Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใบความรู้ที่ 9

ใบความรู้ที่ 9

Published by Aiyarath Y., 2019-07-10 05:35:46

Description: ใบความรู้ที่ 9

Search

Read the Text Version

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 9 กฎหมายและหน่วยงานทีเ่ กยี่ วขอ้ งกบั งาน อาชีวอนามยั และความปลอดภัย

ใบความร้ทู ี่ 9 เรื่อง กฎหมายและหนว่ ยงานที่เกยี่ วขอ้ งกบั งานอาชวี อนามัยและความปลอดภยั 1. ความสาคัญของกฎหมายและหน่วยงานทเี่ ก่ียวข้องกับงานอาชวี อนามยั และ ความปลอดภัย กฎหมายที่เกย่ี วกบั การปฏิบตั งิ านในโรงงานมมี าตงั้ แต่ต้นศตวรรษที่ 19 ที่ ประเทศอังกฤษเพ่ือปกปอ้ งคุ้มครองผ้ปู ระกอบอาชพี จนถึงศตวรรษท่ี 21 กย็ ังมี สถานประกอบการนาเอาสารเคมีที่มีอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน มาใช้ใน กระบวนการผลิต ยิ่งทาให้กฎหมายมีความสาคัญอย่างมาก เพ่ือที่จะปกป้อง คมุ้ ครองผปู้ ฏิบตั งิ าน จึงตอ้ งมีหน่วยงานกาหนดมาตรฐาน แตส่ ถานประกอบการ ก็ยังนาสารอันตรายมาใช้ในระบวนการผลิต การท่ีจะทาให้สถานประกอบการ หรือนายจ้างเห็นความสาคัญของสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน ต้องทาความ เข้าใจและให้ความร่วมมือ อีกทั้งต้องบังคับผู้ปฏิบัติงานให้ตระหนักถึง ความสาคัญในความปลอดภัยและการป้องกันอันตรายที่จะเกิดในกระบวนการ ผลิต โดยต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเฉพาะตัวเอง รวมท้ังอันตรายที่เกิดจาก สภาพแวดลอ้ มในการปฏิบตั ทิ ไ่ี มป่ ลอดภยั 2. กฎหมายความปลอดภยั ในการทางาน กฎหมายเพื่อความปลอดภัยในการทางาน สาหรับประเทศไทยได้ออก กฎหมายที่เกยี่ วกบั อาชีวอนามัยและความปลอดภยั ไว้หลายฉบบั ดงั น้ี 1. ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เร่ือง การคุ้มครองแรงงาน พุทธศกั ราช 2515 2. พระราชบญั ญัตปิ ระกันสงั คม พุทธศักราช 2533

3. พระราชบญั ญตั ิการสาธารณสขุ พทุ ธศักราช 2535 4. พระราชบัญญตั โิ รงงาน พทุ ธศักราช 2535 5. พระราชบัญญัตวิ ัตถอุ นั ตราย พุทธศักราช 2535 6. พระราชบัญญัตเิ งนิ ทดแทน พทุ ธศักราช 2537 7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทางาน ท้ังหมด 17 ฉบับ 3. พระราชบญั ญตั ิโรงงาน พทุ ธศักราช 2535 1. การประกอบกิจการโรงงาน มาตรา 7 กาหนดให้โรงงานตามประเภท ชนิดหรอื ขนาดใดเปน็ โรงงานจาพวกที่ 1 โรงงานจาพวกที่ 2 หรอื โรงงานจาพวก ที่ 3 แล้วแต่กรณี โดยคานึงถึงความจาเป็นในการควบคุมดูแลการป้องกัน อุบัติเหตุเดือดร้อนราคาญ การป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตราย ตามระดับความรุนแรงของผลกระทบทจี่ ะมีต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม 2. การขอใบอนุญาตให้เป็นไปตามมาตรา 14 ใบอนุญาตให้ใช้ได้จนถึงวัน ส้ินปีปฏิทินแห่งปีท่ีห้านับแต่ปีท่ีเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่มีการย้ายโรงงาน ตามมาตรา 27 หรือมีการเลิกประกอบกิจการโรงงาน ให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นสุด อายุในวันที่ออกใบอนุญาตใหม่ หรือวันที่เลิกประกอบกิจการโรงงาน ถ้ามีเหตุ อันสมควรเพื่อยุติการประกอบกิจการในอนาคตอันใกล้ ผู้อนุญาตโดยอนุมัติ รัฐมนตรีจะออกใบอนุญาตให้มีอายุสั้นกว่าที่กาหนดไว้ในวรรคหนึ่งก็ได้ ใบอนุญาตที่ออกในกรณีนี้จะขอต่ออายุอีกไม่ได้ และมาตรา 15 การขอต่ออายุ ใบอนุญาต ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคาขอก่อนวันท่ีใบอนุญาตสิ้นอายุ เม่ือได้ย่ืนคา ขอดงั กล่าวแลว้ ใหถ้ อื ว่าผ้ยู ื่นคาขออยู่ในฐานะผู้รบั ใบอนุญาตจนกวา่ จะมคี าสั่งถึง ทีส่ ดุ ไมอ่ นุญาตใหต้ อ่ อายใุ บอนญุ าต

3. กฎกระทรวงฉบับท่ี 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงงานพ.ศ. 2535 4. พระราชบญั ญตั ิคุม้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 1. ระยะเวลาทางาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 2 มาตรา 23 ระบุว่า ให้นายจ้างประกาศเวลาทางานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดย กาหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาส้ินสุดของการทางานแต่ละวัน โดยวันหนึ่งต้องไม่ เกนิ แปดช่ัวโมง และรวมทั้งสน้ิ แล้วสัปดาห์หนึ่งตอ้ งไม่เกินส่ีสบิ แปดชัว่ โมงเว้นแต่ งานทอ่ี าจเป็นอันตรายต่อสขุ ภาพและความปลอดภัยของลกู จ้างตามที่กาหนดใน กฎกระทรวงจะมีเวลาทางานปกติต้องไม่เกินเจ็ดช่ัวโมงในหน่ึงวัน แต่รวมทั้งสิ้น แล้วสัปดาห์หน่ึงตอ้ งไมเ่ กินสสี่ บิ สองชว่ั โมง 2. การใชแ้ รงงานเดก็ ในมาตรา 44 หา้ มไมใ่ หน้ ายจ้างจ้างเด็กอายุต่ากว่า 15 ปีเป็นลูกจ้าง และหากมีการจ้างเด็กอายุต่ากว่า 18 ปีเป็นลูกจ้าง ห้ามมิให้ นายจา้ งให้เด็กทางานอยา่ งใดอย่างหน่งึ ดังตอ่ ไปน้ี 2.1. งานหลอม เป่า หล่อ หรอื รีดโลหะ 2.2 งานปมั๊ โลหะ 2.3 งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียง และ แสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตรายตามที่กาหนดใน กฎกระทรวง 2.4 งานเกีย่ วกบั สารเคมีทีเ่ ปน็ อนั ตรายตามทก่ี าหนดในฎกระทรวง 2.5 งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซ่ึงอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรอื เช้อื อื่นตามท่ีกาหนดในกฎกระทรวง

2.6 งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานใน สถานีบริการน้ามนั เชอ้ื เพลิงตามท่ีกาหนดในกฎกระทรวง 2.7 งานขับหรือบงั คับรถยกหรอื ปนั้ จัน่ ตามท่กี าหนดในกฎกระทรวง 2.8 งานใช้เลือ่ ยเดินด้วยพลังไฟฟา้ หรือเครื่องยนต์ 2.9 งานทต่ี อ้ งทา ใตด้ ิน ใต้นา้ ในถ้า อโุ มงค์ หรือปลอ่ งในภเู ขา 2.10 งานเกี่ยวกบั กมั มันตภาพรังสีตามทกี่ าหนดในกฎกระทรวง 2.11 งานทาความสะอาดเครื่องจักรหรือเคร่ืองยนต์ขณะท่ีเครื่องจักร หรอื เครือ่ งยนตก์ าลงั ทางาน 2.12 งานทีต่ อ้ งทา บนนงั่ รา้ นที่สูงกวา่ พืน้ ดินตง้ั แต่สบิ เมตรขึน้ ไป 2.13 งานอน่ื ตามท่กี าหนดในกฎกระทรวง 3. ค่าจ้าง ค่าลว่ งเวลา ค่าทางานในวนั หยุด และค่าลว่ งเวลาในวนั หยุด ในกรณที งี่ านมีลกั ษณะและคณุ ภาพอยา่ งเดยี วกันและปรมิ าณเท่ากนั ใหน้ ายจ้าง กาหนดค่าจ้างค่าล่วงเวลา ค่าทางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ ลูกจ้างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าลูกจ้างน้ันจะเป็นชายหรือหญิง และต้องจ่ายเป็น เงินตราไทย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทางาน สาหรบั วนั หยุด ดังตอ่ ไปน้ี 3.1 วันลา นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วย เท่ากับอัตรา ค่าจ้างในวันทางานตลอดระยะเวลาท่ีลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน ทางาน 3.2 ลาทาหมัน ลูกจ้างใช้สิทธิลาเพื่อทาหมัน ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจา้ งในวันลานั้นด้วย

3.3 ลารับราชการทหาร นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อ รบั ราชการทหารเทา่ กบั ค่าจา้ งในวนั ทางานตลอดระยะเวลาท่ลี า แต่ปหี นึ่ง ตอ้ งไมเ่ กิน 60 วนั 3.4 ลาคลอด นายจา้ งจ่ายคา่ จา้ งให้แก่ลกู จ้างซ่ึงเปน็ หญิงในวันลาเพ่ือ คลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทางานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน 4. คณะกรรมการค่าจ้าง ให้มีคณะกรรมการค่าจ้างประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเป็นประธานกรรมการ โดยมีผู้แทน ฝ่ายรัฐบาล 4 คน ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละ5 คน ซ่ึง คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และข้าราชการกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคมซึ่งรฐั มนตรแี ตง่ ตั้งเปน็ เลขานุการ 5. สวัสดิการ ให้มีคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเป็นประธานกรรมการ กรรมการ ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล 4 คน กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่าย ลูกจ้างฝ่ายละ 5 คน ซ่ึงรัฐมนตรีแต่งต้ังเป็นกรรมการและข้าราชการกรม สวสั ดกิ ารและคมุ้ ครองแรงงานซึ่งรฐั มนตรแี ต่งต้งั เปน็ เลขานกุ าร 6. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางานให้มี คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนกรมอนามัย ผู้แทนกรมโรงงาน อุตสาหกรรม ผู้แทนกรมโยธาธิการ และผู้แทนกรมควบคุมมลพิษเป็นกรรมการ กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละ 7 คน และข้าราชการกรม สวัสดกิ ารและคุ้มครองแรงงานเป็นกรรมการและเลขานุการ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook