Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานพายุเกย์2532

รายงานพายุเกย์2532

Published by kru_leed, 2020-10-16 06:49:53

Description: ตัวอย่างรายงานนักเรียน

Search

Read the Text Version

1

2 รายงาน เรื่อง ไตฝ้ นุ่ เกย์ เสนอ ครูจิระวฒั น์ โรจนศิลป์ จัดทำโดย นายจิระวัฒน์ โรจนศิลป์ เลขท่ี 1 ชั้นมัธยมศึกษาปที ่ี 5/10 รายงานเลม่ นีเ้ ป็นสว่ นหนง่ึ ของวิชา ส32101 สังคมศึกษา 3 โรงเรียนปางศิลาทองศึกษา อำเภอปางศลิ าทอง จังหวดั กำแพงเพชรเพชร สำนกั งานเขตพืน้ ท่ีการศกึ ษามัธยมศึกษาเขต 41 กำแพงเพชร

3 คำนำ รายงานนจี้ ดั ทำขน้ึ เพื่อเป็นสื่อในการเรยี นการสอนในรายวชิ าสงั คมศึกษา 3 ส 32101 ในรายงานเล่มนีจ้ ะ ประกอบไปด้วยทม่ี าขจองพายุเกย์ สถานท่เี กิด เสน้ ทางพายุ ภาพถ่ายดาวเทยี ม ปริมาณน้ำฝน และความเสยี หายท่ี เกิดขนึ้ อนงึ่ ผูจ้ ดั ทำรายงานเลม่ นหี้ วังเปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ รายงานเล่มน้ีจะเป็นประโยชนแ์ กผ่ ทู้ ี่มาศึกษาความรูท้ างดา้ น พายุไต้ฝนุ่ เกย์ เพื่อทใ่ี ช้ในการศกึ ษาต่อยอดความรู้เปน็ อยา่ งย่ิง จริ ะวัฒน์ โรจนศิลป์ ผู้จัดทำ

สารบัญ 4 เรื่อง ปกนอก หน้า ปกใน คำนำ 2 สารบัญ 3 \"ไต้ฝุ่นเกย์\" พายลุ ูกประวัติศาสตรแ์ ละทรงพลงั ที่สดุ ท่เี ขา้ ถล่มไทย 4 ทำไม พายไุ ต้ฝนุ่ \"เกย\"์ (GAY) จึงเป็นพายลุ กู ประวตั ิศาสตร์ ? 5 เส้นทางพายุ 6 ภาพถ่ายดาวเทียม 7 ความกดอากาศ 9 ความเรว็ ลม 10 ปริมาณฝน 10 ภาพแผนท่ีภาคใต้ทไี่ ด้รับผลกระทบ 10 ภาพประกอบความเสียหายจากพายุเกย์ 11 สรุป 12 บรรณานกุ รม 13 14

5 \"ไตฝ้ ่นุ เกย์\" พายุลกู ประวัติศาสตร์และทรงพลังท่สี ุดท่ีเขา้ ถล่มไทย หากกล่าวถึงภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ประเทศไทยถือว่าประสบกับภัยธรรมชาติ รุนแรงน้อยกว่าหลาย ๆ ประเทศ เนื่องจากตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างได้เปรียบ มักจะรอดพ้นจากภัยธรรมชาติ ครั้งใหญ่อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะภัยจากพายุ เนื่องจากมีกำแพงธรรมชาติล้อมรอบ พายุจะลดกำลังลงก่อนเคลื่อน ผ่าน อีกท้ังตงั้ อยใู่ นจุดทก่ี ารก่อตัวของพายเุ กิดข้ึนได้ยาก จากขอ้ มลู สถิตกิ ารเกิดพายตุ ง้ั แตปี 2528 ถงึ ปี 2548 โดย The Joint Typhoon Warning Center (JTWC) แสดงให้เห็นว่ามีพายุเคลื่อนตัวผ่านเข้ามาในประเทศไทย ค่อนขา้ งนอ้ ย โดยเฉพาะอย่างย่ิงพายุทีม่ ีความรุนแรงในระดับไตฝ้ ุ่นยกเว้น พายุไต้ฝุ่น \"เกย์\" (GAY) ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2532 มีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นที่บริเวณปลายแหลมญวน ชายฝั่งประเทศเวียดนาม และเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก หย่อมความกด อากาศต่ำนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นดีเปรสชัน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 บริเวณตอนใต้ของอ่าวไทย และทวี กำลงั แรงต่อเนอื่ งเปน็ พายโุ ซนร้อนในเวลาต่อมา โดยถูกต้ังชื่อเรียกว่าพายโุ ซนร้อน “เกย์” ซึง่ ยังคงทวีกำลังแรงขึ้น อีกจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ต่อมาพายุไต้ฝุ่น “เกย์” ได้ทวีกำลังแรงขึ้น โดยมี อัตราเร็วลมสงู สุดใกลศ้ ูนย์กลางพายุถึง 100 นอต หรือประมาณ 185 กิโลเมตรตอ่ ชั่วโมง ซ่งึ เป็นความเร็วของพายุ ไต้ฝุ่นระดับ 3 ก่อนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่บริเวณรอยต่อระหว่าง อ.ปะทิว กับ อ.ท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในตอนเช้าของ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. แล้วเคลื่อนผ่านลงทะเลอันดามันในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 ต่อไปยังมหาสมุทรอินเดียเหนือและถูกเปลี่ยนชื่อเป็นพายุไซโคลน KAVALI หลังจากนั้นได้ทวีกำลังแรงข้ึน เป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งไปยังรัฐอานธรประเทศ รัฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศอินเดีย แล้วสลายตวั ไปบรเิ วณเหนอื เทือกเขากตั สต์ ะวันตก เม่อื วันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 สำหรับความเสียหายที่เกิดข้ึนกับประเทศไทย พายุไต้ฝุ่น \"เกย์\" ส่งผลทำให้เกิดคล่ืนพายซุ ัดฝ่ัง ที่ อ.บางสะพานน้อย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขนั ธ์ อ.ท่าแซะ อ.ปะทิว จ.ชุมพร และจังหวัดใกล้เคียงตามแนว ชายฝั่งอ่าวไทย รวมถึงจังหวัดตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออก มีผู้เสียชีวิตถึง 446 คน บาดเจ็บ 154 คน สูญหาย มากกว่า 400 คน บ้านเรือน เสียหาย 38,002 หลัง ประชาชนเดือดร้อน 153,472 คน เรือกสวนไร่นาเสียหาย มากกว่า 9 แสนไร่ เรือประมงจมลงส่ใู ตท้ อ้ งทะเลประมาณ 500 ลำ ศพลกู เรอื ลอยเกลอ่ื นทะเล และสญู หายไปเป็น จำนวนมาก อีกท้งั พายุลูกน้ีได้เคล่ือนตัวผ่านฐานขุดเจาะน้ำมันของบริษัทยูโนแคล ท่ตี ั้งอยู่ในอ่าวไทย ทำให้เรือขุด เจาะชอ่ื “ซีเครสต”์ (Sea Crest) พลิกคว่ำ มเี จา้ หนา้ ท่ีประจำเรอื เสยี ชีวติ 91 คน รวมมผี ูเ้ สยี ชวี ติ ทงั้ หมด 537 คน มลู ค่าความเสยี หายประมาณ 11,257,265,265 บาท นอกจากนย้ี ังสรา้ งความเสียหายอย่างหนักใหก้ ับปะการังนอก ชายฝั่งประเทศไทย พายุไต้ฝุ่นเกย์ถือเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยมากที่สุด นับตงั้ แต่พายโุ ซนร้อนแฮเรียตถล่มแหลมตะลมุ พุก จ.นครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2505

6 ทำไม พายุไต้ฝุ่น \"เกย์\" (GAY) จึงเปน็ พายุลูกประวัตศิ าสตร์ ? 1. เป็นพายุลูกแรกและลูกเดียว (ตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลจนถึงปี 2561) ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยใน ขณะท่เี ป็นพายไุ ตฝ้ ุ่น 2. เป็นพายไุ ตฝ้ ่นุ ลกู แรกและลูก เดียวก็ก่อตัวขึ้นในบริเวณอ่าวไทย ซ่ึง เป็นอ่าวที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่แคบ รวมทั้งยงั อยู่ใกล้เสน้ ศูนย์สูตร การก่อตัว ของพายุไต้ฝุ่นเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจาก การทวีกำลังแรงขึ้นอย่างกะทันหันใน พื้นที่ดังกล่าว จะต้องมีปัจจัยหลายอย่าง ประกอบกนั อณุ หภูมิ ภาพ เสน้ ทางภายโุ ดยดาวเทียม ของน้ำทะเลจะต้องใกล้เคียงหรือมากกว่า 30 °C ซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างอุ่น อีกทั้งช่วงความอุ่นของน้ำ ทะเลจะต้องอุ่นลึกลงไปมากพอที่คลื่นของน้ำที่เย็นกว่าจะไม่เข้ามาแทรกอยู่บนผิวน้ำ ซึ่งอ่าวไทยเป็นอ่าวน้ำตื้น ตา่ งกับทะเลฟิลิปนิ ส์ที่จะเกิดพายุได้ง่ายกว่า ส่วนลม เฉือนจะต้องมีกำลังน้อย เพราะหากเมื่อลมเฉือนมี กำลังมาก การพาความร้อน และการหมุนเวียนใน พายุหมุนจะถูกทำให้กระจาย และส่งผลให้ทวีกำลัง ไม่สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น การพัฒนาตัวเป็นพายุ ไต้ฝุ่นจงึ เป็นไปไดย้ าก 3. เป็นพายุ 2 มหาสมุทร ในขณะที่เคลื่อน ตัวอยู่บริเวณอ่าวไทย (ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก) ถูกต้ัง ชือ่ วา่ พายุไตฝ้ นุ่ \"เกย์ (GAY) ซ่งึ มคี วามแรงสูงสุดใน เกณฑ์ ไต้ฝุ่นระดับ 3 หลังจากเคลื่อนผ่านภาคใต้ ภาพ เสน้ ทางพายบุ รเิ วณฝัง่ มหาสมทุ รแปซิฟกิ ปี 2532 ของไทยลงสูท่ ะเลอันดามันและเคล่ือนตัวต่อไปยังมหาสมุทรอินเดีย ไดถ้ ูกเปล่ียนช่ือเรียกเป็นพายุไซโคลน Kavali ซ่งึ ความแรงสูงสุดในเกณฑ์ ซุปเปอร์ใต้ฝุน่ ระดบั 5

7 4. เป็นไตฝ้ นุ่ กำลังแรงทีม่ เี ส้นผ่านศนู ยก์ ลางเล็กกวา่ ไต้ฝุ่นลกู อื่น ๆ ทม่ี กี ำลงั แรงเทา่ กนั 5. เปน็ พายทุ ีม่ คี วามเรว็ ลมสูงสุดขณะขึน้ ฝ่ังเท่าทเี่ คยมมี าในคาบสมุทรมลายู เสน้ ทางพายุ ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2532 มีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณปลายแหลมญวน ซึ่งต่อมาได้ เคลอ่ื นตัวเขา้ ปกคลมุ บริเวณอ่าวไทยและทวีกำลังแรงข้นึ เป็นพายดุ ีเปรสชนั ทีบ่ รเิ วณอา่ วไทยตอนลา่ งในช่วงเช้าของ วนั ที่ 1 พฤศจกิ ายน 2532 เวลาประมาณ 07.00 น. หลงั จากนั้นได้เคลื่อนตวั ไปทางทิศตะวนั ตกเฉียงเหนือและทวี กำลังแรงข้ึนเป็นพายโุ ซนร้อนในช่วงเชา้ ของวันท่ี 2 พฤศจกิ ายน 2532 และถูกตั้งช่ือว่า พายโุ ซนร้อน \"เกย์\" (GAY) โดยพายุลกู นย้ี งั คงเคล่ือนตัวต่อเนื่องไปทางทิศตะวนั ตกเฉียงเหนือแลว้ ทวีกำลังแรงข้ึนเป็นพายุไต้ฝนุ่ ระดับ 1 เม่ือ วนั ท่ี 3 พฤศจกิ ายน 2532 เวลาประมาณ 07.00 น. หลังจากนน้ั ในชว่ งค่ำของวันเดียวกัน พายุไต้ฝนุ่ \"เกย์\" ได้เพิ่ม กำลงั แรงตอ่ เนอื่ งเป็นพายุไตฝ้ นุ่ ระดบั 2 โดยมีทศิ ทางมุ่งตรงไปยงั ชายฝั่งจังหวัดประจวบครี ีขนั ธ์ หลังจากนั้นในเช้า ของวันที่ 4 พฤศจกิ ายน 2532 เวลาประมาณ 07.00 น. ได้เพม่ิ กำลงั แรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 โดยมีอัตราเร็ว ลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางถึง 100 นอต และมีทิศทางการเคลื่อนตัวเลื่อนตัวลงมาทางทิศใต้เล็กน้อย มุ่งตรงขึ้นฝ่ัง บริเวณรอยต่อระหว่าง อำเภอปะทิวกับอำเภอท่าแซะ จังหวัดชมุ พร เมื่อเวลา 10.30 น. ของวันเดียวกัน หลังจาก น้นั ไดเ้ คล่ือนตวั ต่อเน่ืองไปทางทิศตะวนั ตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย พรอ้ มลดกำลังลงอย่างรวดเรว็ จนเหลือความ แรงของพายุอยู่ในระดับ 1 ในช่วงค่ำของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวต่อเนื่องมุ่งลงสู่ทะเล อนั ดามัน ซ่ึงโดยปกตกิ ารเคลอ่ื นตวั ลงทะเลจะทำใหพ้ ายมุ ีกำลังแรงข้ึน ซึง่ พายไุ ตฝ้ ุ่น \"เกย์\" ได้เพิม่ กำลังขึน้ เป็นพายุ ไต้ฝุ่นระดับ 2 อีกครั้ง ในช่วงเชา้ ของวันท่ี 5 พฤศจิกายน 2532 และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่าง ต่อเนอื่ ง และเน่ืองจากเป็นการเคลอ่ื นตวั ข้ามมหาสมทุ ร พายุไต้ฝุ่น \"เกย์\" จึงถกู เปล่ียนช่ือเป็นพายุไซโคลน KAVALI ท่ยี ังคงเคลอ่ื นตัวไปทางทิศตะวนั ตกเฉียงเหนอื อย่างต่อเนือ่ งและเพิ่มกำลังขึ้นเป็นพายุไซโคลน ระดบั 3 ในเช้าวันที่ 7 พฤศจิกายน 2532 และต่อมาได้เพิ่มกำลังแรงขึ้นเป็นไซโคลนระดับที่ 4 ในคืนวันเดียวกัน หลังจากนั้นพายุ ดังกล่าวได้เพิ่มความแรงเป็นไซโคลน ระดับ 5 ในคืนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2532 พร้อมเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งไปถล่มรัฐ อานธรประเทศ รัฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศอินเดีย และได้ลดระดับลงเป็นพายุไซโคลนระดับ 2 อย่าง รวดเรว็ ในชว่ งเช้าของวนั ท่ี 9 พฤศจิกายน 2532 และลดกำลังลงอยา่ งต่อเน่อื งเป็นพายโุ ซนร้อนและพายดุ เี ปรสชัน ตามลำดับ ภายในวันเดียวกัน แล้วสลายตัวไปในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 รวมระยะเวลาการเดินทางของพายุ \"เกย์\" และ \"KAVALI\" ท้ังหมด 10 วนั

8 แผนผังแสดงช่วงเวลาของการเกดิ พายแุ ต่ละลูกในปี 2532 ซ่ึงพบวา่ พายุไต้ฝุ่น \"เกย์\" เกิดข้นึ ในช่วง ระยะเวลาค่อนขา้ งสั้นหากเทียบกบั พายุไตฝ้ ุ่นลกู อื่น ๆ ท่ีเกดิ ขึน้ ในปีเดียวกัน

9 แผนทเี่ สน้ ทางการเกดิ พายุ และตารางแสดงพิกดั และความแรงของพายุ จัดทำโดย weather.unisys.com ภาพถา่ ยดาวเทียม ภาพถา่ ยจากดาวเทยี ม NOAA แสดงใหเ้ ห็นวา่ ในช่วงวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2532 พายุใตฝ้ ุ่น \"เกย์\" ได้ เคล่ือนตวั อยู่บริเวณอ่าวไทย ผา่ นพ้ืนทีภ่ าคใต้ และลงสู่ทะเลอนั ดามนั ในขณะท่ีความแรงของพายุอยูใ่ นระดบั 2 และระดบั 3 ตามลำดับ ซง่ึ อิทธิพลของพายสุ ง่ ผลทำให้มีกล่มุ เมฆหนาปกคลุมเกือบทุกพ้ืนทข่ี องภาคใต้ รวมถึงใน บางพน้ื ที่ของภาคตะวันออกและภาคกลาง และในวนั ท่ี 8 พฤศจิกายน 2532 เป็นวนั ที่พายมุ ีกำลังแรงสงู สดุ ถงึ ไซโคลนระดบั 5 ซึ่งจากภาพจะเห็นว่ามีกลมุ่ เมฆหนาปกคลุมบรเิ วณประเทศอนิ เดยี ซง่ึ สรา้ งความเสยี หายให้กับ ประเทศอนิ เดยี เปน็ อย่างมาก source : National Oceanographic and Atmospheric Administration : NOAA, www.digital- typhoon.org ความกดอากาศ จากการรายงานข้อมูลความกดอากาศ ผ่านเว็บไซต์ www.digital-typhoon.org พบว่าช่วงเวลาที่พายุ \"เกย์\" เคลื่อนตัวอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2532 นั้น ในช่วงวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2532 ค่าความกดอากาศยังอยู่ในช่วง 1002 hPa - 1008 hPa ซึ่งเป็นช่วงที่ความแรงของพายุอยู่ใน ระดับดีเปรสชันและพายุโซนร้อน ตามลำดับ ต่อมาในช่วงบ่ายของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2532 จนถึงช่วงเช้าของ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 ค่าความกดอากาศยังคงลดลงต่อเนื่องเหลือประมาณ 990 hPa - 998 hPa ซึ่งพายุได้

10 เพิ่มกำลังแรงเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ต่อมาในช่วงบ่ายจนถึงช่วงค่ำของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 ค่าความกดอากาศ ยังคงลดลงอีก โดยเหลือประมาณ 975-980 hPa ซึ่งขณะนั้นพายุได้เพิม่ กำลังแรงขึน้ เป็นไต้ฝุ่นระดับ 2 และต่อมา ในช่วงเช้าของวันท่ี 4 พฤศจิกายน 2532 ค่าความกดอากาศไดล้ ดลงตำ่ สุดที่ 960 hPa ซึ่งความแรงของพายุอยู่ใน เกณฑไ์ ตฝ้ นุ่ ระดบั 3 หลงั จากนัน้ ค่าความกดอากาศได้เร่ิมเพ่มิ สูงขนึ้ จนถึงชว่ งค่ำของวันเดยี วกนั ซ่งึ พายุได้ลดระดับ ความแรงลงเป็นไต้ฝุน่ ระดับ 1 ความเรว็ ลม พายุ \"เกย\"์ เริ่มก่อตัวเปน็ ดเี ปรสชัน ดว้ ยความเรว็ ลม 25 นอต และเพิ่มข้นึ ต่อเน่อื ง จนถึงระดับ 100 นอต ในวนั ท่ี 4 พฤศจกิ ายน 2532 ความแรงอย่ใู นเกณฑ์ไตฝ้ ุ่น ระดับ 3 และหลงั จากน้ันความเร็วลมลดลงอย่างรวดเร็ว เหลือ 65 นอต ในชว่ งค่ำวันท่ี 4 พฤศจกิ ายน 2532 และความเรว็ ลมไดก้ ลับมาเพ่ิมข้ึนอีกครัง้ หลังพายุเคล่ือนตัวลง มหาสมุทรอินเดยี โดยมีความเรว็ ลมสงู สุดที่ 140 นอต ในวนั ท่ี 9 พฤศจกิ ายน 2532 หลงั จากนั้นความเร็วลมลดลง อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพราะพายุได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่ประเทศอินเดีย และสลายตัวไปในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 ปริมาณฝน จากการสงั เคราะห์ข้อมลู ฝน โดยใชข้ ้อมูลตรวจวัดจากสถานีตรวจอากาศกรมอตุ นุ ยิ มวิทยา ในช่วงวันท่ี 28 ตุลาคม 2532 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 จะเห็นได้ว่ามีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของจังหวัด ประจวบคีรีขนั ธแ์ ละชุมพร รวมถงึ พ้นื ท่ีใกลเ้ คียง ได้แก่ จังหวัดระนอง สรุ าษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นอกจากนี้ยัง มีพื้นที่อื่น ๆ ที่เกิดฝนตกหนักจากผลกระทบโดยออ้ มที่เกิดจากพายลุ ูกนี้ เช่น จังหวัดกระบี่ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ที่มีสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ ทั้งนี้ในช่วงเวลากลังกล่าวมีปริมาณฝนโดยเฉลีย่ ทั้งภาคใต้ อยู่ที่ ประมาณ 117 มิลลิเมตร ซึ่งในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากพายุโดยตรงประมาณวันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2532 สามารถตรวจวัดปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดได้ที่บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีปริมาณฝนสะสม 120.9 มิลลิเมตร รองลงมาคือทจี่ ังหวัดชุมพร ปรมิ าณฝนสะสม 88.8 มิลลิเมตร

11 ภาพแผนท่ีภาคใตท้ ไี่ ด้รับผลกระทบ

12 ภาพประกอบความเสียหายจากพายุเกย์

13 สรปุ ประเทศฟิลิปปนิ ส์อาจโดนไต้ฝุ่นถลม่ ปีละหลายลกู แต่สำหรับไทยเรานนั้ ดว้ ยทำเลท่ีได้เปรียบ ตอ้ งเรียกว่า หลายสบิ ปีถึงจะปรากฏวา่ โดนไตฝ้ ่นุ ขึน้ ฝง่ั จรงิ ๆ ซักลูก (ไต้ฝนุ่ ลินดาเม่อื ปี 2540 ขน้ึ ฝ่งั ไทยตอนอ่อนกำลังเปน็ พายุ โซนรอ้ นแล้ว) ช่วงปลายเดือนตลุ าคมต่อเน่ืองตน้ เดอื นพฤศจกิ ายนของปี พ.ศ. 2532 มีหยอ่ มความกดอากาศตำ่ กอ่ ตัวที่ปลายแหลมญวณ และเรม่ิ เคลอ่ื นตัวเข้าอา่ วไทย ด้วยลักษณะทไี่ ม่เกิดโดยทวั่ ไป (ดูในรูปด้านลา่ งจะเหน็ เส้นทางที่แยกต่างหากจากเส้นทางพายุปกตใิ นปีนน้ั ) หยอ่ มความกดอากาศต่ำน้ีได้ทวีกำลงั เป็นดเี ปรสชนั และ กลายเปน็ พายุโซนร้อนในเวลาต่อมา ไดช้ ่อื เรยี กวา่ “เกย์” จากนน้ั ก็ทวีกำลงั ขน้ึ อีกจนกลายเป็นพายุไต้ฝ่นุ อย่าง รวดเรว็ ในเวลาไม่กช่ี ่วั โมง ซงึ่ ก็เป็นเร่อื งไม่ปกติอีกเชน่ กันท่ีจะเกดิ เร่ืองแบบน้ีในอ่าวไทย เพราะการทวีกำลังแรงข้นึ อย่างกะทนั หันจะเกิดขนึ้ ไดน้ ั้น จะต้องประกอบขึ้นจากหลายเง่ือนไขในพ้นื ทนี่ นั้ คือ อุณหภมู ิของนำ้ จะต้องอุ่นอยา่ ง มากคือต้องใกล้เคยี งหรือมากกว่า 30 °C และอุณหภูมขิ องนำ้ น้ี จะตอ้ งมชี ว่ งทลี่ ึกมากพอท่คี ล่ืนของนำ้ ท่ีเยน็ กว่าจะ ไม่เข้ามาอยู่บนผิวนำ้ ซ่งึ อา่ วไทยเป็นอา่ วน้ำตื้นไม่เหมือนทะเลฟลิ ิปนิ ส์ ส่วนลมเฉอื นก็จะต้องมกี ำลังน้อย เพราะ หากเมื่อลมเฉือนมกี ำลงั มาก การพาความรอ้ น และการหมุนเวียนในพายุหมนุ จะถูกทำให้กระจายทำให้ทวกี ำลังไม่ สำเร็จในระยะเวลาอนั สั้น อยา่ งไรก็ตาม เมอ่ื เวลา 08:30 ของวันท่ี 4 พฤศจิกายน 2532 ศูนย์กลางไต้ฝนุ่ เกย์กไ็ ด้เคลอ่ื นขึน้ ฝัง่ ไทยทจี่ งั หวัดชมุ พรด้วยความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุถึง 185 กม./ชม. (ความเรว็ ของไต้ฝุน่ ในระดับ 3) และก่อ ความเสยี หายมากมาย ความแปลกของไต้ฝนุ่ เกย์ยงั ไมจ่ บ ไตฝนุ่ เกย์กลายเป็นพายุ 2 มหาสมุทร 2 ชือ่ คือหลงั ถลม่ ไทย กล็ งทะเลอันดามนั เปล่ียนชื่อเรยี ก (เพราะข้ามโซน) เปน็ พายุไซโคลน Kavali ไปถลม่ รัฐอานธรประเทศ รฐั ท่ี ใหญ่เปน็ อันดบั สี่ของอินเดียต่อ ไต้ฝุ่นเกย์ยังแปลกไม่พอ มันยงั เปน็ ไต้ฝ่นุ กำลังแรงท่ีมเี สน้ ผ่านศนู ยก์ ลางเล็กกว่า ไตฝ้ นุ่ ท่ีมีกำลงั เท่ากนั ลกู อ่ืน พายุเกย์ส่งผลใหม้ ผี ้เู สียชวี ติ ในประเทศไทย 446+ราย บาดเจบ็ สญู หายอกี จำนวนมาก ไม่รวมของอินเดีย เกย์เปน็ พายลุ ูกเดยี วในประวัติศาสตร์ที่พัดเข้าส่ปู ระเทศไทยในความแรงระดบั ไตฝ้ ่นุ และถือเปน็ พายุท่ีมี ความเร็วลมสูงสดุ ขณะข้ึนฝ่งั เทา่ ที่เคยมมี าในคาบสมทุ รมลายู (พายโุ ซนรอ้ นแฮเรียดท่ีถล่มแหลมตะลุมพุกเม่ือ พ.ศ. 2505 ทำใหม้ ผี ูเ้ สียชีวติ มากกว่าไตฝ้ ุ่นเกย์แม้มีกำลังลมเบากว่ามากเพราะเกดิ กลางดึกและสมยั ก่อนไม่มกี ารเตรยี ม รับมอื ใดๆ

14 บรรณานุกรม ไต้ฝนุ่ เกย.์ เข้าถึงได้ท่ี http://www.thaiwater.net/current/1989/gay/gay2532.html.เมือ่ วนั ท่ี 16 ตลุ าคม 2563. วารสารอุตุนยิ มวทิ ยา ปีที่ 14 ฉบบั ที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2557

15


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook