Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เกร็ดความรู้ผู้สูงอายุ

เกร็ดความรู้ผู้สูงอายุ

Published by ห้องสมุดประชาชน, 2019-12-13 10:33:27

Description: เกร็ดความรู้ผู้สูงอายุ

Search

Read the Text Version

เกรด็ ความรู้ ผู้สูงอายุ

การดูแลผู้สูงอายุ มนุษย์มีการพัฒนาสมบูรณ์สูงสุดเมื่ออายุ 20 - 25 ปี จากนั้นประสิทธิภาพการทางาน ของร่างกายและอวัยวะจะเริ่มถดถอยลงซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อถึงวัยสูงอายุ ทาให้ ผู้สูงอายุจะมีปัญหาสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจและโรคต่างๆ ซึ่งพบได้บ่อยกว่าในวัยอื่น ๆ ปัญหาท่ีพบบ่อยในผู้สูงอายุ 1. ความเสื่อมของสติปัญญา เนื่องจากเซลล์สมองจะน้อยลง จะขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากเลือดไหลเวียนสมองน้อยลง และภาวะขาดอาหารและวิตามินบางชนิดผู้สูงอายุจะ มีความจาเสื่อม หลงลืม นอนไม่หลับ ภาวะสมองเส่ือมอาจนาไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น การพลัง หลง, อุบัติเหตุ, การขาดอาหาร, การติดเช้ือ 2. ภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเรื้อรังทาง กาย ขาดสมรรคถาพและขาดความเอาใจใส่จากญาติพี่น้อง ผู้ป่วยจะมีอาการหลายอย่าง ได้แก่ ความผิดปกติของการนอน ขาดความสนใจ รู้สึกผิด ขาดสมาธิ เบื่ออาหาร ถ้ามีอาการ รุนแรงอาจมีความคิดฆ่าตัวตาย

3. อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอดหรือ ทางเดินปัสสาวะฝ่อและอักเสบ และผลข้างเคียงของการใช้ยาและรักษาหลายโรค เช่น ยา คลายเครียด ยารักษาอาการซึมเศร้า หรือยารักษาความดันบางชนิด ยาขับปัสสาวะเองทา ให้ปัสสาวะมากก็อาจทาให้ปัสสาวะไม่ทันได้ นอกจากนี้ยังมีภาวะปัสสาวะไม่สะดวกเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ 4. การหกล้ม โดยเฉพาะเพศหญิง อัตราการหกล้มสูงถึง 30% ในแต่ละปีและ สัดส่วนจะสูงขึ้นตามอายุการทรงตัวจะเสียไปและทาให้เซ่ได้ง่ายในผู้สูงอายุทาให้หกล้มได้ ง่าย สาเหตุทาให้เกิดการหกล้ม เช่น เลือดไหลเวียนสมองน้อยลง อัมพาต ปอดบวม หัวใจ ขาดเลือด การเปล่ียนสิ่งแวดล้อม เช่น พ้ืนล่ืน เป็นต้น ยาและแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุเสริมท่ี พบได้บ่อย นอนไม่หลับปัสสาวะไม่ทัน เท้าและอาการบวมก็เป็นปัญหาได้ สาเหตุสาคัญท่ีสุด คือ การเสียการทรงตัวและกลัวจะหกล้ม การทรงตัวท่ีผิดปกติ อาจมี สาเหตุจากความเสื่อมตามอายุ โรงของระบบประสาท เช่น อัมพาต ระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบประสาทส่วนปลายเส่ือม เบาหวาน แอลกอฮอล์ ภาวะทุพโภชนาการและโรคของ สมองส่วนที่ควบคุมการทรงตัว ความดันโลหิตตกเม่ือเปล่ียนท่า จากการใช้ยาบางชนิด หรือ เกิดภายหลังการนอนที่นานเกินไป ภาวะทางจิต เช่น ความเครียดหรือซึมเศร้าก็อาจมีส่ว น เช่นกัน ก า ร ล ้ม เ ป ็น ส า เ ห ต ุส า ค ัญ ข อ ง ภ า ว ะ ท ุพ พ ล ภ า พ ที ่ส า ค ัญ ข อ ง ผู ้ส ูง อ า ย ุแ ล ะ อ า จ จ ะ มี ภาวะแทรกซ้อนที่ทาให้เสียชีวิตได้ การป้องกันการล้มโดยการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน การใช้อุปกรณ์ในการช่วยการเคลื่อนที่ที่เหมาะสม การรักษาโรคกระดูกและข้อและรักษา โรคทางกายต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุเกิดการหกล้มเป็นสิ่งจาเป็น ผู้สูงอายุทุกคน ควรได้รับการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้มอย่างสม่าเสมอและได้รับการฝึกใช้ อุปกรณ์ช่วยเดินในกรณีท่ีจาเป็น 5. การเคลื่อนไหวลาบาก อันเนื่องจากการปวดอ่อนแอ การเสียการทรงตัว และ ปัญหาทางจิตทาให้ผู้สูงอายุต้องนอนอยู่เฉยๆ ภาวะทุพโภชนาการ ความผิดปกติของเกลือ แร่ โลหิตจาง ระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุร่วมจากโรคทางข้อ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ โรคพาร์กินสัน และยารักษาโรคจิต อาการเจ็บปวดจากหลาย สาเหตุทาให้ ผู้สูงอายุไม่อยากเคลื่อนไหวได้

6.ผลกระทบจากการใช้ยา ด้วยเหตุผลหลายประการทาให้ผู้สูงอายุมีโอกาสจะมี ผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่าคนทั่วไป 2-3 เท่า การกาจัดของเสียในร่างกายช้าลงมาก เนื่องจากการทางานของไตและตับเสื่อมลง การตอบสนองต่อยาก็ต่างจากคนทั่วไป เช่นจะ ไวต่อการตระกูลฝ่ิน และยาต้านการแข็งตัวของเลือดผู้ป่วยสูงอายุอาจมีภาวะผิดปกติหลาย อย่าง จึงมีโอกาสได้รับยาหลายขนานทั้งท่ีแพทย์สั่งและซ้ือกินเอง โอกาสเกิดผลข้างเคียงจึง มากขึ้น ดังนั้นการเลือกใช้ยาเท่าที่จาเป็นและอย่างเหมาะสมจึงจาเป็นมาก เพื่อหลีกเลี่ยง ผลเสียดังกล่าว โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือด สูง โรคข้อเสื่อมโรคหัวใจขาดเลือด โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า อาการวิตกกังวลและนอน ไม่หลับ โรคเก่ียวกับทางเดินอาหารท้องอืด ท้องผูก จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแล ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้รับการ ตรวจสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุ (Geriatric Assessment) และการตรวจสุขภาพอย่าง สม่าเสมอและเมื่อพบโรคหรือความผิดปกติต่างๆ ควรรับการตรวจรักษาและดูแลอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงเหมาะสมกับวัย

อาการปัสสาวะมีเลือดปน รู้ไหมว่าโดยปกติแล้วในน้าปัสสาวะของคนเราน้ันมีเม็ดเลือดแดงปนอยู่ด้วยนะ !! ตามหลักทางสรีรวิทยา โดยปกติแล้วร่างกายของเราจะมีการขับเอาเม็ดเลือดแดงออกมา ใน น้าปัสสาวะประมาน 1,000,000 เซลล์ ต่อวัน เมื่อนาน้าปัสสาวะไปปั่นในห้องปฏิบัติการ แล้วนาไปส่องใต้กล้องจุลทรรศน์กาลังขยายปานกลาง (HPF) จะสามารถพบเม็ดเลือดแดง ได้ประมาน 1-3 เซลล์ ดังนั้นหากมีปริมานเม็ดเลือดแดงเกิน 3 เซลล์จะถือว่าผิดปกติ แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้นค่าเหล่านี้จะเชื่อถือได้ก็จะต้องมีวิธีการเก็บปัสสาวะที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน เมื่อผู้ สูงวัยมาตรวจสุขภาพประจาปี ส่ิงท่ีควรเตรียมตัวให้พร้อม คือ 1. ควรอาบน้าและชาระล้างบริเวณอวัยวะเพศก่อนทาการเก็บปัสสาวะ หลีกเลี่ยงการทา แป้งบริเวณอวัยวะเพศ เน่ืองจากอาจจะทาให้ค่าที่ได้จากการตรวจปัสสาวะผิดพลาด 2. หากกาลังมีประจาเดือน หรือ มีเลือดออกจากช่องคลอดอยู่ ไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดๆก็ ตาม หรือมีการอักเสบติดเชื้อในทางนรีเวช ควรเลื่อนการตรวจออกไปก่อน เนื่องจาก เลือดจากช่องคลอดอาจเข้ามาปนเปื้อนในนา้ ปัสสาวะที่เก็บได้ ทาให้แปลผลได้ยาก 3. ให้ปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อนแล้วนากระปุกมาตวงปัสสาวะช่วงกลางให้ได้ปริมาตร ประมาน 10-15 มิลลิลิตร แล้วปัสสาวะช่วงท้ายท้ิงไปในโถปัสสาวะ 4. ปิดฝากระปุกเก็บปัสสาวะให้สนิท แล้วส่งตรวจภายใน 1 ชั่วโมง หากไม่สามารถส่ง ตรวจภายใน 1 ชั่วโมงได้ ควรเก็บปัสสาวะไว้ในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส แต่ก็ควร ส่งไปห้องปฏิบัติการไม่เกิน 24 ชั่วโมง

กล่าวถึงปริมานเม็ดเลือดแดงที่ออกมาในปัสสาวะนั้น หากมีปริมานไม่มากอาจไม่ทาให้เรา เห็นปัสสาวะเป็นสีแดง แต่ถ้าหากมีปริมานมากก็จะทาให้เราเห็นปัสสาวะเป็นสีแดง หรือสี น้าตาลได้ มีการประมานว่าเลือดของคนเราเพียง 1 ซีซี ที่ออกมาในปัสสาวะก็สามารถทา ให้ปัสสาวะเป็นสีแดงได้แล้ว ในบทความฉบับนี้จะได้กล่าวถึงการวินิจฉัยภาวะการมีเม็ดเลือดแดงปนเปื้อนในทางเดิน ปัสสาวะไว้ดังนี้ ภาวะการมีเม็ดเลือดแดงปนเปื้อนในทางเดินปัสสาวะนั้น (Hematuria) หมายถึง การมีปริ มานเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ “ มากกว่าเท่ากับ 3 เซลล์” ขึ้นไปเมื่อส่องดูด้วยกล้อง จุลทรรศน์ขนาดกาลังขยายปานกลาง (HPF) โดยการวินิจฉัยที่ถูกต้องน้ันต้องพบความปกติ ดังกล่าวจากการเก็บปัสสาวะ “อย่างน้อย 2 ใน 3 คร้ัง” ของการเก็บปัสสาวะส่งตรวจ โดย การเก็บปัสสาวะนั้นต้องเก็บอย่างถูกต้องตามวิธีการท่ีกล่าวมาข้างต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าใน การตรวจคร้ังแรกน้ันหากมีผลผิดปกติผู้ป่วยยังไม่ควรมีความกังวลไปก่อน เนื่องจากหากเรา มีภาวะติดเชื้อ มีไข้ ได้รับอุบัติเหตุ หรือหลังออกกาลังกายอย่างหนัก อาจทาให้มีเม็ดเลือด แดงหลุดออกมาในปัสสาวะได้มากกว่าในสภาวะปกติ แต่เมื่อปัจจัยดังกล่าวหมดไป การ ตรวจปัสสาวะซ้าในคร้ังถัดๆไปผลก็จะกลับมาเป็นปกติดังเดิม ดังน้ันควรมาตรวจซา้ อีก 2 คร้ังตามแพทย์นัดเพื่อให้ได้การวินิจฉัยท่ีถูกต้องชัดเจนต่อไป แล้วถ้าตรวจซา้ แล้วถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะนี้จริงๆล่ะ จะทา้ อย่างไร ? กรณีที่ผลตรวจพบว่าเม็ดเลือดแดงหลุดออกมาปนเปื้อนในปัสสาวะในปริมานที่มากเกินค่า ปกติ แพทย์จะทาการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อวินิจฉัยโรค โดยทั่วไป แล้วผู้ป่วยอาจมีอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติในจุดต่างๆของทางเดินปัสสาวะ เช่น มีไข้ ปวดท้องน้อย ปวดบั้นเอว ปัสสาวะแสบขัด มีตะกอนหรือมีฟองปน คลาได้ก้อนในท้อง บวม ความดันโลหิตสูง ฯลฯ หรือในบางรายอาจไม่มีอาการใดๆผิดปกติเลยก็ได้ ซ่ึงการตรวจพบ ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนเปื้อนในปัสสาวะโดยไม่แสดงอาการนั้นเป็นภาวะที่พบเจออยู่ เรื่อยๆในการตรวจสุขภาพประจาปี ทาให้ผู้ป่วยมีควา มกังวลอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะใน ผู้สูงอายุซึ่งมักมีความเสี่ยงในการเป็นโรคที่รุนแรงมากกว่าหนุ่มสาว ดังนั้นควรหมั่นสังเกต ลักษณะของปัสสาวะและอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะท่ีอาจเก่ียวข้อง ถ้าหากพบความ ผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์ ทางที่ดีที่สุดควรมารับการตรวจสุขภาพเป็นประจา ทุกปีหากมี ความผิดปกติจะได้สามารถแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆได้

โรคงูสวัดกับผู้สูงอายุ โรคงูสวัด (Herpes Zoster, Shingles) คืออะไร โรคงูสวัด เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ ( Varicella Zoster virus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทาให้เกิดโรคอีสุกอีใส ทาให้มีอาการอักเสบ ของเส้นประสาท ทาให้มีอาการปวดแสบร้อน และมีผื่นขึ้นตามแนวเส้นประสาท บริเวณที่ พบได้บ่อยคือ แนวบั้นเอวหรือแนวชายโครง บางคนอาจข้ึนที่ใบหน้าหรือแขนขาก็ได้ โรคงูสวัดรุนแรงมากขนาดไหน ผู้สูงอายุจะมีการแพร่กระจายของโรคและความรุนแรงของโรคมากขึ้นตามอายุ โดยกว่า ครึ่งของผู้ป่วยที่อายุ 60 ปีขึ้นไปที่เป็นงูสวัด จะมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังการ ติดเชื้อ (Post-Herpetic Neuralgia) ซึ่งอาการจะเป็นยาวหลายเดือนหรืออาจเป็นปีได้ อาการปวดจะเป็นมาก จนรบกวนการใช้ชีวิตประจาวัน ทานอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ จน ทาให้เกิดความเครียด และในผู้ป่วยบางรายถึงกับฆ่าตัวตายเพราะอาการปวด ใครมีความเส่ียงในการเกิดโรคงูสวัด ทุกคนที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคงูสวัด และยิ่งอายุมากขึ้นก็มีโอกาส เป็นได้มาก เนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายที่ลดลง โดยอุบัติการณ์การเกิดงูสวัดจะพบ ประมาณร้อยละ 30 ในประชากรท่ัวไป และจะเพ่ิมถึงร้อยละ 50 ในผู้ที่มีอายุถึง 85 ปี

ไต กับ ผู้สูงอายุ ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อตรวจสุขภาพแล้วแพทย์บอกว่าเป็นโรคไตเสื่อม ? แน่นอน คาตอบที่เกิดขึ้นอาจมีหลากหลาย แต่โดยทั่วไปแล้วการรายงานผลในลักษณะนี้ บ่อยครั้งทาให้ผู้สูงอายุตกใจอยู่ไม่น้อย กลัวว่าจะต้องฟอกไตหรือไม่ กังวลว่าสาเหตุเป็นจาก อะไร ต้องทาอย่างไรต่อไป ค่าไตจะกลับมาเป็นปกติหรือไม่ จะใช้ยาอะไร ต้องกินยาล้างไต หรือไม่ ? ดังนั้นในบทความฉบับนี้เราจะมาทาความเข้าใจเกี่ยวกับการเปล่ียนแปลงของการ ทางานของไตเมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุกันค่ะ อันดับแรกต้องเข้าใจเรื่อง “ค่าไต” กันก่อน เมื่อแพทย์รายงานผลการตรวจเลือด บ่อยครั้ง เราจะได้ยินคาว่า “ครีทินิน” ค่า “ครีทินิน” ก็คือ “ค่าไต” ที่แพทย์พูดถึงกันนั่นเอง ค่าครี ทินินที่สูงจะเป็นตัวบ่งบอกการทางานของไตที่เสื่อมลง ปัจจุบันมีการคานวนการทางานของ ไตที่ละเอียดและเชื่อถือได้มากกว่านั้น คือการคานวนค่า “จีเอฟอาร์” นั่นเอง การคานวน ค่าดังกล่าวต้องอาศัยค่า ครีทินินในการคานวนด้วย และค่าจีเอฟอาร์ที่ลดล งจะบ่งบอกถึง การทางานของไตที่ลดลง ไปในทิศทางเดียวกัน

เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น ไตของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านโครงสร้างและการ ทางานโดยรวม ไตจะมีขนาดเล็กลง น้าหนักและปริมาตรจะลดลง ถ้าลองเปรียบเทียบกับคน หนุ่มสาว ไตปกติจะน้าหนักประมาณ 245-290 กรัม แต่เมื่ออายุมากขึ้น เช่น อายุ 90 ปี น้าหนักของไตจะลดลง 15-20% จากเดิม เหลือเพียง 180-200 กรัม การเปลี่ยนแปลงใน เชิงจุลภาคก็เกิดขึ้นเช่นกัน กล่าวคือ ความสามารถของหน่วยไตในการกรองของเสียและน้า และการกักเก็บโปรตีนเข้าสู่กระแสเลือดจะลดลง เนื่องจากองค์ประกอบของหน่วยไต และ เส้นเลือดในหน่วยไตโดยรวมน้ันจะฝ่อลงตามอายุ เร่ิมมีพังผืดเข้ามาสะสมในหน่วยไต มีการ หลั่งสารบางอย่างในร่างกาย รวมทั้งอนุมูลอิสระ และสารกระตุ้นการอักเสบ ซึ่งมีฤทธิ์ใน การทาลายโครงสร้างของไต แท้จริงแล้วลักษณะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นเป็นไปอย่าง ปกติตามอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าหากผู้สูงอายุมีโรคประจาตัวอื่นๆด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน โรคเครียด ฯลฯ หรือมีการรับประทานอาหารท่ีมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต หรือไขมันที่สูงมากเกินไปจนร่างกายเผาผลาญนาไปใช้ได้ไม่หมด ก็จะส่งผล เร่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ และข้อสาคัญคือ ในผู้สูงอายุเมื่อเกิดความ เจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บของไตขึ้น การฟ้ืนฟูสภาพให้กลับมาดีดังเดิมนั้นจะค่อนข้างช้า เม่ือ เทียบกับไตของคนหนุ่มสาว มีรายงานว่า การเส่ือมของไตท่ีเพ่ิมข้ึนจะส่งเสริมอัตราการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดท่ีมากขึ้นตามมา ในขณะเดียวกันก็มีการศึกษาถึงปัจจัยที่ช่วยในการรักษาสภาพของไตและชะลอความเสื่อม ของไตไว้ เช่น ยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม วิตามินดี วิตามินอี ยีนบางชนิด เป็นต้น ว่าอาจ ช่วยชะลอการดาเนินโรคได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ด้วยเช่นกัน ว่ าจะ เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละคนหรือไม่ นอกจากการใช้ยาแล้ว พบว่าการจากัดแคลอรี่ในการรับประทานอาหารต่อวัน โดยลดปริ มานแคลอรี่ที่รับประทานลงจากเดิมไป ประมาน 25%-45% แต่ยังคงแร่ธาตุ กรดอะมิโน และวิตามินท่ีจาเป็นไว้เท่าเดิม รวมถึงการหลีกเล่ียงการรับประทานอาหารไขมั นสูง จะช่วย ชะลอการเกิดโรคไตเสื่อม และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ สาหรับการเปล่ียนแปลงในเชิงการทางานของไตน้ัน พบว่าทุกๆ 10 ปี ของอายุท่ีเพิ่มขึ้น จะ ส่งผลทาให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง 10% จากเดิม การทางานของไต หรือ ค่าจีเอฟอาร์จะ ลดลง และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง นอกจากนี้การ ตอบสนองต่อฮอร์โมน และสารสื่อประสาทที่มีผลต่อไตจะลดลงเช่นกัน

ในผู้สูงอายุหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตนั้นจะมีการขยายตัวได้น้อยกว่าคนหนุ่มสาว แต่ในทาง กลับกันการหดตัวของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตกลับมีอัตราที่พอๆกันระหว่างคน 2 กลุ่ม ดังนั้น โดยรวมแล้ว ในผู้สูงอายุจะมีเลือดไปหล่อเลี้ยงไตลดลง เมื่อประกอบกับการ เปล่ียนแปลงทางโครงสร้างของไตที่เส่ือมลงด้วยแล้วจะย่ิงส่งเสริมให้เกิดการดาเนินไปสู่โรค ไตเสื่อมเร้ือรังมากข้ึน ในด้านการปรับสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายก็เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นกัน กล่า วคือ ความสามารถในการดูดกลับหรือขับออกของโซเดียมท่ีไตลดลง การขับกรดออกจากร่างกาย ลดลง หากร่วมกับการรับประทานอาหารโปรตีนสูงเกินไปจะยิ่งเพิ่มสภาวะเลือดเป็นกรด มากขึ้น หากสภาวะเลือดเป็นกรดเกิดขึ้นเรื้อรัง จะมีการสลายแคลเซียมและไบคาร์บอเนต ออกมาจากกระดูก ทาให้การดูดซึมแคลเซียมที่ไตลดลงและเกิดโรคกระดูกพรุน ตามมา ส่วนสมดุลของโพแทสเซียมในร่างกายในผู้สูงอายุนั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว โพแทสเซียมโดยรวมในร่างกายจะต่าลงเนื่องจากกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุมีน้อยกว่าคนหนุ่ม สาว แต่โปแตสเซียมในเลือดมักจะสูงขึ้น เพราะเลือดไปเลี้ยงไตลดลงตาม อายุ การขับ โพแทสเซียมจะลดลง การผลิตฮอร์โมนที่ช่วยดูดกลับโพแทสเซียมก็ลดลง ดังนั้นในผู้ ในด้านสมดุลของแคลเซียมนั้น พบว่าระหว่างคนหนุ่มสาวและคนแก่การดูดกลับและขับ แคลเซียมออกทางไตน้ันมีอัตราท่ีพอๆกัน แต่ในผู้สูงอายุการดูดกลับแคลเซียมทางลาไส้นั้น น้อยกว่าค นหนุ่มสาว มาก รวม ทั้งมีการส ร้าง ฮอร์โ มนพ ารา ไธรอ ยด์ม ามา กกว่า ปกติ ฮอร์โมนพาราไธรอยด์นั้นใช้ในการสลายแคลเซียมจากกระดูกออกมาในกระแสเลือด ซ่ึงในผู้สูงอายุการตอบสนองต่อฮอร์โมนดังกล่าวจะไวกว่าคนหนุ่มสาว ดังน้ันจะส่งเสริมการ เกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่ายกว่าปกติ ในส่วนของวิตามินดีนั้น อย่างไรก็ตามแม้วิตามินดีที่สร้างจากไตจะลดลงแต่โดยรวมแล้ว วิตามินดีในกระแสเลือดระหว่างสองกลุ่มน้ีน้ันมีปริมานท่ีพอๆกัน นอกจากน้ีในผู้สูงอายุยังมีความสามารถการดูดกลับฟอสเฟตที่ไต และลาไส้ลดลงด้วย ดังน้ัน มีโอกาสที่จะเกิดฟอสฟอรัสในเลือดตา่ ได้มาก โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าลักษณะการเปลี่ยนแปลงของไตที่เกิดตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้น เป็นไปได้หลายทางเลยทีเดียว ในปัจจุบันคนเราอายุยืนมากขึ้น อยู่กับความเสื่อมของไตยาวนานขึ้น หากไม่ชะลอการเส่ือม ของไต ก็อาจต้องเจอกับภาวะไตเสื่อมในระยะสุดท้ายซึ่งต้องรักษาโดยการฟอกไตใ นท่ีสุด

ทาไมผู้สูงอายุถึงเปล่ียนเวลานอน หลายๆครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน อาจจะเคยสงสัยว่าทาไมเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้สูงอายุถึงเปลี่ยนเวลานอน บางคนนอนกลางวันแล้วไปตื่นช่วงกลางคืน บางคนนอน หลับๆ ตื่นๆ แทบทุกชั่วโมง บางคนไม่นอนติดต่อกันมากกว่า 24 ชั่วโมง แต่บทจะนอนก็ นอนยาวข้ามวันข้ามคืนไม่ต่ืนมารับประทานอาหารหรือทากิจวัตรประจาวัน ทาให้ลูกหลาน หรือคนดูแลมีความยากลาบากในการดูแลและเกิดความเหนื่อยล้าเพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ จนอาจจะพาลหงุดหงิดและอารมณ์เสียใส่ผู้สูงอายุได้ การมีคนหลายช่วงวัยรวมกันอยู่ใน ครอบครัวนับเป็นเรื่องท้าทาย เพราะเราต้องทาความเข้าใจข้อจากัดและเข้าใจธรรมชาติ ของทุกช่วงวัย ผู้สูงอายุก็เช่นกัน แม้คนส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นวัยที่ต้องพึ่งพาเหมือน กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง จึงมักจะให้การดูแลแบบเดียวกัน ซึ่งไม่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด การท่ี จะดูแลผู้สูงอายุได้ดี เราต้องทาความเข้าใจในสาเหตุ ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการนอนของ ผู้สูงอายุ เพื่อจะได้วางแผนการดูแลที่เหมาะสม โดยที่เราเองไม่เหน็ดเหนื่อยมากเกินไป และมีทัศนคติท่ีดีต่อผู้สูงอายุในบ้าน เมื่อย่างเข้าวัยสูงอายุร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง การรับรส ที่เปลี่ยนไปทาให้ รับประทานอาหารไม่อร่อย สายตามัวลง เป็นต้อกระจก หูได้ยินไม่ชัด เนื่องจากความเส่ือม ของอวัยวะต่างๆ ทาให้ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวลดลง แต่ที่ไม่เปล่ียนแปลงตาม อายุคือระยะเวลาท่ีต้องการนอนคือยังคงเท่าเดิมประมาณวันละ 8 ชั่วโมงแต่คุณภาพในการ นอนของผู้อายุลดลงจึงทาให้นอนไม่ค่อยพอ

มีหลายปัจจัยที่ทาให้การนอนของผู้สูงอายุไม่มีคุณภาพ เช่น การงีบหลับในเวลากลางวัน การนอนไม่เป็นเวลา การเข้านอนก่อนที่จะง่วง ( advanced sleep phase syndrome) หรือเข้านอนเมื่อผ่านเวลานอนไปแล้ว (delayed sleep phase syndrome) หรือใช้เตียง เพื่อจุดประสงค์อื่นเช่นการดูทีวี การอ่านหนังสือ การรับประทานอาหาร อาจจะเน่ืองมาจาก ข้อจากัดของการเคลื่อนไหว หรือมีสิ่งรบกวนในห้องนอน เช่นเสียงดัง มีแสง ห้องร้อน นอกจากปัจจัยภายนอกแล้วปัจจัยภายในของผู้ป่วยโรคต่างๆเช่น อาการปวดด้วยสาเหตุต่าง ๆ ความไม่สุขสบายตัวจากโรคประจาตัว ปัญหาทางด้านจิตใจ สาเหตุทั้งหมดนี้เป็นส่วน สาคัญท่ีทาให้การนอนหลับในผู้สูงอายุมีคุณภาพลดลง การเปลี่ยนแปลงการนอนในผู้สูงอายุ โดยปกติแล้วร่างการของคนเราจะมีนาฬิกาชีวภาพ ( Biological Clock ) อยู่ภายในเพื่อ คอยบอกเวลาหลับต่ืนของร่างกาย หลังจากน้ันวงจรการนอนจะเร่ิมขึ้น โดยวงจรการนอน ของเรานั้นจะแบ่งเป็นสองส่วนทางานสลับกันไปเรื่อยๆ ส่วนแรกเรียกว่า Non Rapid Movement ( NON-REM ) จะเป็นส่วนของการนอนท่ีนาไปสู่ การหลับลึก ซ่ึงพบว่าการหลับลึกนั้นมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกสดช่ืนในตอนกลางวัน ส่วนท่ีสองเรียกว่า Rapid Eye Movement (REM ) เป็นช่วงที่มีการทางานของกล้ามเนื้อ ตากลอกไปมา การนอนหลับในส่วนน้ีทาให้เกิดการฝันด้วย โดยปกติวงจรการนอนหลับจะ เป็นแบบ NON-REM ,REM สลับกันไป 5-6 คร้ังในแต่ละวัน แต่ในผู้สูงอายุจะนอนยากขึ้นมีรายงานว่าร้อยละ 24 ของผู้ป่วยสูงอายุใช้เวลามากกว่า 30 นาทีในการนอนให้หลับ สาเหตุเนื่องจากการที่ร่างกายสร้าง melatonin และ growth hormone ลดลง โดยมักจะสร้างลดลงในช่วงอายุหลัง 60 ปีการเจอแสงแดดลดลง และการ ที่ผู้ป่วยตื่นบ่อยเน่ืองมาจากปัจจัยภายในร่างกายเหล่าน้ีเป็นสาเหตุให้ผู้ สูงอายุหลับยากข้ึน โรคท่ีมีผลต่อการนอนของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมักจะมีโรคประจาตัว โรคประจาตัวหลายโรคก็มีผลต่อการนอนของผู้สูงอายุ เช่น โรคปวดข้อปวดหลังมักจะปวดตอนกลางคืนทาให้ต้องตื่นบ่อย โรคหัวใจวายท่ียังคุมไม่ ดีเมื่อนอนราบจะมีอาการแน่นหน้าอกหายใจไม่ออกต้องต่ืนลุกข้ึนน่ังเม่ือหายแน่นจึงนอนต่อ การกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ อาการหอบเหน่ือยจากภาวะถุงลมโป่งพอง ภาวะสมองเส่ือม ที่ทาให้การรับรู้เปลี่ยนแปลง เป็นต้น การดูแลเรื่องการนอนหลับให้ดีจึงต้องรักษาปัจจัย เหล่านี้ด้วย แต่ทั้งนี้ผู้สูงอายุบางรายอาจจะมีปัจจัยด้านจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องทาให้รบกวนการนอนได้

เช่นกัน บ่อยคร้ังที่พบว่าการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เช่น คู่ชีวิต เพื่อน คนใกล้ชิด หรือ แม้แต่สัตว์เล้ียงท่ีอยู่ด้วยกันมานานก็มักจะทาให้เกิดภาวะซึมเศร้า การสูญเสียบทบาทหน้าท่ี ในสังคม การสูญเสียภาพลักษณ์ การสูญเสียความเคารพนับถือจากบุคคลรอบข้าง สิ่ง เหล่านี้ล้วนมีผลต่อจิตใจ ซ่ึงทาให้กระทบต่อการนอนได้เช่นกัน การรักษาภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ อาจจะแบ่งได้ 2 แบบ ดังน้ี การรักษาโดยไม่ใช้ยา ให้ฝึกเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา รับประทานอาหารให้พอดี ถ้า หิวหรืออิ่มเกินไปทาให้นอนไม่สบาย ออกกาลังกายเป็นประจาทุกวัน ช่วงเช้าและช่วงเวลา บ่าย แต่ไม่ควรเป็นช่วงก่อนนอน หยุดสูบบุหรี่ ลดแอลกอฮอล์ ไม่อ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ บนเตียง ใช้เตียงสาหรับการนอนเท่านั้น ให้รางกายถูกแสงแดดบ้าง ออกกาลังกลางแจ้ง เพื่อกระตุ้นการรับรู้ว่าตอนน้ีมีดวงอาทิตย์ มีแสงสว่างเป็นตอนกลางวัน เป็นช่วงเวลาที่ ไม่ใช่ เวลานอน หากผู้สูงอายุไม่สามารถออกไปข้างนอกได้เองหรือต้องนอนบนเตียงเป็นส่วนใหญ่ คนดูแลจะต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้ ตอนกลางวันให้เปิดม่าน ให้มีแสงสว่าง คอยบอกว่าตอนนี้ เป็นเวลากลางวัน กลางคืนก็ต้องลดแสงสว่างลง จัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสาหับการนอน ลดการทากิจกรรมที่ส่งเสียงดังรบกวนการนอน เป็นต้น การรักษาโดยใช้ยา มักเป็นทางเลือกสุดท้ายที่แพทย์แนะนา เนื่องจากระบบการเผาผลาญ และการทาลายยาในผู้สูงอายุจะทางานลดลงเช่นกัน ทาให้ฤทธ์ิของยาตกค้างอยู่ในร่างกาย นานกว่าปกติ หรือทาให้ร่างกายเกิดความเคยชินต้องใช้ยาที่มีขนาดสูงขึ้นเรื่อย ๆ บาง รายการให้ยานอนหลับจะทาให้คนดูแลประเมินความผิดปกติจากความเจ็บป่วยด้วยโรค ประจาตัวของผู้สูงอายุได้ยาก ดังนั้นการรักษาโดยการใช้ยาจึงควรอยู่ในความดูแลของ แพทย์อย่างใกล้ชิด ผู้ดูแลควรปฏิบัติตามคาแนะนาอย่างเคร่งครัดเพื่อลดผลกระทบท่ีจะเกิด ต่อผู้สูงอายุได้ หากผู้ดูแลมีความเข้าใจในข้อจากัดและเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุแล้ว การ ดูแลอย่างเข้าใจก็เป็นเรื่องไม่ยาก ทั้งนี้ต้องระลึกเสมอว่าผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่ผ่าน ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตผ่านช่วงวัยต่างๆ มา การเคารพนับถือและให้เกียรติในทุก การกระทาจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะในอนาคตตัวเราเองก็จะต้องก้าวเข้าสู่ช่วงวัย สูงอายุเช่นเดียวกัน

ผู้สูงอายุกับการขาดวิตามินบี 12 วิตามินบี 12 เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ละลายได้ในน้า ส่วนใหญ่แล้วจะพบในอาหารจาพวก เนื้อ ปลา ไข่ นม ตับ เป็นต้น วิตามินชนิดนี้นับเป็นวิตามินที่มีประโยชน์ในแง่ของการ เสริมสร้างการเจริญเติบโตและการทางานของระบบประสาทและการส่งเสริมกา รสร้างเม็ด เลือด ในผู้สูงอายุมักพบการขาดวิตามินชนิดน้ีได้อยู่บ่อยๆ ด้วยสาเหตุต่างๆนานัปการ ทาให้ บางครั้งอาจเกิดอาการแสดงของการขาดวิตามินชนิดน้ีได้ ซึ่งสามารถตรวจพบได้เร่ือยๆจาก การตรวจเช็คร่างกาย เช่น มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ประสาทการรับรู้เรื่องของข้อ ต่อและการเคลื่อนไหวลดลง อ่อนแรง หลงลืมบ่อยๆ ความดันโลหิตตกในท่ายืน ซีดและ ลักษณะเม็ดเลือดแดงใหญ่กว่าปกติ ในบางรายถ้าโรคดาเนินรุนแรงมากๆอาจพบทั้งเม็ด เลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ากว่าค่าปกติท้ังหมดเลยก็ได้ ในผู้สูงอายุหากปล่อยให้โรคขาดวิตามินบี 12 เป็นนานเข้า จะทาให้มีอาการ อาการแสดงที่ รุนแรงกว่าปกติและ การฟื้นตัวจากโรคก็จะช้ากว่าคนหนุ่มสาวด้วย สิ่งที่น่าสนใจ คือ ผู้สูงอายุนั้นแม้ไม่มีอาการใดๆผิดปกติก็อาจตรวจพบปริมาณวิตามินบี 12 ที่ต่าในเลือดได้ และในขณะเดียวกันหากมีระดับวิตามินบี 12 ต่ากว่าปกติและมีอาการแสดงทางระบบเลือด เด่น อาการทางระบบประสาทอาจตรวจพบได้ยาก ในทางกลับกันหากอาการทางระบบ ประสาทเด่น อาการแสดงทางระบบเลือดอาจตรวจไม่พบก็ได้ และเนื่องจากในทางปฏิบัติ แล้ว ผู้สูงอ า ยุที่ไ ม่มีอ า กา รแ ส ดงท า งระ บบเ ลือ ดอ าจม า พ บแ พ ทย์ ด้ว ย อ า กา รนา ท า งร ะ บบ ประสาทหลายๆอย่างรวมๆกันซึ่งค่อนข้างซับซ้อน ในการวินิจฉัย ดังน้ัน การตรวจหาระดับ

วิตามินบี 12 ในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่ควรทาในการตรวจประจาปีทุกปี และหากพบระดับ วิตามินในเลือดที่ตา่ กว่าค่าปกติก็ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง สาเหตุของการขาดวิตามินบี 12 ในผู้สูงอายุนั้นมีหลากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1. กระเพาะอาหารอักเสบและเซลล์ผนังกระเพาะอาหารฝ่อ (Atrophic gastritis and hypochlorhydria) ทาให้การสร้างกรดในกระเพาะอาหารลดลง ทาให้การดูดซึม วิตามินบี 12 ลดลงไปด้วย 2. การใช้ยาลดกรดในกระเพาะอย่างพร่าเพรื่อเป็นเวลานาน โดยไม่มีข้อบ่งช้ีที่เหมาะสม (Histamine-2 blocker, Proton pump inhibitor) ทาให้การสร้างกรดในกระเพาะ อาหารลดลง ดูดซึมวิตามินบี 12 ได้ลดลง 3. การผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือลาไส้ 4. โรคของลาไส้เล็ก เช่น Crohn disease, Sprue, Malabsorption syndrome 5. การติดเชื้อ pylori ในกระเพาะอาหาร 6. การทางานของตับอ่อนผิดปกติ (Pancreatic insufficiency) 7. การติดเช้ือพยาธิในลาไส้เล็ก (Fish tapeworm) 8. คนท่ีรับประทานมังสวิรัตมานานๆ 9. โรคเอดส์ หรือ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี 10. โรคซีดจากการที่มีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง 11. การใช้ยาเบาหวานบางชนิด เช่น metformin การรักษา การรักษาภาวะการขาดวิตามินบี 12 มีทั้งการใช้ยาวิตามินบี 12 แบบฉีดเข้ากล้าม และแบบ รับประทาน โดย ขนาด ระยะเวลาในการรักษา และวิธีการบริหารยานั้นขึ้นอยู่กับความ รุนแรง และสาเหตุของการขาดวิตามินดังกล่าว จะเห็นได้ว่า นอกจากการวินิจฉัยและรักษาภาวะดังกล่าว การหาสาเหตุของโรคก็นับเป็นส่ิง สาคัญที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากหากสาเหตุยังไม่ถูกแก้ไขภาวะดังกล่าวอาจเกิดซ้าอีกได้ จากสาเหตุข้างต้นจะสังเกตได้ว่า สาเหตุอันดับแรกๆมักเกิดจากความเสื่อมทางสรีรวิทยา ของผู้สูงอายุและการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล ซึ่งในทางปฏิบัติเรามักพบได้บ่อยว่าหลาย ค รั ้ง ผู ้ป ่ว ย ร ับ ป ร ะ ท า น ย า ม า ก จ น เ ก ิน ค ว า ม จ า เ ป ็น โ ด ย ไ ม ่ค า น ึง ถ ึง ผ ล เ ส ีย ที ่จ ะ เ ก ิด ตามมา ดังนั้นควรมาตรวจเช็คร่างกายเป็นประจาทุกปี พร้อมนายาที่ใช้อยู่ทุกชนิดมาใ ห้ แพทย์ดูด้วย เพื่อปรับชนิดและประมานยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน โดยทาให้เกิดผล ข้างเคียงน้อยที่สุด

โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุนั้นนับว่าเป็นโรคยอดฮิตที่นาพาผู้สูงวัยมาพบแพทย์อยู่ตลอดเวลา บ่อยครั้งผู้สูงอายุมักบรรยายอาการของตนเองว่า ตนมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน รู้สึก มึนๆ เหมือนจะหน้ามืด เป็นลม อยากอาเจียน พะอืดพะอม รู้สึกว่าการทรงตัวไม่มั่นคง เหมือนจะล้ม เป็นต้น ส่วนใหญ่จะบรรยายอาการของตนเองแบบผสมกันหลายแบบ ซึ่งเป็น ส่ิงที่ทาให้เกิดความซับซ้อนในการวินิจฉัยเป็นอย่างมาก โดยปกติแล้วอาการเวียนศีรษะน้ันมักจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1. อาการเวียนศีรษะแบบฉับพลัน (Acute dizzness) ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นในเวลา น้อยกว่า 1-2 เดือน 2. อาการเวียนศีรษะแบบเร้ือรัง (Chronic dizziness) ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นในเวลา มากกว่า 1-2 เดือน

โดยแท้จริงแล้วอาการเวียนศีรษะนั้นเกิดได้ในทุกกลุ่มอายุ ทั้งคนอายุน้อยไปจนถึงคนชรา เพียงแต่ส่ิงท่ีแตกต่างกันคือ หากอาการเหล่าน้ีเกิดในผู้สูงวัยการฟ้ืนตัวจะค่อนข้างช้ากว่าคน หนุ่มสาว เนื่องจากข้อจากัดในเรื่องของความเสื่อมทางสรีรวิทยา และ การมีโรคประจาตัว หลายชนิด ในบทความฉบับนี้จะกล่าวถึง อาการเวียนศีรษะแบบเร้ือรังเป็นหลัก อาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรังในผู้สูงอายุนั้น มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหรือสภาวะ ผิดปกติทางร่างกายต่างๆตามมามากมาย เช่น เพิ่มโอกาสการหกล้ม การทากิจวัตร ประจาวันถูกจากัดลงกว่าเดิม สัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตตกในท่ายืน โรคหลอดเลือด ในสมองตีบ เป็นต้น หากอาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรังเป็นอยู่นานโดยไม่ได้รับการรักษาที่ ถูกต้องจะทาให้ผู้สูงวัยเกิดอาการ “กลัวที่จะล้ม” เกิดภาวะซึมเศร้า และเร่ิมประเมินตัวเอง ถึงความเจ็บป่วยที่เกิดข้ึน ต่อมาจะเริ่มไม่อยากเข้าทากิจกรรมกับคนอื่นๆในสังคม ส่งผลทา ให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเร่ือยๆ เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะดังกล่าวข้างต้น อันดับแรกเราต้องเข้าใจเรื่องของสรีรวิทยาตามปกติ ของผู้สูงอายุเสียก่อน ปกติแล้วอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวและการรับรู้ของสมดุลในร่างกาย น้ันต้องอาศัยทั้ง ตา หู ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกท่ีแข็งแรง แต่ในผู้สูงอายุ นั้นระบบประสาทรับรู้ทั้งที่หู ตา กล้ามเนื้อและข้อ จะเสื่อมลง ส่งผลให้เกิดอาการทรงตัว ลาบาก รู้สึกวิงเวียนได้ง่าย แล้วอะไรเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว ? สาเหตุของโรควิงเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ แบ่งได้ง่ายๆ เป็น 9 อย่าง ดังต่อไปนี้ 1. โรคทางระบบหู เช่น โรคน้าในหูไม่เท่ากัน โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด ก้อนเนื้องอกใน หู เส้นประสาทในหูอีกเสบ พิษต่อระบบประสาทหูจากการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น 2. โรคทางระบบประสาท และ สมอง เช่น โรคเส้นเลือดในสมองตีบทั้งแบบชั่วคราว และถาวร โรคพาร์กินสัน โรคไมเกรนบางแบบ 3. ปัญหาของอวัยวะบริเวณลาคอของผู้สูงอายุ เช่น โรคกระดูกต้นคอเสื่อม โรคเส้น เลือดที่คอตีบหรือ การมีคราบไขมันเกาะบริเวณหลอดเลือดที่คอท่ีทาให้เวลาหันศีรษะ เร็วๆจะทาให้เกิดการอุดกั้นของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองชั่วคราวจนเกิดอาการเวียน ศีรษะข้ึนมาได้ ซึ่งเป็นสาเหตุท่ีพบบ่อยมากในผู้สูงอายุ 4. โรคความดันโลหิตตกในท่ายืน ปัจจุบันในผู้สูงอายุยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึงหลักเกณฑ์ การวินิจฉัยที่แน่นอน ดังนั้นในประเทศไทยยังคงใช้หลักการวินิจฉัยเดียวกับกลุ่มอายุ อ่ืน ที่น่าสนใจคือมีรายงานในต่างประเทศว่าในผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตตกในท่ายืน ก็ไม่จาเป็นว่าทุกคนต้องมีอาการเวียนศีรษะ แสดงว่าอาจมีสาเหตุร่วมอย่างอื่นท่ี อธิบายการเกิดอาการเวียนศีรษะในผู้สูงวัยที่ไม่ใช่การมีความดันโลหิตตกในท่ายืนก็ เป็นได้

5. โรคความดันโลหิตตกหลังอาการรับประทานอาหาร หมายถึง การมีความดันโลหิต ตก มากกว่าหรือเท่ากับ 20 mmHg ในท่านั่งหรือยืนภายใน 1-2 ชั่วโมงหลัง รับประทานอาหาร 6. โรคทางจิตเวช เช่น โรคเครียด โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคแพนิก หรือ โรคย้าคิด ย้าทา ในผู้สูงอายุนั้น โรคทางจิตเวชที่ทาให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้บ่อยที่สุดนั้นก็คือ โรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าสามารถเป็นได้ท้ังสาเหตุและผลลัพธ์ของอาการวิงเวียนได้ท้ัง 7. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาประเภทต่างๆ ซึ่งจะทาให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะได้โดย ผ่านกลไกที่แตกต่างกัน เช่น ยาลดความดัน ยาขับปัสสาวะ ยากันชัก ยาปรับอัตรา การเต้นของหัวใจ ยาแก้แพ้ ยาฆ่าเชื้อ ยานอนหลับ และยาทางจิตเวช เป็นต้น 8. โรคทางตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม 9. โรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคฮอร์โมนไทรอยด์ตา่ โรคซีด โรคเกลือแร่ และ ไขมันผิดปกติ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น โดยสรุปแล้วแม้มีการจาแนกสาเหตุของการเกิดอาการวิงเวียนไว้อย่างชัดเจนดังกล่าว ข้างต้น แต่พึงระลึกไว้เสมอว่าในผู้สูงอายุนั้นสาเหตุของอาการวิงเวียนมักไม่ได้เกิดลาพังจาก สาเหตุใดสาเหตุหน่ึง ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากหลายสาเหตุผสมผสานกัน ดังน้ัน หากตัวท่าน มีอาการดังกล่าวควรมาพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด พร้อมนายาที่ รับประทานเป็นประจามาให้แพทย์ดูด้วย จึงจะทาให้การรักษามีประสิทธิภาพดีท่ีสุด

โรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ ไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ ต่างจากไข้หวัดในคนท่ัวไปอย่างไร ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างฉับพลัน ที่เกิดจากเชื้อ Influenza virus ซึ่งพบการแพร่ระบาดมากกว่าปกติในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ความรุนแรงของโรคมัก ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน ในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่า เช่นผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรค เรื้อรัง เช่น โรคไต เบาหวาน และโรคมะเร็ง หากพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีความเส่ียงสูง ที่จะเกิดพบอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเช้ือไซนัส หรือหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บางราย มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต อาการแบบไหนถึงเรียกว่า “ไข้หวัดใหญ่” อาการแสดงออกของโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุที่สังเกตุได้ คือ ภาวะซึม ทานข้าวไม่ได้ สับสน เพิ่มเติมจากอาการไข้หวัดใหญ่ปกติ เช่น มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ไอแห้ง เจ็บคอ และมีน้ามูก อีกทั้งอาการป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุมักมีความรุนแรงมากกว่าคน ปกติ และอาจพบอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

เมื่อใดท่ีต้องมาพบแพทย์ ไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้หากดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าเริ่มมีอาการไข้สูง หายใจเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก คล่ืนไส้ อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อ ตรวจวินิจฉัย โดยนาตัวอย่างของเหลวจากจมูกหรือลาคอของคนไข้ไปตรวจหาชนิ ดของเชื้อ ไวรัสไข้หวัดใหญ่และรักษาโดยเร่งด่วน ในผู้สูงอายุที่มีโรคประจาตัว การปล่อยให้เช้ือไข้หวัด ใหญ่อยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน สามารถเพ่ิมความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน อีกท้ังเพิ่มระดับ ความรุนแรงของโรคให้มากขึ้น การรักษาไข้หวัดใหญ่ทาอย่างไรบ้าง วิธีการรักษาไข้หวัดใหญ่ที่ได้ผล คนไข้ควรได้รับยาต้านไวรัส ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากมี อาการไข้ ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรค นอกเหนือจากนั้นจะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ทานยาแก้ไข้ ยาแก้ไอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น ไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้หรือไม่ โรคไขัหวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจาทุกปี เพราะในแต่ละปีเชื้อ โรคมีการเปลี่ยนแปลง และพบการกลายพันธุ์ ทาให้เกิดเชื้อตัวใหม่ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น กว่าเดิม ซึ่งในแต่ละปีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเชื้อที่ระบาดใน ช่วงเวลานั้น โดยหลักแล้วจะครอบคลุม 3 สายพันธ์ุของไข้หวัดใหญ่ท่ีพบ อายุเท่าไหร่ถึงควรได้รับวัคซีน คนท่ีอายุ 50 ปีข้ึนไป ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรค นอกจากนี้ วัคซีนยังช่วยลดความรุนแรงของโรคและโอกาสในการเกิดโรคแทรกช้อนหากเป็น ขณะเดียวกัน คนที่อายุต่ากว่า 50 ปี แต่มีโรคประจาตัว หรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ กลุ่มน้ีควรได้รับวัคซีนเป็นประจาทุกปี เช่นกัน รวมไปถึงผู้ที่ดูแลหรืออยู่ใกล้ชิดกับ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หลังจากได้รับวัคซีนแล้วจะเป็นไข้หวัดใหญ่ตามมา จริงหรือไม่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากอาการบวมแดงเล็กน้อยในบริเวณที่ ฉีด ส่วนอาการไข้หลังฉีดวัคซีนที่หลายคนกังวลนั้น พบได้ “น้อยมาก” เนื่องจากวัคซีนช่วย ในเรื่องการป้องกัน อย่างไรก็ตาม วัคซีนจะไม่สามารถป้องกันโรคหวัดได้ 100% ในกรณีที่ ได้รับเช้ือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใกล้เคียง แต่จะช่วยบรรเทาอาการของโรค ไม่ให้เป็นอันตราย ถึงชีวิต หรือช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนท่ีเกิดขึ้นตามมาได้

การกล้ันปัสสาวะลาบากในผู้สูงวัย ภาวะการกลั้นปัสสาวะลาบาก หรือ ปัสสาวะเล็ดในผู้สูงวัยนั้น นับเป็นปัญหาที่พบมาก ขึ้นในสังคมปัจจุบัน โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดความ ยากลาบากในการใช้ชีวิตประจาวัน และก่อให้เกิดความกังวลใจในการเข้าสังคม โดยความรุนแรงของอาการนั้นเริ่มตั้งแต่การมีปัสสาวะหยดมาเปื้อนกางเกงในปริ มาณที่ไม่ มากนัก ไปจนถึงมีอาการปัสสาวะเล็ดออกมาเป็นปริมาณมาก บางครั้งอาจมีอุจจาระเล็ด ร่วมด้วย ผู้สูงวัยบางท่านแม้ยังไม่เริ่มมีอาการดังกล่าวแต่ก็อาจเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน ปัสสาวะไม่สุด รู้สึกอยากปัสสาวะอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาการ เหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ทั้งส้ิน โดยปกติแล้วการควบคุมการปัสสาวะในมนุษย์นั้นต้องอาศัยปัจจัยดังต่อไปน้ี คือ 1. ศูนย์ส่ังการการปัสสาวะ และระบบประสาทบริเวณสมองและไขสันหลังท่ีดี 2. กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดบริเวณท่อปัสสาวะที่แข็งแรง 3. ลักษณะทางกายวิภาคและสรีระวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะท่ีปกติ 4. สภาวะแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการปัสสาวะหากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งดังกล่าวขาดไป หรือเกิดความผิดปกติขึ้นก็จะก่อให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้

เกิดอะไรขึ้นเมื่อคนเราอายุมากข้ึน เม่ืออายุเร่ิมเพ่ิมข้ึนสิ่งที่เกิดข้ึน คือ 1. การทางานของกระเพาะปัสสาวะเริ่มเสื่อมลง บางรายอาจมีการบีบตัวของกระเพาะ ปัสสาวะบ่อยเกินไปโดยไม่สามารถควบคุมได้ หรือในทางกลับกันอาจบีบตัวได้น้อย เกินไปก็เป็นได้ 2. กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดเริ่มเสื่อมสภาพ ไม่สามารถหดตัวหรือคลายตัว ได้ตามปกติ โดยเฉพาะในเพศหญิงที่ผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการคลอด ตามธรรมชาติหรือการผ่าตัดคลอดบุตรก็ตาม 3. ปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะหลังจากปัสสาวะไปแล้ว มีปริมาณ มากกว่าคนปกติ 4. ในเพศชาย ภาวะที่พบบ่อยคือ ต่อมลูกหมากโต ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปัสสาวะเล็ด ได้ 5. มีการสร้างปัสสาวะในช่วงเวลากลางคืนมากข้ึน

ประเภทของอาการปัสสาวะเล็ด 1. อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการไอ จาม เบ่ง (Stress incontinence)  อาการมักเกิดในผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดลดลง แม้ความจุของกระเพาะปัสสาวะยังไม่เต็มที่ก็เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้เพียงแค่ออก แรง เบ่ง ไอ จาม เพียงเล็กน้อย 2. อาการปัสสาวะเล็ดช่วงที่มีอาการอยากปัสสาวะ (Urge incontinence)  สาเหตุมักเกิดจาก การที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยครั้งเกินไปโดยควบคุมไม่ได้ ส่วนใหญ่เกิดจาก o ปัญหาของการเชื่อมโยงระบบประสาทสั่งการจากสมองและไขสันหลังมายัง ระบบปัสสาวะ เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก พาร์กินสัน ภาวะสมอง เส่ือม การได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง o ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาว ะเอง เช่น การติดเชื้อในทางเดิน ปัสสาวะ น่ิว เน้ืองอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น 3. อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการไอ จาม เบ่งและช่วงที่มีอาการอยากปัสสาวะ (Mixed incontinence)  สาเหตุเกิดจากโรคทางระบบประสาทและสมอง และ ภาวะความจาเสื่อมขั้นรุนแรง หรือปัญหาโรคทางจิตเวช 4. อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อความจุของกระเพาะปัสสาวะขยายเต็มที่แล้ว (Overflow incontinence)  สาเหตุเกิดจากปัญหาของลักษณะทางกายวิภาคและสรีระวิทยาของระบบทางเดิน ปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น ต่อมลูกหมากโต มีท่อปัสสาวะตีบ  การได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง โรคเบาหวาน  ปัญหาทางระบบประสาทอ่ืนๆ  ผลข้างเคียงจากยาที่รับประทานเป็นประจา

หากมีอาการดังกล่าวควรทาอย่างไร 1. มาปรึกษาแพทย์พร้อมนายาที่ใช้รับประทานเป็นประจามาให้แพทย์ดู เนื่องจากภาวะ ปัสสาวะเล็ดในแต่ละแบบมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน 2. ควรเขียนชื่อโรคประจาตัวเก็บไว้กับตัวผู้สูงอายุเสมอ และนามาให้แพทย์ดูทุกคร้ัง 3. งดด่ืมสุรา กาแฟ ซ่ึงมีฤทธ์ิขับปัสสาวะ 4. หากเป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียงตลอด แนะนาให้ผู้ดูแลจดบันทึกปริมาณปัสสาวะ ลักษณะ สี และ จานวนคร้ังท่ีผู้ป่วยปัสสาวะไว้ทุกครั้ง รวมถึงปริมาณและความถ่ี ของ การสวนเก็บปัสสาวะด้วย 5. หากเป็นผู้ป่วยท่ีต้องใช้ผู้ดูแล ให้พยายามทาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและทวาร หนัก ให้สะอาดและแห้งทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ หรือ แผลติดเชื้อท่ี ผิวหนังบริเวณข้างเคียง 6. หากเป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียงตลอด หลีกเลี่ยงการคาสายสวนปัสสาวะไว้ตลอดเวลา โดยไม่จาเป็น เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมากขึ้น หากจาเป็นต้องใส่สายสวนปัสสาวะจริงๆ ควรสวนเก็บเป็นครั้งๆไปตามรอบในแต่ละ วัน และควรใช้เทคนิคท่ีสะอาดปลอดเช้ือในการสวนเก็บปัสสาวะทุกครั้ง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook