Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือที่ระลึกงานแสดงมุทิตาจิต สานรัก ร้อยใจ ด้วยสายใย สาธิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2564

หนังสือที่ระลึกงานแสดงมุทิตาจิต สานรัก ร้อยใจ ด้วยสายใย สาธิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2564

Published by Patrapon Yaemyim, 2021-10-01 06:54:38

Description: หนังสือที่ระลึกงานแสดงมุทิตาจิต สานรัก ร้อยใจ ด้วยสายใย สาธิตจุฬาฯ แด่ผู้ช่วยศาสตรจารย์อัมพร อังศรีพวง และผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล เนื่องในโอกาสเกษียณอายุการทำงาน ปีการศึกษา 2564

Search

Read the Text Version

งานแสดงมุทิตาจิต สานรัก ร้อยใจ ด้วยสายใย สาธิตจุฬาฯ แด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร อังศรีพวง และผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล เนื่องในโอกาสเกษียณอายุการทำงาน ปีการศึกษา ๒๕๖๔ วันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุมชั้น ๔ อาคารบริหารและปฏิบัติการ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จัดทำโดยฝ่ายวิรัชกิจและกิจการพิเศษ ร่วมกับหน่วยประชาสัมพันธ์

สารบัญ สารจากผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม .................................................................๑ กำหนดการงานแสดงมุทิตาจิต .......................................................................................................๒ QR CODE การถ่ายทอดสดงานแสดงมุทิตาจิต ..............................................................................๓ ข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร อังศรีพวง - ประวัติส่วนตัว ..................................................................................................................๕ - ประวัติการศึกษา ..............................................................................................................๖ - ประวัติการรับราชการ ......................................................................................................๖ - ผลงานด้านวิชาการ ..........................................................................................................๗ - ผลงานด้านบริหาร และผลงานด้านอื่น ๆ .......................................................................๘ - ข้อคิดเกี่ยวกับชีวิตการทำงาน ..........................................................................................๙ - ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ...............................................๑๐ - ความประทับใจที่มีต่อคณะครุศาสตร์ ...........................................................................๑๑ ประมวลภาพถ่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร อังศรีพวง .............................................................๑๒ ข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล - ประวัติส่วนตัว ...............................................................................................................๒๑ - ประวัติการศึกษา ...........................................................................................................๒๑ - ประวัติการรับราชการ ...................................................................................................๒๑ - ผลงานด้านวิชาการ .......................................................................................................๒๒ - ผลงานด้านบริหาร .........................................................................................................๒๓ - ข้อคิดเกี่ยวกับชีวิตการทำงาน .......................................................................................๒๕ - ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ...............................................๒๖ - ความประทับใจที่มีต่อคณะครุศาสตร์ ...........................................................................๒๘ ประมวลภาพถ่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล................................................๓๐ เพลง เพชรชมพู ..........................................................................................................................๓๘ เพลง มหาจุฬาลงกรณ์ ................................................................................................................๓๙ เพลง ลาแล้วจามจุรี ....................................................................................................................๔๐ จากใจคนทำงาน .........................................................................................................................๔๑

สารจากผู้อำนวยการ โโรรงงเเรรีียยนนสสาาธธิิตตจจุุฬฬาาลลงงกกรรณณ์์มมหหาาววิิททยยาาลลััยย ฝฝ่่าายยปปรระะถถมม ในเดือนกันยายนของทุกปี ได้เวียนมาบรรจบเป็นวาระที่ พวกเราต่างร่วมกันแสดงกตเวทิตาจิต แด่อาจารย์ผู้เกษียณอายุ การทำงาน อันเป็นประเพณีที่ปฏิบัติต่อเนื่องกันมายาวนาน เป็นการแสดงความรักและความผูกพันแด่อาจารย์ผู้เกษียณ เพื่อให้ได้พักผ่อนมีเวลาดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจ และมีเวลา อยู่กับครอบครัวมากขึ้น ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๔ นี้ มีอาจารย์ ผู้เกษียณอายุการทำงาน ๒ ท่าน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร อังศรีพวง และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล ตลอดระยะเวลากว่า ๓๐ ปีที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร อังศรีพวง ได้ทำงานด้วยความ ทุ่มเทและเสียสละ เป็นกำลังสำคัญให้กับโรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง ตลอดชีวิตการทำงานอาจารย์ได้สร้าง รอยยิ้ม เสียงหัวเราะและให้ความเป็นกันเองกับพวกเราทุกคน ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล ถึงแม้จะได้ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่สาขาวิชาดนตรี ศึกษา คณะครุศาสตร์ แต่ตลอดระยะเวลากว่า ๒๓ ปีที่โรงเรียนแห่งนี้ ท่านได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ช่วยฝึกซ้อมและพัฒนางานด้านดนตรีให้กับโรงเรียนด้วยดีเสมอมา อ า จ า ร ย์ ทั้ ง ส อ ง ท่ า น ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ต น เ ป็ น แ บ บ อ ย่ า ง ข อ ง ค รู ที่ ดี ใ ห้ กั บ รุ่ น น้ อ ง ช า ว ส า ธิ ต จุ ฬ า ฯ พวกเราทุกคนจะจดจำความประทับใจ ความรู้และประสบการณ์ที่ท่านได้มอบไว้เพื่อนำมาปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร และจะนำมาสานต่อให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อให้ท่านมีความสุขทุกครั้งที่ได้ มาเยี่ยมเยียนพวกเราในโอกาสต่อไป ในฐานะตัวแทนพี่น้องชาวสาธิตจุฬาฯ ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ที่ปกปักษ์ รักษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม โปรดดล บันดาลให้ท่านประสบแต่ความสุขสวัสดิ์ มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง เป็นที่พึ่งทางใจและทางปัญญา ให้กับน้อง ๆ ชาวสาธิตจุฬาฯ ตลอดไป (รองศาสตราจารย์พัชรี วรจรัสรังสี) ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม และรองคณบดีคณะครุศาสตร์ ๑

กำหนดการงานแสดงมุทิตาจิต สานรัก ร้อยใจ ด้วยสายใย สาธิตจุฬาฯ แด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร อังศรีพวง ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล เนื่องในโอกาสเกษียณอายุการทำงาน ปีการศึกษา ๒๕๖๔ วันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. ถ่ายทอดสด ณ ห้องประชุมชั้น ๔ อาคารบริหารและปฏิบัติการ ๑๕.๔๐ น. ต้อนรับอาจารย์ผู้เกษียณอายุการทำงานเข้าสู่งาน ๑๖.๐๐ น. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ กล่าวเปิดงานและกล่าวเชิดชูเกียรติผู้เกษียณอายุการทำงาน ๑๖.๑๕ น. ตัวแทนหน่วยงานกล่าวเชิดชูเกียรติตามลำดับ - รองศาสตราจารย์พัชรี วรจรัสรังสี (ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม) - คุณกิตติ อภิชนบัญชา (นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ) - คุณกนิษฐ์ สารสิน (นายกสมาคมนักเรียนเก่าสาธิตจุฬาฯ) - อาจารย์พิรุนเทพ เพชรบุรี (ตัวแทนอาจารย์โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม) - สภานักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ๑๖.๓๐ น. ชมวีดิทัศน์เชิดชูเกียรติ ปัจฉิมโอวาท “ข้อคิดจากใจก่อนจาก” ๑๖.๔๕ น. ร่วมกันขับร้องเพลง “เพชรชมพู” เพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” และเพลง “ลาแล้ว จามจุรี” ๑๗.๐๐ น. เดินทางกลับบ้านด้วยความสุขและอิ่มเอมใจ หมายเหตุ : - รับชมการถ่ายทอดสดผ่านโปรแกรม ZOOM โดย Scan QR Code - หากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติจะมีการจัดงานที่โรงเรียนตามเดิม ๒

QR CODE เข้าร่วมงาน Meeting ID : 998 9200 3532 Passcode : 01102564 ดำเนินการถ่ายทอดสดโดย หน่วยเทคโนโลยีการศึกษา และฝ่ายวิรัชกิจและกิจการพิเศษ ๓

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร อังศรีพวง ๔

ประวัติส่วนตัว ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร อังศรีพวง วันเดือนปีเกิด : วันจันทร์ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ที่กรุงเทพมหานคร ชื่อเล่น : “กระต่าย” เชื้อชาติ : ไทย สัญชาติ : ไทย นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ บิดาชื่อ : นายอำนวย อังศรีพวง (ถึงแก่กรรม) มารดาชื่อ : นางสุขสวัสดิ์ นนทรักษ์ (ถึงแก่กรรม) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๘ คน คือ (๑) นายอำนาจ อังศรีพวง (ถึงแก่กรรม) (๒) นายอำพล อังศรีพวง (ถึงแก่กรรม) มีบุตรสาว ๒ คน (๓) นางสาวฉวีวรรณ อังศรีพวง (มีบุตร ๒ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๑ คน) (๔) นางยุพา พึ่งแย้ม (มีบุตรสาว ๑ คน) (๕) นางสาวอัมพร อังศรีพวง (โสด) (๖) เป็นผู้หญิง (เสียชีวิตตั้งแต่เกิด) (๗) นายสมนึก อังศรีพวง (มีบุตร ๒ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๑ คน) (๘) นางสาวปราณี อังศรีพวง (โสด) ต่อมาคุณแม่ได้แต่งงานใหม่กับนายมา นนทรักษ์ (ปัจจุบันคือ พระมา นนทรักษ์) มีบุตรชาย ๒ คน คือ (๑) นายวัฒนา นนทรักษ์ (ถึงแก่กรรม) (๒) นายปรีชา นนทรักษ์ (ถึงแก่กรรม) ที่อยู่ปัจจุบัน : ๓๓/๕๓ หมู่ ๑๐ หมู่บ้านสุธารินไพรเวซี่ ซอย ๑๑ ถนนลำลูกกา คลอง ๓ ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๕๐ เบอร์โทรศัพท์ : ๐๘๙-๒๒๐-๖๗๐๐ ๕

ประวัติการศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ กรุงเทพมหานคร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ (เทียบเท่าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในปัจจุบัน) จากโรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส (วัดเชิงหวาย) กรุงเทพมหานคร ระดับ ม.ศ. ๕ (เทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในปัจจุบัน) จากโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร กรุงเทพมหานคร ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๖ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๒ ประวัติการรับราชการ เริ่มรับราชการ ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ มีประสบการณ์ในการสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ เป็นอาจารย์ร่วมสอนวิชา “วิธีวิทยาการการสอนภาษาไทย” แก่นิสิตสาขาวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์สอนวิชา “การสร้างสรรค์สื่อการสอนสำหรับครูประถมศึกษา” แก่นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ “ครูภาษาไทยดีเด่น” ระดับประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ “อาจารย์ดีเด่น” ด้านความเป็นครู จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการดำเนินการสอบโครงการแข่งขันคนเก่งในโรงเรียนท้องถิ่น ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ๖

ประวัติการรับราชการ (ต่อ) ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ สาขาการศึกษาปฐมวัย และสาขาประถมศึกษา ในการตรวจประเมินผลงานข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นวิทยากรอบรมครูด้านการจัดกิจกรรมและการสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ในระดับประถมศึกษา ผลงานด้านวิชาการ หนังสือเด็ก เรื่อง “เมล็ดข้าวสีขาว” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับประกาศนียบัตร รางวัลชมเชยในการประพันธ์ จากการประกวดหนังสือเนื่องในงานสัปดาห์ หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๓๐ หนังสือแนวพัฒนาสื่อการสอนภาษาไทย เรื่อง “สรรสร้างสื่อสร้างสรรค์” จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๔ หนังสือหลักภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๑ (เป็นผู้ร่วมเขียน) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรณกิจ พ.ศ. ๒๕๖๑ หนังสือหลักภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๒ (เป็นผู้ร่วมเขียน) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรณกิจ พ.ศ. ๒๕๖๑ รายงานการวิจัยเรื่อง “การศึกษาแนวทางการใช้สิ่งแวดล้อมเป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔” โดย รองศาสตราจารย์สมศรี เพ็ชรยิ้ม และคณะ (เป็นผู้ร่วมวิจัย) พ.ศ. ๒๕๔๓ ๗

ผลงานด้านบริหาร ตำแหน่งหัวหน้าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ วาระ ๑ ปี ตำแหน่งหัวหน้าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ วาระ ๑ ปี ตำแหน่งหัวหน้าสายวิชาภาษาไทย (ผู้ประสานงานวิชาภาษาไทย) วาระ ๒ ปี ตำแหน่งหัวหน้าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ วาระ ๑ ปี ผลงานด้านอื่นๆ ได้รับเกียรติบัตรในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สภานายิกาสภากาชาดไทย ที่ได้บริจาคโลหิตให้แก่สภากาชาดไทย เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ เป็นจำนวน ๖๐ ครั้ง เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๘

ข้อคิดเกี่ยวกับชีวิตการทำงาน จงทำงานให้เป็นที่ถวายเกียรติแด่พระเจ้า จงรักเพื่อนบ้าน เหมือนรักตนเอง บิดา มารดา ครูอาจารย์ คือผู้ที่มีพระคุณสูงสุด คือผู้ที่อบรมสั่งสอนให้เราเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ คณะครุศาสตร์และโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม เป็นผู้มอบประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งชีวิตและ การทำงานที่ทำให้เติบโตเป็นครูด้วยใจใช่หน้าที่ เด็ก ๆ คือ ครูของครูที่ทำให้ครูได้ปรับเปลี่ยนวิธีเรียน วิธีสอนให้ก้าวทันตามสมัย ๙

ความประทับใจที่มีต่อ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม เปรียบเสมือนบ้านหลังที่ ๒ ของดิฉัน ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๖ ดิฉันได้ก้าวมาสู่บ้านหลังนี้ ในบทบาทของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ขอกราบ ขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มัทนา ทองใหญ่ ผู้เป็นอาจารย์นิเทศก์วิชาภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษาปีที่ ๕ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประณาท เทียนศรี ผู้เป็นอาจารย์คู่ชั้นระดับประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่ช่วยฝึก ประสบการณ์การเป็นอาจารย์ประจำชั้นให้แก่ดิฉัน เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๖ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพร วงศ์สุนทรเลิศ ผู้เป็นอาจารย์นิเทศก์วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ศาสตราจารย์กิตติคุณอัจฉรา ชีวพันธ์ ผู้เป็นอาจารย์นิเทศก์กิจกรรมสนทนากับนักเรียน (Homeroom) ดิฉันได้ก้าวมาสู่บ้านหลังนี้อีกครั้ง ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ในบทบาทของอาจารย์ที่ได้รับการ หล่อหลอมประสบการณ์ชีวิตให้ดิฉันมีจิตวิญญาณของความเป็นครูที่ดีและมีคุณธรรม ขอกราบขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ผู้อาวุโสและอาจารย์รุ่นพี่ทุกท่าน ที่ได้สั่งสอน อบรม ตักเตือน แนะนำ ถ่ายทอด และมอบ ประสบการณ์การทำงาน การจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนไปพร้อมกับให้กำลังใจกับดิฉันตลอดมา ขอขอบคุณอาจารย์รุ่นน้องทุกคน ที่ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ เป็นกำลังใจ และสร้าง ความสุขในการทำงานให้ดิฉัน ขอขอบคุณสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้พัฒนาและสร้างสรรค์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเจริญก้าวหน้าและทันสมัย ขอขอบคุณโครงการสวัสดิการฯ สำหรับบุคลากรในโรงเรียนที่ช่วยให้ดิฉันมีกำลังใจในการทำงานและมี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ๑๐

ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่และบุคลากรทุกท่านที่ช่วยประสานงานให้ดิฉัน ได้ทำงานอย่างประสบความ สำเร็จในเรื่องต่าง ๆ ได้รับความอบอุ่นและปลอดภัย ขอขอบคุณนักเรียนผู้ที่เป็นทั้งครูของครู เป็นลูกศิษย์ที่รักของครู ช่วยทำให้ครูได้พัฒนาการเรียน การสอน และปรับตัวในการเป็นครูของนักเรียนให้เหมาะสมกับระดับชั้น และก้าวให้ทันตามสมัย สุดท้ายนี้ ดิฉันขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์พัชรี วรจรัสรังสี ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ท่านอาจารย์ อาวุโส อาจารย์รุ่นน้องที่น่ารักทุกคน บุคลากร และคณะผู้ปกครอง จากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิต จุฬาฯ ทุกท่านที่ได้ร่วมแสดงมุทิตาจิตในโอกาสที่ดิฉันเกษียณอายุราชการ ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้ท่านคณบดีและท่านผู้อำนวยการโรงเรียนในการทำงานพัฒนาทั้งคณะ ครุศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ให้บรรลุตามเป้าหมาย และมีความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป ดิฉันขอชื่นชมการทำงานของอาจารย์รุ่นน้องทุกคน น้อง ๆ เป็นผู้ที่ทำงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ และมีศักยภาพสูงสุด ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์รุ่นน้องทุกคนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และมีครอบครัวที่มีความอบอุ่น มีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรทุกท่านให้ประสบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง และมีสุขภาพ แข็งแรงค่ะ ความประทับใจที่มีต่อคณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์เปรียบเสมือนสำนักช่างปั้ นหม้อ ที่ปั้ นคนที่ใฝ่ฝันจะเป็นครู ให้ได้เป็นครูดังฝัน แต่ผู้ที่ปั้ นหม้อนั้น พิเศษกว่าช่างปั้ นหม้อในสำนักอื่น ๆ เนื่องด้วยช่างปั้ นหม้อท่านใช้ใจและจิตวิญญาณ ตกแต่งปั้ นหม้อนั้นไปกับความคิดสร้างสรรค์ หม้อจากคณะครุศาสตร์จึงเป็นหม้อที่มีคุณภาพดี คงทน และ สวยงาม ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ผู้ปั้ นนิสิตให้เป็นครูที่มีความรู้ ความเจริญก้าวหน้าไป พร้อม ๆ กับการเป็นผู้ที่มีคุณธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร อังศรีพวง ๑๑

๑๒

๑๓

๑๔

๑๕

๑๖

๑๗

๑๘

๑๙

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล ๒๐

ประวัติส่วนตัว ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล วันเดือนปีเกิด : วันเสาร์ที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ที่อยู่ปัจจุบัน : ๒๕๐/๙๑ ซอย ๑/๓ หมู่บ้านกรีนวิลล์ ถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๗๐ E-mail : [email protected] เบอร์โทรศัพท์ : ๐๘๖-๘๘๖-๘๕๐๖ LINE : ๐๘๖๘๘๖๘๕๐๖ ประวัติการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) (เกียรตินิยมอันดับสอง) สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ประวัติการรับราชการ เริ่มรับราชการ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ๑ ระดับ ๓ ขั้น ๒,๗๖๕ บาท เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ณ โรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ย้ายโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๗ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ รับเงินเดือนในระดับ ๓ ขั้น ๒,๗๖๕ บาท ตำแหน่งเลขที่ ๓๔๙ ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ประจำที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖) ย้ายมาประจำที่สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี ๒๕๔๙ ถึงปัจจุบัน รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.) วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ๒๑

ผลงานด้านวิชาการ บทความ Thampitakkul, P. (2017). Conservation and Continuation of Thai Folk Song: A Case Study Pleng Na Chumporn. Proceeding to PGVIM 2017. Music, Myths & Realities: Princess Galayani Vadhana Institute of Music International Symposium. Thampitakkul, P. (2017). Multicultural Thai Music and Music Education in Thailand. Proceeding to The First International Conference on Arts and Creativity (ICAC) 2017 at Indonesia Institute of the Arts (ISI) Surakarta. Thampitakkul, P. (2012). Differences in Playing the 2 Musical Instruments: Gambang, Indonesian and Ranard-ek, Thai. Proceeding to The 1stNational Conference on Music Education (NCME 2012): Princess Division of Music Education. Faculty of Education, Chulalongkorn University. เอกสารคำสอน พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล. (๒๕๕๒). ทฤษฎีและประวัติดนตรีไทย เอกสารคำสอน จำนวน ๗๘ หน้า ทุนพัฒนา ตำราจากคณะครุศาสตร์ ๑๐,๐๐๐ บาท. พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล. (๒๕๕๒). ดนตรีอาเซียน เอกสารคำสอน จำนวน ๘๒ หน้า ทุนพัฒนาตำราจากคณะ ครุศาสตร์ ๑๐,๐๐๐ บาท. พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล. (๒๕๕๑). ดนตรีในประถมศึกษา เอกสารคำสอน จำนวน ๑๐๘ หน้า ทุนพัฒนาตำรา จากคณะครุศาสตร์ ๑๐,๐๐๐ บาท. งานวิจัย พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล และคณะ. (๒๕๕๕-๒๕๖๐). รายงานการจัดประชุมดนตรีและนาฏศิลป์อาเซียนเพื่อ ครูดนตรีครั้งที่ ๑-๕. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (เป็นคณะกรรมการและเลขานุการ ในการจัดประชุมทุกครั้ง) พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุลและคณะ. (๒๕๕๒). รายงานการวิจัยเรื่องโครงการจากครูดนตรีนำสุนทรีสู่เยาวชน. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล. (๒๕๔๕). รายงานการวิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ในการเรียนดนตรีสากลขั้นพื้นฐานตาม แนวคิดของ KODALY ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. กรุงเทพมหานคร: ทุนสถิตย์-สุรัตน์ ชันซื่อ ประจำปี ๒๕๔๒ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ๒๒

ผลงานด้านบริหาร คณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๖๑ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๖๒ - ปัจจุบัน ประธานสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๖๐ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๘ คณะกรรมการบริหารงานกิจการนิสิตและนิสิตเก่าสัมพันธ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๖๑ ที่ปรึกษาชมรมนาฏศิลป์และดนตรีไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน ที่ปรึกษาชมรมลีลาศ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ปัจจุบัน หัวหน้าอาจารย์นิเทศก์สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน หัวหน้าสายวิชาดนตรีศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๙ ประธานโครงการศิลปวัฒนธรรม โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๙ ประธานจัดโครงการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีและนาฏศิลป์ (กับประเทศต่างๆ ทั้งทวีปเอเชีย อเมริกา ยุโรป และโอเชียเนีย) คณะครุศาสตร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาน เอกอัครราชทูตไทยในประเทศต่าง ๆ เป็นประจำ พ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน ผู้ช่วยอนุสาสกหอพักนิสิตหญิง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูแลด้านวินัยและกิจการนิสิต ฝ่ายกิจการ นิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๓๒ คณะกรรมการและเลขานุการ สมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย) พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๖๑ คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย) พ.ศ. ๒๕๖๒ - ปัจจุบัน คณะกรรมการจัดการแสดงดนตรีไทยครูอาวุโสแห่งรัตนโกสินทร์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน คณะกรรมการจัดประกวดดนตรีไทย (ศิลปหัตถกรรมภาคตะวันออก) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๕๐ - ปัจจุบัน คณะกรรมการจัดงานเยาวชนดนตรีไทย ทั้งสี่ภาคของประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๖๑ - ปัจจุบัน คณะกรรมการโครงการห้องเรียนดนตรีเพื่อจัดโปรแกรมการเรียนดนตรีระดับ ม.1 และ ม.4 นำร่อง 20 โรงเรียน (จากทั้งประเทศ) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ปัจจุบัน ๒๓

ผลงานด้านบริหาร (ต่อ) คณะอนุกรรมการจัดทำแผนแม่บทด้านดนตรีไทย คณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๖๑ - ปัจจุบัน คณะกรรมการสอบเทียบมาตรฐานดนตรีไทยระดับเกรด ๑ - ๙ สมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย) พ.ศ. ๒๕๖๑ - ปัจจุบัน คณะกรรมการและคณะทำงานโครงการร้อยใจดนตรีไทย น้อมรำลึกองค์อัครศิลปิน กรมส่งเสริม วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการและเลขานุการโครงการอบรมดนตรีและนาฏศิลป์อาเซียนสำหรับครูดนตรี (ประเทศไทย) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๖๐ คณะกรรมการและเลขานุการจัดโครงการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ด้านศาสนาและวัฒนธรรม มูลนิธิพระธรรมทูตสายอินโดจีน ณ วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๕๘ - ปัจจุบัน คณะกรรมการจัดการศึกษา (ดนตรีไทย) ในศูนย์สอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดนาคปรก ร่วมด้วย สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๕๖ - ปัจจุบัน คณะกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงส่งเสริมพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๕ คณะกรรมการและเลขานุการจัดงาน “วิศิษฏศิลปินสรรพศิลป์สโมสร” เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ สถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบันในประเทศไทย ณ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการและเลขานุการจัดประชุมวิชาการดนตรีศึกษาเรื่องทิศทางดนตรีศึกษาในทศวรรษหน้า สมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย) ร่วมด้วย กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการและเลขานุการจัดโครงการสุนทรีสู่ชุมชน (ดนตรีนี้….เพื่อน้อง) สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓ คณะกรรมการและเลขานุการจัดการแสดงวิพิธทัศนาและงิ้วไทยเรื่องสามก๊ก ตอนเตียวเสี้ยนวีรสตรี ผู้กู้ชาติ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะกรรมการและเลขานุการจัดการแสดงดนตรีไทยและดนตรีนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และ ๒๕๕๐ ๒๔

ข้อคิดเกี่ยวกับชีวิตการทำงาน “ก้าวไปข้างหน้า เข้าหามวลชน ชีวิตอุทิศยอมตน ฝ่าความสับสน เพื่อผลประชา” การปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างของครูที่ดี เช่น การเตรียมการสอน การตั้งใจสอน การใส่ใจนิสิตรายบุคคล ในระหว่างการสอน การตอบคำถาม การเปิดโอกาสให้นิสิตแสดงความคิดเห็น สร้างสรรค์งานต่าง ๆ และผลักดันให้นิสิตร่วมทำงานกับหน่วยงานทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัยเพื่อรับประสบการณ์ ตรงโดยใช้หลักการบูรณาการ เน้นการสอนให้นิสิตเป็นครู อาจารย์ที่ดีในวันข้างหน้า เป็นคนดี มีเมตตา มีน้ำใจ มีความกตัญญูกตเวที ด้วยการปลูกฝังผ่านวิธีปฏิบัติทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ การสอนดนตรีศึกษาภาคปฏิบัติสู่ทฤษฎีเพื่อให้นิสิตเข้าใจง่าย สามารถนำความรู้ไปบูรณาการ สร้างสรรค์พัฒนากับสาขาวิชาอื่น ๆ และชีวิตประจำวันได้ การเปิดโอกาสให้นิสิตเข้าพบเป็นการส่วนตัว และติดต่อทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้ทุกเวลา การประสานงานกับอาจารย์ท่านอื่นๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาของนิสิตบางคน การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของนิสิตเข้าพบในกรณีที่ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาของนิสิต ๒๕

ความประทับใจที่มีต่อ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล มีความประทับใจทุกสถานที่ที่ก้าวย่างไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคมที่อยู่มา ๑ ปี เพราะได้สร้างทั้งวงดนตรีไทย วงขับร้องประสานเสียง วงมาร์ชชิ่งเบลไลล่า และประทับใจที่อยู่ที่สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ ที่สร้างหลายสิ่งหลายอย่าง เช่นกัน หรือแม้แต่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ก็ประทับใจด้วยการเป็นกรรมการเลขานุการมาตลอดทุกงาน แต่ที่ประทับใจที่สุดคือ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม เพราะเป็นสถานที่ที่ทำงานนานที่สุดและตลอด ๒๓ ปีของการมีชีวิตอยู่ที่นี่ ได้ช่วยสร้างนักเรียนตัวเล็ก ๆ ใสสะอาดให้มีความคิดสร้างสรรค์และ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ได้ทำงานอยู่กับคุณครูแต่ให้ความเป็นกันเองเหมือนเพื่อน ได้มีกัลยาณมิตร ในการประสานงานทุกงาน ไม่ว่าจะคณาจารย์และฝ่ายสนับสนุน ได้ทำวงดนตรีไทยวงใหญ่ ๆ พยายาม พัฒนานักเรียนทุกคนให้เล่นดนตรีไทยเป็น ได้ทำกิจกรรมการแสดงบนเวทีทั้งปีใหม่และกิจกรรมงานต่าง ๆ ได้จัดตั้งวงดนตรีไทยคณาจารย์ แถมขยายไปยังคณะครุศาสตร์วงใหญ่ขึ้นทุกปี จนเดี๋ยวนี้ อาจารย์พี่ อาจารย์ป้า อาจารย์น้าอาที่เกษียณอายุไปนานแล้ว ก็ยังติดต่อมาส่งโน้ตส่งเพลงให้อยู่เสมอ ได้นำนักเรียน ผู้ปกครอง และครูออกไปแลกเปลี่ยนเผยแพร่ ณ ต่างประเทศทุกปี บางแห่ง ๒๐๐ คน บางแห่ง ๑๕๐ คน บางแห่ง ๘๐ คน ไม่เคยมีปัญหาที่แก้ไม่ได้ แม้กระทั่งไปประจำที่ครุศาสตร์แล้วก็ยังร้องขอให้ดำเนินการต่ออีกหลายครั้ง ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกฝ่าย ในทุก ๆ งาน มาตบมือกัน มาตบที่ตัก ตบดังเปาะแปะ แล้วตบที่ตัก มาตบมือกัน มาตบที่ตัก ตบไปทางซ้าย ตบขวาตบตัก วันหนึ่ง อาจารย์เดินไปทานอาหารกลางวัน ตอนเดินไปจะลงมาชั้นล่างสุด เพื่อผ่าน ป.๑ และ หลังทานเสร็จแล้วจะเดินผ่าน ป.๒ ซึ่งอยู่ชั้นสอง ทำเช่นนี้เป็นประจำเพื่อดูนักเรียนที่นั่งอยู่ตามห้อง คราวนั้นได้ผ่านห้องเรียนหนึ่ง นักเรียนกำลังนั่งเล่นตบแผละกันเป็นคู่ ๆ แรงบันดาลใจเกิดขึ้นทันที อาจารย์ก็ได้แต่งเพลงมาตบมือกัน เล่นกันมาอย่างสนุกสนาน รุ่นแล้วรุ่นเล่า นี่เป็นเพียงกรณีหนึ่ง ยังมี อีกมากมาย แต่อาจารย์เป็นคนไม่พูดมาก จะทำแต่งานไม่เคยออกไปทานอาหารนอกโรงเรียน ตลอดเวลา น่าจะได้ออกไปสักไม่เกิน ๕ ครั้งด้วย มีความสุขอยู่กับงานกับเด็ก ๆ ๒๖

อาจารย์ประทับใจในการสอนดนตรีมาก เพราะได้มีโอกาสพัฒนามาตลอด ๓๙ ปี ตั้งแต่วิชา ดนตรีที่มีเพียงการขับร้องเพลงไทยเดิมรำวงมาตรฐาน จนปัจจุบันมีเทคนิควิธีการสอนมากมายเกิดขึ้น ยังได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรของชาติกับคุณครูผู้ใหญ่ ร่วมก่อตั้งสมาคมครูดนตรี (ประเทศไทย) ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นกลุ่มคณาจารย์สายวิชาดนตรีจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ที่ออกไปสรรสร้างงานพัฒนาครู ดนตรีของชาติมามากกว่า ๑๐ ปี สิ่งที่อยากฝากไว้กับคณาจารย์รุ่นน้อง ๆ คือ หากเรามีหลักในการมุ่งพัฒนาและการสอนนักเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้น่าสนใจ คำนึงถึงทุกสิ่งรอบด้านมากกว่าจะคิดถึงผลงานของตนเอง เราจะมีความสุขที่สุด เป็นการสะสมความสุขที่เกิดขึ้นเมื่อเห็นนักเรียนทำได้ และเมื่อผ่านมาถึงจุด ๆ หนึ่ง เราจะรู้สึกอิ่มและรู้จักพอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล ๒๗

ความประทับใจที่มีต่อคณะครุศาสตร์ มองย้อนไปในอดีต ช่วงที่เป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้สึกได้เสมอว่า เป็นช่วงที่มีความสุข และได้เรียนรู้วิชาการต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมนอกหลักสูตรอย่างมากมาย ตัวอาคาร สถานที่และอุปกรณ์การเรียนการสอนมีความพร้อม ท่านอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงและ มีความเป็นครูอย่างแท้จริง ตั้งใจสอนทั้งเนื้อหาวิชาการและภาคปฏิบัติทั้งชีวิตเพื่อให้เราเป็นคนดีมี ประโยชน์ ต่อสังคมประเทศชาติ เมื่อมาเป็นอาจารย์เริ่มต้นที่โรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นเวลา ๑ ปีเต็มก็ได้ทำประโยชน์ไว้มากมาย ทั้งตั้งวงดนตรีไทย วงขับร้องประสานเสียงที่ได้ส่งไป ร่วมงานในระดับเขต และการขับร้องเดี่ยวก็ได้รับรางวัลชนะเลิศทำชื่อเสียงให้กับโรงเรียน หลังจากย้ายโอน เข้ามารับราชการ ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ได้ใช้วิชาที่เรียนมาอย่างเต็มความสามารถและ มีผลงานเด่นชัดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นวงดนตรีไทยขนาดใหญ่จำนวนเป็นร้อย ๆ คน การจัดการแสดงโขน วิพิธทัศนา รวมทั้งการนำนิสิต นักเรียน ครูอาจารย์ และผู้ปกครอง ตั้งแต่ ๔๐ คนขึ้นไป จนถึง ๒๐๐ คน ไปแลกเปลี่ยนและเผยแพร่วัฒนธรรม ณ ต่างประเทศอาเซียน เอเชีย ยุโรป โอเชียเนียและอเมริกา มาโดยตลอด นักเรียนมีความภูมิใจในตัวเอง และตั้งใจเรียนมากขึ้น จนกระทั่งถึงการย้ายไปประจำ ณ สาขาวิชาดนตรีศึกษา ก็ยิ่งมีความสุขในการทำงาน มีโอกาสสร้างสรรค์งานต่าง ๆ มากมายให้กับนิสิต โดยสานงานเก่าจากโรงเรียนสู่ภาควิชา มีโอกาสนำนิสิตออกไปเรียนนอกสถานที่ ตั้งแต่การไปกราบครู ดนตรีอาวุโสแห่งรัตนโกสินทร์ ณ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมเมื่อเริ่มต้นเข้ามาเป็นนิสิตชั้นปีที่ ๑ จนถึงการนำ นิสิตฝึกทำงานร่วมกับครูดนตรี ศิลปินดนตรีจากประเทศต่างๆ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงฯ สถานทูตฯ การบูรณาการรายวิชากับการได้ฝึกปฏิบัตินำความสำเร็จมาอย่างเห็นได้ชัดเมื่ อนิสิตจบการศึกษา ไปทำงานแล้วหรือศึกษาต่อก็ตาม ๒๘

ถึงแม้จะดูเหมือนว่าเป็นเวลา ๓๙ ปีที่อยู่แต่ในคณะครุศาสตร์ แต่แท้ที่จริงแล้วคณะครุศาสตร์ เป็นแหล่งรากฐานที่สำคัญที่สุด เหมือนเป็นรากแก้วที่คอยลำเลียงความพร้อมด้านต่าง ๆ สามารถนำนิสิต และนักเรียนออกไปทำประโยชน์ให้สังคมได้อย่างไม่เคยหยุดยั้งตั้งแต่เริ่มทำงาน ไม่เพียงแค่ในระดับคณะ มหาวิทยาลัย แต่ยังรวมไปถึงระดับชาติและนานาชาติอย่างสม่ำเสมออีกด้วย โดยได้รับการยอมรับในผล งานพัฒนาสังคมวัฒนธรรมโดยมีดนตรีไทยเป็นสื่อและทุกหน่วยงาน ทุกสถาบันต้องการต่อยอด สิ่งเหล่านี้ นำความสุขมาสู่การดำเนินชีวิตครูตลอดชีวิตที่ผ่านมา จึงนับได้ว่าประทับใจที่สุดในการเป็นอาจารย์ ประจำ ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล ๒๙

๓๐

๓๑

๓๒

๓๓

๓๔

๓๕

๓๖

๓๗

เพลง เพชรชมพู ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง : จักราวุธ แสวงผล ราตรีงดงามด้วยดาวส่องฟ้า ประดับนภาและคอยบอกทาง จุฬาฯ ของเราช่วยเราทุกอย่าง เป็นแสงนำทางให้ตลอดมา วันคืนรื่นรมย์ร่มจามจุรี ยังจำได้ดีพระคุณจุฬาฯ คอยเจียระไนให้สิ่งล้ำค่า เป็นเพชรจุฬาฯ อยู่กลางหัวใจ ประกายแห่งเพชร ประกายศักดิ์ศรี ส่องทางวันนี้ไปยังพรุ่งนี้และวันต่อไป ประกายแห่งเพชร สาดแสงยิ่งใหญ่ ประกายสุขใสในใจแห่งเพชรชมพูจุฬาฯ อันเชิญเพชรงามให้ความสดใส สาดส่องหัวใจผองชาวจุฬาฯ เป็นแรงให้เราก้าวไปข้างหน้า รับใช้ประชาแห่งดินแดนไทย ประกายสุกใสในใจแห่งเพชรชมพูจุฬาฯ Scan QR Code เพื่อฟังเพลงหรือดาวน์โหลด ๓๘

เพลง มหาจุฬาลงกรณ์ ผู้ประพันธ์ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง : ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และนายสุภร ผลชีวิน น้ำใจน้องพี่สีชมพู ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา พระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณ์ ขอทูนขอเทิดพระนามไท พระคุณแนบไว้นิรันดร ขอองค์พระเอื้ออาทร หลั่งพรคุ้มครอง นิสิตพร้อมหน้า สัญญาประคอง ความดีทุกอย่างต่างปอง ผยองพระเกียรติเกริกไกร ขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง นิสิตประสงค์เป็นธงชัย ถาวรยศอยู่คู่ไทย เชิดชัย ชโย Scan QR Code เพื่อฟังเพลงหรือดาวน์โหลด ๓๙

เพลง ลาแล้วจามจุรี ผู้ประพันธ์ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล ลาแล้วจามจุรีที่เตือนใจ เสียดายที่จากไป เคยอยู่ใกล้ทุกสมัยมั่น เจ้าเอยเคยชิดติดพัน ต้องลาโศกศัลย์เศร้าใจ นับแต่วันนี้ต่อไป ลับลาจะห่างไกล เหมือนดังจะขาดใจ คร่ำครวญหวนไห้ก็ไม่คืนมา ลาแล้วจามจุรีที่เคยเห็น มิตรดีที่เจ้าเป็น ได้ร่มเย็นทุกเสมอหน้า จากไปใจหายจากลา โอ้ใครจะมาปลอบใจ มิใช่จะร้างห่างไกล ถึงตัวจะจากไป สัมพันธ์ทางจิตใจ จะไกลหรือใกล้ใจอยู่ด้วยเอย Scan QR Code เพื่อฟังเพลงหรือดาวน์โหลด ๔๐

จากใจคนทำงาน โโรรงงเเรรีียยนนสสาาธธิิตตจจุุฬฬาาลลงงกกรรณณ์์มมหหาาววิิททยยาาลลััยย ฝฝ่่าายยปปรระะถถมม หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการแสดงมุทิตาจิตแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร อังศรีพวง และผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล อาจารย์ผู้เกษียณอายุการทำงาน ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในวันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ภายใต้ชื่องาน “สานรัก ร้อยใจ ด้วยสายใย สาธิตจุฬาฯ” ซึ่งในปีนี้มีรูปแบบ การจัดงานที่แตกต่างจากเดิม อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ จึงได้ เปลี่ยนการจัดงานเป็นแบบออนไลน์ผ่านการประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom คณะกรรมการฝ่ายวิรัชกิจและกิจการพิเศษในฐานะผู้จัดงาน ขอขอบคุณคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรทุกฝ่ายที่ได้ให้ความช่วยเหลือและร่วมมือร่วมใจกันทำงานที่มีความสำคัญ สร้างสรรค์งาน ให้สำเร็จลุล่วงอย่างงดงามและน่าประทับใจ ขอขอบคุณคณะผู้บริหารและบุคลากรของโรงเรียน คณะครุศาสตร์ สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนักเรียนเก่าสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้มีเกียรติ ทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมงานในวันนี้ ถึงแม้งานในวันนี้จะสิ้นสุดลงแต่ภาพความประทับใจและมิตรภาพ ที่เกิดขึ้นจะอยู่ในความทรงจำของทุกคนตลอดไป หากการจัดงานในวันนี้มีสิ่งใดขาดตกบกพร่องไป คณะกรรมการจัดงานขอน้อมรับและจะนำไป ปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป ด้วยรักและปรารถนาดี คณะกรรมการฝ่ายวิรัชกิจและกิจการพิเศษ และคณะกรรมการหน่วยประชาสัมพันธ์ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ๔๑





สานรัก ร้อยใจ ด้วยสายใย สาธิตจุฬาฯ งานแสดงมุทิตาจิตเนื่องในโอกาสงานเกษียณอายุการทำงาน ปีการศึกษา ๒๕๖๔