Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore SOUTHERNESAN magazine

SOUTHERNESAN magazine

Published by Guset User, 2021-10-14 11:44:10

Description: นิตยสาร "Southern E-san" การท่องเที่ยวในรูปแบบวัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์ตามรอยอารยะขอม ในชุมชนบ้านกู่กาสิงห์

Search

Read the Text Version

SOUTHERNESAN Magazine 1gust 20 2 u A 1 ISSUE ตามรอย อารยะขอม Talk Time Eco tourism คนรุ่นใหม่กับความสนใจ ท่องเที่ยวชุมชนกู่กาสิงห์ เรื่องประวัติศาสตร์ รฤกอารยะขอม



Editor Talk Hello! นิตยสารเล่มนี้ถูกจัดทำขึ้นในวิชา Jounalism Projects (1203406) ปี4 เอกวารสารศาสตร์ ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และได้บทสรุปนิตยสารชื่อเรื่องว่า “Southern E-san” ธีมรฤกอารยะขอม การท่องเที่ยวในชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจาก กู่กาสิงห์ เป็นโบราณสถานที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้เขียน จึงเล็งเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ โบราณสถาน เรื่องราวในอดีตถึงปัจจุบันและการท่องเที่ยวในชุมชน มีความสนใจ อยากเผยแพร่ เพื่อที่จะไม่ให้ผู้คนหลงลืมคุณค่าใกล้ตัว แม้จะเป็นตัวผู้เขียนเองที่เอา แต่ตามกระแส สิ่งเร้าใจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากเกินไปเกิดการละเลยสิ่งที่มีอยู่ไป ชั่วคราวนำมาสู่การทำนิตยสารครั้งนี้ โดยที่จะเล่าประวัติศาสตร์ผสมกับความทัน สมัย คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้อ่านนะคะ Saranyaporn Makathin Editor

snetnoC Table Of Southern E-san

7 ประวัติศาสตร์ VS คนรุ่นใหม่ 8 Who is Khom? 9 Timelines of Khom 11 Khom Empire 12 ศิลปะขอมบนแผ่นดินไทย 14 ตามรอยโบราณสถานขอม

22 ร่องรอยอารยธรรมขอมที่ขุดพบ 29 The 5 best history books 32 KU KA SING in the modern word 38 กินอยู่อย่าง \"กู่กาสิงห์\" 40 คนรุ่นใหม่ กับความสนใจประวัติศาสตร์ 44 Ecotoutism 53 จิบ ดื่ม ชิม ชิล

ประวัติศาสตร์ VS คนรุ่นใหม่ ทำไมการสอนประวัติศาสตร์แบบเก่า ไม่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ? คำถามที่ชวนให้ทุกคนขบคิด เมื่อคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน เริ่มเบือนหน้าหนี ประวัติศาสตร์ตามตำราเรียน และแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ แทน พอได้เห็นการ เรียนการสอนทำให้มองเห็นว่า ประเทศไทยเราไม่ค่อยได้เรียนประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นกันเท่าไหร่ ทั้ง ๆ ที่ทุกพื้นที่ของไทยก็มีประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าของ ตัวเอง อยากให้คนรุ่นใหม่ รู้สึกว่าประวัติศาสตร์มันไม่ใช่เรื่องไกลตัว เป็นสิ่ง หนึ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา โดยที่เราไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานศึกษา ประวัติศาสตร์มันทำงานอยู่รอบตัวในครอบครัวหรือสังคมที่เราอาศัยอยู่ SouthernEsan-07

Time to Learn Who is Khom \"ขอม\" ? กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ ความเป็นมาที่ยาวนานและมีการ พัฒนาจนมีความเจริญรุ่งเรือง ขอมไม่ได้หมายถึงชนชาติ และเชื้อชาติ แต่เป็นชื่อทาง วัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มคนที่รับ วัฒนธรรมฮินดูจากชมพูทวีป ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นพุทธมหายาน คำว่า \"ขอม\" สันนิษฐานว่ามาจาก คำว่า \"เขมร\" และ \"กรอม\" ที่แปลว่า ใต้) เมื่อพูดเร็วเข้า ก็จะกลายเป็น \"ขอม\" โดยอาณาจักรขอมในอดีต จากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ พบว่า ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ใน ประเทศกัมพูชา และบางส่วนใน ลาวและไทย SouthernEsan-08

TIMELINE TIMEL INE TIMEL INE K h o m

Timelines of Khom 01 สมัยก่อนพระนคร ยุคฟูนัน (ราวพุทธศตวรรษที่ 6 - 11) ยุคเจนละ (ราวปล่ายพุทธศตวรรษ ที่ 11 - กลางพุทธศดวรรษที่ 14) 02 สมัยพระนคร นับเป็นสมัยทองหรือสมัยรุ่งเรืองสูงสุด แห่งอารยธรรมขอม (ราวกลางพุทธ ศตวรรษที่ 14 - 20) 03 สมัยหลังพระนคร (ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา) ในส่วนที่เกี่ยวกับ ดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน พบร่องรอย หลักฐานอารยธรรมขอมเป็นจำนวนมาก ชี้ว่าใน อดีตดินแดนที่เป็นประเทศกัมพูชาปัจจุบันกับดิน แดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน มีการติดต่อ สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมายาวนาน SouthernEsan-10

Time to Learn Kสังคมและวัฒนธรรม hom Empire จักรวรรดิขแมร์, อาณาจักรเขมร หรือขอม อาณาจักรขอมสืบทอดอำนาจจากอาณา เป็นอาณาจักรโบราณเริ่มต้นขึ้น ราวพุทธ จักรเจนละ มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน ตั้งอยู่ กับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขต อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ไทย ลาว และบาง ที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรขอม คือ นครวัด ส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักร และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้ง ที่มีแสนยานุภาพมากที่สุด ต่อมาได้อ่อนกำลัง อาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และ ลง จนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักร ยังมีลัทธิความเชื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย สุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมือง ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ ได้แก่ ศาสนาฮินดู ขึ้นของอาณาจักรอยุธยา พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาท SouthernEsan-11 Picture from : Allianz Travel Reference from : wikipedia

Time to Learn ศิลปะขอมบนแผ่นดินไทย คุณค่าที่มากกว่าความเก่า อีสานจะมีวัฒนธรรมลาวเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักแต่ในพื้น ที่แถบอีสานใต้ วัฒนธรรมขอมได้มีการแสดงอัตลักษณ์ตัวตน อย่างต่อเนื่องในการผสมผสานกับวัฒนธรรมอื่น ๆ ได้อย่างมี เอกลักษณ์ โดยแง่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมขอมจากกัมพูชา ได้แผ่ขยายเข้ามาในอีสานตั้งแต่สมัยแคว้นเจนละ ต่อจากนั้น แสดงความเป็นปึกแผ่นมั่นคงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อถึงพุทธศตวรรษที่ 16 (หลัง พ.ศ 1500) หรือ ตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 SouthernEsan-12

งานช่างสิ่งปลูกสร้างพื้นถิ่นในอีสานใต้ ที่มีกลุ่ม ทวารบาลรูปนางอัปสรา ชาติพันธุ์ที่เกี่ยวเนื่องในวัฒนธรรมขอมมากกว่าที่อื่น ๆ แบบศิลปะไทยบ้านอีสาน เมืองศรีสะเกษ ได้พยายามสร้างอัตลักษณ์ตัวตนในบริบทพื้นที่ทางการ เมืองใหม่ ผ่านงานศิลปะและสถาปัตยกรรม ทั้งในรูป ศิลปะสถาปัตยกรรมเขมรร่วมสมัยในแถบ ศาสนาคาร, อาคารสาธารณะสมัยใหม่ จากฝีมือช่างใน อีสานใต้ ศาลจังหวัดเดชอุดม ระบบราชการและนอกราชการ ในอาคารสาธารณะสมัย ใหม่ทั้งโรงแรม โรงเรียน มีการหยิบยืมนำเอารูปแบบ ศาลหลักเมือง จ.สุรินทร์ ศิลปะสถาปัตยกรรมปราสาทขอม มาสร้างสรรค์ใน ศิลปะขอมร่วมสมัย วัดศาลาลอย จ.สุรินทร์ ลักษณะร่วมสมัย โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนประยุกต์รูป ศาลหลักเมือง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ แบบจากในสังคมจารีตมาสู่ประโยชน์การใช้สอยที่ว่างใน คติใหม่ ๆ ที่รับวิถีสังคมร่วมสมัยแห่งความเป็นปัจจุบัน ที่ต่างจากคติความเชื่อการใช้ที่ว่าง (รวมถึงรูปแบบและ การตกแต่ง) เดิมที่เคยใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา โดย ให้เหลือบางส่วนของรูปทรงที่แสดงกลิ่นอายของความ เป็นเขมร รูปแบบศิลปะเขมรร่วมสมัยในอีสาน แม้จะเป็นการ โหยหารากเหง้า หรือ จะเป็นการสร้างอัตลักษณ์ การ ผลิตซ้ำของชุดความรู้เดิม ๆ ในบริบทแห่งรูปลักษณ์ใหม่ ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงการที่ท้องถิ่นพยายามสร้างพลัง การต่อรองในเชิงศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้รสนิยม ความเชื่อความชอบ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนย้อนแย้ง ไป ๆ มา ๆ ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว คงมีทั้งด้านบวกและด้านลบในแง่การอนุรักษ์ สืบสานและพัฒนา ส่วนคุณค่าความหมายก็ขึ้นอยู่กับ ว่าจะใช้มาตรฐานของใครเป็นกรอบกำหนดวัดตัดสิน ว่าดีหรือไม่ดี ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง Reference from : silpa-mag.com Picture from : avengo.net/ silpa-mag.com

ตต าา มม รร ออ ยย โโ บบ รร าา ณณ สส ถถ าา นน ขข ออ มม

อารยธรรมขอมอันเก่าแก่กว่าพันปีที่มีหลักฐานทางประวัติ ศาสตร์ ที่เรียกได้ว่าลึกลับน่าสนใจ สำหรับในประเทศไทย ในจังหวัดร้อยเอ็ดคงจะเป็น \"กู่กาสิงห์\" แถบอีสานใต้ อารยธรรมขอมโบราณที่ยังหลงเหลือในชุมชนกู่กาสิงห์

Turn Back Time กู่ ก า สิ ง ห์ เริ่มต้นด้วยความงดงามของปราสาทหิน เป็นสถาปัตยกรรมแบบขอม อีกแห่งหนึ่งมีขนาด ทรายขอมโบราณ สมัยเจ้าชัยวรมันที่ 7 ตั้งอยู่ ค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพดีพอควร ขณะนี้ ในวัดบูรพา กู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ และคำว่า สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่ง “กู่กาสิงห์” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “กู่” ที่ ชาติที่ 9 อุบลราชธานี กรมศิลปากร ได้ดำเนิน ชาวบ้านใช้เรียกโบราณสถานขอมที่มีลักษณะ การขุดแต่งและบูรณะให้เห็นสภาพชัดเจน คล้ายสถูปหรือเจดีย์ ส่วนคำว่า “กา” หมายถึง สวยงามยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ อีกา ในอดีตบริเวณนี้มีอีกาอยู่จำนวนมาก ส่วน สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ประกอบด้วย คำว่า “สิงห์” มาจากประติมากรรมรูปสิงห์ 2 ตัว ปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันมี ที่เคยตั้งอยู่หน้าประตูทางเข้า ชาวบ้านจึงใช้เรียก วิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่เรียกว่า ปราสาทแห่งนี้ว่า “กู่กาสิงห์” สืบมาจนถึงปัจจุบัน บรรณาลัย อยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมด ชุมชนกู่กาสิงห์แห่งนี้มีโบราณสถานขอม 3 แห่ง ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ถัด คือ กู่กาสิงห์, กู่โพนระฆัง และกู่โพนวิจ ออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง SouthernEsan-16

Ku Ka Sing Ku Ka Sing SouthernEsan-17

ฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคง เอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย ส่วน ปรากฏลวดลายสลักชั้นเป็นแนวลายกลีบมลบัว ปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและ และลายกนก ผนังก่ออิฐที่ห้องในสุดหรือส่วน ลักษณะเดียวกัน {านก่อด้วยศิลาทราย ผนัง ครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่น เทพสูงสุด (พระอิศวร) และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม ตามลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศว แบบแผนผังและโบราณวัตถุที่พบแสดงให้ นิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น มีชิ้น ทราบว่า กู่กาสิงห์ได้รับอิทธิพลจากศิลป์แบบ หนึ่งสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณใน เขมร เรียกว่า \"แบบบาปวน\" จากการศึกษา ซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาล ซึ่งมีมือ ลวดลายหน้าบันทับหลังและลวดลายอื่น ๆ ยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยังได้พบซุ้ม อายุราว พ.ศ. 1560-1630 หน้าบันสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้าง SouthernEsan-18 Reference from : finearts.go.th

Turn Back Time กู่ โ พ น ร ะ ฆั ง กู่โพนระฆังเป็นอโรคยาศาล หรือ ศาสนสถานประจำโรงพยาบาลรูปแบบศิลปะ บายนสร้างในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรขอมโบราณซึ่งแสดงให้ เห็นถึงการเปลี่ยนมายอมรับนับถือพุทธศาสนาตามแบบอย่างราชสำนักในเมืองพระ นครแทนที่ศาสนาฮินดู รอบบริเวณก็ยังให้บรรยากาศที่ดีล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ถ้ามาได้ถูกฤดูในช่วงที่ ดอกไม้ป่ากำลังออกดอกก็จะยิ่งสวย และมีมุมเก็บภาพงาม ๆ กันได้เยอะมากทีเดียว กู่โพนระฆัง อยู่ไม่ไกลไปจากกู่กาสิงห์นักถ้าจะเดินทางมาเที่ยวกู่กาสิงห์จะได้เห็นป้าย บอกทางเข้าไปที่กู่โพนระฆังก่อนข้างทาง สามารถแวะเข้าไปเที่ยวชมกันได้เลย SouthernEsan-19

Ku Phon Rakhang Ku Phon Rakhang กู่โพนระฆัง อยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 400 เมตร สร้าง จากหินศิลาแลง มีปราสาทประธาน 1 หลัง ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบรรณาลัย 1 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานมีกำแพงแก้วก่อล้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่กึ่งกลางกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกซึ่งตรงกับด้านหน้าของปราสาทประธานเจาะเป็นรูป กากบาท ซุ้มประตูทางเข้าที่เรียกว่าโคปุระ และมีลานทางเดินหินทรายเชื่อมจากหน้าปราสาท ประธานถึงโคปุระ มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกรุด้วยศิลาแลงอยู่นอกกำแพงทางด้านทิศตะวัน ออกเฉียงเหนืออยู่หนึ่งสระ SouthernEsan-20

Turn Back Time กู่ โ พ น วิ จ กู่โพนวิจ มีที่มาจากคำว่า \"เวจกุฏี\" เคยเป็นลักษณะอาคารไม้ 5 หลัง ตั้งอยู่ หรือ \"ส้วม\" จึงใช้เรียกโบราณสถานแห่งนี้ บนฐานเดียวกัน สันเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยม และอยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ ไปทางทิศเหนือ จัตุรัสก่อด้วยศิลาแลงพบหลักฐานบริเวณ ประมาณ 500 เมตร เป็นศาสนาสถานขอม เนินโบราณสถานจำนวนหลายชิ้น โดยมี ในศาสนาฮินดู สภาพปัจจุบันเป็นเนินดิน อาคารประธานซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอาคาร ขนาดใหญ่ ตัวกู่อยู่ในสภาพปรักหักพังคง อื่นตั้งอยู่กึ่งกลาง และอาคารอีกสี่หลังตั้ง เหลือแต่ฐานศิลาแลงเป็นบางส่วน และแท่ง อยู่มุมทั้งสี่ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานที่ หินทรายขนาดใหญ่ เป็นศิลปะขอมแบบ ก่อด้วยศิลาแลง โดยอาคารเครื่องไม้นั้นสูญ เกรียง ซึ่งพบไม่มากนักในประเทศไทย สลายไปหมดแล้ว เหลือให้เห็นเพียงหลุม เสาที่มุมฐานของอาคารทั้งสี่ด้าน Ku Phon Wit SouthernEsan-21

Time to Learn ร่องรอยอารยธรรมขอมที่ขุดพบ พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญาบ้านกู่กาสิงห์ ปัทมา พลอาสา พนักงานนำชมโบราณสถาน กู่ ก า สิ ง ห์

การเที่ยวชมโบราณสถานเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบวัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ มรดกภูมิปัญญาบ้านกู่กาสิงห์ ที่เปิดรอให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสกันด้วยตัวเอง การท่องเที่ยว ในรูปแบบนี้จะได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน เรื่องของโบราณคดีทั้งกลิ่นอายของประวัติ ความเป็นมาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและเคยเกิดขึ้นกับโบราณสถานขอมแห่งนี้ หากต้องสื่อสารกับสาธารณชนให้เขาเข้าใจ มุมมองความสำคัญของพิพิธ- อย่างสั้นและกระชับที่สุดว่าโบราณคดีคืออะไร? ภัณฑ์เป็นแบบไหน? ในทัศนะของตัวเองนะคะ โบราณคดีก็คือการศึกษา พิธภัณฑ์และโบราณสถานเปรียบ เรื่องของคนและวัฒนธรรม จากวัตถุทางวัฒนธรรมที่พบ เสมือนคลังเก็บรวบรวมอนุรักษ์ของไว้ ซึ่งไม่ใช่แค่การศึกษาสังคมเฉพาะเรื่องในอดีตแต่ต้อง เล่าเรื่อง มีหน้าที่หลักดำเนินงานด้าน ศึกษาปัจจุบันด้วยเพราะการศึกษาข้อมูลในปัจจุบันจะ การศึกษาจากหลักฐานที่เป็นวัตถุหรือ ช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบและอธิบายได้ว่าในอดีต ของโบราณเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ มี นั้นเกิดอะไรขึ้น การเผยแพร่ผลงาน และนำเสนอข้อมูล ต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้แก่สาธารณชนทุก พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญาบ้านกู่กาสิงห์ คน เป็นสถานที่สร้างความรู้สึกที่ดีและ มีคุณค่าในการเชื่อมต่ออดีตกับปัจจุบัน 79 ม.2 บ.กู่กาสิงห์ วัดสว่างอารมณ์(กู่), ต.กู่กาสิงห์ เข้าด้วยกันทั้งยังทำให้บริเวณหรือชุมชน อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด, 45150 ที่ตั้งพิพิธภัณฑ์นั้นเกิดความภูมิใจว่าเรา มีของสำคัญเหล่านี้ใกล้ตัวทำให้เห็น 084-789-7006 คุณค่ามากขึ้นค่ะ SouthernEsan-23

1 2 3 4 6 5 กู่ ก า สิ ง ห์ 1. แผ่นทองคำ รูปดอกบัว 8 กลีบ 2. เศียรประติมากรรม ศิลปะแบบบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 3. ชิ้นส่วนคานหามสำริดรูปนาค 3 เศียรศิลปะเขมรแบบนครวัด 4. เครื่องประดับทองคำ นาค 5 เศียร 5. ประติมากรรมพระคเณศ ศิลปะเขมรแบบบาปวนและต้นแบบนครวัด 6. ประติมากรรมโคนนทิ ตั้งด้านหน้าปราสาทประธานองค์กลาง

1 2 3 5 4 กู่ โ พ น ร ะ ฆั ง 1. พระวัชรธร ศิลปะเมขรแบบบายน 2. จารึกกู่โพนระฆัง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 3. พระโพธิสัตว์ประทับนั่ง 4 กร ศิลปะเมขรแบบบายน 4. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับยืน 4 กร 5. แท่นวางจารึกตั้งอยู่หน้าบรรณาลัยกู่โพนระฆัง

1 3 2 1. ประติมากรรมรูปบุคคล ศิลปะเขมรแบบคลัง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 กู่ โ พ น วิ จ 2. ชิ้นส่วนพระกรและพระหัตถ์พระนารายณ์ ทรงคฆา ทรงจักร ทรงสังข์ 3. ภาชนะดินเผาบรรจุกระดูกในประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2

กู่ ก า สิ ง ห์ พระศิวะมามิ่งล้า ดั่งรุ่ง ส่องเฮย สิงห์โคปุระหยัดพุ่ง เยี่ยงผู้ ทวารบาลจรัสจรุง สื่อเทพ สถิตนา ปรางค์อิฐก่อต่อกู่รู้ อยู่ยั้ง นานมา 'กู่กาสิงห์' งามสิ่งสร้าง ศิลา แลงเฮย ศิลปะแห่งศรัทธา อาจชี้ ความเชื่อเก่าเล่าความมา ถิ่นเทพ ทางแฮ สถิตลงตรงทุ่งนี้ นี่คือ 'ทุ่งกุลา' คือแอ่งอารยธรรม เด่นล้า ก่อนเคยรุ่งนครา ไป่รู้ เทวลัยดั่งศรัทธา ข้ามยุค เค้ารอย ยุคสืบยุคราวเรื่องผู้ กู่นี้ มีตำนานฯ บทกวี :ภิรเดช แก้วมงคล



Time to Relax The อ่านสนุก 5 Best เพราะทุก History เรื่องเล่า Books มีเรื่องราว

เมื่อพูดคำว่า ‘ประวัติศาสตร์’ ทุกอย่างก็ฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวไปหมดเรื่องในอดีตอันไกล โพ้น ต้นกำเนิดของบางสิ่งบางอย่าง ความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานมาในแต่ละช่วงเวลา เรื่องเล่ามากมาย ที่ถูกพูดถึงและไม่ถูกพูดถึง ประวัติศาสตร์ในคาบทรงจำสมัยเด็กไม่ได้ ชวนให้เราอยากรู้อยากเห็นเลยสักนิด ทุกอย่างกลายเป็นข้อมูลไม่ชวนสนใจ แต่เมื่อเติบ โต เราจึงรู้ว่าประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร ทั้งยังสนุกน่าตื่นเต้น เต็มไปด้วยเรื่อง น่ามหัศจรรย์เพราะไม่ได้มีแค่เรื่องของชาติบ้านเมืองเท่านั้น มันยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่รายล้อม เราอีกมาก จะได้เห็นความเป็นมา เห็นวิวัฒนาการ เห็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่จะเป็นทั้ง บทเรียนหรือสิ่งที่จะนำไปต่อยอด ประวัติศาสตร์กลายเป็นเรื่องสนุกอย่างเหลือเชื่อ และ ทำให้เราพบว่าในทุกเรื่องราวนั้นมีเรื่องเล่าในทุกเรื่องเล่านั้นมีเรื่องราว ขอให้สนุกกับ อดีตของมนุษยชาติ เรื่องเล่าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยรสอันหลากหลาย ทั้งสุขและเศร้า ทั้งหวานและขม ผู้คนประหลาดทั้งที่เป็นอัจฉริยะและฆาตกร วีรบุรุษและจามมาร อุดมการณ์อันงดงามและบ้าคลั่ง ดารประ 1 ลงกำลังทางสติปัญญา เสียงดนตรี กลิ่นคาวเลือด เปลวเพลิง จุดจบ อันมืดและต่ำช้า เรื่องเล่นอันเกิดขึ้นจริง ณ ห้วงเวลา หนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ ผู้เขียน : ภาณุ ตรัยเวช ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง สำนักพิมพ์ : มติชน ใครจะรู้ว่ากระดาษแผ่นบาง ๆ รองรับอารยธรรมนับพันปีของ มนุษย์เอาไว้ ! ชีวิตของเราผูกพันกับกระดาษตั้งแต่เกิดจนตาย 2 ทั้งสูติบัตร มรณบัตร บัตรประชาชน ทะเบียนสมรส โฉนดที่ดิน พาสปอร์ต ฯลฯ ประวัติศาสตร์กระดาษโลก ผู้เขียน : Ian Sansom ผู้แปล : พลอยแสง เอกญาติ สำนักพิมพ์ : โอเพ่นเวิลด์ส SouthernEsan-30

หนังสือเล่มนี้จะสร้างประวัติศาสตร์ในตัวมันเองด้วยการเป็น หนังสือประวัติศาสตร์เล่มแรกที่ไม่ออกฤทธิ์เหมือนยานอนหลับ คุณจะได้อ่านเรื่องราวของเบียร์รสไก่ ลูกปัดประดับอัณฑะ การ 4 เลี้ยงเด็กด้วยฝิ่น ดัชเชสผู้ลงทุนแก้ผ้าขี่ม้าไปรอบเมืองเพื่อเรียก ร้องให้สามีลดอัตราภาษีและอีกสารพันเรื่องราวที่ทั้งสนุก สยอง ตื่นเต้น เศร้าซึ้ง ครบรส ประวัติศาสตร์โลกฉบับไม่ง่วง ผู้เขียน : Erik Sass ผู้แปล : สุวิชชา จันทร สำนักพิมพ์ : a book กะเทาะเปลือกประเทศไทยรอบด้านจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เน้น ให้รัฐชาติเป็นแกนเรื่อง อธิบายว่าความคิดเรื่องชาติเกิดขึ้นอย่างไร 3 กลไกของรัฐชาติก่อร่างสร้างขึ้นอย่างไร และเมื่อสร้างแล้ว มีพลัง ทางสังคมต่าง ๆ พยายามใช้กลไกนั้นอย่างไร เนื้อเรื่องหลักประ- การที่สอง คือ วิวัฒนาการของพลังทางสังคม ที่มีบทบาทในการ เกิด การเติบโต การทำงานของชาติและรัฐชาติไทย ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ผู้เขียน : คริส เบเคอร์ และ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร สำนักพิมพ์ : มติชน 5 หนังสือเล่มนี้เปรียบดังสะพานที่เชื่อมระหว่างวรรณกรรมกับโลก แห่งความจริง พร้อมสำรวจบริบทต่าง ๆ ที่รายล้อมวรรณกรรม ทั้ง วรรณกรรม : ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ สังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมทั้งตั้งคำถาม เรื่องเล่าแห่งจินตนาการ ชวนขบคิดว่า ที่ทางของวรรณกรรมในอนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่อ ชะตาของวรรณกรรมอาจไม่ได้อยู่ในกำมือผู้เขียนอีกต่อไป แต่อยู่ ในกำมือผู้อ่าน ผู้เขียน : John Sutherland Reference from : themomentum.co/ ผู้แปล : สุรเดช โชติอุดมพันธ์ the-list-5-history-book , se-ed.com สำนักพิมพ์: บุ๊คสเคป SouthernEsan-31

Photo by แจ้งข่าวบ้านกู่กาสิงห์ KU KA SING in the modern world



Photo by Joonlajit JoonlaloauCurrent Time ที่นี่ ... กู่กาสิงห์ ชุมชนกู่กาสิงห์ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเลือกสัมผัสความสุขง่าย ๆ ปรับวิถีใหม่ในการท่องเที่ยวในชุมชนของตัวเอง เห็นคุณค่าของสิ่ง ที่มีอยู่ช่วยเติมเต็มพลังงานและแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต มีธรรมชาติทุ่งนาที่สวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ การใช้ชีวิต วัฒนธรรมที่งดงามในชุมชนของเราไม่ให้จางหายไป SouthernEsan-34

SouthernEsan-35

การเดินทาง ชุมชนกู่กาสิงห์ อยู่ในพื้นที่ชนบทตะเข็บชายแดน จังหวัดร้อยเอ็ด-สุรินทร์ ตั้งอยู่ตำบลกู่กาสิงห์ ใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-เกษตรวิสัย ทางหลวงหมายเลข 214 อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทาง 47 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามทางหลวงสาย เกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิ ประมาณ 10 กิโลเมตร มีทางแยก การใช้ชีวิตของคนในชุมชน ขวากู่กาสิงห์ เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร หรือใช้เส้น ทางสายร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวงหมายเลข ภายในชุมชนค่อนข้างเงียบสงบ ผู้คนนิยม 215 ต่อด้วย 214) ระยะทาง 60 กิโลเมตร เข้าวัดฟังธรรม ความพิเศษของชุมชนกู่กาสิงห์ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ที่มีโครงสร้างเครือญาติ ที่แน่นแฟ้น สามารถกล่าวได้ว่าเป็นญาติกันทั้ง หมู่บ้าน เคารพผู้อาวุโส ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นสังคมที่น่าอยู่ มีแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน แห่งเดียวในทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ตั้งอยู่ในบริบทของ แหล่งอารยะธรรมโบราณ ที่มีประวัติศาสตร์อัน ยาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่อง มาถึงสมัยวัฒนธรรมขอมและสมัยวัฒนธรรม ไทยลาวในปัจจุบัน รายได้หลักของคนในชุม ชนส่วนมาก จะเป็น การทำไร่ทำนา นิยมปลูกข้ าวหอมมะลิทุกครัว เรือน และในทุ่งกุลาแห่งนี้ยั งเป็นแหล่งผลิตข้าว หอมมะลิที่มีชื่อเสียง เลี้ยงวั ว, ควาย รับจ้างไถนา (มีรถแทรกเตอร์ไถนามาก ที่สุด) และทอผ้าไหม ส่วนเยาวชนความน่ารักอยู่ต รงที่เราสามารถจ้าง เด็กน้อยเป็นมัคคุเทศน์ เพื่อพาไปเที่ยวชมจุด ต่าง ๆ รอบชุมชนได้

SouthernEsan-37

Time for Food กินอยู่อย่าง กู่ ก า สิ ง ห์

เมนูอาหารอีสาน Thai papaya salad ณ ดินแดนกู่กาสิงห์ ส้มตำไทย อาหารอีสานของชุมชนกู่กาสิงห์ส่วนใหญ่ผู้คน Fish Dipping Sauce นิยมรับประทานรสจัด-เผ็ดร้อน เห็นได้ชัดจาก การหมักดองอาหารเพื่อนำมาทำเมนูต่าง ๆ ที่ บ่นปลา ผสมผสานเครื่องเทศและสมุนไพรท้องถิ่นเข้า ด้วยกันจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ Ground pork salad E-San ลาบหมู Thai Food Mushroom Soup อาหารมื้อนี้ที่เราได้รับประทานไปจะมีส้มตำปู แกงเห็ด ปลาร้า, ป่นปลา, ลาบหมู, แกงเห็ด, แกงมะรุม และส้มปลาน้อย ถือได้ว่าครบรสเป็นเมนูประจำ Papaya salad with fermented ทั้งยังเป็นเสน่ห์ของวิถีชีวิตอีสาน fish sauce & crab SouthernEsan-39 ส้มตำป ูปลาร้า

Talk Time คนรุ่นใหม่กับความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ อุ๋มอิ๋ม หทัยชนก ชมภูพงษ์

Histofun ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องสนุก อุ๋มอิ๋ม หทัยชนก ชมภูพงษ์ เป็นคนกู่กาสิงห์และบรรพบุรุษก็เป็นหนึ่งในกลุ่มบุกเบิก อพยพมาตั้งรกรากที่ชุมชนกู่กาสิงห์ สมมติฐานได้ว่าชุมชนแห่งนี้มีอายุ 100-200 ปี จะมีบางพื้น ที่ในบางช่วงเวลาที่รกร้างผู้คนไปแต่ก็กลับมาเป็นชุมชนได้อีกครั้ง จากที่รู้กันว่าชุมชนกู่กาสิงห์ มีโบราณสถานขอม ได้ผ่านกาลเวลาจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงพอสมควร ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อมาว่า กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ที่นี่ ได้อพยพมาจากประเทศลาวผ่านทางแคว้นจำปาศักดิ์ เข้ามาที่อำเภอ สุวรรณภูมิกระจายมารอบ ๆ บริเวณนี้ ซึ่งบางวัฒนธรรมหรือประเพณีก็ไม่ใช่ของขอมหรือเขมร ขนาดนั้นแต่ไม่สามารถพูดว่าลาว 100% จึงเรียกว่าพหุวัฒนธรรมจะดีกว่า มองเรื่องของประวัติศาสตร์เป็นแบบไหน? อิ๋มตอบประวัติศาสตร์ในมุมมองนักLinguistic เพราะว่าตัวอิ๋มเองไม่ได้จบด้านประวัติศาสตร์ หรือ โบราณคดีมาจึงไม่ทราบข้อมูลมากขนาดนั้นเป็น เพียงคนที่ชื่นชอบและค้นคว้าหาในสิ่งที่อยากจะรู้ และได้มองประวัติศาสตร์ว่าเป็นเรื่องสนุกมากกว่า ดังคำที่เคยได้ยินว่า ประวัติศาสตร์ คือ สิ่งที่บอก ที่ไปที่มาของคนหรือสถานที่นั้น ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นใน อดีตเชื่อว่ามันคือบทเรียนอย่างหนึ่งที่ไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองแต่สามารถนำไปปรับใช้ใน ชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต เป็นทั้งความบันเทิง เป็นครูในหนังสือให้ความรู้ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ ความสนใจและตระหนักขึ้นมากกว่านี้ แม้ประวัติ- ศาสตร์บางเรื่องจะไม่ใช่เรื่องราวที่ดีเสมอไปแต่ ควรที่จะเรียนรู้ทั้งด้านดีและไม่ดี SouthernEsan-41

ชอบศึกษาประวัติศาสตร์แนวไหน? มุมมองเกี่ยวกับ \"ขอม\" เป็นแบบไหน? ไม่สามารถระบุได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับความสนใจ อิ๋มมองว่าขอมเป็นอาณาจักรที่มีความยิ่งใหญ่ ในช่วงเวลานั้น บางช่วงชอบขอมก็จะหาตามอ่าน ทรงพลัง มีมนต์ขลัง ในความรู้สึกขอมเขาไม่เคยล่ม จากบทความต่าง ๆ หรือหนังสือ จะอ่านจนรู้สึก สลายแต่เปลี่ยนจากสิ่งจับต้องได้มาเป็นความทรงจำ ว่าพอละ เรารู้ครบหมดแล้วในสิ่งที่สงสัยอยากรู้ มากกว่า ที่บอกขอมไม่ล่มสลายเพราะไม่ว่าจะเป็น หรือบางทีก็จะเป็นประวัติศาสตร์ของไทย, สากล ปราสาทหรือสิ่งก่อสร้างในอาณาจักรยังเป็นที่น่าสน ยุโรป, จีน แถวแถบนั้นเลย ไม่ใช่แค่ความเป็นมา ใจต่อคนบนโลก การแสดงร่ายรำอัปสราสำหรับเรา แต่ยังมีเรื่องของศิลปะและวัฒนธรรมไปจนถึง มันสื่อถึงความเป็นขอมที่สุดแล้ว ที่บอกว่าทรงพลัง เรื่อง Gossip, Story เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ละพื้นที่ ก็คือการที่เขาสร้างปราสาทจะผ่านมากี่ร้อยกี่พันปี แต่ละเรื่องราวก็จะมีเสน่ห์แตกต่างกัน ผู้คนก็ยังอยากรู้จักเดินทางไปเยี่ยมชมปราสาทขอม เสมอและขอมเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมและวัฒน- ทำไมคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันสนใจ ธรรมหลาย ๆ อย่าง นอกจากสถานที่ก็จะมีประเพณี ประวัติศาสตร์น้อยลง? พิธีกรรม ถ้าไม่ยิ่งใหญ่จริงประเทศอื่นหรืออาณาจักร รอบ ๆ คงไม่รับเอาวัฒนธรรมหรือประเพณีมาใช้ ในความเห็นส่วนตัวของอิ๋มเอง ในปัจจุบันมัน เห็นได้ชัดอย่างไทยขอม เราเลยมีความคิดว่าขอม มีเหตุการณ์และเรื่องราวหลาย ๆ อย่างที่สำหรับบาง แสดงถึงความขลังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คนให้ความสนใจมากกว่าเรื่องของประวัติศาสตร์ เขาอาจจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและจบไปแล้ว อารยธรรมขอมที่หลงเหลือให้ศึกษา ในอดีต ไม่จำเป็นต้องรู้ ซึ่งไม่แปลกที่คนรุ่นใหม่ให้ นำไปใช้อะไรได้บ้าง? ความสำคัญกับปัจจุบันมากกว่า ระยะเวลาเกือบพันปีจะให้ขอมเหลือทุกสิ่งทุก แต่ยังไงอิ๋มก็คิดว่าเรื่องของประวัติศาสตร์ควร อย่างก็คงจะไม่ใช่ โดยในปัจจุบันมีการแบ่งแยกประ- ศึกษาและรู้ไว้บ้างจะเป็นผลดีสำหรับตัวเองเพราะ เทศไม่ได้เป็นอาณาเขตรวมแบบอาณาจักรเมื่อก่อน ทุกเรื่องราวอยู่กับเราตลอดเวลา แทรกซึมไปกับ มันผ่านระยะเวลามาค่อนข้างจะเยอะสิ่งที่อิ๋มเห็นได้ อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างวลีเด็ด “Let them eat ชัดในเรื่องของพิธีกรรมมากกว่า อย่างพิธีแซนโฎนตา cake” ที่ยังเห็นคนนำมาใช้พูดในปัจจุบัน มาจาก คนเขมรถิ่นไทยเขายังทำอยู่และในชุมชนกู่กาสิงห์ “Qu’ils mangent de la brioche” ในประวัติ- บ้านบางหลังยังทำพิธีนี้อยู่เป็นการเซ่นไหว้ผีบรรพ- ศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 ถูกเล่าว่าเจ้าของ บุรุษสะท้อนถึงความรัก ความผูกพัน กตัญญู แม้สิ่ง วลีนี้ คือ Marie Antoinette (พระราชินีฝรั่งเศส) ที่หลงเหลือบางอย่างเราอาจจะไม่ได้รับมาใช้แต่รู้ไว้ ความจริงแล้วยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่บ่งบอกว่า ประดับความรู้ตัวเองก็ยังดี และเรื่องของวิทยาการ พระองค์ได้ตรัสวลีนี้ไว้เลย ทำให้นึกคิดได้ว่าแม้ ของคนขอมสมัยก่อน จากโบราณสถานหรือสิ่งประ เรื่องเล่าจะผ่านไปกี่ร้อยปีก็ไม่จางหายและยังคง ดิษฐ์ที่หลงเหลือ เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ต่อไป

การที่จะยึดติดอะไรสองสิ่งเข้าด้วยกันเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากไม่มี กาวหรือเชือกสังเคราะห์แบบปัจจุบันนี้ มีข้อสันนิษฐานวิธีการที่เขาใช้ 1. หินแต่ละพื้นที่ของโบราณสถานที่จะติดกันได้ต้องเป็นหินที่เรียบมี การขัดจนเรียบเพื่อสามารถตั้งเรียงกันขึ้นไปได้ 2. การใช้ยางจากไม้ หรือใบไม้ที่เหนียว ๆ มาราดหรือแปะไว้เพื่อให้ติดกัน เพื่อให้เข้าใจถึง การปรับใช้ในของบางสิ่งของคนสมัยก่อนที่เราคาดไม่ถึงและยังสามา- รถนำไปปรับใช้ในชีวิตเมื่อยามจำเป็นได้ ความรู้สึกที่มีสถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถานในชุมชน? กู่กาสิงห์มันคือสิ่งที่เราทุกคนในชุมชนมีความภูมิใจและพร้อมจะ Present แก่ทุกคน แบบได้พูดว่าบ้านเรามีแหล่งท่องเที่ยวตรงนี้ ๆ นะ มันก็ทำให้หลายคนเกิดความสนใจขึ้นมา ส่วนตัวจะใช้เรื่องนี้ในการ ชวนเพื่อนหรือคนรู้จักคุยเป็น Small talk ที่ดีแล้วเราก็รู้สึกดีใจทุกครั้ง ที่ได้พูดถึง ส่วนตัวอิ๋มเองที่เคยตั้งคำถามหรือข้อสงสัยในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขุดพบจนถึงการบูรณะของมันเนื่องจากโบราณสถาน มีมาพันปี ถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์แล้วในฐานะเป็นลูกหลานในชุมชน คือความภาคภูมิใจมาก ๆ ไม่ใช่แค่โบราณสถานแต่รวมไปถึงวัตถุ โบราณที่ขุดพบไม่ใช่ว่าทุกพื้นที่จะมีแบบนี้ เราว่าทุกอย่างพอเป็น ประวัติศาสตร์มันมีความหมายหมดเลย ซึ่งเราบอกเลยว่าโคตรเจ๋ง อยากฝากถึงคุณผู้อ่านว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องน่า- เบื่อเสมอไปมันมีการสอดแทรกเนื้อหาสนุกสนานไว้ให้ด้วย และสิ่งที่ คนชอบอ่านประวัติศาสตร์หรือศึกษาให้ความสำคัญกับเรื่อง Gossip หรือ ข้อสันนิษฐานต่าง ๆ นำมาสู่ความอยากรู้อยากเห็นพยายามที่จะ หาคำตอบโดยเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หวังว่าคอลัมน์นี้จะ เปลี่ยนมุมมองของคนที่เบือนหน้าหนีให้รู้สึกอยากจะเรียนรู้และส่วนผู้ ที่สนใจสามารถมาเที่ยวชม “กู่กาสิงห์” ชุมชนบ้านเราได้ทุกคนพร้อม ต้อนรับเสมอค่ะ

msiruotocE

\"ท่องเที่ยวชุมชน กู่กาสิงห์\" ชุมชนกู่กาสิงห์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อันเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณ เป็นที่ ตั้งของโบราณสถานขอม ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดใจ ให้คนที่ สนใจเข้าไปท่องเที่ยวอยู่เสมอ ประกอบกับตั้งอยู่ใน ทุ่งกุลาร้องไห้ อันเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ที่ดีสุด แห่งหนึ่งของโลก เป็นสินค้าส่งออกที่ประเทศต่าง ๆ มีความสนใจและซื้อไปบริโภค ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม มัดหมี่, ผ้าคลุมไหล่, ข้าวหอมมะลิ อีกมากมายที่ สร้างรายได้ให้กับชุมชนและประเทศอย่างมหาศาล

On Tour\" \"ผ้าไหมกับดีไซน์ที่ลงตัว ชุมชนบ้านกู่กาสิงห์เป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงด้านฝีมือการทอผ้าไหม ย้อมสีธรรมชาติ โดยกลุ่มแม่บ้านได้รวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนคิดสร้างสรรค์ลวดลายให้ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองจากสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัวเอง เช่น เต่าที่อาศัยอยู่ในกู่กาสิงห์ สีสัน ของกู่กาสิงห์มาประยุกต์เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อยอดเข้ากับทุนภูมิปัญญาจาก บรรพบุรุษ ผ้าบ้านกู่กาสิงห์จึงสื่อให้เห็นถึงความหมายของลายผ้าเพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบ ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่นิยมและสร้างรายได้ให้กับชุมชน จึงได้ปรับปรุงรูปแบบและลวดลาย ผ้าไหมจากนุ่งห่มมาเป็นผ้าคลุมไหล่ที่สามารถนำไปใช้ได้ในหลายโอกาสให้เป็นที่ นิยมและเข้ากับแฟชั่นสมัยปัจจุบัน SouthernEsan-46

สีสันและลวดลาย สีสันพัฒนาต่อยอดจากลวดลายผ้า ขาวม้าผ้าอเนกประสงค์ของชาวบ้านถือ เป็นการนำทุนจากผ้าขาวม้ามาต่อยอดให้ เกิดการพัฒนาอย่างหลากหลายจากเดิม ที่ถูกใช้ประโยชน์เฉพาะผู้ชายวันนี้กลับ กลายมาเป็นของชอบผู้หญิงสีสันถูก ประยุกต์ให้เข้ากับความต้องการของ ตลาดการผลิตเน้นย้อมสีธรรมชาติ เช่น สีดำจากต้นมะเกลือสีแดงจากครั้งสีเทา จากลูกบกสีน้ำตาลจากเปลือกต้นประดู่ สีส้มจากต้นฝางสีเหลืองจากต้นขนุน เป็นต้น ส่วนราคาสามารถเป็นเจ้าของได้ ในอนาคตชุมชนกู่กาสิงห์พร้อมจะพัฒนา นำทุนทางวัฒนธรรมไปต่อยอดสร้างสรรค์ งานเพิ่มขึ้น ลวดลายลายเต่าทอง เต่า ถือว่าเป็นสัตว์มงคลอุปนิสัยเดิน หน้าอย่างเดียวถอยหลังไม่เป็น ถือเป็น สัญลักษณ์ของการอายุยืนความอุดม สมบูรณ์ความมั่นคงเป็นเครื่องลางทาง ด้านการค้าขายรียกลาภและป้องกันคดี ความเหมาะสำหรับผู้ดำเนินธุรกิจค้าขาย ลายรวงข้าว แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาเป็นที่ เลื่องชื่อแห่งหนึ่งในโลก ลายนาคน้อยมีความหมายว่าเป็นดิน แดนที่มีความชุ่มชื้นฝนตกต้องตาม ฤดูกาลยังความอุดมสมบูรณ์ให้กับ ท้องไร่และผืนนา

SouthernEsan-48

ผลงานที่ภูมิใจ 2543 ได้รับโล่รางวัลจากมูลนิธิอนุสรณ์ หม่อมงามจิตต์บุรฉัตรสาขาหมู่บ้านหัตถกรรม ดีเด่น 2545 ได้รับรางวัลประกวดผ้าไหมมัดหมี่ 2 ตะกรอสีธรรมชาติรางวัลที่ 1 ในการประชุมไหมโลกครั้งที่ 19 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 2555 ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 4 ดาวตามโครงการ คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปีพุทธศักราช 2555 Contact กลุ่มทอผ้าไหGมo ผb้าigคล(oุมrไgหoล่hบo้mานeก)ู.่กาสิงห์ 25บ้านกู่กาสิงaThnห์idnkหbovมูl่odทีlu่pmr1iinntตosuำ. sTบhsลliesกeูf่vaกesาhsสioิงn ห์ 43อำเภอเกษdtrตreanรmdวaิsสtgัhยeaanrจsัuงtsouหwaวlัaดervdร้esอrmyยdoเraอe็yด dresses. 084-4280051 086-2197038

On Tour ข้ า ว ห อ ม ม ะ ลิ ที่เป็นได้มากกว่าความอร่อย การเพาะปลูกและทำเกษตรกรรมของชาวอีสานกู่กาสิงห์ คือหนึ่งในสินทรัพย์ล้ำค่าที่ถูก ถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่น จนเกิดเป็นพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกลาร้องไห้ ซึ่งมีเอกลักษณ์ประจำท้อง ถิ่นที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการพัฒนาข้าวระหว่างสายพันธุ์ให้มีคุณค่า ทางโภชนาการมากขึ้น รวมถึงทนต่อสภาพแวดล้อมแต่ถิ่นอีสานก็ยังเป็นภูมิภาคที่อุดมไป ด้วยความชำนาญในการปลูกข้าว ข้าวหอมมะลิมีคุณภาพสูง หอม เมล็ดยาว ขาว นุ่ม และอร่อย สินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว ของจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นสินค้าหลักที่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร ทุ่งกุลาร้องไห้เป็น ทุ่งใหญ่ของภาคอีสาน มีพื้นที่อยู่ในเขต 5 จังหวัด และหนึ่งในนั้นประกอบด้วยจังหวัดร้อยเอ็ด ตําบลที่อยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอําเภอเกษตรวิสัย, สุวรรณภูมิ, ประทุมรัตน์, โพนทราย และกิ่งหนองฮี จำนวน 986,807 ไร่ SouthernEsan-50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook