Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การพูดต่อที่ประชุม

การพูดต่อที่ประชุม

Published by Narisara Thupkrachae, 2022-08-22 13:40:22

Description: การพูดต่อที่ประชุม (2)

Search

Read the Text Version

การพูดต่อที่ประชุม การพูด คือ กระบวนการในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ประสบการณ์ อารมณ์ ความ รู้สึก จากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง ซึ่งมนุษย์ฝึกหัดพูดเริ่มแรกกับบุคคลในครอบครัวและพัฒนาการพูด จากการเรียนรู้ตามสถานศึกษาต่างๆ การฝึกทักษะการพูดเป็นเรื่องสำคัญในวิชาภาษาไทยคู่ ไปกับการฝึกทักษะการเขียนและการอ่าน เนื่องจากการพูดมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ดังเช่นบทกลอนของสุนทรภู่ ที่กล่าวไว้ว่า \"เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ\" ใจความสำคัญของบทกลอนนี้ ชี้ให้เห็นความสำคัญของการพูด คือ ต้องคิดก่อนพูด ทุกครั้ง ถ้าพูดโดยไม่คิดอาจทำให้ได้รับความหายนะในชีวิตได้ การพูดต่อที่ประชุมชนเป็นการพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกและความต้องการต่อ หน้าผู้ฟังเป็นจำนวนมากในสถานที่ส่วนบุคคล หรือที่สาธารณะ เรื่องที่พูดไม่จำกัดเฉพาะ บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้แสดงความคิดเห็นเพิ่ม เติม ซักถามข้อข้องใจหรือตั้งข้อสังเกตอื่นๆ ได้เมื่อผู้พูดพูดจบแล้ว

ประเภทของการพูดต่อที่ประชุม การพูดต่อที่ประชุมชนจำแนกตามวิธีนำเสนอ ได้ ๔ ประเภท คือ ๑. การพูดโดยฉับพลัน เป็นการพูดที่มิได้ทราบล่วงหน้ามาก่อน ผู้พูดต้องมีปฏิภาณ ไหวพริบในการพูด ควบคุมสติให้ดี จัดลำดับความคิด และวิธีนำเสนออย่างรวดเร็ว เรื่องที่ พูดเป็นการกล่าวเนื่องในงานต่างๆ เช่น การอวยพรวันเกิด กล่าวคำไว้อาลัย กล่าวอวยพร และการชี้แจงให้เกิดความเข้าใจตรงกันต่อที่ประชุม ๒. การพูดโดยอาศัยต้นร่าง เป็นการพูดที่ผู้พูดทราบล่วงหน้ามาก่อน จึงมีโอกาสศึกษา ผู้ฟัง สภาพแวดล้อมเตรียมอุปกรณ์ เตรียมตัวอย่างสำหรับการนำมาอ้างอิงได้ นอกจากนี้ ยังมีเวลาในการฝึกซ้อมการพูดเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจ เมื่อถึงเวลาพูดจริงก็อาจดัดแปลง เนื้อหาถ้อยคำให้เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์และผู้ฟัง ๓. การพูดโดยการท่องจำ เป็นการพูดที่ผู้พูดต้องเขียนรายละเอียดเรื่องที่จะพูดทั้งหมด แล้วจดจำให้ขึ้นใจก่อนที่จะนำมาพูด เช่น คำบรรยายที่ครูสอนนักเรียนในชั้นเรียน หรือ การกล่าวรายงานวิชาต่างๆ ในชั้นเรียน ที่นักเรียนต้องเข้าใจอย่างละเอียดจะผิดพลาดมิได้ การพูดแบบนี้มีข้อจำกัด คือ น้ำเสียงและลีลาการพูดอาจดูไม่เป็นธรรมชาติ ๔. การพูดโดยอ่านจากร่าง เป็นการพูดที่ผู้พูดต้องเตรียมต้นฉบับที่จะนำเสนอให้ สมบูรณ์ ทำความเข้าใจเนื้อหา ฝึกซ้อมออกเสียงพูดให้เกิดความมั่นใจและน่าฟัง น้ำเสียง สุภาพ ไม่ต้องฝึกท่องจำ นอกจากฝึกอ่านให้ถูกต้อง รู้จักเน้นและทอดจังหวะ รวมถึงการใช้ อวัจนภาษา เช่น ท่าทาง การแต่งกาย การพูดนี้เป็นการพูดที่ได้รับเชิญให้พูด เช่น การเปิดประชุม การกล่าวปราศรัย

การพูดต่อที่ประชุมชนจำแนกตามจุดมุ่งหมายได้ ๔ ประเภท คือ ๑. การพูดเพื่อความรู้หรือข้อเท็จจริง ผู้พูดจะต้องเตรียมเนื้อหาและข้อเท็จจริงที่เป็น ประโยชน์ต่อผู้ฟังเป็นสำคัญ พูดเพื่อให้ความรู้ต่างๆ ใช้ในการพูดบรรยาย อธิบาย ชี้แจง หรือเสนอรายงานต่างๆ เป็นต้น ๒. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำ ใช้ในการพูดโฆษณาสินค้า พูดหาเสียง หรือชักจูงให้ทำ กิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน เช่น ทำความสะอาด บริจาคสิ่งของ ๓. การพูดเพื่อจรรโลงใจ เป็นการพูดเพื่อยกระดับจิตใจผู้ฟังให้มีคุณธรรมด้านต่างๆ รวมถึงการทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน จิตใจเบิกบาน ในการกล่าวคำปราศรัย การกล่าวคำสดุดี การเล่านิทาน ๔. การพูดเพื่อค้นหาคำตอบ เป็นการพูดแก้ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน สังคมปัจจุบันโดยการพูดให้ผู้ฟังได้เข้าใจปัญหาและร่วมกันคิดแก้ปัญหาต่อไป

การเตรียมตัวพูด ๑. การกำหนดจุดมุ่งหมาย ควรกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนต้อง เตรียมเนื้อหาที่จะพูด ให้ตรงตามจุดมุ่งหมาย ๒. การวิเคราะห์ผู้ฟัง ผู้พูดต้องคำนึงถึงค่านิยม ความรู้ เพศ และการศึกษาของผู้ฟัง ตลอดจนปัญหาทางสังคมที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นประโยชน์ในการพูด ๓. การกำหนดขอบเขตของเรื่อง ควรกำหนดเรื่องให้เหมาะสมกับผู้ฟัง จากนั้นกำหนด ขอบเขตของเรื่องให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา การกำหนดขอบเขตของเรื่องแบ่งเป็น ๓ ตอนคือ กล่าวนำ ดำเนินเรื่อง และสรุปเนื้อหาที่จะพูด โดยต้องเป็นการกล่าวถึงประเด็น สำคัญที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง ๔. การรวบรวมเนื้อหา ผู้พูดจะต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆเพื่อให้ผู้ฟังได้ รับประโยชน์มากที่สุด รวบรวมเนื้อหา โดย การสัมภาษณ์ สอบถาม ตลอดจนจินตนาการ ของผู้พูด หากต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ในการพูด ต้องจัดมาให้ครบถ้วนและเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ที่จะพูด

๕. การจัดลำดับเรื่อง ผู้พูดต้องจัดลำดับเนื้อเรื่องว่าจะพูดเรื่องใดก่อนหรือหลัง ประเด็นสำคัญก็จะเป็นหัวข้อใหญ่ ส่วนที่สำคัญน้อยก็จัดเป็นหัวข้อย่อย โดยจะช่วยให้ ไม่หลงลืมและเกิดความมั่นใจในการพูดยิ่งขึ้น ๖. การใช้ภาษาในการพูด ผู้พูดต้องระวังในการใช้ภาษาไม่ว่าจะเป็นวัจนภาษา และ อวัจนภาษา ให้ถูกต้องใช้ถ้อยคำที่กะทัดรัดตรงประเด็น เข้าใจง่าย สุภาพ และเหมาะสม กับผู้ฟัง ๗. การฝึกฝน สำคัญมากสำหรับผู้พูดครั้งแรกที่ต้องระงับอารมณ์ความตื่นเต้นเพื่อให้ เกิดความมั่นใจในการพูด การฝึกฝนเป็นการฝึกใช้อวัจนภาษาให้คล่องแคล่ว เช่นกิริยา มารยาทต่างๆ

การประเมินการพูดต่อที่ประชุม การพูดต่อที่ประชุมชนมีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในด้านการ ศึกษาเศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนการแก้ปัญหาสังคมต่างๆ ผู้พูดจำเป็นต้องฝึกพูดให้เกิด ทักษะจึงจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ เพื่อให้การพูดมีประสิทธิภาพจึงต้องมีการวิเคราะห์ พฤติกรรมการพูด ต่อไปนี้ ๑. วิเคราะห์ผู้พูด พิจารณาเรื่อง จุดมุ่งหมาย การเตรียมตัว การนำเสนอ คุณธรรม และภาษา ๒. วิเคราะห์เนื้อหา พิจารณาเรื่อง เนื้อหาสาระ และเรียงลำดับ ๓. วิเคราะห์ผู้ฟัง พิจารณาเรื่อง ความตั้งใจและปฏิกิริยาของผู้ฟัง ในการประเมินค่า ใช้วิธีประเมินตามหัวข้อย่อยที่ได้วิเคราะห์ไว้ เช่น การวิเคราะห์ผู้พูด จะต้องตรวจสอบว่ามีความมุ่งหมายอย่างไร เตรียมพร้อมในการพูดครั้งนี้หรือไม่ เนื้อหาที่ นำเสนอเหมาะสมกับเรื่องที่พูดหรือไม่ เหมาะสมกับผู้ฟังและโอกาสที่พูดอย่างไร มีจรรยาบรรณและคุณธรรมอันเป็นคุณสมบัติของผู้พูดที่ดีหรือไม่ สำหรับเรื่องเนื้อหา ต้องวิเคราะห์ว่าสารที่นำเสนอครั้งนี้มีคุณหรือโทษอย่างไร มีความ จริงใจและปรารถนาดีต่อสังคมอย่างไร การเรียงลำดับและสาระของเนื้อหาเหมาะสมหรือไม่ การประเมินผู้ฟังให้สังเกตพฤติกรรมการอสดงออกของผู้ฟังว่าจะสนใจในการฟังครั้งนี้ มากน้อยเพียงใด

เคล็ดลับของการพูดให้ ประสบความสำเร็จ การพูดที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยเรื่องสำคัญต่างๆ ดังนี้ ๑. มีคุณธรรม การมีคุณธรรมของการพูด คือ เรื่องที่พูดจะต้องเป็นความจริงปราศจาก อคติ ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย สามารถสร้างศรัทธาให้ผู้ฟังเชื่อถือได้ ๒. มีความรู้ที่ดี การพูดที่ดีผู้พูดจะต้องมีความรู้อย่างแท้จริงในเรื่องที่จะพูด จึงจะ สามารถพูดด้วยความมั่นใจ มีเหตุผล และมีหลักฐานอ้างอิงแระกอบการพูดเสมอ ๓. มีเหตุผล เพื่อช่วยให้การพูดมีน้ำหนัก โดนเฉพาะเรื่องที่ต้องอาศัยเหตุผลเป็น สำคัญ ๔. เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ โดยคำนึงถึงเรื่องวัย เพศ ความสนใจ และพื้นฐาน ความรู้เป็นสำคัญ ๕. ลำดับความคิดอย่างมีระบบ เรียงลำดับข้อความที่จะพูดให้เป็นระเบียบ กำหนด ใจความสำคัญ และพลข้อความให้สอดคล้องกัน คือ การกล่าวอารัมภบท การดำเนินเรื่อง และการกล่าวสรุป ควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังถามบ้าง แต่ไม่ควรเสียเวลาจนเกินความมุ่งหมาย ที่ได้กำหนดไว้ ๖. ใช้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ถ้อยคำสำนวนให้ถูกต้อง ชัดเจน ตรงประเด็น มี น้ำเสียงสุภาพ ใช้ภาษาภาพพจน์ให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการ เป็นต้น

จัดทำโดย นาย ศรัณยพงศ์ สมชอบ ม.5/1 เลขที่ 5 น.ส. นริศรา ธูปกระแจะ ม.5/1 เลขที่ 13 นาย ทิฆัมพร กันธิยะ ม.5/1 เลขที่ 18


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook