Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือลายผ้า (Final)

หนังสือลายผ้า (Final)

Description: หนังสือลายผ้า (Final)

Search

Read the Text Version

คำนำ ผา้ ไทยเป็นมรดกอันทรงคุณค่าทางภูมิปัญญาของคนไทย ซึ่งบรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ สั่งสม สืบทอด และพัฒนา สืบต่อกันมาจากรนุ่ สู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน แสดงถงึ ความเป็นตัวตนของชุมชนท้องถ่นิ ลวดลายต่างๆ บนผืนผ้าส่ือความหมาย ให้ทราบถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยด้านเคร่ืองนุ่งห่ม ซึ่งสามารถสะท้อนวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และ ภูมิปัญญาในแต่ละท้องถ่ินได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การแต่งกายด้วยผ้าไทย จึงถือเป็นอัตลักษณ์ไทยที่สร้างความภาคภูมิใจ ใหค้ นไทยมาชา้ นาน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ จังหวัดพังงา ขอสนองพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา ต่อยอดศิลปวัฒนธรรมการแต่งกาย เพ่ืออนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ และเพ่ือสร้างค่านิยม สืบสาน รักษามรดก และอัตลักษณ์ภูมิปัญญาไทย โดยรณรงค์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. มวลสมาชิกเหล่ากาชาด จังหวัดพังงา ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพังงา นักเรียน นักศึกษา และพ่ีน้องประชาชนในจงั หวัด ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่ม ในการใช้และสวมใส่ผ้าไทย เพ่ือให้เกิดกระแสความนิยมในการสวมใส่ผ้าไทยเพิ่มมากข้ึน ด้วยการนา ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ มาผลิตถักทอ เป็นงานหัตถศิลป์ หัตถกรรม นาไปสู่การสืบสานคุณค่าแห่งวิถีชีวิต สร้างงาน สรา้ งอาชพี สร้างรายได้ ส่ชู ุมชนทอ้ งถิ่น และพัฒนาคณุ ภาพชีวิตทดี่ ีข้ึน (นายจาเรญิ ทพิ ญพงศ์ธาดา) ผู้ว่าราชการจังหวัดพงั งา

คำนำ เนือ่ งในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจา้ สุทดิ า พชั รสุธาพมิ ลลักษณ พระบรมราชินี ๓ มิถนุ ายน ๒๕๖๕ พระผู้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เป็นที่ประจักษ์ทรงพระปรีชาสามารถเป็นเลิศ และทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งม่ัน ท่ีจะสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชกรณียกิจของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกติ ิ์ พระบรมราชนิ ีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเฉพาะอย่างย่ิงการทรงงานสืบสาน รกั ษา ต่อยอด ‘ผ้าไทย’ ในนามของประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพังงา พร้อมเป็นกาลังสนับสนุนการดาเนินงานอนุรักษ์ สืบสาน รักษามรดกและอัตลักษณ์ภูมิปัญญาไทยของจังหวัดพังงา ด้วยการประสานพลังความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสตรี เครือข่ายผู้ประกอบการด้านผ้า ภูมิปัญญาท้องถ่ิน และพลังมวลชนในจังหวัดพังงา เพ่ือสนองพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอดศิลปะวัฒนธรรมการแต่งกาย ด้วยการรณรงค์ ส่งเสริม เผยแพร่ การใช้และสวมใส่ผ้าไทยภายในจังหวัด ตลอดถึงการสนับสนุนให้กลุ่มผู้ประกอบการผ้าพื้นถิ่นในจังหวัดพังงา ได้สืบสาน พัฒนา และสร้างสรรค์ภูมิปัญญาอันล้าค่า ของบรรพบุรษุ ให้คงอยอู่ ย่างยงั่ ยนื เพ่ือการยกระดบั การพฒั นาคณุ ภาพชีวิตของประชาชนในจงั หวัดพงั งาสบื ไป (นางวภิ าดา ทพิ ญพงศ์ธาดา) ประธานแมบ่ า้ นมหาดไทยจังหวดั พังงา

สำรบญั หนำ้ คำนำ ๘ บทที่ ๑ จังหวัดพังงา ๙ ๑๐ ขอ้ มลู ทัว่ ไป ๑๒ ข้อมูลด้านการปกครอง ๑๘ ขอ้ มลู ด้านประวตั ิศาสตร์ และวฒั นธรรม ๒๐ สญั ลักษณ์ประจาจงั หวัดพังงา ๒๑ ขอ้ มูลด้านอาชีพ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ๒๑ ขอ้ มลู ดา้ นสถานที่ท่องเท่ยี ว ขอ้ มูลด้านประเพณีวัฒนธรรม ๒๒ ๒๔ บทท่ี ๒ วฒั นธรรมการแตง่ กายพน้ื ถ่ินพังงา ๒๖ บาบ๋า ผา้ บาตกิ หรอื ผา้ ปาเตะ๊

สำรบญั หนำ้ ๓๐ บทที่ ๓ ลายผ้าเอกลกั ษณ์ของจังหวดั พงั งา ๓๑ ประวตั ิความเปน็ มา ๓๔ แนวคดิ การคัดเลอื ก ๓๕ ความหมายของลาย ๓๘ ข้อมลู การขึ้นทะเบียน ๓๙ การเขยี นลายผ้าบาติก ๔๐ - ขน้ั ตอนการทาผา้ บาตกิ ลาย “จาปนู ภงู า” ๔๔ - รายละเอียดผ้าบาติกลาย “จาปนู ภูงา” ๔๖ ภำคผนวก คาส่ังแตง่ ตง้ั คณะกรรมการ คณะทางาน ๕๒ ประกาศจงั หวัดพังงาในสว่ นท่ีเกีย่ วขอ้ ง บรรณำนกุ รม

บทท่ี ๑ จงั หวดั พังงำ 8 ลายผา้ เอกลักษณป์ ระจาจงั หวดั พังงา : จาปนู ภงู า

“จังหวัดพังงำ” เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นท่ี ๔,๑๗๐.๘๙๕ ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดพังงาเป็นภูเขาสลับซับซ้อน อันเป็นส่วนปลายของทิวเขาตะนาวศรี ซึ่งต่อเนื่องมาจาก ภาคตะวันตกผ่านจังหวัดระนองและชุมพร สิ้นสุดเป็นแนวทิวเขายาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ในบริเวณจังหวัดพังงา หินส่วนใหญ่อยู่ในยุคแคมเบรียนอายุประมาณ ๕๗๐ ล้านปี เรียกว่า กลุ่มหินตะรุเตา ประกอบด้วย หินทราย และ หินดินดานปูนจานวนมาก มีหินแกรนิตรุ่นใหม่ยุคครีเทเชียส อายุประมาณ ๑๔๑ ล้านปี แทรกอยู่เป็นบางแห่ง ซึ่งเมื่อ ถูกกัดกร่อนทาให้เกิดชายฝั่งทะเลแคบอันเกิดจากการยุบตัว ลักษณะเว้าแหว่งมาก นอกชายฝ่ังออกไปพื้นน้าลาดลึกลง อย่างรวดเรว็ จังหวัดพังงา มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๒๓๙.๒๕ กิโลเมตร แต่ไม่เป็นบริเวณน้าต้ืนกว้างขวางเหมือนด้านอ่าวไทย บริเวณท่ีเป็นเขาหินแกรนิตจะมีสายแร่ดีบุกปะปนอยู่ และเม่ือถูกกัดกร่อนยุบตัวก็ทาให้เกิดหาดทรายที่ขาวสะอาด เนื่องจากส่วนใหญ่บริเวณอ่าวพังงาเดิมเป็นแนวทิวเขาหินดินดานปูน จึงทาให้เกิดการยุบตัว และน้าทะเลไหลเข้าท่วม บริเวณน้าตื้น ส่วนที่เป็นยอดเขาหินปูนกลายเป็นเกาะเว้าแหว่งที่มีรูปร่างแปลกตา กลายเป็นพื้นที่ทะเลน้าตื้นที่มี ความอุดมสมบูรณ์ เช่นเดียวกับบริเวณปากแม่น้าสายต่าง ๆ จะมีความกว้างมากกว่าปกติ เรียกว่า “ชะวากทะเล” เป็นบริเวณระบบนิเวศท่ีสร้างทรัพยากรทางทะเลท่ีอดุ มสมบูรณ์ เป็นทง้ั ป่าชายเลนขนาดใหญ่ และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้า มากมายหลากหลายสายพันธ์ุ พ้ืนท่ีประกอบด้วยเกาะประมาณ ๑๐๕ เกาะ และมีเกาะอยู่ในทะเลอันดามันจานวนมาก เช่น เกาะยาว หมู่เกาะสรุ นิ ทร์ และหม่เู กาะสมิ ิลัน ลายผ้าเอกลักษณป์ ระจาจังหวัดพังงา : จาปูนภงู า 9

นอกจากพื้นท่ีภูมิประเทศทางทะเลแล้ว ในส่วนพ้ืนดินของจังหวัดพังงา เป็นป่าไม้ประเภทไม้ผลัดใบ มีชนิดป่า ที่สาคัญ ได้แก่ ป่าดิบเขา ป่าดิบช้ืน และป่าชายเลน สาหรับบริเวณท่ีเป็นท่ีราบจะลาดลงจากทิศตะวันออกไปยัง ทิศตะวันตกลงสู่ทะเลอันดามัน ตามชายฝั่งทะเลจะมีป่าชายเลนเกือบตลอด มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมในเขตร้อน อุณหภูมิในแต่ละฤดูกาลจึงไม่แตกต่างกันมากนัก คืออยู่ระหว่าง ๒๙ - ๓๖ องศาเซลเซียส และปริมาณน้าฝนโดยเฉล่ีย ปีละประมาณ ๓,๖๑๔.๕ มลิ ลิเมตร “กำรปกครอง” แบ่งออกเปน็ ๘ อาเภอ ๔๘ ตาบล ๓๑๔ หมูบ่ ้าน ๑. อาเภอเมอื งพังงา ๒. อาเภอเกาะยาว ๓. อาเภอกะปง ๔. อาเภอตะก่ัวทุ่ง ๕. อาเภอตะก่วั ปา่ ๖. อาเภอครุ ะบุรี ๗. อาเภอทับปุด ๘. อาเภอท้ายเหมอื ง 10 ลายผ้าเอกลกั ษณ์ประจาจังหวัดพังงา : จาปูนภงู า

ลายผ้าเอกลักษณป์ ระจาจังหวดั พังงา : จาปนู ภูงา 11

“ประวัตศิ ำสตร์ และวัฒนธรรม” จดหมายเหตุปโตเลมี (Ptolemy) ซ่ึงเป็นนักปราชญ์ชาวเมืองอเล็กซานเดรียในพุทธศตวรรษที่ ๗ - ๘ ได้บันทึก บริเวณที่เรียกว่า คาบสมุทรทองคา (Aurea Chersonesus) ว่าเป็นอาณาจักรใหญ่อยู่ริมทะเล โดยมีเมืองท่ีสาคัญ คือเมือง “ตะโกละ” สอดคล้องกับในคัมภีร์มหานิทเทสและมิลินทปัญหา ปรากฏช่ือเมืองในภาษาบาลี ช่ือ “ตะโกละ” ซ่ึงแปลว่า “เมืองทา่ กระวาน” เป็นเมืองที่พ่อค้าอินเดียนิยมเดินทางมาค้าขาย รัฐนี้มีความยาวไปจนสุดคาบสมุทรมาเลย์ แล้วอ้อมข้ึนมาจนถึงเมืองบาลอนกา ทางทิศตะวันออก ซ่ึงอาจเป็นเมืองนังคูรในจารึกเขาพระนารายณ์ จารึกเป็นภาษาทมิฬ ท่ฐี านเทวรูป อายุราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๒ - ๑๔ ข้อความเรมิ่ ด้วยสร้อยพระนามเจา้ ผู้ครองนครของพวกฮนิ ดู ความว่า “... รวรมันเป็นผู้ให้ขุดสระชื่อ ศรี(อวนิ)รารณัม ใกล้เมือง นังคูร โดยให้สมาชิกแห่งมณิครามดูแลรักษาร่วมกับกองหน้าและ ชาวไรช่ าวนา” จารึกของพระเจ้าราเชนทรโจฬะท่ี ๑ ผู้ทรงยกทัพเรือมาตีอาณาจักรศรีวิชัยได้กล่าวถึงเมือง ตะกูร หรือ ตะไลตักโกลัม ในขณะที่จดหมายเหตุจีน หยู่หยางจ้าจื้อ พ.ศ. ๑๓๙๓ บันทึกว่ากระวานจาก “เต้อกุด” ส่งมาขายยังตลาดจีน ดังนั้น ชื่อ เต้อกุด ต้ากุด ตะกูร นังคูร ตะไลตักโกลัม ตะโกลา จึงเป็นช่ือเมืองท่าที่สาคัญที่รู้จักดีในหมู่พ่อค้านักเดินทาง อนั เป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางการค้าระหว่างอารยธรรมอินเดียกับอารยธรรมจีน มีความรุ่งเรอื งมากในช่วงระยะเวลาต้ังแต่ พุทธศตวรรษที่ ๗ จนถึง พุทธศตวรรษที่ ๑๔ และคือบริเวณอาเภอตะก่ัวป่าในปัจจุบันนั่นเอง เมืองตะก่ัวป่าเร่ิมหายไป จากหน้าประวัติศาสตร์เนื่องจากมีอาณาจักรและเมืองอื่นๆ ขึ้นมาบดบัง เช่น อาณาจักรลังกาสุกะ (ปัตตานี) หรือเมือง ตามพรลิงค์ (นครศรธี รรมราช) เป็นต้น 12 ลายผ้าเอกลกั ษณ์ประจาจงั หวดั พังงา : จาปนู ภงู า

จากพงศาวดารปรากฏว่าก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์น้ัน เมืองพังงาเป็นเมืองแขวงขึ้นกับเมืองตะกั่วป่าจนกระท่ัง ถงึ สมัยรัชกาลที่ ๑ แหง่ กรุงรตั นโกสินทร์ จงึ ไดย้ กฐานะขึน้ เป็นเมอื งเทียบเท่าเมืองตะก่ัวปา่ เมืองตะกั่วทุง่ และโอนเมอื ง จากฝ่ายกรมท่ามาขึ้นเป็นฝ่ายกลาโหมตั้งแต่นั้นมา จากประวัติศาสตร์ท่ีบันทึกไว้และสืบค้นได้แน่ชัด ปรากฏว่าเมืองพังงา ไดร้ ับการจัดต้ังเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ ๒ แหง่ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ซึ่งในปีน้ัน เจา้ ปะดุง กษตั ริย์พม่า ได้มอบหมายให้อะเติงหวุ่น เป็นแม่ทัพนากองทัพเรือของพม่าได้เข้าตีเมืองตะก่ัวป่า ตะก่ัวทุ่ง เมืองถลาง และได้กวาดต้อน ผู้คนไปรวมไว้ท่ีค่ายของตน และเผาเมืองถลางเสีย ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวร ยกทัพหลวงจากกรุงเทพฯ มาช่วย และ ได้มาทันขับไล่ทหารพม่าหลบหนี ระหว่างศึกได้มีราษฎรบางส่วนอพยพไปหลบภัยอยู่ท่ี “กราภงู า” (ภาษามลายู แปลว่า ป่าน้าภูงา) ที่มีภูเขาล้อมรอบ ครั้นเสร็จศึกแล้วกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงพระราชดาริว่า พม่าได้เผาเมืองถลาง ทาให้บ้านเมืองอ่อนแอลงยากท่ีจะสร้างขึ้นใหม่ จึงโปรดให้รวบรวมพลเมืองจากถลางข้ามฟากมาตั้งภูมิลาเนาอยู่ “กราภูงา” และจัดการปกครองเป็นเมืองข้ึนกับเมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏว่า มีหมู่บ้านช่ือ “ถลาง” ซึ่งเป็นผู้คนท่ีอพยพ จากอาเภอถลาง มาอยู่ในเขตท้องท่ีอาเภอตะกั่วทุ่ง ในปัจจุบัน ต่อมาสมัยรัชกาลท่ี ๓ ทรงพระราชดาริท่ีจะบูรณะ หัวเมืองชายฝ่ังตะวันตกที่ถูกพมา่ ตีใหเ้ ข้มแข็ง จงึ ได้แตง่ ตง้ั ข้าราชการมาเป็นเจา้ เมืองดงั กลา่ ว โดยใหข้ นึ้ ตรงต่อกรงุ เทพฯ ลายผ้าเอกลกั ษณ์ประจาจงั หวดั พงั งา : จาปูนภงู า 13

ศาลากลางจังหวัดพงั งา (หลังแรก) ตาบลทา้ ยช้าง อาเภอเมอื งพังงา จังหวัดพงั งา และได้ทรงแต่งตั้งให้ พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองพังงาคนแรก ในปี พ.ศ. ๒๓๘๓ รวมทั้งไดย้ ุบเมอื งตะก่ัวทุ่งเป็นอาเภอขึ้นกบั เมืองพังงา คร้ันถึงสมัยรชั กาล ที่ ๗ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่า ท่ีประชุมเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตจึงมีมติให้ยุบเมืองตะก่ัวป่า ให้ขึ้นกับจังหวัดพังงา ต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๗๔ เป็นต้นมา แรกเริ่มที่ต้ังเป็นเมืองนั้นท่ีทาการ ของรัฐบาลอยู่ท่ีบ้านชายค่าย ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๓ จึงได้มาสร้างศาลากลางจังหวัดข้ึน ท่ีบ้านท้ายช้าง เป็นอาคารชั้นเดียว ขนาดกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๖๐ เมตร หลังคาทรงป้ันหยา มุงกระเบื้องว่าวซีเมนต์ ก่ึงกลางอาคารด้านหน้าต่อเป็นหน้ามุขเปิดโล่ง ด้านบนมุขตกแต่งเป็น ทรงจั่วประดับลวดลายลูกกรง ตรงกลางทาเป็นเสาวงโค้งเพื่อประดิษฐานครุฑ มีระเบียงยาว ตลอดตัวอาคาร ผนังก่ออิฐถือปูน พื้นอาคารเป็นไม้ ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ เมืองพังงา และสานักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา ครั้น พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงไดส้ ร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้น บริเวณถ้าพุงช้างจนถึงปัจจุบัน (ศาลากลางจังหวัดพังงาหลังเก่า) และต่อมา พ.ศ. ๒๕๖๑ จังหวัดพังงา ได้ย้ายท่ีทาการไปยัง ศาลากลางจังหวัดพังงาหลังใหม่ ณ ศูนย์ราชการจังหวัดพังงา ถนนพังงา - ทับปดุ ตาบลถ้าน้าผุด อาเภอเมอื งพังงา ดังปจั จบุ ัน 14 ลายผา้ เอกลกั ษณ์ประจาจังหวดั พงั งา : จาปนู ภงู า

ลายผ้าเอกลักษณป์ ระจาจังหวดั พังงา : จาปนู ภูงา 15

ศาลากลางจงั หวัดพังงา (หลงั เกา่ ) ตาบลท้ายช้าง อาเภอเมืองพังงา จังหวดั พังงา 16 ลายผา้ เอกลักษณ์ประจาจังหวัดพังงา : จาปนู ภูงา

ศูนย์ราชการจงั หวดั พงั งา ถนนพงั งา – ทบั ปุด ตาบลถานาผุด อาเภอเมอื งพังงา จังหวดั พังงา ลายผ้าเอกลกั ษณป์ ระจาจังหวดั พังงา : จาปนู ภูงา 17

“สัญลักษณ์ประจำจังหวัดพงั งำ” ตน้ เทพทาโร ดอกจาปูน ตน้ ไมป้ ระจาจังหวดั พงั งา ดอกไม้ประจาจงั หวัดพงั งา 18 ลายผ้าเอกลักษณป์ ระจาจังหวดั พงั งา : จาปูนภงู า

“ภมู ิปญั ญำท้องถ่นิ ” แบง่ ออกเปน็ ๒ ประเภท คือ อาหารและหัตถกรรม อาหาร หัตกรรม ลายผา้ เอกลักษณป์ ระจาจงั หวดั พงั งา : จาปนู ภงู า 19

“อำชีพ เศรษฐกจิ และกำรท่องเท่ียว” พื้นฐานวิถชี ีวิตของคนจังหวดั พงั งาอาจแบง่ ได้เปน็ กล่มุ วฒั นธรรมย่อย ตามแนวทางอาชพี และถนิ่ ทอ่ี ยู่ ดงั ต่อไปน้ี ๑. กลุ่มนักธุรกจิ ด้ังเดิมต้ังแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเตบิ โตจาก การค้าขาย และรัฐไทยแต่งต้ังเป็นผู้ปกครองเมืองต่าง ๆ เพ่ือให้เป็นผู้จัดหา รายได้ในรูปแบบภาษีอากร และค่าสัมปทานต่าง ๆ โดยสัมพันธ์อย่างแนบแน่น ในลักษณะเครือญาติหรือหุ้นส่วนธุรกิจกับชาวจีนโพ้นทะเลในจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างย่งิ จังหวดั ภเู ก็ต สงขลา จนถึงกลุ่มชาวจีนในประเทศมาเลเซีย และสงิ คโปร์ ซึง่ ส่วนใหญเ่ ป็นชาวจนี ฮกเก้ียน จีนแคะ และกลมุ่ บาบ๋า ยา่ หยา ๒. กลุ่มข้าหลวงและข้าราชการที่ได้รับมอบหมายจากพ้ืนท่ีอ่ืนเพื่อ ดูแลปกครอง และบรหิ ารราชการแผ่นดิน ๓. กลุ่มชาวพ้ืนเมืองดั้งเดิม และชาวพื้นเมืองเช้ือสายมลายู มีลักษณะ บุกเบิกท่ีดินใหม่ ๆ เพื่อทาเหมืองแร่ ทานา ทาไร่ สวนยางพารา วัตถุดิบทาง การเกษตรและประมงพ้ืนบ้าน ซึ่งในปัจจุบันเป็นกลุ่มท่ีมีบทบาทต่อการพัฒนา ศักยภาพของแหล่งท่องเท่ียวใหม่ๆ ทั้งด้านพ้ืนท่ีท่องเที่ยวใหม่ วัตถุดิบและ อาหารพืน้ เมือง ประเพณวี ฒั นธรรม และสนิ คา้ ของทรี่ ะลกึ ต่าง ๆ 20 ลายผา้ เอกลกั ษณป์ ระจาจังหวดั พังงา : จาปูนภูงา

“สถำนท่ที ่องเท่ยี ว” “ประเพณีวฒั นธรรม” ลายผ้าเอกลกั ษณป์ ระจาจงั หวัดพังงา : จาปนู ภงู า 21

บทที่ ๒ วัฒนธรรมกำรแต่งกำยพื้นถ่นิ พงั งำ 22 ลายผา้ เอกลักษณ์ประจาจังหวัดพังงา : จาปนู ภงู า

การแต่งกายเป็นปัจจัยพ้ืนฐานที่จาเป็นอย่างย่ิง โดยเฉพาะชาวไทย ท้ังชายและหญิงเช้ือสายจีนท่ีเป็นลูกผสม ของมนุษย์ และเป็นส่วนหนึ่งของวฒั นธรรมท่ีเปลี่ยนแปลง ระหว่างชาวจีนฮกเก้ียนกับชนพ้ืนเมืองที่เรียกว่า “บาบ๋า” อยู่ตลอดเวลาตามสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ชาวบาบ๋า มีการต้ังถิ่นฐานกระจายอยู่ในภูมิภาคเอเชีย ของกลุ่มชาติพันธ์ุ ดังน้ัน วัฒนธรรมการแต่งกายจึงเป็น ตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ภาคใต้ฝ่ังตะวันตกของประเทศไทย เอกลักษณ์ที่บ่งบอกชาติพันธ์ุของมนุษย์ แสดงให้เห็นถึง มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ชาวบาบ๋ามีวัฒนธรรม ความแตกตา่ งและหลากหลายของแตล่ ะกลมุ่ ท่มี ีเอกลักษณ์โดดเดน่ ดงั จะเห็นได้จากภาษาพูด การแต่งกาย จังหวัดพังงา เป็นจงั หวัดที่ต้ังอยู่ในพ้ืนที่ภาคใต้ตอนบน อาหาร ท่ีอยู่อาศัย ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของประเทศไทย ทางด้านชายฝั่งทะเลอันดามันเป็นจังหวัดหน่ึง ในจังหวัดพังงามีชาวบาบ๋าอาศัยกระจายอยู่ในอาเภอต่าง ๆ ท่ีมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาในอดีตที่สาคัญ และมีความ ท่ีเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น อาเภอตะกั่วป่า อาเภอกะปง อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย โดยเฉพาะ อาเภอเมืองพังงา อาเภอตะกั่วทุ่ง อาเภอท้ายเหมือง เป็นต้น ป่าไม้ ป่าชายเลน และแร่ดีบุก ดังปรากฏหลักฐานว่า ซึ่งปรากฏให้เห็นจากวัฒนธรรมการแต่งกายและการสวมใส่ มีชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนทาเหมืองแร่ และสัมปทาน เคร่ืองประดับ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวบาบ๋า การเผาถ่านกันเป็นจานวนมาก โดยเฉพาะแรงงาน ท่ีเป็น อันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท่ีสะท้อนให้เห็นถึง ชาวจีนฮกเกี้ยน ด้วยเหตุนี้ จังหวัดพังงา จึงเป็นชุมชนท่ีมี ประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมืองพังงา ตั้งแต่ยุคเหมืองแร่ ความหลากหลายทางชาติพันธ์ุ กล่าวคือ เป็นท่ีรวมของ จนถึงปัจจบุ ัน ชาวไทยพ้ืนถิ่น ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน ลายผา้ เอกลักษณป์ ระจาจังหวดั พงั งา : จาปูนภูงา 23

“บำบ๋ำ” หมายถึง ชาวไทยท้ังชายและหญิงเช้ือสายจีน ฮกเก้ียนในจงั หวัดพงั งา ทีม่ ีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน ฮกเก้ียนท่ีมาแต่งงานกับคนในท้องถิ่น ชาวจีน ท่ีเข้ามาในจังหวัดพังงาส่วนใหญ่มาจากมณฑล ทางภาคใต้ในเขตมณฑลฮกเก้ียนและกวางตุ้ง โดยเฉพาะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงสมัยรัชกาล ที่ ๓ เป็นยุคท่ีชาวจีนเดินทางหลั่งไหลเข้ามาสู่ ราชอาณาจักรของไทยเป็นจานวนมาก และ ได้แยกย้ายกันไปอาศัยอยู่ตามพื้นท่ีต่างๆ ต่อมา จึงสร้างครอบครัวโดยการแต่งงานกับหญิงท้องถ่ิน และต้ังหลักแหล่งอาศัยอยู่เป็นการถาวร เมื่อ มีลูกหลานสืบแซ่สกุลมักเรียกกันว่า “บาบ๋า” ใช้เรียกท้ังชายและหญิง ทาให้มีชาวบาบ๋าเกิดขึ้น ในจงั หวดั พังงาตัง้ แต่นน้ั มาจนถงึ ปจั จุบัน 24 ลายผ้าเอกลกั ษณป์ ระจาจงั หวดั พงั งา : จาปนู ภูงา

วัฒนธรรมของชาวบาบ๋ามีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม เสื้อคอต้ังแขนจีบเป็นตัวใน ใส่ครุยยาวสวมทับ ประดับชุด อย่างลงตัว เกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ท่ียังคงเอกลักษณ์เดิม ด้วยโกรส้างซึ่งใช้กลัดแทนกระดุม เกล้ามวยทรงสูงที่เรียกว่า และกลายเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสืบทอด “ชักอีโบย” สวมใส่มงกุฎหรือดอกมะลิรัดมวย ผมปกั ป่ินทอง มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะวัฒนธรรมการแต่งกาย ใส่ต่างหู และกาไลข้อเท้า นอกจากน้ีมีร่องรอยหลักฐาน ของชาวบาบ๋าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในกลุ่มชนชั้นสูง และ ปรากฏว่า หญิงชาวบาบ๋านิยมแต่งกายโดยสวมใส่เส้ือเคบายา มฐี านะรา่ รวย โดยเสอื้ ผา้ เคร่อื งแตง่ กายจะมคี วามประณีต (ยาหยา) หรือเรียกเป็นภาษาจีนฮกเก้ียนว่า “ป่ัวตึ่งเต้” งดงาม โดยชายชาวบาบ๋าหากมีฐานะร่ารวยเป็นคหบดี มีลักษณะพิเศษ คือชายเส้ือด้านหน้าจะแหลมยาวกว่า เป็นท่ีนับหน้าถือตาในสังคม มักแต่งกายโดยใส่เสื้อคอจีน ด้านหลัง ไม่มีกระดุม สมัยน้ันมักสวมใส่เคบายาลันดา แขนยาว ตดิ กระดุมหว่ งทุกเม็ด และสวมกางเกงขายาว สีเส้ือ มีลักษณะเด่น คือ ชายเสื้อรอบตัวประดับด้วยลูกไม้เลี่ยนด๊า นิยมใส่เส้ือสีขาว สีดา สีน้าเงิน แต่หากเป็นชายชาวบาบ๋า (ลันดา) ท่ีนาเข้าจากฮอลันดา ซึ่งเป็นประเทศที่มีชื่อเสียง ซ่ึงเป็นชนช้ันแรงงาน หรือกรรมกร นิยมใส่เส้ือกุยเฮง ในด้านการผลิตลกู ไม้ทามอื ลายผ้าทีน่ ามาตอ่ อาจเป็นสพี ้ืน เป็นเส้ือแขนยาว คอกลม กระดุมห่วง และสวมกางเกงจีน หรือผ้าลายก็ได้ เน้ือผ้าเน้นความโปร่งบาง ลักษณะสาคัญ การแต่งกายจะแต่งให้เหมาะกับงานที่ทา สาหรับหญิงชาว คือ การนุ่งผ้าปาเต๊ะซ่ึงเป็นผ้าที่มีกลวิธีการแต้มจุดเป็น บาบ๋า หากมีฐานะร่ารวยเป็นภรรยาของคหบดี จะสวมใส่ ลวดลายอยา่ งมีศลิ ปะ โดยใช้พชื มาทาสีและข้ีผึ้ง ลายผา้ เอกลกั ษณ์ประจาจงั หวดั พงั งา : จาปูนภูงา 25

“ผ้ำบำติก” หรอื “ผำ้ ปำเตะ๊ ” หมายถึง ผ้าชนิดหน่ึงที่มีลวดลายและสีสันสวยงาม ไมต่ อ้ งการให้ติดสี ใชว้ ธิ กี ารแต้ม ระบายหรอื ยอ้ ม ตามจินตนาการของผู้ออกแบบในลักษณะต่างๆ ในส่วนท่ีต้องการให้ติดสี มีท้ังพิมพ์เทียน แต้มสี คาว่า บำติก (Batik) หรือ ปำเต๊ะ เดิมเป็นคา ระบายสี ย้อมสี ดังนั้น “ผ้าบาติก” จึงเป็นได้ทั้ง ในภาษาชวา ซ่ึงใช้เรียกผ้าท่ีมีลวดลายเป็นจุด งานหัตถกรรมอุตสาหกรรม และงานทางศิลปะ คาว่า \"ตกิ \" หมายถึง เล็กน้อย หรือจุดเลก็ ๆ ซ่งึ มี ประยุกต์ รวมอยู่ในตัวเดียวกัน การลงสี ย้อมสี ความหมายเดียวกับ “ตริติก” หรือ “ตาริติก” ในบางคร้ังอาจทาใหส้ ีซมึ เข้าไปในเนอ้ื ผา้ อีกสหี น่ึง ดังน้ัน คาว่า “บาติก” จงึ หมายถึง ผ้าท่ีมีลวดลาย หรืออาจซึมเข้าไปตามรอยแตกของเส้นเทียน เป็นจุด ๆ ด่าง ๆ ซ่ึงกรรมวิธีในการทาผ้าบาติกนั้น จึงทาให้ผ้าบาติกมีลักษณะปลีกย่อยแตกต่างกัน เป็นการนาผ้ามาประดิษฐ์โดยใช้เทียนปิดส่วนที่ แม้วา่ จะใช้แมพ่ ิมพ์ อันเดยี วกนั กต็ าม 26 ลายผ้าเอกลกั ษณ์ประจาจังหวัดพงั งา : จาปนู ภงู า

แหล่งกาเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังสรุปไม่ได้ และจากข้อมูลการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นกั วิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อวา่ มีในอินเดียก่อน นักประวัติศาสตร์ ชาวดัตช์ ได้สรุปเอาไว้ว่าการทา แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซีย บ้างเช่ือว่า โสร่งบาติก หรือ โสร่งปาเต๊ะ เป็นวัฒนธรรมด้ังเดิม มาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย แม้ว่าจะได้มกี ารค้นพบ ของเอเชียตะวนั ออกเฉียงใต้กอ่ นติดต่อกับอินเดีย ผ้าบาติกท่ีมีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ท้ังอียิปต์ จากการศึกษาของบุคคลต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า อินเดีย และญ่ีปุ่นแต่บางคนก็ยังเช่ือว่า ผ้าบาติก แม้ว่าจะค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่น ๆ เป็นของด้ังเดิมของอินโดนีเซีย และยนื ยันวา่ ศพั ท์ นอกจากอินโดนีเซีย แต่ลักษณะเฉพาะท้องถิ่น เฉพาะที่เรียกวิธีการและข้ันตอนในการทาผ้าบาติก วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกันตามวิธีการทาผ้า เป็นศัพทภ์ าษาอินโดนีเซีย สีท่ีใช้ย้อมก็มาจากพืช ของชาตติ ่าง ๆ ให้เกิดลวดลายสีสัน ผ้าบาติกของ ท่ีมีในอินโดนีเซีย แท่งขี้ผึ้งชนิดที่ใช้เขียนลาย อินโดนีเซีย คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอ่ืน ก็เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดีย เทคนิค ในทางกลับกันในระยะต่อมาการทาผ้าบาติกของ ท่ใี ชใ้ นอินโดนเี ซียสงู กวา่ ทีท่ ากันในอินเดยี อินโดนเี ซยี ไดร้ บั การเผยแพรไ่ ปยังชาตอิ น่ื ๆ ลายผา้ เอกลกั ษณป์ ระจาจงั หวดั พงั งา : จาปูนภูงา 27

ในประเทศไทย มีการทาผ้าบาติกเป็น “จาวอ” (Java) ซึ่งหมายถึง ผ้าชวาและเรียกชื่อ อุตสาหกรรมมานานแล้ว มีการผลิตในหลาย ตามลักษณะของผา้ เปน็ ภาษาพ้ืนเมืองชายแดนภาคใต้ จังหวัดทางภาคใต้ เช่น ยะลา ปัตตานี สงขลา ในปัจจุบันบาติกลายเขียนได้รับการพัฒนาและ นราธิวาส และภาคกลาง เช่น กรุงเทพมหานคร แพร่หลายมาก ทาให้สามารถผลิตผ้าได้หลาย นอกจากนย้ี ังมีการผลิตผา้ บาตกิ ตามสถานท่ีท่องเท่ยี ว รูปแบบกว่าเดิม และสามารถขายได้ราคาที่ดีกว่า ทม่ี ีชือ่ เสียง เชน่ ภูเกต็ เกาะสมยุ เชยี งใหม่ พทั ยา บาติกพิมพ์ ทาให้โรงงานอุตสาหกรรม ผ้าบาติก เป็นต้น แต่การแพร่หลายของผ้าบาติกเริ่มเข้ามา ในภาคใต้หันมาผลิตผ้าบาติกลายเขียน เกิดการ ทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับอิทธิพล แข่งขันในตลาดโดยแสดงลักษณะงาน รูปแบบ มาจากมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียเองก็ได้รับอิทธิพล และเอกลักษณ์ของตนเองจนผ้าบาติกบางช้ิน มาจากอินโดนีเซียอีกทอดหน่ึง คนไทยรู้จักผ้าบาติก กลายเป็นจิตรกรรมท่ีมีราคาสูงกว่าทั่วไปมาก ในลักษณะของ “ผ้าพัน” หรือ “ผ้าปาเต๊ะพัน” ผ้าที่นิยมทากันมาก ได้แก่ ผ้าโสร่ง ผ้าชิ้น และ โดยเรียกตามวิธีนุ่ง คอื พันรอบตวั คาว่า “โสร่ง” เคร่ืองนุ่งห่มต่างๆ เช่น เส้ือผ้าสาเร็จรูป เป็นต้น มาจากภาษาอินโดนเี ซียเช่นเดียวกัน หมายถงึ ผ้านุ่ง เทคนิคการทาผ้าบาติกในประเทศไทยได้มีการทา คนในท้องถิ่นภาคใต้ เรียกบาติกว่า “ผ้าปาเต๊ะ” ผ้าบาตกิ ๔ วธิ ี คือ หรือ “ผ้าบาเต๊ะ” ส่วนคนรุ่นเก่าเรียก “ผ้าปาเต๊ะ” ที่ไม่ไดผ้ ลิตในประเทศไทย วา่ “ผา้ ยาวอ” หรอื 28 ลายผ้าเอกลกั ษณ์ประจาจงั หวัดพังงา : จาปูนภูงา

๑. บาติกลายพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์โลหะ ไม้ และเชือก ๓. บาติกลายเขียน และระบายสี เป็นการเขียน และนาไปยอ้ ม ๓ - ๔ ครัง้ เทยี นบนผ้าแลว้ ระบายสที วั่ ทั้งผนื ๒. บาติกลายเขียนด้วยเทียนลงบนผ้านาไปย้อม ๔. บาติกกนั เทียน ลดั สี ของจงั หวดั ลาพูน อาจมีการปดิ ทียนเพอ่ื เก็บสี และยอ้ มอีก ๑ - ๒ คร้ัง ลายผ้าเอกลักษณ์ประจาจงั หวัดพงั งา : จาปนู ภูงา 29

บทท่ี ๓ ลำยผ้ำเอกลกั ษณ์ของจังหวดั พงั งำ 30 ลายผา้ เอกลกั ษณป์ ระจาจงั หวัดพังงา : จาปนู ภงู า

“ประวตั คิ วำมเป็นมำ” “ผ้า” เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ท่ีสาคัญของการดารงชีวิตของมนุษย์ นอกจากอาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ในสังคมเกษตร จะมีการทอผ้าเพ่ือใช้สอยภายในครอบครัว โดยการถ่ายทอดวิธีการทอผ้าให้แก่สมาชิกท่ีเป็นเพศหญิง ซึง่ นบั ว่าเป็นภมู ปิ ญั ญาท่ีสบื ทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม การทอผ้าของไทยมีมาแต่โบราณจากอดีตถึงปัจจุบัน มนุษย์ได้พัฒนาการทอผ้าทั้งรูปแบบ เทคนิคการย้อมสี และการออกแบบลวดลาย ดังปรากฏในจดหมายเหตุและพงศาวดารครั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ซ่ึงมกี ารทอผ้าตามกลุ่มชนต่างๆของไทย เช่น ขา่ โส้ กระเลิง สว่ ย ฯลฯ ผา้ ท่ีทอในบริเวณดินแดนภาคใต้ต้ังแต่จังหวัดชุมพรลงไปจรดเขตประเทศมาเลเซีย ภูมิประเทศ เป็นแผน่ ดินแคบ และคาบสมุทร ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกทอดยาวไปตามอ่าวไทย ได้แก่ บริเวณจังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จงั หวัดสงขลา จังหวัดปตั ตานี และจังหวัดนราธิวาส จากชายฝ่ังทะเลด้านตะวันออกข้ึนไปทางด้านทิศตะวันตกบนผืนแผ่นดิน มีเทือกเขาสาคัญท่ีเป็นสันของคาบสมุทร ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาท่ีต่อเช่ือมมาจากเทือกเขาหิมาลัย ทอดยาวลงไปจนถึงเขตจังหวัดกระบี่ ต่อลงไปเป็นเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาสันกาลาคีรี ทอดยาวลงไป จนสุดเขตประเทศไทย เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกาเนิดแม่น้าสาคัญๆ ของภาคใต้ท่ีไหลจากทิศตะวันตกผ่านท่ีราบ ไปสู่ทะเลด้านทิศตะวันออก ทาให้เกิดปากแม่น้าเป็นอ่าวสาหรับจอดเรือเพ่ือการคมนาคม และท่าเรือประมงได้เป็นอย่างดี เช่น อ่าวชมุ พร อ่าวบ้านดอน และอา่ วสงขลา ลายผ้าเอกลักษณ์ประจาจังหวัดพงั งา : จาปูนภงู า 31

นอกจากน้ี แม่น้าเหล่านี้ยังนาความชุ่มชื้นไปสู่บริเวณภาคใต้ ทาให้เกิดอาชีพเกษตรกรรมในท่ีราบผืนแผ่นดิน ทั้งยังนาโคลนตมไปทับถมกันในบริเวณปากแม่น้า ผสานเข้ากับทรายท่ีเกิดจากการพัดเข้าหาฝ่ังของคลื่นลมจ าก ทิศตะวันออก ทาให้เกิดสันทรายท่ีอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐาน จึงทาให้เกิดชุมชนตลอด แนวชายฝงั่ มาแต่โบราณ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของภาคใต้ดังกล่าว เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมทางหน่ึง อีกทางหน่ึงเกิดจากการติดต่อค้าขายกับชาติท่ีเจริญแล้ว เช่น จีน อินเดีย และอาหรับ จึงเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมจีนและอินเดียที่ผสมกับวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง วัฒนธรรมจีนผสมวัฒนธรรมของชนพ้ืนเมืองเชื้อสายมาเลย์ อย่างที่เรียกว่า วัฒนธรรมบาบ๋า เป็นต้น อีกทางหน่ึงเกิดขึ้นจากผลของการเคล่ือนย้ายแลกเปล่ียนประชากรและชุมชน ด้วยเหตุผลทางการเมือง ดังเช่น เม่ือ พ.ศ. ๒๓๖๔ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชไปกวาดต้อนครอบครัวเชลยชาวไทรบุรี มาไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นจานวนมาก ซึ่งมีช่างฝีมือหลายประเภทปะปนมาด้วย เช่น ช่างทอง ช่างเงิน ช่างเครื่องประดับ รวมท้ังช่างทอผ้าด้วย โดยให้ต้ังถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเมืองนครศรีธรรมราช ช่างเหล่านี้ได้ประกอบอาชีพของตน และ เผยแพร่วิชาช่างให้กับคนพ้ืนเมืองจนแพร่หลายสืบต่อมาจนทุกวันน้ี เช่น การทาเครื่องถม การทอผ้ายก เป็นต้น เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การทอผ้าที่เมืองนครศรีธรรมราชได้เร่ิมต้นมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี แล้วสืบต่อมาเร่ือย ๆ จากการทอผ้ายกสาหรับใช้ในหมู่เจ้าเมืองและกรมการเมืองชั้นสูง ก่อนแพร่หลายไปสู่ชาวเมือง และประชาชนท่ัวไป ทาให้เกิดการถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมเก่ียวกับผ้าทางภาคใต้ เช่น ผ้ายกเมืองนคร, ผ้าทอนาหม่ืนศรี, ผา้ พมุ เรียง, ผา้ จวนตาน,ี ผ้าปะลางิง และผ้าบาตกิ หรอื ปาเตะ๊ 32 ลายผ้าเอกลกั ษณ์ประจาจงั หวดั พงั งา : จาปูนภงู า

“ผ้าบาตกิ ” หรอื “ผ้าปาเต๊ะ” เป็นผ้าทม่ี ีลวดลายเปน็ จุด ๆ โดยวธิ ีการทาผา้ บาติกแบบดั้งเดิมนั้น ใชว้ ิธกี ารเขียน ด้วยเทียนเป็นหลัก ดังนั้น ผ้าบาติก จึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนท่ีไม่ต้องการให้ติดสี แม้ว่าวิธีการทาผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปไกลมากด้วยเทคโนโลยีและองค์ความรู้แล้วก็ตาม ทว่าลักษณะเฉพาะ ของผ้าบาติกท่ียังคงอยู่ก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี นับเป็นกรรมวิธีท่ีแสดงให้เห็นถึง ภูมิปัญญาของชาวบา้ นอยา่ งแท้จริง อกี ท้ังลายของผา้ บาตกิ โดยส่วนมากแล้วจะเปน็ ลวดลายและสีสนั ท่ีอิงจากธรรมชาติ และอัตลกั ษณว์ ัฒนธรรมรอบตวั ของแต่ละชมุ ชน ท่ีนาเสนอความเป็นภาคใต้ได้อย่างดี ความโดดเด่นของผ้าบาติกจึงอยู่ที่ การใช้สี และลวดลายท่ีคมชัดของภาพที่สามารถบอกอะไรได้หลายอย่าง ท้ังถิ่นท่ีมา วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ธรรมชาติ ไปจนถึงเอกลักษณ์ของแหล่งผลิต หรือกระท่ังความรู้สึกนึกคิดของคนในท้องถ่ินน้ันๆ จึงนับได้ว่าผ้าบาติกได้รวมอารยธรรม ของความเป็นภาคใต้เอาไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ จังหวัดพังงา ยังไมม่ ีลายผ้าประจาจังหวัด มีเพียงลายที่นิยมสวมใส่กันอย่างแพร่หลาย ซ่ึงได้รับการออกแบบสร้างสรรค์ มาจากวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม ทางสังคม วัฒนธรรม เช่น ลายดอกจาปูน, ลายเต่าทะเล, ลายพลับพลึงธาร, ลายปะการัง ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ จึงได้มีการค้นหาลายผ้าอัตลักษณ์ประจาจังหวัดพังงา นาไปสู่การประกวดคัดเลือกลายผ้า ประจาจังหวดั พังงา แลว้ นาไปเขยี น “ผ้าบาตกิ ” ซง่ึ เปน็ วฒั นธรรมการแต่งกายพืน้ ถน่ิ พงั งา ลายผ้าเอกลกั ษณป์ ระจาจงั หวดั พังงา : จาปูนภูงา 33

“แนวคิดกำรคัดเลือก” จังหวัดพังงา โดยสานักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา ได้ค้นหาอัตลักษณ์ความเป็นจังหวัดพังงา โดยการถอดรหัส 4 DNA ซึ่งคณะทางานค้นหาลายผ้าประจาจังหวัด มีมติเลือก คือ ดอกจาปูน และเขาตาปู เป็นอัตลักษณ์ประจาจังหวัดพังงา เพื่อนาไปสกู่ ารออกแบบลายผ้าต่อไป ภาพที่ ๑ : ดอกจาปนู ภาพท่ี ๒ : เขาตาปู 34 ลายผ้าเอกลกั ษณป์ ระจาจงั หวัดพงั งา : จาปนู ภงู า

“ควำมหมำยของลำย” เม่ือได้อัตลักษณ์ลายผ้าประจาจังหวัดพังงาเรียบร้อย แล้ว จังหวัดพังงา โดยสานักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา จึงได้จัดประกวดออกแบบลายผ้าประจาจังหวัดพังงา โดยสื่อถึงอัตลักษณ์ของ “ดอกจาปูน” และ “เขาตาปู” ภายใต้โครงการประกวดออกแบบลายผ้าประจาจังหวัด พังงา ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยพิจารณา คัดเลือกโดยคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกลายผ้า ประจาจังหวัดพังงา เป็นลาย “จาปูนภูงา” ออกแบบโดย นายภานวุ ฒั น์ เสง่ยี ม “จาปูนภูงา” เป็นการเชื่อมโยงแนวคิดจากความสมบูรณ์ของทุนทาง วัฒนธรรม วิถีชีวิต และความงดงามของธรรมชาติ ที่สร้างสรรคเ์ ปน็ ลายผ้า ลายผ้าเอกลักษณป์ ระจาจงั หวัดพังงา : จาปนู ภงู า 35

๑. ดอกจำปูน - เป็นดอกไม้ประจาจังหวัดพังงา ดอกมี ๒. เส้นคลื่น – สื่อถึงจังหวัดที่มีพื้นท่ีติดทะเลอันดามัน สีขาวเป็นมัน มี ๓ กลีบ และมีกล่ินหอมมาก ออกดอก มที รัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และการเคล่ือนไหว ทั้งปี ซ่ึงผู้ออกแบบได้นาดอกจาปูนมาจัดวางในลักษณะ การพฒั นาอยา่ งไม่สนิ้ สดุ หมุนรอบจุด สื่อถึงความรักและความสามัคคีของผู้คน ในจังหวัด กึ่งกลางใช้รูปทรงสี่เหลี่ยม ๙ ชิ้น จัดเรียงต่อกัน แทนสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ แทนความหวังแสงสว่าง และความเจรญิ รุง่ เรอื ง 36 ลายผา้ เอกลกั ษณ์ประจาจงั หวัดพังงา : จาปนู ภูงา

๓. เขำช้ำง - ภูเขาช้างเป็นสัญลักษณ์ของเมืองพังงา ๔. เขำตำปู - เป็นเขาหินปูนท่ีมีลักษณะเหมือนตาปู รปู ลกั ษณะคล้ายชา้ งหมอบ ตั้งอยู่กลางน้า เปรียบเป็นสัญลักษณ์หนึ่งเดียวในประเทศ การสอดแทรกลายขอเพ่ือส่ือความหมายถึงการส่งมอบ ความรักและความสุขของผคู้ น ลายผา้ เอกลกั ษณป์ ระจาจงั หวดั พงั งา : จาปูนภงู า 37

“ขอ้ มลู กำรขึน้ ทะเบยี น” ๑. ในคราวประชุมคณะทางานค้นหาลายผ้าประจาจังหวัด ๒. ในคราวประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกลายผ้า พังงา ประจาปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๕ เม่ือวันอังคารที่ ประจาจงั หวดั พงั งา เม่อื วันพฤหัสบดีท่ี ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕ ได้มีมติให้ลายผ้าประจาจังหวัดพังงา จากผลงานท่ีส่งเข้าประกวด จานวน ๑๓ ราย มีมติให้ลาย มีอัตลักษณ์เป็นลาย “ดอกจาปูน และ เขาตาปู” เพื่อใช้ “จาปูนภูงา” เป็นลายผ้าอัตลักษณ์ประจาจังหวัดพังงา เป็นข้อมูลประกอบการจัดทาหนังสือ “ภูษาศิลป์ จาก เพ่ือเฉลิมพระเกียรติและน้อมราลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ท้องถ่ินสู่สากล” เนื่องในโอกาสท่ีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อันหาท่สี ดุ มไิ ด้ ทท่ี รงมีพระวริ ยิ ะอตุ สาหะ ปฏิบตั ิพระราช- พระบรมราชนิ ีนาถ พระบรมราชชนนีพันปหี ลวง ทรงเจริญ กรณียกิจในการส่งเสริมเรื่อง “ผ้าไทย” และส่ิงทอท้องถ่ิน พระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ในวันท่ี ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ท่ีเกือบสูญหายไปให้กลับมาได้รับความนิยมอีกคร้ัง พร้อม ยกระดับผ้าไทยให้มีความโดดเด่นและมีช่ือเสียงในเวทีโลก เพ่ือสร้างอาชีพ สร้างรายได้ นาไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีย่ิงข้ึน โดยลาย “จาปูนภูงา” มีท่ีมาจากความสมบูรณ์ของทรัพยากรและความงดงามของ ธรรมชาตทิ ีส่ ร้างสรรค์ สู่การเป็น “พังงาเมอื งแหง่ ความสขุ ” 38 ลายผ้าเอกลกั ษณ์ประจาจังหวัดพงั งา : จาปูนภูงา

กำรเขยี นลำยผ้ำบำติก “จาปูนภูงา” ลายผ้าเอกลกั ษณป์ ระจาจงั หวัดพังงา : จาปูนภงู า 39

 ขั้นตอนกำรทำผำ้ บำติกลำย “จำปูนภูงำ” ขั้นตอนท่ี ๑ นาผ้าที่ทาความสะอาดแล้ว นามาขึงให้ตึง ขั้นตอนท่ี ๒ ใช้นา้ เทยี นท่ีต้ังไฟจนละลาย มาทาบนเฟรม กับกรอบไม้บาตกิ โดยวธิ กี ารขลบิ ผ้าแล้ว แล้วนาผ้ามาวางขึงบนเฟรมให้ตึงน้าเทียน เขยี นลาย เขยี นลวดลายหรือภาพที่ต้องการ จะเป็นตัวจับผ้ากับเฟรม ขูดผ้าบริเวณ ลงบนผ้าทเี่ ตรยี มไว้ ด้วยดินสอ ขอบเฟรมด้วยเหรียญ หรอื ด้ามช้อน เพ่ือ ใหผ้ ้าจบั กบั เฟรมแน่นขนึ้ 40 ลายผ้าเอกลกั ษณป์ ระจาจังหวดั พงั งา : จาปูนภงู า

ขนั้ ตอนท่ี ๓ จุ่มปากกาเขียนเทียน หรือ จันต้ิง (Canting) ในน้าเทียน ให้จันต้ิงร้อน เดินเทียนขณะที่เทียนอุ่นกาลังดี เขียนเส้นที่ต้องการ เส้นเทียนไม่ควรใหญ่เกิน ๒ - ๓ มม. ควรถือกระดาษทิชชูไว้รอง เพ่ือป้องกันการหยด ของน้าเทียนขณะเขียนลาย เพราะถ้าน้าเทียนหยดใส่ตรงจุดใดแล้วสีจะไม่ติด เวลาวาดเส้นเทียน ถา้ เส้นเทียนเร่ิมเล็กลง และเป็นสีขุ่นแสดงว่าเทียนเรม่ิ แข็งจะไม่ซึมเข้าเน้ือผ้า ให้รีบขูดออกแล้ววาดใหม่ ไมเ่ ชน่ น้ันเวลาลงสี สจี ะซึมออกนอกขอบเทยี น ลายผา้ เอกลกั ษณป์ ระจาจงั หวัดพงั งา : จาปนู ภงู า 41

ขน้ั ตอนท่ี ๔ ผสมสีตามอัตราสว่ นเขม้ มาก เข้มน้อย และสแี ต่ละแบบ ระบายสตี ามลาย ส่วนไหนจะให้สีกลมกลืนกันให้ ใช้ปลายนิ้วไล่สีไป – มาให้กลมกลืนกัน ก่อนระบายสีควรระบายน้าที่ผืนผ้าก่อน ถ้าผ้ามีน้าแฉะมากเกินไป ให้ซับด้วยกระดาษทิชชู เวลาจะระบายสี ให้ระบายจากส่วนริมก่อน หรือตามแนวลูกศรของลาย เพราะ บางลายตอ้ งการไลส่ ีจากเข้มไปหาอ่อน หรือส่วนขอบเข้าหาตรงกลางเสมอ (การระบายนา้ บนผา้ ก่อนเพ่ือ เวลาระบายสีจะได้ไม่เป็นคราบสีเข้มตรงขอบลาย) ระบายพน้ื เม่ือเสร็จเรยี บร้อยแล้ว ผึ่งให้สีแหง้ 42 ลายผ้าเอกลกั ษณป์ ระจาจังหวัดพงั งา : จาปูนภูงา

ขั้นตอนที่ ๕ ทาน้ายากันสีตก ทาโซเดยี มซิลเิ กตให้ท่ัว ขนั้ ตอนที่ ๖ ละลายเทียนออก นาผ้าท่ลี งโซเดียมซิลิเกต ลายท่ีลงสีไว้ (ถ้าโซเดียมซิลิเกตข้นเกินไป จนแห้งแล้วไปซักทาความสะอาดให้สีและ ให้ผสมน้าได้เล็กน้อย แล้วคนให้เข้ากัน) โซเดยี มซิลิเกตออก แล้วต้มให้เทียนออก ผึ่งให้โซเดียมซิลิเกตแห้งหรือประมาณ ซักกับผงซักฟอก แล้วซักในน้าเปล่าให้ ๔ – ๕ ช่วั โมง เวลาผง่ึ ผ้าเพ่ือรอให้สีหรือ สะอาด นาไปผึ่ง รีดใหเ้ รยี บรอ้ ย โซเดยี มซิลิเกตแห้ง ต้องผ่ึงผ้าให้ราบกบั พื้น อย่าตะแคงเพราะสีจะไหลซึมเข้าหากัน ลายผา้ เอกลกั ษณ์ประจาจงั หวดั พงั งา : จาปนู ภงู า 43

 รำยละเอียดผำ้ บำติกลำย “จำปูนภูงำ” ผ้อู อกแบบ : นายภาณุวฒั น์ เสงยี่ ม สาขาทัศนศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏภเู กต็ ชนิดของผ้ำ : ผ้าคอตตอนหรอื ผา้ ทีท่ าจากเส้นใยธรรมชาติ เทคนคิ กำรผลติ : การเขียนเทียนควรเขียนเทียนให้เส้นบรรจบปิดทุกลาย โดยไม่ให้มีช่องว่าง ระหว่างแต่ละลาย มิฉะน้ันเวลาลงสี สีจะซึมเลอะเข้าหากัน เทียนที่ได้ จากการผสมข้ีผ้ึง (Wax) และพาราฟิน (Paraffin) ไม่ควรเกิน ๑ : ๑๒ เพราะจะทาให้เทียนใสเกินไปไม่เกาะติดบนผ้า การใช้โซเดียมซิลิเกต เพื่อ ให้สผี นกึ เขา้ กบั ผ้าได้ 44 ลายผ้าเอกลักษณป์ ระจาจงั หวดั พังงา : จาปนู ภงู า

ลายผ้าเอกลกั ษณป์ ระจาจังหวดั พังงา : จาปนู ภูงา 45

ภำคผนวก 46 ลายผ้าเอกลักษณ์ประจาจังหวดั พงั งา : จาปนู ภูงา

คำส่ังจงั หวัดพังงำ ลงวนั ท่ี ๑๔ มกรำคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เร่อื ง แตง่ ตั้งคณะกรรมกำรค้นหำลำยผ้ำประจำจังหวดั พังงำ ลายผ้าเอกลกั ษณป์ ระจาจงั หวัดพงั งา : จาปนู ภงู า 47

ประกำศจงั หวดั พงั งำ ลงวนั ที่ ๗ กมุ ภำพนั ธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ เรื่อง ลวดลำยอัตลักษณจ์ ังหวดั พังงำ ลำย “ดอกจำปนู และเขำตำปู” 48 ลายผ้าเอกลกั ษณ์ประจาจังหวดั พงั งา : จาปูนภงู า

ประกำศจงั หวัดพังงำ ลงวันที่ ๑๖ มนี ำคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เรื่อง กำรประกวดออกแบบลำยผ้ำอัตลักษณ์ประจำจังหวัดพงั งำ “ดอกจำปนู และเขำตำปู” ลายผา้ เอกลักษณ์ประจาจงั หวดั พังงา : จาปูนภงู า 49

คำสั่งจงั หวดั พงั งำ ลงวนั ท่ี ๓ พฤษภำคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เร่อื ง แตง่ ต้ังคณะกรรมกำรพิจำรณำคัดเลอื กลำยผำ้ ประจำจังหวดั พังงำ 50 ลายผ้าเอกลกั ษณ์ประจาจังหวัดพงั งา : จาปูนภูงา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook