สามัคคีเภทคำฉันท์ คณะผู้จัดทำ นายธนวัตน์ ฉ่ำคร้าม เลขที่ ๗ นายนราธิป ศรีวงค์ษา เลขที่ ๘ นางสาวขวัญชนก ลั กษณนปนรทะ์วศัิตริิ นางสาวญาณินท์ เลขที่ ๑๘ เลขที่ ๑๙ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖.๓ เสนอ ครูณัฐยา อาจมังกร รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาภาษาไทย วิชาภาษาไทย (ท๓๓๑๐๑) ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม
สามัคคีเภทคำฉันท์ คณะผู้จัดทำ นายธนวัตน์ ฉ่ำคร้าม เลขที่ ๗ นายนราธิป นางสาวขวัญชนก ศรีวงค์ษา เลขที่ ๘ นางสาวญาณินท์ ลั กษณนปนรทะ์วศัิตริิ เลขที่ ๑๘ เลขที่ ๑๙ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖.๓ เสนอ ครูณัฐยา อาจมังกร รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาภาษาไทย วิชาภาษาไทย (ท๓๓๑๐๑) ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม
ก คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการภาษาไทย ( รหัสวิชา ท๓๓๑๐๑) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา๒๕๖๖ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบ ด้วย ผู้แต่ง จุดประสงค์ในการแต่ง ที่มาของเรื่อง ลักษณะคำ ประพันธ์ คำประพันธ์ชนิด ใดบ้าง ข้อบังคับของคำประพันธ์ประเภทฉันท์ แผนผัง และฉันทลักษณ์ของวิเชียรฉันท์ และวิชชุมมาลาฉันท์ เรื่องย่อก่อนบทเรียนของสามัคคีเภทคำฉันท์ การถอดคำประพันธ์ ของสามัคคีเภทคำฉันท์ การอธิบายคำศัพท์ยากของสามัคคีเภทคำฉันท์และคุณค่า วรรณคดีของสามัคคีเภทคำฉันท์เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ และศึกษาข้อมูลอ ย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์แก่การเรียนรู้คณะผู้จัดทำ หวังเป็นอย่าง ยิ่งว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียนนักศึกษาที่กำลังหาข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ หากมึข้อแนะนำหรือ ข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทำขอน้อม รับไว้และขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย ทางคณะผู้จัดทำขอขอบคุณครูณัฐยา อาจมังกร ที่ให้ คำปรึกษาเเละขอเสนอเเนะ ในการทำรายงานในครั้งนี้ คณะผู้จัดทำ
สารบ ัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ สารบัญ ก
สามัคคีเภทคำฉันท์ ผู้แต่ง สามัคคีเภทคำฉันท์ นายชิต บุรทัต ได้นำเค้าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์มาจากนิยายสุภาษิตเรื่องหนึ่งในหนังสือพิมพ์ร์ายคาบช่อ ธรรมจักษุ\"หนังสือรุ่นแรกของมหากุฏราชวิทยาลัย เป็นหนังสือที่เรียบเรียงจากภาษาบาลีซึ่งมีเรื่องราวอยู่ในมหา ปรินิพพานสูตร และอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี โดยชิต บุรทัตได้แต่งเติมความตามลีลาฉันท์เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ มีจุด มุ่งหมายเพื่อแสดงฝีมือกวีเฉลิมพระนคร และเป็นคติสอนใจ แสดงโทษแห่งการแตกความสามัคคี จุดประสงค์ในการเเต่ง นายชิต บุรทัต อาศัยเค้าคำแปลของเรื่องสามัคคีเภทมาแต่งเป็นคำฉันท์ เพื่อเป็นที่ปรากฏ และเป็นพิทยาภ รณ์ประดับบ้านเมือง ที่มาของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทุธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพาน สููตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสิสี ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของบ้านเมือง นายชิต บุรทัต จึง ได้แต่งเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ โดยอาศัยเค้าคำแปลของเรื่องสามัคคีเภท มาแต่งเป็นคำฉันท์ขึ้นมาใน ปีพ.ศ. 2457 ลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุ ของมหามกุฏราชวิทยาลััย มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งชี้ความสำคัญของความ สามัคคี การร่วมกันเป็นอันหนึ่งใจเดียวกัน
ลักษณะคำประพันธ์ของสามัคคีเภทคำฉันท์ ข้อบังคับของสามัคคีเภทคําฉันท์ คือ สามัคคีเภทคําฉันท์ แต่งด้วยคําประพันธ์ประเภทฉันท์ ๑๙ ชนิด กาพย์ ๑ ๑. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ เป็นฉันท์ทมี่ ลีลาการอ่านสง่างาม เคร่งขรึม มีอํานาจดุจเสือผยอง ใช้แต่งสําหรับบท ไหว้ ครู บทสดุดี ยอพระเกียรติ ๒. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ เป็นฉันท์ทมี่ ลีลาไพเราะ งดงาม เยือกเย็นดุจเม็ดฝน ใช้สําหรับบรรยายหรือพรรณนา ชื่นชม สิ่งที่สวยงาม ๓. อุปชาติฉันท์ ๑๑ นิยมแต่งสําหรับบทเจรจาหรือบรรยายความเรียบๆ ๔. อีทิสังฉันท์ ๒๑ เป็นฉันทท์ มีจังหวะกระแทกกระทั้น เกรี้ยวกราด โกรธแค้น และอารมณร์ รุนนแรง เช่น รักมาก โกรธมาก ตื่นเต้น คึกคะนอง หรือพรรณนาความสับสน ๕. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่มีลีลาสวยงามดุจสายฟ้าพระอินทร์ มีลีลาอ่อนหวาน ใช้บรรยายความหรือ ที่มา https://images.app.goo.gl/yB6EUCDSzZfFVof97 คำครุ (อ่านว่า คะ-รุ) 1. พยางค์ที่มีมาตราตัวสะกดในทุกมาตรา 2. พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวเท่านั้น ไม่มีตัวสะกดก็ได้ 3. พยางค์ที่ประสมด้วย อำ ไอ ใอ เอา จัดเป็นคำครุเพราะมีตัวสะกด คำลหุ (อ่านว่า ละ-หุ) 1. พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด 2. พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นเท่านั้น เช่น แพะ แกะ นะคะ ชิชะ 3. รวมถึง บ่ ณ ธ ก็ เพราะเป็นพยางค์ที่ออกเสียงสั้นและไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด
๖. วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ หมายถึง ระเบียบแห่งสายฟ้า เป็นฉันท์ที่ใช้ในการบรรยายความ ๗. อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ที่มีลีลาตอนท้ายไม่ราบเรียบคล้ายกลบทสะบัดสะบิ้ง ใช้ในการบรรยายความ หรือพรรณนาความ ๘. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ที่มีสําเนียงอันไพเราะเหมือนเสียงปี่ ๙. มาลินีฉันท์ ๑๕ เป็นฉันท์ที่ใช้ในการแต่งกลบทหรือบรรยายความที่เคร่งขรึม เป็นสง่า ๑๐. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ที่มีลีลางามสง่าดุจงูเลื้อย นิยมใช้แต่งบทที่ดําเนินเรื่องอย่างรวดเร็วและ คึกคัก ๑๑. มาณวกฉันท์ ๘ เป็นฉันท์ที่มีลีลาผาดโผน สนุกสนาน ร่าเริง และตื่นเต้นดุจชายหนุ่ม ๑๒. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันทท์ ที่มีความไพเราะใช้ในการบรรยายบทเรียบๆ ๑๓. สัทธราฉันท์ ๒๑มีความหมายว่า ฉันท์ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ผู้ฟัง จึงเหมาะเป็นฉันท์ที่ใช้สําหรับแต่ง คํานมัสการ อธิษฐาน ยอพระเกียรติ หรืออัญเชิญเทวดา ใช้แต่งบทสั้นๆ ๑๔. สาลินีฉันท์ ๑๑ เป็นบททที่มีคําครุมาก ใช้บรรยายบทที่เป็นเนื้อหาสาระเรียบๆ ๑๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่เหมาะสําหรับใช้บรรยายบทเรียบๆ แต่ไม่ใคร่มีคนนิยมแต่งมากนัก ๑๖. โตฏกฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ทที่มีลีลาสะบัดสะบิ้งเหมือนประตักแทงโค ใช้แต่งกับบทที่แสดงความโกรธเคือง ร้อนรนหรอืสนุกสนานคึกคะนองตื่นเต้นและเร้าใจ ๑๗. กมลฉันท์ ๑๒ หมายถึง ฉันท์ที่มีความไพเราะเหมือนดังดอกบัว ใช้กับบทที่มีความตื่นเต้นเล็กน้อยและใช้ บรรยายเรื่อง ๑๘. จิตรปทาฉันท์ ๘ เป็นฉันทท์ เหมาะสําหรับบทที่น่ากลัว เอะอะ เกรี้ยวกราด ตื่นเต้นตกใจและกลัว ๑๙. สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘ มีลักษณะการแต่งคล้ายกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ แต่ต่างกันที่มีข้อบังคับ ครุ ลหุ เพิ่ม ขึ้นมา ทําให้เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น เหมาะสําหรับข้อความที่คึกคักสนุกสนาน โลดโผน ตื่นเต้น ๒๐. กาพย์ฉบัง ๑๖เป็นกาพย์ที่มีลีลาสง่างาม ใช้สําหรับบรรยายความงามหรือดําเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว
ลักษณะเด่นของ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีที่มีความงดงาม ใช้ถ้อยคำอย่างละเมียดละไม โอ่อ่าอลังการในการใช้แบบแผนฉันทลักษณ์ของ กาพย์และฉันท์เช่น การใช้สัททุลลวิกกีฬิต ฉันท์แต่งบทไหว้ครู หรือการใช้มาลินีฉันท์ และสัทธราฉันท์แต่ง บทขรึมขลัง การใช้กาพย์และ ฉันท์ลักษณะอื่นๆ ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหา อารมณ์ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องน่าหวาดกลัว เกรี้ยวกราด ตกใจ ผาดโผน ลีลาอ่อนไหวโน้มน้ำใจ หรือเศร้าสังเวช จนกล่าวได้ว่า เอกภาพของเนื้อหาและรูปแบบฉันทลักษณ์ในสามัคคีเภทคำฉันท์นั้นแต่งได้ดียิ่ง ควรเป้นแบบอย่างในการ ศึกษาเรียนรู้ ฉันทลักษณ์สำคัญ คำประพันธ์ชนิด “ฉันท์” จะมีฉันท ลักษณ์ที่เป็นลักษณะบังคับ ได้แก่ 1.ครุ คือ พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว เช่น ตา แม่ ปู และสระ อำ ใอ ไอ เอา เช่น ทำ ใจ ไป เดา รวมทั้งพยางค์ที่มีตัวสะกด เช่น แมว จาน กลม เป็นต้น 2.ลหุ คือ พยางค์ที่ประสมกับสระเสียงสั้น และจะต้องไม่มีตัวสะกด เช่น จะ สิ ก็ ธ เป็นต้น หลักธรรมสำคัญ หลักธรรมสำคัญของ สามัคคีเภทคำฉันท์ สะท้อนให้เห็นถึงการแตกความสามัคคีกันระหว่างเหล่า กษัตริย์ลิจฉวี เป็นสาเหตุนำไปสู่การเสียแคว้นวัชชีแก่พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ครองแคว้นมคธ ทั้งที่แต่เดิมนั้น กษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนตั้งมั่น
เรื่องย่อก่อนบทเรียน เรื่องย่อก่อนบทเรียนของสามัคคีเภทคําฉันท์ สมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงครองราชสมบัติที่นครราชคฤห์แคว้นมคธ พระองคทรงมีวัสสการพราหมณ์ ผู้ฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาราชกิจทั่วไปขณะนั้นทรง ปรารถจะแผ่พระราชอาณาเขตเข้าไปถึงแควันวัชชี แต่กริ่งเกรงว่ามิ อาจเอาชนะได้ด้วยการส่งกองทัพเข้า รุกรานเนื่งจากบรรดากษัตริย์ลิจฉวีมีความสามัคคีสูงและการปกครอง อาณาประชาราษฎ์รด้วยธรรมอำนาจความเจริญเข้มแข็งมาสู่แว่นแคว้น พระเจ้าอชาตศัตรูทรงหารือเรื่องนี้ เป็นการเฉพาะกับวัสสการพราหมณ์ จึงเห็นแจ้งในอุบายจะเอาชนะด้วยปัญญา วันหนึ่งพระเจ้าอชาตศัตรู เสด็จออกว่าราชการพร้อมพรั่งด้วยเสนา อํามาตย์ผู้ใหญ่ เมื่อเสร็จวาระเรื่องอื่นๆลงแล้ว จึงตรัสในเชิงหารือ ว่า หากพระองค์จะยกทัพไปปราบแคว้น วัชชีใครจะเห็นคัดค้านประการใดคุณส่ง วัสสการพราหมณ์ฉวยโอกาสเหมาะกัยอุบายตนที่วางไว้ ก็กราบทูลท้วงว่าเห็นทีจะเอาชนะไม่ได้เลยเพราะ กษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนผูกพันเป็นกัลยาณมิตรอย่างมั่นคงมีวามสามารถในการศึกและกล้าหาญอีกทั้งโลก จะติเตียนหากฝ่ายมคธจงใจประทุษร้ายรุกรานเมืองอนื่ ขอให้ยับยั้งการทําศึกเอาไว้เพื่อความสงบของ ประชาราษฎร
ธรรมที่เรียกว่า \"อปริหานิยธรรม\" ของ สามัคคีเภทคำฉันท์ ธรรมอันเป็นไปเพื่อเหตุแห่งความเจริญฝ่ายเดียว ผู้ปฏิบัติจักไม่เป็นไปในทางเสื่อม อันได้แก่ ๑. เมื่อมีกิจใดเกิดขึ้น ก็ประชุมกันปรึกษาในกิจนั้น ๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันกระทำ กิจอันควรทำ ๓. ถือมั่นตามขนบธรรมเนียมหรือประเพณีอันดีอันชอบที่มีอยู่ ไม่เลิกถอน หรือดัดแปลงเสียใหม่ ๔. มีความเคารพยำเกรงผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ ทั้งเชื่อถือกระทำตามถ้อยคำบัญชาและคำ แนะนำสั่งสอนของผู้เป็นใหญ่นั้น ๕. ไม่ประทุษร้ายข่มเหงบุตรและภริยาของกันและกันด้วยประการใดๆ ๖. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นต่อเจดียสถาน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และการกระทำพลีกรรมบวงสรวงก็กระทำ ตามควร ๗. อำนวยความคุ้มครองป้องกันแก่พระอรหันต์ บรรดาที่มีอยู่ในแว่นแคว้นวัชชีให้เป็นสุขและ ปราศจากภัย
แก่นเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ 1. โทษของการแตกสามัคคี 2. การใช้สติปัญญาเอาชนะฝ่ายศัตรู 3. การใช้วิจารณญานก่อนที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดย่อมเป็นการดี 4.การถือความคิดของตนเป็นใหญ่และทะนงตนว่าดีกว่าผู้อื่น ย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม วิเคราะห์ตัวละคร วัสสการพราหมณ์กับกษัตริย์ลิจฉวี วัสสการพราหมณ์เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการดำเนินเรื่อง เป็นผู้ออกอุบายวางแผนและ ดำเนินการยุยงจนเหล่ากษัตริย์แตกความสามัคคีทำให้อชาตศัตรูเข้าครอบครองแคว้นวัชชีได้สำเร็จ วัสสกา รพราหมณ์เป็นพราหมณ์อาวุโสผู้มีความสามารถสติปัญญาดี รอบรู้ศิลป์วิทยาการและมีวาทศิลป์เป็นที่ไว้ วางใจจากฝ่ายศัตรูและสามารถโน้มน้าวเปลี่ยนความคิดของฝ่ายตรงข้ามให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้สำเร็จ บางทรรศนะอาจเห็นว่าวัสสการพราหมณ์เป็นคนที่ขาดคุณธรรมใช้อุบายล่อลวงผู้อื่นเพื่อประโยชน์ฝ่ายตน แต่อีกมุมหนึ่งวัสสการพราหมณ์มีคุณสมบัติที่น่ายกย่องกล่าวคือมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรูและ บ้านเมืองเป็นอย่างมากยอมเสียสละความสุขส่วนตน ยอมลำบากเจ็บตัว ยอมเสี่ยงไปอยู่ในหมู่ศัตรูต้องใช้ ความอดทดสูงและรู้จักรักษาความลับได้ดีเพื่อให้อุบายสำเร็จ ส่วนเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีขาดวิจารญาณ(ญาณ พิจารณ์ตรอง) จนในที่สุดทำให้แตกความสามัคคีจนเป็นเหตุให้แคว้นวัชชีตกเป็นของแคว้นมคธ
ถอดคําประพันธ์ของสามัคคีเภทคําฉันท์ ยกตัวอย่างเช่น ตัวอย่างที่ ๑ ตัวอย่างที่ ๒
ตัวอย่างที่ ๔ ตัวอย่างที่ ๕
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ของสามัคคีเภทคำฉันท์ การเลือกสรรคำ วรรณคดีปร ะเภทฉันท์แม้จะนิยมใช้คำบาลีสันสกฤตก็ตาม เพราะต้องการบังคับครุ ลหุ แต่ผู้แต่ง สามัคคีเภทคำฉันท์ก็เลือกสรรคำได้อย่างไพเราะเหมาะสมทั้งเสียงและความ ๑. ใช้คำง่าย ๆ ในบางตอน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ไม่ยากนัก เช่น ตอนวัสสการพราหมณ์เข้าเมืองเว สาลีซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชี “ผูกไมตรีจิต เชิงชิดชอบเชื่อง กับหมู่ชาวเมือง ฉันท์อัชฌาสัย เล่าเรื่องเคืองขุ่น ว้าวุ่นวายใจ จำเป็นมาใน ด้าวต่างแดนตน” ๒. การใช้คำที่มีเสียงเสนาะ เสียงเสนาะเกิดจากการใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ มีการย้ำคำ ใช้คำที่ ก่อให้เกิดความรู้สึก เช่น ตอนชมกระบวนช้าง “แพร้วแพร้วพรายพรายข่ายกรอง ก่องสกาวดาวทอง ทั้งพู่สุพรรณสรรถกล” คำ แพร้วแพร้ว และพรายพราย ก่อให้เกิดความรู้สึกในด้านความโอ่อ่างดงามได้อย่างดี “ยาบย้อยห้อยพู่ดูดี ขลุมสวมกรวมสี สะคาดกนกแนมเกลา” คำ ยาบย้อย เสียงของคำไพเราะทำให้ผู้อ่านเห็นความงาม
อ้างอิงจาก hhhttttttpppsss::://////wwwwwwwww...kgtborowtoo.abkcna.onthwn/o.iomkr.gca/ogpemoss//te1s6_/8l3e73a56r7n2n4ing/chatchada/data/m6/k8.pdf
Search
Read the Text Version
- 1 - 16
Pages: