Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore KM Online

KM Online

Published by rattiya252112, 2020-04-28 09:31:06

Description: องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสร้างกลุ่มอาชีพให้มีความยั่งยืน

Keywords: ไทย

Search

Read the Text Version

ช่อื องคค์ วามรู้ การสรา้ งและพัฒนากลมุ่ อาชีพท่ีย่งั ยืน เจ้าขององคค์ วามรู้ นางสาวรัตตยิ า สตุ ระ นกั วชิ าการพฒั นาชุมชนชานาญการ สานักงานพฒั นาชุมชนอาเภอสไุ หงปาดี จงั หวัดนราธิวาส

การบนั ทึกองค์ความรู้ในงานพฒั นาชุมชน แบบบนั ทกึ องค์ความรู้รายบุคคล 1. ชอื่ องค์ความรู้ การสร้างและพัฒนากลุ่มอาชพี ท่ยี ่ังยืน 2. ชื่อเจ้าของความรู้ นางสาวรตั ตยิ า สุตระ นักวิชาการพัฒนาชมุ ชนชานาญการ สานักงานพัฒนาชมุ ชน อาเภอสุไหงปาดี จงั หวดั นราธวิ าส 3. องค์ความรทู้ ีบ่ ง่ ช้ี (เลอื กได้จานวน 1 หมวด)  หมวดท่ี 1 สรา้ งสรรค์ชมุ ชนพ่ึงตนเองได้  หมวดท่ี 2 ส่งเสรมิ เศรษฐกจิ ฐานรากให้ขยายตวั อย่างสมดุล  หมวดที่ 3 เสริมสรา้ งทนุ ชมุ ชนให้มธี รรมาภิบาล  หมวดที่ 4 เสริมสรา้ งองค์กรใหม้ ีขีดสมรรถนะสูง 4. ที่มาและความสาคัญในการจดั ทาองคค์ วามรู้ จากแผนยุทธศาสตร์ชาติที่ต้องการลดความเหล่อื มลาทางสังคม และสร้างโอกาสให้ประชาชน เข้าถึงบริการของรัฐโดยเท่าเทียมตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข็มแข็งของรัฐบาล รัฐบาลได้กาหนดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์บนพืนฐานของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อน เศรษฐกจิ ของชาตจิ าเปน็ จะต้องวางนโยบายเชงิ กลยทุ ธ์ ซึ่งจะส่งผลตอ่ การขยายกรอบในการทางาน โดยเฉพาะ อย่างย่ิงการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถ่ิน ซ่ึงถือว่าเป็นเศรษฐกิจฐานใหญ่ของประเทศ ซึ่งเราเรียก เศรษฐกิจฐานรากนันเอง หัวใจสาคญั ของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก คอื การสร้างสัมมาชีพให้เต็มพืนท่ีและ พัฒนาสู่การสร้างกลุ่มอาชีพ เศรษฐกิจฐานรากท่ีกรมการพัฒนาชุมชนทาอยู่ก็จะสอดรับกับวิสัยทัศน์ของ กรมการพัฒนาชุมชน ก็คือ เศรษฐกิจฐานราก ม่ังคงและชุมชนพ่ึงตนเองได้ ภายในปี 2564 ซ่ึงการสร้าง สัมมาชีพชุมชนจะช่วยระบบเศรษฐกิจฐานรากของประชาชนภาคการเกษตรและอยู่ในชนบทลืมตาอาปากได้ ขณะนีรัฐบาลเน้นในสร้างความสมดลระหว่างระบบเศรษฐกิจ ถ้าเรารักษาความสมดุลได้มั่นใจว่าประเทศไทย จะมั่นคง และเข็มแข็ง 5. รูปแบบ กระบวนการ หรอื ลาดบั ขน้ั ตอน 5.1.1 ขนั้ เตรียมการสร้างกลุ่มอาชพี 1) พัฒนากรได้มีการศึกษาข้อมูลของกลุ่มอาชีพที่เหมาะสมกับประชาชนในพืนท่ี โดยได้ทา การวเิ คราะห์ขอ้ มูลจากการจัดทาเวทีวิเคราะห์รายจ่ายของครวั เรือนในแตล่ ะหมบู่ ้าน และนาไปใช้ข้อมูลท่ีได้ไป บรรจุในแผนชชุ น เพ่อื เป็นคู่มอื ขันตอนกระบวนการส่งเสรมิ กลุ่มอาชพี เพอื่ ทจ่ี ะสามารถดูขอ้ มูลได้ตลอดเวลา 2) พัฒนากรร่วมกับผู้นาชุมชนกาหนดแผนการส่งเสริมอาชีพ โดยให้ผู้นาชุมชนสารวจความ ต้องการอาชีพตา่ ง ๆ ของครัวเรือนอีกครงั เพ่ือนามาวางแผน และนาแผนไปดาเนินการปรบั สูก่ ารพฒั นาสู่กลุ่ม อาชีพ

5.1.2 ขั้นดาเนินการสรา้ งกลุ่มอาชีพ 1) มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับตาบลท่ีมีแผนงานโครงการนาอาชีพที่ เกิดจากความต้องการของประชาชนไปเสนอในแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเช่น กรมการ ปกครอง องค์การปกครองส่วนทอ้ งถ่ิน เกษตร ประมง กศน. และหน่วยงานที่เกี่ยวกบั กบั การส่งเสริมอาชีพ ต่าง ๆ ตามบทบาทหนา้ ท่ขี องแต่ละหน่วยงาน 2) ในการนาแผนงานโครงการของกลุ่มอาชีพไปเสนอแก่หน่วยงานต่าง ๆ พัฒนากรได้มีการ ประสานกับผู้นาชุมชนให้มีการเตรียมสมาชิกของกลุ่มไว้ให้เรียบร้อย และเขียนส่ิงที่ทางประชาชนต้องการใน การสรา้ งกลมุ่ อาชีพไว้กอ่ นล่วงหน้า 3) ใหป้ ระชาชนทม่ี ีความต้องการสรา้ งกลุ่มอาชีพนาเสนอแผนงานโครงการในทุกเวทีประชาคม โดยผา่ นแผนชุมชนของหมบู่ า้ น โดยมพี ัฒนากรเปน็ ผู้ใหข้ อ้ มลู เพิ่มเติมในการนาเสนอแผนงานโครงการ 4) เมื่อได้รับการพิจารณาแผนงานโครงการท่ีทาการเสนอ พัฒนากรจะต้องเข้าไปร่วมวาง แผนการบริหารจดั การให้กับกลุม่ อาชีพท่ีเกิดขนึ โดยได้ให้กลุ่มมกี าหนดการบริหารจัดการกลุ่มแบบ 5 ก และ 5 ร่วม ดงั นี แนวคิด 5 ก. ได้แก่ ก =กลมุ่ จะต้องมีสมาชิกของกลุม่ โดยสมาชิกเรมิ่ ตน้ และสามารถรบั สมัครสมาชกิ ที่มคี วาม สนใจในกลมุ่ อาชพี เดยี วกนั ก =กิจกรรม กิจกรรมที่ดาเนินจะต้องเปน็ กิจกรรมทเี่ กิดจากความต้องการของกลมุ่ อยา่ เป็น กิจกรรมท่ีดาเนินการตามความตอ้ งการของผู้อ่นื ก =กรรมการ จะตอ้ งมกี ารคณะกรรมการในการบริหารจดั การกลุ่มชัดเจน ได้แก่ ประธาน 1 คน รองประธาน เหรัญญกิ ผู้ช่วยเหรัญญิก ฝา่ ยบญั ชี ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลติ ฝ่ายตรวจสอบมาตร ของกิจกรรม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายปฏคิ ม และที่ปรึกษาของกลมุ่ ก=กฎกตกิ า ให้มกี ารกาหนดกฎ ระเบยี บกติกาของกลมุ่ โดยใหส้ มาชกิ ทุกคนเปน็ คนกาหนด กติกากันเอง แต่มีกฎที่พัฒนากรขอ คือ หากมีปัญหาห้ามนาไปพูดนอกกลุ่ม ให้คุยกันในกลุ่มก่อน หากแก้ไข ไม่ได้ให้ปรึกษาพัฒนากร ในการกาหนดระเบียบจะต้องมีเงินปันผลให้กับสมาชิก สมาชิกทุกคนต้องมีรายได้ รายได้จัดสรรตามคาว่า “ทามากได้มาก ทาน้อยได้น้อย ไม่ทาไม่ได้” มีการจดบันทึกการทางานของสมาชิก ทกุ คนและจา่ ยเงินปนั ผลตามสดั สว่ นของการทางาน ก=การประชุม ให้มีการกาหนดการประชุมปรึกษาหารือกนั อย่างน้อยเดือนละ 1 ครงั และมี การสรุปงบกาไรขาดทุนประชุมใหญท่ ุกปี แนวคดิ 5 ร่วม ได้แก่ ร่วมคิด = สมาชกิ ทุกคนในกลุม่ จะตอ้ งร่วมกนั คิด ร่วมกนั แสดงความคิดเหน็ ภายในกลมุ่ ร่วมทา = สมาชิกทุกคนจะต้องมบี ทบาทหน้าท่ี แบ่งหนา้ ท่รี ับผดิ ชอบกนั ชดั เจน ร่วมตัดสินใจ = สมาชิกทกุ คนจะต้องรว่ มกันตัดสนิ ใจทกุ เรื่อง โดยมีประธานกลมุ่ เป็นผู้แล หา้ มใหป้ ระธานตดั สนิ ใจคนเดียวเด็จขาด ร่วมรับผลประโยชน์ = มีการจดบันทกึ การทางานของสมาชิกทุกคนและจ่ายเงินปันผลตาม สดั ส่วนของการทางาน “ทามากได้มาก ทานอ้ ยไดน้ ้อย ไมท่ าไมไ่ ด้” ร่วมตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล = ขันตอนนีสาคญั มากในการดาเนนิ กจิ กรรมของกลมุ่

ชว่ งเร่ิมต้นพัฒนากรควรลงไปตดิ ตามอยา่ งนอ้ ยสัปดาห์ละ 1 ครังเพ่ือให้ทางกลุม่ มีความคดิ ท่ีจะต้องดาเนินการ อย่างตอ่ เนื่อง และช่วยกันแก้ไขปัญหา วางแผนการบริหารจัดการใหเ้ ป็นระบบ ใชเ้ วลาในการติดตามประมาณ 1 ปี หลังจากนันปล่อยให้กลุ่มดาเนินการด้วยตนเอ และติดตามแบบห่าง ๆ และให้กลุ่มสรุปผลกาไรของกลุ่ม สง่ ให้กบั พัฒนากรเป็นประจาทุกปี 5.1.3 หลังดาเนนิ การ 1) พัฒนากรลงพืนท่ีติดตามการดาเนินงานของกลุ่มอาชีพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครังและมี การสรุปผลกาไรขาดทุนเป็นประจาทุกปี 2) มกี ารประสานงานหนว่ ยงานทเ่ี กย่ี วขอ้ งสนบั สนนุ และส่งเสรมิ กล่มุ อาชพี อยา่ งต่อเน่ือง 3) ประชาส้มพันธ์การบริหารจัดการกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผ่านสื่อออนไลน์ และส่งเสริม การออกบธู ต่าง ๆ และสง่ เสรมิ ใหม้ กี ารมาศึกษาดูงานของกลมุ่ อาชีพต่าง ๆ เพ่ือใหม้ ีการพฒั นาอยา่ งย่ังยืน 6. เทคนคิ ในการปฏิบตั ิงาน 1. เทคนิคสาคัญคือการเตรียมความพร้อมของกลุ่มอาชีพในแต่ละพืนที่ โดยพยายามพูดให้ผู้นาชุมชน และประชาชนเห็นความสาคัญกับการสร้างกลุ่มอาชีพโดยให้วิเคราะห์รายจ่ายของแต่ละครัวเรือนนามาลด รายจา่ ยและสรา้ งรายได้ 2. เทคนิคโน้มน้าวจิตใจประชาชนให้เห็นความแตกต่าง ข้อดี ของการรวมกล่มุ หากมีการรวมกลมุ่ กัน อยา่ งตอ่ เนื่องกจ็ ะมีหนว่ ยงานเข้ามาสนับสนุนอยา่ งต่อเนื่อง 3. พัฒนากรจะต้องมีเทคนิคในการประสานงานกับหน่วยงานภาคีในการนากลุ่มอาชีพเข้าแผนงาน โครงการของหน่วยงานภาคี 4. การสรา้ งกลมุ่ อาชพี ใหเ้ กิดความยง่ั ยืนเทคนคิ ทส่ี าคัญคือ การลงพนื ท่ตี ิดตามอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง 7. ปัญหาทพี่ บและแนวทางการแกไ้ ขปญั หา 7.1 ปัญหาท่ีพบ 1) กลุ่มอาชพี ท่ีไม่สามารถพฒั นาอย่างย่ังยืนเพราะดาเนินโครงการตามงบประมาณ 2) การปรบั เปลย่ี นทัศนคติของประชาชนในการบริหารจัดการกล่มุ 3) กลุ่มอาชีพขาดทักษะด้านการตลาด และการประชาสมั พนั ธผ์ า่ นสอ่ื ออนไลน์ 7.2 แนวทางการแกไ้ ขปัญหา 1) การสรา้ งกลุ่มอาชีพจะต้องเกิดจากการระเบดิ จากขา้ งใน เกิดจากความต้องการทแี่ ท้จริงของ สมาชกิ กลมุ่ 2) สร้างความแตกต่างของการรวมกลุ่ม กับการทางานคนเดียวว่าการรวมกลุ่มนันประชาชนจะ ได้รับผลประโยชน์มากกว่าทางานคนเดียว และพัฒนากรจะต้องพัฒนาคนในชุมชนให้เป็นผู้นาหรือ เปรียบเสมอื นปราชญ์ชาวบา้ นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจะตอ้ งมีภาคีเขา้ รว่ มเสรมิ งานใหเ้ ข็มแขง็ 3) พฒั นากรให้แนวคดิ ในการหาตลาด โดยใหส้ มาขิกกล่มุ ออกหาตลาดทดลองวางสินคา้ จาหน่าย ถึงร้าน และขายทางออนไลน์ 8. ประโยชนข์ ององค์ความรู้ 1) สามารถนาองคค์ วามรนู้ ีไปใช้ในการสร้างกลมุ่ อาชพี และพฒั นากลุ่มอาชพี ใหเ้ กิดความยง่ั ยนื 2) นากระบวนการทางานในลักษณะของกระบวนการกลุ่มไปปรับใช้ในการบริหารจัดการกลุ่ม องค์กรต่าง ๆ ไดม้ ากขนึ

สำนกั งำนพฒั นำชุมชนอำเภอสุไหงปำดี อำเภอสไุ หงปำดี จังหวัดนรำธิวำส Face book page : สำนกั งำนพัฒนำชุมชนอำเภอสุไหงปำดี Tel. 073-523129


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook