Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore smart home

smart home

Published by 4.กฤษณะ แตงทอง, 2021-12-22 01:46:08

Description: smart home

Search

Read the Text Version

INTERNEL OF THINGS BY KRITSANA TAENGTONG

smart home ซึ่งการจะเป็นบ้านอัจฉริยะ ความหมายในบ้านเราที่ใช้กันนั้น มีความ หมายที่กว้างคืออาจจะเป็นบ้านที่มีระบบอัตโนมัติเล็ก ๆ ที่เรียกว่า user control(ผู้อยู่อาศัยสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของ บ้านให้ตอบสนองความต้องการของตนได้ด้วยตัวของผู้อยู่อาศัยเอง) จนไปถึงระบบอัตโนมัติที่เต็มรูปแบบที่เรียกว่า rule-based control คือบ้านจะมีระบบควบคุมที่สามารถตรวจจับค่า พารามิเตอร์ต่าง ๆ ภายในบ้านแล้วทำการปรับเปลี่ยนหรือตอบสนอง ต่อความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้โดยอัตโนมัติ(ซึ่งระบบที่เต็มรูป แบบนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของงานวิจัยซึ่งบริษัทหลาย ๆ แห่งในต่าง ประเทศได้เซตห้องแลปขึ้นเพื่อทำการวิจัยด้านนี้โดยเฉพาะ) นั่นคือ เราเข้าใจว่าหากบ้านของเรามีระบบอัตโนมัติแค่นิด ๆ หน่อย ๆ เราก็ ถือว่าบ้านของเราเป็นบ้านอัจฉริยะแล้ว เช่นอาจมีระบบประตู อัตโนมัติ หรือมีระบบรีโมทช่วยควบคุมการเปิดปิดอุปกรณ์ทุกอย่าง หรือเพียงติดตั้งกล้องวงจรปิดก็คิดว่าบ้านของเรานี่เป็น smart home แล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ลวกหยาบเกินไป

SMART CITY องค์การสหประชาชาติ (UNITED NATION) ได้ประมาณการว่า ภายในปีค.ศ. 2050 จะมีจำนวนประชากรบนโลกเพิ่มขึ้นอีก 2 พันล้าน คน ส่งผลให้เมืองขนาดใหญ่แบบมหานคร MEGA URBAN CITY มีจำนวนมากขึ้นในอีก 15 ปีข้างหน้า และจากสถิติเฉลี่ยในปัจจุบัน มีผู้ อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ราว 55% ในขณะที่ 45% อาศัยอยู่นอกเขตเมืองโดยในอีก 30 ปีข้างหน้า คาดว่าสัดส่วนผู้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่จะ เพิ่มเป็น 68% สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีอัตราการอยู่อาศัยในเมืองใหญ่อยู่ที่ประมาณ 50% (RESEARCH BY SIEMENS) นอกเหนือจากเมืองขนาดใหญ่แบบมหานคร MEGA URBAN CITY ที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น ด้วยสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพภูมิอากาศ (CLIMATE CHANGE) หรือ โรคระบาดร้ายแรงต่าง ๆ (PANDEMIC) ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผล ให้การพัฒนาเมืองใหญ่ และการเตรียมการในด้านต่าง ๆ เพื่อรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าวกลายเป็นภารกิจสำคัญ อาทิ การบริหาร สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย การบริการทางสังคม บริการด้านสาธารณสุข หรือ แม้แต่การศึกษา ซึ่งความท้าทายเหล่านี้ ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยีเดิม ๆ ที่มีอยู่ ในขณะที่เทรนด์การเติบโตของมหานคร (URBANIZATION) และดิจิทัลไลเซชั่น (DIGITALIZATION) ได้พัฒนามาจนเกิดเป็นมิติใหม่สำหรับคนเมือง ดังนั้น “เมืองอัจฉริยะ” จึง เป็นหนึ่งในคำตอบที่จะเข้ามาช่วยบริหารเรื่องใหม่ๆ เหล่านี้การเพิ่มขึ้นของมหานครดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งที่มาของการสร้างเมือง อัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและ การบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วน ร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมี คุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน เมืองอัจฉริยะแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

smart grids คือระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีหลากหลายประเภทเข้ามา ทำงานร่วมกัน โดยครอบคลุมตั้งแต่การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้น ตลอดทั้งห่วงโซ่ของระบบไฟฟ้าตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า การส่งไฟฟ้า การ จำหน่ายไฟฟ้า ไปจนถึงภาคส่วนของผู้บริโภค ได้อย่างชาญฉลาด การสื่อสาร ในการเก็บข้อมูลและทำการสั่งการควบคุมโครงข่ายไฟฟ้าโดยใช้ข้อมูลดัง กล่าวในการตัดสินใจ เช่น เก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้งานและ การผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิต การควบคุมอัตโนมัติของระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อ ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพความเชื่อถือได้ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และความยั่งยืนในการผลิตและจ่ายไฟฟ้าในระบบโครงข่ายไฟฟ้า นั่นคือผู้ใช้ ไฟฟ้าทั่วไปตั้งแต่ภาคบ้านเรือน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจและการพาณิชย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังครอบคลุมไปถึงการเชื่อมต่อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน เข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าและเตรียมพร้อมรองรับการนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาใช้ งานในอนาคต เป็นต้น

SMART FARMER Smart Farmer คือเกษตรกรที่มีการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีและระบบดิจิทัล นวัตกรรม รวมถึงข้อมูล หรือ แนวคิดทางธุรกิจแบบใหม่ เพื่อผลักดันประสิทธิภาพการ ผลิตของตัวเองให้ได้มากที่สุด ภายใต้งบประมาณที่เหมาะ สมที่สุด หลายคนเข้าใจว่าการทำงานของ Smart Farmer นั้น ไกลตัว แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น การใช้อุ ปกรณ์สมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูล การเกษตร การผลิตและการคำนวณหาการเพาะปลูกที่ เหมาะสมที่สุด ก็เป็นขั้นแรกของ Smart Farmer แล้ว แนวคิดของ Smart Farmer เพิ่มความเป็นไปได้ยิ่งขึ้นอีก เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล ที่ ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ IoT การใช้งาน Big Data การใช้งานโดรน หรือการใช้หุ่นยนต์ รูปแบบต่างๆ ร่วมกับการเกษตรก็สามารถหาได้ง่ายขึ้น ต้นทุนลดต่ำลง

CONNECTED CAR Connected Car เป็นการประยุกต์ใช้งานอย่างหนึ่งของ Internet of Things (IoT) โดยเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมา ประยุกต์ใช้กับยานยนต์และการคมนาคมขนส่ง ทำให้รถยนต์ สามารถสื่อสารกับสิ่งต่างๆ หรือเป็นเหมือน “สมาร์ทโฟนติดล้อ (Smartphone on wheels)” ตามคำกล่าวของ Akio Toyoda ประธานบริษัท Toyota Motor Corporation

smart retail “SMART RETAIL SMART SALE” เกี่ยวกับ IOT SMART RETAIL หรือ ระบบค้าปลีก อัจฉริยะ เป็นการนำเทคโนโลยี IOT (INTERNET OF THINGS) มาใช้ในการขายสินค้า และบริการ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจห้างร้าน ด้วยการเพิ่มประสบการณ์ สำหรับลูกค้าในการซื้อ ผ่านการส่งข้อมูลให้กับลูกค้าด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลา โดยลูกค้า สามารถเช็ครายการสินค้า และซื้อสินค้าได้ด้วยตนเอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ ลูกค้า และลดการใช้ทรัพยากรแรงงานในการบริการลูกค้าด้วยระบบการทำงานที่ ชาญฉลาดของ IOT ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่ระบบนี้จะถูกนำไปใช้และพัฒนามากยิ่ง ขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน AIS D.C. เชิญร่วมรับฟังการบรรยายกึ่งเสวนาโดย คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้า ฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่จะมา พูดคุยเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยี IOT (INTERNET OF THINGS) รวมทั้ง กระบวนการออกแบบแพลตฟอร์มออนไลน์ SMART RETAIL ที่ควบคุมการทำงานด้วย เทคโนโลยี IOT และระบบการทำงานของอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก สามารถ เพิ่มประสบการณ์และความน่าสนใจให้กับลูกค้าในธุรกิจแบบร้านค้าปลีกอัจฉริยะ

smart wearable Smart Wearable เทรนด์การตลาดปี 2021 ที่คาดว่าจะมาแรงในหมู่คนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ Smart Wearable หมายถึงอุปกรณ์อัจฉริยะที่สามารถ ทำงานได้หลายอย่าง ตั้งแต่ วัดชีพจร วัดก้าว คำนวณเวลานอนหลับ อ่านข้อความ รับโทรศัพท์ การทำงานเหล่านี้จะถูกรวมอยู่ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวซึ่งเราจะสามารถ สวมใส่บนร่างกายเราได้

SMART SUPPLY CHAIN Supply Chain หรือในชื่อไทยคือห่วงโซ่อุปทาน คือกระบวนการที่ทำให้เกิดสินค้าใดสินค้าหนึ่งขึ้นมา หรือบริการใด บริการหนึ่งขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการ (Demand) ของเหล่าลูกค้าต่างๆ โดยกระบวนการดังกล่าวจะมีรูปแบบ และการจัดการแยกย่อยออกไป แล้วแต่ว่าเรากำลังผลิต Supply ใดขึ้นมาเพื่อตอบสนองผู้ซื้อ การจัดการ Supply Chain มีมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตามมักจะมีการเอ่ยถึง 5 ส่วนหลักๆ ซึ่ง ก็คือ Suppliers: ผู้สนับสนุนด้านวัตถุดิบ Manufacturers: ผู้ผลิต Wholesalers: ผู้กระจายสินค้า Retailers: ผู้ค้าปลีก Customer: ผู้บริโภค ดังที่กล่าวไปข้างต้น แม้จะมีการแบ่งเป็น 5 ส่วนหลัก แต่ในเชิงการทำงานแล้ว ในการทำงานจริงก็จะมีการแบ่งแยกย่อย ออกไป ตามแต่การจัดการของผู้ประกอบการ เช่น กระบวนการของซัพพลายเออร์ก็จะมีทั้งการจัดซื้อ จัดจ้าง และการ จัดหาผู้ขาย การนำเข้าวัตถุดิบเองก็จะแยกย่อยออกไปเป็นการเก็บรักษา การซื้อเพื่อใช้ในทันที รวมไปถึงการกระจาย สินค้าเองก็ต้องผ่านการวางแผนการผลิตเช่นกัน ชัดเจนว่าหากเราแบ่งกันตามจริง Supply Chain จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างมีความยุ่งยากสูง ทำให้เกิดการทำงานของ Supply Chain Management (SCM) ขึ้น ซึ่งจะเป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งผู้ซื้อ ผู้ขายรายย่อย รวมไปถึงลูกค้าไว้ในที่ เดียว ให้สามารถบริหารจัดการคลังสินค้า ลูกค้า หรือการบริหารจัดการภายในองค์กร สามารถทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook