่ซึ่งขาไดเปนผูประสิทธิประสาทลูกเสือ ของชาตขิ ้นึ มา ขาขอใหเ จาเปน ลูกเสือคนแรก” จากน้ันพระองคทรงมีพระราชดํารัสเพียงส้ัน ๆ วา “อาย ชัพน เอ็งเปนลูกเสือแลว\" และแลวกิจการลูกเสือ ก็ไดถือกําเนิดขึ้นมาอยาง สมบูรณแบบ ตอมาพระองคก็ทรงพระราชทานคติพจน ใหก บั ลูกเสือท่ีภายหลังลือล่ันไปทั่วท้ังแผนดินและ เปนท่ีกลาวขาน รําลึก พูดสอนกันอยางติดปากใน สงั คม อีกท้งั ยังปรากฏอยบู นเคร่ืองหมายสําคัญตาง ๆ ของลกู เสอื วา “เสยี ชพี อยาเสยี สัตย” คาํ วา ลูกเสือ ทพี่ ระองคท รงพระราชทาน ชื่อน้ัน มีนัยวาพระองคทรงเลนลอคํากับคําวา เสือปา ที่บางครั้งทรงเรียกวา พอเสือ และเม่ือมีกิจการแบบเดียวกันท่ีมีเหลาสมาชิกเปน เด็กชาย พระองคจึงทรงใชคําวาลูกเสือ แตภายหลังทรงพระราชนิพนธถึงท่ีมาของชื่อลูกเสือ อยา งเปนทางการเอาไวว า “ลกู เสอื บ ใชส ตั วเสอื ไพร เรายมื มาใชดวยใจกลาหาญปานกนั ใจกลามใิ ชก ลา อาธรรม เชนเสอื อรญั สัญชาติชนคนพาล ใจกลา ตองกลาอยา งทหาร กลากอปรกิจการแกช าตปิ ระเทศเขตคน\"

29 เปนเวลา 6-7 เดือน หลังจากท่ี พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวฯ ทรงพระราชทานกําเนิดลูกเสือ ในสยามประเทศ หากยอนกลับไปที่ประเทศอังกฤษท่ีเปน ตนกําเนิดกิจการลูกเสือโลกขณะนั้น ก็กําลังคึกคักและแพร ขยายความนยิ มไปยังพนื้ ทต่ี าง ๆ ท่ัวเกาะอังกฤษ เด็ก ๆ รวมไป ถึงผูใหญตางใหความสนใจในกิจการน้ีมาก นายซิดนีย ริชเชส ซ่ึงอดีตเคยเปนครูสอนศาสนาวันอาทิตย เปนผูหนึ่งท่ีสนใจ กิจการลูกเสอื และไดเ ขารับตําแหนง เปนผกู ํากบั กองลูกเสือที่ 8 แหงลอนดอนตะวันตกเฉียงใต นายริชเชส ซ่ึงครั้งหนึ่งบิดาของ เขาไดเคยทํางานอยูในสถานกงศุลไทย ซึ่งภายหลังไดเปนถึงกงศุลใหญประจําสถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอนนั้นมีความใกลชิดสนิทสนมกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว เม่ือ ครงั้ ทีย่ งั ทรงดํารงอสิ รยิ ยศเปนมงกฎุ ราชกุมาร สมยั ทีย่ งั ทรงศึกษาอยูที่ประเทศอังกฤษและเมื่อ ความเจริญกาวหนา ของกจิ การลูกเสือในอังกฤษน้ัน ควบคูไปกับการเจริญกาวหนาของกิจการ ลูกเสือแหงสยามประเทศ ขาวคราวของกิจการลูกเสือแหงสยามประเทศ ก็แพรกระจายเขาสู เกาะอังกฤษอยางรวดเร็ว นายริชเชส เปนผูหน่ึงท่ีไดรับทราบขาวน้ัน และประกอบกับ ความสัมพนั ธข องผูเ ปน บดิ ากับพระเจาแผนดินแหงสยามประเทศ เขาจึงไดทําหนังสือมากราบ บังคมทูลอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ใหทรงเปนองคอุปถัมภกองลูกเสือที่ เขาเปนผูกํากับอยูและขอพระบรมราชานุญาตใหชื่อลูกเสือกองนี้วา “King of Siam ’s own boy scout group” ซึ่งแปลวา กองลูกเสือในพระเจากรุงสยาม หรือ กองลูกเสือแหง พระบาทสมเดจ็ พระเจา กรงุ สยาม หรอื กองลูกเสอื รักษาพระองคพ ระเจา แผนดนิ สยาม โดย มชี ื่อยอวา K.S.O. หลงั จากทพ่ี ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา เจาอยูหวั ไดทรงพระราชกรุณาโปรดเกลา ใหจ ดั ต้งั กองลูกเสอื แหงชาตขิ น้ึ เพียง 5 เดือนเทานัน้ ก็ปรากฏวา มีกองลูกเสือทั่วราชอาณาจักร อยถู ึง 61 กอง

30 การดําเนินกิจการลูกเสือทั่วทั้งโลก มั ก มี ลั ก ษ ณ ะ ท่ี เ ห มื อ น กั น อ ย า ง ห น่ึ ง คื อ เร่ิมจากกิจการลูกเสือสําหรับเด็กชายกอน ที่จะเร่ิมแพรเขาไปในหมูเด็กหญิง และ สาํ หรบั กิจการลูกเสือในไทยก็เชนกัน เม่ือถึง ระยะเวลาอันควร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ- เกลาเจาอยูหัว ก็ทรงมีพระราชดําริท่ีจะให สตรีและเด็กหญิงไดมีสวนรวมในกิจการ ลูกเสือ โดยทรงเหน็ วา สามารถทจ่ี ะเปนกําลัง ใหก บั ชาตบิ านเมอื งได แมจะไมใ ชกองกาํ ลงั หลกั กต็ ามที ดงั นั้น จึงทรงตั้งกลุมสตรีข้ึนมากลุมหนึ่ง ซงึ่ พระองคเ รียกวา สมาชกิ แมเสือ สวนใหญเปนบุตรและภรรยาเสือปา โดยแมเสือมีหนาที่หลัก ในการจัดหาเสบียงและเวชภัณฑใ หกบั กองเสอื ปา ในขณะเดียวกันก็ทรงจดั ตง้ั กองลูกเสือสาํ หรับ เด็กหญิง และพระราชทานช่ือวา เนตรนารี ซึ่งเนตรนารี กองแรก คือ กองเนตรนารี โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ตอมาไดเปน ชอื่ โรงเรยี นวฒั นาวทิ ยาลยั นางสาวหนยุ โชติกเสถียร หน่ึงใน เนตรนารีกองแรก ไดเขียนถึงกิจกรรม สําหรับเนตรนารใี นสมัยน้ันไวว า “ในป พ.ศ. 2457 โรงเรียนกุลสตรี วังหลงั จัดต้งั กองเนตรนารีข้ึน และใหเราเปนกลุมแรกที่รับการฝกหัด ขาพเจายังจําและรูสึกถึง ความสนุกสนานของเวลาน้ันไดจ นบัดนี้ เราชวยกันจัดขาวของและหองหลับ หองนอน ตลอดจน ชวยครวั หาโมงเย็นก็ลงมือรบั ประทานอาหาร สองทุมก็เขา นอนกันหมด เขาเรียนเวลา สามโมงเชา และเรียนกนั ตามใตรม ไม วิชาที่เรียนคอื 1. วชิ าพฤกษศาสตร เปนวิชาทีพ่ วกเราชอบมาก เพราะไดล งมือเพาะเมล็ดพืช ผัก ดอกไม มนั ฝรั่งและหวั หอม 2. วชิ าปฐมพยาบาล หดั ชวยคนเปน ลม วธิ พี นั ผาพนั แผลและเขาเฝอ ก เราจบั เดก็ ชาวนามา ชําระลา งและพนั แผลให 3. วิธที าํ กบั ขา ว หุงขา ว วิชานีเ้ ปน งานไปในตวั เพราะเราตองผลดั เวรกนั ไปตลาดและทํากับขาว เวลาบาย ๆ เราตองเรียนและฝกซอมกฎของเนตรนารี คือ พยายามหาความงามในทุกสิ่ง ทกุ อยางท่ตี นประพฤติ โดยมีความสุภาพออนโยน อารีอารอบ ตองพยายามหาความรูเพ่ือเปน ประโยชนแ กส วนรวม และสวนตวั อดทนในส่งิ ทเี่ ปนประโยชนแ กสว นรวม เวลาเรยี กเขาประชุม

31 อาจารยมกั จะกวู า โว วลิ โล (คําที่ใชเปน เสยี งรองเรยี ก แทนการใชสญั ญาณนกหวีด) หลาย ๆ ครั้ง พวกเราก็รีบวงิ่ มาทนั ที” 2) รชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา เจาอยูหวั รชั กาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 –2477) พทุ ธศักราช 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ทรงรับราชภาระตอจากพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกลาเจาอยหู วั โดยทรงรบั ตําแหนง เปน นายกสภากรรมการกลางลูกเสือ ซึ่งมีหนาท่ี กําหนดนโยบาย และอนุมัตงิ บประมาณ ทรงโปรดเกลาใหคดั เลอื กนักเรียน 2 คนเขา รวม ประชมุ ในเรื่องเกี่ยวกับลูกเสือ รุนใหญ ท่ีประเทศอังกฤษ คอื นายปนุ มีไผแ กว และ นายประเวศ จนั ทนยง่ิ ยง พทุ ธศักราช 2469 ทรงพระกรณุ าโปรดเกลาฯ คัดเลือก นักเรียนไทย ท่ีศึกษาอยูท่ีประเทศอังกฤษ ซึ่งเคยเปนรองผูกํากับ หรือนายหมูลูกเสือเอก ไปเขารวมงานชุมนุมลูกเสือนานาชาติ ประเทศสวสิ เซอรแ ลนด ระหวา งวนั ท่ี 22 - 28 สงิ หาคม พทุ ธศกั ราช 2470 ทรงพระกรุณาโปรดเกลาใหมีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแหงชาติข้ึน ในราชพิธี ฉตั รมงคล ซง่ึ ถือเปนการจดั งานชมุ นมุ เปนครั้งแรกของประเทศ ซึ่งมีลูกเสือ 14 มณฑลเขารวม ในวันท่ี 26 กุมภาพนั ธ - 3 มีนาคม เนือ่ งจากงานชุมนุมน้ีไดผ ลดีอยางย่ิง จึงทรงใหมีการจัดงาน ชุมนมุ ลกู เสือแหง ชาติข้ึน ทุก ๆ 3 ป พุทธศกั ราช 2470 จดั ใหม ีการอบรมวชิ าผกู าํ กับข้นึ ณ สมคั ยาจารยส มาคม พทุ ธศกั ราช 2473 จัดชุมนมุ ลูกเสอื แหง ชาตคิ รง้ั ที่ 2 ณ พระราชอุทยานสราญรมย และพระราชทาน บริเวณพระรามราชนิเวศน จ.เพชรบรุ ี (พระราชวังบานปน ) เปน สถานทอ่ี บรมวิชาผกู าํ กับลูกเสือ พทุ ธศกั ราช 2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองทําใหพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ทรงพระราชทานอํานาจการปกครองใหประชาชน อันทําใหตําแหนงนายกสภากรรมการกลาง จัดการลูกเสือแหงชาติ ตองยุติไปดวย แตตอมาไดทรงโปรดเกลาใหอธิบดีกรมพลศึกษา ดํารง ตําแหนงอุปนายกสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแหงชาติและตอมากองลูกเสือจึงตกอยู ในการบริหารจัดการของกรมพลศึกษา นับแตบัดน้ัน (กรมพลศึกษาเปนหนวยงานในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ และเมื่อกิจการลูกเสือเติบโตขึ้นจึงไดโอนยายออกมาจัดต้ังหนวยงาน

32 ข้ึนใหม เพอ่ื รบั ผดิ ชอบกจิ การลูกเสือโดยตรง ไดแ ก คณะกรรมการบรหิ ารลกู เสอื แหงชาติ ซ่ึงอยู ภายใตการกํากับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการเชนกัน) พุทธศกั ราช 2477 ทรงโปรดเกลา ฯ ใหม การจดั ตง้ั กองลูกเสือเหลาสมุทรเสนาในจังหวัดชายทะเล หลงั จากนัน้ เพียง 7 วนั พระองคก ไ็ ดท รงสละราชสมบตั ิ 3) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลท่ี 8 (พ.ศ. 2477 – 2489) อาจกลาวไดวากิจการลูกเสือในยุคน้ีเปนยุคท่ีมี ความเคลือ่ นไหว ตลอดจนพัฒนาการแหงคณะลูกเสือนอยท่ีสุด ดว ยเหตวุ า (1) เกิดสงครามขอ พิพาทดินแดนในอินโดจนี ระหวางไทย กับฝรง่ั เศส ในป พ.ศ. 2482 (2) เกดิ สงครามโลกครงั้ ที่ 2 ในป พ.ศ. 2484 (3) ยุคเร่มิ ตน ในระบอบประชาธปิ ไตยอนั มี พระมหากษัตรยิ ทรงเปนพระประมุข กอใหเกิดระบอบการเมือง ทีม่ ีความผันผวนอยูต ลอดเวลา ความขัดแยงระหวางฝายบริหาร และนติ ิบญั ญัติ ทาํ ใหตองยบุ สภาและเปล่ียนรัฐบาลบอย ๆ เม่ือ การเมืองไมนิ่งสงบทําใหไมมีใครเขามาดูแลกิจการลูกเสืออยาง จรงิ จัง เพราะอํานาจในการบริหารเปล่ียนมอื ตลอดเวลา (4) รัฐบาลในยุคน้ันกอตั้งกิจการยุวชนทหาร เพื่อรับมือ กบั สถานการณท ร่ี ุนแรงของโลก ซ่ึงไดท บั ซอนกับกิจการลกู เสอื จนถงึ ที่สดุ ก็ไดยุบกิจการลูกเสือ ใหเปนเพียงหนว ยหน่งึ ในกจิ การยวุ ชนทหาร

33 (5) รัชสมัยของพระองคนั้นส้ันมากโดยสิ้นสุดลงในวันท่ี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 รวม เวลาในการครองสิรริ าชสมบัตเิ พียง 9 ป แตอยางไรก็ดียงั มปี รากฏการณส าํ คญั ของกิจการลูกเสือ ทต่ี อ งจารกึ ไว คือ 1) การมตี ราสัญลักษณประจาํ คณะลกู เสอื เปนครั้งแรก เ พื่ อ ใ ห เ ข า กั บ ห ลั ก ส า ก ล ท่ี ลู ก เ สื อ ท่ั ว โ ล ก ต า ง ก็ มี ต ร า สัญลักษณข องตนเองทง้ั สิ้น โดยใชส ญั ลักษณลูกเสือโลก คือ รูป เฟอร เดอ ลีร ประกอบกับรูปหนาเสือ มีอักษรจารึก ดานลา งวา เสยี ชพี อยา เสียสตั ย 2) มีการออกพระราชบัญญัติลูกเสือข้ึนครั้งแรก ใน ป พ.ศ. 2482 มีสาระคอื การกําหนดใหคณะลูกเสือแหงชาติ มีสภาพเปนนิติบุคคล และโอนทรัพยสินท้ังหลายในกิจการ เสอื ปาใหต กเปนของคณะลูกเสือแหงชาติ เน่ืองจากกิจการ เสือปา หยุดลงไป และไมม ใี ครใสใ จดูแล 3) ป พ.ศ. 2479 เม่ือถึงวันท่ี 1 กรกฎาคม ซึ่งเปนวัน กําเนิดลูกเสือ แตทางคณะลูกเสือไมสามารถจัดงานใหญได เพราะสถานการณการเมืองและสถานการณที่ตึงเครียดทั่วโลก จึงไดเปลี่ยนใหมการจัดสรางพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว องคใหญ โดยประกาศของสํานัก นายกรัฐมนตรี เพื่อเทิดพระเกียรติและประดิษฐานไวท่ีหนา สวนลมุ พนิ ี จนปจ จบุ นั

34 4) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอลยุ เดช รัชกาลท่ี 9 (พ.ศ. 2489 – 2559) คร้ันมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ท่ีทรงเสด็จข้ึนเสวยสิริราชสมบัติ ตอจากพระเจาอยูหัวรัชกาลท่ี 8 ในวันท่ี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองคทรงปฏิบัติราชภารกิจในฐานะกษัตริย ในหลาย ๆ ดาน กิจการลูกเสือ เปน กิจการทพี่ ระองคทรงใหความสาํ คัญเปนอยา งยงิ่ อันสงผลในการกระตนุ ใหข าราชการท่เี กีย่ วของ มีความกระตือรือรน ซึ่งน่ันเปนการสงสัญญาณวา กิจการลูกเสือจะไดรับการฟนฟูใหกลับมามีชีวิตชีวา อกี ครั้ง เพยี ง 1 ป หลังจากการข้ึนครองราชย รัฐบาลท่ี มีนายปรีดี พนมยงค เปนผูนํา ไดออกพระราชบัญญัติ ป พ.ศ. 2490 ซ่ึงมีลักษณะท่ีคลายกับพระราชบัญญัติ ป พ.ศ. 2482 แตม สี าระที่เพ่ิมข้ึน คอื “กําหนดใหพระมหากษัตริยทรงดํารงตําแหนง บรมราชูปถมั ภค ณะลกู เสือแหงชาติ” กิจการยุวชน ทหารจึงไดถกู ยบุ ลงไปโดยปรยิ าย ทาํ ใหล ูกเสือกลับมา มบี ทบาทในสังคมอีกคร้ัง รวมทั้งไดทรัพยสินที่เคยถูก ถายโอนใหไปอยูรวมกับยุวชนทหารกลับคืนมาดวย หลัง จา กกิ จกา รลู กเ สือถู กป ลุก ใหฟ นคื นม า ก็ไดกาวหนาไปอยา งรวดเรว็ จนไดม ีการจัดตัง้ กอง ลกู เสอื ในโรงเรยี นตาง ๆ ท่วั ประเทศ แมองคพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดชเอง กย็ งั ทรงจัดตั้งกองลูกเสือข้ึนในโรงเรียนจิตรลดา และโปรดเกลาฯ ใหสมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เจาฟาวชิราลงกรณฯ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารฯ) ทรงสมัครเขาเปน ลูกเสือดวย ในป พ.ศ. 2507 รัฐบาลไดออกพระราชบัญญัติอีก 1 ฉบับ เพื่อปรับปรุงกฎหมาย วา ดว ยกิจการลกู เสือใหทนั สมยั และทันเหตุการณยง่ิ ขน้ึ โดยมาตรา 5 กําหนดใหคณะลูกเสอื แหง ชาติ ประกอบดว ยลูกเสือท้ังปวง ผูบังคับบัญชา ลูกเสือ ผูตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ และเจาหนาที่ลูกเสือ และมาตรา 8 กําหนดให พระมหากษตั ริยทรงเปน พระประมขุ ของคณะลูกเสอื แหง ชาติ

35 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 นน้ั มสี งิ่ ท่ีบง บอกถึงพัฒนาการอันสําคัญของ กจิ การลูกเสอื ในประเทศ และนับเปน ประเทศ เดียวในโลกที่มีกิจการลูกเสือประเภทนี้ คือ การกอตง้ั กจิ การลกู เสือชาวบาน ซ่ึงกอต้ังใน วนั ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ท่ีหมูบานเหลา กอหก ตําบลแสงพา กิ่งอําเภอนาแหว อําเภอ ดา นซา ย จงั หวดั เลย ดวยการจัดทําหลักสูตร และฝกอบรม ลูกเสือชาวบานน้ันจะแตงกาย อยางไรก็ไดท ส่ี ุภาพเรียบรอย ขอสําคัญตองมี ผาผูกคอ วอคเก้ิลรูปหนาเสือ ที่ไดรับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช ลกู เสอื รุนแรกที่หมูบานเหลากอหกน้ัน มีมุมผาผูกคอเปนรูปพระแกวมรกต เปน สัญลักษณ ซ่งึ หมายถงึ ประชาชนในผืนแผนดนิ ไมวาจะเปนใครกส็ ามารถเขา รบั การฝกอบรมและ เปน ลกู เสือชาวบานได นอกจากนี้กิจการลูกเสือของไทยยังกาวหนาทั้งในระดับชาติและระดับสากล เจาหนา ที่ลกู เสอื ของไทยมโี อกาสเขา รวมงานลกู เสอื ระดับโลก และขณะที่งานลูกเสือระดับโลก หลายงานก็มาจดั ข้ึนท่ีเมอื งไทยเชน กนั แ ล ะ พ ร ะ ร า ช ก ร ณี ย กิ จ ท่ี เ กี่ ย ว ข อ ง กับลูกเสือนั้น ก็ไมใชจะเพียงแครูกันในหมู คนไทย หากแตลูกเสือทั่วโลกก็ไดยิน ไดฟง และไดรู ในสิ่งท่ีพระองคทรงปฏิบัติเชนกัน แ ล ะ เ ห ตุ ก า ร ณ ที่ โ ล ก ต อ ง จ า รึ ก ไ ว สํ า ห รั บ พระมหากษตั รยิ ผูที่ทรงงานอันสงเสริมกิจการ ลูกเสือใหกาวหนาพัฒนา คือการทูลเกลาถวาย เคร่ืองหมายวูดแบดจช้ันพิเศษ 4 บีด ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 จากศูนยฝกอบรม ผูบังคับบัญชาลูกเสือนานาชาติ กิลเวลล ประเทศอังกฤษ ซ่ึงไมเคยมีใครท่ีจะไดรับถาไมไดผานการฝกอบรม และไมเคยถวายแด พระประมุขของประเทศใดเลย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเปน บุคคลแรกของโลกทไ่ี ดรบั เกียรตยิ ศอันสงู สง นี้

36 และอีกคร้ังหนึ่งในป มหามงคลการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ป ท่ีทรงเปน พระมหากษัตริยพระองคแรกและพระองคเดียวในโลก (ป พ.ศ. 2549) ที่ทรงครองราชสมบัติ ยาวนานที่สุด ประเทศไทยจึงไดมีการจดั งานท่ียงิ่ ใหญและมีการเฉลมิ ฉลองกนั ทง้ั ป ในวันท่ี 20 มิถุนายน พระราชาธิบดี คารล ท่ี 16 กุสตาฟ (กษตั รยิ ) แหงสวีเดน เสด็จมาเพ่ือ เขาเฝาในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิ ลูกเสือโลก (World Scout Foundation) เพื่อ ทูลเกลาถวายอิสริยาภรณสดุดีลูกเสือโลก หรือ บอรน วูฟ (The Bronze Wolf) ท่ีมีสัญลักษณเปน รูปสุนัขจิ้งจอก สีบอรน ประดับอยูบนสายริบบ้ิน พ้ืนคลองคอสีเขียว ที่มีปลายสีเหลือง เปน อิสริยาภรณที่คณะกรรมการลูกเสือโลกพิจารณา มอบใหเปนเกียรติแกบุคคลที่มีผลงานโดดเดนทางดานการสนับสนุนกิจการลูกเสือ โดย BP ประมุขตลอดกาลของลูกเสือโลกเปนผูริเริ่มในการมอบมาตั้งแตป พ.ศ. 2478 และมีคนไทย เพียงไมก่ีคนที่เคยไดรับเคร่ืองหมายอันทรงเกียรตินี้ โดยคนแรกท่ีไดรับคือ นายอภัย จันทวิมล อดตี รัฐมนตรวี า การกระทรวงศึกษาธิการ ในป พ.ศ. 2514 5) รัชสมัยสมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รชั กาลท่ี 10 (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2561 ถึงปจ จุบนั ) สมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อคร้ังดํารง พระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ไดพระราชทานพระราโชวาท ในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนาม เน่ืองในวันคลายวันสถาปนาคณะลูกเสือแหงชาติ เม่ือวนั ท่ี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 “...กิจการลกู เสือและเนตรนารนี ้มี คี วามสาํ คัญอยา งยงิ่ ในการพฒั นาเยาวชนของ ชาติ เพราะการฝก อบรมอยางถูกตองครบถวนตามแบบแผนและวิธีการของลูกเสือน้ัน ยอมจะ ทําใหเยาวชนมีคุณสมบัติในตัวเองสูงขึ้นหลายอยาง เชน ทําใหมีระเบียบวินัยที่ดี มีความ เขม แข็งอดทนขยนั หมนั่ เพียร เออ้ื เฟอ เสียสละ ซ่ือสัตย สุจริต และรูจักใชความคิดอยางฉลาด คณุ สมบัติเหลาน้ี ลวนเปนปจจัยหลักที่จะเกื้อหนุนสงเสริมใหแตละคนสามารถพ่ึงตนเอง และ สรา งสรรคประโยชนอนั ยั่งยืน เพ่ือสวนรวมและประเทศชาติได”

37 เม่ือพระองคทา นขนึ้ ครองราชย ทรงมีพระบรมราโชบายดา นการศึกษาและความม่ันคง มพี ระราชประสงค เห็นคนไทยมีวนิ ัย รูหนาที่ มีความรับผิดชอบ สรางวินัยโดยกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี “ลกู เสือ” วิชาท่ีทรงโปรด พระราชบัญญัตลิ กู เสือ พ.ศ. 2551 หมวด 1 บทท่ัวไป มาตรา 6 ใหมีคณะลูกเสือ แหงชาติ ประกอบดวยลูกเสือทั้งปวงและบุคลากรทางการลูกเสือ มาตรา 7 พระมหากษัตริย ทรงเปนประมุขของคณะลูกเสือแหงชาติ สมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร- เทพยวรางกูร รัชกาลท่ี 10 ทรงเปนลูกเสือสํารองต้ังแตวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ซ่ึง เปนวันทโ่ี รงเรยี นจิตรลดาทําพิธีเปดหนวย “ลูกเสือสํารอง” โดย นายกอง วิสุทธารมณ อธิบดี กรมพลศึกษาขณะน้ัน ในฐานะเลขาธิการสภาคณะกรรมการจัดการลูกเสือแหงชาติ เปน ประธานในพธิ ี หนังสือพิมพเ ดลินิวส ฉบับประจําวนั พฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 อัญเชิญ พระบรมฉายาลกั ษณส มเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งทรงพระเยาว ทรงฉลองพระองคดวยชุดลูกเสือสามัญ ซ่ึงเปน วชิ าทพี่ ระองคทรงโปรดมากท่สี ุด ข้ึนเปน ภาพปก พรอ มพาดหัวขา ววา (ขออนุญาตนําความบางประการมาตีพมิ พซาํ้ ณ ท่ีนี้) “ทรงโปรดวิชาลูกเสือ” พรอมโปรยขาวตอนหน่ึงวา “ต้ังแตทรงพระเยาว วิชาที่ ทรงโปรดคือ “ลูกเสือ” เพราะไดอ อกกําลังกลางแจง จดุ ประกายความฝนใหศึกษาตอวิชาทหาร จากสถาบันช้ันนาํ จนไดร บั การยกยอ งในระดับสากล” ความอีกตอนหนึ่งบรรยายวา “การไดเ ปน ลกู เสอื สํารองเปนความภาคภูมิใจและ เปนทใี่ ฝฝนสําหรับเด็กชายท่ีเขาสูวัยเรียนทุกคนเชนไร สมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เจาฟาวชิรา- ลงกรณฯ ในขณะนั้นก็รูสึกเชนนั้น โดยพระองคทรงเฝารอเวลานี้มานานแลว พรอมกับพระสหาย ในวยั เดียวกนั ” หนว ยลกู เสอื ของโรงเรยี นจิตรลดาแบง ออกเปน 2 หมู หรอื 2 ซิกซ เพราะขณะน้ัน มีนกั เรยี นอยใู นเกณฑเ ปนลูกเสอื สาํ รองไดเพียง 12 คน โดยหมูหนึ่งแบงออกเปน 6 คน หมูแรก ชื่อหมูสีฟา ทรงเปนหัวหนาหมู หมูที่สองชื่อหมูสีน้ําเงิน หัวหนาหมูคือ สัณห ศรีวรรฑธนะ การเปนหัวหนาหมูลูกเสือสํารองน้ี โดยท่ัวไปผูบังคับบัญชาลูกเสือเปนผูเลือก แตในโรงเรียน จติ รลดาเปดโอกาสใหน กั เรียนเลือกกนั เอง หัวหนาหมูม ีหนา ที่ดแู ลและเกบ็ สง่ิ ของซึ่งเปน ของหมูใ หเ รียบรอย เมื่อถึงเวลาฝก กน็ ําออกมาแจกใหลูกหมู เสร็จแลวกเ็ กบ็ รวบรวมไปไวยังทใี่ หเปน ระเบียบ ซ่งึ ทรงปฏบิ ัติหนาที่นี้ ไดโดยไมข าดตกบกพรอง แมทรงอิดเอื้อนบางในตอนแรก เพราะยังไมเขาพระทัยในหนาที่น้ีดี แตเม่ือพระอาจารยอธิบายถวายก็ทรงปฏิบัติตาม พระองคทรงโปรดวิชาลูกเสือสํารองมาก เพราะนอกจากจะไดทรงกระโดดโลดเตน ออกกําลงั กายกลางแจงแลว ยังไดท รงฟงนิทานสนุก ๆ และไดท รงรองเพลงทีส่ นกุ สนานอีกดว ย ทรงเปนนักเรียนท่ีชางซักมากที่สุดในช้ัน วันใดท่ีมีการ ฝกลูกเสือสํารองจะทรงตื่นบรรทมเชากวาปกติ เตรียมฉลองพระองคลูกเสือดวยพระองคเอง

38 สิ่งแรกท่ีทรงทําหลังจากตื่นบรรทมก็คือ ขัดหัวเข็มขัดและรองพระบาทสําหรับเครื่องแบบ ลกู เสือ ทําความสะอาดพระนขา (เล็บ) เตรยี มพรอมสําหรับการตรวจอยตู ลอดเวลา ในวันคลายวันสถาปนาคณะลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ในพิธี สวนสนามของลูกเสือ ณ กรีฑาสถานแหงชาติ ซ่ึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา- ภมู ิพลอดลุ ยเดช และสมเดจ็ พระนางเจาสริ กิ ิต์ิ พระบรมราชินีนาถ ไดเสด็จพระราชดําเนินทรง เปนประธานครั้งแรก สมเด็จพระเจาลกู ยาเธอ เจาฟา วชริ าลงกรณฯ ในขณะนั้น เสด็จฯ ไปทรง รว มกจิ กรรมกบั ลกู เสอื โรงเรยี นอื่นเปนคร้งั แรกทที่ รงรว มพธิ ีสวนสนามของลูกเสือ ซึ่งประชาชน คนไทยท่ีทราบขาวกอนหนาพากันเปนหวงเปนใยพระองคทานไปตาง ๆ นานา ดวยเกรงวา พระองคจ ะประชวรลง บางคนถึงกับกลา ววา “โถ ทลู กระหมอมจะทรงทนแดดไหวหรอื ทานจะ ทรงเปน ลมไหมนะ” โดยความหวงใยในพระองคของพสกนกิ รเรอื่ งนี้ เม่ือทรงทราบก็ไดรับสั่งวา “ตอ งไดซ ิ ทําไมจึงดูถูกกนั อยา งนน้ี ะ” ครน้ั ถึงวันสวนสนามก็ทรงปฏิบัติหนาท่ีของลูกเสือสํารองของโรงเรียนจิตรลดา ไดเปน อยา งดี เชนเดียวกับลูกเสือคนอ่ืน ๆ ในวันน้ัน ทรงถือปายชื่อโรงเรียนผานพระท่ีนั่งดวย พระอาการสงา และทรงรวมแสดงในนามหมลู ูกเสือโรงเรียนจิตรลดาดว ย สาํ หรับการท่ีทรงมีความอดทนและรูจักหนาท่ีของลูกเสือเปนท่ีประจักษชัดอีก คร้ังหนึ่งในการซอมใหญสวนสนามวันฉลองครบรอบวันกําเนิดลูกเสือไทย วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ขณะน้ันทรงเปนลูกเสือโทแลว วันนั้นที่กรีฑาสถานแหงชาติฝนตกหนักอยางลืมหู ลมื ตาไมข น้ึ บรรดาผคู ุมการฝกซอมลงความเห็นวา ควรเชิญเสด็จเขาประทับในชายคา เพราะ อาจจะทาํ ใหประชวรหวัดได เจาหนาที่ผูใหญคนหน่ึงว่ิงออกไปท่ีสนาม ทูลเชิญเสด็จเขาท่ีประทับ ในชายคา ทรงมองหนาผูทูลเชิญพรอมกับส่ันพระเศียร แลวรับส่ังวา “ทําไมจะตองใหฉัน หลบเขาไปดวยละ ใคร ๆ เขาตากฝนไดฉันก็ตากไดเหมือนกัน ฉันแข็งแรงพอ” กอนหนาน้ัน เม่อื โรงเรียนจติ รลดาเขา พธิ ีประจาํ กองลกู เสอื สามัญ โดยสมทบกับหนวยโรงเรียนวชิราวุธ เปน กองลกู เสือ สังกัด อ.3 เมอื่ วันท่ี 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ทรงสอบไดเปนลูกเสือโท เมื่อวันท่ี 9 มีนาคม พ.ศ. 2508 ในวนั น้นั ไดเสด็จฯ ไปทรงสอบเดนิ ทางไกล และประกอบอาหารทคี่ ายลูกเสือ วชิราวุธ ต.บางรัก อ.ศรรี าชา จ.ชลบุรี ตอ งเสด็จฯ ต้งั แตเ ชา มดื พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหา- ภมู พิ ลอดลุ ยเดช ทรงมพี ระราชดํารัสหามใครตามเสด็จนอกจากราชองครักษ ซึ่งใหตามเสด็จได เพียงหา ง ๆ การเสด็จเขา คายลกู เสือที่คายวชิราวุธคร้ังนั้น ทรงทําอาหารเอง ซึ่งที่ทรงโปรด ทาํ ทส่ี ดุ คอื “ขา วสวยคลุกไขปน เปนกอนทอด” โดยทรงโปรดการทําครัวเทากับความชางเสวย บางคราวทรงทําอาหารเองดวยหมอ และเตาดนิ เผาเลก็ ๆ แลว ประทับเสวยอยางเอร็ดอรอยรวมกับ ผตู ามเสดจ็ ทรงศึกษาท่ีโรงเรียนจิตรลดาถึงมัธยมศึกษาปท่ี 1 จึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาตอที่ องั กฤษ

39 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงกระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหจัดการศึกษาระดับอนุบาลข้ึน ณ พระท่ีนั่งอุดร ในพระที่น่ังอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมอื่ วนั ที่ 10 มกราคม พ.ศ.2498 ตอมาเมื่อ พ.ศ. 2500 เสด็จฯ มาประทับ ณ พระที่นั่งจิตรลดารโหฐาน จึงมี พระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ ใหสรางอาคารเรียนถาวรในบริเวณพระตําหนักจิตรลดา- รโหฐาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานนามโรงเรยี นวา “โรงเรียนจติ รลดา” บนั ทกึ เรือ่ งน้ีหนังสือพมิ พเดลินิวสนํามาจากหนังสือเฉลิมพระเกียรติที่กองทัพบก จัดทําข้ึน โดยเฉพาะเรื่องของ “วิชาลกู เสือ” ท่ที รงโปรด หากสาํ นกั งานลกู เสอื แหงชาติจะนําไปให “ลูกเสือ” ไดเรียนรจู ะเปน การดีย่งิ https://www.matichonweekly.com/column/article_17373 พระราชปณิธานและพระราโชบายในพระบาทสมเด็จพระเจา อยหู ัว ร.6 และสมเด็จพระเจา อยหู วั มหาวชริ าลงกรณ ฯ (ร.10) รชั กาลท่ี 6 ทรงไดพระราชทานกําเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันท่ี 1 กรกฎาคม 2454 และทรงใหความหมายของ \"ลูกเสือ\" วา \"ลกู เสอื บใชเสอื สตั วไ พ เรายืมชื่อมาใช ดวยใจกลา หาญ ปานกัน ใจกลา มใิ ชกลาอาธรรม เชน เสอื อรญั สญั ชาตชิ นคนพาล ใจกลา ตองกลา อยางทหาร กลา กอปรกจิ การ แหง ชาตปิ ระเทศเขตตน\" ทรงมีพระราชปณิธานในการฝกลกู เสือวา \"ขา ไมตอ งการตําราเรียนทเี่ ดินได ทข่ี า อยากไดนนั้ คอื เยาวชน ทเี่ ปน สุภาพบรุ ุษ ซื่อสตั ย สุจรติ มีอปุ นิสยั ใจคอด\"ี ราม วชริ าวธุ \"I do not want a walking school books. What I want are just manly young men, honest truthful, clean in habits and thoughts\" Vajiravudh

40 พระราชอัจฉรยิ ภาพของ รชั การที่ 6 ในการสรา งเด็กและเยาวชนทพี่ งึ ประสงค กจิ กรรมลกู เสือจงึ เปน เปนกิจกรรมเพ่อื ฝกฝน เด็กและเยาวชนใหมีความสามัคคี มานะอดทน เสยี สละเพ่ือสวนรวม โดยปลูกฝง ใหเ ด็กและเยาวชนเปนผมู รี ะเบยี บวนิ ัย เคารพกฎ ขอบังคับ และปฏบิ ตั ติ น เปนคนดีของสังคมและประเทศชาติ ปจจุบันสมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเปน ประมุขคณะลกู เสอื แหง ชาติ สมเด็จพระเจาอยูหัว (ร.10) ทรงใหความสําคัญกับการพัฒนาเยาวชน โดยพระราชทานทุนการศึกษาระดับ ม.ปลาย ตอเนื่องจนจบ ป.ตรี (หรือเทียบเทา) ผานมูลนิธิ ทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จํานวน 154 ทุน/ป มาต้งั แตป พ.ศ. 2552 พระราชประสงคในการพฒั นาเยาวชน 1. มีความรู 2. มรี ะเบียบวนิ ยั 3. ไดรับการพัฒนาศกั ยภาพอยา งตอเนอ่ื ง 4. มีทศั นคตพิ ืน้ ฐานท่ีดี 5. ไดร ับการฝก อาชพี 6. เม่ือจบการศึกษาแลวจะตองเขา สูก ารมอี าชีพทม่ี ัน่ คง คุณลักษณะเด็กที่พงึ ประสงค รัชกาลท่ี 6 รัชกาลที่ 9 รชั กาลท่ี 10 เปนสภุ าพบรุ ษุ มีทัศนคติพ้นื ฐานทด่ี ีและไดร บั การพัฒนาศักยภาพ นิสยั ดี เปนคนดี อยา งตอ เนือ่ ง ซ่ือสัตย สุจรติ มีระเบยี บวินยั กลา ทีจ่ ะทาํ ประโยชนใ หก บั ประเทศ เปนคนดี มคี วามสามคั คี มีความอดทน เสยี สละเพื่อสว นรวม มรี ะเบยี บวนิ ัย เคารพขอบงั คบั

41 รชั กาลท่ี 6 รชั กาลที่ 9 รัชกาลท่ี 10 เปน คนเกง ไดรับการฝกอาชีพ มคี วามรู เม่ือจบการศึกษาแลวจะตองเขาสู การมีอาชพี ทมี่ ่ันคง (มุงเนนสาขาที่ตรงกับความตองการ ของประเทศ) คานยิ ม 12 ประการ ของ คสช. ใหนักเรยี นทอ งจาํ และนาํ ไปปฏบิ ตั ิ 1. ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ  2. ซ่อื สัตย เสียสละ อดทน 3. กตญั ูตอพอ แม ผปู กครอง ครูบาอาจารย 4. ใฝหาความรู หมัน่ ศกึ ษาเลา เรียน 5. รกั ษาวัฒนธรรมประเพณีไทย 6. มศี ลี ธรรม มนี ํ้าใจ และแบงปน 7. เขา ใจ เรยี นรูก ารเปนประชาธปิ ไตย อนั มพี ระมหากษัตริยทรงเปน ประมขุ 8. มรี ะเบยี บวนิ ยั เคารพกฎหมาย เคารพผใู หญ 9. มีสติรตู วั รคู ดิ รูทํา 10. รูจกั ใชห ลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง 11. มีความเขมแขง็ ทั้งและใจ ไมย อมแพตออํานาจฝายตา่ํ 12. คิดถงึ ประโยชนของสวนรวมมากกวา ผลประโยชนสวนตน กจิ กรรมทา ยเรื่องที่ 1 ประวัตกิ ารลกู เสือไทย (ใหผูเรียนไปทํากจิ กรรมทายเรอื่ งท่ี 1 ทส่ี มุดบนั ทกึ กจิ กรรมการเรียนรปู ระกอบชดุ วชิ า)

42 เรือ่ งที่ 2 ความรูท่วั ไปเก่ยี วกบั คณะลกู เสอื แหงชาติ 2.1 คณะลูกเสือแหง ชาติ คณะลูกเสือแหงชาติ ประกอบดวย บรรดาลูกเสือท้ังปวงและบุคลากรทางการ ลกู เสือ โดยมีพระมหากษตั ริยทรงเปนประมุขของคณะลกู เสอื แหงชาติ ลูกเสือ หมายความวา เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ท่ีสมัครเขาเปนลูกเสือ ท้ังในสถานศกึ ษาและนอกสถานศึกษา สวนลกู เสือทีเ่ ปนหญิง ใหเ รยี กวา “เนตรนารี” บรรดาลูกเสือทั้งปวง หมายถึง ลูกเสือในโรงเรียน ลูกเสือนอกโรงเรียน ลกู เสือหลกั สูตรพเิ ศษ ลกู เสอื ชาวบา น ลกู เสอื ในโรงเรยี น หมายถงึ เยาวชนท่ีสมคั รเขา เปนลกู เสือในกองลูกเสือโรงเรียน ไดแก ลูกเสอื สํารอง ลูกเสือสามญั ลกู เสอื สามญั รุนใหญ และลกู เสอื วสิ ามญั ลกู เสอื นอกโรงเรยี น หมายถึง เยาวชนทไี่ มไดส มคั รเขาเปนลกู เสอื ในกองลูกเสือ โรงเรียน แตส มัครใจเขารว มกิจกรรมกบั ลกู เสือในโรงเรียน และลกู เสือหลักสูตรพิเศษ ลูกเสอื หลักสตู รพเิ ศษ หมายถึง ลูกเสอื ทสี่ มัครเขารบั การอบรมในหลกั สตู รพเิ ศษ ตาง ๆ เชน ลูกเสือชอสะอาด ลูกเสือปาไม ลูกเสือจราจร ลูกเสือปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ลกู เสอื อาสา กกต. ลูกเสือไซเบอร ลกู เสอื อนุรกั ษท รพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอ ม ฯลฯ ลกู เสอื ชาวบาน หมายถึง กลมุ ชาวบานทีม่ ารวมกันเพ่อื ทําประโยชนใหแกสงั คม ผานกระบวนการลูกเสอื โดยท่ีมกี ารทํางานหรือการเขาคายตาง ๆ คลายกับลูกเสือในโรงเรียน ลูกเสือชาวบานเริ่มตนมาตั้งแตป พ.ศ. 2514 โดยตํารวจตระเวนชายแดน ไดฝกอบรมให ชาวบานรูจักดูแลความปลอดภัยในหมูบาน การปองกันตนเอง ตลอดจนการสอดแนมรักษา ความปลอดภัยตามแนวชายแดน บคุ ลากรทางการลกู เสือ หมายความวา ผบู งั คบั บญั ชาลูกเสือ ผูตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ อาสาสมคั รลูกเสอื และเจา หนา ท่ีลูกเสือ 2.2 การบริหารงานของคณะลูกเสอื แหง ชาติ ประกอบดวย 2.2.1 สภาลกู เสอื ไทย ประกอบดว ยคณะบุคคล ดังตอ ไปน้ี 1) นายกรฐั มนตรี เปน สภานายก 2) รองนายกรฐั มนตรี เปน อุปนายก 3) กรรมการโดยตาํ แหนง ไดแ ก รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ รฐั มนตรีวา การกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีวา การกระทรวงมหาดไทย ปลัดสาํ นกั นายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงศกึ ษาธิการ ปลดั กระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย ผูบัญชาการทหารสูงสุด ผูบัญชาการทหารบก ผูบัญชาการ ทหารเรือ ผูบัญชาการทหารอากาศ ผูบัญชาการตํารวจแหงชาติ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการสภากาชาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง

43 อธบิ ดีกรมสงเสริมการปกครองทองถนิ่ ผูวาราชการกรุงเทพมหานคร ผูวาราชการจังหวัด และ ผูอํานวยการศนู ยป ฏบิ ตั ิการลูกเสือชาวบาน 4) กรรมการผูทรงคุณวุฒิจํานวนไมเกินแปดสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย ทรงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ แตง ตง้ั ตามพระราชอัธยาศยั ใหเลขาธิการสํานักงานลูกเสือแหงชาติ เปนกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการและผชู วยเลขาธกิ ารสํานักงานลูกเสือแหงชาติ เปน ผชู ว ยเลขานุการ สภาลูกเสือไทย อาจมีสภานายกกิตติมศักด์ิ อุปนายกกิตติมศักดิ์ และ กรรมการกติ ติมศกั ดิ์ ซ่ึงจะไดทรงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ อีกคร้ัง 2.2.2 คณะกรรมการบริหารลูกเสือแหงชาติ เปนองคกรบริหารของคณะ ลกู เสอื แหง ชาติ ประกอบดว ยคณะบคุ คล ดงั ตอ ไปนี้ 1) รัฐมนตรวี าการกระทรวงศกึ ษาธิการ เปน ประธานกรรมการ 2) กรรมการโดยตําแหนง ไดแก ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ ปลดั กระทรวงมหาดไทย เปนรองประธาน เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการ อาชีวศกึ ษา เลขาธิการสภากาชาดไทย เลขาธิการสํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอธั ยาศยั ผูอ ํานวยการสํานักบริหารงานคณะกรรมการสงเสริมการศึกษาเอกชน และ ผอู ํานวยการศูนยป ฏบิ ตั กิ ารลูกเสือชาวบา น 3) กรรมการผูทรงคุณวุฒิจํานวนไมเกินสิบหาคน ซ่ึงสภานายกสภา ลูกเสือไทยแตงตั้งโดยคําแนะนําของกรรมการบริหารลูกเสือแหงชาติ ตาม 1 และ 2 ซ่ึงใน จาํ นวนนต้ี องมาจากภาคเอกชนไมน อ ยกวา ก่ึงหนึง่ ใหเ ลขาธิการสํานักงานลกู เสือแหงชาติ เปนกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการและผชู วยเลขาธกิ ารสํานักงานลกู เสือแหงชาติ เปนผชู ว ยเลขานุการ เลขาธกิ ารสาํ นักงานลูกเสือแหงชาติเปนผูรับผิดชอบการบริหารงาน ของสํานักงานลูกเสือแหงชาติ และเปนผูบังคับบัญชาพนักงานและลูกจางในสํานักงาน โดยรัฐมนตรวี าการกระทรวงศึกษาธกิ าร แตงตั้งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนหน่ึงทําหนาท่ี เลขาธิการสํานักงานลูกเสือแหงชาติ และแตงตั้งผูบริหารระดับสูงอื่นในกระทรวงศึกษาธิการ ทาํ หนาที่รองเลขาธกิ ารและผชู ว ยเลขาธกิ ารตามจํานวนทีเ่ หมาะสม 2.2.3 คณะกรรมการลูกเสือจังหวดั ประกอบดว ยคณะบุคคล ดังตอ ไปนี้ 1) ผูวา ราชการจังหวัด เปน ประธานกรรมการ 2) กรรมการโดยตําแหนง ไดแก รองผูวาราชการจังหวัด เปนรอง ประธานกรรมการ ปลัดจงั หวดั นายกเหลา กาชาดจงั หวัด ผูบ ังคบั การตํารวจภูธรจังหวัด นายก องคการบริหารสวนจังหวัด นายอําเภอ นายกเทศมนตรี นายกสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัด และผูอํานวยการสาํ นกั งานเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษา

44 3) กรรมการประเภทผูแทนจาํ นวนหา คน ไดแก ผแู ทนสถาบันอุดมศึกษา ผแู ทนสถานศกึ ษาอาชวี ศึกษา ผูแทนคายลูกเสือจังหวัด ผูแทนสมาคมหรือสโมสรลูกเสือ และ ผูแทนจากลูกเสอื ชาวบาน ซ่ึงเลือกกันเองกลุมละหนึ่งคน 4) กรรมการผทู รงคณุ วุฒิจํานวนไมเกินสิบคน ซึ่งประธานกรรมการ แตงตง้ั โดยคําแนะนาํ ของกรรมการลกู เสือจงั หวดั ตามขอ 2) และ 3) ในจํานวนนี้จะตองแตงตั้งจาก ภาคเอกชนไมน อ ยกวาก่ึงหนง่ึ ใหผูอํานวยการสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาเขต 1 เปนกรรมการและ เลขานกุ าร ใหผูอํานวยการศูนยการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด เปนกรรมการ และผูชว ยเลขานุการ 2.2.4 คณะกรรมการลูกเสอื เขตพืน้ ท่ีการศกึ ษา คณะกรรมการลูกเสือเขตพ้ืนท่ีการศึกษา ประกอบดวยคณะบุคคล ดงั ตอไปนี้ 1) ผูอํานวยการสํานกั งานเขตพน้ื ท่ีการศึกษา เปน ประธานกรรมการ 2) กรรมการโดยตําแหนง ไดแ ก ผูกํากบั การสถานีตํารวจภูธรของทุก อําเภอในเขตพ้ืนท่ีการศึกษา หรือผูกํากับการสถานีตํารวจนครบาลของทุกสถานีในเขตพ้ืนท่ี การศึกษาของกรุงเทพมหานคร 3) กรรมการประเภทผูแทน ไดแก ผูแทนองคกรปกครองสวน ทองถิ่น ผูแทนสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นท่ีการศึกษา ผูแทนสถานศึกษาเอกชน ผูแทน สถานศึกษาอาชีวศึกษา ผูแทนสถาบันอุดมศึกษา ผูแทนศูนยบริการการศึกษานอกโรงเรียน อําเภอ ผแู ทนคา ยลูกเสือ และผแู ทนสมาคมหรอื สโมสรลกู เสอื ซงึ่ เลอื กกนั เองกลุม ละหนง่ึ คน 4) กรรมการผูทรงคุณวุฒิจํานวนไมเกินเจ็ดคน ซ่ึงประธานกรรมการ แตงตั้งโดยคําแนะนําของกรรมการลูกเสือเขตพื้นท่ี ตามขอ 2) และ 3) ในจํานวนน้ีจะตอง แตงตัง้ จากภาคเอกชนไมนอ ยกวากึง่ หนง่ึ ใหร องผูอ ํานวยการสาํ นักงานเขตพื้นทก่ี ารศกึ ษาที่ไดรับมอบหมายเปน กรรมการและเลขานุการและใหผูอํานวยการสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาแตงตั้งขาราชการใน สาํ นกั งานเขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษาอีกไมเ กินสองคน เปนผูชวยเลขานุการ

45 แผนภูมแิ สดงตําแหนง คณะกรรมการลูกเสอื ตามพระราชบญั ญตั ลิ กู เสอื พ.ศ. 2551 คณะลูกเสอื แหงชาติ - พระมหากษตั รยิ ทรงเปนประมุข - ประกอบดวยบรรดาลูกเสือทัง้ ปวง และบุคลากรทางการลูกเสอื สภาลกู เสือไทย - นายกรฐั มนตรีเปน “สภานายก” และรองรัฐมนตรีเปน “อุปนายก” - มกี รรมการโดยตาํ แหนง และกรรมการผูทรงคุณวฒุ ิ จํานวนไมเกนิ 80 คน ซ่ึงพระมหากษัตริย ทรงโปรดเกลา ฯ แตง ตงั้ ตามพระราชอธั ยาศัย - หนาทส่ี ําคัญคอื “วางนโยบายเพื่อความมน่ั คงและความเจรญิ กา วหนาของ คณะลูกเสือแหง ชาติ” คณะกรรมการ - รฐั มนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ เปน ประธานกรรมการ บรหิ ารลกู เสือแหงชาติ - ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และปลัดกระทรวงมหาดไทย เปน รองประธาน กรรมการ คณะกรรมการลกู เสือจังหวดั - เลขาธิการสาํ นักงานลูกเสอื แหง ชาติ เปน กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการลูกเสอื - ผูวา ราชการจงั หวดั เปน ประธานกรรมการ เขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา - รองผูวา ราชการจังหวดั เปน รองประธานกรรมการ - ผูอํานวยการสาํ นกั งานเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษา เขต 1 เปน กรรมการและ เลขานกุ าร - ผูอํานวยการสาํ นักงานเขตพืน้ ทก่ี ารศึกษา เปน ประธานกรรมการ - รองผอู ํานวยการสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษา ทไ่ี ดรับมอบหมาย เปน กรรมการและเลขานุการ

46 2.3 การลูกเสอื ในสถานศกึ ษา การลูกเสอื ในสถานศกึ ษามีการจัดหนว ยลกู เสอื ดงั นี้ 1) กลมุ ลูกเสอื 2) กองลูกเสอื 3) หมลู ูกเสอื 1) กลุมลกู เสือ ประกอบดว ยลูกเสอื 4 ประเภท คือ กองลูกเสือสํารอง กองลูกเสอื สามัญ กองลูกเสือสามัญรุนใหญ และกองลูกเสือวิสามัญ ประเภทละ 1 กองเปนอยางนอย แตถา สถานศกึ ษาแหง ใดมลี ูกเสือเพียงประเภทเดียว การจัดกลุมลูกเสือตองมีกองลูกเสือประเภทน้ัน อยางนอย 4 กองข้นึ ไป หรือถามกี องลูกเสอื อยา งนอย 2 – 3 ประเภท การจัดกลุมลูกเสือตองมี ประเภทละ 2 กอง ข้ึนไป ผูรับผิดชอบกลุมลูกเสือ คือ ผูกํากับกลุมลูกเสือ และรองผูกํากับ กลมุ ลกู เสอื 2) กองลูกเสอื ผูรบั ผดิ ชอบกองลกู เสอื คอื ผูกาํ กบั กองลูกเสอื และรองผูกาํ กบั กองลกู เสือ 3) หมลู ูกเสือ ประกอบดวยลูกเสือ จํานวน 4 – 6 คน หรือ 6 – 8 คน (รวมทง้ั นายหมูและรองนายหมูลูกเสือ) ผูรับผิดชอบหมูลูกเสือ คือ นายหมูลูกเสือ และรองนายหมู ลกู เสอื การเรยี กช่อื หมูลกู เสือ กศน. ใหเ รียกเปนหมูเลข เชน หมู 1 กอง 1....หมู 2 กอง 1....หมู 3 กอง 1....หมู 4 กอง 1.... หมู 1 กอง 2....หมู 2 กอง 2....หมู 3 กอง 2....หมู 4 กอง 2.... หมู 1 กอง 3....หมู 2 กอง 3....หมู 3 กอง 3....หมู 4 กอง 3.... หมู 1 กอง 4....หมู 2 กอง 4....หมู 3 กอง 4....หมู 4 กอง 4....

47 แผนภูมแิ สดงการบรหิ ารงานกองลกู เสอื ภายในสถานศกึ ษา ผอู าํ นวยการลูกเสือโรงเรยี น รองผูอํานวยการลูกเสือโรงเรียน ผูกํากับกลุมลกู เสือ รองผกู ํากบั กลมุ ลูกเสือ ผกู าํ กับกองลูกเสือ ผูกํากับกองลูกเสอื ผูก าํ กับกองลูกเสอื กองที่ 1 กองที่ 2 กองท่ี 6 รองผูกํากบั กองลกู เสือ รองผกู ํากบั กองลูกเสือ รองผูก ํากบั กองลกู เสือ กองที่ 1 กองท่ี 2 กองท่ี 6 จํานวนหมูล ูกเสือ ในแตละกอง จาํ นวนหมลู ูกเสือ ในแตละกอง จํานวนหมูลูกเสือ ในแตละกอง มีจาํ นวน 2 – 6 หมู แตละหมูมี มจี ํานวน 2 – 6 หมู แตละหมูมี มีจาํ นวน 2 – 6 หมู แตละหมูมี นายหมูและรองนายหมู นายหมแู ละรองนายหมู นายหมแู ละรองนายหมู เปน ผูด ูแลหมูน้ัน ๆ เปนผูดแู ลหมูน ้ัน ๆ เปนผดู ูแลหมูน ั้น ๆ กจิ กรรมทายเร่อื งที่ 2 ความรทู ั่วไปเกีย่ วกับคณะลูกเสือแหงชาติ (ใหผ เู รยี นไปทํากิจกรรมทา ยเรื่องที่ 2 ทส่ี มดุ บันทกึ กิจกรรมการเรียนรปู ระกอบชดุ วชิ า)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook