ฉันท์ เสนอ ดร.จนัญญา งามเนตร รายวิชาการอ่านและเขียนร้อยกรองไทย
สารบัญ เรื่อง หน้า ๑. ความหมายของฉันท์ .................................... ๑ ๒. วรรณคดีที่ใช้ฉันท์ในการประพันธ์ ............ ๓ ๓. ความหมายของครุและลหุ ............................. ๔ ๔. ชนิดของฉันท์ ............................................... ๕ ๕. ฉันท์ ๘ ........................................................ ๗ ๕.๑ จิตรปทาฉันท์ ๘ .................................. ๗ ๕.๒ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ .............................. ๘ ๕.๓ มาณวกฉันท์ ๘ .................................. ๑๐ ๕.๔ ปมาณิกฉันท์ ๘ ................................. ๑๒ ๖. ฉันท์ ๑๑ ................................................... ๑๔ ๖.๑ อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ ............................. ๑๔ ๖.๒ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ....................... ๑๖ ๖.๓ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ................... ๑๘
สารบัญ เรื่อง หน้า ๖.๔ อุปชาติฉันท์ ๑๑ ............................. ๒๐ ๖.๕ สาลินีฉันท์ ๑๑ ............................... ๒๒ ๖.๖ อาขยานิกาฉันท์ ๑๑ ....................... ๒๔ ๗. ฉันท์ ๑๒ ................................................. ๒๖ ๗.๑ วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ ............................. ๒๖ ๗.๒ อินทวงสฉันท์ ๑๒ ........................... ๒๘ ๗.๓ โตฎกฉันท์ ๑๒ ................................ ๓๐ ๗.๔ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ ................... ๓๒ ๗.๕ กมลฉันท์ ๑๒ ................................. ๓๔ ๘. ฉันท์ ๑๔ ................................................ ๓๖ ๘.๑ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ..................... ๓๖ ๙. ฉันท์ ๑๕ ................................................ ๓๘ ๙.๑ มาลินีฉันท์ ๑๕ ............................. ๓๘ ๙.๒ ประภัททกฉันท์ ๑๕ ..................... ๔๐
สารบัญ เรื่อง หน้า ๑๐. ฉันท์ ๑๖ ............................................... ๔๒ ๑๐.๑ วาณินีฉันท์ ๑๖ ......................... ๔๒ ๑๑. ฉันท์ ๑๘ .............................................. ๔๔ ๑๑.๑ กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘ ..... ๔๔ ๑๒. ฉันท์ ๑๙ .............................................. ๔๖ ๑๒.๑ เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙ ............ ๔๖ ๑๒.๒ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ ............ ๔๘ ๑๓. ฉันท์ ๒๐ ................................................ ๕๐ ๑๓.๑ อีทิสฉันท์ ๒๐ ............................. ๕๐ ๑๔. ฉันท์ ๒๑ ................................................ ๕๒ ๑๔.๑ สัทธราฉันท์ ๒๑ ......................... ๕๒ ๑๕. อ้างอิง ...................................................... ๕๔
หน้าที่ ๑ ฉันท์คืออะไร ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้นให้เกิดความไพเราะซาบซึ้ง โดย กำหนดคณะครุลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน ฉันท์นี้ไทยได้ถ่ายแบบจาก อินเดีย ของเดิมแต่งเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต โดยเฉพาะในภาษา บาลี เขามีตำราที่กล่าวถึงวิธีแต่งฉันท์ไว้เป็นแบบฉบับ เรียกชื่อว่า \"คัมภีร์วุตโต ทัย\" แล้วต่อมาไทยเราได้จำลอง แบบมาแต่งในภาษาไทยโดยเพิ่มเติมบังคับ สัมผัสขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะตามแบบนิยมของไทยซึ่งในภาษาเดิมของ เขาไม่มี ฉันท์ในภาษาบาลีแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ : ฉันท์วรรณพฤติกับฉันท์ มาตราพฤติ ฉันท์ใดกำหนด ด้วยตัวอักษร คือ วางคณะและกำหนดเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุลหุ เป็นสำคัญฉันท์นั้นเรียกชื่อว่า \"วรรณพฤติ\" ฉันท์ ใดกำหนดด้วยมาตรา คือ วางจังหวะสั้นยาวของมาตราเสียงเป็นสำคัญ นับ คำลหุเป็น ๑ มาตรา คำครุนับเป็น ๒ มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษรเหมือน อย่างวรรณพฤติ ฉันท์นั้นเรียกว่า \"มาตราพฤติ\" ฉันท์มีชื่อต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์วุตโตทัยมีถึง ๑๐๘ ฉันท์ แต่ไทย เราดัดแปลงเอามาใช้ เฉพาะที่เห็นว่าไพเราะ มีทำนองอ่านสละสลวยและ เหมาะแก่การที่จะบรรจุคำในกาษาไทยได้ดีเท่านั้น ฉันท์ที่นิยมแต่งในภาษาไทยเป็นฉันท์วรรณพฤติเป็นพื้น ที่เป็นมาตรา พฤติไม่ใคร่จะนิยมแต่ง จังหวะและทำนองที่อ่านในภาษาไทยไม่ไพเราะ เหมือนฉันท์วรรณพฤติ แม้ฉันท์วรรณพฤที่แปลงมาเป็นแบบในภาษาไทยแล้ว ก็ไม่นิยมทั้งหมด เท่าที่สังเกตดูในคำฉันท์เก่า ๆ นิยมเพียง ๖ ฉันท์เท่านั้น ๑. อินทรวิเชียรฉันท์ ๒. โตฎกฉันท์ ๓. วสันตดิลกฉันท์ ๔. มาลินีฉันท์ ๕. สัททูลวิ กกีพิตฉันท์ ๖. สัทธราฉันท์
หน้าที่ ๒ ฉันท์คืออะไร ฉันท์ แต่มักจะแต่งกาพย์ฉบังและกาพย์สุรางคนางค์ปนกันไปกับฉันท์ด้วย และคงเรียกว่า คำฉันท์ เหมือนกัน เหตุที่โบราณนิยมแต่งเฉพาะ ๖ ฉันท์ คงจะเป็นเพราะ ฉันท์ทั้ง ๖ นั้น สามารถจะแต่งป็นกาษาไทย ได้ไพเราะกว่าฉันท์อื่น ๆ และ ท่านมักนิยมเลือกฉันทำให้เหมาะกับบทของท้องเรื่องเป็นตอน ๆ เช่น นิยมใช้ บทไหว้ครู สัททุลวิกกีฟิตฉันท์หรือสัทธราฉันท์ บทชมหรือบทคร่ำครวญ อินทรวิเชียรฉันท์หรือวสันตดิลกฉันท์ บทสำแดงอิทธิฤทธิ์หรืออัศจรรย์ โตฏกฉันท์ บทดำเนินความยาว ๆ ในท้องเรื่อง กาพย์ฉบังหรือกาพย์สุรางคนางค์ การแต่งฉันท์ ต้องบรรจุคำให้ครบตามจำนวนที่บ่งไว้ จะบรรจุคำให้เกิน กว่ากำหนดเหมือนการแต่ง โคลง กลอน และกาพย์ไม่ได้ เว้นไว้แต่อักษรนำ อนุญาตให้เกินได้บ้าง แต่บัดนี้ไม่ใคร่นิยมแล้ว คำใดที่ กำหนดไว้ว่าเป็นครุ และลหุ จะต้องเป็น ครุ และลหุ จริง ๆ และเป็นได้แต่เฉพาะตรงที่บ่งไว้เท่านั้น ครุ และ ลหุ ผิดที่ไม่ได้
หน้าที่ ๓ วรรณคดีที่ใช้ฉันท์ในการประพันธ์ สมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นิยมแต่งฉันท์ คือ อินทรวิเชียรฉันท์ และวสันตดิลกฉันท์ วรรณคดีที่ใช้ฉันท์ในการประพันธ์คือ มหาชาติคำหลวง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช นิยมแต่งฉันท์ คือ ๑. อินทรวิเชียรฉันท์ ๒. โตฎกฉันท์ ๓. วสันตดิลกฉันท์ ๔. มาลินีฉันท์ ๕. สัททูลวิกกีพิตฉันท์ ๖. สัทธราฉันท์ วรรณคดีที่ใช้ฉันท์ในการประพันธ์คือ อนิรุทธคำฉันท์ เสือโคคำฉันท์ ราชาพิลาปคำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์ คำฉันท์สดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง สมัยรัตนโกสินทร์ วรรณคดีที่ใช้ฉันท์ในการประพันธ์คือ อิเหนาคำฉันท์ อิลราชคำฉันท์ พระสุธนคำฉันท์ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ พระนลคำฉันท์ มัทนะพาธา สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของฉันท์ “สมุทรโฆษคำฉันท์” (นิพนธ์โดย พระมหาราชครู สมเด็จพระ นารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุ ชิตชิโนรส) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของคำฉันท์”
หน้าที่ ๔ ครุและหลุคืออะไร ครุ ั ๑. คำที่มีพยัญชนะประสมสระเสียงยาว ไม่มีตัวสะกด ตัวอย่าง ฤๅชา อาสา มีดี ๒. คำที่มีพยัญชนะประสมสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ และมีตัวสะกด ทั้ง ๘ มาตรา ตัวอย่าง เพียงดิน เมฆ มานี ๓. คำที่มีพยัญชนะประสมสระเสียงสั้น อำ ไอ ใอ เอา ลหุ ุตัวอย่าง จำ ไย ใจ เรา ๑. คำที่มีพยัญชนะประสมสระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด ตัวอย่าง คะ เจอะ เคาะ ผุ ๒. คำที่ไม่มีสระเคียง ตัวอย่าง บ่ ธ ณ ฤ
หน้าที่ ๕ ฉันท์มีกี่ชนิด ฉันท์มีทั้งหมด ๑๐ ชนิด ได้แก่ ๑. ฉันท์ ๘ ได้แก่ จิตรปทาฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ มาณวกฉันท์ ปมาณิกฉันท์ ๒. ฉันท์ ๑๑ ได้แก่ อุปัฏฐิตาฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ อุปชาติฉันท์ สาลินีฉันท์ อาขยานิกาฉันท์ ๓. ฉันท์ ๑๒ ได้แก่ วังสัฏฐฉันท์ อินทวงสฉันท์ โตฎกฉันท์ ภุชงคประยาตฉันท์ กมลฉันท์ ๔. ฉันท์ ๑๔ ได้แก่ วสันตดิลกฉันท์ ๕. ฉันท์ ๑๕ ได้แก่ มาลินีฉันท์ ประภัททกฉันท์
หน้าที่ ๖ ฉันท์มีกี่ชนิด ฉันท์มีทั้งหมด ๑๐ ชนิด ได้แก่ ๖. ฉันท์ ๑๖ ได้แก่ วาณินีฉันท์ ๗. ฉันท์ ๑๘ ได้แก่ กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๘. ฉันท์ ๑๙ ได้แก่ เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๙. ฉันท์ ๒๐ ได้แก่ อีทิสฉันท์ ๑๐. ฉันท์ ๒๑ ได้แก่ สัทธราฉันท์
หน้าที่ ๗ ฉันท์ ๘ ๑. จิตรปทาฉันท์ ๘ วรรคหนึ่งมี ๔ คำ นับ ๒ วรรคหรือ ๒ กลอนเป็นหนึ่งบาท ๒ บาท เป็นหนึ่งบท เพราะบาทหนึ่งมี ๘ คำ จึงเรียกว่าฉันท์ ๘ จิตรปทาฉันท์ นิยมแต่ง ๒ บทคู่กันเป็นตอนหนึ่ง เมื่อขึ้นตอนต่อ ไป ต้องย่อหน้าใน ทุก ๆ ตอน และต้องให้คำสุดท้ายบทที่ ๒ ของตอน ต้นมาสัมผัสกับคำสุดท้ายของ บทที่ ๑ ของตอนต่อ ๆ ไปด้วย ตัวอย่างจิตรปทาฉันท์ ๘ จุติอย่านาน สุรแมนสรรค์ นางมทะนา ณ หิมาวัน จงมะละฐาน วจิสาปไว้ ไปเถอะกำเนิด ดั่งดนุลั่น (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖)
หน้าที่ ๘ ฉันท์ ๘ ๒. วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ วรรคหนึ่งมี ๔ คำ นับ ๒ วรรคหรือ ๒ กลอนเป็นหนึ่งบาท ๒ บาท เป็นหนึ่งบท เพราะบาทหนึ่งมี ๘ คำ จึงเรียกว่าฉันท์ ๘ วิชชุมมาลาฉันท์ใช้คำครุล้วนและนิยมแต่ง ๒ บทคู่กันเป็นตอน หนึ่ง เมื่อขึ้นตอนต่อไปต้องย่อหน้า ทุกตอน และต้องให้คำสุดท้ายของ บทที่ ๒ ของตอนต้น มาสัมผัสกับคำสุดท้ายบทที่ ๑ ของตอนต่อ ๆ ไป ส่วนจะเพิ่มสัมผัส ให้คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคหลังเหมือนกันทุกวรรคก็ได้
หน้าที่ ๙ ตัวอย่าง วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน เหลือจักห้ามปราม ชาวคามล่าลาด พันหัวหน้าราษฎร์ ขุนด่านตำบล หารือแก่กัน คิดผันผ่อนปรน จักไม่ให้พล มาคธข้ามมา (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)
หน้าที่ ๑๐ ฉันท์ ๘ ๓. มาณวกฉันท์ ๘ วรรคหนึ่งมี ๔ คำ นับ ๒ วรรคหรือ ๒ กลอนเป็นหนึ่งบาท ๔ บาท เป็นหนึ่งบท เพราะบาทหนึ่งมี ๘ คำ จึงเรียกว่าฉันท์ ๘ คำที่ ๑ และ คำที่ ๔ ของทุก ๆ วรรคเป็นครุ คำที่ ๒ และคำที่ ๓ เป็นลหุ มาณวกฉันท์นิยมแต่ง ๒ บทคู่กันเป็นตอนหนึ่ง เมื่อขึ้นตอนต่อไป ต้องย่อหน้าทุกตอน และต้องให้คำสุดท้ายบทที่ ๒ ของตอนต้นมา สัมผัสกับคำสุดท้ายบทที่ ๑ ของตอนต่อ ๆ ไป โดยจะแต่งยาวเท่าไร ก็ได้
หน้าที่ ๑๑ ตัวอย่าง มาณวกฉันท์ ๘ ล่วงลุประมาณ กาลอนุกรม หนึ่ง ณ นิยม ท่านทวิชงค์ เมื่อจะประสิทธิ์ วิทยยง เชิญวรองค์ เอกกุมาร พราหมณไป เธอจรตาม ห้องรหุฐาน โดยเฉพาะใน ความพิศดาร จึงพฤฒิถาม โทษะและไข ขอ ธ ประทาน ครูจะเฉลย ภัตกะอะไร อย่าติและหลู่ ดี ฤ ไฉน เธอน่ะเสวย ยิ่งละกระมัง ในทินนี่ พอหฤทัย (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)
หน้าที่ ๑๒ ฉันท์ ๘ ๔. ปมาณิกฉันท์ ๘ วรรคหนึ่งมี ๔ คำ นับ ๒ วรรคหรือ ๒ กลอนเป็นหนึ่งบาท ๒ บาท เป็นหนึ่งบทเพราะบาทหนึ่งมี ๘ คำ จึงเรียกว่าฉันท์ ๘ ปมาณิกฉันท์นิยมแต่ง ๒ บทคู่กันเป็นตอนหนึ่ง และ สัมผัสกับตอน ต่อ ๆ ไป ก็เหมือนกับ มาณวกฉันท์ และบางทีก็นิยมเล่นอักษร คือใน วรรคหนึ่ง ๆ ให้สองคำแรกมีอักษรอย่างเดียวกับสองคำหลัง หรือใช้ อักษรที่มีเสียงคู่กันก็ได้
หน้าที่ ๑๓ ตัวอย่าง ปมาณิกฉันท์ ๘ มะกอกมะกา มะค่ามะเขือ มะกล่ำมะเกลือ มะเฟืองมะไฟ พินิศพนัศ ระบัดละใบ เสลาไศล ละลิ่วละลาน ขจิตขจี ฤดีระดม ระทดระทม ก็ศูนย์ก็ศานต์ วิเศษวิศิษฏ์ สฤษฏ์สราญ มิแผ้วมิพาน กะหมองกะมัว
หน้าที่ ๑๔ ฉันท์ ๑๑ ๑. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ ๑. บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคแรกมี ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ รวม ๑๑ คำ จึงเรียกว่าฉันท์ ๑๑ ๒. คำที่ ๓ ที่ ๔ ของวรรคหน้า และคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ เหมือนกันทุก ๆ วรรค ๓. สัมผัสกันตามเส้นที่โยงไว้ในแผน และต้องแต่งให้จบเป็นบท ๆ ถ้าจะ แต่งบทต่อไปอีก ต้องให้คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป ๔. อุปัฏฐิตาฉันท์ หมายความว่าฉันท์ที่กล่าวสำเนียงอันดังก้องให้ปรากฏ (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, น.๔๕๖)
หน้าที่ ๑๕ ตัวอย่าง อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง ชนะคล่องประสบสม พราหมณ์เวทอุดม ธ ก็ลอบแถลงการณ์ ให้วัลลภชน คมดลประเทศฐาน กราบทูลนฤบาล ภิผเผ้ามคธไกร แจ้งลักษณสา สนว่ากษัตริย์ใน วัชชีบุรไกร วลหล้าตลอดกัน (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)
หน้าที่ ๑๖ ฉันท์ ๑๑ ๒. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ๑. บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๑๑ คำ เรียกว่าฉันท์ ๑๑ ๒. โบราณไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคที่ ๒ กับคำที่ ๓ ของวรรค ที่ ๒ แต่บัดนี้นิยมและถือว่าไพเราะ ๓. อินทรวิเชียรฉันท์ หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจ สายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ ๔. อินทรวิเชียรฉันท์นิยมแต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญ และใช้แต่งเป็นบทสวดและบทพากย์โขนด้วย (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, น.๔๕๗)
หน้าที่ ๑๗ ตัวอย่าง อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว หิตโอ้เลอะหลั่งไป แลหลังละลามโล ระกะร่อยเพราะรอยหวาย เพ่งผาดอนาถใจ ระยะแถวตลอดลาย สิรพับพะกับคา เนื่องนับอเนกแนว เฆี่ยนครบสยบกาย (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)
หน้าที่ ๑๘ ฉันท์ ๑๑ ๓. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ๑. กฎต่าง ๆ ก็เหมือนกับอินทรวิเชียรฉันท์ ต่างกันแต่คำที่ ๒ ของวรรค หน้าเป็นลหุเท่านั้น ๒. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ แปลว่ารองอินทรวิเชียร หมายความว่ากล่าว ลักษณะคล้าย ๆ กับอินทรวิเชียรฉันท์ (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, น.๔๕๘)
หน้าที่ ๑๙ ตัวอย่าง อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทิชงค์เจาะจงเจตน์ กลห์เหตุยุยงเสริม กระหน่ำและซ้ำเติม นฤพัทธก่อการณ์ ทินวารนานนาน ละครั้งระหว่างครา ธ ก็เชิญเสด็จไป เหมาะท่าทิชาจารย์ ร ฤ หาประโยชน์ไร เสาะแสดงธแสร้งถาม บห่อนจะมีสา กระนั้นเสมอนัย (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)
หน้าที่ ๒๐ ฉันท์ ๑๑ ๔. อุปชาติฉันท์ ๑๑ ๑. บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคแรกมี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวมบาทหนึ่งมี ๑๑ คำ เรียกว่าฉันท์ ๑๑ ๒. อุปชาติฉันท์ หมายความว่า เป็นฉันท์ที่กล่าวถึงอินทรวิเชียรฉันท์ และอุเปนทรวิเชียรฉันท์ปนกัน คือบาทที่ กับบาทที่ ๔ เป็นอุเปนทรวิเชียร ฉันท์ บาทที่ ๒ และบาทที่ ๓ เป็นอินทรวิเชียรฉันท์ เพราะฉะนั้นจึงต้อง แต่งคราวละ ๒ บท เป็น ๑ ตอน (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, น.๔๕๘)
หน้าที่ ๒๑ ตัวอย่าง อุปชาติฉันท์ ๑๑ เสนอสนองมูล กลทูล ณ วาทิน แด่องคภูมินทร์ ธ อชาตศัตรู แนะกะวัสสการครู ตกลงและทรงนัด ลสมัครไมตรี ตริเพื่อเผด็จมู ธุระราชการี มุขพรรคอมาตย์ผอง สมัยเสด็จว่า ดรชั้นอนันต์นอง เสนาธิบดี ขณะเฝ้าพระภูบาล โดยศักดิฐานัน (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ครูชิต บุรทัต) ณ ท้องพระโรงทอง
หน้าที่ ๒๒ ฉันท์ ๑๑ ๕. สาลินีฉันท์ ๑๑ ๑. วรรคหน้าทุกวรรดเป็นครุล้วน. คำที่ ๑ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ ๒. กฎอื่น ๆ ให้ดูในแผนและตัวอย่างซึ่งพอจะเปรียบเทียบเข้าใจได้ เหมือนกับที่อธิบายไว้แล้วในฉันท์ข้างต้น จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำอีก ๓. สาลินีฉันท์ หมายความว่าฉันท์ที่มากไปด้วยครุซึ่งเปรียบเทียบเหมือน แก่นหรือหลัก (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, น.๔๕๙)
หน้าที่ ๒๓ ตัวอย่าง สาลินีฉันท์ ๑๑ อันทรงเมตตาควร จะประจบและตอบแทน คุณท่านที่มากแสน คณนาประมวญมี ฤดิข้าณบัดนี้ อันโปรดให้เลือกตาม รุจิเรขวิไลยวรรณ ขอเป็นซึ่งมาลี จะประสิทธิ์ประสาทพันธุ์ ธะระรื่นระรวยหอม สุดแท้แต่จอมสรวง ขอเพียงให้มีคัน (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖)
หน้าที่ ๒๔ ฉันท์ ๑๑ ๖. อาขยานิกาฉันท์ ๑๑ ๑. หนึ่งบทมี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๑๑ คำ ในบาทที่ ๑ ให้คำที่ ๓ วรรคหน้าและคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ วรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ ในบาทที่ ๒ ให้คำที่ ๑ ที่ ๓ วรรคหน้า และคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๕ วรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ ๒. วรรค บท บาท และสัมผัสให้ดูตามแผนและตัวอย่าง ๓. อาขยานิกาฉันท์ หมายความว่าฉันที่กล่าว ต คณะ ขึ้นต้นในบาทที่ ๑ และกล่าว ช คณะ ขึ้นต้นใบาทที่ ๒ เพราะฉะนั้น วรรคหน้าทั้ง ๒ ของ ฉันท์นี้จึงมีครุลหุ ไม่เหมือนกัน (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, น.๔๕๙)
หน้าที่ ๒๕ ตัวอย่าง อาขยานิกาฉันท์ ๑๑ อักษรศาสตร์ให้ คติในพิจารณ์ญาณ ลุแหล่งพิศาลศานติ์ และสนุกมโนรม มิประทุษและทับถม เป็นมิตรประเสริฐสุด ดุจอุตมาจารย์ แนะทางสุโขดม ษรลักษณ์ลิขิตขาน ปรชนพินิจดู ยามเศร้าก็เอาอัก- ษรลักษณ์ลิชิตตรู ระบายระบมวาน รสรื่นภิรมย์ชม. ยามชื่นก็เชิญอัก- เชลงประวัติชู (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, น.๔๕๙)
หน้าที่ ๒๖ ฉันท์ ๑๒ ๑. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ ๑. วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๗ คำ รวม ๒ วรรคหรือ ๒ กลอนเป็น ๑ บาท, บาทหนึ่งมี ๑๒ คำจึงเรียกว่าฉันท์ ๑๒ นับ ๒ บาทเป็น ๑ บท ๒. คำที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลัง ถ้าใช้คำซ้ำกัน จะทำให้มีเสียง ไพเราะขึ้น และถ้าให้คำที่ ๕ กับที่ ๗ เป็นพยัญชนะชนิดเดียวกันอีกคู่หนึ่ง ทำให้ไพเราะยิ่งขึ้น ถ้าจะแต่งบทต่อไปอีก ต้องให้คำสุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่ ๒ ของ บทต่อไป ฉันท์ ๑๒ มีลักษณะเช่นนี้ เหมือนกันหมด ต่อไปจะไม่อธิบายาอีก ๓. วังสัฏฐฉันท์หมายความว่าฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะประดุจเสียงปี่ (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๐)
หน้าที่ ๒๗ ตัวอย่าง วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ ๏ ประชุมกระษัตริย์รา ชลสภาสดับคนึง คะเน ณ ทุกข์รึง อุระอัดประหวัดประวิง หิรกายน่าจะจริง ๏ ประกอบระกําพา กลอํากระทําอุบาย มิใช่จะแอบอิง คณะไป่ฉงนฉงาย ครุวัสสการพราหมณ์ ๏ และทุกพระองค์ใน ก็เชื่อ ณ แยบคาย (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)
หน้าที่ ๒๘ ฉันท์ ๑๒ ๒. อินทวงสฉันท์ ๑๒ ๑. อินทวงสฉันท์เหมือนกับวังสังฏฐฉันท์ ต่างกันแต่คำที่ ๑ ของวรรค หน้ามิได้เป็นลหุเหมือนวังสังฏฐ์ฉันท์เท่านั้น ๒. อินทวงสฉันท์หมายความว่า ฉันท์ที่มีเสียงไพเราะประดุจปี่ ของ พระอินทร์บางทีก็เขียนเป็นสันสกฤตว่า อินทรวงฉันท์ (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๑)
หน้าที่ ๒๙ ตัวอย่าง อินทวงสฉันท์ ๑๒ ๏ อ้ายอดสิเนหา มะทะนาวิสุทธิศรี, อย่าทรงพระโศกี วรพักตร์จะหม่นจะหมอง. และจะเฝ้าประคับประคอง ๏ พี่นี้นะรักเจ้า บ่มิให้ระคางระคาย. คู่ชิดสนิทน้อง บ่มิควรระอาละอาย, ฤก็ควรจะร่วมจะรัก. ๏ พี่รักวธุนวล อันนาริกับชาย (บทละครพูดคําฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖)
หน้าที่ ๓๐ ฉันท์ ๑๒ ๓. โตฎกฉันท์ ๑๒ ๑. คำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ เหมือนกันเช่นนี้ทุก วรรค ส่วนสัมผัสให้ดูแผนและตัวอย่าง ๒. โตฎกฉันท์ หมายความว่าฉันท์ที่มีลีลาประดุจนายโคบาลผู้แทงโคด้วย ประตัก บางทีเขียนเป็น โตฏกฉันท์ ก็มี (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๑)
หน้าที่ ๓๑ ตัวอย่าง โตฎกฉันท์ ๑๒ วรยอดยุพดี ฤดิหน่าย ฤ ระอา ๏ มทนาดนุรัก ศตพรรษฤ กว่า และจะรัก บ มิมี บ มิหย่อนฤดิหรรษ์ ๏ ผิวอายุจะยืน วธุต่างมณิพรรณ ก็จะรักมทนา รสต่างสุผกา ๏ นยนาก็จะชม ยุวดีสิริมา และจะสูดสุวคันธ์ จะสุบินฤดิเพลิน ๏ ผิวตื่นก็จะดู ผิวหลับ ฤ ก็ข้า (บทละครพูดคําฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖)
หน้าที่ ๓๒ ฉันท์ ๑๒ ๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ ๑. ครุลหุและสัมผัสให้ดูแผนผังดังตัวอย่าง ๒. เส้นโยงไว้ระหว่างคำที่ ๓ กับคำที่่ ๕ เรียกว่าสัมผัสใน เป็นสัมผัสที่ ไม่บังคับ แต่ถ้ามีครบตามแผน จะเพิ่มหรือ จะเพิ่มความไพเราะขึ้นอีก และถ้าให้คำที่ ๑ กับคำที่ ๔ เป็นคำซ้ำกันได้ครบ ทุก ๆ วรรค จะทำให้ ไพเราะยิ่งขึ้น ๓. ภุชงคประยาตหรือภุชงคปยาต หมายความฉันท์ที่มีลีลาประดุจงู เลื้อย (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๒)
หน้าที่ ๓๓ ตัวอย่าง ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ ๏ ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย ปวัตน์วัญจโนบาย ๏ เหมาะแก่การณ์จะเสกสรร สมัครสนธิ์สโมสร มล้างเหตุพิเฉทสาย ลศึกษาพิชากร เสด็จพร้อมประชุมกัน ๏ ณ วันหนึ่งลุถึงกา กุมารลิจฉวีวร (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)
หน้าที่ ๓๔ ฉันท์ ๑๒ ๕. กมลฉันท์ ๑๒ ๑. ครุลหุและสัมผัสให้แผนดูตัวอย่าง ๒. กมลฉันท์หมายความว่าฉันท์ที่มีลีลาดุจกล่อมใจให้เพลิดเพลิน (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๓)
หน้าที่ ๓๕ ตัวอย่าง กมลฉันท์ ๑๒ ๏ อุเหม่! มะทะนาชะเจ้าเล่ห์ ชิชิช่างจํานรรจา, ตลคําอุวาทา ฤ กระบิดกระบวนความ. ๏ ดนุถามเจ้าก็ไซร้ บ มิตอบ ณ คําถาม, วนิดาพยายาม กลเล่นสํานวนหวน. ๏ ก็และเจ้ามิเต็มจิต จะสดับดนูชวน, ผิวให้อนงค์นวล ชนะหล่อนทะนงใจ. (บทละครพูดคําฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖)
หน้าที่ ๓๖ ฉันท์ ๑๔ ๑. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ๑. วสันตดิลกฉันท์หมายความว่า ฉันห์ที่มีลีลางามวิจิตร ประดุจรอย แต้มที่กลีบเมฆซึ่งปรากฎในเดือน ๕ เดือน ๖ แห่งฤดูคิมหันต์ ๒. วรรคหน้ามี ๘ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรคหรือ ๒ กลอน เป็น ๑ บาท บาทหนึ่งมี ๑๔ คำจึงเรียกว่าฉันท์ ๑๔ นับ ๒ บาทเป็น ๑ บท ๓. คำที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ของวรรคหน้า และคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ ของ วรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ ๔. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ , คำ สุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ , และคำ สุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังต่อไปนี้ (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๓)
หน้าที่ ๓๗ ตัวอย่าง วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร นภศูลประภัสสร บราลีพิลาสศุภจรูญ ดุจกวักนภาลัย หางหงส์ผจงพิจิตรงอน (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)
หน้าที่ ๓๘ ฉันท์ ๑๕ ๑. มาลินีฉันท์ ๑๕ ๑. มาลินีฉันท์ หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลางดงามประดุจสตรีเพศผู้ ประดับด้วยพวงดอกไม้ ๒. บาทหนึ่งมี ๑๕ คำ แบ่งออกเป็น ๓ กลอน หรือ ๓ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๘ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๓ คำ รวมเป็น ๑๕ คำ จึง เรียกว่าฉันท์ ๑๕ วรรคทั้ง ๓ นั้นรวมกันเรียกว่า บาทหนึ่ง และหนึ่งบาทนั้น เองนับเป็นบทหนึ่ง ซึ่งผิดกับฉันท์อื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น ๓. คำที่ ๑ ถึงที่ ๖ ในวรรคหนึ่ง, คำที่ ๒ ในวรรคที่สอง และคำที่ ๑ ใน วรรคที่ ๓ เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ ๔. ให้คำที่ ๘ ของวรรคที่หนึ่ง สัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒ ถ้าจะ แต่งบทต่อไปอีกต้องให้คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำที่ ๘ วรรคที่ ๑ ของบทต่อไป (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๔)
หน้าที่ ๓๙ ตัวอย่าง มาลินีฉันท์ ๑๕ กฤษณะทวิชะรับฐา นันดร์และที่วา จกาจารย์ พีริโยฬาร นิรอลสะประกอบภาร เที่ยงณบทใน และเต็มใจ จะพินิฉยคดีใด พระธรรมนูญ (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ครูชิต บุรทัต)
หน้าที่ ๔๐ ฉันท์ ๑๕ ๒. ประภัททกฉันท์ ๑๕ ๑. ประภัททกฉันท์ หมายความว่าฉันท์ที่มีลีลาอันประเสริฐงดงาม ๒. บาทหนึ่งมี ๑๕ คำ แบ่งออกเป็น ๓ กลอน หรือ ๓ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๘ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๓ คำ รวมเป็น ๑๕ คำ จึงเรียกว่า ฉันท์ ๑๕ วรรคทั้ง ๓ นั้นรวมกันเรียกว่า บาทหนึ่ง และหนึ่งบาทนั้นเองนับ เป็นบทหนึ่งซึ่งผิดกับฉันท์อื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น ๓. คำที่ ๖ และ ๘ ในวรรคที่หนึ่ง, คำที่ ๔ ในวรรคที่ ๒ ,คำที่ ๒ และคำ ที่ ๔ เป็นครุ นอกนั้นเป็นลหุ ๔. ให้คำที่ ๘ ของวรรคที่หนึ่ง สัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒ ถ้าจะ แต่งบทต่อไปอีกต้องให้คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำที่ ๘ วรรคที่ ๑ ของบทต่อไป จงดูแผนและตัวอย่าง (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๕)
หน้าที่ ๔๑ ตัวอย่าง ประภัททกฉันท์ ๑๕ ศุภดิถิวารฤกษ์ กมลเบิก ณ พรรษกาล สมณะละภาระงาน อธิษฐาน กระทำกุศล สถิต ณ วัดเพราะตน ละทุรมล ละเวรและกรรม แนะนรทำ อนุสติพุทธนำ กุศลและทาน (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๕)
หน้าที่ ๔๒ ฉันท์ ๑๖ ๑. วาณินีฉันท์ ๑๖ ๑. บาทหนึ่งมี ๑๖ คำ แบ่งออกเป็น 3 วรรค วรรคที่ ๑ มี ๗ คำ วรรค ที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๕ คำ รวมเป็น ๑๖ คำจึงเรียกว่าฉันท์ ๑๖ วรรค ทั้ง ๓ วรรคนั้นรวมกันเรียกว่าบาทหนึ่งและหนึ่งบาทนับเป็นบทหนึ่ง ๒. คำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๖ ของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ และคำที่ ๑ ที่ ๓ ของวรรคที่ ๓ เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ ๓. ให้คำที่ ๗ ของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒ ถ้าจะ แต่งบทต่อไปอีกต้องให้คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำที่ ๗ วรรคแรก ของบทต่อไป จงดูแผนและตัวอย่าง ๔. วาณินีฉันท์หมายความว่าฉันท์ที่มีสำเนียงถ้อยคำอันไพเราะ (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๖.)
หน้าที่ ๔๓ ตัวอย่าง วาณินีฉันท์ ๑๖ อรุณก็เปล่งประภา บุรพทิศา สว่างกระจ่างใส นภคระไล ประหสะเหลิง ทิชคณะบินดะไป พิภพสม เตลิดกระเจิดเจิง (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๖) และผิวปะเหยื่อก็เริง ระร่อนถลาลม ปฏิทินนกก็ชม กะธรรมชาติสวรรค์
หน้าที่ ๔๔ ฉันท์ ๑๘ ๑. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘ ๑. บาทหนึ่งมี ๑๘ คำแบ่งออกเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๑๑ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๓ คำ รวมเป็น ๑๘ คำ จึงเรียกฉันท์ ๑๘ วรรคที่ ๓ นั้นรวมกันเรียกว่า บาทหนึ่งและหนึ่งบาทนับเป็นบทหนึ่ง ๒. คำที่๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐ ของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒ และ คำที่ ๑ ของวรรคที่ ๓ เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ ๓. ให้คำที่ ๑ ของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒ ถ้าจะแต่ง บทต่อไปอีก ต้องให้คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำที่ ๑๑ วรรคแรกของ บทต่อไปจงดูแผนและตัวอย่าง ๔.กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันงดงาม ประดุจไม้เครือเถาที่สะพรั่งไปด้วยดอก (กำชัย ทองหล่อ, ๑๕๖๔, ๔๖๗)
หน้าที่ ๔๕ ตัวอย่าง กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘ โอ้แสนสุดเสียดายวรนุชวิไล คราจะจากไกล เทวษครัน ยอดพธูฉัน คลาดสุกัญญา สั่งสารโศกศัลย์ร่ำพจิจะมิละกัน รักมิเสื่อมศูนย์ จะจำลา อยู่เถิดนิ่มนงคราญศุภนยนะครา ก็อาดูร ถึงตัวไกลใจพี่ก็จะสถิตพูน นะน้องนาง (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๖)
หน้าที่ ๔๖ ฉันท์ ๑๙ ๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙ ๑. บาทหนึ่งมี ๑๙ คำ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรคที่ ๑ มี ๑๒ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๓ คำ รวมเป็น ๑๙ คำ จึงเรียกว่าฉันท์ ๑๙ วรรคทั้ง ๓ นั้นรวมกันเรียกว่า บาทหนึ่ง และนับหนึ่งบาทเป็นหนึ่งบท ๒. ครุลหุและสัมผัส ให้ดูแผนและตัวอย่าง คำอธิบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ แผนพึงเทียบเคียงกับฉันท์ ๑๘ ๓. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์หมายความว่าฉันท์ที่มีลีลาประดุจฟ้าคำรณ (กำชัย ทองหล่อ, ๒๕๖๔, ๔๖๗.)
Search