Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สื่อ ระดับภาษา เทอม 2 - 62 E-BOOK

สื่อ ระดับภาษา เทอม 2 - 62 E-BOOK

Published by gee.khanitta, 2020-01-19 01:20:00

Description: สื่อ ระดับภาษา เทอม 2 - 62 E-BOOK

Search

Read the Text Version

1 ในการใช้ภาษาไทย เรามีการเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาสต่างๆ ซึ่งเราเรียกว่า ระดับภาษาการแบ่งภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร แบ่งได้ 2 ระดับ คือ1. ภาษาที่เป็นทางการหรือภาษาที่เป็นแบบแผน2. ภาษาที่ไม่เป็นทางการหรือภาษาที่ไม่เป็นแบบแผนการแบ่งภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ1. ภาษาระดับพิธีการ หรือ เป็นแบบแผน2. ภาษาระดับกึ่งพิธีการ หรือ กึ่งแบบแผน3. ภาษาระดับที่ไม่เป็นพิธีการการแบ่งภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นและใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แบ่งได้ 5 ระดับ คือ1. ภาษาระดับพิธีการ ผู้ใช้ภาษาระดับพิธีการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่างๆ ผู้รับสารเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่ ใช้การส่งสารผ่านสื่อมวลชนหรือในที่ชุมชน ภาษาระดับนี้มีการเลือกถ้อยคำที่สุภาพสละสลวย สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับพิธีการ ได้แก่ คำกล่าวในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น สุนทรพจน์ โอวาท ปาฐกถา คำกล่าวสดุดี คำไว้อาลัย คำกล่าวปราศรัย การแนะนำบุคคลสำคัญ บทร้อยกรองที่ต้องการจรรโลงใจให้ข้อคิด2. ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารในวงวิชาการ หรือวงการอาชีพเดียวกัน ผู้รับสารกับผู้ส่งสาร มีความสัมพันธ์กันในด้านหน้าที่การงาน สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับทางการ ได้แก่ งานเขียนทางวิชาการสาขาต่างๆ งานเขียนในแวดวงอาชีพเดียวกัน เอกสารของราชการ เช่น รายงานการประชุม จดหมายราชการ การเขียนข้อสอบอัตนัย การเป็นพิธีกรรายการที่มีสาระ คำสั่งประกาศ การประชุมปรึกษาในวาระสำคัญ ระดับภาษาตัวอย่างกราบเรียน ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ในนามของราชบัณฑิตยสถาน กระผมมีความปลาบปลื้มยินดีเป้นอย่างยิ่งที่ท่านประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้กรุณามาเป็นประธานในพิธีเปิดงานฉลองวันสถาปนาราชบัณฑิตยสถานครบ 70 ปีในวันนี้ ทั้งได้กรุณารับแสดงปาฐกถาพิเศษ ในเรื่อง ความเป็นไทยด้วยจิต“วิญญาณ ”ตัวอย่างในบทนี้เราจะพิจารณาบางส่วนของระบบค่านิยมของพวกกระฎุมพี ซึ่งเป็นชนชั้นนำของสังคมไทย นับตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา อันแสดงออกไว้ในวรรณกรรมของพวกตนเอง และอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำและประชาชนทั่วไป ได้กระจายระบบค่านิยมของตนเอง โดยผ่านวรรณกรรมลงมายังชนชั้นเบื้องล่าง ยิ่งในสมัยต่อมา เมื่อมีการสื่อสารมวลชนและการพิมพ์แพร่หลายขึ้นในประเทศ ระบบค่านิยมของกระฎุมพีเหล่านี้ก็จะยิ่งแพร่กระจายไปได้กว้างขึ้น ฝังแน่นอยู่ในวงวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมประจำชาติ (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2527 หน้า 217 218):-

2 3. ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับวงวิชาการหรือวงการอาชีพ สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ ได้แก่ งานเขียนในสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น บทบรรยายในนวนิยาย วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ เรื่องสั้น บทละคร จดหมายกิจธุระ จดหมายธุรกิจ จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลซึ่ง ไม่คุ้นเคยกัน การประชุมในหน่วยงาน การพูดโทรศัพท์กับบุคคลทั่วไป การเป็นพิธีกรรายการบันเทิง4. ภาษาระดับสนทนาหรือระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น เพื่อน ญาติ การเรียบเรียงภาษาไม่เคร่งครัดตามหลักไวยากรณ์มากนัก สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับสนทนากับบุคคลทั่วไป บทสนทนาในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลที่มีความสนิทสนมกัน การรายงานข่าวชาวบ้านในรายการโทรทัศน์ การเขียนบันทึกส่วนตัว การเขียนบทความในหนังสือพิมพ์5. ภาษาระดับกันเองหรือระดับปาก ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากเป็นพิเศษ เช่น เพื่อนสนิท ลักษณะภาษาอาจมีคำไม่สุภาพปะปนอยู่บ้าง สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกันเอง เช่น การเขียนบทสนทนาในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร การเขียนจดหมายติดต่อสื่อสารกับเพื่อนสนิท การเขียนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ตัวอย่างหนังสือนี้มีโครงเรื่องหลักอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกในองค์รวม อันเป็นผลพวงจากปฏิกิริยาเรือนกระจก หรือ green house effect ซึ่งเกิดจากน้ำมือมนุษย์โลกอย่างเราๆ ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้เกิดความร้อนและควันลอยขึ้นไปเกิดเป็นชั้นห่อหุ้มโลกไว้ ส่งผลให้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกสะท้อนกลับออกไปในห้วงอวกาศไม่ได้ โลกเลยกลายเป็นเตาอบยักษ์ที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ (ชาธร สิทธิเคหภาค, 2547 หน้า 112):ตัวอย่างความตั้งใจในการเดินทางของผมครั้งนี้อยู่ที่การหาเส้นทางซอกแซกไปที่น้ำตกเหวอีอ่ำ ของอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ แต่ความตั้งใจมิเป็นผลเมื่อเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ที่หน่วยพิทักษ์ป่าคลองเพกาปฏิเสธอย่างนิ่มนวลว่าไม่สามารถอนุญาตให้ขึ้นไปปั่นจักรยานได้ เนื่องจากยังไม่มีนโยบายให้ปั่นจักรยานขึ้นไปเที่ยวน้ำตกเหวอีอ่ำ ซึ่งคงจะต้องรอไปอีกสักพักใหญ่ๆ เพราะอยู่ในช่วงสำรวจจัดทำเส้นทางโดยทางอุทยานฯ มีแนวคิดที่จะเปิดให้จักรยานเสือภูเขาขึ้นไปอยู่แล้ว แต่เมื่อไหร่ยังไม่ทราบ เป็นคำปฏิเสธที่นุ่มนวล เราจึงได้แต่น้อมรับโดยดี (หมูหวาน, 2547 หน้า 72):ตัวอย่างทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย แต่เมธวินกับกีตาร์ ศิริรพิชญ์ ก็ยังจบโทจุฬาฯ เข้ารับปริญญาวันศุกร์นี้....เอ้าเพื่อน–ฝูงไปแสดงความยินดีได้ (ไฮไฟ, 2547 หน้า 37):

3 แบบทดสอบเรื่อง ระดับภาษา ( ท 4.1 ป.6/2)คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว1. ข้อใดเป็นปัจจัยที่นักเรียนต้องคำนึงในการสื่อสารกับบุคคลอื่นก. คู่สนทนาข. โอกาสในการสนทนาค. เวลาและสถานที่ง. ถูกทุกข้อ2. ขณะนี้นับว่าเป็นเวลามงคลฤกษ์แล้วกระผมขอเปิดงานสัปดาห์วิชาการ ณ บัดนี้ ข้อความข้างต้นเป็นการใช้ภาษาระดับใด“”ก. ภาษาระดับพิธีการข. ภาษาระดับทางการค. ภาษาระดับกึ่งทางการง. ภาษาระดับสนทนา3. กันว่าหนังเรื่องนี้ไม่หนุกเลยเนอะนายว่ามะ ข้อความข้างต้นเป็นการใช้ภาษาระดับใด“”ก. ภาษาระดับทางการข. ภาษาระดับกึ่งทางการค. ภาษาระดับสนทนาง. ภาษาระดับกันเอง4. การใช้ภาษาผ่านสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ ผู้ส่งสารควรเลือกใช้ภาษาระดับใดก. ภาษาระดับพิธีการข. ภาษาระดับทางการค. ภาษาระดับกึ่งทางการง. ภาษาระดับกันเอง5. ข้อใดเป็นภาษาระดับทางการก. ภาพยนตร์เรื่องนี้ทุ่มทุนสร้างมากมายก่ายกองข. ตามปกติแล้วบิดามารดาย่อมรักบุตรของตนค. รัฐบาลส่งเงินไปช่วยผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วมทางภาคเหนือง. สมชายเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์6. ข้อใดใช้ภาษาได้เหมาะสมกับบุคคลก. ขอบใจมากนะจ๊ะสมศรีที่นำกระเป๋าเงินมาคืนครูข. อาจารย์ครับท่านผู้อำนวยการให้ตามตัวไปพบด่วนครับค. ท่านคุณแม่ขาหนูขออนุญาตไปดูหนังกับเพื่อนๆ นะคะง. ยายต้องขอบคุณหนูมากที่อุตส่าห์นำผลไม้มาเยี่ยม7. หัวหน้ายังไม่ได้“แทงเรื่องลงมาให้เจ้าหน้าที่ธุรการเลย ควรใช้คำใดแทนคำที่ขีดเส้นใต้”ก. ยื่นข. ขอร้องค. ผ่านง. นำเสนอ8. คำสรรพนามในข้อใดไม่สมควรนำมาใช้ในภาษาระดับสนทนาก. ฉันข. ผมค. ข้าพเจ้าง. ดิฉัน9. ข้อใดใช้ภาษาระดับพิธีการก. การอวยพรวันเกิดข. การอบรมนักเรียนในชั้นเรียนค. การให้โอวาทในวันสำเร็จการศึกษาง. การเสนอข่าวในพระราชสำนัก10. ข้อดีของการใช้ภาษาถูกระดับคืออะไรก. ช่วยทำให้การสื่อสารสำเร็จผลข. ช่วยสร้างความประทับใจให้แก่กันค. ช่วยลดความผิดพลาดในการสื่อสารง. ถูกทุกข้อ

4 เฉลย แบบทดสอบเรื่อง ระดับภาษา ( ท 4.1 ป.6/2)คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว1. ข้อใดเป็นปัจจัยที่นักเรียนต้องคำนึงในการสื่อสารกับบุคคลอื่นก. คู่สนทนาข. โอกาสในการสนทนาค. เวลาและสถานที่ง. ถูกทุกข้อ2. ขณะนี้นับว่าเป็นเวลามงคลฤกษ์แล้วกระผมขอเปิดงานสัปดาห์วิชาการ ณ บัดนี้ ข้อความข้างต้นเป็นการใช้ภาษาระดับใด“”ก. ภาษาระดับพิธีการข. ภาษาระดับทางการค. ภาษาระดับกึ่งทางการง. ภาษาระดับสนทนา3. กันว่าหนังเรื่องนี้ไม่หนุกเลยเนอะนายว่ามะ ข้อความข้างต้นเป็นการใช้ภาษาระดับใด“”ก. ภาษาระดับทางการข. ภาษาระดับกึ่งทางการค. ภาษาระดับสนทนาง. ภาษาระดับกันเอง4. การใช้ภาษาผ่านสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ ผู้ส่งสารควรเลือกใช้ภาษาระดับใดก. ภาษาระดับพิธีการข. ภาษาระดับทางการค. ภาษาระดับกึ่งทางการง. ภาษาระดับกันเอง5. ข้อใดเป็นภาษาระดับทางการก. ภาพยนตร์เรื่องนี้ทุ่มทุนสร้างมากมายก่ายกองข. ตามปกติแล้วบิดามารดาย่อมรักบุตรของตนค. รัฐบาลส่งเงินไปช่วยผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วมทางภาคเหนือง. สมชายเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์6. ข้อใดใช้ภาษาได้เหมาะสมกับบุคคลก. ขอบใจมากนะจ๊ะสมศรีที่นำกระเป๋าเงินมาคืนครูข. อาจารย์ครับท่านผู้อำนวยการให้ตามตัวไปพบด่วนครับค. ท่านคุณแม่ขาหนูขออนุญาตไปดูหนังกับเพื่อนๆ นะคะง. ยายต้องขอบคุณหนูมากที่อุตส่าห์นำผลไม้มาเยี่ยม7. หัวหน้ายังไม่ได้“แทงเรื่องลงมาให้เจ้าหน้าที่ธุรการเลย ควรใช้คำใดแทนคำที่ขีดเส้นใต้”ก. ยื่นข. ขอร้องค. ผ่านง. นำเสนอ8. คำสรรพนามในข้อใดไม่สมควรนำมาใช้ในภาษาระดับสนทนาก. ฉันข. ผมค. ข้าพเจ้าง. ดิฉัน9. ข้อใดใช้ภาษาระดับพิธีการก. การอวยพรวันเกิดข. การอบรมนักเรียนในชั้นเรียนค. การให้โอวาทในวันสำเร็จการศึกษาง. การเสนอข่าวในพระราชสำนัก10. ข้อดีของการใช้ภาษาถูกระดับคืออะไรก. ช่วยทำให้การสื่อสารสำเร็จผลข. ช่วยสร้างความประทับใจให้แก่กันค. ช่วยลดความผิดพลาดในการสื่อสารง. ถูกทุกข้อ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook