Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore AD140E26-D213-4B2D-B36C-503BE1C0AA8D

AD140E26-D213-4B2D-B36C-503BE1C0AA8D

Published by Guset User, 2022-06-27 13:04:31

Description: AD140E26-D213-4B2D-B36C-503BE1C0AA8D

Search

Read the Text Version

รายงาน สามัคคีเภทคําฉันท์ เสนอ คุณครูณัฐยา อาจมังกร รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ภาคเรียนที่๑ ปีการศึกษา๒๕๖๕ โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม

สามัคคีเภทคำฉันท์ คณะผู้จัดทำ นายไพรวัลย์ อิ้งทอง เลขที่๖ นายอานนท์ เเก่นสาร เลขที่๑๒ นายจตุพร พวงทอง เลขที่๑๔ นางสาวดารารัศมี สมเเก้ว เลขที่๑๘ นางสาวธนัชชา กำมะไชคำ เลขที่๑๘ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖.๕ เสนอ ครูณัฐยา อาจมังกร รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ภาคเรียนที่๑ ปีการศึกษา๒๕๖๕ โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม

ก คํานํา รายงานเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์นี้จัดขึ้นมาเพื่อรายงานผล การศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยรหัสวิชา ท๓๓๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่๖ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณคดีไทย เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ทั้งการพิจารณาเนื้อหากลวิธีการเเต่ง การใช้ภาษา ลักษณะคำประพันธ์การอธิบายคำศัพท์ตลอดจน ประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดี คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงาน เรื่องสามัคคีเภท คำฉันท์เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษา เรื่อง สามัคคีเภท คำฉันท์ ไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดคณะผู้จัดทำ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ

ข ก ข สารบัญ ๑ ๒ คํานํา ๓-๕ สารบัญ ๖-๗ ผู้แต่ง ๘-๑๑ ที่มาของเนื้อเรื่อง ๑๒-๔๔ ลักษณะคำประพันธ์ ๔๕-๔๙ ลักษณะบังคับ ๕๐-๕๑ เนื้อเรื่อง ๕๒ ถอดคำประพันธ์ อธิบายศัพท์ยาก คุณค่าของวรรณคดี บรรณานุกรม

๑ ผู้เเต่ง นายชิต บุรทัต กวีในรัชกาลที่ ๖ ในขณะที่ บรรพชาเป็นสามเณร อายุเพียง ๑๘ ปีได้เข้าร่วม แต่งฉันท์สมโภชพระมหาเศวตฉัตรในงานราชพิธี ฉัตรมงคล รัชกาลที่๖ เมื่ออายุ ๒๒ ปี ได้ส่งกาพย์ ปลุกใจลงใน หนังสือพิมพ์ สมุทรสาร นายชิต มีนามสกุล เดิมว่า ชวางกรู ได้ รับพระราชทานนามสกุล “บุรทัต”

๒ จุดประสงค์ในการแต่ง นายชิต บุรทัตอาศัยเค้าคําแปลของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ มาแต่งเป็นคําฉันท์ เพื่อแสดงความสามารถในเชิงกวี ให้เป็นที่ปรากฏ และเป็นพิทยาภรณ์ประดับบ้านเมือง ที่มาของเรื่อง ในสมัยรัชกาลที่๖ เกดิ วิกฤตการณ์ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่๑ เกิดกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ซึงส่งผลกระทบต่อควา มั่นคงของบ้านเมือง นายชิต บรุทัตจึงได้แต่งเรืองสามัคคีเภทคําฉันท์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เพื่อมุ่งชี้ความสําคัญของการรวมกันเป็นหมู่ คณะ เรืองสามัคคีเภท เป็นนิทานสุภาษิต ในมหาปรินิพพาน สูตร และอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ทีฆนิกายมหาวรรค ลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุของมหามกุฎราชวิทยาลัย โดยเรียบเรียงเป็นภาษาบาลี

๓ ลักษณะคำประพันธ์ แต่งเป็นบทร้อยกรอง โดยนําฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันอย่างเหมาะสม กับเนื้อหาแต่ละตอน ประกอบด้วยฉันท์ ๑๙ ชนิด กาพย์ ๑ ชนิด คือ กาพย์ฉบัง ๑. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ เป็น ฉันท์ที่มีลีลาการอ่านสง่างาม เคร่งขรึม มีอำนาจดุจเสือผยอง ใช้แต่งสําหรับบทไหว้ครู บท สดุดี ยอพระเกียรติ ๒. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ เป็นฉันท์ที่มีลีลาไพเราะ งดงาม เยือก เย็นดุจเม็ด ฝนใช้สําหรับบรรยายหรือพรรณนาชื่นชมสิ่งสวยงาม ๓. อุปชาติฉันท์ ๑๑ นิยมแต่งสําหรับบทเจรจาหรือบรรยาย ความเรียบ ๔. อีทิสังฉันท์ ๒๑ เปน ฉันท์ที่มีจังหวะกระแทกกระทันเกรียวกราด โกรธ แค้น และอารมณ์รุนแรง เช่น รักมาก โกรธมาก ตืนเต้น คึกคะนอง หรือ พรรณนาความสับสน ๕. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่มีลีลาสวยงามดุจสายฟ้าพระอินทร์ มีลีลาอ่อนหวาน ใช้บรรยายความหรือพรรณนา เพื่อโน้มน้าวใจให้อ่อนโยน เมตตาสงสาร เอ็นดู ให้อารมณ์ เหงาและเศร้า ๖.วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ หมายถึงระเบียบแห่งสายฟ้าเป็นฉันท์ที่ใช้ ในการ บรรยายความ

๔ ๗. อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ที่มีลีลาตอนท้ายไม่ราบเรียบ คล้ายกลบท สะบัดสะบิ้ง ใช้ในการบรรยายความหรือพรรณนาความ ๘. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ เปน ฉันท์ที่มีสำเนียงอันไพเราะสำเนียงเหมือนเสียงปี่ ๙. มาลินีฉันท์ ๑๕ เป็นฉันท์ที่ใช้ในการเเต่งกลบทหรือบรรยายความ เคร่งขรึมเป็นสง่า ๑๐. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ที่มีลีลางามสง่าดุจงูเลื้อย นิยมใช้แต่งบทที่ดำเนินเรืองอย่างรวดเร็วและคึกคัก ๑๑. มาณวกฉันท์ ๘ เป็นฉันทท์ที่มีลีลาผาดโผน สนุกสนาน ร่าเริง และตื่นเต้นดุจชายหนุ่ม ๑๒. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เปน ฉันท์ที่มีความไพเราะใช้ในการ บรรยายบทเรียบๆ ๑๓. สัทธราฉันท์ ๒๑ มีความหมายว่า ฉันท์ยังความเลื่อมใสให้ เกิดเเก่ผู้ฟัง จึงเหมาะเป็นฉันท์ใช้สําหรับแต่งคํานมัสการ อธิษฐาน ยอพระเกียรติ หรืออัญเชิญเทวดา ใช้แต่งบทสั้นๆ ๑๔. สาลินีฉันท์ ๑๑ เปน บทที่มีคำครุมาก ใช้บรรยายบทที่เป็นเนื้อหาสาระ เรียบๆ ๑๕. อุปฏฐติาฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่เหมาะสําหรับใช้บรรยายบทเรียบๆ แต่ไม่นิยมใช้เเต่งกัน

๕ ๑๖. โตฏกฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ที่มีลีลาสะบัดสะบิ้งเหมือนประตักแทงโค ใช้แต่งกับบทที่เเสดงความโกรธเคือง ร้อนรน หรือสนุกสนาน คึกคะนอง ตื่นเต้น และเร้าใจ ๑๗. กมลฉันท์ ๑๒ หมายถึงฉันท์ที่มีความไพเราะเหมือนดั่งดอกบัว ใช้กับบทที่มีความตืนเต้นเล็กน้อยและใช้บรรยายเรื่อง ๑๘. จิตรปทาฉันท์ ๘ เป็นฉันท์ที่เหมาะสําหรับบทที่น่ากลัว เกรี้ยวกราด ตื่นเต้นตกใจและกลัว ๑๙. สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘ มีลักษณะการแต่งคล้ายกาพย์ สุรางคนางค์ ๒๘ แต่ต่างกันที่มีข้อบังคับ ครุ ลหุ เพิ่มขึ้นมาทําให้เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น เหมาะสําหรับข้อความที่คึกคักสนุกสนาน โลดโผน ตื่นเต้น ๒๐. กาพย์ฉบัง ๑๖เป็นกาพย์ที่มีลีลาสง่างาม ใช้สําหรับ บรรยายความงามหรือดำเนินเรืองอย่างรวดเร็ว

๖ ลักษณะบังคับที่บังคับของฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์๑๑ จํานวน ๑ บท มี๒ บาท ๑ บาท มี๒ วรรค ได้แก่ • วรรคหน้าหรือวรรคต้นมี๕ คํา (พยางค์) • วรรคหลังหรือวรรคท้ายมี๖ คํา (พยางค์) อินทรวิเชียรฉันท์๑ บาท มีจํานวนคํา (พยางค์)๑๑ คํา (พยางค์) ดังนั้น จึงกำหนดเลข ๑๑ไว้ท้ายชื่อฉันท์ โดยยึดตาม บาทของฉันท์นี่เอง สัมผัสระหว่างบท ให้สังเกตสัมผัสบังคับ (สัมผัสนอก) และบังคับ ครุ-ลหุตามผังภาพคําครุสัญลกัษณ์แทนด้วย คําลหุสัญลักษณ์แทนด้วย แผนผังและฉันทลักษณ์

๗ ลักษณะบังคับที่บังคับของฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ จำนวน ๑ มี ๔ บาท ๑ บาท ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ ๑ บาท นับจำนวนคำได้ ๔ คำ พยางค์ดังนั้น จึงเขียนเลข ๘ หลังชื่อ วิชชุมมาลาฉันท์นี่เอง ทั้งบทมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๒ คำ สัมผัสระหว่างบท คำสุดท้ายของบท ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค วรรคที่๔ ในบทต่อไป คําครุ ลหุ วิชชุมมาลาฉันท์ ๑ บท มีคำครุทั้งหมด ๓๒ คำ ปราศจากการใช้คำ ลหุให้สังเกตสัมผัสบังคับ (สัมผัสนอก) และบังคับครู-ลหุ ตามผังภาพ เเผนผังเเละฉันทลักษณ์

๘ เนื้อเรื่องย่อสามัคคีเภทคําฉันท์ ในกาลโบราณมีกษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงครอบครองแควันมคธ มีราชอฎห์เป็นเมืองหลวง พระองค์ทรงมีอำมาตย์ที่ สนิทคนหนึ่งซื้อว่า วัสสการพราหมณ์เป็นผู้ฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์และเป็น ที่ปรึกษา ราชการทั่วไป พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระราชประสงค์จะปราบแคว้นวัชชี อัน มีพวกกษัตริย์ลิจฉวีปกครอง แต่พระองค์ยังลังเลพระทัย เมื่อได้ทรงทราบ ว่ากษัตริย์ลิจฉวีทุกๆ พระองค์ ล้วนแต่ทรงตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่เรียกว่า “อปริหานิยธรรม ๗”คือธรรอันเป็นไปเพื่อเหตุแห่งความเจริญฝ่ายเดียว มีทั้งหมด ๗ ประการดังนั้นพระองค์จึงปรึกษาโดยเฉพาะกับวัสสการพราหมณ์ ว่าควรจะกระทําอย่างไรจึงจะหาอุบายทําลายเหตุแห่งความพร้อมเพรียงของ พวกษัตริย์ลิจฉวีได้เมื่อได้ตกลงนัดแนะกับวัสสการพราหมณ์เป็นที่เรียบร้อย แล้ว วันหนึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จออกว่าราชการ จึงดํารัสเป็นเชิงหารือ กับพวกอํามาตย์ในเรื่องจะยกทัพไปรบกับแคว้นวัชชี

๙ มีวัสสการพราหมณ์เพียงผู้เดียวที่กราบทูลเป็นเชิงทักท้วง และขอให้พระองค์ทรงยับยั้งรอไว้ก่อนเพื่อเห็นแก่มิตรภาพและความสงบ ทั้งทํา นายว่าถ้ารบก็จะพ่ายแพ้ด้วยพระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงฟังวัสสการพราหมณ์ กราบทูลเป็นถ้อยคําหมิ่น พระบรมเดชานุภาพเช่นนั้นก็ทรงแสร้งแสดง พระอาการพิโรธและมีพระราชโองการสั่งเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ฝ่ายนครบาลพร้อมด้วย ราชบุรุษ ให้นําตัววัสสการพราหมณ์ไปลงโทษตามคําพิพากษาในบทพระอัยการ คือ เฆี่ยน โกนผมประจาน แล้วขับไล่ไปเสียไม่ให้อยู่ในพระราชอาณาเขต วัสสการพราหมณ์ยอมทนรับราชอาญาด้วยทุกขเวทนาแสนสาหัสถึงแก่สลบเมื่อ ถูกเนรเทศออกจากแคว้นมคธก็เดินทางมุ่งตรงไปเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองหลวง ของแคว้นวัชชีและเที่ยวผูกไมตีรกับบรรดาชาวเมือง จนข่าวนี้ทราบไปถึง กษัตริย์ลิจฉวีจึงได้ตีกลองสําคัญขึ้นเป็นสัญญาณ เชิญกษัตริย์ทั้งปวงมาชุมนุม ปรึกษาราชการเมื่อกษัตริย์ลิจฉวีประชุมกันแล้วก็ได้ตกลงกันว่าควรให้พราหมณ์ ผู้นั้นเข้ามาเพื่อจะได้เห็นท่าทางและฟังความดูก่อนว่าจริงเท็จอย่างไร

๑๐ อย่างไร ภายหลังที่วัสสการพราหมณ์ได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ลิจฉวีและกราบทูล ข้อความต่าง ๆ ด้วยความฉลาดลึกซึ้งประกอบกับมีรอยถูกโบยฟกช้ำให้เห็น กษัตริย์ลิจฉวีทุกพระองค์ต่างก็ทรงหมดความฉงนสนเท่ห์ว่าจะเป็นกลอุบายจึง ทรงตั้งให้เป็นครูสอนศิลปวิทยาแก่บรรดาราชกุมารและกระทําราชการ ในตําแหน่งอํามาตย์ผู้พิจารณาพิพากษาอรรถคดีอีกตําแหน่งหนึ่งด้วย

๑๑ ภชุงคประยาตฉันท์ ๑๒ บทประพันธ์ ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย เหมาะแก่การณ์จะเสกสรร ปวัตน์วัญจโนบาย มล้างเหตุพิเฉทสาย สมัครสนธิสโมสร ถอดความได้ว่า พราหมณ์ผู้ฉลาดคาดคะเนว่ากษัตริย์ลิจฉวีวางใจคลายความหวาดระแวง เป็นโอกาสเหมาะที่จะเริ่มดำเนินการตามกลอุบายทําลายความสามัคคี ณวันหนึ่งลุถึงกา ลศึกษาพิชากร กุมารลจิฉวีวร เสด็จพร้อประชุมกัน ตระบัดวัสสการมา สถานราชเรียนพลัน ธแกล้งเชิญกุมารฉัน สนิทหนึ่งพระองค์ไป ถอดความได้ว่า วันหนึ่งเมื่อถึงโอกาสที่จะสอนวิชากุมารลิจฉวีก็เสด็จมาโดยพร้อมเพรียงกัน ทันใดวัสสการพราหมณ์ก็มาถึงและแกล้งเชิญพระกุมารพระองค์ที่สนิทสนม เข้าไปพบ

๑๒ องหับรโหฐาน ก็ถามการณ์ ณ ทันใด มิลี้ลับอะไรใน กถาเช่นธปุจฉา จะถูกผิดกระไรอยู่ มนุษย์ผู้กระทํานา และคู่โคก็จูงมา ประเทียบไถมิใช่รือ ถอดความได้ว่า เมื่อเข้าไปในห้องส่วนตัวแล้วก็ทูลถามเรืองที่ไม่ใช่ความลับแต่ประการใดดัง เช่นถามว่าชาวนาจูงโคมาคู่หนึ่งเพื่อเทียมไถใช่หรือไม่ กุมารลิยฉวีขัตติย์ ก็รับอรรถอออือ กสิกเขากระทําคือ ประดุจคําพระอาจารย์ ก็เท่านั้นธเชิญให้ นิวัตในมิช้านาน ประสิทธิศิลป์ประศาสน์สา รสมัยเลิกลุเวลา ถอดความได้ว่า พระกุมารลิจฉวีก็รับสังเห็นด้วยว่าชาวนาก็คงจะกระทําดังคําของพระอาจารย์ ถามเพียงเท่านั้นพราหมณ์ก็เชิญให้เสด็จกลับออกไปครั้นถึงเวลาเลิกเรียน

๑๓ อุรสลิจฉวีสรร พชวนกันเสด็จมา และต่างซักกุมารรา ชองค์นั้นจะเอาความ พระอาจารย์สิเรียกไป ณข้างในธไต่ถาม อะไรเธอเสนอตาม วจีสัตย์กะสำเรา ถอดความได้ว่า เหล่าโอรสลิยฉวีก็พากันมาซักไซร้พระกุมารว่าพระอาจารย์เรียกเข้าไปข้างใน ได้ไต่ถามอะไรบ้างขอให้บอกมาตามความจริง กุมารนั้นสนองสา รวากย์วาทตามเลา เฉลยพจน์กะครูเสา วภาพโดยคดีมา กุมารอื่นก็สงสัย มิเชื่อในพระวาจา สหายราชธพรรณนา และต่างองค์ก็พาที ถอดความได้ว่า พระกุมารพระองค์นันก็เล่าเรืองราวที่พระอาจารย์เรียกไปถามแต่เหล่ากุมาร สงสัยไม่เชื่อคําพูดของพระสหาย ต่างองค์ก็วิจารณ์

๑๔ ฉนเลยพระครูเรา จะพูดเปล่าประโยชน์มี เลอะเหลวนักละล้วนนี รผลเห็นบเป็นไป เถอะถึงถ้าจะจริงแม้ ธพูดแท้ก็ทําไม แนะชวนเข้าณข้างใน จะถามนอกบยากเย็น ถอดความได้ว่า วิจารณ์ว่าพระอาจารย์จะพูดเรืองเหลวไหลไร้สาระเช่นนี้เป็นไปไม่ได้และ หากว่าจะพูดจริงเหตุใดจะต้องเรียกเข้าไปถามข้างในห้องถามข้างนอก ห้องก็ได้ ชะรอยว่าทิชาจารย์ ธคิดอ่านกะท่านเป็น รหัสเหตุประเภทเห็น ละแน่ชัดถนัดความ และท่านมามสุาวาท มิกล้าอาจจะบอกตา พจีจริงพยายาม ไถลแสร้งแถลงสาร ถอดความได้ว่าสงสัยว่าท่านอาจารย์กับพระกุมารต้องมีความลับอย่าง แน่นอนแล้วก็มาพูดโกหกไมกล้าบอกตามความเป็นจริงแกล้งพูดไป ต่างๆนานา

๑๕ กุมารราชมิตรผอง ก็สอดคล้องเเละเเคลงดาล พิโรธกาจวิวาทการณ์ อุบัติขึ้นเพราะขุ่นเคือง ประดามีนิรันดร์เนือง พิพิธพันธไมตรี มลายปลาตพินาสปรง กะองค์นั้นพลันเปลือง ถอดคำประพันธ์ได้ว่า กุมารลิจฉวีทั้งหลายเห็นสอดคล้องกันก็เกิดความโกรธเคือง การทะเลาะวิวาทก็เกิดขึ้นเพราะความขุ่นเคืองใจ ความสัมพันธ์อันดีที่เคย มีมาตลอดก็ถูกทําลายย่อยยับลง มาณวกฉันท์ ๘ บทประพันธ์ ล่วงลุประมาณ กาลอนุกรม หนึ่งณนิยม ท่านทวิชงค์ เมื่อจะประสิทธิ์ วิทยะยง เชิญวรองค์ เอกกุมาร ถอดความได้ว่าเวลาผ่านไปตามลำดับ เมื่อถึงคราวที่จะสอนวิชาก็จะ เชิญพระกุมารพระองค์หนึ่ง

๑๖ เธอจรตาม พราหมณไป โตยเฉพาะใน ห้องรหฐาน จึ่งพฤฒิถาม ความพิศดา ขอธประทาน โทษะเเละไข ถอดความได้ว่า พระกุมารก็ตามพราหมณ์เข้าไปในห้องเฉพาะพราหมณ์จึงถามเนื้อ ความแปลกๆว่าขออภัย ช่วยตอบด้วย อย่าติเเละหลู่ ครูเฉลย เธแน่ะเสวย ภัตกะอะไร ในทินนี่ ดีๆไฉน พอหฤทัย ยิ่งละกระมัง ถอดความได้ว่า อย่าหาว่าตำหนิหรือหลบหลู่ ครูขอถามว่าวันนี้พระกุมารเสวย พระกระยาหารอะไร รสชาติดีหรือไม่ พอพระทัยมากหรือไม่

๑๗ ราชธก็เล่า เค้าณประโยค ตนบริโภค เเล้วขณะหลัง วาทะประเทีอง เรื่องสิประทัง อาคมยัง สิกขสภา ถอดความได้ว่า พระกุมารก็เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระกระยาหาร ที่เสวย หลังจากนั้น ก็สนทนาเรื่องทั่วไป เเล้วก็เสด็จกลับออกมายังห้องเรียน เสร็จอนุศาสน์ ราชอุรส ลิจฉวิหมด ต่างธก็มา ถามนยมาน ท่านพฤฒิอา จารยปรา รภกระไร ถอดความได้ว่า แล้วก็เสด็จกลับออกมายังห้องเรียนเมื่อเสร็จสินการสอน ราชกุมารลิจฉวีทั้งหมดก็มาถามเรื่องราวที่มีมาว่าท่านอาจารย์ได้พูด เรื่องอะไรบ้าง

๑๘ เธอก็เเถลง เเจ้งระบุมวล ความเฉพาะล้วน จริงหฤทัย ต่างบมิเชื่อ เมื่อตรีไฉน จึ่งผลใน เหตุบมิสม ถอดความได้ว่า พระกมุารก็ตอบตามความจริง แต่เหล่ากุมารต่างไม่เชื่อเพราะคิดแล้วไม่ สมเหตุสมผล ขุ่นมนเคือง เรื่องนฤสาร เช่นกะกุมาร ก่อนก็ระ เลิกสละแยก เเตกคณะกล เกลียวนิยม คบดุจเดิม ถอดความได้ว่า ต่างขุ่นเคืองใจด้วยเรื่องไร้สาระเช่นเดียวกับพระกุมารพระองค์ก่อนเเละ เกิดเเตกเเยกไม่คบกันอย่างกลมเกลียวเหมือนเดิม

๑๙ อุเป็นทีวิเชียรฉันท์ ๑๑ บทประพันธ์ ทิชงค์เจาะจงเจตน์ กลห์เกตุยุยงเสริม กระหน่ำเเละซ้ำเติม นฤพัทธก่อการณ์ ละครั้งระหว่างครา ทินวารนานนาน เหมาะท่าทิชาจารย์ ธก็เชิญเสด็จไป ถอดความได้ว่า พราหมณ์เจตนาหาเหตุยุเเหย่ซ้ำเติมอยู่เสมอๆ เเต่ละครั้ง เเต่ละวัน เห็นโอกาสเหมาะก็จะเชิญพระกุมารเสด็จไป บห่อนจะมีสา รฤหาประโยชน์ไร กระนั้นเสมอนัย เสาะเเสดงธเเสร้งถาม เเละบ้างก็พูดว่า น่ะเเน่ะข้าสดับตาม ยุบลระบิลความ พลเเจ้งกระจายมา ถอดความได้ว่า ไม่มีสารประโยชน์อันใด เเล้วก็เเกล้งทูลถาม บางครั้งก็พูดว่า นี่เเน่ะข้า พระองค์ได้ยินข่าวเล่าลือกันทั่วไป

๒ ๐ ละเมิดติเตียนท่าน ก็เพราะท่านสีแสนสา รพัดทลิทภา วและสุดจะขัดสน จะแน่มิแน่เหลือ พิเคราะห์เชื้อเพราะยากยล ณที่บมีคน ธก็ควรขยายความ ถอดความได้ว่า จะเป็นเช่นนั้นหรือ พิเคราะห์แล้วไม่น่าเชื่อ ณ ทันไม่มีผู้ใด เขานินทาพระกุมารว่าพระองค์แสนจะยากจนและขัดสน ขอให้ทรงเล่ามาเถิด และบ้างก็กล่าวว่า น่ะแน่ะข้าจะขอถาม เพราะทราบคดีตาม วจล่อระบือมา ตีฉินเยาะหมิ่นท่าน ก็เพราะท่านสีแสนสุา รพันพิกลกา ยพี่ลึกประหลาดเป็น ถอดความได้ว่า บางครั้งก็พูดว่าข้าพระองค์ขอทูลถามพระกุมาร เพราะได้ยืนเขาล้ำลือกันทั่วไปเยาะเย้ยหมื่นท่าน ว่าท่านนี้มีร่างกายผิดประหลาดต่าง ๆ นานาจะเป็นจริงหรือไม่

๒๑ จะจริงมิจริงเหลือ มนเชื่อเพราะไปเห็น ผิข้อ บ ลำเค็ญ ธ ก็ควรขยายความ กุมารองค์เสา วนเค้าคดีตาม กระทู้พระครูถาม นยสุดจะสงสัย ถอดความได้ว่า ใจไม่อยากเชื่อเลยเพราะไม่เห็น ถ้าหากมีสิ่งใดที่ลำบากยาก แค้นก็ตรัสมาเถิด พระกุมารได้ทรงฟังเรื่องที่พระอาจารย์ถามก็ ตรัสถามกลับว่า สงสัยเหลือเกิน ก็คำมิควรการณ์ ธ ซักเสาะสิบใคร ดูรูท่านจะถามไย รับแจ้งกะอาจารย์ ทวิชแถลงว่า พระกุมารโน้นบาน ยุบลกะตูกาล เฉพาะอยู่กะกันสอง ถอดความได้ว่า เรื่องไม่สมควรเช่นนี้ท่านอาจารย์จะถามทำไม แล้วก็ซักไช้ว่า ใครเป็นผู้มาบอกกับอาจารย์ พราหมณ์ก็ต่อบว่าพระกุมาร พระองค์ตรัสบอกเมื่ออยู่กันเพียงสองต่อสองกุมารองค์เสา

๒๒ กุมารพระองค์นั้น ธมิทันจะไตร่ตรอง ก็เชื้อณคำของ พฤฒิครูและวู่วาม พิโรษภูมารองค์ เหมาะเจาะจงพยายาม บมีดีประเดตน ยุครูเพราะเอาความ ถอดความได้ว่า กุมารพระองคนี้ไม่ทันได้ไตร่ตรองเบื่อในคำพูดของ อาจารย์ ด้วยความวู่วามก็กริ้วพระกมารที่ยุพระอาจารย์ใส ความตน ก็พ้อและต่อพิษ ทุรทิฐิมานจน ชีพิพาทเสมอมา ลุโทสะสืบสน และฝ่ายกูมารผู้ ทิชครูมิเรียกหา ก็แหนงประด้ารา ชกุมารทิซงค์เชิญ ถอดความได้ว่า จึงตัดพ้อต่อว่ากันขึ้นเกิดความิโกรธเคืองทะเลายวิวาทุกันอยู่ เสมอฝ่ายพระกมารที่พราหมณ์ไม่เคยเรียกเข้าไปหาก็ไม่พอ พระทัยพระภูมารที่พราหมณ์ชิญไปพบ

๒๓ พระราชบุตรลิจ ฉวิมิตรจิตเมิน ณกันและกันเห็น คณะห่างก็ต่างถือ ทะนงชนกตน พลลั่นเถลิงลือ ก็หาญกระเหิมฮือ มนอีกบนึกขาม ถอดความได้ว่า พระกมารลิจฉวีหมางใจและเหินห่างกัน ต่างองค์ทะนงว่าพระบิดาของตน มีอำนาจล้นเหลือ จึงมีใจกำเริบไม่เกรงกลัวกัน

๒๔ ถอดคำประพันธ์ ตอน กษัตริย์ลิจฉวีเเตกสามัคคีวัสสกา พราหมณ์ลอบส่งข่าวทูลพระเจ้า อชาตศัตรู บทประพันธ์ สัทธรา ฉันท์21 ลำดับนั้นวัสสการพรามหณ์ ธก็ยุศิษยตาม เเต่งอุบายงามฉงนงำ ปวงโอรสลิจฉวี ริณวิรุธก็สำ คัญประดุจคำธเสกสรร ไป่เหลือเลยสักพระองค์อัน มิละปิยะสหฉันท์ ขาดสมัครพันธ์ก็อาดูร ต่างองค์นำความมิงามทูล พระชลกอดิศูร เเห่งธโดยมูลปวัตติความ เเตกร้าวก้าวร้ายก็ป้ายปาม ลุวรบิดรราม ทีละน้อยตามมณเหตุผม ฟั่ นเฝือเชื่อนัยตน นะวิเคราะหเสาะสน สืบจะหมองมลเพราะหมายใด เเท้ท่านวัสสการใน กษณะตริเหมาะไฉน เสริมเสมอไปสะดวกดาย หลายอย่างต่างกลธขวนขวาย พจนยุปริยาย วัญจโนบายบเว้นครา ครั้นส่วงสามปีประมาณมา สหกรณประดา ลิจฉวีราชทั้งหลาย สามัคคีธรรมทำลาย มิตรภิทนะกระจาย สรรพเสื่อมหายนก็เป็นไป ต่างองค์ทรงเเคลงระเเวงใน พระราชหฤทยวิสัย ผู้พิโรธใจระวังกันๆ

๒๕ แปลความสัทธราฉันท์ 21 ในขณะนันวัสสการพราหมณ์ก็คอยยุลูกศิษย์แต่งกลอุบายให้เกิดความ แคลงใจพระโอรสกษัตริย์ลิจฉวีท้ังหลายไตร่ตรองในอาการน่าสงสัยก็ เข้าใจว่าเป็นจริงดังถ้อยคําที่อาจารย์ปั้ นเรืองขึ้นไม่มีเหลือเลยสักพระองค์ เดียวที่จะมีความรักใคร่กลมเกลียวต่างขาดความสัมพันธ์เกิดความเดือด ร้อนใจ แต่ละองค์นําเรืองไม่ดีที่เกิดขึ้นไปทูลพระบิดาของตนความ แตกแยกก็ค่อยๆ ลุกลามไปสู่พระบิดาเนื่องจากความหลงเชื่อโอรสของตน ปราศจากการใคร่ครวญเกิดความผิดพ้องหมองใจกันขึ้นฝ่ายวัสสการพรา หมณ์คร้ันเห็นโอกาสเหมาะสมก็คอยยุแหย่อย่างง่ายดาย ทํากลอุบาย ต่างๆพูดยุยงตามกลอุบายตลอดเวลาเวลาผ่านไปประมาณ ๓ ปีความร่วม มือกันระหว่างกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายและความสามัคคีถูกทําลายลงสิ้น ความเป็นมิตรแตกแยกความเสื่อม ความหายนะก็บังเกิดขึ้น กษัตริย์ต่าง องค์ฉันท์ ระแวงแคลงใจ มีความขุ่นเคืองใจซึ่งกันและกัน

๒๖ สาลินีฉันท์ 11 พราหมณ์ครูรู้สังเกต ตระหนักเหตุถนัดครัน ราชาวัชชีสรร พจักสู่พินาศสม ยินดีบัดนี้กิจ จะสัมฤทธิ์มนารมณ์ เริ่มมาด้วยปรากรม เเละอุตสาหเเห่งตน ให้ลองตีกลองนัด ประชุมขัตติย์มณฑล เชิญซึ่งส่ำสากล กษัตริย์สู่สภาคาร วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขาน ทุกไท้ไปเอาภาร ณกิจเพื่อเสด็จไป ต่างทรงรับสั่งว่า จะเรียกหาประชุมไย เราใช่เป็นใหญ่ใจ ก็ขลาดกลัวบกล้าหาญ ท่านใดที่เป็นใหญ่ และกล้าใครมิเปรียบปาน พอใจใคร่ในการ ประชุมชอบก็เชิญเขา ปรึกษาหารือกัน ไฉนนั้นก็ทำเนา จักเรียกประชุมเรา บแลเห็นประโยชน์เลย รับสังผลักไสส่ง และทุกองค์ธเพิกเฉย ไป่ได้ไปดังเคย สมัครเข้าสมาคมฯ

๒๗ ถอดความสาลินีฉันท์ฯ พราหมณ์ผู้เป็นครูสังเกตเห็นดังนั้นก็รู้ว่าเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีกำลังจะ ประสบความพินาศจึงยินดีมากที่ภารกิจประสบผลสําเร็จสมดังใจ หลัง จากเริ่มต้นด้วยความบากบันและความอดทนของตน จึงให้ลองตีกลอง นัดประชุมกษัตริย์ฉวี เชิญทุกพระองค์เสด็จมายังที่ประชุม ฝ่ายกษัตริย์ วัชชีทั้งหลายทรงสบัดเสียงกลองดังกึกก้อง ทุกพระองค์ไม่ทรงเป็นธุระ ในการเสด็จไปต่างองค์รับสังว่าจะเรียกประชุมด้วยเหตุใดเราไม่ได้เป็น ใหญ่ใจก็ขลาด ไม่ กล้าหาญ ผู้ใดเป็นใหญ่ มีความกล้าหาญไม่มีผู้ใด เปรียบได้พอใจจะเสด็จไป ร่วมประชุมก็เชิญเขาเถิด จะปรึกษาหารือกัน ประการใดก็ช่างเถิด จะเรียกเราไปประชุมมองไม่เห็นประโยชน์ประการ ใดเลย รับสั่งให้พ้นตัวไปและทุก พระองค์ก็ทรงเพิกเฉยไมเ่สด็จไปเข้าร่วมการประชุมเหมือนเคย

๒๘ อุปัฎฐิตาฉันท์ 11 เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง ชนะคล่องประสบสม พราหมณ์เวทอุดม ธก็ลอบแถลงการณ์ ให้วัลลภชน คมดลประเทศฐาน กราบทูลนฤบาล ภิเผ้ามคธไกร แจ้งลักษณสา สนว่ากษัตริย์ใน วัชชีบรุไกร วลหล้าตลอดกัน บัดนี้สิก็แตก คณะแผกและแยกพรรค์ ไปเป็นสหฉัน ทเสมือนเสมอมา โอกาสเหมาะสมัย ขณะไหนประหนึ่งครา นี้หากผิจะหา ก็ บได้สะดวกดี ขอเชิญวรบาท พยห์ยาตรเสด็จกรี ธาทัพพลพี ริยยุทธโดยไวฯ ถอดความอุปัฏฐิตา ฉันท์ 11 เมื่อพิจารณาเห็นช่องทางที่จะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย พราหมณ์ผู้รอบรู้ พระเวทก็ลอบส่งข่าวให้คนสนิทเดินทางกลับไปยังบ้านเมืองกราบทูลกษัตริย์ แห่งแคว้น มคธอันยิ่งใหญในสาสน์แจ้งว่ากษัตริย์วัชชีทุกพระองค์ขณะน้ีเกิดความ แตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่สามัคคีกันเหมืนแต่เดิมจะหาโอกาสอันเหมาะ สมครั้งใดเหมือนดังครั้งนี้คงจะไม่มีอีกแล้ว ขอทูลเชิญพระองค์ยกกองทัพอัน ยิ่งใหญม่าทําสงครามโดยเร็วเถิดความต่อจากอุปัฎฐิตาฉันท์ อ่านในถอด ความสามัคคีเภทคําฉันท์ตอนที่๖ ไร้รัก

๒๙ เชิญเทอญท่านต้อง ขัดข้องข้อไหน ปรึกษาปราศรัย ตามเรื่องตามที ส่วนเราเล่าใช่ เป็นใหญ่ยังมี ใจอย่างผู้ภี รุกปราศอาจหาญ ต่างทรงสําแดง ความเเขงอำนาจ สามัตคีขาด เเก่งเเย่งโดนมาน ภูมิศลิจฉวี วัชชีรัฐบาล บ่ชุมนุมสมาน เเม้เเต่สักองค์ ถอดความ วิชชุมมาลา ฉันท์ฯ ข่าวศึกแพร่ไปจนรู้ถึงชาวเมืองเวสาลีแทบทุกคนในเมืองต่างตกใจและหวาด กลัวกันไปทั่ว หน้าตาตื่น หน้าซีดไม่มีสีเลือด ตัวสั่น พากันหนีตายวุ่นวาย พากันอพยพครอบครัวหนีภัย ทิ้งบ้านเรือนไปซุ่มซ่อนตัวเสียในป่า ไม่ สามารถห้ามปรามชาวบ้านได้ หัวหน้าราษฎรและนายด่านตําบลต่างๆปรึกษา กันคิดจะยับยั้งไม่ให้กองทัพมคธข้ามมาได้จึงตีกลองป่าวร้องแจ้งข่าวข้าศึก เข้ารุกราน เพื่อให้เหล่ากษัตริย์แห่งวัชชีเสด็จมาประชุมหาหนทางปองกัน ประการใดไม่มี กษัตริย์ลิจฉวีแม้แต่พระองค์เดียวคิดจะเสด็จไป แต่ละ พระองค์ทรงดํารัสว่าจะ เรียกประชุมด้วยเหตุใด ผู้ใดเป็นใหญ่ ผู้ใดกล้า หาญ เห็นดีประการใดก็เชิญเถิดจะปรึกษาหารืออย่างไรก็ตามแต่ใจตัวของ เรานันไม่ได้มีอํานาจยิ่งใหญ่จิตใจก็ขี้ขลาด ไม่องอาจกล้าหาญ แต่ละ พระองค์ต่างแสดงอาการเพิกเฉย ปราศจากความสามัคคีปรองดองในจิตใจ กษัตริย์ลิจฉวีแห่งวัชชีไม่เสด็จมาประชุมกันเเม้เเต่พระองค์เดียว

๓๐ อินทรวิเชียร ฉันท์ฯ ปิ่ นเขตมครธขัต ติยรัชธำรง ยั้งทัพประทับตรง นคเรศวิสาลี ภูธรสังเกต พิเคราะห์เหตุธานี เเห่งราชวัชชี ขณะเศิกประชิดเเดน เฉยดูบรู้สึก เเละมินึกจะเกรงเเกลน ฤาคิดจะตอบเเทน รณทัพระงับภัย นิ่งเงียบสงบงำ บมิทำประการใด ปรากฏประหนึ่งใน บุรว่างเเละร้างคน เเน่โดยมิพักสง สยคงกระทุบกล ท่านวัสสการ จนลุกระนี้ถนัดตา ภินท์พัทธสามัค คิวพรรคพระราชา ชาวลิจฉวีวา รจะพ้องอนัตถ์ภัย ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้นหนอ ครูวัสสการเเส่ กลเเหย่ยุดีพอ ปั่ นป่วนบเหลือหลอ จะมิร้าวมิรานกัน ครั้นทรงพระปรารภ ธุระจบธจึ่งบัญ ชานายนิกายสรร พทเเกล้วทหารหาญ เร่งทำอุฬุมป์เว ฬุคะเนกะเกณฑ์การ เพื่อข้ามนทีธาร จรเข้านครบร เขารับพระบัณฑูร อดิศูรบดีศร ภาโรปกรณ์ตอน ทิวรุ่งสฤษฎ์พลัน

๓๑ จอมนาถพระยาตรา พยุหาธิทัพขันธ์ โดยเเพเเละพ่วงปัน พลข้ามณคงคา จนหมดพหลเนื่อง พิศเนื่องขนัดคลา ขึ้นฝั่ งลุเวสา ลิบุเรศสะดวกดายฯ ถอดความ อินทรวิเชียร ฉันท์ฯ จอมกษัตริย์แห่งแคว้นมคธหยุดทัพตรงหน้าเมืองเวสาลีพระองค์ทรง สังเกต วิเคราะห์เหตุการณ์ทางเมืองวัชชีในขณะที่ข้าศึกมาประชิดเมื่อง ดูนิ่งเฉยไม่รู้สึก เกรงกลัวหรือคิดจะทําสิงใดโต้ตอบระงับเหตุร้าย กลับอยู่อย่างสงบเงียบไม่ ทําการสิ่งใด มองดูราวกับเป็นเมืองร้าง ปราศจากผู้คน แน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย ว่าคงจะถูกกลอุบายของวัส สการพราหมณ์จนเป็นเช่นนี้ความสามัคคีผูกพัน แห่งกษัตริย์ลิจฉวีถูกทํา ลายลงและจะประสบกับภัยพิบัติ ลูกข่างที่เด็กขว้างเล่นได้สนุกฉันใดวัส สการพราหมณ์ก็สามารถยุเเหย่ให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกความ สามัคคี ได้ตามใจชอบและคิดที่จะสนุกฉันนันคั้นทรงคิดได้ดังนั้นจึงมีพระราช บัญชาแก่เหล่าทหารหาญให้รีบสร้างแพไม้ไผ่เพือข้ามแม่น้ำจะเข้าเมือง ของฝ่าย ศัตรู พวกทหารรับราชโองการแล้วก็ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับ ใน ตอนเช้างานั้นก็ เสร็จทันทีจอมกษัตริย์เคลื่อนกองทัพอันมีกำลังพล มากมายลงในแพที่ติดกันนำกำลังข้ามแม่น้ำจนกองทัพหมดสิน มองดู แน่นขนัดข้ึนฝั่ งเมืองเวสาลีอย่างสะดวกสบาย

๓๒ จิตรปทาฉันท์ญ บทประพันธ์ นาครธา นิวิสาลี เห็นริปุมี พลมากมาย ข้ามติรชล ก็ลุพ้นหมาย มุ่งจะทลาย พระนครตน ถอดความได้ว่า ฝ่ายเมื่องเวสาลีมองเห็นข้าศึกจำนวนมากข้ามเเม่น้ำมาเพื่อจะทำลาย ล้างบ้านเมืองของตน บทประพันธ์ ต่างก็ตระหนก มนอกเต้น ตื่น บ มิเว้น ตะละผู้คน ทั่วบุรคา มจลาจล เสียงงอลวน อลเวงไป ถอดความได้ว่า ต่างก็ตระหนกตกใจกันถ้วนหน้าในเมื่องเกิดจลาจล วุ่นวายไปทั่ว เมือง

๓๓ บทประพันธ์ สรรพสกล มุขมนตรี ตรอมมนภี รุกเภทภัย บางคณะอา ทรปราศรัย ยังมิกระไร ขณะนี้หนอ ถอดความได้ว่า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่างหวาดกลัวภัยบางพวกก็พูดว่าขณะนี้ยังไม่ เป็นไรหรอก บทประพันธ์ ควรบริบาล พระทวารมั่น ต้านปะทะกัน อริก่อนพอ ขัดติยรา ชสภารอ ดําริจะขอ วรโองกา ถอดความได้ว่า ควรจะป้องกันประตูเมืองเอาไว้ให้มั่นคงต้านทานข้าศึกเอาไว้ก่อน รอให้ที่ประชุมเหล่ากษัตริย์มีความเห็นจะทำประการใด

๓๔ บทประพันธ์ ทรงตริไฉน ก็จะทําได้ โดยนยดํา รัสภูบาล เสวกผอง ก็เคาะกลองขวาน อาณัติปาน ดุจกลองพัง ถอดความได้ว่า ก็จะได้ดําเนินการตามพระบัญชาของพระองค์เหล่าข้าราชการทั้งหลายก็ ตีกลองสัญญาณขึ้นราวกับกล้องจะพัง บทประพันธ์ ศัพทอุโฆษ ประลุโสตท้าว ลิจฉวิด้าว ขณะทรงฟัง ต่าง ธ ก็เฉย และละเลยดัง ไท้มิอินัง ธุระกับใคร ถอดความได้ว่า เสียงดังกึกก้องไปถึงพระกรรณกษัตริย์ลิจฉวีต่างองค์ทรงเพิกเฉย ราวกับไม่เอาใจใส่ในเรื่องราวของผู้ใด

๓๕ บทประพันธ์ ต่างก็บ คลา ณ สภาคาร แม้พระทวาร บุรทั่วไป รอบทิศด้าน และทวารใด เห็นนรไหน สิจะปิดมีฯ ถอดความได้ว่า ต่างองค์ไม่เสด็จไปที่ประชุม แม้แต่ประตูเมืองรอบทิศทุกบานก็ไม่มีผู้ใดปิด สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ บทประพันธ์ จองทัพมาคธราษฎร์ธ ยาตรพยุหกรี ธาสู่วิสาลี นคร โดยทางอันพระทวารเปิดนรนิกร ฤารอจะต่อรอน อะไร ถอดความได้ว่า จอมทัพแห่งแคว้นมคธกรีธาทัพ เข้าเมืองเวสาลีทางประตูเมืองที่เปิดอยู่โดย ไม่มีผู้คนหรือทหารต่อสู้ประการใด

๓๖ บทประพันธ์ เรืองต้นยุกติก็แต่จะต่อพจนเติม ภาษิตลิขิตเสริม ประสงค์ ปรุงโสตเปนคติสุนทราภรณจง จับข้อประโยชน์ตรง ตริดู ถอดความได้ว่า เนื้อเรื่องแต่เดิมจบลงเพียงนี้แต่ประสงค์จะแต่งสุภาษิตเพิ่มเติมให้ได้รับ ฟังเพือเป็นคดีอันทรงคุณค่านําไปคิดไตร่ตรอง อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ บทประพันธ์ อันภบูดีรา ชอชาตศัตรู ได้ลิจฉวีภู วประเทศสะดวกดี เเลสรรพบรรดา วรราชวัชชี ถึงซึ่งพิบัติบี ฑอนัตถ์พินาศหนา ถอดความได้ว่า พระเจ้าอชาตศัตรูได้แผ่นดินวัชชีอย่างสะดวกและกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย ก็ถึงซึ่งความพินาศล่มจม

๓๗ บทประพันธ์ เบื้องนั้นท่านคุรุ วัสสการทิชก็ไป นําทัพชเนนทร์ไท มคธ เข้าปราบลิจฉวิขัตติย์รัฐชนบท สู่เงื้อมพระหัตถห์มด ททและโดย ถอดความได้ว่า ขณะนั้นวัสสการพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ก็ไปนําทัพของกษัตริย์แห่งมคธ เข้ามาปราบกษัตริย์ลิจฉวีอาณาจักรทั้งหมดก็ตกอยู่ในเหงื่อมือพระหัตถ์ บทประพันธ์ ไป่พักต้องจะกะเกณฑ์นิกายพหลโรย แรงเปลืองระดมโปรย ประยุทธ์ ราบคาบเสร็จธเสด็จลุราช คฤหอุต คมเขตบุเรศดุจ ณเดิม ถอดความได้ว่า โดยที่กองทัพไม่ต้องเปลืองแรงในการต่อสู้ปราบราบคาบแล้วเสด็จยัง ราชคฤห์ เมืองยิ่งใหญ่ดังเดิม

๓๘ บทประพันธ์ เหี้ยมนั้นเพราะผันเเผก คณะเเตกเเละต่างมา ถือทิฐิมานสา หสโทษพิโรธจอง เเยกพรรคสมัครภิณ ทนสิ้นพิโรธจอง เเยกพรรคสมรรคภิณ ทนสิ้น บ ปรองดอง ขาดญาณพิจารณ์ตรอง ตริมลักประจักษ์เจือ ถอดความได้ว่า เหตุเพราะความแตกแยกกันต่างก็มีความยึดมั่นในความคิดของตนผูก โกรธซึ่งกันและกัน ต่างแยกพรรคแตกสามัคคีกันไม่ปรองดองกันขาด ปัญญาที่จะพิจารณา บทประพันธ์ เชืออรรถยุบลเอา รสเล่าก็ง่ายเหลือ เหตุหาก ธ มากเมือ คติโมหเป็นมูล จึงดาลประการหา ยนภาวอาดูร เสียแดนไผทสูญ ยศศักดิเสื่อมนาม ถอดความได้ว่า เชือถ้อยความของบรรดาพระโอรสอย่างง่ายดายเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ กษัตริย์แต่ละพระองค์ทรงมากไปด้วยความหลงจึงทําให้ถึงซึ่งความ ฉิบหาย มีภาวะความเป็นอยู่อันทุกข์ระทม เสียทั้งแผ่นดิน เกียรติยศ และชือเสียงที่เคยมีอยู่

๓๙ บทประพันธ์ ควรชมนิยมจัด เป็นเอกอบายงาม คุรุวัสสการพราหมณ์ กลทำกระทำมา พุทธาทบัณฑิต พิเคราะห์คิดพินิจปรา รกสรัรเสริญสา ธุสมัครภาพผล ถอดความได้ว่า ส่วนวัสสการพราหมณ์น่าชื่นชมอย่างยิ่งเพราะเป็นเลิศในการกระทำ กลอุบายผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้ใคร่ครวญพิจารณากล่าว สรรเสริญว่าชอบแล้วในเรื่องผลแห่งการพร้อมเพรียงกัน บทประพันธ์ ว่าอาจจะอวยผา สุกภาวมาดล ดีสู้ ณ หมู่ตน บ นิราศนีรันคร หมู่ใดผิสามัค คยพรรคสโมสร ไปปราศนิราศรอน คุณไร้ไฉนดล ถอดความได้ว่า ความสามัคคีอาจอำนวยให้ถึงซึ่งสภาพแห่งความผาสก ณ หมของตนไม่เสื่อม คลายตลอดไป หากหมู่ใดมีความสามัคคีชุมนุมกัน ไม่ห่างเหินกัน สิ่งที่ไร้ ประโยชน์จะมาสู้ได้อีย่างไร

๔๐ บทประพันธ์ พร้อมเพรียงประเสริฐครัน เพราะฉะนั้นแหละบุคคล ธุระเกี่ยวกะหมู่เข้า ผู้หวังเจริญตน พึงหมายสมัครเป็น มุขเป็นประธานเอา ธุรทั่ว ณ ตัวเรา บ มิเห็น ณ ฝ่ายเดียว ถอดความได้ว่า ความพร้อมเพรียงนั้นประเสริฐยิ่งนักเพราะณะนั้นบุคคลใดหวังที่จะได้ รับความเจริญแห่งตนและมีกิจธุระอันเป็นส่วนรวมก็พึงตั้งใจเป็นหัวหน้า เอาเป็นธุระด้วยตัวของเราเองโดยมิเห็นประโยชน์ตนแต่ฝ่ายเดียว บทประพันธ์ ควรยกประโยชน์ยื่น นรอื่นก็แลเหลียว ดูบ้างและกลมเกลียว มิตรภาพผดุงครอง ยั้งทิฐิมานหย่อน ทมผ่อนผจงจอง อารีมีหมอง มนเมื่อจะทำใด ถอดความได้ว่า ควรยกประโยชน์ให้บุคคลอื่นบ้าง นึกถึงผู้อื่นบ้าง ต้องกลมเกลียว มี ความเป็นมิตรกันไว้ ต้องลดทิฐิมานะ รู้กข่มใจ เอื้อเฟื้ อกันไม่มีความ บาดหมางใจ

๔๑ บทประพันธ์ ลาภผลสกลบรร ลุก็ปันก็แบ่งไป ตามน้อยและมากใจ สุจริตนยมธรรม พึงมรรยาทยืน สุประพฤติสงวนพรรค์ รื้อริษยาอัน อุปเฉทไมตรี ถอดความได้ว่า ผลประโยชน์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นก็แบ่งปันกันไป มากบ้างน้อยบ้างอย่างเป็นธรรม ควารยึดมั่นในมารยาทและความประพฤติดีรักษาหมู่คณะโดยไม่มีความ ริษยากันอันจะตัดรอนไมตรี บทประพันธ์ ดั่งนั้น ณ หมู่ใด ผิ บ ไร้สมัครมี พร้อมเพรียงนิพัทธนี รวิวาทระแวงกัน หวังเทอญมิต้องสง สยคงประสบพลัน ซึ่งสุบเกษมสันต์ หิตะกอบทวิการ ถอดความได้ว่า ดังนั้นถ้าหมู่คณะใดไม่ขาดชั่งความสามัคคี มีความพร้อมเพรียงกันอยู่เสมอ ไม่มีการวิวาท และระแวงกัน ก็หวังได้ไดยไม่ต้องสงสัยว่า คงจะพบซึ้งความ สุข ความสงบ และประกอบด้วยประโยชน์มากมาย

๔๒ บทประพันธ์ ใครเล่าจะสามารถ มนอาจระรานหาญ หักล้าง บ แหลกลาญ ก็เพราะพร้อมเพราะเพรียงกัน ป่วยกล่าวอะไรผู้ก็ นรสูงประเสริฐครัน ฤาสรรพสัตว์อัน เฉพาะมีชีวีครอง ถอดความได้ว่า ใครเล่าจะมีใจกล้าคิดทำสงครามด้วย หวังจะทำลายล้างก็ไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะความพร้อมเพรียงกันนั่นกล่าวไปกับมนุษย์ผู้ประเสริฐหรือสรรพ สัตว์ที่มีชีวิต บทประพันธ์ แม้มากผู้กิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอ มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน เหล่าไหนผิไมตรี สละลี้ ณ หม่ตน กิจใดจะขวายขวน บ มิพร้อมมีเพรียงกัน ถอดความได้ว่า แม้แต่กิ่งไม้หากใครจะใคร่ลองเอามามัดเป็นกำ ตั้งใจใช้กำลังหักก็ยาก เต็มทนหากหมู่ใดไม่มีความสามัคคีในหมู่คณะของตนและกิจการอันใด ที่จะต้องขวนขวายทำก็มิพร้อมเพรียงกัน

๔๓ บทประพันธ์ อย่าปรารถนาหวัง สุขทั้งเจริญอัน มวลมาอุบัติบรร ลไฉน บ ได้มี ปงทกข์พีบัดีสรร พภยันตรายกลี แม้ปราศนี้ยมปรี ติประสงค์ก็คงสม ถอดความได้ว่า ก็อย่าได้นวับเลยความสุขความเจริญจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ความทุกข์พิง ดีอันตรายและความชั่วร้ายทั้งปวง ถึงแม้จะไม่ต้องการก็จะต้องได้รับ เป็นแน่แท้ บทประพันธ์ ควรชนประชมเช่น คณะเป็นสมาคม สามัคคีปรารม ภนิพัทธรำพึง ไปมีก็ให้มี ผิวมีก็คำนึง เนื่องเพื่อกิยโยจึง จะประสบสุขาลัย ถอดความได้ว่า ผู้ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะหรือสมาคม ควรคำนึงถึงความสามัคคี ถ้ายัง ไม่มีก็ควรจะมีขึ้นถ้ามีอยู่แล้ว ก็ควรให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปจึงจะถึงซึ่ง ความสุขความสบาย

๔๔ อธิบายศัพท์ยาก กฤๅ ถ้อยคำ กลห์เหตุ เหตุแห่งการทะเลาะ กสิก ชาวนา ไกวล ทั่วไป ขันติย์ พระเจ้าแผ่นดิน ชเนนทร์ ผู้เป็นใหญ่ในชุมชน ทม ความข่มใจ ทลิทภาร ยากจน ทั่วบุรคาม ทั่วบ้านทั่วเมือง ทิช บางทีก็ใช้ว่า ทวิช ทิชงค์ ทิชาจารย์ ทวิชงค์ หมายถึง ผู้เกิดสอง ครั้ง คือ พารหมณ์ กล่าวคือ เกิดเป็นคนโดยทั่วไปครั้งหนึ่ง และเกิดเป็น พารหมณ์โดยตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง ทิน วัน นครบร เมืองของข้าศึก นย, นัย เค้าความ ความหมาย นยมาน ใจความสำคัญ (มาน=ใจ) นรนีกร ฝูงชน

๔๕ นฤพัทธ,นิพัทธ์ เนืองๆ เสมอ เนื่องกัน นฤสาร ไม่มีสาระ นวัต กลับ นีรผล ไม่เป็นผล ประเด มอบให้หมด ประศาสน์ การสั่งสอน ปรากรม ความเพียร ปรงโสด ตกแต่งให้ไพเราะน่าฟัง ปลาต หายไป ปวัตน์ บางที่ใช้คำว่า ปวัตติ์ หมายถึงความเป็นไป พฤฒิ ผู้เฒ่า หมายถึง วัสสการพราหมณ์ พิเฉท ทำลาย การตัดขาด พิชากร วิชาความรู้ พุทธาทิบัณฑิต ผู้รู้มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ภัต ข้าว ภาโรปกรณ์ (จัดทำ) เครื่องมือตามที่ได้รับมอบหมาย กินฑ์พัทธสามัคคิย การแตกสามัคคี ภินท์ แปลว่า แตกแยก พัทธ แปลว่า ผูกพัน สามัคคิย แปลว่า สามัคคี

๔๖ นฤพัทธ,นิพัทธ์ เนืองๆ เสมอ เนื่องกัน นฤสาร ไม่มีสาระ นวัต กลับ นีรผล ไม่เป็นผล ประเด มอบให้หมด ประศาสน์ การสั่งสอน ปรากรม ความเพียร ปรงโสด ตกแต่งให้ไพเราะน่าฟัง ปลาต หายไป ปวัตน์ บางที่ใช้คำว่า ปวัตติ์ หมายถึงความเป็นไป พฤฒิ ผู้เฒ่า หมายถึง วัสสการพราหมณ์ พิเฉท ทำลาย การตัดขาด พิชากร วิชาความรู้ พุทธาทิบัณฑิต ผู้รู้มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ภัต ข้าว ภาโรปกรณ์ (จัดทำ) เครื่องมือตามที่ได้รับมอบหมาย กินฑ์พัทธสามัคคิย การแตกสามัคคี ภินท์ แปลว่า แตกแยก พัทธ แปลว่า ผูกพัน สามัคคิย แปลว่า สามัคคี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook